Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชีวิตผลงานสุนทรภู่ หนังสือ

ชีวิตผลงานสุนทรภู่ หนังสือ

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2022-06-23 08:11:32

Description: ชีวิตผลงานสุนทรภู่ หนังสือ

Search

Read the Text Version

1 หนงั สืออเิ ลคทรอนิกส์ “ชีวิตและผลงานสนุ ทรภ”ู่ งานห้องสมดุ ประชาชนอำเภอบางเสาธงได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก เวปไซต์วิกิพเี ดยี โดยมจี ดุ ประสงค์เพ่อื ใชใ้ นกิจกรรมส่งเสริมการอา่ นข้อมลู องค์ ความรปู้ ระกอบการใชท้ ำแบบทดสอบออนไลน์พร้อมรับเกียรตบิ ัตร เรื่อง “ชวี ิตและผลงานสนุ ทรภ่”ู ของ ห้องสมดุ ประชาชนอำเภอบางเสาธง หอ้ งสมดุ ประชาชนอำเภอบางเสาธง

2 ชีวิตและผลงานพระสุนทรโวหาร (ภู่ ) พระสนุ ทรโวหาร หรอื ทเ่ี รยี กกันทว่ั ไปวา่ สนุ ทรภู่ (เกดิ วันท่ี ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ มีชวี ิตถึง พ.ศ.๒๓๙๘) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยทมี่ ีชอื่ เสียงเชิงกวี ไดร้ ับยกยอ่ งเป็น เชกสเปียร์แหง่ ประเทศไทย เกดิ หลังจากตั้ง กรุงรตั นโกสินทร์ได้ ๔ ปี และไดเ้ ขา้ รับราชการเปน็ อาลักษณ์ราชสำนกั ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลศิ หล้า นภาลยั เมอ่ื ส้ินรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม ๒๐ ปี ก่อนจะกลับเข้ารบั ราชการอีกครัง้ ในปลายรัชสมัย พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกล้าเจา้ อย่หู วั โดยเปน็ อาลกั ษณใ์ นสมเดจ็ เจา้ ฟ้าจุฑามณี กรมขนุ อศิ เรศรังสรรค์ ในสมยั รชั กาลท่ี ๔ ได้เลือ่ นตำแหนง่ เปน็ พระสนุ ทรโวหาร เจา้ กรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซงึ่ เปน็ ตำแหน่งราชการ สุดท้ายก่อนสิ้นชีวติ สุนทรภเู่ ปน็ กวที ่มี คี วามชำนาญทางดา้ นกลอน ได้สรา้ งขนบการประพนั ธก์ ลอนนิทานและกลอนนิราศ ขน้ึ ใหม่จนกลายเป็นทนี่ ิยมอย่างกวา้ งขวางสบื เนื่องมาจนกระท่งั ถงึ ปจั จุบัน ผลงานทมี่ ชี อื่ เสียงของสนุ ทรภมู่ ีมากมาย หลายเรื่อง เชน่ นิราศภเู ขาทอง นิราศสพุ รรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นตน้ โดยเฉพาะเร่ือง พระอภยั มณี ได้รบั ยกย่องจากวรรณคดสี โมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดปี ระเภทกลอนนิทาน และเปน็ ผลงานท่ีแสดงถงึ ทักษะ ความรู้ และทศั นะของสนุ ทรภู่อย่างมากทส่ี ดุ งานประพันธห์ ลายชิ้นของสนุ ทรภู่ได้รบั เลือกให้ เปน็ สว่ นหน่งึ ในหลกั สตู รการเรยี นการสอนนับแต่อดตี มาจนถงึ ปัจจบุ ัน เช่น กาพย์พระไชยสรุ ยิ า นิราศพระบาท และ อีกหลาย ๆ เรอ่ื ง

3 ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ในโอกาสครบรอบ ๒๐๐ ปชี าตกาล สนุ ทรภไู่ ด้รบั ยกยอ่ งจากองค์การยูเนสโกให้เป็น บคุ คลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภ่ยู ังเป็นทีน่ ิยมในสงั คมไทยอย่างต่อเน่ืองตลอดมาไมข่ าด สาย และมีการนำไปดดั แปลงเปน็ สื่อต่าง ๆ เช่น หนงั สอื การ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถงึ ละคร มกี ารก่อสรา้ ง อนสุ าวรียส์ ุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จงั หวดั ระยอง บา้ นเกิดของบดิ าของสุนทรภู่ และเป็นท่ีกำเนดิ ผลงาน นริ าศเรอื่ งแรกของทา่ นคือ นริ าศเมอื งแกลง นอกจากนีย้ งั มีอนุสาวรยี แ์ หง่ อื่น ๆ อกี เช่น ทว่ี ดั ศรสี ดุ าราม ท่ีจงั หวดั เพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วนั เกิดของสุนทรภู่คอื วันที่ ๒๖ มิถนุ ายนของทุกปี ถือเป็น วนั สุนทรภู่ ซงึ่ เป็นวนั สำคัญ ด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชดิ ชูเกยี รติคุณและส่งเสรมิ ศลิ ปะการประพนั ธ์บทกวจี ากองค์กรต่าง ๆ โดยทัว่ ไป ประวตั ิ ตน้ ตระกูล บนั ทึกสว่ นใหญ่มักระบุถงึ ตน้ ตระกูลของสุนทรภู่เพียงวา่ บดิ าเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จงั หวดั ระยอง มารดาเป็นชาวเมอื งอ่ืน ท้งั นีเ้ นอ่ื งจากเช่อื ถือตามพระนพิ นธ์ของสมเดจ็ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เร่ือง ชวี ติ และงานของสุนทรภู่ ตอ่ มาในภายหลัง เมอื่ มีการค้นพบข้อมลู ตา่ ง ๆ มากย่ิงขนึ้ ก็มีแนวคดิ เก่ยี วกับตน้ ตระกูลของ สนุ ทรภู่แตกตา่ งกนั ออกไป นักวชิ าการสว่ นใหญ่เหน็ พ้องกันว่า ฝา่ ยบดิ าเป็นชาวบ้านกร่ำ เมอื งแกลง จริง เนื่องจากมี ปรากฏเนือ้ ความอยู่ใน นริ าศเมืองแกลง ถงึ วงศ์วานว่านเครือของสนุ ทรภู่ ท้ังน้บี ดิ าของสุนทรภอู่ าจมีเชือ้ สายชองซง่ึ เปน็ ชนพ้นื เมืองในพน้ื ท่ี ดงั ปรากฏวา่ \"...ลว้ นวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง ไมเ่ หน็ น้องนกึ นา่ น้ำตากระเด็น...\" แตเ่ ร่ือง ดงั กล่าวก็ไมม่ หี ลกั ฐานใดสนบั สนนุ เพียงพอ บา้ งก็ว่าอาจเป็นการเข้าใจผดิ แต่ความเหน็ เกย่ี วกับตระกูลฝา่ ยมารดานี้ แตกออกเปน็ หลายส่วน สว่ นหนึง่ ว่าไม่ทราบท่ีมาแน่ชดั สว่ นหนง่ึ วา่ เปน็ ชาวฉะเชิงเทรา และสว่ นหนึ่งวา่ เปน็ ชาวเมือง เพชรบรุ ี ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขยี นไว้ในหนังสอื สยามประเภท ว่า บดิ าของสนุ ทรภ่เู ปน็ ข้าราชการแผน่ ดินสมเดจ็ พระ เจา้ อยูห่ วั บรมโกศ ชื่อขุนศรสี ังหาร (พลบั ) ข้อมลู นีส้ อดคล้องกับบทกวีไมท่ ราบชื่อผูแ้ ตง่ ซ่งึ ปราโมทย์ ทศั นาสุวรรณ พบท่ีอนุสาวรียส์ ุนทรภู่ จังหวดั ระยอง วา่ บิดาของสนุ ทรภู่เป็นชาวบา้ นกร่ำ ช่ือพ่อพลับ สว่ นมารดาเปน็ ชาวเมอื ง ฉะเชงิ เทรา ชือ่ แมช่ ้อย ทวา่ แนวคดิ ที่ได้รับการยอมรับกนั ค่อนขา้ งกว้างขวางคือ ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภเู่ ปน็ ชาวเมืองเพชรบุรี สืบเนอ่ื งจากเนอ้ื ความใน นิราศเมืองเพชร ฉบับคน้ พบเพมิ่ เติมโดยลอ้ ม เพ็งแก้ว เม่ือ พ.ศ. ๒๕๒๙ วัยเยาว์ สนุ ทรภู่ มีชอ่ื เดมิ วา่ ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ แหง่ กรุงรตั นโกสินทร์ เมอื่ วนั จนั ทร์ เดอื น ๘ ขนึ้ ๑ คำ่ ปี มะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาเชา้ ๒ โมง (ตรงกับวันท่ี ๒๖ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๓๖) ณ บริเวณดา้ นเหนอื ของ พระราชวังหลงั ซ่งึ เป็นบรเิ วณสถานรี ถไฟบางกอกนอ้ ยปจั จุบันนี้ เช่อื ว่าหลงั จากสุนทรภู่เกดิ ได้ไม่นาน บิดามารดาก็

4 หย่ารา้ งกนั บดิ าออกไปบวชอยทู่ ี่วดั ปา่ กรำ่ อนั เปน็ ภมู ลิ ำเนาเดิม สว่ นมารดาไดเ้ ข้าไปอยูใ่ นพระราชวงั หลัง ถวายตวั เป็นนางนมของพระองคเ์ จ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟา้ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนน้ั สนุ ทรภู่จงึ ไดอ้ ยู่ในพระราชวัง หลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นขา้ ในกรมพระราชวงั หลงั สนุ ทรภยู่ งั มีนอ้ งสาวตา่ งบดิ าอกี สองคน ชือ่ ฉิมและนิ่ม เช่อื กันว่า ในวยั เด็กสุนทรภู่ได้รำ่ เรียนหนงั สือกับพระในสำนักวัดชปี ะขาว (ซ่ึงต่อมาได้รบั พระราชทานนามในรัชกาลท่ี ๔วา่ วดั ศรสี ุดาราม อย่รู ิมคลองบางกอกนอ้ ย) ตามเน้ือความส่วนหนงึ่ ท่ีปรากฏใน นริ าศสุพรรณ ต่อมาไดเ้ ขา้ รบั ราชการเปน็ เสมียนนายระวางกรมพระคลงั สวน ในกรมพระคลงั สวน แต่ไมช่ อบทำงานอ่ืนนอกจากแตง่ บทกลอน ซ่งึ สามารถแต่งไดด้ ตี ้ังแต่ยงั รนุ่ หนุ่ม จากสำนวนกลอนของสนุ ทรภู่ เช่ือว่าผลงานทม่ี กี ารประพันธข์ ้ึนกอ่ นสุนทรภูอ่ ายุได้ ๒๐ ปี (คือก่อน นริ าศเมืองแกลง) เหน็ จะได้แก่กลอนนทิ านเรอ่ื ง โคบตุ ร สุนทรภ่ลู อบรกั กบั นางข้าหลวงในวังหลังคนหน่งึ ชอ่ื แมจ่ นั ชะรอยวา่ หลอ่ นจะเป็นบุตรหลานผูม้ ตี ระกลู จงึ ถูกกรมพระราชวงั หลงั กริ้วจนถึงให้โบยและจำคกุ คนทง้ั สอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลงั เสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ จึงมกี ารอภยั โทษแก่ผ้ถู กู ลงโทษทัง้ หมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสนุ ทรภู่ออกจากคุกก็เดนิ ทางไปหา บดิ าทเ่ี มืองแกลง จงั หวัดระยอง การเดนิ ทางครั้งนส้ี นุ ทรภไู่ ดแ้ ต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดนิ ทางตา่ ง ๆ เอาไวโ้ ดยละเอียด และลงท้ายเร่ืองวา่ แต่งมาใหแ้ ก่แม่จัน \"เปน็ ขันหมากม่ิงมติ รพิสมัย\" ในนริ าศได้บนั ทึกสมณศักดิ์ ของบิดาของสนุ ทรภ่ไู วด้ ้วยว่า เปน็ \"พระครธู รรมรงั ษี\" เจา้ อาวาสวดั ป่ากร่ำ กลบั จากเมืองแกลงคราวน้ี สนุ ทรภู่จงึ ได้ แม่จนั เปน็ ภรรยา แตก่ ลบั จากเมอื งแกลงเพียงไมน่ าน สุนทรภู่ต้องติดตามพระองค์เจา้ ปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็กตามเสดจ็ ไปในงานพธิ ี มาฆบชู าที่พระพุทธบาท (เขตจังหวดั สระบุรีในปจั จบุ นั ) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๐สนุ ทรภ่ไู ดแ้ ต่ง นิราศพระบาท พรรณนา เหตุการณ์ในการเดินทางคราวนีด้ ว้ ย สนุ ทรภกู่ ับแม่จนั มบี ตุ รด้วยกัน ๑ คน ชื่อหนพู ดั ได้อยู่ในความอุปการะของเจา้ ครอกทองอยู่ ส่วนหนุม่ สาวทัง้ สองมี เรอ่ื งระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลงั ก็เลกิ รากันไป หลังจาก นริ าศพระบาท ทส่ี นุ ทรภ่แู ตง่ ในปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ไม่ปรากฏผลงานใด ๆ ของสนุ ทรภู่อีกเลยจนกระทัง่ เข้ารับ ราชการในปี พ.ศ.๒๓๕๙ ตำแหนง่ อาลกั ษณ์ สุนทรภไู่ ด้เขา้ รับราชการในกรมพระอาลกั ษณเ์ มื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ ในรชั สมัยรชั กาลท่ี ๒ มลู เหตุในการได้ เขา้ รับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แตส่ นั นิษฐานวา่ อาจแต่งโคลงกลอนไดเ้ ปน็ ที่พอพระทัย ทราบถึงพระเนตรพระ กรรณจึงทรงเรยี กเข้ารับราชการ แนวคดิ หนึ่งวา่ สนุ ทรภเู่ ป็นผแู้ ต่งกลอนในบตั รสนเทห่ ์ ซง่ึ ปรากฏชุกชมุ อยู่ในเวลานั้น อีกแนวคิดหนึ่งสบื เน่ืองจาก \"ช่วงเวลาที่หายไป\" ของสนุ ทรภู่ ซึ่งนา่ จะใช้วิชากลอนทำมาหากินเปน็ ทร่ี ู้จักเล่ืองชือ่ อยู่

5 ชะรอยจะเป็นเหตใุ ห้ถูกเรียกเขา้ รบั ราชการก็ได้ เมื่อแรกสุนทรภรู่ ับราชการเป็นอาลักษณป์ ลายแถว มีหนา้ ท่ีเฝ้าเวลาทรงพระอกั ษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตใุ ห้ไดแ้ สดง ฝีมอื กลอนของตวั เมอ่ื พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแตง่ กลอนบทละครในเรอื่ ง \"รามเกยี รต์ิ\" ติดขดั ไม่ มผี ใู้ ดตอ่ กลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดใหส้ ุนทรภทู่ ดลองแตง่ ปรากฏว่าแตง่ ได้ดเี ป็นทพ่ี อพระทยั จึงทรงพระ กรุณาฯ เลื่อนให้เปน็ ขนุ สนุ ทรโวหาร การตอ่ กลอนของสนุ ทรภู่คราวนเี้ ป็นทีร่ ู้จกั ทัว่ ไป เนือ่ งจากปรากฏรายละเอียด อยใู่ นพระนิพนธ์ ชีวติ และงานของสนุ ทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรต์ิที่สุนทรภู่ ไดแ้ ตง่ ในคราวน้ันคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสบิ ขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์ สุนทรภูไ่ ด้ เล่ือนยศเป็น หลวงสนุ ทรโวหาร ในเวลาตอ่ มา ได้รับพระราชทานบา้ นหลวงอยทู่ ี่ทา่ ช้าง ใกล้กบั วังทา่ พระ และมี ตำแหน่งเข้าเฝ้าเปน็ ประจำ คอยถวายความเหน็ เก่ียวกบั พระราชนพิ นธแ์ ละพระนิพนธ์วรรณคดเี ร่อื งต่าง ๆ รวมถึงได้ ร่วมในกจิ การฟ้ืนฟูศลิ ปวฒั นธรรมช่วงต้นกรุงรตั นโกสนิ ทร์ โดยเป็นหนึ่งในคณะรว่ มแต่ง ขุนช้างขนุ แผน ขน้ึ ใหม่ ระหว่างรับราชการ สนุ ทรภู่ต้องโทษจำคกุ เพราะถกู อุทธรณ์วา่ เมาสรุ าทำรา้ ยญาติผ้ใู หญ่ แต่จำคกุ ได้ไม่นานกโ็ ปรด พระราชทานอภัยโทษ เล่ากนั ว่าเนอื่ งจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรอ่ื ง สงั ข์ทอง ไม่มใี ครแตง่ ได้ตอ้ งพระทยั ภายหลงั พ้นโทษ สุนทรภูไ่ ดเ้ ป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศ์ เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรชั กาลที่ ๒ เชอ่ื วา่ สุนทรภแู่ ต่งเรอ่ื ง สวสั ดริ ักษา ในระหวา่ งเวลานี้ ในระหว่างรับราชการอยนู่ ี้ สนุ ทรภู่แตง่ งานใหม่กบั แมน่ ม่ิ มบี ุตรดว้ ยกนั หนงึ่ คน ชื่อพ่อตาบ ออกบวช สุนทรภ่รู บั ราชการอยเู่ พยี ง ๘ ปี เม่อื ถงึ ปี พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลศิ หล้านภาลยั เสดจ็ สวรรคต หลงั จากนั้นสนุ ทรภ่กู ็ออกบวช แต่จะได้ลาออกจากราชการก่อนออกบวชหรอื ไมย่ งั ไม่ปรากฏแน่ชดั แมจ้ ะไม่ ปรากฏโดยตรงวา่ สุนทรภไู่ ด้รบั พระบรมราชูปถัมภ์จากราชสำนกั ใหมใ่ นพระบาทสมเด็จพระนงั่ เกลา้ เจา้ อยู่หวั แต่ก็ ได้รบั พระอุปถมั ภจ์ ากพระบรมวงศานวุ งศ์พระองค์อนื่ อยูเ่ สมอ เช่น ปี พ.ศ.๒๓๗๒ สนุ ทรภู่ไดเ้ ปน็ พระอาจารย์ถวาย อกั ษรเจ้าฟา้ กลางและเจา้ ฟา้ ปวิ๋ พระโอรสในเจ้าฟา้ กุณฑลทิพยวดี ปรากฏความอย่ใู น เพลงยาวถวายโอวาท นอกจากนัน้ ยังไดอ้ ยู่ในพระอุปถัมภข์ องพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมนื่ อปั สรสุดาเทพ ซ่ึงปรากฏเน้อื ความใน งานเขียนของสุนทรภบู่ างเรื่องว่า สนุ ทรภู่แต่งเรือ่ ง พระอภยั มณี และ สงิ หไตรภพ ถวาย สุนทรภู่บวชอยเู่ ป็นเวลา ๑๘ ปี ระหว่างน้ันไดย้ ้ายไปอยู่วัดตา่ ง ๆ หลายแห่ง เทา่ ที่พบระบใุ นงานเขยี น ของท่านได้แก่ วดั เลยี บ วดั แจง้ วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม งานเขียนบางช้นิ สอ่ื ใหท้ ราบว่า ในบางปี ภิกษุภเู่ คยต้องเรร่ อ่ นไม่มีท่ีจำพรรษาบา้ งเหมอื นกัน ผลจากการทภี่ กิ ษุภ่เู ดนิ ทางธดุ งค์ไปทีต่ า่ ง ๆ ทวั่ ประเทศ ปรากฏ ผลงานเปน็ นิราศเร่ืองต่าง ๆ มากมาย และเชื่อวา่ นา่ จะยังมีนิราศที่ค้นไม่พบอีกเป็นจำนวนมาก

6 งานเขียนชิน้ สุดทา้ ยที่ภกิ ษุภแู่ ตง่ ไวก้ ่อนลาสกิ ขาบท คือ รำพันพลิ าป โดยแตง่ ขณะจำพรรษาอย่ทู ่วี ัดเทพธดิ าราม พ.ศ. ๒๓๘๕ ชว่ งปลายของชีวติ ปี พ.ศ. 2385 ภกิ ษภุ ู่จำพรรษาอยทู่ ว่ี ัดเทพธดิ าราม ท่ีมกี รมหมน่ื อปั สรสดุ าเทพทรงอุปถัมภ์ คนื หน่ึง หลบั ฝนั เห็นเทพยดาจะมารับตวั ไป เมอื่ ต่ืนขน้ึ คดิ ว่าตนถงึ ฆาตจะต้องตายแล้ว จงึ ประพนั ธเ์ รอื่ ง รำพนั พิลาป พรรณนา ถงึ ความฝันและเลา่ เรื่องราวตา่ ง ๆ ท่ไี ด้ประสบมาในชีวิต หลงั จากนั้นกล็ าสกิ ขาบทเพอื่ เตรยี มตวั จะตาย ขณะนั้น สนุ ทรภมู่ อี ายุได้ ๕๖ ปี หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอปุ ถัมภจ์ ากเจ้าฟ้านอ้ ย หรือสมเดจ็ เจา้ ฟ้าจฑุ ามณี กรมขนุ อิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคณุ ทางด้านงานวรรณคดี สนุ ทรภู่แตง่ เสภาพระราชพงศาวดาร บทเหก่ ล่อมพระบรรทม และบทละครเร่ือง อภยั นุราช ถวาย รวมถึงยังแตง่ เรื่อง พระอภยั มณี ถวายใหก้ รมหมนื่ อัปสร สดุ าเทพด้วย เมื่อถงึ ปี พ.ศ.๒๓๙๗ พระบาทสมเดจ็ พระนั่งเกล้าเจา้ อยูห่ ัวเสดจ็ สวรรคต เจา้ ฟา้ มงกุฎเสด็จขน้ึ ครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว และทรงสถาปนาเจา้ ฟา้ น้อยขน้ึ เป็น พระบาทสมเด็จพระปิน่ เกลา้ เจา้ อยู่หวั สุนทรภูจ่ งึ ไดร้ ับแตง่ ต้ังเปน็ เจา้ กรมอาลักษณ์ฝา่ ยพระราชวงั บวร มบี รรดาศักดเ์ิ ป็น พระสุนทรโวหาร ชว่ งระหว่างเวลานี้สุนทรภูไ่ ด้แตง่ นิราศเพ่ิมอกี ๒ เรอ่ื ง คือ นริ าศพระประธม และ นริ าศเมืองเพชร สุนทรภู่พำนักอยูใ่ นเขตพระราชวงั เดิม ใกล้หอนงั่ ของพระยามนเทยี รบาล (บวั ) มหี ้องส่วนตัวเปน็ ห้องพักกัน้ เฟี้ยมท่เี รียกช่อื กนั วา่ \"หอ้ งสนุ ทรภ\"ู่ เชอ่ื ว่าสนุ ทรภ่พู ำนักอยู่ทีน่ ต่ี ราบจนถึงแก่อนจิ กรรม เม่ือปี พ.ศ. ๒๓๙๘ สิรริ วมอายไุ ด้ ๖๙ ปี ทายาท สุนทรภมู่ บี ุตรชายสามคน คือพ่อพดั เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิดจากภรรยาคนทีส่ อง คือแมน่ ิ่ม และพ่อนิล เกดิ จากภรรยาทชี่ ือ่ แมม่ ว่ ง นอกจากน้ีปรากฏชอื่ บุตรบญุ ธรรมอีกสองคน ชื่อพ่อกลัน่ และพ่อชบุ พอ่ พัดนเ้ี ปน็ ลูกรัก ได้ติดสอยห้อยตามสุนทรภู่อยเู่ สมอ เมือ่ ครงั้ สนุ ทรภูอ่ อกบวช พ่อพัดก็ออกบวชดว้ ย เมอ่ื สนุ ทรภู่ ได้มารบั ราชการกับเจ้าฟ้านอ้ ย พอ่ พัดก็มาพำนักอยูด่ ว้ ยเชน่ กัน ส่วนพอ่ ตาบนน้ั ปรากฏว่าไดเ้ ป็นกวมี ีชื่ออยู่พอสมควร [12] เมื่อถึงรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อย่หู วั ทรงตราพระราชบญั ญัตนิ ามสกุลขึ้น ตระกลู ของสนุ ทรภู่ ได้ใช้นามสกลุ ต่อมาว่า ภ่เู รอื หงส์ (บางสายสกลุ อาจเป็น ภู่ระหงษ์) เร่ืองนามสกลุ ของสนุ ทรภนู่ ้ี ก.ศ.ร. กหุ ลาบ เคย เขียนไว้ในหนังสือสยามประเภท อา้ งถงึ ผู้ถอื นามสกลุ ภเู่ รอื หงส์ ที่ไดร้ ับบำเหนจ็ จากหมอสมิทเป็นค่าพิมพ์หนังสือเรื่อง พระอภยั มณี แต่หนังสอื ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่เป็นทย่ี อมรับของราชสำนัก ด้วยปรากฏอย่บู ่อยครงั้ วา่ มักเขยี นเรื่องกุ เร่อื งนามสกุลของสนุ ทรภ่จู ึงพลอยไม่ได้รบั การเช่ือถือไปดว้ ย จนกระท่ัง ศ.ผะอบ โปษะกฤษณะ ยนื ยนั ความข้อนี้ เนอื่ งจากเคยไดพ้ บกบั หลานปู่ของพ่อพดั มาด้วยตนเอง

7 อุปนิสยั และทัศนคติ ตำราโหราศาสตร์ผูกดวงชะตาวนั เกดิ ของสุนทรภไู่ วเ้ ปน็ ดวงประเทยี บ พรอ้ มคำอธบิ ายข้างใต้ดวงชะตา วา่ \"สนุ ทรภู่ อาลักษณข์ เี้ มา\" เหตุนีจ้ งึ เปน็ ทีก่ ลา่ วขานกนั เสมอมาว่า สนุ ทรภนู่ ี้ขเ้ี หลา้ นัก ในงานเขียนของสนุ ทรภู่เองก็ ปรากฏบรรยายถึงความมนึ เมาอยู่หลายคร้ัง แม้จะดเู หมอื นว่า สุนทรภู่เองก็รู้วา่ การมึนเมาสรุ าเป็นสิง่ ไม่ดี ไดเ้ ขยี น ตักเตือนผู้อา่ นอยใู่ นงานเขียนเสมอ การดื่มสุราของสนุ ทรภอู่ าจเปน็ การดื่มเพ่ือสงั สรรคแ์ ละเพ่ือสร้างอารมณ์ศลิ ปิน ด้วยปรากฏว่าเรอื นสุนทรภมู่ ักเปน็ ทคี่ รึกคร้ืนร่นื เริงกับหมเู่ พ่ือนฝงู อยเู่ สมอ นอกจากน้ยี ังเล่ากันวา่ เวลาท่ีสุนทรภกู่ ร่มึ ๆ แล้วอาจสามารถบอกกลอนใหเ้ สมียนถึงสองคนจดตามแทบไม่ทัน เมื่อออกบวช สุนทรภ่เู ห็นจะตอ้ งพยายาม เอาชนะใจตวั เองให้ได้ ซึ่งในท้ายทส่ี ุดก็สามารถทำไดด้ ี ขณะที่รุ่งโรจน์ ภริ มย์อนกุ ูล มองว่า เร่ืองทีว่ ่าสุนทรภู่ข้เี มานั้น ไม่มีการบนั ทึกอยา่ งเปน็ กิจจะลักษณะ ทั้งสนุ ทรภูม่ ผี ลงานเขียนอยมู่ าก หากเป็นคนลมุ่ หลงในสุราคงไมม่ ีเวลาไปเขียน หนงั สือเป็นแน่ สนุ ทรภูม่ ักเปรยี บการเมาเหล้ากบั การเมารกั ชวี ิตรักของสุนทรภดู่ จู ะไมส่ มหวังเท่าที่ควร หลังจากแยก ทางกบั แม่จัน สนุ ทรภ่ไู ด้ภรรยาคนทส่ี องชื่อแม่น่ิม นอกจากนแี้ ล้วยังปรากฏชอื่ หญงิ สาวมากหนา้ หลายตาทส่ี ุนทรภู่ พรรณนาถึง เม่ือเดินทางไปถึงหยอ่ มยา่ นมีชื่อเสยี งคล้องจองกับหญงิ สาวเหล่าน้ัน นักวจิ ารณ์หลายคนจงึ บรรยาย ลักษณะนิสัยของสนุ ทรภ่วู ่าเป็นคนเจ้าชู้ และบา้ งยังว่าความเจา้ ชู้นี้เองท่ที ำใหต้ ้องหยา่ รา้ งกบั แมจ่ นั ความข้อนี้เปน็ จรงิ เพียงไรไมป่ รากฏ ขุนวิจติ รมาตราเคยคน้ ชอ่ื สตรีที่เขา้ มาเกี่ยวพันกับสนุ ทรภใู่ นงานประพันธต์ า่ ง ๆ ของท่าน ไดช้ อ่ื ออกมากว่า ๑๒ ชอ่ื คือ จัน พลับ แชม่ แก้ว นิ่ม ม่วง น้อย นกน้อย กลิน่ งิ้ว สุข ลูกจนั ทน์ และอน่ื ๆ อีก ทวา่ สนุ ทรภู่ เองเคยปรารภถึงการพรรณนาถึงหญิงสาวในบทประพันธ์ของตนว่า เปน็ ไปเพ่ือให้ได้อรรถรสในงานประพนั ธ์เท่านัน้ จะถือเป็นจริงเป็นจังมิได้ อย่างไรกด็ ี การบรรยายความโศกเศร้าและอาภัพในความรกั ของสุนทรภ่ปู รากฏอย่ใู นงาน เขียนนิราศของท่านแทบทกุ เร่ือง สตรีในดวงใจท่ีท่านรำพันถึงอยเู่ สมอก็คือแม่จัน ซึ่งเป็นรกั ครงั้ แรกท่ีคงไม่อาจลืม เลือนได้ แตน่ า่ จะมีความรักใคร่กับหญิงอ่ืนอยู่บา้ งประปราย และคงไมม่ จี ุดจบท่ดี ีนกั ใน นริ าศพระประธม ซ่งึ ท่าน ประพันธ์ไว้เมื่อมีอายุกว่า ๖๐ ปีแล้ว สุนทรภไู่ ดอ้ ธิษฐานไม่ขอพบกบั หญิงทงิ้ สัตย์อกี ต่อไปอุปนิสยั สำคัญอีกประการ หนงึ่ ของสุนทรภู่คือ มีความอหงั การ์และม่ันใจในความสามารถของตนเป็นอยา่ งสูง ลกั ษณะนิสยั ข้อนท้ี ำใหน้ ักวิจารณ์ ใชใ้ นการพจิ ารณางานประพนั ธ์ซง่ึ ยงั เปน็ ทเี่ คลือบแคลงอยวู่ ่า เปน็ ผลงานของสนุ ทรภหู่ รอื ไม่ ความอหงั การข์ องสุนทร ภูแ่ สดงออกมาอยา่ งชัดเจนอยู่ในงานเขียนหลายชดุ และถอื เป็นวรรคทองของสนุ ทรภดู่ ว้ ย เช่น อยา่ งหมอ่ มฉันอันที่ดแี ละช่ัว ถึงลับตัวแต่กช็ อ่ื เขาลือฉาว เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือเลือ่ งถงึ เมืองนคร

8 หรอื อีกบทหนึ่งคือ หนึ่งขอฝากปากคำทำหนังสือ ให้สืบชื่อชั่วฟ้าสุธาสถาน สุนทราอาลักษณเ์ จ้าจักรพาฬ พระทรงสารศรีเศวตเกศกญุ ชร เร่ืองความอหงั การข์ องสนุ ทรภู่น้ี เล่ากันวา่ ในบางคราวสนุ ทรภขู่ อแก้บทพระนิพนธข์ องกรมหมนื่ เจษฎาบดินทรต์ อ่ หนา้ พระท่นี ่ังโดยไม่มีการไวห้ น้า ด้วยถอื วา่ ตนเป็นกวีท่ีปรึกษา กลา้ แม้กระท่งั ต่อกลอนหยอกล้อกบั พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหล้านภาลัย โดยท่ไี ม่ทรงถือโกรธ แต่กลับมีทฐิ ิของกวที จ่ี ะเอาชนะสุนทรภใู่ ห้ได้ การแกก้ ลอนหนา้ พระที่ นงั่ น้ีอาจเป็นเหตุหนึ่งท่ที ำใหส้ ุนทรภู่ล่วงเกนิ ตอ่ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์โดยไม่ได้ตั้งใจ และอาจเป็นสาเหตุหน่ึงที่ทำให้ สุนทรภ่ตู ดั สินใจออกบวชหลงั ส้ินแผน่ ดินรัชกาลที่ ๒ แล้วก็เป็นได้ ทัศนคติ สนุ ทรภใู่ หค้ วามสำคญั กบั การศึกษาอยา่ งมาก และตอกย้ำเรอ่ื งการศกึ ษาในวรรณคดหี ลาย ๆ เรือ่ ง เช่น ขนุ แผนสอนพลายงามวา่ \"ลูกผ้ชู ายลายมือนนั้ คือยศ เจา้ จงอตส่าหท์ ำสม่ำเสมียน\" หรือท่ีพระฤๅษสี อนสดุ สาครว่า \"รู้ สิ่งไรไมส่ ู้รูว้ ชิ า รรู้ ักษาตัวรอดเปน็ ยอดด\"ี โดยทส่ี ุนทรภูเ่ องกเ็ ป็นผู้สนใจใฝศ่ ึกษาหาความรู้ และมีความรกู้ วา้ งขวาง อยา่ งย่งิ เช่ือวา่ สนุ ทรภนู่ า่ จะรว่ มอยู่ในกลุ่มข้าราชการหัวก้าวหนา้ ในยุคสมัยน้ัน ท่ีนิยมวิชาความร้แู บบตะวันตก ภาษาองั กฤษ ตลอดกระท่งั แนวคิดยุคใหม่ท่ีให้ความสำคัญกบั สตรีมากข้ึนกวา่ เดิม สิ่งท่สี ะท้อนแนวความคิดของสุนทร ภอู่ อกมามากที่สดุ คืองานเขยี นเรอื่ ง พระอภัยมณี ซึ่งโครงเรอ่ื งมคี วามเป็นสากลมากย่ิงกวา่ วรรณคดีไทยเรื่องอนื่ ๆ ตัว ละครมีความหลากหลายทางเชอ้ื ชาติ ตัวละครเอกเช่นพระอภยั มณีกับสินสมทุ รยังสามารถพดู ภาษาต่างประเทศได้ หลายภาษา นอกจากนี้ยังเปน็ วรรณคดที ี่ตวั ละครฝ่ายหญิงมีบทบาททางการเมอื งอยา่ งสงู เชน่ นางสวุ รรณมาลแี ละ นางละเวงวณั ฬาทีส่ ามารถเป็นเจา้ ครองเมืองไดเ้ อง นางวาลที ี่เป็นถึงทปี่ รึกษากองทัพ และนางเสาวคนธท์ ่ีกลา้ หาญ ถงึ กบั หนงี านววิ าหท์ ตี่ นไมป่ รารถนา อนั ผดิ จากนางในวรรณคดีไทยตามประเพณีที่เคยมีมาลักษณะความคดิ แบบหัว กา้ วหนา้ เช่นน้ีทำให้ นิธิ เอยี วศรีวงศ์ เรียกสมญาสุนทรภูว่ ่าเป็น \"มหากวีกระฎุมพี\" ซึง่ แสดงถงึ ชนชั้นใหม่ท่ีเกิดขนึ้ ใน สมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อทรัพย์สินเงนิ ทองเร่ิมมคี วามสำคัญมากขนึ้ นอกเหนือไปจากยศถาบรรดาศักด์ิ งานเขียนเชงิ นิราศของสนุ ทรภ่หู ลายเรอื่ งสะท้อนแนวคดิ ด้านเศรษฐกจิ รวมถงึ วจิ ารณ์การทำงานของข้าราชการทท่ี จุ รติ คิดสนิ บน ทั้งยงั มแี นวคิดเก่ยี วกับบทบาทความสำคญั ของสตรมี ากยิ่งข้ึนด้วย ไมเคิล ไรท์เหน็ วา่ งานเขียนเร่อื ง พระอภยั มณี ของ สนุ ทรภู่ เปน็ การคว่ำคติความเช่ือและค่านิยมในมหากาพย์โดยสนิ้ เชิง โดยทตี่ วั ละครเอกไม่ไดม้ ีความเปน็ \"วรี บรุ ษุ \" อยา่ งสมบรู ณ์แบบ ทว่าในตวั ละครทุก ๆ ตวั กลับมีความดีและความเลวในแง่มมุ ต่าง ๆ ปะปนกนั ไป อยา่ งไรก็ดี ในท่ามกลางงานประพนั ธอ์ ันแหวกแนวลำ้ ยุคลำ้ สมัยของสุนทรภู่ ความจงรักภักดีของสุนทรภู่ตอ่ พระ ราชวงศ์ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ต่อพระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลิศหลา้ นภาลยั กย็ ังสงู ล้ำเป็นล้นพน้ อยา่ งไม่มวี นั จางหายไป แมใ้ นวาระสดุ ท้าย สนุ ทรภรู่ ำพนั ถึงพระมหากรุณาธคิ ุณหลายครง้ั ในงานเขียนเรอ่ื งตา่ ง ๆ ของทา่ น ในงานประพนั ธ์

9 เรือ่ ง นิราศพระประธม ซงึ่ สนุ ทรภูป่ ระพนั ธ์หลงั จากลาสิกขาบท และมีอายุกวา่ ๖๐ ปแี ล้ว สนุ ทรภู่เรยี กตนเองว่าเปน็ \"สนุ ทราอาลกั ษณเ์ จา้ จกั รพาฬ พระทรงสารศรเี ศวตเกศกุญชร\" กลา่ วคือเป็นอาลกั ษณข์ อง \"พระเจา้ ช้างเผอื ก\" อัน เปน็ พระสมัญญานามของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลศิ หล้านภาลยั สนุ ทรภูไ่ ดแ้ สดงจิตเจตนาในความจงรักภกั ดีอย่าง ไม่เสือ่ มคลาย ปรากฏใน นริ าศภูเขาทอง ความวา่ \"จะสร้างพรตอตสา่ ห์ส่งบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทง้ั วสา เป็นส่ิงของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคยี งพระบาททกุ ชาติไป\" ความร้แู ละทักษะ เมอื่ พจิ ารณาจากผลงานตา่ ง ๆ ของสนุ ทรภู่ ไมว่ ่าจะเป็นงานเขียนนิราศหรือกลอนนยิ าย สนุ ทรภมู่ ัก แทรกสุภาษติ คำพงั เพย คำเปรียบเทียบต่าง ๆ ทำใหท้ ราบวา่ สุนทรภ่นู ้ไี ด้อา่ นหนงั สือมามาก จนสามารถนำเร่ืองราว ตา่ ง ๆ ท่ตี นทราบมาแทรกเข้าไปในผลงานได้อยา่ งแนบเนียน เนื้อหาหลายสว่ นในงานเขียนเรื่อง พระอภยั มณี ทำให้ ทราบว่า สุนทรภู่มคี วามรอบรู้แตกฉานในสมุดภาพไตรภมู ิ ทั้งเกรด็ เลก็ เกร็ดน้อยที่นำมาดัดแปลงประดิษฐเ์ ขา้ ไวใ้ น ท้องเร่ือง เช่น การเรียกชื่อปลาทะเลแปลก ๆ และการกลา่ วถึงตราพระราหู นอกจากนี้ยังมคี วามรอบรู้ในวรรณคดี ประเทศตา่ ง ๆ เช่น จนี อาหรับ แขก ไทย ชวา เป็นต้น นักวชิ าการโดยมากเห็นพ้องกันว่า สุนทรภไู่ ด้รับอิทธิพลจาก วรรณคดีจีนเรอื่ ง ไซ่ฮ่ัน สามก๊ก วรรณคดีอาหรับ เช่น อาหรับราตรี รวมถึงเกรด็ คัมภีรไ์ บเบลิ เรื่องของหมอสอน ศาสนา ตำนานเมืองแอตแลนติส ซง่ึ สะท้อนให้เหน็ อิทธิพลเหล่าน้อี ยใู่ นผลงานเร่ือง พระอภยั มณี มากทส่ี ุด สุนทรภยู่ ังมคี วามรู้ด้านดาราศาสตร์ หรอื การดูดาว โดยท่ีสมั พนั ธก์ ับความร้ดู า้ นโหราศาสตร์ ดว้ ยปรากฏว่าสุนทรภู่ เอย่ ถงึ ช่ือดวงดาวตา่ ง ๆ ดว้ ยภาษาโหร เชน่ ดาวเรอื ไชยหรือดาวสำเภาทอง ดาวธง ดาวโลง ดาวกา ดาวหามผี ทัง้ ยงั บรรยายถึงคำทำนายโบร่ำโบราณ เช่น \"แมน้ ดาวกามาใกล้ในมนุษย์ จะม้วยมุดมรณาเป็นหา่ โหง\" ดังนเี้ ปน็ ตน้ การที่ สนุ ทรภมู่ ีความรอบรู้มากมายและรอบด้านเชน่ น้ี สนั นิษฐานวา่ สุนทรภ่นู า่ จะสามารถเข้าถึงแหลง่ ข้อมลู ดา้ นเอกสาร สำคญั ซึง่ มีอยเู่ ป็นจำนวนค่อนขา้ งน้อยเนื่องจากเปน็ ช่วงหลงั การเสยี กรุงศรอี ยธุ ยาไม่นาน ทง้ั นเ้ี นอ่ื งมาจากตำแหนง่ หนา้ ท่ีการงานของสุนทรภนู่ นั่ เอง นอกจากนี้การทสี่ ุนทรภู่มีแนวคดิ สมัยใหม่แบบตะวนั ตก จนได้สมญาวา่ เป็น \"มหากวี กระฎมุ พี\" ย่อมมีความเปน็ ไปไดท้ ส่ี ุนทรภซู่ ึง่ มีพื้นอุปนิสัยใจคอกวา้ งขวางชอบคบคนมาก น่าจะได้รจู้ ักมักจี่กบั ชาว ต่างประเทศและพ่อค้าชาวตะวันตก ปราโมทย์ ทศั นาสวุ รรณ เห็นวา่ บางทีสุนทรภอู่ าจจะพูดภาษาองั กฤษได้ก็เป็นได้ อนั เปน็ ที่มาของการท่ีพระอภัยมณีและสินสมุทรสามารถพูดภาษาตา่ งประเทศได้หลายภาษา รวมถึงเร่ืองราวโพ้นทะเล และชอ่ื ดินแดนต่าง ๆ ท่ีเหลา่ นักเดินเรือน่าจะเลา่ ใหส้ ุนทรภฟู่ งั แตไ่ ม่วา่ สุนทรภจู่ ะไดร้ บั ข้อมูลโพน้ ทะเลจากเหล่าสหายของเขาหรอื ไม่ สนุ ทรภ่กู ย็ งั พรรณนาถงึ เรื่องลำ้ ยคุ ลำ้ สมยั มากมายท่ีแสดงถึงจนิ ตนาการของเขาเอง อนั เป็นส่ิงท่ยี ังไม่ได้ปรากฏหรอื สำเร็จข้นึ ในยุคสมัยนน้ั เช่น ใน ผลงานเร่ือง พระอภยั มณี มเี รือเดินสมุทรขนาดใหญ่ท่ีสามารถปลกู ตึกปลูกสวนไวบ้ นเรอื ได้ นางละเวงมหี ีบเสยี งที่เล่น ไดเ้ อง (ด้วยไฟฟ้า) หรอื เรือสะเทินน้ำสะเทินบกของพราหมณ์โมรา สุนทรภไู่ ดร้ ับยกย่องว่าเปน็ จินตกวีที่มีช่อื เสยี งผู้

10 หนึ่งแหง่ ยุคสมัย ปรากฏเนือ้ ความยนื ยนั อยู่ในหนงั สือ ประวัตสิ ุนทรภู่ ของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละ ลักษมณ์) ความว่า \"...ในแผน่ ดินพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหลา้ นภาลัยนนั้ ฝา่ ยจนิ ตกวีมีช่อื คอื หมายเอาสมเดจ็ พระพุทธเจ้าอยูห่ วั เปน็ ประธานแลว้ มที า่ นที่ได้รูเ้ ร่ืองราวในทางน้กี ล่าวว่าพระองค์มเี อตทัคคสาวกในการสโมสรกาพย์ กลอนโคลงฉัณท์อยู่ ๖ นาย คอื พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าฯ ๑ ทา่ นสนุ ทรภู่ ๑ นายทรงใจภักด์ิ ๑ พระยาพจนา พมิ ล (วนั รตั ทองอยู่) ๑ กรมขุนศรีสุนทร ๑ พระนายไวย ๑ ภายหลังเป็นพระยากรุง (ชื่อเผือก) ๑ ในหกทา่ นนี้แล ไดร้ บั ต้นประชันแข่งขันกนั อยู่เสมอ...\" ทกั ษะอีกประการหนง่ึ ของสนุ ทรภ่ไู ด้แก่ ความเชีย่ วชำนาญในการเลือกใช้ถ้อยคำอย่างเหมาะสมเพื่อใช้ พรรณนาเน้ือความในกวีนพิ นธข์ องตน โดยเฉพาะในงานประพนั ธ์ประเภทนริ าศ ทำให้ผูอ้ ่านแลเห็นภาพหรอื ไดย้ ิน เสียงราวกบั ไดร้ ว่ มเดนิ ทางไปกับผูป้ ระพันธ์ดว้ ย สนุ ทรภู่ยังมไี หวพริบปฏภิ าณในการประพันธ์ กลา่ วได้ว่าไม่เคยจน ถอ้ ยคำทจ่ี ะใช้ เล่าวา่ ครง้ั หน่ึงเม่ือภกิ ษุภู่ออกจารกิ จอดเรืออยู่ มชี าวบ้านนำภตั ตาหารจะมาถวาย แตว่ า่ คำถวายไม่เป็น ภกิ ษภุ จู่ ึงสอนชาวบา้ นใหว้ า่ คำถวายเป็นกลอนตามสง่ิ ของที่จะถวายว่า \"อิมัสมิงริมฝั่ง อมิ ังปลารา้ กุ้งแหง้ แตงกวา อีก ปลาดกุ ย่าง ช่อมะกอกดอกมะปราง เนื้อย่างยำมะดัน ข้าวสกุ คอ่ นขัน นำ้ มนั ขวดหน่งึ น้ำผ้ึงครง่ึ โถ สม้ โอแชอ่ ิ่ม ทับทิม สองผล เปน็ ยอดกุศล สังฆสั สะ เทมิ\" อันว่า \"กว\"ี นนั้ แบง่ ได้เป็น ๔ จำพวก คือ จินตกวี ผ้แู ต่งโดยความคิดของตน สตุ กวี ผู้แต่งตามที่ได้ยนิ ได้ ฟังมา อรรถกวี ผูแ้ ต่งตามเหตุการณ์ทเี่ กดิ ขึ้นจริง และ ปฏิภาณกวี ผู้มคี วามสามารถใชป้ ฏิภาณแตง่ กลอนสด เม่ือ พจิ ารณาจากความร้แู ละทักษะทัง้ ปวงของสุนทรภู่ อาจลงความเห็นไดว้ ่า สุนทรภูเ่ ปน็ มหากวีเอกท่มี คี วามสามารถครบ ทงั้ ๔ ประการอยา่ งแท้จรงิ การสร้างวรรณกรรม งานประพันธ์วรรณคดีในยคุ ก่อนหนา้ สนุ ทรภู่ คือยุคอยุธยาตอนปลาย ยงั เป็นวรรณกรรมสำหรับชนชั้นสงู ไดแ้ กร่ าชสำนักและขุนนาง เปน็ วรรณกรรมท่สี รา้ งขน้ึ เพื่อการอ่านและเพื่อความรู้หรือพิธีการ เชน่ กาพย์มหาชาติ หรอื พระมาลัยคำหลวง ทว่างานของสุนทรภ่เู ป็นการปฏวิ ัติการสร้างวรรณกรรมแหง่ ยุครตั นโกสนิ ทร์ คอื เปน็ วรรณกรรมสำหรบั คนทว่ั ไป เปน็ วรรณกรรมสำหรับการฟงั และความบันเทิง เห็นได้จากงานเขียนนิราศเรื่องแรกคือ นิราศเมืองแกลง มที ีร่ ะบไุ ว้ในตอนทา้ ยของนริ าศวา่ แต่งมาฝากแมจ่ ัน รวมถงึ ใน นริ าศพระบาท และ นริ าศภเู ขาทอง ซ่งึ มถี ้อยคำส่ือสารกบั ผู้อ่านอย่างชดั เจน วรรณกรรมเหล่าน้ีไมใ่ ชว่ รรณกรรมสำหรับการศึกษา และไม่ใชส่ ำหรบั พธิ ีการ สำหรับวรรณกรรมท่สี ร้างข้ึนโดยหนา้ ท่ีตามที่ไดร้ ับพระบรมราชโองการ มปี รากฏถึงปัจจุบันได้แก่ เสภาเร่ืองขนุ ชา้ ง ขนุ แผน ตอน กำเนิดพลายงาม ในสมัยรัชกาลท่ี 2 และ เสภาพระราชพงศาวดาร ในสมัยรัชกาลท่ี 4 สว่ นที่แตง่ ขน้ึ เพื่อ ถวายแดอ่ งคอ์ ุปถมั ภ์ ได้แก่ สิงหไตรภพ เพลงยาวถวายโอวาท สวสั ดิรักษา บทเห่กล่อมพระบรรทม และ บทละคร

11 เร่อื ง อภัยนุราช งานประพันธ์ของสนุ ทรภู่เกือบท้งั หมดเป็นกลอนสภุ าพ ยกเว้น พระไชยสรุ ยิ า ทป่ี ระพนั ธเ์ ปน็ กาพย์ และ นริ าศสุพรรณ ท่ีประพันธ์เป็นโคลง ผลงานส่วนใหญ่ของสนุ ทรภูเ่ กิดขึน้ ในขณะตกยาก คอื เม่ือออกบวชเปน็ ภิกษุ และเดนิ ทางจารกิ ไปท่ัวประเทศ สุนทรภ่นู ่าจะไดบ้ ันทึกการเดนิ ทางของตนเอาไว้เปน็ นริ าศต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ หลงเหลอื ปรากฏมาถึงปัจจุบันเพยี ง 9 เรอื่ งเทา่ น้นั เพราะงานเขียนส่วนใหญข่ องสนุ ทรภูถ่ ูกปลวกทำลายไปเสยี เกือบ หมดเมอื่ ครั้งจำพรรษาอย่ทู ว่ี ดั เทพธดิ าราม แนวทางการประพนั ธ์ สุนทรภูช่ ำนาญงานประพันธ์ประเภทกลอนสภุ าพอย่างวิเศษ ได้ริเร่มิ การใช้กลอนสุภาพมาแตง่ กลอน นิทาน โดยมี โคบุตร เป็นเรือ่ งแรก ซ่ึงแตเ่ ดิมมากลอนนิทานเท่าทป่ี รากฏมาแต่ครั้งกรุงศรีอยธุ ยาล้วนแตเ่ ปน็ กลอน กาพย์ทงั้ สิน้ นายเจอื สตะเวทิน ได้กลา่ วยกย่องสนุ ทรภูใ่ นการริเรมิ่ ใชก้ ลอนสภุ าพบรรยายเรื่องราวเปน็ นิทานว่า \"ทา่ น สนุ ทรภู่ ไดเ้ รมิ่ ศักราชใหมแ่ ห่งการกวขี องเมืองไทย โดยสรา้ งโคบตุ รขึน้ ด้วยกลอนสุภาพ นบั ตั้งแต่เดิมมา เร่ืองนิทาน มักเขียนเป็นลลิ ติ ฉนั ท์ หรอื กาพย์ สุนทรภเู่ ปน็ คนแรกที่เสนอศิลปะของกลอนสุภาพ ในการสรา้ งนิทานประโลมโลก และก็เปน็ ผลสำเร็จ โคบตุ รกลายเป็นวรรณกรรมแบบฉบบั ท่ีนักแต่งกลอนทง้ั หลายถือเป็นครู นบั ไดว้ า่ โคบตุ รมีส่วน สำคัญยิง่ ในประวตั ิวรรณคดขี องชาติไทย\" สุนทรภู่ยงั ไดป้ ฏวิ ัติขนบการประพนั ธ์นริ าศด้วย ด้วยแตเ่ ดิมมาขนบการเขียนนริ าศยังนยิ มเขยี นเป็นโคลง ลกั ษณะการ ประพนั ธ์แบบเพลงยาว (คือการประพนั ธก์ ลอน) ยังไมเ่ รยี กว่า นิราศ แมน้ ริ าศรบพมา่ ที่ท่าดินแดง เดมิ ก็เรยี กวา่ เป็น เพลงยาวจดหมายเหตุ มาเปลี่ยนการเรยี กเปน็ นริ าศในชัน้ หลงั สนุ ทรภู่เป็นผ้รู เิ รม่ิ การแตง่ กลอนนริ าศเปน็ คนแรกและ ทำให้กลอนนิราศเป็นทน่ี ิยมแพรห่ ลายโดยการนำรปู แบบของเพลงยาวจดหมายเหตมุ าผสมกับคำประพันธป์ ระเภท กำสรวล กลวิธกี ารประพนั ธ์ที่พรรณนาความระหวา่ งเสน้ การเดนิ ทางกบั ประสบการณ์ตา่ ง ๆ ในชีวติ ก็เปน็ ลักษณะเฉพาะของสุนทรภู่ ซึง่ ผอู้ น่ื จะประพันธ์ในแนวทางเดยี วกนั น้ีให้ได้ใจความไพเราะและจับใจเท่าสนุ ทรภู่กย็ งั ยาก มิใช่แตเ่ พยี งฝีมือกลอนเทา่ นัน้ ทวา่ ประสบการณ์ของผปู้ ระพันธ์จะเทียบกับสนุ ทรภู่ก็มิได้ดว้ ยเหตุนก้ี ลอนนิราศ ของสุนทรภู่จึงโดดเดน่ เปน็ ทร่ี ู้จักยง่ิ กวา่ กลอนนิราศของผู้ใด และเป็นตน้ แบบของการแต่งนิราศในเวลาตอ่ มา อยา่ งไรก็ ดี นอกเหนือจากงานกลอน สุนทรภู่กม็ ีงานประพนั ธใ์ นรูปแบบอน่ื อีก เช่น พระไชยสรุ ยิ า ทีป่ ระพันธเ์ ป็นกาพยท์ ้ังหมด ประกอบดว้ ยกาพยย์ านี กาพยฉ์ บัง และกาพย์สุรางคนางค์ สว่ น นริ าศสพุ รรณ เปน็ นิราศเพียงเร่อื งเดยี วท่ีแต่งเป็น โคลง ชะรอยจะแต่งเพื่อลบคำสบประมาทว่าแตง่ ไดแ้ ตเ่ พียงกลอน แต่การแต่งโคลงคงจะไมถ่ นัด เพราะไม่ปรากฏว่า สนุ ทรภ่แู ตง่ กวนี ิพนธเ์ รื่องอน่ื ใดดว้ ยโคลงอีก

12 วรรณกรรมอนั เปน็ ท่เี คลือบแคลง ในอดีตเคยมคี วามเข้าใจกันว่า สุนทรภู่เป็นผ้แู ต่ง นิราศพระแทน่ ดงรัง แตต่ ่อมา ธนติ อยูโ่ พธิ์ ผู้เช่ียวชาญวรรณคดไี ทยและอดีตอธบิ ดีกรมศลิ ปากร ได้แสดงหลักฐานวเิ คราะหว์ า่ สำนวนการแต่งนริ าศพระแทน่ ดงรงั ไม่น่าจะใช่ของสนุ ทรภู่ เมือ่ พิจารณาประกอบกับเน้ือความ เปรยี บเทยี บกบั เหตุการณ์ในชวี ิตของสนุ ทรภู่ และกระบวน สำนวนกลอนแล้ว จึงสรปุ ไดว้ ่า ผูแ้ ต่งนริ าศพระแท่นดงรงั คอื นายมี หรือ เสมียนมี หมื่นพรหมสมพักสร ผูแ้ ต่งนริ าศ ถลางวรรณกรรมอกี ช้ินหน่ึงท่ีคาดวา่ ไม่ใชฝ่ มี ือแต่งของสนุ ทรภู่ คอื สภุ าษติ สอนหญงิ แต่นา่ จะเป็นผลงานของนายภู่ จลุ ละภมร ซ่ึงเป็นศิษย์ เนื่องจากงานเขยี นของสุนทรภู่ฉบับอ่ืน ๆ ไม่เคยข้ึนต้นดว้ ยการไหวค้ รู ซ่ึงแตกตา่ งจากสภุ าษติ สอนหญิงฉบบั น้ี นอกจากนย้ี ังมีวรรณกรรมอนื่ ๆ ท่ีสงสยั ว่าอาจจะเปน็ ผลงานของสนุ ทรภู่ ได้แก่ เพลงยาวสุภาษิต โลกนิติ ตำรายาอัฐกาล (ตำราบอกฤกษย์ ามเดนิ ทาง) สบุ นิ นิมติ คำกลอน และตำราเศษนารี การตพี ิมพ์ เผยแพร่ และดัดแปลงผลงาน ในยคุ สมยั ของสนุ ทรภู่ การเผยแพรง่ านเขยี นจะเป็นไปไดโ้ ดยการคดั ลอกสมดุ ไทย ซง่ึ ผู้คดั ลอกจ่ายค่า เร่ืองใหแ้ กผ่ ้ปู ระพันธ์ ดังท่สี มเดจ็ ฯ กรมพระยาดำรงราชานภุ าพไดส้ ันนษิ ฐานไว้วา่ สนุ ทรภแู่ ตง่ เรอื่ ง พระอภยั มณี ขาย เพ่อื เลีย้ งชีพ ดังนจี้ ึงปรากฏงานเขียนของสนุ ทรภูท่ เ่ี ป็นฉบบั คดั ลอกปรากฏตามท่ีตา่ ง ๆ หลายแหง่ จนกระท่ังถงึ ชว่ ง วัยชราของสุนทรภู่ การพิมพ์จึงเร่มิ เข้ามายงั ประเทศไทย โดยมีสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงใหก้ ารสนบั สนุน โรงพิมพ์ใน ยุคแรกเป็นโรงพมิ พห์ ลวง ตีพิมพ์หนงั สือราชการเท่านนั้ ส่วนโรงพมิ พ์ท่พี ิมพห์ นงั สือทั่วไปเรมิ่ ขึน้ ในช่วงตน้ พุทธ ศตวรรษท่ี ๒๕ (ต้ังแต่ พ.ศ.๒๔๐๑ เปน็ ตน้ ไป) โรงพมิ พ์ของหมอสมิทท่ีบางคอแหลม เป็นผู้นำผลงานของสุนทรภู่ไปตพี ิมพ์เปน็ ครงั้ แรกเมอื่ พ.ศ.๒๔๑๓ คอื เรื่อง พระอภยั มณี ซงึ่ เป็นทนี่ ยิ มอย่างสงู ขายดีมากจนหมอสมิทสามารถทำรายไดส้ ูงขนาดสรา้ งตกึ เป็นของตัวเอง ได้ หลังจากนั้นหมอสมทิ และเจา้ ของโรงพมิ พ์อน่ื ๆ ก็พากันหาผลงานเร่อื งอ่ืนของสุนทรภ่มู าตพี ิมพจ์ ำหน่ายซำ้ อีก หลายคร้ัง ผลงานของสุนทรภู่ได้ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จนหมดทุกเรื่อง แสดงถงึ ความนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับ เสภาเร่อื ง พระราชพงศาวดาร กบั เพลงยาวถวายโอวาท ได้ตีพิมพเ์ ทา่ ทจ่ี ำกันได้ เพราะต้นฉบับสญู หาย จนกระทั่ง ตอ่ มาไดต้ น้ ฉบับครบบรบิ ูรณ์จงึ พิมพใ์ หม่ตลอดเร่ืองในสมยั รชั กาลท่ี ๖ การแปลผลงานเป็นภาษาอื่น ผลงานของสนุ ทรภไู่ ดร้ บั การแปลเปน็ ภาษาตา่ ง ๆ ดังน้ี ภาษาไทยถ่ินเหนือ : พญาพรหมโวหาร กวเี อกของล้านนาแปล พระอภยั มณีคำกลอน เปน็ ค่าวซอตามความ ประสงคข์ องเจา้ แม่ทิพเกสร แตไ่ มจ่ บเร่ือง ถึงแค่ตอนที่ศรสี ุวรรณอภเิ ษกกบั นางเกษรา

13 ภาษาเขมร : ผลงานของสุนทรภู่ทแี่ ปลเป็นภาษาเขมรมีสามเรอ่ื งคือ พระอภัยมณี ไม่ปรากฏชอื่ ผ้แู ปล แปลถึงแค่ ตอนทนี่ างผีเส้ือสมทุ รลักพระอภัยมณีไปไวใ้ นถ้ำเทา่ น้ัน ลักษณวงศ์ แปลโดย ออกญาปญั ญาธบิ ดี (แยม) สุภาษิตสอนหญงิ หรอื สภุ าษิตฉบับสตรี แปลโดยออกญาสุตตันตปรีชา (อินทร์) ภาษาอังกฤษ : ผลงานของสนุ ทรภู่ท่ีแปลเป็นภาษาอังกฤษได้แก่ พระวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จา้ เปรมบรุ ฉตั ร ทรงแปลเร่ือง พระอภยั มณี เป็นภาษาองั กฤษทั้งเร่ือง เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๙๕ นริ าศเมอื งเพชร ฉบบั ไทย-อังกฤษ เปน็ หนงั สือฉบับพกพาสองภาษา ไทย-องั กฤษ แปลเป็นภาษาองั กฤษ โดยเสาวณยี ์ นวิ าศะบุตร พมิ พค์ ร้งั แรกในเดือน มิถนุ ายน พ.ศ.๒๕๕๖ จัดจำหน่ายโดยบรษิ ัทเคลด็ ไทย จำกัด ละคร มกี ารนำกลอนนิทานเรือ่ ง สงิ หไตรภพ มาดดั แปลงเปน็ ละครหลายคร้งั โดยมากมักเปลย่ี นชอ่ื เป็น สิงหไกรภพ โดย เปน็ ละครโทรทัศน์แนวจักร ๆ วงศ์ ๆ และละครเพลงร่วมสมยั โดยภทั ราวดีเธียเตอร์ นอกจากน้ีมเี รอ่ื ง ลกั ษณวงศ์ และ พระอภัยมณี ที่มีการนำเนื้อหาบางส่วนมาดดั แปลง ตอนที่นิยมนำมาดดั แปลงมากทส่ี ดุ คือ เรอ่ื งของสุดสาครลักษณ วงศ์ ยังได้นำไปแสดงเปน็ ละครนอก โดยศูนยศ์ ลิ ปวัฒนธรรมแหง่ ชาติภาคตะวันตก จังหวัดสพุ รรณบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีกำหนดการแสดงหลายรอบในเดือนพฤศจิกายน ภาพยนตร์ พ.ศ. ๒๕๐๙ ภาพยนตร์ พระอภัยมณี ฉบับของ ครูรงั สี ทศั นพยัคฆ์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบญั ชา - เพชรา เชาวราษฎร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ภาพยนตร์การต์ นู \"สุดสาคร\" ผลงานสรา้ งของ ปยตุ เงากระจา่ ง พ.ศ. ๒๕๔๕ ภาพยนตร์ พระอภยั มณี ผลติ โดย ซอฟต์แวร์ ซพั พลายส์ อินเตอรเ์ นช่ัลแนล กำกบั โดย ชลทั ศรวี รรณา จบั ความตงั้ แต่เร่ิมเรื่อง ไปจนถงึ ตอน นางเงือกพาพระอภยั มณหี นีจากนางผเี ส้อื สมุทร และพระอภัยมณีเป่าปส่ี งั หาร นาง พ.ศ.๒๕๔๙ โมโนฟิล์ม ได้สรา้ งภาพยนตร์จากเร่ือง พระอภยั มณี เร่อื ง สุดสาคร โดยจบั ความตั้งแต่กำเนิดสุดสาคร จน ส้ินสุดทีก่ ารเดนิ ทางออกจากเมืองการะเวกเพ่ือติดตามหาพระอภัยมณี พ.ศ.๒๕๔๙ ภาพยนตร์การ์ตูน เร่ือง สิงหไกรภพ ความยาว ๔๐ นาที เพลง บทประพนั ธจ์ ากเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีเก้ียวนางละเวง ไดน้ ำไปดดั แปลงเลก็ นอ้ ยกลายเปน็ เพลง \"คำมน่ั สัญญา\" ประพันธท์ ำนองโดย สุรพล แสงเอก บนั ทกึ เสียงคร้ังแรกโดย ปรีชา บญุ ยเกียรติ ใจความดงั นี้

14 ถงึ มว้ ยดินส้นิ ฟา้ มหาสมุทร ไม่ส้นิ สุดความรักสมคั รสมาน แม้อยใู่ นใตห้ ล้าสธุ าธาร ขอพบพานพิศวาสไมค่ ลาดคลา แมเ้ นื้อเย็นเปน็ หว้ งมหรรณพ พขี่ อพบศรีสวสั ด์ิเปน็ มจั ฉา แมเ้ ปน็ บัวตวั พเ่ี ปน็ ภุมรา เชยผกาโกสมุ ปทุมทอง แม้เป็นถ้ำอำไพใครเ่ ปน็ หงส์ จะรอ่ นลงสงิ สูเ่ ปน็ ค่สู อง ขอตดิ ตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป... อีกเพลงหน่ึงคือเพลง \"รสตาล\" ของครูเอ้อื สนุ ทรสนาน คำร้องโดยสุรพล โทณะวนิก ซ่ึงใชน้ ามปากกาว่า วงั สันต์ ได้ แรงบันดาลใจจากบทกลอนของสุนทรภู่ เรอื่ ง นิราศพระบาท เนื้อหาดังน้ี เจา้ ของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น เพราะดน้ั ด้นอยากล้ิมชมิ รสหวาน คร้นั ได้รสสดสาวจากจาวตาล ยอ่ มซาบซ่านหวานซึ้งตรงึ ถงึ ทรวง ไหนจะยอมให้เจา้ หล่นลงเจ็บอก เพราะอยากวกขึ้นล้ินชมิ ของหวง อนั รสตาลหวานละมา้ ยคลา้ ยพุ่มพวง พ่ีเจบ็ ทรวงชำ้ อกเหมือนตกตาล... หนงั สือและการ์ตนู งานเขยี นของสนุ ทรภูโ่ ดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่องพระอภัยมณี จะถูกนำมาเรียบเรียงเขยี นใหม่โดย นักเขียนจำนวนมาก เชน่ พระอภยั มณีฉบบั ร้อยแก้ว ของเปรมเสรี หรือหนงั สือการ์ตนู อภยั มณซี ากา้ อีกเรื่องหนง่ึ ท่ีมี การนำมาสร้างใหม่เปน็ หนงั สือการ์ตนู คือ สงิ หไตรภพ ในหนงั สือ ศกึ อัศจรรย์สงิ หไกรภพ ที่เขียนใหม่เป็นการ์ตนู แนวมงั งะ ช่ือเสยี งและคำวจิ ารณ์ สนุ ทรภนู่ ับเป็นผมู้ ีบทบาทสำคญั ในการสรา้ งวรรณคดีประเภทรอ้ ยกรอง หรือ \"กลอน\" ใหเ้ ปน็ ที่นยิ ม แพรห่ ลาย ท้ังยงั วางจงั หวะวธิ ใี นการประพันธ์แบบใหม่ให้แกก่ ารแต่งกลอนสภุ าพดว้ ย เนาวรตั น์ พงษไ์ พบลู ย์ กวี รัตนโกสินทร์ ยกยอ่ งความสามารถของสนุ ทรภู่วา่ \"พระคณุ ครูศักด์ิสิทธิ์คดิ สร้างสรรค์ ครูสรา้ งคำแปดคำให้สำคัญ\" สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธไ์ ว้ในหนงั สือ \"ประวตั ิสุนทรภู่\" วา่ ด้วยเกียรติ คณุ ของสุนทรภูว่ ่า \"ถ้าจะลองให้เลือกกวไี ทยบรรดาทมี่ ีชื่อเสียงปรากฏมาในพงศาวดารคัดเอาแต่ท่ีวเิ ศษสดุ เพยี ง ๕ คน ใคร ๆ เลือกกเ็ ห็นจะเอาช่ือสนุ ทรภ่ไู ว้ในกวหี า้ คนนัน้ ด้วย\" เปลื้อง ณ นคร ไดร้ วบรวมประวตั ิวรรณคดไี ทยในยคุ สมยั ตา่ ง ๆ นับแตส่ มัยสโุ ขทัยไปจนถงึ สมยั รัฐธรรมนูญ (คอื สมยั ปจั จบุ นั ในเวลาทปี่ ระพันธ์) โดยไดย้ กยอ่ งวา่ \"สมยั พทุ ธเลศิ หล้าเปน็ จุดยอดแห่งวรรณคดปี ระเภทกาพย์กลอน ตอ่ จากสมยั น้ีระดบั แห่งกาพย์กลอนก็ต่ำลงทุกที จนอาจ กลา่ วได้ว่า เราไม่มหี วังอีกแล้วทจ่ี ะได้คำกลอนอยา่ งเสภาเร่ืองขุนชา้ งขุนแผน และเรื่องพระอภยั มณ\"ี โดยที่ในสมยั

15 ดงั กล่าวมสี ุนทรภู่เป็น \"บรมครทู างกลอนแปดและกวเี อก\" ซงึ่ สรา้ งผลงานอันเปน็ ท่รี ้จู กั และนยิ มแพร่หลายในหมู่ ประชาชน ทงั้ นเ้ี นือ่ งจากกวนี ิพนธใ์ นยุคก่อนมักเปน็ คำฉันท์หรือลิลติ ซง่ึ ประชาชนเขา้ ไม่ถึง สุนทรภู่ไดป้ ฏวิ ัตงิ านกวี นพิ นธ์และสรา้ งขนบการแต่งกลอนแบบใหม่ข้นึ มา จนเปน็ ท่เี รียกกันทว่ั ไปวา่ \"กลอนตลาด\" เพราะเป็นท่นี ิยมอยา่ ง มากในหมชู่ าวบ้านน่ันเอง เทียนวรรณ ได้รวบรวมงานเขียน หนง่ึ ในนน้ั คืองานที่ท่านเคยวจิ ารณว์ รรณคดเี ร่ือง “พระอภัยมณี” ของสุนทรภู่ เป็นการวจิ ารณ์วา่ คืองานเขียนท่ีดีแฝงไปดว้ ยสภุ าษติ และเปน็ งานเขียนท่ีแปลกไปกวา่ วรรณคดีท่ีแตง่ ในช่วงน้นั ๆ นธิ ิ เอียวศรีวงศ์ เหน็ ว่า สนุ ทรภู่ นา่ จะเป็นผู้มีอิทธิพลอยา่ งมากในสังคมกระฎุมพีช่วงตน้ รตั นโกสินทร์ กระฎมุ พี เหลา่ นีล้ ว้ นเปน็ ผู้เสพผลงานของสนุ ทรภู่ และเหน็ สาเหตุหนึ่งทีผ่ ลงานของสนุ ทรภูไ่ ดร้ บั การตอบรับเป็นอย่างดเี พราะ สอดคล้องกับความคดิ ความเช่ือของผู้อ่านน่นั เอง นอกเหนือจากความนยิ มในหมู่ประชาชนชาวสยาม ชือ่ เสียงของสุนทรภู่ยงั แพร่ไปไกลยงิ่ กว่ากวีใด ๆ ใน เพลงยาว ถวายโอวาท สุนทรภกู่ ล่าวถึงตวั เองว่า \"อยา่ งหม่อมฉันอันที่ดีและชวั่ ถงึ ลบั ตวั แต่กช็ อ่ื เขาลือฉาว เปน็ อาลกั ษณ์นกั เลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือ เลอื่ งถึงเมอื งนคร\" ข้อความนีท้ ำให้ทราบวา่ ชอื่ เสียงของสนุ ทรภู่เลื่องลือไปไกลนอกเขตราชอาณาจกั รไทย แต่ไปถึงอาณาจักรเขมร และเมืองนครศรธี รรมราชทเี ดียว คณุ วิเศษแห่งความเปน็ กวขี องสนุ ทรภู่จงึ อยู่ในระดับกวีเอกของชาติ ศ.เจือ สตะเวทิน เอ่ยถึงสนุ ทรภ่โู ดยเปรยี บเทียบ กับกวเี อกของประเทศตา่ ง ๆ วา่ \"สนุ ทรภู่มีศลิ ปะไมแ่ พล้ ามาตีน ฮโู ก หรอื บลั ซัคแหง่ ฝร่ังเศส... มีจิตใจและวญิ ญาณสูง อาจจะเท่าเฮเนเลนอ แหง่ เยอรมนี หรือลิโอปารดี และมันโซนีแห่งอิตาล\"ี สนุ ทรภู่ยังไดร้ ับยกย่องวา่ เปน็ \"เชกสเปยี ร์ แห่งประเทศไทย งานวิจัยทนุ ฟลุ ไบรท์-เฮยส์ ของคาเรน แอนน์ แฮมลิ ตนั ได้เปรียบเทียบสุนทรภู่เสมือนหนึง่ เชกสเปยี ร์หรอื ชอเซอร์แห่งวงการวรรณกรรมไทย เกยี รติคุณและอนสุ รณบ์ คุ คลสำคัญของโลก (ดา้ นวรรณกรรม) ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ในโอกาสครบรอบวนั เกิด ๒๐๐ ปีของสนุ ทรภู่ องคก์ ารยเู นสโกไดป้ ระกาศใหส้ นุ ทรภู่ เป็นบุคคลสำคญั ของโลกทางดา้ นวรรณกรรม นับเปน็ ชาวไทยคนที่ ๕ และเป็นสามญั ชนชาวไทยคนแรกที่ไดร้ บั เกยี รติ นี้ ในปนี น้ั สมาคมภาษาและหนงั สือแหง่ ประเทศไทยในพระบรมราชูปถมั ภจ์ ึงได้จดั พิมพ์เผยแพร่หนังสือ \"อนุสรณ์ สุนทรภู่ ๒๐๐ ป\"ี และมกี ารจดั ต้ังสถาบันสนุ ทรภูข่ ้ึนเพ่อื ส่งเสรมิ กิจกรรมเกีย่ วกับการเผยแพรช่ วี ิตและผลงานของ สุนทรภู่ใหเ้ ปน็ ทรี่ ูจ้ ักกันอยา่ งกวา้ งขวางมากยงิ่ ข้นึ อนุสาวรยี ์และหนุ่ ป้ัน อนุสาวรีย์สนุ ทรภทู่ ่ี อำเภอแกลง จังหวดั ระยอง

16 อนุสาวรยี ์สุนทรภ่แู หง่ แรก สร้างขึ้นที่ ต.กรำ่ อ.แกลง จ.ระยอง ซ่งึ เปน็ บ้านเกดิ ของท่านบิดาของสุนทรภู่ โดยวางศลิ าฤกษเ์ ม่ือวนั ท่ี ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๘ อนั เปน็ ปที ค่ี รบรอบ ๑๐๐ ปกี ารถงึ แก่อนจิ กรรมของสนุ ทรภู่ และ มพี ิธเี ปิดอย่างเปน็ ทางการเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๓ ภายในอนุสาวรียม์ ีห่นุ ปนั้ ของสุนทรภู่ และตัวละครใน วรรณคดีเร่ืองเอกของทา่ นคือ พระอภยั มณี ทีด่ ้านหน้าอนสุ าวรีย์มี หมดุ กวี หมุดที่ ๒๔ ปักอยู่ ยงั มีอนุสาวรียส์ ุนทรภู่ท่ี จงั หวัดอน่ื ๆ อกี ไดแ้ ก่ ท่ีท่าน้ำหลงั วัดพลับพลาชยั ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบรุ ี จังหวดั เพชรบรุ ี ซงึ่ เป็น จดุ ท่สี นุ ทรภไู่ ด้เคยมาตามนริ าศเมืองเพชร อนั เปน็ นิราศเร่ืองสดุ ทา้ ยของทา่ น และเช่ือว่าเพชรบุรีเป็นบา้ นเกิดของ มารดาของท่านดว้ ย อนสุ าวรยี อ์ กี แหง่ หน่ึงต้งั อยทู่ ว่ี ดั ศรสี ดุ าราม เนอ่ื งจากเป็นสถานท่ที ่ีเช่อื วา่ ทา่ นได้เลา่ เรียนเขียน อ่านเม่ือวัยเยาวท์ ีน่ ี่ นอกจากน้มี รี ูปปั้นหุ่นขผี้ งึ้ สนุ ทรภู่ ตลอดจนหนุ่ ข้ผี ้ึงในวรรณคดเี รื่อง พระอภัยมณี จัดแสดงท่ี พพิ ิธภัณฑ์หนุ่ ขผี้ ้งึ ไทย จังหวดั นครปฐม พพิ ิธภณั ฑ์ กุฏิสนุ ทรภู่ หรอื พพิ ิธภณั ฑส์ ุนทรภู่ ตัง้ อยทู่ ว่ี ัดเทพธดิ าราม ถ.มหาไชย กรงุ เทพฯ เป็นอาคารซึ่งปรับปรุง จากกฏุ ทิ ส่ี ุนทรภูเ่ คยอาศยั อยู่เม่อื ครั้งจำพรรษาอยู่ที่นี่ ปจั จุบนั เปน็ ทีต่ ้งั ของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และมี การจัดกจิ กรรมวันสนุ ทรภ่เู ป็นประจำทุกปี วันสนุ ทรภู่ หลงั จากองคก์ ารยูเนสโกได้ประกาศยกยอ่ งให้สนุ ทรภ่เู ปน็ ผู้มผี ลงานดเี ด่นทางวรรณกรรมระดับโลกเม่ือปี พ.ศ.๒๕๒๙ ตอ่ มาในปี พ.ศ.๒๕๓๐ นายเสวตร เปย่ี มพงศส์ านต์ อดตี รองนายกรัฐมนตรี ได้จดั ต้งั สถาบันสุนทรภขู่ ้ึน และกำหนดให้วันท่ี ๒๖ มถิ นุ ายนของทกุ ปี เปน็ วันสนุ ทรภู่ นับแต่นนั้ ทุก ๆ ปเี มื่อถึงวนั สนุ ทรภู่ จะมีการจดั งานรำลกึ ถงึ สนุ ทรภูต่ ามสถานท่ีตา่ ง ๆ เชน่ ท่ีพิพธิ ภณั ฑ์สนุ ทรภู่ วดั เทพธิดาราม และทจี่ ังหวัดระยอง (ซง่ึ มักจดั พรอ้ มงาน เทศกาลผลไม้จังหวดั ระยอง) รวมถงึ การประกวดแต่งกลอน ประกวดคำขวัญ และการจัดนทิ รรศการเก่ยี วกับสุนทรภู่ ในโรงเรียนต่าง ๆ ทวั่ ประเทศ รายชอื่ ผลงาน งานประพันธ์ของสนุ ทรภเู่ ทา่ ที่มกี ารคน้ พบในปจั จบุ ันมีปรากฏอยู่เพียงจำนวนหนึ่ง และสญู หายไปอีก เปน็ จำนวนมาก ถึงกระนั้นตามจำนวนเทา่ ทค่ี ้นพบก็ถือวา่ มีปรมิ าณค่อนขา้ งมาก เรยี กได้วา่ สนุ ทรภู่เปน็ \"นักแต่ง กลอน\" ที่สามารถแต่งกลอนได้รวดเร็วหาตวั จับยาก ผลงานของสนุ ทรภ่เู ทา่ ทคี่ น้ พบในปจั จบุ นั มีดงั ตอ่ ไปน้ี นริ าศ นิราศเมืองแกลง (พ.ศ.๒๓๔๙) - แตง่ เม่อื หลงั พ้นโทษจากคุก และเดนิ ทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง นิราศพระบาท (พ.ศ.๒๓๕๐) - แตง่ หลงั จากกลบั จากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจา้ ปฐมวงศ์ไปนมัสการ รอยพระพุทธบาททจ่ี งั หวดั สระบรุ ีในวันมาฆบูชา

17 นิราศภเู ขาทอง (ประมาณ พ.ศ.๒๓๗๑) - แต่งโดยสมมุติวา่ เณรหนูพดั เป็นผูแ้ ต่ง ไปนมัสการพระเจดยี ์ภเู ขาทองที่ จังหวดั อยธุ ยา นิราศสพุ รรณ (ประมาณ พ.ศ.๒๓๗๔) - แตง่ เม่ือครงั้ ยังบวชอยู่ และไปคน้ หายาอายวุ ัฒนะท่จี งั หวดั สพุ รรณบรุ ี เป็น ผลงานเรอ่ื งเดยี วของสุนทรภู่ทแ่ี ต่งเป็นโคลง นิราศวดั เจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ.๒๓๗๕) - แตง่ เมื่อครงั้ ยังบวชอยู่ และไปคน้ หายาอายุวฒั นะตามลายแทงทวี่ ัดเจา้ ฟา้ อากาศ (ไมป่ รากฏวา่ ที่จริงคอื วัดใด) ท่ีจังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา เทพ สุนทรศารทูลเสนอวา่ นิราศดงั กลา่ วเปน็ ผลงาน ของพัด ภู่เรือหงส์ บตุ รของสุนทรภู่ นริ าศอิเหนา (ไมป่ รากฏ, คาดวา่ เปน็ สมัยรัชกาลที่ ๓) - แต่งเป็นเน้ือเรอ่ื งอเิ หนารำพนั ถึงนางบษุ บา เทพ สนุ ทรศารทูล เสนอวา่ นริ าศดงั กลา่ วเปน็ ผลงานของกรมหลวงภูวเนตรนรนิ ทรฤทธิ์ รำพนั พิลาป (พ.ศ.๒๓๘๕) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยทู่ ี่วัดเทพธิดาราม แลว้ เกิดฝันรา้ ยวา่ ชะตาขาด จงึ บนั ทึกความฝัน พรอ้ มรำพนั ความอาภัพของตัวไว้เปน็ \"รำพันพิลาป\" จากน้ันจงึ ลาสิกขาบท นิราศพระประธม (พ.ศ.๒๓๘๕) - เชอ่ื วา่ แตง่ เมอื่ หลังจากลาสิกขาบทและเขา้ รับราชการในพระบาทสมเดจ็ พระปน่ิ เกล้าเจา้ อยู่หวั ไปนมสั การพระประธมเจดยี ์ (หรือพระปฐมเจดยี ์) ท่เี มืองนครชัยศรี นิราศเมืองเพชร (พ.ศ.๒๓๘๘) - แตง่ เมื่อเข้ารบั ราชการในพระบาทสมเด็จพระปนิ่ เกล้าเจ้าอยหู่ วั เช่ือวา่ ไปธุระราชการ อยา่ งใดอยา่ งหน่ึง นริ าศเรอ่ื งนมี้ ฉี บับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเตมิ ซงึ่ อ.ล้อม เพ็งแกว้ เช่อื วา่ บรรพบรุ ษุ ฝา่ ยมารดาของสนุ ทร ภ่เู ป็นชาวเมอื งเพชรบุรี นทิ าน โคบตุ ร : เช่ือว่าเปน็ งานประพันธ์ชน้ิ แรกของสนุ ทรภู่ เป็นเร่ืองราวของ \"โคบุตร\" ซ่งึ เป็นโอรสของพระอาทติ ย์กับนาง อปั สร แตเ่ ติบโตขึ้นมาดว้ ยการเลยี้ งดขู องนางราชสพี ระอภัยมณี : คาดว่าเร่มิ ประพันธใ์ นสมัยรชั กาลที่ ๒ และแตง่ ๆ หยุด ๆ เรื่อยมาจนถึงสมยั รชั กาลที่ ๔ เปน็ ผลงานช้ินเอกของสุนทรภู่ ได้รบั ยกยอ่ งจากวรรณคดสี โมสรใหเ้ ป็นสุดยอด วรรณคดไี ทยประเภทกลอนนิทาน พระไชยสุรยิ า : เป็นนิทานท่สี ุนทรภแู่ ตง่ ดว้ ยฉันทลกั ษณป์ ระเภทกาพยห์ ลายชนิด ไดแ้ ก่ กาพยย์ านี ๑๑ กาพยฉ์ บงั ๑๖ และกาพย์สรุ างคนางค์ ๒๘ เปน็ นิทานสำหรับสอนอา่ น เนอ้ื หาเรียงลำดับความงา่ ยไปยาก จากแม่ ก กา แมก่ น กง กก กด กบ กม และเกย เชือ่ ว่าแต่งข้ึนประมาณ พ.ศ.๒๓๘๓ – ๒๓๘๕ ลักษณวงศ์ : เป็นนทิ านแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ทีน่ ำโครงเรื่องมาจากนิทานพืน้ บ้าน แต่มีตอนจบท่ีแตกตา่ งไปจากนทิ าน ทั่วไปเพราะไม่ได้จบด้วยความสุข แตจ่ บดว้ ยงานสมโภชศพนางทิพเกสร ชายาของลักษณวงศท์ ส่ี ิน้ ชีวิตด้วยการสง่ั ประหารของลกั ษณวงศเ์ อง สงิ หไกรภพ : เช่ือว่าเริ่มประพันธเ์ มอ่ื ครัง้ ถวายอักษรแด่เจ้าฟา้ อาภรณ์ ภายหลงั จึงแต่งถวายกรมหม่นื อปั สรสดุ าเทพ

18 และนา่ จะหยุดแต่งหลงั จากกรมหม่นื อปั สรสดุ าเทพส้ินพระชนม์ สงิ หไตรภพเป็นตัวละครเอกที่แตกต่างจากตวั พระใน เร่อื งอน่ื ๆ เนื่องจากเปน็ คนรักเดียวใจเดยี ว สภุ าษติ สวัสดิรักษา : คาดว่าประพันธ์ในสมยั รัชกาลท่ี ๒ ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแดเ่ จ้าฟา้ อาภรณ์ เพลงยาวถวายโอวาท : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ขณะเป็นพระอาจารยถ์ วายอักษรแด่เจา้ ฟ้ากลางและเจ้า ฟา้ ปว๋ิ สภุ าษิตสอนหญงิ : เปน็ หนึ่งในผลงานซึง่ ยังเป็นท่เี คลอื บแคลงวา่ สนุ ทรภเู่ ป็นผ้ปู ระพนั ธ์จริงหรือไม่ เทพ สนุ ทรศารทลู เสนอวา่ น่าจะเป็นผลงานของภู่ จลุ ละภมร ศิษย์ของสุนทรภูเ่ อง บทละคร มีการประพนั ธไ์ วเ้ พียงเร่ืองเดียวคือ อภยั นุราช ซึง่ เขียนขึ้นในสมยั รชั กาลท่ี ๔ เพือ่ ถวายพระองคเ์ จา้ ดวงประภา พระธดิ าในพระบาทสมเดจ็ พระป่นิ เกล้าเจา้ อยหู่ ัว บทเสภา ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม เสภาพระราชพงศาวดาร บทเหก่ ล่อมพระบรรทม นา่ จะแตง่ ข้ึนสำหรบั ใชข้ บั กล่อมหม่อมเจา้ ในพระองคเ์ จา้ ลักขณานคุ ณุ กบั พระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระป่ินเกล้าเจา้ อยหู่ ัวเท่าที่พบมี ๔ เรอื่ งคอื เห่เรือ่ งพระอภยั มณี เห่เรอ่ื งโคบตุ ร เห่เรอ่ื งจับระบำ เห่เรอื่ งกากี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook