Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กฎหมายครูของสาธารณรัฐประชาชนจีน

กฎหมายครูของสาธารณรัฐประชาชนจีน

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-09-24 03:47:45

Description: กฎหมายครูของสาธารณรัฐประชาชนจีน

Search

Read the Text Version

กฎหมายครู ของ สาธารณรฐั ประชาชนจนี สาํ นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาแหง ชาติ สาํ นักนายกรัฐมนตรี

กฎหมายครู ของ สาธารณรัฐประชาชนจีน TEACHER LAW OF THE PEOPLE’S REPUBLIC OF CHINA DECREE OF THE PRESIDENT OF THE PEOPLE’S REPUBLIC OF CHINA แปลและสรุปโดย ดร. สุรศักดิ์ หลาบมาลา สาํ นักงานโครงการพิเศษเพื่อการปฏิรูปการฝกหัดครูฯ (สปค.) สาํ นักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ มนี าคม 2541

คํานํา ปญ หาการสรรหาคนดี คนเกง มาเปน ครู และรักษาครูดี ครูเกง ให สามารถปฏิบัติงานครูไดนั้น เปน ปญ หาทางการศกึ ษาของทกุ ประเทศในโลกปจ จบุ นั ประเทศไทยกาํ ลงั ประสบวกิ ฤตครอู ยา งรุนแรงและครบวงจร เชน ในเรอ่ื ง การสรรหา การพฒั นาประสทิ ธภิ าพการสอน สํานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษา แหง ชาติ และหนว ยงานตา ง ๆ ไดพยายามปฏริ ปู ครู แตยังไมประสบความสาํ เรจ็ ทา นอาจารยส รุ ศกั ด์ิ หลาบมาลา ทป่ี รกึ ษาสํานกั งานคณะกรรมการ- การศกึ ษาแหง ชาติ ไดแ ปลกฎหมายครขู องประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจนี ซึ่งได ประกาศใชเมื่อป พ.ศ. 2536 และเหน็ วา เปน พระราชบญั ญตั เิ กย่ี วกบั ครทู ส่ี มบรู ณท ส่ี ดุ สํานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาแหง ชาติ จงึ ขอเผยแพร เพอ่ื วา ใน อนาคตประเทศไทยจะใหความสําคัญ และมกี ฎหมายเกย่ี วกบั ครทู ด่ี เี ชน เดยี วกบั ประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจนี ในดา นหนง่ึ บา ง (นายรงุ แกว แดง) เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศกึ ษาแหง ชาติ

คําบัญชาของประธานาธิบดี สาธารณรฐั ประชาชนจนี กฎหมายครู ของสาธารณรฐั ประชาชนจนี

คําบัญชาของประธานาธิบดี สาธารณรัฐประชาชนจีน หมายเลข 15 กฎหมายครูของสาธารณรัฐประชาชนจีนไดรับความเห็นชอบในการ ประชมุ วาระท่ี 4 (Fourth Session) ของคณะกรรมการถาวร ในการประชมุ สภาประชา ชนแหง ชาติ คร้ังท่ี 8 ของสาธารณรฐั ประชาชนจนี เมอ่ื วนั ท่ี 31 ตุลาคม 2536 และไดร บั ความเหน็ ชอบของสภาใหม ผี ลบงั คบั ตง้ั แตว นั ท่ี 1 มกราคม 2537 เจยี ง เจอ หมนิ ประธานาธบิ ดสี าธารณรฐั ประชาชนจนี 31 ตุลาคม 2536

เกย่ี วกบั ผแู ปล รองศาสตราจารย ดร. สรุ ศกั ด์ิ หลาบมาลา ปจ จบุ นั เปน ขา ราชการบาํ นาญ ปฏบิ ตั หิ นา ทท่ี ป่ี รกึ ษาสํานกั งานโครงการ พเิ ศษเพอ่ื การปฏริ ปู การฝก หดั ครู พฒั นาครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา (สปค.) สํานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาแหง ชาติ สําเรจ็ ปรญิ ญาโท - เอก สาขาบรหิ าร นเิ ทศก และวจิ ยั การศกึ ษา จาก มหาวทิ ยาลยั อลิ ลนิ อยส รฐั อลิ ลนิ อยส สหรฐั อเมรกิ า เคยรบั ราชการเปน อาจารยส ถาบนั ราชภฏั บา นสมเดจ็ เจา พระยา หวั หนา ฝายสถิติและวิจัย กองแผนงาน สํานกั งานสภาสถาบนั ราชภฏั และหวั หนา หนว ย ศกึ ษานเิ ทศก สํานกั งานสภาสถาบนั ราชภฏั ผลงานทางวชิ าการมที ง้ั หนงั สอื เชน เทคนิคการสอนอุดมศึกษา จติ วทิ ยาการปรบั ตวั สถติ เิ พอ่ื การวจิ ยั การศกึ ษา ฯลฯ และบทความทางวชิ าการในวาร สารพฒั นาหลกั สตู ร กรมวชิ าการ วทิ ยาจารยข องครุ สุ ภา วารสารการอุดมศกึ ษา และคุรุ ปรทิ ศั นข องสํานกั งานสภาสถาบนั ราชภฏั เ ค ย ทํ า หนาท่ีอาจารยพิเศษและที่ ปรึกษาวิ ทยานิพนธของ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล มหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร และโรงเรยี นนายเรอื

กฎหมายครขู องสาธารณรฐั ประชาชนจนี หมวด 1 หลักการทั่วไป มาตรา 1 กฎหมายฉบับนไ้ี ดถ กู ตราขน้ึ เพื่อรักษาผลประโยชนและสิทธติ าม กฎหมายของครู เพอ่ื สรา งคณะครผู มู จี รยิ ธรรมและทกั ษะวชิ าชพี สงู และสงเสรมิ การ พฒั นาการศกึ ษาตามเจตนารมณข องหลกั การสงั คมนยิ ม มาตรา 2 กฎหมายฉบับน้ีใชบังคับกับครูท่ีใหการศึกษาและสอนในโรง เรยี นทกุ ประเภททกุ ระดบั และสถาบนั การศกึ ษาอน่ื ๆ มาตรา 3 ครู คือ บคุ ลากรวชิ าชพี ทร่ี บั ภาระดา นการศกึ ษาและการสอน ทําหนา ทถ่ี า ยทอดความรู ใหก ารศกึ ษาประชาชน ฝกอบรม ผสู รา งและสบื ทอดเจตนา รมณส งั คมนยิ ม และปรบั ปรงุ คุณภาพของประชาชน ครูตองอุทิศตนเพื่อการศึกษาตาม เจตนารมณข องประชาชน มาตรา 4 รฐั บาลของประชาชนทกุ ระดบั ตอ งมมี าตรการ เพอ่ื เสรมิ สรา ง อดุ มการณแ ละการเมอื งทางการศกึ ษา และฝก อบรมวชิ าชพี ครู ปรับปรุงสภาวะการ ทํางานและความเปน อยขู องครู รกั ษาสทิ ธแิ ละผลประโยชนต ามกฎหมายของครู และ ยกฐานะทางสงั คมของครใู หส งู ขน้ึ เพอ่ื ครจู ะไดร บั การยกยอ งนบั ถอื ในสงั คมโดยทว่ั ไป มาตรา 5 กรมการบรหิ ารการศกึ ษาภายใตส ภาแหง รฐั รบั ผดิ ชอบงานท่ี เกย่ี วกบั ครทู ว่ั ประเทศ กรมอน่ื ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ งภายใตส ภาแหง รฐั รบั ผดิ ชอบงานทเ่ี กย่ี วขอ งกบั ครู ตามภาระหนา ทข่ี องตน

โรงเรยี นและสถาบนั การศกึ ษาดาํ เนนิ การบรหิ ารครโู ดยตรง ภายใตกฎและ ระเบยี บทเ่ี กย่ี วขอ งของรฐั มาตรา 6 ใหว นั ท่ี 10 กนั ยายนของทกุ ป เปน วนั ครแู หง ชาติ

หมวด 2 สทิ ธแิ ละหนา ท่ี มาตรา 7 ครูมีสิทธิดังตอไปนี้ (1) ครูดาํ เนนิ กจิ กรรมดา นการศกึ ษาและการสอน ดําเนนิ การปฏริ ปู และ ทดลองทางการศกึ ษาและการสอน (2) รว มในกจิ กรรมการวจิ ยั ทางวทิ ยาศาสตร การแลกเปลย่ี นทางวชิ าการ เปน สมาชกิ สมาคมวชิ าการ และแสดงทศั นะสว นตวั ในกจิ กรรมทางวชิ าการอยา งเตม็ ที่ (3) ใหคาํ แนะนํานกั เรยี นเกย่ี วกบั การเรยี นและพฒั นาการ ประเมนิ ความ ประพฤตแิ ละผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นของนกั เรยี น (4) ไดรบั เงินเดือนและคาตอบแทนตรงเวลา ไดรับสวัสดิการจากรัฐ และ ไดร บั เงนิ เดอื นในระหวา งปด เรยี นภาคฤดหู นาวและภาคฤดรู อ น (5) เสนอความคดิ เหน็ และคาํ แนะนาํ เกยี่ วกบั การศกึ ษาและการสอน การบรหิ ารโรง เรยี น และงานของกรมการบรหิ ารการศกึ ษา และมสี ว นรว มในการบรหิ ารโรงเรยี นแบบ ประชาธิปไตย โดยผา นทางผแู ทนในการสมั มนาการสอนหรอื การสมั มนาการบรหิ าร หรอื ในรปู แบบอน่ื (6) เขา เรยี นเพอ่ื เสรมิ ความรู หรอื รปู แบบอน่ื ของการฝก อบรม มาตรา 8 ครูตองปฏิบัติภารกิจดังตอไปนี้ (1) ปฏบิ ตั ติ ามกฎหมายรฐั ธรรมนญู กฎหมายอน่ื ๆ และจรรยาบรรณวชิ าชพี และเปนบุคคลตัวอยางแหงคุณงามความดแี ละการเรยี นรู (2) นํานโยบายการศกึ ษาของรฐั ไปปฏบิ ตั ิ ปฏิบัติตามกฎและระเบียบ ปฏบิ ตั ติ ามแผนการสอนของโรงเรยี น ดาํ เนนิ การตามสญั ญาการสอนและปฏบิ ตั ิงาน การสอนและการศกึ ษาอยา งสมบรู ณ (3) ดาํ เนนิ งานใหก ารศกึ ษาตามทบี่ ญั ญตั ไิ วใ นหลกั การเบอื้ งตน ในกฎหมาย รฐั ธรรมนญู ใหก ารศกึ ษาเพอ่ื ความรกั ชาติ การศกึ ษาเพอ่ื ความมน่ั คงของชาติ การ ศกึ ษาดา นกฎหมายและอดุ มการณ ศีลธรรม วฒั นธรรม วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยี รวมทง้ั จดั และนํานกั ศกึ ษาเขา รว มในกจิ กรรมทม่ี ปี ระโยชนข องสงั คม

(4) เออ้ื อาทรตอ นกั เรยี นทกุ คน ยอมรบั ในศกั ดศ์ิ รขี องนกั เรยี น สง เสริมการ พฒั นาทางจรยิ ธรรม สติปญญา และรา งกายของนกั เรยี น (5) ยตุ กิ ารกระทาํ ทเ่ี ปน อนั ตรายตอ นกั เรยี นหรอื ละเมดิ สทิ ธแิ ละผลประโยชนข อง นกั เรยี นตามกฎหมาย ทําการวพิ ากษว จิ ารณแ ละตอ ตา นการกระทําใด ๆ ที่มผี ลเสยี ตอการเจริญเตบิ โตของนกั เรยี น (6) ตอ งเพม่ิ พนู ความตระหนกั ในอดุ มการณแ ละการเมอื ง การศกึ ษาและ ทกั ษะการสอนของตนอยา งตอ เนอ่ื ง มาตรา 9 เพ่ือใหครูสามารถดําเนินงานทางการศึกษาและการสอนของตน ไดอยางสมบูรณ รฐั บาลของประชาชน กรมการบรหิ ารการศกึ ษา กรมทเ่ี กย่ี วขอ ง โรงเรยี นและสถาบนั การศกึ ษาทกุ ระดบั ตอ งดําเนนิ ภารกจิ ดงั ตอไปน้ี (1) จดั หาสง่ิ อํานวยความสะดวกทางการศึกษาและการสอน รวมทง้ั อปุ กรณ ทม่ี คี วามปลอดภยั ตามเกณฑม าตรฐานทร่ี ฐั กาํ หนด (2) จดั หาหนงั สอื เอกสารอา งองิ เอกสารทางการศกึ ษาและเอกสารการสอน ทจ่ี าํ เปน (3) ใหก ําลงั ใจและชว ยครใู นงานสรา งสรรคท างการศกึ ษา การสอน และการ วจิ ยั ทางวทิ ยาศาสตร (4) ใหค รยู ตุ กิ ารกระทาํ ทเี่ ปน อนั ตรายตอ นกั เรยี น หรอื การกระทาํ อน่ื ๆ ท่ี ละเมิด สทิ ธแิ ละผลประโยชนข องนกั เรยี นตามกฎหมาย

หมวด 3 คณุ สมบตั แิ ละการมงี านทาํ มาตรา 10 รฐั เปน ผกู ําหนดคุณสมบัติของครู ประชาชนชาวจนี ผเู คารพกฎหมายรฐั ธรรมนญู และกฎหมายอน่ื ๆ มีความสนใจ ในอดุ มการณท างการศกึ ษา มีศีลธรรมสูง มปี ระวัตกิ ารเรียนตามท่ีบญั ญัตไิ วใ น กฎหมายฉบบั น้ี หรอื มคี ณุ สมบตั หิ ลงั จากสอบผา นการเปน ครขู องรฐั มคี วามสามารถ ทางการศกึ ษาและการสอน จะไดร บั คณุ สมบตั คิ วามเปน ครหู ลงั จากผา นการประเมนิ แลว มาตรา 11 ประวัติการเรียนและคุณสมบัติความเปนครูของครูที่เรียนทาง ไปรษณยี  มีดังตอไปนี้ (1) การไดรับคุณสมบัติความเปนครูอนบุ าล ตองสาํ เรจ็ การศกึ ษาจากโรงเรยี น ฝกหัดครูระดับอนุบาล หรอื มปี ระวตั กิ ารเรยี นทส่ี งู กวา (2) การไดรับคุณสมบัติความเปนครูประถมศึกษา ตองสาํ เรจ็ การศกึ ษาจากโรง เรียนฝก หดั ครปู ระถมศกึ ษา หรอื มปี ระวตั กิ ารเรยี นทส่ี งู กวา (3) การไดรับคุณสมบัติความเปนครูมัธยมศึกษาตอนตน และคุณสมบัติความ เปน ครวู ชิ าสามญั หรอื วชิ าพเิ ศษในโรงเรยี นอาชวี ศกึ ษาระดบั ประถมศกึ ษา ตองสาํ เรจ็ การศึกษาจากโรงเรยี นฝก หัดครรู ะดบั สูง หรอื สาํ เรจ็ วชิ าพเิ ศษจากวทิ ยาลยั หรอื มี ประวัติการศึกษาที่สูงกวา (4) การไดรับคุณสมบัติความเปนครูอาวุโสระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ คุณสมบัติความเปนครูวิชาสามัญ และวชิ าพเิ ศษในโรงเรยี นอาชวี ศกึ ษาระดบั มธั ยม ศึกษาตอนปลาย โรงเรยี นเทคนคิ โรงเรยี นอาชวี ศกึ ษาระดบั สงู ตองสาํ เรจ็ การศกึ ษา จากวทิ ยาลยั ครู หรอื มหาวทิ ยาลยั หรอื มปี ระวตั กิ ารเรยี นทส่ี งู กวา กรมการบรหิ ารการ ศึกษา ภายใตส ภาแหงรฐั จะพจิ ารณาประวตั กิ ารเรยี น สาํ หรบั คณุ สมบตั คิ วามเปน ผสู อน ทท่ี าํ หนา ทแี่ นะนาํ การปฏิบตั งิ านภาคสนามของนกั เรยี นโรงเรยี นอาชวี ศกึ ษาระดบั มธั ยม ศึกษาตอนปลาย โรงเรยี นเทคนคิ และโรงเรยี นอาชวี ศกึ ษาระดบั สงู

(5) การไดรับคุณสมบัติความเปนครูในสถาบันอุดมศึกษา ตองสาํ เรจ็ การศกึ ษา ระดับหลังปริญญาตรีหรอื สาํ เรจ็ จากมหาวทิ ยาลยั (6) การไดรับคุณสมบัติความเปนครูสาํ หรบั การศกึ ษาผใู หญ ตองสาํ เรจ็ จาก สถาบันอุดมศึกษา มธั ยมศกึ ษา หรอื มปี ระวตั กิ ารเรยี นทส่ี งู กวา ตามประเภทและระดบั ของการศกึ ษาผใู หญน น้ั ๆ ประชาชนผทู ไ่ี มม ปี ระวตั กิ ารเรยี นทจ่ี ะเปน ครตู ามกฎหมายน้ี แตส มคั รขอรบั คณุ สมบัติความเปนครู ตองสอบผานขอสอบวัดคุณสมบัติความเปนครูของรัฐ ระบบการ สอบเพื่อวัดคุณสมบัติความเปนครูจะกําหนดโดยสภาแหง รฐั มาตรา 12 กรมการบรหิ ารการศกึ ษาภายใตส ภาแหง รฐั จะกาํ หนดระเบยี บ ครอบคลมุ การเปลย่ี นสถานะปจ จบุ นั ของครใู นโรงเรยี นหรอื สถาบนั การศกึ ษาอน่ื ๆ กอ นการบงั คบั ใชก ฎหมายน้ี สําหรบั ครทู ไ่ี มม ปี ระวตั กิ ารเรยี นตามทร่ี ะบไุ วใ นกฎหมายน้ี มาตรา 13 คุณสมบัติของครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนตน จะไดรับการประเมินและใหความเห็นชอบโดยกรมการบริหารการศึกษาของรฐั บาลของ ประชาชนทอ งถนิ่ สูงกวาระดับอําเภอ กรมการบริหารการศึกษาดังกลา วจะจัดต้ัง กรรมการจากกรมที่เกี่ยวของเปนผูประเมินและใหความเห็นชอบคุณสมบัติของครูโรง เรยี นอาชวี ศกึ ษาระดบั มธั ยมศกึ ษาและโรงเรยี นเทคนคิ คุณสมบัติของครูระดับสถาบัน อุดมศึกษาจะไดรับการประเมินและใหความเห็นชอบโดยกรมการบริหารการศึกษาของ สภาแหง รฐั จงั หวดั เขตปกครองตนเองและเทศบาลโดยตรง ภายใตรัฐบาลกลางหรือ โดยโรงเรยี นทไ่ี ดร บั มอบอาํ นาจจากกรมเหลา น้ี ประชาชนผมู ปี ระวตั กิ ารเรยี นในโรงเรยี นตามทรี่ ะบไุ วใ นกฎหมายนี้ หรอื ผทู ม่ี คี ณุ สมบัติหลังจากสอบผานการสอบวัดคุณสมบัติความเปนครูของรัฐ ใหส มคั รเพอ่ื ขอรบั คุณสมบัติความเปนครู กรมทเ่ี กย่ี วขอ งจะทาํ การประเมนิ และใหค วามเหน็ ชอบคณุ สมบัตติ ามท่ีระบไุ วใ นกฎหมายน้ี บุคคลที่ไดรับคุณสมบัติความเปนครูและสอนเปนครั้งแรก ตองปฏิบัติงาน ในระยะทดลองงาน

มาตรา 14 บคุ คลทถ่ี กู เพกิ ถอนสทิ ธทิ างการเมอื งหรอื ถกู ทําโทษ และถูกตัด สนิ โทษจําคกุ หรือถูกกักขังตามกาํ หนด หรอื กระทําความผดิ ทางอาญาโดยเจตนา จะไม มีสิทธิไดรับคุณสมบัติความเปนครู สําหรับผูที่ไดรับคุณสมบัติความเปนครูแลว กจ็ ะ ถกู เพกิ ถอนคณุ สมบตั คิ วามเปน ครนู น้ั ๆ มาตรา 15 บัณฑิตที่สาํ เรจ็ จากโรงเรยี นฝก หดั ครใู นระดบั ตา ง ๆ ตองทาํ งาน การศกึ ษาและการสอน ตามกฎและระเบยี บของรฐั รัฐสนับสนุนใหบัณฑิตจากวิชาชีพที่มิใชการฝกหัดครูทําการสอนในโรงเรียน ประถมศกึ ษา มัธยมศึกษาตอนตน หรอื โรงเรยี นอาชวี ศกึ ษา มาตรา 16 รฐั เปน ผกู ําหนดระบบตําแหนง ครู สภาแหง รฐั รบั ผดิ ชอบตอ การ จดั ทํามาตรการในรายละเอยี ด มาตรา 17 โรงเรียนและสถาบันการศึกษาอื่นจะตองดําเนินการตามระบบ สัญญาวาจางครูตามลาํ ดับ การวา จา งครจู ะตง้ั อยบู นหลกั การของความเสมอภาคของ ทั้งสองฝาย โรงเรยี นและครเู ปน สองฝา ยทล่ี งนามในสญั ญาจา ง ทาํ การนยิ าม สิทธิ ภาระผกู พนั และความรับผิดชอบของแตละฝาย ข้ันตอนและมาตรการสํ าหรับระบบการดํ าเนินการตามทํ าสัญญาจางครู จะกาํ หนดโดยกรมการบรหิ ารการศกึ ษาภายใตส ภาแหง รฐั

หมวด 4 การฝกหัดครูและฝกอบรมครู มาตรา 18 รฐั บาลของประชาชนและกรมทเ่ี กย่ี วขอ งทกุ ระดบั จะดาํ เนนิ งาน โรงเรียนฝกหัดครอู ยา งดี และใชมาตรการตาง ๆ เพอ่ื สง เสรมิ ใหค นหนมุ สาวทเ่ี กง เขา มา เรยี นครทู กุ ระดบั โรงเรยี นฝก หดั ครอู าชวี ศกึ ษาทกุ ระดบั จะรบั ภาระในการฝก หดั ครู ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนตนดวย โรงเรียนอื่นท่ีมิใชฝกหัดครูจะรับภาระในการฝกหัดครูระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาตอนตน นกั เรยี นครทู กุ ระดบั จะไดร บั ทนุ เรยี นวชิ าชพี ครู มาตรา 19 กรมการบริหารการศึกษาภายใตรัฐบาลของประชาชนทุกระดับ กรมทร่ี บั ผดิ ชอบตอ โรงเรยี น และโรงเรยี นจะรว มกนั ทําโปรแกรมการอบรมครแู ละ ดาํ เนนิ การฝก อบรมในรปู แบบตา ง ๆ ในดา นอดุ มการณ การเมอื ง และวชิ าชพี ใหแ กค รู มาตรา 20 หนว ยงานของรฐั รฐั วสิ าหกจิ สถาบัน และองคกรทางสังคม อน่ื ๆ จะตองใหความสะดวกและชวยครูในการสืบสวนและปฏิบัติภารกิจทางสังคม มาตรา 21 รัฐบาลของประชาชนทกุ ระดบั จะกาํ หนดมาตรการเพอ่ื การศกึ ษา และการฝก หดั ครสู าํ หรบั เขตทอ่ี ยโู ดยชนกลมุ นอ ย และในเขตยากจนทหี่ า งไกล

หมวด 5 การประเมิน มาตรา 22 โรงเรยี น หรอื สถาบนั การศกึ ษาอน่ื ๆ จะดําเนนิ การประเมนิ ความตระหนกั ทางอดุ มการณ การเมอื ง ทกั ษะวชิ าชพี ทศั นคติตองาน และการ ปฏบิ ตั งิ านของครู กรมการบรหิ ารการศกึ ษา จะใหคาํ แนะนําและนเิ ทศการประเมนิ ครู มาตรา 23 การประเมนิ ตอ งเปน ปรนยั ยุติธรรม เทย่ี งตรง และรบั พจิ ารณา ความเหน็ ของครู เพอ่ื นครู และนกั เรยี นอยา งเตม็ ทใ่ี นการประเมนิ มาตรา 24 ผลการประเมนิ จะเปน ขอ มลู ในการพจิ ารณาแตง ตง้ั เลอ่ื น ตาํ แหนง และเลอ่ื นเงนิ เดือนครู ตลอดทั้งการใหรางวัลและการลงโทษครดู วย

หมวด 6 ผลตอบแทน มาตรา 25 เงนิ เดอื นครโู ดยเฉลยี่ จะเทา กบั หรอื สงู กวา เงนิ เดอื นขา ราชการของรฐั และจะเลื่อนตามลาํ ดับ ระบบการเลื่อนตาํ แหนง และขน้ั เงนิ เดอื นจะถกู กาํ หนดขน้ึ พรอ มรายละเอยี ดของมาตรการ เพอ่ื นําเสนอสภาแหง รฐั พจิ ารณา มาตรา 26 ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนตน และโรงเรยี นอา ชวี ศกึ ษา จะไดร บั เงนิ เพม่ิ พเิ ศษตามอายขุ องการสอน และไดร บั เงนิ ชว ยเหลอื อน่ื ๆ ซง่ึ มาตรการในรายละเอยี ดจะพจิ ารณาโดยกรมการบรหิ ารการศกึ ษา ภายใตส ภาแหง รฐั รว ม กบั กรมอน่ื ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ ง มาตรา 27 รัฐบาลทองถ่ินของประชาชนทุกระดับจะใหเงินเพ่ิมพิเศษแกครู หรือผูท่ีสําเร็จจากโรงเรียนอาชีวศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือการศึกษาระดับ สูงกวาไปปฏิบัติงานดานการศึกษา หรอื ทําการสอนในเขตทอ่ี ยขู องชนกลมุ นอ ย และ เขตยากจนหา งไกล มาตรา 28 รัฐบาลทองถิ่นของประชาชนทุกระดับและกรมที่เกี่ยวของ ภายใตสภาแหงรัฐจะใหความสาํ คญั เปน อนั ดบั แรกและเปน พเิ ศษแกค รทู จ่ี ะสรา ง เชา หรอื ขายบา นในเขตชานเมอื ง รฐั บาลของประชาชนในระดบั อาํ เภอและเมอื ง จะใหค วามสะดวกในการแกป ญ หา เรอ่ื งทพ่ี กั อาศยั สําหรับครูระดับประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษาตอนตนในชนบท มาตรา 29 ครูจะไดรับการรักษาพยาบาลเทาเทียมกับขาราชการของรัฐใน ทอ งถน่ิ นน้ั ๆ ครูจะไดรับการตรวจสุขภาพอยางสมํ่าเสมอ และไดร บั วนั หยดุ พกั ฟน ตามสภาพทถ่ี อื ปฏบิ ตั กิ นั ในทอ งถน่ิ สถาบนั ทางการแพทยต อ งใหค วามสะดวกในการรกั ษาพยาบาลครใู นทอ งถน่ิ นน้ั ๆ

มาตรา 30 หลงั จากเกษยี ณอายหุ รอื ลาออกจากตําแหนง ครูไดรับสิทธิการ เกษยี ณอายหุ รอื ลาออกจากงานตามทร่ี ะบไุ วใ นกฎหมายของรฐั รัฐบาลทองถิ่นของประชาชนสูงกวาระดับอําเภอสามารถเลื่อนบํานาญของครู เกษียณอายุระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนตนที่ทําการใหการศึกษาและ สอนมานาน ตามความเหมาะสม มาตรา 31 รฐั บาลของประชาชนทกุ ระดบั จะกาํ หนดมาตรการ เพอ่ื ปรบั ปรงุ ความเปน อยขู องครู ผซู ง่ึ ไดร บั เงนิ เพม่ิ พเิ ศษจากรฐั และไดรับเงินเดือนจากชุมชน ดังนั้น ครเู หลา นจ้ี ะไดร บั เงนิ เดอื นเหมาะสมกบั ปรมิ าณงานเทา กบั ครทู ไ่ี ดร บั เงนิ เดอื น จากรฐั มาตรการในรายละเอยี ดจะพจิ ารณาโดยรฐั บาลทอ งถน่ิ ของประชาชนทกุ ระดบั ใหสอดคลองกบั สภาพของทองถนิ่ มาตรา 32 ผลตอบแทนแกครูในโรงเรียนที่ดําเนินงานโดยทุกสวนของสังคม จะไดร บั การพจิ ารณาและรกั ษาโดยผรู บั ผดิ ชอบโดยตรง

หมวด 7 รางวลั มาตรา 33 ครูท่ีประสบผลสําเร็จอยางสูงในการใหการศึกษาและการสอน การฝกอบรมบุคลากรครู การวจิ ยั ทางวทิ ยาศาสตร การปฏริ ปู การศกึ ษา การพฒั นาโรง เรยี น การบริการสังคม และโครงการโรงเรยี น - โรงงาน โรงเรียนตองดาํ เนนิ การยกยอ ง และใหร างวลั ครูผูมีผลงานดีเดนจะไดรับการยกยองและใหรางวัลโดยสภาแหงรัฐและรัฐบาล ทอ งถน่ิ ของประชาชน และกรมทเ่ี กย่ี วขอ ง ครูผูมีผลงานดีเลิศจะไดรับตาํ แหนง อนั ทรงเกยี รติตามความเหมาะสม ตามกฎ และระเบยี บของรฐั มาตรา 34 รฐั ใหก าํ ลงั ใจและสนบั สนนุ องคก รทางสงั คม หรอื บคุ คลทบ่ี รจิ าค เงนิ เขา กองทนุ ทต่ี ง้ั ขน้ึ ตามกฎหมาย เพอ่ื ใหร างวลั ครู

หมวด 8 ภาระตามกฎหมาย มาตรา 35 บุคคลที่เหยียดหยามและทํารายครูจะถูกลงโทษตามกฎหมาย หรือปรับตามสภาพจริงของคดี บุคคลที่สรางความเสียหายใหกับครูจะถูกสั่งใหจาย คา เสยี หายชดเชย ในคดที มี่ คี วามรนุ แรงหรอื เขา ขา ยการทาํ ผดิ ทางอาญา ตอ งรบั ผดิ ชอบ ทางอาญาตามกฎหมายดว ย มาตรา 36 บุคคลที่ทํารา ยครผู ซู ง่ึ ทําการรอ งเรยี นและกลา วหา และรายงาน การกระทําผิดตอทางการตามกรอบของกฎหมายจะไดรับคําสั่งจากตนสังกัดหรือ หนว ยงานทส่ี งู ขน้ึ ไปใหช ดเชยความผดิ นน้ั ๆ ในกรณที ค่ี ดมี คี วามรนุ แรงจะถกู ทําโทษ ตามกฎหมายตามสภาพความเปน จรงิ ของเหตกุ ารณด ว ย เจา หนา ทข่ี องรฐั ทท่ี ํารา ยครู และเขา ขา ยความผดิ ทางอาญาตอ งรบั ผดิ ชอบทาง อาญาตามทร่ี ะบไุ วใ นมาตรา 146 แหง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 37 ครทู เ่ี กย่ี วขอ งกบั กรณใี ดกรณหี นง่ึ ตอ ไปน้ี จะไดร บั โทษตาม กฎหมาย หรอื ถกู ไลอ อกจากโรงเรยี น จากสถาบนั การศกึ ษาอน่ื ๆ หรอื กรมการบรหิ าร การศกึ ษา (1) ไมท ําหนา ทใ่ี หก ารศกึ ษาและไมส อนโดยเจตนา และเกิดความเสียหายตอ งานการศกึ ษาและงานสอน (2) ทาํ โทษนกั เรยี นอยา งรนุ แรง และไมด าํ เนนิ การแกไ ขหลงั จากไดร บั การ วพิ ากษว จิ ารณแ ลว (3) มคี วามประพฤตไิ มเ หมาะสม ดูถกู นกั เรียนและเกดิ ผลเสยี ตามมา ครทู เ่ี กย่ี วขอ งกบั กรณตี ามวรรค (2) และ (3) ขา งตน และเปน กรณรี นุ แรง เขา ขา ยการกระทําผิดทางอาญาตองรับผิดชอบทางอาญาดวย

มาตรา 38 บุคคลที่กระทําผดิ บทบญั ญตั แิ หง กฎหมายน้ี เบยี ดบงั เงนิ เดอื น ครหู รอื ละเมดิ สทิ ธแิ ละผลประโยชนต ามกฎหมายของครู รฐั บาลทอ งถน่ิ ของประชาชน จะสั่งใหบุคคลนั้นดาํ เนนิ การชดเชยภายในเวลาทก่ี ําหนด บุคคลที่กระทําผดิ ตอ กฎและระเบยี บการเงนิ และการบญั ชขี องรฐั ยกั ยอกเงนิ งบประมาณเพอ่ื การศกึ ษาของรฐั มผี ลทําใหเกิดความเสือ่ มถอยตอ งานดา นการศึกษา และการสอน เบยี ดบงั การจา ยเงนิ เดอื นครู และละเมิดสิทธิและผลประโยชนตาม กฎหมายของครู จะถูกสั่งโดยผูมีอาํ นาจระดบั สงู ใหจ า ยเงนิ ทเ่ี บยี ดบงั ไปคนื ภายในเวลา ทก่ี ําหนด บุคคลที่รับผิดชอบโดยตรงจะถูกดําเนนิ การตามกฎหมาย ในกรณีที่คดี มคี วามรนุ แรงและเขา ขา ยอาญาจะตอ งรบั ผดิ ชอบทางอาญาดว ย มาตรา 39 ครูที่สิทธิและผลประโยชนตามกฎหมายถูกละเมิดโดยโรงเรียน หรอื สถาบนั การศกึ ษาอน่ื ๆ หรอื ครทู ไ่ี มเ หน็ ชอบตามขอ ตกลงเสนอโดยโรงเรยี นหรอื สถาบนั การศกึ ษาอนื่ ๆ สามารถจะรอ งเรยี นตอ กรมการบรหิ ารการศกึ ษาได คาํ รอ งเรยี นจะ ไดร บั การดาํ เนนิ การภายในเวลา 30 วนั นบั จากวนั ทก่ี รมการบรหิ ารการศกึ ษาไดร บั เรอื่ ง ครทู เ่ี หน็ วา กรมการบรหิ ารการศกึ ษาภายใตร ฐั บาลทอ งถน่ิ ของประชาชนละเมดิ สทิ ธิและผลประโยชนต ามกฎหมายของตน ตามทร่ี ะบไุ วใ นกฎหมายฉบบั น้ี สามารถ รองเรียนตอกรมที่เกี่ยวของภายใตรัฐบาลทองถ่ินของประชาชนในระดับเดียวกันหรือ สูงกวา กรมทเ่ี กย่ี วขอ งภายใตร ฐั บาลทอ งถน่ิ ของประชาชนในระดบั เดยี วกนั หรอื สงู กวา จะดาํ เนนิ การตามคาํ รอ งเรยี นนน้ั ๆ

หมวด 9 มาตราเพิ่มเติม มาตรา 40 คาํ ตาง ๆ ทใ่ี ชใ นกฎหมายฉบบั นม้ี คี าํ จํากัดความดังนี้ (1) โรงเรยี นทกุ ประเภทและทกุ ระดบั หมายถงึ โรงเรยี นทด่ี ําเนนิ งานในระดบั อนบุ าล ประถมศกึ ษา มัธยมศึกษาสายสามัญ อาชวี ศกึ ษา อุดมศึกษาทัว่ ไป การศกึ ษาพเิ ศษ และการศึกษาผใู หญ (2) สถาบนั การศกึ ษาอน่ื ๆ หมายถงึ ศูนยเด็ก หนว ยงานสอนการวจิ ยั ใน ทอ งถน่ิ และสถาบันทด่ี ําเนนิ งานดา นโสตทศั นศกึ ษา (3) ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนตน หมายถงึ ครทู ท่ี ํางานใน ระดับอนุบาล องคกรดานการศึกษาพิเศษ โรงเรยี นประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษา ตอนตนสายสามัญ องคกรการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนตน สําหรบั ผใู หญ โรงเรยี นมธั ยมอาชวี ศกึ ษา และสถาบนั การศกึ ษาอน่ื ๆ มาตรา 41 บทบญั ญตั ทิ ต่ี ราไวใ นกฎหมายฉบบั น้ี สามารถใชไ ดต ามความ เหมาะสมตามสถานการณ กบั บคุ ลากรเสรมิ และผชู ว ยครขู องโรงเรยี น และสถาบนั การ ศึกษาอน่ื ๆ ตลอดทั้งครูและบุคลากรเสริม และผชู ว ยสอนในโรงเรยี นประเภทอน่ื ๆ ดวย คณะกรรมการกลางดานการทหารจะดําเนินการตามกรอบแหงกฎหมายฉบับนี้ ใหม กี ฎและระเบยี บทเ่ี กย่ี วขอ งกบั ครู และบคุ ลากรเสรมิ และผชู ว ยสอนในโรงเรยี นทหาร มาตรา 42 มาตรการเกย่ี วกบั การวา จา งครตู า งชาติ จะพจิ ารณาดาํ เนนิ การ โดยกรมการบรหิ ารการศกึ ษา ภายใตส ภาแหง รฐั มาตรา 43 กฎหมายฉบบั นจี้ ะมผี ลบงั คบั ใชต ง้ั แตว นั ท่ี 1 มกราคม 2537 เปน ตน ไป


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook