Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 2017-11-15-3-17-2520505

2017-11-15-3-17-2520505

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-10-05 21:47:20

Description: 2017-11-15-3-17-2520505

Search

Read the Text Version

พระราชบญั ญตั ิ สถานประกอบการเพอื่ สุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ กองสถานประกอบการเพอ่ื สุขภาพ กรมสนับสนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข

พระราชบัญญตั ิ สถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ กองสถานประกอบการเพื่อสขุ ภาพ กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

สารบญั พระราชบัญญัตสิ ถานประกอบการ หนา้ ๑ เพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ หมวด ๑ คณะกรรมการสถานประกอบการ ๕ เพอื่ สขุ ภาพ หมวด ๒ ใบอนญุ าตและการข้ึนทะเบยี น ๑๐ หมวด ๓ หนา้ ที่ของผรู้ ับอนุญาตและ ๑๙ ผดู้ าํ เนินการ หมวด ๔ การพกั ใชใ้ บอนญุ าต การเพกิ ถอน ๒๔ ใบอนญุ าตและการลบช่ือ ออกจากทะเบียน หมวด ๕ พนกั งานเจ้าหนา้ ที่ ๒๘ หมวด ๖ การอทุ ธรณ์ ๓๐ หมวด ๗ บทกําหนดโทษ ๓๒ บทเฉพาะกาล ๓๕ อัตราคา่ ธรรมเนียม ๓๗

พระราชบัญญตั ิ สถานประกอบการเพื่อสขุ ภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ภมู พิ ลอดลุ ยเดช ป.ร. ใหไ้ ว้ ณ วนั ท่ี ๓๐ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เปน็ ปที ี่ ๗๑ ในรชั กาลปจั จบุ นั พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา้ ฯ ให้ประกาศวา่ โดยท่ีเป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสถาน ประกอบการเพื่อสุขภาพ จงึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ราพระราชบญั ญตั ิ ข้ึนไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราช บัญญัติสถานประกอบการเพือ่ สุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้น กําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานเุ บกษาเป็นตน้ ไป มาตรา ๓ ในพระราชบญั ญัตนิ ี้ “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า สถานท่ีทีต่ ้ังขึ้นเพื่อดาํ เนนิ กจิ การ ดงั ต่อไปนี้ (๑) กิจการสปา อันได้แก่ บริการท่ีเกี่ยวกับการ ดูแลและเสริมสร้างสุขภาพโดยวิธีการบําบัดด้วยน�้ำ และการนวดร่างกายเปน็ หลัก ประกอบกบั บรกิ ารอ่ืน ตามที่กําหนดในกฎกระทรวงอีกอย่างน้อยสามอย่าง เว้นแต่เป็นการดําเนินการในสถานพยาบาลตาม กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล หรือการอาบน�้ำ นวด หรืออบตัวที่เป็นการให้บริการในสถานอาบน�้ำ นวด หรอื อบตวั ตามกฎหมายว่าดว้ ยสถานบรกิ าร (๒) กจิ การนวดเพอื่ สขุ ภาพหรอื เพอื่ เสรมิ ความงาม เว้นแต่การนวดเพ่ือสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม ๒

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าดว้ ยสถานพยาบาล หรอื ในหนว่ ยบรกิ ารสาธารณสขุ ของหนว่ ยงานของรฐั หรอื การนวดที่เป็นการให้บริการในสถานอาบน�้ำ นวด หรืออบตัวตามกฎหมายว่าดว้ ยสถานบริการ (๓) กจิ การอ่ืนตามท่กี ําหนดในกฎกระทรวง “ผู้อนุญาต” หมายความว่า อธิบดีหรือผู้ซ่ึงอธิบดี มอบหมาย “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต ใหป้ ระกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสขุ ภาพ “ผู้ดําเนินการ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต ให้ดําเนินการบริหารจัดการสถานประกอบการเพื่อ สขุ ภาพ “ผใู้ หบ้ รกิ าร” หมายความวา่ ผไู้ ดร้ บั การขนึ้ ทะเบยี น ให้ทําหน้าที่บริการเพ่ือสุขภาพในสถานประกอบการ เพอ่ื สุขภาพ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการ สถานประกอบการเพือ่ สขุ ภาพ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ ๓

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ พลเรือนหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐซ่ึงดํารงตําแหน่ง ไม่ต่�ำ กว่าข้าราชการพลเรือนสามัญระดับปฏิบัติการหรือ เทียบเท่า ซึ่งรัฐมนตรีแต่งต้ังให้ปฏิบัติการตาม พระราชบญั ญัตนิ ี้ “อธบิ ด”ี หมายความวา่ อธบิ ดกี รมสนบั สนนุ บรกิ าร สขุ ภาพ “ปลัดกระทรวง” หมายความว่า ปลัดกระทรวง สาธารณสุข “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการ ตามพระราชบญั ญตั ิน้ี มาตรา ๔ ใหร้ ัฐมนตรวี ่าการกระทรวงสาธารณสขุ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจ แต่งต้ังพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกําหนด ค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรอื ยกเวน้ คา่ ธรรมเนยี ม และกาํ หนดกจิ การอน่ื เพอ่ื ปฏบิ ตั ิการตามพระราชบญั ญัติน้ี การกาํ หนดคา่ ธรรมเนยี มตามวรรคหนง่ึ อาจกาํ หนด ให้แตกต่างกัน โดยคํานึงถึงประเภทและขนาด ของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพท่ีกําหนดไว้ใน ใบอนุญาตดว้ ยกไ็ ด้ ๔

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ กฎกระทรวงนน้ั เมอ่ื ไดป้ ระกาศในราชกจิ จานเุ บกษา แลว้ ใหใ้ ชบ้ งั คับได้ หมวด ๑ คณะกรรมการสถานประกอบการเพอ่ื สขุ ภาพ มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหน่ึง เรียกว่า “คณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” ประกอบดว้ ย (๑) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน กรรมการ (๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการ ท่องเท่ียว อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนา การแพทยแ์ ผนไทยและการแพทยท์ างเลอื ก อธบิ ดกี รม สนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยา และผูว้ า่ การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (๓) กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ จิ าํ นวนสคี่ น ซง่ึ รฐั มนตรี แต่งต้ังจากผู้มีความรู้ความสามารถด้านบริการ เพ่อื สขุ ภาพ ๕

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ใหอ้ ธบิ ดแี ตง่ ตงั้ ขา้ ราชการของกรมสนบั สนนุ บรกิ าร สุขภาพคนหน่ึงเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินสองคน เป็นผ้ชู ว่ ยเลขานุการ มาตรา ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารง ตําแหนง่ คราวละสามปี เมอ่ื ครบกาํ หนดตามวาระในวรรคหนงึ่ หากยงั มไิ ดม้ ี การแตง่ ตงั้ กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ขิ นึ้ ใหม่ ใหก้ รรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ใน ตําแหน่งเพ่ือดําเนินงานต่อไป จนกว่ากรรมการผู้ทรง คุณวฒุ ซิ ง่ึ ไดร้ ับแตง่ ต้งั ใหมเ่ ข้ารบั หน้าที่ กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ซิ ง่ึ พน้ จากตาํ แหนง่ ตามวาระ อาจได้รับแต่งต้ังอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกัน เกินสองวาระไม่ได้ มาตรา ๗ นอกจากการพน้ จากตาํ แหน่งตามวาระ กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ิพ้นจากตําแหนง่ เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก ๖

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมอื นไร้ความสามารถ (๕) ไดร้ บั โทษจาํ คกุ โดยคาํ พพิ ากษาถงึ ทสี่ ดุ ใหจ้ าํ คกุ (๖) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าท่ี มีความประพฤติเส่ือมเสียหรือหยอ่ นความสามารถ มาตรา ๘ ในกรณที ี่กรรมการผูท้ รงคณุ วุฒิพน้ จาก ตําแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อ่ืนดํารง ตําแหน่งแทน เวน้ แต่วาระของกรรมการผทู้ รงคุณวุฒิ เหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรง คณุ วุฒแิ ทนกไ็ ด้ และให้ผไู้ ดร้ บั แตง่ ต้งั แทนตาํ แหน่งท่ี ว่างนั้นอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ กรรมการผู้ทรงคณุ วุฒิซงึ่ ได้แตง่ ตง้ั ไวแ้ ลว้ ในกรณีท่ีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่ง ก่อนวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการ ท้ังหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งต้ังกรรมการ ผ้ทู รงคณุ วฒุ ติ ามความในวรรคหนึง่ ๗

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๙ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าทด่ี ังตอ่ ไปนี้ (๑) เสนอนโยบาย แผน และยทุ ธศาสตรเ์ กย่ี วกบั การประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ ตอ่ รัฐมนตรี (๒) กาํ หนดมาตรการในการสง่ เสรมิ สถานประกอบ การเพ่ือสุขภาพให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนการส่งเสริม บุคลากรท่ีเก่ียวข้องทุกกลุ่มให้เข้าถึงและได้รับ ประโยชน์ (๓) กําหนดหลักเกณฑ์การรับรองวุฒิบัตรหรือ ประกาศนียบัตรที่ผู้ดําเนินการหรือผู้ให้บริการได้รับ จากสถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ (๔) กําหนดหลักเกณฑ์การทดสอบและประเมิน ความรู้ความสามารถของผู้ดาํ เนนิ การ (๕) ให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีในการออกกฎ กระทรวงตามพระราชบัญญตั ิน้ี (๖) ปฏบิ ตั กิ ารอน่ื ใดตามทก่ี ฎหมายกาํ หนดใหเ้ ปน็ อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามท่ีรัฐมนตรี มอบหมาย ๘

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๑๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมี กรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน กรรมการทงั้ หมด จงึ จะเป็นองค์ประชุม ในการประชมุ คณะกรรมการ ถา้ ประธานกรรมการ ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าท่ีได้ ให้ที่ประชุม เลือกกรรมการคนหนง่ึ เป็นประธานในทีป่ ระชมุ การวินิจฉัยชี้ขาดของท่ีประชุมให้ถือเสียงข้าง มาก กรรมการคนหนึ่งใหม้ เี สยี งหนึง่ ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในท่ีประชุมออก เสียงเพ่มิ ข้ึนอีกเสยี งหนึ่งเปน็ เสยี งชข้ี าด มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งต้ัง คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ อย่างหน่ึงอย่างใดแทนคณะกรรมการหรือตามที่ คณะกรรมการมอบหมายได้ การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นําบทบัญญัติ มาตรา ๑๐ มาใชบ้ ังคบั โดยอนุโลม ๙

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ หมวด ๒ ใบอนุญาตและการขึน้ ทะเบยี น มาตรา ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการ สถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ ต้องได้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพจาก ผู้อนญุ าต การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต แบบ ใบอนญุ าต การออกใบแทนใบอนุญาต และการชําระ คา่ ธรรมเนยี มใบอนญุ าต ใหเ้ ปน็ ไปตามแบบหลกั เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง กฎกระทรวงตามวรรคสอง รัฐมนตรีจะกําหนด โดยแยกใบอนุญาตตามประเภท หรอื ขนาดของสถาน ประกอบการเพือ่ สขุ ภาพกไ็ ด้ มาตรา ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพต้องมีอายุไม่ต่�ำกว่า ยี่สิบปีบริบูรณ์และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปน้ี ๑๐

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (๑) เป็นบุคคลล้มละลาย (๒) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมอื นไร้ความสามารถ (๓) เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงท่ีสุดว่าเป็น ผกู้ ระทําผิดในความผิดเก่ียวกับเพศตามประมวล กฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายเก่ียวกับ ยาเสพติด ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือความผิดตาม กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้า ประเวณี (๔) เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ แกส่ งั คม โรคพิษสรุ าเรอ้ื รัง หรอื ติดยาเสพตดิ ใหโ้ ทษ (๕) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกส่ังพักใช้ใบอนุญาต ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (๖) เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบ กิจการสถานประกอบการเพือ่ สขุ ภาพ และยังไม่พ้น กาํ หนดสองปนี บั ถงึ วนั ยน่ื คาํ ขอรบั ใบอนญุ าตประกอบ กิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ ๑๑

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ในกรณที น่ี ติ บิ คุ คลเปน็ ผขู้ อรบั ใบอนญุ าตประกอบ กิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ผู้มีอํานาจ จัดการแทนนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มี ลกั ษณะต้องหา้ มตามความในวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ ใบอนุญาตประกอบกิจการสถาน ประกอบการเพอื่ สขุ ภาพใหม้ อี ายหุ า้ ปนี บั แตว่ นั ทอ่ี อก ใบอนญุ าต การขอตอ่ อายุใบอนญุ าต ใหผ้ รู้ ับอนุญาตย่ืนคําขอ กอ่ นวนั ทใี่ บอนญุ าตสนิ้ อายุ และเมอื่ ไดย้ น่ื คาํ ขอดงั กลา่ ว แล้ว ให้ผยู้ ่นื คําขอประกอบกิจการสถานประกอบการ เพอ่ื สขุ ภาพนนั้ ตอ่ ไปไดจ้ นกวา่ จะไดร้ บั แจง้ คาํ สงั่ ไมต่ ่อ อายใุ บอนุญาตจากผ้อู นุญาต การขอตอ่ อายใุ บอนญุ าตและการใหต้ อ่ อายใุ บอนญุ าต ใหเ้ ปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์ วธิ กี าร และเงอื่ นไข ตลอดจน ชําระค่าธรรมเนียมตามทกี่ าํ หนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๕ ให้ผ้รู บั อนุญาตชาํ ระคา่ ธรรมเนียมการ ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปี ตามอตั รา หลกั เกณฑ์ วธิ กี าร เงอื่ นไข และภายในระยะ เวลาที่กาํ หนดในกฎกระทรวง ๑๒

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ชําระค่าธรรมเนียมตาม วรรคหนึ่งภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้อนุญาต สงั่ พกั ใชใ้ บอนญุ าตประกอบกจิ การสถานประกอบการ เพ่ือสขุ ภาพจนกวา่ จะชาํ ระคา่ ธรรมเนียม ในกรณีท่ีผู้รับอนุญาตซึ่งถูกส่ังพักใช้ใบอนุญาต ตามวรรคสองไม่ชําระค่าธรรมเนียมภายในหกเดือน นับแต่วันส่ังพักใช้ใบอนุญาต ให้ผู้อนุญาตส่ังเพิกถอน ใบอนุญาต มาตรา ๑๖ ใบอนุญาตประกอบกิจการสถาน ประกอบการเพื่อสุขภาพสิ้นสดุ ลง เมอื่ ผู้รับอนุญาต (๑) ตาย เว้นแต่ได้ดําเนินการตามท่ีบัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๘ หรือสน้ิ สุดความเป็นนิตบิ ุคคล (๒) เลกิ ประกอบกจิ การตามมาตรา ๑๙ (๓) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการสถาน ประกอบการเพ่ือสุขภาพตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม หรอื มาตรา ๓๒ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือวรรคสาม ๑๓

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๑๗ การโอนใบอนุญาตประกอบกิจการ สถานประกอบการเพ่ือสุขภาพให้แก่บุคคล ซ่ึงมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ให้กระทาํ ได้ เม่ือได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต การขอโอนใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขที่กําหนดใน กฎกระทรวง มาตรา ๑๘ ในกรณีผู้รับอนุญาตถึงแก่ความตาย และทายาทมีความประสงค์จะประกอบกิจการสถาน ประกอบการเพื่อสุขภาพต่อไป ให้ผู้จัดการมรดก หรือทายาทซ่ึงมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๓ หรือในกรณีที่มีทายาทหลายคนให้ ทายาทด้วยกันน้ันตกลงตั้งทายาทคนหนึ่งซึ่งมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ยนื่ คาํ ขอตอ่ ผอู้ นญุ าตเพอื่ ขอรบั โอนใบอนญุ าตภายใน เก้าสิบวันนบั แตว่ นั ทผี่ รู้ บั อนญุ าตตาย ถา้ มไิ ดย้ นื่ คาํ ขอ ภายในระยะเวลาดงั กลา่ ว ใหถ้ อื วา่ ใบอนญุ าตประกอบ กิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพนนั้ ส้ินสดุ ลง ๑๔

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหน่ึง ให้ผู้จัดการ มรดกหรือทายาทซ่ึงเป็นผู้ยื่นคําขอรับโอนใบอนุญาต เข้าประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบเสมือนผู้รับอนุญาต ทง้ั นจ้ี นกว่าผู้อนญุ าตจะมคี ําสั่งไม่อนุญาต ถา้ ผลการตรวจสอบปรากฏวา่ ผยู้ น่ื คาํ ขอมคี ณุ สมบตั ิ และไมม่ ลี กั ษณะตอ้ งหา้ มตามมาตรา ๑๓ ใหผ้ อู้ นญุ าต มคี ําสงั่ อนญุ าตแก่ผ้ยู ืน่ คาํ ขอ การขอรับโอนและการอนุญาตให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขท่ีกําหนดใน กฎกระทรวง มาตรา ๑๙ ผรู้ บั อนญุ าตซง่ึ ประสงคจ์ ะเลกิ ประกอบ กิจการ ให้แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ พร้อมท้ังส่งคืน ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อ สุขภาพแก่ผู้อนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิก ประกอบกิจการ การเลิกประกอบกิจการไม่เปน็ เหตุใหผ้ รู้ บั อนุญาต พ้นจากความรบั ผิดทีม่ ตี ามพระราชบัญญัติน้ี ๑๕

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะปฏิบัติหน้าท่ีเป็น ผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพต้อง ได้รับใบอนุญาตเป็นผ้ดู ําเนนิ การจากผ้อู นญุ าต การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต แบบ ใบอนญุ าต การออกใบแทนใบอนุญาต และการชําระ คา่ ธรรมเนยี มใบอนญุ าต ใหเ้ ปน็ ไปตามแบบหลกั เกณฑ์ วธิ ีการ และเงอื่ นไขที่กาํ หนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๑ ผขู้ อรับใบอนญุ าตเป็นผดู้ าํ เนนิ การใน สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มลี กั ษณะตอ้ งห้าม ดังตอ่ ไปนี้ ก. คุณสมบตั ิ (๑) มอี ายุไมต่ ำ่� กวา่ ยี่สบิ ปีบรบิ รู ณ์ (๒) ไดร้ บั วฒุ บิ ตั รหรอื ประกาศนยี บตั รดา้ นการ บรกิ ารเพอ่ื สขุ ภาพทไ่ี ดร้ บั การรบั รองจากกรมสนบั สนนุ บริการสขุ ภาพ (๓) ผ่านการทดสอบและประเมนิ ความรคู้ วาม สามารถจากกรมสนบั สนนุ บริการสุขภาพ ข. ลกั ษณะต้องหา้ ม (๑) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรอื คนเสมอื นไรค้ วามสามารถ ๑๖

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (๒) เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็น ผู้กระทําผิดในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือความผิด เกยี่ วกบั ทรพั ยต์ ามประมวลกฎหมายอาญาความผดิ ตาม กฎหมายเก่ียวกับยาเสพติด ความผิดตามกฎหมาย วา่ ด้วยการป้องกนั และปราบปรามการคา้ มนุษย์ หรอื ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการค้าประเวณี (๓) เปน็ ผเู้ จบ็ ปว่ ยดว้ ยโรคตดิ ตอ่ อนั เปน็ ทร่ี งั เกยี จ แกส่ ังคม โรคพษิ สรุ าเรอ้ื รัง หรือติดยาเสพตดิ ให้โทษ (๔) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต เปน็ ผ้ดู าํ เนินการ (๕) เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็น ผู้ดําเนินการและยังไม่พ้นกําหนดหน่ึงปีนับถึงวัน ย่ืนคําขอรบั ใบอนญุ าตเป็นผู้ดาํ เนินการ มาตรา ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ให้ บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ให้ย่ืนคําขอ ขึ้นทะเบียนเปน็ ผใู้ ห้บรกิ ารต่อผ้อู นุญาต การข้ึนทะเบียนตามวรรคหน่ึง ให้เป็นไปตาม หลกั เกณฑ์ วธิ กี าร และเงอื่ นไขทกี่ าํ หนดในกฎกระทรวง ๑๗

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๒๓ ผขู้ อขน้ึ ทะเบยี นเป็นผูใ้ หบ้ ริการตอ้ งมี คุณสมบตั ิและไม่มีลกั ษณะตอ้ งหา้ มดังตอ่ ไปน้ี ก. คณุ สมบัติ (๑) มีอายไุ ม่ตำ่� กว่าสิบแปดปบี รบิ รู ณ์ (๒) ไดร้ บั วฒุ บิ ตั รหรอื ประกาศนยี บตั รดา้ นการ บรกิ ารเพอ่ื สขุ ภาพทไ่ี ดร้ บั การรบั รองจากกรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ ข. ลกั ษณะต้องห้าม (๑) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรอื คนเสมอื นไร้ความสามารถ (๒) เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงท่ีสุดว่าเป็น ผกู้ ระทาํ ผดิ ในความผดิ เกย่ี วกบั เพศ หรอื ความผดิ เกี่ยว กับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตาม กฎหมายเกยี่ วกบั ยาเสพตดิ หรอื ความผดิ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไมน่ ้อยกวา่ หน่ึงปี กอ่ นวนั ยื่น คําขอขึ้นทะเบยี น ๑๘

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (๓) เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่ รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเร้ือรัง หรือติดยาเสพติด ให้โทษ หมวด ๓ หน้าที่ของผ้รู บั อนญุ าตและผ้ดู าํ เนินการ มาตรา ๒๔ ผู้รับอนุญาตต้องประกอบกิจการให้ ตรงตามประเภทของสถานประกอบการเพื่อสขุ ภาพที่ ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบ การเพ่อื สขุ ภาพ มาตรา ๒๕ การใชช้ อื่ สถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพ ให้เปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์ที่อธบิ ดีประกาศกาํ หนด มาตรา ๒๖ มาตรฐานดา้ นสถานที่ ความปลอดภยั และการให้บริการในสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ แตล่ ะประเภท ใหเ้ ปน็ ไปตามทก่ี าํ หนดในกฎกระทรวง ๑๙

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๒๗ สถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพประเภท ใดตอ้ งมผี ดู้ าํ เนนิ การใหเ้ ปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์ ทอี่ ธบิ ดี ประกาศกําหนด มาตรา ๒๘ ผู้รบั อนุญาตมีหน้าท่ี ดงั ตอ่ ไปนี้ (๑) แสดงใบอนญุ าตประกอบกจิ การสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพไว้ในที่เปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สถาน ประกอบการเพอ่ื สุขภาพท่ีระบไุ ว้ในใบอนญุ าต (๒) จดั ใหม้ ผี ดู้ าํ เนนิ การอยปู่ ระจาํ สถานประกอบการ เพ่ือสุขภาพตลอดเวลาทําการ พร้อมทั้งแสดงชื่อ ผ้ดู ําเนนิ การไว้ในท่ีเปดิ เผยและเห็นได้ง่าย (๓) จัดทําทะเบียนประวัติผู้ดําเนินการและผู้ให้ บริการ (๔) รักษามาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการใหบ้ รกิ ารใหเ้ ปน็ ไปตามทไ่ี ด้รบั อนญุ าต (๕) รับผู้ซึ่งได้ข้ึนทะเบียนเป็นผู้ให้บริการตาม มาตรา ๒๒ เท่าน้ันเข้าทํางานในสถานประกอบการ เพ่อื สขุ ภาพ (๖) ไมโ่ ฆษณาเกย่ี วกบั การใหบ้ รกิ ารเพอื่ สขุ ภาพใน ลักษณะ ดงั ต่อไปน้ี ๒๐

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (ก) ใช้ข้อความโฆษณาอันเป็นเท็จหรือโอ้อวด เกินความเปน็ จริง (ข) โออ้ วดสรรพคณุ ของการบรกิ ารเพอ่ื สขุ ภาพ หรืออุปกรณ์ ผลติ ภัณฑ์ และเครอ่ื งมอื เครอ่ื งใชต้ า่ ง ๆ อนั เปน็ สว่ นประกอบในการใหบ้ รกิ ารวา่ สามารถบ�ำบดั รักษาหรือป้องกันโรคได้ หรือใช้ถ้อยคําอ่ืนใดท่ีมี ความหมายในทํานองเดยี วกนั (ค) โฆษณาในประการท่ีน่าจะก่อให้เกิด ความเขา้ ใจผดิ ในสาระสาํ คญั เกยี่ วกบั การใหบ้ รกิ ารเพอ่ื สขุ ภาพ (ง) โฆษณาที่มีลักษณะส่อไปในทางลามก อนาจาร (๗) ควบคมุ ดแู ลมใิ หส้ ถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพ ก่อใหเ้ กดิ ความเดือดร้อนรําคาญแกผ่ อู้ าศัย ในบริเวณ ใกล้เคยี ง (๘) ห้ามมิให้มีการจัดสถานที่หรือส่ิงอ่ืนใดสําหรับ ใหผ้ ใู้ หบ้ รกิ ารแสดงตนเพอื่ ใหส้ ามารถเลอื กผใู้ หบ้ รกิ ารได้ (๙) ควบคุมดูแลมิให้มีการลักลอบหรือมีการ ค้าประเวณี หรือมีการกระทําหรือบริการท่ีขัดต่อ ๒๑

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ กฎหมาย ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีใน สถานประกอบการเพือ่ สุขภาพ (๑๐) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลย ให้มีการจําหน่ายหรือเสพเคร่ืองดื่มแอลกอฮอล์ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (๑๑) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลย ให้มีการกระทําความผิดเก่ียวกับยาเสพติดใน สถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ (๑๒) หา้ มมใิ หห้ รอื ยนิ ยอมหรอื ปลอ่ ยปละละเลยให้ ผู้มอี าการมนึ เมาจนประพฤตติ นวุ่นวาย หรอื ครองสติ ไม่ได้เข้าไปในสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพระหว่าง เวลาทําการ (๑๓) หา้ มมใิ หห้ รอื ยนิ ยอมหรอื ปลอ่ ยปละละเลยให้ มกี ารนาํ อาวธุ เขา้ ไปในสถานประกอบการ เพอื่ สขุ ภาพ มาตรา ๒๙ ผู้ดาํ เนินการมีหน้าท่ี ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทําคู่มือปฏิบัติงานสําหรับบริการหรือคู่มือ การใชอ้ ปุ กรณ์ ผลติ ภณั ฑแ์ ละเครอ่ื งมอื เครอ่ื งใชต้ า่ ง ๆ และพฒั นาผใู้ หบ้ รกิ ารใหส้ ามารถใหบ้ รกิ ารไดต้ ามคมู่ อื ทีจ่ ดั ทาํ ขึ้น ๒๒

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (๒) ควบคุมดูแลการบริการ อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐาน ถกู สุขลกั ษณะ และใช้ไดอ้ ย่างปลอดภยั (๓) สอบถามและบันทึกข้อมูลสุขภาพพ้ืนฐาน และคัดกรองผู้รับบริการเพ่ือจัดบริการท่ีเหมาะสม แก่สุขภาพของผรู้ บั บริการ (๔) ควบคุมดแู ลผ้ใู ห้บรกิ ารให้ปฏบิ ตั ติ ามคมู่ อื การ ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด และควบคุมดูแลมิให้ผู้ให้ บริการออกไปให้บริการนอกสถานประกอบการเพื่อ สขุ ภาพในเวลาทํางาน (๕) จัดให้มีมาตรการดูแลความปลอดภัยในการ ทํางานและป้องกันมิให้ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และ บุคคลซึ่งทํางานในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ถูกล่วงละเมดิ ทางเพศ นอกจากหนา้ ทท่ี ก่ี าํ หนดไวใ้ นวรรคหนง่ึ ใหผ้ ดู้ าํ เนนิ การมีหน้าท่ีตามมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) ดว้ ย ๒๓

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ หมวด ๔ การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนญุ าต และการลบช่ือออกจากทะเบยี น มาตรา ๓๐ เม่ือปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ผรู้ บั อนญุ าตฝา่ ฝนื หรอื ไมป่ ฏบิ ตั ติ ามหนา้ ที่ ทไี่ ดบ้ ญั ญตั ิ ไวใ้ นมาตรา ๒๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) หรอื (๘) กฎกระทรวง หรอื ประกาศทอ่ี อกตามพระราชบญั ญตั นิ ี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีมีอํานาจสั่งให้ผู้รับอนุญาต ดําเนินการแก้ไขใหถ้ ูกตอ้ งภายในระยะเวลาที่กําหนด หากผู้รับอนุญาตไม่ดําเนินการแก้ไขภายในระยะ เวลาท่ีพนักงานเจ้าหน้าที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ พนักงานเจ้าหน้าท่ีรายงานต่อผู้อนุญาตเพ่ือพิจารณา ในการน้ี ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจส่ังพักใช้ใบอนุญาต ประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ ได้ จนกว่าจะได้ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อผู้รับ อนญุ าต ไดด้ าํ เนนิ การแกไ้ ขใหถ้ กู ตอ้ งแลว้ ใหผ้ อู้ นญุ าต สงั่ เพกิ ถอนคําสงั่ พกั ใชใ้ บอนญุ าตน้ัน ๒๔

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ผู้รับอนุญาตซ่ึงถูกส่ังพักใช้ใบอนุญาตต้องหยุด ประกอบกิจการตามที่ถกู สัง่ พักใชใ้ บอนุญาต มาตรา ๓๑ เมื่อปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าท่ีว่า ผู้ดําเนินการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ท่ีได้ บัญญตั ไิ ว้ในมาตรา ๒๙ วรรคหน่ึง กฎกระทรวง หรือ ประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติน้ี ให้พนักงาน เจ้าหนา้ ทม่ี ีอาํ นาจสั่งให้ผู้ดําเนินการปฏิบตั ติ ามหนา้ ท่ี ของตนใหถ้ กู ตอ้ งภายในระยะเวลาทก่ี าํ หนด หากผู้ดําเนินการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะ เวลาท่ีพนักงานเจ้าหน้าท่ีกําหนดตามวรรคหนึ่งให้ พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผู้อนุญาตเพื่อพิจารณา ในการนี้ ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต เป็นผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพได้ จนกวา่ จะไดป้ ฏบิ ตั ใิ หถ้ กู ตอ้ ง เมอื่ ผดู้ าํ เนนิ การไดป้ ฏบิ ตั ิ ให้ถูกต้องแล้ว ให้ผู้อนุญาตสั่งเพิกถอนคําสั่งพักใช้ ใบอนญุ าตนั้น ผู้ดําเนินการซ่ึงถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตต้องหยุด ปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ตามท่ีถูกส่งั พักใช้ใบอนุญาต ๒๕

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๓๒ อธิบดีมีอํานาจส่ังเพิกถอนใบอนุญาต เม่อื ปรากฏวา่ (๑) ผู้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้อง หา้ มตามมาตรา ๑๓ (๑) (๒) (๓) (๔) หรอื (๖) (๒) ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ทบ่ี ัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) หรอื (๑๓) (๓) ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนคําส่ังพักใช้ใบอนุญาตตาม มาตรา ๓๐ (๔) ผูด้ าํ เนินการขาดคณุ สมบตั ติ ามมาตรา ๒๑ ก. (๑) (๒) หรือ (๓) หรอื มีลักษณะตอ้ งห้าม ตามมาตรา ๒๑ ข. (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) (๕) ผู้ดําเนินการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าท่ี ทบ่ี ัญญตั ิไว้ในมาตรา ๒๙ วรรคสอง (๖) ผู้ดําเนินการฝ่าฝืนคําส่ังพักใช้ใบอนุญาตตาม มาตรา ๓๑ ในกรณีท่ีผู้รับอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดาหาก อธิบดีมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตาม (๑) ให้สามารถ ๒๖

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพได้ ต่อไปอีกหกสิบวันนับแต่วันที่อธิบดีมีคําส่ังเพิกถอน ใบอนญุ าต ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเป็นนิติบุคคล และปรากฏ ตอ่ ผู้อนุญาตว่าผู้มีอํานาจจัดการแทนนิติบุคคลขาด คุณสมบัติหรือมลี ักษณะต้องหา้ มตามมาตรา ๑๓ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) ให้ผู้อนุญาตแจ้งให้ผู้รับอนุญาต แต่งต้ังบุคคลอื่นเข้าดํารงตําแหน่งแทนภายใน สามสิบวันนับแต่วันท่ีได้รับแจ้ง หากผู้รับอนุญาต ไม่ดําเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้อธิบดีมี คําสง่ั เพกิ ถอนใบอนุญาต มาตรา ๓๓ ในกรณที ป่ี รากฏวา่ ผใู้ หบ้ รกิ ารผใู้ ดขาด คุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดใน มาตรา ๒๓ ใหผ้ ูอ้ นญุ าตลบชือ่ ผู้ใหบ้ ริการน้ันออกจาก ทะเบียน มาตรา ๓๔ คําส่งั พกั ใช้ใบอนุญาต คําส่ังเพิกถอน ใบอนุญาต และคําส่ังลบช่ือออกจากทะเบียน ให้ทํา เป็นหนังสือแจ้งผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ หรือผู้ให้ บรกิ ารทราบ แลว้ แตก่ รณี ๒๗

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ การแจง้ คาํ สงั่ ตามวรรคหนงึ่ ใหน้ าํ หมวดวา่ ดว้ ยการ แจง้ ตามกฎหมายวา่ ดว้ ยวธิ ปี ฏบิ ตั ริ าชการทางปกครอง มาใชบ้ ังคบั โดยอนโุ ลม หมวด ๕ พนักงานเจ้าหนา้ ที่ มาตรา ๓๕ ในการปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี ใหพ้ นกั งานเจา้ หนา้ ท่ี มีอาํ นาจ ดังตอ่ ไปนี้ (๑) เข้าไปในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพใน ระหวา่ งเวลาทาํ การของสถานทน่ี น้ั เพอื่ ตรวจสอบ หรอื ควบคมุ ให้เปน็ ไปตามพระราชบญั ญัตนิ ้ี (๒) เกบ็ อปุ กรณ์ ผลติ ภณั ฑ์ และเครอื่ งมอื เครอื่ งใช้ ตา่ ง ๆ ท่ใี ชใ้ นการใหบ้ ริการเพ่ือสุขภาพ ในปรมิ าณพอ สมควรเพอ่ื เปน็ ตวั อยา่ งในการตรวจสอบหรอื วเิ คราะห์ (๓) ยดึ หรอื อายดั อปุ กรณ์ ผลติ ภณั ฑ์ และเครอ่ื งมอื เครอ่ื งใช้ต่าง ๆ ตลอดจนภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก และเอกสารกํากบั และเอกสารหรอื วตั ถอุ ่ืนใดทม่ี ีเหตุ อนั ควรเชือ่ ไดว้ ่าจะเก่ียวข้องกับการกระทาํ ความผดิ ๒๘

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (๔) มหี นงั สอื เรยี กใหบ้ คุ คลทเี่ กยี่ วขอ้ งมาใหถ้ อ้ ยคาํ หรอื สง่ เอกสารหรอื หลกั ฐานทจี่ าํ เปน็ เพอื่ ประกอบการ พจิ ารณาของพนกั งานเจ้าหน้าท่ี ใหผ้ รู้ บั อนญุ าต ผดู้ าํ เนนิ การ ผใู้ หบ้ รกิ าร หรอื บคุ คล ซง่ึ เปน็ พนกั งานหรอื ลกู จา้ งของสถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพนั้นอํานวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๓๖ ในการปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี ต้องแสดงบัตรประจําตวั พนักงานเจ้าหนา้ ที่ ตอ่ บุคคล ทีเ่ กยี่ วขอ้ ง บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตาม แบบท่ีอธบิ ดปี ระกาศกาํ หนด มาตรา ๓๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงาน เจา้ หนา้ ทเี่ ปน็ เจา้ พนกั งานตามประมวลกฎหมายอาญา ๒๙

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ หมวด ๖ การอทุ ธรณ์ มาตรา ๓๘ ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต ไม่ให้ต่ออายุใบอนุญาต ไม่ให้โอนใบอนุญาต หรือไม่ รับข้ึนทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ ให้ผู้ขออนุญาต ผู้ขอ ตอ่ อายใุ บอนญุ าต ผขู้ อรบั โอนใบอนญุ าต หรอื ผขู้ อขน้ึ ทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวง ภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีได้รับแจ้งการไม่ออก ใบอนุญาต การไม่ใหต้ อ่ อายุใบอนุญาต การไม่ให้โอน ใบอนุญาต หรอื การไม่รบั ขน้ึ ทะเบียน แล้วแตก่ รณี มาตรา ๓๙ ผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ หรือผู้ให้ บริการ ซึ่งถกู พกั ใช้ใบอนญุ าต ถูกเพกิ ถอนใบอนญุ าต หรือถูกลบช่ือออกจากทะเบียน มีสิทธิอุทธรณ์เป็น หนงั สอื ตอ่ ปลดั กระทรวง ภายในสามสบิ วนั นบั แตว่ นั ที่ ไดร้ บั แจง้ คาํ สงั่ พกั ใชห้ รอื เพกิ ถอนใบอนญุ าต หรอื คาํ สง่ั ลบชื่อออกจากทะเบียน แลว้ แต่กรณี ๓๐

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ การอุทธรณ์ตามวรรคหน่ึงไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการ บังคับตามคําส่ังพักใช้ใบอนุญาต คําสั่งเพิกถอน ใบอนุญาต หรอื คาํ สัง่ ลบชอื่ ออกจากทะเบยี น มาตรา ๔๐ การพจิ ารณาอทุ ธรณ์ตามมาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ ใหป้ ลัดกระทรวง พจิ ารณาอุทธรณ์ให้ แลว้ เสรจ็ ภายในสามสบิ วนั นบั แตว่ นั ทไ่ี ดร้ บั คาํ อทุ ธรณ์ ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน ระยะเวลาดังกล่าว ใหม้ หี นงั สือแจง้ ให้ผอู้ ทุ ธรณ์ทราบ กอ่ นครบกาํ หนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะ เวลาพจิ ารณาอทุ ธรณอ์ อกไปไดไ้ มเ่ กนิ สามสบิ วนั นบั แต่ วันท่คี รบกําหนดระยะเวลา ดงั กล่าว คาํ วินจิ ฉัยของปลัดกระทรวงใหเ้ ป็นท่ีสุด ๓๑

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ หมวด ๗ บทกําหนดโทษ มาตรา ๔๑ ผู้ใดใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อในธุรกิจ ว่า “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” “กิจการสปา” “นวดเพอ่ื สขุ ภาพหรอื เพอื่ เสรมิ ความงาม” หรอื กจิ การ อ่ืนตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ท่ีออกตามความ ใน (๓) ของบทนิยามคําว่า “สถานประกอบการเพื่อ สุขภาพ” ในมาตรา ๓ หรือคําอื่นใดท่ีมีความหมาย เช่นเดียวกัน ในประการท่ีอาจทําให้ประชาชนเข้าใจ ว่าเป็นสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ โดยมิได้เป็น ผรู้ บั อนญุ าตตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี ตอ้ งระวางโทษปรบั ไม่เกนิ สีห่ ม่ืนบาท มาตรา ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝนื มาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษ จาํ คกุ ไมเ่ กนิ หกเดอื น หรอื ปรบั ไมเ่ กนิ หา้ หมนื่ บาท หรอื ทัง้ จําท้งั ปรับ มาตรา ๔๓ ผใู้ ดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ตอ้ งระวาง โทษปรับไมเ่ กินสองหมื่นบาท ๓๒

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตผใู้ ดฝ่าฝืนมาตรา ๒๔ ตอ้ ง ระวางโทษปรับไม่เกนิ สหี่ มนื่ บาท มาตรา ๔๕ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) หรอื (๑๓) หรอื ผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไมเ่ กิน สามหม่นื บาท มาตรา ๔๖ ผใู้ ดฝา่ ฝนื หรอื ไมป่ ฏบิ ตั ติ ามมาตรา ๓๕ วรรคสอง ตอ้ งระวางโทษปรบั ไม่เกิน หน่งึ หมน่ื บาท มาตรา ๔๗ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็น นิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น เกดิ จากการสง่ั การ หรอื การกระทาํ ของบุคคลใด หรอื ไมส่ ง่ั การ หรอื ไมก่ ระทาํ การอนั เปน็ หนา้ ทที่ ตี่ อ้ งกระทาํ ของกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบ ในการดําเนินงานของนิติบุคคลน้ัน ผู้น้ันต้องรับโทษ ตามทบ่ี ัญญัติไว้สาํ หรับความผิดน้ัน ๆ ดว้ ย มาตรา ๔๘ บรรดาความผดิ ตามพระราชบญั ญตั ิน้ี ใหผ้ อู้ นญุ าตมอี าํ นาจเปรยี บเทยี บได้ ตามหลกั เกณฑท์ ี่ อธบิ ดีประกาศกาํ หนด ๓๓

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ เม่ือผู้ต้องหาชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่ เปรียบเทียบภายในระยะเวลาทีก่ าํ หนดแล้ว ให้ถอื วา่ คดเี ลกิ กนั ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา ๓๔

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๙ ผปู้ ระกอบกจิ การ ผดู้ าํ เนนิ การ และผใู้ ห้ บรกิ ารในสถานทเ่ี พอ่ื สขุ ภาพหรอื เพอ่ื เสรมิ สวยทไ่ี ด้รับ การรับรองตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เร่ืองกําหนดสถานท่ีเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานท่ี การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรอง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสําหรับสถานที่เพื่อสุขภาพ หรือเพ่ือเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู่ในวันก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ย่ืนคําขอรบั ใบอนญุ าต ประกอบกิจการ คําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการ หรือคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการต่อผู้อนุญาต ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบญั ญตั ิ นี้ใช้บังคับ และเมื่อย่ืนคําขอรับใบอนุญาตหรือ คําขอข้ึนทะเบียนแล้วให้ประกอบกิจการ ดําเนินการ ห รื อ ใ ห ้ บ ริ ก า ร ต ่ อ ไ ป ไ ด ้ จ น ก ว ่ า จ ะ ไ ด ้ รั บ แ จ ้ ง ๓๕

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ คําส่ังไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่รับข้ึนทะเบียนจาก ผ้อู นุญาต แลว้ แต่กรณี ผ้รู บั สนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จนั ทรโ์ อชา นายกรัฐมนตรี ๓๖

เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ อตั ราค่าธรรมเนยี ม (๑) ใบอนญุ าตประกอบกจิ การ สถานประกอบการ เพ่ือสขุ ภาพ ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) ใบอนญุ าตเปน็ ผู้ดําเนนิ การ ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท (๓) การตอ่ อายุใบอนุญาต ประกอบกจิ การสถาน ประกอบการเพื่อสุขภาพ ครั้งละเท่ากบั ค่าธรรมเนยี ม ใบอนญุ าตประเภท และขนาดน้นั ๆ แตล่ ะฉบบั (๔) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท (๕) การเปล่ยี นแปลงแก้ไข รายการในใบอนญุ าต ครั้งละ ๕๐๐ บาท ๓๗

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (๖) ค่าธรรมเนยี มการประกอบ กจิ การสถานประกอบการ เพอื่ สขุ ภาพรายปี ปีละ ๑,๐๐๐ บาท ๓๘

เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ หมายเหตุ :- เหตผุ ลในการประกาศใชพ้ ระราชบญั ญตั ิ ฉบบั น้ี คอื โดยทก่ี จิ การสถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพ เปน็ กจิ การดา้ นบรกิ ารทสี่ รา้ งงานและรายไดแ้ กป่ ระเทศ เป็นจํานวนมาก และเป็นกิจการท่ีได้รับความเช่ือมั่น จากผู้รับบริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมา ยาวนาน จงึ มผี ปู้ ระกอบกจิ การสถานประกอบการเพอ่ื สุขภาพ เพ่ิมมากข้ึนในแต่ละปี แต่ปัจจุบันยังไม่มี กฎหมายกาํ กบั ดแู ลการดาํ เนนิ กจิ การนเี้ ปน็ การเฉพาะ ผปู้ ระกอบกจิ การ ผดู้ าํ เนนิ การ และผใู้ หบ้ รกิ ารจาํ นวน มากขาดความรแู้ ละทกั ษะในการประกอบกจิ การ และ การให้บริการของสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ ส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานและส่งผลกระทบโดยตรงต่อ สขุ ภาพรา่ งกาย หรอื จติ ใจ ของผรู้ บั บรกิ าร ประกอบกบั มผี ใู้ ชค้ าํ วา่ สถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพเพอ่ื ประกอบ กจิ การแฝงอยา่ งอน่ื อนั สง่ ผลกระทบตอ่ ความเชอื่ มน่ั ของ ผรู้ บั บรกิ ารชาวไทยและชาวตา่ งประเทศทม่ี ตี อ่ กจิ การ สถานประกอบการเพ่ือสุขภาพสมควรมีกฎหมายที่ กาํ กบั ดแู ลการประกอบกจิ การสถานประกอบการเพอื่ สุขภาพขึ้นเป็นการเฉพาะ เพ่ือให้การดําเนินกิจการ ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีมาตรฐานอันเป็นการส่งเสริม สขุ ภาพของประชาชนและคมุ้ ครองผบู้ รโิ ภค จงึ จาํ เปน็ ตอ้ งตราพระราชบัญญตั นิ ้ี ๓๙



กองสถานประกอบการเพอ่ื สขุ ภาพ กรมสนับสนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ โทร. ๐๒ ๑๙๓ ๗๐๐๐ ตอ ๑๘๔๐๘ www.thaispa.go.th


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook