Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิจัยในชั้นเรียน-2-63-สมบูรณ์

วิจัยในชั้นเรียน-2-63-สมบูรณ์

Published by punpalee poon, 2021-08-03 03:26:54

Description: วิจัยในชั้นเรียน-2-63-สมบูรณ์

Search

Read the Text Version

รายงานการวิจัยในช้นั เรียน เรื่อง การพัฒนาทกั ษะการบวกและการลบเศษส่วน ของผเู้ รยี นระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น กศน.อำเภอวเิ ศษชัยชาญ กลุ่ม 302 โดยใชแ้ บบฝึกทักษะ โดย นางสาวปัณณ์ปาลี ศิรธิ ุวานนท์ ตำแหนง่ ครู ภาคเรียนท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2563 ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยอำเภอวิเศษชัยชาญ สำนักงานสง่ เสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยจังหวดั อา่ งทอง



๓ ชอื่ เร่ืองวจิ ัย การพฒั นาทักษะการบวกและการลบเศษสว่ นของผู้เรียนระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้ กศน.อำเภอวิเศษชยั ชาญ กลุ่ม 302 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชอื่ ผู้วจิ ัย นางสาวปัณณป์ าลี ศริ ิธุวานนท์ ตำแหน่ง ครู สถานศกึ ษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอำเภอวิเศษชยั ชาญ สังกัด สำนักงานส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั จังหวัดอา่ งทอง ความเป็นมาและความสำคัญของปญั หา จากการทดสอบก่อนเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ในวันปฐมนิเทศผู้เรียน ภาคเรียนที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563 ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ กศน.อำเภอวิเศษชยั ชาญ กลุม่ 302 จำนวน 8 คน พบว่า มี ผู้เรียน จำนวน 2 คน ทำแบบทดสอบเรื่องการบวก การลบเศษส่วนไม่ถูกต้อง โดยมีสาเหตุของปัญหาคือ ผูเ้ รยี นจบการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นเวลานาน ขาดโอกาสในการศกึ ษาต่อ อีกท้งั ความรู้เดิมในเร่ือง การหา ห.ร.ม. ค.ร.น และการเปลี่ยนเศษส่วนให้มีส่วนเท่ากันมีน้อยมาก ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งใน เรื่องการบวกและการลบเศษส่วน เป็นเหตุให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนไม่ดี เท่าทค่ี วร จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าว แนวทางการแก้ปัญหาหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้ ได้แก่ การฝึก ทักษะการหา ห.ร.ม.และ ค.ร.น การบวกและการลบเศษส่วน ให้กับผู้เรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ เพราะแบบฝึกทักษะเปน็ สื่อทชี่ ่วยให้ผูเ้ รยี นได้รบั ประสบการณ์ตรงจาก การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ฝึกทักษะทางการคิดคำนวณอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลให้ผู้เรียน เกิด ความเข้าใจในบทเรียนมากข้นึ ดว้ ยเหตผุ ลดังกลา่ ว จงึ ทำให้ผู้วิจัยเห็นว่า วธิ ีการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้โดย ใช้แบบฝกึ ทักษะจะเปน็ แนวทางท่ีชว่ ยแก้ไขปัญหาขา้ งต้นให้หมดหรือลดลงไป ดังนน้ั ผู้วจิ ยั จึงสร้างแบบฝึก ทักษะการบวกและการลบเศษส่วน เพื่อนำไปสอนเสริมผู้เรียนและให้ผู้เรียนได้มีโอกาส ฝึกทักษะการการบวกและการลบเศษส่วนให้มากขึ้น สามารถนำความรู้และกระบวนการคิดคำนวณไป ใช้ได้อย่างถกู ตอ้ งและมีประสิทธิภาพตามหลกั คณติ ศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการวจิ ัย เพื่อพัฒนาทักษะการบวกและการลบเศษส่วนของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน. อำเภอวเิ ศษชัยชาญ กลมุ่ 302 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

๔ ขอบเขตของการวจิ ยั ประชากร ประชากร คือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน.อำเภอวิเศษชัยชาญ กลุ่ม 302 ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563 ทีล่ งทะเบยี นวชิ าคณิตศาสตร์ จำนวน 8 คน กลมุ่ ตวั อยา่ ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน.อำเภอวิเศษชัยชาญ กลุ่ม 302 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่ลงทะเบียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีปัญหาการบวกและการลบเศษส่วน จำนวน 2 คน เน้อื หา เนอื้ หาทใี่ ชศ้ ึกษา คือ การบวกและการลบเศษส่วน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พุทธศักราช 2551 ซ่งึ ประกอบดว้ ย 1. การหา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. 2. การบวกเศษสว่ น 3. การลบเศษส่วน ตวั แปร ตวั แปรอสิ ระ ได้แก่ แบบฝึกทักษะการบวกและการลบเศษส่วน ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการพฒั นาทักษะการบวกและการลบเศษส่วน ระยะเวลา ดำเนนิ การวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563 0ตงั้ แต่วนั ที่ 6 ธันวาคม 2563 ถงึ วันที่ 28 มีนาคม 2564 ประโยชนท์ ่คี าดวา่ ไดร้ บั 1. ผ้เู รยี นสามารถหาผลลพั ธก์ ารบวกและการลบเศษส่วนได้ 2. ไดแ้ บบฝึกหัดทกั ษะไว้ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนกลมุ่ ที่มสี ภาพปญั หาคล้ายกนั วิธดี ำเนนิ การวิจัย รูปแบบการวจิ ัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi –Experimental Research) ซึ่งใช้แบบทดลองแบบ One – Group Pre-test – Post-test Design การกำหนดกลุ่มตวั อยา่ ง ผู้วิจัย ให้ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน.อำเภอวิเศษชัยชาญ กลุ่ม 302 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2563 ท่ีลงทะเบียนวชิ าคณติ ศาสตร์ ทำแบบทดสอบก่อนเรียน พบว่า มีผเู้ รียนไม่สามารถ ทำขอ้ สอบเรอื่ งเศษสว่ นได้ จำนวน 2 คน

๕ เครือ่ งมอื ท่ใี ช้ในการวจิ ยั 1. แบบฝึกทักษะการบวกและลบเศษส่วน : เป็นการจัดเตรียมเนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาของผู้เรียน และโครงสร้างหลักสูตรรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งผู้วิจัยศึกษา รวบรวม จากหนังสือแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ใบความรู้ และชุดการเรียนรู้สำเร็จรูปที่เผยแพร่ทาง อินเตอร์เน็ต และเรียบเรียงเป็นออกเป็น 3 เรอ่ื ง มีแบบฝกึ ทกั ษะ จำนวน 10 กจิ กรรม ได้แก่ 1.1 การหา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. จำนวน 4 กิจกรรม 1.2 การบวกเศษสว่ น จำนวน 5 กิจกรรม 1.3 การลบเศษสว่ น จำนวน 1 กจิ กรรม 2. แบบทดสอบวัดทกั ษะการบวกและการลบเศษส่วน จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 2.1 กอ่ นเรยี น จำนวน 1 ฉบับ 2.2 ระหวา่ งเรยี น จำนวน 3 ฉบบั 2.3 หลงั เรยี น จำนวน 1 ฉบับ การเกบ็ รวบรวมข้อมูล ผ้วู ิจัย ได้กำหนดตารางกจิ กรรมร่วมกับผูเ้ รียน หลงั จากท่ีใหค้ ำปรกึ ษาและหาทางออกร่วมกนั ถงึ แนวทางแกป้ ญั หาดังน้ี วนั ท่ี 9 มกราคม 2564 : ให้ผู้เรยี นทำแบบทดสอบก่อนเรยี น และแจกแบบฝึกทักษะเรือ่ ง การบวกและการลบเศษส่วน พร้อมอธบิ ายการใชแ้ บบฝึกทักษะและเน้ือหา วันที่ 16 มกราคม 2564 : ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบท้ายบทเรื่อง การหา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. โดยใช้แบบทดสอบออนไลน์ (google form) ซ่งึ ผ้วู จิ ัยจะส่งล้ิงค์ไปทไ่ี ลนส์ ่วนตวั ของผู้เรยี น หลังจากน้ันจะ ส่งเฉลยแบบทดสอบดังกล่าวเป็นไฟล์ pdf. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาและทำความเข้าใจ (เชน่ เดยี วกับวนั ที่ 23 , 30 มกราคม 2564) วันที่ 23 มกราคม 2564 : ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบท้ายบทเรื่อง การบวกเศษส่วน โดยใช้ แบบทดสอบออนไลน์ (google form) วันที่ 30 มกราคม 2564 : ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบท้ายบทเรื่อง การลบเศษส่วน โดยใช้ แบบทดสอบออนไลน์ (google form) วันที่ 6 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 : ใหผ้ ูเ้ รยี นทำแบบทดสอบหลงั เรียน พรอ้ มตรวจแบบฝึกทกั ษะ เร่อื งการบวกและการลบเศษสว่ นของผู้เรียน ดงั นน้ั การเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวจิ ยั ในชน้ั เรยี นน้ี จะประกอบไปดว้ ย 1. ทดสอบทกั ษะการบวกและการลบเศษสว่ น : กอ่ นเรยี น 1 ครง้ั 2. ทดสอบทกั ษะการบวกและลบเศษส่วน : ระหวา่ งเรยี น 3 ครัง้ 3. ทดสอบทักษะการบวกและลบเศษส่วน : หลงั เรยี น 1 ครั้ง

๖ การวิเคราะหข์ ้อมูล ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนมา วเิ คราะหเ์ พอ่ื เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของผู้เรยี นดงั น้ี 1. หาค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และ หลังเรยี น จากสูตร : รอ้ ยละความก้าวหนา้ = คะแนนที่ได้ ×100 ÷ คะแนนเตม็ 2. หาค่าร้อยละความก้าวหน้าการพัฒนาทักษะการบวกลบเศษส่วน จากสูตร : ค่าเฉล่ีย รอ้ ยละหลังเรียน–คา่ เฉลีย่ รอ้ ยละกอ่ นเรยี น ผลการวจิ ัย ผู้เรียนได้คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละก่อนเรียนเท่ากับ 35 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลงั เรยี นเทา่ กับ 70 คะแนน คะแนนเฉลย่ี ร้อยละของความก้าวหน้า เท่ากับ 35 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละระหว่างเรียนจากการทดสอบครั้งที่ 1 2 และ 3 มีค่าเท่ากับ 55 , 60 และ 65 ตามลำดับ ดงั ตารางต่อไปน้ี ตารางท่ี 1 แสดงผลการเปรียบเทียบเปรียบเทียบความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนเรื่อง การบวกและการลบเศษสว่ น นกั ศึกษา ก่อนเรยี น ระหว่างเรยี น หลังเรียน ความก้าวหนา้ คนที่ (คะแนนเต็ม 10/ครง้ั ) (หลัง-ก่อน) คะแนนเตม็ 10 คร้ังที1่ คร้งั ท่ี 2 ครัง้ ท่ี 3 คะแนนเตม็ 10 1 566 +3 2 3 667 6 +4 รวม 4 11 12 13 8 7 รอ้ ยละ 7 55 60 65 14 35 35 70 สรุปผลการวจิ ัย การพัฒนาทักษะการบวก และการลบเศษส่วน ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน. อำเภอวิเศษชัยชาญ กลุ่ม 302 โดยใช้แบบฝึกทักษะพบว่า ผู้เรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละหลังเรียน สงู กวา่ กอ่ นเรยี น โดยคะแนนเฉลยี่ ร้อยละก่อนเรยี นเท่ากบั 35 คะแนน และคะแนนเฉลยี่ ร้อยละหลังเรียน เท่ากับ 70 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของความก้าวหน้า เท่ากับ 35 ซึ่งเป็นผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนที่ สงู ข้ึน อภปิ รายผลการวิจยั การพัฒนาทักษะการบวก และการลบเศษส่วน ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน. อำเภอวิเศษชัยชาญ กลุ่ม 302 โดยใช้แบบฝึกทักษะพบว่า การใช้แบบฝึกดังกล่าวทำให้ผู้เรียนได้ทบทวน และเสริมทักษะ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในบทเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละก่อนเรียนเท่ากับ 35 คะแนน และคะแนนเฉล่ียร้อยละ

๗ หลังเรยี นเทา่ กับ 70 คะแนน มคี ะแนนเฉลยี่ ร้อยละของความก้าวหน้า เท่ากบั 35 ท้งั นเี้ น่อื งมาจากผู้เรียน มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนครั้งนี้ เมื่อผู้เรียนเกิดข้อสงสัยก็จะสอบถามครูอยู่เสมอ เมื่อสิ้นสุดการเรยี น พบวา่ ผเู้ รยี นทกุ คนสามารถทำแบบฝกึ หดั เรอ่ื งการบวกและการลบเศษสว่ นได้ถูกต้องมากขน้ึ ขอ้ เสนอแนะ 1. ควรมีการศึกษาถึงตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการเรียนของผู้เรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะ เชน่ เจตคติ ความสนใจ และความคงทนทางการเรยี น 2. ควรมกี ารสรา้ งแบบฝึกเสรมิ ทกั ษะในเรอ่ื งอน่ื ๆ เพม่ิ เติม เช่น เลขยกกำลัง สถติ ิ เป็นตน้ 3. ครูกศน.ตำบล สามารถนำแบบฝกึ ทักษะการบวกและการลบเศษส่วนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไป ใช้กับผู้เรยี นทปี่ ระสบปญั หาเดียวกนั ได้ เนือ่ งจากมีประสทิ ธิภาพพอท่ใี ช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

๘ เอกสารอ้างองิ กฤษณา ทองกรด. (2558). รายงานผลการพฒั นาผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี น โดยใชแ้ บบฝึกทักษะวิชา คณิตศาสตร์ เรือ่ ง เลขยกกำลงั ชัน้ มธั ยมศึกษาปที ่ี 1 โรงเรยี นตะเครยี ะวทิ ยาคม จังหวัดสงขลา. สืบคน้ เมอ่ื 15/ธนั วาคม/2563. เขา้ ถงึ ได้จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=134304&bcat_id=16&fbclid=IwAR1Q 8uBDaKje9TPK6net5G_AFKG7-7YC1CenwlpsBv5xcvGt5RbHEN4qXCY เสาวนีย์ สีทอง. (2558). การพัฒนาผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนคณติ ศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม และเศษส่วน โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรยี นรูแ้ บบรว่ มมอื สาหรบั นักเรียน ระดบั ช้นั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 1 โรงเรยี นสะเดา “ขรรคช์ ัยกัมพลานนท์อนสุ รณ”์ อาเภอสะเดา จงั หวดั สงขลา. สบื ค้นเมื่อ 15/ธนั วาคม/ 2563. เขา้ ถึงไดจ้ าก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=138469&bcat_id=16&fbclid=IwAR1fa oNDFBbNpmiMp1ejL_6mZOiyjLZyLeFBV7lnCqDJjFhvp5pqJNtynCE อรุณี รุจริ าพาณิชย.์ (2562). การพฒั นาผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี น วชิ าคณิตศาสตรพ์ น้ื ฐานเร่ือง ความนา่ จะ เป็น โดยใช้แบบฝึกทกั ษะ สำหรบั นกั เรยี นชัน้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 โรงเรยี นบ้านศรบี ุญเรือง อำเภอสนั ทราย จงั หวัดเชยี งใหม.่ สืบค้นเมอ่ื 15/ธันวาคม/2563. เขา้ ถงึ ได้จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MzgyOTMx&method=inline

๙ ภาคผนวก - ภาพกิจกรรม

๑๐ ภาพกจิ กรรม

๑๑ ภาคผนวก - แบบทดสอบก่อนเรียน : 1 ฉบบั - แบบทดสอบระหวา่ งเรยี น : 3 ฉบับ - แบบทดสอบหลังเรยี น : 1 ฉบบั

๑๒

๑๓

๑๔

๑๕

๑๖

๑๗ ภาคผนวก - แบบฝึกทกั ษะการบวกและการลบเศษสว่ น

๑๘

๑๙

๒๐

๒๑

๒๒

๒๓

๒๔

๒๕

๒๖

๒๗

๒๘

๒๙

๓๐

๓๑

๓๒

๓๓

๓๔


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook