ว า รส า ร สั ง ค ม ศ า ส ต ร์แ ล ะ ม า นุ ษ ย วิ ท ย า เ ชิ ง พุ ท ธ Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology P-ISSN : 2651-1630 ปที ่ี 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) E-ISSN : 2672-9040 Vol.6 No.1 (January 2021) วัตถปุ ระสงค์ วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ เป็นวารสารวิชาการของ วัดวังตะวันตก อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพ่ือส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์และ นกั ศึกษา ในมติ ิเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยในมหาวิทยาลัยสงฆ์รวมถึงคณะสงฆ์ ไทย โดยเน้นสาขาวิชาพุทธศาสนา บริหารการศึกษา การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชงิ ประยกุ ต์ รวมถงึ สหวทิ ยาการอน่ื ๆ บทความท่ีตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) เปิดรับบทความท้ัง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลท้ังภายในและภายนอก วัด ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือ บทความวิจัยเพ่ือตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมท้ังระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตาม หลกั เกณฑข์ องวารสาร ทัศนะและข้อคิดเห็นท่ีปรากฏในบทความวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บทความนั้น มิใช่ความคิดของคณะผู้จัดทำ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธกิ าร ท้ังน้ีกองบรรณาธกิ ารไมส่ งวนลขิ สทิ ธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อา้ งอิงแสดงที่มา
ข | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ มีกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 12 ฉบับ (รายเดือน)* ฉบบั ที่ 1 เดอื นมกราคม ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพนั ธ์ ฉบับที่ 3 เดือนมนี าคม ฉบับท่ี 4 เดอื นเมษายน ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม ฉบับท่ี 6 เดอื นมถิ นุ ายน ฉบับท่ี 7 เดือนกรกฎาคม ฉบบั ท่ี 8 เดือนสิงหาคม ฉบับที่ 9 เดอื นกันยายน ฉบบั ท่ี 10 เดือนตุลาคม ฉบับท่ี 11 เดือนพฤศจกิ ายน ฉบบั ท่ี 12 เดอื นธันวาคม เจา้ ของ วัดวงั ตะวันตก 1343/5 ถนนราชดำเนิน ตำบลคลงั อำเภอเมือง จังหวัดนครศรธี รรมราช 80000 โทร. 061-5262919 โทรสาร. 075-340-042 E-mail : [email protected] ทปี่ รึกษา พระพรหมบณั ฑติ , ศ., ดร. มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั พระราชปรยิ ตั กิ ว,ี ศ., ดร. มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย พระเทพปัญญาสธุ ี มหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั วิทยาเขตนครศรธี รรมราช พระครพู รหมเขตคณารักษ์, ดร. เจ้าอาวาสวดั วงั ตะวันตก โรงเรียนพระปรยิ ตั ธิ รรมสามญั วดั สระเรยี ง บรรณาธิการบรหิ าร พระครวู นิ ัยธรสรุ ิยา สรุ ิโย(คงคาไหว), ดร. วัดวงั ตะวันตก มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช หวั หน้ากองบรรณาธกิ าร นางสาวปญุ ญาดา จงละเอยี ด มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั วทิ ยาเขตนครศรธี รรมราช
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีที่ 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | ค กองบรรณาธกิ าร พระครูอรณุ สตุ าลงั การ, รศ., ดร. มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรธี รรมราช พระครูสิรธิ รรมาภิรตั , ผศ., ดร. มหาวิทยาลยั มหามกฎุ ราชวทิ ยาลัย วทิ ยาเขตศรีธรรมาโศกราช ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา มหาวิทยาลยั ทักษิณ รองศาสตราจารย์ ดร. ประเวศ อินทองปาน มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. สืบพงษ์ ธรรมชาติ มหาวทิ ยาลยั วลยั ลักษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. กนั ตภณ หนทู องแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกฎุ ราชวิทยาลยั วทิ ยาเขตศรธี รรมาโศกราช รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนตจ์ อห์น รองศาสตราจารย์ ฟื้น ดอกบัว มหาวิทยาลยั เซนต์จอห์น ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ ทพิ ย์ศรีนมิ ติ มหาวทิ ยาลยั วลัยลักษณ์ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. วาสนา แก้วหล้า มหาวิทยาลัยราชภฏั สรุ ินทร์ ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร. ณิศภ์ าพรรณ ควู เิ ศษแสง มหาวทิ ยาลยั เซนต์จอหน์ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ธนศิ ร ยนื ยง มหาวทิ ยาลยั ปทมุ ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พอใจ สงิ หเนตร มหาวิทยาลยั ราชภฏั ลำปาง ดร. มะลิวลั ย์ โยธารกั ษ์ มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย วทิ ยาเขตนครศรีธรรมราช ดร. ธรี ะพงษ์ สมเขาใหญ่ มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั วทิ ยาเขตนครศรธี รรมราช ดร. สทิ ธิโชค ปาณะศรี มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย วทิ ยาเขตนครศรีธรรมราช
ง | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ดร. พรี ะศิลป์ บุญทอง มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรธี รรมราช ดร. มุกดาวรรณ พลเดช วทิ ยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ดร. จิตตมิ า ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภฏั นครศรีธรรมราช ดร.ประนอม การชะนนั ท์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏนครศรีธรรมราช ดร. อุทัย เอกสะพัง มหาวิทยาลัยทักษิณ ผชู้ ว่ ยกองบรรณาธิการ พระมหาศกั ดิ์ดา สริ ิเมธี เลขานุการศนู ย์สง่ เสรมิ กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา วัดวังตะวันตก พระมหาอนุชติ อนนฺตเมธี วดั หน้าพระบรมธาตุ พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี วัดศาลามชี ัย นายอภนิ ันท์ คำหารพล มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นายธีรวัฒน์ ทองบญุ ชู มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย วทิ ยาเขตนครศรธี รรมราช ฝา่ ยประสานงานและจดั การ พระสาโรจน์ ธมฺมสโร วัดสนธ์ิ (นาสน) พระบุญญฤทธ์ิ ภททฺจารี วดั สนธิ์ (นาสน) นางสาวทิพยว์ รรณ จันทรา
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | จ ฝา่ ยกฎหมาย ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ฉตั ตมาศ วิเศษสินธ์ุ คณะนิตศิ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภฎั สรุ าษฎรธ์ านี ออกแบบปก นายวินัย ธรี ะพบิ ลู ยว์ ัฒนา จดั รปู เล่ม พระณฐั พงษ์ สริ สิ ุวณฺโณ วดั สนธ์ิ (นาสน) พิมพ์ท่ี หจก. กรีนโซน อนิ เตอร์ 2001 155/2 ถนนปากนคร ตำบลท่าซกั อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์. 075-466-031, Fax : 075-446-676
บทบรรณาธกิ าร วารสารฉบับนี้เป็นฉบับท่ี 1 ประจำปีพุทธศักราช 2564 บทความที่ได้รับการคัดเลือก ให้เผยแพร่ในวารสารฉบับนี้ เนื้อหาสาระของบทความยังคงเนื้อหาสาระที่หลากหลายเช่นเคย จำนวนบทความทั้งหมด จำนวน 30 เร่ือง ซ่ึงประกอบด้วย บทความวิชาการ จำนวน 1 เร่ือง และบทความวิจัย จำนวน 29 เรื่อง ปัจจุบันวารสารก้าวเข้าสู่ปีที่ 6 ของการปรับปรุงรูปแบบ และประเด็นหลักเพ่ือเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI เพ่ือ รองรับการประเมินจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index-TCI) และเพ่ือให้คุณภาพของบทความเป็นไปตามเงื่อนไข และกติกาสากล จึงเปิดโอกาสให้ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิต ได้เผยแพร่บทความทางวิชาการหรือบทความ วิจัย ซ่ึงกองบรรณาธิการได้ดำเนินการตามกระบวนการเชิงหลักการเผยแพร่บทความตาม เกณฑส์ ำนกั งานคณะกรรมการอุดมศึกษาทุกประการ กองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ขอขอบคุณท่าน ผู้เขยี น ท่านสมาชิกและท่านผอู้ า่ นท่ีใหค้ วามสนใจและไวว้ างใจวารสารของเราเปน็ อย่างดีตลอด มาและหวังเป็นอย่างย่ิงว่าบทความที่ได้เลือกสรรมาตีพิมพ์มีประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน บรรณาธิการขอขอบพระคุณท่านผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านท่ีได้ให้ความกรุณาอ่านและแนะนำการ ปรับแกบ้ ทความวจิ ยั ให้มคี ณุ ภาพทางวชิ าการยิ่งขน้ึ สุดท้ายน้ีกองบรรณาธิการหวังอย่างย่ิงว่าเน้ือหาในวารสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้อ่านบ้างตามสมควร หากผู้อ่านจะมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงวารสารน้ีให้สมบูรณ์ย่ิงขึ้น กองบรรณาธกิ ารขอนอ้ มรบั ไวด้ ว้ ยความยนิ ดยี ่งิ พระครูวนิ ัยธรสรุ ิยา สรุ ิโย(คงคาไหว), ดร. บรรณาธิการ
สารบญั เร่ือง หนา้ บรรณาธกิ าร (ก) บทบรรณาธิการ (ฉ) บทความวิชาการ : Academic Article ความเข้มแข็งทางใจของญาติผู้ดูแล: ส่ิงสำคัญ ในการดูแลผู้สูงอายุ 1 โรคเบาหวาน RESILIENCE OF FAMILY CAREGIVER: AN IMPORTANT TO CARING ELDERLY DIABETES MILITUS PATIENTS ดลฤดี ทบั ทมิ , อังศนิ นท์ อินทรกำแหง และอรพนิ ทร์ ชชู ม บทความวิจัย : Research Articles การปรับตวั ของดนตรีกลุม่ ชาติพันธผ์ุ ูไ้ ท ในภมู ิภาคล่มุ แมน่ ำ้ โขง 17 ADAPTATION MUSIC OF PHU-TAI ETHNIC GROUP IN THE MEKONG RIVER BASIN สญั ชยั ดว้ งบุง้ รูปแบบการบริหารเพ่ือพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนบ้านดอนแยง 34 สำนักงานเขตพ้นื ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษาเชียงราย เขต 4 THE MENEGEMENT MODEL FOR DEVELOPMENT TO QUALITY SCHOOLS OF BAN DONYANG SCHOOL UNDER THE CHIANGRAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4 ทนงศักด์ิ โพธิเ์ กตุ การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กที่สงสัยมพี ัฒนาการ 52 ลา่ ช้า โดยการมสี ว่ นร่วมของชุมชน อำเภอแสวงหา จงั หวดั อ่างทอง THEDEVELOPMENT OF A MODEL TO PROMOTE LANGUAGE DEVELOPMENT OF SUSPECTED CHILDREN HAS DELAYED COMMUNITY DEVELOPMENT THROUGH PARTICIPATION OF COMMUNITIES IN SAWAENG DISTRICT ANG THONG PROVINCE เจตต์ชัญญา บญุ เฉลียว, ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสุรีย์ จนั ทโมลี
ซ | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) สารบญั (ต่อ) รปู แบบการสร้างวิถีการผลิตขา้ วสู่ผู้บริโภคในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ 70 THE MODEL OF CREATING A WAY OF RICE PRODUCTION FOR CONSUMERS IN THE NORTHEAST REGION พระมหาปรชั ญ์ อตั ถาพร การพัฒนารปู แบบผลติ ภัณฑ์การเก็บรกั ษาเภสัช 5 ตามหลกั พระพทุ ธศาสนา 86 THE DEVELOPMENT OF PRODUCTS MODEL FOR PRESERVATION OF 5 KINDS OF MEDICINE ACCORDING TO BUDDHIST PRINCIPLES ตวงเพชร สมศรี รูปแบบการสื่อสารในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าไหมยก 100 ทองจันทรโ์ สมา จังหวดั สรุ นิ ทร์ COMMUNICATION MODEL FOR TRANSFERRING LOCAL WISDOM OF GOLD BROCADE TEXTILE CHAN SOMA GROUP OF SURIN PROVINCE ธมนพชั ร์ ศรษี ะพลภสู ทิ ธิ, วทิ ยาธร ทอ่ แกว้ และกมลรฐั อนิ ทรทศั น์ บุพปัจจัยของผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและ 118 ขนาดย่อม ANTECEDENTS OF THE PERFORMANCE OF SMALL AND MEDIUM - SIZED ENTERPRISE ENTREPRENEURS ชยั วฒั น์ หอธรรมรตั น์, ทวี แจม่ จำรสั และวรเดช จนั ทรศร การบูรณาการปรัชญาหลังนวยุคและพุทธปรัชญาในการพัฒนาลุ่มน้ำ 134 ทะเลสาบสงขลา THE INTEGRATION OF POSTMODERN AND BUDDHIST PHILOSOPHY IN SONGKHLA LAKE BASIN DEVELOPMENT พระครูวิจิตรสาธรุ ส (นพดล แก้วมณี), สวัสด์ิ อโณทัย และสมบูรณ์ บญุ โท รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัด 145 สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศกึ ษากำแพงเพชร เขต 1 THE CULTURE ORGANIZATION DEVELOPMENT MODEL TO THE EXCELLENCE OF THE SCHOOL UNDER THE OFFICE OF KAMPHAENGPHET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 1 วรี ะ บัวผนั , สุวฒั น์ วรานสุ าสน์ และวรรณภา ประทุมโทน
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | ฌ สารบัญ (ต่อ) การใช้วัจนกรรมในหนังสือธรรมะสำหรับสอนพระสงฆ์ของพระสงฆ์สาย 162 วปิ ัสสนากรรมฐานอสี าน USING SPEECH ACTS IN DHAMMA’ BOOKS VIPASSNA ISAN FOR TEACHING MONKS กุสุมา สมุ่ มาตร์ และราชนั ย์ นลิ วรรณาภา การพฒั นาคณุ ลกั ษณะและพฤตกิ รรมความเปน็ ผู้ประกอบการวิสาหกิจเรม่ิ ตน้ 181 DEVELOPMENT OF TRAITS AND BEHAVIORS OF STARTUP ENTREPRENEURS จินตนา ปรัสพันธ์ และกฤษมันต์ วฒั นาณรงค์ ปัจจัยเชิงสาเหตุท่ีมีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มวิสาหกิจ 199 ขนาดกลางและขนาดยอ่ มด้านเครอื่ งมอื แพทยใ์ นประเทศไทย THE CAUSAL FACTORS INFLUENCING TO CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY OF SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES MEDICAL DEVICE IN THAILAND ปริญญา สีมว่ ง และวชิ ติ อู่อน้ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทยเพ่ือ 212 สิทธิสตรี SOCIAL MOVEMENT OF THAI WOMEN’S MOVEMENT REFORM FOR WOMEN’S RIGHTS วีรนุช พรมจักร์ รปู แบบศักยภาพผู้บริหารทรพั ยากรมนุษย์ในการเป็นหุน้ ส่วนทางธุรกจิ 227 THE POTENTIAL MODEL FOR HUMAN RESOURCE BUSINESS PARTNER EXECUTIVES ปัณฎารีย์ ก่ิงวงศา, ธีรวัช บุณยโสภณ, สุภัททา ปิณฑะแพทย์ และชุลีวรรณ โชติวงษ์ กลยุทธก์ ารพฒั นาผู้ประกอบการธุรกจิ ผลติ กล้วยไม้เพื่อการส่งออก 252 STRATEGY DEVELOPMENT OF ORCHID OPERATORS FOR THE EXPORT อนุกลู โกมลอุปถมั ภ์, ปาริชาติ ธีระวทิ ย์ และทวีศักด์ิ รูปสงิ ห์
ญ | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) สารบัญ (ตอ่ ) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษยใ์ นองคก์ ารธรุ กิจอตุ สาหกรรมสูก่ ารเติบโต 271 อย่างยงั่ ยืน GUIDELINES FOR HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT FOR SUSTAINABLE GROWTH IN INDUSTRIAL BUSINESS ธนัชพร ถวิลผล, ทวศี ักด์ิ รปู สงิ ห์ และศักรร์ ะภรี ์ วรวฒั นะปรญิ ญา กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา 285 วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศกึ ษา MANAGEMENT STRATEGIES TO ENHANCE ENTREPRENEURSHIP OF THE NORTHEASTERN INDUSTRIAL AND COMMUNITY COLLEGE STUDENTS UNDER THE OFFICE OF VOCATIONAL EDUCATION COMMISSION ณัทฐศกั ดิ์ สำราญรน่ื , ประยุทธ ชสู อน และวานิช ประเสริฐพร รูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันและปัจจัยที่ส่งผลต่อการทุจริต คอร์รัปชันใน 300 องคก์ รภาครฐั A MODEL OF CORRUPTION AND FACTORS LEADING TO CORRUPTION IN THE PUBLIC SECTOR กิตติ สตั รตั น์, ฤาเดช เกดิ วิชยั และดวงสมร โสภณธาดา แนวทางการจัดการการท่องเท่ียวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธ์ุมอญ ผ่านวิถี 315 วฒั นธรรมประเพณี 12 เดอื น อำเภอสังขละบรุ ี จังหวัดกาญจนบรุ ี GUIDELINES IN COMMUNITY-BASED TOURISM MANAGEMENT AIMING TO FEEL THE PRESENCE OF ETHNICITY THROUGH CULTURAL WAY OF LIFE OF MON 12-MONTH TRADITION IN SANGKHLABURI DISTRICT KANCHANABURI PROVINCE เฉลมิ พล ศรีทอง และธีรพงษ์ เท่ียงสมพงษ์ การพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคม เพ่ือยกระดับ 331 ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน: การวจิ ยั ปฏิบตั กิ ารแบบมสี ว่ นร่วม ACADEMIC DEVELOPMENT TO ENHANCING LEARNING ACHIEVEMENT AT SRA KAEW PITTAYAKHOM SCHOOL: PARTICIPATORY ACTION RESEARCH พระครูสุตรัตนานกุ จิ , ประยทุ ธ ชูสอน และชยั ยุทธ ศริ ิสทุ ธ์ิ
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีท่ี 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | ฎ สารบญั (ต่อ) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับ 346 การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในภาค ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื THE STRATEGY OF ACADEMIC ADMINISTRATION TOWARDS THE EDUCATIONAL STANDARDS OF THE BASIC EDUCATION LEVEL OF PHRAPARIYATTIDHAMMA SCHOOLS IN THE NORTHEAST พระครเู กษมปัญญาภริ ักษ์ (เทยี มแก้ว), ชยั ยุทธ ศริ ิสุทธ์ิ และประยุทธ ชสู อน บทบาทของหน่วยงานปฐมภูมิภาคเอกชน ในการให้บริการดูแลสังคมผู้สูงอายุ 363 ในเขตกรงุ เทพมหานคร ROLE OF PRIVATE PRIMARY SECTOR IN PROVIDING SERVICES FOR THE AGING SOCIETY IN BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION AREAS สญั ชัย ห่วงกิจ และพภสั สรณ์ วรภทั รถ์ ิระกุล แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลคลินิกในเขต 379 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล DEVLOPMENT APPROACH OF SERVICE QUALITY OF CLINIC IN BANGKOK AND THE PERIMETER บญุ สาน ทระทกึ , กฤษฎา ตันเปาว์ และนพดล พนั ธุ์พานิช ปัจจัยการควบคุมภายในท่ีมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของ 396 สำนกั งานสรรพากรภาค 1 ในเขตกรุงเทพมหานคร INTERNAL CONTROL FACTORS INFLUENCING THE INTERNAL CONTROL EFFICIENCY OF THE REVENUE DEPARTMENT REGION 1 IN BANGKOK อมรรตั น์ โคบุตร์ การจัดการเรียนรู้กระบวนการภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแบบองค์ 412 รวมของนักเรยี นชนั้ มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรยี นสารภีพิทยาคม GEOGRAPHICAL LITERACY LEARNING MANAGEMENT TO DEVELOP HOLISTIC THINKING SKILLS OF UPPER SECONDARY STUDENTS SARAPEEPITTAYAKOM SCHOOL ธีรวุฒิ เชอ้ื พระชอง, ชรินทร์ ม่ังค่งั และจารณุ ี ทพิ ยมณฑล
ฏ | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) สารบญั (ต่อ) การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตปัญญาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยกฎอนิจจตาและ 425 ปรัชญาหลังนวยคุ สายกลาง TO ESTABLISH INTELLECTUAL PSYCHOLOGICAL IMMUNITY OF MAJOR DEPRESSIVE DISORDER PATIENTS BY ANICCATA AND MODERATE POSTMODERN PHILOSOPHY กันยาวีร์ สัทธาพงษ์ รปู แบบการจดั การธรุ กจิ ฟิตเนสเพอ่ื การเตบิ โตอย่างยั่งยนื 441 THE MODEL OF FITNESS BUSINESS MANAGEMENT FOR SUSTAINABLE GROWTH วุฒวิ ฒั น์ ฐติ จิ รัสธนโชติ, ประเพศ ไกรจนั ทร์ และทวศี กั ดิ์ รูปสงิ ห์ ปัญหากฎหมายเก่ียวกับโครงสร้างขององค์กรบริหารงานบุคคลและระบบ 455 พิทักษ์คุณธรรมในมหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั LEGAL PROBLEM ORGANIZATIONAL STRUCTURES AND GOOD GOVERNANCE ROR HUMAN RESOURCE MANAGEMENT IN MAHACHULALONGKORNRAJAVIDYALAYA UNIVERSITY ปุญญาดา จงละเอียด, ธวัชชัย สมอเนื้อ, ชวนะ ทองนุ่น, เจียร ชูหนู และ ชชั ชัย ยุระพันธุ์ การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะมุ่งผลสัมฤทธ์ิในการปฏิบัติงานของครู 472 โรงเรียนศกึ ษาสงเคราะห์ THE PROGRAM DEVELOPMENT TO ENHANCE THE RESULT-BASED PERFORMANCE COMPETENCY OF TEACHERS IN WELFARE SCHOOL สุรพรรณ วรี ะสอน, อนงค์ พชื สงิ ห์ และโกวัฒน์ เทศบตุ ร คำแนะนำสำหรับผูเ้ ขียน 484
ความเขม้ แขง็ ทางใจของญาติผ้ดู แู ล: สง่ิ สำคญั ในการดูแลผสู้ งู อายุ โรคเบาหวาน* RESILIENCE OF FAMILY CAREGIVER: AN IMPORTANT TO CARING ELDERLY DIABETES MILITUS PATIENTS ดลฤดี ทบั ทมิ Donrudee Tabtim อังศนิ นท์ อินทรกำแหง Ungsinun Intarakamhang อรพนิ ทร์ ชูชม Oraphin Choochom มหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ Srinakharinwirot University, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานเป็นบุคคลในครอบครัวที่มีบทบาทหลักในการดูแล ผู้สูงอายุโรคเบาหวานตามปัญหา และความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามความบกพร่อง ของร่างกาย สติปัญญา และสภาพอารมณ์ของผู้ป่วย ผลกระทบที่เกิดขึ้นล้วนแต่มีผลต่อความ เข้มแข็งทางใจของญาติผู้ดูแล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวกับแนวคิด องค์ประกอบของความเข้มแข็งทางใจ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็ง ทางใจ วิธีการเสริมความเข้มแข็งทางใจ การประเมินความเข้มแข็งทางใจ และประโยชน์ของ ความเข้มแข็งทางใจ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก และเป็นโรค เรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุเองก็เป็นกลุ่ม ที่ต้องการความช่วยเหลือในการดูแล เนื่องจากความสามารถด้านรา่ งกาย และสติปัญญาเสื่อม ถอยลงตามวัย ทำให้มีข้อจำกัดในการดูแลตนเอง ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานจึงมี ความสำคัญมากที่จะช่วยลดปัญหาสุขภาพ และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เนื่องจาก โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ศักยภาพของผู้ดูแล ผู้สูงอายุโรคเบาหวานถดถอยลงเนื่อง เพราะผู้ดูแลตอ้ งรบั ผิดชอบทั้งเรื่องของการหารายได้และ ทั้งเรื่องการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ญาติผู้ดูแลเองต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ในการดูแล ความเข้มแข็งทางใจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ญาติผู้ดูแลสามารถปรับตัว และฟื้นตัว ภายหลังจากที่พบกับ สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากลำบาก ความเข้มแข็งทางใจเป็น คุณสมบัติดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ดังนั้นการทำ * Received 13 November 2020; Revised 11 January 2021; Accepted 18 January 2021
2 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ความเข้าใจเกี่ยวกับความเข้มแข็งทางใจ เป็นความรู้พื้นฐานในการประสานงานการดูแล ผ้สู ูงอายโุ รคเบาหวาน และญาติผู้ดแู ลให้มีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานได้อย่าง มปี ระสทิ ธิภาพ คำสำคัญ: ญาตผิ ู้ดแู ล, ผูส้ งู อายุโรคเบาหวาน, ความเข้มแขง็ ทางใจ Abstract A family caregiver is a member who takes role as a primary caregiver following elderly diabetes mellitus patient problems and demands from patient’s physical disability, cognitive impairment, and personal demands make change and impact to the caregiver’s resilience. This article aims to present a literature concept, factors effecting to resilience, promoting resilience measurement of resilience and benefit of resilience. Elderly diabetes mellitus patients are prevalent increases all over the world, and it is chronic disease that must be maintained for a continuous, long. In the meantime, the elderly are the groups that needs to be prioritized because physical and intellectual abilities degenerate with age, making it limited to take care of one’s health. Family caregiver of elderly diabetes mellitus patients are very important to reduce health problems and complication of diabetes mellitus. Because diabetes mellitus is a chronic disease, person who have it need to be cared for or monitored their health continuously. While elderly diabetes mellitus patients caregiver potential recession, because caregiver be both responsible for make money and caring. Family caregiver can face up to any problems encountered. Resilience is one factor that contribute caregiver to adapt and recover after encountering a crisis or difficult situation. Resilience is necessary for family caregiver of elderly with diabetes mellitus. Therefore it is important to understand the basic knowledge and concept to resilience coordinate care for elderly diabetes mellitus patient and family caregiver. Making it ready to take care for elderly diabetes mellitus patient effectively. Keywords: Family Caregiver, Elderly with Diabetes Mellitus, Resilience บทนำ ความเข้มแข็งทางใจ ศัพท์ทางภาษาอังกฤษเรียกว่า Resilience คือ ความสามารถ ในการปรับตัวของบุคคล เมอื่ ต้องประสบกบั สถานการณว์ กิ ฤต เป็นพลังท่ีชว่ ยใหส้ ามารถจัดการ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 3 กับปัญหา ผ่านพ้นภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ร้าย ๆ ไปได้ รวมถึงสามารถฟื้นฟูสภาพอารมณ์ และจิตใจให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเรว็ ไม่จมอยู่กับความทุกข์ เรยี กได้วา่ มีการปรับตัวได้ดี จนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขอีกครั้ง และผู้ที่มีความเข้มแข็งทางใจที่ดี จะสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสคือเรียนรู้และเติบโตขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหา ทำให้มีจิตใจ เข้มแข็งขึ้นกว่าเดิม มีการศึกษาเกี่ยวกับความเข้มแข็งทางใจมาเปน็ เวลายาวนาน ตั้งแต่ในช่วง ค.ศ. 1970 ซึ่งเริ่มต้นโดย Werner, Rutter และ Garmezy (Werner, E. E., 2005); (Rutter, M., 1985); (Garmezy, N., 1991) ได้มีการศึกษาโดยการสำรวจคุณลักษณะทางจิตใจ และ สัมพันธภาพทางสังคมของเด็กที่ปรับตัวได้ดี แม้จะประสบกับความยากจน มีบิดา มารดา ที่เจ็บป่วยทางจิต ถูกล่วงละเมิด ถูกทอดทิ้ง และประสบกับความรุนแรงในครอบครัว และ ชมุ ชน พบวา่ เดก็ เหลา่ นไ้ี ด้รบั การปกป้องจากผู้ใหญใ่ นครอบครวั และในชุมชนทใ่ี หก้ ารดแู ล ทำ ให้เด็กมที กั ษะทางการรู้คิดเชิงบวก และมีทักษะในการควบคุมตนเองช่วยใหป้ ระสบความสำเร็จ ในการดำเนินชวี ิต มผี ู้ใหค้ วามหมายของความเข้มแข็งทางใจไว้อยา่ งหลากหลายซึง่ แสดงให้เห็น ว่าความเข้มแข็งทางใจมีองค์ประกอบหลายด้าน อย่างไรก็ตามผลสรุปของความหมายที่สำคัญ คือ ความสามารถของมนุษย์ในการปรับตัวเมื่อเกิดภาวะวิกฤต หรือสถานการณ์ที่ยากลำบาก ให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรค และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข (Grotberg, E. H., 1995); (ประ เวช ตนั ตพิ วิ ฒั นสกลุ , 2550); (กรมสขุ ภาพจิต, 2552) โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบัน ความชุกของโรคเบาหวานทั่วโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ รายงานวา่ ในปี 2560 มจี ำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทว่ั โลก 425 ลา้ นคน คาดว่าในปี พ.ศ. 2588 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 629 ล้านคน และองค์การอนามัยโลกระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี พ.ศ. 2573 และจะมีผู้เสียชีวิตจาก ภาวะแทรกซอ้ นของโรคเบาหวานเป็น 3.2 ลา้ นคน ในแตล่ ะปี ซึง่ คดิ เป็น 6 คน ในทกุ ๆ 1 นาที และพบผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง ร้อยละ 32.5 (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2561) ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับสังคมท่ัว โลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างชัดเจน จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับจำนวนผู้สูงอายุ ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานเนื่องจากความเสื่อมตามวัย ปัญหาโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียว ไมท่ ำให้เกดิ อันตรายถงึ แก่ชวี ติ ได้มากนัก แตป่ ัญหาท่เี กิดร่วมกบั เบาหวาน เชน่ โรคหลอดเลือด หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย เรื้อรัง ความดันโลหิตสูง จอประสาทตาเสื่อม และแผลติด เชื้อ ทำให้เกิดความรุนแรงและเสียชีวิตได้ค่อนข้างมาก ภาวะแทรกซ้อนดังกลา่ วมกั เป็นปัญหา เรื้อรัง ใช้เวลาในการรักษา ต้องสูญเสียเวลา สูญเสียค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก (Hangan P. et al., 2003) การรักษาโรคเบาหวานมจี ดุ ประสงค์ และเป้าหมายชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกดิ โรคแทรกซ้อน ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การบรรลุผลลัพธ์ดังกล่าว ต้องการ ทีมสหสาขาวิชาชีพ และผู้ดูแลร่วมกันให้การดูแลรักษา โดยต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรค วิธีการ
4 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) รักษา และมีข้อจำกัดมากมาย เช่น ต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษา น้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด ตรวจและบันทึกระดับ น้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เพ่ือลดความรุนแรงของโรค และป้องกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่จะเกิดในอนาคต ดูแลและหมั่นตรวจสุขภาพในเรื่อง ของ ตา ไต หัวใจ เท้า และสมอง (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2561) ดังนั้นผู้ดูแลจึงเป็นส่วนสำคัญ ในการช่วยดแู ลและปรบั พฤติกรรมสขุ ภาพของผปู้ ่วยเบาหวาน ญาตผิ ู้ดแู ลทม่ี ผี สู้ ูงอายโุ รคเบาหวานในครอบครัวย่อมก่อใหเ้ กดิ ภาระ และความยุ่งยาก ในการดูแล ความเข้มแข็งทางใจลดลง การมีความเข้มแข็งทางใจทีดี ทำให้ญาติผู้ดูแลสามารถ ดำเนนิ ชวี ิตอย่ทู า่ มกลางปญั หาได้อย่างมีความสุข และสามารถผา่ นอุปสรรคในชวี ติ ได้ (สายพิณ เกษมกิจวัฒนา และปิยภรณ์ ไพรสนธ์, 2557) เนื่องจากผู้สูงอายุโรคเบาหวานต้องได้รับการ ดูแลอย่างต่อเนื่อง ญาติผู้ดูแลต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งในแต่ละวันสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ โรคเบาหวาน อีกทั้งการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานยังเห็นความก้าวหน้าในการดูแลน้อย เป็น การดูแลทีซ้ำซากจำเจ และอาจมีอุปสรรคในการดูแลคืออารมณ์ หรือพฤติกรรม รวมถึง ภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งทำให้ญาติผู้ดูแลเกิดความเครียด เหนื่อยล้า ตลอดจนก่อให้เกิ ด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้ดูแลได้ ดังนั้นความเข้มแข็งทางใจของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญในการมีส่วนช่วยให้ญาติผู้ดูแลดงั กลา่ ว รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเพิ่มขึ้น สามารถ เผชิญกับปัญหาหรือความตึงเครียดของจิตใจ เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาของผู้ป่วยได้อย่าง เหมาะสม และดูแลผสู้ งู อายไุ ด้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ (สำนักโรคไมต่ ิดตอ่ , 2561) องคป์ ระกอบของความเขม้ แข็งทางใจ จากการศึกษาของ กรอทเบอร์ก (Grotberg. E. H., 2004) เกี่ยวกับความเข้มแข็งทาง ใจ ระหว่างปี 1995 - 2001) โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่นจาก 22 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของความเข้มแข็งทางใจ มี 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) สิ่งที่ฉันมี (I have) หรือ แหล่งสนับสนุนภายนอก (External Supports) หมายถึง บุคคลได้มีสิ่งที่คอยให้ความช่วยเหลือให้เกิดความเข้มแข็งทางใจ มาจาก แหล่งสนับสนุนภายนอก ซึง่ ประกอบไปด้วย 6 ลกั ษณะคอื 1.1) มีบุคคลใน หรือนอกครอบครัว อยา่ งน้อย 1 คนที่เป็นผูท้ ่สี ามารถไว้ใจได้ และเปน็ ผู้ทพ่ี รอ้ มท่ีจะให้ความรักได้เสมอไม่ว่าจะเกิด อะไรขึ้น 1.2) มีบุคคลที่จะคอยบอก สอน หรือตักเตือน ถึงขอบเขต และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ชัดเจนในการทำอะไรต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ไม่ทำในสิ่งที่อาจนำปัญหา และความยุ่งยากมาสู่ ตนเอง 1.3) มีบุคคลที่พร้อมจะให้กำลังใจ และสนับสนุนให้เป็นตัวของตัวเอง 1.4) มีบุคคลท่ี เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งแสดงให้เหน็ อยา่ งสม่ำเสมอว่าการกระทำต่าง ๆ ในทางที่ถูกที่ควรนั้นเป็น อย่างไร1.5) มบี คุ คล หรอื แหลง่ ท่ีให้การดูแลในเร่อื งของสุขภาพ การศกึ ษา รวมทั้งได้รับบริการ และสวัสดิการทางสังคม และความปลอดภัย และ 1.6) มีครอบครัวและชุมชนที่มั่นคง
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีท่ี 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 5 2) สิ่งที่ตนเป็น (I am) หรือ ความเข้มแข็งภายใน (inner strengths) หมายถึง การที่มีความ เข้มแขง็ ทางใจซึ่งเกิดจากภายในตนเอง ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ลักษณะคือ 2.1) มคี วามสามารถ ที่จะรัก และเป็นที่รักของบุคคลอื่นได้ 2.2) มีอารมณ์ดี 2.3) มีการคิดพิจารณาวางแผนใน อนาคตที่เป็นไปได้ในความเป็นจริง 2.4) มีความภาคภูมิใจในตนเอง ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะ ยอมรับและยกย่องผู้อื่น 2.5) มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และสามารถแสดงออกซึ่งความห่วงใย ใส่ใจต่อผู้คนรอบข้าง 2.6) มีความพร้อมที่จะรับผิดขอบในสิ่งที่ตนเองกระทำ และยอมรับผล ของการกระทำนั้น และ 2.7) มคี วามเช่ือม่ันว่าสง่ิ ตา่ ง ๆ จะเปลยี่ นไปในทางทดี่ ี เชอื่ ว่าชีวิตนี้ยัง มีความหวังเสมอ 3) สิ่งที่ฉันสามารถ (I can) หรือ การจัดการกับปัญหา และสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล และทักษะการแก้ปัญหา (Interpersonal and Problem Solving Skills) หมายถึง บคุ คลสามารถ สร้างสัมพันธภาพ หรือการจดั การกบั ปญั หาทเ่ี กิดข้นึ ได้ ซง่ึ ประกอบไป ด้วย 7 ลักษณะคือ 3.1) สามารถหาทางออก หรือวิธีการใหม่ ๆ 3.2) มีความมุ่งมั่นในงานที่ทำ อยู่จนกว่าจะสำเร็จ 3.3) มีอารมณ์ขัน เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดให้กับตนเอง 3.4) สามารถบอกความคิด ความรู้สึกของตนเองให้กับผู้อื่น 3.5) สามารถจัดการกับปัญหาใน สถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 3.6) รู้จักที่จะเลือกจังหวะ และเวลาที่เหมาะสมในการ แสดงออก หรือการพูดคุยกับบุคคลอื่น 3.7) รู้ว่าจะขอความช่วยเหลือจากใครในเวลาที่จำเปน็ (Grotberg. E. H., 2004); (Brolin, D. E., 1989) องค์ประกอบของความเข้มแข็งทางใจตามแนวคิดของโวลิน และโวลิน (Wolin and Wolin) จำแนกลักษณะของความเข้มแข็งทางใจไว้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การหยั่งรู้ ในตนเอง (Insight) คือ การตระหนักในตนเอง การรับรู้ความรู้สึกตามสัญชาติญาณ มีความ ตนื่ ตัวกบั ภาวะอันตราย เป็นการตระหนักรู้ทางจิตวิทยาในการฟืน้ หลัง จะเปน็ การเข้าใจตนเอง และผู้อื่น 2) การเป็นอิสระ (Independence) เป็นการกำหนดขอบเขตของตนเองที่ปลอดภัย กับปัญหา จัดการกับความรู้สึกถูกผิดของตนเองการเบี่ยงเบนจากเหตุการณ์ความเจ็บปวด การจัดการกบั ความรสู้ ึกผิดหวงั และสามารถแยกตนเองมาจากปญั หาได้สำเรจ็ 3) สัมพันธภาพ (Relationship) เป็นความใกล้ชิดสนิทสนม และผูกพันกับบุคคลอื่นอย่างเต็มที่ จะแสวงหา ความรัก โดยเชื่อมโยงกับบุคคลที่อยู่รอบ ๆ ตัว รู้จักคุณลักษณะของตนเอง เป็นความสามารถ ที่จะรัก และรับรักจากบุคคลอื่นได้ 4) การเป็นผู้ริเริ่ม (Initiative) คือ การพิจารณาตัดสินใจ ในการแสดงตัวตน และจัดการกับส่ิงแวดลอ้ มรอบ ๆ ตัว 5) การมีความคิดสร้างสรรค์ และการ มีอารมณ์ขัน (Creativity and Humor) เป็นที่กำบังที่มีความปลอดภัยโดยใช้จินตนาการ เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่คุกคาม และปรับรายละเอียดของชีวิตใหม่ เพื่อให้เกิดความพึง พอใจในตนเอง บางคนจะวิวัฒนาการไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมหรือมีทักษะใน การสร้างสรรค์กิจกรรม ผู้ที่มีความสามารถในการฟื้นคืนสู่ความเข้มแข็งทางใจส่วนใหญ่จะ แสดงออกอย่างมีอารมณ์ขัน และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แม้จะพบกับประสบการณ์ที่ เลวร้าย 6) การมศี ลี ธรรมจรรยา (Morality) เปน็ การรู้เร่ืองสำนกึ ผดิ ชอบช่ัวดี รู้ว่าสงิ่ ใดถูกสิ่งใด
6 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ผิด มีการเห็นอกเห็นใจ ความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ผู้ที่ประสบความสำเร็จ ศีลธรรมจริยธรรม กลายเป็นหน้าที่มากว่าเป็นความพึงพอใจส่วนตัว หรือการชดเชยส่วนบุคคล การช่วยเหลือ หรืออุทศิ เวลาเพอ่ื สว่ นรวม (Wolin, S. J. & Wolin, S., 1993); (ดวงเดือน พันธุมนาวนิ , 2554) องค์ประกอบของความเข้มแข็งทางใจตามแนวคิดของเดวิส (Davis) ได้แบ่ง องค์ประกอบของความเข้มแข็งทางใจเป็น 6 องค์ประกอบ คือ 1) ความสามารถในด้าน กายภาพ (Physical Competence) แสดงการมสี ุขภาพดี และมีนสิ ัยยดื หยุ่น 2) ความสามารถ ทางสังคม และความสามารถด้านสัมพันธภาพ (Social and Relation Competence) แสดง ถึงการที่บุคคลมีความสามารถในการพัฒนาและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดี เป็นความรู้สึกผูกพัน และมีความไว้วางใจเป็นพื้นฐาน มีความเข้าใจผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง 3) ความสามารถทางด้าน อารมณ์ (Emotional Competence) เปน็ ความสามารถในการควบคมุ อารมณ์ มีความสามารถ ในการรอคอยความพึงพอใจ 4) ความสามารถด้านคุณธรรม (Moral Competence) เป็นการ อุทิศตนช่วยเหลือสนับสนุนผู้อื่น เช่น ได้ช่วยแก้ไขปัญหา ช่วยตัดสินใจ ช่วยวางแผน ซึ่งเป็น กิจกรรมที่มีความหมาย 5) ความสามารถด้านการรู้คิด (Cognitive Competence) แสดงถึง การที่บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจถึงขึ้นตอนในการจัดการกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ดี มีความเชื่อว่าบุคคลสามารถประสบความสำเร็จตามท่ี ปรารถนา 6) ความสามารถดา้ นจิตวิญญาณ (Spiritual Competence) เป็นความศรัทธาที่เปน็ เหตุผลส่วนบุคคล การมองเห็นความหมายในชีวิตการมีศีลธรรมการให้คุณค่าต่อสิ่งต่าง ๆ (Davis, N. J., 1999) องค์ประกอบความเข้มแข็งทางใจของกรมสุขภาพจิต (กรมสุขภาพจิต, 2552) แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ 1) พลังอึด หมายถึง การที่คนเรามีความทนทานต่อความ กดดัน มจี ติ ใจมั่นคง ไมห่ วั่นไหว สามารถควบคมุ จิตใจ แม้มีเรอ่ื งเครยี ดทุกข์ใจมากก็ยังสามารถ ดำเนินชีวิตต่อไปได้ ส่วนใหญ่คนที่มีพลังอึดมักมีมุมมองว่าไม่ใช่เราที่ลำบากอยู่คนเดียว เมื่อมี ความทกุ ข์เขา้ มาไม่นานก็ตอ้ งผา่ นไป ปญั หาทุกอยา่ งมีทางแกไ้ ข ชีวิตไมไ่ ดแ้ ยไ่ ปหมด ถงึ อยา่ งไร ก็ยังมีเรื่องดี ๆ อยู่บ้างจากมุมมองดังกล่าวจึงทำ ให้สามารถหาหนทางระบายความเครียดได้มี หนทางที่ช่วย ให้อดทนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น มีสายสัมพันธ์เกื้อหนุน รู้จักมองส่วนดีหรือ คุณค่าของตน คิดถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้น พลังอึดเป็นพื้นฐานจิตใจที่สำคัญของคนมีพลัง สุขภาพจิตที่ดี อาจสังเกตได้จากบางคนทีม่ ีความทุกข์ ความเครียดมาก แต่ก็ยังสามารถดำเนิน ชวี ิตประจำวนั ต่อไป และทำหนา้ ท่ีท่รี ับผดิ ชอบได้ 2) พลงั ฮดึ หมายถึง มีขวญั และกำลังใจ การ สร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง ไม่ท้อถอย หรือมีกำลังใจจากคนรอบข้าง เช่น มีครอบครัวเป็นที่พึ่ง คอยช่วยเหลอื และเป็นกำ ลังใจ คดิ ถึงความสำเร็จท่ีผ่านมา คิดถงึ สิ่งทม่ี คี ุณค่าต่อใจ การอยู่กับ ปจั จบุ นั คอ่ ยๆ คดิ แก้ไข ทำไปทีละขน้ั ตอนอย่ากังวลหรือกลวั ไปล่วงหน้า การทค่ี นเราจะฝ่าฟัน ปัญหาอุปสรรคไปได้ส่วนหนึ่งต้องมีกำลังใจ ปัญหายิ่งยากยิ่งต้องอาศัยกำลังใจ เพื่อเพิ่มความ กลา้ หาญทจี่ ะทำตัวให้เขม้ แข็ง เพอื่ ลกุ ขนึ้ มาสหู้ รือเอาชนะอปุ สรรคไปยงั เปา้ หมายทตี่ ้องการ 3)
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 7 พลังสู้ หมายถึง พร้อมสู้กับปัญหา หาที่ปรึกษา หาทางออก หลาย ๆ ทาง ชั่งน้ำหนักว่า วิธีการใดเป็นวิธีการที่ดีไม่ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยใช้อารมณ์ต้องคิดให้รอบคอบ ปัญหาที่เกิดขึ้น จากเหตุการณ์วิกฤตเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มักเป็นเรื่องใหญ่ไม่เคยพบมาก่อน จึงต้องอาศัยทั้ง แรงกาย แรงใจในการสกู้ ับปญั หา จากแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าความเข้มแข็งทางใจเป็นทักษะที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่ความกลา้ ที่จะเผชิญกับปัญหา อุปสรรค ไม่หวาดกลวั สามารถจดั การกับความรู้สกึ กับอารมณ์ มีความหวัง สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สามารถหาแหล่ง สนับสนุนหรือขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะวิกฤต สามารถควบคุมชีวิตตนเองให้ไปสู่ยัง เป้าหมาย และมีความรู้สกึ ภมู ิใจในความสำเรจ็ ปจั จยั ท่เี กยี่ วขอ้ งกบั ความเข้มแข็งทางใจ ตามแนวคิดของกรอทเบิร์ก (Grotberg) สามารถแบ่งความเข้มแข็งออกได้เป็น 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายใน (Internal Factors) 1.1) ความสามารถในการดูแลและควบคุม ตนเอง (Autonomy) เป็นความรู้สึกที่เป็นอิสระ ซึ่งเป็นการควบคุมที่มาจากภายใน ภายใต้ ความเชือ่ วา่ ตนเองสามารถควบคุมสิง่ ต่าง ๆ ได้เปน็ ความรสู้ กึ ภาคภมู ใิ จในตนเอง การมรี ะเบียบ วินัยในตนเอง การควบคุมแรงผลักดันจากภายในและภายนอก ตลอดจนการมีเอกลักษณ์ของ ตนเอง ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1.1.1) การตระหนักรู้ตนเองหรือการเข้าใจใน ตนเอง (Self Awareness) เปน็ ความสามารถในการรับรสู้ ภาวะภายในตนเอง ความคิด อารมณ์ และความรู้สึก 1.1.2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self Efficacy) เป็นคุณลักษณะเชิง บวกที่บุคคลรับรู้และ เชื่อมั่นในความสามารถ ศักยภาพ และคุณค่าของตนเอง 1.1.3) การมีวินัยในตนเอง (Self Discipline) เป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ความ ต้องการ มีวินัย มีความยับยั้งชั่งใจ มีความรับผิดชอบ และสามารถทนต่อแรงต้านของกลุ่ม เพื่อน และแรงกดดันของสังคมได้ 1.2) ความสามารถทางสังคม (Social Competence) เป็นคณุ สมบตั เิ ชิงสงั คมของบุคคล ซ่งึ ประกอบ ดว้ ยองคป์ ระกอบย่อย ดงั น้ี 1.2.1) ความสามารถใน การสือ่ สาร (Communication) เป็นความสามารถในการส่ือสารใหผ้ ูอ้ ่ืนรับรู้ ความคดิ ความรู้สึก ของตนเองได้และความสามารถในการฟังอยา่ งใส่ใจและตงั้ ใจ 1.2.2) ความเหน็ อกเหน็ ใจ เข้าใจ และใส่ใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถของบุคคลในการ เห็นอกเห็นใจ เข้าใจและใส่ใจ ความรู้สึกของผู้อื่น เคารพในความเป็นตัวตนและสิทธิ์ของผู้อื่น สามารถให้อภัยผู้อื่นได้ 1.2.3) ความสามารถในการสรา้ งและคงไวซ้ ึง่ สัมพันธภาพ (Co - operation) เป็นความสามารถ ในการสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพ ความเป็นมิตร เป็นที่พึ่งของผู้อื่น มีส่วนร่วม เสียสละใน การทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่และสามารถปรับตัวได้ 1.3) ความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem Solving) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1.3.1) ความสามารถในการคิด แยกแยะอย่างมีเหตุผล และถูกต้อง (Critical Thinking) เป็นความสามารถในการคิดแยกแยะ
8 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) อย่างมีเหตุผลและถูกต้อง ประเมินความเสี่ยง และมีการตัดสินใจจัดการปัญหาได้อย่าง เหมาะสม 1.3.2) การมองโลกในแง่ดี และมีความยืดหยุ่น ในการเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น (Optimism and Flexibility) เป็นความสามารถในการมองโลกในแง่ดีมีทัศนคติและค่านิยม เชิงบวก มีอารมณข์ ัน มคี วามยดื หย่นุ ใน การเผชิญปัญหาที่เกดิ ข้ึน รวมท้ังร้จู ักเปดิ ใจมองปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างท้าทาย และไม่คุกคามต่อชีวิต 1.3.3) ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และแสวงหาแหล่งชว่ ยเหลอื ทมี่ ีประสทิ ธภิ าพ (Effective Help Seeking) เป็นความสามารถใน การพึ่งพาตนเองและแสวงหาแหล่งช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ เมื่อประสบภาวะยุ่งยาก 1.3.4) ความมุ่งมั่นตั้งใจในการประสบความสำเร็จในชวี ิต (Sense of Meaning and Purpose) เป็นการมีแรงจูงใจในชีวิตและการตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิต ได้แก่ 1.3.4.1) การตั้งจุดมุ่งหมาย (Goal Direction) เป็นความสามารถในการตั้งจุดมุ่งหมาย ความสำเร็จในชีวิตที่เป็นไปได้ และ สามารถดำเนินชีวิตเพ่ือมุ่งสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.3.4.2) การสร้างแรงจูงใจ และการมีความ เชื่อ (Achievement Motivation and Belief) เป็นความสามารถในการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ ตนเองบรรลุเป้าหมายความกระตือรือร้น มุ่งมั่นพยายามเพื่อให้ประสบความสำเร็จ และการมี ความเชื่อ หรือแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต 2) ปัจจัยภายนอก (External Factors) 2.1) การมีปฏิสมั พนั ธ์กบั บุคคลอ่ืน (Forming Relationships)คอื การมปี ฏิสมั พนั ธ์สัมพันธภาพ มิตรภาพ และท่าทีที่ดีของบุคคลใกล้ชิด 2.2) การดูแลสนับสนุน และให้คำปรึกษา (Caring Relationships) คือ การได้รับการดูแลเอาใจใส่สนบั สนุน เกือ้ หนุนให้กำลังใจ และใหค้ ำปรกึ ษา 2.3) การให้โอกาส และการผลักดันให้พึ่งตนเอง (Providing of Opportunity) คือการได้รับ โอกาสผลักดัน ให้พึ่งตนเอง (Grotberg, E. H., 1995) วิธกี ารส่งเสรมิ ความเขม้ แขง็ ทางใจ การสร้างความเข้มแข็งทางใจให้กับญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน เป็นสิ่งสำคัญ อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเสริมสร้างให้เกิดภูมิคุ้มกันให้สามารถเผชิญกับปัญหา หรืออุปสรรค ต่าง ๆ และก้าวผา่ นไปได้อย่างแขง็ แกรง่ ซึ่งทำไดโ้ ดยสร้างความรสู้ ึกใหญ้ าตผิ ู้ดแู ลเป็นส่วนหนึ่ง ของครอบครัวและสงั คม รสู้ กึ ว่าตนเองได้รบั ความรกั ความหว่ งใย ให้กำลงั ใจอยเู่ สมอ ช้แี นะให้ ฝึกทักษะในการแก้ปัญหา การจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม ฝึกให้พูดคุยบอกความรู้สึกนึกคิด สามารถระบายความรสู้ ึกเวลาท่มี ีความทุกขใ์ จ (นันท์นภสั ประสานทอง, 2562) ตามแนวคิดของ กรอทเบอร์ก (Grotberg, 2005) การส่งเสริมในสิ่งที่ตนเป็นสิ่งที่ตน ทำได้ และสำรวจในสง่ิ ทต่ี นมตี ามลำดบั ส่วนของส่งิ ทต่ี นเปน็ โดยสำรวจว่าตนเองเป็นคนท่รี เู้ ท่า ทันกับอารมณ์ ความรู้สึกของตนหรือไม่ ตนเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจ และห่วงใยคนรอบข้าง หรือไม่ภูมิใจในสิ่งที่ตนเองเป็นหรือไม่ แต่ในขณะเดียวกันพรอ้ มที่จะชื่นชมผูอ้ ื่นหรือไม่ มีความ พร้อมรับผิดชอบในสิ่งที่ทำลงไปหรือไม่ ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร และมีความศรัทธา เชื่อมั่นอยู่ เสมอว่าชีวิตยังมีความหวังไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่ ในส่วนของสิ่งที่ตนทำได้ โดยสำรวจ
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีท่ี 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 9 ตัวเองจากสง่ิ ทสี่ ามารถบอกเล่าความรู้สึกเบื่อหน่าย ทอ้ แท้ หรือความรู้สกึ หวาดกลัวให้ผู้อื่นรับ ฟังได้หรือไม่ ความสามารถจัดการกับปัญหาที่มีอยู่หรือไม่ ในเวลาที่เครียดหรือโกรธสามารถ ควบคมุ อารมณ์ตนเอง และการแสดงออกท่เี กิดขึน้ ได้หรือไม่ รู้กาลเทศะในการเข้าร่วมกิจกรรม กับคนอื่นหรือไม่ และสามารถขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น ในเวลาที่ตนต้องการได้หรือไม่ ตนได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัยจากบ้านเพื่อให้ตนอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่ สิ่งที่ตนมีโดย สำรวจจากสิ่งที่ตัวเองมีแบบอย่างท่ีดีที่ทำให้แยกแยะได้ว่าสิ่งทีค่ วรทำคืออะไร มีคนที่พร้อมจะ ใหก้ ำลังใจ และสนับสนุนในการกระทำหรือไม่ และตนมคี นดแู ลในเร่ืองสุขภาพ ความปลอดภัย การศึกษาและสวัสดิการทางสังคมหรือไม่ การเห็นคุณค่าในตนเองและยอมรับตนเองเป็นสิ่งที่ พัฒนาได้ แม้ว่าจะยากและต้องใช้เวลาแต่จะช่วยให้มีความทุกข์น้อยลง สุขง่ายขึ้นดังน้ัน การเห็นคุณค่าในตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเราไปสู่การเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ได้ใน ท่สี ุด (Grotberg, E. H., 2005); (มาลิณี จโุ ฑปะมา, 2553) ในประเทศไทย กรมสุขภาพจิต (สมพร อินทร์แก้ว และคณะ, 2552) ได้เสนอแนะ วิธีการเพิ่มพลังสุขภาพจิตเรยี กว่าสูตร “สี่ปรับ สามเติม” โดยเป็นสูตรทีผ่ า่ นการคิดจนตกผลกึ ในทางวิชาการว่าครอบคลุมกระบวนการทางอารมณ์ และจิตใจของคนไทย และสามารถนำไป ปรับใช้ได้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนี้ 1) สี่ปรับ 1.1) ปรับอารมณ์ 1.2) ปรับความคิด 1.3) ปรับการกระทำ 1.4) ปรับเป้าหมาย 2) สามเติม 2.1) เติมศรัทธา 2.2) เติมมิตร 2.3) เติม จิตใจให้กว้าง โดยทุกหัวข้อสามารถแบ่งการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตในแต่ละด้านของ กรม สุขภาพจิต (นฤภัค ฤธาทิพย์ และคณะ, 2552) ได้ดังนี้ 1) พลังอึด หมายถึง การทนต่อแรง กดดัน สามารถส่งเสรมิ ไดโ้ ดย 1.1) ปรบั อารมณ์ เมอ่ื เกิดปัญหา/อปุ สรรคท่เี ป็นเรือ่ งใหญ่ในชีวิต คนเรามักจะตกใจ และมีความรู้สึกต่าง ๆ รุนแรงจนควบคุมตัวเองไม่ได้ สิ่งแรกจึงต้องพยายาม ตั้งสติ อยู่ในที่เงียบ ๆ หรือหาคนปลอบใจ หลังจากนั้นหาทางออกในการระบายความกดดัน อย่างเหมาะสม เช่น การออกกำลังกายเพื่อระบายความโกรธ หันเหความสนใจไปเรื่องอ่ืน เพื่อปรับอารมณ์ เมื่อใดที่รู้สึกท้อ ขอให้บอกตัวเองว่า เราต้องสู้ ยังมีคนที่ทุกข์ว่าเราตั้งเยอะ คิดถึงความสำเร็จของเรา และของครอบครัว หากอดทนตอสู้กับปัญหา 1.2) ปรับความคิด การทำจิตใจสงบลงทำให้คนเราคิดเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลได้มากขึ้น การปรับความคิดทำได้ หลายวิธี เช่น เปรียบกับคนที่แย่กว่าตนเอง ลองมองส่วนดีที่เหลืออยู่ หรือมองว่าเป็นธรรมดา หรือมันก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว การปรับความคิดจะทำให้เรายอมรับว่ามีปัญหา ใหญ่ที่เกดิ ขนึ้ และมกี ำลงั ใจทจี่ ะตอ่ สตู้ ่อไป เพราะการทเี่ รายอมรับความจริง ปัญหาทุกอย่างจะ ถูกแก้ไขอย่างตรงจุด 2) พลังฮึด หมายถึง การมีความหวังและกำลังใจ สามารถส่งเสริมได้โดย 2.1) เติมศรัทธา (เพิ่มความหวัง) ความเชื่อ ความศรัทธา ทำให้คนมีจิตใจที่เข้มแข็ง และมี ความหวัง เช่น เชื่อว่าชีวติ มีชว่ งขึ้นและลง วันนี้มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเงินใน ครอบครัว หรืออื่น ๆ หากอดทน และพยายามแก้ไขวันข้างหน้าก็ต้องดีขึ้น เพราะเชื่อว่าต้อง ผ่านมันไปให้ได้ บางศาสนาบอกให้มนุษย์คิดอยู่เสมอว่า “ความลำบาก” เป็นเครื่องทดสอบ
10 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ความเข้มแข็ง ฉะนั้นต้องยอมรับ และอยู่ต่อไปให้ได้ นอกจากนี้อาจใช้ความศรัทธาทางศาสนา เพื่อทำให้อารมณ์เย็นลง และมีสติมากขึ้น 2.2) เติมมิตร (ปรึกษาคนี่เราไว้ใจ) การผูกมิตร หรือให้ความช่วยเหลืออื่นเท่าที่ทำได้ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อเราเผชิญกับปัญหาบางอย่างท่ี เกินจะรับมือได้ มิตรที่ดีจะช่วยให้คำปรึกษาหรือพึ่งพิง ซึ่งบางคนอาจจะคิดเกรงใจ ไม่อยาก รบกวน และแกป้ ัญหาอยู่คนเดียว แต่ถา้ เปน็ เรื่องของความอยู่รอดก็จำเป็นท่ีจะต้องเอ่ยปากขอ ความชว่ ยเหลอื ที่สำคญั คนในครอบครวั ถือเป็นมิตรท่ีดี และเข้าใจมากทีส่ ุด ปรึกษากันภายใน ครอบครวั 2.3) เตมิ ใจให้กวา้ ง เปิดมมุ มอง) เมื่อมปี ญั หา คนเรามักใช้วธิ ีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสม ลองศึกษาวิธีที่แตกต่างออกไปหรือเข้าใจความรู้สึก ความคิดของคนอื่นที่แตกต่างจากตนเอง อาจทำให้มองปัญหาได้รอบด้านขึ้น ได้ข้อมูลมากข้ึน มีจิตใจกวา้ งขึ้น และเห็นทางออกของปัญหาได้มากขึ้นตามไปด้วย 3) พลังสู้ หมายถึง การต่อสู้ เอาชนะอุปสรรค สามารถส่งเสริมได้โดย 3.1) ปรับการกระทำ/พฤติกรรมปรับเป้าหมายชีวิต เมื่ออารมณ์ ความคิดกลับมาเป็นปกติ และมีกำลังใจที่จะต่อสู้แล้ว ต้องลงมือทำในสิ่งที่คิดไว้ เพื่อแก้ปัญหา/อุปสรรค เช่น เปลี่ยนจากคนที่นอนกินเล่นอยู่กับบ้าน มามุ่งหมั่นหางาน สรา้ งรายได้ให้กบั ครอบครัว หรือเปลี่ยนจากคนท่ีเก็บปญั หา เป็นคนเปล่ยี นปญั หาใหเ้ ปน็ โอกาส ด้วยการเจริญสติ และการวางแผนชวี ติ ให้มีเป้าหมายท่ีชัดเจน ว่าวันน้ีจะทำอะไร ได้อะไร และ ตอบกับตัวเองให้ได้ว่า ทำไปทำไม เพื่อให้ชีวิตมีจุดหมาย และดำเนินต่อไปข้างหน้า 3.2) ปรับ เป้าหมายชีวิต ปัญหาที่หนักหนา อาจจะทำให้เราทำความต้องการไม่ได้ จำเป็นต้องยืดหยุ่น ปรับเป้าหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เช่น อยากซื้อรถยนต์คันใหม่ แต่ตัวเองยัง ตกงาน หรือครอบครัวยังเป็นหนี้อยู่ จึงต้องออกหางานทำ และหาเงินมาใช้หนี้ และจุนเจือ ครอบครัว ส่วนเป้าหมายเรื่องรถ คงต้องเลื่อนออกไปก่อน เป็นต้น ดังนั้นการจะตัดสินใจทำ อะไรก็ควรไตร่ตรอง และถามตัวเองด้วยว่า การตัดสินใจนี้จะเกิดผลดี หรือผลเสียต่อตัวเอง และคนทอี่ ยรู่ อบขา้ งหรือไม่ อย่างไร (ดามาตะ คาทะสี และอธคิ ม สวัสดญิ าณ, 2554) การประเมินความเขม้ แขง็ ทางใจ การทบทวนเอกสารวิชาการ และงานวิจัยในประเทศไทย พบว่า มีการศึกษาแบบ ประเมินความเข้มแข็งทางใจหลากหลายรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับการให้คำนิยาม และความหมาย ของนักวิชาการแต่ละท่าน เช่น กรมสุขภาพจิต ทำแบบวัดความเข้มแข็งทางใจของบุคคล ตามแนวคิดของ Grotberg แบ่งเป็นด้านหลักๆ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ (อึด) จำนวน 10 ข้อ 2) ด้านกำลังใจ (ฮึด) จำนวน 5 ข้อ และ 3) ด้านการจัดการกับปัญหา (ส้)ู จำนวน 5 ข้อ รวมมีข้อคำถาม 20 ข้อ มีระดับคะแนน 1-4 คะแนน โดยมีคะแนนเต็ม 80 คะแนน ซ่งแบบวัดของกรมสุขภาพจิตเหมาะกับบุคคลทั่วไป และผู้สูงอายุ (Grotberg, E. H., 1999) ซง่ึ มณวี รรณ สวุ รรณมณี สร้างแบบวัดจากแนวคิดของกรอทเบริ ์ก (Grotberg) มี 3 ด้าน คือ ด้านสิ่งที่ฉันมี สิ่งที่ฉันเป็น และความสามารถที่ฉันมี มี 19 องค์ประกอบ ตัวแปรที่ใช้คือ
วารสารสงั คมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชงิ พทุ ธ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 11 1) ด้านความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น 2) ความมั่นใจในการดำรงชีวิตอยู่ 3) การมีส่ิง สนับสนุนทางสังคม 4) การมีชีวิตอยู่ด้วยความมั่นคงทางจิตวิญญาณ และ 5) ความสามารถใน การผอ่ นคลายความเครยี ด และแก้ไขปัญหา มีค่าความเชอ่ื ม่ันอยู่ในระดับ (r = .91) (มณีวรรณ สุวรรณมณี, 2556) ส่วนการศึกษาของ พัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ ตามแนวคิดของ กรอทเบิร์ก (Grothberg) ประกอบด้วยข้อคำถามประกอบด้วย สิ่งที่ฉันมี จำนวน 9 ข้อ ขอ้ คำถามเกย่ี วกับส่ิงทฉ่ี ันเปน็ จำนวน 10 ข้อ ข้อคำถามเก่ยี วกับสิ่งท่ีฉนั สามารถ จำนวน 9 ข้อ ประกอบไปด้วยข้อคำถาม 28 ข้อ มีระดับคะแนน 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ (r= .85-.91) (พัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ, 2555) และการศึกษาของ ขวัญธิดา พิมพการ ตามแนวคิดของ กรอทเบิร์ก (Grothberg. 1995) ซึ่งประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักคือ 1) สิ่งที่ฉันมี (I have) บุคคลรับรู้ได้ว่าตนมีแหล่งสนับสนุนให้เกิดความแข็งแกร่งในชีวิต 2) สิ่งที่ฉันเป็น (I am) เป็นลักษณะความเข้มแข็งภายในของบุคคล นับถือตนเอง และเป็นผู้ที่ ภูมิใจในตนเอง 3) สิ่งที่ฉันทำได้ (I can) เป็นทักษะในการจัดการกับปัญหา และสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล ประกอบไปด้วยข้อคำถาม 30 ข้อ มีระดับคะแนน 1 - 5 คะแนน มีค่าความ เชื่อมั่นอยู่ในระดบั (r = .95) การศึกษาแบบประเมินความเข้มแข็งทางใจในประเทศไทยส่วนใหญ่ พัฒนามาจาก กรอบแนวคิดของกรอทเบิร์ก (Grotberg) ซึ่งพัฒนาแบบประเมินเป็นแบบ 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่หน่ึงแบบประเมินที่ได้แบ่งเป็นมาตรวัดย่อย 2 มาตรวัด คือ 1) แบบวัดความเข้มแข็ง ทางใจจากลักษณะนิสัยส่วนตัว ซึ่งแบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบสำรวจตนเอง กำหนด รายการข้อคำถามเพื่อสำรวจมุมมอง ความรู้สึกภายในจิตใจ เช่น เพ็ญประภา ปริญญาพล ซึ่งพัฒนาแบบประเมินความหยุ่นตัว และทนทาน (ความเข้มแข็งทางจิตใจ) มาจากกรอบ แนวคิดของ กรอทเบอร์ก (Grotberg) โดยแบบประเมิน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวนคำถาม 20 ข้อ ครอบคลุมลักษณะย่อย 3 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบท่ี เป็นลกั ษณะ บคุ ลิกภาพท่ีเข้มแข็งและลกั ษณะภายในของบุคคลได้แก่ ความรู้สึก ทัศนคติ ความ เชื่อ 2) องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคม หรือความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับ ผู้อื่น และ 3) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับแหล่งสนับสนุนและ ส่งเสริมทางสังคมเมื่อบุคคลประสบ กับเหตกุ ารณใ์ นทางลบ (เพ็ญประภา ปรญิ ญาพล, 2550) ; (Grotberg, E. H., 1995) แบบประเมินความเขม้ แข็งทางใจที่พัฒนาขนึ้ พบว่า สว่ นใหญม่ พี น้ื ฐานมาจากงานวิจัย เชิงคุณภาพ และทำการทดสอบเชิงปริมาณเพื่อหาคุณภาพของแบบวัด แต่การทดสอบ มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ความลำเอียงของการตอบเนื่องจากแบบวัดส่วนใหญ่ มีลักษณะ ขอ้ คำถามไปในทิศทางเดียวกัน อกี ท้ังแบบวดั ไมส่ ามารถใชส้ รุปอ้างอิงไปยังประชากรกลุม่ อ่นื ๆ ได้ เนอ่ื งจากเป็นการศกึ ษาเฉพาะกล่มุ เป็นต้น อยา่ งไรกต็ ามระยะแรก ๆ แบบวัดความเข้มแข็ง ทางใจมักมองความเข้มแข็งทางใจในลักษณะนิสัยส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ต่อมาการพัฒนา แบบวัดความเข้มแข็งทางใจมักจะวัดปัจจัยปกป้องทั้งภายใน และภายนอกตัวบุคคลมากขึ้น
12 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการใช้แบบวัดความเข้มแข็งทางใจจากลักษณะนิสัยประจำตัว และ ตามสถานการณ์ เพื่อพิจารณาทั้งสองส่วนไปพร้อมกันทำให้ได้ความเข้มแข็งทางใจของแต่ละ บุคคลที่ครอบคลุม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ สุภาวดี ดิสโร พัฒนาแบบวัดความเข้มแข็ง ทางใจจาก ศิริเพิ่ม เชาว์ศิลป์ ซึ่งแปลและเรียบเรียงจากแบบวัด State – Trailt Resillience Inventory ของ ฮิว; โมริ; ชิไมซู และโทไมนากา (Hiew; Mori; Shimizuj and Tominaga) โดยแบ่งมาตรวัดย่อย เปน็ 2 มาตรวัด คอื 1) เบบวัดความเข้มแข็งทางใจตามสถานการณ์ มีข้อ คำถาม 28 ข้อ จำแนกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ 1.1) การมีแหล่งสนับสนุนและทรัพยากร ภายนอก (I have) จำนวน 10 ข้อ 1.2) การมีจิตใจที่เข้มแข็ง (I am) จำนวน 11 ข้อ และ 1.3) การมีทักษะทางสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (I can) จำนวน 7 ข้อ 2) แบบวัด ความเข้มแขงทางใจจากลักษณะนิสัยประจำตวั (Trait Resillience Scale) มขี ้อคำถามจำนวน 27 ข้อ จำแนกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ 2.1) การมีแหล่งสนับสนุนและทรัพยากรภายนอก (I have) จำนวน 11 ข้อ 2.2) การมีจิตใจทเ่ี ขม้ แข็ง (I am) จำนวน 8 ข้อ และ 2.3) การมที กั ษะ ทางสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผูอ้ ื่น (I can) จำนวน 8 ข้อ ซึ่งแบบวัดดังกล่าวเป็นลกั ษณะ แบบสำรวจตนเอง เกี่ยวกับความรู้สึกภายในจิตใจ โดยข้อคำถามเป็นมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ (ศริ เิ พม่ิ เชาว์ศลิ ป์, 2546); (Hiew, CC. et al., 2000); (สุภาวดี ดิสโร, 2551) ประโยชนข์ องความเขม้ แขง็ ทางใจ กรอทเบิร์ก (Grotberg) กล่าวว่าประโยชน์ของการส่งเสริมให้บุคคลมีความเข้มแข็ง ทางใจเป็นการช่วยสง่ เสริมใหเ้ กิดการพัฒนาทางความคิด และพฤตกิ รรมทพ่ี ึงประสงค์ และรับรู้ ในสิ่งที่ตนเป็นอย่างเหมาะสม ดังนี้ 1) มีความสามารถ มีความรู้สึกมั่นคงทางใจ เชื่อในคุณค่า และความสามารถในการควบคุม และจัดการกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม 2) ทำให้ เห็นความสำคัญของตนเอง เห็นว่าตนเองมีค่ามีความหมาย เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว กล่มุ หรอื สงั คมที่อาศัยอยู่ 3) ทำใหม้ ีพลังอำนาจในการท่จี ะควบคุม หรือแกไ้ ขสิ่งต่างๆที่อาจจะ ส่งผลกระทบต่อชีวิตของตนเองได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้มีทักษะในการเผชิญกับปัญหา ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ 3.1) สามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในระเบียบวินัย รู้จักประเมิน สถานการณ์ และควบคมุ การแสดงออกของตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อยา่ งเหมาะสม 3.2) สามารถใช้ทกั ษะในการส่ือสารท่ีเหมาะสมในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อน่ื 3.3) สามารถจัดการกับ ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นแต่ละช่วงเวลาของชีวิตได้อย่างเข้มแข็ง มีความเข้าใจถึงข้อจำกัด ตลอดจนผลกระทบท่ีอาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ หรือลงมอื กระทำเร่ืองบางอย่าง และพร้อมที่ จะรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำแนวคิดความเข้มแข็งทางใจมาประยุกต์ใช้ได้ใน ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสมถูกต้องตามหลักการของเหตุผล และหลัก จรยิ ธรรม (Grotberg, E. H., 1995)
วารสารสงั คมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชิงพทุ ธ ปีท่ี 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 13 สรปุ ความเข้มแข็งทางใจเป็นปัจจัยที่สำคัญในสำหรับผู้ดูแลในการการดูแลผู้สูงอายุ โรคเบาหวาน กล่าวคอื ผูด้ แู ลตอ้ งมกี ารปรับตวั และยอมรบั การเผชญิ ปัญหา รวมถึงหาทางแก้ไข ปัญหา ก็จะมีพฤติกรรมการดูแลได้อย่างเหมาะสม โรคเบาหวานในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็น ระยะเวลาที่ยาวนานและช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ทำให้มีผลกระทบต่อความสามารถในการ ดำเนินชวี ิตประจำวัน เนอ่ื งจากโรคเบาหวานเป็นโรคเร้ือรังที่ต้องไดร้ ับการรักษาต่อเน่ือง ทำให้ ผู้ป่วยต้อง เผชิญปัญหากับโรคเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะวัยสูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มี กระบวนการเปลี่ยนแปลง ไปในทางเสื่อมถอย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ต้อง ปรบั ตวั ตอ่ การเจบ็ ปว่ ยและการ เปล่ียนแปลงตา่ ง ๆ การปรบั เปลี่ยนวิถชี วี ิต และแผนการรักษา จำเปน็ ต้องพง่ึ พาผูอ้ ื่น ไดแ้ ก่ สามี ภรรยา หรือสมาชิกในครอบครวั คอื ผดู้ ูแล ซ่ึงพฤติกรรมการ ดูแลของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมที่ผู้ดูแลต้องริเริ่มกระทำตามคำแนะนำ ของบุคลากรทางการแพทย์ และปฏิบัติอย่างตั้งใจ มีระบบระเบียบ เป็นขั้นตอน ซึ่งเป็นการ เลือกปฏิบัตใิ นสิง่ ท่ีมคี วามหมาย หรือส่ิงทผี่ ู้สงู อายตุ ้องการ เพ่ือการตอบสนองตอ่ ความต้องการ ในการดูแลทั้งหมดของ ซึ่งจะช่วยดูแล และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจก่อให้เกิด อันตรายต่อชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ความต้องการการดูแลของผู้ป่วย หรือภาระงาน ที่ญาตผิ ดู้ ูแลผปู้ ่วยต้องรับผิดชอบนำไปส่กู ิจกรรมที่ตอ้ งกระทำให้กับผู้ป่วย ไดแ้ ก่การใหก้ ารดูแล โดยตรงในกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ทั้งทางด้านอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา การไปพบแพทย์ตามนัด และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม รวมทั้งปัญหาทางพฤติกรรม ที่เกิดขึ้น ให้การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ และจิตใจ เป็นคนกลางในการติดต่อเจรจา หรือ ติดต่อกับบุคลากรหรือองค์กรทางการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาล หรือช่วยประสานงาน ลดความขัดแยง้ อาจเกิดข้นระหวา่ งการดำเนินการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ และตาม ความเชื่อของผู้ป่วย และให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุโรคเบาหวานในเรื่องการเงินอีกด้วย การดแู ลผู้สูงอายุโรคเบาหวานท่ีช่วยเหลือตวั เองได้น้อย เป็นภาระหนกั ของผูด้ ูแล ส่งผลกระทบ ต่อผู้ดูแลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ การที่บุคคลต้องรับภาระ หนักเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรังทำให้สภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกแปร เปลี่ยนไป นอกจากนนั้ ยังทำใหผ้ ูด้ ูแลเกิดการสญู เสยี พลังอำนาจ เน่ืองจากโรคเบาหวานเป็นโรค เรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุซึ่งมีความเสื่อมถอยทางด้านร่างกาย และจิตใจ ทำให้เกิดการสูญเสียความเข้มแข็งทางใจ ผู้ดูแลเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อบุคคลมี ความเบื่อหน่ายจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ พฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารได้น้อย เครียด ปวดศีรษะ ซึมเศร้า ความสามารถใน การตัดสินใจลดลง ไม่พึงพอใจในบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน จนกระทั่งไม่ ทำบทบาทในการดูแล การสูญเสียความเข้มแข็งทางใจจะส่งผลต่อทั้งสภาพร่างกาย และจิตใจ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน แม้ว่าความเข้มแข็ง
14 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ทางใจจะมีความหลากหลายดา้ นแนวคดิ และองค์ประกอบ บุคลากรทางการแพทย์ที่เกีย่ วข้อง กับการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานต้องทำความเข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งทางใจ เพื่อให้ตระหนักถึงความแตกต่างของบุคคล ช่วงเวลาที่ควรจะส่งเสริมให้เกิดความเข็งทางใจ ซึง่ จะชว่ ยใหบ้ ุคลากรทางการแพทย์มแี นวทางในการช่วยเหลือท่ีมคี วามหลากหลาย ท้ังน้ีเพราะ บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมให้ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน มีความเข้มแข็งทางใจ สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และฟื้นคืนกลับมาดูแลผู้สูงอายุ โรคเบาหวานได้อยา่ งเหมาะสมและตอ่ เนือ่ งต่อไป กิตติกรรมประกาศ บทความนี้เป็นส่วนหน่ึงของงานวจิ ยั เรื่องโปรแกรมการเสริมสร้างความเขม้ แข็งทางใจ ต่อพฤตกิ รรมการดูแลผสู้ ูงอายโุ รคเบาหวานของญาติผใู้ ห้การดูแล: การวิจยั ผสานวิธี เอกสารอ้างอิง กรมสุขภาพจิต. (2552). คู่มือการจัดกิจกรรมการสร้างพลังอึด ฮึด สู้ ในชุมชน. นนทบุรี: บยี อนด์ พบั ลิสช่งิ จำกัด. ดวงเดอื น พนั ธมุ นาวนิ . (2554). บทสัมภาษณ์แนวทางการพฒั นามาตรฐานจริยธรรมขา้ ราชการ พลเรอื น (อัดสาํ เนา). กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั งาน ก.พ. ดามาตะ คาทะสี และอธิคม สวัสดิญาณ. (2554). เคล็ดลับวิธีตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพมิ พเ์ ตา๋ ประยุกต์. นฤภคั ฤธาทพิ ย์ และคณะ. (2552). ค่มู ือสรา้ งสรรคพ์ ลังใจใหว้ ัยทนี . นนทบุร:ี กองสง่ เสริมและ พฒั นาสุขภาพจิต กรมสขุ ภาพจติ กระทรวงสาธารณสขุ . นันท์นภัส ประสานทอง. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างพลังใจญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ คู่มืออบรม โปรแกรมเสริมสร้างพลังใจญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กองส่งเสริมและพัฒนา สุขภาพจิต กรมสุขภาพจติ กระทรวงสาธารณสขุ . ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2550). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสร้างความเข้มแข็ง ทางใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย. พัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ. (2555). โปรแกรมการสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต (A resilience enhancing program). กรงุ เทพมหนคร: จดุ ทอง. เพ็ญประภา ปริญญาพล. (2550). มยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิยาเขตปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับ สังคมศาสตรแ์ ละมนษุ ยศาสตร์, 13(2), 137-153.
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 15 มณีวรรณ สุวรรณมณี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับการรับรู้ภาระการดูแล ของผู้ดูแลผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ของไทย. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์. มาลิณี จุโฑปะมา. (2553). การเห็นคุณค่าในตนเองนั้นสำคัญไฉน? และจะสร้างได้อย่างไร. วารสารวิขาการมหาวิทยาลยั ราชภัฏบรุ ีรมั ย์, 2(2), 13-16. ศิริเพิ่ม เชาว์ศิลป์. (2546). การวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบทดสอบบุคลิกภาพการปรับตัว เพื่อสู่ความเปน็ เลศิ . เชยี งใหม:่ โรงพมิ พม์ หาวทิ ยาลยั เชียงใหม.่ สมพร อินทร์แก้ว และคณะ. (2552). คู่มือเปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี: พลัง สุขภาพจิต. นนทบุรี: สำนกั สขุ ภาพจติ สังคม กรมสุขภาพจติ กระทรวงสาธารณสขุ . สายพิณ เกษมกจิ วฒั นา และปยิ ภรณ์ ไพรสนธ.์ (2557). ญาติผูด้ แู ลผปู้ ว่ ยเรื้อรงั : กลุ่มเส่ียงที่ไม่ ควรมองขา้ ม. วารสารสภาการพยาบาล, 29(4), 22-31. สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2561. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2561 จาก http://www. thaincd.com/document/file/info/.../ประเด็น สารรณรงคว์ นั เบาหวานโลกปี_2561.pdf สภุ าวดี ดสิ โร. (2551). ผลองกล่มุ จิตวทิ ยาพัฒนาตน และการปรกษาแนวพทุ ธตอ่ ความสามารถ ในการฟื้นพลังของนักศึกษามหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย. Brolin, D. E. ( 1 9 8 9 ) . Life Centered Career Education: A Competency Based Approach (3rd ed.). Reston, VA: The Council for Exceptional Children. Davis, N. J. (1999). Resilience, Status of the Research and Research-Based Model. Retrieved April 22, 2017, from http: / / menalhealth. sahsa. gvo/ shoolv iolence/5-8resilience.asp Garmezy, N. ( 1 9 9 1 ) . Resiliency and vulnerability to adverse development associated with poverty. American Behavioral Scientist, 34(1), 416-430. Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the uman spirit. The Hague, Netherlands: Bernard Van Lee Foundation. (1999). Tapping your inner strength. Oakland, CA: New Harbinger. (2005). Resilience for tomorrow. Retrieved January 6, 2019, from http://www. resilnet.uiuc.edu/library/grotberg2005_resilience-for-tomorrow-razil.pdf ( 2004) . Resilience for tomorrow. Retrieved April 22, 2017, from http: / / www.resilnet.uiuc.edu/library/grotberg2005_resilience-for-tomorrow-brazil.pdf
16 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) Hangan P. et al. (2003). Economic Costs of Diabetes in the U.S. in 2017. American Diabetes Association, 26(3), 917-932. Hiew, CC. et al. ( 2 0 0 0 ) . Measurement of resilience development preliminary results with a state- trait resilience inventory. Journal of Leaning and curriculum Development, 1(1), 111-117. Rutter, M. ( 1 9 8 5 ) . Resilience in the face of adversity: Protective factors and resistance to psychiatric disorder. British Journal of Psychiatry, 1 4 7 ( 1 ) , 598-611. Werner, E. E. (2005). Resilience research past, present, and Future. In R. DeV. Peter, B Leadbeater & R. J. McMahon (Eds.), Resiliencein childern, families, communities linking context to practice and policy (pp. 3-11). New York: Kluwer Acadeic/plenum. Wolin, S. J. & Wolin, S. (1993). The Resilient Self: How Survivors of Troubled Families Rise Above Adversity. New York: Villard Books.
การปรับตวั ของดนตรกี ล่มุ ชาตพิ ันธ์ุผไู้ ท ในภมู ภิ าคลุ่มแม่นำ้ โขง* ADAPTATION MUSIC OF PHU-TAI ETHNIC GROUP IN THE MEKONG RIVER BASIN สัญชยั ด้วงบุ้ง Sanchai Duangbung มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ Khonken University, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของ กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และ 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวของดนตรีผู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้จากการกำหนดความสำคัญของ ปัญหา ผ่านกระบวนการขั้นตอนการวิจัยตามวัตถุประสงค์ การกำหนดขอบเขตการวิจัย จากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทมีประวัติความ เป็นมาของชาวผู้ไทที่พูดภาษาผู้ไท ภูมิลำเนาเดิมมีบรรพบุรุษมีต้นกำเนิดอยู่บริเวณสอบสองจุ ไทย ทางตอนใตข้ องประเทศจีนเม่อื ราว 2,500 ปี ชาวผ้ไู ทอพยพเขา้ มาในประเทศลาว ประเทศ เวียดนาม และประเทศไทย ชาวผูไ้ ทยังแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ผูไ้ ทขาว ผ้ไู ทแดง และผู้ไทดำ โดยชาวผู้ไทในประเทศไทยอาศัยร่วมกันเป็นกลุ่มปะปนกัน การตั้งถิ่นฐาน กระจัดกระจายอยู่ ทว่ั ใน สปป. ลาว และภาคอีสาน ชาวผู้ไทนยิ มอาศยั ท่ีราบลุ่ม อย่ใู นบริเวณเขตภูเขา อาศัยตาม แหลง่ นำ้ เปน็ ปจั จัยสำคัญ 2) การปรบั ตัวของดนตรีกลุ่มชาติพนั ธผ์ุ ู้ไท ในภมู ภิ าคลุ่มแม่น้ำโขง มี การผสมผสานดนตรีผู้ไทเข้ากับดนตรีสมัยนิยม นำเสนอแนวคิดสร้างสรรค์ การบรรเลงมีทั้ง รูปแบบดั้งเดิม และรูปแบบใหม่ๆ ส่งผลให้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของดนตรีสมัยใหม่ ทำให้เกิดสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่มาผสมผสานกัน ความต้องการของตลาดเพลงทั้งโฆษณา เพลง ประกอบภาพยนตร์ ด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ชุมชนพัฒนาเป็นชุมชน เมืองมากขึ้น ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพื่อความอยู่รอดของดนตรีกลุ่มชาติพันธ์ุ ผ้ไู ท คำสำคัญ: ชาวผไู้ ท, ดนตรกี ลมุ่ ชาตพิ ันธ์ุผไู้ ท, การปรับตวั * Received 16 November 2020; Revised 13 January 2021; Accepted 19 January 2021
18 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) Abstract The Objectives of this research article were to 2 objectives which are 1) To study the history of Phu-tai ethnic groups In the Mekong region and 2) to study the adaptation of Phu-tai music In the Mekong River Region Which is a qualitative research obtained from determining the importance of the problem Go through the research process process according to the objectives Research scope From data collection in the field work. The results of the research are as follows: 1) Phu - tai ethnic group has a history of Phu-tai people who speak Phu -tai language. Hometown, with ancestors having origins in the exam area, two Thai capacities In southern China, about 2,500 years ago, the Tai people migrated to Laos. In Vietnam and Thailand, the Phu - tai people are divided into groups, namely the Tai Tai, Tai Tai Daeng, and Tai Tai Dam. The Tai Tai people in Thailand live together in mixed groups. Settlement Is scattered throughout Laos. And the northeast, the Thai people live in the lowlands In the mountainous area Living according to water sources is an important factor. 2) Music adaptation of Phu - tai ethnic group In the Mekong River Region Phu - tai music is combined with modern music. Present creative ideas The play has both traditional forms. and new formats resulting in adapting to changes in modern music. Causing old things and new things to blend together Demand of the music market, both advertisements Movie soundtrack with the development of internet technology, the community has become more urban. Use money as a medium of exchange for the survival of ethnic music Phu - tai. Keywords: Phu -Tai People, Ethnic Music of Phu - Tai, Adaptation บทนำ กลุ่มชาตพิ ันธ์ุของชาวผู้ไท เดิมอาศัยอยู่บริเวณเมืองแถง และเมืองไล ในแคว้นสิบสอง จุไทย พื้นที่บริเวณแถวนี้เป็นเขาไม่อุดมสมบูรณ์นัก (บุญยงค์ เกศเทศ, 2551) รวมทั้งยังเป็น ดินแดนคาบเก่ียวอยใู่ นการปกครองถงึ 3 ฝ่าย คือ จีน หลวงพระบาง และญวน เม่ือเกิดสงคราม ระหว่างจีน ญวน หลวงพระบาง การยกทัพจะต้องผ่านดินแดนสิบสองจุไทย ชาวผู้ไทยต้อง ได้รับความเดือนร้อนอยู่เสมอในการสูร้ บจะไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับชัยชนะ ชาวผู้ไทเป็นกลุ่ม ที่รักความสงบจึงพากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองวัง เมืองคำเกิด และเมืองคำม่วน ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการยกทัพไปตีเมืองล้านช้าง และได้เคยกวาดต้อน
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพทุ ธ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 19 ชาวผู้ไทเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย (ภัทยา ยิมเรวัต, 2544) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยหู่ วั เจ้าอนวุ งศ์แห่งเมืองเวียงจันทรเ์ ปน็ กบฏ พระองค์จึงทรง รับสงั่ ให้แมท่ ัพใหไ้ ปปราบเจ้าอนุวงศ์ เมอ่ื ปราบไดช้ ัยชนะ กองทพั ไทยจึงไดก้ วาดต้อนครอบครัว ชาวผู้ไทที่เมืองวัง เมืองคำเกิด และเมืองคำม่วน ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งไทยเป็นการตัดกำลัง ของฝา่ ยลาว และโปรดให้ตั้งบ้านเรอื นทำมาหากนิ ในทอ้ งถิ่นตา่ ง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยต้งั แตน่ น้ั มาจนถึงปัจจบุ นั (วญิ ญู ผลสวสั ดิ, 2536) กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทที่อพยพเข้ามาอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้อพยพมาจาก 3 เมือง ได้แก่ 1) เมืองวัง 2) เมืองเซโปน และ 3) เมืองกะบอง (เมืองท่าแขก) ที่อยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชานลาว ซึ่งในแต่ละกลุ่มต่างมีหัวหน้านำการอพยพ และได้แยกย้ายกันตั้งถิ่นฐานตามเมืองต่าง ๆ นั่นคือ 1) กลุ่มเมืองวังตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเรณู จังหวัดนครพนม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร 2) กลุ่มที่อพยพมาจากเมืองเซโปน ตง้ั ถิน่ ฐานท่เี มืองเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ กลมุ่ ที่ 3 อพยพจากเมืองกะบอง ต้ังถิ่นฐาน ที่เมืองวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธ์ุผู้ไทที่เข้ามา อาศัยอยู๋ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มที่อพยพเป็นอันดับสองรอง จากกลมุ่ ชาตพิ ันธไ์ุ ทลาว (สวุ ทิ ย์ ธีรศาศวัต และณรงค์ อุปัญญ์, 2538) ศิลปวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยมีลักษณะโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดนตรี การร้อง หมอลำ ศิลปะการแสดงต่าง ๆ ล้วนเป็นเอกลักษณะเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย มีการ แพร่กระจายไปยังกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และเป็นที่นิยมของคนทั่วไป กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย ไม่ว่า จะอยูใ่ น สปป.ลาว หรอื สว่ นใหญใ่ นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซงึ่ ได้รับอิทธิพล ทางด้านศิลปะของชาติพันธุ์อื่น ๆ เข้ามากลมกลืน ผสมผสาน พอสมควรไม่ว่าจะเป็นจารีต ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ รวมถึงวัฒนธรรมในการฟงั ดนตรี แตเ่ น่อื งดว้ ยยุคสมยั โลกาภิวฒั น์ ยุค แห่งเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ ทำให้ ศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยถูกกลืนด้วยความสมัยนิยม รวมถึงการสืบทอด สืบสาน ศิลปะดา้ นต่าง ๆ ของกลมุ่ ชาติพันธ์ุผู้ไทยในปจั จุบันหลงเหลืออย่นู ้อยมาก (สุรพล เนสุ สนิ ธ์ุ, 2555) ปัจจุบันประเทศไทยได้รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามากมาย รวมถึงศิลปะทาง ด้านดนตรี และศิลปะการแสดง จนทำให้คนรุ่นใหม่หลงลืมวัฒนธรรมของไทยแบบดั้งเดิม ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้สนใจจะศึกษา “การปรับตัวของดนตรีผู้ไท” จากอดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีการ เปลี่ยนแปลงในด้านดนตรี ด้านบทเพลง ด้านนักดนตรี ด้านนักร้อง และโอกาสในการบรรเลง (ชยั บดินทร์ สาลพี นั ธ์, 2541) กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาศยั กนั อยูก่ ะจดั กระจายตามทตี่ ่าง ๆ หลายจงั หวดั ซ่ึงในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื นีก้ ็ได้ชื่อว่า
20 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) เป็นดินแดนแห่งความอดอยาก แร้นแค้น เป็นดินแดนที่แห้งแล้ง ทุรกันดาร เป็นดินแดน ของผู้คนที่เป็นนักต่อสู้ชีวิต ไม่ยอมพ่ายแพ้ให้กับความโหดร้ายของธรรมชาติ เมื่อเปรียบเทียบ กับภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทยและหาที่ใครจะเลียนแบบได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยยังเป็น “แหล่งอารยะธรรม” ซึ่งยึดถือเอา “ฮีตสิบ สอง ครองสิบสี่” เป็นหลักในการครองตนดำเนินชีวิต มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำใจ ไว้ยึดเหนี่ยว แม้จะมีเอกสารหลักฐานหรือตำรา ที่เขียนเรื่องราวของคนในภมู ิภาคนี้ แต่ก็จะไม่ อาจอธิบายความหมายได้อย่างครบถ้วน หากแต่ภูมิปัญญาอันเกิดจากความสามารถของ นักปราชญ์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะอธิบายความหมายเนื้อหาของความเป็นอารยะ ธรรม ดา้ นความงามในจิตใจ ลักษณะทางกายภาพ ความเปน็ อยทู่ ่ีฝ่ังลึกอยู่ในความเป็นตัวตนท่ี แท้จริง อย่างเช่นในลักษณ์ของ “กลองลำ” ที่จะช่วยพรรณนาบรรยายให้เห็นภาพและ ความหมายต่าง ๆ บทกลองยังเป็นสื่อแห่งความบนั เทิงทชี่ ว่ ยผ่อนคลายความเครียด ความทุกข์ ร้อนรวมถึงคติที่ช่วยสอนใจในบทกลองลำ นั้น ๆ ด้วย นอกจากการสอนให้เป็นคนดีในสังคม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันแล้ว ยังช่วยให้เกิดความสามัคคีให้หมู่คณะอีกด้วย เครื่องดนตรีเ ป็นอีก องค์ประกอบหนงึ่ ท่ชี ่วยใหบ้ ทกลองลำ น่าฟัง น่าสนใจขน้ึ เสรมิ อรรถรสความไพเราะ เกิดความ ซาบซงึ้ ซึง่ คงคุณค่าแก่การอนุรกั ษ์ไวเ้ พื่อลกู หลานต่อไป (ถวลิ ทองสว่างรัตน์, 2530) ดนตรีผู้ไทเป็นดนตรีพื้นบ้านที่เป็นเครื่องแสดงออกถึงความรู้สึก ความเชื่อ ลักษณะ นิสัยใจคอร่วมถึงการดำเนินชีวิตเป็นแบบชาวบ้านแท้ๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดดนตรี ขึ้นมา ไม่วา่ จะเปน็ ดนตรีเพ่ือความบนั เทิง หรอื ดนตรปี ระกอบพิธกี รรม เป็นมรดกอันมีค่าอย่าง มาก ซ่งึ การสบื ทอดมรดกชน้ิ นี้ใชเ้ วลามาเปน็ ยาวนาน ดนตรผี ้ไู ทหลายชนิด หลายประเภท เช่น กระจับปี่ โกย ซอบั้ง หมากกลิ้งกล่อม ฆ้อง พางฮาง กลองตุ้ม หมากกั๊บแก๊บ ปี่ผู้ไท แคน เปน็ ต้น เครื่องดนตรดี งั กลา่ วของชาวผไู้ ทมคี ณุ ลักษณะเฉพาะท้องถน่ิ แตกตา่ งจากของกลมุ่ ชาติ พันธุ์อื่นๆ ควรที่จะศึกษาและอนุรักษ์ไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบต่อไป ดนตรีของชาวผู้ไท ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนและมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวพันกับดนตรีเป็นอย่างมาก เป็นสื่อในการ ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชน ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และการประกอบอาชีพ ลักษณะของเครื่องดนตรี วิธีการบรรเลง และบทเพลงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมไปถึง บทบาทของดนตรีที่มีต่อชุมชน จากสภาพสังคมในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาเพื่อสร้าง ความสะดวกสบายให้กับมนษุ ยส์ ่งผลให้สภาพความเปน็ อยู่ของกลุม่ ชาตพิ ันธุ์ผู้ไท เปล่ียนแปลง ไปมากและส่งผลกระทบต่อดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ซึ่งอาจทำให้ดนตรีมีการเปลี่ยนแปลง หรืออาจสูญหายไป จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้คงอยู่และเพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนให้เห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ทางดา้ นดนตรีของตน เพือ่ เปน็ มรดกทางวัฒนธรรมสบื ไป (เจริญชยั ชนไพโรจน์, 2529) วัตถปุ ระสงค์ของการวจิ ัย 1. เพอื่ ศึกษาประวัตคิ วามเปน็ มาของกลุม่ ชาตพิ ันธผ์ุ ไู้ ท ในภูมภิ าคลมุ่ แมน่ ำ้ โขง
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพทุ ธ ปีท่ี 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | 21 2. เพ่อื ศกึ ษาการปรับตวั ของดนตรีผ้ไู ท ในภูมิภาคลุ่มแมน่ ำ้ โขง วิธีดำเนนิ การวิจัย การวิจัยเรือ่ งการปรบั ตัวของดนตรีกลุ่มชาติพันธุผ์ ู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพที่ได้จากการกำหนดความสำคัญของปัญหา ผ่านกระบวนการขั้นตอนการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ การกำหนดขอบเขตการวิจัย จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจรงิ ในเมืองวีละบุรี แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ อ.เรณูนคร จ.นครพนม และ อ.หนองสูง จ.มกุ ดาหาร ท้ังทางด้านบุคคล ผู้รู้ เอกสารและงานวจิ ัยที่เก่ียวข้อง จากน้ันจึง ได้กำหนดกรอบแนวคิดสำหรับดำเนินการวิจัยเพอื่ การวิเคราะห์ นำผลการวิจัยที่ไดโ้ ดยคำนึงถึง ความเชื่อมโยงของหัวข้อวิจัยและวัตถุประสงค์ รวมไปถึงการสรุปผลและอภิปรายผล อันมี วิธีการดำเนินการวจิ ยั ดงั นี้ 1. กระบวนการวิจัย 1.1 ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกลุ่ม ชาติพันธุ์ผู้ไท และดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประสานงานเกี่ยวกับ การลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม 1.2 ลงพืน้ ท่เี กบ็ ขอ้ มลู ภาคสนาม บรบิ ททางดนตรี ข้อมลู ประวตั ิกลุ่มชาติพันธ์ุ ผู้ไท ดนตรีผ้ไู ท นกั ดนตรี 1.3 นำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ภาคสนาม เพื่อนำมาวิเคราะห์ตาม กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำการเช่ือมโยงกับหัวข้อวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย ตามข้อมูลที่ปรากฏจริงในพื้นที่ภาคสนาม เพื่อนำมาเขียนแบบบรรยายด้วยวิธีพรรณนา วเิ คราะห์ 2. ข้ันเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู 2.1 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในภาคสนาม ใช้เครื่องมือสำหรับบันทึกข้อมูล คือ กล้องถ่ายภาพนิ่ง กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว เครื่องมือบันทึกเสียง สมุดบันทึก อุปกรณ์ที่ใช้ ในการลงพื้นที่ภาคสนาม สังเกตบริบททางดนตรี การสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วม การบันทึกด้วย เครอื่ งมือ ภาพน่งิ ภาพเคลื่อนไหว การจดบนั ทกึ 2.2 ลงพื้นท่เี กบ็ ข้อมูลดนตรีกลุ่มชาติพนั ธุ์ผู้ไท ระหว่างวนั ท่ี 1 มีนาคม 2559 ถึง 1 เมษายน 2560 โดยมีผู้ให้ข้อมูลในช่วงลงภาคสนาม รวบรวมข้อมูลภาคสนามแล้ว ตรวจสอบความ ข้อมลู จากการลงพ้นื ทภ่ี าคสนาม การจดบันทึก ภาพนงิ่ ภาพเคลอ่ื นไหว 2.3 กลุ่มผู้ให้ขอ้ มูล 2.3.1 กลุ่มผู้รู้ (Key Informants) นักวิชาการทางด้านดนตรี ผู้ทีศ่ กึ ษาหรือเชยี่ วชาญดนตรี ประวตั ิศาสตร์ นกั โบราณคดี นกั ภาษาศาสตร์ และนกั วัฒนธรรม ประจำจังหวัด เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา การอพยพและเคลื่อนย้ายของกลุ่ม
22 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ชาติพันธุ์ผู้ไท และดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสารถ ตลอดทั้งยังปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่สูงใน ระดับหัวหน้าหน่วยงาน โดยผู้วิจัยได้สัมภาษณ์จำนวนทั้งสิ้น 4 คน คือ อาจารย์เจริญชัย ชนไพโรจน์ หุมพัน รัตนวงษ์ กงเดือน เมตตะวง และคำใบ ยุนดาลาด ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ที่มี ความเชี่ยวชาญหรือที่เคยผ่านประสบการณ์ทางดนตรีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ปี โดยผู้วิจัยได้ สมั ภาษณจ์ ำนวนทั้งสิ้น 3 คน คอื คำสวน วงทองคำ,จอมแพง แหล่มสะไหว และสีสมพอน 2.3.2 กลุ่มผู้ปฏิบัติ (Casual Informants) เป็นการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นกลุ่มผู้ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับดนตรี กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทโดยตรง เพราะเป็นผู้ที่ทราบเรื่องราวและเป็นนักดนตรี และได้นำดนตรีกลมุ่ ชาติพันธ์ุผู้ไท มาใช้ในโอกาสต่าง ๆ โดยผู้วิจัยไดส้ ัมภาษณจ์ ำนวนท้ังส้ิน 4 คน คือ มี หมี ไซยะ ถา,บุนทวี จนั ทะวง ชมเชย อทุ ุมพร และตาคำ เวยี งไซย 2.3.3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป โดยผู้วิจัยได้สัมภาษณ์จำนวน ทัง้ ส้ิน 3 คน คอื พัน โพนสมบตั ิ คำสอน คำมะนวี ัน นามชนะ โพธิพนั 3. ขนั้ จดั กระทำกับข้อมูล 3.1 รวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบแบ่งข้อมูลได้ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูล จากการลงพนื้ ท่ภี าคสนาม การจดบนั ทึก ภาพนงิ่ ภาพเคลอื่ นไหว และบริบทอื่น ๆ ที่เก่ียวข้อง สว่ นที่ 2 เอกสารวิชาการ ทเ่ี กีย่ วขอ้ งกับงานวิจยั และการบนั ทึกโน้ตเพลง ขอ้ มลู ท่ีได้จากสนาม ทั้งข้อมูลดิบ และข้อมูลเอกสาร ในขั้นตอนดังน้ี ทำการถอดเทปการสัมภาษณ์จากสนามแล้ว จัดพิมพ์เรียบเรียงให้สมบูรณ์ จัดเรียงข้อมูลจากการชำระข้อมูล ข้อมูลจากภาคสนาม การสัมภาษณ์ และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมเกี่ยวกับดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในบริบทของ งานวจิ ยั เพอื่ ทำการวเิ คราะห์ขอ้ มูล 3.2 วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ศึกษาการดำรงอยู่ของดนตรีกลุ่มชาติ พันธผุ์ ู้ไท ในล่มุ แม่นำ้ โขง 3.3 สรุปผลการวจิ ยั อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ ผลการวิจยั ผลการวิจัยเรื่อง การดำรงอยู่ของดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ในลุ่มแม่น้ำโขง ได้จากการ เก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์ลงพื้นที่ภาคสนาม ระหว่าง 1 มีนาคม 2559 ถึง 1 เมษายน 2560 ที่เมืองวีละบุรี แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ อ.เรณู นคร จ.นครพนม อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร ในการศึกษาดนตรีผู้ไท เป็นดนตรีของกลุ่มชาตพิ ันธ์ุ เฉพาะ ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์มากมาย เพราะดนตรีพื้นบ้านสามารถทำให้เราทราบถึง ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ นิสัยใจคอ ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ได้เป็น อยา่ งดี การรจู้ กั กบั กลมุ่ ชาติพันธ์ุมากเท่าไร ก็เท่ากบั ว่าเป็นการได้รู้จักกับตวั เอง รู้ว่าตนมีของดี
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 23 อะไรบ้าง จะได้รู้จักอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามและนำมาใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัยต่าง ๆ ซึ่งสามารถ เรยี บเรยี งขอ้ มูลได้ดังน้ี 1. ประวตั ิความเป็นมาของกล่มุ ชาติพนั ธผุ์ ู้ไท ในภูมิภาคลมุ่ แม่นำ้ โขง 1.1 กลมุ่ ชาตพิ นั ธผุ์ ้ไู ท ในสบิ สองจไุ ท กลุ่มชาติพนั ธุ์ผไู้ ทมีประวตั ิความเป็นมาของชาวผูไ้ ทท่ีพดู ภาษาผู้ไท ภูมิลำเนา เดมิ มีบรรพบุรุษมตี น้ กำเนดิ อยบู่ รเิ วณสบิ สองจุไททางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม ทางตอน ใต้ของประเทศจีนเมื่อราว 2,500 ปี ชาวผู้ไทอพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในตอนกลางของ สปป.ลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย ซึ่งบรรพบุรุษมาจากเมอื งวังชาวผูไ้ ทยังแบง่ เป็น กลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ไทขาว ผู้ไทแดง และผู้ไทดำ โดยชาวผู้ไทในประเทศไทยอาศัยร่วมกันเป็น กลุ่มปนกัน คนลาวหรือคนอีสาน และชนกลุ่มอื่น ๆ ที่พูดภาษาตระกูลไทในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย ชาวผู้ไทแต่ละกลุ่มยังมีข้อถกเถียงกันในเรื่องการเรียกชื่อกลมุ่ ของตนอยู่บ้าง ไม่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มไหนที่มีความสับสนในการเรียกชื่อ เพราะมีการเขียน สะกดที่ไม่เหมือนกัน เช่น ภูไท ภูไทย ผู้ไทย ผู้ไท พู่ไท ภู่ไท ซึ่งเป็นการเขียนสะกดตามที่สืบ ทอดกันมาในกลุ่มตน โดยบางกลุ่มสัมพันธ์กับการออกเสียงในภาษาท้องถิ่นของตนด้วย ในเวียดนาม ได้แก่ “ผู้ไทดำ” “ผู้ไทขาว” “ผู้ไทแดง” และกลุ่มในประเทศจีนตอนใต้ เช่น “Budai” (บู้ได่ ผู้ไต่) แต่ลักษณะของผู้ไทที่มีความเกี่ยวข้องกัน มีความคล้ายคลึงทั้งเร่ื อง ศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ผู้ไท ในภาตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และตอนกลางของ สปป.ลาว กว่ารอ้ ยปแี ล้วว่ามกี ลุม่ ไท (ไต)่ ตา่ ง ๆ ในบริเวณชายแดนของประเทศเวยี ดนาม และ ประเทศจีนตอนใต้ ทีเ่ รียกตัวเองว่า “Budai” แต่กลุ่ม “บู้ได”่ เหล่าน้ันมีความแตกต่างท้ังเร่ือง ภาษา ประเพณี วัฒนธรรม ความเชือ่ ศาสนา กับผู้ไทบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง มีกลุ่มการตั้งถ่ิน ฐาน กระจัดกระจายอยทู่ ่วั ใน สาธารณะรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว มากที่สุดท่ีเมืองวีละบุรี แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว และภาคอีสานจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัด กาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท นิยมอาศัยที่ราบลุ่มและอยู่ในบริเวณเขต ภูเขา โดยอาศัยตามแหลง่ นำ้ เป็นปัจจัยสำคัญ เป็นหมบู่ า้ นกลุม่ ชาตพิ ันธ์ผไู้ ท 1.2 กลุ่มชาติพนั ธผุ์ ูไ้ ทใน สปป.ลาว ในพงศาวดารเมืองแถง (แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิด ของชาวผู้ไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึง อธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตก บนภเู ขาทที่ งุ่ นาเตา ซงึ่ อยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเปน็ ระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้ แตกออก เทพได้กลายเปน็ มนษุ ย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเตา้ ทลี ะคู่ตามลำดบั คือ ขา่ แจะ ผูไ้ ท ลาว พุงขาว ฮ่อ (จีน) และแกว (ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมาคน เหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆ สำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอ คำเปน็ หัวหนา้ ประชากรของภไู ทได้เพ่มิ จำนวนถงึ 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปต้ัง
24 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) รกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอ บุตรของขุนบรมราชา ได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283 จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวผู่ไท ในดนิ แดนน้ี 2 กลุ่มดว้ ยกนั คือ 1.2.1 ผู้ไทขาว อาศัยอยู่ เมืองเจียน, เมืองมุน, เมืองบาง, เมืองไล, เป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศ หนาว ชาวผู้ไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซ่งึ นิยมนุง่ ขาว ห่มขาว จงึ เรยี กชาวผูไ้ ทกลุม่ นวี้ า่ ผไู้ ทขาว 1.2.2 ผู้ไทดำ อาศัยอยู่ เมืองควาย เมืองคุง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโมะ เมอื งหวดั เมืองซาง มีเมืองแถง (แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกล่มุ นี้ มีผิวคล้ำกว่าชาวผู้ไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่ บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่าผู้ไทดำ ชาวผู้ไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้ว เป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้นสิบสองจุไทย เมืองไล เมืองของชาวผู้ไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดน คาบเกี่ยว หรือตะเข็บชายแดนของ สปป. ลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึง จำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่ายฟ้า ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับ อาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปข้ึนอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียง แสน ถูกพวกผู้ไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็น เมืองขึ้นของอาณาจกั รลานนา) ใน พ.ศ. 2250 อาณาจักรลา้ นชา้ งได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือ ทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านชา้ ง รม่ ขาวเวียงจันทน์ สบิ สองจุไทยอย่ภู ายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกดิ การอัตคัดอด อยากและความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวผู้ไทกับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวผู้ไทเป็นจำนวนมาก อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอ ขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทนใ์ ห้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ท่ีเมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของ เมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวผู้ไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้ เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาว เวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ใหแ้ ก่ เจา้ เมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย 1.3 กลุ่มชาตพิ ันธุ์ผไู้ ท ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การตง้ั ถน่ิ ฐานของชาวผู้ไทในประเทศไทยนน้ั ที่ปรากฏวา่ มีการอพยพย้ายถิ่น มาเป็นจำนวนมากเกิดจากการถกู กวาดต้อนมาในยุดเกิดสงคราม ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชจนมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในการ นั้นกลุ่มชาวผู้ไทที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ที่ประเทศไทย มาจากสถานที่ต่างกัน ได้แก่ จากเมืองวัง เวียง เมืองเซโปน เมืองพิน เมืองห้อง สปป. ลาวในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว คราวสงครามปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ชาวผู้ไทในประเทศลาว ได้ถูกกวาดต้อนมา
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพทุ ธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 25 ไว้ที่ประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่ง จากเมือง 3 เมือง คือ เมืองคำอ้อ เมืองคำเกิด และเมืองคำม่วน โดยโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในประเทศไทย ที่เมืองเรณูนคร เมืองคำชะอี เมืองกุดสิมนารายณ์ และเมืองหนองสูง กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจากกลุ่มไทลาว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแม่น้ำโขงแยกกลุ่มนี้ออกจากผู้ไทใน ภาคเหนือของลาว และญวน กลุ่มผู้ไทกลุ่มใหญ่ที่สุดจะอยู่แถบลุ่มน้ำโขง และแถบเทือกเขาภู พาน เช่น จังหวัดนครพนม ได้แก่ อำเภอคำชะอี ธาตุพนม เรณูนคร นาแก จังหวัดสกลนคร ได้แก่ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ อำเภอกุฉินารายณ์ เขาวง สหัสขันธ์ ส่วนผู้ไทผู้ เข้าสู่ภาคกลางในจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี ในย่านนั้นเรียกว่า “ลาวโซ่ง” กลุ่มชาติพันธ์ุผ้ไู ท เป็นคนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และอาณาจักรล้านช้าง การเคลื่อนย้าย ของชาวผู้ไท เข้าสู่ภาคอีสานมีหลายครั้ง และมาจากที่ต่าง ๆ จึงทำให้กลุ่มผู้ไทที่เข้ามาอยู่ใน จังหวดั สกลนคร เรียกช่อื ตัวเองตามแหลง่ เมืองเดมิ ของตน เช่น ผูไ้ ทวัง คอื ผู้ไทที่อพยพมาจาก เวง เมอื งวัง มาตง้ั บา้ นเรือนอยู่แถบอำเภอพรรณนานิคม ผ้ไู ทกระป๋อง คือ กลุ่มผู้ไทที่อพยพมา จากเมืองกะปอง มาตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอวาริชภูมิ ผู้ไทกะตาก คือ ผู้ไทที่อพยพมาจาก เมอื งกะตาก มาตงั้ บ้านเรือนอยูแ่ ถบตำบลโนนหอม และแถบ รมิ หนองหาร ทางทศิ ใต้ กลุ่มชาติ พนั ธ์ุผูไ้ ทมีลกั ษณะความเป็นอยแู่ บบครอบครัวใหญ่ในบ้านเดียวกนั เปน็ กล่มุ คนทำงานทีม่ ีความ ขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ ทำงานได้หลายอาชีพ เช่น ทำนา ทำไร่ ค้าวัว ค้าควาย นำกองเกวียน บรรทุกสินค้าไปขายต่างถิ่นเรียกว่า “นายฮ้อย” ผู้ไทเป็นกลุ่มที่พัฒนาได้เร็วกว่ากลุ่มชาติพันธุ์ อื่น ๆ มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้มแข็งในการปกครอง มีหน้าตาที่สวย ผิวพรรณดี กิริยามารยาทแช่มช้อย มีอัธยาศัยไมตรีในการต้อนรับแขกแปลกถิ่นจนเป็นที่กล่าวขวัญถึง ชาวผู้ไทนิยมนุ่งผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อ เป็นผืนเดียวกันกับผ้าผืนกว้างประมาณ 4 - 5 นิ้ว ย้อมคราม เกือบสีดำ เรียกว่า ผ้าดำหรือซิ่นดำ สวมเสื้อแขนกระบอกสามส่วน สำดำขลิบแดง ติดกระดุม เงิน หรือเหรียญสตางค์ หรือกระดุมขาวมาติดเรียงสองแถวห่มด้วยผ้าขิดพื้นเมือง เปลือยไหล่ ด้านขวา ห่มด้านซ้ายและมัดชายผ้าสีข้างด้านขวา นิยมสวมสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า ด้วย โลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรง ใช้ผ้ามนหรือแพรมนทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูก มวยผม วัฒนธรรมประเพณีชาวผู้ไท มีเอกลักษณ์เป็นจุดเด่นหลายประเภท เช่น การแต่ง ทำนองดนตรี เรียกว่า “ลายผู้ไท” มีบ้านแบบผู้ไท คือ มีป่องเอี้ยม เป็นช่องลม มีประตูป่อง หน้าต่างยาวจรดพื้น มีห้องภายในเรือนเป็นห้อง ๆ ที่เรียกว่า “ห้องส่วม”นอกจากนั้นยังมี วัฒนธรรมการทอผ้าห่มผืนเล็ก ๆ ใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาวใช้คลุมไหล่ เรียกว่า ผ้าจ่อง นอกจากนี้แล้วยังมีผ้าแพรวา ใช้ห่มเป็นสไบ ซึ่งมีแหล่งใหญ่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัด กาฬสินธุ์ และมีผ้าลาย ใช้เป็นผ้ากั้นห้องหรือห่มแทนเสื้อกันหนาวได้ ซึ่งมีแหล่งใหญ่อยู่บ้าน นางอย อำเภอเตา่ งอย จงั หวดั สกลนคร ประเพณีที่สำคญั ของชาวผ้ไู ทซึ่งถือกันแตโ่ บราณ ได้แก่ การลงขว่ ง พิธีแตง่ งาน การทำมาหากิน การถอื ผี และการเล้ียงผี
26 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) การอพยพของชาวผู้ไทเขา้ สู่ประเทศไทย มี 3 คร้ังด้วยกัน คอื ครั้งที่ 1 สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321 - 2322 เมื่อกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ได้นำกองทัพไทยสองหมื่นคนตีหัวเมือง ลาว ตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์เอาไว้ได้ หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์มาก่อนก็นำ กำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย แม่ทัพไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไ ปตีเมืองทันต์ (ญวนเรียก ซือหวี) เมืองมวย ซึ่งเป็นเมืองของชาวภูไทดำได้ทั้งสองเมือง แล้วกวาดต้อนชาว ผู้ไทดำ (ลาวทรงดำ) เป็นจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี นับเป็นชาวผู้ไทรุ่นแรกที่มา ตงั้ ถน่ิ ฐานในประเทศไทย ครั้งที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2335 กองทัพเวียงจันทน์ตีหลวงพระบางแตกและ จับกษัตริย์หลวงพระบางส่งกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2335 - 2338 กองทัพเวียงจันทน์ได้ตีเมืองแถง และเมอื งพวน ซงึ่ แข็งขอ้ ต่อเวยี งจันทน์ กวาดตอ้ นชาวผูไ้ ทดำ ลาวพวนเป็นเชลยส่งมากรุงเทพฯ รัชกาลที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ชาวภูไทดำประมาณ 4,000 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรีเช่นเดียวกับ ชาวภูไทดำรุ่นแรก ครั้งที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เข้ามาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สาเหตุของการอพยพ คือ เกดิ กบฏเจ้าอนวุ งศ์ใน พ.ศ. 2369-2371 และเกดิ สงครามระหวา่ งไทยกบั เวยี ดนามในระหว่างปี พ.ศ. 2376 - 2490 ยุทธวิธีของสงครามสมัยนั้น คือ การตัดกำลังฝ่ายตรงข้ามทั้งฝ่ายไทยและ เวียดนามต่างกวาดต้อนประชากรในดินแดนลาวมาไว้ในดินแดนของตนสำหรับ ประชากรใน ดินแดนลาวที่ถูกไทยกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยจะมีทั้ง ผู้ไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกวาดต้อนมาไว้ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่น ฐานทั้งในภาคอีสาน และภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัด เพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม เป็นต้น ชาวผู้ไทที่ถูกกวาดต้อนมาในระลอกที่ 3 จะ แยกเปน็ กลมุ่ ด้วยกัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ไดด้ ังนี้คอื 1.จังหวัดสกลนคร อำเภอพรรณานิคม เมืองสกลนคร อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน บ้านม่วง อำเภอวานรนิวาส อำเภอกุสุมาลย์ และ อำเภอสว่างแดนดินบ้านกุด บาก 2. จังหวัดนครพนม อำเภอนาแก อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม อำเภอศรี สงคราม และอำเภอเมืองนครพนม 3. จังหวัดมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอนิคมคำ สร้อย อำเภอดอนตาล และอำเภอหนองสงู 4. จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอคำม่วง อำเภอสมเด็จ และอำเภอสหสั ขนั ธ์
วารสารสงั คมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 27 5. จงั หวดั หนองคาย อำเภอโซพ่ สิ ยั อำเภอบึงกาฬ และอำเภอพรเจริญ 6. จงั หวดั อำนาจเจริญ อำเภอเสนางคนคิ ม และอำเภอชานมุ าน 7. จังหวดั อุดรธานี อำเภอวงั สามหมอ และอำเภอศรธี าตุ 8. จงั หวดั ยโสธร อำเภอเลงิ นกทา 9. จงั หวัดรอ้ ยเอด็ อำเภอโพนทอง ภาพท่ี 1 สภาพบ้านเรือนกลุ่มชาตพิ นั ธุ์ผูไ้ ท 2. การเปลี่ยนแปลงของดนตรีผู้ไท ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยสามารถแยกออกเป็น ลกั ษณะเฉพาะได้ดังนีค้ อื 2.1 ด้านเครื่องดนตรีของกลุ่มชาติพันธ์ผุ ู้ไท เปน็ เครอื่ งดนตรที ีเ่ ก่าแก่ของกลุ่ม ชาติพนั ธุ์ผไู้ ท ในลุ่มแม่น้ำโขง มีลกั ษณะพิเศษมีเอกลักษณะเฉพาะตัว นา่ ศึกษาเรียนรู้เป็นอย่าง ย่ิง มเี สนห่ ใ์ นตัวของดนตรเี อง มกี ารสบื ทอดการทำเคร่อื งดนตรีจากร่นุ สูร่ นุ่ รปู แบบยงั คงด้ังเดิม โดยการนำเอาวัสดุจากธรรมชาติมาทำเครื่องดนตรี ได้แก่ ปี่ผู้ไท ซอบั้งไม่ไผ่ แคน และเครื่อง ประกอบจังหวะ เป็นต้น ด้านเครื่องดนตรี กล่าวได้ว่าคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีกลุ่ม ชาติพันธุ์ผู้ไทนั้น ทั้งรูปแบบ ทั้งลักษณะทางกายภาพ รวมถึงวัสดุที่ใช้ทำ ยังคงรูปร่างเช่นเดิม ไมม่ กี ารเปลยี่ นแปลง ไมว่ า่ จะอยูใ่ นสปป.ลาว หรือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เองก็ดี ด้วยความเปน็ เอกลกั ษณ์บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์เป็นที่โดดเด่น ลักษณะของเสียง ยังคงเน้นสำเนียงความเป็นดนตรีผู้ไทของเสยี งได้เป็นอย่างดี รวมถึงลักษณะการบรรเลง ช่างท่ี ทำเครื่องดนตรีถึงแม้ว่าจะมีอยู่น้อยก็ตาม แต่กระบวนการถ่ายทอดรวมถึงฝีมือด้านช่างทำให้ เครื่องดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยังคงลักษณะรูปร่างทางด้านกายภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลง เว้นเสียแต่วัสดุที่ใช้ทำลิ้นแคนและลิ้นปี่ผู้ไท ที่ช่างทำลิ้นหามาแทนวัสดุเดิมจากเคยใช้เหรียญ ในสมัยโปราณ มาใชว้ ัสดทุ ดแทน เชน่ เข็มขัดเงนิ ทองคำ เป็นต้น
28 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ภาพท่ี 2 เครอ่ื งดนตรีกลุ่มชาตพิ ันธ์ผุ ูไ้ ท แคน ปผี่ ้ไู ท และซอบัง้ ไมไ่ ผ่ 2.2 ด้านวงดนตรีผู้ไท แยกออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ วงสำหรับประกอบ พิธีกรรมเหยา และวงดนตรีสำหรับการบรรเลงเพื่อความบันเทิงประกอบการลำผู้ไท งานบุญ ประเพณีต่าง ๆ เช่น ในงานบุญพระเวสฯ ในสมัยก่อนหนุ่มผู้ไทจะนิยมนำเครือ่ งดนตรีรวมกลมุ่ กนั บรรเลงเดินทางไปหาสาวคนรัก เป็นการจบี กนั ของหนุ่มสาวผ้ไู ทสมยั อดีต ขณะเดินทางไปใน ยามหัวค่ำ ร้องรำไปเรื่อย ๆ จนดึก ในการบรรเลงและเดินไปตามหมู่บ้าน หรือการเดินเลาะ บ้านไปคุยสาว (การเกี้ยวพาราสี) โดยการเลาะไปตามตูบ ตามผาม (ปะรำ) พร้อมกับลำเกี้ยว สาวไปด้วย ซึ่งเรียกว่า “ลำเลาะตูบ” การผสมวงของดนตรีผู้ไม่มีกำหนดมาตรฐานตายตัว ไมก่ ำหนดชัดเจน แตข่ นึ้ อย่กู บั ความสะดวกและสง่ิ ทพ่ี อจัดหามาได้ประกอบกับวงดนตรี ซง่ึ จะมี แคนทเ่ี ป็นเครอื่ งดนตรีหลักสำคัญท่ีสุดของดนตรีผู้ไท เพราะการบรรเลงดนตรีทกุ อย่างของกลุ่ม ชาติพันธุ์ผู้ไทจะต้องอิงแคนเป็นหลักและทำนองเพลงของเครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ยึด แบบกลับเพลงของแคนท้ังส้นิ และเคร่ืองดนตรีสว่ นใหญ่ก็จะประกอบด้วย แคน ปี่ผู้ไท ซอบ้ังไม่ ไผ่ ที่เป็นหลัก ๆ ส่วนเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น กลอง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้นแต่ถ้าเป็นวงดนตรีที่บรรเลงประกอบการฟ้อนรำนั้น เครื่องดนตรีที่สำคัญ คือ กลอง โดยทั่วไปจะใช้กลองหาง (กลองยาว) กลองตุ้ม (กลองที่มีสองหน้า) ด้านวงดนตรี ถึงแม้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทจะรักษารูปแบบวงดนตรี การบรรเลงต่างๆ ไว้ก็ตาม แต่ก็พบว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ค่อย ๆ ผสมกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท กลุ่มชาติ พันธุ์ผู้ไทที่อพยพจากภาคกลางของ สปป.ลาว เมื่อเข้ามาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยยังคงสืบทอดประเพณีความเชื่อ รวมถึงเรื่องของการร้องลำ ทำเพลง ดนตรีเอาไว้ โดยสัมพันธ์กับพิธีกรรม คือ “เหยา” รักษาการเจ็บป่วย มีความสอดคล้องกับประเพณี 12 เดือน ด้วยสำเนียงภาษา และดนตรีที่โดดเด่นมีความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ลาว จึงเกิด การรวมตัวกันภายในกลุ่มชาติพันธุ์ไปสู่การแสดงในแต่ละท้องถิ่น รวมถึงการจัดการประกวด
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชงิ พทุ ธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 29 ดนตรีและศิลปะหัตกรรมของ สปฐ. จนทำให้รูปแบบของดนตรีผู้ไทพัฒนาประกอบการแสดง ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ในเชิงธุรกิจ นำไปสู่การจัดกิจกรรมผู้ไทในระดับอำเภอ จังหวัด มีการตุ้มโฮมผู้ไทนานาชาติ และผู้จัดโลก ซึ่งมีการจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 นอกจากนั้นเครื่องดนตรี ตะวันตกที่นำเข้ามาบรรเลงร่วมกับดนตรีผู้ไท การนำเอาเครื่องดนตรีผูไ้ ปประกอบกับบทเพลง สมัยนิยม ด้วยความเจริญทางเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต การสื่อสารที่ก้าวหน้าทันสมัย แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงในกระแสธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดนตรีผู้ไทได้รับการเรียนรู้ จากผู้สนใจแพร่หลาย มีการถูกทำซ้ำ ดัดแปลงและบันทึกไว้ในลักษณะรูปแบบดั้งเดิม และ รูปแบบการประยุกต์ ปรับใช้ระบบเสียงของดนตรีตะวันตก นำเครื่องดนตรี เช่น กลองชุด คีย์บอร์ด เบส เข้ามาร่วมบรรเลงร่วมกัน มีการบันทึกเสียงเพื่อจำหน่าย กระแสสังคม โลกาภิวัตน์ทำให้การฟังดนตรีลักษณะการบรรเลงสดเริ่มลดน้อยถอยลง คงยังเหลือบทบาทที่ การบรรเลงคู่กับพิธีกรรมเหยา ที่ยังคงเล่นดนตรีสดๆ และการประกอบการแสดงของกลุ่ม วฒั นธรรม หรือกลุ่มโรงเรียน ที่อยบู่ รบิ ทพ้นื ท่ีของกลุ่มชาติพันธผุ์ ูไ้ ทอยบู่ ้าง ภาพท่ี 3 วงดนตรปี ระกอบพิธีกรรมเหยา และวงดนตรเี พอ่ื ความบันเทิง
30 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) 2.3 ด้านบทเพลง หรือลายของดนตรีผู้จะมีอยู่ทำนองเดียวแต่เล่นได้สองลาย คอื ลายใหญ่ กับลายน้อย ดนตรขี องกลมุ่ ชาตพิ ันธุผ์ ้ไู ทมีทั้งทำนอง และเสยี งประสานโดยมีแคน เป็นเครื่องดนตรีหลัก แม้ว่าระบบเสียงของแคนจะมี 7 เสียง แต่ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท จะเลือกใช้ 5 เสียง (โด เร มี ซอล ลา) เท่านั้น หรือระบบเสียงของดนตรีตะวันตกเรียกว่า Pentatonic scale สายใหญ่ หรือเสียงทางทุ้ม ประกอบด้วยโน้ต ลา โด เร มี ซอล หรือ เรียกชื่อว่า “ลายผู้ไทใหญ่” นิยมใช้สำหรับหมอลำฝ่ายชาย ส่วนลายน้อย หรือทางเสียงแหลม ประกอบด้วยโน้ต เร ฟา ซอล ลา โด หรือเรียกชื่อว่า “ลายผู้ไทน้อย” นิยมบรรเลงกับหมอลำ ฝ่ายหญิง ประกอบพิธีกรรมเหยา (ลำฝีฟ้า) การดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีจะมีการแบ่ง วรรคตอนออกเป็นประโยคสั้น ๆ ประโยคละ 4 จังหวะ โดยการบรรเลงซ้ำวนไปวนมา และใช้ ความสามารถของผูบ้ รรเลงทีค่ ิดจะเปลี่ยนทำนองให้มคี วามน่าสนใจหรือเรียกกันว่าเป็นการด้น สด (Improvisation) นั้นเอง การเรียกชื่อบทเพลงว่า “ลาย” ลายลำผู้ไทใหญ่ ลายผู้ไทน้อย ลายผู้ไทเลาะตูบ เป็นต้น ด้านบทเพลง เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กระแสความนิยมในบท เพลงสมัยใหม่ เกิดการผสมผสานนำเอาเครื่องแต่ก็ยังมีการบรรเลงแบบดั้งเดิม คือ ดนตรีที่ใช้ ประกอบกับพิธีกรรมเหยา ยังคงใช้แคน และปี่ผู้ไทเป็นหลัก บรรเลงประกอบการลำ และ การพูดพญา ในการประกอบพิธีกรรมด้วย นอกจากนั้นเสียงประสานของดนตรีผู้ไท เกิดขึ้นได้ 3 ลกั ษณะดว้ ยกนั คอื เสยี งประสานทเ่ี กดิ ขึ้นภายในเคร่อื งดนตรแี ต่ละชนิด เชน่ เสียงท่เี กิดจาก ทำนองเพลงและเสียงประสาน ชาวผู้ไทจะเรียกว่า “เสียงกล่อม” จะเกิดขึ้นในซอบั้งไม้ไผ่ ในแคนจะเรียกว่า “เสียงเสพ” เสียงประสานที่เกิดขึ้นระหว่างเครื่องดนตรีภายในวง เช่น การดำเนนิ ทำนองหลกั ของบทเพลงเครื่องดนตรีจะยึดทำนองของแคน ด้วยธรรมชาตขิ องเครื่อง ดนตรีแต่ละชนดิ ท่ีเปน็ ธรรมชาติเกิดการประสานเสยี งที่เรียกกันตามหลักทางดนตรีตะวันตกว่า เปน็ ทำนองแบบ เฮด็ เทโรโฟน่ี (Heterophony) และเสียงประสานทเ่ี กดิ ขึ้นระหวา่ งวงดนตรีกับ เสียงลำ เมื่อวงดนตรีบรรเลงประกอบการลำผู้ไท เสียงลำจะทำหน้าที่เป็นทำนองหลัก ในขณะเดียวกันที่เสียงวงดนตรีทำหน้าทเี่ ปน็ เสียงกล่อม หรอื เสียงประสานในลักษณะท่ีบรรเลง ให้จังหวะลีลาเป็นประโยคสั้น เล่นวนซ้ำไปซ้ำมา แต่ด้วยความการบรรเลงเกิดความซ้ำซาก นา่ เบ่ือ ผู้บรรเลงหรอื นักดนตรเี องจึงได้แปลทำนองหลักหรอื เป็นลักษณะการด้นทำนองนน้ั เอง อภิปรายผล 1. ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทบริบทผู้ไท จากการศึกษา การรีวิว ผู้ไทตอนแรก อยู่ในเมือง “นาน้อยอ้อยหนู” ซึ่งเป็นเมืองในจิตนาการ ที่เรียกนาน้อย อ้อยหนู คือ เป็นลักษณะของหญา้ มีพ้ืนทีน่ าน้อย มีพื้นที่บริเวณนัน้ อดอยาก การจิตนาการของ คนผู้ไทก็บอกว่ามาจากเมืองนาน้อยอ้อยหนู แล้วก็ มาจากเมืองเดยี นเบียนฟู เมื่อเกิดความแห้ง แล้งอดอยากมาก ผู้ไทก็เริ่มอพยพมาบริเวณแคว้นสิบสองจุไท มาอยู่ 2 เมืองหลัก ก็คือ เมอื งแถง และเมืองไล เป็นกลุม่ ผูไ้ ทขาว กบั กลุ่มผ้ไู ทดำ ในบรเิ วณเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใตม้ ีการ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พุทธ ปีที่ 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | 31 เคลื่อนไหวของชาติพันธุ์ หรือการเดินทางชาติพันธุ์ ในช่วงนั้นสยามเข้มแข็งมาก มีการขึ้นไปตี เมืองสิบสองจุไทย หลังจากการกบฏ ของพวกญวน ชาวผู้ไทจึงถูกกวาดต้อนมาสมัยช่วงรัชกาล ที่ 1 เอามาอยู่แถว ๆ เมืองเพชรบุรี อีกครั้งหนึ่งเม่ือมันเกิดปัญหาชาวผู้ไทส่วนหนึ่งก็อพยพมา เมืองวัง ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของประเทศลาว แล้วก็บางส่วนลงมาที่เวียงจันทน์ ก็เรียกว่า “ลาวเก่า” ช่วงอพยพ ชาวผู้ไทก็เร่ิมมีการเลา่ ถึงการสรา้ งจินตนาการว่าตนเองเป็นพวกที่ฉลาด หลักแหลม ชนะกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และได้กลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเป็นผู้นำในพื้นที่ใหม่ ๆ แล้วก็ปัญหาที่เกิดอย่างหนึ่งในการอพยพลงมาบริเวณเมืองเวียงจันทน์ หรือเมืองผู้ไทวัง ก็คือ หลังจากการเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ ผู้ไทถูกกวาดต้อนให้เข้ามาสู่ประเทศไทยอีกคร้ังเพื่อเป็น การลดจำนวนประชากร เข้ามาสองพื้นที่หลัก ก็คือในบริเวณแอ่งสกลนคร บริเวณเรณูนคร เมืองสกลนครและอีกส่วนหนี่ง ก็อพยพมาที่สงครามปราบฮ่อที่เพชรบุรี อันนี้ก็คือ ผู้ไท ก่อนบริบทรัฐชาติซึ่งเดินทางเป็นเรื่องปกติ ลักษณะอีกหนึ่งอย่างก็คือ การกวาดต้อนผู้คนมาไว้ แล้วก็ปล่อย แล้วก็ถูกปกครองในระบบที่เป็นกลุ่มชุมชนดั้งเดิมปล่อยไว้เป็นอิสระ (สุวิทย์ ธีร ศาศวัต และณรงค์ อุปัญญ์, 2538) 2. การปรับตัวของดนตรีผู้ไทในลุ่มแม่น้ำโขง หรือการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทาง ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท จากเดิมเคยมีกิจกรรมประเพณีที่มีบทบาทด้านการอบรมสั่งสอน ลูกหลาน ไม่ว่าจะเป็นการละเล่น วรรณกรรม ดนตรี อีกทั้งความงามทางวัฒนธรรม เพื่อให้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและธรรมชาติ การจากไปของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน กิจกรรม ประเพณี บางอยา่ งแทบจะไม่มใี หเ้ หน็ เทา่ ที่ควร โลกเขา้ ส่ยู คุ โลกาภวิ ัตน์ การรอ้ งรำทำเพลงแบบสมัยนิยม (Popular Music) แต่ก็ยังพอมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมอยู่บ้าง ผ่านระบบการศึกษา การ ฟ้นื ฟูภูมิปัญญาด้ังเดิมให้กลับมาอีกครั้ง เม่อื ปลอดจากอำนาจทางวัฒนธรรม จงึ ทำให้เกิดความ เสรเี ตม็ ท่ี มีชอ่ งทางเปิดกวา้ งรบั แนวคดิ สร้างสรรค์ เพ่อื ปรับตวั เคลื่อนไหวไปกบั วัฒนธรรมท่ีเข้า มาใหม่ๆ ในโลกทุนนิยม มีการปรับตัวเปน็ ระยะ ๆ ตามการเปลีย่ นแปลงของศูนยก์ ลาง รัฐชาติ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการปรับตัวของวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท เกิดการบรรเลงทั้ง รูปแบบดั้งเดิม บรรเลงบทเพลงลูกทุ่ง เพลงสมัยนิยม หมอลำหมอแคนพัฒนาปรับตัวเข้ากับ วัฒนธรรมยคุ ใหม่ รอ้ งเพลงลกู ท่งุ ตามกระแส หรอื ตามเจ้าภาพ (ผวู้ ่าจ้าง) จนเปน็ หมอลำลูกทุ่ง สตริง จนแยกกันไม่ออก ไม่แตกต่างจากส่ิงทีเ่ คยเกิดข้นึ มาก่อน ซ่ึงไดแ้ ก่ เพลงลูกทุ่งเอาทำนอง เพลงไทยเดิม ทำนองลิเก เพลงฉ่อย ลำตัด แหล่ (เทศน์มหาชาติ) เกิดการโกอินเตอร์ เป็นทรี่ ู้จักของคนทั่วโลก (สเุ ทพ ไชยขนั ธุ์, 2556) สรปุ /ขอ้ เสนอแนะ ประวัติความเป็นมา กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทมีประวัติความเป็นมาของชาวผู้ไทที่พูดภาษา ผู้ไท ภูมิลำเนาเดิมมีบรรพบุรุษมีต้นกำเนิดอยู่บริเวณสิบสองจุไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ในทางตอนใต้ ของประเทศจีนเมื่อราว 2,500 ปี ชาวผู้ไทอพยพเขา้ มาในประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และ
32 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ประเทศไทย ซึ่งบรรพบุรุษมาจากเมืองวังชาวผู้ไทยังแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ไทขาว ผู้ไท แดง และผู้ไทดำ โดยชาวผไู้ ท ในประเทศไทยอาศัยรว่ มกนั เปน็ กล่มุ ปนกนั คนลาวหรอื คนอสี าน และชนกลุ่มอื่นๆ ที่พูดภาษาตระกูลไท ในภาตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย ชาวผู้ไทแต่ ละกลุ่มยังมีข้อถกเถียงกันในเรื่องการเรียกชื่อกลุ่มของตนอยู่บ้าง เพราะมีการเขียนสะกดที่ไม่ เหมือนกัน เช่น ภูไท ภูไทย ผู้ไทย ผู้ไท พู่ไท ภู่ไท ซึ่งเป็นการเขียนสะกดตามที่สืบทอดกันมา ในกลุ่มตน โดยบางกลุ่มสัมพันธ์กับการออกเสียงในภาษาท้องถิ่นของตนด้วย การตั้งถิ่นฐาน กระจัดกระจายอยู่ทั่วใน สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มากที่สุดที่แขวงสะหวันนะ เขต และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวผู้ไท นิยมอาศัยทีร่ าบลุ่ม อยู่ในบรเิ วณ เขตภูเขา อาศัยตามแหลง่ น้ำเปน็ ปจั จัยสำคัญ เป็นหมูบ่ า้ นกลุ่มชาติพันธ์ผู้ไท สรุปผลการศึกษา ได้ว่า กลุ่มชาติพนั ธุ์ผูไ้ ท เป็นกลุม่ ทีอ่ าศัยกระจัดกระจายอยู่หลายที่โดยส่วนใหญ่การตั้งถ่นิ ฐาน ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทนั้น จะอพยพโยกย้ายมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษ ที่ 14 เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน มาจาก เมืองต้นทางสำคัญ 4 เมือง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ได้แก่ เมืองวัง เมืองเซโปน เมืองกะปอง และเมืองคำอ้อคำเขียว 1) ข้อเสนอแนะ เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1) ควรส่งเสริมให้นำกระบวนการต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์ดนตรีผู้ไท แบบดั่งเดิม และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ในโอกาสต่าง ๆ 1.2) ควรมีการพัฒนาในเรื่องเอกสาร เพื่อประกอบการเรียนการสอนเรื่องดนตรีผู้ไท เพื่อเป็นแนวทางในการจักกระบวนการเรียนรู้ และเน้นการอนุรักษ์ของดั้งเดิม รวมถึงต่อยอดให้ดนตรีผู้ไทมีบทบาทหน้าที่รับใช้สังคมต่อไป นอกจากนั้นการปรับตัวที่ดี ควรควบคู่กับการอนุรักษ์ของดั้งเดิมไว้ด้วย ให้เป็นที่รู้จักของคน ทั่วไป 2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ศึกษารวบรวมดนตรีผู้ไทในเชิงวิชาการ หารปู แบบทเี่ ปน็ ทั้งแบบแผน และการผสมผสานดนตรีในรูปแบบอนื่ ๆ 2.2) ศึกษาดนตรีผู้ไทท่ี อยู่ในพนื้ ท่ีอื่นๆ นอกจากในภูมิภาคลุ่มแมน่ ้ำโขง เชน่ ในประเทศเวียดนาม ในประเทศจีน เป็น ต้น 2.3) ศึกษาวิธีการรูปแบบการอนุรักษ์ และการปรับตัวของดนตรีผู้ไทในเชิงวิชาการ และ บูรณาการเพื่อรับใช้สังคมต่อไป 2.4) ส่งเสริมรูปแบบดนตรีผู้ไทในอัตลักษณ์ เข้ากับ โลกยุคดิจิทอล เพ่อื แสดงตัวตน และการเผยแพร่ดนตรีผู้ไทสรู่ ะบบการศกึ ษา เอกสารอ้างองิ เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2529). ดนตรีผู้ไท. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร สาขาวิชา ดรุ ิยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม. ชยั บดินทร์ สาลพี ันธ์. (2541). ฟอ้ นรำภูไท เมอื งเรณนู คร. กรงุ เทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวทิ ยา สริ ินธร. ถวิล ทองสว่างรัตน์. (2530). ประวัติชาวผู้ไทยและชาวผู้ไทยเมืองเรณูนคร. กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันต์.
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชงิ พุทธ ปีท่ี 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 33 บุญยงค์ เกศเทศ. (2551). วัฒนธรรมเผ่าพันธุ์มนุษย์. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. ภทั ยา ยมิ เรวัต. (2544). ประวตั ิศาสตรส์ ิบสองจไุ ท. กรงุ เทพมหานคร: สร้างสรรค.์ วญิ ญู ผลสวัสดิ. (2536). การเล้ียงผีบรรพบุรษุ ของชาวผ้ไู ท ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จงั หวัด มุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทคดีศึกษา. มหาวิทยาลัย ศรนี ครนิ ทรวิโรฒมหาสารคาม. สุเทพ ไชยขันธุ์. (2556). ผู้ไท ลูกแถน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท ตถาดา พับลิเคช่ัน จำกดั . สุรพล เนสุสินธุ์. (2555). แคนของกลุ่มชาติพันธ์ไตในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง : แหล่งกำเนิด การแพร่กระจาย และ แนวทางการพัฒนา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ดุริยางคศิลป์ดุษฎีบัณฑิต สาขาดนตรวี ทิ ยา. มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม. สวุ ทิ ย์ ธีรศาศวตั และณรงค์ อปุ ญั ญ์. (2538). การเปลย่ี นแปลงวถิ คี รอบครวั และชมุ ชนอีสาน : กรณีผไู้ ทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น. สวุ ทิ ย์ ธรี ศาศวัต และณรงค์ อุปญั ญ.์ (2538). การเปล่ยี นแปลงวถิ คี รอบครวั และชมุ ชนอีสาน : กรณีผู้ไทย. ใน วิทยานิพนธมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์และ โบราณคด.ี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รูปแบบการบรหิ ารเพื่อพฒั นาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรยี นบา้ นดอนแยง สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4* THE MENEGEMENT MODEL FOR DEVELOPMENT TO QUALITY SCHOOLS OF BAN DONYANG SCHOOL UNDER THE CHIANGRAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4 ทนงศกั ดิ์ โพธิ์เกตุ Thanongsak Phoket สำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษาเชียงราย เขต 4 The Chiangrai Primary Educational Service Area Office 4, Thailand E-mail: [email protected] . บทคดั ยอ่ บทความฉบบั นม้ี วี ัตถปุ ระสงคเ์ พ่ือสร้าง ทดลองใช้ และประเมินรปู แบบการบรหิ ารเพ่ือ พฒั นาสโู่ รงเรยี นคุณภาพของโรงเรยี นบ้านดอนแยง สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 4 โดยวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน 1) การสร้างรูปแบบฯ โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารท่เี กีย่ วข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวฒุ ิ ยกรา่ งและตรวจสอบความเหมาะสม ของรูปแบบฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน 2) การทดลองใช้รูปแบบฯ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 กับครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 78 คน รวมจำนวน 87 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบฯ แบบประเมินโรงเรียนคุณภาพ แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ 3) การประเมินรูปแบบโดยครูและบุคลากร ทางการศึกษา จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้วเิ คราะห์ข้อมลู ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบฯ มี 6 องค์ประกอบ ไดแ้ ก่ 1) หลกั การ 2) จดุ มุ่งหมาย 3) องค์ประกอบของโรงเรียน คุณภาพ 4) กระบวนการบริหาร 7 ขั้นตอน 5) ผลผลิต และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบฯ โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบของโรงเรียนคุณภาพโดยรวมมีคุณภาพอยู่ใน ระดับดี นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าปีการศึกษา 2561 คะแนนเฉลี่ย เพิ่มขึ้น 9.94 และความพึงพอใจโดยอยู่ในระดับมากที่สุด (������̅ = 4.76, S.D. = 0.04) และ * Received 13 November 2020; Revised 11 January 2021; Accepted 18 January 2021
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พุทธ ปีท่ี 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 35 รูปแบบมีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (������̅ = 4.66, S.D. = 0.17) คำสำคญั : รปู แบบการบรหิ าร, โรงเรียนคุณภาพ, การบรหิ าร Abstract The objectives of this article were to create to implement and to evaluate the management model for development to quality schools of Ban Donyang School under the Chiangrai Primary Education Service Area Office 4 by research and development methodology 3 steps; (1) to create the management model by literature reviewing, the scholars interview, drafting the model and checking and the models’ suitability and feasibility assessment by 7 the academic experts. The data were collected by interviewing and questionnaires. (2) To implement the management model in 2/2562 semester by 9 teachers and 78 students. The research tools were the model manual, questionnaires and summary form. (3) To evaluate the management model. The data was collected from 9 teachers by questionnaire. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation. The finding showed as follow: (1) The management model for development to quality schools of Ban Donyang School under the Chiangrai Primary Education Service Area Office 4 consist of 6 elements; (a) Principle, (b) objectives, (c) 7 quality school elements (d) 7 steps of the management process (e) outputs and (f) success factors and the management model’s suitability and feasibility in overall were the highest level. (2) The implement results the management model showed the self-assessment based on the quality school elements was high level, the students had higher academic achievement than 2561 academic year and the stakeholders’ satisfaction in overall were the highest level (������̅ = 4.76, S.D.=0.04). (3) The evaluation results of the management model for development to quality schools of Ban Donyang School under the Chiangrai Primary Education Service Area Office 4 in feasibility standards, Utility standards and propriety standards were the highest level (������̅ = 4.66, S.D.=0.17). Keywords: The Management Model, Quality Schools, Management.
36 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) บทนำ โรงเรียนเป็นองค์การทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยมีเจตนารมณ์ท่ี จะยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนใหเ้ ป็นคนดี คนเก่ง สามารถดำรงชีวิตในสงั คม ได้อย่างมีความสุข โดยแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายการ พัฒนาคนในศตวรรษท่ี 21 ให้มีทักษะการเรียนรู้ การอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ มีทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการคิดแก้ปัญหา ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการ ทำงานและมีความรอบรู้ พัฒนาคนให้เหมาะสมตามช่วงวัย มีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทาง สังคมเป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวิจัย และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ส่วนรวม โดยปจั จยั สำคญั ที่สง่ ผลใหก้ ารพฒั นาคนให้ประสบความสำเรจ็ และมีคุณภาพ คอื การ ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การจัดกิจกรรมกระบวนการ เรียนรู้ตามหลักสูตร อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน มีแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรมการเรียนรูท้ ีม่ ีคุณภาพ มี ระบบและกลไกการวัด การติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ (ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย, 2560); (อัจฉรา นยิ มาภา, 2561) การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและ คุณภาพ ดังจะเห็นได้จากรายงานการวิจัย รายงานสภาวะการศึกษาไทย แนวคิดของ นักการศึกษาและนักวิชาการ ที่ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุการปฏิรปู การศึกษาของไทยที่ไม่สามารถ ไปถึงคุณภาพได้นั้น มีสาเหตุสำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) โครงสร้างการบริหารจัดการศึกษาเป็นแบบ รวมศนู ย์ 2) การเปล่ียนแปลงทางการเมืองสง่ ผลต่อการบรหิ ารจัด 3) ระบบการศกึ ษาไม่เอื้อต่อ การสร้างความรับผิดชอบ (Accountability) ทั้งในส่วนของการทดสอบ ระบบประเมินผล โรงเรียนและครู และระบบการเงินเพื่อการศึกษา 4) แนวคิดวัฒนธรรมที่มีต่อระบบการศึกษา ของคนไทยที่มุ่งเน้นการทดสอบแบบท่องจำ วัฒนธรรมการศึกษาเพื่อการแข่งขัน การประกวด การประเมิน รวมถึงการประเมนิ ของสถานศกึ ษาเพื่อรบั รางวัลนำช่ือเสียงมาสู่ครู ผ้บู รหิ าร และ โรงเรียน 5) หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ สื่อ และเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะ แห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เด็กไทยมีชั่วโมงเรียนมาก จำนวนวิชามาก และมีสัดส่วน จำนวนชั่วโมงต่อวิชาเรียนหลักอาจยังไม่เหมาะสม และ 6) ระบบการพัฒนาผู้บริหาร ครู และ บุคลากรทางการศึกษา พบว่า ยังไม่มีการประเมินสมรรถนะตามวิชาชีพที่แท้จริง ดังนั้นจึง จำเป็นต้องได้รับการพฒั นาการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ที่จะพัฒนาผู้เรยี นให้มีทักษะแห่งศตวรรษ ที่ 21 (มนต์นภัส มโนการณ์, 2561) นอกจากนี้ข้อมูลรายงานสภาพปญั หาการจัดการศกึ ษาขนั้ พื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พบวา่ สถานศึกษายงั คงมีปัญหาและ อุปสรรคในการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน โดยด้านวิชาการ พบว่า การจัดทำและพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาของแต่ละโรงเรียนขึ้นอยู่กับศักยภาพของครูในโรงเรียน มีการคัดลอกหลั กสูตร ระหวา่ งโรงเรยี น ขาดการพฒั นาและจัดหลักสูตรเฉพาะทางที่หลากหลายเพ่ือส่งเสรมิ ผู้เรียนที่มี
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 37 ความเป็นเลิศให้เทียบเคียงระดับนานาชาติ รวมถึงปัญหาด้านการบริหารและการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การนำนักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การนิเทศการศึกษา การแนะแนว ปัญหาด้านมาตรฐานและคุณภาพการจัดการศึกษา ปัญหาด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน สื่อและอุปกรณ์มีจำกัดและล้าสมัย ด้าน งบประมาณ พบว่า งบประมาณไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และไม่เอื้อต่อ การจัดห้องเรียนที่เปิดสอนตามโครงการพิเศษ การปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร วัสดุที่ชำรุด และ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ด้านการบริหารงานบุคคล พบว่า ครูไม่สอดคล้องกับความต้องการและ ความจำเป็นของโรงเรียน ขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษา และด้านการ บริหารทั่วไป พบว่า การระดมทรัพยากรทางการศึกษา การพานักเรียนไปนอกสถานศึกษาไม่ สอดคลอ้ งกับบริบทของแตล่ ะโรงเรยี น (สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน, 2556) ปัญหาดังกล่าวข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักถึง ความสำคัญในการพัฒนาการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) โดยมุ่งเนน้ การพฒั นาการศกึ ษาทง้ั ด้านคุณภาพ โอกาส และการมีสว่ นร่วม จงึ ได้กำหนดนโยบายให้มกี ารพัฒนาโรงเรยี นคุณภาพ ซ่งึ หมายถึง โรงเรียนท่สี ามารถบริหารจัด การศึกษาในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาครูและบุคลลากรทางการศึกษา การพัฒนาสื่อวัสดุอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และนำไปสู่องค์กรแห่งการ เรียนรู้ โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้ได้ผลผลิต คือ ผู้เรียนมี คุณภาพด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงตามมาตรฐานที่กำหนด โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้สร้างนวัตกรรมการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ เช่น โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล ที่เริ่มต้นพัฒนาโรงเรียนให้สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เป็น แหล่งเรียนรแู้ ละให้บริการแกช่ ุมชน ไปสู่การเปน็ โรงเรยี นมีคุณภาพ มีชอื่ เสียง มีสัมฤทธิ์ผลเป็น ที่ยอมรับ นักเรียนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ใฝ่ดี รักงานอาชีพ รักความเป็นไทย เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข โรงเรยี นคณุ ภาพประจำตำบลมุ่งพัฒนาโรงเรยี นคุณภาพในท้องถ่นิ ชนบทให้มคี วามเข้มแข็งทาง วิชาการและมคี วามพร้อมในการพฒั นาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชพี และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรยี นให้มคี ุณภาพ และโครงการโรงเรยี นมาตรฐานสากลที่มีจุดมุง่ หมายเพือ่ พัฒนา ผู้เรียนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ หมายถึง เป็นคนดี คนเก่ง สามารถที่ดำรงชีวิตได้อย่างมี คุณค่าและมีความสุข รวมทั้งเพิ่มศักยภาพและความสามารถในระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อการพึ่งตนเองและเพื่อสมรรถนะในการแข่งขัน และโรงเรียน ยกระดับคุณภาพสูงขึ้นสู่มาตรฐานสากล ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์รางวัล คุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) และตามเกณฑ์รางวัล คณุ ภาพแหง่ ชาติ (TQA) เปน็ ต้น
38 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ได้ส่งเสริมให้โรงเรียน ในสังกัดพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพ โดยมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาคุณภาพการ บริหารจัดการศึกษาด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดเล็ก มีการปรับปรุง และส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัดดำเนินการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม แกน่ กั เรียน การยกระดบั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นของโรงเรียนขนาดเล็กให้มีผลสัมฤทธ์ิทางการ เรียนในภาพรวมสูงขึ้น บริหารจัดการยกระดับคุณภาพการศึกษาบรรลุผลได้โดยการใช้ ยุทธศาสตร์การนิเทศ ติดตามรายโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอครบทุกโรงเรียน เพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในปี การศึกษา 2562 และมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น (สำนักงานเขตพื้นท่ี การศึกษาประถมศกึ ษาเชยี งราย เขต 4, 2560) โรงเรียนบ้านดอนแยงได้นำนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษามาปฏิบัติ โดยมุ่งพัฒนา สู่ความเป็นโรงเรยี นคุณภาพประจำตำบล กล่าวคือ เป็นโรงเรียนที่มีผลการประเมินตนเองตาม องคป์ ระกอบของโรงเรียนคุณภาพอยู่ในระดบั ดีขึ้นไป นกั เรยี นมผี ลสัมฤทธท์ิ างการเรียนเพิ่มขึ้น ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จากปีการศึกษาที่ผ่านมา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 และผู้เกี่ยวข้องมีความ พึงพอใจต่อการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียน ซึ่งการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและมาตรฐาน การศึกษาที่กำหนดไว้ การขับเคล่ือนการจัดการศึกษาจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติของโรงเรียน ต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม อาศัยความร่วมมือ การประสานงานของทุกภาคส่วนท่ี เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทั้งบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรปกครองส่วน ทอ้ งถ่นิ และผูบ้ ริหารตอ้ งมีภาวะผู้นำ มีการทำงานเปน็ ทีม โดยมคี รแู ละบุคลากรทางการศึกษา เป็นปัจจัยความสำคัญที่ช่วยให้การจัดการศึกษาเกิดคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชีย่ วชาญ จำเป็นต้องพัฒนาที่ตรงกับความ ต้องการจำเป็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของบุคคลและการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของการสร้าง ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชพี รวมทั้งการพัฒนาหลกั สตู รและกระบวนจัดการเรียนรู้ การพัฒนา สื่อการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา แหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอ้ือ ต่อการเรียนรู้ เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ทักษะ และคณุ ลกั ษณะอันพึงประสงคส์ ูงตามมาตรฐานทกี่ ำหนด ดังนนั้ การพฒั นาคุณภาพผู้เรยี นและคุณภาพการศึกษาของโรงเรยี นให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพนั้น จำเป็นต้องมีรูปแบบการบริหารที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และ มกี ระบวนการพฒั นาท่ีเหมาะสมและมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย ผ้วู ิจยั จึงมีความสนใจที่จะพัฒนา รปู แบบการบรหิ ารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรยี นบ้านดอนแยง โดยเป็นรูปแบบที่มี ความเหมาะสม มีประโยชน์ และมีความเป็นไปได้ สำหรับเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของนโยบายการศึกษา
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 507
- 508
- 509
- 510
- 511
- 512
- 513
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 513
Pages: