Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ศึกษาวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก/พระรัฐพงศ์ อาจิณฺณธมฺโม(ทองแปง)

ศึกษาวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก/พระรัฐพงศ์ อาจิณฺณธมฺโม(ทองแปง)

Published by MBU SLC LIBRARY, 2021-06-04 03:14:27

Description: หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัญญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Search

Read the Text Version

75 ครัง้ นั้นพระองค์กท็ รงทำถกู ต้องและได้รับคำสรรเสรญิ หากพระองค์ไม่ทำดังกล่าว คงยากทจ่ี ะได้หวน คืนพระนคร และพระสพั พัญญุตญาณคงไม่เกิดให้เป็นแสงสว่างกบั ชาวโลกได้ ในฐานะที่เป็นกษัตริย์ พระเวสสันดรเป็นกษัตริย์ท่ีมีแต่ให้ ซ่ึงเป็นข้อธรรมที่หนึ่งในหลัก ทศพิธราชธรรม คือการให้โดยไม่หวงั ผลตอบแทนเพ่ือบำบัดทุกข์บำรงุ สุขของประชาชน ผู้วิจัยเชื่อว่า พระองค์ต้องทรงเป็นท่ีรักของพสกนิกรชาวเมอื งสพี ี และเปน็ มติ รประเทศทีด่ ีของชาวแว่นแควน้ อืน่ ๆ และประชาชนก็ต้องเรียกร้องให้พระองค์หวนคืนมาปกครองบ้านเมอื ง เพราะกษัตริย์ที่มีแต่ให้นับว่า หาได้ยาก และพสกนิกรที่เขา้ มาอาศยั พระบารมกี ็จะพานพบแตค่ วามสงบสขุ ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ การท่ีจะเป็นพระโพธิสัตว์ได้นั้น จะต้องเป็นผู้มีความเสียสละ ความสุขของตนเอง เพ่ือประโยชน์สุขของมหาชนคนอื่น จะต้องบำเพ็ญในสิ่งท่ีสามัญชนทำได้ยาก พระเวสสันดรทรงเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญบารมใี นหลายภพหลายชาติ โดยเฉพาะทศชาติสุดทา้ ย ก่อนตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ในความเสียสละและหนักแน่นของพระองค์จึงน่าสรรเสริญและ ศรัทธาเลื่อมใสเปน็ อยา่ งยิ่ง2 จากการศึกษาวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก มี อทิ ธพิ ลต่อคนไทยในปัจจบุ ันมาก เพราะส่งผลสะท้อนออกมาทางแนวคดิ ตอ่ คนไทยในเรือ่ งของการให้ ทาน ท้ัง 3 ระดบั 1) ทานบารมี ขัน้ ต้น 2) ทานอุปบารมี ข้นั กลาง 3) ทานปรมัตถบารมี ข้นั สูง ทำให้มี จิตใจดี เออ้ื เฟ้ือเผ่ือแผ่ ช่วยเหลือกันและกัน และมีจิตแห่งการให้ทานเป็นลักษณะปกติวิสัย ซ่ึง ทาน ต้องขึน้ อยู่กับเจตนาท้ัง 3 ประการ คือ กอ่ นให้ กำลังให้ หลงั จากใหไ้ ปแล้ว รูปแบบในการให้มหี ลกั อยู่ 3 ประการ ได้แก่ เขตสมบัติ คือ บุญเขตถึงพร้อม ไทยธรรมสมบัติ คือ ไทยธรรมถึงพร้อม และจิตต สมบัติ คือ เจตนาถึงพร้อมการทำ น้ีถือได้ว่ามีเจตนาท้ัง 3 กาล เพราะตัวเจ้าของทานน้ันมีการชำระ จติ อย่ตู ลอดเวลา ถือวา่ ผู้ใหท้ านเปน็ ทานปติ คือ ผู้เป็นนายแหง่ ทาน ไม่ใช่เป็นทาสแห่งทาน สหายแห่ง ทาน แต่ให้ด้วยความเคารพต่อไทยทานด้วยเคารพต่อปฏิคาหกด้วย ประดจุ ใหแ้ ก่ผเู้ ป็นที่เคารพนับถือ และบูชาฉะน้ัน ถือได้ว่ามีผลต่อการให้ทาน น่ีเป็นรูปแบบของการให้ทานในสังคมไทยปัจจุบันนี้ ลกั ษณะการใหท้ ่ีปรากฏในพระไตรปฎิ กนั้น พระผ้มู ีพระภาคได้ตรัสกบั พระสารีบตุ รถงึ ทานที่ให้แล้วมี ผลดังที่ปรากฏในทานมหัปผลสูตร ว่าด้วยทานท่ีมีผลมากให้แล้วเกิดประโยชน์แก่ผู้รับเกิดความสุข สำราญกายสำราญใจ ทานทท่ี ำแล้วได้บญุ 3 ต้องพรอ้ มดว้ ยองค์ 3 คือ 2บรรจบ บรรณรจุ ิ, พระเวสสนั ดรชาดก มหาบุรุษแห่งหิมพานต์, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชง่ิ , 2549), หนา้ 206-211. 3พระครูพิลาศสรกจิ (สุรศักด์ิ ธารายศ), “ศึกษาวเิ คราะห์การใหท้ านในสังคมไทยยุคปจั จุบนั ”, วารสาร มหาจฬุ านาครทรรศน์, ปที ่ี 6 ฉบับท่ี 5 (กรกฎาคม 2562) : 2307.

76 1 วตั ถุบริสุทธิ์ ของที่จะใหท้ านต้องเป็นของที่ตนได้มาโดยสจุ ริตชอบธรรม ไมไ่ ด้คดโกงหรือ จงทำกุศลทีไ่ มเ่ บยี ดเบยี นใครมา 2 เจตนาบริสุทธ์ิ คือ มีเจตนาเพ่ือกำจัดความตระหน่ีของตนทำเพ่ือเอาบุญ ไม่ใช่เอาหน้า เอาชอ่ื เสียง เอาความเด่นความดงั ความรัก จะตอ้ งมเี จตนาบริสทุ ธิ์ผดุ ผอ่ งท้ัง 3 ขณะคือ กอ่ นใหก้ ม็ ใี จ เล่อื มใสศรทั ธาเป็นทุนเดมิ เต็มใจท่ีจะทำบุญน้ัน ขณะใหก้ ็ตั้งใจให้ ให้ด้วยใจเบิกบาน และหลังจากให้ กม็ ใี จแช่มช่ืน ไมน่ ึกเสียดายส่ิงทใี่ ห้ไปแล้ว 3 บุคคลบริสุทธ์ิ คือ เลือกให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบเรียบร้อยตั้งใจ ประพฤติธรรม ได้แก่ พระสงฆ์ผู้เป็นเน้อื นาบุญอันยอดเยยี่ มของโลกทานที่ถวายแดพ่ ระสงฆ์มีผลมาก กเ็ พราะพุทธบรษิ ัทไดช้ ่วยกันให้ทั้งอามิสและธรรมะแต่ในยุคปัจจุบันนี้ใช้วิธีการด้วยระบบ QR Code Payment ในการทำบุญ แต่การท่จี ะทำอะไรให้บรรลเุ ป้าหมายได้อยา่ งม่นั คง ต้องศึกษาวิชาการทาง พระพุทธศาสนา ประกอบกับวิชาชีพที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิตของเราเอง โดยเฉพาะการให้ทาน อย่างมีรูปแบบ ในสังคมไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจโดยมีความเมตตาเอ้ือเฟ้ือ แก่ภิกษุท่ีเป็นนักบวชในทางพระพุทธศาสนา เพราะการให้ทานนั้น ต้องให้ถูกหลักวิธีอันเป็นรูป แบบอยา่ งถูกตอ้ ง จงึ จะเกิดประโยชน์แกผ่ ู้รับและผู้ให้ ซง่ึ ผลการให้ คือ ความสุขแท้จริงเกิดจากการให้ ทานน่ันเอง4 สรุปได้ว่า ลักษณะการให้ทานของพระเวสสันดรการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดร ถือ เป็ น แ บบ ฉบั บ ใน ก าร ดำเนิ น ชี วิ ตขอ ง ชาวพ จน์ อิ ทธิ พ ลขอ ง เว สสั น ดร ชาดก ได้ ฝั ง ราก ลึ ก อ ยู่ ใน ความรู้สึกจนกลายเป็นวิถีชวี ิตเป็นแบบฉบับในการบำเพ็ญตนของชาวพทุ ธจบจนทุกวันนี้เป็นลักษณะ ของการให้ทานขั้นสูงสดุ ในทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า โพธิสัตว์ทานบารมี หมายถึง การบรรลุทาน ข้ันสูงสุด เพื่อเข้าถึงปรมตั ถบารมีทาน เป็นการเสียสละครง้ั ย่ิงใหญ่ในชีวติ การบำเพ็ญทานบารมีของ พระเวสสนั ดรซึ่งเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า กลา่ วคอื กอ่ นที่พระองคจ์ ะเสดจ็ อุบตั ิขน้ึ ในโลกและได้ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นทรงเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์อยู่หลายพระธาตุและในพระ ชาติสดุ ท้ายเสวยพระชาตเิ ป็นพระเวสสนั ดรทรงบำเพ็ญทานบารมีอนั มีการให้บตุ รธดิ าและภรรยาเป็น ทานเปน็ ต้นเวสสันดรชาดกนี้พระพทุ ธเจ้าทรงแสดงโปรดพระเจ้าสุโทธนะพระพทุ ธบดิ าทใี่ กล้ฝ่งั แม่น้ำ โรหิณีสมัยท่ีพระองค์เสด็จดำเนินโปรดพระญาติอยุธยากรุงกบิลพัสดุ์ตามคำกราบทูลเชิญของ พระกาฬุทายีเถระ พระเวสสันดร พระองค์มีคุณธรรมที่ไดเ้ ป็นแบบอย่างของชาวพุทธมากมายหลาย อย่าง พระเวสสันดรทรงเป็นแบบอย่างของชาวพุทธที่พึงนำไปปฏิบัติคือความเป็นผู้โอบอ้อมอารี มีคุณธรรม ช่วยเหลือคนอื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก ความเป็นผู้ใจบุญสุนทานความเป็นผู้มีปัญญาและมี วิสัยทัศน์ยาวไกล และจิตใจหนกั แน่นมน่ั คง ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคปญั หา 4เรอ่ื งเดียวกัน, หนา้ 2308.

77 4.2 คุณคา่ ต่อสงั คม วิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก ที่มีคุณค่าต่อสังคม โดยสะท้อนให้เห็นลักษณะสังคมไทยในยุคปัจจุบัน ซ่ึงเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม ท่ีมีแนวคิดด้าน ความเชื่อ และพิธีกรรม ที่หลากหลาย ทำให้เกิดมิติทางสังคมที่สลับซับซ้อนจนบางครั้ง ทำให้เกิด ความสับสนในดา้ นความเชอ่ื วธิ ีการ และพิธีกรรม โดยเฉพาะการให้ทานในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมี หลักการ และแนวทางในพระไตรปิฎก อย่างชัดเจน แต่อาจจะเกิดจากความคลาดเคล่ือน ใน การตีความหมายและการส่ือสารการให้คนไทยถือว่าเป็นชาวพุทธเข้าใจคำว่าทานให้มากข้ึน ทาน มีรากศัพท์ มาจากทาธาตุใน ภาษาบาลี หมายถึง การให้ การบริจาค การเสียสละ5 ทาน เป็น การให้ ดว้ ยความบริสุทธ์ใิ จ ไม่หวงั ผลตอบแทน เมื่อเราให้ทาน แมจ้ ะไมไ่ ด้หวงั สิ่งใดตอบแทนกต็ าม แต่กจ็ ะมี บญุ เกดิ ขึ้น และบุญน้ันจะช่วยออกแบบชีวิตของเราให้สมบูรณพ์ ร้อมดว้ ยทรัพย์สมบัติ “ทาน” จึงเป็น พ้ืนทานของการพัฒนาคุณภาพชีวติ ให้มีความเจริญก้าวหน้า ทาน เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 การ ทำทานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง คำว่า “ทาน” นี้โดยท่ัวไปมักเข้าใจสับสนกับคำว่า “บุญ” เน่อื งจากเรามักจะเรียกการถวายของแดพ่ ระภิกษุว่า “ทำบุญ” แต่เมื่อให้ของแก่คนยากจน หรอื คนที่ ด้อยกว่าตน มักเรียกว่า “ทำทาน” แต่จริง ๆ แล้ว การให้นั้นไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ตามถือว่าเป็นทาน ท้งั ส้นิ ซึง่ มี 2 ลักษณะ ดังนี้ 4.2.1 การใหท้ านของพระเวสสนั ดรต่อสงั คมในสงั คมไทย การให้ทานของคนท่ัวไปน้ันถือเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม เป็นการให้ ทานที่สละได้ไม่ยากนักเพราะส่ิงของท่ีให้ทานน้ันไม่ใหญ่โตและมีค่าน้อย แต่การให้ทานของพระ โพธิสัตว์ท้งั หลายโดยเฉพาะพระเวสสนั ดรที่ยอมสละพระชายา พระโอรสและพระธดิ าเพื่อให้เปน็ ทาส แกพ่ ราหมณ์ชูชกน้ันเป็นส่ิงทีก่ ระทำได้ยากย่ิง เพราะนอกจากจะสูญเสียสงิ่ อันเป็นท่ีรกั แล้ว พราหมณ์ เฒ่ายังแสดงอำนาจบาทใหญ่เฆี่ยนตีพระโอรสและพระธิดาต่อหน้าต่อตาอย่างไร้ความปราณี ซึ่ง สถานการณอ์ ยา่ งน้ีย่อมสรา้ งความเจบ็ ปวดรวดรา้ วทางจิตใจของผู้เป็นบดิ าอยา่ งมาก ถา้ เป็นสามัญชน คงกระทำไดย้ ากหรืออาจทำไมไ่ ด้เลย แต่พระเวสสันดรไดผ้ ่านการทดสอบและพิสจู น์ถึงความมีพระทัย แน่วแน่มน่ั คงในการใหท้ านอยา่ งดีเยีย่ มจนประสบความสำเรจ็ มาแลว้ คนไทยในยุคปัจจุบันมีแนวคิด มีจิตใจ เอ้ือเฟ้ือเผอ่ื แผ่ ช่วยเหลือกันและกัน และมีจิตแห่ง การให้ทานเป็นลักษณะปกติวิสัย ซ่ึง ทานต้องขึ้นอยู่กับเจตนาท้ัง 3 ประการ คือ ก่อนให้ กำลังให้ หลังจากให้ไปแล้ว รูปแบบในการใหม้ ีหลกั อยู่ 3 ประการ ได้แก่ เขตสมบตั ิ คือ บุญเขตถึงพรอ้ ม ไทย ธรรมสมบัติ คือ ไทยธรรมถึงพร้อม และจิตตสมบัติ คือ เจตนาถึงพร้อมการทำ น้ีถือได้ว่ามีเจตนา 5หลวงเทพดรุณานศุ ิษฏ์, พระคมั ภรี ์ธาตุปปทีปิกา, (กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2530), หน้า 274.

78 ท้ัง 3 กาล เพราะตัวเจ้าของทานน้ันมีการชำระ จิตอยู่ตลอดเวลา ถือว่าผู้ให้ทานเป็นทานปติ คือ ผู้ เป็นนายแห่งทาน ไม่ใช่เป็นทาสแห่งทาน สหายแห่งทาน แต่ให้ด้วยความเคารพต่อไทยทานด้วย เคารพตอ่ ปฏิคาหกด้วย ประดุจให้แก่ผู้เป็นท่ีเคารพนับถือและบชู าฉะนั้น ถือได้ว่ามีผลตอ่ การให้ทาน นีเ่ ป็นรูปแบบของการให้ทานในสงั คมไทยปัจจุบันนล้ี ักษณะการให้ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนน้ั พระผู้ มีพระภาคได้ตรัสกบั พระสารบี ุตรถึงทานท่ีให้แล้วมีผลดังท่ีปรากฏในทานมหปั ผลสูตร ว่าด้วยทานที่มี ผลมากให้แลว้ เกดิ ประโยชน์แก่ผรู้ บั เกิดความสุขสำราญกายสำราญใจ ทานที่ทำแล้วได้บญุ 6 ตอ้ งพรอ้ ม ด้วยองค์ 3 คอื 1 วัตถุบริสุทธิ์ ของท่จี ะใหท้ านตอ้ งเป็นของที่ตนได้มาโดยสจุ ริตชอบธรรม ไม่ได้คดโกงหรือ จงทำกุศลทไ่ี มเ่ บยี ดเบียนใครมา 2 เจตนาบริสุทธ์ิ คือ มีเจตนาเพ่ือกำจัดความตระหน่ีของตนทำเพ่ือเอาบุญ ไม่ใช่เอาหน้า เอาช่ือเสียง เอาความเด่นความดงั ความรัก จะตอ้ งมีเจตนาบริสทุ ธ์ผิ ดุ ผอ่ งทง้ั 3 ขณะคอื กอ่ นให้กม็ ใี จ เล่อื มใสศรัทธาเป็นทุนเดมิ เต็มใจที่จะทำบญุ นั้น ขณะให้ก็ตัง้ ใจให้ ใหด้ ้วยใจเบิกบาน และหลังจากให้ ก็มีใจแชม่ ชนื่ ไมน่ กึ เสยี ดายสิง่ ท่ีใหไ้ ปแล้ว 3 บุคคลบริสุทธ์ิ คือ เลือกให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบเรียบร้อยต้ังใจ ประพฤติธรรม ไดแ้ ก่ พระสงฆ์ผ้เู ปน็ เนอ้ื นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกทานท่ีถวายแด่พระสงฆ์มผี ลมากก็ เพราะพุทธบริษัทได้ช่วยกันให้ทั้งอามิสและธรรมะแต่ในยุคปัจจุบันน้ีใช้วิธีการด้วยระบบ QR Code Payment ในการทำบุญ แต่การทีจ่ ะทำอะไรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมน่ั คง ต้องศึกษาวิชาการทาง พระพุทธศาสนา ประกอบกับวิชาชีพที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิตของเราเอง โดยเฉพาะการให้ทาน อย่างมีรูปแบบ ในสังคมไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจโดยมีความเมตตาเอ้ือเฟ้ือ แก่ภิกษุท่ีเป็นนักบวชในทางพระพุทธศาสนา เพราะการให้ทานนั้น ต้องให้ถูกหลักวิธีอันเป็นรูป แบบอย่างถกู ต้อง จงึ จะเกิดประโยชนแ์ ก่ผู้รับและผู้ให้ ซ่งึ ผลการให้ คือ ความสขุ แทจ้ ริงเกิดจากการให้ ทานน่ันเอง7 สรุปได้ว่า ชีวิตมนุษย์นั้นเกิดมาพร้อมกับการให้โดยแท้จริงซ่ึงเร่ิมต้ังแต่มีบิดามารดาเป็น ผใู้ ห้ชีวิตเป็นผู้เล้ียงดูให้เตบิ โตมา ให้ความรู้ ให้การศึกษาเล่าเรยี น ใหส้ ่ิงของมากมาย รวมท้ังให้ความ รัก และการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ในขณะท่ีตัวบุตรเองก็เป็นผู้ท่ีได้ให้กลับคืนไปเช่นกันคือ เมื่อยัง เล็กก็ให้ความเคารพเช่ือฟังบิดามารดา คร้ันเติบโตขึ้นมาก็ให้การเล้ียงดูตอบแทน ซึ่งความสัมพันธ์ ระหว่างกันด้วยการใหอ้ ย่างน้ี แต่ละคนยังต้องมีสว่ นร่วมกับผ้อู ื่นไปพรอ้ ม ๆ กันเชน่ การให้ระหว่างพ่ี 6พระครูพิลาศสรกจิ (สรุ ศักด์ิ ธารายศ), “ศกึ ษาวิเคราะหก์ ารใหท้ านในสังคมไทยยคุ ปัจจบุ นั ”, อา้ งแล้ว, หนา้ 2307. 7เรอื่ งเดียวกัน, หน้า 2308.

79 กับน้อง ครอู าจารย์กับนักเรียน เพ่อื นกับเพอ่ื น เจ้านายกับลูกน้อง เป็นต้นสังคมมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย ลว้ นอาศัยการให้เป็นเครื่องยดึ เหนีย่ วนำ้ ใจคนในสงั คมเอาไวด้ ว้ ยกันเพราะการใหท้ ำใหเ้ กดิ การแบง่ ปัน ผู้คนจึงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การศึกษาเก่ียวกับการให้ทานท่ีปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร วาทในเบ้ืองต้น อันดับแรกของการสร้างความดีให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ จะต้องศึกษาตามหลักพุทธ ศาสนา คือ ความหมายและความสำคัญของการให้ทานให้เข้าใจเสียก่อน เพราะอันจะทำให้เกิด ศรทั ธาตอ่ ผู้ให้ทานได้อย่างไมม่ ีความวติ กกงั วล8 4.2.2 รูปแบบการให้ทานในสงั คมไทย รูปแบบการให้ทานในสังคมไทยสภาพสังคมไทยในปัจจุบันน้ี มีความหลากหลายท้ังผู้ให้ และผรู้ ับ แตก่ ็มีแนวปฏบิ ัตทิ ีบ่ คุ คลในสังคมกระทำอยู่แล้ว เชน่ กอ่ นให้ ขณะใหแ้ ล้วหลงั จากให้ การให้ ทานน้ันต้อง ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย จึงจะบรรลุเป้าหมาย หรืออานิสงส์ของการให้ทานอย่าง ชัดเจน คนไทยได้ชื่อว่าเป็นคนมนี ้ำใจ ชอบทำบุญ ชอบให้ทาน มีการใหแ้ ละแบ่งปันให้กบั คนทม่ี ีฐานะ ด้อยกว่าจนเป็นปกตินิสัย เมื่อมีเหตุการณ์ทุกข์ภัยร้ายแรงข้ึนพลังน้ำใจ ก็จะหล่ังไหลไปยังพ้ืนที่ที่ เดือดร้อนมากมาย แตก่ ระนนั้ มิตขิ องการให้เพื่อสังคม กย็ ังมีอยนู่ ้อยในสงั คมไทยมกี ารใหอ้ ยู่มากมายก็ จริง แต่ส่วนใหญ่เป็นการให้เพ่ือสาธารณะ ไม่ใช่ในความหมายของการให้เพื่อสังคม ซึ่งมีความหมาย กวา้ งกว่าการบำบัดความทกุ ข์ร้อนของเพ่ือนมนุษย์ท่เี กิดข้ึนเฉพาะหนา้ และไม่ได้หมายความเพียงแค่ การทำบุญหรือการทำนุบำรุงศาสนาแต่เป็นการใหท้ ่ีมจี ดุ มงุ่ หมายเพือ่ ช่วยให้สงั คมโดยรวมดีขึ้นการให้ โดยทั่วไปในสังคมไทย มักเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดข้ึนมา คนก็จะคิดเองว่าคนที่ เดือดร้อนต้องการอะไรก็จะมีการบริจาคเส้ือผ้า อาหาร น้ำดื่ม ขา้ วของอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งหลายครงั้ ก็ ยังไม่ตรงกับความต้องการของผู้ท่ีเดือดร้อน หรืออาหารสดท่ีไม่สามารถส่งผ่านไปถึงมือผู้รับได้ใน ระยะเวลาที่กำหนด ก็จะเสียหายใชก้ ารไม่ได้เราจึงมองการให้ทาน ทไ่ี ม่ไดค้ ำนึงถึงแค่เร่อื งเฉพาะหน้า หรอื เหตุการณภ์ ยั พิบัตติ า่ ง ๆ การให้ทาน ทจี่ ะช่วยให้สังคมโดยรวมดขี ้นึ ควรจะมรี ูปแบบท่ีสอดคล้อง กับความเป็นจริงทางสังคมมากข้ึน การให้เพ่ือสังคมเพื่อเป็นตัวอย่างให้สังคมได้ช่วยกันพิจารณาว่า การให้ ในรปู แบบท่ีแตกต่างไปจากท่ีเราคุ้นเคยนน้ั สงั คมจะไดป้ ระโยชน์อย่างไร สงั คมจะดขี ึน้ น่าอยขู่ ึ้น อย่างไร เพอื่ พัฒนาสังคม เพ่ือใหช้ ุมชนและสังคมดีข้นึ เป้าหมายหลักจะมองทีผ่ ลกระทบต่อสำนึกของ คนมากกวา่ โดยเน้นวา่ ทำอย่างไรคนในสังคมจงึ จะเกิดความตระหนักวา่ งานอย่างนีม้ ีคุณคา่ ทำ ให้เกิด สังคมท่ีพึงประสงค์การเสริมสร้างวัฒนธรรมการให้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในระยะแรกต้องการให้คน ในสังคมไดร้ ับรขู้ ่าวสารข้อมูลและเห็นคุณค่าของ การใหเ้ พ่ือสังคมในรปู แบบต่าง ๆ ก่อน ในระยะยาว จึงจะเน้นไปท่ีการส่งเสริมให้การให้เพื่อสังคม เป็นวถิ ีปฏิบัติปกติในสังคมไทย เช่น บริษัทต่าง ๆ เม่ือ สิน้ ปีปิดงบประมาณก็อาจจะมีวฒั นธรรมการบริจาคส่วนที่เป็นกำไรใหก้ ับสังคม ส่วนคนท่ัวไปเม่ือถึง 8เร่ืองเดยี วกัน, หน้า 2309.

80 วันเกิดหรือวันสำคัญที่มีความหมายต่อชีวิตเขาก็อาจจะนึกถึงสังคม หรือทำประโยชน์อะไรสักอย่าง ใหก้ บั สงั คมเปน็ ต้น ซง่ึ หากมกี ารให้ในลักษณะนี้กนั มาก ๆ สังคมไทยกจ็ ะเปน็ สงั คมท่นี า่ อยู่มากขึ้นและ พฒั นาใหเ้ กิดประโยชน์สงู สดุ ตอ่ สังคมตอ่ ไป ด้วยมีสติปัญญาในการให้ทาน9 อย่างถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับหนังสือของสมเด็จ พระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงอธิบายถึงศพั ท์ทานไว้ว่า “คำวา่ ทาน เป็นกิริยา ศัพท์ แปลว่า ให้ เป็นนามศัพท์ แปลวา่ ของท่ีให้ กิริยาท่ีให้ไม่คิดเอาคืนกลับมา กล่าวโดยสามัญแห่ง โวหารว่า ทาน ในทานน้ันมพี รรณนาไว้โดย นพิ พจนะว่า ทยิ ฺยติ เอเตนาติ = ทาน พสั ดนุ ั้น ๆ มขี า้ วน้ำ เป็นต้น อันบุคคลทั้งหลายย่อมให้ด้วยธรรมชาตินี้เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชอื่ ว่าทาน ธรรมชาติเปน็ เหตุใหซ้ ่ึงวตั ถนุ น้ั แห่งบคุ คลผ้ใู หบ้ ริจาค เจตนามีไทยธรรมทานวัตถุเป็นสหาย ชือ่ ว่าทาน และ พระธรรมปิฎก ได้ให้ความหมายของทานไว้ว่า ทาน หมายถึงการให้ สิ่งที่ให้ ให้ของท่ีควรให้แก่ คนทีค่ วรให้เพอื่ ประโยชน์แก่เขา สละใหป้ นั สิ่งของของตนเพื่อประโยชนแ์ ก่ผู้อ่นื 10 สรุปได้ว่า การให้ทาน คือ การให้การเสียสละ การแบ่งบันโดยมิได้หวังผลตอบแทนซ่ึง สามารถให้ไดท้ ้ังวัตถุ สงิ่ ของ เงนิ ทอง ซ่ึงเป็นของนอกกายแลว้ นอกจากน้ียังมีตวั อยา่ งในสังคมไทยท่ีมี การให้ทานด้วยการบริจาคโลหิต ซ่ึงจัดเป็นการให้ทานประเภทอามิสทาน ที่อยู่ภายในร่างกายคนอีก ดว้ ย และยังรวมถึงการให้ธรรมทาน และอภัยทาน ท่ีนอกเหนือจากการทำบุญให้ทานประเภทอื่น ๆ ดังนั้น การให้ทานควรทำควบคู่ไปกับศีลและภาวนาตามหลักของบุญกิริยาวัตถุเพราะทานเป็น องค์ประกอบแรกของศีลและภาวนา การให้ด้วยความมีเมตตาอยู่เสมอ และท่ีสำคัญ คือ การควบคุม ความโกรธของตัวเองให้ได้ เพียงเท่านี้ชีวิตของเรากจ็ ะได้ชื่อว่าเปน็ ผู้ให้อภัยทานแลว้ หรอื การให้ทาน ในเรื่องทำบุญกุศลต่าง ๆ เช่น การให้ทาน การทอดกฐินทอดผ้าป่ า การให้ทานได้กลายเป็น ขนบธรรมเนียม ประเพณขี องสังคมไทยตง้ั แต่อดีต จนถึงปัจจบุ ัน การถวายทานทีส่ ังคมมักจะเขา้ ใจ ก็ คือ การให้แบบเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งและสังฆทาน ให้โดยไม่มุ่งหวังเจาะจง เฉพาะแก่ พระภิกษุรูปใดรูปหน่ึง ในคัมภีร์กล่าวว่า การให้ทานท่ีไม่เจาะจง จะมีผลอานิสงส์มากกว่าข้ึนอยู่กับ เจตนาของผู้ให้ทานเปน็ สำคญั และทำให้เกิดประโยชน์กบั สังคมนนั้ ก็ต้องมีคนดีช่วยกันพัฒนาประเทศ ตง้ั แต่ในระดบั ครอบครัว ระดบั สงั คมระดบั ประเทศและระดับนานาชาติ การให้ทาน มีรากศัพท์ มาจากทาธาตุใน ภาษาบาลี หมายถึง การให้ การบริจาค การ เสียสละ เป็นหลักธรรมสำคัญทม่ี ีการกลา่ วถงึ มากในพระไตรปิฎกฉบบั หลวง 45 เลม่ มอี ยู่ 34 เลม่ ท่มี ี คำสอนเรอื่ งทาน จึงเป็นเรอ่ื งที่ควรศึกษาถึงเหตุผลที่ทานได้รับการสรรเสริญเอาไว้ในพระไตรปิฎกซึ่ง 9เรอ่ื งเดยี วกนั , หน้า 2310. 10สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส, สารานุกรมพระพุทธศาสนา, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพม์ หามกุฎราชวิทยาลัย, 2538), หน้า 45.

81 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเอาไว้เพื่อให้ถือเป็นเบ้ืองต้นแห่งการปฏิบัติธรรมเพ่ือเข้าสู่ความ หลุดพ้นเพราะทานเป็นธรรมที่ง่ายต่อการปฏิบัติสำหรับผู้เร่ิมเข้าสู่พระพุทธศาสนาและสามารถ มองเห็นผลของการกระทำเปน็ รูปธรรมทีช่ ดั เจน สว่ นการทำบุญในทางพุทธศาสนาไมไ่ ดม้ เี พยี งการให้เงนิ ให้ทอง หรือใหท้ าน ทำบญุ กบั พระ และวดั เทา่ น้ัน \"บุญ” หมายถึง การกระทำความดี มาจากภาษาบาลีว่า \"ปุญญะ” แปลว่า เครือ่ งชำระ จิตใจให้สะอาดบริสุทธ์ิ ดงั นั้น บญุ จึงเป็นเสมือนเคร่ืองกำจดั สง่ิ เศรา้ หมองที่เราเรียกกันวา่ \"กเิ ลส” ให้ ออกไปจากใจ บุญจะช่วยให้เราลด ละ เลิกความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ อันเป็น สาเหตุให้เกิดความทุกข์ และช่วยให้ใจเป็นอิสระ พร้อมจะก้าวไปสู่การทำคุณงามความดีในข้ันต่อๆไป เป็นการยกระดบั จติ ใจให้สูงขน้ึ ทำให้เกดิ ความอิ่มเอิบใจ มีความสุข และเป็นความสขุ ที่สงบและย่งั ยืน ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ปฏิบัติ เป็นบุคคลท่ีมีคุณธรรม น่าเคารพยกย่อง เพราะถือว่าเป็น \"คนดี” นั่นเอง นั่นแสดงว่าท่ีเราทำบุญกันมากมายก็เพราะหวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้นยิ่งทำบุญ ด้วยท่าทีแบบน้ี ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลคือจิตใจย่ิงคับแคบ ความเมตตากรุณามีแต่จะน้อยลง ไม่ ตอ้ งสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กลา่ วว่า ความ เขา้ ใจเรื่องการทำบญุ ของคนไทยในปัจจุบันมีความคลาดเคล่ือนไปจากหลักการทางพุทธศาสนาอย่าง มากจงึ ควรทำความเขา้ ใจกันใหถ้ ูกตอ้ ง ดงั นี้ 1. การทำบุญ เปน็ กุศโลบายอยา่ งหนึ่งในการชำระใจใหบ้ ริสุทธ์ิสะอาด บญุ ไม่ใช่ กุศโลบาย ในการหาเงินของคนบางกลุ่มที่หลอกให้คนอีกกลุ่มทุ่มเททำบุญจนหมดเน้อื หมดตัว ดว้ ยเล่ห์เพทบุ าย ต่าง ๆ เพราะไมไ่ ด้ทำใหจ้ ิตใจของผู้ทำบญุ สะอาดขึน้ เลย แต่กลบั หลงจมปลกั ลงในบอ่ บุญจอมปลอม 2. “บุญเป็นความสขุ ใจที่เกดิ ขึ้นหลังจากใครก็ตามไดท้ ำส่ิงที่มีคุณค่าต่อตนหรือต่อผู้อ่ืนกา รท าบุญไม่ได้ทำกับคนเท่านั้น ยังหมายรวมไปถึง สัตว์ และ “สิ่ง” ในท่ีน่ีหมายถึงส่ิงแวดล้อมหรือ ธรรมชาตอิ ีกด้วย 3. การให้ผลของบุญเกิดข้ึนที่ใจเป็นหลัก ไม่ใช่ให้ผลเป็นความร่ำรวย ให้ผลเป็นชื่อเสียง รวมทัง้ ไม่ใช่การใหผ้ ลออกมาเป็นคะแนนหรือแตม้ สะสม ซึ่งมนุษย์ด้วยกันเองเปน็ ผู้จัดทำข้ึนควรจำให้ ชัดวา่ การให้ผลของบุญน้ัน เป็นไปตามกฎธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นผจู้ ัดสรรเองไม่ใช่มนุษย์เข้ามาเป็น ผูบ้ อกวา่ ทำบุญอย่างน้ีแล้วจะได้อย่างน้นั อยา่ งนี้ทนั ตาเห็น นับเงินมือเป็นระวงิ หรือ ทำบุญด้วยการ บชู าพระร่นุ นี้ แล้วจะไมพ่ บความลำบากยากจน ท่ปี ่วยกห็ าย ผลบญุ อย่างนค้ี วรทราบว่าเปน็ ผลบุญเชิง พาณิชย์ หรือ เชิงการตลาด ท่ีมนุษย์เราน่ีเอง โมเมขึ้นมาหลอกเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน “คนทำนาบน หลังคน” นี้แหละเข้ามา “ตัดตอน” กระบวนการให้ผลของบุญ จนความหมายแคบลงอยู่เพียงว่า

82 ถ้าจะทำบุญต้องใช้เงินเป็นปัจจัยสำคัญ ท้ังท่ีความจริงน้ัน การทำบุญท่ีแท้น้ันแม้จะไม่ใช้เงนิ สักบาท ก็ยอ่ มได้ ท่ีสดุ ของบญุ นั้นไม่เก่ียวกับเงิน11 สรุปได้ว่า การให้ทานทาน และการทำบุญ หรือ บุญกิริยาวัตถุ มีอิทธพิ ลในสังคมไทยซึงมี ใจความต่างกัน การให้ทานเป็นการให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังผลตอบแทน เม่ือเราให้ทาน แม้จะ ไมไ่ ด้หวังสง่ิ ใดตอบแทนกต็ าม แต่กจ็ ะมีบญุ เกิดขน้ึ และบุญนนั้ จะชว่ ยออกแบบชีวติ ของเราให้สมบูรณ์ พร้อมดว้ ยทรัพยส์ มบตั ิ ถา้ ใครปราศจากทานบารมี เกดิ มากจ็ ะยากจน สรา้ งบารมีได้ไม่สะดวก เพราะ มัวแต่กังวลเรื่องการทำมาหากิน “ทาน” จึงเป็นพ้ืนทานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความ เจริญก้าวหน้า ทาน เป็นหน่ึงในบุญกิริยาวัตถุ 10 การทำทานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง คำว่า “ทาน” น้ีแต่คนในสังคมไทยโดยท่ัวไป มักเข้าใจสบั สนกับคำว่า “บุญ” เน่ืองจากเรามักจะเรียกการ ถวายของแด่พระภิกษุวา่ “ทำบญุ ” แต่คนไทยคิดว่าการทำบุญมีเป็นการชำระหรอื ล้างจติ ใจใหบ้ รสิ ุทธิ์ ผอ่ งใส ไมว่ ่าจะเป็นการทำบุญในงานมงคล หรอื อวมงคล ถา้ จะทำให้ถกู ต้องและไดผ้ ลดี ควรเป็นเร่ือง ของการทำจิตใจให้บรสิ ุทธส์ิ ะอาด ไม่ใชท่ ำด้วยความโลภ ความโกรธ หรอื ความหลง แต่เมื่อใหข้ องแก่ คนยากจน หรือคนที่ด้อยกว่าตน มักเรียกว่า “ทำทาน” แต่จริง ๆ แล้ว การให้น้ันไม่ว่าจะให้แก่ใคร ก็ตามถือว่าเป็นทานทั้งสิ้นกับ การให้ทานโดยมีบุคคลอันเป็นแบบอย่างที่ดีนั้น เช่น พระสงฆ์และ ฆราวาส เป็นต้น ท่ไี ด้ทำหน้าที่เสียสละทรพั ยส์ ่วนตัวและใชว้ ิธกี ารด้วยการชักชวน ในอันจะชว่ ยเหลือ ผ้ทู ี่ได้รับความเดือดร้อน ชว่ ยเหลือผู้ยากจน และให้ปลอดภยั จากความทุกข์ต่าง ๆ ซง่ึ มีอยู่ในสังคมคน ในสังคมจะอยู่ได้อย่างมีความสุขสงบ นั้น ส่ิงท่ีสำคัญจะต้องกลับมาศึกษาหลักธรรมในการให้ทานที่ ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ให้มากขึ้นและทำความเข้าใจในการให้ทานท้ังหลาย อัน จะทำให้ประเทศไทย ได้มีพระพุทธศาสนาอยู่กับประเทศเรา และอยู่เย็นเป็นสุขมาจนถึงทุกวันนี้ กเ็ พราะการใหท้ านจึงถือวา่ เป็นการรักษาไวซ้ ึง่ พระพทุ ธศาสนาอย่างแท้จริง 11พระมหาวฒุ ิชัย วชิรเมธี, “ชวนปรับความคดิ 3 ความเข้าใจผิด ๆ ของชาวพุทธเกี่ยวกับการทำบุญ”, 15 ตุลาคม 2563, <https://goodlifeupdate.com> (15 October 2020)

บทท่ี 5 สรปุ และขอ้ เสนอแนะ การวิจัยเร่อื ง “ศกึ ษาวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสนั ดรชาดก” มีวตั ถุประสงค์ 3 ประการ ดังน้ี 1) เพอ่ื ศกึ ษาแนวคิดและหลักคำสอนทานบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพ่ือศึกษาการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาด 3) เพ่ือวิเคราะห์คุณค่า การบำเพญ็ ทานบารมขี องพระเวสสนั ดรในเวสสันดรชาดก ผวู้ ิจยั ได้ทำการแยกแยะข้อมลู ใหเ้ ปน็ หมวดหมู่และทำการวเิ คราะห์เชิงพรรณนาดว้ ยวธิ ีการ บรรยายและอภิปราย นำขอ้ มูลที่ได้มาวิเคราะห์เช่ือมโยงกับแนวความคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกย่ี วข้อง ข้อเสนอแนะ ดงั นี้ 5.1 บทสรุป หลักการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก นั้น ได้อาศัยหลักธรรม การให้ทานในทางพุทธศาสนาเป็นตัวอย่าง ท่ีมนุษย์ในสังคมในยุคปัจจุบันได้ศึกษาเรียนรู้การให้ การเสียสละทรัพย์สินของตนเพ่ือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และยังสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติใน ชวี ิตประจำวันได้อีกด้วย เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้เรียนรู้การให้ทานด้วยจิตเมตตาให้โดยไม่หวังสิ่งตอบ แทน จึงทำให้สังคมนั้นน่าอยู่ มีแต่สงบสุข ซ่ึงได้รับต้นแบบมาจากเวสสันดรชาดกเป็นเร่ืองของ การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดร นอกจากจะเป็นเรื่องราวการบำเพ็ญทานบารมีของ พระพุทธเจา้ ในครั้นเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว ยังเป็นตน้ แบบของผู้สนใจในการปฏิบัตเิ พ่อื จะนำพาปถุ ุชน ท้ังหลายขา้ มพน้ จากวัฏฏะสงสารเข้าสพู้ ระนิพพานในที่สดุ อีกด้วย 5.1.1 แนวคดิ และหลกั คำสอนทานบารมีในพทุ ธศาสนาเถรวาท ความหมายของหลักธรรมทานบารมี ในคัมภีร์พระไตรปิฎกซ่ึงถือว่าเป็นคัมภีร์หลักใน การศึกษาค้นคว้าคำสอนเรือ่ งตา่ ง ๆ ในพระพทุ ธศาสนามีหลายแหง่ ที่กลา่ วถึงเรอ่ื ง “ทาน” เอาไว้ดงั ที่ ได้ชี้แจงถึงความสำคัญในบทที่หน่ึงแล้วทานเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า \"ทานมัย\" คือบุญที่เกิดจาก การให้ เป็นสังคหวัตถุ คือเป็นเครื่องยดึ เหนี่ยวจติ ใจกันไวไ้ ด้ และเป็นบ่อเกิดแห่งบารมที ่ีเรียกว่า ทาน บารมี การให้ทานมีวัตถุประสงค์สำคัญในการคลายความตระหนี่ ความเห็นแกต่ ัว ความโลภในจิตใจ มนุษย์ ส่งผลใหเ้ กิดความ ใส สวา่ ง สะอาดของจิตใจข้นึ มา และสรา้ งแนวคดิ จติ สาธารณะท่ดี ีในสงั คม

84 ทาน หมายถึง การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังผลตอบแทน เมื่อเราให้ทาน แม้จะไม่ได้ หวังสิ่งใดตอบแทนก็ตาม แต่ก็จะมีบุญเกิดข้ึน และบุญน้ันจะช่วยออกแบบชีวิตของเราให้สมบูรณ์ พรอ้ มด้วยทรัพย์สมบัติประเภทของทานตามหลกั พระพุทธศาสนาอาจแบ่งได้ 4 ประเภท ดังน้ี 1) ประเภทที่จัดตามปฏิคาหก มี 2 อะไร 2) ประเภทที่จัดตามส่ิงของที่ให้ทาน มี 3 อะไร 3) ประเภทท่ีจัดตามเป้าหมายในการให้ทาน มี 2 อะไร 4) ประเภทท่ีจัดตามลักษณะและวิธีการให้ ทาน มี 3 อะไร ประโยชน์ของการให้ทาน ประโยชน์ของการให้ทานหรือท่ีทางศาสนาเรียกวา่ “ อานิสงส์” กค็ อื ประโยชน์หรือผลท่เี กิดจากการใหท้ านนั่นเองซึ่งจะมีผลเกิดขึ้นทั้งแก่ผ้ใู ห้ทานและผรู้ ับทาน แต่ถ้า พูดถึงอานิสงสข์ องการให้ทานจะหมายถึงผลทานท่ีจะเกิดขึ้นมีขน้ึ แก่ผูใ้ ห้เป็นสำคัญเฉพาะผู้ใหท้ านไม่ ว่าจะให้ด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม (ตามที่กล่าวมาแล้วน้ัน) ผู้ให้ย่อมจะได้รับอานิสงส์คือผลที่เกิด จากการให้ทานน้ัน การบำเพ็ญทานบารมี เพ่ือให้ประเด็นที่จะอภิปรายชดั เจนข้ึนในที่นี้จึงมาศกึ ษา บารมี ใน พระไตรปิฎก คัมภีร์ปกรณ์พิเศษ อรรถกถา และคัมภีร์อ่ืน ๆ ทั้งความหมายในคัมภีร์เหล่านั้นก็ย่อม จะแตกต่างกันไป ในที่น่ีจะกล่าวเฉพาะความหมายของคำว่า บารมี ที่เกี่ยวข้องกับทานบารมีที่ ต้องการศึกษาในบทความนี้ 1. ทานบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละทรัพย์ ในขุททกนิกาย จริยาปิฎก กล่าวถึง การบำเพ็ญทานบารมีของมหาโควินทพราหมณ์โพธิสัตว์ที่ได้บริจาคมหาทานร้อยล้านแสนโกฏิ เพื่อ พระสพั พญั ญูตญาณ ระดบั การบำเพญ็ ทานในฐานะเป็นบารมี 2. ทานอุปบารมี ไดแ้ ก่ ทานท่ีบำเพ็ญด้วยการสละอวัยวะ เช่น ดวงตา และโลหิต ในการ บำเพ็ญทานอุปบารมีน้ี ในขุททกนิกาย จริยาปิฎก กล่าวถึงพระจรยิ าของพระเจา้ สีวีราชโพธิสตั ว์ท่ีให้ ทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ทา้ วสักกะ การใหท้ านคร้ังน้กี เ็ พอ่ื สพั พัญญูตญาณ 3. ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละชีวิต ในปัณฑิตจริยา กล่าวถึงการ บำเพ็ญทานปรมัตถปารมขี องบณั ฑิตพระโพธิสตั ว์ท่อี ทุ ิศรา่ งกายให้เปน็ ทานแกพ่ ราหมณ์ หลักคำสอนทานบารมีท่ีปรากฏในพระไตรปิฎก การบำเพ็ญบารมีอันเป็นเคร่ืองบ่ม พระโพธิญาณเหล่านี้ จัดเป็นบารมี 10 อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10 คือการบำเพ็ญทานในภพที่ ตถาคตเปน็ พระเจ้าสวิ ริ าชผู้ประเสริฐเป็นทานบารมี ในภพท่เี ราเปน็ เวสสนั ดรและเป็นเวลามพราหมณ์ เป็นทานอุปบารมี ในภพที่เราเป็นอกิติดาบสอดอาหารน้ัน เป็นทานอุปบารมี ในภพท่ีเราเป็นพระยา ไก่ป่า สีลวนาคและพระยากระต่าย เป็นทานปรมัตถบารมีในภพที่เราเป็นพระยาวานร ช้างฉัททันต์ และช้างเลย้ี งมารดาเปน็ ศีลบารมี พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคณุ ย่งิ ใหญต่ รัสไว้

85 การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท หลักการให้ทานท่ีปรากฏในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาเถรวาท มีความเก่ียวข้องโดยตรงกับการให้ทานท่ีปรากฏอยู่ในพระสูตร อรรถกถา และคัมภรี ์ตา่ ง ๆ คือ สังคหวตั ถธุ รรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหารธรรม และอทิ ธิบาท 4 ในทัศนะของ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) การให้ทานมีความสำคัญอย่างย่ิง ใน การให้ทานน้ัน บางคนก็ทำด้วยปัญญา เพราะเข้าใจหลักในการให้ทาน เห็นว่าบุญกุศลก่อให้เกิดปีติ เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสว่ นรวมจงึ ใหท้ าน แต่บางคนขาดความรู้ในเร่อื งของการให้ทาน ในทัศนะของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ) คำว่า ทาน จึงมีความหมาย 2 นัย คือ เป็นกิริยานาม แสดงอาการให้ และหมายถึงวัตถุคือส่ิงของท่ีให้ คือ เป็นนามในลักษณะกิริยา จงึ แปลว่า การให้ การสละให้ปนั สิง่ ของของตนเพือ่ ประโยชน์แก่ผ้อู ื่น ส่วนในลกั ษณะของนามคือส่ิงที่ ควรให้ ให้ของทคี่ วรให้เพ่อื ประโยชนแ์ กเ่ ขา 5.1.2 การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสนั ดรในเวสสันดรชาดก การบำเพ็ญทานบารมี ตามจริยาวัตรของพระโพธิสัตว์เป็นเร่ืองยากเกินไปและเกินความ จำเป็นสำหรับตัวเองที่ปรารถนาเพียงทรัพย์สมบัติในชาติน้ีและเม่ือตายไปก็ปรารถนาสวรรค์สมบัติ ความจรงิ การบำเพ็ญทสบารมี ขอใหม้ ีจุดเริ่มต้น แห่งการทำดีด้วยกศุ ลเจตนาอย่างแท้จริง บุคคลก็จะได้รับการพัฒนาไป ตามลำดับ ในการบำเพ็ญทสบารมีไม่ต้องกำหนดเป็นทานบารมีศีลบารมี เนกขัมมบารมีก็ได้ แต่ให้ เป็นไปในวถิ ีชีวิตโดยยึดหลักไม่ทำช่ัว ทำดี และทำจิตให้ผ่องใสซึ่งมีนัยดังกลา่ วมาแล้ว เช่น ในการให้ ทาน ไดช้ ่ือวา่ ทำดี ได้ชือ่ ว่าบำเพ็ญทานบารมี ในขณะเดียวกันขณะท่ีให้ทานเกิดความตระหน่ีข้ึนมาก็ ข่มไว้ ชื่อว่าได้บำเพ็ญขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี มีเหตุแทรกซ้อนขึ้นมาขณะให้ทานซ่ึงจะ ทำให้จิตเศรา้ หมองกร็ กั ษาอาการนิง่ ไว้ ชอื่ ว่าไดบ้ ำเพ็ญอธษิ ฐานบารมแี ละอุเบกขาบารมีเป็นตน้ จริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ หมายถึง การทำความดีด้วยกัมมสัทธาก็คือว่าผู้ตั้งประณิธาน เป็นพระโพธสิ ัตว์ บำเพ็ญทสบารมีได้อย่างต่อเน่ืองเป็นเวลานานก็เพราะกมั มสัทธา คือเชอ่ื กรรม แม้ จะผ่านการเวียนวา่ ยตายเกดิ ก่อนท่ีจะได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจา้ ผู้ทรงพระชนม์อยู่ก็นับชาติ ไม่ถว้ น เมอื่ ไดร้ ับการพยากรณ์แล้วกเ็ วยี นว่ายตายเกดิ 547 ชาติ บำเพญ็ ทสบารมี คุณธรรม ของพระโพธิสัตว์เวสสันดร คือเคร่ืองหมายท่ีวัดคุณค่าความดีงามท่ีมีอยู่ในตัว มนุษย์ โดยส่วนมากมนุษย์เราน้ันปรารถนาที่อยากจะมีคุณธรรมในตัวเอง เพราะถ้าบุคคลใดมี คณุ ธรรมประจำใจเรา จะเป็นมนต์เสนห์ให้กับชีวิตตนเองและคนที่อยู่รอบข้างพลอยได้รับความสุขไป ด้วย โดยท่ัวไปแลว้ มนุษย์เรามคี ุณธรรมพ้ืนฐานอยู่ในจิตใจ ทานบารมี ได้แก่ ทานท่ีบำเพญ็ ด้วยการสละทรพั ย์ ในขุททกนกิ าย จริยาปิฎก กล่าวถึงการ บ ำ เพ็ ญ ท า น บ า ร มี ข อ ง ม ห าโค วิ น ท พ ร าห ม ณ์ โพ ธิ สั ต ว์ ที่ ไ ด้ บ ริ จ าค ม ห า ท าน ร้ อ ย ล้ าน แ ส น โก ฏิ เพอ่ื พระสัพพญั ญูตญาณ ระดบั การบำเพ็ญทานในฐานะเปน็ บารมี

86 พระเวสสันดรพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้เป็นทานช้างปัจจัยนาค ถือว่าเป็นช้างคู่บุญ บารมีของพระเวสสันดร แม่ช้างได้ตกลูกช้างวันเดียวกันกับพระเวสสันดรประสูติ ถ้าพิจารณาอย่าง ละเอยี ดจะพบว่า การพระราชทานชา้ งน้ันเป็นความชอบธรรมแลว้ เพราะช้างนั้นเกิดขึ้นมาเป็นช้างคู่ พระบารมีของพระองค์เป็นสมบัติส่วนพระองค์ แต่ชาวเมืองกลับถือว่าเป็นช้างคู่บ้านคู่เมือง เราต้อง ยอมรับว่าช้างปัจจัยนาคนั้นเกิดข้ึนเพราะบารมีของพระเวสสันดร และเป็นสมบัติของพระองค์ ซึ่ง พระองค์จะพระราชทานแก่ใครก็ยอ่ มได้ ถ้าหากพระองคไ์ มท่ รงยอมให้คงเกิดสงครามเป็นแน่แท้ ด้วย วิสยั ทศั น์ของพระเวสสนั ดรทรงอาจมองว่า เมืองสีพีเป็นเมืองขนาดเล็ก อกี ท้ังมีกำลังพลน้อย ไม่อาจที่ จะทำสงครามกับเมืองใหญ่อยา่ งแคว้นกาลิงคะได้ ถ้าพระองคไ์ ม่พระราชทานช้างสงครามต้องเกิดขึ้น อย่างแนน่ อน เม่อื เกิดสงครามก็จะต้องเสยี ไพร่พล ราษฎรจะต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก และในท่ีสุด เมืองสพี ีจะต้องตกเปน็ เมืองข้ึน ดังนั้นการที่พระองค์พระราชทานชา้ งไปน้นั พระเวสสนั ดรทา่ นม่นั คงใน การบริจาคทานอยู่แล้ว ณ ตอนน้ันจึงน่าจะเป็นการพระราชทานช้างทไ่ี ม่หวังว่าจะได้รับผลประโยชน์ คืน จึงเกิดความไม่พอใจข้ึนในบรรดาชาวเมืองที่ไม่เห็นด้วย ซ่ึงเป็นชาวเมืองที่มีวิสัยทัศน์คับแคบมี ความคดิ เหน็ คนละมมุ มองกบั พระเวสสันดร ทานอุปบารมี ทานท่ีบำเพ็ญด้วยการสละอวัยวะ เช่น ดวงตา และโลหิต ในการบำเพ็ญ ทานอุปบารมีนี้ ในขุททกนิกาย จริยาปิฎก กล่าวถึงพระจริยาของพระเจ้าสีวีราชโพธิสัตว์ท่ีให้ทาน พระเนตรข้างหนึ่งแก่ท้าวสักกะ การให้ทานครั้งน้ีก็เพ่ือสัพพัญญูตญาณ นอกจากเป็นบารมีขั้น ทานอปุ บารมแี ลวยังโยงไปหาหลกี สำคญั อกี อย่างหนึง่ ท่ีเรยี กวา “มหาบรจิ าค” คือการบริจาคใหญ่ ซึ่ง พระโพธิสัตวจะต้องปฏิบัติอีก 5 ประการ คือ บริจาคทรัพย บริจาคราชสมบัติ บริจาคอวัยวะและ นัยนตา บรจิ าคตัวเองหรอื บริจาคชีวิต และบรจิ าคบุตรภรรยาบรจิ าคบุตรและภรรยาน้ัน คนสมัยใหม่ อาจจะมองในทางท่ีไม่ค่อยดี แต่ต้องเขาใจวาการบริจาคบุตรภรรยาน้ีไม่ใชไปมองในแงทอดทิ้งบุตร ภรรยา แต่มองในแงที่สามารถสละความหวงแหนยึดถือทางจิตใจอย่างคนท่ัวไปท่ีเมื่อมีความยึดถือ ผูกพันด้วยความรัก กม็ ักจะมคี วามเอนเอยี งเป็นอย่างนอ้ ย ผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจา้ ได้ คือพระโพธสิ ัตว น้ันจิตใจจะตองตรงตอธรรม สามารถรักษาความถูกตองโดยไม่เห็นแกอะไรท้ังสิ้นจึงตองสละความ ยึดถือแมแ้ ตล่ ูกเมียได้ แต่การจะสละบุตรภรรยาคอื ยอมใหเขาไปกบั ใครนั้น มีขอแม้วา่ ตอ้ งใหเขายนิ ดี พอใจหรอื เต็มใจดว้ ยถา้ เขาไมพ่ อใจกไ็ ม่บริจาค ท่านมีเงือ่ นไขไวแลวหันกลบั มาเรื่องการบริจาคอวัยวะ เป็นอันว่าพระโพธิสัตวจะเป็นพระพุทธเจาได้จำเป็นตองบําเพ็ญมหาบริจาค ซ่ึงมีการบริจาคอวัยวะ บริจาคนัยนตา บริจาคชีวิตรวมอยู่ด้วย เพราะฉะน้ันจึงเป็นการแน่นอนอยูแลววาไม่มีการห้าม นอกจากจะทำด้วยโมหะและโดยไม่มีเหตุผล สวนการทำอย่างมีเหตุผล คือมจี ิตเมตตากรุณา ตองการ เสยี สละใหเกิดประโยชนแก้ผอู้ น่ื น้ี ท่านสนบั สนนุ ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ ทานท่ีบำเพ็ญด้วยการสละชีวิต ในปัณฑิตจริยา กล่าวถึงการ บำเพ็ญทานปรมตั ถปารมีของบัณฑิตพระโพธสิ ัตว์ท่อี ุทศิ รา่ งกายให้เปน็ ทานแก่พราหมณ์

87 เรื่องของบุพกรรมเก่าแล้ว พระโอรสพระธิดาและพระชายาทรงไม่เคยล่วงรู้มาก่อนเลย เพราะถ้าทรงล่วงรู้มากอ่ นกัณหาชาลกี ค็ งไมป่ ฏเิ สธทจ่ี ะเดนิ ทางไปกับพราหมณช์ ูชก และพระนางมัทรี คงไมว่ ่ิงออกตามหากัณหาชาลีเป็นระยะทางแสนไกลด้วยความเศร้าโศกเสียใจ เช่นนั้น พระเวสสนั ดร ควรมีความชอบธรรมหรือไม่ ผู้วิจัยมองว่า ด้วยความยังเป็นปุถุชนพระเวสสันดรพระองค์ก็คงจะรู้สึก เศร้าสลดใจอยู่บ้าง แต่เมื่ออธิบายวัตถุประสงค์ความต้ังใจให้พระนางมัทรีฟัง พระนางก็ทำใจให้แช่ม ชน่ื ได้และร่วมอนโุ มทนาบญุ กับผู้เปน็ พระสวามี ส่วนมีความชอบธรรมหรือไม่น้ันผู้วิจัย จะได้วิเคราะห์ ในหัวข้อต่อไปการบริจาคทานในคร้ังน้ี ส่ิงท่ียากยิ่งน้ีพระเวสสันดรพระองค์ก็คงจะรู้ดีว่าจะมี ผลกระทบเป็นเช่นไร จะต้องมีการต่อต้านไม่เห็นด้วยจากผู้ท่ีเป็นบุตรธิดาหรือพระชายาในเบ้ืองต้น อย่างแน่นอน แต่ถ้าหากมองด้วยวิสัยทัศน์ท่ียาวไกลถึงผลลัพธ์ที่จะพึงตามมาทั้งปัจจุบันชาติ และ อนาคตชาติ ก็นับว่าคุ้มแสนคุ้ม แม้ขณะน้ันจะทนทุกข์หรือสลดหดหู่ใจเพียงไรก็ตาม ตามเน้ือเรื่อง ชาดกพระเวสสนั ดรกย็ ังไม่ทรงปรารถนาทีจ่ ะออกบวชไปจนตลอดชวี ติ พระองคย์ ังมีความประสงคจ์ ะ กลับมาเปน็ กษัตริย์ปกครองบา้ นเมือง พระองค์ยังตอ้ งการเหน็ อนาคตที่ดีของพระโอรสพระธดิ า และ พระชายา การกระทำดังกล่าวหากมองดูด้วยสายตาของปุถุชน อาจจะดูเลวร้ายมากยากที่จะรับได้ แตห่ ากจะมองดูอย่างผู้มปี ญั ญาแลว้ นัน้ จะเหน็ ได้วา่ เป็นวสิ ัยทศั นท์ ่ชี าญฉลาด 5.1.3 คุณคา่ การบำเพญ็ ทานบารมีของพระเวสสนั ดรในเวสสันดรชาดก จากการวิจัยพบว่า คุณค่าการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก เป็น ตัวอย่างของพุทธศาสนกิ ชนชาวพุทธท้ังหลาย ในการบำเพ็ญทานบารมี เป็นการสละทรพั ย์สินของตน และสละส่ิงต่าง ๆ เพ่ือให้ทานเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่ืนท่ีได้รับความลำบาก เป็นคุณธรรมของ พระโพธิสตั วท์ ่ียากจะทำได้ และยังน่ายกย่องเชิดชูเปน็ อยา่ งยิ่ง คุณค่าตอ่ ตัวบุคคล วิเคราะห์คุณค่าต่อตัวบคุ คลในเวสสนั ดรชาดกซึ่งมีพระเวสสันดร ถอื ว่า เป็นนักบริจาคทานผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกดังปรากฏในวรรณกรรม พระเวสสันดรชาดกดังน้ี คือ พระราชทานช้างปัจจัยนาคเป็นทาน และได้ทำพิธีสัตตสดกมหาทาน คือบริจาคช้าง ม้า โคนม รถม้า ทาส และทาสีอย่างละ 700 เป็นการบริจาคให้คนทั่วไป และพระองค์ได้ทำปัญจมหาบริจาค คือการ บริจาคท่ีย่ิงใหญ่ 5 ประการ คือ 1) ธนบริจาค (การสละทรัพย์สมบัติเป็นทาน) 2) อังคบริจาค (การ สละร่างกายเป็นทาน) 3) ชีวิตบริจาค(การสละชีวิตให้เป็นทาน) 4) บุตรบริจาค(การสละลูกให้เป็น ทาน) 5) ภริยาบริจาค (การสละภรรยาให้เป็นทาน) และพระเวสสันดรได้บำเพ็ญคุณธรรมของ พระโพธิสัตว์ดังน้ี 1) ให้ในสิ่งที่บุคคลให้ได้ยาก 2) ทำในสิ่งที่บุคคลทำได้ยาก 3) ทนในสิ่งท่ีบุคคลทน ไดย้ าก 4) ชนะในสิ่งที่บุคคลชนะได้ยากและ 5) ละในส่ิงที่บคุ คลละไดย้ ากและเมื่อวเิ คราะห์จริยธรรม จากบทบาทของพระเวสสันดรพบว่า หลักทศพิธราชธรรม เป็นตัวแทนด้านคณุ ธรรมของพระเวสสนั ดร จากบทบาทและหนา้ ทที่ ่พี ระองคไ์ ด้ทรงปฏบิ ตั ิ

88 การบรจิ าควตั ถุส่ิงของ การบริจาคทาน พระโอรสพระธิดาและพระชายาของพระเวสสันดร ถือว่าเป็นการบริจาคและการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ เป็นการใหเ้ พ่ือหวังประโยชน์สูงสุดได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน และเพื่อนำพามวลมนุษย์ผู้มีธุลีคอื กิเลสเบาบางหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้พบพระนิพพานใน ที่สุด ซ่ึงถือว่าเปน็ อุดมการณ์ชีวิตทีส่ มบูรณ์ตามความเชือ่ ทางพระพุทธศาสนา และเป็นแสงสว่างทาง ธรรมใหก้ บั มนษุ ยโลก เทวโลก และพรหมโลกทัง้ มวล ดงั นัน้ การบำเพ็ญทานบารมีของพระองค์จึงเป็น การชอบธรรมสมเหตุสมผล เป็นไปเพ่ือประโยชน์แห่งบรมสุขต่อมหาชนด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลไม่ใช่ เป็นการลิดรอนสิทธเิ สรีภาพหรอื ละเมดิ สิทธมิ นษุ ยชนหรอื เปน็ การเหน็ แก่ตัวแต่ประการใด ชาวโลกจึง ควรสรรเสริญในความเสียสละ ความเด็ดเด่ยี วของพระองค์หากไม่มกี ารบำเพญ็ บารมดี ังกล่าวนี้คงไม่มี แสงสว่างทางปัญญาและจิตวิญญาณให้กับมวลมนุษย์เป็นแน่ พวกเราชาวพุทธจึงควรยึดแนวปฏิบัติ ตามรอยของพระเวสสันดรแม้ไม่อาจให้ได้เท่าเทียมกับพระองค์ได้ แต่ก็ควรเอาชนะความโลภ ความ โกรธ และความหลง ซึ่งนับวันก็มีแต่จะเพิ่มพูนทับถมในจิตใจมนุษย์มากขึ้นทุกวัน การศึกษาทาน บารมขี องพระเวสสันดรในครงั้ นจี้ ึงควรศึกษาดว้ ยการวางใจเป็นกลาง ไมค่ วรเอามติความเหน็ ชอบของ ตนเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน แต่ควรอิงอาศัยอยู่กับหลักการและเหตุผลและวิถีการบำเพ็ญบารมีของ พระโพธิสัตว์ ผเู้ ป็นยอดมนุษย์ผ้ปู ระเสริฐของพวกเราทัง้ หลาย คณุ ค่าต่อสังคม การให้ทานในสังคมไทยสภาพสังคมไทยในปัจจุบันนี้ มีความหลากหลาย ทัง้ ผใู้ หแ้ ละผูร้ บั แต่กม็ แี นวปฏิบัตทิ ี่บุคคลในสังคมกระทำอย่แู ล้ว เช่น ก่อนให้ ขณะใหแ้ ลว้ หลังจากให้ การให้ทานนั้นต้อง ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย จึงจะบรรลุเป้าหมาย หรืออานิสงส์ของการให้ทาน อย่างชดั เจน คนไทยไดช้ ่ือว่าเปน็ คนมีน้ำใจ ชอบทำบญุ ชอบให้ทาน มีการให้และแบง่ ปันให้กบั คนทมี่ ี ฐานะดอ้ ยกว่าจนเป็นปกตินิสยั เม่อื มีเหตุการณ์ทุกข์ภยั ร้ายแรงขึ้นพลังน้ำใจ กจ็ ะหลั่งไหลไปยังพืน้ ทีท่ ่ี เดอื ดรอ้ นมากมาย แต่กระนน้ั มติ ิของการให้เพ่ือสังคม ก็ยังมีอยนู่ ้อยในสงั คมไทยมกี ารให้อยู่มากมายก็ จริง แต่ส่วนใหญ่เป็นการให้เพ่ือสาธารณะ ไม่ใช่ในความหมายของการให้เพื่อสังคม ซ่ึงมีความหมาย กว้างกวา่ การบำบัดความทกุ ข์ร้อนของเพ่ือนมนุษย์ทเ่ี กิดขึ้นเฉพาะหนา้ และไม่ได้หมายความเพียงแค่ การทำบญุ หรอื การทำนุบำรุงศาสนาแตเ่ ปน็ การให้ทีม่ จี ดุ มงุ่ หมายเพอื่ ช่วยใหส้ ังคมโดยรวมดขี นึ้ 1) วัตถุบริสุทธิ์ ของที่จะให้ทานต้องเป็นของท่ีตนได้มาโดยสุจริตชอบธรรม ไม่ได้คดโกง หรอื จงทำกุศลทีไ่ ม่เบียดเบียนใครมา 2) เจตนาบริสุทธิ์ คือ มีเจตนาเพื่อกำจัดความตระหนี่ของตนทำเพื่อเอาบุญ ไม่ใชเ่ อาหน้า เอาชือ่ เสียง เอาความเด่นความดัง ความรัก จะต้องมเี จตนาบริสทุ ธ์ิผุดผอ่ งทง้ั 3 ขณะคือ ก่อนใหก้ ็มใี จ เลือ่ มใสศรทั ธาเป็นทุนเดิม เต็มใจท่ีจะทำบุญนั้น ขณะให้ก็ตัง้ ใจให้ ให้ด้วยใจเบิกบาน และหลังจากให้ ก็มีใจแชม่ ชน่ื ไมน่ ึกเสยี ดายสง่ิ ทใี่ ห้ไปแลว้

89 3) บุคคลบริสุทธิ์ คือ เลือกให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธ์ิ มีความสงบเรียบร้อยตั้งใจ ประพฤติธรรม ไดแ้ ก่ พระสงฆ์ผู้เป็นเนือ้ นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกทานท่ีถวายแดพ่ ระสงฆ์มผี ลมาก ก็เพราะพทุ ธบรษิ ัทได้ชว่ ยกนั ให้ทั้งอามสิ และธรรมะ การใหท้ านโดยมีบุคคลอันเป็นแบบอยา่ งที่ดนี ้ัน เชน่ พระสงฆ์และฆราวาส เป็นต้น ทีไ่ ดท้ ำ หน้าท่ีเสียสละทรัพยส์ ่วนตวั และใชว้ ิธีการด้วยการชักชวน ในอันจะชว่ ยเหลือผู้ที่ได้รบั ความเดือดร้อน ช่วยเหลือผู้ยากจน และใหป้ ลอดภัยจากความทุกข์ต่าง ๆ ซ่ึงมอี ยู่ในสังคมคนในสังคมจะอยไู่ ด้อย่างมี ความสุขสงบ น้ัน สิ่งที่สำคัญจะต้องกลับมาศึกษาหลักธรรมในการให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาเถรวาท ให้มากขึ้นและทำความเข้าใจในการให้ทานทั้งหลาย อันจะทำให้ประเทศไทย ได้มีพระพุทธศาสนาอยู่กบั ประเทศเรา และอยู่เย็นเป็นสุขมาจนถึงทุกวันน้ี ก็เพราะการให้ทานจึงถือ ว่าเป็นการรกั ษาไว้ซง่ึ พระพุทธศาสนาอย่างแทจ้ ริง 5.2 ขอ้ เสนอแนะ 5.2.1 ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย 1) ผู้ท่ีสนใจศึกษาเรื่องการบำเพ็ญบารมีของพระเวสสันดร ควรมีการจัดตั้งข้อมูลเอกสาร เฉพาะเร่ืองทานในเรื่องของเวสสันดรชาดกไว้ใน สถานท่ีต่าง ๆ เช่น ชุมชน หมู่บ้าน สังคม และ หอ้ งสมดุ ท่ัวไป เพ่อื สะดวกตอ่ การศึกษาเรียนรู้ไดง้ า่ ยยิ่งขน้ึ 2) ในปจั จุบันมผี ู้สนใจในการบำเพ็ญบารมขี องพระเวสสันดร ซึ่งถือวา่ การใหท้ านบางอยา่ ง เป็นสิ่งท่ีทำที่ได้ยากมาก เพราะฉะนั้น ยังมีผู้คนสนใจการบำเพ็ญบารมีแบบน้ีอยูจำนวนมาก แต่ยัง ขาดข้อมูล ประโยชน์จากการบำเพ็ญ ผลลพั ธ์ และวธิ ีการบำเพญ็ ทถี่ ูกตอ้ ง 5.2.2 ข้อเสนอแนะเพ่ือการทำวจิ ัย 1) ควรมีการทำวิจัยในประเด็นท่ีเกี่ยวกับการวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระ เวสสันดร เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เราสามรถพบเห็น และมีให้ศกึ ษาแค่รูปภาพตามวัดต่าง ๆ เท่าน้ัน ส่วนปณิธานแนวคิด และวิธกี ารปฏิบัติและคำอธิบาย ต่างของพระโพธสิ ตั วเ์ วลาสสันดรยงั ไม่มใี หศ้ ึกษา 2) ควรมกี ารทำวิจยั ในประเดน็ ที่เกย่ี วกบั การวิเคราะห์การให้ทานในการอนุรกั ษ์วัฒนธรรม ประเพณีการฟังธรรมมหาชาตเิ วสสนั ดรชาดกมีทั่วประเทศไทยซึ่งมผี ู้คนสนใจมากมาย แตน่ ้อยคนท่จี ะ รูถ้ ึงความหมาย หลกั ธรรมเร่ืองการใหท้ านท่ีแท้จรงิ 3) ควรมกี ารทำวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการให้ทานในเรื่องของเวสสันดรชาดกกับการให้ ทานของผคู้ นในสังคมไทยในปจั จุบัน

บรรณานกุ รม 1. ภาษาไทย ก. ข้อมูลปฐมภมู ิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลยั , 2539. ข. ข้อมูลทตุ ยิ ภูมิ 1) หนงั สือ กฤษศญพงษ์ ศิริ. องค์ความรู้เร่ืองการเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก. กรุงเทพฯ : สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2558. ธนติ อยูโ่ พธิ์. ตำนานเทศนม์ หาชาติและแหลเ่ ครือ่ งเลน่ มหาชาติ. กรุงเทพฯ : ศวิ พร, 2514. บรรจบ บรรณรจุ ิ. พระเวสสนั ดรชาดกมหาบุรษุ แหง่ หิมพานต์. กรุงเทพฯ : อมรินทรพ์ ริ้นตง้ิ แอนดพ์ ับ ลชิ ชง่ิ , 2549. ปัญญา สละทองตรง. มิลนิ ทปัญหา เล่ม 2. กรงุ เทพฯ : การศาสนา, 2544. พระครูวิธรรมโกศล (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน). กะเทาะเปลือกเวสสันดรชาดก. กรุงเทพฯ : เล่ียงเซียง, 2536. พระเทพมนุ ี (วลิ าส ญาณวโร). ศาสตรวา่ ด้วยการเป็นพระพทุ ธเจา้ . กรงุ เทพฯ : สารมวลชน, (ม.ป.ป.), 2533. พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภกิ ขุ). การให้ทานทีไ่ ม่ต้องเสยี เงนิ เเล้วยังไดน้ ิพพาน. กรงุ เทพฯ : เลี่ยง เชยี ง เพียรเพอ่ื พทุ ธศาสน์, 2555. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ประยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์คร้ังที่ 10). กรงุ เทพฯ : เอส. อาร.์ พร้ินตงิ้ แมสโปรดักส,์ 2546. ____________.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์คร้ังท่ี 36).กรุงเทพฯ : ผลิธัมม์, 2559. ____________.พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538. พระมหาวิลาส ญาณวโร, ปธ.9. โลกนาถทปี นี. กรุงเทพฯ : จำลองศิลป,์ 2508. พระราชพรหมยาน (หลวงพอ่ ฤาษีลิงดำ วดั ทา่ ซุง). อนสุ ติ. กรงุ เทพฯ : สปีด เพรส, 2559. มหามกุฏราชวทิ ยาลยั . มงั คลตฺถทปี นี แปล เล่ม 2. กรงุ เทพฯ : มหามกฏุ ราชวิทยาลัย, 2534. ____________.มงั คลตฺถทีปนี แปล เลม่ 3. กรงุ เทพฯ : มหามกุฏราชวทิ ยาลัย, 2531.

91 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (พิมพ์คร้ังท่ี 6). กรุงเทพฯ : อกั ษรเจริญทศั น์, 2539. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชัน่ ส์, 2546. สมเด็จพระญาณสังวร (เจรญิ สุวฑฺฒโน). ทศบารมที ศพิธราชธรรม. กรงุ เทพฯ : มหามกฎุ ราชวทิ ยาลยั , 2534. สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. ธรรมานุกรม. กรงุ เทพฯ : มหามกุฎราชวทิ ยาลัย, 2525. ____________. สารานกุ รมพระพทุ ธศาสนา. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลยั , 2538. สุรีย์ มีผลกิจ. พระเวสสันดรชาดก. กรุงเทพฯ : คอมฟอร์ม, 2555. หลวงเทพดรุณานุศิษฏ์. พระคัมภีร์ธาตุปปทปี ิกา. กรงุ เทพฯ : มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , 2530. 2) ดุษฎีนพิ นธ์ วิทยานิพนธแ์ ละ/หรอื สารนิพนธ์ นิธิอร พรอำไพสกุล. สุนทรียภาพในอรรถกถาเวสสันดรชาดก. วิทยานิพนธปริญญาเศรษฐศาสตร มหาบณั ฑติ , สาขาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549. พระครพู ลิ าศสรกิจ (สรุ ศักดิ์ ธารายศ). ศึกษาวเิ คราะห์การให้ทานในสงั คมไทยยคุ ปัจจบุ ัน. วิทยานพิ นธ์ ปริญญพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหา จฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย, 2562. พระมหาจู่ล้อม ชูเล่ือน. ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการบําเพญ็ บารมีของพระโพธสิ ัตว์ ในทศชาติ ชาดก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจริยศาสตร์ศึกษา, บัณฑิต วิทยาลยั , มหาวิทยาลัยมหดิ ล, 2546. พระมหาธวัช เขมธโช (พุทธโส). การศึกษาวิเคราะห์เร่ืองการเทศน์มหาชาติท่ีมีอิทธิพลต่อสังคมไทย. วิทยานิพนธปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, 2537. พระมหาบุญทัน อานนฺโท. การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องเวสสันดรชาดก ศึกษาเฉพาะทานบารมี. วิทยานิพนธปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลง กรณราชวทิ ยาลยั , 2540. พระมหาวรวรรธน์ นภภูรศิ ิริ (อัตถาพร). การศึกษาวิเคราะห์วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการของตัวละครที่ ปรากฏในเวสสันดรชาดก. วิทยานิพนธปริญ ญ าพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา พระพทุ ธศาสนา, บัณฑติ วทิ ยาลัย, มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

92 พระมหาสง่า ไชยวงศ์. การศึกษาวิเคราะห์เรื่องทานในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาปรชั ญา, บณั ฑติ วิทยาลัย, มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม,่ 2541. พระสมหมาย ปวโร (ติตะปัน). วรรณกรรมเวสสันดรชาดก. วิทยานิพนธปริญญาพุทธศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช, 2555. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี. ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย จฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั , 2524. 3) บทความในวารสาร พระปลัดณรงค์ศักดิ์ วิสุทฺธิเมธี. สังคหวัตถุองค์ธรรมแห่งการสังคมสงเคราะห์. พุทธมัคค์, 4(2), 5, 2562. พระครไู พศาลปรยิ ัติกิจ. ปารมีกฏู : การปริวรรตการตรวจชำระและการศึกษาวิเคราะห์. พฆิ เนศวรส์ าร, 12(2), 91-92, 2559. รศ.ดร.สุวิญ รักสตั ย์. ภาวะผูน้ าํ ของพระโพธิสตั ว์. บณั ฑิตศาส์น, 14(2), 44, 2559. แม่ชีธัญธารีย์ ฉัฐบวรสิทธ์ิ. การบรรลุธรรมของสหชาติของพระพุทธเจ้าเชิงเปรียบเทียบ. ปรัชญา นทิ รรศน์, 24(1), 70, 2562. พระสุกรี ยโสธโร. การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของตัวละครในวรรณกรรมพระเวสสันดรชาดก. สถาบนั วิจยั พมิ ลธรรม, 7(1), 8, 2563. สุดาพร เขียวงามดี. ความเช่ือเร่ืองพระพุทธเจ้าในเถรวาทและพุทธตันตระ. สันติศึกษาปริทรรศน์, 8(2), 780, 2563. วรกฤต เถ่ือนช้าง. มุมมองทางพุทธจริยศาสตร์ต่อการบริจาคพระโอรสพระธิดาและพระชายาของ พระเวสสนั ดร, ปรชั ญาและศาสนา, 4(1), 85, 2562. 4) เอกสารสนเทศอเิ ล็กทรอนกิ ส์ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. ชวนปรับความคิด 3 ความเข้าใจผิด ๆ ของชาวพุทธเกี่ยวกับการทำบุญ. สบื คน้ เมอื่ 15 ตลุ าคม 2563, จาก https://goodlifeupdate.com, 2563. พระใบฏีกาอุดร อุตฺตรเมธี, คุณธรรมของพระโพธิสัตว์เวสสันดร, สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.mcu.ac.th, 2563.

93 2. ภาษาองั กฤษ 1) BOOK Phramaha Seththa Setthammano. An Analysis of the Role of Volunteer Spirit of PhraVessantara. Department of Buddhism. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. 2017. Phra Phrom Kunaphon (P.A. Prayutto). Buddhist Dictionary. Bangkok : ChanphenPublishing. 2009.

ประวตั ผิ วู้ จิ ยั ช่อื สกุล : พระรฐั พงค์ อาจิณฺณธมโฺ ม (ทองแปง) วัน เดอื น เกิด : วนั อาทติ ยท์ ี่ 19 เดอื น พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ชาติภูมิ : เชยี งใหม่ ท่ีอยู่ปจั จบุ นั : วดั ดอยแก้ว 84 หมู่ 1 ต.แมอ่ าย อ.แม่อาย จ.เชยี งใหม่ 50280 การศกึ ษา : นกั ธรรมเอก หนา้ ท่ีการงานปัจจุบัน : ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตรก์ ารปกครอง : เจา้ อาวาสวดั ดอยแก้ว ต.แม่อาย อ.แมอ่ าย จ.เชียงใหม่