Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore องค์ความรู้ พ.ต.ท.ปภินวิช การทำความเห็นทางค

องค์ความรู้ พ.ต.ท.ปภินวิช การทำความเห็นทางค

Published by Sara, 2020-08-17 03:31:13

Description: องค์ความรู้ พ.ต.ท.ปภินวิช การทำความเห็นทางค

Search

Read the Text Version

พันตารวจโท ปภนิ วิช อรสวา่ ง ผู้เชย่ี วชาญเฉพาะด้านคดีการเงนิ การธนาคาร พนกั งานสอบสวนคดีพิเศษเชยี่ วชาญ กองคดีการเงนิ การธนาคารและการฟอกเงนิ การดาเนินคดีอาญา คอื การตรวจสอบความจริงของเรอ่ื งที่มีการกล่าวหาเพื่อจะได้ ช้ีขาดเร่ืองท่ีกล่าวหา เป้าหมายของการดาเนินคดีอาญา จึงเป็นการค้นหาความจริงเพื่อที่จะได้มี การช้ีขาดเรื่องที่กล่าวหาได้อย่างถูกต้อง การดาเนินคดีอาญาโดยรัฐเริ่มต้นที่พนักงานสอบสวน ซ่ึงการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (11) หมายถึง การรวบรวม พยานหลักฐานและการดาเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ซ่ึงพนักงานสอบสวนได้ทาไปเกี่ยวกับความผิดท่ีกล่าวหา เพ่ือท่ีจะทราบข้อเท็จจริง หรอื พิสจู น์ความผดิ และเพอ่ื จะเอาตวั ผ้ทู าผดิ มาฟ้องลงโทษ โดยหากเม่ือพนักงานสอบสวนเห็นว่า ไดท้ าการรวบรวมพยานหลกั ฐานจนเสร็จสิน้ แล้ว ก็จะต้องมีการทาความเห็นทางคดีและส่งสานวน การสอบสวนไปยงั พนักงานอัยการ การทาความเห็นทางคดีของพนักงานสอบสวนนั้น มีลักษณะเป็นเพียง “ข้อเสนอ” ของเจ้าพนักงานนั้น ไม่ใช่เป็นการสั่งคดี เพราะการส่ังคดีเป็นอานาจของพนักงานอัยการ1 โดย พยานหลักฐานทีไ่ ด้มาจากการสืบสวนและสอบสวนของพนักงานสอบสวน ในทางทฤษฎีถือว่าเป็น “ข้อมูลดิบ (Raw Material)” ที่ยงั มิได้มีการกลน่ั กรองทางกฎหมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าว ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงไม่ได้ให้อานาจพนักงานสอบสวนท่ีจะสั่งคดีที่มีผลในทาง กฎหมายได้ด้วยตนเอง โดยให้มีอานาจเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการ2 ซึ่งพนักงานสอบสวนมี 1 ดรุณ โสตถิพันธุ์, พลตารวจโท.2545. คาบรรยายประกอบการฝึกอบรมวชิ าว่าความ รุน่ ท่ี19.กรุงเทพมหานคร : สานกั ฝกึ อบรมวชิ าว่าความแหง่ สภาทนายความ,หน้า30 2 กลุ พล พลวนั .2544. การบริหารกระบวนการยตุ ธิ รรม. พมิ พ์ครง้ั ท่ี1. กรุงเทพมหานคร : สานกั พิมพ์นติ ิธรรม,หนา้ 94 การทาความเห็นทางคดีของพนักงานสอบสวนคดีพเิ ศษ หนา้ 1

อานาจตามกฎหมายเพียงทจี่ ะทาความเหน็ ทางคดีไดต้ ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคอื 3 1 มีความเห็นควรส่ังฟ้อง เมื่อสอบสวนเสร็จแล้ว ถ้ารู้ตัวผู้กระทาความผิดและ เหน็ วา่ ผนู้ ้ันเปน็ ผ้กู ระทาผิด ก็ให้ทาความเห็นควรสัง่ ฟ้อง 2 มีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง เม่ือสอบสวนเสร็จแล้ว ถ้าเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ผู้กระทาผิด ก็ให้ทาความเห็นควรส่ังไม่ฟ้องพร้อมเหตุผล โดยทาความเห็นไว้ในรายงานการ สอบสวน 3 มคี วามเห็นควรงดการสอบสวน เพราะไมป่ รากฏวา่ ผใู้ ดเป็นผู้กระทาผิด 4 มคี วามเห็นควรงดการสอบสวน เพราะผู้ตอ้ งหาเป็นผ้วู กิ ลจรติ และไม่สามารถ ต่อสคู้ ดไี ด้ เมอื่ พนักงานสอบสวนส่งสานวนให้พนักงานอัยการแล้ว พนักงานอัยการเป็นผู้มีหน้าที่ ในการออกคาส่ังใดๆ ทางกฎหมายอันมีผลในทางคดี (Law Adjudication)4 โดยการพิจารณา กลั่นกรองบรรดาพยานหลกั ฐานทพ่ี นกั งานสอบสวนรวบรวมและเสนอความเห็นมาให้ แล้ววินิจฉัย วา่ ควรฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เพื่อพิสูจน์ความผิดในศาลและลงโทษตามกฎหมายหรือไม่ จากนั้นจะ ออกคาส่ังทผ่ี ลในทางกฎหมาย ไดแ้ ก่ การสง่ั ฟอ้ งหรอื สั่งไมฟ่ ้องตอ่ ไป ข้อที่ตอ้ งพจิ ารณาตอ่ ไป คือ การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนเพื่อ พิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีเพ่ือทาความเห็นทางคดีเสนอพนักงานอัยการ ควรพิสูจน์ถึงขั้นใด จาเป็นต้องพิสูจน์จนสิ้นสงสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันหมายถงึ การแสดงให้ศาลเห็นด้วยพยานหลกั ฐานถึงการมอี ยขู่ องข้อเทจ็ จริงโดยปราศจากความ สงสัย หรือไม่ หรือเพียงแค่การพิสูจน์ว่ามีมูล คือ การแสดงให้เห็นด้วยพยานหลักฐานที่กระทา 3 ดรณุ โสตถิพันธุ์,เร่อื งเดิม,หน้า30 หนา้ 2 4 กลุ พล พลวัน,เร่อื งเดิม,หนา้ 94 การทาความเห็นทางคดขี องพนักงานสอบสวนคดีพเิ ศษ

เพยี งแค่ใหเ้ ห็นถึงความนา่ เปน็ ไปได้กเ็ พียงพอแล้ว โดยการพิสูจน์ความจริงในคดีอาญาในบางกรณี กฎหมายเรยี กรอ้ งการพสิ ูจนเ์ พียงแคม่ มี ลู เทา่ นั้น เปน็ ต้นวา่ การพสิ จู นม์ ูลคดใี นการไต่สวนมูลฟอ้ ง5 ในการทาความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้เขียนเห็นว่า มีความจาเป็นต้อง พิจารณาถึงเหตุในการส่ังคดีของพนักงานอัยการ โดยในการสั่งคดีของพนักงานอัยการ มีข้ันตอน การพจิ ารณาอยา่ งนอ้ ย 3 ประการ คอื 6 1 มีเหตุน่าเชื่อหรือไม่ว่าผู้ต้องหากระทาผิด เช่น คดีที่อยู่ในอานาจ การพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ซ่ึงกฎหมายบัญญัติว่าถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานสอบสวนนาตัวผู้ต้องหาไปยงั พนกั งานอยั การเพ่อื ฟ้องต่อศาลโดยมิต้องทาการสอบสวน แต่อธิบดีกรมอัยการในขณะน้ันเคยช้ีขาดว่า แม้ผู้ต้องหารับสารภาพ พนักงานอัยการก็ต้อง พิจารณาด้วยว่า การกระทาของผู้ต้องหาเป็นความผิดหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจรับสารภาพไป โดยไม่ทราบว่า การกระทาของตนเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ และพนักงานอัยการก็ไม่ สามารถฟ้องผตู้ อ้ งหาท่ีมิได้กระทาการอันกฎหมายบัญญัตวิ า่ เปน็ ความผิด 2 มพี ยานหลักฐานเพยี งพอทีจ่ ะนาสืบพิสูจน์ตามความผิดของจาเลยในศาล หรือไม่ เพราะโจทก์มีหน้าที่นาสืบพยานหลักฐานให้ศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจาเลยได้ กระทาผิดจรงิ ดงั นั้น ในคดีบางเรอื่ งมีเฉพาะคารับสารภาพของผู้กระทาผิด แต่ในช้ันสอบสวนไม่มี พยานหลักฐานอื่นเลย พนกั งานอยั การกอ็ าจสั่งไม่ฟอ้ งเพราะผู้ต้องหาอาจให้การใหม่เป็นปฏิเสธใน ชั้นศาลได้และโจทก์ต้องนาสืบพยานหลักฐานต่อศาล หากโจทก์มีเพียงคาให้การรับสารภาพของ จาเลยในชั้นสอบสวนและจาเลยกลับปฏิเสธคาให้การในชั้นศาล โจทก์ก็ย่อมไม่มีพยานหลักฐานอ่ืน ใดมาสืบพิสูจน์ความผิดของจาเลยในศาลและศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง ทาให้สิทธินาคดีอาญามา ฟอ้ งระงับไป ภายหลงั ปรากฏพยานหลักฐานใหม่อนั สาคัญกจ็ ะนามาฟอ้ งใหม่ไม่ได้เป็นการฟอ้ งซา้ 5 คณติ ณ นคร.2546. กฎหมายวธิ ีพิจารณาความอาญา. พมิ พ์คร้ังที่6. กรุงเทพมหานคร : สานกั พิมพว์ ญิ ญูชน, หนา้ 149 หน้า 3 6 กุลพล พลวัน,เรอื่ งเดิม,หน้า90 การทาความเห็นทางคดขี องพนกั งานสอบสวนคดีพิเศษ

3 เม่ือฟ้องต่อศาลแล้ว กฎหมายได้ให้อานาจศาลที่จะพิจารณาลงโทษได้ หรือไม่ เช่น กรณีที่สิทธินาคดีอาญามาฟ้องระงับไป กรณีผู้ต้องหาถึงแก่ความตายในระหว่าง สอบสวน กรณียอมความกันในความผิดอันอาจยอมความได้ หรือกรณีขาดอายุความ มาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือข้อเท็จจริงจากการสอบสวนได้ความว่า ผูต้ ้องหาไดก้ ระทาการปอ้ งกนั ตนเองโดยชอบดว้ ยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 กรณีเช่นว่ามาน้ี หากฟ้องต่อศาลก็จะไม่มีการพิพากษาลงโทษ พนักงานอัยการก็จะสั่งไม่ฟ้อง เช่นกัน ในการทาความเห็นทางคดีของพนักงานสอบสวน จึงมีความจาเป็นต้องพิจารณาถึง เหตุในการส่ังคดีของพนักงานอัยการตามท่ีได้กล่าวมา โดยเฉพาะในกรณีพนักงานสอบสวนทา ความเห็นควรสั่งฟ้องและพนักงานอัยการมีคาสั่งฟ้อง ซ่ึงเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาล พยานหลักฐาน ตา่ งๆ ท่จี ะนาสืบในชนั้ ศาลของฝา่ ยโจทก์ ก็คือ พยานหลักฐานที่มีหรือได้มาจากการรวบรวมในช้ัน พนักงานสอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐานท่ีมีหรือได้มาจากการรวบรวมในช้ันพนักงาน สอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนจึงต้องมากกว่าพิสูจน์ว่าแค่มีมูล แต่ จาเป็นต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้ได้ใกล้เคียงกับการพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยให้มากที่สุด ส่วนการพิจารณาวินิจฉัยว่า จาเลยมีความผิดจริงตามฟ้องหรือไม่ มีเหตุสงสัยตามสมควรที่ศาลจะ เช่ือหรือไม่ เป็นเรื่องของศาลในช้ันพิจารณา แต่หากการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นพนักงาน สอบสวนยังไม่ได้ความว่า มีเหตุน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาได้กระทาผิด หรือไม่มีพยานหลักฐานเพียง พอท่ีจะนาสบื พสิ จู น์ตามความผิดของจาเลยในศาล หรือเม่ือหากฟ้องต่อศาลแล้วกฎหมายไม่ได้ให้ อานาจศาลท่ีจะพิจารณาลงโทษได้ พนักงานสอบสวนก็อาจทาความเห็นส่ังไม่ฟ้องผู้ต้องหาเสนอ พนักงานอัยการ อันเป็นการพจิ ารณาตามเหตุในการสัง่ คดีของพนกั งานอัยการ จากประสบการณ์ของผู้เขียนในขณะที่เป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้ยึดหลัก ดังกล่าวในการรวบรวมพยานหลักฐานและในการทาความเห็นทางคดีเสนอต่อพนักงานอัยการ ซึ่งคดีส่วนใหญ่ก็เป็นไปโดยราบร่ืนปราศจากเหตุขัดข้อง และขอให้พนักงานสอบสวนคานึงว่า การทาความเหน็ ทางคดีของพนกั งานสอบสวนคดีพเิ ศษ หน้า 4

เมอ่ื การรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนเสร็จสิ้นพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ทาความเห็นทาง คดีเสนอต่อพนักงานอัยการ แต่มิใช่เป็นผู้ส่ังคดี อานาจการสั่งคดีเป็นของพนักงานอัยการ การส่ัง สอบสวนเพิ่มเตมิ ของพนกั งานอัยการเป็นเร่ืองปกติของผู้มีหน้าท่ีสั่งคดี หากเห็นว่ายังมีข้อสงสัยใน ประเด็นใดควรสอบสวนประเดน็ ใดใหค้ รบถว้ น อันเปน็ การถ่วงดุลกันระหว่างพนักงานสอบสวนกับ พนักงานอัยการ ซึ่งพนักงานสอบสวนก็มีหน้าท่ีตามกฎหมายต้องดาเนินการตามข้อสั่งการของ พนักงานอัยการให้ครบถ้วน และหวังว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับพนักงานสอบสวนได้ ตามสมควร ----------------------------------------------------------- การทาความเห็นทางคดีของพนักงานสอบสวนคดีพเิ ศษ หน้า 5

ประวัติผู้เขยี น ชอ่ื -สกลุ พันตารวจโท ปภนิ วชิ อรสวา่ ง ประวตั ิการทางาน ผลงานที่สาคัญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะดา้ นคดีการเงินการธนาคาร ตาแหน่งหนา้ ท่ีปจั จุบัน (พนกั งานสอบสวนคดีพิเศษเชี่ยวชาญ) กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงนิ สงั กดั กรมสอบสวนคดพี เิ ศษ กระทรวงยุตธิ รรม ------------------------------------------------------ คณะผจู้ ดั ทา นายพิพฒั น์ เพญ็ ภาค ผู้อานวยการกองพัฒนาและสนบั สนุนคดพี เิ ศษ นางนนั ทนา เครือหงส์ รองผู้อานวยการกองพัฒนาและสนบั สนุนคดพี เิ ศษ นางสาวพมิ ลพรรณ ชรู ตั น์ ผอู้ านวยการศนู ย์การเรยี นรู้ พนั ตารวจโทไพโรจน์ เล้ารัตนานรุ กั ษ์ เจ้าหน้าทีค่ ดพี ิเศษชานาญการ นางสาวสรารัตน์ ฉัตรคาฝน้ั เจา้ หน้าที่คดพี เิ ศษปฏิบตั กิ าร นางสาวฆัสรา ศรเี สน เจา้ พนักงานสื่อสารปฏิบตั ิงาน นางสาวฐติ มิ า แย้มรัศมี เจา้ หน้าทบี่ ริหารงานท่ัวไป ------------------------------------------------------ การทาความเหน็ ทางคดขี องพนกั งานสอบสวนคดีพเิ ศษ หน้า 6


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook