Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สส

สส

Published by Guset User, 2022-01-24 06:39:45

Description: สส

Search

Read the Text Version

ปก

ปล่อยว่างคู่ปกในนะคะ

ปกใน





คำนำ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา เป็นหน่วยงานผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมในส่วนภูมิภาคและมีนโยบายที่มุ่งเน้นด้านการ สืบสานงานวัฒนธรรมของชาติ ส่งเสริมศิลปิน ปราชญ์ท้องถิ่น กระตุ้นให้นำราก วัฒนธรรมประจำถิ่นมารวบรวมเป็นคลังข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ต่อยอดเพื่อสร้าง ผลิตภัณฑ์และบริการด้านวัฒนธรรมพื้นถิ่นให้เป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์สร้างมูลค่า เพิ่มทางเศรษฐกิจ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลาเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ กระทรวงวัฒนธรรมเพื่อเป็นการยกย่องสรรเสริญคุณความดีและประกาศเกียรติคุณ ให้ เด็กเยาวชน บุคคล และนิติบุคคลหรือคณะบุคคล ที่มีผลงานส่งเสริม สนับสนุน ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล กระทรวงวัฒนธรรมในการดำเนินงานด้าน ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือสร้างนวัตกรรมทางวัฒนธรรมอันโดด เด่นเป็นที่ประจักษ์ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ทำการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ กระทรวงวัฒนธรรมระดับประเทศ ประเภทเด็กหรือเยาวชน ประเภทบุคคล และ ประเภทนิติบุคคลหรือคณะบุคคล ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ - พ.ศ. ๒๕๖๔ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลาจึงจัดทำหนังสือ “ทำเนียบคณะผู้ทำคุณประโยชน์ ต่อกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดยะลา” เล่มนี้ขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องและเชิดชู เกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ กระทรวงวัฒนธรรม

บทนำ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมด้านวัฒนธรรม หมายถึง บุคคล หน่วยงาน หรือ องค์กรที่ส่งเสริม สนับสนุน หรือสืบทอด สร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรม อาทิ ๑. ขนบธรรมเนียมประเพณี แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาลต่าง ๆ (ประเพณี เกี่ยวกับวิถีชีวิต ได้แก่ การเกิด การบวช การเผาศพและอื่น ๆ/ประเพณีท้องถิ่น/ประเพณีประจำ ชาติ การจัดงานด้านวัฒนธรรม /งานเทศกาล/วันสำคัญ / มารยาทไทย) ๒. กีฬาและนันทนาการ หมายถึง ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว กีฬาพื้นบ้าน/ประจำชาติ และการ ละเล่นพื้นบ้าน ๓. วัฒนธรรมทางภาษา โดยการใช้ภาษาเป็นสื่อถ่ายทอด แสดงออก หรือสร้างสรรค์ ทั้งภาษา ไทย ภาษาท้องถิ่น/พื้นเมือง ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ และอวัจนภาษา (ภาษามือ ภาษาท่าทาง) เช่น ผล งานวิชาการ งานวิจัย หลักสูตร ตำราเรียน รายการวิทยุ/โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ เป็นต้น ๔. ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (อาหารและโภชนาการ การแพทย์แผน ไทยและการแพทย์พื้นบ้าน โหราศาสตร์และดาราศาสตร์ การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ ชัยภูมิ และการตั้งถิ่นฐาน หรือเศรษฐกิจพอเพียง ๕. การเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เช่น ผลิตสื่อสร้างสรรค์จัดโครงการ/ กิจกรรม เป็นอาสาสมัครเฝ้าทางวัฒนธรรม เป็นต้น

สารบัญ





ประวัติการศึกษา ได้รับการศึกษาขั้นต้น จนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่อำเภอเบตง จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาช่างยนต์จากโรงเรียนช่างกลไทยสุริยะกรุงเทพมหานคร หลัง จากนั้นได้รับการอบรมและศึกษาดูงานในประเทศ และต่างประเทศ เช่น อบรมหลักสูตร นักปกครองท้องถิ่นระดับสูง จากวิทยาลัย การปกครอง กระทรวงมหาดไทยศึกษาดูงานที่ ประเทศเกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ญี่ปุ่น อเมริกา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รางวัล ๑. พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย ๒. พ.ศ.๒๕๓๔ ไดด้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจัตุมาภรณ์ มงกุฎไทย ๓. พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจตุมาภรณ์ช้างเผือก ๔. พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นA.M.P.จากองค์สุลต่าน รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ๕. พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตริตราภรณ์มงกุฎไทย(ต.ม.) ๖.พ.ศ.๒๕๔๒ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นD.P.M.P.(DARJAHDATO PADUK MAHKOTA PERAK) จากองค์สุลต่าน รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย (สายสะพาย) อดีตนายกเมืองเบตง เสียชีวิตด้วยอาการโรคหัวใจ

เทศบาลเมืองเบตง ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ด้านองค์กรที่ส่งเสริมศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม

ประวัติ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๘๒ ตำบลเบตงได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบล เบตงตาม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๖ หน้า ๙๕๔ โดยมีนายสงวน จิรจินดา เป็นนายกเทศมนตรี คนแรก มีพื้นที่เขตเทศบาลทั้งหมด ๗๘ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม เขตการปกครองตำบลเบตงทั้งหมดต่อมาเทศบาลตำบลเบตงได้พัฒนาขึ้นโดยลำดับจน สมควรเปลี่ยนแปลงฐานะจาก เทศบาลตำบล เป็นเทศบาลเมืองเบตง โดยอาศัยอำนาจตาม ความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราช บัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราช บัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ.๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศ เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาล ตำบลเบตงเป็นเทศบาล เมืองเบตง ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบล เป็นเทศบาลเมืองโดยมีตราสัญลักษณ์เทศบาลเมือง เบตงเป็นรูป “พญานาค” พันหลัก เขต หมายความว่า เบตงเป็นอำเภอที่อยู่ติดกับประเทศมาเลเซีย โดยใช้ หลักเขตเป็น เครื่องหมายเส้นกั้นอาณาเขตประกอบกับเทศบาลได้ก่อตั้งขึ้นในปีมะโรง ซึ่งมีสัตว์ ประจำปี มะโรง คือ งูใหญ่ หรือพญานาค เทศบาลจึงได้กำหนดรูปดวงตราเป็นพญานาคพัน หลัก เขต เพื่อให้มีความหมายถึงท้องที่ชายแดนและก่อสร้างในปีมะโรง ข้อมูลติดต่อเทศบาลเมืองเบตง ๓๓๕ ถนนสุขยางค์ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ๙๕๑๑๐ โทรศัพท์ ๐-๗๓๒๓-๑๒๑๔ แฟ็กซ์ ๐-๗๓๒๓-๐๙๐๒ อีเมล์ : [email protected] รางวัล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับประเทศ เป็นเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืนจากที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

นายนิคอเละ ระเด่นอาหมัด ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ด้านศิลปะ รองศาสตราจารย์นิคอเละ ระเด่นอาหมัด เป็นอดีตอาจารย์สอนศิลปะที่คณะศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา นอกจากเป็นอาจารย์และนักวิชาการศิลปะที่มีชื่อเสียงระดับ ประเทศแล้ว ยังท่างานศิลปะอย่างสม่่าเสมอ มีผลงานที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั้งในประทศและ ต่างประเทศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินอิมเพรสชั่นนิสท์ (Impressionist) มือหนึ่งของภาคใต้

ผลงาน ได้รับประกาศเชิดชูเกียรติคุณเป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดยะลาสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี พ.ศ.๒๕๔๔ โดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จากคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ ๑. ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศจาก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีจาก การประกวด สปอตโทรทัศน์ของส่านักงาน ป.ป.ป. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ ๒. รางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองสาขาจิตกรรม จากมหาวิทยาลัยปัญจาบเมืองลาฮอร์ ประเทศปากีสถานปี พ.ศ.๒๕๒๒ ๓. ได้รับเกียรติคัดเลือกผลงานเพื่อนิทรรศการถาวร ณ หอศิลปกรรมแห่งชาติ เมือง ลาฮอร์ รัฐปัญจาบ ประเทศปากีสถานปี พ.ศ.๒๕๒๒ ๔.ได้รับเกียรติคัดเลือกผลงานเพื่อนิทรรศการถาวร ณ อาศรมศิลปกรรมทักษิณ สถาบันทักษิณคดีศึกษาต่าบลเกาะยอ อ่าเภอเมือง จังหวัดสงขลา ๕. ได้รับเกียรติคัดเลือกผลงานเพื่อนิทรรศการถาวร ณ หอศิลป์แห่งชาติจังหวัดอยุธยา ๖.ได้รับเกียรติน่าผลงานติดประดับ ณ ห้องทรงงาน พระต่าหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ๗.ได้รับเกียรติจากส่านักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยประกาศเป็นศิลปิน ร่วมสมัย สาขาทัศนศิลป์ของภาคใต้

นายมาโนช บุญญานุวัตร์ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ด้านวัฒนธรรม นายมาโนชญ์ บุญญานุวัตร ตำแหน่งข้าราชการบำนาญ เกิดวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุ ๘๗ ปี ศาสนาพุทธ ที่อยู่ปัจจุบัน ไชยจรัส๑ ซอยมนตรี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ๙๕๐๐๐โทรศัพท์๐๘ ๙๙๕๗ ๒๕๒๖

ประวัติการศึกษา ๑. มัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง ๒. ประโยคครูประถม (ป.ป.) ฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี ๓. ประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ศึกษาด้วยตนเอง ๔. การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.บ.) จาก วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร 5. การศึกษามหาบัณฑิต (M.A.) จาก University Northern Colorado ๖. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจาก International University of Morality U.S.A ตำแหน่งหน้าที่เคยได้รับราชการ ๑. ครูโรงเรียนมัธยมวัดรางบัว ธนบุรี ๒. ครูโรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง ๓. ครูใหญ่โรงเรียนเมืองยะลา จังหวัดยะลา ๔. ศึกษานิเทศก์จังหวัดยะลา ๕. หัวหน้าหน่วยศึกษาเทศก์จังหวัดปัตตานี ๖. หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญเขต ๒ ยะลา ๗.ผู้อำนวยการโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงยะลา ๘. ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดยะลา ๙. ผู้ตรวจราชการกรมสามัญศึกษา ประจำเขตการศึกษา ๒ รางวัล ๑. ผู้สูงอายุดีเด่น ของสภาผู้สูงอายุแห่ง ประเทศไทย (๒๕๔๗) ๒. ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมจังหวัดยะลา (๒๕๔๕) ๓. เกียรติบัตร “คนดีศรียะลา” (๒๕๕๑) ๔. เกียรติบัตร“ต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน”ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความั่นคง ๕. พ่อตัวอย่างแห่งชาติ (๒๕๕๑) ๖. รางวัลเสาเสมาธรรมจักรของกระทรวงวัฒนธรรม (๒๕๕๕) ๗. รางวัลผู้สนับสนุนศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมดีเด่น ของกระทรวง สำนักเลขาธิการการประถมศึกษา ๘. รางวัล FOUR AVENUES OF Citation จาก โรตารีสากล (๒๕๕๕) ๙. เกียรติบัตรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จังหวัดยะลา (๒๕๕๔) ๑๐. เกียรติบัตรบุคคลผู้ทำความดีของกรมศาสนา (๒๕๕๕)

เทศบาลเมืองยะลา ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ด้านองค์กรที่ส่งเสริมศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม

ประวัติเทศบาลนครยะลา สำนักงานเทศบาลนครยะลา เทศบาลนครยะลา เดิมมีฐานะเป็นเทศบาลเมือง ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ วัน ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๙ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. ๒๔๗๙ สำนักงานเทศบาลเดิมตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านสะเตง อันเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดยะลาเดิม ต่อมาได้ย้าย ที่ทำการ มาอยู่ ณ โรงเรียนที่เทศบาลได้ปลูก สร้างขึ้นใหม่ใกล้ถนนสุขยางค์(สโมสรข้าราชการจังหวัดเดิม และถูกรื้อสร้าง เป็นอาคารศูนย์เยาวชนเทศบาลในปัจจุบัน) เพื่อสะดวกต่อการเป็นศูนย์กลางการติดต่อ กับประชาชนทั่วไป เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ที่ทำการศาลากลางจังหวัดยะลาและใกล้ที่ทำการ อำเภอเมืองยะลา ซึ่งเป็นบริเวณที่ เรียกกันว่า \"ตลาดนิบง\" ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ คณะผู้บริหารได้กู้เงินจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล เป็นเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐บาท เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑ จัดสร้าง อาคารสำนักงานเทศบาลถาวรขึ้นเป็นอาคารตึก ๒ ชั้น ขนาด ใหญ่แบบ พิเศษของกรมโยธา เทศบาล เป็นเงิน ๑,๑๗๔,๙๒๑ บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้ประกอบพิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ทั้งได้ย้ายสำนักงานจากอาคาร เรียน มาสู่อาคารหลังใหม่ ซึ่งเป็นอาคารหลังหน้าสุดที่ใช้อยู่ใน สำนักงาน เทศบาลปัจจุบัน และได้มีการ ขยายปรับปรุงอาคารให้เหมาะสมกับสภาวะ ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ รางวัล ๑. รางวัลจังหวัดสะอาด ผ่านเกณฑ์ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้าน เมืองการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จากจังหวัดยะลา ๒. รางวัลชนะเลิศ สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล ระดับภาคใต้ จากกรมการปกครอง ๓. รางวัลองค์กรปลอดโฟมจังหวัดยะลา จากจังหวัดยะลา ข้อมูลติดต่อ ๑๐ ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ๙๕๐๐๐ โทรศัพท์ : ๐๗๓-๒๒๓๖๖๖ แฟ็กซ์ : ๐๗๓--๒๑๕๖๗๕ อีเมล์ : [email protected]

นายหะมะ แบลือแบ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ด้านวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติสาขาศลปะการแสดง ิ (การแสดงพื้นบ้าน - ดิเกร์ฮูล )ู นายหะมะ แบลือแบ ปัจจุบันอายุ ๖๗ ปีเกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ที่จังหวัดยะลาการศึกษา จบหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ ๔ การศึกษา นอกโรงเรียนจังหวัดยะลา

ประวัติ ประวัติการทํางาน พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๕๑ รับราชการเป็นลูกจ้างประจําตําแหน่งนักการภารโรง โรงเรียนราษฎร์อุทิศ (ปุแหล) อําเภอยะหา จังหวัดยะลา ปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการ ในช่วงเวลาของการปฏิบัติงานใน หน้าที่นักการภารโรง ได้ทุ่มเทกับงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับ บัญชาและด้วยความเป็นคนท้องที่ รู้จักคน รู้จักชุมชนอย่างดีจึงได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ประสาน งานต่างๆ กับชุมชนอีกหน้าที่หนึ่งด้วยในขณะเดียวกันได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะวิทยากรท้องถิ่นช่วยสอน หลักสูตรดิเกร์ฮูลูของโรงเรียน รางวัล ๑. โล่เชิดชูเกียรติคุณศิลปินดีเด่นจังหวัดยะลา สาขาศิลปะการแสดง (ดิเกร์ฮูลู) จากสํานักงาน คณะ กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ ๒. โล่เกียรติคุณผู้ทําประโยชน์แก่สังคมในพื้นที่ จากโครงการทักษิณพัฒนากองทัพภาคที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๒ ๓. โล่เกียรติคุณเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นประเภทการแสดง ดิ เกร์ฮูลูประจําปี๒๕๔๓ จากสํานักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา ๒ ๔. ได้รับยกย่องเป็นพ่อตัวอย่างแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๔ ๕. ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๒ ด้านศิลปกรรม (สาขาแสดงดิเกร์ฮูลู) จากสํานักงานคณะกรรมการ การ ศึกษาแห่งชาติสํานักนายกรัฐมนตรีพ.ศ. ๒๕๔๕



ประวัติ นายสมาน โดซอมิ เกิดวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๖ อายุ ๓๙ ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๕๖ ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จบการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี มี ความรู้และความเชี่ยวชาญใน เรื่องประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมากว่า ๑๐ ปี และเป็นปราชญ์ชาวบ้านในเรื่องการทำบุหงาซีเหระ โดยมีการ รวมกลุ่มกันที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านกือแมง ในการทำบุหงาซีเหระ ระยะเวลาในการทำ ๓ ชั่วโมง/หนึ่งพาน บุหงาซีเหระ ๓ ชั้น ราคาประมาณ ๕๐๐ บาท บุหงาซีเหระ ๕ ชั้น ราคา ประมาณ ๑,๐๐๐ บาท บุหงาซีเหระ ๗ ชั้น ราคาประมาณ ๑,๕๐๐ บาท คำว่าบุงอซีเหระเป็นภาษายาวีหรือมาลายูท้องถิ่น ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ คำ ๒ ความหมายดังนี้ บุงอ “แปลว่า ดอกไม้” ส่วนคำ ว่าซีเระ “แปลว่าใบพลู” บุงอซีเระจึงหมายถึงดอกไม้ที่ทำจากใบพลู บุงอซีเระใช้ในพิธีกรรมอันสำคัญต่างๆ ได้แก่ งาน แต่งงาน งานเมาลิด งานเข้าสุหนัต ฯลฯ โดยมีความเชื่อตามคติพราหมณ์และฮินดูว่าการใช้บายศรีในการประกอบพิธีกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลของพิธีกรรมโดยเชื่อว่าเทวดาได้ลงมาสถิตอยู่บนยอดบายศรีเพื่อมาประทานพรและความโชคดีให้แก่ ผู้ที่มาเข้าร่วมในพิธีกรรม ความแตกต่างของบายศรีระหว่างบายศรีทั่วไปในทางภาคใต้ คือการใช้ใบตองในการทำกลีบบัว หรือกลีบดอกไม้ ส่วนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส การทำกลีบบัวหรือกลีบดอกไม้จะใช้ใบ พลู จึงเป็นที่มาของคำว่าว่า “ บุงอซีเระ ” และเป็นประธานวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลอาซ่อง ผู้ก่อตั้ง โครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม เฉลิมราชพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านกือเม็ง ข้อมูลติดต่อ เลขที่ 56 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 ตำบล อาซ่อง อำเภอ รามัน จังหวัด ยะลา


Share
Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook