Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore rrrr

rrrr

Published by Guset User, 2022-03-03 08:57:07

Description: rrrr

Search

Read the Text Version

ปก



รองปก

รูป

บทนำ

รูป

คำนำ

ชื่อผลิตภัณฑ์ : สีมายา สถานที่ผลิต : ๑๓๖ ม.๑ อ.เมือง จ.ยะลา (อาคารโรงน้ำชุมชนตำบลหน้าถ้ำ) ผู้ดำเนินงาน : กลุ่มสีมายา Phone on : ๐๘๑ ๓๖๘ ๖๓๐๐ Facebook : กลุ่มสีมายา หน้าถ้ำ



“ผ้าสีมายา” มาจากดินมายาจากภูเขาถ้ำ หรือภูเขากำปั่น ในหมู่บ้านชาวบ้านเรียก ขี้มายา นำมาทำปุ๋ยของชาวนา ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ จากวิถีและภูมิปัญญาพื้นถิ่น “ผ้าสีมายา” มีความเป็นมาคือ การนำเอาดินที่อยู่ภายในถ้ำภูเขากำปั่น และภูเขาวัดถ้ำ ซึ่งเป็นดินลักษณะเฉพาะที่ชาวบ้านใช้เป็นปุ๋ยในการเพาะปลูก ต้นไม้ โดยจะทำให้ต้นไม้นั้น มีความเจริญงอกงามที่ดีมาก แต่ในช่วงระยะหลังๆ การนำเอาดินมายามาทำเป็นปุ๋ยได้ลดน้อยลงชาวบ้านจึงได้ช่วยกันคิดและนำเอา ดินมายามาทำประโยชน์ให้มากกว่านี้ จึงได้แนวคิดในการนำเอาดินมายามาทำ เป็นสีย้อมผ้า โดยเอาดินมายามาทำเป็นสี เนื่องจากเคยสังเกตพบว่า หากเสื้อ เลอะดินมายาแล้วจะล้างออกยาก เลยมีความคิดว่าน่าจะเอามาทำสีย้อมเสื้อ ขาวได้ เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนในพื้นที่ ซึ่งก็ได้รับ ความร่วมมือจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในการนำเอาดินมายาดังกล่าวไป ตรวจสอบ พบว่า สามารถจะนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าได้จริงๆ ดินมายามีความพิเศษคือ เป็นดินที่ผสมกับมูล หรือขี้ค้างคาวทับถมกันมา เป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปี และมีอยู่ที่เดียวในจังหวัดยะลา คือ ที่บ้านหน้า ถ้ำ จ.ยะลา





ก ลุ่ ม ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ผ้้ า สี ม า ย า บ้านหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา สร้างแนวคิดใหม่ นำดินมายา ม า ย้ อ ม สี ผ้ า เ กิ ด เ ป็ น ผ้ า สี ม า ย า เ อ ก ลั ก ษ ณ์ เ ฉ พ า ะ ถิ่ น ผ้ า ข อ ง ค น ยะลา และเป็นผ้าที่มีที่เดียวใน ประเทศไทย

สีเหลืองมาจากกการนำใบหูกวางมาเคี่ยวบนเตาไฟด้วยกรรมวิธีพื้นบ้าน สีเทามาจากฝักราชพฤกษ์มาจากกการนำฝักราชพฤกษ์มาเคี่ยวบนเตาไฟด้วยกรรมวิธีพื้นบ้าน

สีดินที่เป็นสีเอกลักษณ์ของทางกลุ่มคือสีที่นำมาจากการสกัดดินจากถ้ำในตำบลหน้าถ้ำ จังหวัดยะลากรรมวิธีในการผลิตคือการนำดินสีมายามาแช่น้ำแล้วนำผ้าแต่ละชนิดมาแช่ไว้ สีใบบังคุดมาจากกการนำใบมังคุดมาเคี่ยวบนเตาไฟด้วยกรรมวิธีพื้นบ้าน

























ชื่อผลิตภัณฑ์ : ศรียะลาบาติก สถานที่ผลิต : ซอยสุขธร 12 ต.สะเตง อ.เมืองยะลา ผู้ดำเนินงาน : กลุ่ม ศรียะลาบาติก Phone on : ๐๘ ๗๘๓๗ ๔๐๐๗ Facebook : Sriyalabatik



SriYala Batik ฟื้นคืนตำนานงานแฮนด์เมดที่ผสมผสานความเป็นอยู่อย่างพหุวัฒนธรรม กลุ่มผ้าศรียะลาบาติก มีนายปิยะ สุวรรณพฤกษ์ ครูช่าง ศิลปหัตถกรรมปี 2560 เป็นผู้เริ่มก่อตั้งการทำผ้าบาติก ผ้าปะ ลางิงเป็นผ้าในตำนาน ได้สูญหายไปร่วม 80 ปี ลักษณะของ ผ้าปะลางิงนั้น มีลักษณะเป็นผ้านุ่ง มีการพบเห็นผ้าปะลางิง ครั้งแรกในปี พ.ศ.2472 ในขบวนรับเสด็จ พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยผู้ร่วมขบวนได้แต่งกายด้วยผ้าปะ ลางิง ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่จะใช้นุ่ง ส่วนผู้ หญิงจะใช้สำหรับคลุมผม คลุมศีรษะ และปล่อยชายผ้าห้อย ลงมาอย่าสวยงาม จุดเด่นของผ้าปะลางิง ที่สำคัญคือ ตั้งแต่ตัวลวดลายที่อยู่บนผืนผ้า เพราะลายผ้าปะลางิง จะไม่ เหมือนลายทอผ้าจากภาคเหนือ หรือภาคอีสาน แต่ลายทอของผ้าได้ถอดแบบมาจากบล็อกแม่พิมพ์ไม้ แล้วมาเขียนกราฟ แล้วก็ทอ ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน และการทอก็มีลูกเล่นของลายเนื้อผ้ามากกว่า ด้วย และจุดเด่นอีกอย่างก็คือ การใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นตัวเล่าเรื่องผ้า เช่น ตัวลวดลายที่แกะไม้ ออกมาก็มาจากลวดลายช่องลมโบราณ ลวดลายกันสาด ลวดลายราวประตู กระเบื้องโบราณ หรือ ลวดลายจากสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น เช่น จากวังโบราณต่างๆ วังจะบังติกอ วังในจังหวัดปัตตานี สมัยก่อนก็ถูกนำมาถ่ายทอดจากวัฒนธรรมต่างๆ ก็ถูกนำมาเล่าเรื่องผ่านลายผ้า เปรียบเสมือนการเอา วัฒนธรรมต่างๆ ออกเผยแพร่ผ่านลวดลายบนเนื้อผ้า ผ้าปะลางิงจึงนับว่าเป็นผ้าพื้นเมือง หรือผ้าพื้น ถิ่นของจังหวัดชายแดนภาคใต้



เทคนิคในการทำผ้าผืนนี้จะเริ่มจากกระบวนการทอ ต่อด้วยการมัดย้อมดอกลายบางๆ นำมาขึงแล้วเขียน ทับสีที่มัดย้อม นำมาล้างสีออก ให้เหลือลายที่เขียน ทับด้วยเทียน ตามด้วยการลงสีพื้นทับทั้งหมด เตรียม แม่พิมพ์ไม้สำหรับการพิมพ์ (แกะเอง) ลงสีตามช่อง ตัวลายที่พิมพ์ลงไป ในส่วนหัวผ้าจะมีการปิดเทียน และลงสีเพิ่มเพื่อเพิ่มมิติให้กับตัวลาย หัวผ้าจะมีการ เขียนและโชว์ลายมากกว่าตรงส่วนอื่น เมื่อลงสี ทั้งหมดแล้ว จะรอให้ผ้าแห้งแล้วเคลือบทับด้วย โซเดียมซิลิเกต (ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับการทำ ผ้าบาติก) ปล่อยให้แห้ง นำไปล้าง ต้มเอาเทียนออก \"ผ้าอเนกประสงค์พิมพ์ลายบล็อกไม้\" แล้วซักล้างให้สะอาด แนวความคิดในสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ คือ การสื่อถึงวัฒนธรรมผ้าจากภาคใต้ โดยเฉพาะ ลวดลายที่ปรากฏบนผ้า ซึ่งเป็นลวดลายผ้าจวนตานี โบราณ เป็นลวดลายจากการทอลูกแก้วสองชั้น ลักษณะพิเศษของผ้าคือมีเชิงผ้า ท้องผ้า และหัวผ้า ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผ้าจากภาคใต้รวมถึง เทคนิคความหลากหลายในการทำผ้าชนิดนี้ \"กว่าผ้า ปะลางิงจะเป็นที่ยอมรับและรู้จักแพร่หลาย กลายมา เป็นแบรนด์ศรียะลาบาติกของ ชุมชน ลูกค้าต้องจอง กันข้ามปี เป็นผลจากความร่วมมือของชาวบ้านใน ชุมชนใกล้เคียง ไม่ว่ากลุ่ม ช่างไม้ ช่างทอผ้า ช่าง ย้อมผ้า เป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม ทำงานกันแบบ ครอบครัว มีความ อบอุ่น เป็นสิ่งที่อยากให้ผู้เที่ยวชม ได้เข้ามาสัมผัส แล้วจะลืมภาพลบของสามจังหวัด ชายแดนใต้ไป\"

ผ้าทอพื้นบ้านปะลางิง ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

“บล็อกไม้ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”

“ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”

“ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”

“ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”

ชื่อผลิตภัณฑ์ : อาดือนันบาติก สถานที่ผลิต : 26 ซอยสง่าอุทิศ ถนนผังเมือง 5 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ผู้ดำเนินงาน : คุณอาดือนัน กาปา Phone on : 081-0992164 FACEBOOK : ADEUNAN BATIK



\"อาดือนันบาติก\" สืบเนื่องจากบรรพบุรุษที่มีภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ทำกันมาสมัยบรรพบุรุษในการทำผ้าปาเต๊ะ ผ้าบาติกจากหลักฐานแม่พิมพ์ ลายโลหะ กระทะต้มเทียนคูมือการผสมสีของโบราณ อาดือนันบาติก สืบเนื่องจากบรรพบุรุษที่มีภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ทำกันมาสมัยบรรพบุรุษ ในการทำผ้าปาเต๊ะ ผ้าบาติกจากหลักฐานแม่พิมพ์ ลายโลหะ กระทะต้มเทียนคูมือการผสมสี ของโบราณซี่ งเป็นของคุณตาของอาดือนันที่ได้รับการท่ายถอดจากคุณตาอาแว หะยีอาแว เป็นชาวปัตตานี อาดือนันในฐานะทายาท ซึงมีความสนใจต้องการสืบทอดถูมิปัญญาของบรรพบุรุษมิ ให้สูญหายไป และต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าเกียวกับการทำผ้าบาติก ให้ลึกซึ้งชองงานศิลปะ จึงสนใจเข้าศึกษาในสถาบันราชภัฎยะลาในสาขาศิลปศึกษาจนสำเร็จการศึกษานำความรู้ที่ได้ รับมาสร้างสรรค์ จากการทำผ้าปาเต๊ะ แม่พิมพ์โลหะมาเป็นบาติกลายเขียนที่มีความแปลก แทรกงานศิลปะ ประยุกต์ลงไปในผ้้าให้มีมิติความแปลกใหม่ทั้งรูปแบ สี ลายเส้นพื้นผิวให้มี ความประทับใจจากผู้พบเห็น รักชื่นชมหลงไหลในผ้าบาติก จนกลายเป็นผ้าบาติกลาหินแตก ในปัจจุบัน สมามารถนำผ้าบาติกไปประยุกต์ใช้ส้อยได้หลากหลายตามความต้องการในชีวิต ประจำวันภายใต้แบรด์ ( อาืดือนันบาติก ADEUNAN BATIK YALA) สามารถนำผ้าบาติกที่ผลิตไปตัดเสื้อตามแฟชั่นทั้งสภาพบุรุษ และสภาพสตรี กางเกง กระโปรง กระเป๋า ผ้าโสร่ง ฯลฯ ท่านใดสนใจสามารถติดต่อได้ที่ คุณอาดือนัน กาปา โทร.081-0992164





อาดือนันสืบจากบรรพบุรุษที่มีภูมิปัญญา พื้นบ้านที่ทำกันมาสมัยบรรพบุรุษในการ ทำผ้าปาเต๊ะ ผ้าบาติกจากหลักฐานแม่ พิมพ์ ลายโลหะ กระทะต้มเทียนคูมือการ ผสมสีของโบราณซึ่งเป็นของคุณตาของอา ดือนันที่ได้รับการท่ายถอดจากคุณตา นายอาแว หะยีอาแว เป็นชาวปัตตานี

ผ้าพันคอ บาติกลายหินอ่อนผสมผสานด้วยลายขอ ด้วยเนื้อคอตตอน







ชื่อผลิตภัณฑ์ : บือแนบาติก สถานที่ผลิต : ๑๒/๔ ม.๔ ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา ๙๕๐๐๐ ผู้ดำเนินงาน : นายปริญญา ยือราน Phone on : ๐๘๙-๔๖๓-๒๔๐๘ Line id : ๐๘๙๔๖๓๒๔๐๘ Facebook : prinya yaran เพจ : บือแนบาติก



\"บือเเนบาติก\" บาติก เป็นภาษาชวา ซึ่งแปลว่า ผ้าที่มีลวดเป็น จุด ๆ การนำเอาเทคนิคดั้งเดิมของอินโดนีเซีย มาพัฒนาเป็นบาติกที่มีความหลากหลายของ เทคนิค ที่มีสีสันงดงาม บือเเนบาติก สืบเนื่องมาจากสภาพชุมชนมีที่อยู่อาศัยตามเขตชายป่าธรรมชาติ มีต้นไม้ มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะต้นมังคุดที่อยู่หลังบ้านผู้ประกอบการเกิดแรงบันดาลใจว่า เราน่าจะทำผ้าบาติกและผ้ามัดย้อม ที่ใช้สีจากธรรมชาติดูบ้างจะได้รักษาสิ่งแวดล้อม จึง ได้ช่วยกันเก็บใบมังคุด ใบหูกวาง มาสับ มาต้มสกัดออกมาเป็นสี สีที่ออกมาคือได้สีที่สวย เลยทำผ้าบาติกและผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง บาติก เป็นภาษาชวา ซึ่งแปลว่า ผ้าที่มีลวดเป็นจุด ๆ การนำเอาเทคนิคดั้งเดิมของ อินโดนีเซียมาพัฒนาเป็นบาติกที่มีความหลากหลายของเทคนิค ที่มีสีสันงดงาม โดยมีจุด เด่นคือใช้สีจากธรรมชาติ เช่น ใบมังคุด ใบหูกวาง ใบคราม เป็นต้น มาสกัดให้เป็นสีเพื่อ แต่งแต้มลงบนผืนผ้า เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดีต่อสุขภาพผู้สวมใส่ และที่สำคัญคือใช้ วัตถุดิบที่มีในชุมชน จึงเป็นการแปรรูปที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถ่ายทอดความงดงาม บนผืนผ้าผ่านกลุ่มมือแนบาติก จากรุ่นสู่รุ่นต่อไป


Share
Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook