พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั ไดท้ รงมพี ระราชดำ� รวิ ่า “ขณะนยี้ งั มีบคุ คลอกี จ�ำนวนมาก ทีม่ ีความตง้ั ใจจริง มศี รัทธา ขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหาไม่มีความรู้ พ้ืนฐานและทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา วิชาชีพระดับต่างๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่าน้ีให้มี ความรู้วิชาชีพท่ีเขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและ ประเทศชาตไิ ด้” ศนู ย์การศึกษานอกโรงเรยี นกาญจนาภิเษก (วิทยาลยั ในวัง) ส�ำนักงาน กศน.
รูปภาพ : นิทรรศการภาพลายเส้น, สนี ้ำ� http://www.oknation.net
บทบรรณาธิการ ส�ำนักงาน กศน.มีนโยบายในการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานท�ำ โดยให้ความส�ำคัญ และสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัด และองค์กรภาคีเครือข่าย จัดการศึกษาอาชีพให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและท้องถ่ิน เพ่ือให้ผู้เรียนได้น�ำความรู้ ประสบการณ์และทักษะ ไปใช้ในการประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัวอย่างมี ความสขุ และเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกจิ ชุมชนและประเทศชาติ วารสารการศึกษาตลอดชีวิต ฉบับเดือนตุลาคม 2555 จึงได้น�ำเสนอบทความที่น่าสนใจ เกีย่ วกับการจดั การศกึ ษาอาชพี คือ “การจดั การศึกษาอาชีพเพอื่ การมงี านทำ� ” โดย เลขาธกิ าร กศน. ประเสรฐิ บุญเรอื ง “การฝกึ อบรมชา่ งสิบหมขู่ องโรงเรียนชา่ งฝมี อื ในวงั (ชาย)” โดย ธีรนาถ ทองตะโก “ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) จัดการเรียนรู้งานช่างสิบหมู่ศิลป วัฒนธรรมไทย” โดย สวุ รรณี รตั นรอด “การศกึ ษาเพื่อพัฒนาอาชีพ : โครงการบา้ นเลก็ ในป่าใหญ่ ตามพระราชดำ� รหิ ้วยหญ้าไซ อ�ำเภอแม่สรวย จงั หวดั เชียงราย” โดย ทนงศักด์ิ กาบปินะ และ “การพัฒนาหลักสูตรท้องถ่นิ ” โดย อัญชลี ธรรมะวิธีกลุ หวงั เปน็ อยา่ งยิ่งวา่ วารสารการศกึ ษาตลอดชีวติ ฉบับเดอื นตุลาคม ฉบบั นี้ จะใหส้ าระส�ำคัญที่มีประโยชนต์ ่อชาว กศน. และผูส้ นใจทัว่ ไป อัญชลี ธรรมะวธิ ีกลุ [email protected]
วารสาร การศึกษาตลอดชวี ิต ISSN 2286-7626 คณะท่ปี รึกษา นางพนิตา ก�ำภู ณ อยธุ ยา ปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร นายประเสรฐิ บญุ เรือง เลขาธิการ กศน. วัตถปุ ระสงค์ของการจดั ท�ำ 1. เพอ่ื สง่ เสรมิ การพฒั นาการจดั การศึกษาตลอดชวี ติ 2. เพือ่ เผยแพร่งานวิชาการ และผลงานวจิ ัยดา้ นการศกึ ษาตลอดชีวติ 3. เพือ่ เป็นสอ่ื กลางในการแลกเปลย่ี นเรยี นรู้ร่วมกันระหวา่ ง ส�ำนักงาน กศน. กับบคุ คล/หนว่ ยงานต่างๆ 4. เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรภาคเี ครือขา่ ยและทุกภาคสว่ นของสงั คมเขา้ มา มสี ว่ นร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ขอ้ เสนอแนะในการจดั การศกึ ษาตลอดชีวติ กองบรรณาธิการ นางอญั ชลี ธรรมะวธิ ีกลุ บรรณาธกิ าร นางสาวเพญ็ ศริ ิ นอ้ ยเกริกกิจ ผูช้ ่วยบรรณาธกิ าร คณะกรรมการจดั ท�ำ นางอัญชลี ธรรมะวิธกี ุล วารสารการศึกษาตลอดชีวติ นายพงษ์เทพ วฒั นาวณชิ ยว์ ฒุ ิ นางสาวเพญ็ ศริ ิ น้อยเกริกกิจ นางมาลนิ ี ทองสขุ นายนริ นั ดร สุขปรีดี นางบญุ เรียม โพธสิ์ นิ นางชงโค สุรเวทวงค์ภาส นายโยฑิน สมโนนนท์ นายชูชาติ กำ� ลังงาม นางกมลทพิ ย์ ชว่ ยแกว้ ภาพปก ภาพถา่ ยหัวโขนฝ่ายยกั ษ์ หัวทศกัณฐ์ ถ่ายจากงาน \"กรุงเทพฯ ถนนวัฒนธรรม\" ของดเี ขตบางพลดั ระหวา่ งวนั ที่ 1-5 กันยายน 2553 http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/6f/Khon_Mask_Tosakan.JPG ศิลปกรรม ยุทธพงษ์ จุลมานพ พิมพค์ รง้ั ที่ 1 จำ� นวน 2,000 เลม่ พิมพ์ท่ี บรษิ ทั นำ� ทองการพิมพ์ จ�ำกัด Eโ2ท2-รm/2ศa7พั ilท:ซ์ .nเ0พuชm2ร8tเo0กn7ษgม4_264p93ri-nแ5tiขnโวgทง@รหสyนาaอรhงoค0o้า.cง2พo8mล07ู เข5ต4ห55นองแขม กทม. 10160
สารบัญ การจัดการศกึ ษาอาชีพเพื่อการมงี านท�ำ 01 ประเสรฐิ บุญเรอื ง การฝึกอบรมช่างสิบหมู่ของโรงเรียนช่างฝีมือ 05 ในวัง (ชาย) ธีรนาถ ทองตะโก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรยี นกาญจนาภิเษก 27 (วทิ ยาลยั ในวัง) จัดการเรียนร้งู านชา่ งสบิ หมู่ ศิลปวัฒนธรรมไทย สุวรรณี รัตนรอด การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ:โครงการบ้านเลก็ 32 ในป่าใหญต่ ามพระราชด�ำริหว้ ยหญ้าไซ อำ� เภอแมส่ รวย จังหวัดเชียง ทนงศักดิ์ กาบปนิ ะ การพฒั นาหลกั สูตรทอ้ งถ่นิ 38 อัญชลี ธรรมะวิธกี ุล
รูปภาพ : ภาพลายเส้นเลา่ เรือ่ งความเป็นอยู่ วถิ ชี ีวิต และวัฒนธรรมประเพณไี ทย http://www.bloggang.com
การจดั การศกึ ษาอาชพี เพอ่ื การมีงานทำ� ประเสริฐ บญุ เรือง เลขาธกิ าร กศน. ในขณะทีป่ ระเทศไทยตอ้ งเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และส่ิงแวดล้อมทีเ่ ปลี่ยนแปลง ไปอยา่ งรวดเร็ว และส่งผลกระทบอยา่ งรนุ แรงในปัจจบุ นั แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) จึงไดก้ ำ� หนดวิสยั ทศั นแ์ ละทิศทางการพัฒนาประเทศเพ่ือมุ่งสสู่ ังคมอยู่ร่วมกนั อยา่ งมี ความสขุ ดว้ ยความเสมอภาค เปน็ ธรรมและมีภมู ิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังน้ันจึงจะตอ้ งเรง่ สร้างภูมคิ มุ้ กนั . ใหก้ บั ประชาชนในประเทศมคี วามเขม้ แขง็ ขนึ้ เพอ่ื เตรยี มความพรอ้ มในการพฒั นาสงั คมและระบบเศรษฐกจิ ของ ประเทศ ใหส้ ามารถปรบั ตวั เพอื่ รองรบั ผลกระทบจากการเปลย่ี นแปลงไดอ้ ยา่ งเหมาะสม โดยการพฒั นาคน และ สงั คมไทย ใหม้ คี ณุ ภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรพั ยากร และไดร้ บั ประโยชนจ์ ากการพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมอย่าง เป็นธรรม รวมทงั้ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวตั กรรม และความคดิ สร้างสรรค์ บน พนื้ ฐานของการผลิตและการบรโิ ภคทเ่ี ป็นมติ รต่อส่ิงแวดล้อม การสรา้ งภมู ิค้มุ กันดงั กลา่ ว ดว้ ยการส่งเสรมิ ให้ คนไทยมกี ารเรยี นรตู้ ลอดชวี ติ คอื การเรยี นรอู้ ยา่ งตอ่ เนอ่ื งตลอดทกุ ชว่ งวยั คอื ตงั้ แตว่ ยั เดก็ จนถงึ วยั สงู อายุ เปน็ การ เรยี นรทู้ ั้งดา้ นการศกึ ษา ทกั ษะการท�ำงาน และการดำ� เนนิ ชีวิต เพอื่ ใหส้ ามารถปรับตวั ให้ทนั ตอ่ การเปล่ยี นแปลง ในยคุ ศตวรรษที่ 21 โดยจัดกระบวนการเรียนรทู้ ่ีเหมาะสม เพือ่ ส่งเสริมการมอี าชีพและรายไดท้ แ่ี น่นอนสามารถ ด�ำรงชีวติ อย่างพอเพยี ง ดังน้ันกระทรวงศึกษาธิการจึงมีแนวนโยบายในการสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษา มีงานสุจรติ ทำ� มรี ายไดต้ ามก�ำลังสตปิ ญั ญาและความรู้ มโี อกาสพฒั นาอาชีพได้ตามความตอ้ งการ สามารถ เขา้ ถึงแหลง่ ทรพั ยากร ที่ดนิ เงินทุน การศึกษา เทคโนโลยี ได้เพยี งพอ สามารถขายสินคา้ ทีผ่ ลติ ไดใ้ นตลาดที่ แขง่ ขันอยา่ งเทา่ เทียมกนั ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตลุ าคม 2555 1
การจดั การศึกษาอาชีพเพ่อื การมงี านทำ� สำ� นกั งาน กศน.มบี ทบาทหนา้ ทใี่ นการจดั การศกึ ษาเพอื่ สง่ เสรมิ ให้คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิต ในรูปแบบของการศึกษานอกระบบ และการศกึ ษาตามอธั ยาศยั ทม่ี คี ณุ ภาพ อยา่ งทวั่ ถงึ เทา่ เทยี ม จดั การศกึ ษา ให้ประชากรวัยแรงงานมีการศึกษาท่ีสูงข้ึน และมีอาชีพท่ีสามารถสร้าง รายไดใ้ หก้ บั ตนเองและครอบครวั อยา่ งยง่ั ยนื บนหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งและเศรษฐกจิ เชงิ สรา้ งสรรค์ สง่ เสรมิ ใหช้ มุ ชนมอี าชพี ทกี่ วา้ งขวาง และหลากหลาย สามารถพฒั นาไปสรู่ ะดบั วสิ าหกจิ ชมุ ชนทมี่ คี วามสามารถ เชิงการแข่งขัน และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเข้มแข็งให้ แกช่ มุ ชน การจัดการศึกษาอาชพี เพ่ือการมงี านท�ำ เป็นกิจกรรมหนึง่ ที่ ส�ำนกั งาน กศน.ใหค้ วามสำ� คัญและสนบั สนนุ ให้สถานศึกษาในสงั กัด และ องค์กรภาคเี ครือขา่ ย จัดการศึกษาอาชพี ใหเ้ หมาะสม สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและท้องถ่ิน เพื่อให้ผู้เรียนได้น�ำ ความรู้ ประสบการณแ์ ละทกั ษะ ไปใช้ในการประกอบอาชีพ มีรายได้เลย้ี งตนเอง และครอบครวั อย่างมคี วามสขุ และเพอ่ื สรา้ งความเขม้ แขง็ ใหร้ ะบบเศรษฐกจิ ชมุ ชนและประเทศชาตติ อ่ ไป ซง่ึ การดำ� เนนิ การจดั การศกึ ษาอาชพี เพอ่ื การมงี านทำ� ของส�ำนกั งาน กศน. มีดงั นี้ 1. จดั ใหม้ ศี นู ยฝ์ กึ อาชพี ชมุ ชนเพอื่ สง่ เสรมิ การเรยี นรู้ดา้ นอาชพี ใหก้ บั ประชาชนในทกุ อำ� เภอ อยา่ งนอ้ ย อ�ำเภอละ 2 แหง่ เพ่ือเป็นศนู ย์กลางในการฝึก พฒั นา สาธิต และสรา้ งอาชีพของผ้เู รียนและชมุ ชน รวมทัง้ เป็น ที่จัดเกบ็ แสดง จ�ำหน่าย และกระจายสินค้าและบริการ ประสานการดำ� เนนิ งานกบั ศนู ย์ฝกึ อาชพี ชมุ ชนของ หน่วยงานและสถานศกึ ษาต่างๆ ในพน้ื ท่ีเพอ่ื เชือ่ มโยงเป็นเครอื ข่ายการฝกึ และการสรา้ งอาชพี ของประชาชน ในจังหวัด กลุ่มจงั หวดั และระหว่างจงั หวดั 2 วารสารการศกึ ษาตลอดชวี ติ
การจัดการศึกษาอาชีพโดยศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน มีหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อสนองความจ�ำเป็นและ ความต้องการของผูเ้ รยี นและชมุ ชน ในแตล่ ะหลักสตู ร มรี ะยะเวลา ตงั้ แต่ 50 – 150 ชั่วโมง จาก 5 กลมุ่ หลักสูตรวชิ าชีพ ได้แก่ เกษตรกรรม อตุ สาหกรรม พาณชิ ยกรรม อตุ สาหกรรมสร้างสรรคแ์ ละการบรกิ าร เพือ่ ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ ภายใต้การดูแลด้านนโยบายจากคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ระดับกระทรวง และด้านปฏิบัติ มีคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนระดับจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการจัดการ การศึกษาอาชพี ใหเ้ ป็นไปอย่างเหมาะสม เพอื่ ใหป้ ระชาชนท่วี ่างงานตอ้ งการศกึ ษาและฝึกทักษะอาชพี เพื่อนำ� ความรูไ้ ปประกอบอาชีพ และผทู้ ่มี ีอาชพี อยู่แลว้ ต้องการพฒั นาอาชีพเดมิ ของตนเองให้ดีขึน้ รวมถึงผูส้ �ำเร็จ การศึกษาที่ต้องการจะเข้าสู่ตลาดแรงงานโดยส่งเสริมให้มีความพร้อมในการท�ำงาน สามารถน�ำความรู้ที่เรียน ไปประกอบอาชีพและมีรายได้อย่างแท้จริง ซ่ึงกาจัดการศึกษาอาชีพเพ่ือการมีงานท�ำดังกล่าว จะส่งผลการ พฒั นาก�ำลังคนของประเทศ เพื่อการก้าวสกู่ ารเป็นประชาคมอาเซียนของประเทศไทยในปี 2558 นอกจากนนั้ ผผู้ า่ นการฝกึ อบรมจากศนู ยฝ์ กึ อาชพี ชมุ ชน ยงั สามารถนำ� ความรทู้ ไ่ี ดร้ บั ไปใชใ้ นการเทยี บ โอนความร้สู หู่ ลกั สูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน ของสถานศึกษา สังกัดสำ� นกั งาน กศน. ท่ี มีอยคู่ รอบคลุมทุกพ้นื ที่ทัว่ ประเทศ 2. การฝึกอบรมอาชีพในหลักสตู ร OTOP Mini MBA สชู่ ุมชน (การบรหิ ารจดั การธรุ กิจสินคา้ OTOP ธุรกิจ OTOP สง่ ออก การตลาดและชอ่ งทางการจำ� หน่าย และภาษาอังกฤษธรุ กจิ ) เพื่อพฒั นาระบบบรหิ าร จัดการธรุ กจิ อยา่ งเปน็ ระบบใหก้ บั กลมุ่ เป้าหมายอยา่ งกว้างขวางและตอ่ เนอ่ื ง และพฒั นาระบบฐานขอ้ มลู เกย่ี วกบั อาชพี ใหส้ ามารถน�ำไปใชส้ นบั สนนุ การด�ำเนินการจดั ฝกึ อบรมอาชีพตามหลกั สตู ร OTOP Mini MBA ของศูนย์ ฝึกอาชีพชุมชนอย่างมีประสิทธภิ าพ ปีท่ี 1 ฉบับท่ี 2 ตลุ าคม 2555 3
3. จดั การศกึ ษาอาชีพใหแ้ กป่ ระชาชนตามแนวชายแดน โดยเนน้ เรอื่ งเกษตรธรรมชาตทิ ่ีสอดคล้องกับ สภาพปัญหา ความตอ้ งการ และบริบทของพื้นทชี่ ุมชนชายแดน 4. พฒั นาหลักสูตรการศึกษาอาชพี ทีส่ อดคล้องกับความตอ้ งของผ้เู รยี น ของตลาด และศักยภาพของ พื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การจัดการศึกษาอาชีพเป็นการจัดการศึกษาท่ีสามารถสร้างอาชีพหลักท่ีม่ันคงให้กับ ผู้เรียน สามารถสรา้ งรายไดท้ งั้ ในระหวา่ งเรียนและหลังจากส�ำเร็จการศกึ ษาไปแลว้ และสามารถน�ำเทคโนโลยี ไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพ่ิมให้กับอาชีพ เพ่ือพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถเชิงการแข่งขันอย่าง ยัง่ ยืน 5. บูรณาการความร้ทู มี่ อี ยู่ในชมุ ชน โดยเฉพาะภมู ิปญั ญาทอ้ งถิ่น และแหลง่ เรียนรู้ทีม่ อี ยู่ในชุมชนให้ เชอ่ื มโยงกบั การจัดการศกึ ษาอาชพี เพ่ือใหผ้ ูเ้ รยี นได้เรยี นรู้จากสถานการณ์จรงิ 6. สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ ส�ำหรับเป็นช่องทางในการประกอบอาชีพเพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและการแข่งขันด้านอาชีพให้กับ ผู้เรยี น 7. ส่งเสริมและสนับสนนุ ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามสี ว่ นร่วมเป็นภาคเี ครือข่ายในการจดั สง่ เสรมิ และ สนบั สนุนการจดั การศกึ ษาอาชีพเพอื่ การมงี านท�ำอยา่ งยั่งยืน ให้ครอบคลมุ พนื้ ท่ที ุกระดับ 8. กำ� กับและติดตามการจดั การศึกษาอาชพี เพื่อการมีงานทำ� อยา่ งเป็นระบบและต่อเน่อื ง พร้อมทง้ั นำ� ผลการตดิ ตามทไี่ ดม้ าใชใ้ นการพฒั นาคณุ ภาพการดำ� เนนิ การจดั การศกึ ษาอาชพี เพอื่ การมงี านทำ� ใหเ้ ปน็ ไปอยา่ ง มีประสิทธภิ าพ 4 วารสารการศึกษาตลอดชวี ิต
การฝึกอบรมช่างสิบหมู่ ของโรงเรยี นชา่ งฝมี ือในวงั (ชาย) ธีรนาถ ทองตะโก อาจารย์หวั หน้าแผนกช่างเขียน โรงเรียนชา่ งฝีมอื ในวงั (ชาย) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชด�ำริเกี่ยวกับศิลปะโบราณ ที่มีอยู่ ในพระบรมมหาราชวงั และตามสถานทที่ ัว่ ไปว่า มีความจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทจี่ ะต้องมีการอนรุ ักษ์ ให้คงอยู่ต่อไป จึงทรงเห็นสมควรจัดให้มีการเรียนรู้ และการฝึกอบรมงานช่างฝีมือต่างๆ จนสามารถน�ำมาใช้ในงานอนุรักษ์ ศิลปะโบราณวัตถุได้ ส�ำนักพระราชวังร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดตั้งโรงเรียนช่างฝีมือในวังชาย (วิทยาลยั ในวงั ชาย) ขน้ึ ในพระบรมมหาราชวงั และเร่มิ ท�ำการเรยี นการสอน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ไดพ้ ระราชทานพระราชานญุ าต ใหใ้ ชห้ ออเุ ทส ทกั สนิ าเปน็ อาคารเรยี น ตลอดจนทรงมพี ระเมตตา พระราชทานพระราชทรพั ยส์ ว่ นพระองค์ สนบั สนนุ การดำ� เนนิ กิจการด้านต่างๆ ของโรงเรียน อีกท้ังไดเ้ สดจ็ พระราชดำ� เนินพระราชทานประกาศนยี บัตร แก่นกั ศึกษาท่ีจบ หลักสตู รวิชาชีพเป็นประจำ� ทุกปี ปที ่ี 1 ฉบับที่ 2 ตลุ าคม 2555 5
“งานช่างเดน่ เนน้ ศิลป์ไทย ใฝค่ ุณธรรม” เป็นค�ำขวัญประจ�ำโรงเรียนชา่ งฝมี อื ในวัง (ชาย) ประวัตคิ วามเปน็ มาของโรงเรียนชา่ งฝมี อื ในวงั (ชาย) สืบเน่อื งจากวาระเฉลมิ ฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๕ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองคป์ ระธานกรรมการอ�ำนวยการบูรณปฏิสงั ขรณ์ วัดพระศรรี ัตนศาสดาราม และ พระบรมมหาราชวงั อันประกอบดว้ ย มหาปราสาทราชมณเฑียร ตลอดจนเครอ่ื งราชปู โภคตา่ งๆ ซึ่งล้วนตอ้ งใช้ ฝีมือชา่ งสิบหม่ทู ัง้ สน้ิ แต่ขาดแคลนผมู้ คี วามรู้ ความชำ� นาญในวชิ าชา่ งสิบหมู่ จึงทรงมพี ระราชด�ำรวิ ่า หากไม่ ถ่ายทอดวิชาช่างสิบหมู่ให้แก่คนรุ่นหลัง ย่อมยากจะรักษาศิลปวัฒนธรรม ท่ีมีคุณค่าย่ิงของชาติไทยไว้ได้ จึงมี พระราชดำ� ริ ที่จะอนุรักษ์ และเผยแพรว่ ิชาความรู้ทเี่ คยฝึกฝนกันในวงั ใหก้ วา้ งขวางออกสปู่ ระชาชน ดงั พระราช ดำ� รสั ความตอนหนง่ึ ว่า “งานชา่ งศลิ ปไ์ ทย เปน็ มรดกทางวฒั นธรรมทส่ี ำ� คญั ยง่ิ ของชาติ เพราะศลิ ปะเปน็ เครอ่ื งแสดง ให้เห็นสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของคนในชาติท่ีสืบทอดกันมายาวนาน จนเป็น เอกลักษณป์ ระจำ� ชาติ” สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไดพ้ ระราชทานพระราชานญุ าตให้ใช้อาคารหอ อเุ ทสทกั สนิ า ภายในพระบรมมหาราชวงั เพอ่ื จดั ตงั้ โรงเรยี นผู้ใหญ่ พระตำ� หนกั สวนกหุ ลาบ (วทิ ยาลัยในวังชาย) ขน้ึ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ระยะแรกรบั บตุ ร ของขา้ ราชบรพิ ารมาฝกึ อบรม ปจั จบุ นั รบั ทง้ั นกั เรยี นชายและนกั เรยี นหญงิ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระเมตตาพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สนบั สนุนการด�ำเนนิ งานและโปรดไม่ให้เกบ็ ค่าศกึ ษาเลา่ เรียน ทรงเอาพระทยั ใส่ ติดตามการดำ� เนนิ งาน อีกทง้ั เสดจ็ พระราชด�ำเนนิ พระราชทานประกาศนยี บัตรแก่นักศึกษา ทจ่ี บหลกั สูตรเป็นประจ�ำทกุ ปี ตงั้ แต่ปกี ารศกึ ษา ๒๕๓๒ เป็นตน้ มา ปัจจุบนั โรงเรียนช่างฝมี ือในวงั (ชาย) เปิดสอนวิชางานเขียน งานปน้ั งานประดับมุก งาน ลายรดนำ�้ งานแกะสลัก และงานหัวโขน รปู ภาพ : สัตวห์ มิ พานตป์ ระดับพระเมรุ www.shutterphoto.com 6 วารสารการศึกษาตลอดชีวิต
นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ ให้ จดั สรา้ งสาขาวทิ ยาลยั ในวงั ชาย ดา้ นช่างสบิ หมูข่ น้ึ ณ อำ� เภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อเฉลิมพระเกียรตเิ นือ่ งในมหามงคล พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ วั ภมู พิ ลอดลุ ยเดช เสดจ็ เถลิงถวลั ยราชสมบตั เิ ปน็ ปีที่ ๕๐ เม่อื พ.ศ. ๒๕๓๙ ด้วย เหตนุ จ้ี งึ พระราชทานนามสถานศกึ ษาแหง่ น้วี า่ “ศูนยก์ ารศกึ ษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วทิ ยาลยั ในวงั )” สำ� นกั พระราชวงั ไดร้ ว่ มมอื มอื กบั กรมการศกึ ษานอกโรงเรยี น กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ในขณะนนั้ ซงึ่ ไดจ้ ัดสรรงบประมาณเป็นคา่ ตอบแทนวทิ ยากรและค่าวัสดุฝกึ ตามเกณฑท์ ่กี ำ� หนด ซ่ึงปัจจบุ ันกรมการศกึ ษา นอกโรงเรียน คือส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ส�ำนักงาน กศน.) ได้ ดำ� เนินการ จดั การฝึกอบรมวิชาชพี ชา่ งสิบหมู่ ให้กับบุคคลท่ีสนใจแตข่ าดแคลนทนุ ทรพั ย์ หรือโอกาสทางการ ศึกษา เพื่อให้สามารถน�ำทักษะความรู้ไปประกอบอาชีพ สร้างเสริมรายได้แก่ครอบครัว และอนุรักษ์ศิลป วัฒนธรรมไทยโบราณ ใหค้ งอยสู่ ืบไป โรงเรียนชา่ งฝีมือในวงั (ชาย) และ “ศนู ย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก” (วิทยาลยั ในวัง) แสดงถึงหนึ่งในแนวทางการอนุรักษ์ และฟน้ื ฟงู านชา่ งหลวงไทย ให้คงอย่คู ู่สังคมไทย ผ่านระบบการศกึ ษาท่ี เปดิ โอกาส ใหป้ ระชาชนทวั่ ไป โดยเฉพาะคนด้อยโอกาสไดพ้ ฒั นาคณุ ภาพชีวติ ของตนใหเ้ จริญกา้ วหนา้ ยิง่ ขนึ้ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้เปล่ียนชื่อโรงเรยี น จากเดิม โรงเรียนผใู้ หญพ่ ระต�ำหนักสวนกหุ ลาบ (วิทยาลยั ในวงั ชาย) เป็นโรงเรยี นช่างฝมี อื ในวัง (ชาย) รบั นกั ศกึ ษาทัง้ ชาย และหญงิ สถานที่ตงั้ ของโรงเรียน คือ อาคารหออเุ ทสทกั สินา (โรงเรยี นชา่ งฝมี ือในวงั ชาย) ในพระบรมมหาราชวงั ถนนหนา้ พระลาน แขวงพระบรมมหาราชวงั เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณยี ์ ๑๐๒๐๐ หมายเลข โทรศัพท์ ๐๒ ๒๒๑ ๑๘๕๖ ปที ี่ 1 ฉบบั ท่ี 2 ตลุ าคม 2555 7
สาขาวิชาที่เปิดสอน รปู ภาพ : ภาพเขียนจติ รกรรมฝาผนงั วัดพระศรรี ตั นศาสดาราม (วัดพระแกว้ ) สาขาวิชาที่เปิดสอนมี 6 สาขา ได้แก่ ชา่ งเขยี น ชา่ งป้นั ชา่ งแกะสลัก ชา่ งหวั โขน ชา่ งลายรดนำ้� และช่างประดับมุก ปจั จบุ นั วชิ าชา่ งไทยมผี สู้ นใจเรยี นนอ้ ยอาจเนอื่ งดว้ ยสาเหตทุ ว่ี า่ เมอื่ เรยี นจบแลว้ หางานทำ� ยาก ประกอบ กบั ครูชา่ งทีเ่ ก่งๆ ตา่ งกม็ ีอายมุ าก การถ่ายทอดองค์ความรูส้ ่คู นรนุ่ ใหมๆ่ กด็ �ำเนินไปดว้ ยความยากล�ำบาก ดว้ ย เหตุปจั จยั ตา่ งๆ อกี หลายประการซึ่งมีผลกระทบทัง้ โดยทางตรงและทางอ้อม เช่น ปจั จยั ด้านเงินทนุ สถานที่ ในการด�ำเนนิ การฝึกอบรม เป็นต้น สาขาวิชาช่างไทย ที่ผู้เรียนนิยมเรียนสูงสุดคือแผนกช่างเขียน ในแต่ละปีจะมีผู้มาสมัครสอบเข้าใน แผนกน้ี เป็นจ�ำนวนมากกว่าสาขาช่างอนื่ ๆ วชิ าช่างทส่ี นใจเรยี นรองลงมาคือ ช่างปัน้ ซ่ึงปจั จบุ ันหอ้ งเรยี นของ ชา่ งป้นั และช่างเขียนต้ังอยู่ในอาคารเรยี นเดียวกัน กล่าวคือ ช่างปนั้ เรียนทีช่ ัน้ ล่างของอาคาร เพราะวิชาช่างปนั้ ต้องใช้อปุ กรณ์การฝึกอบรมต่างๆ มากมาย เชน่ การใช้ปนู ดิน น้�ำ ฯลฯ ส่วนชา่ งเขยี น อปุ กรณท์ ใี่ ช้มไี มม่ ากนกั จึงเรยี นช้ันบนอาคารมีหอ้ งเรียนติดเคร่ืองปรับอากาศอยา่ งดี สำ� หรบั วชิ าชา่ งอนื่ ๆไดร้ บั ความนยิ มพอๆ กนั ไดแ้ กว่ ชิ า ชา่ งหวั โขน ชา่ งลายรดนำ�้ สองวชิ านี้ มจี ำ� นวน นกั เรยี นใกลเ้ คยี งกนั สว่ นวชิ าชา่ งแกะสลกั และวชิ าชา่ งประดบั มกุ มผี สู้ นใจเรยี นนอ้ ยเพราะใชว้ สั ดทุ หี่ ายากและ มีราคาสูง เมื่อเรียนจบแล้วต้องการประกอบอาชีพจะต้องใช้เงินลงทุนสูง ผู้ที่สนใจต้องการเรียนฝึกอาชีพช่าง สบิ หมโู่ รงเรยี นชา่ งฝีมอื ในวงั (ชาย) เปิดรบั สมัครนกั เรียนใหม่ ประมาณเดือนกมุ ภาพนั ธถ์ ึงเดือนพฤษภาคมของ ทุกปี ส�ำหรับท่านที่สนใจต้องการจะเข้ามาเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) โดยทำ� หนงั สือถงึ สำ� นักพระราชวังหรอื ตดิ ตอ่ มาทีโ่ รงเรยี นชา่ งฝีมอื ในวัง (ชาย) ในพระบรมมหาราชวงั แขวง พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200โทร. 02 224 3308 8 วารสารการศกึ ษาตลอดชีวติ
รปู ภาพ:ภาพเขยี นจติ รกรรมไทยแบบโบราณ ผลงานของนักเรียนช่างเขียนโรงเรียนช่าง ฝีมอื ในวัง (ชาย) โครงสร้างของหลักสูตรวชิ าช่างทเ่ี ปิดสอนในปัจจุบัน ประกอบด้วย วชิ าเอก หลักสูตร 800 ช่วั โมง มีจ�ำนวน 6 วชิ า คือ ช่างเขียน ชา่ งปน้ั ชา่ งแกะสลักไม้ ช่างหัวโขน ช่างลายรดน้�ำ และช่างประดบั มุก เลอื กเรียนไดเ้ พยี ง 1 วิชา วิชาอาชพี บังคบั เรียน หลักสูตร 100 ช่ัวโมง มจี �ำนวน 4 วชิ า คือ วชิ าดนตรีพธิ หี ลวง วิชาวาดเสน้ วิชาองค์ประกอบศลิ ป์ และวิชาประวัตศิ าสตร์ศิลป์ วิชาอาชีพเลอื กเสรี หลักสูตร 100 ช่ัวโมง มีจำ� นวน 4 วิชา คอื วิชาลงรกั ปิดทอง วิชางานแทงหยวก วิชาสีนำ�้ และวิชาเคร่ืองปั้นดนิ เผา เลอื กเรยี นได้เพียง 1 วิชา การฝึกอบรมวชิ าชา่ งสบิ หมู่ วิชาชา่ งเขยี น ช่างเขียน คือบุคคลท่ีมีฝีมือและความสามารถในการวาดเขียนและระบายสี ให้เกิดเป็นลวดลาย หรอื รปู ภาพต่างๆ ไดอ้ ย่างงดงาม คำ� วา่ ชา่ งเขียนมมี าแตโ่ บราณ แต่ละพ้ืนทีม่ ีค�ำเรียกต่างกนั ออกไป อาทิ ชา่ งแต้ม ช่างเขยี นสนี ำ�้ กาว ช่างเขียนลายรดนำ�้ เป็นตน้ ในบรรดาช่างประเภทตา่ งๆ ในหมวดช่างสบิ หมดู่ ว้ ยกนั ช่างเขยี น จดั ว่าเป็นช่างที่มีความส�ำคัญย่ิงกว่า ชา่ งหม่ใู ดๆ ท้ังน้ี เนอ่ื งจากการวาดเขียนและการเขียนระบายสี เป็นทย่ี อมรบั นบั ถือวา่ เปน็ สื่อที่มศี ักยภาพยิ่ง ในการถา่ ยทอดความคดิ สรา้ งสรรคอ์ อกมาใหป้ รากฏเปน็ รปู ธรรมทช่ี ดั เจนสามารถนำ� ไปใชเ้ ปน็ ตน้ แบบ สรา้ งสง่ิ ตา่ งๆ ไดต้ ามความประสงค์หรือเป็นตน้ แบบทีม่ ีความส�ำเรจ็ และมีคณุ ค่าเฉพาะในตัวชิน้ งานนัน้ โดยตรง ดงั มหี ลักฐาน เป็นที่ปรากฏในส�ำนวนภาษาของหมู่ช่างไทยแตเ่ ดมิ ซึง่ พูดตดิ ปากกนั ตอ่ ๆ มาว่า “ชา่ งกลงึ พ่งึ ช่างชัก ชา่ งสลักแบบอยา่ งพงึ่ ชา่ งเขยี น ช่างติ และชา่ งเตยี น ดนั ตะบงึ ไม่พง่ึ ใคร” ปที ี่ 1 ฉบบั ที่ 2 ตลุ าคม 2555 9
วชิ าชา่ งเขยี น ไดร้ บั การยอมรบั วา่ มคี วามสำ� คญั กวา่ วชิ าการชา่ งประเภทอน่ื ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากในโอกาส ทป่ี ระกอบการพิธไี หว้ครชู า่ งประจำ� ปี และมีการรับผู้เขา้ มามอบตวั เป็นศษิ ยใ์ หม่ในส�ำนกั ชา่ งนน้ั ๆ บุคคลผูเ้ ป็น ครชู า่ ง หวั หน้าส�ำนกั ช่างหรอื เจ้าพิธีไหวค้ รจู ะท�ำ การ “ครอบ” หรือ “ประสิทธิประสาธน์” ให้ผทู้ ่ีเข้าเปน็ ศิษย์ใหม่ เปน็ ผไู้ ดร้ บั วิชาและฝึกหดั เป็นชา่ งต่อไป ครชู ่างไดท้ �ำการ “ครอบ” แกศ่ ษิ ยใ์ หม่ เป็นปฐมก็คอื วิชา ช่างเขียน โดยผคู้ รอบจบั มือศษิ ย์ใหม่ใหเ้ ขียนลายหรอื รูปภาพตามรอยเส้นลายมือของครเู ปน็ ประเดิม งานของช่างเขียนซ่ึงเป็นงานที่มีความส�ำคัญยิ่ง ในงานช่างสิบหมู่นั้นมีงานด้านการเขียนวาด เขียน ระบายสี และ เขยี นน�ำ้ ยาชนิดต่างๆ อย่หู ลายอย่างหลายชนดิ วิชาช่างเขียน เป็นแผนกท่ีมีผู้สนใจเรียนมากท่ีสุดในบรรดาวิชาช่างทั้งหมด ที่เปิดสอนในโรงเรียน ช่างฝมี อื ในวัง (ชาย) ทัง้ น้ีเน่อื งจากวชิ าช่างเขียนเป็นพ้ืนฐานและมคี วามสำ� คญั มากเป็นอนั ดับแรก หากชา่ งไมม่ ี พน้ื ฐานในงานชา่ งเขยี นมากอ่ นการทำ� งานในชา่ งในสาขาอน่ื กจ็ ะลำ� บากมาก ยกตวั อยา่ งเชน่ ชา่ งปน้ั หากไม่สามารถ เขยี นแบบรา่ งทีต่ อ้ งการปัน้ ออกมาได้ กจ็ ะตอ้ งไปพ่งึ ชา่ งเขยี นให้มาเขียนแบบร่าง ดงั นัน้ หากช่าง มีพ้ืนฐานใน งานเขียนกอ่ น จะทำ� ใหง้ านช่างนัน้ งา่ ยขึ้น 10 วารสารการศึกษาตลอดชวี ิต
วิชาช่างปั้น ชา่ งปน้ั คือ บุคคล ท่มี ที ง้ั ฝีมือ และ ความสามารถเป็นชา่ ง อาจกระทำ� การปั้นจากวสั ดตุ า่ งๆ อาทิ ดิน ปูน ขผ้ี ึง้ อยา่ งใดอย่างหนงึ่ มาประกอบเขา้ ดว้ ยกันสร้างเปน็ รูปทรงท่ีมศี ิลปะและมีคุณคา่ ในทางศลิ ปกรรม งานปน้ั และ ชา่ งผู้ทำ� งานปัน้ น้ี ในสมัยโบราณนน้ั เรียกว่า “งานปนั้ ” และ “ช่างปน้ั ” แตใ่ นปัจจุบนั “งานป้ัน” เปลี่ยนเป็น “ประติมากรรม” ซงึ่ มนี ัยว่า มาแตค่ �ำภาษาบาลวี า่ ปฏมิ ากมมฺ หรือในภาษาสันสกฤตวา่ ปรตฺ ิมากรมฺ ส่วนคำ� ว่า “ช่างป้นั ” กไ็ ด้รับความนยิ ม เรยี กวา่ “ประติมากร” ช่างปั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่างที่มีความส�ำคัญรองลงมาจากช่างเขียน ความส�ำคัญของงานปั้นและ ชา่ งปัน้ จึงเปน็ รองงานเขยี น และงานป้นั กย็ งั คงมคี วามส�ำคัญเหนืองานชา่ งประเภทอนื่ อยหู่ ลายประเภทดว้ ยกนั ทง้ั นเ้ี นอื่ งดว้ ยงานชา่ งบางประเภทตอ้ งอาศยั วธิ กี ารบางอยา่ งของชา่ งปน้ั นำ� ไปเปน็ แบบในการทำ� งานชา่ งประเภท นั้นๆ ให้สำ� เรจ็ ลลุ ว่ งไปได้ งานปั้นแบบไทยประเพณี มักเป็นงานปนั้ ทมี่ ลี กั ษณะเป็นรปู ประดษิ ฐ์ หรอื ทเ่ี รียกวา่ “อุดมคตนิ ิยม” ตามคติความเช่ือในหมู่คนส่วนมากในอดีต เนื่องจากงานศิลปกรรมการจัดให้มีขึ้นส�ำหรับประโยชน์ใช้สอย และสร้างเสริมความสำ� คญั แก่ถาวรวตั ถุ และถาวรสถานทง้ั ในฝ่ายศาสนจกั ร และ ฝ่ายอาณาจกั รซึ่งมีคตินยิ ม รูปแบบท่ีเปน็ ลกั ษณะ “บคุ ลาธษิ ฐาน” เปน็ สำ� คัญ งานปั้นแบบไทยประเพณีที่บรรดาช่างปั้นในอดีตได้สร้างสรรค์ข้ึนไว้นั้นมีหลายประเภท งานปั้น แต่ละประเภทยังประกอบการข้ึนเปน็ งานปั้น ดว้ ยวธิ ีการ และ กระบวนการตา่ งๆ กนั ในแผนกน้ีนักเรียนจะได้เรียนตั้งแต่ขั้นพ้ืนฐานในเน้ือหาวิชาต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับช่างปั้นเช่นการวาด ช่างปัน้ ต้องสามารถสเกต็ ภาพ ร่างแบบ ให้นำ�้ หนักของแสงเงาให้ถูกต้อง เรยี นร้เู กี่ยวกบั การจัดเตรยี ม และ ท�ำเคร่อื งมือท่ชี า่ งจำ� เปน็ ตอ้ งใช้ พร้อมกบั ท�ำความรู้จกั กบั วสั ดหุ ลักตา่ งๆ ที่ใช้ในงานปน้ั การผสมปูนสตู รต่างๆ วิธีการและขัน้ ตอนการป้ัน เรียนรกู้ ารปน้ั แบบนูนต่�ำ และการปัน้ แบบนูนสูง การป้นั แบบงานลอยตวั เปน็ ตน้ ปที ่ี 1 ฉบบั ท่ี 2 ตลุ าคม 2555 11
วิชาชา่ งแกะสลักไม้ งานช่างแกะสลักเป็นงานช่างไทยท่ีมีมาแต่โบราณงานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับการแกะสลักไม้มักรวม เรียกวา่ เครื่องไมจ้ �ำหลกั นบั ว่าเป็นงานศิลปะไทยทีอ่ ย่เู คียงคกู่ ับชาตไิ ทยมาช้านานต้งั แตส่ มยั ก่อนประวตั ิศาสตร์ แตไ่ ม้เป็นวัตถุทีเ่ สอื่ มสลาย ดงั นัน้ ศลิ ปะท่ีทำ� ด้วยไมด้ งั กล่าวจึงไม่เหลือให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบัน ช่างแกะสลักคือช่างท่ีมีความรู้ความสามารถในการออกแบบลวดลาย และสามารถ่ายทอดรูปแบบ และลวดลายนนั้ ด้วยการใชเ้ ครอื่ งมอื และของมีคมแกะสลักลงบนเนอ้ื วัสดุ เช่น ไม้ หนิ โลหะ เขาสตั ว์ และ บนวสั ดขุ องอ่อน เชน่ ผลไม้ หรอื หวั ของพชื ท�ำใหเ้ กดิ ลวดลายและภาพ มแี สงและระยะเกิดความสงู ต�่ำภายใน ภาพ ซง่ึ สามารถสมั ผสั ไดด้ ว้ ยมือ และสายตา เปน็ ภาพสามมติ ิ อกี ทั้งชา่ งจะตอ้ งมีความเข้าใจเกยี่ วกับเร่ือง ตวั ลายและภาพจงึ จะสามารถทำ� การแกะสลกั ไม้ เพราะการแกะสลกั นนั้ คอื กระบวนการทช่ี ่างตอ้ งใชเ้ ครือ่ งมือ ทำ� การ ขดุ ตดั ทอน แล้วแกะเอาเนอื้ วสั ดุน้ันออก ซ่ึงชา่ งจะตอ้ งใชค้ วามประณตี ต้องมคี วามรู้เกี่ยวกบั ลกั ษณะ ของเนอื้ วัสดุ เช่น ทางของเนือ้ ไม้ นอกจากนี้ยังตอ้ งร้เู ทคนิค และวิธกี ารใชเ้ คร่ืองมือเมอ่ื เวลาแกะสลกั ไมจ้ ะได้ ไมบ่ นิ่ และหลดุ ตลอดจนชา่ งควรจะรวู้ ธิ กี ารประดษิ ฐเ์ ครอ่ื งมอื คอื สวิ่ และลบั ใหค้ มอยเู่ สมอ เวลาแกะสลกั จะทำ� ให้ งานทอี่ อกมานนั้ มคี วามสวยงาม ลักษณะของงานชา่ งแกะสลกั จงึ เป็นงานชา่ งฝมี ือซึง่ ต้องใช้ความช�ำนาญเฉพาะตัว ใช้ความประณตี งานชา่ งแกะสลักแต่ละชิ้นไม่แตกตา่ งกนั ท่ีวิธกี ารทำ� งาน แตต่ า่ งกนั ทีล่ ักษณะของผลงานแต่ละช้ิน เชน่ การ แกะสลักพระพทุ ธรปู กเ็ ห็นวา่ เป็นลกั ษณะของการแกะสลักแบบประติมากรรมลอยตัว 12 วารสารการศกึ ษาตลอดชีวิต
ประเภทของงานแกะสลัก ประเภทของงานแกะสลกั แบง่ ออกได้ 3 ลักษณะ ไดแ้ ก่ 1. แบบภาพนูนตำ่� หรือทเี่ รียกกันในหมชู่ ่างวา่ ภาพหนา้ จันทร์ คอื ภาพที่มองเห็นเฉพาะหนา้ ตรง เทา่ นนั้ เพราะภาพจะนูนขน้ึ มาเพยี งเลก็ น้อย 2. แบบภาพนนู สงู เป็นภาพทีม่ องเห็นส่วนลึก กวา้ ง สงู เป็นสามมติ ิ บางภาพเกือบจะหลุดออกจาก พ้นื หลงั โดยการมองจากด้านตรง 3. แบบภาพลอยตวั เกี่ยวกับงานประติมากรรม เช่น ภาพพระพทุ ธรปู ท้ังองค์ ซง่ึ สามารถมองได้ รอบดา้ น งานไม้แกะสลกั นับวา่ เป็นศลิ ปกรรมทช่ี ่างไทยทำ� กันมาแตโ่ บราณ ท้งั นจ้ี ะเหน็ ได้จากผลงานแกะสลัก ลวดลายประดบั อาคาร สถาปตั ยกรรม เช่น ลวดลายหนา้ บนั คนั ทวย ชอ่ ฟา้ ใบระกา บานประตู แสดงให้ เหน็ ถึงความสามารถของช่างไทยทมี่ ีการเรยี นรู้ การถ่ายทอด และววิ ัฒนาการฝีมอื ในการประดษิ ฐ์ ศิลปกรรม อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมาหลายร้อยปี ซ่ึงลักษณะลวดลายแกะสลักจะสืบทอดประเพณีนิยม โบราณ ซง่ึ ถอื ว่าเป็นศิลปะประจำ� ชาตขิ องไทย เคร่ืองมือช่างแกะสลัก เครอื่ งมือของงานชา่ งแกะสลกั ที่สำ� คัญๆ กม็ ีสวิ่ และค้อน สว่ิ คอื สงิ่ ทีท่ ำ� จากโลหะท่เี ป็นเหลก็ กลา้ แขง็ และเหนยี ว ท�ำให้เกดิ ความคมดว้ ยการตกี ารเจยี ร และ ตกแต่งให้เป็นหน้าต่างๆ เช่น หนา้ ตรง หนา้ โคง้ ซ่งึ มีขนาดตา่ งๆ กัน ส่ิวหนา้ ตรง ใชส้ ำ� หรบั ตอกเดนิ เสน้ ใน แนวตรง และขดุ พนื้ ซึง่ มหี ลายขนาด สิว่ หนา้ โคง้ โคง้ เลบ็ มือ ใช้ส�ำหรับตอกเดินเสน้ ในส่วนทเ่ี ป็นส่วนโคง้ และใชป้ าดแต่งแกะแรลาย สิว่ ปากเสี้ยวลักษณะของส่ิวจะเปน็ มมุ เฉียงไปขา้ งใดขา้ งหนึ่ง และจะมีเปน็ คู่ คือ เสีย้ วซา้ ยหรอื เสีย้ วขวา ค้อนไม้ คือ ค้อนท่ีท�ำจากไมเ้ น้ือแขง็ เช่น ไม้ชิงชัน ไมแ้ ก่นมะขาม ขนาดตวั ค้อนมเี สน้ ผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 5 – 6 นิ้ว เหตทุ ี่ใชค้ อ้ นไม้ เพราะจะไมท่ ำ� ให้ดา้ มส่วิ ซึง่ เปน็ เหล็กชำ� รดุ เสียหาย และสามารถควบคมุ นำ�้ หนกั ไมอ้ ีกทงั้ ยงั เบามือ รปู ภาพ : ส่วิ ขนาดต่างๆ ทใี่ ช้ในงานชา่ งแกะสลกั ไม้ ปที ี่ 1 ฉบบั ท่ี 2 ตุลาคม 2555 13
วชิ าชา่ งหวั โขน ประวตั ิความเปน็ มาของชา่ งหวั โขน โรงเรยี นช่างฝีมอื ในวงั (ชาย) เริ่มจดั การเรยี นการสอนวิชาช่างหวั โขน ในปกี ารศกึ ษา ๒๕๔๓ โดยมคี รู ตาบทพิ ย์ แกว้ ดวงใหญ่ ผเู้ ชยี่ วชาญดา้ นงานชา่ งหวั โขนจากภายนอกมาชว่ ยราชการเปน็ ระยะเวลา ๒ ปี นกั เรยี น ชา่ งหัวโขนรุน่ แรกจำ� นวน ๑๔ คน ครูตาบทิพย์ แก้วดวงใหญ่ เป็นบุตรสาวของครูชิต แก้วดวงใหญ่ ปรมาจารย์ด้านหัวโขนผู้รับการ สืบทอดงานชา่ งหัวโขนจากพระเทพยนต์ (จำ� รัส ยนั ตระปรากรณ)์ ชา่ งหวั โขนทมี่ ชี ื่อเสียงในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกลา้ เจา้ อย่หู ัว ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ อาจารยผ์ สู้ อนวชิ าชา่ งหัวโขน คือ อาจารย์ทนงศกั ด์ิ กลน่ิ ธรรม ลกู ศษิ ย์ของ ครูตาบทพิ ย์ แกว้ ดวงใหญ่ ซงึ่ อาจารย์ทนงศักด์ิได้รบั การถา่ ยทอดวชิ าชา่ งหวั โขนโบราณตามแบบราชสำ� นัก วิชาช่างหวั โขน โรงเรยี นช่างฝีมอื ในวัง(ชาย) ยงั คงอนรุ กั ษว์ ชิ าช่างหวั โขนตามแบบโบราณของ ราชส�ำนกั รูปภาพ : พระราม www.khunpoom.net 14 วารสารการศกึ ษาตลอดชวี ติ
โขน เป็นนาฏศิลป์ช้ันสงู อยา่ งหน่ึงของไทย แต่เดิมนั้นผ้แู สดง รูปภาพ : พระภรตมุนี ผลงาน อาจารย์ ทนงศักดิ์ กลน่ิ ธรรม โขนจะตอ้ งสวมหัวโขนปิดหนา้ ทัง้ หมด จงึ ตอ้ งมผี พู้ ดู แทนเรียกวา่ ผูพ้ ากย์ - เจรจา คร้ันต่อมาไดป้ รับปรงุ ให้ผแู้ สดงซ่ึงสมมติเป็นเทพบตุ ร เทพธิดา และมนุษย์ชายหญงิ สวมแต่เครอื่ งประดบั ศรี ษะ ไมต่ ้องปิดหน้าทง้ั หมด เคร่อื งประดบั ศรี ษะเหล่านน้ั ได้แก่ ชฎา มงกฎุ รดั เกลา้ เปน็ ต้น ถงึ แม้ ผู้แสดงโขนทส่ี วมเครอ่ื งประดบั ศีรษะ เปิดหนา้ สามารถจะพูดเองได้ แตก่ ็ ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ คือ ต้องมีผู้พากย์ – เจรจา ทั้งนีเ้ วน้ แต่ฤษี บางองค์ และตัวตลกท่ีเจรจาเอง โดยถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหน่ึงของผู้ แสดงโขนที่เปน็ ตวั ตลก การประดษิ ฐห์ วั โขนจะเกดิ ขน้ึ ในสมยั ใดไมป่ รากฏหลกั ฐานแนช่ ดั แตใ่ นสมยั อยธุ ยาตอนตน้ ปรากฏหลกั ฐานในกฎมณเทยี รบาล ตอนทก่ี ลา่ วถงึ พระราชพิธีอินทราภิเษก ระบุถึงการเล่นชักนาคดึกด�ำบรรพ์ ซ่ึงเชื่อว่า เป็นต้นก�ำเนิดของโขน และมีการละเล่นโขนต่อมาจนถึงปัจจุบัน การ ประดิษฐห์ วั โขน ได้บญั ญัตไิ ว้เป็นแบบแผน และสบื ทอดกนั ตอ่ มา ปจั จุบนั มีการสร้างหวั โขนท่ีเกิดจากฝมี อื ช่างของทางราชการ และชา่ งเอกชน รปู ภาพ : พระพรหม ผลงาน อาจารย์ ทนงศักดิ์ กลิน่ ธรรม รูปภาพ : ภาพถ่ายหัวโขนฝ่ายยักษ์ หัว ทศกัณฐ์ ถ่ายจากงาน “กรุงเทพฯ ถนน วัฒนธรรม” ของดีเขตบางพลัด ระหว่าง วันที่ 1-5 กนั ยายน 2553 http://upload.wikimedia.org/wikipedia/ commons/6/6f/Khon_Mask_Red_Giant. JPG ปที ี่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2555 15
ช่างประดิษฐ์หัวโขนจะต้องเป็นผู้ท่ีมีฝีมือและความรู้ความ สามารถเป็นอยา่ งดี เพ่อื ใหไ้ ด้หวั โขนครบถว้ นตามตัวโขน และผู้ชมได้รับ อรรถรส เข้าใจง่าย และที่สำ� คญั หวั โขนตอ้ งมีความประณีตสวยงาม ด้วยศิลปะเชิงช่าง สมเป็นนาฏศิลป์ช้ันสูง ช่างส่วนใหญ่จะได้รับการ ฝกึ ฝน และถ่ายทอดมาจากสกุลชา่ งในแตล่ ะสกุล ช่างประดิษฐ์หวั โขน ที่มฝี มี อื พอจะสืบค้นนามไดด้ ังนี้ • ครูดำ� ช่างสมัยรชั กาลที่ ๑ • เทพยนต์ ชา่ งสมยั รชั กาลที่ ๒ • หลวงเทพรจนา ชา่ งสมยั รัชกาลที่ ๒ • นายคร้าม ช่างสมัยรัชกาลที่ ๓ • นายปาน ชา่ งสมยั รัชกาลที่ ๓ • พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ช่างสมัยรัชกาลท่ี ๕ • กรมหมน่ื วรวฒั นศภุ ากร (พระองคเ์ จา้ เฉลมิ ลกั ษณาวงศ)์ ชา่ งสมัยรัชกาลที่ ๕ • หลวงเจนจิตรยง ช่างสมัยรชั กาลที่ ๕ – ๖ • พระครเู หลยี่ ม วัดดุสิตาราม เปน็ ภิกษุทส่ี นใจวชิ าชา่ ง และเป็นชา่ งประดษิ ฐห์ ัวโขน ในสมยั รชั กาลท่ี ๕– ๖ • พระเทพยนต์ (จำ� รสั ยนั ตรประกร) เปน็ หัวหนา้ ช่าง รปู ภาพ : พระอรชุน ปัจจบุ นั ถูกเกบ็ รกั ษาไว้ แผนกหวั โขน ในสมยั รัชกาลท่ี ๖ ที่พพิ ิธภณั ฑ์สถานแหง่ ชาติพระนคร • นายจิตร พิมพโกวทิ ช่างประดิษฐ์หวั โขน ในสมยั รัชกาล ๗ รชั กาลปจั จบุ ัน มีช่างประดษิ ฐ์หวั โขนท้ังของทางราชการ และ เอกชนหลายท่าน เช่น นายปราโมทย์ ค้าเจรญิ (ถึงแก่กรรมแล้ว) นาย อรรณพ แสนรกั ษ์ นายมงคล เหมศรี ชา่ งของกรมศลิ ปากร อีกหลายท่าน นายชิด แก้วดวงใหญ่ (ถึงแก่กรรมแล้ว) ม.ร.ว. จรูญสวัสดิ์ สุขสวัสด์ิ ปจั จุบันประดิษฐ์หวั โขนอยูท่ ีจ่ งั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา ผู้สืบสกลุ ของนาย ชิด แก้วดวงใหญ่ ประดิษฐ์หัวโขนเป็นอาชีพอย่ทู บ่ี ้านในกรงุ เทพมหานคร และครูสำ� เนยี ง ผดงุ ศิลป์ ชา่ งท�ำหวั โขนจังหวดั อ่างทอง เปน็ ตน้ 16 วารสารการศึกษาตลอดชวี ติ
วิชาช่างลายรดน้ำ� งานช่างลายรดน�้ำ เป็นงานประณีตศิลป์ด้านตกแต่งอย่างหน่ึง ซ่ึงมีรูปแบบ และการท�ำสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ จัดเป็นงานช่างศิลป์ ประเภทหนง่ึ ซงึ่ รวมอยใู่ นหมชู่ า่ งรกั อนั เปน็ ชา่ งหมหู่ นงึ่ ในบรรดาชา่ งหลวง หรอื ช่างประจำ� ราชส�ำนักซึง่ เรียกกันวา่ “ชา่ งสบิ หมู”่ ลายรดน�ำ้ หมายถึง การเขยี นลวดลาย หรอื รปู ภาพให้ปรากฏ เป็นลายทองด้วยวิธีปิดทอง แล้วเอาน�้ำรดจัดเป็นงานประณีตศิลป์ท่ีมี ความส�ำคัญมากส�ำหรับตกแต่งสิ่งของ เคร่ืองใช้ และเคร่ืองประดับของ ชาวบ้านธรรมดา เครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา ตลอดไปจนถึงในส่วนที่ เก่ียวกบั พระมหากษัตริย์ โดยใชต้ กแต่งผนงั ห้องท่ีมีขนาดใหญ่ อนั หมาย ถึงตกแต่งตั้งแต่เนื้อท่ีไม่กี่ตารางนิ้ว ไปจนถึงเนื้อท่ีหลายร้อยตารางฟุต ใหว้ ิจิตรงดงาม สรุปลายรดน้�ำคอื ลายทองทลี่ ้างดว้ ยน้�ำ การเขียนลวดลายหรือรูปภาพ ประเภทลายรดน�้ำมีมาแต่ครั้ง กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยน้ันได้มีการติดต่อค้าขายกับจีน และโดย เหตทุ ช่ี าวจนี เปน็ ชาตแิ รกทรี่ จู้ กั การใชร้ กั กอ่ นชาตอิ น่ื จงึ ทำ� ใหไ้ ทยไดร้ บั การ ถ่ายทอดถงึ วิธกี ารต่างๆ ในการใช้รกั รวมไปถึงกรรมวิธีในการทำ� ลายรดน้ำ� มาแต่ครัง้ สุโขทยั งานประเภทลายรดน�้ำแพร่หลายและเป็นที่นิยมเรื่อยมาจนถึง สมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยา และตอ่ มาจนถงึ สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ดงั ปรากฏ ศลิ ปะ โบราณวตั ถทุ ่ีตกทอดมาไดแ้ ก่ ตู้พระธรรม เคร่ืองใชส้ อย เครอื่ งครุภัณฑ์ ได้แก่ หีบต่างๆ ไมป้ ระกับหน้าคัมภรี ์ พานแวน่ ฟ้า ตะลุม่ ฝา บานตู้ ฉาก ลับแล ฝาผนัง บานประตูหน้าตา่ ง เป็นตน้ จะเห็นไดว้ า่ งานชา่ งลายรดน�้ำ ของไทยนน้ั มีคุณคา่ ทางด้านศิลปะ อนั มลี ักษณะโดยเฉพาะ และเปน็ แบบ อย่างของศิลปะไทยมาแต่โบราณ แม้ว่างานส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปใน ด้านท่ีเก่ียวกับศาสนา และพระมหากษัตริย์แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่ชาวบ้าน นยิ มท�ำเพอื่ ใช้เป็นเครื่องประดับตกแตง่ บ้านเรือน และเปน็ ที่เชดิ หน้าชตู า แหง่ ตน ปีท่ี 1 ฉบับท่ี 2 ตลุ าคม 2555 17
วิชาช่างประดับมุก งานประดบั มกุ เปน็ งานชา่ งอกี แขนงหนง่ึ ทอ่ี าศยั ฝมี อื และความ ละเอียดออ่ น โดยการน�ำเอาเปลอื กหอยบางชนิด ทมี่ คี ุณสมบตั ิพเิ ศษ คอื มคี วามแวววาว สามารถสะทอ้ นแสงแลว้ เกดิ สเี หลอื บเรอื งรองตา่ งๆ คลา้ ย สีรุ้ง คณุ ลกั ษณะของเปลอื กหอยเช่นน้ีภาษาช่างเรยี กวา่ “มีไฟด”ี และที่ งานประดบั มกุ สามารถใชป้ ระดบั ตกแตง่ พนื้ ผวิ ของชน้ิ งานไดห้ ลายลกั ษณะ เช่น ประตูหน้าต่างของพระอุโบสถ วิหาร และพระท่ีน่ัง ในพระบรม รปู ภาพ : บานประตูประดับมุกไฟลายมังกร มหาราชวัง หรือประดับตกแตง่ ภาชนะใช้สอย เชน่ พาน ตะลมุ่ เตยี บ ดันเมฆ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร โตะ๊ เตียง เป็นตน้ http://www.cameraeyes.net แต่เดิมการประดับมุกมักใช้กับงานท่ีเก่ียวเนื่องกับสถาบัน พระมหากษัตริย์ และศาสนาเป็นส่วนใหญ่ จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า งานประดับมุกที่เก่าแก่ท่ีสุดเกิดข้ึนในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือ ตู้พระไตรปิฎกประดับมุก ปัจจุบันเก็บรักษาใน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าเสือ บานประตูประดับมุกสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้า บรมโกศ (สมเด็จพระบรมราชาธริ าชท่ี ๓) ได้แกบ่ านประตูพระวิหารวดั รปู ภาพ : ลายประดับมกุ เลอ่ื ยล้อลายรดน้�ำ พระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก และบานประตู พระวิหารวัดบรม ตู้พระไตรปิฎก วัดเชิงหวาย ผลงานของ นักเรียนช่างฝีมือประดับมุก โรงเรียนช่าง ฝีมือในวงั (ชาย) ใช้ระยะเวลาในการทำ� 3 ปี พทุ ธาราม จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา ใช้ช่างจ�ำนวน 3 คน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสร้างงานประดับมุกตั้งแต่ตอนต้น แผนกช่างฝมี อื ประดับมกุ โรงเรียนช่างฝีมอื ในวงั (ชาย) รชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมีการสรา้ ง ผลงานประดบั มุกสืบเนอ่ื งต่อมา ดังมีผลงานประดบั มุกของชา่ งตกทอด มาทุกวันนี้ ได้แก่ บานประตูพระอุโบสถและบานประตูพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดารามสร้างในสมัย พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช บานประตพู ระมณฑปพระพทุ ธบาทสระบรุ สี รา้ งขน้ึ ในสมยั รชั กาลที่ ๑ บานประตูพระอโุ บสถวัดพระเชตพุ นวมิ ลมงั คลารามในการปฏสิ ังขรณ์วัดพระเชตุพนวมิ ลมังคลาราม ในรชั กาลท่ี ๓ บานประตพู ระอุโบสถวดั ราชบพิธสถติ มหาสมี าราม สรา้ งในรัชกาลท่ี ๕ เปน็ ต้น ผลงานประดบั มกุ ของครชู า่ งโบราณยงั มอี กี มากมาย ตวั อยา่ งทยี่ กมานเ้ี ปน็ เพยี งผลงานชน้ิ สำ� คญั บางสว่ น ซง่ึ ทรงคุณค่ายิง่ ควรแกก่ ารอนุรกั ษ์ไว้ใหแ้ กช่ นรนุ่ หลงั ได้ศึกษา และเพอื่ ความภูมใิ จในศิลปกรรมของชาตแิ ขนงน้ี ตอ่ ไป การเรียนในแผนกนี้ นักเรียนจะได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องมุกไทย เรียนรู้เก่ียวกับหอย แต่ละชนิดทสี่ ามารถน�ำมาใชใ้ นงานประดบั มกุ เรียนรพู้ ้ืนฐานการเขียนลวดลายในงานประดบั มกุ นกั เรยี นจะได้ ลงมือปฏิบตั ิงานจรงิ ตง้ั แต่ขั้นตอนการเลือกหอย การเจยี รหอย การตดั หอย และการฉลุลวดลาย จนสามารถทำ� ชิ้นงานไดส้ �ำเรจ็ 18 วารสารการศกึ ษาตลอดชีวติ
วิชาดนตรใี นพธิ หี ลวง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชด�ำริให้นักเรียนโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) ไดม้ โี อกาสเรยี นรวู้ ชิ าดนตรใี นพธิ หี ลวง ซง่ึ เปน็ อกี หนง่ึ รายวชิ าหนง่ึ ทส่ี ำ� คญั ของนกั เรยี นของโรงเรยี นชา่ ง ฝีมือในวงั (ชาย) จะต้องเรยี นนอกเหนือจากวชิ าชา่ งไทยในแตล่ ะสาขาฯ วชิ าดนตรีในพธิ หี ลวงนี้ เจ้าหน้าท่จี ากงานเคร่อื งสูงและกลองชนะ จะมาเป็นผสู้ อน ซึ่งจะเน้นหนกั ใน เรอ่ื งของการตีกลองชนะ ในจังหวะตา่ งๆ ที่ใช้อยใู่ นปจั จุบัน และตอ้ งเรียนรกู้ ารตัง้ รูปขบวน เม่ือถงึ เวลาปฏบิ ตั ิ งานจริง นกั เรยี นจะไดไ้ ปปฏิบัตงิ านร่วมกับเจา้ หนา้ ท่ีของส�ำนักพระราชวงั ในโอกาสต่างๆ รปู ภาพ : ขบวนพิธหี ลวง อญั เชญิ พระบรมโกศ http://www.oknation.net ปที ี่ 1 ฉบับที่ 2 ตลุ าคม 2555 19
วชิ าวาดเส้นและวชิ าองคป์ ระกอบศิลป์ วิชาวาดเส้นและวชิ าองค์ประกอบศลิ ป์ เป็นอีกสองรายวิชาบังคบั ท่ีนกั เรียนทกุ คนจะตอ้ งเรียนเชน่ กนั ซงึ่ มปี ระโยชนม์ ากตอ่ นักเรยี นศิลปะ และไดเ้ รยี นรเู้ ทคนคิ ต่างๆ เพ่อื ให้สามารถน�ำไปประยกุ ตใ์ ช้ได้ใน การ ปฏิบตั ิงานจรงิ ซงึ่ ครผู ้สู อนจะสอนต้งั แต่พนื้ ฐานไปจนถงึ ขั้นสูง ทั้งสองวชิ านจี้ ะมกี ารทดสอบ เพื่อประเมินผล นอกเหนอื จากงานท่คี รูมอบหมายใหใ้ นช่วั โมงเรียน รปู ภาพ : บรรยากาศในการจดั แสดงผลงานของนกั เรยี น วิชาองค์ประกอบศิลป์และวาดเส้น ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๒ รูปภาพ : ผลงานของนักเรยี นในวิชาวาดเสน้ ประจำ� ปกี ารศึกษา ๒๕๕๒ ซึ่งนำ� มา จดั แสดงนิทรรศการ พร้อมกบั วิชาองคป์ ระกอบศิลป์ 20 วารสารการศกึ ษาตลอดชีวิต
วชิ าประวตั ิศาสตรศ์ ลิ ป์ วชิ าประวตั ศิ าสตร์ศลิ ป์ เปน็ วิชาบังคับที่นกั เรียนทุกคนจะต้องเรยี น เพอ่ื ใหน้ ักเรยี นสามารถเขา้ ใจที่มา ของงานศลิ ปะในแตล่ ะยคุ แตล่ ะสมยั ตงั้ แตย่ คุ กอ่ นประวตั ศิ าสตรจ์ นถงึ ยคุ ปจั จุบนั เมอื่ นกั เรยี นปฏบิ ตั งิ านจรงิ จะ ทำ� ให้สามารถแยกแยะงานศลิ ปะไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง รูปภาพ : บรรยากาศการศึกษาแหล่งโบราณคดีนอก รปู ภาพ : บรรยากาศการไปทศั นศกึ ษานอกสถานที่ ณ สถานที่ ในวิชาประวัตศิ าสตรศ์ ิลป์ นอกจาก จะได้ไป จังหวัดเชียงใหม่ เพ่ือเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมของ ทศั นศกึ ษานอกสถานทแี่ ลว้ นกั เรยี นจะตอ้ งทำ� รายงาน วิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ในภาคเรยี นที่ ๒ ปีการศึกษา และ การประเมินผล การเรียน มีการสอบปลายภาค ๒๕๕๒ ซงึ่ ทดสอบด้วยขอ้ สอบปรนัย และข้อสอบอัตนัย ทั้งน้ี อาจมกี ารเปลยี่ นแปลงตามความเหมาะสมในแตล่ ะปี การศกึ ษา รปู ภาพ : วดั บวกครกหลวง จงั หวดั เชยี งใหม่ http://www.thai-tour.com ปที ี่ 1 ฉบบั ท่ี 2 ตุลาคม 2555 21
วชิ าชา่ งลงรักปิดทอง รูปภาพ : บรรยากาศการเรียนวิชาลงรักปิดทอง ในชว่ั โมงเรยี น นกั เรยี นกำ� ลงั ปดิ ทองทโ่ี ตะ๊ หมบู่ ชู า วิชาลงรักปิดทองจดั อยู่กลุ่มของวิชาอาชพี เลอื กเสรี ซงึ่ เป็นวชิ า ที่ใช้ในพระราชพิธีต่างๆ ในวิชาน้ีนอกจากจะได้ ท่ีเรยี นสนกุ และได้ความรเู้ กี่ยวกับงาน ลงรักปิดทอง นักเรยี นจะมีโอกาส เรียนการลงรักปิดทองแล้วนักเรียนจะได้เรียน ได้ปฏิบัติงานจริง ได้ซ่อมโต๊ะหมู่ที่ใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ ของส�ำนัก วิชาการเขียนภาพก�ำมะลออกี หนึ่งชน้ิ พระราชวัง ซงึ่ มีครูผู้สอนท่มี ีความช�ำนาญเฉพาะด้านนี้โดยตรงมาสอนให้ นักเรียน นอกจากน้ันนักเรียนจะได้ปิดทองลงบนชิ้นงานจริง ที่นักเรียน เตรียมมาเองในงานช้นิ ตอ่ ไป (นักเรียนซ้ือทองคำ� เปลวเอง) รูปภาพ : บรรยากาศในหอ้ งเรียน ขณะทีน่ กั เรียนก�ำลังเขยี นภาพก�ำมะลอในวชิ าลงรกั ปิดทอง รปู ภาพ : ลายรดนำ�้ ตกแตง่ ตพู้ ระไตรปฏิ ก วดั เชงิ หวาย ฝมี อื บรมครสู มยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาตอนปลาย ปัจจุบันเกบ็ รักษาไว้ท่ี พพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร 22 วารสารการศึกษาตลอดชีวิต
วิชาสีน้ำ� วชิ าสนี ำ�้ เปน็ วชิ าเลอื กเสรี ทเี่ ปดิ ใหน้ กั เรยี นทสี่ นใจ ไดฝ้ กึ ฝมี อื เพมิ่ เตมิ นอกเหนอื จากวชิ าเอกทไี่ ดเ้ ลอื ก เรยี น วชิ านี้ครผู สู้ อนจะเรมิ่ สอนต้ังแต่ขั้นพน้ื ฐานจนสามารถออกปฏิบตั ิงานเขยี นสนี ้ำ� นอกสถานทไี่ ด้ รูปภาพ : บรรยากาศในการเรียนวิชาเขียน สนี ำ้� ในหอ้ งเรยี น ภาคเรยี นท่ี ๒ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๕๒ รปู ภาพ : บรรยากาศการปฏิบัติการเขยี นสนี ้ำ� นอกสถานท่ี ของนกั เรยี นโรงเรยี นช่างฝีมอื ในวัง (ชาย) ในวชิ าเขยี นสนี ้ำ� นี้ โดยธรรมเนียมครผู สู้ อน จะจัดให้มีการเขยี นภาพสีน้ำ� นอกสถานท่ี ท้ังน้ี ในแตล่ ะปกี ารศึกษาอาจจะมีการเปล่ียนแปลง ขน้ึ อยู่กับความเหมาะสม ปที ่ี 1 ฉบบั ที่ 2 ตลุ าคม 2555 23
วชิ าชา่ งแทงหยวก เปน็ วชิ าหนงึ่ ทจ่ี ดั อยใู่ นงานชา่ งสบิ หมู่ ประเภทงานเครอื่ งสด งานแทงหยวก คอื การนำ� เอากาบกลว้ ย มาทำ� เปน็ ลวดลายแบบตา่ งๆ โดยวธิ แี ทงดว้ ยมดี แทงหยวก ใชส้ ำ� หรบั งานประดบั ตกแตง่ ทเี่ ปน็ การชวั่ คราวตวั อยา่ ง เช่น ประดบั เบญจารดน้ำ� ประดับรา้ นมา้ เผาศพ ประดับจติ กาธาน เป็นตน้ ในวชิ าช่างแทงหยวก นักเรียนจะไดเ้ รยี นรู้ตง้ั แต่ข้นั พื้นฐานจนถึงข้ันสงู เรมิ่ จากประวตั ิความเปน็ มา ของงานแทงหยวก สกลุ ชา่ งต่างๆ ลวดลายที่นยิ มใชก้ นั วธิ กี ารเลอื กหยวกกลว้ ย การใช้มดี แทงหยวก การลบั มีด การบำ� รงุ รกั ษามดี แทงหยวก การสาบกระดาษสี จนถงึ ขนั้ ตอนการประกอบ ในวชิ านค้ี รผู สู้ อนจะมกี ารสอบวดั ผล เปน็ ระยะๆ เพือ่ ประเมนิ ผลการเรยี นของนักเรียน “หยวก” คือ ล�ำตน้ กล้วย ท่ีลอกออกมาเปน็ กาบ หรือแกนอ่อนของลำ� ตน้ กลว้ ย มีสีขาว งานแทง หยวก มกั ใช้ “หยวก” หรอื “กาบกล้วย” ตานี เพราะมสี ีขาวดี และไมส่ ู้จะเปล่ียนสีผวิ เรว็ รปู ภาพ : บรรยากาศการเรียนการสอนวิชา ช่างแทงหยวกครูผู้สอนก�ำลังสาธิตการแทง หยวกลายพื้นฐาน ในช่ัวโมงปฏิบัติการงาน แทงหยวก รูปภาพ : ผลงานการแกะสลักหยวกกล้วย เป็นลายหน้ากระดานของนักเรียนช่างฝีมือ ในวงั (ชาย) รนุ่ ที่ ๒๒ ในวชิ าเลือกเสรี วิชา ชา่ งแทงหยวก 24 วารสารการศึกษาตลอดชีวติ
วชิ าเครื่องปนั้ ดนิ เผา รปู ภาพ : บรรยากาศการเรยี นการปน้ั ดนิ เหนยี ว ขนั้ พน้ื ฐาน เปน็ รปู ทรงกระบอก ของนกั เรยี นใน เป็นวชิ าอาชีพเลือกเสรี ที่เปิดสอนใหก้ ับนกั เรยี นในภาคเรยี น ชว่ั โมงปฏบิ ตั กิ ารงานเครอื่ งปน้ั ดนิ เผา โรงเรยี น ทส่ี อง นักเรยี นที่ตัดสินใจเลอื กเรียนวชิ าน้ี จะไดเ้ รยี นรู้วธิ กี ารข้ันพ้นื ฐาน ช่างฝมี ือในวงั (ชาย) ไปจนถึงขนั้ ทสี่ ามารถปน้ั เคร่ืองปน้ั ดินเผา เปน็ ช้ินงานสำ� เรจ็ ไดโ้ ดยครู ผสู้ อนจะมีการทดสอบและประเมนิ ผลการเรยี นเป็นระยะๆ นักเรียนท่ีเรียนในวิชาเคร่ืองปั้นดินเผา จะได้เรียนต้ังแต่ข้ัน พื้นฐานจนถึงขั้นตอนการเผาในเตาเผาจริง ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดเตรียม วสั ดอุ ุปกรณก์ ารเรยี นไวใ้ หน้ กั เรียนได้สามารถปฏบิ ัตงิ านจรงิ จนสำ� เร็จ รปู ภาพ : ตวั อยา่ งเครือ่ งปั้นดนิ เผา http://tanarat5204111.wordpress.com ปที ่ี 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2555 25
การรบั สมัครนักเรียน โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) เปิดรับสมัครนักเรียน เพ่ือสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในโรงเรียน ช่างฝีมอื ในวัง (ชาย) ประจำ� ปีการศึกษา มรี ายละเอยี ด ดังต่อไปนี้ 1. แผนกที่เปดิ รับสมคั ร มี 6 แผนก 1.1 แผนกงานช่างเขียน 1.2 แผนกงานชา่ งป้ัน 1.3 แผนกงานช่างแกะสลกั 1.4 แผนกงานช่างลายรดนำ้� 1.5 แผนกงานช่างหัวโขน 1.6 แผนกงานชา่ งฝีมือประดับมุก 2. คุณสมบัตขิ องผสู้ มคั รเรียน 2.1 ต้องมอี ายุไม่เกิน ๑๕ ปี 2.2 สำ� เร็จการศึกษาไมต่ �ำ่ กวา่ มัธยมศกึ ษาตอนตน้ หรอื เทยี บเทา่ 2.3 มีความสนใจ และถนัดทางชา่ งศิลปกรรมไทย 3. หลักฐานการสมัคร ผู้ท่ีตอ้ งการสมัครเรยี นฯ ตอ้ งน�ำหลกั ฐานตัวจรงิ พรอ้ มทั้งถ่ายสำ� เนาเอกสารอย่างละหน่ึงแผ่น ดังต่อไปนี้ 3.1 หลกั ฐานแสดงการจบการศึกษาในระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ หรือเทยี บเท่า 3.2 บัตรประจำ� ตวั ประชาชน 3.3 ทะเบียนบา้ น 3.4 รูปถา่ ยหน้าตรง ไม่สวมแว่นตา ขนาด ๑ นว้ิ จำ� นวน ๑ รูป 4. ปฏิทนิ การรับสมคั รนกั เรยี น ประจ�ำปีการศึกษา 4.1 เริ่มรบั สมัครนกั เรยี น ระหวา่ งเดอื นกุมภาพนั ธ์ ถึงเดือนเมษายน 4.2 สอบภาคทฤษฎี ภาคปฏบิ ัติ และสอบสัมภาษณ์ ประมาณเดือนเมษายน 4.3 ประกาศผลสอบประมาณเดือนพฤษภาคม 5. สถานทรี่ บั สมคั ร ณ หออเุ ทศทกั สนิ า โรงเรยี นชา่ งฝมี อื ในวงั (ชาย )ตดิ ตอ่ ขอรบั ใบสมคั รได้ทหี่ ้องวิชาการ หมายเหตุ กรุณาแต่งกายสภุ าพเรยี บร้อย ห้ามใสเ่ ส้ือยืด ห้ามสวมรองเทา้ แตะ และโปรดเคารพตอ่ สถานที่ เอกสารอา้ งอิง กรมศลิ ปากรม.(2545). ความรทู้ วั่ ไปในงานชา่ งศลิ ปไ์ ทย. กรงุ เทพฯ : รงุ่ ศลิ ปก์ ารพมิ พ์ (๑๙๗๗) จำ� กดั . จลุ ทศั น์ พยาฆรานนท์ และคณะ. (2540). ชา่ งสบิ หม.ู่ กรงุ เทพฯ : การทา่ อากาศยานแหง่ ประเทศไทย. ทนงศกั ด์ิ กล่นิ ธรรม. (2543). ภาพพระภารตมนุ ีและภาพพระพรหม. กรุงเทพฯ : โรงเรียนชา่ งฝมี อื ในวงั (ชาย). ธนาคารเพ่ือการสง่ ออกและน�ำเข้าแหง่ ประเทศไทย. (2548). ประณีตศิลป์ มรดกแผน่ ดนิ แห่งสยาม ประเทศ. กรุงเทพฯ : ธนาคารเพ่ือการส่งออกและน�ำเขา้ แหง่ ประเทศไทย. 26 วารสารการศึกษาตลอดชวี ิต
ศนู ยก์ ารศึกษานอกโรงเรยี นกาญจนาภเิ ษก (วิทยาลยั ในวัง) จดั การเรียนรงู้ านชา่ งสิบหมูศ่ ิลปวัฒนธรรมไทย สวุ รรณี รตั นรอด รองผอู้ ำ� นวยการ ศูนยก์ ารศกึ ษานอกโรงเรยี นกาญจนาภิเษก (วทิ ยาลัยในวงั ) ปที ่ี 1 ฉบับที่ 2 ตลุ าคม 2555 27
ความเป็นมา พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ไดท้ รงมพี ระราชดำ� รวิ า่ “ขณะนยี้ งั มบี คุ คลอกี จำ� นวนมาก ทมี่ คี วามตงั้ ใจ จรงิ มศี รทั ธาขวนขวายหาความรเู้ ปน็ วชิ าชพี ใสต่ น แตป่ ระสบปญั หาไมม่ คี วามรพู้ นื้ ฐานและทนุ ทรพั ยเ์ พยี งพอที่ จะเขา้ ศกึ ษาตอ่ ในสถาบนั การศกึ ษาวชิ าชพี ระดบั ตา่ งๆ ได้ หากมชี อ่ งทางชว่ ยเหลอื บคุ คลเหลา่ นใี้ หม้ คี วามรวู้ ชิ าชพี ท่เี ขาปรารถนายอ่ ม จะเป็นประโยชน์ต่อสงั คมและประเทศชาตไิ ด”้ ประกอบกับในวาระที่ สมเดจ็ พระเทพ รตั นราชสุดาฯสยามบรมราชกมุ ารี ทรงเปน็ องค์ประธานในการปฏสิ งั ขรณซ์ ่อมบำ� รงุ พระบรมมหาราชวัง เนอ่ื ง ในงานเฉลมิ ฉลอง ๒๐๐ ปกี รุงรัตนโกสนิ ทร์ ทรงเห็นว่าการก่อสรา้ งตกแตง่ มหาปราสาท ราชมณเฑยี ร พระ ตำ� หนัก เรอื นหลวง โบสถ์วหิ าร และส่ิงกอ่ สร้างอืน่ ๆ ตลอดจนการจัดท�ำเครือ่ งราชปู โภคที่ใช้ในวงั ล้วนแลว้ แต่ ใชว้ ิชาช่างสบิ หมู่ ซง่ึ ผลงานทางด้านวชิ าการช่างสิบหมูน่ ้ีเองทที่ ำ� ใหส้ ง่ิ ก่อสร้างดงั กลา่ วมีความสวยงาม ประณตี บรรจง และบ่งบอกถงึ เอกลักษณ์ของความเปน็ ไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายทส่ี ่งิ กอ่ สรา้ งดา้ นงานช่างสบิ หมู่ ที่ ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน มีบางส่วนท่ีได้ช�ำรุดทรุดโทรมไปเป็นจ�ำนวนมาก ซ่ึงถ้าจะมีการบ�ำรุงรักษาหรือท�ำการ ปฏสิ งั ขรณจ์ งึ จำ� เปน็ ตอ้ งอาศยั ชา่ งฝมี อื วชิ าชา่ งสบิ หมเู่ ชน่ เดยี วกนั แตผ่ ทู้ ม่ี คี วามรคู้ วามชำ� นาญในวชิ าชา่ งสบิ หมู่ ปัจจุบันมีจ�ำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการด�ำเนินการปฏิสังขรณ์ส่ิงก่อสร้างต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง หากไม่มีการ ถ่ายทอดหรือ ฝกึ อบรมวิชาช่างสบิ หมู่ใหแ้ กอ่ นุชนรุ่นหลงั แลว้ กย็ ่อมจะเป็นการยากท่ีจะรักษาศิลปวฒั นธรรมท่ี มีคณุ คา่ ย่ิงของไทยให้ปรากฏต่อชาวโลกได้อีกต่อไป จากพระราชดำ� รทิ จ่ี ะอนุรักษ์ และเผยแพรว่ ชิ าความรูท้ เี่ คย ฝกึ ฝนกนั ในระดบั ชาววัง ใหก้ วา้ งขวางออกมาสปู่ ระชาชนนเี้ อง สำ� นักพระราชวังและกระทรวงศกึ ษาธกิ าร โดย กรมการศกึ ษานอกโรงเรยี นในสมยั นนั้ จงึ ไดจ้ ดั ตงั้ ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกโรงเรยี นกาญจนาภเิ ษก (วทิ ยาลยั ในวงั ) ขน้ึ เพอื่ จดั ฝกึ อบรมถา่ ยทอดความรวู้ ชิ าชา่ งสบิ หมู่ อกี ทง้ั เปน็ การเฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั เนอื่ ง ในมหามงคลวโรกาสเถลงิ ถวลั ยราชสมบัติ ปที ี่ ๕๐ จากแนวพระราชด�ำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เร่ืองการอนุรักษ์ศิลป วัฒนธรรม อันทรงคุณค่ายิ่งของคนไทย เพ่ือให้ปรากฏต่อชาวโลกตลอดไป ได้ทรงให้ด�ำเนินการฟื้นฟูวิชาชีพ ช่างฝมี ือ ทเ่ี รยี กวา่ “ชา่ งสิบหม”ู่ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยรับบุตร ธิดา ของข้าราชบริพารเข้าศกึ ษาฝึก อบรมในขณะนน้ั 28 วารสารการศึกษาตลอดชีวิต
ในระยะแรกของการกอ่ ตั้งสถานศกึ ษาแห่งนี้ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ ทรงพระราชทานพระราชานญุ าตใหใ้ ชอ้ าคารหออเุ ทศทกั สนิ า ภายในพระบรมมหาราชวงั เปน็ อาคารเรยี น ตลอด ทรงมีพระเมตตาพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จ�ำนวนหน่ึงเพื่อสนับสนุนการด�ำเนินกิจการด้านต่างๆ ของสถานศึกษา นอกจากนัน้ ยงั ทรงเอาพระทยั ใส่ตดิ ตาม รวมท้ังวนิ จิ ฉยั เก่ียวกบั เรอ่ื งตา่ งๆ เพ่อื เป็นแนวทาง ในการปฏบิ ตั งิ าน อกี ทงั้ ไดเ้ สดจ็ พระราชดำ� เนนิ เพอ่ื พระราชทานวฒุ บิ ตั ร นกั ศกึ ษาทจี่ บหลกั สตู รวชิ าชพี ชา่ งสบิ หมู่ เปน็ ประจำ� ทกุ ปี ต้งั แตป่ ีการศึกษา ๒๕๓๒ เปน็ ต้น ตอ่ มาในปี พ.ศ.๒๕๓๙ มจี �ำนวนนกั ศึกษาท่ีต้องการเรยี นวชิ าชพี ช่างสบิ หมู่เปน็ จำ� นวนมากท�ำให้อาคาร หออเุ ทสทักสินา ภายในพระบรมมหาราชวงั ไม่เพียงพอท่จี ะรับนักศกึ ษาจำ� นวนมากได้ สมเด็จพระเทพรตั น ราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงพระเมตตาพระราชทานท่ีส่วนพระองค์ บนเน้อื ท่ปี ระมาณ ๔ ไร่ ที่ตำ� บล ศาลายา อำ� เภอพทุ ธมณฑล จงั หวดั นครปฐม เพอื่ กอ่ สรา้ งสถานศกึ ษาใหก้ บั ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกโรงเรยี นกาญจนา ภเิ ษก (วทิ ยาลยั ในวงั ) ภายใตก้ ารบรหิ ารกำ� กบั ดแู ลดา้ นการจดั กจิ กรรมตา่ งๆ และงบประมาณจากกรมการศกึ ษา นอกโรงเรยี นปจั จบุ นั คอื สำ� นกั งาน กศน. ซง่ึ ประกอบดว้ ยอาคารทั้งหมด ๔ อาคาร ดังนี้ อาคาร ๑ อาคารเฉลิมพระเกยี รติ ปจั จุบนั เป็นอาคารพพิ ธิ ภณั ฑ์แสดงผลงานนักศึกษา อาคาร ๒ อาคารเรยี น ห้องประชุม และสำ� นักงาน อาคาร ๓ อาคารโภชนาการ อาคาร ๔ อาคารแสดงและจ�ำหน่ายช้นิ งานนกั ศกึ ษา ปที ี่ 1 ฉบับท่ี 2 ตุลาคม 2555 29
การจัดการเรยี นรู้ชา่ งสบิ หมู่ ๑. จัดการเรียนรวู้ ิชาชีพศลิ ปะไทยโบราณช่างสิบหมู่ ใหก้ ับกล่มุ เปา้ หมาย คอื ประชาชนทว่ั ไป ทมี่ ี ความต้องการจะเรียนรเู้ พ่ือสรา้ งทักษะความชำ� นาญ และไปประกอบอาชีพได้ สาขาวชิ าชพี ช่างสิบหมู่ หลักสตู ร ๘๐๐ ชว่ั โมง จำ� นวน ๑๐ สาขา ท่จี ัดการเรยี นรูใ้ ห้กบั กลุ่มเปา้ หมายตามความตอ้ งการของผเู้ รียนเพื่อเน้นให้ผู้ เรยี นน�ำความรู้ ทักษะ ความชำ� นาญและเทคนคิ การตลาดไปประกอบอาชพี ได้แก่ ๑.๑ สาขาหมู่ช่างเขยี น ๑.๖ สาขาหมู่ช่างรัก ๑.๒ สาขาหมู่ชา่ งแกะ ๑.๗ สาขาหมชู่ ่างปูน ๑.๓ สาขาหมู่ชา่ งสลัก ๑.๘ สาขาหมู่ช่างบุ ๑.๔ สาขาหมู่ชา่ งปั้น ๑.๙ สาขาหมชู่ า่ งหลอ่ ๑.๕ สาขาหมชู่ ่างหนุ่ ๑.๑๐ สาขาหมชู่ ่างกลงึ ๒. จดั การเรยี นรวู้ ชิ าชพี ศลิ ปวฒั นธรรมไทยทเ่ี กยี่ วกบั วถิ ชี วี ติ ไทยในอดตี (งานในวงั ฝา่ ยหญงิ ) หลกั สตู ร ๔๐ ชวั่ โมง เชน่ อาหารว่างชาววงั ขนมไทยชาววงั อาหารไทย รอ้ ยมาลยั บายสี ใบตอง จดั ดอกไม้สด แกะ สลกั ของออ่ น เคร่ืองแขวน เครอื่ งหอมชาววัง ฯลฯ โดยจดั การเรียนรูด้ ้วยหลักสตู รวิชาชีพระยะสนั้ นี้ เพือ่ ให้ผู้ เรียนเกิดความรแู้ ละทกั ษะ สามารถน�ำความรไู้ ปใชใ้ นชวี ติ ประจำ� วนั และนำ� ไปประกอบอาชพี มรี ายได้ การจดั การเรยี นรู้ ๑. หลกั สูตรวิชาชพี ช่างสิบหมู่ (๘๐๐ ชั่งโมง) เรียนรู้จากภมู ปิ ญั ญาผ้เู ช่ยี วชาญเฉพาะดา้ นศลิ ปะ ทุกวนั จนั ทร์ ถงึ วนั ศกุ รว์ นั ละ ๕ ชวั่ โมง เวน้ วนั หยดุ ราชการและวนั นกั ขตั ฤกษ์ เรม่ิ เปดิ เรยี นประมาณเดอื นพฤศจกิ ายน สิ้นสดุ การเรียนประมาณเดือนกรกฎาคม แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้ ระยะท่ี ๑ เรียนรขู้ ัน้ พื้นฐานงานศิลปะ จำ� นวน ๒๕๐ ช่วั โมง ระยะท่ี ๒ เรียนรตู้ ามหมู่ชา่ งที่ลงทะเบียน จ�ำนวน ๒๕๐ ชว่ั โมง ระยะท่ี ๓ เรียนรกู้ ารผลิตและจ�ำหน่าย จำ� นวน ๓๐๐ ชั่วโมง กระบวนการเรยี นรู้ มีการทดสอบกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น เรียนร้ทู ้งั ภาคทฤษฎแี ละปฏบิ ัติ มีการศกึ ษา นอกสถานที่ การจดั นทิ รรศการเคลอ่ื นท่ี นกั ศกึ ษาจะเรยี นรอู้ ยา่ งมคี วามสขุ เมอ่ื นกั ศกึ ษาเรยี นจบหลกั สตู รสามารถ ผลิตชนิ้ งาน จ�ำหนา่ ยชนิ้ งานได้ มีงานทำ� มรี ายได้ เลี้ยงตวั เองและครอบครวั อยา่ งมคี วามสุข และนกั ศกึ ษาทีจ่ บ หลกั สตู ร ท่มี ีผลการเรยี นดเี ด่นจำ� นวน ๒๐ คน จะได้เข้าเฝ้ารบั พระราชทานวุฒบิ ตั รจากสมเดจ็ พระเทพรตั นราช สดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ๒. หลกั สูตรศิลปวัฒนธรรมไทย “วถิ ชี ีวติ ไทยในอดีต” (๔๐ ช่วั โมง) เรยี นรู้จากภมู ิปัญญาผเู้ ช่ียวชาญ เฉพาะดา้ น เรียนทกุ วนั เสาร์ หรอื วันอาทิตย์ วนั ละ ๕ ชวั่ โมง จำ� นวน ๘ วัน นักศึกษาทกุ คนทจี่ บหลกั สตู รจะ ได้รับวฒุ บิ ัตรจากศนู ยก์ ารศึกษานอกโรงเรยี นกาญจนาภเิ ษก (วิทยาลยั ในวงั ) และสามารถนำ� ไปเทียบโอนความ รูไ้ ด้ 30 วารสารการศกึ ษาตลอดชวี ติ
ผลการจัดการเรียนรูง้ านช่างสิบหมู่ ศนู ย์การศกึ ษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลยั ในวงั ) เป็นสถานศึกษาในโครงการพระราชดำ� ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จัดการเรียนรู้ในรูปแบบการจัดการศึกษาต่อเน่ืองด้านศิลปะ ไทยโบราณช่างสิบหมู่และศิลปวัฒนธรรมไทย โดยบางส่วนเป็นการจัดส่งเสริมเผยแพร่ในรูปแบบให้ความรู้ใน ลักษณะการเรียนรู้ตามอธั ยาศัย โดยผา่ นการเผยแพร่ชิ้นงานของนกั ศึกษา เชน่ การจัดนิทรรศการ การสาธิตให้ กบั กลุ่มเปา้ หมายตา่ งๆ ท้ังในและนอกพนื้ ท่ี โดยใช้เงนิ งบประมาณของสำ� นักงาน กศน. และสว่ นหนงึ่ ใช้เงินงบ ประมาณจากเครือขา่ ยและหนว่ ยงานทเ่ี กยี่ วขอ้ ง การจดั กจิ กรรมการเรยี นรหู้ ลกั สตู รศลิ ปะไทยโบราณชา่ งสบิ หมแู่ ละศลิ ปวฒั นธรรมไทยในปงี บประมาณ ๒๕๕๔ ทผ่ี ่านมา ศูนย์การศกึ ษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลยั ในวงั ) ไดด้ �ำเนนิ การจัดการเรียนรู้ โดยจัดสรรงบประมาณในการจดั ท้งั ในและนอกสถานศึกษาดังกลา่ ว แตเ่ น่อื งจากงบประมาณประจำ� ปี ที่ได้รบั จดั สรรจาก ส�ำนักงาน กศน. ไดร้ บั จ�ำนวนจ�ำกัดเปน็ เวลาตอ่ เน่ืองทกุ ปี ซึ่งในสภาพความเปน็ จรงิ การจัดการเรยี น รู้หลักสูตรต่อเนื่องด้านศิลปะไทยโบราณช่างสิบหมู่และศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นท่ีต้องการของประชาชนและ กลุ่มเปา้ หมายต่างๆ ท่ศี รัทธา ชืน่ ชมในหลักสูตรแตล่ ะวิชา ดงั จะเห็นได้จากหนังสอื จากบคุ คล หน่วยงานทข่ี อ ความอนุเคราะห์ใหศ้ ูนยก์ ารศึกษานอกโรงเรยี นกาญจนเิ ษก (วิทยาลัยในวงั ) นำ� หลกั สตู ร วิทยากร ไปให้ความรู้ แกบ่ คุ คล คณะบุคคลหนว่ ยงานต่างๆ อนงึ่ ในปงี บประมาณ ๒๕๕๔ มผี รู้ ว่ มกจิ กรรมและสำ� เรจ็ หลกั สตู รการจดั การการศกึ ษาตอ่ เนอ่ื ง หลกั สตู ร ด้านศิลปะไทยโบราณชา่ งสบิ หม่แู ละศลิ ปวฒั นธรรมไทย รวมจ�ำนวนทั้งสิ้น ๒,๑๑๓ คน โดยส่วนหน่ึงไดร้ ับความ รู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้ตามอัธยาศัย และผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ ต่างๆ อาทิ ผา่ นสอ่ื โทรทัศน์ นทิ รรศการเคลอื่ นที่ นทิ รรศการถาวร และการเรยี นรูต้ ามอัยาศยั จากสือ่ แผน่ ปลวิ ใบความรู้ และสื่อชน้ิ งานทีส่ ำ� เร็จ เปน็ ตน้ การจดั การเรียนร้ชู า่ งสบิ หมูใ่ นอนาคต ศูนย์การศึกษานอกโรงเรยี นกาญจนาภิเษก (วทิ ยาลัยในวัง) เปน็ สถานศึกษาในโครงการพระราชด�ำริ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯสยามบรมราชกมุ ารี จดั การเรยี นรหู้ ลกั สตู รชา่ งสบิ หมแู่ ละศลิ ปวฒั นธรรมไทย เพอ่ื สนองงานตามแนวพระราชดำ� ริ บนวตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ อนรุ กั ษศ์ ลิ ปวฒั นธรรมไทยใหค้ งอยคู่ อู่ นชุ นรนุ่ หลงั และเพอ่ื การมงี านทำ� สามารถผลติ ชนิ้ งานจำ� หนา่ ยเกดิ รายไดเ้ ลย้ี งตนเองและครอบครวั อยา่ งมคี วามสขุ กอปรกบั นโยบาย รฐั บาล นโยบายกระทรวงศกึ ษาธกิ าร และนโยบายส�ำนกั งาน กศน. ท่ีมงุ่ สง่ เสริมโครงการศนู ยฝ์ กึ อาชพี ชุมชน เพ่อื การมีงานท�ำ และเตรยี มความพร้อมในการจดั ส่งเสรมิ การศกึ ษาสปู่ ระชาคมอาเซยี นนั้น ศนู ย์การศึกษานอก โรงเรียนกาญจนาภเิ ษก (วทิ ยาลยั ในวัง) มแี นวทางในการจดั การเรยี นรูใ้ นหลักสตู รต่างๆ ตามความต้องการของ ผเู้ รยี นเพอ่ื ให้ผ้เู รียนเกิดทกั ษะมีความรู้ สามารถผลิตช้ินงานจำ� หน่าย เกดิ รายได้ โดยพฒั นาหลกั สตู รตา่ งๆ เพ่อื รองรบั การเขา้ สปู่ ระชาคมอาเซยี นในปี พ.ศ.๒๕๕๘ อาทิ หลกั สตู รวฒั นธรรมในอาเซยี น (Way of Life) หลกั สตู ร อาหาร-เครือ่ งด่มื หลกั สตู รการบรกิ ารและการทอ่ งเทย่ี ว และหลักสูตรครัวไทยส่อู าเซยี น เป็นตน้ ปีที่ 1 ฉบับท่ี 2 ตลุ าคม 2555 31
การศึกษาเพอื่ พัฒนาอาชีพ: โครงการบ้านเล็กในปา่ ใหญ่ ตามพระราชด�ำรหิ ว้ ยหญ้าไซ อ�ำเภอแม่สรวย จงั หวัดเชียงราย ความเปน็ มา ทนงศักด์ิ กาบปนิ ะ ครูการศึกษานอกโรงเรยี น ศนู ยฝ์ กึ และพัฒนาอาชพี ราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชยี งราย วันจนั ทร์ ท่ี 25 มนี าคม 2542 สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถไดเ้ สดจ็ พระราชดำ� เนนิ ทรงเยย่ี มราษฎร ณ บ้านหว้ ยหญา้ ไซ หมทู่ ่ี 9 ต�ำบลป่าแดด อำ� เภอเมอื ง จังหวัดเชียงราย ได้ทรงรับทราบปัญหา และทรงห่วงใยในราษฎรของ พระองค์ ทา่ นจงึ ไดม้ พี ระราชดำ� ริ ทจ่ี ะจดั ตง้ั หมบู่ า้ นขนึ้ ในลกั ษณะ “บา้ น เล็กในปา่ ใหญ่” โดยเน้นให้ “คน” อยูร่ ว่ มกบั “ปา่ ” ไดอ้ ย่างมคี วามสุข และยง่ั ยนื คนไมท่ ำ� ลายปา่ ปา่ ใหค้ วามรม่ รน่ื กบั คน โดยทท่ี รพั ยากรธรรมชาติ ยังคงความสมบูรณ์ มั่นคงถาวร เป็นการปลูกจิตส�ำนึกในการรักและ หวงแหนธรรมชาติ ให้อยู่ควบคู่กับชุมชนและประเทศชาติ ด้วยเหตุน้ี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชด�ำริท่ีจะจัดตั้ง “โครงการบา้ นเลก็ ในปา่ ใหญ่ อนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� ร”ิ ณ บรเิ วณบา้ น หลกั แตง่ เกา่ มพี น้ื ทจ่ี ำ� นวน 15,000ไร่ แบง่ พนื้ ทเ่ี ปน็ ปา่ เสอื่ มโทรม จำ� นวน 7,000 ไร่ ปา่ เลอ่ื นลอย จำ� นวน 4,500 ไร่ และป่าตน้ นำ้� ที่ยงั คงความอดุ ม สมบรู ณด์ งั เดมิ จำ� นวน 3,500 ไร่ เพือ่ ใชช้ าวไทยภูเขาท่ีไม่มีแหลง่ ท�ำกิน โดยเฉพาะชาวไทยภูเขาเผา่ อีก้อ ไดม้ ีทีท่ �ำกินเป็นหลักแหลง่ ไม่บุกรกุ แผว้ ถางป่า เพอ่ื ท�ำไรเ่ ลอ่ื นลอยอกี ตอ่ ไป ท้งั น้ี ยงั เป็นการสง่ เสริมอาชีพ และ อนรุ กั ษข์ นบธรรมเนยี ม ประเพณขี องชาวไทยภเู ขาใหค้ งอยู่ ซงึ่ จะเปน็ แหลง่ ทอ่ งเท่ยี วทางวฒั นธรรมต่อไป 32 วารสารการศึกษาตลอดชวี ติ
วตั ถุประสงค์ 1. เพอ่ื ให้ “คน” อยรู่ ว่ มกบั “ปา่ ” ไดอ้ ยา่ งสงบสขุ มสี ว่ นรว่ มพทิ กั ษร์ กั ษาปา่ และฟน้ื ฟปู า่ ทถ่ี กู ทำ� ลาย ให้กลบั คืนสคู่ วามอุดมสมบรู ณ์อยา่ งยัง่ ยืน 2. เพ่อื ใหพ้ ืน้ ท่ีต้นน�้ำลำ� ธาร มนี ำ้� ที่มคี ุณภาพดี มีปรมิ าณเพยี งพอ และมีการกระจาย แจกจา่ ยได้ ท่ัวถงึ สม่ำ� เสมอตง้ั แต่ตน้ น�ำ้ ถึงท้ายนำ้� 3. เพอ่ื สง่ เสรมิ และพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ รวมทงั้ เสรมิ สรา้ งจติ สำ� นกึ ของประชาชน ใหเ้ กดิ ความรกั และ หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ และปา่ ไมท้ ม่ี อี ยู่ และท่ฟี นื้ ฟูขน้ึ ใหม่ ที่ตัง้ โครงการ ทตี่ งั้ ของพน้ื ทโ่ี ครงการอยใู่ นปา่ สงวนแหง่ ชาตแิ มล่ าวฝง่ั ซา้ ย พกิ ดั NB 441891 หมทู่ ่ี 9 ตำ� บลปา่ แดด อ�ำเภอแม่สรวย จงั หวัดเชยี งราย สูงจากระดับนำ้� ทะเลปานกลาง 1,200 ม. ที่ต้งั สนาม ฮ. พิกัด NB 456896 สูงจากระดบั นำ�้ ทะเลปานกลาง 1,200 ม. ขอบเขตติดตอ่ ทิศเหนอื ติดต่อ เขตปา่ สงวนแห่งชาตแิ ม่ลาวฝั่งซ้าย ทิศตะวนั ออก ตดิ ต่อ เขตปา่ สงวนแหง่ ชาตแิ มล่ าวฝ่ังซ้าย ทิศตะวนั ตก ติดตอ่ เขตป่าสงวนแหง่ ชาตแิ มล่ าวฝง่ั ซ้าย ทศิ ใต ้ ตดิ ต่อ บ้านแม่ตาช้าง หมู่ท่ี 11 ต.ป่าแดด อ.แมส่ รวย จ.เชยี งราย ลกั ษณะภมู ิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับหุบเหว ป่าสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้�ำของน้�ำแม่ตาช้าง ความสูงจาก ระดับนำ�้ ทะเล ประมาณ 1,200 เมตร ปีท่ี 1 ฉบบั ที่ 2 ตุลาคม 2555 33
ลกั ษณะภมู ิอากาศ อากาศรอ้ นชน้ื อณุ หภมู ิเฉลยี่ ต่�ำสุด 8 องศา และสูงสดุ ที่ 22 องศา แผนทสี่ งั เขปแสดงทต่ี งั้ หมบู่ า้ น, เสน้ ทาง, การเดนิ ทางถนนจาก จังหวดั เชียงราย ระยะทาง และเวลาทใี่ ช้ในการเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ ประชากร บ้านหว้ ยหญ้าไซ หมู่ 9 ตำ� บลปา่ แดด อำ� เภอแมส่ รวย จงั หวัด เชยี งราย มีประชากรท้ังสนิ้ 108 คน เป็นเพศชาย 53 คน ประกอบด้วย เด็ก 22 คน และผู้ใหญ่ 31 คน เพศหญงิ 55 คน ประกอบด้วย เดก็ 17 คน และผใู้ หญ่ 38 คน การดำ� เนินโครงการ กองทพั ภาคที่ 3 โดยทหารบกจังหวัดเชยี งราย ไดป้ ระสานงาน กบั สว่ นราชการทเ่ี ก่ยี วข้อง สำ� รวจภมู ิประเทศและขอ้ มลู พื้นฐาน ระหว่าง วนั ที่ 31 สิงหาคม ถึง 28 ธนั วาคม 2542 ซึ่งประกอบไปดว้ ยทหารบก จงั หวัดเชยี งราย ผู้แทนกองทัพภาคท่ี 3 ผ้แู ทนสำ� นักพระราชวัง ผู้แทน ส�ำนักงานพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (กปร.) ผู้แทนส�ำนักงานพัฒนาท่ีดิน เชยี งราย และหวั หนา้ หนว่ ยจดั การตน้ นำ้� แมต่ าชา้ งผลการสำ� รวจเบอ้ื งตน้ สรปุ ไดว้ า่ พนื้ ทที่ จี่ ดั ตงั้ หมบู่ า้ นอยบู่ รเิ วณ แหล่งต้นน�้ำแมต่ าชา้ ง เป็นพื้นที่ทำ� กินดง่ั เดมิ ของชาวเขาเผา่ อาขา่ (พิกดั NB441891) ซง่ึ ฝา่ ยปกครองได้อพยพ ออกไปเมอ่ื 8 ปีกอ่ นแล้ว พื้นทดี่ ังกล่าวอยหู่ า่ งจากบา้ นห้วยหญ้าไซไปทิศเหนอื ประมาณ 13 กิโลเมตร อยใู่ น เขตปา่ สงวนแหง่ ชาติป่าแมล่ าวฝงั่ ซ้าย หม่ทู ี่ 9 ต�ำบลปา่ แดด อำ� เภอแมส่ รวย จังหวดั เชียงราย วนั ที่ 16 มกราคม 2543 สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ ไดเ้ สดจ็ ราชดำ� เนนิ ไปทอดพระเนตร พน้ื ทจ่ี ัดตง้ั หมบู่ ้าน ตามพระราชด�ำริ เมอ่ื ปี 2542 หัวหนา้ หน่วยจดั การต้นแมน่ ำ�้ ตาช้าง ไดถ้ วายรายงานข้อมลู เบ้อื งตน้ เกีย่ วกบั สภาพพื้นทป่ี า่ พ้ืนท่ีอยู่อาศยั และพืน้ ที่ท�ำกินรวมพ้ืนที่ จำ� นวน 15,000 ไร่ สมเดจ็ พระนาง เจ้าฯ พระบรมราชนิ นี าถ ทรงรบั ทราบและทอดพระเนตร พ้ืนทโี่ ดยรอบดว้ ยความพงึ พอพระทัย ทรงตรัสขนึ้ ว่า “นี่แหละทฉ่ี ัน ฝันไว้” ซ่ึงหมายความวา่ พ้ืนทีท่ จ่ี ดั ตง้ั หมู่บา้ นตรงกับความตอ้ งการของพระองค์ ผชู้ ว่ ยเลขาธิการพระราชวังฝา่ ย กิจกรรมพิเศษ (คณุ สหัส บญุ ญาวิวัฒน)์ ไดข้ อพระราชทานชอื่ “โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชด�ำริ” พระองคท์ รงมีพระมหากรณุ าธิคณุ ให้ใช้ชอ่ื โครงการดังกลา่ วไดเ้ มือ่ เวลา 16.29 น. และจะไดน้ ำ� ราษฎรชาวไทย ภูเขาเผา่ อาข่า ซึ่งไมม่ ีพนื้ ทท่ี �ำกนิ เป็นของตนเอง จ�ำนวน 21 ครอบครัว จ�ำนวนประชากร 92 คน จากบา้ นรม่ ฟา้ ทอง ตำ� บลตับเต่า อำ� เภอเวียงแก่น จังหวดั เชียงราย จ�ำนวน 17 ครอบครวั และจากบา้ นหว้ ยสะลกั ต�ำบล ปา่ แดด อ�ำเภอแมส่ รวย จังหวดั เชียงราย จ�ำนวน 4 ครอบครัว เข้ามาอยใู่ นโครงการเป็นการสนองพระราชด�ำริ ท่ีจะให้ “คน” อยู่รว่ มกบั “ปา่ ” โดยท่ี “คน” ไมท่ ำ� ลาย “ปา่ ” ดังพระราชดำ� รัสของพระองค์ ทีท่ รงตรสั เมื่อวนั ที่ 11 สงิ หาคม 2544 เนอื่ งในวโรกาสวันเฉลมิ พระชนมพรรษา “12 สงิ หา มหาราชินี” วา่ “เพราะตกลงกบั เขาก่อนแลว้ วา่ จะไมม่ กี ารถางป่า หรอื บกุ รกุ ปา่ เข้าไปอกี ถา้ ตอ้ งการอยู่กับขา้ พเจ้าในโครงการบ้านเลก็ ในป่าใหญ่ กต็ ้องหยุด ชาวบ้านแถวนจ้ี ะต้องเป็นผูส้ นบั สนนุ ทะนุบำ� รุงปา่ ในตัว” 34 วารสารการศกึ ษาตลอดชวี ิต
พืน้ ทเ่ี ปา้ หมาย บรเิ วณตน้ นำ�้ แมต่ าชา้ งเปน็ พื้นที่ทำ� กนิ ดัง้ เดมิ ชาวไทยภูเขาเผา่ อาขา่ (พกิ ดั NB 441891) อยู่เขต ป่าสงวนแห่งชาตปิ า่ แม่ลาวฝง่ั ซา้ ย หม่ทู ี่ 9 ต�ำบลปา่ แดด อำ� เภอแมส่ รวย จงั หวดั เชียงราย โดยมเี น้อื ที่ดำ� เนนิ การจำ� นวน 15,000 ไร่ จำ� แนกเขตป่าตามลักษณะพืน้ ที่ (Zoning) ออกเป็น 3 ส่วนคอื 1. พืน้ ทธ่ี รรมชาติท่ยี ังคงความอุดมสมบูรณ์ จำ� นวน 3,500 ไร่ หรือ 23.33% ของพ้ืนท่ี 2. พ้ืนท่ีปา่ เส่ือมโทรม จำ� นวน 7,000 ไร่ หรอื 46.67% ของพืน้ ท่ี 3. พน้ื ที่ไร่เลือ่ นลอย จ�ำนวน 4,500 ไร่ หรอื 30% ของพน้ื ที่ การสนบั สนนุ งบประมาณ ได้รับการสนับสนนุ จาก กอ.รมน.ภาค 3 และ และหนว่ ยงานท่เี ข้ารว่ ม โครงการ การประกอบด้วยหน่วยงาน ดังตอ่ ไปน้ี 1. ส�ำนักบริหารพ้ืนทีอ่ นรุ ักษ์ท่ี 15 (กอ.โครงการฯ) 2. จทบ.ชร. (ชป.ค้มุ ครองฯ) 3. เกษตรส�ำนกั พระราชวัง 4. ส�ำนักงาน กศน. จังหวดั เชียงราย 5. ศนู ย์ฝกึ และพัฒนาอาชพี ราษฎรไทยบรเิ วณชายแดนเชยี งราย 6. ศนู ย์ส่งเสรมิ เกษตรทส่ี งู จงั หวดั เชียงราย 7. สถานพี ฒั นาดินจังหวดั เชยี งราย 8. สาธารณสุขจงั หวดั เชยี งราย 9. ปศสุ ัตว์ จังหวดั เชยี งราย 10. ประมงจงั หวัดเชียงราย 11. สถานีประมงน้ำ� จดื จังหวัดเชยี งราย 12. เกษตร จงั หวัดเชียงราย. 13. อ�ำเภอแม่สรวย 14. องค์การบรหิ ารส่วนต�ำบลปา่ แดด ศฝช.เชียงราย จดั การศกึ ษาเพื่อพัฒนาอาชพี ศนู ย์ฝกึ และพัฒนาอาชพี ราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย (ศฝช. เชยี งราย) ได้มอบหมายให้ ครูอาสาสมคั รการศึกษานอกโรงเรียน (ครู กศน.) รบั ผิดชอบดำ� เนินงานในพน้ื ท่ี เพือ่ สนองแนวพระราชด�ำริ ในสมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เม่อื 16 มกราคม 2541 เก่ียวกับการฝกึ วชิ าชีพงานเครื่องเงิน งาน ทอผ้าและฝึกอาชีพตามความต้องการของประชาชน ศฝช. เชยี งราย จงึ ไดด้ ำ� เนนิ การจดั กจิ กรรมการเรยี นรเู้ กย่ี วกบั อาชพี ใหก้ บั ประชาชนในพน้ื ทเ่ี พอ่ื สนอง แนวพระราชด�ำริ ฯโดยฝึกวชิ าชีพให้ผู้เรยี นไดเ้ รยี นรู้ท้ังทางด้านทฤษฎีและการฝกึ ปฏิบตั ิจริง ตั้งแตป่ ี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจบุ ัน เพือ่ ใหผ้ ูเ้ รียนไดใ้ ช้เวลาวา่ งให้เกิดประโยชน์ สร้างอาชีพเสริมและเพิม่ รายไดใ้ หแ้ กต่ นเองและ ครอบครวั ดังน้ ี ปีท่ี 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2555 35
1. วชิ าชีพช่างเคร่ืองเงนิ วชิ าทฝี่ กึ มีดงั นี้ 1.1 การทำ� เครื่องเงนิ ประเภท เคร่ืองประดับเงิน ฝึกทำ� ลายลูกโซ่, ลายหว่ งค,ู่ ลายสองชน้ั , ลายทอ้ ง ปลิง, ลายหว่ งต่อ, ลายลูกโซ่เลก็ , กำ� ไลเกลี้ยง, และการทำ� แหวนเกล้ยี ง การท�ำสร้อยขอ้ มือ ลายเลดแบนหน่งึ ช้นั , ลายเลดแบนสองชนั้ , ลายถกั เปยี , ลายกระดกู ง,ู ลายบาหลี, ลายเครือมนั , ลายสี่เสาและลายแปดเสา การท�ำสร้อยคอ ลายเม็ดข้าวโพด, ลายปล้องออ้ ย, ลายห่วงคู่, ลายสองช้ัน, ลายทอ้ งปลิง, ลายห่วง ต่อหว่ ง, ลายลูกโซเลก็ , ลายบาหล,ี ลายเครอื มัน, ลายสีเ่ สาและลายแปดเสา 1.2 การท�ำเคร่อื งเงินประเภทเครอื่ งเงินข้ึนรปู เป็นรปู สตั ว์และแมลงตา่ งๆ 1.3 การทำ� เคร่ืองเงินประเภทเครอื่ งเงินตอกลาย เปน็ ลายดอกแก้ว และลายประยุกต์ บนกล่องแปด เหลย่ี ม ถาดผลไม้ แจกัน รปู สตั วแ์ ละแมลงต่างๆ 1.4 การทำ� เครือ่ งเงินประเภทเคร่อื งเงนิ สาน เป็น ขันโตกเงนิ สาน กระเป๋าเงนิ สาน กระบุงเงนิ สาน แจกันเงินสาน สำ� นกั พระราชวงั ไดส้ ง่ เสรมิ สนบั สนนุ กลมุ่ สมาชกิ ทำ� เครอื่ งเงนิ โดยใหเ้ ขา้ รบั การฝกึ อบรมการทำ� เครอื่ ง เงนิ เพื่อเป็นการพัฒนาฝมี ือทำ� เครือ่ งเงนิ ทพี่ ระตำ� หนักภพู ิงคร์ าชนิเวศน์ ซ่ึง กลุ่มผู้เรยี นได้ฝกึ ฝนและพฒั นา ฝีมือเพม่ิ ขนึ้ ตามล�ำดบั และรับงานกลบั ไปทำ� ตอ่ ท่ีบา้ น 36 วารสารการศกึ ษาตลอดชวี ติ
ปจั จุบัน ศฝช.เชยี งราย ได้จดั เจา้ หน้าทพี่ ฒั นางานศิลปาชพี จดั กิจกรรมการเรยี นการสอนการแปรปู ผลติ ภณั ฑจ์ ากเมด็ เงนิ ประเภทเครอื่ งประดบั เงนิ ให้กบั กลมุ่ สมาชกิ ศิลปาชพี เครอ่ื งเงนิ เพอ่ื การจ�ำหนา่ ย โดยทำ� รูป แบบตามความนิยมและความต้องการของตลาด เพอื่ ให้ผู้เรยี นมอี าชพี และมีรายได้ 2.วชิ าชีพปกั ผ้าชนเผ่าอาขา่ และการปกั ผ้าสากล ไดส้ ง่ เสรมิ สนบั สนนุ การจดั กจิ กรรมฝกึ อาชพี การปกั ผา้ ชนเผา่ และการปกั ผา้ สากล โดยใหค้ รอู าสาสมคั ร การศกึ ษานอกโรงเรยี น ปฏิบัติงานในพืน้ ท่ีเพื่อส่งเสรมิ สนับสนุน ดูแล บันทึกความก้าวหน้า จัดเกบ็ ชิ้นงาน และ รายงานผลการจัดทำ� ช้นิ งาน วิชาท่ีฝกึ มีดงั นี้ 2.1 การปักผ้าชนเผ่าอาข่า เน่ืองจากผู้หญิงเผ่าอาข่ามีความช�ำนาญในการปักผ้าชนเผ่าอาข่าลวดลายโบราณอยู่ก่อนแล้ว เพื่อนำ� ไปใชใ้ นการตดั เย็บเส้ือผ้าเคร่อื งแต่งกาย ทำ� เคร่อื งประดับ และของใชใ้ นครัวเรือน ดงั นั้นเพ่อื ใหผ้ ้าปกั ชนเผ่าอาข่าได้มีมูลค่าเพิ่มข้ึน เม่ือสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมีพระราชด�ำริให้มีการปักผ้าชนเผ่า เพอ่ื ถวาย ทำ� ใหผ้ หู้ ญงิ ชนเผา่ อาขา่ มคี วามสนใจทจี่ ะปกั ผา้ ชนเผา่ โดยประยกุ ตล์ วดลายใหมๆ่ แตก่ ย็ งั คงเอกลกั ษณ์ ของผ้าปกั ชนเผ่าอาข่าลวดลายโบราณ และยงั ได้ถา่ ยทอดวชิ าการปกั ผ้าชนเผา่ อาข่าใหก้ บั บตุ รหลาน เพอื่ ให้ มีการสบื ทอดและอนุรักษไ์ ว้ตอ่ ไป ซงึ่ ปจั จบุ นั ผู้หญงิ อาขา่ ในโครงการฯ ได้มีการปักผา้ ชนเผ่ากนั อยา่ งแพรห่ ลาย มีทั้งการปกั เส้ือผ้าเคร่อื งแต่งกาย เครื่องใช้ต่างๆ เชน่ กระเปา๋ หมวกเด็ก เพ่อื จำ� หนา่ ยให้กบั นกั ทอ่ งเทีย่ วและ ผู้ทสี่ นใจ 2.2 การปักผ้าสากล ผู้หญิงอาข่าในพ้ืนท่ีโครงการฯ ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากส�ำนักราชวังให้เข้ารับการฝึก วชิ าชพี การปกั ผา้ สากลทพ่ี ระตำ� หนกั ภพู งิ คร์ าชนเิ วศน์ ซง่ึ กลมุ่ ผเู้ รยี นไดฝ้ กึ ทกั ษะและพฒั นาฝมี อื เพมิ่ ขน้ึ เปน็ ลำ� ดบั และไดร้ บั งานกลบั ไปทำ� ตอ่ ทบี่ า้ นเมอื่ ทำ� เสรจ็ แลว้ ไดจ้ ดั สง่ ชน้ิ งานใหก้ บั กองงานศลิ ปาชพี พระตำ� หนกั สวนจติ รลดา 3. กิจกรรมสง่ เสรมิ อาชพี การแกะสลกั ไม้ กลุ่มสมาชิกศลิ ปาชีพไดร้ ับการสนับสนนุ ส่งเสรมิ จากทางส�ำนกั ราชวังใหเ้ ขา้ รับการฝึกวชิ าชีพการแกะ สลกั ไมเ้ พอ่ื เปน็ การฝกึ ทกั ษะพฒั นาฝมี อื การแกะสลกั ไมท้ พี่ ระตำ� หนกั ภพู งิ คร์ าชนเิ วศน์ ซง่ึ กลมุ่ ผเู้ รยี นไดฝ้ กึ ทกั ษะ และพฒั นาฝมี อื ขนึ้ ตามลำ� ดบั ขนั้ และไดร้ บั งานกลบั ไปทำ� ตอ่ ทบ่ี า้ นเมอื่ เสรจ็ แล้วไดจ้ ดั สง่ ชน้ิ งานใหก้ ับกองงานศลิ ปาชพี พระต�ำหนกั สวนจิตรลดา 4. กิจกรรมสง่ เสริมอาชีพการจกั สานไม้ไผ่ เนอื่ งจากกลมุ่ สมาชกิ การจกั สานไมไ้ ผม่ พี นื้ ฐานการจกั สานไมไ้ ผ่ อย่แู ล้ว ซึง่ ส่วนใหญ่ทำ� ขน้ึ เพอ่ื ใช้ในครวั เรอื น เช่น ตะกร้า กระบงุ ของใช้ ในครัวเรือน เครื่องมือจับดักสัตว์ เพ่ือให้เคร่ืองจักสานไม้ไผ่ได้มีมูลค่า เพิ่มข้ึน เมือ่ สมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินีนาถ มพี ระราชดำ� ริให้มี การส่งเสริมการจักสานไม้ไผ่เพ่ือถวายท�ำให้ผู้ชายในโครงการที่มีฝีมือ ทางด้านการจักสาน มีความสนใจ และได้มีการท�ำเคร่ืองจักสานโดย ประยกุ ต์ลวดลายใหม่ๆ และสามารถมปี ระโยชนใ์ ช้สอยเพ่ิมมากขนึ้ ผลจากการจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาอาชีพของ ศฝช.เชียงราย ดังกล่าวพบว่าประชาชนในพ้ืนที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระ ราชดำ� รหิ ว้ ยหญา้ ไซ อำ� เภอแมส่ รวย จงั หวดั เชยี งราย มรี ายไดเ้ ฉลยี่ เพมิ่ ข้ึนและสามารถน�ำความรู้ท่ีได้รับไปพัฒนาฝีมือและท�ำผลิตภัณฑ์เพ่ือ จ�ำหน่ายมอี าชีพมรี ายไดเ้ ล้ยี งตนเองและครอบครัวและมคี ณุ ภาพชวี ติ ดีขึ้น ปที ่ี 1 ฉบบั ท่ี 2 ตุลาคม 2555 37
การพัฒนาหลักสตู รทอ้ งถ่นิ อัญชลี ธรรมะวธิ กี ุล หลกั สตู รทอ้ งถน่ิ เปน็ หลกั สตู รทสี่ รา้ งขน้ึ จากสภาพปญั หาและความตอ้ งการ ของผเู้ รยี น และสอดคลอ้ ง เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถ่ินน้ันๆ ดังน้ัน การเรียนรู้ตามหลักสูตรท้องถ่ินจึงเป็นการเรียนรู้ จากภมู ปิ ัญญาในท้องถ่ิน ผู้เรยี นจะแสวงหาองคค์ วามรูท้ ่ตี อบสนองกบั วิถีชวี ติ ของตนเอง เพ่อื ปรับตนเองใหท้ ัน กบั การเปล่ียนแปลงของโลกในยคุ โลกาภิวัตน์ ผ้เู รียนได้เรยี นรู้ตามสภาพจริงของตนเอง สามารถน�ำความรูไ้ ปใช้ การพัฒนาตนเอง ครอบครวั และชุมชนได้ จึงอาจสรุปได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึงประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีจัดให้กับกลุ่มผู้เรียนที่เป็นกลุ่ม เป้าหมาย การจดั การศึกษาจะจัดตามสภาพปญั หาและความต้องการของผูเ้ รียนในท้องถน่ิ น้นั ๆ เป้าหมายหลัก คอื ต้องการใหผ้ เู้ รยี นไดน้ ำ� ความรูแ้ ละทักษะไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้ดขี นึ้ หลักการพฒั นาหลกั สูตรท้องถ่นิ หลักในการพฒั นาหลักสตู รทอ้ งถนิ่ มดี ังน้ี 1. การเรยี นรูเ้ พือ่ สรา้ งองค์ความรู้ มเี ป้าหมายท่มี งุ่ เพอ่ื การเรยี นร้สู ภาพปญั หา วิธีการแก้ปญั หา และการปรับปรุงอย่างลึกซ้งึ คอื ใหร้ แู้ ละเข้าใจอย่างกระจ่าง ถึงสภาพท่ีเปน็ อยูใ่ นปจั จบุ นั จนสามารถวเิ คราะห์ และสงั เคราะห์เป็นองคค์ วามรูข้ องตนเองได้ 38 วารสารการศึกษาตลอดชวี ิต
2. การเรยี นรเู้ พอ่ื พฒั นาความสามารถในการปฏบิ ตั จิ รงิ มเี ปา้ หมายมงุ่ ทกี่ ารเรยี นรู้ ทเ่ี ปน็ การวเิ คราะห์ สถานการณเ์ พ่อื การปฏิบัตจิ ริง จนเกิดความชำ� นาญและสามารถน�ำไปปฏบิ ตั ิได้ในทกุ สถานการณ์ 3. การเรียนรู้เพื่อการอยูร่ ่วมกัน มเี ป้าหมายมุ่งทกี่ ารเรยี นรู้ เพ่ือใหเ้ ป็นผูม้ ีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม มพี ื้น ฐานมาจากความเชอื่ และตระหนักว่ามนษุ ยท์ กุ คนตอ้ งร่วมมอื กนั พึ่งพาอาศัยกนั และอยูด่ ว้ ยกันอยา่ งมคี วามสุข 4. การเรยี นรเู้ พอ่ื การพฒั นาศกั ยภาพ มเี ปา้ หมายมงุ่ ทกี่ ารเรยี นรู้ เพอื่ พฒั นาตนเองใหม้ ชี วี ติ ทง่ี อกงาม ปรับปรงุ บคุ ลิกภาพอย่างมัน่ ใจ เน้นการมีเหตุผลและมวี ิสยั ทศั น์ ความส�ำคัญของหลกั สตู รท้องถ่ิน หลกั สตู รทอ้ งถิ่น เปน็ หลักสูตรบูรณาการทีผ่ ูเ้ รียน ชมุ ชนและครรู ว่ มกนั สร้างขน้ึ เพื่อมงุ่ เนน้ ให้ผ้เู รียน เรียนจากชวี ติ จริง เรียนแลว้ เกิดการเรียนรูส้ ามารถนำ� ความรู้ไปใชใ้ นดำ� รงชีวติ อยา่ งมคี ณุ ภาพและเปน็ สมาชกิ ที่ ดีของสังคมอย่างมีความสุข การเรียนการสอนจะสอนตามความต้องการของผู้เรียน โดยครูเป็นผู้คอยอ�ำนวย ความสะดวกในการเรียนรู้คอยให้ค�ำแนะน�ำ ผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น หลักสูตรทอ้ งถิน่ จึงมีความสำ� คญั ดังต่อไปนี้ 1. เปน็ หลกั สตู รทตี่ อบสนองการเรยี นรเู้ ฉพาะเรอ่ื ง เนอื้ หาสาระของหลกั สตู รจะตอ้ งสอดคลอ้ งกบั ความต้องการของผู้เรยี นตามสภาพปญั หาทเ่ี ป็นจริง 2. กจิ กรรมการเรยี นรมู้ คี วามหมายตอ่ ผเู้ รยี น เพราะผเู้ รยี นสามารถนำ� ความรไู้ ปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ติ จรงิ ได้ 3. ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ เพื่อน�ำความรู้ไปใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาของตนเอง รวมท้ังวิธวี เิ คราะห์ สังเคราะหข์ อ้ มลู เพื่อการตดั สินใจที่เหมาะสม 4. ชุมชนและภูมิปัญญาในชุมชน มโี อกาสมีสว่ นร่วมในการจัดการศกึ ษาให้กบั ผูเ้ รยี น ซึ่งเป็นสมาชกิ ของชมุ ชน ปีที่ 1 ฉบบั ที่ 2 ตลุ าคม 2555 39
ลกั ษณะของหลักสตู รท้องถิ่น ลักษณะของหลักสตู รทอ้ งถนิ่ มลี กั ษณะดังตอ่ ไปน้ี 1. ตอบสนองความหลากหลายของปญั หามงุ่ พฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ใหเ้ หมาะสมกบั เพศ วยั มคี วามสมดลุ ทงั้ ดา้ นความรู้ ความคดิ และทกั ษะ เปน็ กระบวนการเรยี นรทู้ มี่ งุ่ ใหผ้ เู้ รยี น ฝกึ ปฏบิ ตั จิ รงิ จนเกดิ ทกั ษะและสามารถ นำ� ความรแู้ ละทักษะไปใชก้ บั สถานการณต์ า่ งๆ ได้อยา่ งเหมาะสม 2. ส่งเสริมให้ทอ้ งถิ่น มสี ว่ นร่วมในการพัฒนาหลกั สูตรของตนเอง เพอ่ื ให้ผเู้ รียนได้รับประโยชนจ์ าก การเรียนรู้เกี่ยวกบั ท้องถ่ินของตนเอง ซึ่งเชือ่ มโยงระหว่างการเรยี นกบั ชวี ติ จริงและการท�ำงาน รวมทง้ั ปลกู ฝังให้ ผเู้ รยี นมีความรกั และมีความผกู พนั กับทอ้ งถน่ิ ของตน สง่ เสรมิ ใหน้ �ำภูมปิ ญั ญาท้องถ่ินมาใช้ในการจัดการศึกษา 3. สอดคลอ้ งกบั การดำ� เนนิ ชวี ติ จรงิ และมงุ่ เนน้ การเรยี นรอู้ ยา่ งบรู ณาการ ไมแ่ ยกสว่ นของกระบวนการ เรียนรู้กับการด�ำเนนิ ชีวติ โดยผ้เู รียนเป็นผู้จดั กระบวนการเรยี นรูด้ ้วยตนเอง ครจู ะเปน็ ผอู้ �ำนวยความสะดวก ในการเรยี นรู้ คอยใหค้ �ำแนะนำ� ใหค้ ำ� ปรกึ ษาในการเรยี นรู้ให้แก่ผเู้ รยี นซึ่งจะน�ำไปสูก่ ารคิดเป็น ท�ำเป็น และ สามารถแกไ้ ขปญั หาต่างๆ ได้ 4. สามารถพฒั นาหลักสตู รได้ตลอดเวลา เพอื่ ให้สอดคลอ้ งกบั สถานการณ์ ทเี่ ปล่ยี นแปลงไป 5. สง่ เสรมิ ใหผ้ เู้ รยี นเปน็ คนมคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรมและการธำ� รงไวซ้ ง่ึ สงั คมประชาธปิ ไตย การรกั ษา ส่ิงแวดลอ้ ม เกิดศรทั ธาเชื่อมน่ั ในภมู ิปญั ญา และวฒั นธรรมท้องถิน่ ของชมุ ชนและของประเทศชาติ กระบวนการพฒั นาหลกั สตู รท้องถิน่ กระบวนการพัฒนาหลกั สูตรทอ้ งถ่นิ ประกอบด้วยขน้ั ตอนหลกั 4 ขนั้ ตอน ดงั น้ี ข้นั ที่ 1 การส�ำรวจสภาพปญั หาของชมุ ชน ขน้ั ที่ 2 การวิเคราะหส์ ภาพปญั หาชมุ ชนและความตอ้ งการของผู้เรียน ขัน้ ท่ี 3 เขียนผงั หลกั สตู ร ข้ันท่ี 4 เขียนหลักสตู ร 40 วารสารการศึกษาตลอดชีวิต
1. สำ� รวจสภาพปญั หาของชมุ ชน คอื การศกึ ษาขอ้ มลู เปน็ อยขู่ องชมุ ชน เพอื่ ใหไ้ ดข้ อ้ มลู เปน็ ประโยชน์ ตอ่ การพฒั นาหลักสตู รทอ้ งถิ่น ผู้สำ� รวจไดแ้ ก่ ครกู ารศกึ ษานอกโรงเรียน ผู้เรียน และผ้เู กยี่ วขอ้ ง โดยส�ำรวจ ข้อมูลจากเอกสารซง่ึ เปน็ ขอ้ มลู ทตุ ยิ ภมู ิ เชน่ ข้อมูลจาก นโยบายของรฐั บาล นโยบายของกระทรวงศึกษาธกิ าร นโยบายของส�ำนกั งาน กศน. นโยบายของจังหวัด แผนพัฒนาการจดั การศกึ ษาของสถานศึกษา หรือแผนปฏิบตั ิ การประจ�ำปีของสถานศึกษา และข้อมูลจากหน่วยงานอ่ืนๆ ที่ได้รวบรวมไว้แล้ว และส�ำรวจข้อมูลปฐมภูมิที่ผู้ สำ� รวจไปรวบรวมขอ้ มลู จากชมุ ชน เปน็ ขอ้ มลู ทส่ี ำ� คญั และเปน็ ประโยชนต์ อ่ การพฒั นาหลกั สตู ร ซง่ึ เปน็ ขอ้ มลู ทแ่ี ท้ จรงิ และเปน็ ปจั จุบนั ประเดน็ ในการสำ� รวจขอ้ มลู เชน่ โครงสรา้ งดา้ นกายภาพ และประวตั ชิ มุ ชน ขอ้ มลู ประชากร เศรษฐกจิ การศกึ ษา สงั คม และวัฒนธรรม การเมอื ง การปกครองและขอ้ มูลเกย่ี วกบั ความต้องการของชุมชน วธิ ีการ สำ� รวจสภาพปัญหาของชุมชน อาจใชห้ ลายๆ วธิ กี ารผสมผสานกนั เพอ่ื ใหไ้ ด้ขอ้ มลู ท่ถี ูกต้องสมบรู ณ์และเป็นรูป ธรรม เช่น การสัมภาษณ์ การใชแ้ บบสอบถาม การสังเกต หรอื การจดั เวทปี ระชาคม เป็นต้น 2. การวิเคราะห์สภาพปญั หาและความต้องการของชุมชน เมอ่ื ท�ำการสำ� รวจชมุ ชนเสรจ็ แล้ว ขอ้ มลู ท่ไี ด้จะพบสภาพปัญหาของชมุ ชนท่ีหลากหลาย มที งั้ ปญั หาท่ีเป็นระดับความตอ้ งการ (Want) และปญั หาความ จ�ำเปน็ (Need) ดงั นั้น จะตอ้ งน�ำปัญหาเหลา่ น้ัน มาวิเคราะห์ จัดหมวดหมขู่ องปญั หา เช่น แบ่งตามประเภท ความรนุ แรงของปัญหา ความยากงา่ ย ในการด�ำเนินการแกไ้ ขปญั หา ความเร่งด่วนของปัญหา และข้อมูลเกีย่ ว กบั ทรพั ยากรทม่ี ีอยู่ในชุมชน และการน�ำทรพั ยากรมาใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชน์สูงสุด 3. การเขียนผงั หลกั สูตร คือ การจัดท�ำผังหลกั สูตรทอ้ งถ่นิ ผงั หลกั สูตรหมายถงึ กรอบความคิดซ่ึง ประกอบด้วยหัวเร่ือง คือเนื้อหาที่จะก�ำหนดไว้ในหลักสูตร เพื่อน�ำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบดว้ ยหวั เร่อื งหลัก (Theme) และหัวเร่ืองยอ่ ย (Title) ทีไ่ ด้จากความต้องการ (เป็นผลจากการนำ� ข้อมลู จากการสำ� รวจมาวเิ คราะหส์ าเหตขุ องปญั หามากำ� หนดความตอ้ งการ) ใหน้ ำ� ความตอ้ งการมากำ� หนดหวั เรอ่ื งหลกั (Theme) และหัวเรอื่ งย่อย (Title) และนำ� มาจัดทำ� ผงั หลักสูตรทอ้ งถน่ิ โดยโครงสรา้ งของผงั หลกั สูตร มีดังตอ่ ไปน้ี หวั เรอ่ื งหลกั (Theme) คอื หวั ขอ้ เนอื้ หาหลกั เปน็ หวั ขอ้ ทบี่ อกถงึ ชอื่ เรอ่ื งใหญไ่ ด้ จากกลมุ่ ความตอ้ งการ (ผลจากการวเิ คราะห์สภาพปญั หา) ซง่ึ จะครอบคลุมความต้องการยอ่ ยๆ ในขอบขา่ ยเรอื่ งเดยี วกนั ปที ่ี 1 ฉบับท่ี 2 ตุลาคม 2555 41
หวั เรือ่ งย่อย (Title) เป็นหัวข้อเร่อื งที่กำ� หนดจากความต้องการยอ่ ยๆ ท่อี ยู่ในกลุ่มความต้องการใหญ่ ซึ่งอาจมหี ลายเรือ่ ง ในการพจิ ารณาหัวขอ้ ยอ่ ย ใหพ้ ิจารณาความต้องการย่อยๆ ที่วเิ คราะห์แลว้ กอ่ น ถา้ เรอ่ื ง ใดเป็นเรอ่ื งกลุ่มเดยี วกันใหร้ วมเปน็ หวั ขอ้ เดียวกัน การสรา้ งกรอบหวั เรอื่ งยอ่ ยจะตอ้ งจดั ลำ� ดบั เนอื้ หาจากงา่ ยไปสเู่ นอ้ื หาทยี่ ากขน้ึ ตามลำ� ดบั หรอื จดั ลำ� ดบั จากความเรง่ ด่วนมากไปสู่เน้ือหาทเ่ี รง่ ด่วนนอ้ ยกวา่ การสรา้ งกรอบ หัวเรื่องย่อยสามารถสรา้ งเพมิ่ เติมได้ ดงั นน้ั ในแต่ละหวั เรอ่ื งหลกั (Theme) ควรมกี รอบหัวเรือ่ งยอ่ ย (Title)ว่างไว้ดว้ ยเม่ือพบปญั หาใหมใ่ นเรือ่ งเดยี วกันก็ สามารถน�ำมาใสก่ รอบเพมิ่ เติมได้ ดงั ตวั อยา่ ง ตวั อย่างผังหลักสตู รอาชีพโฮมสเตย์ หัวเร่ืองหลัก หวั เรื่องยอ่ ย หัวเรอื่ งย่อย หัวเรอื่ งย่อย สถานการณก์ ารทอ่ งเทย่ี ว สถานการณ์ทอ่ งเท่ยี ว บทบาทการทอ่ งเทย่ี ว ของประเทศไทย อดตี ปจั จุบัน และ ของไทย นโยบายการทอ่ งเท่ียว อนาคต นโยบายการทอ่ งเท่ียว นโยบายด้านบรกิ าร นโยบายส่งเสริมการ ความรู้พนื้ ฐานและ ของประเทศไทย และการทอ่ งเท่ียว ท่องเที่ยวของกระทรวง มาตรฐานการจดั การ การทอ่ งเที่ยวและกีฬา โฮมสเตย์ ความรพู้ นื้ ฐาน แนวทางการจดั กจิ กรรม ในการจัดโฮมสเตย์ มาตรฐานการจัดโฮมสเตย์ น�ำเทีย่ ว รายการนำ� เท่ยี ว การจัดท�ำรายการนำ� เทย่ี ว การเสนอรายการน�ำเทย่ี ว แกน่ ักท่องเทีย่ ว เทคนิคการตอ้ นรบั การตอ้ นรับนกั ท่องเที่ยว การบริการนกั ทอ่ งเทย่ี ว นกั ทอ่ งเทีย่ ว เทคนิคการให้บรกิ าร เทคนคิ การบรกิ ารสำ� หรบั ความหมาย ลกั ษณะ วธิ ปี ฏบิ ตั กิ ารใหบ้ ริการ ส�ำหรบั ผ้ปู ระกอบการ ผปู้ ระกอบการโฮมสเตย์ คุณสมบตั ิของผู้ให้บริการ เป็นเลศิ โฮมสเตย์ 42 วารสารการศกึ ษาตลอดชีวติ
Search