Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานอาหารประเภทสำรับ

รายงานอาหารประเภทสำรับ

Published by ณิชาวีร์ ดับโศรก, 2022-07-17 18:17:26

Description: รายงานอาหารประเภทสำรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Search

Read the Text Version

รายงาน เรื่อง อาหารประเภทสำรับ ภาคออกเฉียงเหนือ จัดทำโดย ด.ญ.ณิ ชาวีร์ ดับโศรก เลขที่ 25 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 เสนอ ครูศิริรักษ์ สมพงษ์ รายงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของ วิชาการงาน 3 (ง23101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย

ก คำนำ อาหารไทยเป็ นอาหารที่นิยมและแพร่หลายไปทั่ว โลก ชาวต่างชาติในแต่ละทวีปทั่วโลกต่างติดในรสชาติ ของอาหารไทยซึ่ งเป็ นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอาหารไทย เป็ นที่นิยมของผู้คนจริงๆ เนื่องด้วยรสชาติที่เป็ นสากล การปรุ งอย่างพิถีพิถัน ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าชาว ต่างชาติหลายคนถึงกับบินมาประเทศไทยเพื่อที่ชิ ม รสชาติอันแสนอร่อยของอาหารไทยนอกจากรสชาติที่ เป็ นที่นิยมไปทั่วโลกแล้ว อาหารไทยยังแบ่งออกเป็ น อาหารแต่ละภาค ซึ่ งรสชาติและลักษณะของอาหารก็จะ แตกต่างกันไปตามแหล่งที่อยู่แต่ทุกภาคล้วนแต่มีความ อร่อยไม่แพ้กัน นอกจากอาหารแต่ละภาคซึ่ งเป็ นเอกลักษณ์ ของ แต่ละที่แล้วรสชาติก็จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคด้วย จึงทำให้อาหารไทยจึงมีความโดดเด่นและเป็ นที่รู้จักไป ทั่วโลก ทำให้เป็ นที่ถูกปากของคนไทยและชาวต่างชาติ ด.ญ.ณิ ชาวีร์ ดับโศรก 15 กรกฎาคม 2565

ข สารบัญ หน้ า เรื่อง ก ข คำนำ 1 สารบัญ 2 อาหารประเภทสำรับ 3 อาหารประเภทสำรับภาคกลาง 4 อาหารประเภทสำรับภาคเหนือ 5 อาหารประเภทสำรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 อาหารประเภทสำรับภาคใต้ อาหารสำรับของฉัน 7-8 7 ส้มตำ 8 - วัตถุดิบ วิธีทำ 9-10 - ที่มา 9 10 น้ำตก 11-13 - วัตถุดิบ 11 - วิธีทำ ที่มา 12 13 ปลาดุกย่าง ไก่ย่าง 14-15 - วัตถุดิบปลาดุกย่าง 14 - วิธีทำปลาดุกย่าง 15 - วัตถุดิบ วิธีทำไก่ย่าง 16 ข้าวเหนียว - วัตถุดิบ - วิธีทำ บรรณานุกรม

1 อาหารประเภทสำรับ อาหารประเภทสำรับ คือ อาหารที่จัดเป็ นชุดมีอาหาร หลายอย่าง หลายรสชาติ หลายลักษณะ รสชาติไม่ขัดแย้ง กันในกลุ่มของสำรับ และให้ความอร่อยเมื่อรับประทาน ทั้งชุ ด อาหารประเภทสำรับมักจัดในมื้อหลัก ได้แก่ เช้า กลางวัน และเย็น บางชุดจะเป็ นอาหารคาว บางชุดมีทั้ง อาหารคาว อาหารหวาน และผลไม้ อาหารชุดเหล่านี้ นิยม จัดใส่ถ้วย จาน ชามที่สวยงาม แล้วนำอาหารที่ใส่ใน ภาชนะนี้มาจัดลงรวมกันในภาชนะกว้างๆ เช่น ถาด โตก ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมประเพณี ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อรับ ประทานกันในครัวเรือน หรือใช้จัดเลี้ยงในโอกาสพิเศษ

2 อาหารประเภทสำรับภาคกลาง ภาคกลางเป็ นจะเป็ นภาคที่แตกต่างไปจากภาคอื่่น เนือง จากเป็ นภาคที่อุดมสมบูรณ์ มากกว่าภาคอื่นเนืองจากเป็ นที่ราบ ลุ่มและเป็ นแหล่งที่ตั้งของเมืองหลวงทั้งในสมัยโบราณและ ปัจจุบัน ทำให้อาหารทางภาคนี้จะเป็ นอาหารที่ไม่รสจัดจนเกิน ไป และไม่จืดจนเกินไป เนื่องจากเป็ นอาหารที่เน้นไปทางให้ เจ้าขุนบุญนายรับประทาน รวมถึงพระมหากษัตริย์ด้วยเช่นกัน จึงมีการคิดค้นอาหารให้ดูแปลกใหม่และน่ ารับประทาน มากกว่าภาคอื่น โดยที่อาหารทางภาคกลางนี้ส่วนมากเป็ นอาหารที่มีกะทิ เป็ นส่วนประกอบ ลักษณะการรับประทานของคนภาคกลางจะ รับประทานอาหารโดยมีกับข้าวและทานกับข้าวสวย เนื่องจาก ทางภาคกลางเป็ นที่ราบลุ่ม และมีการทำการเกษตรโดยการปลูก ข้าวเป็ นหลัก

3 อาหารประเภทสำรับภาคเหนือ ทางภาคเหนือเนืองด้วยลักษณะความเป็ นอยู่และ วัฒนธรรมแล้วจะเป็ นอาหารที่จะจัดหามาง่ายๆไม่ยากนัก วัตถุดิบในการประกอบอาหารส่วนมากก็จะเป็ นผัก พืชพันธุ์ ที่หาได้ง่ายตามทุ่งนา รสชาติอาหารทางเหนือส่วน มากจะเป็ นอาหารที่ไม่ใส่น้ำตาล และรสไม่จัดมาก ความ หวานส่งนใหญ่จึงได้จาก ผักต่าง ที่นำมาปรุ งแล้วใหความ หวานแทนน้ำตาล ส่วนเนื้อสัตว์เองก็จะเป็ นเนื้อสัตว์ที่เป็ นสัตว์ท้องถิ่น ตามแหล่งที่อยู่ เช่น กุ้งน้ำจืด ปลาน้ำจืด หมู ไก่ วัว กบ เป็ นต้น โดยที่สัตว์ทะเลจะไม่ค่อยเป็ นส่วนประกอบทาง ภาคเหนือมากเท่าไหร่ คนทางภาคเหนือส่วนใหญ่จะรับ ประทานข้าวเหนียวคู่กับกับข้าว โดยจัดเป็ นขันโตกและรับ ประทานร่วมกันภายในครอบครัวเป็ นส่วนมาก

4 อาหารประเภทสำรับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็ นภาคที่ ความแห้งแล้งมากที่สุดประเทศในสมัยก่อน ปัจจุบันทาง ภาคอีสานได้ฟื้ นฟูลักษณะภูมิประเทศและการ เปลี่ยนแปลงอาชีพของคนทางแทบภาคนี้ไปอย่างมาก ทำให้ภาคอีสานไม่แห้งแล้วเหมือนเมื่อก่อน ส่วนอาหาร ทางภาคอีสานจะเป็ นอาหารที่หาได้ง่ายๆเช่นเดียวกับทาง ภาคเหนือ เน้นไปทางรสจัดขึ้นมาจากภาคเหนือ โดย วัตถุดิบของทางภาคอีสานส่วนมากจะเป็ น สัตว์ที่หาได้ง่าย ตามแหล่งชุมชน ลูกอ๊อด กุ้งฝอย อึ่งอ่าง ปูนา หอยโข่ง หอยขม กระต่าย หนู กิ้งก่า แย้ งู จนกระทั่งนกต่าง โดยมี เนื้อหมู ไก่ ปลา บ้าง และอาหารของทางภาคนี้ที่เราขาดไม่ ได้นั่นก็คือ ส้มตำ ที่แสนอร่อยนั่นเอง คนอีสานสวนใหญ่ จะรับประทานข้าวเหนียวเป็ น หลักเช่นเดียวกับคนเหนือแต่วิธีการนึ่งข้าวจะแตกต่างไป โดยนึ่งข้าวโดยใช้หวดซึ่ งเป็ นภาชนะรูปกรวยทำด้วย ไม้ไผ่มานึ่งข้าว

5 อาหารประเภทสำรับภาคใต้ ภาคใต้เป็ นภาคที่ติดชายฝั่งทะลจึงหนีไปไม่ได้ที่ จะเป็ นอาหารทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา และ นอกจากเนื้อสัตว์ที่เป็ นสัตว์ทะเลยังมีพืชที่นิยมมาทำ เป็ นอาหารใต้นั่นก็คือ สะตอ นั่นเองซึ่ งทางภาคใต้จะมี ต้นสะตออยู่มากกว่าภาคอื่นๆ ซึ่ งอาหารทางภาคใต้จะ เป็ นอาหารที่ค่อนข้างรสจัดมากกว่าภาคอื่นโดยหนีไม่ พ้นเครื่องเทศต่างๆที่เป็ นส่วนประกอบในการใส่ลงไป ในอาหารทำให้อาหารมีรสจัด และสมุนไพรที่นิยมใส่มากก็คือ ขมิ้น ซึ่ งจะ สังเกตได้ว่าอาหารทางภาคใต้ส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ซึ่ ง เป็ นสีของขมิ้นนั่นเอง และอาหารขึ้นชื่ออีกอย่างของ ทางภาคใต้ที่ทุกคนไปแล้วต้องไปชิมนั่นก็คือ ข้าวยำ น้ำบูดู ซึ่ งเป็ นอาหารที่ขึ้นชื่อของทางภาคใต้เลยก็ว่าได้

6 อาหารประเภทสำรับของฉัน ข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง น้ำตก

7 ส้มตำ วัตถุดิบ 1.เส้นมะละกอสับ 6.ถั่วฝักยาว 2. มะเขือเทศ 7. พริกสด 3. มะนาว 8.กระเทียม 4. น้ำปลา 9.น้ำตาลปี๊ บ 5. กุ้งแห้ง วิธีทำ 1.ใส่พริกกับกระเทียมลงในครกตำพอหยาบ จากนั้นฝาน มะเขือเทศ ถั่วผักยาวตามลงตำให้พอเข้ากัน 2.ปรุ งรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊ บ และมะนาว 3.ใส่เส้นมะละกอสับ ตำเคล้าให้เครื่องปรุ งทั้งหมดเข้ากันดี 4.ชิมรสชาติและปรุ งเพิ่มได้ตามใจชอบ 5. ตักใส่จานโรยด้วยกุ้งแห้งและถั่วลิสง

8 ที่มา ส้มตำมาจากการนำคำสองคำมาผสมกัน คำว่า “ส้ม” มาจาก ภาษาท้องถิ่นหมายความว่า รสเปรี้ยว ส่วน “ตำ” มีความหมายว่าการ ใช้สากหรือสิ่งของอื่น ๆ บุบหรือกระแทกลงไป ส้มตำคือการนำผักผลไม้หลากชนิดมาตำในครกดินให้พอบุบ แล้วตำเคล้าเพื่อให้น้ำปรุ งรสซึ มเข้าไปในเนื้อผักผลไม้ รู้ความ หมายของส้มตำกันไปแล้ว มาดูกันดีกว่าว่าสูตรส้มตำแต่ละสูตรนั้น มีแบบไหน และใส่อะไรบ้าง* *หมายเหตุ: การตำส้มตำและเครื่องส้มตำแต่ละแบบไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับรสชาติความชอบของคนรับประทาน ส่วนสำหรับในบทความนี้เราจะแบ่งส้มตำออกเป็ น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ 1.ส้มตำคลาสสิก คอส้มตำอาจจะคุ้นหูคุ้นตากันมาบ้าง เพราะจัดเป็ นส้มตำที่ใช้ เส้นมะกะลอเป็ นวัตถุดิบหลักเจอได้ตามร้านส้มตำทั่วไป โดยมี ความเผ็ดแซ่บจากพริกสดหรือพริกแห้ง และกระเทียม ได้ความเค็ม ของน้ำปลาร้าและน้ำปลา เพิ่มรสเปรี้ยวช่วยยั่วต่อมรับรสให้น้ำลาย สอด้วยมะนาว มะเขือเทศ ตัดรสเผ็ดด้วยการกินคู่กับผักสด แคบหมู เครื่องเคียงต่าง ๆ 2.ส้มตำประยุกต์ จับส้มตำแบบเดิม ๆ มาประยุกต์ให้เป็ นสูตรส้มตำในแบบฉบับ ท้องถิ่น พลิกแพลงเอาวัตถุดิบนั้น ๆ มาแทนการใช้เส้นมะละกอ เพื่อให้ได้เครื่องส้มตำที่มีความแปลกใหม่แซ่ บจี๊ดกระแทกใจมาก ขึ้น บางสูตรมีเฉพาะบางร้านส้มตำเท่านั้น

9 น้ำตก วัตถุดิบ 1. เนื้อสันคอหมู 400 กรัม 2. ต้นหอมและผักชีฝรั่ง ซอยรวมกัน 2 ช้อนโต๊ะ 3. หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ 4. ใบสะระแหน่ 2 ช้อนโต๊ะ 5. น้ำตาลปี๊ บ ⅓ ช้อนโต๊ะ 6. พริกป่ น 1 ช้อนโต๊ะ 7. ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ 8. ข้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ 9. น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ 10. น้ำปลา 1 ½ ช้อนโต๊ะ 11. น้ำเปล่าต้มสุก 10 ช้อนโต๊ะ

10 วิธีทำ 1.นำสันคอหมูที่หั่นไว้แล้ว หมักด้วยซอสหอยนางรม คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 15 นาที 2.นำหมูที่หมักไว้แล้ว ย่างลงบนกระทะเลยค่ะ ย่าง โดยใช้ไฟแรง จนกว่าจะสุกทั้ง 2 ด้านเลย ส่วน ด้านในยังไม่ต้องสุกมาก 3. เมื่อหมูสุกได้ที่แล้ว นำมาหั่นเป็ นชิ้นพอคำ ไม่ ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป 4. นำหมูย่างที่หั่นเรียบร้อยใส่ลงในหม้อตั้งไฟอีก ครั้ง 5.เติมน้ำเปล่าต้มสุกรอจนเดือด ปรุ งรสด้วยน้ำตาล ปี๊ บและน้ำปลา คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง 6. หลังจากนั้นเติมหอมแดงซอย ผักชีฝรั่ง และต้น หอมซอย ใส่พริกป่ นลงไป 7.ปรุ งรสด้วยน้ำมะนาว ตามด้วยข้าวคั่ว คลุกเคล้าให้ ส่วนผสมเข้ากันดี 8.ใส่ใบสะระแหน่ลงไปคนให้ทั่ว แล้วปิ ดไฟได้เลย 9.นำน้ำตกหมูจัดใส่จาน ตามด้วยผักเครื่องเคียง ข้าวเหนียว ตกแต่งด้วยใบสะระแหน่ เท่านี้ก็จัด เสิร์ฟได้เลย ที่มา น้ำตกหมู เป็ นเมนูอาหารภาคอีสาน ที่สามารถทำรับ ประทานได้ง่าย รสชาติถูกปากใครหลายคน โดยเฉพาะคน ชอบรสจัด “น้ำตก” ในเมนูอาหารอีสาน จะหมายถึง การเอา อาหารที่ใช้เนื้อสัตว์ จำพวกเนื้อวัว เนื้อหมู มาย่างพอให้สุก เล็กน้อย หั่นเป็ นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุ งด้วยเครื่องปรุ งรสต่างๆ

11 ปลาดุกย่าง ไก่ย่าง วัตถุดิบปลาดุกย่าง 1.ปลาดุก 2 กิโลกรัม 2.รากผักชี 5 ราก 3.กระเทียมจีน 7 กลีบ 4.พริกไทยขาวชนิดเม็ด 1 ช้อนตวง 5.ตะไคร้ซอย 3 ต้น 6.ขมิ้น 1 แง่งเล็ก 7.เกลือป่ น 1/2 ช้อนชา 8.ซี อิ๊วขาว 3 ช้อนตวง 9.ซอสปรุ งรสฝาเขียว 2 ช้อนตวง 10.ซอยหอยนางรม 2 ช้อนตวง 11.น้ำตาลปี๊ บ 1 ช้อนตวง 12.ผงปรุ งรส 1 ช้อนตวง

12 วิธีทำปลาดุกย่าง 1.นำปลาดุกมาล้างด้วยเกลือให้เมือกออกให้หมด ถูก ให้ทั่วตัวปลา แช่ทิ้งไว้ 10 นาที ล้างน้ำออก 2.นำปลาดุกมาบั้งห่างๆ จากนั้นไปโขลกเครื่องหมัก 3.นำพริกไทยขาวมาโขลกให้ละเอียด จากนั้นใส่ราก ผักชี กระเทียมจีน ตะไคร้ซอย ขมิ้น เกลือป่ น โขลกให้ละเอียดอีกครั้ง 4.ตักใส่ชามผสม ตามด้วยซอสปรุ งรสฝาเขียว ซี อิ๊ว ขาว ซอสหอยนางรม ผงปรุ งรส และน้ำตาลมะพร้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน 5.นำปลาดุกลงไปหมัก ทาให้ทั่วตัวปลา ปิ ดพลาสติก แช่ในตู้เย็น 2 ชั่วโมง 6.นำมาเสียบไม้ เริ่มตั้งแต่ปากยาวไปสุดที่หาง 7.ย่างด้วยไฟอ่อน และอย่าย่างบนตระแกรงที่ร้อนจัด ไม่เช่นนั้นหนังปลาจะติดตระแกรงได้ 8.พลิกย่างไปมาจนสุกดี เป็ นอันเสร็จ

13 วัตถุดิบไก่ย่าง 1.สะโพกไก่ หรือปีกกลางไก่ 2. ผงขมิ้น 3. ซอสหอยนางรม 4. น้ำตาลทราย 5. เกลือ 6. พริกไทยดำเม็ด 7. กระเทียม วิธีทำไก่ย่าง 1.เริ่มด้วยการล้างเนื้อไก่ให้สะอาด วางบนตะแกรงให้ สะเด็ดน้ำ 2.นำกระเทียม และพริกไทยมาโขลกรวมกันให้ละเอียด 3.คลุกเคล้าส่วนผสมซอสหอยนางรม น้ำตาลทราย เติม เกลือ ใส่ผงขมิ้น ผสมให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำไปหมัก กับเนื้อไก่ 4.หมักทิ้งไว้ หรือนำไปแช่ในตู้เย็นสัก 30 นาที เพื่อให้ ส่วนผสมซึ มเข้าเนื้อไก่ 5.นำเนื้อไก่ออกมาย่างด้วยไฟปานกลาง หากอยากให้สุก เร็วขึ้น ควรหั่นให้ชิ้นเล็กลง 6.พยายามพลิกเนื้อไก่ เพื่อให้ความร้อนกระจายเต็มที่ สุกรอบด้าน 7.หากอยากให้สุกไว อาจนำไก่เข้าตู้อบเพื่ออบให้เนื้อสุก ก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยนำมาย่าง 8.ยกใส่จาน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มได้เลย

14 ข้าวเหนียว วัตถุดิบ 1. ข้าวเหนียว 2. น้ำเปล่า วิธีทำ 1.นำไปแช่น้ำประมาณ 3-4 ชั่วโมง (หรือจะไม่แช่ ก็ได้) 2.นำซึ้ งไปตั้ง รอให้น้ำเดือด ใส่ข้าวเหนียวลงไป 3.ก่อนเอาลงไปนึ่งสะเด็ดน้ำออกเล็กน้อย กระจาย อย่าให้ข้าวเหนียวทับกันมาก นึ่งเป็ นเวลา ประมาณ 10 นาที 4.เตรียมตระแกรงสำหรับสะเด็ดน้ำ จากนั้นตัก ข้าวเหนียวมาใส่ หากใครมีหวดหรือผ้าขาวบาง ไม่ต้องตักออก ให้ยกออกมาทั้งอันเลย 5.จากนั้นนำมาล้างด้วยน้ำเปล่าหนึ่งรอบ กระจาย ให้ทั่ว 6.นำขึ้นมาสะเด็ดน้ำออก จากนั้นนำเข้าไปนึ่งต่อ จนข้าวเหนียวสุก ใช้เวลาประมาณ 10 นาที 7. จากนั้นนำออกมาให้โดนอากาศจนข้าวเหนียว แห้ง เป็ นอันเสร็จ

15 ที่มา คนอีสานในวัฒนธรรมลาว กินข้าวเหนียวตั้งแต่หลายพันปี มา แล้วสืบเนื่องถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับคนภาคเหนือ (ใน วัฒนธรรมลาว เช่นกัน) เรียก ข้าวนึ่ง จึงมีคําเรียกอย่างดูถูกว่า “ลาวข้าวเหนียว” และ “ลาวข้าวนึ่ง” ข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่ง มีรากเหง้าเก่าแก่ยาวนาน ที่สุดเรียก ข้าวป่ า ราว 7,000 ปีมาแล้ว และเป็ นอาหารหลักของคน สุวรรณภูมิ (หรือแหลมทอง) ในกลุ่มชนตระกูลไทย-ลาวทุก ชนขึ้นมา แต่ยุคดังเดิมดึกดําบรรพ์ตั้งแต่เหนือสุดจนถึงภาค ใต้ ดังที่ทางภาคใต้ เรียกประเพณี แต่งงานว่า “กินเหนียว” หมายถึงกินข้าวเหนียว เพราะต้องเอาข้าวเหนียวไหว้ผี บรรพบุรุ ษ แสดงว่าบรรพชนคนภาคใต้ใน ตระกูลไทย-ลาว กินข้าวเหนียวเป็ นอาหารหลักนั่นเอง ข้าว ที่เป็ นพันธุ์ข้าวปลูกให้คนเราหุงกินเป็ นอาหารเก่าแก่ ที่สุดในประเทศไทย มีอายุราว 5,500 ปีมาแล้ว นักโบราณคดี ไทยและเทศ ขุดพบเมล็ดข้าวเก่าแก่นี้ที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัด แม่ฮ่องสอน กําหนดอายุด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้ราว 2,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่อายุข้าวต้องแก่กว่านั้น อีกหลายพันปีถ้าคิดถึงวิวัฒนาการ จากข้าวป่ าขึ้นทั่วไปใน ธรรมชาติแล้วคนยังไม่รู้จักว่ากินได้ จนเกิดวิกฤตบางอย่างขึ้น มาคนเราถึงรู้ว่ากินได้ แล้วเอามาปลูกกินเป็ นอาหาร จนกลาย เป็ นข้าวปลูก แล้วสืบพันธุ์ข้าวต่อเนื่องมา มีหลักฐาน ประวัติศาสตร์โบราณคดีพบที่บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น และบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี จนถึงชายทะเลบ้านโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี

16 บรรณานุกรม คำนำ อาหารสำรับ http://pratomkarn.blogspot.com/2012/03/blog- post.html?m=1 ส้มตำ https://www.wongnai.com/food-tips/somtum-series น้ำตก https://www.wongnai.com/recipes/slide-grilled-pork- salad ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง https://food.trueid.net/detail/NmNlpMBYgZxR https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/2065195 ข้าวเหนียว https://www.silpa-mag.com/history/article_37750 https://food.trueid.net/detail/QNLJ97nLgeLM


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook