อรยิ สจั ๔ ในชวี ิตจริง จารวุ ณโฺ ณ ภิกฺขุ (พระอาจารยต์ น้ )
คณุ แม่ทพิ สุนยี ์ ทรัพยบ์ ำ�เรอ เจ้าภาพผู้ถวายภาพปก
อริยสจั ๔ ในชีวติ จรงิ ISBN : 978-616-497-507-1 จดั พมิ พโ์ ดย : สถานศึกษาธรรม ดอยธรรมนาวา ๓๓๗ บ้านป่ารวก หมู่ที่ ๘ ต�ำบลนางแล อ�ำเภอเมือง จงั หวัดเชยี งราย ๕๗๑๐๐ โทร. ๐-๒๒๗๑-๓๔๘๙, ๐๘-๙๔๑๑-๕๑๐๐, ๐๘-๑๙๙๘-๕๕๑๘ พิมพ์ครง้ั ที่ ๓ : ธนั วาคม ๒๕๖๒ จำ� นวน : ๑,๐๐๐ เลม่ ผูถ้ วายภาพปก : คุณพ่อสธุ ี ประกายพรรณ ผวู้ าดภาพปก : ดร.วิชิต ประกายพรรณ พิมพท์ ี่ : หจก. ประยูรสาสน์ ไทย การพิมพ์ ๔๔/๑๓๒ ซอยกำ� นันแมน้ ๓๖ แขวงบางขุนเทยี น เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐ โทร. ๐-๒๘๐๒-๐๓๗๙, ๐๘-๑๕๖๖-๒๕๔๐
คานา คณะศิษยก์ ลุ่มพทุ ธธรรมสวนหลวง ได้กราบอาราธนา นิมนต์ ทา่ นอาจารย์พระทวีวัฒน์ จารวุ ณฺโณ รับภัตตาหารเภพล และแสดงพระธรรมเภทศนา ตลอดจนสนทนาธรรมทีบ่ า้ นสามเภสน เภมอ่ื วนั ท่ี ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เภน้ือหาข้อธรรมในคร้ังน้ัน ครอบคลุมเภร่ืองการปฏิบัติ ตง้ั แต่ข้นั เภรม่ิ ตน้ คอื การท่องธาตกุ ัมมฏั ฐาน ๔ การพิจารณา ร่างกาย ๖ ขั้นตอน การสงเภคราะห์อธิบายหลักธรรมให้จิต เภข้าใจในกระบวนการแห่งการเภกิด-ดับ ด้วยขันธ์ ๕ อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาท เภพื่อให้จิตต้ังอยู่ในอนุโลมญาณ แล้วแทงตลอดอริยสัจในมรรคผล ซ่ึงท่านอาจารย์อธิบาย ได้กระชับแต่ลึกซ้ึง ปฏิบัติตามได้ทุกข้ันตอน จึงเภป็นท่ีมา ของการถอดความ ด้วยเภจตนาท่ีจะเภผยแผ่ธรรมเภพ่ือเภกื้อกูล แกผ่ ู้แสวงหาทางออกจากวัฏฏสงสาร เภม่ือท่านอาจารย์ได้พิจารณาต้นฉบับแล้ว จึงปรารภ ใหจ้ ดั พิมพ์เภป็นหนังสือช่ือ อริยสัจ ๔ ในชีวิตจริง เภพ่ือแจกจ่าย ญาติธรรมเภนอ่ื งในงานพิธีปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ท่ีพักสงฆ์ ป่านาหนองพ่ี บ้านโนนสูง ตาบลนาเภวียง อาเภภอเภสนางคนิคม จงั หวัดอานาจเภจริญ เภมอื่ วันท่ี ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
อริยสัจ ๔ เภปน็ ธรรมท่พี ระสมั มาสมั พุทธเภจ้าทรงตรสั รู้ และนามาสั่งสอนเภวไนยสัตว์ให้รู้ตาม คณะศิษย์เภมื่อได้น้อมนา แนวทางการปฏิบัติที่ได้รับการชี้แนะจากท่านอาจารย์แล้ว ยอ่ มเภหน็ ทางพน้ ทกุ ขไ์ ปไดต้ ามลาดับ สังสารวัฏฏ์ท่ีท่องเภท่ียว มาแล้วอยา่ งยาวนานย่อมส้ันลง มรรค ผล นิพพาน ย่อมเภป็นท่ี หวังได้ คณะทางาน ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย คุณพ่อแม่ ครูอาจารย์ ที่ได้อบรมสั่งสอนศิษย์อย่างไม่ย่อท้อ ถึงแม้จะ เภหน็ดเภหนื่อยปานใด แต่ท่านก็ยังเภพียรไขข้อข้องใจในข้อธรรม ท่ีติดขัด แมเ้ ภล็กนอ้ ยกต็ าม ดว้ ยความเภมตตาตลอดมา คณะทางานหนงั สอื อรยิ สัจ ๔ ในชวี ติ จรงิ สงิ หาคม ๒๕๖๒
อรยิ สัจ ๔ ในชวี ติ จริง (แบบอนั เปน็ ท่ีต้งั แห่งการกาหนด) ปุจฉา : โยมกาลังติดใจ (คาใจ) และมีความเข้าใจ ที่ท่านอาจารย์เทศน์เม่ือวันท่ี ๕ และตอนหลัง ๆ ท่ีได้ฟ๎ง ในเรื่องที่ว่า สิ่งใดส่ิงหนึ่งไม่ได้มีอยู่ก่อน มันมีเม่ือมีผัสสะ แลว้ ก็มีการรบั รู้ข้นึ มา วสิ ัชนา : ผสั สะน้ยี ังทีหลัง ผัสสะน้ีต้องพดู ถึงการก่อตัว ข้ึนมาแล้ว แท้ที่จริงมีก่อนหน้านั้นอีก ก่อนท่ียังไม่มี คืออะไรล่ะ สมมุติว่าอาตมาต้ังขวดน้าไว้อย่างนี้ ตั้งไว้ไป เรื่อย ๆ หลายเดือน หลายปีผ่านไป จะเกิดอะไรข้ึนในขวด น้าน้ี เคยเห็นคราบตะไคร่น้าข้ึนไหม ถามว่าใครมาสร้าง ตะไครน่ ้าในน้ีข้นึ มา ปุจฉา : ไมม่ ี วิสัชนา : ตะไคร่น้าเกิดข้ึนมาได้อย่างไร ก็ต้องมองไป ท่ีคาว่านิยาม ๕1 คืออะไร อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม ๑ นิยาม ๕ มี ๑. อุตุนิยาม ความเป็นธรรมดาของฤดูกาล ๒. พีชนิยาม ความเป็นธรรมดาของพืช ๓. จิตตนิยาม ความเป็นธรรมดาของจิต ๔. กรรมนิยาม ความเป็นธรรมดาของกรรม ๕. ธรรมนิยาม ความเป็นธรรมดาของธรรม
๒ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง กรรมนิยาม ธรรมนิยาม จิตตนิยามในขวดน้านี้ไม่มีใช่ไหม มีแตอ่ ตุ นุ ิยาม ฉะนั้น สง่ิ เหลา่ นไี้ ม่มีใครสร้าง แล้วก่อนหน้าน้ัน มันไม่ได้มีจริง ไม่ได้มีก่อนอยู่แล้ว เหตุป๎จจัยของนิยาม เหล่านี้ อาตมาใช้คาว่าความพร้อมมูลของสิ่งเหล่าน้ี มีความพร้อมมูลเมื่อไหร่ ก็ก่อตัวเม่ือน้ัน เคยสังเกตเห็นอยู่ ถ้าเราเข้าใจในแง่นี้จะรู้เลยว่า อัตตาท่ีแท้มันไม่ได้มีหรอก ที่เราถูกสร้างขึ้นมาจากนิยามท่ีเป็นเหตุป๎จจัย เป็นมูลเหตุ ความพร้อมมูลของธาตุ ความพร้อมมูลของนามมาประกอบ ร่วม จึงได้เกิด เราจะไปแก้ไขความพร้อมมูลก่อน ๆ นั้น ไม่ได้ มันเกิดมาเป็นผล เป็นตัวเราแล้ว ต้องมาแก้ไขที่ตัวอวิชชา เท่าน้ัน ทั้งหมดในชีวิตท่ีเราเกิด - ตาย เกิด - ตายอย่าง หาท่ีส้ินสุดไม่ได้ เพราะอวิชชาตัวเดียวเท่านั้น เราจึงต้องมา หาความรูก้ ัน ปุจฉา : ถ้าอย่างน้นั ความเหน็ วา่ มันมีอยู่แต่เดมิ กเ็ ปน็ อวชิ ชา หมายถงึ ว่าถ้าเราไปคดิ ว่ามันมอี ยู่แต่เดมิ จรงิ ๆ แล้ว ไมม่ ี แต่มนั มีเพราะวา่ มเี หตปุ ๎จจยั พร้อมข้ึนมา น่ถี กู ไหมคะ วสิ ัชนา : ถูก ปุจฉา : เพราะถ้ายังมีอาสวะ มีอวิชชาอยู่ เราก็ไป อุปาทานกบั มัน มันมีขันธ์อยู่เฉย ๆ ขันธ์ ๕ อยู่เฉย ๆ ของเขา
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๓ ทเ่ี ขามาจากอวิชชา หมายถึงว่าถ้าเรายังไม่มีอะไรขึ้นมาให้ดู ก็ให้ดูความเป็นขันธ์ของเขาเฉย ๆ เขาก็มีหน้าท่ีทางานของ เขาไป วสิ ัชนา : ถูก เพราะถ้าดูขันธ์เฉย ๆ น่ี เวลาอะไรผ่าน เขา้ มา จะเข้าใจทันทีว่าขันธ์ก็คือขันธ์ ส่ิงที่ผ่านเข้ามาก่อนท่ี มันจะมี ก็คือเป็นส่ิงท่ีจรมา ไม่ได้มีอยู่จริง เราก็จะกาหนดดู ขันธ์นั้นว่า ขันธ์ท่ีเป็นสัจจะแท้ในตัวของมันอันหนึ่ง กับส่ิงที่ จรเข้ามา กจ็ ะไม่สงสยั ไมต่ ้องแปลกใจ ไมต่ อ้ งวิตก หรือไม่ต้อง ไปร้สู กึ วา่ ความทุกข์แต่ละอย่าง ๆ ท่ีเกิดขึ้นกับเราน้ัน เราทุกข์ เพราะอะไร เราจะไม่สงสัยเลย เราจะเห็นส่ิงท่ีผ่านเข้ามา อาศัยขันธ์ไหนเกิด ต้ังอยู่ในขันธ์ไหน อิงอยู่ในขันธ์ไหน แล้ว มีอะไรนอนเนือ่ งเข้ามาจากสิ่งที่เกิดขึ้นน้ัน ความเห็นอย่างน้ี แหละจงึ จะเป็นการทาลายอวิชชา ปุจฉา : จริง ๆ อายตนะจะต้องมี การเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การล้ิมรส การสัมผัสทางกาย ธรรมารมณ์ เพ่ือจะมีความเข้าใจเกิดข้ึนมาว่า การที่เราไปยึดเอาของเก่า หรอื อะไรในตัวสัญญา เป็นอปุ าทาน วสิ ัชนา : แล้วไปยึดทาไม ใชไ่ หม
๔ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ปุจฉา : ดูเป็นขันธ์เฉย ๆ ของเขา แล้วก็ดูเม่ือมันมี อุปาทานเข้ามาแทรก ก็รู้แล้วว่าอันน้ีเป็นเร่ืองของมัน แล้ว เปน็ ทกุ ข์ใหม่ วิสัชนา : ใช่ โดยลาพังตัวขันธ์ก็มีอุปาทานในตัวของ มันอยู่แล้ว เราเพียงแค่ไม่เข้าใจระบบของอุปาทานขันธ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นั่นคือตรัส โดยสัจจะท่ีอุปาทานก็เป็น อุปาทานขันธ์ก็เป็น แต่การเข้าใจ ในคาสอนข้อนี้ เราไม่ได้เข้าใจอย่างน้ันว่าเป็นเรื่องของ อุปาทานที่เขาเป็น มันเป็นเอง ทุกข์น้ันมันเกิดเองตามวาระ ทม่ี ันเป็น มนั เกดิ เอง มนั ต้งั อยู่อย่างนนั้ แลว้ กด็ ับไปเอง ปุจฉา : ถา้ เราเข้าไปแทรกกจ็ ะเปน็ สมุทยั ทนั ที วิสัชนา : ใช่ ถ้าเราไปแทรกก็คือ ไปมีอุปาทานใน อปุ าทานท่มี นั กาลังเป็นอยู่ ปจุ ฉา : อปุ าทานในอปุ าทาน วสิ ชั นา : ใช่ อาตมาใชค้ าวา่ อุปาทานในอุปาทานขันธ์ ทแี่ ท้ขนั ธ์มนั อปุ าทานกันอยแู่ ลว้ เป็นเร่ืองปกติ ไม่ได้เป็นเรื่อง เสียหาย แล้วไม่ใช่ความผิด ไม่ใช่กิเลส แต่การท่ีเราไปมี
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๕ อุปาทานเอาเองในตัวขันธ์ที่มันเป็นเองอย่างน้ัน น่ีคือ ความผดิ ของเรา ปจุ ฉา : ความผดิ ของเรา ไม่ใชเ่ ร่อื ง (ความผิด) ของขันธ์ ขันธเ์ ขาก็อยูข่ องเขา ปุจฉา : ที่ท่านอาจารย์เทศน์ว่าตัณหาเกิดขึ้น ตลอดเวลา อย่างเราจะกินข้าว ก็ดูให้มันดับไปก่อน แล้วจึง กนิ ใช่ไหมคะ โยมจบั ถูกไหม วิสัชนา : ถ้าจะเอาชั้นของการรู้เรื่องของมัน ก็ต้อง ทาอย่างนั้นก่อน แต่เม่ือรู้เร่ืองแล้วก็ไม่ได้ทาอย่างน้ัน ตลอดไป มันจะกลายเป็นความรู้เรื่องที่เวลาเรากินอะไร หรือทาอะไรก็จะเป็นความรู้เรื่องในเร่ืองนั้น ๆ แต่ตอนแรก ตอ้ งทาให้เกดิ ความรเู้ ร่อื งก่อน ปุจฉา : ก็คือดูตัวเองก่อน จนกระทั่งความอยากกิน ดบั ไป แล้วคอ่ ยกนิ โดยตอนกนิ นนั้ ค่อยรู้เร่ืองไปตามปกติ วิสัชนา : ใช่ ตอนแรกต้องทาให้มันรู้เรื่องของมันก่อน คาว่า รู้เร่ือง คือรู้เหตุเกิด รู้ความตั้งอยู่ แล้วก็รู้ความดับ พอครั้งต่อไปไม่ต้องกาหนดจิตเพ่ือที่จะรู้เร่ืองของมันแล้ว เพราะการกาหนดจิตในการรู้เรื่องในคราวครั้งแรก มันเป็น
๖ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ความรู้แล้วในภายใน พอเปน็ ความรู้แล้วกใ็ ชค้ วามร้แู ลว้ อันนี้ แหละในครั้งต่อไป ปุจฉา : แล้วอย่างเวลาท่ีเรารู้ปฺุบ อย่างนี้ คร้ังต่อไป เราก็ไม่ต้องให้ช่ือมันใช่ไหมคะว่า อันนี้สัญญา อันน้ีสังขาร เพราะให้ชื่อไว้แต่คราวกอ่ นแลว้ วิสัชนา : ท่ีเราต้องให้ชื่อ เพราะจิตจะได้รู้ว่ามันเป็น เร่ืองของขันธ์ การท่ีบอกว่าอันน้ีคือเวทนาขันธ์ อันนี้คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นอุบายวิธีท่ีจะไม่มีตัวเราเข้าไป เก่ียวข้อง จะเป็นเรื่องของขันธ์ที่มันเกิด ปรากฏตั้งอยู่ แล้ว เป็นไปตามระบบวิถีของขันธ์ คือเป็นตัวอุปาทานของขันธ์ เอง แต่ถ้าเราไม่กาหนดว่าเป็นเร่ืองของขันธ์ชนิดน้ีเกิดขึ้น ขันธ์ชนิดนี้ตั้งอยู่ ขันธ์ชนิดน้ีดับไป มันจะไม่มีเปูาที่จะเป็น ตัวกาหนด เราจะไปเหน็ แตอ่ ารมณ์ สภาพของอารมณ์ แล้วเรา จะรับผลทางอารมณ์อันนั้นเข้ามาสู่ตัวเรา แต่ถ้าเราบอกว่า อันน้ีเป็นขันธ์ ขันธ์ก็จะเป็นส่ิงท่ีถูกรู้ อารมณ์ที่เกิดพร้อมกับ ขันธ์ก็เป็นสิ่งท่ีถูกรู้ มันก็ถูกกาหนดรู้ไว้อยู่ในน้ัน มันเลยไม่มี ความเป็นตวั เราเขา้ ไปเก่ยี วขอ้ งในขณะทปี่ ฏบิ ัตนิ ้นั ปุจฉา : เราจะต้องกาหนดอย่างนี้ตลอดไปหรือคะ
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๗ วิสัชนา : ควรจะเป็นอย่างน้ัน จนกว่าจิตจะเกิด ความรู้แจ้ง พอจิตเกิดความรู้แจ้งในคราวคร้ังใด คร้ังต่อไป จิตจะรับเข้าไปเป็นผู้กาหนด และทาหน้าที่ในการแก้ไขใน ระบบของอุปาทานตัวยึดนแี้ บบอตั โนมัติ ปจุ ฉา : ทสี่ งสยั คืออาการทอี่ ัตตามนั โผล่ขึ้นมา วิสัชนา : กใ็ หม้ ันโผล่ อย่าไปปฏิเสธมัน ปุจฉา : มนั เป็นอะไรในขนั ธ์ ๕ คะ วิสัชนา : เปน็ อะไรในขันธ์ ๕ ปจุ ฉา : สังขารขนั ธ์ วิสัชนา : แท้ที่จริงแล้วตัวอัตตาคือผลรวมของขันธ์ ท้ังหมด ขันธ์โดยปกติท่ีอาตมาอธิบายน้ี คือระบบของขันธ์ ท่ีเป็นอุปาทานขันธ์โดยปกติ แต่ในชั้นของอัตตานี่เป็น ผลรวมของขนั ธท์ ม่ี าจากเหตปุ จ๎ จัยในปางกอ่ น ปจุ ฉา : วบิ าก วิสัชนา : ใช่ เป็นผลของวิบาก เพราะฉะน้ันแล้ว ความท่ีมันเป็นผลนี่ ตัวเราโดยปกติแก้ไขอะไรไม่ได้หรอก
๘ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง แต่เมื่อใดก็ตามท่ีมันเกิดขึ้นมา จะต้องอาศัยขันธ์เกิด อาศัย ขนั ธต์ งั้ อยเู่ หมือนกนั ทีน้ี ในคาถามท่ีว่า มันเกิด มันคือขันธ์ไหน เมื่อมัน เป็นผลรวมของขันธ์ เหมือนกับร่างกายเรานี้เป็นผลรวมของ ธาตุ ๔ เรารู้ไหมว่าธาตุท้ัง ๔ ในกายเรา อะไรคือธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุไฟ ธาตุลม เราจาแนกได้ไหม ตัวตน คือตัว ร่างกายนี้ คือผลรวมหมดแล้วนะ เราจาแนกได้ใช่ไหม แต่เราจะไปเห็นโดยแยก แยกโดยธาตุที่ปรากฏในขณะนั้น เราจะไม่เห็นแยก เราจะเห็นเป็นตัวเป็นตน เป็นรูปร่างเลย แตเ่ ราจะเหน็ แยกในชั้นของการพิจารณา ฉะนน้ั อัตตาทเี่ กิดขึน้ ก็ต้องอยใู่ นชั้นของการพิจารณา ต้องเห็นในชั้นของการพิจารณา โดยจับอาการที่เกิดข้ึนน้ัน ตามอาการของขนั ธ์วา่ มันคอื อะไร แล้วตอ้ งเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง ๕ จะไม่เกิดแยกกัน จะเกิดร่วมกัน เป็นเพียงแต่ว่าขันธ์ชนิดใด ท่ีเด่น ทีนี้ อัตตาของขันธ์นี้ มันจะอยู่ในระบบของขันธ์ที่เป็น ตัวขันธ์ นี่ลักษณะหน่ึง ลักษณะท่ี ๒ คืออยู่ในตัวตัณหา ฉะน้ัน จึงจะมีข้อกาหนดไว้ว่า อัตตาที่เกิดขึ้นนั้น อันไหน คือสิ่งที่ต้องกาหนดรู้ อัตตาชนิดไหนที่ต้องละ อัตตาชนิด ไหนท่ีต้องทาให้แจง้ แล้วอัตตาชนิดไหนทตี่ อ้ งเจริญข้ึน
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๙ ในช้นั ของการเจรญิ อรยิ มรรคกเ็ ป็นช้ันอัตตาเหมือนกัน มันจะอยู่เหนือเจตนา-ส่ิงที่เราสร้าง เจตนาน้ีคือส่ิงท่ีเรากาลัง สร้างข้ึน แต่พอส่ิงท่ีสร้างข้ึนที่เป็นกาลังแห่งมรรคมันจะอยู่ เหนือเจตนา น่ีคือช้ันอัตตาอันหนึ่ง แต่ไม่ใช่อัตตาในสักกายะ ถา้ จะพูดอธิบายในแง่นี้เหมือนกับจะขัดกับความเป็นอนัตตา แท้ทจี่ ริงแล้ว นแ่ี หละคอื ความเป็นอนัตตา ปุจฉา : ทาไมร้สู กึ เหมอื นวา่ มันมีอัตตาดนิ้ อย่ใู นใจ วิสัชนา : ก็ถูก มันก็ต้องมี ก็ต้องเกิดขึ้นตาม ภาวการณท์ มี่ ันมีอย่แู ลว้ เพราะเราต้องยอมรับว่าเรามีอัตตา อยู่แล้ว อัตตามันก็ต้องด้ิน มันจะมี...ท่ีพระพุทธเจ้าทรงใช้ คาว่า การเพ่งพิจารณาเพื่อทาให้กิเลสเร่าร้อน ตัวท่ีเร่าร้อน นั้นมันกิเลสเร่าร้อน แต่ทีน้ี เราเคยหลงในอาการเหล่าน้ีว่า เป็นตนมาเสมอ ก็เลยรู้สึกว่าเรามีความเร่าร้อน แต่น่ันคือ ลักษณะของกเิ ลสเร่าร้อนท่เี ราไม่รู้ ฉะน้ัน การกาหนดว่า นี้คืออัตตา จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ ทาให้ตัวเราได้แยกออกจากอาการที่มันเกิดในเวลาน้ัน เรา จะไม่ค่อยทันอาการต่อสิ่งที่มันเกิด จะไปเอาอาการเหล่าน้ี มาเป็นตน เพราะเราจะรู้สึกตามอาการท่ีมันเกิดขึ้นเสมอ เพราะฉะนนั้ เราตอ้ งรจู้ กั ยอมรับอัตตาชนิดนี้ก่อนว่ามันต้องมี มันต้องเกิด แต่การที่เรากาลังรู้และพิจารณาอยู่ ก็จะทาให้
๑๐ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง เกิดความเร่าร้อนในตัวของมัน เพราะอะไร เพราะว่ามัน อิงอาศัยตัณหาเกิด ก็มีตัณหาประเภทท่ีเรียกว่า เร่าร้อน เพราะไม่ได้รับการตอบสนอง กับการเร่าร้อนเพราะว่า ต้องการปรารถนามา จะมอี ยู่ ๒ อย่าง ขณะท่ีต้องการและปรารถนาน้ัน ก็เร่าร้อนเพื่อ อยากจะให้ได้มา แล้วเม่ือไม่ได้รับการตอบสนอง ก็เร่าร้อน เพราะการปรารถนาน้ันไม่ตรงตามที่ตัวเองต้องการ มีอยู่ ๒ อย่างนี้ ทีน้ี การเร่าร้อนของมัน ไม่ได้เป็นการเร่าร้อน เพื่อที่จะมาเป็นอาสวะหรือเป็นกิเลสในตัวเรา แต่เป็นการ แสดงตัวอัตตา ซ่ึงมันเร่าร้อนในภาวการณ์ท่ีมันควรจะได้รับ การตอบสนอง แล้วมันไม่ได้ มันก็ต้องด้ินออกมาตาม ภาวการณ์ของมัน การดิ้นนั้น เป็นการบ่งบอกถึงสภาพของ กิเลสทม่ี นั เรา่ รอ้ นทจี่ ะถกู ทาลายไป แตเ่ รามกั จะเหน็ ใจกเิ ลส ไมอ่ ยากให้มันเรา่ ร้อน ปจุ ฉา : ต้องยอมรับว่ามันต้องมีอยู่แล้ว วิสัชนา : ก็ต้องยอมรับ คือยอมรับในช้ันของสมุทยสัจจะ ว่า นี้...สมุทัย นี้...การเกิดขึ้นของสมุทัย น้ี...การดับไปของ สมทุ ัย น.้ี ..ข้อปฏิบัตติ ่อสมทุ ยั เพราะสมทุ ัยก็คอื สจั จะความจริง อันหน่ึง เรียกว่าสมุทยสัจจะ พูดง่าย ๆ อัตตาหรือกิเลส ทั้งหลายก็คือความจริงในตัวของมันอย่างหนึ่ง เป็นสัจจะ
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๑๑ อยา่ งหนงึ่ วา่ มนั มอี ยจู่ รงิ เราจะยอมรบั ความไมม่ กี ต็ อ่ เมอ่ื เรา รู้พระนิพพานแล้ว เมื่อใดก็ตามที่เรายังไม่รู้พระนิพพาน กต็ อ้ งยอมรับว่ามันมี เมื่อเรายอมรับว่ามันมี ต้องรู้ความจริง อีกวา่ การทม่ี นั มี มนั มตี อนทีเ่ กิดเทา่ นั้น ไม่ไดม้ ีอยโู่ ดยถาวร และเมื่อไมม่ ีกต็ อนท่มี นั ดับเท่าน้ัน มนั กไ็ ม่มี แต่ทีนีโ้ ดยทว่ั ไป เราจะไปเข้าใจแล้วก็ทรงจาไว้ตลอดว่า เรามีกิเลสอยู่ตลอด นี่คือความเข้าใจผิด เป็นการทรงจาผิด เป็นการรู้ผิด เป็นการกาหนดผิด เป็นการต้ังใจไว้ผิด เห็นไหม มิจฉาทิฏฐิจะมาตลอดถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้ แต่ถ้าเราเข้าใจ ตรงน้แี ล้วจะรเู้ ลยวา่ มนั เพิ่งจะเกิดข้นึ เมือ่ มมี ลู เหตใุ นการท่ีจะ ก่อตัวขึ้น มันก็มาเกิดร่วมกับมูลเหตุชนิดน้ัน ๆ เช่น ตาเห็น รูป แล้วไม่รู้จักรูปตามความเป็นจริง มันก็ต้องมาเกิดร่วมใน ขณะท่ีเห็นนั้น นั่นหมายถึงว่าการรับรู้ในแต่ละครั้ง เป็นการ รับรู้โดยการเกิดร่วมของกลุ่มอวิชชา ตัณหา อุปาทาน แล้ว เป็นก้อนอัตตารับรู้ร่วมด้วย แค่ไม่รู้ตัวเดียวนะ แต่ทีนี้ เมื่อ ตาเห็นรูป แล้วเรารู้ในรูปตามความเป็นจริง ตัวอัตตา อาสวะ อนุสัย พวกน้ีจะไม่เกิดร่วมแล้ว แต่กาลังของอริยมรรคจะ เกิดรว่ ม ปจุ ฉา : ในขณะน้นั เราตอ้ งทกั วา่ น้คี ืออตั ตา ใช่ไหมคะ วิสัชนา : ใช่
๑๒ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ปจุ ฉา : และก็เป็นทกุ ขสัจจะ วสิ ัชนา : ใช่ เป็นทุกขสัจจะ ก็มีอัตตาท่ีเป็นทุกขสัจจะ อนั หน่งึ อัตตาที่เป็นสมุทยสัจจะอันหนึ่ง แล้วก็มีอัตตาท่ีเป็น นโิ รธสัจจะ นนั่ หมายถึงว่าอตั ตาก็ดับไปได้ ปจุ ฉา : ต้องแยกใหอ้ อกใช่ไหมคะ วสิ ัชนา : ใช่ เพราะถ้าเราไมร่ ู้วา่ อตั ตาก็ดบั ไปไดน้ ่ี เรา ไม่รู้วิธีเลยว่าจะดับอย่างไร พอเรารู้ว่าอัตตาดับได้ จะเป็น อะไรไป ก็ดับได้ การรู้ตามเป็นจริงที่เป็นมรรคน่ีแหละมันจะ ไปทาลายสังโยชน์ ประเด็นของเราคือจะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจในระบบของขันธ์ ระบบของอัตตาช้ันไหนก็ตาม ส่วนมากอัตตาจะอยู่ในช้ันของสมุทยสัจจะ แต่อยู่ในชั้นของ ทุกขสัจจะก็มี เพราะฉะนั้น จึงมีข้อปฏิบัติต่อทุกขสัจจะนั้น ในแตล่ ะข้อโดยกาหนดรใู้ นทุกขสจั จะนน้ั วา่ ๑. ทกุ ข์ ๒. เหตุ เกิดทกุ ข์ ๓. ความดับของทกุ ข์ ๔. การปฏิบัติตอ่ ทุกข์ ๑. ทกุ ข์ ก็คือ ทกุ ข์ทเี่ กิด เรากร็ โู้ ดยความเป็นสจั จะ - เหตุเกิดของทุกข์ (ทุกขสมุทยะ) อาจจะมีเหตุมาจาก ผัสสะหลากหลาย เราก็รู้เหตุ “อ๋อ มันก็มาจากผัสสะ เมื่อ ผสั สะมี มันกต็ อ้ งมี เป็นเรอื่ งปกติ” กร็ ตู้ อ่ โดยกิจของปริญญา รอบรไู้ ปเรื่อย ๆ
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๑๓ - ความดบั ของทกุ ข์ มนั เกดิ แล้วกด็ บั ได้ - วิธีปฏิบัติต่อทุกข์ คือปฏิบัติต่อส่ิงท่ีเกิดและดับได้น่ี จะปฏิบัติอย่างไรล่ะ ก็เป็นชั้นของการรู้ ปริญญาตัพพัง กาหนดรู้อยา่ งนี้ ใหม้ ันแลว้ ในแต่ละลาดับ ๒. สมทุ ยั ตัวทเ่ี ปน็ อตั ตาเกดิ ร่วมนี่ สมทุ ัยก็เป็นสัจจะ อันหน่ึง เป็นสัจจะท่ีต้องยอมรับ แต่การยอมรับในชั้นสมุทัย ไม่ใช่ยอมรับเพ่อื ใหม้ นั มอี ยู่ แต่ยอมรบั เพือ่ ทีจ่ ะละ ปหานะ คือ รู้ว่าสิ่งน้ีจะต้องละ แต่ไม่ใช่เข้าไปละ ในเวลาน้ัน เพราะเราละไม่ได้ ลาพังเจตนาจะเข้าไปละน่ี ก า ลั ง เ จ ต น า ข อ ง เ ร า ไ ม่ ส า ม า ร ถ ไ ป ล ะ สิ่ ง ท่ี เ ป็ น อั ต ต า นอกเหนือเจตนาไดเ้ ลย มนั ไมไ่ ด้อย่ใู นเจตนาเรา ปุจฉา : นึกวา่ ต้องละ วิสัชนา : เอาอย่างน้ีดีกว่า กิเลส พวกอัตตาทั้งหลาย เราอยากให้มันเกิดไหม เมื่อไม่อยากให้เกิด แล้วมันเกิด ขนึ้ มาไดอ้ ย่างไร แสดงว่ามนั ไม่ได้อยู่ในเจตนาของเราอยแู่ ลว้ เม่ืออัตตาไม่ข้ึนกับเจตนาของเรา มันต้องเป็นส่วนหนึ่ง ตา่ งหากจากเราอยู่แล้วโดยปกติ นนั่ หมายถงึ ว่า อาสวะกเิ ลส ก็ไม่ได้เป็นส่วนหน่ึงในชีวิตเราเลย มันเป็นของต่างหาก เพ่ิง จะมาเกิดข้ึนต่อเม่ือมีเหตุป๎จจัยกระทบ มันไม่ได้มีอยู่ดั้งเดิม
๑๔ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง และไม่ได้มีฝ๎งแน่นอยู่ในจิตเรา และไม่ได้อยู่ในขันธสันดาน ของเราเลย เพราะฉะน้นั เราตอ้ งกาหนดรู้ แตเ่ ราต้องรแู้ นว่ ่า อัตตาชนิดนี้มาจากเหตุของอวิชชาแต่ปางก่อน มันสืบมา จากโน้น แล้วเราไปตามแก้อวิชชาของปางก่อนได้ไหมล่ะ ก็มันนามาซึ่งผลแล้ว เพราะฉะนั้น ชีวิตทั้งชีวิตคือผลในชั้น ของ ชา-ติ ชรา พยา-ธิ มรณะ ก็คือ ชาติ การเกิด อะไรเกิด ก็ขันธ์นี่แหละ เป็นอย่างอื่นเกิดมีไหม เทวดาเกิด ก็คือขันธ์ เกิดใช่ไหม พรหมเกิด ก็คือขันธ์เกิด เดรัจฉานเกิด ก็คือขันธ์ เกดิ เปรต ผี ปีศาจ อสรู กายทั้งหลายเกิด ก็คือขันธ์เกิด ไม่มี อะไรเกิดนอกจากขันธ์เท่าน้ันที่เกิด ก็คืออวิชชาอันมีมา แต่ปางก่อนนาผลมา เพราะฉะน้ัน ชีวิตเราทั้งหมดก็คือผล ที่มาจากอวิชชาแต่ปางก่อน แต่ทีนี้ ในความหมายของ พระพุทธเจ้าวา่ เม่ือผลมันนามาแล้วนี่ เราจะไปสร้างเหตุเพ่ิม จากตรงสิ่งท่เี ป็นอยู่นห้ี รือเปลา่ ฉะนั้น เราก็ต้องเข้าใจว่า สมุทัยมันก็มีโดยความเป็น สัจจะ ซ่ึงถูกส่งผลมาจากปางก่อน มันมีโดยสัจจะของมัน อย่แู ลว้ น่นั หมายถึงว่าอัตตา อวิชชา ตัณหา อาสวะ อนุสัย กิเลสทั้งหลายท้ังปวงนี้ มันมีโดยสัจจะ แต่เราต้องเข้าใจนะว่า สมุทยสจั จะอนั นนั้ มนั ไม่ได้มีอยู่ตลอด เพราะอะไร เพราะมี นิโรธสัจจะ นิโรธสัจจะก็คือบ่งบอกถึงความเป็นสมุทัยที่มัน เกิดแล้วมันต้องดับนั่นเอง ก็หมายถึงว่าอาสวะ กิเลส อัตตา
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๑๕ อวิชชา อนุสัยท้ังหลายท้ังปวงน้ีมันก็เกิดและดับได้ สิ่งที่เกิด และดับได้ควรจะทาอยา่ งไร ปจุ ฉา : กาหนดรู้ วิสัชนา : เห็นไหม ก็ต้องมาสู่การกาหนดรู้อีก เหมือนเดิม เราจะทาอะไรนอกเหนือไปกว่านี้ไม่ได้ แต่ทีนี้ ในชั้นสมุทัยบอกว่าปหานะ ให้ละ คาว่าให้ละ ไม่ใช่ว่าไปละ ในตอนนัน้ เม่อื เรารู้อยู่แล้วว่ามนั เกิดแล้วมันดับไป วิธีละก็คือ ไม่สร้างตัณหาใหม่จากตัณหาเดิมท่ีกาลังเป็นอยู่ในเวลานั้น คือละตัณหาท่ีจะเกิดขึ้นโดยอาศัยตัณหาน้ี เพราะฉะนั้น ตัณหานี้จะเป็นตัณหาท่ีถูกรู้ เม่ือตัณหานี้ถูกรู้ ตัณหาใหม่ จะเกิดขึน้ ได้ไหม มันก็ไม่ได้ เพราะถูกแทรกด้วยความรู้ไว้แล้ว มันก็จะดับ แล้วจะเกิดเป็นสมุทยนิโรธ ก็คือเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วดับ เพราะฉะน้ันแล้ว ตัวคาว่า ปหานะ ที่ว่าละได้ ปหีนัง ท่ีว่าละได้แล้ว มันจะไปแล้วตอนที่เราเจริญมรรค เพอื่ ท่ีจะละ มรรคเปน็ ตวั ละ ฉะน้นั จึงมี ๑. สมทุ ยสัจจะ ๒. การเกิดข้ึนของสมุทยสัจจะ ๓. การดับไปของสมุทยสัจจะ เราจะรู้เพราะสมุทัยก็ดับได้ จริง เป็นสัจจะอันหน่ึง สัจจะกาหนดไว้ตายตัวว่ามันดับได้ ดว้ ยตัวของมันเอง วิธีปฏบิ ตั ิต่อสมทุ ยั ทาอย่างไร ก็รู้ ใช่ไหมล่ะ รู้ว่าวธิ ีละต้องละอยา่ งไร แลว้ เรากร็ ู้นโิ รธ
๑๖ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ๓. นิโรธ การเกิดขึ้นของนิโรธ ความดับไปของนิโรธ แลว้ กข็ ้อปฏบิ ัตติ อ่ นโิ รธ - นิโรธคืออะไร ก็ความดับไปของสมุทัยน่ันแหละ คือนิโรธ - การเกิดข้ึนของนิโรธทาอย่างไร ก็เม่ือใดก็ตามที่เรา ไม่ได้สบื ต่อตัวตณั หาน้ัน ตัณหาก็ดับ นิโรธก็จะเกิดข้ึน จึงเป็น การดบั ไปของตัณหา - การดบั ไปของนิโรธคอื อะไร ก็คอื มีตณั หาใหม่เกิดข้ึน หรือ มีทุกข์ใหม่เกิดขึ้น เพราะมีตัณหาก็ต้องมีทุกข์ เมื่อมี ทุกข์ใหม่เกิดข้ึน นิโรธก็ไม่มีแล้วตอนนั้น ทุกข์ใหม่ท่ีเกิดข้ึน ดบั ไป นโิ รธก็จะมาแจ้งอกี ครง้ั หน่งึ กจ็ ะเป็นอย่างนี้ นิโรธก็มี เกดิ มีดบั ด้วยตวั ของมันเอง - วิธีปฏิบัติต่อนิโรธทาอย่างไร ก็รู้อย่างน้ีแหละ จะไปรู้ อย่างอืน่ ทาไม รู้อยา่ งอ่นื ไปกไ็ มถ่ กู ตวั มนั ใช่ไหม ๔. มรรค - มรรคคืออะไร เหตุเกิดมรรคคืออะไร ความดับไป ของมรรคคอื อะไร แล้วขอ้ ปฏบิ ตั ิตอ่ มรรคทาอยา่ งไร - ข้อมรรคบอกให้ทาอย่างไร เจริญข้ึนใช่ไหม เจริญ อะไรล่ะ เจริญความเห็น ความเห็นน้ันเห็นอะไรล่ะ ก็ไป เห็นทุกข์ท่ีเกิด เห็นสมุทัยที่อาศัยทุกข์เกิด เห็นนิโรธตอนที่
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๑๗ สมทุ ยั นัน้ ดบั เห็นมรรควา่ ทาอยา่ งนแี้ หละคอื การเจรญิ มรรค “อ๋อ...มรรคเกิดอย่างน้ี อันน้คี ือมรรค การเกิดขึ้นของ มรรคเกิดขนึ้ อยา่ งน้ี” - มรรคดบั ไปอย่างไร กเ็ วลามรรคทาหนา้ ท่ีของตวั เอง เสร็จ คือประหารกิเลสแล้ว ตัวมรรคก็ดับลงไปพร้อม นี้คือ การดบั ไปของมรรค - วิธีปฏิบัติต่อมรรคทาอย่างไร ก็เจริญข้ึนอีกเพราะ มันดับได้ มรรคก็ดับได้เหมือนกัน มรรคไม่ใช่ของยั่งยืนนะ แต่ผลที่มรรคสร้างไว้ไม่เสื่อม มรรคเกิดแล้วก็ดับเหมือนกัน เพราะฉะน้ัน ป๎ญญาเกิดข้ึน ป๎ญญาตั้งอยู่ ป๎ญญาดับไป แต่สิ่งท่ีป๎ญญาสร้างไว้ ไม่ดับ บุคคลน้ันจะรู้ว่าไม่ดับอย่างไร จะรู้ชัดภายในตนเอง ความรูท้ ่ีเกิดจากป๎ญญาน้ันจะยังคงอยู่ ไม่หายไปไหน ปุจฉา : อย่างนั้นคือลักษณะเดียวกับที่ว่า เพราะเรา มีอวชิ ชามากอ่ น ผลก็คือได้ขันธ์ ๕ มานี่แหละ แต่ตัวเหตุน้ัน กด็ ับไปแล้ว ผลกเ็ ลยยงั แสดงอยู่ วิสัชนา : ใช่ เหตุดับไปแล้ว เป็นแค่ผล เป็นชั้นของ ทุกขสัจจะ หมดเลย ชีวิตเราท้ังหมดเป็นชั้นของทุกขสัจจะ แต่ถา้ ไมร่ ทู้ กุ ขสจั จะ กค็ ือไปสร้างสมุทยสจั จะแล้ว
๑๘ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ปุจฉา : ที่ท่านอาจารย์อธิบายมา แสดงว่าทุกตัวของ อริยสัจนี้ เรากาหนดเห็น กาหนดรู้เหตุ กาหนดดับได้หมด แม้กระท่ังเป็นสมุทยสัจจะ ก็สามารถกาหนดเข้าในอริยสัจ ๔ เวยี นรอบใหม่ วิสัชนา : ใช่ เพราะถ้าทาอย่างนี้จะเกิดอนุโลมญาณ- ความรู้ท่ีคล้อยตามอริยสัจ ชื่อเต็มก็คือสัจจานุโลมิกญาณ อนุโลมกค็ อื คลอ้ ยตาม เพราะถ้าไม่คล้อยตามอริยสัจ จะเข้า สู่โคตรภูไม่ได้ บางคนถามว่าเราไม่เอาญาณก่อน ๆ น้ันมา ช่วยหรือ อาตมาเช่ือวา่ พวกเราทามาเยอะแล้ว แต่ไมค่ ล้อยตาม อรยิ สจั เพราะคล้อยตามไม่เปน็ ปจุ ฉา : ใช่ ไม่ยอมรบั ตามอริยสจั ปุจฉา : ท่านอาจารย์เจ้าคะ ถ้าเผื่อว่าเรายังไม่เห็น อัตตานี่ แต่เห็นแค่ทุกข์กับสมุทัย ก็เห็นแค่น้ีไปก่อน แล้ว ค่อยไปเหน็ อัตตา กจ็ ะรู้เองใชไ่ หมเจ้าคะ วสิ ชั นา : ใช่ เราไม่ต้องไปติดคาว่าอัตตาหรือไม่อัตตา เพราะคาน้ันไม่ได้เป็นป๎ญหาอะไรหรอก ป๎ญหาคือเราได้ทา การกาหนดรู้ทุกข์ให้ถูก รู้สมุทัยให้ถูก รู้นิโรธให้ถูก แล้ว เจริญมรรคให้ตรงกับความเป็นจริง ถ้าเรารู้ข้อน้ีแล้ว ไม่ต้อง ไปสนใจว่าจะอัตตาหรือไม่อัตตา ทาวนอยู่ ๔ ข้อนี้จนเกิด
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๑๙ อาการท่ีเรียกว่าน้อมตาม อนุโลมตามอริยสัจ คล้อยตาม อรยิ สจั จิตเราจะเห็นทกุ อย่างคล้อยตามอรยิ สัจ เห็นทกุ ข์ เห็นเหตุใหเ้ กดิ ทกุ ข์ มนั จะกาหนดว่า น้ีทุกข์ นี้คืออะไร มันจะรู้ชัดว่านี้ น้ี...ไม่ใช่ตอนท่ีมันเป็นความทุกข์ แล้วนะ ตอนที่ยังไม่เป็นความทุกข์ก็สามารถกาหนดรู้ได้ ว่านี้ทุกข์ แค่การก้าว ย่าง เหยียด นี้ก็ทุกข์ มันจะกาหนดรู้ ไปทันที กริ ยิ าแหง่ ความเป็นอาการแห่งการเคลื่อนไหวอย่างนี้ ก็เป็นทุกข์ นี้ทุกข์ อยู่เฉย ๆ ได้ไหมล่ะ ให้อยู่นิ่ง ๆ นาน ๆ ได้ไหมละ่ กต็ ้องเคลอ่ื นไหว เพราะอะไรละ่ ความทกุ ขบ์ บี คั้น ให้ต้องเคลื่อนไหว ก็...นี้ทุกข์ ทันที อ๋อ...เราก็อยู่กับทุกข์อยู่ ตลอด มันกจ็ ะได้คลายออก ก็จะเปน็ นิพพทิ า คลาย ๆ ๆ ๆ ปุจฉา : ท่องขันธ์ ๕ แลว้ กด็ อู ยา่ งนท้ี ง้ั วนั ท้ังคนื นะคะ วิสัชนา : การท่องขันธ์ ๕ จะทาให้เราเห็นขันธ์ ๕ ใน ช้ันของการแยกแต่ละอาการออกได้ เพราะการท่อง ทรงจา เป็นสงิ่ ที่พระพทุ ธเจ้าตรัสไว้เปน็ คากากบั ตายตัวอย่างชัดเจน ว่า การทรงจาธรรมจะมีอุปการะมากต่อการปฏิบัติ เป็น อย่างนั้นจริง ๆ เป็นแบบจริง จนไม่รู้จะจริงอย่างไร เพราะ เวลาเจอป๎ญหาในการปฏิบัติ บทขันธ์ ๕ มันผุดข้ึนมา “กาย กับใจแบ่งออกเปน็ ๕ กอง” มนั แบง่ ออกเป็น ๕ แต่ทาไมเรา ไม่ไปแบ่งล่ะ เราก็ไปแบ่งมันสิ แต่ก่อนเราไม่แบ่ง ก็มองแต่
๒๐ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ขันธ์ ๕ เปน็ ตัว ใช่ไหมล่ะ เราไปแบ่งสิ ...น้ีคือรูปเป็นอย่างน้ี เวทนาเป็นอย่างน้ี สัญญา.. เร่มิ แบ่งออกมา ๆ ถัดจากการแบ่ง กเ็ รมิ่ แยกออกแต่ละอาการ ๆ แล้วค่อยจับอาการจริง เออ... มันไปได้ทีนี้ การปฏิบัติมีหนทางอยู่ แต่ตอนที่เรายังไม่เริ่ม แยก ไม่เริม่ แบง่ นี่ เดินไม่ได้ พิจารณาไปไมไ่ ด้ ปุจฉา : พอ...น้ีทุกข์ ปฺุบน่ี ก็ต้องแยกให้ได้ครบทั้ง ๕ ขนั ธใ์ ชไ่ หมคะ เพราะอยา่ งไรกต็ ้องเจอท้งั ๕ อยู่แลว้ วิสัชนา : ถ้าเรามีความเข้าใจมาตั้งแต่แรกแล้วว่า ทกุ ขเ์ กดิ ขน้ึ ไม่ว่าจะอิงอาศัยขันธ์ใดเกิด น่ันหมายถึงว่าขันธ์ ท้ังหมดรวมลงอยู่ในสภาพแห่งความทุกข์ นั่นคือจิตของเรา ไมว่ ่าจะอยูใ่ นสภาพการณใ์ ดก็ตามท่กี อ่ ให้เกิดความทุกข์แล้ว ขันธน์ นั่ แหละท่ีเป็นตัวแสดงออกของความทุกข์ เพราะความ ทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นท่ีไหน เกิดข้ึนที่ขันธ์ ขันธ์นั้นน่ันแหละท่ี ปรากฏอยใู่ นเวลานนั้ มันอยู่ครบกันท้ัง ๕ แต่ขันธ์ท่ีเด่นที่สุด คอื ขนั ธไ์ หน ก็ดูขันธ์นัน้ ขันธเ์ ดยี ว ถ้าเราดูด้วยความรู้อย่างน้ี เราก็ไมต่ ้องไปดคู รบท้ัง ๕ ขันธ์ ให้รับรู้ขันธเ์ ดยี ว แต่ท่ีให้แยกในครง้ั แรกน้ัน แยกเพื่อให้เกดิ ความรู้ก่อน พอแยกให้เกิดความรู้แล้วเราก็รู้ด้วย ตามอาการแต่ละขันธ์ ๆ ในสิ่งท่ีเกิดข้ึนจริงกับเรา เม่ือเรารู้อาการแต่ละขันธ์เกิดขึ้น จริงกบั เราวา่ ขันธน์ เ้ี ป็นแบบนจ้ี ริง ๆ ทเี่ ปน็ จริง ๆ เห็นจริง ๆ
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๒๑ ว่าเกิดจริง ๆ ดับไปจริง ๆ ของขันธ์แต่ละขันธ์ เวลาจะ กาหนดรู้เพ่ือตั้งเป็นกรรมฐานในจิตน้ัน ให้ดูขันธ์เดียว เพราะขันธ์ทั้ง ๕ มันจะเกิดร่วมกัน ไม่แยกกัน เม่ือมันเกิด ร่วมกัน ไม่แยกกนั การร้นู ัน้ แม้ขันธเ์ ดยี วกเ็ ป็นการรู้ขันธค์ รบ ทั้ง ๕ ด้วยความรู้ที่เรามีอยู่แล้วเป็นตัวรองรับ เม่ือเรารู้อยู่ แล้ว การรู้ขันธ์น้ันมันจะสะเทือนไปท้ัง ๕ ขันธ์อัตโนมัติ นี่คือ ความจริง เหมือนกันกับถอนเส้นผมบนศีรษะมาหน่ึงเส้น เอามาดูให้มันชัดเจน ส่วนท่ีเหลืออยู่บนศีรษะโน้นไม่ต้องไป ถอนมนั หรอก มนั เหมอื นกับเส้นน้แี หละ ปจุ ฉา : เข้าใจแล้วค่ะ วิสัชนา : ใช่ เหมือนกันน่ันแหละ มันตกอยู่ในสภาพ เดียวกัน คือธรรมชาติท่ีเกิดแล้วดับ เราจึงเห็นสภาพ (สภาวะ) การท่ีเราบอกให้รู้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดของทุกข์ น้ีคือความดับไปของทุกข์ น้ีข้อปฏิบัติ ก็คือได้รู้จักธรรมชาติ ที่มันเกิดมันดับของทุกขเ์ อง นี้สมุทัย นี้การเกิดขึ้นของสมุทัย นี้การดับไปของ สมทุ ัย น้ีการปฏบิ ตั ิตอ่ สมุทัย กจ็ ะไดเ้ หน็ อัตตา ตัณหา อาสวะ กเิ ลส ท่ีเกดิ แลว้ กด็ บั ดว้ ยตวั ของมนั เอง
๒๒ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง น้ีนิโรธ นก้ี ารเกิดขึน้ ของนโิ รธ นคี้ วามดับไปของนิโรธ และการปฏิบัติต่อนิโรธ ว่า “อ๋อ...นิโรธ จังหวะที่ดับ นิโรธ จงึ จะปรากฏ มีทุกข์ใหม่มา นิโรธก็จะไม่เห็น” ก็ต้องรับรู้ทุกข์ เราจะไปดูแต่นิโรธตอนน้ันก็ไม่ได้ ก็ต้องกลับไปรับรู้ทุกข์ พอไปรับรู้ทุกข์อารมณ์ใหม่ แต่เราจะทาให้แจ้งว่าการดับไป ของทุกข์ชนิดที่เกิดข้ึนนี่แหละจะปรากฏเป็นนิโรธ เราจะต้อง ทาใหน้ โิ รธแจ้งอย่างนี้ จากอาการท่ีทุกข์เกิดและดับน้ัน เพ่ือ รู้แจ้งในนิโรธ และข้อปฏิบัติต่อนิโรธ เราก็ไม่สามารถบังคับ ให้นิโรธแจ้งอยู่ตลอดเวลา มันต้องไปตามเหตุป๎จจัยของมัน อยแู่ ลว้ มรรคกเ็ หมือนกนั นมี้ รรค นี้เหตเุ กดิ แห่งมรรค น้ีคือการดับไปของมรรค แลว้ การปฏิบัติตอ่ มรรคจะปฏิบัติอยา่ งไร เราก็จะปฏิบัติตาม หลกั ของสัมมาทิฏฐิ เมือ่ ปฏิบัติแล้วก็จะเวียนรอบปริวัฏฏ์อยู่ อยา่ งนี้ ย้าอย่อู ยา่ งนี้ จึงไปเข้ากนั กับบทที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ยงฺกิํฺจิ สมุทยธมฺม สพฺพนฺต นิโรธธมฺมนฺติ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกดิ ขนึ้ เปน็ ธรรมดา สิง่ นั้นก็ตอ้ งดบั ไปเป็นธรรมดา” อันนั้นคือผลจากการตรัสรู้ในชั้นของบุคคลผู้ละ สักกายทิฏฐิในเบอ้ื งตน้ จะเป็นผลของการรู้แจง้ ในขนั ธน์ ั้น “ส่ิงใดส่ิงหน่ึง” เขาจะไม่สงสัยว่าคือส่ิงไหน แม้จะไม่ บอกวา่ ส่งิ ไหนแต่กร็ ู้วา่ สิง่ ใดสิ่งหนง่ึ นัน้ คืออะไร เพราะฉะนั้น
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๒๓ จึงได้เข้าใจว่า เมื่อสิ่งใดสิ่งหน่ึงเกิดเป็นธรรมดา สิ่งน้ันก็ต้อง ดับไปเป็นธรรมดา ก็เป็นตัวระบุสิ่งท่ีเราทาการกาหนดรู้อยู่ ในเวลาน้ี คือตัวทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทุกข์นี่ เราไม่อยากให้เกิดหรอก มันก็เกิดขึ้นมาด้วยตัวของมัน นั่นหมายถึงว่าเกิดขึ้นมาเป็นธรรมดา เมื่อมันเกิดข้ึนมาด้วย ตัวของมัน มันก็ต้องดับไปด้วยตัวของมัน เราไม่ต้องไปดับมัน เมื่อมันดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วโดยตัวของมัน วิธีการก็คือ รู้ตามความเป็นจริงในส่ิงที่มันเกิดและมันดับ และทากิจใน อริยสัจในตัวมันนั่นแหละ ถ้าไม่ทากิจก็เจริญมรรคไม่ได้ วิธีการเจริญมรรคก็เจริญในส่ิงท่ีมันกาลังมีอยู่ เกิดอยู่ เป็นอยู่ ไม่ใช่ไปสงบใจจากอารมณ์ท้ังหลายทั้งปวงไม่ให้เกิด กระทบกับจิต แต่จิตรับกระทบอารมณ์ในภาวะปกติจิต น่ันแหละ เพยี งแตท่ ากิจในอริยสัจในส่ิงท่ีเกิดข้ึนน้ัน จึงจะเป็น การเจรญิ มรรค แลว้ มรรคจะไปทาลายสงั โยชนเ์ อง หลักวิธีการมีอยู่อย่างนี้แหละ ถ้าจับประเด็นตรงนี้ได้ ไม่หนีจากหลักการน้ี ได้รู้จักกระแสแรกของพระนิพพาน แนน่ อน จริง ๆ ยนื ยัน จาหลักนใี้ หไ้ ด้ ปุจฉา : ขณะท่ีเราแยกขันธ์ เจริญมรรคอยู่อย่างน้ี อนั นี้เป็นจิตท่ีเกิดจากเจตนา
๒๔ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง วิสัชนา : ใช่ ต้องสร้างจากเจตนาก่อน เพราะเจตนา เป็นตัวเรา แต่ตวั เราต้องเขา้ ใจนะ ไมใ่ ช่ช้นั ของอัตตา เป็นตัวเรา ในภาวะปกติท่ีเป็นผลรวมของขันธ์ ตัวเราในช้ันของขันธ์ท่ี เ ป็ น ภ า ว ะ ป ก ติ ที่ ถู ก เ ป็ น ผ ล ร ว ม ม า จ า ก อ วิ ช ช า ที่ ม า จ า ก ปางกอ่ น ซึ่งนามาสู่ ชา-ติ พยา-ธิ มรณะ ซึ่งตัวเรานี้แน่นอน ว่าจะตอ้ งไปส่มู รณะในท่สี ุด เพราะฉะน้ัน โวหารคาว่า เป็นเรา คือตัวเราน้ัน เป็น โวหารเรียกผลรวมของขันธ์ที่มาจากอวิชชาแต่ปางก่อน ทีนี้ ผลรวมของอัตตาที่มาจากสมุทัยในปางก่อน มาจากตัณหา ในปางก่อนในชั้นอัตตาอันหนึ่ง อันนั้นก็คือผลรวม อันหน่ึง ก็คือระบบขันธ์ที่เราเคยกระทาแต่ปางก่อน ก็สืบมาจาก อวชิ ชาทัง้ หมด ส่งผลมา ๒ ระดับ ระดับท่ีเป็นทุกขสัจจะกับ สมทุ ยสจั จะ เมื่อเรามีทุกขสัจจะ คือความจริงที่จะต้องทุกข์ กับ สมุทยสัจจะ คือความจริงท่ีเราต้องสร้างเหตุให้ตัวเองมีทุกข์ อยใู่ นสองชนั้ น้ตี ลอด พระพุทธเจ้าทรงเพ่ิมอริยสัจอีก ๒ หรือจริง ๆ แล้ว เพิ่มจรงิ ๆ แคม่ คั คสัจจะข้อเดียว เพราะอริยสัจข้อที่ ๓ เป็น เครื่องอธิบายสมุทัย เพราะถ้าพระองค์ไม่ทรงอธิบายตรงนี้ว่า สมุทัยมันดับเองได้ เราก็จะไปไล่ดับแต่ตัวตัณหา ตัวอาสวะ
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๒๕ ตัวกิเลส ตัวอัตตา เราจะไปไล่ดับแต่ตัวน้ัน ซึ่งโดยเจตนาจะ ไปไล่ดับไม่ได้ ตัวเจตนาเอาไปดับส่ิงที่อยู่เหนือเจตนาไม่ได้ เพราะมาจากเหตุของมันแต่ปางก่อน พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ สรา้ งเหตุใหมใ่ นช้นั อัตตานี้ ให้เกิดกาลังของมรรคในการรู้จัก แต่ละอัน ๆ ว่า เมื่อมันเกิดเองดับเองแล้วจะปฏิบัติอย่างไร กับสิ่งที่มันเกิดเองดับเองอย่างนี้ ก็คือในขณะนั้นต้องมี ความรู้ ความรู้จะควบคุมสิ่งที่เกิดเองดับเองในช้ันท้ังกุศล และอกุศลไดใ้ นขณะนน้ั น่คี ือกาลงั ของความรูม้ ันเป็นอยา่ งนี้ ปุจฉา : ทีนี้ที่เหนือเจตนา (เรา...ต้องยอมรับ) เราก็ ตอ้ งสร้างมรรคคือเจตนาเข้าไปเลย วสิ ชั นา : ใช่ เราสัง่ ใหม้ รรคเขา้ ไปทาลายไม่ได้ด้วยนะ ตัวน้ี ในชั้นของเรารับรู้ได้แค่อริยสัจ กับพิจารณาธรรมเพื่อ เข้าไปเสริมเป็นองค์ธรรมเสริมกาลังของมรรคในขณะนั้น สังเกตว่าในขณะก่อนที่จิตจะเข้าไปสู่มรรคญาณหรือ ผลญาณ จังหวะนั้น จะเรยี กวา่ โคตรภูก็ได้ จะเกิดภาวะวิเวก เป็นพิเศษ จิตจะเกิดความวิเวกแบบผิดแผกจาก ... ไม่ใช่ สงบนะ สงบคือสงบ แต่อันนี้วิเวก สงัด มันจะสงัดจาก ภายในเป็นพิเศษ คือมันจะส่งผลให้รู้สึกว่า แม้ภายนอก จะอยู่ปกติแต่จะรู้สึกเงียบเป็นพิเศษ ทั้ง ๆ ที่จิตเราก็รับรู้ รับทราบอารมณ์ท่ีเคยเป็นอยู่โดยภาวะปกติ น่ันคือขั้นตอน
๒๖ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ของระบบของมรรคกาลังจะดึงพวกองค์ธรรมทั้งหลาย มารวมกันเพื่อประหารสักกายะ น่ีคือข้อสังเกตอย่างหน่ึง จะเงียบเป็นพิเศษ แล้วก็รู้สึกว่าจะไม่มีอะไรมารบกวนจิต จิตจะรู้สึกต้ังมั่นดี แล้วจิตก็จะอยู่กับความวิเวกอย่างน้ี อยู่ตลอดเวลาท้ังวัน เรียกว่าใกล้ต่อการทาลายอาสวะ วิเวก กับความสงบไม่เหมือนกัน วิเวกก็คือวิเวก สงบก็คือสงบ ไม่เหมอื นกัน ปจุ ฉา : ท่านอาจารยเ์ จ้าคะ วเิ วกนี่เปน็ ช่วั โมง เปน็ วนั หรืออย่างไรเจ้าคะ วิสัชนา : ท้ังวันก็ได้ มันจะส่งผลไปสู่โคตรภูญาณ เพ่ือให้โคตรภูญาณรวบรวมองค์ธรรมทั้งหมดไว้ในจิตแล้วก็ ตัดอาสวะ มันจะเงียบกริบเป็นพิเศษ ทั้ง ๆ ท่ีทุกอย่างก็อยู่ ภาวะปกติ ถ้าสังเกตดี ๆ ก็จะรับรู้ได้ อันนั้นคือใกล้ต่อการ ทาลายแล้วนะ แต่ถ้ายังไม่ใกล้ต่อการทาลาย มันก็ยังไม่ถึง ข้ันนั้น ก็อาศัยความสงบไปก่อน ไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ ๆ จนกว่า จะเจอวเิ วก ปุจฉา : แลว้ ปส๎ สทั ธลิ ะ่ คะ ทา่ นอาจารย์ วิสัชนา : ป๎สสัทธิ เป็นความสงบระงับท่ีเกิดจากการ วิจัยธรรม ป๎สสัทธิอันน้ีเป็นผลพวงจากการเจริญมรรค
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๒๗ เพราะว่าป๎สสัทธิในชั้นของโพชฌงค์ เป็นมรรค มรรคเป็น ของควรเจรญิ ขนึ้ แม้จะจัดอยู่ในช้ันของทุกขสัจจะก็จริง แต่ว่า เป็นทุกขสัจจะในชั้นของมรรคท่ีต้องเจริญขึ้น ป๎สสัทธิอันน้ี ไม่ต้องไปยับยั้งมัน ให้เจริญ ไม่ใช่ไปเจริญตัวป๎สสัทธินะ เจริญเพื่อให้ปส๎ สัทธนิ ้ีส่งผลไปสู่สมาธิ น่ันหมายถึงว่าป๎สสัทธิ ซง่ึ เปน็ ความสงบน้ไี มใ่ ช่สมาธิ ความสงบนี้ไม่ใช่สมาธิ จะเลย ป๎สสัทธิ เลยสงบไปอีก ถึงจะเป็นสมาธิ บางคนบอกไปทา สมาธิมาจิตสงบดี จิตเป็นสมาธิ ไม่ใช่หรอก น่ันจิตเป็น ปส๎ สทั ธิ ป๎สสัทธิในชั้นของสมถะต่างจากป๎สสัทธิในช้ันของสติ สัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มาจากรากฐานของมรรค ซ่ึงเป็นองค์ของการตรัสรู้ จะต่างกัน อันนี้จะไม่ใช่ลักษณะ ของสมถะที่สงบอยู่ แต่จะเป็นการพินิจพิเคราะห์วิจัยธรรม หมุนอยู่กับการพิจารณาอยู่อย่างนั้นโดยไม่หยุดหย่อนและ ไม่วางธุระ จนเกิดมาเป็นปีติ ป๎สสัทธิรองรับ ป๎สสัทธิสงบ จะส่งผลให้จิตตั้งมั่น (สมาธิ) เม่ือจิตตั้งม่ัน จะเห็นอาการ เร่ืองราวที่จิตพิจารณาอยู่น้ันตามความเป็นจริง ก็จะทราบ เหตุป๎จจัยอย่างน้ีไปตลอดสาย แล้วเม่ือเจริญขึ้นก็จะส่งผล ไปสู่การตรัสรู้ เพราะเป็นองค์แห่งโพธิป๎กขิยธรรม จะต้อง เป็นไปเพื่อความรู้และทาอาสวะให้ส้ิน มันก็จะจัดอยู่ใน อนุโลมญาณหรือสัจจานุโลมิกญาณ ให้จิตเราคล้อยตาม
๒๘ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง อริยสัจ ก็จะจัดอยู่ในองค์พวกน้ี เป็นโพชฌงค์ทั้งน้ันที่ทา เราก็จะไม่ไปเลือกทาโพชฌงค์ในอีกแผนกหนึ่ง ก็ทาอยู่ ในอันเดียวกันน่ันแหละ องค์ธรรมจะรวมกันอยู่ในน้ัน ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสติป๎ฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ จะอยู่ในขณะท่ีกาลังกาหนดรู้อริยสัจ น้ันทั้งหมด ถ้าถึงจุดวิเวกเมื่อไหร่ วิเวกของจิตจึงจะประชุม องค์ธรรมรวมลงท้งั หมดไว้ในตัวของจิต เพ่ือทาหน้าท่ีในการ ประหาร ถ้าใครไปถึงจุดน้ันจะรู้ว่าต้องผ่านช้ันของวิเวกก่อน แลว้ ก็ทาลายกนั (ทาลายสักกายะ) ยากไหม ปุจฉา : ยาก วิสัชนา : วิธีการไม่ยากหรอก ท่ีบอกว่ายากก็คือใจเรา น่ันแหละ วิธีการจะยากที่ไหน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจน จริง ๆ นะ ไปเอาธรรมจักกัปปวัตตนสูตรมาวิเคราะห์ให้ดี มาทาความเข้าใจให้ดี จะเป็นแบบท่ีอาตมาว่า อาการของ อริยสัจ อาการของการปริวัฏฏ์เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ ชัดเจน น้ีคือเคร่ืองชี้วัดการบรรลุผลเลยนะ พระองค์ตรัสไว้ ชัดเจนเลยว่า “หากเราไม่ทราบปริวัฏฏ์ ๓ อาการ ๑๒ น้ีเพยี งใด ยถาภตู ญาณคือการรตู้ ามความเป็นจริง ก็ไม่เกิดขึ้น เพียงน้ัน การตรัสรู้ความเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่เกิด” เห็นไหม พระองค์ทรงชี้ไว้ชัดเลยว่าตรงน้ีแหละคือประเด็น
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๒๙ เป็นเคร่ืองชี้ขาดเลยว่าจิตจะเข้าไปสู่การบรรลุต้องผ่าน ปริวฏั ฏ์ ๓ อาการ ๑๒ น้ี เพราะฉะนั้น เม่ือพระองค์ให้ความสาคัญกับตัวนี้แล้ว อย่าไปทาตัวอื่นเลย เอามาเจาะประเด็นเรื่อง อริยสัจ ๔ ในชีวิตจรงิ ของเรานต้ี ามความเป็นจริงใหไ้ ด้ แต่ทีนี้ ในข้ออธิบายท่ีอาตมาได้อธิบายมาน้ี เป็นการ พูดถึงเร่ือง อริยสัจ ๔ แบบอันเป็นที่ต้ังแห่งการกาหนด อาจจะเป็นความสงสัยวา่ เราจาเปน็ จะตอ้ งทาสมาธิรว่ มด้วย หรอื ไม่ หรอื ว่าพยายามหาทส่ี งบ สงดั วิเวก ร่วมด้วยไหม อาตมามองว่า วิธีการเหล่าน้ันอาจจะเป็นวิธีการเก่า ๆ ที่เราเคยใช้ แต่การให้ผลในแง่การที่จะให้จิตเกิดความรู้นั้น ใหผ้ ลน้อยมาก แล้วมักจะตกไปในร่องเก่า คอื ร่องแห่งความ ที่เราคุ้นชินกับความสงบ ความสงัด ความวิเวก ประมาณนั้น ซง่ึ อันน้นั เป็นเรอื่ งของภายนอก ถา้ จะเกดิ การตรสั รู้ที่แท้จริงน้ี การท่ีพระพุทธเจ้าตรัส องค์ธรรมท้ังหมดก็เพื่อให้เราเห็นภาวะชีวิตจริงท่ีเราเป็น ในเวลานี้ โดยในขณะน้ัน สมาธิท่ีพระองค์ตรัสสอน อย่าลืม ท่ีพระองค์เคยตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงต้ังใจฟ๎งให้ดี เราจักกล่าวเรื่องอริยมรรคหรือเรื่องของ สมาธิทั้งหลายท้ังปวงให้พวกเธอรับทราบว่า ศีลเป็นอย่างน้ี
๓๐ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง สมาธิเป็นอย่างน้ี ป๎ญญาเป็นอย่างน้ี” ทาไมพระพุทธเจ้า ต้องมาสอนเรื่องอย่างนี้ ซึ่งแต่ก่อนหน้านี้พระองค์ทรงสอน มาแล้ว ไม่ใช่ไม่สอน แต่ภิกษุไปกาหนดผิด ไปตั้งใจไว้ผิด พระองคจ์ ึงมาสอนสมาธิท่ีเป็นสัมมาสมาธิใหม่ นั่นหมายถึงว่า ส ม า ธิ ท่ี ตั้ ง มั่ น เ ห็ น ธ ร ร ม ต า ม ค ว า ม เ ป็ น จ ริ ง นั่ น แ ห ล ะ คอื สมาธิทเี่ ปน็ สมั มาสมาธใิ นพระพุทธศาสนา บางทีพระพุทธเจ้าทรงพยายามจะอธิบายสมาธิใน ความหมายใหม่ให้พุทธสาวกได้เข้าใจ จะได้ไม่ไปติดอยู่กับ สมาธิในความหมายเก่า ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาธิในชั้นของฌาน ของสมาบตั ิ ซึ่งอนั นั้นเปน็ สมาธิในความเข้าใจเก่า ๆ ของคน ในยุคนนั้ พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายสมาธิใหม่ในช้ันของ ลักขณูปนิชฌาน คือการดูลักษณะของสภาพสังขาร มันก็ เกิดเป็นฌาน เป็นสมาธิ เป็นเคร่ืองรองรับ น่ันคือ การที่เรา เพ่งดลู ักษณะของสงั ขารตามหลกั อริยสัจ หลักของความจริง ที่มันเกิด มันเป็นแต่ละคร้ัง ๆ รู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ รคู้ วามดบั ทุกข์ รู้ขอ้ ปฏบิ ตั ติ อ่ แตล่ ะอนั ของอรยิ สจั การดูลกั ษณะสงั ขารกค็ ือตัวขันธน์ นั่ เองทีเ่ กดิ ข้นึ ก็คือ จิตกับอารมณ์ ย่นย่อลงก็คือจิตกับอารมณ์ ก็จะเกิดเป็น สมาธิหรอื เปน็ ฌานรองรับอยู่ในนั้น แล้วอาตมาพูดไว้ชัดเจน
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๓๑ ว่า จิตเข้าสู่กระแสแรกพระนิพพาน จะมีปฐมฌานรองรับ ตลอด ๒๔ ช่ัวโมง แล้วเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แม้ใครจะไม่เคย ทาฌานมาก่อน ก็จะเกิดขึ้นรองรับ แต่เป็นฌานที่ผิดแผก จากฌานของอารัมมณูปนิชฌาน ฌานสมาบัติพวกน้ี คนละ เรื่องกนั แต่เปน็ ฌานในช้นั ของอรยิ มรรค ปุจฉา : ทุกคนกาลังอยู่ในช่วงอนุโลมญาณใช่ไหม แต่วา่ จะยอมรบั หรอื ว่าไม่ยอมอนโุ ลมตามสจั จะสกั ที ฝืนสัจจะ ปุจฉา : เวลาเรากาหนดทุกข์แล้วน่ี แล้วทุกข์ก็ ดับไป เราตอ้ งพยายามหาสมทุ ยั ให้ไดใ้ นช่วงนั้นหรอื เปลา่ คะ วิสัชนา : การพิจารณาหาสมุทัยก็คือหาต้นตอของ ความทุกข์ที่เกิดข้ึน เพื่อคลายความสงสัยว่าเราทุกข์เพราะ อะไร ถ้าเราเกิดความรู้แต่ละอัน ๆ ของความทุกข์ เราจะได้ ไมต่ ้องสงสยั ตวั เองว่าที่ทกุ ข์อยา่ งนเ้ี พราะอะไร อาตมาจะใช้ลักษณะของวิธีการ ตอนแรกก็พิจารณา หาเหตอุ ยู่ เหตุมันคืออะไร เหตุมันอยู่ท่ีไหน เพราะบางเรื่อง ไม่ได้มีเหตุทั้งจากภายนอกและจากภายในเลย แล้วมันมา อย่างไร ตัวนี้ ก็พยายามหา แต่เม่ือพยายามหาแล้ว บางที มันไม่เจอ มันไม่ปรากฏให้เรารู้ ด้วยอานาจของอวิชชา บางอย่างมนั บัง เราก็รู้ว่าแม้จะไม่รู้จากเหตุที่แท้ของมันก็ตาม
๓๒ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง แต่มันเกิดจากเหตุแน่นอน มันจึงเกิดข้ึนได้ เหตุจะเป็นอะไร ก็ไม่รู้แหละ แต่รู้ว่ามันมาจากเหตุ สุดท้ายก็ได้รู้ว่า อ๋อ...มัน เกิดจากความไม่รู้นั่นเอง ก็อวิชชานั่นแหละคือเหตุท่ีแท้ เป็นสมุทยวาร ตลี งไปตรงท่อี วิชชาเลย กเ็ พราะไมร่ ้นู น่ั แหละ ขนาดเหตุมนั ยงั ไม่ร้เู ลย กค็ ืออวชิ ชาน่ันแหละ มันหลายตลบ มากเลยนะ อวิชชาหลอกล่อจิตจนทาให้จิตเราจับประเด็นไม่ถูก ก็เลยลงท่ีอวิชชา พระพุทธเจ้าก็ยังลงที่อวิชชาเลย ดูอดีตชาติ เกิดมาอย่างไร เร่ิมแรกเกิดมาอย่างไร แรกจริง ๆ มาจากไหน หาเจอไหม ขนาดพระองค์มีปพุ เพนิวาสานสุ สตญิ าณก็ยงั ไมร่ ู้ เลยว่าจุดเร่ิมแรกของการเกิด เกิดจากไหน ก็ยังไม่เจอว่า จดุ เริ่มแรกของวัฏฏะมาอย่างไร แล้วจุดท่ีสุด จุตูปปาตญาณ จะรู้ท่ีสุดของการจุติอุบัติ ท่ีสุดอยู่ที่ไหน ไม่รู้อีกใช่ไหม ไม่รู้ น่ีแหละเป็นโจทย์ แล้วในป๎จฉิมยามแห่งราตรี ตัวไม่รู้นั่น อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ข้ึนมาเลยไม่รู้ตัวเดียวน่ีแหละ ตัวป๎ญหา ความไม่รู้นี่แหละคือเหตุ คือสมุทัยแท้เลยทีน้ี ขนาดเหตทุ จ่ี ะนามาเป็นความทกุ ขใ์ นเรอ่ื งน้ีเรายงั ไมร่ มู้ นั เลย ใช่ไหม ไม่รู้นี่แหละลงสู่หลักคาสอนของพระพุทธเจ้า ในช้นั ปฏจิ จสมุปบาททนั ทเี ลย
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๓๓ ปจุ ฉา : เราไปแยกช่ืออวิชชา สมุทัย ตัณหา มันก็เลย เป็นคนละช่อื วิสัชนา : เราต้องเข้าใจนะ ข้อความที่พระองค์ทรง พิจารณาในสมุทัย พระองค์จับประเด็นการเกิดการดับ แต่ช้ัน อริยสัจน้ีเป็นชั้นใหญ่ ทาไมพระพุทธเจ้าทรงแสดงสมุทัยว่า เป็นตัณหา ไม่ได้แสดงว่าเป็นอวิชชา ทาไมไม่เหมือนกันกับ สมุทัยในปฏิจจสมุปบาท ตรงน้ีใช่ไหม ปจุ ฉา : จดั เปน็ ใน ๖ ทวาร วิสัชนา : ก็ถูกอยู่อันนั้น เพียงแต่ความสงสัยก็คือ ในอริยสัจบอกสมุทัยคือตัณหา แต่ในปฏิจจสมุปบาทบอก สมุทัยคืออวชิ ชา ทาไมถงึ แตกตา่ งกนั ปจุ ฉา : เปน็ ธรรมคนละตัว วิสชั นา : ไม่ใชค่ นละตวั ปุจฉา : โมหะ กบั โลภะ คนละตัว วิสัชนา : ในอริยสจั พดู ถงึ สัจจะ ๔ ประการเพ่ือให้เรา ได้ปฏิบัติถูก เพ่ือให้เราได้ทากิจ ๓ ถูก แต่ในปฏิจจสมุปบาท มีเพยี งแค่ ๒ สาย สมทุ ยวาระกับนโิ รธวาระ นัน่ คือพระพทุ ธเจา้
๓๔ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทคือทรงตรัสชี้ไปเหตุท่ีแท้ แต่ใน อริยสัจ ถ้าพระพุทธเจ้าทรงบอกว่าอวิชชาคือเหตุที่จะต้องละ นัน่ คอื การละอวชิ ชานัน้ ทาดว้ ยกาลังของอรยิ มรรค แต่เมื่อใดก็ตามท่ีอริยมรรคยังไม่เกิด พระพุทธเจ้าจึง ทรงชี้ตัณหาก่อน เพราะอะไร เพราะตัณหาเป็นตัวนามาซึ่ง ความทุกข์ การทชี่ น้ี ้นั เพอ่ื ใหเ้ กดิ การยอมรับก่อนว่า ก็เพราะ มีตัณหาน่ันแหละทุกข์จึงมี ถ้าไม่มีตัณหา ทุกข์ก็ไม่มี ก็ถูก แล้ว แสดงวา่ ทุกข์ที่มีก็เพราะมีตัณหา แล้วตัณหาก็มีอยู่แล้ว กับเรา เมื่อตัณหามี ทุกข์ก็ต้องมี เราก็ไม่ต้องสงสัยว่าทาไม เราต้องมีทุกข์ ก็เพราะเรามีตัณหา แล้วถ้าเราไม่มีตัณหา เรามีทุกข์ไหม ก็ไม่มี เราสามารถทาได้ไหมอันน้ี ทาได้ เพราะตัณหาก็ดับไปได้เหมือนกัน ช่วงจังหวะท่ีตัณหาดับไป แล้วน่ี จะถามหาทุกข์ท่ีไหนก็ถามหาไม่ได้ เพราะตัณหาดับ ไปแล้ว แต่เราจะไม่หลงลืมในการกาหนดรู้ทุกข์ในช้ัน ที่เป็นทุกขสัจจะแท้อันน้ัน ในชั้นของขันธ์นะ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เปน็ ทกุ ขสจั จะแท้ ซง่ึ เป็นตณั หาแต่ปางกอ่ น ในความหมายของพระพุทธเจ้าท่ีทรงชี้สมุทัยชั้น ตัณหา คือ ตัณหาท่ีเกิดใหม่ ที่อาตมาใช้คาว่าทุกข์เทียม คาว่า ทุกข์เทียม นั้นคือไม่ใช่ทุกข์แท้ ทุกข์แท้ก็คือ สมมุติว่า ในระบบของขันธ์เราหิวข้าว ถ้าเราไม่กินข้าวเราตายใช่ไหม
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๓๕ แต่ถ้าทุกข์ในชั้นของสมุทัยของตัณหา เวลาตัณหามีความ อยากในกามนี่ เราไม่สนองกาม เราตายไหม ไม่ตาย แต่ตัณหาจะดับ ด้ินรนจนกว่ามันจะดับ ไม่สนองเราไม่ตาย น่ันคือทุกข์เทียม ไม่ใช่ทุกข์แท้ มันเป็นของปลอม มันไม่ใช่ แท้ เพราะมันไม่ใช่ทุกข์แท้มันจึงดับได้ แต่ทุกข์แท้น้ันละ ไม่ได้ ตอ้ งกาหนดรู้ ในช้ันสมุทัย พระองค์จึงบอกว่า เม่ือใดก็ตามท่ีเรา ยังมีตัณหาอยู่ เราต้องทุกข์อยู่ ซึ่งไม่เป็นเรื่องผิดปกติ หมายถึงว่าตัณหาไม่ใช่เรื่องท่ีทาให้เราจะต้องไปมีป๎ญหา อะไรกับตัณหาเลย เพยี งแค่ใหร้ ู้ว่า “ออ๋ ตัณหามี ทุกข์ก็ต้องมี ตัณหาดับ ทุกข์ก็ต้องดับ” คือรู้ในเร่ืองของเหตุของผล เท่านั้นแหละ ในช้ันของการละน่ี ทาไมปฏิจจสมุปบาทจึงช้ีไปท่ี สมุทยวาระตรงอวิชชาว่า ต้องดับอวิชชาเท่านั้น กระบวนการ แห่งทุกข์ทั้งปวงจึงจะดับ เราไม่ได้ไปดับที่ตัณหา แต่ใน อริยสัจบอกว่าตัณหาเป็นของควรละ เราต้องรู้แล้วนะว่า ที่ละนั้น ละโดยการที่ว่า หากไม่อยากจะทุกข์ ก็ไม่ต้องมี ตณั หา แตเ่ มือ่ ยังอยากอยู่ แน่นอน...ก็ต้องยอมรับทุกข์ให้ได้ จะเป็นทานองนี้ เราไม่ต้องสงสยั ไมต่ อ้ งไปกลวั ตอ่ ความทกุ ข์
๓๖ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง แล้วก็ไม่กลัวต่อตัณหา ใช้ตัณหาแล้วก็เป็นทุกข์ ก็ต้อง ยอมรบั ในความเปน็ ทุกข์ เมื่อยอมรบั แล้ว กไ็ มม่ ปี ญ๎ หาอะไรกับทกุ ข์ เปน็ วิธงี ่าย ๆ แต่อันน้ันเป็นป๎ญญาในชั้นท่ีจะทาให้เรายังไม่หลุดพ้น ตัวท่ี จะทาให้หลดุ พน้ คอื ไปทาลายอวิชชาน้ัน น่ันคืออยทู่ ี่ขอ้ มรรค เพราะฉะนั้น คาวา่ ตัณหาเป็นของควรละ ที่ว่า ปหานะ อันน้ัน เราสามารถละ เพียงเพื่อวา่ เราจะไม่ทกุ ขก์ ับมันเท่านนั้ แตย่ งั ไม่ใช่ละตัวอวิชชาสังโยชน์ซ่ึงนอนเน่ืองอยู่ในสักกายทิฏฐิ ฉะนั้นเราตอ้ งอยใู่ นข้อมรรค ขอ้ ปฏิบตั ิอันเป็นไปเพือ่ ดับทกุ ข์ กค็ อื ดับอวิชชานัน่ เอง ปุจฉา : ฉะนั้น ดับตณั หากค็ ือดับทกุ ข์เทยี ม วิสัชนา : ดับทุกข์เทียม ไม่ใช่ทุกข์แท้ เหตุที่แท้ไม่ใช่ ตวั ตณั หานะ แตค่ ืออวิชชา แล้วถา้ พระองค์ตรัสบอกว่าให้ละ อวิชชาในตัวตัณหาน้ัน เราไปดูสิว่าถ้าพระพุทธเจ้าไม่ตรัส บอกว่าตัณหา แล้วไปตรัสบอกอวิชชา พวกเราจะจับ ประเด็นอะไรไม่ถูกเลย เพราะส่ิงที่แสดงต่อจิตเราคือตัณหา ซ่ึงแสดงออกถึงความอยาก ความต้องการ ความปรารถนา ซึ่งมีอยู่ต้ังแต่ไหนแต่ไร พระพุทธเจ้าจะให้เราจับในส่วน หยาบน้ีก่อนให้เป็นประเด็น แล้วสืบหาตัวสมุทัยท่ีแท้ก็คือ อวชิ ชา ฉะนน้ั เราอย่าหลงประเด็นตรงน้ี อยา่ ไปไลด่ ับตณั หา
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๓๗ แลว้ เข้าใจว่าดับตณั หาแล้ว ตณั หาไม่เกิดแล้ว ทุกข์ไม่เกิดแล้ว นัน่ คอื ผลทีเ่ ราต้องการ อาฬารดาบสกับอุทกดาบสก็ดับตัณหาได้ ไม่มีทุกข์ ใช่ไหม กามตัณหามีไหม ก็ไม่มีทุกข์ใช่ไหม ถามว่าพ้นไหม เพราะไมไ่ ดไ้ ปดับทีอ่ วชิ ชา ไม่ได้ไปทาลายท่ีรากเหง้า เพราะ พระพุทธเจ้าตรัสชัดเจนว่า “การดับไปโดยไม่เหลือของ อวิชชาโดยปราศจากราคะ กระบวนการแห่งความทุกข์ ท้ังปวงจึงจะเป็นอันยุติ ไม่สืบต่อ” ง่าย ๆ อย่างนี้ คิด วิเคราะห์ในหลักธรรมอย่างนี้ให้เกิดเป็นความเข้าใจจนเกิด เป็นความรู้ พอเกิดความรแู้ ล้ว จติ ทรี่ ู้แล้วเข้าไปกระทาเอง หากผู้หวังความพ้นทุกข์ แล้วอยากจะเจอพระนิพพาน จริง ๆ ไม่ใช่เล่น ๆ พระนิพพานมีอยู่จริง เป็นธรรมชาติที่มี อยู่แล้ว เจอจริง ๆ ขอเพียงแค่ทาให้ถูกกับเหตุป๎จจัยให้ ถูกต้อง ไม่ต้องไปเร่งรัดมาก ทาเหตุให้ตรง ในชั้นเจตนาเรา ทาอยเู่ พียงแคน่ ้ี ในส่วนช้ันของเหนือเจตนานั้นเป็นเร่ืองของ มรรคที่เขาจะไปแก้กัน ไม่ต้องไปเร่งรัด “เมื่อไหร่มันจะ สาเร็จสักที เมื่อไหร่จะเห็นสักที” อะไรอย่างน้ี ไม่ต้องไปเร่ง อันนั้นจะเป็นเหตใุ หม่ ตวั กนั้ ก็คอื ตัวนแี้ หละ ตวั สาคัญ
๓๘ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ปุจฉา : วิจิกิจฉาอีกตัวหนึ่ง ในช่วงมาปฏิบัติในแนว วิธีการที่ท่านอาจารย์แนะนาแรก ๆ นะคะ “ทาอะไร อยา่ งไร ใชห่ รอื เปลา่ ” วิสัชนา : แล้วเป็นอย่างไรล่ะ กว่าจะตัดสินใจลงไปได้ วา่ ใช่หรือไมใ่ ช่ ใช่ไหมละ่ ปุจฉา : ตอ้ งยอมอนโุ ลม วิสชั นา : นัน่ แหละ ตอ้ งยอมอนโุ ลมตามหลกั นน้ั เลย ปุจฉา : ยอมทุกอย่าง ไมม่ เี ง่อื นไข จติ ถงึ จะลงให้ วสิ ชั นา : เพราะฉะนั้น อาตมาอธิบายธรรมะนี่เพื่อให้ เกิดการรูแ้ จ้ง เห็นจริง และพวกเราต้องปฏิบตั ิได้จรงิ แลว้ ทา ไดจ้ รงิ ๆ แลว้ กต็ ้องเกิดผลจริง ๆ ธรรมนั้นจะเป็นสันทิฏฐิโก ในเฉพาะบุคคลน้ัน ท่ีจะรู้ได้ เห็นได้ เข้าใจได้ แล้วสอนมา ไม่ใชเ่ พียงแคค่ น สองคน ทจี่ ะปฏิบัตติ ามได้ในวธิ กี ารนี้ ปุจฉา : ท่องธาตนุ สี่ ุดยอดแล้ว วสิ ัชนา : น่นั เห็นไหม ท่องธาตนุ ส่ี ดุ ยอดแลว้ ปุจฉา : ทอ่ งธาตนุ ่ี พอเรายังไม่ทราบ มันก็อยากไป... แลว้ นามล่ะ อยา่ งอื่น จติ มันจะไปขา้ งหนา้ ตลอด
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๓๙ วิสัชนา : มีหมอ (นายแพทย์) อยู่คนหนึ่งเขาบอกว่า ดูจิตไปทีเดียวเลย ธาตุอะไรเขาไม่ดู อาตมาก็เลยบอกว่าถ้า เปน็ อยา่ งน้ี อะไรก็ตามทีไ่ มไ่ ดถ้ กู พิจารณา อะไรก็ตามที่ไม่ได้ ถูกรู้จากจิตของเรา อันนั้นอวิชชาจะเข้าแทรก มีท่ีต้ัง เพราะฉะน้ัน เม่ือพระองค์บอกว่ารู้ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ คือรู้รูป กบั นาม กต็ อ้ งกลับมาส่กู ารพิจารณาอยู่ดี เขาจะไปดูแต่เรื่อง จิต ๆ ๆ จิตกับอารมณ์อย่างเดียว แล้วเขาบอกว่าอุบายวิธี ทอ่ี าตมาสอนน้ันมนั ใชไ้ ด้ ใช่ ใช้ได้จริงแต่ว่ามันไมเ่ กิดการตรัสรู้ มันเกิดความสงบต่ออารมณ์ท่ีเกิดกระทบจิต อาตมาจึงบอก ใหม้ าพจิ ารณากาย เพราะการทดี่ ูแตจ่ ิตกับอารมณ์นั้น ได้ชั้น ของสติสมั ปชัญญะ แต่ไม่ไดใ้ นชัน้ ของการทาลายอาสวะ เขาบอกว่า “ไปพิจารณากายแล้วมันไม่ไปครับท่าน อาจารย์ ทาอย่างไรก็ไม่ไป คิดอะไรก็ไม่ไป พิจารณา ๖ ขั้นตอนหรือธาตุ อะไรมันก็ไม่ไป” นี่แหละคือเป็นที่ตั้งของ อวิชชา อวิชชามีอยู่ จึงเข้าไปทาอะไรไม่ได้ อาตมาบอกว่า ต้องฝืนทา ทาอย่างไร แรก ๆ ก็อ่านตามขั้นตอนไปก่อน อ่าน...อย่าเพิ่งไปอะไรมาก อ่านไปอ่านมา อ่านไปอ่านมา ส่ิงท่ีเราอา่ นนี่มันจะไปสร้างความคดิ เมือ่ สร้างความคดิ แลว้ มันจะไปสร้างความรู้ เพราะคิดอะไรก็จะไปรู้อันน้ัน คิดใน เร่อื งใด ๆ มาก จติ จะโนม้ เอียงไปในเรอ่ื งนนั้ ๆ
๔๐ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง วิธีการก็คือ ตั้งความคิดไว้เพื่อให้จิตโน้มเอียงไปใน เร่ืองน้ัน ๆ เราไม่สามารถบังคับจิตให้เป็นไปตามนั้นได้เลยถ้าเรา ไม่มีตัวดึงจิตให้โน้มเอียงไป เมื่อพระองค์ตรัสว่า “จิตคิด เร่ืองใด ๆ มาก ย่อมโน้มเอียงไปในเรื่องน้ัน ๆ” ก็ใช้ความคิด น่ีแหละเปน็ ตวั นา แต่การที่จะคดิ ได้ก็ต้องเกิดจากการทรงจา ก่อน อาตมาก็อ่านไปเร่ือย ๆ ให้ทรงจาก่อน จาไปเรื่อย ๆ แล้วจะคิดเอง เพราะสิ่งท่ีคิดก็คิดเรื่องที่จานั่นแหละ มีเรือ่ งไหนที่เราคิดโดยท่ไี มผ่ ่านการจามาบา้ ง ปุจฉา : ไม่มี วสิ ชั นา : น่ัน เห็นไหม หลกั การกม็ แี ค่นี้ ทีน้ี เราจะไป ทาสงบแบบไม่ให้มันคิด จิตจะโน้มไปไหน ก็โน้มไปในสงบ พอโน้มไปสงบแล้ว จะรู้เหตุรู้ผลอะไรได้ไหม คิดไตร่ตรอง ได้ไหม ธัมมวิจยะเกิดข้ึนไหม ไม่ได้ จะเงียบ นี่ นี่ คนนี้รู้ดี วา่ เปน็ อย่างไร เงยี บคือเงยี บ ปุจฉา : เงียบสนทิ เลย
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๔๑ วิสัชนา : ใช่ หมอคนนั้นเขาบอกว่าเขาก็เช่ียวชาญ การผ่าตัดมานะ แต่ทาไมการพิจารณาของเขามันไม่เกิด ทาไมมันคิดไมอ่ อกเลย อาตมากเ็ ลยถามวา่ โยมหมอพยายามเค้นให้เห็นภาพ ใช่ไหม เขาบอกว่าใช่ น่ีแหละคือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถ้าไปเค้นให้ เห็นภาพ อาตมาไม่ได้ต้องการให้เห็นภาพ จุดประสงค์ ของอาตมาก็คือคิดตามข้ันตอนให้ได้ เพ่ือให้เกิดความรู้ ตามความเป็นจรงิ ในระดับของกาย ใน ๖ ขั้นตอนนี่ ขั้นตอน สุดท้ายเป็นอย่างไร ไม่ใช่ให้ไปเห็นภาพ แล้วไปโฟกัสอยู่กับ ภาพนั้นแล้วเพ่งอยู่ จะกลายเป็นอารัมมณูปนิชฌาน (การ เพ่งดูอารมณ์) ซ่ึงไม่ได้เป็นลักษณะของการดูลักษณะของ สภาพสังขาร (ลักขณูปนิชฌาน) นี่คือความเข้าใจผิด ในผปู้ ฏิบัติ ส่วนมากจะเป็นอยา่ งน้ัน ท่ีอาตมาบอกให้เห็นชัด ๆ นี่คือเห็นในชั้นของ ความคิด สามารถคิดได้ในเรื่องนั้นได้ชัดเจน คิด...มันก็จะ เกิดความรู้ในสิ่งที่คิด ว่าเป็นดิน น้า ไฟ ลม นี่คือสิ่งที่ ต้องการให้เห็นความเป็นดิน น้า ไฟ ลม ในช้ันของธาตุน้ี นั่นคือท่ีสุดของรูปธาตุทั้งหมด ส่วนนามธาตุได้แค่ดูการเกิด การดับเท่านัน้ เราทามากกว่านั้นไม่ได้ เพราะเป็นชั้นของนาม
๔๒ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ชั้นของรปู จงึ ใชก้ ารแยกแยะพจิ ารณา ช้ันของนามจึงกาหนด รู้ให้เห็นการเกิด-ดบั ฉะนั้นแล้ว หากเราเห็นรูปยึดโยงกันเป็นตัวเป็นตน เป็นรูปเป็นร่างอยู่ ความเห็นว่ากายน้ีเป็นตนจึงมี แต่ถ้าเรา แยกออกไปแต่ละส่วน ๆ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นตน ย่อมไม่มี เพราะแยกออกไปแล้ว จะเอาส่วนไหนมาเป็นตน ไม่สามารถไปจับส่วนใดมาเป็นตนได้ มันก็จะค่อย ๆ บอก ตัวเองอย่างน้ี ความรู้ในการพิจารณาแต่ละคร้ังจะส่งผลให้ จิตเกิดการประมวลผล แล้วก็ช้ีชัดลงไป เพื่อท่ีจะตัดสิน ในสิ่งที่เราพิจารณาอยู่นั้นว่า ที่แท้แล้ว กายสังขารน้ีเม่ือถูก แยกออกไปตามชิ้นส่วนแล้วมันก็ไม่ได้มีตัวตน แต่ท่ีมีอยู่คือ การประกอบรวมกันของขนั ธ์ การประกอบรวมกันของขันธ์นั้น เป็นการประกอบ รวมกันเพื่อสร้างความเห็น ท่เี ราจะเขา้ ไปเห็น แล้วความเห็น นี้จะไปยึดจับในกายสังขาร โดยอาศัยอานาจของอวิชชา ว่านีค้ อื ตวั ตนของเรา เพราะฉะน้ัน พระองค์จึงสอนให้เราแก้ไขด้วยการ พิจารณาแยกน่ีแหละ เพื่ออะไร เพื่อไม่ให้มีความเห็นเข้าไป ยึดจับ เม่ือไม่มีความเห็นเข้าไปยึดจับ ทิฏฐิท่ีจะไปต้ังอยู่บน กายสงั ขารว่าเป็นตนก็ไม่เกดิ
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๔๓ เม่ือความเห็นท่ีจะไปต้ังอยู่บนกายสังขารว่าเป็นตน ไม่เกิดแล้ว อวิชชา อาสวะ อนุสัย ก็ไม่มีท่ีต้ัง เพราะมันเห็น กายตามความเป็นจริง ความรู้ในช้ันนี้จะต้องคลี่คลาย ออกไปด้วย ถ้าเราไม่พิจารณากาย อวิชชาก็จะต้ังอยู่ แล้วก็ จะปิดความร้ไู ม่ใหเ้ กิดความรูเ้ พื่อทจ่ี ะทาการตรสั รู้ แม้เราจะรู้เท่าทันสภาพจิตกับอารมณ์ สงบจิตได้ ไม่ถูกอารมณ์กระทบมาก หรือถูกอารมณ์กระทบแล้ว สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที รู้ป๎๊บดับปฺุบ รู้ป๊๎บดับปฺุบ ก็เป็น เพยี งแตไ่ ดใ้ นชั้นของสตสิ ัมปชญั ญะตลอดชวี ติ น้ี ถามว่าเส่ือมได้ไหม ตอบว่าเส่ือมได้ ไม่เส่ือมในชาติน้ี ก็ต้องเสื่อมในชาติหน้า ชาติหน้าไม่เส่ือม ชาติต่อ ๆ ไป ก็ต้องเสื่อม เพราะยังไม่เข้าถึงโลกุตตระ เพราะโลกุตตระ เทา่ นั้นที่จะไมเ่ สื่อม น่คี อื สิ่งท่ีหลาย ๆ คนยังไม่เข้าใจในข้อนี้ว่า การสงบใจ ยังไม่ใช่ผลที่ควรแก่การบรรลุถึง คือยังไม่ใช่ตรงที่เรา ต้องการท่ีจะบรรลุ เราไม่ได้ต้องการตรงน้ัน สติสัมปชัญญะ เราก็ยังไม่ต้องการ เราต้องการการทาลายอาสวะให้ส้ิน แต่ สติสัมปชัญญะจะเป็นตัวรองรับในระดับหนึ่งแน่นอน ก็ต้องมี ไม่มไี ม่ได้ ต้องอาศยั สติสัมปชัญญะ แต่เราจะไม่ยึดเอาตรงนั้น มาเปน็ ตวั ทตี่ อ้ งการบรรลุ
๔๔ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง มันเป็นกับดักทางธรรมชาติอย่างหนึ่งเวลาคนปฏิบัติ เม่ือเจอความวุ่นวายแล้วมาเจอความสงบ เข้าใจว่าน่ีแหละ คอื ส่ิงท่ีต้องการ นี่ต้องใช่เพราะมันสงบ แล้วก็ดีด้วย ส่งผลดี ต่อผูป้ ฏบิ ัติ แต่ไม่เข้าใจว่าทีส่ ุดแล้วควรจะกระทาอะไรตอ่ ปุจฉา : จะออกจากความสงบน่ียากมาก เพราะจิต มันจะลงไปอยเู่ รื่อย วิสัชนา : แรก ๆ มนั เป็นอยา่ งน้ันใชไ่ หม ปุจฉา : ใช่ วสิ ัชนา : แลว้ ออกมาไดอ้ ย่างไร ปุจฉา : กต็ ้องเหนือ่ ยหน่อย วิสัชนา : ก็ต้องเหน่ือยหน่อยใช่ไหม กว่าจะออกมาได้ ต้องยอมเหนื่อย ฟ๎งเทศน์อาตมาไม่รู้ก่ีครั้งกี่หน แล้วก็ ประมวล พนิ จิ วิเคราะห์ออกมา หลักการทค่ี วรจะเปน็ อย่างน้นั อย่างนี้ จริง ๆ แล้วการแก้ไขกิเลส ก็แก้ไขท่ีจิตปกติน่ีแหละ ไม่ต้องมีสมาธิมาก ในเบื้องต้นไม่ต้องมีมาก แต่ถ้าเราเข้าไป ถึงช้ันของการทาลายสักกายะแล้ว ปฐมฌานรองรับแล้ว มันจะข้ึนมาเอง มันจะเพิ่มพูนตัวฌานสมาธิอันนั้นขึ้นมาเอง โดยธรรมชาติของมนั
อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๔๕ ปุจฉา : แล้วที่ท่านอาจารย์บอกว่า เวลาท่องธาตุ กัมมัฏฐานนี้ ในสมัยแรก ๆ ต้องท่องหนักขนาดท่ีเรียกว่า เอาไปติดตรงทุกประตู กระท่ังประตูห้องน้า ห้องอะไร ต่อมอิ ะไร ตอ้ งเค่ียวขนาดน้ันเลยหรือครบั วิสัชนา : ใช่ ต้องบังคับตัวเอง ตอนนั้นเป็นหนุ่ม มันคะนอง ความคิดมันฟุูง ตอนน้ันเราก็ไม่เข้าใจวิธีการทาง ความคดิ เหมือนกันว่า ควรจะจัดการความคดิ อยา่ งไร ตอนน้ัน ร้แู ต่ว่าตอ้ งควบคมุ ความคดิ ต้องหาเร่ืองไม่ให้มันคิด ถ้าจะคิด ให้คิดอยู่เร่ืองเดียวคือเร่ืองธาตุกัมมัฏฐาน ๔ จึงเขียน ใส่กระดาษติดไว้เลย ทั้งห้องน้า ในประตูห้องน้า ประตู ห้องนอน ในประตูห้องนอน ก่อนจะออกจากห้องก็ ๑ รอบ ใหจ้ ติ มนั อยกู่ ับบทน้ัน ปิดประตูปฺุบ หันกลับไปก็ต้องหนึ่งรอบ ก่อนท่ีจะลงจากกุฏิ แล้วก็ต้องนาบทท่องน้ีติดไว้ในใจ ไปตลอดทุก ๆ ก้าว แต่ละก้าว ๆ ๆ ๆ ไปบิณฑบาตก็ท่อง กลับจากบิณฑบาตก็ท่อง ฉันอาหารก็ท่อง ล้างบาตรก็ท่อง ป๎ดกวาดลานวัดก็ท่อง เช็ดถูศาลาก็ท่อง สรงน้าก็ท่อง เดิน จงกรม นัง่ สมาธิก็ทอ่ ง ไม่ใช้อย่างอื่น ใช้บทท่องนี้อย่างเดียว ตลอดทั้งวันท้ังคืน จนจิตมันเกิดข้ึนคล้าย ๆ ว่าท่องเอง อตั โนมัติ มันท่องเอง
Search