Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาษาไทย

ภาษาไทย

Published by laddawan.kk30, 2020-06-30 01:00:59

Description: ภาษาไทย

Search

Read the Text Version

42 การอานอยางมีวิจารณญาณไมใชส ิ่งที่ทําไดงา ย ๆ ผูก ระทําจะตองหม่ันฝก หัด สังเกต จํา และ ปรับปรุงการอา นอยูเสมอ แรก ๆ อาจรูสึกเปน ภาระหนักและนา เบ่ือหนา ย แตถาไดก ระทําเปน ประจํา เปน นิสัยแลวจะทาํ ใหค วามลาํ บากดังกลา วหายไป ผลรบั ท่ีเกดิ ข้ึนนนั้ คมุ คายิ่ง กิจกรรมท่ี 1 ใหผูเ รียนอา นขา ว บทความ หรือขอความ และใชวิจารณญาณในการอา นตามขั้นตอนท้ัง 4 ขัน้ ตอน และประเมินตนเองวา สามารถทาํ ไดครบทุกขั้นตอนหรือไม และเม่ือประเมินแลว รูส ึกสนใจเร่ือง ของการอานเพ่มิ ขนึ้ หรอื ไม เรอ่ื งที่ 3 การอานแปลความ ตีความ ขยายความ จับใจความหรือสรุปความ การอานแปลความ หมายถึง การแปลเรื่องราวเดิมใหออกมาเปนคาํ ใหม ภาษาใหมห รอื แบบใหม ความมงุ หมายของการแปลความอยูท่ีความแมน ยําของภาษาใหมวา ยังคงรักษาเนื้อหาและความสําคัญ ของเร่ืองราวเดิมไวครบถวนหรือไม สําหรับการแปลความบทรอยกรองเปน รอยแกวหรอื การถอดคาํ ประพันธรอยกรองเปนรอ ยแกว นั้น ควรอา นขอ ความและหาความหมายของศพั ทแลว เรียบเรียงเนื้อเรือ่ งหรือเนอ้ื หาเปนรอ ยแกวใหสละสลวย โดยทเ่ี น้ือเร่ืองหรอื เนือ้ หานั้นยงั คงเดิมและครบถว น เชน พฤษภกาสร อกี กุญชรอนั ปลดปลง โททนตเสนงคง สําคัญหมายในกายมี นรชาตวิ างวาย มลายสน้ิ ทง้ั อินทรีย สถติ ทว่ั แตช วั่ ดี ประดับไวใ นโลกา (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา กรมพระปรมานชุ ิตชิโนรส : กฤษณาสอนนองคําฉนั ท) ความหมายของศัพท พฤษภ = วัว กาสร = ควาย กญุ ชร = ชาง ปลดปลง = ตาย โท = สอง ทนต = ฟน เสนง = เขา นรชาติ = มนษุ ย วางวาย = ตาย มลาย = ส้นิ ไป อินทรีย = รา งกาย สถติ = คงอยู ประดับ = ตกแตง โลกา = โลก แปลความเปน รอ ยแกวก็คอื วัวควายและชาง เมือ่ ตายแลว ยังมฟี นและเขาทั้งสองขางเหลืออยู สว นมนุษยเมื่อตายไปรางกาย ก็ส้นิ ไป คงเหลือแตค วามชัว่ หรอื ความดีทไี่ ดท ําไวเทา นั้น ทย่ี งั คงอยใู นโลกนี้

43 การอานตีความ การอานตีความหรือการอานวินิจสารเปนการอานอยางพิจารณาถี่ถว นดว ยความเขาใจ เพื่อใหได ประโยชน หรอื เปน ไปตามวัตถปุ ระสงคของผเู ขียน จะเปน การอา นออกเสียงหรอื อา นในใจก็ได แตจ ดุ สําคญั อยทู ก่ี ารใชส ติปญญาตคี วามหมายของคําและขอ ความ ทั้งหมดรวมทั้งสิ่งแวดลอ มทุกอยา งที่เก่ียวของกับ ขอความที่อาน ดงั นน้ั จึงตอ งอาศยั การใชเหตผุ ลและความรอบคอบในการพิจารณาท้ังถอยคําและสิ่งแวดลอม ทั้งหมดท่ีผูอา นจะตีความสารใด ๆ ไดกวา งหรือแคบ ลึกหรือตื้นขนาดไหน ยอมขึ้นอยูกับประสบการณ สว นตวั และความเฉียบแหลมของวจิ ารณญาณ เปน การอานท่ีผูอ า นพยายามเขา ใจความหมายในสิง่ ทผ่ี ูเขยี น มไิ ดก ลาวไวโดยตรง ผูอานพยายามสรปุ ลงความเห็นจากรายละเอยี ดของเร่ืองทีอ่ าน การอา นตีความนั้น ผูอานจะตอ งคิดหาเหตุผล เขา ใจผูเขียน รูวัตถุประสงครูภ าษาท่ีผูเ ขียนใช ทง้ั ความหมายตรงและความหมายแฝง อนงึ่ ขอ ความทงั้ รอ ยแกว และรอ ยกรองบางบท มไิ ดมคี วามหมายตรง อยางเดยี วแตม คี วามหมายแฝงซอ นเรน อยู ผูอานตอ งแปลความกอ นแลว จึงตคี วามใหเ ขา ใจความหมาย ที่แฝงอยู สารทเี่ ราอา นอยูน้ีมี 2 ประเภท คือ ประเภทรอยแกว และประเภทรอ งกรอง ดังนั้น การตคี วามจึงมี การตคี วามทง้ั สารประเภทรอ ยแกวและประเภทรอ ยกรอง ตัวอยางการตีความสารประเภทรอ ยกรอง “นาคีมพี ิษเพยี้ ง สรุ โิ ย เลือ้ ยบท ําเดโช แชมชา พษิ นอ ยหยง่ิ ยโส แมงปอ ง ชแู ตห างเองอา อวดอางฤทธี” (โคลงโลกนิต)ิ โคลงบทนกี้ ลา วถงึ สตั ว 2 ชนดิ ที่มลี กั ษณะแตกตางกัน เปรยี บเสมือนคน 2 จําพวก พวกแรก มีอํานาจหรือมีความสามารถแตไมแ สดงออกเม่ือยังไมถึงเวลาอันสมควร สวนพวกที่ 2 มีอํานาจหรือ ความสามารถนอ ยแตอ วดดี กวียกยอง จําพวกแรก เหยยี ดหยามคนจําพวกหลัง โดยสังเกตจากการใชถ อยคํา เชน ชูหางบา ง พิษนอยบาง ฉะน้ัน ควรเอาอยา งคนจําพวกแรก คือ มีอํานาจมีความสามารถ แตไม แสดงออก เม่อื ยังไมถึงเวลาอนั สมควร ขอ ปฏบิ ตั ิในการอานตีความ 1. อานเร่ืองใหละเอยี ดแลวพยายามจบั ประเดน็ สาํ คัญของขอ เขียนใหไ ด 2. ขณะอานพยายามคิดหาเหตุผล และใครครวญอยา งรอบคอบ แลวนํามาประมวลเขากับ ความคิดของตนวา ขอความนนั้ ๆ หมายถึงสิ่งใด 3. พยายามทําความเขา ใจกับถอยคําบางคําท่ีเห็นวามีความสําคัญรวมทั้งสภาพแวดลอ มหรือ บรบิ ท เพือ่ กาํ หนดความหมายใหชัดเจนยิ่งขน้ึ 4. การเรียบเรียงถอ ยคําทไี่ ดมาจากการตีความ จะตองมีความหมายชัดเจน

44 5. พงึ ระลกึ วาการตีความมิใชก ารถอดคาํ ประพนั ธ ซึ่งตองเก็บความหมายของบทประพันธนั้น ๆ มาเรียบเรียงเปน รอยแกวใหครบทั้งคํา และขอความ การตีความนั้นเปนการจับเอาแตใ จความสําคัญ การตีความจะตอ งใชค วามรคู วามคดิ อันมเี หตผุ ลเปน ประการสาํ คัญ ขอควรคํานงึ ในการตีความ 1. ศึกษาประวัติและพน้ื ฐานความรขู องผูเ ขยี น 2. ศึกษาสภาพสังคมในสมัยท่ีงานเขียนนั้นเกิดขึ้น วาเปน สังคมชนิดใด เปนประชาธิปไตยหรือ เผดจ็ การเปน สงั คมเกษตร พาณิชยห รอื อตุ สาหกรรม เปนสงั คมท่เี ครงศาสนาหรือไม 3. อา นหลาย ๆ ครง้ั และพิจารณาในรายละเอียด จะทาํ ใหเหน็ แนวทางเพม่ิ ขึน้ 4. ไมย ึดถือสงิ่ ทีต่ นตีความนั้นถูกตอง อาจมีผูอ นื่ เหน็ แยง กไ็ ด ไมค วรยึดมัน่ ในกรณที ี่ไมต รงกบั ผูอนื่ วาของเราถกู ตอ งท่สี ดุ การอานขยายความ การอานขยายความ คือ การอธิบายเพม่ิ เติมใหละเอียดขึน้ ภายหลงั จากไดตคี วามแลว ซึ่งอาจใชวธิ ี ยกตัวอยา งประกอบหรอื มีการอางองิ เปรยี บเทียบเนื้อความใหก วางขวางออกไปจนเปนทเี่ ขา ใจชัดเจนย่งิ ขน้ึ ตวั อยาง ความโศกเกดิ จากความรกั ความกลวั เกดิ จากความรกั ผทู ่ลี ะความรกั เสียไดก ไ็ มโ ศกไมกลวั (พทุ ธภาษติ ) ขอ ความนใี้ หข อคดิ วา ความรักเปน ตน เหตุใหเกิดความโศก และความกลัว ถาตัดหรือละความรักได ท้ังความโศก ความกลวั กไ็ มมี ขยายความ เมื่อบุคคลมีความรักในสิ่งใดหรือคนใด เขาก็ตองการใหส่ิงน้ันคนนั้นคงอยูใ หเขารักตลอดไป มนุษยสวนมากกลัววาคนหรือส่ิงท่ีตนรักจะแตกสลายหรือสูญสิ้นจากไป แตเมื่อถึงคราวทุกอยา ง ยอมเปล่ียนไปไมอ าจคงอยูได ยอ มมกี ารแตกทาํ ลายสญู สลายไปตามสภาพ ถา รคู วามจรงิ ดังนี้และรูจักละ ความรกั ความผูกพนั นน้ั เสีย เขาจะไมต องกลวั และไมต องโศกเศรา เสยี ใจอีกตอไป การขยายความน้ีใชใ นกรณีที่ขอ ความบางขอ ความ อาจมีใจความไมส มบูรณจึงตอ งมีการอธิบาย หรือขยายความเพื่อใหเ กิดความเขาใจย่ิงขึ้น การขยายความอาจขยายความเก่ียวกับคําศัพทห รือการให เหตุผลเพิ่มเติม เชน สํานวน สุภาษติ โคลง กลอนตาง ๆ เปน ตน การอา นจับใจความหรอื สรุปความ การอา นจับใจความหรอื สรปุ ความ คอื การอา นท่ีมุง คนหาสาระของเร่อื งหรือของหนงั สอื แตละเลม ท่ีเปน สวนใจความสาํ คญั และสวนขยายใจความสําคญั ของเร่ือง ใจความสําคัญ คือ ขอความท่ีมีสาระคลุมขอความอื่น ๆ ในยอหนา นั้นหรือเร่ืองนั้นทั้งหมด ขอ ความอน่ื ๆ เปนเพยี งสว นขยายใจความสําคญั เทา น้ัน ขอ ความหนึ่งหรอื ตอนหนง่ึ จะมีใจความสําคัญท่ีสุด

45 เพยี งหนึง่ เดียว นอกน้นั เปน ใจความรอง คําวาใจความสําคัญน้ี บางทีเรียกเปน หลายอยาง เชน แกน หรือ หัวใจของเรอื่ ง แกน ของเรื่องหรอื ความคิดหลักของเรอ่ื ง แตจ ะอยางไรก็ตามใจความสาํ คัญคือ สิ่งที่เปน สาระ ที่สําคัญที่สุดของเรื่อง น่ันเอง ใจความสําคัญสว นมากจะมีลักษณะเปนประโยค ซึ่งอาจจะปรากฏอยูใ นสว นใดสวนหนึ่งของ ยอ หนา ก็ได จุดที่พบใจความสําคัญของเรื่องแตล ะยอหนามากท่ีสุดคือ ประโยคท่ีอยูตอนตนยอหนา เพราะผเู ขียนมักจะบอกประเดน็ สาํ คัญไวกอน แลวจึงขยายรายละเอียดใหช ัดเจน รองลงมาคือ ประโยค ตอนทายยอ หนา โดยผูเขียนจะบอกรายละเอียดหรือประเด็นยอ ๆ กอ น แลวจึงสรุปดว ยประโยคที่เปน ประเดน็ ไวภายหลัง สําหรับจดุ ท่พี บใจความสาํ คญั ยากข้ึนก็คอื ประโยคตอนกลางยอหนา ซ่ึงผูอ า นจะตอง ใชความพยายามสังเกตใหดี สว นจุดทห่ี าใจความสําคัญยากท่ีสุด คือ ยอ หนา ที่ไมม ีประโยคสําคัญปรากฏ ชัดเจน อาจมีหลายประโยคหรืออาจจะอยูรวม ๆ กนั ในยอหนาก็ได ซง่ึ ผูอ านตองสรปุ ออกมาเอง การอานและพิจารณานวนิยาย คําวา “นวนยิ าย” (Novel) จดั เปน วรรณกรรมประเภทหนง่ึ หมายถึง หนงั สอื ที่เขียนเปน รอ ยแกว เลาถึงชีวิตในดานตา ง ๆ ของมนุษย เชน ดานความคิด ความประพฤติ และเหตุการณต า ง ๆ ที่เกิดข้ึน ในชีวิตจริงของมนุษย ช่ือคน หรือพฤติกรรมท่ีแสดงออกเปนเร่ืองสมมุติท้ังส้ิน นวนิยายแบง เปน 6 ประเภท ดงั นี้ 1. นวนยิ ายอิงประวัติศาสตร เชน ผชู นะสบิ ทิศ (องิ ประวัตศิ าสตรมอญ) ชูซไี ทเฮา (อิงประวัต-ิ ศาสตรจ นี ) สแ่ี ผนดิน (องิ ประวัตศิ าสตรไ ทยสมัยรตั นโกสนิ ทร แผน ดนิ รชั กาลท่ี 5 - 8) กระทอมนอ ยของ ลุงทอม (อิงประวตั ิศาสตรอเมริกา) 2. นวนยิ ายวิทยาศาสตร คือ นวนิยายท่ีนําความมหศั จรรยทางวทิ ยาศาสตรแ ขนงตา ง ๆ มาเขียน เปนเรื่องราวทนี่ า ต่นื เตน เชน กาเหวาทบ่ี างเพลง สตารว อร (Star war) มนุษยพ ระจนั ทร มนษุ ยล องหน เปนตน 3. นวนยิ ายลึกลับ ฆาตกรรม นักสบื สายลับ เชน เรอ่ื งเชอรลอกโฮม มฤตยูยอดรัก 4. นวนิยายเก่ียวกับภตู ผีปศ าจ เชน แมน าคพระโขนง กระสอื ศรีษะมาร เปนตน 5. นวนิยายการเมือง คอื นวนยิ ายทนี่ ําความรูทางการเมอื งการปกครองมาเขยี นเปนเน้อื เรอื่ ง เชน ไผแดง ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เปาบนุ จน้ิ สามกก สารวัตรใหญ เปนตน 6. นวนิยายดา นสังคมศาสตร คือ นวนิยายท่ีสะทอ นสภาพสังคม เชน เรื่องเมียนอ ย เสียดาย เพลิงบญุ เกมเกียรติยศ นางทาส เปนตน องคป ระกอบของนวนยิ าย นวนยิ ายแตล ะเรือ่ งมีองคป ระกอบทส่ี าํ คัญ ดังน้ี 1. โครงเรื่อง (Plot) หมายถึง ขอบขา ยหรือโครงเรอ่ื งราวหรอื เหตกุ ารณตา ง ๆ ทตี่ อเนอ่ื งเปนเหตุ เปนผลตอกัน

46 2. เนือ้ เรอื่ ง (Story) หมายถงึ เรือ่ งราวตาง ๆ ท่ีผูเ ขียนถา ยทอดยกมาทาํ ใหผอู า นทราบวา เรื่องที่ อา นนั้นเปนเร่ืองราวของใคร เกิดข้ึนท่ีไหน อยางไร เมื่อใด มีเหตุการณหรือความเกี่ยวขอ งกันระหวา ง ตวั ละครอยา งไร 3. ฉาก (Setting) คือ สถานท่ีเกิดเหตุการณใ นเร่ืองอาจเปน ประเทศ เมือง หมูบ า น ทุง นา ในโรงภาพยนตร ฯลฯ 4. แนวคดิ (Theme) ผแู ตงจะสอดแทรกแนวคิดไวอ ยา งชัดเจนในคําพูด นิสัย พฤติกรรม หรือ บทบาทของตัวละคร หรอื พบไดในการบรรยายเร่ือง 5. ตวั ละคร (Characters) ผแู ตง เปน ผสู รางตวั ละครข้ึนมา โดยตัง้ ช่ือให แลวกําหนดรูปรา ง หนาตา เพศ วัย นสิ ัยใจคอ บคุ ลกิ ภาพ ตลอดจนกําหนดบทบาทและโชคชะตาของตวั ละครเหลาน้นั ดวย หลักการอา นและพิจารณานวนิยาย มดี ังน้ี 1. โครงเร่ืองและเนื้อเรื่อง การแสดงเนื้อเร่ือง คือ การเลาเร่ืองน่ันเอง ทําใหผ ูอ า นทราบวา เปนเรื่องราวของใคร เกิดขึ้นทไ่ี หน อยางไร เมอื่ ใด มเี หตุการณอ ะไร สว นโครงเรอ่ื งนั้นคือสวนทเี่ นน ความ เกยี่ วของระหวางตัวละครในชวงเวลาหนึ่งซ่งึ เปน เหตผุ ลตอ เนือ่ งกัน โครงเรอื่ งทด่ี ี มลี กั ษณะดังน้ี 1.1 มีความสัมพันธกันระหวางเหตุการณตาง ๆ ในเร่ืองและระหวางบุคคลในเร่ือง อยางเก่ียวเนื่องกนั ไปโดยตลอด 1.2 มขี ดั แยง หรอื ปมของเรอ่ื งที่นาสนใจ เชน ความขดั แยงของมนุษย กับสิง่ แวดลอ ม การตอ สู ระหวางอํานาจอยางสูงกบั อํานาจอยางตํา่ ภายในจิตใจ การชิงรักหักสวาท ฯลฯ ขัดแยงเหลา นี้เปนสิ่งสําคัญ ทท่ี ําใหตวั ละครแสดงพฤติกรรมตาง ๆ ออกมาอยา งนาสนใจ 1.3 มีการสรางความสนใจใครรูตลอดไป (Suspense) คือ การสรางเรื่องใหผูอา นสนใจใครร ู อยา งตอ เน่ืองโดยตลอด อาจทําไดห ลายวิธี เชน การปด เรื่องท่ีผูอ า นตองการทราบไวกอ น การบอกให ผูอ า นทราบวาจะมีเหตกุ ารณสาํ คญั เกิดขนึ้ ในตอนตอไป การจบเร่ืองแตละตอนทิ้งปญหาไวใหผูอา นอยากรู อยากเหน็ เรอื่ งราวตอ ไป 1.4 มีความสมจรงิ (Realistic) คอื เรอื่ งราวทเ่ี กิดขนึ้ เปน ไปอยา งสมเหตุสมผล มิใชเ หตุประจวบ หรือเหตุบังเอญิ ทม่ี นี ้ําหนักเบาเกนิ ไป เชน คนกาํ ลงั เดือดรอนเรอ่ื งเงิน หาทางออกหลายอยางแตไมส ําเร็จ บงั เอญิ ถกู สลากกินแบงรฐั บาลจึงพนความเดอื ดรอ นไปได 2. กลวิธีในการดําเนินเร่ือง จะชว ยใหเ ร่ืองนา สนใจและเกิดความประทับใจ ซึ่งอาจทําได หลายวิธี เชน 2.1 ดําเนินเรอ่ื งตามลาํ ดบั ปฏิทนิ คือเริม่ ตัง้ แตละครเกิด เติบโตเปน เด็ก เปน หนมุ สาว แก แลว ถึงแกก รรม 2.2 ดําเนินเร่ืองยอนตน เปน การเลา แบบกลาวถึงเหตกุ ารณในตอนทายกอนแลว ไปเลาต้ังแต ตอนตน จนกระท่ังจบ

47 2.3 ดําเนินเรื่องสลับไปมา คือ การเร่ิมเร่ืองในตอนใดตอนหนึ่งกอ นก็ได เชน อาจกลา วถึง อดีตแลว กลบั มาปจจบุ ันอีก หรอื การเลา เหตกุ ารณท่เี กดิ ตางสถานท่สี ลับไปมา ผูอานควรพิจารณาวากลวิธีในการดําเนินเร่ืองของผูเขียนแตล ะแบบมีผลตอ เร่ืองน้ัน อยา งไร ทําใหเรือ่ งนาสนใจชวนตดิ ตามและกอใหเกดิ ความประทบั ใจหรือไม หรอื วา กอใหเ กดิ ความสบั สน ยากตอการติดตามอาน 3. ตวั ละคร ผูอานสามารถพิจารณาตัวละครในนวนิยาย ในดา นตอไปนี้ 3.1 ลกั ษณะนิสัยของตัวละคร 3.1.1 มคี วามสมจริงเหมอื นคนธรรมดาท่วั ไป คือ มที ั้งดีและไมด ีอยูในตัวเอง ไมใ ชวา ดี จนเปนท่หี น่ึง หรอื เลวจนหาท่ีชมไมพ บ 3.1.2 มีการกระทําหรือพฤติกรรมท่ีสอดคลอ งกับลักษณะนิสัยตนเอง ไมประพฤติ ปฏบิ ตั ิในที่หนึ่งอยางหนง่ึ และอกี ที่หนงึ่ อยางหนงึ่ 3.1.3 การเปลีย่ นลกั ษณะนิสัยของตวั ละครตอ งเปนไปอยางสมเหตุสมผล 3.2 บทสนทนาของตัวละคร บทสนทนาทด่ี ี ควรพจิ ารณา ดังนี้ 3.2.1 มีความสมจริง คอื สรางบทสนทนาใหสอดคลอ งกับฐานะและลักษณะนิสัยของตัว ละครในเรือ่ ง 3.2.2 มสี วนชว ยใหเ รอ่ื งดําเนินตอ ไปได 3.2.3 มสี ว นชว ยใหร ูจกั ตัวละครในดานรูปรางและนิสยั ใจคอ 4. ฉาก หมายถงึ สถานทแ่ี ละเวลาทเ่ี ร่ืองนั้น ๆ เกิดขนึ้ มีหลักการพิจารณา ดังน้ี 4.1 สอดคลอ งกบั เนือ้ เร่อื ง และชวยสรางบรรยากาศ เชน บา นรา งมีใยแมงมุมจับอยูต ามหอ ง ฯลฯ นาจะเปนบานทม่ี ีผสี ิง คืนทีม่ พี ายุฝนตกหนักจะเปนฉากสําหรับฆาตกรรม 4.2 ถกู ตอ งตามสภาพความเปน จรงิ ฉากท่มี คี วามถูกตองตามสภาพภูมศิ าสตรแ ละเหตุการณ ในประวัตศิ าสตร จะชว ยเสรมิ ใหน วนยิ ายเรอื่ งน้นั มคี ณุ คา เพ่ิมขน้ึ 5. สารตั ถะ หรือสารของเรอื่ ง หมายถงึ แนวคดิ จดุ มงุ หมายหรือทศั นะของผแู ตงทต่ี อ งการสื่อมา ถึงผูอาน ผแู ตง อาจจะบอกผอู านตรง ๆ หรอื ใหต ัวละครเปนผบู อกหรอื อาจปรากฏทช่ี ่อื เรอ่ื ง แตโดยมากแลว ผูแ ตง จะไมบ อกตรง ๆ ผูอ า นตอ งคนหาสาระของเรื่อง เชน เรื่องผูด ีของดอกไมส ด ตอ งการจะแสดงวา ผูด ีนั้นมีความหมายอยา งไร เร่ืองจดหมายจากเมืองไทยของโบตั๋นตอ งการแสดงใหเ ห็นขอดีขอเสียของ คนไทย โดยเฉพาะน้ําใจซึ่งคนชาติอืน่ ไมม เี หมือน นวนิยายที่ดีจะตองมีสารัตถะของเรื่องและมีคุณคา ตอผูอ า นไมทางใดก็ทางหน่ึง หลักสําคัญ ในการเลอื กวรรณกรรมในการอา นตองเลือกใหตรงกับความสนใจ มีเนื้อหาสาระตรงตามความตองการ เปนวรรณกรรมที่ดีใหค ณุ คา แกชีวติ ดงั นี้ 1. เนื้อหาความคดิ เหน็ มจี ุดมุงหมายท่ีดี มีความคิดสรา งสรรค

48 2. กลวธิ ีในการแตงดี ไดแกภาษาที่ใช และองคประกอบอ่นื ๆ ส่ือความหมายไดต รงตาม ความตองการ อานเขา ใจงายและสละสลวย 3. มคี ุณประโยชน เรอ่ื งที่ 4 วรรณคดี วรรณคดี คือ หนังสือท่ีไดร ับการยกยองวา แตงดีมีลักษณะเดนในเชิงประพันธ มีคุณคาสูงในดา น ความคิด อารมณและความเพลิดเพลิน ทําใหผ ูอ า นเห็นความงาม ความไพเราะ เกิดความซาบซ้ึงกินใจ วรรณคดีจึงมคี วามงดงามดานวรรณศิลป ชวยยกระดบั จติ ใจ ความรสู ึก และภูมิปญญาของผูอา นใหสูงข้ึน วรรณคดีจงึ เปน มรดกทางวัฒนธรรมอยา งหน่งึ ความสําคัญของวรรณคดี วรรณคดีเปน สิ่งสรางสรรคอันล้ําคา ของมนุษย มนุษยส รางและส่ือสารเร่ืองราวของชีวิตวัฒนธรรม และอารมณความรูส ึกที่เกี่ยวของหรือสะทอนความเปนมนุษยด วยกลวิธีการใชถอยคําสํานวนภาษา ซึ่งมี ความเหมือนหรอื แตกตางกนั ไปในแตละยุคสมยั พระยาอนมุ านราชธน (ยง เสฐยี รโกเศศ) ไดก ลาวถงึ ความสําคัญของวรรณคดีไวในหนังสือแงคิด จากวรรณคดวี า โลกจะเจริญกาวหนา มาไดไ กลก็เพราะวิทยาศาสตร แตล ําพังวิทยาศาสตรเ ทานั้นไมครอบคลุม ไปถงึ ความเปนไปในชีวิตที่มีอารยธรรมและวฒั นธรรมสูง เราตอ งมีศาสนา เราตอ งมีปรัชญา เราตองมศี ลิ ปะ และเราตองมีวรรณคดดี วย สิ่งเหลานยี้ อ มนาํ มาแตค วามดีงาม นําความบันเทิงมาใหแกจ ิตใจ ใหเ ราคิดงาม เห็นงาม ประพฤติงาม มีความงามเปน เจาเรือน แนบสนิทอยูในสันดาน ศิลปะและวรรณคดีนี้แหละคือ แดนแหงความเพลดิ เพลินใจ ทาํ ใหมีใจสูงเหนอื ใจแข็งกระดา ง เปน แดนท่ีทําใหความแข็งกระดา งตอ งละลาย สูญหาย กลายเปนมีใจงาม ละมนุ ละมอม เพยี บพรอมไปดว ยคุณงามความดี วรรณคดีมีความสําคัญทางดานการใชภาษาสะทอนใหเห็นวิถีชีวิตของคน การสืบทอดและ อนุรักษว ฒั นธรรม กฎระเบยี บคาํ สอน และเปน เครอ่ื งมือสรางความสามัคคีใหเ กดิ ในกลมุ ชน และใหค วาม จรรโลงใจ นอกจากจะใหคุณคา ในดา นอรรถรสของถอยคําใหผูอ า นเห็นความงดงามของภาษาแลว ยังมี คุณคาทางสตปิ ญญาและศีลธรรมอีกดว ย วรรณคดีจงึ มคี ุณคาแกผอู า น 2 ประการคอื 1. คุณคา ทางสุนทรียภาพหรือความงาม สุนทรียภาพหรือความงามทางภาษาเปนหัวใจของ วรรณคดี เชน ศิลปะของการแตง ทั้งการบรรยาย การเปรียบเทียบ การเลือกสรรถอ ยคําใหม ีความหมาย เหมาะสม กระทบอารมณผอู า น มสี มั ผสั ใหเกดิ เสยี งไพเราะ เปน ตน 2. คุณคาทางสารประโยชน เปน คุณคาทางสติปญญาและสังคมตามปกติวรรณคดีจะเขียนตาม ความเปนจริงของชีวิต ใหคติสอนใจแกผ ูอ าน สอดแทรกสภาพของสังคม วัฒนธรรมประเพณี ทําใหผูอ า น มโี ลกทศั นเ ขา ใจโลกไดกวางข้นึ

49 ลักษณะของหนังสอื ทเี่ ปน วรรณคดี 1. มโี ครงเร่อื งดี ชวนอาน มีคณุ คา สาระและมีประโยชน 2. ใชส าํ นวนภาษาท่ปี ระณตี มคี วามไพเราะ 3. แตง ไดถ กู ตอ งตามลกั ษณะคาํ ประพันธ 4. มีรสแหง วรรณคดีทีผ่ อู า นคลอ ยตาม “วรรณคดมี รดก” หมายถงึ วรรณคดีทีบ่ รรพบุรุษหรือกวีสมัยกอนแตง เอาไวและเปน ที่นิยมอา น กนั อยางแพรห ลาย ความนิยมนั้นตกทอดเรื่อยมาจนถึงปจ จุบัน ซ่ึงเปรียบเสมือนมรดกอันล้ําคาของชาติ ทบี่ รรพบุรษุ มอบไวแ กอ นชุ นรนุ หลังใหเ หน็ ความสาํ คญั ของวรรณคดมี รดก วรรณคดีมรดกมกั จะแสดงภาพชีวติ ของคนในสมัยกอ นทีม่ กี ารประพันธว รรณคดีเรอ่ื งนนั้ ๆ โดยไม ปด บงั สว นทบี่ กพรอง ทั้งยังแทรกแนวคิด ปรชั ญาชีวิตของกวไี วด ว ย วรรณคดีมรดกมีคุณคาในดานประวัติศาสตร สังคม อารมณ วรรณศิลป ตลอดจนใหคติสอนใจ นบั เปนมรดกทางปญ ญาของคนในชาติ ขนบของการแตง วรรณคดีมรดก ขนบการแตงวรรณคดมี รดก ขนบ หมายถึง ธรรมเนียมนิยม “ขนบวรรณคดี” หมายถึง ธรรมเนียมนิยมในการแตงวรรณคดี ทน่ี ิยมปฏิบัตกิ นั ไดแก 1. รูปแบบและเนื้อหา รูปแบบท่ีนิยมไดแก ลิลิต นิราศ เพลงยาว บทละคร โคลง ฉันท กาพย กลอน และราย รูปแบบและเน้ือหาจะตอ งเหมาะสมกันเชน ถาเปนการสดุดี วีรกรรมของกษัตริย หรือ วีรบุรษุ จะแตงเปนนริ าศหรอื เพลงยาว เปนตน 2. เนือ้ เร่อื งจะเกยี่ วกบั ศาสนาเพือ่ สั่งสอน สดุดวี ีรกรรมของวีรบรุ ษุ หรอื เพ่ือระบายอารมณ 3. ลักษณะการเขียนจะเริ่มดว ยบทไหวค รู สดุดีกษัตริย กลา วชมบา นเมือง แลว ดําเนินเรื่อง หากเปน วรรณคดีทีม่ กี ารทาํ สงครามจะมีบทจดั ทพั ดวย 4. การใชถอ ยคํา จะเลือกใชถอยคําที่สละสลวยมีความหมายท่ีทําใหผ ูอานเกิดความซาบซึ้งและ ประทับใจ หลกั การพนิ จิ และวจิ ารณว รรณคดี การวิจารณ หมายถงึ การพจิ ารณาเพอ่ื เปนแนวในการตัดสินวา ส่ิงใดดีหรือสิ่งใดไมด ี การวิจารณ วรรณคดีจะตอ งพิจารณาทุกข้ันตอน ทุกองคป ระกอบของงานเขียนมีการแยกแยะต้ังแตก ารใชถ อยคํา สาํ นวน ภาษา รูปประโยค เนอ้ื เรื่อง แนวคิด การนําเสนอเน้ือหา และคุณคา ท้ังดานวรรณศิลปแ ละคุณคา ทางดา นสงั คม คณุ คาทางวรรณศลิ ป ไดแก การพิจารณาศิลปะและรปู แบบงานประพันธ โ ดยพิจารณาจากศิลปะ ในการแตงทั้งบทรอ ยแกว และบทรอยกรอง มีกลวธิ ีในการแตงมีรปู แบบการนําเสนอทีเ่ หมาะสมกบั เน้ือหา มีความนา สนใจและมีความคดิ อยางสรางสรรค ใชส ํานวนในการแตงมีรูปแบบการนําเสนอที่เหมาะสมกับ เนอ้ื หา มคี วามนา สนใจและมคี วามคดิ อยางสรางสรรค ใชส าํ นวนภาษาสละสลวย สื่อความหมายไดชัดเจน

50 คณุ คาดา นสังคม เปน การพิจารณาจากการที่ผูป ระพันธม ักแสดงภูมิปญ ญาของตน คานิยม และ จรยิ ธรรมท่ีสะทอ นใหเหน็ สภาพสังคมไดมากนอยเพียงใด หรอื เก่ยี วขอ งสัมพนั ธกับสังคมอยา งไร มสี ว นชว ย พฒั นาสงั คมหรอื ประเทืองปญ ญาของตนในสังคมชว ยอนุรักษส ิ่งทีม่ คี ุณคา ของชาติบา นเมอื ง และมีสวนชวย สนับสนนุ คา นยิ มอนั ดีงาม เปน ตน การพิจารณาวรรณคดี คือ การแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับวรรณคดีเลม ใดเลมหนึ่งอยา งส้ัน ๆ โดยมเี จตนานาํ วรรณคดนี ้ันใหผ ูอ า นรูจักวา มเี นือ้ เรือ่ ง มีประโยชนแ ละมคี ณุ คาอยางไร ผพู นิ ิจมีความคิดเหน็ อยางไรตอวรรณคดเี รือ่ งนัน้ ๆ ชอบหรอื ไมช อบ เพราะเหตุใด ในการพินจิ หรือวิจารณว รรณคดีมีหลกั การ ดังน้ี 1. แยกองคประกอบของหนงั สอื หรือวรรณคดีทวี่ ิจารณใ หไ ด 2. ทําความเขา ใจกบั องคประกอบท่ีแยกออกมาใหแจมแจง ชัดเจน 3. พิจารณาหรือวิจารณว รรณคดใี นหวั ขอ ตอไปนี้ 3.1 ประวัตคิ วามเปน มา 3.2 ลกั ษณะของการประพันธ 3.3 เรื่องยอ 3.4 การวิเคราะหเร่อื ง 3.5 แนวคดิ และจุดมงุ หมายในการแตง ฉาก ตัวละคร และการใชภาษา 3.6 คณุ คาดานตา ง ๆ การอานวรรณคดีเพือ่ การวิเคราะหวจิ ารณ การอา นวรรณคดี ผูอานควรมีจุดประสงคในการอา น เชน การอานเพื่อฆา เวลาเปน การอา นที่ ไมตอ งวเิ คราะหวาหนังสือน้ันดีเลวอยางไร การอานเพ่ือความเจริญทางจิตใจ เปนการอาน เพื่อใหร ูเ น้ือเร่ือง ไดรับรสแหง วรรณคดี การอา นเพือ่ หาความรูเ ปนการอา นเพือ่ เพง เลง็ เนือ้ เรอ่ื ง คน หาความหมายและหัวขอ ความรูจากหนงั สอื ท่ีอาน การอานเพอื่ พินิจวรรณคดี จะตองอาน เพอ่ื หาความรแู ละเพือ่ ความเจรญิ ทางจติ ใจ จะตอ งอา นดว ยความรอบคอบ สังเกตและพิจารณาตัวอักษรท่ีอาน และตองสามารถทราบวา วรรณคดี ทอี่ านเปน วรรณคดีประเภทใด เชน คาํ สอน สรรเสริญวีรบรุ ุษของชาติ การแสดงอารมณ บทละคร นิทาน และยังตองพิจารณาเนื้อเร่ืองและตัวละครวาเน้ือเรื่องนั้นเปน เนื้อเร่ืองเกี่ยวกับอะไร มีแนวคิดอยางไร ตัวละครมีลักษณะนิสัยอยางไร สุนทรียภาพแหง บทรอยกรองเปน อยา งไร เชน การใชถอยคําเหมาะสม มคี วามไพเราะ และสรา งมโนภาพแจม ชัดมากนอยเพียงใด เปนตน ในการอา นวรรณคดีประเภทรอ ยกรอง จะไดร ับรสเตม็ ท่ี บางครง้ั ผอู า นจะตองอานออกเสียงอยา งชา ๆ หากเปนบทรอ ยกรองและอา นเปนทาํ นอง เสนาะดวยแลว จะทําใหผอู า นไดรับรสแหง ถอ ยคาํ ทําใหเกิดจินตภาพไดร ับความไพเราะแหงเสียงไปดว ย ในการวิเคราะหว ิจารณวรรณคดีนั้น ตองฝกตีความหมายของบทรอ ยกรอง ในชั้นแรกจะตองศึกษา ตวั อยางการวเิ คราะหว จิ ารณจากการตีความหรอื อา นจากหนงั สือที่วเิ คราะหวิจารณแ ละตีความวรรณคดี จากนน้ั จงึ ตองฝก วเิ คราะหวิจารณ ฝกพิจารณาอยา งรอบคอบ การตีความแนวคิดในเรื่องวรรณคดนี ั้น ไมจาํ เปนตองเหมือนกนั ขนึ้ อยกู ับการมองและประสบการณข องผตู ีความ

51 ตัวอยา งการวิเคราะหวรรณคดี รายยาวมหาเวสสันดรชาดก มหาเวสสันดรชาดกเปน ชาตหิ นงึ่ ของพระโพธิสตั วก อนท่ีจะเสวยพระชาติเปนพทุ ธองค เนือ้ ความ โดยยอ มีดังน้ี คร้ังหน่ึงกษัตริยแ หง กรุงสีวีราษฎรท รงพระนามวา พระเจา สญชัย มีพระมเหสี ทรงพระนาม พระนางผสุ ดแี ละพระราชโอรสองคห น่ึงทรงพระนามวา เวสสันดร พระเวสสันดรมีพระทัยฝกใฝการทําทานมาแตยังทรงพระเยาว เม่ือมีพระชนมายุพอสมควรที่จะ อภิเษกสมรสไดก็ทรงอภเิ ษกสมรสกับพระนางมทั รี พระเวสสันดรทรงบําเพ็ญทานบารมีทุกวันมีพราหมณ จากเมอื งกลิงคราษฎรแปดคนไดมาขอชางปจจัยนาคซึง่ เปน ชา งคบู า นคเู มอื ง พระเวสสันดรไดป ระทานชา ง แกพราหมณ เ พราะทรงทราบวา เมอื งกลิงคราษฎรเกดิ ทุพภกิ ขภยั ทาํ ใหบรรดาชาวเมอื งสวี รี าษฎรโกรธแคน ขบั ไลพ ระองคออกจากเมอื ง พระเวสสันดรไดเ สด็จออกจากเมืองพรอมดว ยพระนางมัทรีพระโอรสและธิดา ตลอดทางที่เสด็จ ผา น ไดบ รจิ าคของตา งๆ แกผทู ี่มาขอจนหมดส้นิ แลวทรงพระดาํ เนินโดยพระบาทจนถึงเขาวงกต ประทับอยู ณ ท่ีน้ัน ทรงผนวชเปน ฤาษี พระนางมัทรีกท็ รงรักษาศีล กลาวถึงพราหมณชูชกไดภริยาสาวสวยคนหนึ่งมีช่ืออมิตตาดา นางไดยุใหชูชกไปขอสองกุมาร จากพระเวสสันดร ชูชกก็เดินทางไปยังเขาวงกตไดพบพระเวสสันดรพระองคไดป ระทานสองกุมารใหแ ก ชูชก ชูชกฉุดกระชากลากสองกุมารไปจนพน ประตูปา สว นนางมัทรีเสด็จออกไปหาอาหารไปประสบ ลางรายตา ง ๆ ทําใหท รงเปนหว งพระโอรสและพระธิดาจึงเสด็จกลับอาศรม พอทราบความจริงเร่ือง พระโอรสและธดิ าก็ทรงอนโุ มทนาดว ย ฝายชูชกพาสองกุมารหลงเขา ไปในเมืองสีวีราษฎร พระเจา สญชัยทอดพระเนตรแลว ทรงทราบวา พระกมุ ารนั้นคือ พระนดั ดากท็ รงไถตวั สองกุมาร สวนชูชกน้ันกินอาหารมากจนทองแตกตาย พระเจาสญชัย และพระนางผสุ ดีใหส องกุมารพาไปยงั อาศรม เพอ่ื รบั พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับเมือง เม่ือท้ังหก กษัตริยพ บกันก็ถึงแกวิสัญญีภาพ (สลบ) ไปทุกองค เทวดาจึงบันดาลใหเกิดฝนโบกขรพรรษตกลงมาให ชุมชืน่ ทง้ั หกองคจ งึ ฟน คนื ชวี ติ และเสด็จกลบั พระนคร ตัวอยางการพจิ ารณาคณุ คา วรรณคดี การวิจารณวรรณคดที กี่ ลา วมาแลว จะพจิ ารณาตง้ั แตประวัติความเปน มา ประวัติผแู ตง ลักษณะ คําประพันธ เร่ืองยอ ในการวิเคราะหคุณคา วรรณคดีน้ันจะตองพิจารณาการเขียน ลักษณะการเขียน สาํ นวนภาษาท่ใี ช แมกระทัง่ คตเิ ตอื นใจ คาํ คม พฤตกิ รรมและนิสยั ของตัวละครในวรรณคดีเรอ่ื งนั้น ๆ ก็เปน องคป ระกอบสําคญั ท่ีสงผลใหว รรณคดีเรื่องนั้นมคี ุณคา ซึ่งจะนาํ เสนอตวั อยา งวรรณคดี รายยาวมหาเวสสนั ดร- ชาดกกณั ฑ ทานกัณฑและวรรณคดีสามคั คเี ภทคําฉนั ท ดงั นี้

52 1. ทานกณั ฑ ผแู ตง “สาํ นกั วัดถนน เน้ือเร่ืองกลาวถึงกอ นท่ีพระเวสสันดรจะเสด็จออกไปอยูป า ไดทรงทําทานคร้ังย่ิงใหญเรียกวา สัตตสดกมหาทาน แลวทูลลาพระเจาสญชัยและพระนางผุสดี รุงข้ึน พระเวสสนั ดรใหเจา หนา ท่เี บกิ เงนิ ทองบรรทุกรถทรง เสด็จออกจากเมอื งพรอมพระนางมัทรแี ละสองกมุ าร ขณะเสด็จทรงโปรยเงินทองเหลาน้นั เปน ทาน กอ นจะถงึ ปามีพราหมณมาทูลขอรถทรงบริจาคให พระเวสสนั ดร ทรงอมุ พระชาลี พระนางมัทรีทรงอมุ พระกณั หา เสดจ็ มุงสปู า ดว ยพระบาท” พินิจตัวละครในกัณฑท านกัณฑ ซึ่งจะพินิจเปน ตัวอยา งเพียง 1 ตัว เทาน้ัน คือ พระเวสสันดร เพราะถอื วาเปนตัวเอกของเรื่อง พระเวสสันดรคือ พระโพธิสัตวช าติสุดทา ยกอนจะมาเปนพระพุทธเจา พฤตกิ รรมของพระองคจ งึ เปน แนวท่ีเหนือบุคคลธรรมดา ซ่ึงบุคคลธรรมดายากท่ีจะปฏิบัติไดด ังพระองค อาทิ 1.1 ใฝใจที่จะทําทาน ซงึ่ เปน ลักษณะนิสัยที่มมี าแตย ังทรงพระเยาว ครั้งเสด็จขึ้นครองราชย ก็ทรงบรจิ าคทานทกุ วันเปนประจํา แมช างปจ จยั นาค ซ่ึงเปน ชางคบู านคเู มืองกป็ ระทานใหแกผทู เ่ี ดอื นรอ น จนเปน เหตุใหถ ูกเนรเทศ กอ นออกจากเมืองยังไดบ ริจาคทานอันย่ิงใหญที่เรียกวา สัตตสดกมหาทาน ดงั ขอความ “พระพักตรเธอผองแผว เพอ่ื จะบาํ เพ็ญพระโพธญิ าณเสด็จออกยังโรงทานทอ งสนาม...เธอก็ให พระราชทานสน้ิ ทกุ ประการ ประจงจัดสัตตสดกมหาทาน เปนตนวา คชสารเจ็ดรอ ย...ใหจ ัดโคนมนับรอย มิไดขาด ท้ังทาสทาสีก็ส้ินเสร็จ...เธอหยิบยกสัตตสดกมหาทานแลว พระทัยทา วเธอผองแผวชื่นบานตอ ทานบารมี...” นอกจากน้ีพระเวสสันดรไดท รงบําเพ็ญทานอันยิ่งใหญ คือ บุตรทานและประทานพระชายา ใหแ กพ ราหมณ (พระอินทร ปลอมมา) การใหท านท้ังสองครั้งนี้เปน ยอดแหง ทานหามีผูใดกระทําได เชน พระองค 1.2 ทรงมั่นในอุเบกขา ทรงมีพระทัยท่ีเด็ดเด่ียวม่ันคงไมห ว่ันไหวตอ การกระทําใด ๆ ที่จะ ทาํ ใหพ ระองคทรงเกิดกิเลส 1.3 ทรงเปนผรู อบคอบ เห็นไดจากการทาํ กําหนดคา ตวั สองกมุ าร ซ่งึ เปนพระโอรสและ พระธดิ าทพี่ ระองคประทานแกช ชู ก เพื่อมิใหส องกุมารตอ งไรร ับความลําบากและไดร บั ความเสื่อมเสีย คณุ คา ของกัณฑทานกัณฑ 1. คุณคา ดา นวรรณศิลป (ความงามทางภาษา) ทานกณั ฑน ดี้ เี ดนในเชิงพรรณนาโวหาร มกี ารใชโ วหารทีไ่ พเราะและทาํ ใหเ กดิ จนิ ตภาพ แกผูอ าน เชน ตอนท่ีพระนางผุสดีพูดกับพระเวสสันดรใชถ อ ยคําท่ีอานแลว ซาบซ้ึงกินใจ “วา โอพอฉัตร- พชิ ยั เชตเวสสันดรของแมเอย ตง้ั แตน ้พี ระชนนจี ะเสวยพระอัสสุชนธารา แมไ ปทูลพระบิดาเธอก็ไมโปรด แมวอนขอโทษเธอก็ไมให. ..พระลกู เอย ...แตนี้จะชมุ ชน่ื ไปดว ยนา้ํ คางในกลางปา พอ จะเสวยแตมูลผลาตา ง เครอ่ื งสาธุโภชนท ุกเชา ค่ํา ถงึ ขมข่ืนกจ็ ะกลืนกลา้ํ จาํ ใจเสวย...” 2. คณุ คา ดานสังคม 2.1 ดานการปกครอง ในเร่ืองพระเวสสันดรจะเห็นวา กษัตริยท รงฟงเสียงประชาชน เมื่อประชาชนลงมติใหเ นรเทศพระเวสสันดร เพราะเจาสญชัยก็ยอมเนรเทศแสดงใหเ ห็นถึงความเปน ประชาธปิ ไตย

53 2.2 สภาพสังคมท่ีไมย อมรับหญิงมาย หญิงใดเปน มา ยก็จะถูกดูหม่ินเหยียดหยามจากสังคม และไมมีใครอยากไดเ ปนคคู รอง 3. ดานคานยิ ม 3.1 คา นิยมเก่ียวกับการทํางาน โดยการทําทานเปนการเสียสละ เพ่ือเพื่อนมนุษยแ ละ หวงั ในผลบุญน้ันจะสงใหต นสบายในชาติตอ ไป ความคิดน้ียังฝงอยูในใจคนไทยมาทุกสมัย จึงนิยมทําบุญ บรจิ าคทาน 3.2 ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องชางเผือก ชางเผือกถือวา เปน ชางคูบ ารมีพระมหากษัตริย และความเชื่อนน้ั ยงั ปรากฏมาจนถึงปจ จุบนั นี้ 4. ดานความรู ใหความรูเกี่ยวกับการสัตตสดกมหาทาน ซ่ึงในสมัยอยุธยาก็ปรากฏการทําทานลักษณะน้ี ในสมัยพระเจา ปราสาททองและประเทศทเ่ี ปนเมืองข้นึ ประเทศอืน่ ตอ งสง เคร่ืองบรรณาการมาถวาย เรอ่ื งท่ี 5 หลกั การวิจารณว รรณกรรม เม่ือกลา วถึงวรรณกรรมยอมเปน ท่ีเขาใจกันท่ัวไปวา หมายถึง งานเขียนดานตาง ๆ ในรูปของ บทละคร สารคดี เร่ืองส้ัน นวนิยาย และกวีนิพนธซ ึ่งมีมาตั้งแตโบราณแลว ทั้งที่เปน รอ ยแกว และ รอ ยกรอง ลักษณะของวรรณกรรม 1. วรรณกรรมเปน งานประพันธท แี่ สดงความรูสกึ นกึ คิด โดยทว่ั ไปมนษุ ยจ ะพูดหรือเขยี นแลวจะสง ความรูสึกนึกคิด อยา งใดอยางหนึ่ง เชน ฝนตก ตน ไมส ีเขียว ความรูส ึก จะสัมผัสไดท างกายและใจ เชน รูสึกหนาว รูส ึกรอน เปน ตน สวนความคิดคอื ส่งิ ทีเ่ กดิ จากการใชสติปญญาใครครวญเกี่ยวกับสิ่งใดส่ิงหน่ึง มากระทบอารมณ 2. วรรณกรรมเปน งานประพันธทเ่ี กดิ จากจินตนาการ เปน การสรางภาพข้ึนในจติ ใจ จากส่ิงที่เคยพบ เคยเห็นในชวี ิต สิง่ ท่สี รา งสรรคขึน้ มาจากจินตนาการออกจะมเี คา ความจรงิ อยูบาง 3. วรรณกรรมเปนงานประพนั ธใชภาษาวรรณศลิ ป เชน คาํ วา ใจกวางเหมือนแมน้ํา หรือหิมะขาว เหมือนสําลี เปน ตน ประเภทของวรรณกรรม ในปจ จุบันวรรณกรรมแบง ประเภท โดยดูจากรูปแบบการแตงและการแบงตามเน้ือหาออก เปน 4 ประเภท คือ 1. ประเภทรอ ยแกว คือ วรรณกรรมทไ่ี มม ลี กั ษณะบงั คับ ไมบ งั คับจํานวนคาํ สัมผัส หรอื เสยี งหนกั เบาวรรณกรรมทแ่ี ตงดวยรอยแกว ไดแ ก นทิ าน นิยาย นวนยิ าย เรอื่ งสนั้ สารคดี บทความ ขาว

54 2. ประเภทรอยกรอง คือ วรรณกรรมทม่ี ีลักษณะบังคับในการแตง ซ่ึงเรียกวา ฉันทลักษณ เชน โคลง ฉันท กาพย กลอน ราย ลิลิต วรรณกรรมท่ีแตงดวยคําประเภทรอ ยกรอง ไดแ ก บทละคร นิยาย บทพรรณนา บทสดดุ ี บทอาเศียรวาท 3. ประเภทสารคดี คือ วรรณกรรมท่ีมีเนื้อหาสาระใหความรู ความคิดและอาจใหค วามบันเทิง ดวย เชน สารคดีทองเที่ยว ชีวประวตั ิ บันทกึ จดหมายเหตุ หนังสือคตธิ รรม บทความ เปนตน 4. ประเภทบันเทงิ คดี คือ วรรณกรรมท่แี ตง ขน้ึ โดยอาศยั เคา ความจรงิ ของชีวติ หรือจินตนาการ โดยมุง ใหค วามบนั เทงิ แกผ อู า นเปน ลําดบั ไดแก เรอื่ งสัน้ นทิ าน นวนยิ าย บทละครพดู เปน ตน วรรณกรรมทีไ่ ดร ับการยกยอ ง ในการอานหนังสอื แตละเลม โดยเฉพาะหนังสือประเภทวรรณคดี ผูอา นยอมไดร ับประสบการณ ทางอารมณบ า ง ไดร ับคุณคา ทางปญญาบาง หรืออาจไดร ับทั้งสองประการบาง สวนวรรณกรรมบางเร่ือง แมม ไิ ดเปน วรรณคดกี อ็ าจใหท้งั ประสบการณท างอารมณแ ละใหคุณคา ทางปญ ญา ทั้งนี้ข้ึนอยูก ับผูอา นวาจะ สามารถเขาถงึ วรรณกรรมนัน้ ไดเ พยี งไร วรรณกรรมบางเรือ่ งแตง ไดดจี นไดรับการยกยอง ซึง่ มลี กั ษณะ ดังน้ี งานประพนั ธท ้งั ปวงยอ มแฝงไวซ่ึงแนวคิดและคา นิยมบางประการ อันจะกอ ใหเ กิดความงอกงาม ทางสติปญญาและพัฒนาการสมรรถภาพการพิจารณาความประณีตความละเอียดออนทางภาษาไดอ ยา งดี ย่งิ แนวคิดท่ปี รากฏในวรรณกรรมน้ัน อาจหมายถึง ความคิดสําคัญของเรื่องหรืออาจเปน ความคิดอ่ืน ๆ สอดแทรกอยูใ นเรอื่ งกไ็ ด ยกตัวอยา งนทิ านเร่อื ง ปลาบูท องใหแ นวคดิ วา ความอิจฉารษิ ยา ของแมเลี้ยงเปนสาเหตใุ หล ูกเลยี้ ง ถูกทาํ ทารุณกรรมอยา งแสนสาหสั บทรอ ยกรองเรอ่ื ง น้าํ ตา ใหแ นวคดิ สําคัญวา นา้ํ ตาเปน เพื่อนของมนุษยทง้ั ในยามทุกขและยามสุข สว นคานิยมจากวรรณกรรมน้ัน หมายถึง ความรูส ึก ความคิด หรือความเช่ือของมนุษย รวมถึง ความเช่ือม่ัน การยึดถือปฏิบัติในเรื่องตา ง ๆ ในการดําเนินชีวิต คานิยมจึงเปน ตัวกําหนดพฤติกรรมของ มนษุ ยใ นการเลือกกระทาํ หรอื เวนกระทําสงิ่ ใดสิ่งหน่ึง ซงึ่ ถือวา ทาํ หรอื คดิ เห็นตามกาลเวลา ยกตวั อยา ง เชน คา นิยมเรื่องการมีคูค รอง ดังคํากลอนตอนหน่ึงจากเรื่องเสภาขุนชางขุนแผน ตอนที่นางพิมพิลาไลยยัง เปนสาวไดพดู กบั นางสานทองผเู ปนพีเ่ ล้ียงวา ธรรมดาเกดิ เปน สตรี ช่วั ดคี งไดคูม าสสู อง มารดายอ มอุตสา หป ระคบั ประคอง หมายปองวาจะปลูกใหเ ปนเรือน

55 อันหนึ่งเราเขาก็วาเปนผูดี มง่ั มแี มม ิใหล ูกอายเพอ่ื น จากคําประพันธน้ี สะทอ นใหเห็นคา นิยมของสตรีสมัยกอนวา เปน ผูหญิงตอ งรักนวลสงวนตัว อยูในโอวาทของมารดา เม่ือจะมีคูค วรใหมารดาตกแตงใหไ มช ิงสุกกอ นหาม สรุปวรรณกรรมท้ังปวงยอ ม แฝงไวซ ่ึงแนวคิดและคา นิยมบางประการ อันจะกอ ใหเกิดความงอกงามทางสติปญ ญา และพัฒนา สมรรถภาพการพิจารณาความละเอยี ดออ นทางภาษาลักษณะการใชถ อ ยคาํ ภาษาที่ดใี นวรรณกรรม วรรณกรรมท่ีดียอ มมีความประณีตในการใชภาษา อันจะทําใหผูอา นพัฒนาสมรรถภาพ ในการ พจิ ารณาความประณีต ละเอียดออ นของภาษาไดด ขี ึน้ วรรณกรรมที่ดีเปนศิลปะแขนงที่อาศัยภาษาเปนสื่อถายทอดความไพเราะความประทับใจหรือ อารมณความรูส กึ ซง่ึ มหี ลักพิจารณา 3 ประการใหญ ๆ ดงั นี้ 1. การใชถ อ ยคํา เสียง ความหมาย การเลอื กใชถ อยคําชดั เจน ตรงตามความหมายมเี สยี งไพเราะ 2. การเรยี บเรียงถอยคํา การเรยี บเรียงถอยคําใหอ ยูตําแหนงทถี่ กู ตองถกู แบบแผนของภาษา ยอมทาํ ใหภ าษามีความไพเราะมีความชดั เจน ทาํ ใหผูรับสารเขาใจความคิดของผูส ื่อสารไดถ กู ตอง 3. ศิลปะการประพนั ธ การมีศลิ ปะในการประพันธ หมายความวา ผูแ ตง ตองรูจักเลือกใชถ อ ยคํา ที่เหมาะสม เพือ่ จะทําใหเกดิ ความไพเราะทางภาษา การใชก วโี วหาร หรอื สํานวนโวหารจะชว ยใหผ อู า นมอง เห็นภาพชดั เจน และเกิดความไพเราะทางภาษามากข้ึน ตอ ไปน้ีจะกลาวถึงศิลปะการประพนั ธพ อสังเขป 3.1 ไวพจน หมายถึง การใชค ําที่มีความหมายอยา งเดียวกัน ซ่ึงตอ งพิถีพิถันเลือกใชใ ห เหมาะสมกบั เนือ้ หา เชน พอสบเนตรวนิดามารศรี แรงฤดีดาลเลห เสนห า ดงั ตอ งศรซา นพษิ ดว ยฤทธ์ิยา เขา ตรึงตราตรอมตรมระทมทรวง ตะลึงเลง็ เพง แลชะแงพ กั ตร จนนงลกั ษณห ลกี ไปควรโลลวง ใหเสยี วปลาบวาบไหวใจระลวง ปะหนึง่ ดวงจติ ดบั เพราะลบั นาง (จากคาํ ประพนั ธบ างเร่ือง ของพระยาอปุ กติ ศิลปสาร) คําท่ีมีความหมายวา ผูห ญิง ในที่นี้มี 4 คํา คือ วนิดา มารศรี นงลักษณ บางกวีสามารถเลือกใชไ ด เหมาะสมกบั เน้ือความในเรอื่ ง 3.2 การใชคาํ เลียนเสียงธรรมชาติและเสียงตาง ๆ การนําเสียงที่ไดยินจากธรรมชาติ มารอยกรองพรรณนาใหเกดิ ความรสู ึกเหมือนไดยนิ ทาํ ใหเ กดิ ความไพเราะนา ฟงและสะเทอื นอารมณ เชน ครนื ครืนใชฟ า รอ ง เรยี มครวญ ห่ึงหึ่งใชลมหวน พ่ใี ห ฝนตกใชฝ นนวล พีท่ อด ใจนา รอนใชรอนไฟไหม ทีร่ อ นกลกาม (ตาํ นานศรีปราชญ ของพระยาปริยตั ิธรรมธาดา) คาํ วา “ครนื ครนื ” เปนการเลยี นเสียงฟารอง คําวา “หง่ึ หงึ่ ” เปน การเลยี นเสยี งลมพัด

56 3.3 การเลนคาํ หมายถงึ การนาํ คําพองรูปพอ งเสียงมาเรียบเรียงหรือรอยกรองเขาดวยกัน จะทําใหเ กดิ เสยี งไพเราะและเพ่ิมความงดงามทางภาษา เชน ปลาสรอยลอยลอ งชล วา ยเวียนวนปนกันไป เหมือนสรอยทรงทรามวยั ไมเ ห็นเจา เศราบว าย คาํ วา “สรอย” คําแรกเปนชีอ่ ปลา คาํ วา “สรอย” คาํ หลังหมายถงึ สรอ ยคอ 3.4 การใชคําอัพภาส หมายถึง คําซ้ําชนิดหนึ่ง โดยใชพยัญชนะซ้ําเขา ไปขา งหนา คํา เชน ริก เปน ระรกิ ยิม้ เปน ยะยิ้ม แยม เปน ยะแยม การใชคําอัพภาสหลาย ๆ คําในที่ใกลก ัน ทําใหแลเห็นภาพและเกิดความรูสึกสะเทือนอารมณ ตามไปดวย เชน สาดเปน ไฟยะแยง แผลงเปนพษิ ยะยุง พุงหอกใหญ คะควางขวา งหอกซดั คะไขว (ลลิ ิตตะเลงพาย) 3.5 การใชโ วหารภาพพจน โวหารภาพพจน หมายถงึ ถอ ยคําที่เรียบเรียงโดยไมก ลาวอยาง ตรงไปตรงมา ผูป ระพันธมีเจตนาจะใหผ ูอา นเขา ใจ และประทับใจยิ่งขึ้นกวาการใชคําบอกเลา ธรรมดา การใชโ วหารภาพพจนอาจทาํ ไดหลายวิธี เชน 3.5.1 เปรยี บสิง่ หนงึ่ วา เหมอื นอกี สงิ่ หนง่ึ ในการเปรยี บเทยี บน้จี ะมีคาํ แสดงความหมาย อยา งเดยี วกับคําวาเหมอื น ปรากฏอยูด ว ย ไดแกคําวา เปรยี บเหมือน เสมือน ดุจ ประดจุ ดุจดงั ราวเพียง เชน คุณแมหนาหนกั เพ้ยี ง พสุธา (เพย้ี ง-โทโทษ มาจากคาํ วาเพยี ง) คณุ บิดรดจุ อา กาศกวา ง 3.5.2 เปรยี บส่ิงหน่ึงเปน อีกส่งิ หนึ่ง บางตาํ ราเรียกวา อปุ ลกั ษณ เชน พอแม คือ รม โพธ์ิ รมไทรของลกู ราชาธิราชนอม ใจสตั ย อาํ มาตยเปน บรรทัด ถอ งแท 3.5.3 สมมุติส่ิงตาง ๆ ใหมีกิริยาอาการเหมือนมนุษย หรือท่ีเรียกวา บุคลาธิษฐาน เชน นํ้าเซาะหินรนิ รนิ หลากไหล ไมห ลบั เลยชว่ั ฟาดนิ สลาย 3.5.4 การใชคําสญั ลักษณหรือสง่ิ แทนสัญลักษณ หมายถึง สงิ่ หนึ่งใชแทนอีกส่ิงหนึ่ง เชน แมนเปน บวั ตวั พเี่ ปนภมุ รา เชยผกาโกสุมประทุมทอง 3.6 การกลา วเกินจรงิ หรือที่เรยี กวา อติพจน (อธพิ จน) การกลาวเกนิ จริงนป้ี รากฏอยใู นชีวติ ตามปกติ เชน เม่ือเราตองการจะเนนความรูส ึกบางอยาง เชนกลา ว “เหนื่อยสายตัวจะขาด” หรือ “รอน แทบสุก” การกลาวเกนิ จริง ทําใหเ กิดความแปลกและเรยี กรอ งความสนใจไดดี 3.7 การเลนเสียงวรรณยุกต กวีใชค ําท่ีประกบดวยสระ พยัญชนะและตัวสะกด อยางเดียวกนั ตา งกนั แตวรรณยุกต โดยนาํ มาเรียงไวใ นท่ใี กลก ันทาํ ใหเกิดเสียงไพเราะดจุ เสยี งดนตรี เชน

57 “สละสละสมร เสมอช่อื ไมน า นกึ ระกาํ นามไม แมนแมนทรวงเรยี ม” หรือ ดสู าํ คญั คน่ั ค้นั อยางงนั ฉงน “จะจบั จองจอ งส่งิ ใดน้นั คอ ยแคะคนขน คน ใหควรการ” อยา ลามลวงลว งดแู ลศกล 3.8 สัมผสั อกั ษร กวีจะใชคําทมี่ เี สยี งพยัญชนะเดยี วกัน เชน โคลงกลบอักษรลวน ชายชาญชยั ชาติเชอื้ เชงิ ชาญ สเู ศิกสดุ เศกิ สาร สงสรอง ราวรามรทุ รแรงราญ รอนราพณ เกริกเกยี รตไิ กรกึกกอง กอ กูกรุงไกร (พระราชนพิ นธพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา เจาอยหู ัว) 3.9 สัมผสั สระ กวจี ะใชค าํ ท่ีมีเสยี งสระคลองจองกนั เชน เขาทางตรอกออกทางประตู คางคกขนึ้ วอแมงปอใสต งุ ตงิ้ นา้ํ รอ นปลาเปนน้ําเย็นปลาตาย เพ่ือนกินหางายเพ่อื นตายหายาก 3.10 การใชคําปฎิพฤกษ หมายถึง ความขัดแยงที่กวีนํามากลา วคูก ัน เพื่อแสดงคุณสมบัติ 2 อยา งทแ่ี ยง กัน อนั อยูใ นสิง่ เดยี วกนั เชน ความหวานช่นื ในความขมขื่น ความเงยี บเหงาในความวนุ วาย กจิ กรรมที่ 1 ใหผูเรียนตอบคาํ ถาม และรวมกจิ กรรมตอไปน้ี 1. วรรณคดี คืออะไร 2. วรรณคดีกับวรรณกรรมแตกตา งกันอยา งไร 3. ใหผ ูเ รยี นรวบรวมรายชอ่ื หนงั สอื ทีเ่ ปนวรรณคดีและวรรณกรรมประเภทละ 3 เลม 4. ใหสรปุ คุณคาของวรรณคดแี ละวรรณกรรมท่รี วบรวมมาไดจ ากขอ 3 เรอื่ งท่ี 6 ภาษาถน่ิ ความหมายของภาษาถนิ่ ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาท่ีใชส่ือความหมายตามทองถิ่นตา ง ๆ ซึ่งจะแตกตา งกันในถอ ยคํา สาํ เนียง แตก็สามารถจะติดตอส่อื สารกนั ได และถือวา เปนภาษาเดียวกัน เพียงแตแตกตางกันตามทอ งถิ่น เทาน้นั ภาษาถิ่น บางท่ีมักจะเรียกกันวา ภาษาพื้นเมืองทั้งนี้เพราะไมไดใ ชเปน ภาษามาตรฐานหรือ ภาษากลางของประเทศ

58 สาเหตทุ ท่ี ําใหเกดิ ภาษาถ่ิน ภาษาถ่นิ เกดิ จากสาเหตุการยา ยถิ่นฐาน เมอื่ กลุมชนที่ใชภาษาเดยี วกันยา ยถ่ินฐานไปต้ังแหลง ใหม เน่ืองจากเกิดภัยธรรมชาติ มีการรุกรานของศัตรู เม่ือแยกยายไปอยูคนละถ่ินนาน ๆ ภาษาท่ีใชจะคอย เปลยี่ นแปลงไปเชน เสียงเปลี่ยนไป คาํ และความหมายเปลยี่ นไป ทาํ ใหเ กดิ ภาษาถ่ินข้ึน คุณคาและความสําคัญของภาษาถ่นิ 1. ภาษาถิ่นเปนวัฒนธรรมทางภาษาและเปนเอกลักษณข องแตละทองถน่ิ 2. ภาษาถ่ินเปนสญั ลกั ษณท ่ีใชส อื่ สารทําความเขา ใจและแสดงความเปน ญาติ เปน พวกเดียวกัน ของเจา ของภาษา 3. ภาษาถิ่นตนกําเนิดและเปนสวนหน่ึงของภาษาไทยและวรรณคดีไทย การศึกษาภาษาถิ่น จะชวยใหการส่อื สารและการศกึ ษาวรรณคดีไดเ ขาใจลึกซง่ึ ยิ่งขน้ึ 4. การศึกษาและการใชภ าษาถ่ิน จะชว ยใหการส่ือสารไดม ีประสิทธภิ าพและสรา งความเปน หนึ่ง ของคนในชาติ ลักษณะของภาษาถ่นิ 1. มีการออกเสียงตา ง ๆ ถน่ิ เพราะสภาพทางภมู ิศาสตร ความหางไกลขาดการตดิ ตอ สื่อสารกัน เปนเวลานานมาก ๆ ยอ มทาํ ใหออกเสยี งตางกันไป 2. การผสมกันทางเช้ือชาติ เพราะอยูใ กลเ คียงกันทําใหม ีภาษาอ่ืนมาปน เชน ภาษาอีสาน มีภาษากลางและเขมรมาปน เพราะมเี ขตแดนใกลก นั ทําใหภ าษาเปลยี่ นไปจากภาษากลาง 3. การถายทอดทางวฒั นธรรมและเทคโนโลยีซง่ึ กันและกนั ทําใหภาษาเปลย่ี นจากภาษากลาง 4. หนวยเสยี งของภาษาถน่ิ มสี วนคลา ยกนั และแตกตา งกนั หนว ยเสียงของภาษากลางมี 21 เสียง ภาษาถิ่นมีหนว ยเสียงตรงกันเพียง 17 เสียง นอกน้ันแตกตางกัน เชน ภาษาถิ่นเหนือและอีสานไมม ี หนวยเสียง ช และ ร ภาษาถน่ิ ใตไ มม ีหนว ยเสียง ง และ ร เปน ตน 5. หนว ยเสยี งวรรณยกุ ตใ นภาษาถิ่น แตกตางกันไป ภาคใตมีเสียงวรรณยุกต 7 เสียง ภาคเหนือ และอสี านมเี สียงวรรณยกุ ต 6 เสียง ตัวอยา งการกลายเสียงวรรณยุกต มา (กลาง) ภาคใตออกเสยี งเปน หมา ขา ว (กลาง) ภาคอสี านออกเสยี งเปน ขา ว ชาง (กลาง) ภาคเหนือออกเสยี งเปน จา ง 6. การกลายเสียงพยญั ชนะในภาษาถน่ิ เหนอื ใต อีสาน น้ันมีสวนแตกตางกนั หลายลกั ษณะ เชน 6.1 ภาษาไทยเหนือ จะมีคาที่กลายเสียงพยัญชนะจากภาษาไทยกลางอยูหลายตัว ภาษาไทยกลางเปน ช ไทยเหนือจะเปน จ เชน ชางเปน จาง ฉะนั้นเปนจะอั้น ใชเปน ไจ ภาษาไทยกลาง ใช ร ไทยเหนือจะเปน ฮ เปน รัก เปนฮัก รอ งเปน ฮอ ง โรงเรียนเปน โฮงเฮียน ภาษาไทยกลางเปน คิดเปน กดึ้ คว้ิ เปนกิ๊ว ภาษากลางใช ท ภาษาไทยเหนอื ใช ต เชน ทานเปน ตาน ทานเปน ตาน และภาษาไทยเหนือ นอกจากจะใชพยัญชนะตา งกันแลว ยังไมค อ ยมีตัวควบกล้ําเชน ขี้กลาก เปน ขี้ขาด โกรธ เปน โขด นอกจากน้จี ะมีคาํ วา โปรด ไทยเหนอื โปด ใคร เปน ไผ เปนตน

59 6.2 ภาษาไทยอีสานก็มกี ลายเสียงหรอื มีหนวยเสยี งตา งกับภาษาไทยกลางหลายตัว ตัวอยาง ช ใช ซ แทนเสียง ร ใช ฮ แทนเสียง ญ และ ย จะออกเสียงนาสิก แทนภาษาไทยกลาง ชา ง ไทยอีสาน เปน ซา ง เรา เปน เฮา เลือด เปน เฮือด หญิง เปน ญิง (นาสิก) ใหญ เปน ใญ ภาษาไทยอีสานจะไมมี คาํ ควบกลาํ้ คลายเหนอื เชน กลวย เปน กวย ปลา เปน ปา ของ เปน ขอ เปรต เปน เผด และภาษาไทย อสี านมีการสลับรับเสยี งดวย เชน ตะกรอ เปน กะตอ ตะกรา เปน กะตา ตะกรดุ เปน กะตดุ เปนตน 6.3 ภาษาไทยใตก ม็ ีการกลายเสยี งพยญั ชนะจากภาษาไทยกลางเหมือนกัน ภาษาไทยกลาง เปน ง ภาษาไทยใตจ ะเปน ฮ เสยี ง ฐ จะเปน ล (บางจงั หวัด) และญ จะออกเสียงนาสิก ตัวอยาง ภาษาไทย กลาง คําวา เงิน ภาษาไทยใต เปน เฮิง งาน เปน ฮาน รัก เปน หลกั เปน ตน 7. ภาษาถ่ินเหนอื ใตและอีสานมีการกลายเปนเสยี งจากภาษาไทยกลางหนวยเสียง 7.1 ภาษาไทยเหนือจะกลายเสียงสระ อิ เปน อึ เชน คิด เปน กด้ึ สระ อึ เปน สระเออ เชน ถึง เปน เถิง สระอะ เปน สระอา เชน มะปราง เปน หมา ผาง มะละกอ เปน หมากกวยเต็ด สระ เอ เปน สระ แอ เชน เอว เปน สระแอว เปนตน 7.2 ภาษาไทยอีสานมกี ารกลายเสียงสระเชน สระ เออื เปน เอีย เชน เนื้อ เปน เนี้ย สระ อัว เปน สระโอ เชน วัว เปน โง ตัว เปน โต สระ อึ เปน สระ เออ เชน คร่ึง เปน เค่ิง สระ อา เปน สระ อัว เชน ขวา เปน ขัว เปนตน 7.3 ภาษาไทยอีสานมีการกลายเสียสระ เชน ภาษาไทยกลางใช สระ อิ อี ภาษาถิ่นใต ใช สระ เอะ เอ เชน ส่ี เปน เส ซกี เปน แซก สระ เอะ เอ ใชเ ปนสระ แอะ แอ เชน เด็ก เปน แดก็ เปนตน 8. ความหมายของคําในภาษาถ่ินแตกตางไปจากภาษากลาง เชน คําวา รักษา ภาษาถ่ินใต มีความหมายวา เล้ียง เชน นําลิงไปรักษา หมายถึงนําลิงไปเล้ียง บัวลอย ภาษาถ่ินเหนือหมายถึง ผักตบชวา แพรนม ภาษาถ่นิ อสี านหมายถงึ ผาเช็ดหนา ภาษาถนิ่ ใตเ รยี กผาเชด็ หนา วา ผานยุ เปน ตน กิจกรรมท่ี 2 ใหผ เู รียนเขยี นเครอื่ งหมาย วงกลม ลอ มรอบขอทถี่ ูกที่สดุ เพยี งขอ เดียว 1. ขอใดใหความหมายภาษาถน่ิ ไดถ ูกตอ ง ก. ภาษาตระกลู ตาง ๆ ข. ภาษาทพ่ี ดู กนั ในทองถ่ินนน้ั ๆ ค. ภาษาท่ีใชพดู กนั ทวั่ ประเทศ ง. ภาษาของชนกลมุ ใหญท ั่วโลก 2. ขอ ใดเปน สาเหตุสาํ คัญที่ทําใหเ กดิ ภาษาถน่ิ ก. สภาพภูมปิ ระเทศ ข. การยา ยถ่นิ ฐาน ค. การแลกเปลย่ี นวัฒนธรรม ง. ถกู ทุกขอ 3. คําในขอ ใดที่เปน คาํ เฉพาะของภาษาถ่ินภาคเหนอื ก. งอ ข. งอน ค. งืด ง. งีบ

60 4. “ฝนตกฟารอง พอ แมเขาอยูห นกุ ” คําวา หนกุ เปนคาํ ในภาษาถน่ิ ภาคใด ก. เหนอื ข. ใต ค. อีสาน ง. กลาง 5. ภาษาถ่นิ ใด ที่มีหนว ยเสียงวรรณยกุ ตมากท่สี ุด ก. ภาษาถ่นิ เหนือ ข. ภาษาถนิ่ อีสาน ค. ภาษาถิ่นใต ง. ภาษากลาง เรื่องที่ 7 สาํ นวน สภุ าษิต สํานวน หมายถงึ คํากลา วหรอื กลมุ คําทีม่ ีความหมายเชิงเปรียบเทียบเปนเชิงใหใ ชค วามคิดและ ตีความบางสํานวนจะบอกหรือสอนตรง ๆ บางสํานวนสะทอนความคิด ความรูสึกของกลุมชนในทอ งถิ่น ในอดีตดวย สภุ าษิต หมายถึง คาํ กลา วทด่ี งี ามเปนความจรงิ ทุกสมยั เปนคําสอนใหประพฤติ ปฏบิ ตั ิ ดังตวั อยา ง “หลํารอ งชกั งาย หลําใจชักยาก” ความหมาย คิดจะทําอะไรตอ งคิดใครค รวญใหร อบคอบกอนตัดสินใจ “นอนจนหวนั แยงวาน” ความหมาย นอนตืน่ สายมากจนตะวันสองสวา งไปทั่วบาน “พดู ไป สองไพเบ้ีย นิ่งเสียตําลงึ ทอง” ความหมายพดู ไปไมมปี ระโยชนอะไร นง่ิ ไวดีกวา “เกลือจ้มิ เกลือ” ความหมาย ไมย อมเสียเปรยี บกนั แกเผด็ กนั ใหส าสม “ขายผา เอาหนา รอด” ความหมาย ยอมเสยี สละของทีจ่ าํ เปน ทมี่ อี ยูเพื่อจะรกั ษาชือ่ เสียงของตนไว “ฝนท่ังใหเ ปน เข็ม” ความหมายเพียรพยายามสดุ ความสามารถจนกวา จะสําเร็จผล “นาํ้ มาปลากินมด นํา้ ลดมดกนิ ปลา” ความหมาย ทีใครทีมนั เรอื่ งท่ี 8 วรรณกรรมทอ งถิน่ วรรณกรรมทอ งถิน่ หมายถงึ เรื่องราวของชาวบา นที่เลา สืบตอกันมาหลายชั่วอายุคนท้ังการพูด และการเขียนในรูปของ คติ ความเชือ่ และประเพณี การแสดงออกในการใชถอยคําท่มี ีหลากหลายรูปแบบ เชน นทิ านพน้ื บา น เพลงกลอ มเด็ก ปริศนา คําทาย ภาษติ คําคม บทเทศน และคํากลา วในพธิ กี รรมตาง ๆ

61 ลักษณะของวรรณกรรมทอ งถน่ิ 1. วรรณกรรมทอ งถน่ิ โดยทั่วไปมวี ดั เปน ศนู ยก ลางเผยแพร กวีผปู ระพันธสว นมาก คือ พระภิกษุ และชาวบา น 2. ภาษาท่ีใชเปน ภาษาถ่ิน ใชถ อ ยคําสํานวนทองถิ่นท่ีเรียบงา ย ชาวบา นทั่วไปรูเ ร่ืองและ ใชฉันทลักษณท ี่นยิ มในทองถนิ่ น้ัน เปน สําคญั 3. เนื้อเรื่องสว นใหญเปน เร่ืองจักร ๆ วงศ ๆ มุง ใหความบันเทิง และสอดแทรกคติธรรมทาง พุทธศาสนา 4. ยดึ คานิยมแนวปรัชญาพุทธศาสนา เชน กฎแหงกรรม หรอื ธรรมะยอ มชนะอธรรม เปนตน ประเภทของวรรณกรรมทองถ่นิ วรรณกรรมทอ งถน่ิ แบง ไดเปน 2 ประเภท คอื 1. ประเภทมขุ ปาฐะ เปน วรรณกรรมทไ่ี มไ ดเ ขยี นเปน ลายลักษณ เปนวรรณกรรมปากเปลา จะถา ยทอดโดยการบอก หรอื การเลา หรือการรอ ง ไดแ ก บทกลอมเดก็ นิทานพน้ื บา น เพลงพนื้ บาน ปรศิ นา คําทาย ภาษติ สาํ นวนโวหาร คาํ กลาวในพธิ ีกรรมตา ง ๆ 2. ประเภทเขียนเปนลายลักษณ ไดแ ก นทิ าน คาํ กลอน บันทึกทางประวตั ศิ าสตรใ นทองถ่นิ และ ตําราความรตู าง ๆ คุณคาของวรรณกรรมทองถ่นิ 1. คุณคา ตอการอธิบายความเปนมาของชุมชนและเผา พนั ธุ 2. สะทอ นใหเ ห็นโลกทัศนและคานยิ มตา ง ๆ ของแตล ะทองถิน่ โดยผานทางวรรณกรรม 3. เปน เครอ่ื งมืออบรมสัง่ สอนจรยิ ธรรมของคนในสังคมสามารถนาํ ไปประยกุ ตใ ชในสังคมปจจบุ นั ได 4. เปน แหลง บนั ทึกขอ มลู เก่ียวกบั วฒั นธรรม ประเพณี และการดาํ เนินชีวติ ของคนในทองถิ่น 5. ใหค วามบนั เทงิ ใจแกช ุมชนทั้งประเภทที่เปน วรรณกรรมและศิลปะการแสดงพ้นื บาน เชน หมอลําของภาคอีสาน การเลนเพลงเรอื เพลงเกี่ยวขาว ของภาคกลาง การซอ การเลาคาวของภาคเหนือ การเลน เพลงบอก รองมโนราหของภาคใต เปนตน 6. กอใหความสามัคคใี นทองถิ่น เกดิ ความรักถ่นิ และหวงแหนมาตุภูมิ รปู แบบของวรรณกรรมทองถิน่ 1. รปู แบบของวรรณกรรมทอ งถน่ิ ภาคกลาง 1.1 กลอนสวด หรือเรียกวา คําพากย ไดแ ก กาพยย านี ฉบงั สุรางคนางค 1.2 กลอนบทละคร (นอก) ใชฉ ันทลักษณเ หมือนกลอนบทละครทั่วไป แตไ มเ ครงครัด จาํ นวนคําและแบบแผนมากนกั 1.3 กลอนนทิ าน บทประพนั ธเ ปนกลอนสภุ าพ (กลอนแปด) เปนรูปแบบทไี่ ดรับความนิยมมาก 1.4 กลอนแหล นิยมจดจําสืบตอ กันมาหรอื ดน กลอนสด ไมน ยิ มบันทึกเปนลายลักษณ

62 2. รปู แบบของวรรณกรรมทองถิ่นภาคอสี าน 2.1 โคลงสาร เปน ฉันทลักษณที่บังคบั เสยี งเอกโท สว นมากใชป ระพันธวรรณกรรมประเภท นิทาน นยิ าย หรอื นทิ านคติธรรม 2.2 กาพยห รือกาพยเซ้งิ ประพันเปนบทสั้น ๆ สําหรับขับลําในพิธี เชน เซ้ิงบั้งไฟ เซ้ิงนางแมว ฯลฯ 2.3 ราย (ฮาย) ลักษณะเหมือนรายยาว ใชป ระพันธวรรณกรรมชาดก หรือนิทานคติธรรม ที่ใชเ ทศน เชน มหาชาติ (ฉบับอสี านเรียกวาลาํ มหาชาติ) 3. รปู แบบของวรรณกรรมทอ งถิ่นภาคเหนือ 3.1 คาํ วธรรม ฉันทลกั ษณเ หมือนรา ยยาวชาํ สาํ หรบั เทศน นยิ มประพันธว รรณกรรมประเภท นทิ านชาดกหรือนิทานคตธิ รรม 3.2 คาํ วซอ คําประพนั ธที่บงั คับสมั ผัสระหวา งวรรคและบังคบั เสยี งเอกโท นิยมแตน ิทาน เปน คําวซอ แลวนาํ มาขบั ลําในที่ประชุมชน ตามลีลาทาํ นองเสนาะของภาคเหนือ 3.3 โคลง ภาษาถนิ่ เหนือออกเสียงเปน “กะลง” เปนฉันทลักษณทเ่ี จรญิ รงุ เรอื ง ควบคูกบั “คาวธรรม” มที ั้งกะลงสหี่ อ ง สามหอง และสองหอ ง (โคลงสี่ โคลงสาม และโคลงสอง) 4. รปู แบบของวรรณกรรมทองถน่ิ ภาคใต วรรณกรรมพ้ืนบา นภาคใตฉ ันทลกั ษณร วมกับวรรณกรรมทองถ่ินภาคกลาง แตจากการศึกษา ความนิยมเรื่องฉันทลักษณของวรรณกรรมภาคใต พบวานิยม “กลอนสวด” (คํากาพย) มากท่ีสุด วรรณกรรมลายลักษณภาคใตเ กินรอยละ 80 ประพันธเ ปน กลอนสวด โดยเฉพาะนิทานประโลมโลก (เร่ืองจกั ร ๆ วงศ ๆ) การวิเคราะหคณุ คา ของวรรณกรรมทอ งถิ่น การวิเคราะหว รรณกรรมทอ งถ่ินนั้นจะวิเคราะหตามคุณคา ของวรรณกรรมดา นตาง ๆ เม่ือศึกษา วรรณกรรมทอ งถิ่นเร่อื งใด เราจะตองวนิ จิ วิเคราะหห รือพิจารณาดวู า วรรณกรรมเร่ืองนั้นมีคุณคาในดานใด ดงั ตอไปนี้ 1. คุณคาดานจริยศาสตรห รือคุณคาดานจริยธรรม วิเคราะหว าวรรณกรรมที่อา นและศึกษา เปนตัวอยา งความประพฤติ การดําเนินชีวิตวาอะไรผิด อะไรถูก อยางไรดี อยา งไรเหมาะสม วรรณกรรม ทองถ่ินจะทําหนา ท่ตี วั อยางแบบแผนและความประพฤติของชาวบา นใหถูกตอ งสอดคลองกับขอตกลงของ สังคม ชมุ ชน ตามกฎหมายระเบียบประเพณีอันดีงาม 2. คุณคาดานสุนทรียศาสตรหรือความงามความไพเราะ วรรณกรรมทองถ่ินจะใหคุณคา ดา นความงามความไพเราะของถอยคํา ใชค าํ สมั ผัสคลองจอง ความไพเราะของทว งทํานองของเพลง บทกวี เมื่อฟงหรืออานจะทาํ ใหเกิดจินตนาการ เกิดความซาบซ้งึ ในอารมณความรูสกึ 3. คณุ คา ภาษา วรรณกรรมทองถ่นิ จะเปน ส่ือทท่ี ําใหภ าษาถิน่ ดาํ รงอยูและชวยใหภ าษาถ่ินพัฒนา อยูเ สมอมีการคิดคนสรางสรรค ถอ ยคําภาษา เพื่อสื่อความในวรรณกรรมทองถิ่น ท้ังเพลงพ้ืนบา น บทกวี

63 ซอภาษิต จะมีกลวิธีการแตงท่ีนาสนใจ มีการเลนคําซ้ําคําทอ งถิ่น ถอยคําที่นํามาใชม ีเสียงสูงต่ํา มีเสียงไพเราะ ฟงแลว ร่นื หู 4. คุณคา ดา นการศึกษา วรรณกรรมทอ งถ่ินประเภทตําราคําสอน นิทานนอกจากจะให ความบนั เทงิ แลว ยงั จะใหความรูทกุ แขนง ทง้ั ศลิ ปวัฒนธรรม อาชพี และเสริมสรางปญ ญา โดยเฉพาะปรศิ นา คําทายจะใหท งั้ ความรู ความบนั เทิงเสริมสรา งสติปญญา 5. คุณคาดา นศาสนา วรรณกรรมทองถิ่นจะเปนสื่อถายทอดคําสอนและปรัชญาทางศาสนา เผยแพรส คู นในชุมชนทอ งถิน่ ใหคนชมุ ชนใชเ ปน เครอ่ื งยดึ เหนี่ยวทางจิตใจ ใหแนวคิดในการดํารงชีวิต เชน นิทานชาดกตาง ๆ เปน ตน 6. คณุ คา ดา นเศรษฐศาสตร วรรณกรรมประเภทตาํ รายา ตําราพยากรณ การทําพิธบี ายศรสี ขู วัญ หรือบทสวดในพธิ กี รรมตาง ๆ สามารถนาํ มายึดเปน อาชีพได วรรณกรรมเกยี่ วกับคาํ ภาษาสามารถชวยให ประหยดั อดออมได 7. คุณคาทางสังคมไดร ับความบันเทิงสนุกสนาน วรรณกรรมทองถิ่นจะปลูกฝง คานิยม ในการผูกมิตรผูกสัมพันธข องคนในทองถนิ่ การอยรู วมกนั อยา งมกี ารพงึ่ พาซงึ่ กนั และกนั สรางความสามัคคี ในหมูคณะใหขอ คิดคติธรรมท่ีเก่ียวของกับชวี ิตความเปนอยกู ารทาํ มาหากินและสง่ิ แวดลอ ม เปนตน 8. คุณคาดานประวัติศาสตรโบราณคดีและความเปนมาของชุมชนแตละทองถิ่น เชน วรรณกรรมประเภทตํานาน ไดแก ตํานานเก่ียวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตํานานช่ือบา นชื่อเมือง เปนตน การวิเคราะหค ุณคา ของวรรณกรรมทอ งถิ่นจะพิจารณาจากคุณคา ดา นตา ง ๆ ดังกลา วมา ซงึ่ วรรณกรรมแตละเรอื่ ง แตล ะประเภทยอ มจะใหค ณุ คาแตกตางกนั การศกึ ษาวรรณกรรมทองถนิ่ ท่จี ะเกิด ประโยชนจะตอ งพิจารณา วนิ ิจ วิเคราะห และนาํ ไปใชไ ดอ ยางเหมาะสมจึงเปน หนาที่ของเยาวชนท่ีจะถือ เปน ภารกจิ ทจ่ี ะตองชวยกันอนรุ กั ษวรรณกรรมทม่ี ีคาเหลา นีไ้ ว และชวยกนั สืบทอดใหคนรุน หลงั ไดม ีโอกาส เรยี นรู ศึกษาและพัฒนาเพื่อความเปน เอกลักษณของชาตติ อ ไป มารยาทในการอาน มารยาทเปนวัฒนธรรมทางสังคม เปนความประพฤติที่ดีเหมาะสมท่ีสังคมยอมรับและยกยอ ง ผูมีมารยาทคือ ผูท ีไ่ ดร ับการอบรมสง่ั สอน ขัดเกลามาดีแลว มารยาทในการอา นแมจะเปน เรอ่ื งเล็ก ๆ นอ ย ๆ ที่บางคนอาจไมร ูสึก แตไมค วรมองขาม มารยาทเหลาน้จี ะเปนเครอ่ื งบงช้ใี หเ หน็ วาบคุ คลนน้ั ไดร บั การอบรม สัง่ สอนมาดีหรอื ไม อยา งไร ดังเชน ภาษิตท่ีวา “สําเนียงสอ ภาษากรยิ าสอสกลุ ” มารยาทท่วั ๆ ไปในการอาน มดี ังนี้ 1. ไมค วรอา นเรอื่ งท่ีเปนสว นตวั ของบุคคลอน่ื เชน จดหมาย สมุดบันทกึ 2. ในขณะทม่ี ผี อู านหนังสอื ไมควรชะโงกไปอานขา งหลงั ใหเปนทรี่ ําคาญและไมค วรแยง อา น 3. ไมอ า นออกเสียงดงั ในขณะท่ีผอู ืน่ ตองการความสงบ 4. ไมแ กลงอา นเพ่อื ลอ เลียนบุคคลอื่น 5. ไมค วรถอื วิสาสะหยิบหนังสืออื่นมาอานโดยไมไ ดรบั อนุญาต

64 6. ไมอ านหนงั สือเม่ือยูใ นวงสนทนาหรือมกี ารประชุม 7. เมอื่ อานหนังสือในหอ งสมุดหรือสถานทซ่ี ง่ึ จดั ไวใหอ า นหนงั สอื โดยเฉพาะ ไมส ง เสยี งดงั ควรปฏิบตั ติ ามระเบยี บกฎเกณฑของสถานทเ่ี หลา นั้นอยา งเครง ครดั การปลกู ฝง การรกั การอา น 1. ตองทําความเขาใจกับเรื่องท่ีอา นใหช ัดเจนแจมแจง จับใจความเร่ืองท่ีอานไดต ลอดทั้งเรื่อง และตอ งเขา ใจเน้ือหาใหถูกตองดว ย 2. ใหไ ดรบั รสชาติจากการอา น เชน เกิดความซาบซ้ึงตามเนอื้ เร่ือง หรือสาํ นวนจากการประพันธ น้ัน ๆ เกดิ อารมณรว ม เหน็ ภาพพจนต ามผปู ระพันธ 3. เห็นคณุ คา ของเรื่องท่อี า น เกดิ ความสนใจใครต ิดตาม ดังน้ันการเลือกอา นในสิ่งที่สนใจก็เปน เหตุผลหนึง่ ดว ย 4. รจู ักนําส่งิ ทีเ่ ปน ประโยชนจ ากหนังสือไปใชใหไดเ หมาะสมกบั ตนเอง 5. รจู ักเลอื กหนงั สอื ที่อา นไดเหมาะสมตามความตอ งการและโอกาส คณุ สมบัตเิ หลา น้ี เปน เบ้ืองตนทจ่ี ะปลูกฝง ใหรกั การอา น

65 บทท่ี 4 การเขยี น สาระสําคัญ การศึกษาหลักเกณฑการเขียนใหเขาใจ ปฏิบัติตามหลักและวิธีการเขียน กระบวนการเขียน เพ่ือการส่ือสาร เขียนคํา ขอความใหถ ูกตอ ง เลือกใชค ําไดเ หมาะสม สื่อความหมายไดชัดเจน จะชวยให การส่ือสารดวยการเขียนมีประสทิ ธภิ าพ ผูเ ขียนมีมารยาทและรกั การเขยี น ผลการเรียนรูทคี่ าดหวัง ผเู รยี นจะสามารถ 1. เขียนจดหมาย เขียนเรียงความ เขียนยอ ความ เขยี นบนั ทกึ เขยี นรายงาน เขียนประกาศ เขียนใบสมัครงาน เขียนสารคดี บนั เทงิ คดี เขยี นคําอวยพร เขยี นโครงการ เขียนคํากลาวรายงาน 2. แตงคาํ ประพนั ธ ประเภท กาพย กลอน โคลง ฉันท รา ย ได 3. มารยาทและสรางนสิ ยั รักการเขยี น ขอบขา ยเนอื้ หา เร่อื งที่ 1 หลักการเขยี น เรือ่ งที่ 2 หลกั การแตง คําประพนั ธ เรอื่ งท่ี 3 มารยาทและนสิ ยั รักการเขยี น

66 เรือ่ งท่ี 1 หลกั การเขียน ความหมายและความสาํ คญั ของการเขยี น การเขยี น คอื การแสดงความรู ความคดิ อารมณค วามรสู กึ และความตองการของผูส ง สารออกมา เปน ลายลักษณอักษร เพือ่ ใหผรู ับสารอานเขาใจไดรับความรู ความคิด อารมณ ความรูส ึก และความตองการ ตาง ๆ เหลานน้ั การเขยี นเปนพฤติกรรมของการสงสารของมนุษย ซ่ึงมีความสําคัญไมย่ิงหยอนไปกวา การสง สาร ดว ยการพดู และการอา น เพราะการเขยี นเปนลายลักษณอ กั ษรหรือตวั หนังสอื จะคงทนถาวรและกวางขวาง กวาการพูด และการอาน การที่เราไดท ราบความรูค วามคิดและวิทยาการตาง ๆ ของบุคคลในยุคกอน ๆ กเ็ พราะมนุษยร ูจกั การเขยี นสัญลักษณแ ทนคาํ พดู ถา ยทอดใหเราทราบ การเขยี นเพ่ือสงสารมีประสิทธภิ าพมากนอยแคไหนนนั้ ยอ มข้ึนอยูกบั ผสู ง สารหรอื ผูเขียนซง่ึ จะตอง มคี วามสามารถในหลายดาน ทัง้ กระบวนการคิด กระบวนการเขียน ความสามารถในดา นการใชภาษาและ อ่ืน ๆ ดงั น้ี 1. เปน ผมู ีความรูในเรอ่ื งท่ีจะเขยี นเปน อยา งดี มีจดุ ประสงคใ นการถา ยทอด เพือ่ จะใหผอู า นไดร ับ สิง่ ใดและทราบพ้ืนฐานของผูร บั สารเปน อยางดดี วย 2. สามารถเลือกรูปแบบและกลวิธีในการเขียนไดเหมาะสมกับเนื้อหาและโอกาส เชน การเขียน คําช้ีแจงก็เหมาะที่จะเขียนแบบรอยแกว หากเขียนคําอวยพรในโอกาสตา ง ๆ อาจจะใชก ารเขียนแบบ รอยกรองเปน โคลง ฉันท กาพย กลอน จะเหมาะสมกวา เปน ตน 3. มีความสามารถในการใชภาษา โดยเฉพาะภาษาเขยี นทั้งการเขยี นคําและขอ ความตามอกั ขรวิธี รวมทั้งการเลือกใชถ อยคําสํานวนตาง ๆ 4. มคี วามสามารถในการศกึ ษาคน ควาและการฝกฝนทกั ษะการเขียน 5. มีศิลปะในการใชถอ ยคําไดไพเราะเหมาะสมกับเนื้อหา หรอื สารทต่ี อ งการถายทอด หลกั การเขยี นท่ดี ี 1. เขยี นตัวหนังสอื ชดั เจน อา นงาย เปนระเบยี บ 2. เขยี นไดถกู ตองตามอักขรวธิ ี สะกดการนั ต วรรณยกุ ต วางรปู เคร่ืองหมายตา ง ๆ เวนวรรคตอน ไดถกู ตอ ง เพ่อื จะสื่อความหมายไดตรงและชัดเจน ชวยใหผอู านเขาใจสารไดดี 3. เลือกใชถอยคําไดเหมาะสม สื่อความหมายไดดี กระทัดรดั ชดั เจนเหมาะสมกับเน้ือหา เพศ วัยและระดับของผอู า น 4. เลือกใชสํานวนภาษาไดไ พเราะ เหมาะสมกับความรู ความคิด อารมณ ความรูส ึก ท่ีตอ งการ ถา ยทอด 5. ใชภาษาเขยี นไมค วรใชภ าษาพูด ภาษาโฆษณา หรือภาษาทไี่ มไดมาตรฐาน 6. เขียนไดถกู ตองตามรปู แบบและหลกั เกณฑของงานเขยี นแตละประเภท

67 7. เขยี นในสงิ่ สรางสรรค ไมเขยี นในสง่ิ ท่จี ะสรางความเสียหาย หรอื ความเดือดรอนใหแ กบุคคลและ สังคม การท่ีจะสือ่ สารดว ยการเขียนไดดี ผเู ขียนตอ งมีความสามารถในดานการใชภ าษาและตองปฏิบัติ ตามหลักการเขียนทด่ี ีมีมารยาท การเขยี นรูปแบบตา ง ๆ รูปแบบการเขียน งานเขียนในภาษาไทยมี 2 รูปแบบ คือ งานเขียนประเภทรอยกรองกับ งานเขียนประเภทรอ ยแกว ซง่ึ ผูเรียนไดเคยศึกษามาบา งแลว ในระดับมัธยมศึกษาตอนตน ในท่ีน้ีจะพูดถึง งานเขียนประเภทรอ ยแกวท่ีผูเรียนจําเปนตอ งใชในชีวิตประจําวัน เชน การเขียนจดหมาย การเขียน เรียงความ การเขียนยอความ การจดบันทึกและการเขียนแสดงความคิดเห็น และงานเขียนประเภท รอ ยกรองบางประเภทเทานน้ั การเขยี นจดหมาย การเขียนจดหมาย เปน วธิ ีการที่นิยมใชเพื่อการสื่อสารแทนการพูด เม่ือผูสง สารและผูร ับสารอยู หา งไกลกัน เพราะประหยัดคา ใชจาย มีลายลักษณอักษรเปน หลักฐานสง ถึงกันไดสะดวกทุกพ้ืนที่ จดหมาย ทเ่ี ขียนตดิ ตอกนั มหี ลายประเภทเปนตน วา จดหมายสวนตัว เปนจดหมายทเ่ี ขยี นถึงกันระหวางญาติมิตร หรือครูอาจารย เพื่อสง ขาวคราว บอกกลา วไตถ ามถึงความทุกขสุข แสดงถงึ ความรัก ความปรารถนาดี ความระลึกถึงตอกัน รวมท้ังการเลาเร่ือง หรือเหตกุ ารณทสี่ าํ คัญ การขอความชว ยเหลอื ขอคาํ แนะนําซง่ึ กนั และกนั จดหมายกิจธุระ เปนจดหมายท่บี คุ คลเขียนตดิ ตอ กบั บคุ คลอนื่ บริษทั หางรา นและหนว ยงานอืน่ ๆ เพื่อแจงกิจธุระ เปน ตนวา การนัดหมายขอสมัครงาน ขอความชว ยเหลือและขอคําปรึกษา เพ่ือประโยชน ในดานการงานตาง ๆ จดหมายธรุ กจิ เปน จดหมายที่เขียนติดตอกันในเรื่องธุรกิจ และการเงินระหวา งบริษัท หางรา น และองคการตา ง ๆ จดหมายราชการ หรือหนังสือราชการ เปนจดหมายที่ติดตอกันเปน ทางราชการจากสวนราชการ หนึ่งถึงอีกสวนราชการหน่ึงขอ ความในหนังสือถือวาเปนหลักฐานทางราชการและมีสภาพผูกมัดถาวร ในราชการ จดหมายราชการจะมีเลขที่ของหนังสอื มีการลงทะเบียน รบั -สง ตามระเบียบของงานสารบรรณ การเขยี นจดหมายแตละประเภทจะมลี ักษณะแตกตา งกนั ไป แตโดยทว่ั ไปจะมีแนวโนมในการเขยี น ดงั น้ี 1. สวนประกอบของจดหมายทส่ี ําคญั คอื ทอ่ี ยขู องเจา ของจดหมาย วนั เดอื น ป ท่เี ขียนขอความ ท่ีตอ งการสือ่ สาร คาํ ขน้ึ ตน และคําลงทาย 2. ใชภ าษาท่ีส่ือความหมายตรง ชัดเจน สั้น กะทัดรัดไดใ จความ เพื่อใหผูรับจดหมายไดท ราบ อยา งรวดเร็ว การเขยี นแบบนมี้ กั ใชใ นการเขียนจดหมาย กจิ ธรุ ะ จดหมายธรุ กจิ และจดหมายราชการ

68 3. ใชถอ ยคําภาษาในเชิงสรางสรรค เลือกเฟน ถอยคําใหนาอาน ระมัดระวังในการใชถ อยคํา การเขียนลักษณะน้เี ปน การเขียนจดหมายสวนตวั 4. จดหมายที่เขียนติดตอ เปนทางการตองศึกษาวา ควรจะสง ถึงใคร ตําแหนง อะไร เขียนชื่อ ชื่อสกุล ยศ ตําแหนง ใหถ กู ตอง 5. ใชค าํ ข้ึนตน และคําลงทา ยใหเ หมาะสมกบั ผรู ับตามธรรมเนยี ม 6. กระดาษและซองเลือกใชใหเ หมาะสมกับประเภทของจดหมาย ถา เปนจดหมายท่ีสงทาง ไปรษณีย จะตองเขียนนามผูสง ไวม ุมซองบนดานซายมือ พรอ มที่อยูและรหัสไปรษณีย การจาหนาซอง ใหเ ขยี น หรือพมิ พชือ่ ท่ีอยูข องผรู บั ใหชัดเจนและอยา ลืมใสรหัสไปรษณียด ว ย สว นดวงตราไปรษณยี ใ หป ด ไว มุมบนขวามือ คา ไปรษณียากรตองใหถ ูกตองตามกาํ หนด การเขยี นเรียงความ การเขยี นเรียงความเปนรูปแบบการเขียนอยางหนึ่ง ซ่ึงจะตอ งใชศ ิลปะในการเรียบเรียงถอ ยคํา ภาษาใหเ ปนเน้อื เร่อื ง เพอื่ ถายทอดขอเท็จจรงิ ความรู ความรูส ึก จินตนาการและความเขาใจดว ยภาษาท่ี ถกู ตองสละสลวยการจะเขียนเรียงความไดด ีผูเ ขียนจะตองศึกษารูปแบบ กฏเกณฑใหเขา ใจและฝก เขียน เปนประจาํ การเขียนเรียงความ มีสว นสําคญั 3 สว น คือ สวนที่ 1 ความนาํ หรือคาํ นาํ ความนาํ เปน สวนแรกของการเขียนเรียงความ ซ่ึงผูรูไดแนะนําใหเ ขียนหลังจากเขียนสว นอื่น ๆ เสรจ็ เรียบรอ ยแลว และจะไมซํ้ากบั ขอความลงทา ยหรอื สรุป ความนําของการเขียนเรียงความจะทําหนาท่ี ดงั นี้ 1. กระตนุ ใหผ ูอา นเกิดความสนใจตอเน่ืองของเรอ่ื งนน้ั ๆ 2. ปพู ื้นฐานความเขาใจใหก ับผูอาน หรอื ชใ้ี หเห็นความสาํ คญั ของเรอื่ งกอนทีจ่ ะอานตอ ไป 3. บอกขอบขายเน้ือเร่ืองนนั้ ๆ วา มขี อบขา ยอยางไร สว น 2 เนอ้ื เรอื่ งหรือตวั เรื่อง การเขียนเนื้อเร่ือง ผูเรียนจะตอ งดูหัวขอเรื่องที่จะเขียนแลวพิจารณาวา เปนเรื่องลักษณะใด ควรต้ังวตั ถุประสงคข องการเขียนเรียงความอยา งไร เพอื่ ใหข อ เทจ็ จรงิ แกผูอา น เพ่อื โนมนาวใจใหผูอานเช่ือ หรอื คลอ ยตาม เพ่ือใหความบันเทิง หรือ เพ่ือสงเสริมใหผูอ า นใชค วามคิดของตนใหกวางขวางขึ้น เม่ือได จดุ ประสงคใ นการเขยี น ผเู รยี นจะสามารถกาํ หนดขอบขายของหัวขอเร่อื งท่ีจะเขียนได

69 สว นที่ 3 บทสรุปหรอื ความลงทา ย การเขียนบทสรุป หรือความลงทาย ผูรูไดแ นะนําใหเขียนหลังจากเขียนโครงเรื่องเสร็จแลว เพราะความลงทา ยจะทําหนาทยี่ า้ํ ความสําคัญของเร่ือง ชวยใหผูอานจดจาํ สาระสาํ คัญในเรอื่ งน้ไี ด หรือชวย ใหผอู า นเขา ใจจุดประสงคข องผเู ขยี นอีกดว ย วิธีการเขยี นความลงทายอาจทาํ ได ดังน้ี 1. สรุปความท้ังหมดทนี่ าํ เสนอในเรือ่ ง ใหไ ดสาระสาํ คญั อยางชัดเจน 2. นาํ เรื่องทเ่ี ปน สว นสาํ คญั ทสี่ ดุ ในเนือ้ เร่ืองมากลาวยาํ้ ตามจุดประสงคข องเร่ือง 3. เลือกคํากลา วท่นี าเชื่อถือ สุภาษติ คําคมท่ีสอดคลอ งกบั เรอ่ื งมาเปน ความลงทาย 4. ฝากขอคดิ และแนวปฏบิ ัติใหกบั ผูอ า น เพ่อื นาํ ไปพิจารณาและปฏบิ ัติ 5. เสนอแนวคิดหรือขอ ใครค รวญลักษณะปลายเปด ใหผูอา นนาํ ไปคิดและใครค รวญตอ ลักษณะของเรยี งความที่ดี ควรมีลกั ษณะที่เปน เอกภาพ สมั พนั ธภาพ และสารตั ถภาพ เอกภาพ คือ ความเปน อนั หน่งึ อนั เดียวกนั ของเรอ่ื งไมเขียนนอกเรอื่ ง สัมพันธภาพ คือ มีความสัมพันธก ันตลอดเร่ือง หมายถึง ขอ ความแตละขอความหรือแตละ ยอ หนา จะตอ งมีความสมั พันธเกย่ี วเนื่องกนั โดยตลอด สารตั ถภาพ คือ การเนนสาระสาํ คัญของยอหนาแตละยอหนา และของเรอ่ื งทง้ั หมด โดยใชถอ ยคาํ ประโยค ขอ ความท่กี ระชบั ชัดเจน สอื่ ความเร่อื งทัง้ หมดไดเ ปนอยางดีย่งิ การเขยี นยอความ การยอ ความ คอื การนาํ เรือ่ งราวตา ง ๆ มาเขยี นใหมด ว ยสาํ นวนภาษาของผยู อเอง เม่ือเขียนแลว เน้ือความเดมิ จะสั้นลง แตย ังมใี จความสาํ คัญครบถว นสมบรู ณ การยอ ความน้ี ไมม ีขอบเขตวาควรจะสนั้ หรอื ยาวเทา ใดจึงจะเหมาะ เพราะบางเรื่องมีพลความมากก็ยอ ลงไปไดม าก แตบางเร่ืองมีใจความสําคัญมาก กอ็ าจยอได 1 ใน 2 หรอื 1 ใน 3 หรอื 1 ใน 4 ของเรือ่ งเดิมตามแตผยู อจะเหน็ สมควร ใจความสําคัญ คือ ขอความสําคัญในการพูด หรือการเขียน พลความ คือ ขอ ความท่ีเปน รายละเอยี ดนาํ มาขยายใจความสาํ คัญใหชัดเจนยิง่ ขึ้น ถา ตัดออกผูฟง หรอื ผอู านก็ยงั เขาใจเร่ืองนนั้ ได หลกั การยอความ จากสิง่ ทไ่ี ดอ า น ไดฟง 1. อา นเนื้อเร่อื งทจ่ี ะยอ ใหเขาใจ อาจมากกวา 1 เท่ียวกไ็ ด 2. เมื่อเขา ใจเร่ืองดีแลว จึงจับใจความสําคัญทีละยอหนา เพราะ 1 ยอหนาจะมีใจความสําคัญ อยางเดียว 3. นําใจความสาํ คญั แตละยอ หนา มาเขียนใหมดวยภาษาของตนเอง โดยคํานึงถงึ สิง่ ตา ง ๆ ดงั น้ี 3.1 ไมใชอกั ษรยอ ในขอ ความทยี่ อ 3.2 ถามีคาํ ราชาศพั ทใ นเรอ่ื งใหคงไวไ มตองแปลออกเปน คําสามญั 3.3 จะไมใ ชเครอื่ งหมายตา ง ๆ ในขอ ความท่ยี อ เชน อัญประกาศ 3.4 เน้ือเรอ่ื งท่ยี อ แลว โดยปกตเิ ขยี นติดตอ กันในยอหนาเดยี วและควรมคี วามยาวประมาณ 1 ใน 4 ของเรือ่ งเดิม

70 4. คํานําในการอา นยอความ ใหใ ชแ บบคํานํายอความ ตามประเภทของเรื่องที่จะยอโดยเขียน คํานําไวยอ หนา แรก แลวจึงเขยี นขอ ความท่ยี อ ในยอ หนา ตอ ไป การเขยี นบันทกึ การเขียนบันทึกเปนวธิ ีการเรียนรแู ละจดจาํ ทดี่ ี นอกจากนข้ี อ มูลทถ่ี ูกบันทึกไวยังสามารถนาํ ไปเปน หลักฐานอางอิงเพ่ือประโยชนอืน่ ตอ ไป เชน การจดบันทึกจากการฟง การบันทึกจากการฟง หรือการประสบพบเห็นดวยตนเอง ยอ มกอใหเกิดความรู ในท่ีน้ีใครขอ แนะนําวิธีจดบันทึกจากการฟง และจากประสบการณตรง เพื่อผูเ รียนจะสามารถนําไปใชประโยชนใน การศกึ ษาดว ยตนเองไดว ธิ หี นงึ่ วิธจี ดบนั ทึกจากการฟง การจดบันทึกจากการฟงจะไดผ ลดีเพียงใดขนึ้ อยูกับสมรรถภาพในการฟงของผูจ ดบันทึกในขณะท่ี ฟง อยนู ัน้ เราไมส ามารถจดจาํ คําพดู ไดทุกคาํ ดังน้นั วิธีจดบนั ทกึ จากการฟง จงึ จาํ เปนตองรจู กั เลอื กจดเฉพาะ ประเด็นสําคัญ ใชห ลักการอยา งเดียวกับการยอความนั่นเอง กลาวคือ ตองสามารถแยกใจความสําคัญ ออกจากพลความได ขอความตอนใดทไี่ มสาํ คญั หรือไมเก่ียวขอ งกบั เร่อื งน้ันโดยตรงก็ไมจ ําเปนตอ งจดและ วธิ ีการจดอาจใชอ ักษรยอ หรือเครอื่ งหมายท่ใี ชก ันทัว่ ไปเพือ่ บนั ทกึ ไวไดอ ยางรวดเร็ว เชน ร.ร. แทน โรงเรียน ร.1 แทน รัชกาลที่ 1 > แทน มากกวา ผเู รียนอาจใชอ ักษรยอ หรอื เครอ่ื งหมายของผูเรยี นเองโดยเฉพาะ แตทัง้ นี้จะตอ งใหเปน ระบบ จะไดไ มสับสนภายหลงั ผูฟงจับความรูส ึก หรือเจตนาของผูพ ูดในขณะท่ีฟงดวยวามีจุดประสงคเชน ไร เมื่อบันทึกใจ ความสําคัญไดค รบถวนแลว ควรนําใจความสําคัญเหลานั้นมาเรียบเรียงเสียใหม อน่ึงในการเรียบเรียงนี้ อยา ทง้ิ เวลาใหเ น่ินนานจนเกนิ ไป เพราะผูจดยังสามารถจาํ ขอ ความบางตอนท่ีไมไดจดไว จะไดเ พ่ิมเติมความรู และความคิดไดอ ยางสมบูรณ บนั ทึกการประชุม การดําเนินกิจกรรมตาง ๆ ในปจจุบันมักจะมีการประชุมเพ่ือปรึกษาหารือกันกอนเสมอและในการ ประชุมทกุ ครั้งจะตองมีผูจดบนั ทกึ การประชุมเพ่อื เปนหลักฐาน บนั ทกึ การประชมุ มรี ูปแบบ ดังตัวอยา งตอ ไปน้ี

71 บันทึกการประชุม การประชมุ (ลงชอ่ื คณะกรรมการหรือช่อื การประชุมนัน้ ๆ) คร้งั ที่ (ลงครง้ั ทีป่ ระชุม) เม่อื (ลงวนั ท่ี เดือน พ.ศ. ท่ีประชุม) ณ (ลงช่อื สถานท่ที ป่ี ระชุม) ผูเขา ประชมุ 1. เขยี นชอ่ื ผมู าประชุม.................................................................................. 2. .................................................................................................................. 3. .................................................................................................................. ฯลฯ ผขู าดประชมุ 1. เขยี นรายชอ่ื หรือจํานวนผูที่ไมม าประชมุ ................................................. 2. .................................................................................................................. 3. .................................................................................................................. ฯลฯ เร่มิ ประชมุ เวลา (ลงเวลาทีเ่ รม่ิ ประชุม) ขอ ความ (เรม่ิ ดว ยประธานกลา วเปดการประชมุ การอา นรายงาน (บันทึก) การประชุมคร้ังท่ีแลว (ถาม)ี ทปี่ ระชมุ รบั รอง หรอื แกไขอยางไร แลวถงึ เร่อื งทจ่ี ะประชุมถามีหลายเร่ืองใหยกเร่ืองที่ 1 เร่ืองที่ 2 และตอ ๆ ไปตามลาํ ดบั และใหม ีมตขิ องทปี่ ระชุม (ทุกเรือ่ ง) เลิกประชุม (ลงเวลาเลกิ ประชุม).................................................................................. (ลงชือ่ ...................................................ผบู ันทึกการประชุม) ศพั ทเฉพาะทใี่ ชในกิจกรรมการประชมุ ทค่ี วรรบู างคํา 1. ผเู ขาประชุม หมายถึง ผูท ีไ่ ดรบั เชิญ หรือไดร บั การแตงตง้ั ใหเ ปน ผูมีสทิ ธเิ ขาประชมุ เพ่อื ทาํ หนาท่ีตา ง ๆ เชน ทาํ หนาทเ่ี ปนผูนําการประชมุ เปน ผเู สนอความคดิ เหน็ ตอ ทป่ี ระชมุ เปนผจู ดบันทกึ การประชมุ เปนตน 2. วาระ หมายถึง เรื่องหรือหัวขอ หรือประเด็นปญ หาตาง ๆ ที่ตองหาคําตอบ หาขอยุติหรือวิธีแกไข โดยจดั เรียงลําดับเรอื่ งตามความเหมาะสม 3. ขอ เสนอ ในการประชุมถา ขอใหท ่ีประชุมพิจารณาเร่ืองใดเรื่องหน่ึง มีศัพทเ ฉพาะเพื่อใชบอก ความประสงควา เสนอและเรียกเร่อื งทเ่ี สนอวา ขอ เสนอ

72 4. สนับสนุน คัดคาน อภิปราย ขอเสนอท่ีมผี เู สนอตอทปี่ ระชุมนั้น ผูเขาประชมุ มสี ิทธิเห็นดวย หรือไมเ ห็นดวยกไ็ ด ถาเหน็ ดว ย เรียกวาสนับสนุน ไมเ ห็นดว ยเรียกวาคัดคาน การแสดงความคิดเห็น เพ่ือสนับสนุนหรือคัดคานขอเสนอ เรียกวา การอภปิ รายใหต รงประเดน็ และมเี หตผุ ลสนับสนนุ อยางชดั เจน 5. มติ คอื ขอตดั สนิ ใจของท่ปี ระชมุ เพ่อื นําไปปฏบิ ัติ เรยี กวา มติทป่ี ระชมุ การเขยี นบนั ทึกประจําวัน วธิ เี ขยี นอาจแตกตางกันออกไป แตมแี นวทางในการเขียน ดังนี้ 1. บันทกึ เปนประจาํ ทุกวันตามความเปน จริง โดยมีสมดุ บันทึกตา งหาก 1 เลม 2. บอกวนั เดอื นปท่บี นั ทึกไวอ ยางชดั เจน 3. การบันทกึ อาจเร่ิมจากเชาไปค่ํา โดยบนั ทกึ เร่ืองท่สี าํ คญั และนา สนใจ 4. การบนั ทกึ อาจแสดงทรรศนะและความรูสกึ สวนตวั ลงไปดวย 5. การใชภาษาไมมรี ูปแบบตายตวั สว นใหญใ ชภาษางาย ๆ สนกุ สนาน ท้ังนี้ข้ึนอยูก ับความพอใจ และบุคลกิ ของผูบันทึกเอง วิธีจดบนั ทกึ จากประสบการณต รง ความรบู างอยา งเราไมอ าจหาไดจากการอาน หรอื การฟง ตอ งอาศัยการไปดแู ละสังเกตดว ยตนเอง เรยี นจากประสบการณต รง วธิ กี ารจดบนั ทกึ จากการสงั เกตของจริงนัน้ คลายกบั การบนั ทึกจากการอานและ การฟงนั่นเอง กลา วคอื เราตองรจู กั สงั เกตสิ่งท่ีสาํ คญั ๆ สังเกตดคู วามสัมพันธของสงิ่ ตางๆ ที่เราเห็นนั้นวา เกย่ี วขอ งกนั อยา งไรมีลกั ษณะอยา งไร แลว บันทึกเปน ขอ มูลไวใ นสว นของขอสงสยั หรอื ความคดิ เห็นเราอาจ บนั ทกึ ไว เมอื่ นาํ บนั ทกึ ทไ่ี ดจ ากการสงั เกตมาเรียบเรียงใหมนั้นควรระบุเร่ืองที่จะบันทึก วัน เวลา สถานที่ หากมีขอ สังเกตหรือความคิดเห็นประการใด ใหเรียบเรียงไวในตอนทาย ทั้งน้ีควรเขียนใหร วบรัด ใหร ายละเอียดเฉพาะทีจ่ ําเปน และไมใ ชถอ ยคําทีฟ่ ุมเฟอ ย ในชีวติ ประจําวนั เราไดรับสารจากวิธีการสอ่ื สารหลายประเภท ไมวาจะเปนหนังสอื วิทยุ โทรทัศน หรืออาจเปนสิง่ ทีเ่ ราไดเห็นและประสบมาดวยตนเอง ถาเราเพียงแตจดจําสิ่งเหลานั้นโดยไมไ ดจ ดบันทึก กอ็ าจจะลมื และอยูไดไ มน าน แตถ ามกี ารจดบนั ทกึ ไวก ็จะชว ยใหอยูไ ดนานวนั ขนึ้ การเขียนรายงาน รายงานการศึกษาคนควา เปนการเขียนเสนอเพื่อรายงานการศึกษาคนควาเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง โดยเฉพาะ โดยกอ นเขียนจะตองมีการศึกษาคนควา จัดระบบและเรียบเรียงเปนอยา งดีขั้นตอนการเขียน รายงานการคนควา 1. เลือกเร่ือง หรือประเด็นท่ีจะเขียน ซึ่งเปน เรื่องที่ตนสนใจ กําลังเปนท่ีกลาวถึงในขณะนั้น เรอื่ งแปลกใหมน าสนใจ จะไดร บั ความสนใจมากข้ึน 2. กาํ หนดขอบเขตทจี่ ะเขยี นไมก วาง หรอื แคบจนเกนิ ไป สามารถจดั ทําไดใ นเวลาท่กี าํ หนด

73 3. ศกึ ษาคน ควาและเก็บรวบรวมขอ มูลอยางเพียงพอทั้งจากเอกสาร การสัมภาษณ การสังเกต หรอื จากสอ่ื มวลชนตา ง ๆ เปน ตน 4. บันทึกขอมลู ทไ่ี ดค นควาพรอ มแหลงทีม่ าของขอมลู อยางละเอยี ด โดยจดบันทึกลงในบัตรหรือ สมุดบนั ทึก ทง้ั น้เี พอื่ นาํ มาเขียนเชิงอรรถและบรรณานกุ รมในภายหลงั 5. เขียนโครงเร่ืองอยา งละเอยี ด โดยลาํ ดับหัวขอ ตา ง ๆ อยางเหมาะสม 6. เรียบเรยี งเปนรายงานท่เี หมาะสม โดยมรี ปู แบบของรายงานท่ีสําคัญ 3 สวนคอื 6.1 สวนประกอบตอนตน 6.1.1 หนาปกรายงาน 6.1.2 คาํ นาํ 6.1.3 สารบัญ 6.1.4 บัญชีตาราง หรอื ภาพประกอบ (ถามี) 6.2 สว นเนอ้ื เรือ่ ง 6.2.1 สว นท่ีเปน เนือ้ หา 6.2.2 สว นประกอบในเนอ้ื หา 6.2.2.1 อญั ประกาศ 6.2.2.2 เชงิ อรรถ 6.2.2.3 ตารางหรอื ภาพประกอบ (ถาม)ี 6.3 สว นประกอบตอนทาย 6.3.1 บรรณานุกรม 6.3.2 ภาคผนวกหรืออภธิ านศพั ท (ถาม)ี การใชภ าษาในการเขียนรายงาน 1. ใชภาษากะทดั รดั เขาใจงา ย และตรงไปตรงมา 2. ใชภาษามาตรฐาน ตามธรรมเนยี มนยิ ม 3. เวน วรรคตอนอยางถูกตอ งเหมาะสม เพอ่ื ใหเ นอื้ ความกระจางชัด เขาใจงาย 4. การเขียนทั่ว ๆ ไป ควรใชศพั ทธ รรมดา แตใ นกรณที ต่ี อ งใชศพั ทเ ฉพาะวิชา ควรใชศัพทท ่ีไดรับ การรับรองแลว ในแขนงวิชาน้ัน ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งศัพทซ่ึงคณะกรรมการบัญญัติศัพทภ าษาไทย ของราชบญั ฑิตสถานไดบัญญตั ไิ วแ ลว 5. การเขียนยอหนาหนึ่ง ๆ จะตอ งมีใจความสําคัญเพียงอยางเดียว และแตล ะยอ หนาจะตองมี ความสัมพนั ธตอเนอ่ื งกันไปจนจบ

74 การเขียนประกาศ ประกาศ หมายถึง การบอกกลาว หรือช้ีแจงเรือ่ งราวตาง ๆ ใหส าธารณชน หรือผูเ กี่ยวขอ งทราบ ผูรบั ขอมลู ไดทราบจากสอื่ มวลชนตาง ๆ เชน วทิ ยุ โทรทศั น หนังสือพิมพ หรอื จากฝา ยโฆษณาใบปลวิ เปนตน ลักษณะของประกาศทผ่ี ูเ ขียนจะไดพบเสมอ ๆ แบง ไดเ ปน 2 แบบ คือ 1. แบบประกาศท่ีเปน ทางการ ประกาศลักษณะน้ีมักออกจากหนวยงานราชการรัฐวิสาหกิจ หรอื องคกรตาง ๆ สวนมากจะเปนเรื่องเกีย่ วกับกลมุ คนสวนใหญ รูปแบบการเขียนมักจะมีประเด็นสําคัญ ดังนี้ คือ 1.1 ชื่อหนว ยงานหรือองคก รที่ออกประกาศ 1.2 เรื่องท่ปี ระกาศ 1.3 เนื้อความท่ปี ระกาศ สวนใหญจ ะมรี ายละเอียดอยางนอ ย 2 สวนคอื 1.3.1 เหตุผลความเปนมา 1.3.2 รายละเอยี ด เงื่อนไข และขอเสนอแนะตาง ๆ 1.4 วนั เดอื นปท ีป่ ระกาศน้ันจะมีผลบงั คบั ใชน บั ตง้ั แตเวลาที่ปรากฏในประกาศ 1.4.1 การลงนามผปู ระกาศ คือ ผมู ีอํานาจในหนวยงานทเ่ี ปนเจา ของประกาศนนั้ 1.4.2 ตําแหนง ของผปู ระกาศ 2. ประกาศที่ไมเ ปน ทางการ ประกาศลักษณะนี้มักออกจากบริษัท หางรา น หรือของบุคคลใด บุคคลหนึง่ จะมีจดุ ประสงคเ ฉพาะเรอ่ื ง เชน ประกาศรบั สมัครงาน ประกาศของหาย ประกาศลักษณะน้ี จะมีเฉพาะขอ มูลที่จําเปน ทั้งน้ี สวนใหญจะเปน การประกาศในหนาหนังสือพิมพซ ่ึงตอ งประหยัดเนื้อที่ โฆษณา เนื่องจากคา โฆษณามรี าคาสูง การเขียนโฆษณา การโฆษณาสนิ คาบรกิ ารเปนการสง สารโนม นาวใจตอ สาธารณชน เพอ่ื ประโยชนในการขายสินคา หรอื บรกิ ารตา ง ๆ ซึ่งมลี ักษณะดังนี้ 1. บทโฆษณาจะมีสว นนาํ ที่สะดดุ หู สะดดุ ตา ซง่ึ มีผลทําใหส ะดดุ ใจสาธารณชน ดว ยการใชถ อยคาํ แปลก ๆ ใหม ๆ อาจเปน คาํ สัมผสั อักษร คําเลยี นเสียงธรรมชาติ 2. ไมใชถอยคาํ ที่ยดื ยาว ครอบคลุมเนื้อหาอยางครบถวน มักใชเปน รูปประโยคสั้น ๆ หรือวลีสั้น ๆ ทําใหผ อู า นรบั รูไดอยางฉับพลนั 3. เนื้อหาจะชี้ใหเ ห็นถึงความดี วิเศษของคุณภาพ ของสินคาหรือบริการ สวนมากจะเนน ความเปนจริง เชน “ทนทานปานเหล็กเพชร” 4. ผโู ฆษณาจะพยายามจบั จุดออนของมนุษย โดยจะโนม นาวใจในทํานองที่วาถา ใชเ ครื่องสาํ อางค ชนดิ น้แี ลว ผิวพรรณจะเปลงปลงั่ บาง เรอื นรางจะสวยมเี สนห บ าง 5. เนือ้ หาการโฆษณา มกั ขาดเหตผุ ล ขาดความถูกตองทางวิชาการ 6. การโฆษณาจะปรากฏทางสื่อชนดิ ตาง ๆ ซํา้ ๆ กันหลายครงั้ หลายหน

75 การเขยี นคําอวยพร พร คือ คําทแี่ สดงความปรารถนาดี ที่บุคคลจะพึงกลา วแกผ ูอ ื่น ในการเขียนคําอวยพรตองเขียน ใหเหมาะสมกับโอกาส เชน อวยพรในวันขึ้นปใ หม อวยพรในการทําบุญข้ึนบา นใหม อวยพรในงานมงคล สมรส อวยพรผทู ล่ี าไปศกึ ษาตอ ณ ตางประเทศ นอกจากคาํ นงึ ถึงโอกาสทจ่ี ะกลาวคําอวยพรแลว ตอ งคํานงึ ถงึ บุคคลทจี่ ะรบั พรวา เปนผูอ ยูใ นฐานะใด เปน คนเสมอกนั หรือเปนผูมีอาวุโสสูงกวาหรือตา่ํ กวาผูพดู คาํ อวยพรมใี หเปนรายบุคคลหรือใหแ กหมูคณะ ทง้ั น้ี เพือ่ จะไดเ ลือกใชถอยคําใหถกู ตองเหมาะสมเปน กรณไี ป มีขอเสนอแนะ ดงั นี้ 1. ในการแตง คาํ อวยพรสาํ หรับโอกาสตา ง ๆ พรท่ใี หกันกม็ กั เปน สง่ิ อันพงึ ปรารถนา เชน พรสี่ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ความสําเรจ็ ในกจิ การงาน ความสมหวัง ความมเี กยี รติ เปน ตน ท้งั นี้ แลวแตผ อู วยพรจะเหน็ วาสิ่งใดเหมาะสมท่ีจะนํามากลา ว โดยเลือกหาคําทไ่ี พเราะ มคี วามหมายดี มาใชแตง ใหไดเ นือ้ ความตามทีป่ ระสงค 2. ถาเปน การอวยพรญาติมิตร ที่มีอายุอยูใ นวัยใกลเ คียงกันก็กลาวอวยพรไดเลย แตถ า เปน ผูท ี่สูงกวา ดวยวัยวุฒิ คุณวุฒิ และชาติวุฒิ ก็ควรอางสิ่งท่ีตนเคารพนับถือ หากเปน พุทธศาสนิกชน ก็อางคุณพระศรรี ัตนตรยั ใหด ลบันดาลพร เพื่อความเปน สิรมิ งคลแกผทู ไ่ี ดรับพร การเขียนโครงการ การทํางานขององคกรหรือหนวยงานตาง ๆ นั้นจําเปนตองมีโครงการเพ่ือบอกเหตุผลของการ ทาํ งานนั้น บอกวัตถุประสงค เปา หมาย วิธีการดําเนินงาน ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณที่ใช บุคคลท่ี รบั ผิดชอบ เพือ่ ใหการทาํ งานน้ันดําเนินไปดว ยดี ขอใหด ูตวั อยา งโครงการและศกึ ษาแนวการเขียนโครงการ ในแตละหัวขอ ใหเขา ใจ

76 ยกตัวอยา งโครงการที่เปน ปจจบุ ัน โครงการประชมุ สมั มนาคณะกรรรมการบรหิ ารองคก ารบรหิ ารสว นตําบล (อบต.) ภาคตะวนั ออก ประจาํ ปง บประมาณ 2551 ……………………………………. 1. หลกั การและเหตผุ ล ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง ชาติ ฉบบั ที่ 8 ไดก ําหนดทศิ ทางการพัฒนาประเทศทั้งใน ทศวรรษหนาและในชวง พ.ศ. 2540 - 2544 ใหเนนคนเปนศูนยกลาง หรอื เปนจดุ หมายหลักของการพัฒนา ทัง้ นีเ้ พือ่ นาํ ไปสวู ิสัยทัศน “ครอบครัวอบอนุ ชุมชนเขมแข็ง สงั คมมีสมรรถภาพ เสรภี าพ ความยตุ ิธรรมและ มีการพฒั นาที่สมดุล บนพื้นฐานของความเปนไทย” ซึ่งจะเปน การพัฒนาในลักษณะท่ีตอเนื่องและย่ังยืน ทําใหค นไทยสวนใหญม ีความสุขท่ีแทจ ริงในระยะยาว และองคก ารบริหารสวนตําบลซึ่งเปนหนว ยงาน บรหิ ารราชการสวนทอ งถิ่นทจี่ ดั ขน้ึ ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองคก ารบริหารสว นตําบล พ.ศ. 2537 มหี นาทใ่ี นการสงเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สง เสรมิ การพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน โดยมีอํานาจ อสิ ระในการดาํ เนินกิจกรรม กาํ หนดแผนงาน และการใชง บประมาณของตนเอง หากองคการบรหิ ารสวน- ตําบลไดรวมจดั และสงเสริมการศกึ ษาในตําบลอยางแทจ ริงแลวกจ็ ะทาํ ใหก ารพัฒนาคุณภาพของคนเปน ไป อยางมีประสิทธภิ าพ ทัดเทียมนานาอารยประเทศท่ีเจริญแลว กรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงไดรวมกับ สํานักคณะกรรมการการประถมศกึ ษาแหง ชาติ มอบหมายใหศนู ยการศกึ ษานอกโรงเรียนภาคตะวนั ออก จัดสัมมนาคณะกรรมการบริหารองคการบริหารสวนตาํ บลขน้ึ 2. วัตถปุ ระสงค 2.1 เพ่ือใหคณะกรรมการบริหาร อบต. มีความรูความเขา ใจเกี่ยวกับการศึกษาทั้งในระบบ โรงเรยี นและนอกระบบโรงเรียน 2.2 เพื่อใหค ณะกรรมการบริหาร อบต. มีสวนรว มในการวางแผน และจัดกิจกรรมการศึกษา ในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกระบบโรงเรียน 2.3 เพ่ือใหค ณะกรรมการบริหาร อบต. มีความเขาใจเก่ียวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง ชาติ ฉบบั ที่ 8 มีสวนในการพัฒนาสังคม เด็ก สตรี และครอบครัว รวมกับ ศนู ยบริการการศกึ ษานอกโรงเรียนอําเภอ(ศบอ.) และเกดิ การขยายผลอยางตอ เนื่อง 3. เปา หมาย 3.1 เชิงปรมิ าณ กลุมเปา หมายทง้ั ส้นิ 115 คน ประกอบดวย 3.1.1 ประธาน อบต. จังหวัดละ 3 คน 9 จงั หวัด จํานวน 27 คน 3.1.2 ปลดั อบต. จงั หวัดละ 3 คน 9 จงั หวัด จาํ นวน 27 คน 3.1.3 หน.ศบอ. จังหวัดละ 3 คน 9 จังหวัด จาํ นวน 27 คน 3.1.4 ผูอํานวยการศูนยการศกึ ษานอกโรงเรยี น จังหวัด (ศนจ.) จาํ นวน 9 คน

77 3.1.5 เจาหนา ท่ีศูนยก ารศกึ ษานอกโรงเรียนจังหวัด จาํ นวน 9 คน 3.1.6 เจา หนาท่ีศูนยการศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวนั ออก จํานวน 7 คน 3.1.7 พนกั งานขบั รถยนต ของ ศนจ. จํานวน 9 คน รวม 115 คน 3.2 เชงิ คณุ ภาพ กลมุ เปาหมายมคี วามรูค วามเขา ใจเก่ียวกับงานการศึกษามีสวนรวมในการสนับสนุนและจัดการ ศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน เพื่อพัฒนาสังคม เด็ก สตรี และครอบครัวอยา งแทจ ริงและ ขยายผลอยางตอ เนือ่ ง 4. วธิ ีดาํ เนนิ การ 4.1 ขัน้ เตรยี มการ 4.1.1 ศึกษา สํารวจ รวบรวมขอมูล 4.1.2 ขออนมุ ตั ิโครงการ 4.1.3 ประสานงานผูเกีย่ วของ 4.1.4 ดําเนนิ การประชมุ สัมมนา 4.2 ข้นั ดาํ เนินการ 4.2.1 จดั ประชุมสมั มนาจํานวน 2 วัน 4.2.2 รวบรวมแผนพฒั นาของ อบต. เกีย่ วกบั การจัดการศกึ ษา เพ่อื นาํ เสนอผูเกี่ยวของ 4.2.3 ตดิ ตาม ประเมนิ ผลการดําเนินงานรวมกบั หนว ยงานทเ่ี ก่ยี วขอ ง 5. ระยะเวลา/สถานท่ี 5.1 จัดประชุมสัมมนา ระหวา งวันท่ี 24 - 25 สิงหาคม 2551 ณ โรงแรมสตาร อําเภอเมือง จงั หวัดระยอง 5.2 ติดตาม ประเมนิ ผล ภายในเดือนกนั ยายน 2551 พ้ืนที่ 9 จงั หวัดในภาคตะวนั ออก 6. งบประมาณ ใชง บประมาณประจําป 2551 หมวดคา ตอบแทน ใชส อย วัสดุ งานพัฒนาคุณภาพการศึกษา นอกโรงเรียน กรมการศกึ ษานอกโรงเรียน จาํ นวนเงนิ 140,000 บาท มรี ายละเอียด ดังน้ี คา ใชสอยและวัสดใุ นการประชมุ สัมมนา - คาที่พัก 115 x 425 = 48,875.- บาท - คา อาหารวา งและเคร่ืองดม่ื 115 x 100 x 2 = 23,000.- บาท - คาอาหารกลางวัน 115 x 120 x 2 = 27,600.- บาท - คาอาหารเย็น 115 x 150 = 17,250.- บาท - คาตอบแทนวิทยากร 600 x 2 ชว่ั โมง = 1,200.- บาท - คา ตอบแทนวิทยากร 600 x 0.75 ชัว่ โมง = 450.- บาท - คา นํา้ มันเชือ้ เพลงิ = 1,000.- บาท

78 - คา วสั ดุ = 20,675.- บาท หมายเหตุ ทกุ รายการขอถวั จา ยตามท่ีจา ยจริง 7. เครอื ขา ย/หนวยงานท่ีเกีย่ วของ - ศูนยการศกึ ษานอกโรงเรียนจังหวัดในภาคตะวนั ออก - ศนู ยบรกิ ารการศึกษานอกโรงเรยี นอาํ เภอในภาคตะวนั ออก - หนว ยงานสังกัดกรมการปกครองในภาคตะวันออก 8. การประเมินผลโครงการ - ประเมนิ ระหวางการประชมุ สมั มนา - ประเมินหลงั การประชุมสัมมนา - สรปุ และรายงานผลการประชุมสัมมนา 9. ผรู บั ผดิ ชอบโครงการ นางญาณศิ า เจรรี ตั น งานโครงการพิเศษ ฝา ยนโยบายและแผนงาน ศูนยก ารศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวนั ออก 10. ความสมั พนั ธก บั โครงการอน่ื - โครงการพฒั นาเครอื ขา ย - โครงการพฒั นาบคุ ลากร - โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกโรงเรยี น - โครงการจัดกิจกรรมการศกึ ษานอกโรงเรียนในศูนยการเรียนชมุ ชน (ศรช.) 11. ผลทีค่ าดวา จะไดรบั ศบอ.มสี วนในการวางแผนพัฒนาการจัดการศกึ ษานอกโรงเรยี น รวมกบั อบต.ไดต รงตามนโยบาย ของรัฐบาล ตลอดทง้ั สามารถขยายผลการพฒั นาในพื้นทไ่ี ดอยางมปี ระสิทธผิ ล ผูขออนุมตั ิโครงการ ผเู ห็นชอบโครงการ ผูอนมุ ตั โิ ครงการ (นางญานศิ า เจรรี ตั น) (นางสาวสุรภี สกลุ รัตน) (นายชวี ติ อจุ วาที) อาจารย 2 ระดบั 6 ผชู ว ยผอู าํ นวยการ ศนภอ. ผูอาํ นวยการ ศนภอ. การเขยี นคํากลา วรายงาน การเขยี นคาํ กลาวรายงานในการเปด หรือปดการประชุมสมั มนานัน้ จะมี 2 สวน คือ คาํ กลาวรายงานของเจาของงาน และคาํ กลาวเปดของประธานการเปดหรอื ปดการประชุม

79 คํากลาวรายงานและคํากลาวเปด 1. คํากลาวรายงานพธิ ีเปดการประชมุ สมั มนาจะกลาวถึงรายละเอยี ด หรอื มีแนวทางการเขียน ดงั น้ี 1.1 คําขึ้นตนนยิ มใชคาํ วา “เรียน….” และขอบคณุ 1.2 บอกกลา วผูเ ขาประชมุ และหนว ยงานหรือสถานะของผเู ขาประชมุ พรอมทั้งบอกจํานวน ผูเขารวมประชุม 1.3 บอกวตั ถุประสงคของการประชมุ 1.4 บอกระยะเวลาของการประชมุ 1.5 บอกวทิ ยากรบุคคล หนว ยงานท่มี สี วนรว ม มสี ว นเก่ยี วขอ งชวยเหลือสนบั สนนุ 2. คาํ กลา วเปด การประชมุ มแี นวทางในการเขยี น ดงั น้ี 2.1 คาํ ขน้ึ ตน หรือคาํ ทักทาย จะเอยชอื่ บุคคลตาํ แหนงของผูเ ขาประชมุ 2.2 บอกถึงความรสู กึ ขอบคุณบุคคล วทิ ยากรหรือหนวยงานที่เก่ียวของชว ยเหลอื 2.3 บอกขอ เสนอแนะแนวทางขอ คิดเห็นที่เปนประโยชนต อ การประชมุ 2.4 อวยพรและแสดงความปรารถนาดที ีจ่ ะใหการประชมุ บรรลผุ ลตามวตั ถุประสงค สวนคํากลา วรายงานและคํากลาวปด การประชุม ก็จะมีลักษณะคลา ยกัน แตจะมีรายละเอียด เกย่ี วกับผลของการดําเนินงานการประชุมเพม่ิ เขามา และมีการมอบวฒุ ิบัตรหรอื ของทรี่ ะลกึ อกี เทานัน้

80 ตัวอยาง คํากลาวรายงานในพธิ ีเปดการประชุมสัมมนา คณะกรรมการบรหิ ารองคก ารบรหิ ารสว นตําบล (อบต.) ภาคตะวนั ออก ปงบประมาณ 2551 ณ โรงแรมสตาร อาํ เภอเมอื ง จังหวดั ระยอง วันที่ 26 สงิ หาคม 2551 .................................... เรียน ทา นประธาน ผูอ ํานวยการศนู ยก ารศกึ ษานอกโรงเรยี นภาคตะวนั ออก ผอู าํ นวยการศนู ยการ ศกึ ษานอกโรงเรยี นจงั หวดั หัวหนา ศูนยบริการการศึกษานอกโรงเรียนอําเภอ ปลัด อบต. ประธาน อบต. เจาหนาท่ีศูนยการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ดิฉัน นางสาวสุรภี สกุลรตั น ในฐานะผูจัดการประชุมสัมมนารูส ึกเปนเกียรติอยา งย่ิงที่ทา นไดให เกียรตมิ าเปนประธานในการประชมุ สัมมนาครัง้ นี้ การประชุมสัมมนาคร้งั นปี้ ระกอบดวยผปู ระชุมสัมมนาจํานวน 99 คน ดงั นี้ - ผูอ ํานวยการศูนยก ารศกึ ษานอกโรงเรยี นจงั หวดั ในภาคตะวนั ออก 9 ทา น - หวั หนา ศูนยบรกิ ารการศกึ ษานอกโรงเรียนอาํ เภอในภาคตะวนั ออก 27 ทา น - ปลดั อบต.จากจังหวัดในภาคตะวนั ออก 27 ทา น - ประธาน อบต. จากจงั หวัดในภาคตะวนั ออก 27 ทา น - เจา หนา ท่ศี นู ยการศึกษานอกโรงเรยี นจงั หวดั ในภาคตะวันออก 9 ทาน วตั ถปุ ระสงคของการประชุมสมั มนา 1. เพ่อื ใหคณะกรรมการบรหิ าร อบต. มีความรูความเขาใจเก่ยี วกับงานการศึกษานอกโรงเรียน 2. เพ่ือใหค ณะกรรมการบริหาร อบต. มีสวนรว มในการวางแผนและจัดกิจกรรมการศึกษานอก โรงเรียน 3. เพื่อใหค ณะกรรมการบริหาร อบต. มคี วามเขา ใจเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย ในสวน ของการพฒั นาสังคม เด็ก สตรี และครอบครวั รวมกบั หนวยงานการศกึ ษานอกโรงเรยี น วทิ ยากรในการประชมุ สมั มนาประกอบดวย - ผอู าํ นวยการศูนยก ารศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก - ผตู รวจราชการสวนทองถิ่นจงั หวัดระยอง - รองประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรภี าคตะวันออก ในโอกาสน้ี ดฉิ นั ขอเรียนเชิญทา นประธานไดก รณุ ากลา วเปดการประชมุ และบรรยายพิเศษตามท่ี ทานเห็นสมควร ขอเรียนเชิญ

81 ตวั อยา ง คาํ กลาวของประธาน พิธเี ปด การประชมุ สัมมนาคณะกรรมการบรหิ ารองคก ารบรหิ ารสว นตาํ บล (อบต.) ภาคตะวันออก ปงบประมาณ 2551 วันท่ี 26 สงิ หาคม 2551 ณ โรงแรมสตาร อาํ เภอเมอื ง จงั หวดั ระยอง ................................................ ทาน ผูอ ํานวยการศูนยก ารศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ทา นหัวหนาศูนยบ ริการการศึกษานอก โรงเรยี นอําเภอ ทานปลดั อบต. ทา นประธาน อบต. เจา หนา ที่ศนู ยก ารศึกษานอกโรงเรียนจงั หวดั ทุกทาน ผมมคี วามยนิ ดีทไี่ ดมาเปน ประธานในการประชุมสัมมนา คณะกรรมการบรหิ ารองคการสว นตําบล (อบต.) ภาคตะวันออก ปงบประมาณ 2551 ในวันน้ี นบั วา เปน โอกาสที่ดีที่งานการศึกษานอกโรงเรียนไดม ี โอกาสรวมประชุมสัมมนากับหนวยงานทางดานการปกครอง โดยเฉพาะเปนหนวยงานการปกครอง สวนทองถิ่น ที่สามารถนําประโยชนท่ีไดจ ากการประชุมสัมมนา ไปใชใ นการพัฒนาทองถ่ินไดโดยตรง ในปจจุบนั การศกึ ษาเปนส่งิ จําเปนอยา งยิ่งตอการพัฒนาทุกดา น เน่ืองจากเปน ส่ิงท่ีจะชว ยใหเ รามีความรู ความเขา ใจทถี่ ูกตองไดง ายโดยเฉพาะในชมุ ชน ถา สมาชิกไดรับการศึกษานอยอาจจะเปน สาเหตุหน่ึงทําให ชุมชนประสบกบั ปญหาตา ง ๆ ทัง้ ทางดา นความปลอดภยั ดานสขุ ภาพ และปญ หาสังคมอ่ืน ๆ ที่จะตามมา โดยไมคาดคดิ หนวยงานของทางราชการไมว า จะเปนหนว ยงานทางการศึกษา หรือหนว ยงานทางการปกครอง ยอ มตอ งมีภาระรับผิดชอบในการรวมกันพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ ดังนั้นถาหนวยงานของเรามี การรวมมือกันเปน อยางดยี อมจะกอ ใหเ กิดประโยชนมหาศาลแกสังคมและประเทศชาตไิ ด ในการประชุมสัมมนาครัง้ น้ี ผมหวังเปนอยา งยิ่งวาผูเ ขา ประชุมสัมมนาทุกทานคงจะตั้งใจและให ความสนใจตลอดระยะเวลาของการประชุมสัมมนา เพื่อนําความรูแ ละประสบการณท ี่ไดไปปรับใชใน การพัฒนาทอ งถ่ินตามความเหมาะสมและศักยภาพของชุมชน ขอขอบคุณวิทยากร เจาหนา ที่ศูนยก ารศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก ผูอํานวยการศูนย การศกึ ษานอกโรงเรียนจังหวดั และผูท่ีเกี่ยวของทุกทา น ท่ีชวยทําใหโครงการนี้ดําเนินไปดว ยความเรียบรอ ย ในโอกาสนีผ้ มขออาราธนาคณุ พระศรีรตั นตรยั และพระบารมขี องพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห ัว จงดลบันดาล ใหผเู ขาประชุมสมั มนาทกุ ทา นจงประสบแตค วามสุข ความเจรญิ และขอใหการประชมุ สัมมนาคร้ังน้ีดําเนิน ไปอยา งสัมฤทธิผล ผมขอเปดการประชมุ สัมมนาคณะกรรมการบริหารองคก ารบริหารสว นตําบล (อบต.) ภาคตะวนั ออก ปงบประมาณ 2551 ณ บดั นี้

82 การเขยี นตัวเลขไทย ตวั เลขไทยเกดิ พรอมอกั ษรไทยมานานนับ 700 ป แตปจ จุบันมผี ูใชต ัวเลขไทยนอ ยมาก ดวยเหตุนี้ จึงมกี ารรณรงคเ พื่อใหเห็นคณุ คา และศิลปะของตัวเลขไทย ซ่ึงคนไทยควรภมู ิใจและใชอักษรไทยกบั เลขไทย เพ่ือดํารงไวซ ึ่งเอกลกั ษณทางภาษาไทยและเปน มรดกของชาติสืบไป ลกั ษณะการเขยี นตวั เลขไทย การเขียนตัวเลขไทยเขียนคลายกบั การเขียนอกั ษรคอื มีหัวมีหางแทบทกุ ตวั บางตัวคลา ยตัวอักษร เชน เลข ๓ คลาย ตวั ต เลข ๘ คลา ย ๘ (ไมไ ตค ู) เปน ตน การเขียน เลข ๙ ก็เขียนคลายกับตัวอักษรขอม คนจงึ ไมนิยมเขยี นเพราะมีความรูสกึ เขยี นยาก ไมคอยมีโอกาสไดใ ช ประกอบกับแบบฟอรมตา ง ๆ ที่ใหกรอก ขอ มูลมกั ใชเ ลขอารบิคเปน สว นใหญ เพื่อเปน การสรา งจิตสํานึกของคนไทยในการอนุรักษการใชเ ลขไทยและเอกลักษณของชาติไทย ควรดําเนินการ ดงั นี้ 1. สงเสริมใหเ ด็กเขียนเลขไทยต้ังแตร ะดับอนุบาลข้ึนไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เชน การเขยี น วนั ที่ เดือน พ.ศ. ในแบบฟอรม การกรอกขอมลู ตาง ๆ แลวฝก ใหเ ขยี นเลขไทย ๑ - ๑๐ แลวเพ่ิม จํานวนถงึ ๑๐๐ 2. ในการเขียนรายงานตา ง ๆ ไมว าจะเปนรายงานแบบเปน ทางการ หรือไมเ ปนทางการ ก็ใชเลขไทยรวมทั้งการกรอกขอมูลในบัตรประจําตัวประชาชน หรือการไปติดตอ ธุรกิจธนาคารควรใช เลขไทย 3. เขียนตวั เลขทพ่ี บเหน็ ในชีวติ ประจาํ วนั เปนตัวเลขไทย เชน บา นเลขที่ เลขทีซ่ อย เลขทะเบยี นรถ เบอรโ ทรศัพท ฯลฯ ควรเขียนเปน เลขไทย ฉะน้ันบุคคลทุกระดับ ทุกเพศทุกวัย ท้ังหนวยงานของรัฐและ เอกชนควรหันมาใชเ ลขไทยพรอมเพรียงกัน ซ่ึงเราคนไทยควรภูมิใจท่ีจะใชอักษรไทยกับเลขไทยคูกัน เพื่อเปน การสรางจิตสํานึกและแสดงเอกลกั ษณทางภาษาและวัฒนธรรมอันดีของชาติไทย 4. รฐั บาล สวนราชการ และหนวยงานท่เี กยี่ วของไมมกี ารกําหนดนโยบาย สั่งการใหส ว นราชการ และหนวยงานเอกชนใชตัวเลขไทยในหนังสอื ราชการและหนังสอื ติดตอราชการดว ย 5. รณรงคใ หป ระชาชนคนไทยใชเลขไทยในการเขียนและสื่อสารทุกประเภทตลอดเวลา ท้ังรณรงค ใหส่ือสารมวลชนใชต วั เลขไทยดวย การสงเสริมการใชเลขไทย ภาษาไทย เพ่ือเนนการสรางจิตสํานึกและ อนุรักษเอกลักษณไทยนั้น กระทรวงศึกษาธิการไดม ีหนังสือขอความรวมมือสว นราชการในกระทรวง ศึกษาธกิ ารตามหนังสือท่ี ศธ.o๒o๑ ๒/๔๓o ลงวันท่ี ๑๐ มกราคม ๒๕๔๖ ขอความรวมมือจากสวนราชการ เรื่องการใชเ ลขไทย เลขศักราช เลขปพ ุทธศักราช และอนุรักษภ าษาไทยเพื่อสรา งจิตสํานึกของคนไทยใน การอนุรักษเ อกลักษณข องชาติ ขอใหหนวยงานราชการใชเลขไทยในหนังสือราชการ ใชเลขศักราชเปน พุทธศักราช ในกิจกรรมทุกดา น ซ่ึงเปน นโยบายของรัฐบาลต้ังแตป  2543 ในฐานะที่เปนคนไทยคนหนึ่ง จงึ ตอ งรว มอนุรักษเ อกลกั ษณไ ทย ภาษาไทยดวยการใชเลขไทย

83 เรอื่ งที่ 2 หลักการแตง คาํ ประพนั ธ คําประพนั ธ หรอื รอยกรองมีหลายประเภท เชน โคลง กลอน กาพย ฉันท และรา ย บทรอ ยกรอง เปน ขอ ความทีป่ ระดดิ ประดอยตกแตง คาํ ภาษาอยางมีแบบแผนและมเี งอื่ นไขพิเศษบังคับไว เชน บงั คบั จาํ นวนคํา บังคบั วรรค บังคับสมั ผสั เรยี กวา “ฉันทลกั ษณ” แนวทางการเขยี นบทรอ ยกรองมดี งั นี้ 1. ศึกษาฉนั ทลกั ษณข องคําประพันธนน้ั ๆ ใหเขา ใจอยางแจมแจง 2. คดิ หรือจนิ ตนาการวา จะเขียนเร่ืองอะไร สรา งภาพใหเกิดขึ้นในหวงความคดิ 3. ลําดับภาพ หรือลาํ ดบั ขอความใหเปน อยา งสมเหตผุ ล 4. ถา ยทอดความรสู กึ หรอื จินตนาการน้นั เปนบทรอ ยกรอง 5. เลือกใชค ําทส่ี ่อื ความหมายไดช ัดเจน ทาํ ใหผ อู านเกดิ ภาพพจนและจินตนาการรว มกบั ผปู ระพนั ธ 6. พยายามเลอื กใชคาํ ท่ไี พเราะ เชน คดิ ใชคําวา ถวลิ ผูหญงิ ใชค ําวา นารี 7. แตงใหถ กู ตองตามฉนั ทลกั ษณของคาํ ประพันธ การเขียนโคลงสี่สุภาพ มีหลักการเขยี น ดังนี้ บทหน่งึ มี 4 บาท บาทหน่ึงมี 2 วรรค เรียก วรรคหนา กับวรรคหลัง วรรคหนา มี 5 พยางคท ุกบาท วรรคหลังของบาททห่ี นงึ่ ทส่ี องและท่ีสามมี 2 พยางค วรรคหลงั ของบาททสี่ มี่ ี 4 พยางค และอาจมคี าํ สรอย ไดในวรรคหลังของบาททห่ี นงึ่ และบาททีส่ าม มสี ัมผสั บังคบั ตามทก่ี าํ หนดไวในผังของโคลง ไมนยิ มใชสัมผัส สระ ใชแตส มั ผสั อักษร โคลงบทหน่งึ บงั คับใชคําท่ีมวี รรณยุกตเอก 7 แหง และวรรณยุกตโ ท 4 แหง คําเอก ผอนผนั ใหใ ชคาํ ตายแทนได ผังของโคลงส่ีสภุ าพ ๐๐๐๐๐  ๐๐ (๐๐) ๐๐๐๐๐ ๐๐  ๐๐๐๐ ๐ ๐๐ (๐๐) ๐๐๐ ๐๐ ๐๐ ๐ ๐๐ ตัวอยา งโคลงส่ีสุภาพ จากมามาล่ิวล้ํา ลาํ บาง บางยเ่ี รือราพลาง พ่พี รอง เรอื แผงชวยพานาง เมยี งมา น มานา บางบร ับคาํ คลอ ง คลา วนา้ํ ตาคลอ (นริ าศนรนิ ทร)

84 การเขยี นกลอนสภุ าพ มีหลักการเขยี น ดังนี้ บทหนงึ่ มี 4 วรรคหรอื 2 บาท ๆ ละ 2 วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคสง แตละ วรรคมี 8 พยางค หรอื 7 หรือ 9 พยางคกไ็ ด สัมผัส ใชพ ยางคสุดทายของวรรคทห่ี น่ึงสัมผัสกับพยางคท ่ี 3 หรือ 5 ของวรรคที่สองและพยางค สดุ ทายของวรรคท่สี อง สมั ผัสกบั พยางคสุดทายของวรรคท่สี าม พยางคสดุ ทา ยวรรคทส่ี ามสัมผัสกับพยางค ที่ 3 หรือ 5 ของวรรคที่สี่ และพยางคสุดทายของวรรคท่ีสี่ สัมผัสกับพยางคสุดทา ยของวรรคที่สองในบท ตอไป เรียกวา สัมผัสระหวางบท เสียงวรรณยุกตทีน่ ิยมในการแตง กลอนมีดงั นี้ คอื พยางคส ดุ ทา ยของวรรคที่สองตองใชเ สียงจัตวา หรือเสียงเอก หรือเสียงโท และพยางคส ุดทา ยของวรรคที่สี่ นิยมใชว รรณยุกตส ามัญ หรือเสียงตรี และ พยางคน ้ไี มนยิ มใชเสียงวรรณยุกตท ีซ่ ํ้ากบั พยางคส ุดทา ยของวรรคท่สี อง หรอื พยางคส ดุ ทายของวรรคที่สาม การเขียนจะเกิดประสิทธิภาพอยางแทจ ริงจําเปน อยางย่ิงท่ีผูเรียนจะตอ งมีความรูความเขาใจ ในงานเขียนทุกประเภท ทั้งงานเขียนท่ีเปน รอยแกว และรอยกรอง โดยเฉพาะอยางย่ิงงานที่เขียนเปน รอ ยกรองนน้ั ผูเ ขียนตอ งพยายามจดจาํ ฉันทลักษณของรอยกรองแตละชนิดใหถ ูกตอ งแมม ยาํ จงึ จะสามารถ สอื่ สารกับผูอ่ืนไดอ ยา งสมบรู ณ

85 การเขียนกาพย แบงออกเปน กาพยย านี กาพยฉ บงั กาพยสรุ างคนางค กาพยข บั ไม (1) กาพยยานี 11 มลี กั ษณะบังคบั ของบทรอ ยกรอง ดังน้ี คณะ คณะของกาพยย านมี ดี ังน้ี กาพยบทหนึง่ ท่ี 2 บาท บาทท่ี 1 เรียกวา บาทเอก บาทท่ี 2 เรียกวา บาทโท แตล ะบาทมี 2 วรรค คือ วรรคแรกและวรรคหลงั พยางค พยางคห รือคําในวรรคแรกมี 5 คํา วรรคหลังมี 6 คํา เปนเชนน้ีทั้งบาทเอกและ บาทโท จึงนับจํานวนไดบาทละ 11 คาํ เลข 11 ซ่ึงเขยี นไวหลงั ช่อื กาพยยานีนน้ั เพ่อื บอกจํานวนคํา ผังของกาพยย านี 1 บท สัมผัส มีสัมผัสเสนอระหวางคําสุดทา ยในวรรคหนึ่งไปคําท่ีสามอีกวรรคหน่ึง ดังผังขา งบน สว นสัมผัสในน้ันยืดหยนุ ได เสียงวรรณยุกต มขี อ สังเกตเก่ยี วกับการใชเสียงวรรณยุกตในกาพยย านีอยูบ างประการ คือ 1.1 คาํ สุดทา ยของวรรคหลงั ของบาทโท ใชเ สียงวรรณยกุ ตส ามัญและจัตวาสวนใหญ 1.2 ทใ่ี ชคาํ ตายเสยี งตรี หรือเอกก็มีบาง แตไ มคอยพบมากนกั วชิ าเหมอื นสินคา อันมีคาอยเู มอื งไกล ตอ งยากลาํ บากไป จงึ จะไดสินคามา จงต้ังเอากายเจา เปนสาํ เภาอันโสภา ความเพยี รเปน โยธา แขนซายขวาเปน เสาใบ น้ิวเปน สายระยาง สองเทาตา งสมอใหญ ปากเปนนายงานไป อชั ฌาศยั เปน เสบียง สติเปน หางเสอื ถือทายเรือไวใ หเท่ียง ถือไวอยาใหเอียง ตดั แลน เลย่ี งขา มคงคา ปญญาเปนกลอ งแกว สอ งดูแถวแนวหินผา เจา จงเอาหตู า เปนลา ตาฟง ดลู ม ข้เี กียจคือปลารา ย จะทาํ ลายใหเรือจม เอาใจเปนปน คม ยงิ ระดมใหจ มไป จึงจะไดส ินคามา คอื วิชาอนั พศิ มัย จงหมนั้ มน่ั หมายใจ อยา ไดค รานการวชิ า

86 2. กาพยฉบงั 16 มลี ักษณะบังคับของบทรอยกรอง ดังนี้ คณะ กาพยฉ บังบทหน่งึ มีเพียง 1 บาท แตม ี 3 วรรค คือ วรรคตน วรรคกลาง และวรรคทา ย พยางค พยางคหรือคําในวรรคตนมี 6 คํา วรรคกลางมี 4 คาํ วรรคทา ยมี 6 คํา รวมทัง้ บท มี 16 คํา จึงเขยี นเลข 16 ไวหลงั ชื่อกาพยฉ บัง ฉบังสบิ หกความหมาย หนึง่ บทเรียงราย นับไดส ิบหกพยางค เพ่ือเปนแนวทาง สมั ผัสรดั ตรึง สมั ผสั ชัดเจนขออาง รอยรัดจดั ทาํ ใหหนูไดคิดคํานงึ จงจํานาํ ไป พยางคสุดทา ยวรรคหนงึ่ อ.ภาทิพ ศรสี ุทธิ์ ประพนั ธ สุดทา ยวรรคสองตอ งจาํ สดุ ทายวรรคสามงามขาํ สัมผสั รดั บทตอ ไป บทหนึง่ กบั สองวอ งไว เรียงถอยรอ ยกาพยฉบงั 3. กาพยส รุ างคนางค มีลกั ษณะบังคับของบทรอ ยกรอง ดงั นี้ คณะ บทหน่งึ มี 7 วรรค เรยี งได 2 วธิ ีตามผัง ดงั นี้ สรุ างคนางค เจด็ วรรคจกั วาง ใหถูกวธิ ี วรรคหน่งึ สี่คาํ จงจําไวใ หด ี บทหนงึ่ จึงมี ยี่สิบแปดคาํ หากแตง ตอไป สมั ผัสตรงไหน จงใหแ มนยาํ คําทา ยวรรคสาม ติดตามประจํา สมั ผสั กับคํา ทายบทตน แล อ.ฐาปนีย นาครทรรพ ประพันธ

87 พยางค จํานวนคําในวรรค มีวรรคละ 4 คํา 7 วรรค รวมเปน 28 คํา จึงเขียนเลข 28 ไวหลังช่ือ กาพยส ุรางคนางค สมั ผสั 1. มสี ัมผัสบงั คบั หรอื สมั ผัสนอก ดังแสดงไวในผงั 2. เฉพาะหมายเลข (4) เปนสมั ผัสระหวา งบท 3. สัมผัสในยดื หยุนได บางทีก็เปน สัมผัสสระ บางทีก็เปนสัมผัสอักษร บางทีก็ไมม ีสัมผัสในเลย มุงเอาคาํ ทมี่ ีความหมายเปนใหญ ฉันท แบงเปน หลายชนิด เชน อินทรวเิ ชยี รฉนั ท ภุชงคประยาตฉันท วชิ ชมุ มาลาฉนั ท มาณวกฉันท วสันตดิลกฉันท อิทิ ฉันท เปน ตน และยังมีฉันทที่มีผูประดิษฐขึ้นใหมอ ีก เชน สยามมณีฉันท ของ น.ม.ส. เปนตน 1. อินทรวิเชียรฉนั ท 11 อนิ ทรวิเชยี รฉนั ท 11 มคี วามหมายวา “ฉันท ทีม่ ลี ลี าดจุ สายฟา ของพระอินทร เปนฉนั ทท นี่ ยิ มแตงกันมากท่ีสดุ มีลกั ษณะและจํานวนคําคลายกับกาพยยานี 11 แตต า งกันเพียงที่วาอินทร วิเชยี รฉนั ทน้ีมขี อบงั คบั ครุและลหุ 1. อนิ ทรวิเชียรฉนั ท 11 มลี ักษณะบังคบั ของรอ ยกรอง ดังนี้

88 ตัวอยางคาํ ประพนั ธ พศิ เสนสรรี รัว ยลเนือ้ ก็เนือ้ เตน กร็ ะริกระรวิ ไหว หติ โอเลอะหลงั่ ไป ทวั่ รางและท้งั ตวั ระกะรอ ยเพราะรอยหวาย และหลงั ละลามโล- เพงผาดอนาถใจ จาก สามคั คีเภทคําฉันท - ชิต บุรทตั คณะและพยางค อนิ ทรวเิ ชยี รฉนั ท บทหนึ่งมี 2 บาท เรียกบาทเอกและบาทโท แตล ะบาท มี 2 วรรค วรรคแรกมี 5 คาํ วรรคหลังมี 6 คาํ รวมเปน 11 คาํ ในแตล ะบาทเทา กบั กาพยย านี สัมผสั บังคับสัมผัส 3 แหง คือ 1. คาํ สดุ ทา ยของวรรคแรกในบาทเอก สัมผสั กับคาํ ท่ี 3 ในวรรคหลงั 2. คําสุดทายของวรรคหลังในบาทเอก สัมผัส กบั คาํ สดุ ทายในวรรคแรกของบาทโท 3. คําสุดทายของวรรคหลังในบาทโท สัมผัสกับคําสุดทา ยในวรรคหลังของบาทเอกของฉันท บทตอ ไป คร-ุ ลหุ มีการเรียง ครุ ลหุ ตามท่ีเขียนไวในแผน ถา จะดูเฉพาะลหุก็จะเห็นไดว าอยูที่คําท่ี 3 ของ วรรคแรกและคําท่ี 1,2,4 ของวรรคหลงั เปนเชนนที้ กุ วรรคไป แตละบาทจะมีครุ 7 ลหุ 4 อยูในตําแหนงที่ แนนอนไมเ ปลย่ี นแปลง 2. ภชุ งคประยาตฉนั ท 12 มลี ักษณะบงั คบั ของรอยกรอง ดังน้ี ภุชงประยาต หรือ ภุชงคปยาต “ภุชงค” แปลวา งู หรือ นาค “ประยาต” แปลวาอาการ หรอื อาการเล้อื ยของงู ภชุ งคประยาต จึงแปลวา ฉันททม่ี ลี ีลางดงามประดุจอาการเลื้อยของงู ผงั ภมู ิ ตัวอยาง นรินทรไทยมทิ อถอน มนัสไทยประณตไท มิพ่ึงบารมีบญุ บรุ ุษนําอนงคห นนุ มิผกู รกั มภิ ักดบ์ิ ร ประจญรว มประจัญบาญ ถลันจว งทะลวงจ้ํา ฉันทยอเกียรตชิ าวนครราชสีมา บุรษุ รุกอนงคร ุน

89 คณะและพยางค ภุชงคประยาฉนั ท บทหนึง่ มี 2 บาท แตล ะบาทมี 2 วรรค วรรคแรกและ วรรคหลังมจี าํ นวนคาํ เทากนั คอื มวี รรคละ 6 คํา รวม 2 วรรค เปน 12 คาํ มากกวา อินทรวเิ ชยี รฉันท เพียง 1 คําเทาน้นั สัมผัสบงั คบั เหมือนอินทรวเิ ชยี รฉนั ท แตกาํ หนดครุ ลหุ ตา งกันไปเล็กนอ ย สมั ผสั บงั คับสมั ผสั ตามผงั ดังท่ีโยงไวใ หด ู จงึ เห็นไดว า บงั คบั สมั ผสั เหมอื นอนิ ทรวิเชียรฉนั ท บางแหง กวอี าจใชสมั ผสั อักษรได คร-ุ ลหุ มกี ารเขียน ครุ ลหุ ตามทเ่ี ขียนไวในผัง ถา จะดูเฉพาะ ลหุ ก็จะเห็นไดวา อยูท ่ีคําที่ 1 และ คาํ ท่ี 4 ทกุ วรรค และเปน ระเบียบเชนนีไ้ มเ ปลี่ยนแปลง 5. รา ย แบงเปน รา ยโบราณ รา ยสุภาพ รา ยดั้นและรายยาว รา ยยาวที่เรารูจักดี คือ รา ยยาว มหาเวสสันดรชาดก รายยาว คือ รายไมมีกําหนดจํานวนคําในวรรคหนึ่ง ๆ วรรคทุกวรรคในรายอาจมีจํานวนคํา แตกตางกัน คอื มากบางนอ ยบา ง ใชแตงขน้ึ เปน บทเทศน เชน รายยาวมหาเวสสันดรชาดกเปนตนและราย ชนดิ น้ี ไมตองอาศยั คาํ ประพันธช นิดอืน่ เรื่องใดประพันธเ ปนรายยาว กใ็ หเ ปนรายยาวตลอดทั้งเร่อื ง ตัวอยาง อถ มหาสตฺโต ปางน้ันสมเด็จพระเวสสันดรอดุลดวงกษัตริย ตรัสทอดพระเนตรเห็น พระอัครเรสถงึ วิสัญญีภาพสลบลงวันนัน้ พระทัยทาวเธอสําคัญวาพระนางเธอวางวาย จัดเอาวารีมาโสรจ สรงลงท่ีพระอุระพระมัทรี หวังวาจะใหชุมช่ืนฟนสมปฤดีคืนมา แหงนางพระยาน้ันแล (รายยาวมหา เวสสนั ดรชาดก กัณฑม ทั รี) บญั ญัตริ ายยาว คณะ คําในวรรคหนง่ึ ๆ ไมจ ํากัดจํานวนแนน อน วรรคหนึ่งจะมีก่คี ํากไ็ ด สัมผสั คําสดุ ทา ยวรรคหนา สงสมั ผสั ไปยังคาํ ใดคําหน่ึงในวรรคตอไปและสงรับกันเชนนี้ตลอดไป จนจบราย คําสรอย สดุ ทา ยบทรา ยยาว ลงดวยคําสรอย เชน นน้ั เถดิ นน้ั แล น้ีเถดิ เปน ตน คณะและพยางค รา ยสภุ าพบทหนงึ่ ๆ มตี งั้ แต 5 วรรคขนึ้ ไป แตล ะวรรคมคี าํ 5 คํา จะแตง สกั กวี่ รรคกไ็ ด แตตอนตบตอ งจบดวยโคลงสอง สัมผัส มีสัมผัสสงทายวรรค และมีสัมผัสรับเปนเสียงวรรณยุกตเดียวกันตรงคําที่ 1-2-3 คําใด คาํ หน่ึงจนถึงตอนทาย พอจะจบก็สงสัมผัสไปยังบาทตนของโครงสองสุภาพตอ จากน้ันก็บังคับสัมผัสตาม แบบของโคลงสองสภุ าพ จึงถอื วาครบรา ยแตล ะบท สวนสมั ผสั ในนัน้ ไมบ ังคับ

90 คาํ เอก-คาํ โท มบี งั คับคําเอก คาํ โท เฉพาะทโี่ คลงสองสุภาพตอนทา ยบทเทาน้ัน คณะและพยางค รา ยสภุ าพบทหนึง่ ๆ มีตง้ั แต 5 วรรคขึ้นไป แตล ะวรรคมคี ํา 5 คํา จะแตง สกั กี่ วรรคกไ็ ด แตตอนจบตอ งจบดว ยโคลงสอง สัมผัส มีสมั ผัสสงทา ยวรรค และมสี มั ผสั รบั เปนเสยี งวรรณยกุ ตเ ดยี วกนั ตรงคาํ ที่ 1-2-3 คาํ ใด คําหน่ึงจนถึงตอนทาย พอจะจบก็สง สัมผัสไปยังบาทตนของโคลงสองสุภาพตอ จากน้ันก็บังคับสัมผัส ตามแบบของโคลงสองสภุ าพ จงึ ถือวา ครบรา ยแตล ะบท สวนสัมผัสในนัน้ ไมบ งั คับ คาํ เอก-คําโท มีบงั คบั คําเอก คําโท เฉพาะทโี่ คลงสองสภุ าพตอนทายบทเทานั้น คําสรอ ย รางสุภาพแตล ะบท มีคําสรอ ยไดเ พียง 2 คํา คือ สองคําสุดทายของบทตอจาก คาํ สุดทา ยของโครงสองสภุ าพ ตวั อยางรายสภุ าพ ขาเกา รายอยา เอา อยา รกั เหากวาผม อยา รกั ลมกวานํา้ อยา รักถาํ้ กวา เรือน อยารักเดือนกวาตะวัน สบสงิ่ สรรพโอวาท ผเู ปน ปราชญพงึ สดบั ตรบั ตรองปฏบิ ตั ิ โดยอรรถอันถอ งถวน (โคลงสอง) แถลงเลศเหตุเลอื กลว น เลิศอางทางธรรม แลนา ฯ (สภุ าษติ พระรวง)

91 เร่ืองท่ี 3 มารยาทและนิสัยรักการเขียน มารยาทในการเขยี น 1. ไมควรเขยี นโดยปราศจากความรเู ก่ียวกับเรอ่ื งนั้น ๆ เพราะอาจเกิดความผดิ พลาด หากจะเขียนกค็ วรศึกษาคน ควา ใหเ กิดความพรอ มเสยี กอน 2. ไมเ ขยี นเรอ่ื งท่สี งผลกระทบตอความม่ันคงของชาตหิ รือสถาบนั เบอื้ งสูง 3. ไมเ ขยี นเพ่ือมงุ เนน ทาํ ลายผอู ่ืน หรอื เพ่อื สรางผลประโยชนใ หแ กต น พวกพองตน 4. ไมเ ขยี นโดยใชอารมณสว นตัวเปนบรรทัดฐาน 5. ตองบอกแหลง ที่มาของขอมลู เดิมเสมอ เพ่อื ใหเกยี รตเิ จา ของขอมลู นน้ั ๆ การสรา งนิสยั รกั การเขยี น ในการเริม่ ตนของการเขียนอะไรก็ตาม ผูเ ขียนจะเขียนไมออกถาไมต ั้งเปาหมายในการเขียน ไวล วงหนา วา จะเขยี นอะไร เขียนทําไม เพราะการเขียนเร่ือยเปอ ยไมท ําใหงานเขียนนาอา นและถา ทําใหงาน ชน้ิ นนั้ ไมมีคุณคา เทาท่ีควร งานเขียนท่ีมีคุณคาคือ งานเขียนอยา งมีจุดหมาย มีขอ มูลขา วสารไรพ รมแดน ดังเชนในปจ จุบัน การมขี อ มูลมากยอมทาํ ใหเ ปน ผไู ดเปรียบผอู นื่ เปนอันมาก เพราะยุคปจ จุบันเปน ยุคแหง การแขง ขันกันในทุกทางโดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ ใครมีขอ มูลมากจะเปน ผูไดเ ปรียบคูแ ขง ขันอื่น ๆ เพราะการนําขอมูลมาใชป ระโยชนไ ดเร็วกวา นั้นเอง การหม่ันแสวงหาความรูเ พื่อสะสมขอมูลตาง ๆ ให ตัวเองมาก ๆ จึงเปน ความไดเปรียบ และควรกระทําใหเ ปนนิสัยติดตัวไป เพราะการกระทําใด ๆ ถาทํา บอ ย ๆ ทาํ เปนประจําในวันหนง่ึ ก็จะกลายเปน นสิ ยั และความเคยชนิ ที่ตอ งทาํ ตอ ไป การคน ควารวบรวมขอมลู เปน กิจกรรมทจ่ี ะทาํ ใหเกดิ ความสนกุ สนานทางวชิ าการ เพราะย่งิ คนควา ก็จะยิ่งทําส่ิงท่ีนา สนใจมากขึ้น ผูท่ีฝก ตนใหเ ปน ผูใครร ู ใครเรียน ชอบแสวงหาความรูจ ะมีความสุขมาก เมือ่ ไดศกึ ษาคนควาและไดพ บสิ่งแปลก ๆ ใหม ๆ ในภาษาไทย หรอื ในความรูแขนงอ่นื ๆ บางคน เมือ่ คน ควา แลวจะรวบรวมไวอ ยา งเปนระบบ สรุป การสรา งนิสยั รักการเขียนและการศึกษาคน ควาตองเร่ิมจากเปน ผหู มั่นแสวงหาความรู มใี จรัก ท่จี ะเขยี น เห็นประโยชนการเขียนและหมั่นฝก ฝนการเขยี นบอ ย ๆ กิจกรรมท่ี 1 ใหผูเ รยี นตอบคาํ ถามตอ ไปน้ี 1. การเขียนอะไร มคี วามสาํ คัญอยางไร 2. การจะเขียนเพอ่ื สงสารไดด ีจะตองทาํ อยา งไร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook