Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่องคุณธรรม

เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่องคุณธรรม

Published by 614143002, 2021-10-03 08:56:08

Description: เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่องคุณธรรม

Keywords: คุณธรรม,Virtue

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการเรียน คุณธรรม

หัวข้อ เนื้อหา ความหมาย คุณธรรม ความสำคัญ ของคุณธรรม ลักษณะ ของคุณธรรม ประโยชน์ ของคุณธรรม คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

ความหมายของ คุณธรรม คุณธรรม หมายถึง หลักของความดี ความ งาม ความถูกต้อง ซึ่งจะแสดงออกมาโดยการ กระทำ ทางกาย วาจาและจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจน เกิดเป็นนิสัยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่น และสังคมให้เกิดความรักสามัคคี ความอบอุ่น มั่นคงในชีวิต

ความสำคัญของ คุณธรรม 1. คุณธรรมเป็นเครื่องธำรงศักดิ์ของความเป็น มนุษย์ เราไม่คุณค่าของมนุษย์เป็นตัวเงิน แต่จะตีค่ากัน ด้วยคุณธรรม ผู้มีคุณธรรมจะเป็นผู้ที่ได้รับยกย่องว่า เป็นคนดี เป็นคนมีค่ามาก ส่วนผู้ไร้คุณธรรมอาจจะถูก ประณามว่า “เหมือนมิใช่คน” เป็นคนมีค่าน้อย 2. คุณธรรมเป็นเครื่องเสริมบุคลิกภาพ เช่น “ความซื่อตรง” ทำให้คนมีความสมบูรณ์ในความคิด และการกระทำ เพราะไม่มีความขัดแย้งกันระหว่าง ความคิด คำพูด และการกระทำ 3. คุณธรรมเป็นเครื่องเสริมมิตรภาพ เช่น “ความ จริงใจ” ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นไปอย่าง ราบรื่น คนไม่จริงใจย่อมไม่ได้รับความไว้วางใจ จึง ทำให้เสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้

ความสำคัญของ คุณธรรม (ต่อ) 4. คุณธรรมเป็นเครื่องสร้างความสบายใจ ซึ่ง นอกจากจะสบายใจเพราะการทำแต่สิ่งที่ถูกต้องที่ควร แล้วยังสบายใจที่ไม่ต้องระแวงระวังในอันตรายที่จะมี มาอีกด้วย เพราะผู้มีคุณธรรมจะเป็นผู้ประพฤติแต่ใน ทางที่ถูกต้องและไม่ทำผิด 5. คุณธรรมเป็นเครื่องส่งเสริมความสำเร็จและ ความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบอาชีพและดำรง ชีวิต

ลักษณะ ของคุณธรรม คุณธรรมแบบทาส (Slave Virtue) เป็นลักษณะคุณธรรมที่ ยึดถือและปฏิบัติตามแบบ อย่างของผู้ที่ทรงไว้ด้วยคุณ งามความดี เช่น ถือแบบอย่าง ที่ดีจากผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น คุณธรรมแบบนาย (Master Virtue) เป็นลักษณะคุณธรรมที่ ยึดถือและปฏิบัติตามมโนธรรม ของตนเองที่เห็นว่าถูกต้องดี งาม เช่น การให้ความยุติธรรม แก่ลูกน้อง หรือบุคคลรอบข้าง เป็นต้น

ประโยชน์ ของคุณธรรม เรื่องของความสัมพันธ์ เรื่องของจิตใจ เจตจำนง กับภายนอก ด้วยพฤติกรรม ความตั้งใจ แรงจูงใจ ที่จะ ทางกาย วาจา และการใช้ ทำให้เรามีพฤติกรรมต่างๆ อินทรีย์ต่างๆ คือ ตา หู จมูก สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนั้น ฯลฯ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ตามภาวะและคุณสมบัติ ทางวัตถุและสิ่งแวดล้อมทาง ต่างๆของจิตใจของเรา สังคม เรียกสั้นๆ ว่า ศีล เรียกว่า สมาธิ เรื่องของปั ญญา ความรู้ ความคิด เป็นตัวชี้ทางว่าเราทำ พฤติกรรมของเราไปตามความรู้ ความเข้าใจ และภายใน ขอบ เขตของความรู้นั้น ซึ่งเรียกว่า ปั ญญา นี่คือการศึกษา คุณธรรมหรือการดำเนินชีวิตที่ดี คือ ชีวิต ที่มีการศึกษา ดังนั้น ในการพัฒนามนุษย์ จึงเป็นการพัฒนา ชีวิตที่ดำเนินไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน แยกจากกันไม่ได้

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่ การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่าง จริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้ งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอยกล้าเผชิญ อุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่าง จริงจัง ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิต เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อน ใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-ราย จ่ายของตนเองอยู่เสมอ

ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มี เล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความ รู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความ ประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรง ต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรง และทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและ ปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยใน ตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/ องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเอง ยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ

สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อม ตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและ ท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความ มั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตน เหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย สะอาด สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้ พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษา ร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตาม สุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความ แจ่มใสอยู่เสมอ

สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลม เกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกัน ปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการ ไม่เอา รัดเอาเปรียบกัน ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟั งความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของ ตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียง ตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วย เหลือสังคม รู้จักแบ่งปั น เสียสละความสุข ส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น อาสาช่วย เหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปั ญญา

THANK YOU


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook