Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ (2)

เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ (2)

Published by พิทยา ก้องเสียง, 2022-11-14 02:33:07

Description: เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ (2)

Search

Read the Text Version

เทคนคิ การเขยี นบทความวชิ าการ

เทคนิคการเขียนบทความวชิ าการ บทความวิชาการแบง่ ออกเปน็ ทงั้ หมด 6 สว่ น ดังน้ี (ส่วนที่ 1) ประกอบด้วย ชื่อบทความ ใช้ภาษาทเ่ี ป็นทางการ ชอื่ เรอ่ื งชดั เจนตรงไปตรงมา และครอบคลุมประเด็น ของเรือ่ ง ช่อื เจา้ ของบทความ ตอ้ งใชช้ อื่ จรงิ ไม่ใช้นามแฝง และไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม (สว่ นท่ี 2) ประกอบดว้ ย บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อในบทความวิชาการ เป็นการสรุปประเด็นเนื้อหาที่เป็น แก่นสำคญั เน้นประเด็นสำคัญของงาน ทีต่ ้องการนำเสนอ ควรเขยี นให้สน้ั กระชับ มีความยาวไม่ เกนิ 10 ถงึ 15 บรรทัด โดยบทคดั ยอ่ มักจะประกอบดว้ ยเนือ้ หา สามส่วน คอื เกร่นิ นำ สง่ิ ท่ีทำสรุปผลสำคัญท่ไี ด้ ซึ่งอ่านแล้วต้องเห็นภาพรวมทั้งหมด ของงาน คำสำคัญ (Keyword) เป็นศัพท์เฉพาะทางที่เห็นแล้วเข้าใจได้ทันทีว่างานชิ้นนี้เกี่ยวกับ อะไร จำนวนไมเ่ กนิ 5 -8 คำ (สว่ นที่ 3) บทนำ (Introduction) สว่ นนำ จะเป็นส่วนทผี่ ้เู ขียนจงู ใจใหผ้ ู้อ่านเกิดความสนใจในเรือ่ งนนั้ ๆ ซ่ึงสามารถใชว้ ธิ กี าร และเทคนิคต่างๆ ตามแต่ผูเ้ ขียนจะเห็นสมควร เช่น อาจใชภ้ าษาที่กระตุ้น จูงใจ ผู้เขียนอาจหรอื ยกปญั หาทีก่ ำลงั เปน็ ทสี่ นใจ ขณะนั้นขึ้นมาอภิปราย หรืออาจจะกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่าน นอกจากจะเป็นส่วนที่ใช้จูงใจผู้อ่านแล้ว ส่วนนำเป็นส่วนที่ผู้เขียนสามารถกล่าวถึงวัตถุประสงค์

ของการเขียนบทความนัน้ หรือให้คำชี้แจงที่มาของการเขียนบทความนั้น ๆ รวมทั้งขอบเขตของ บทความนัน้ เพอื่ ชว่ ยใหผ้ ู้อ่านไมค่ าดหวังเกินขอบเขตทกี่ ำหนด ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (rationale) หรือความเป็นมาหรือภูมิหลัง (Background) หรอื ความสำคญั ของเรอ่ื งทเี่ ขียน (justification) หัวขอ้ นจี้ ะทำให้ผู้อ่านไดท้ ราบเปน็ พ้นื ฐานไวก้ อ่ นวา่ เร่อื งทเ่ี ลอื กมาเขียนมคี วามสำคัญหรือ มีความเป็นมาอย่างไรเหตผุ ลใดผู้เขียนจึงเลือกเร่ืองดังกล่าวขึ้นมาเขียน ในการเขียนบทนำในยอ่ หน้าแรกซึ่งถือว่าเป็นการเปิดตัว บทความทางวิชาการ และเป็นย่อหน้าที่ดึงดูดความสนใจ ของ ผอู้ ่าน (2) วตั ถุประสงค์ เป็นการเขียนว่าในการเขียนบทความในคร้งั นี้ต้องการใหผ้ อู้ ่านได้ทราบเรื่องอะไรบ้าง โดย จำนวนวัตถุประสงค์แต่ละข้อไมค่ วรมมี ากเกนิ ไปและวัตถุประสงคแ์ ต่ละหวั ข้อจะตอ้ งสอดคล้องกับ เรอ่ื งหรอื เนื้อหาของบทความ (3) ขอบเขตของเรอ่ื ง ที่ผู้เขียนต้องการจะบอกกล่าวให้ผู้อ่านทราบและเข้าใจตรงกัน เพื่อเป็นกรอบในการอ่าน โดยการเขียนขอบเขตนั้น อาจขึน้ อยู่กบั ปัจจยั ในการเขียน ไดแ้ ก่ - ความยาวของงานท่ีเขยี น หากมคี วามยาวไมม่ ากกค็ วรกำหนดขอบเขตการเขยี น ให้แคบลงไม่เช่นนั้น ผู้เขียนจะไม่สามารถนำเสนอเรื่องได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่ผู้เขียนต้องการจะ บอกกล่าวให้ผู้อ่านทราบและเข้าใจตรงกัน เพื่อเป็นกรอบในการอ่าน โดยการเขียนขอบเขตนั้น อาจข้ึนอยกู่ ับปัจจัยในการเขียน ไดแ้ ก่ - ระยะเวลาที่ตอ้ งรวบรวมข้อมูล การกำหนดเรอ่ื งท่จี ะเขียนทลี่ กึ ซง้ึ สลบั ซับซ้อน หรอื เปน็ เร่ืองเชิงเทคนิคอาจจะยากต่อการรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงเนอื้ เรอ่ื ง ดังนั้นหากมีเวลาน้อยก็ควรพิจารณาเขียนเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือสลับซับซ้อน มากนกั (4) คำจำกดั ความหรอื นยิ ามตา่ งๆ ทีผ่ ูเ้ ขียนเหน็ ว่าควรระบไุ ว้เพ่อื เป็นประโยชน์ต่อผู้อา่ นในกรณีท่ีคำเหล่านนั้ - ผู้เขียนใช้ในความหมายที่แตกต่างจากความหมายทั่วไปหรือเป็นคำที่ผู้อ่าน อาจจะไม่เข้าใจ ความหมายถือเป็นการทำความเขา้ ใจและการส่ือความหมายให้ผู้เขียนบทความ และผู้อ่านบทความเข้าใจตรงกัน รวมทั้งเป็นการขยายความหมายให้สามารถตรวจสอบหรือ สงั เกตไดด้ ว้ ย

การเขียนส่วนเนื้อเรื่องจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ประกอบกัน กล่าวคือ ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับศาสตร์ (sciences) นั้นคือหลักวิชาการที่ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงในการเขียน ได้แก่ กรอบแนวความคดิ (conceptual framework) ทผี่ ู้เขยี นใชใ้ นการเขียนจะต้องแสดงให้เห็นความ เชื่อมโยงของเหตุที่นำไปสู่ผล (causal relationship) การอ้างอิง ข้อมูลต่างๆ ในส่วนศิลป์ (art) ได้แก่ ศิลป์ในการใช้ภาษาเพื่อนำเสนอเรื่องที่เขียน การลำดับความ การบรรยาย วิธีการอ้างอิง สถิติ และข้อมูลตา่ งๆ ทีใ่ ชใ้ นการประกอบเรือ่ งทเ่ี ขยี น เพอ่ื ใหผ้ ู้อา่ นเกิดความเข้าใจและประทับใจ มากทส่ี ุด ในส่วนเนือ้ หาสาระผู้เขียนควรคำนึงถงึ ประเดน็ สำคญั ๆ ดังต่อไปน้ี (1) การจดั ลำดับเนอื้ หาสาระ ผู้เขียนควรมีการวางแผนจดั โครงสร้างของเนือ้ หาสาระที่จะ นำเสนอ และจัดลำดับ เนื้อหาสาระให้เหมาะสมตามธรรมชาติของเนื้อหาสาระนั้น การนำเสนอ เนือ้ หาสาระควรมีความต่อเน่ืองกนั เพอ่ื ชว่ ยให้ผูอ้ ่านเข้าใจสาระนนั้ ได้โดยงา่ ย (2) การเรียบเรียงเนื้อหา ในส่วนนี้ต้องอาศัยความสามารถของผู้เขียนในหลายด้าน นอกเหนอื จากความเข้าใจ ในเนอื้ หาสาระ เชน่ ด้านภาษา ดา้ นสไตลก์ ารเขยี น ด้านวธิ ีการนำเสนอ การนำเสนอเนือ้ หาสาระใหผ้ ้อู า่ นเขา้ ใจได้งา่ ยไดอ้ ย่างรวดเร็วนั้นจำเป็นต้องใชเ้ ทคนิคตา่ งๆ ในการ นำเสนอเข้าชว่ ย เชน่ การใช้สอื่ ประเภทภาพ แผนภูมิ ตาราง กราฟ เปน็ ตน้ (3) การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ ต้องเป็นไปอย่างมีหลักการ ทฤษฎี หรือมีหลักฐาน อา้ งองิ อยา่ งถูกต้องตามหลักวชิ าการมีความเป็นเหตเุ ป็นผลที่น่าเชอ่ื ถอื มกี ารอา้ งอิงข้อมูลที่เชื่อถือ ได้ เพื่อนำไปสู่ข้อสรปุ ด้วยทรรศนะของกลุ่มและมุมมองของผูเ้ ขียน โดยมีการเรียบเรียงเรื่องราว ต่อเนื่องกนั ตามลำดบั อย่างชัดเจนเพื่อใหผ้ ู้อ่านหรือ ผู้อ่านสามารถนำเรือ่ งน้ันๆ ไปปรับใช้ในการ ปฏิบัติหน้าท่ีได้อีกทางหนึง่ (4) การใชภ้ าษา การเขียนบทความทางวิชาการ จะตอ้ งใชค้ ำในภาษาไทยหากคำไทยน้ัน ยงั ไม่เป็นทเี่ ผยแพร่หลาย ควรใส่คำภาษาตา่ งประเทศไว้ในวงเลบ็ ในกรณีที่ไมส่ ามารถหาคำไทยได้ จะเป็นต้องทบั ศพั ทก์ ็ควรเขียนคำนั้นใหถ้ ูกตอ้ ง ตามหลักเกณฑข์ องราชบณั ฑิตยสถาน ไม่ควรเขยี นภาษาไทยและภาษาตา่ งประเทศปะปน กัน เพราะจะทำใหง้ านเขยี นนั้น มลี กั ษณะของความเปน็ ทางการ (formal) ลดลง ผเู้ ขยี นบทความ ทางวิชาการจำเป็นต้องพิถพี ิถันในเร่ืองการเขียนตัวสะกดการนั ตต์ ่างๆ ใหถ้ ูกตอ้ งตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และควรตรวจทานงานของตนไม่ให้ผดิ พลาด เพราะงานนัน้ จะเป็นแหล่ง อ้างองิ ทางวิชาการตอ่ ไป

(5) วิธีการนำเสนอ การนำเสนอเนื้อหาสาระให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วน้ัน จำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการนำเสนอเข้าช่วย เช่น การใช้สื่อประเภทภาพ แผนภูมิ ตาราง กราฟ เปน็ ต้น ผู้เขยี นควรมกี ารนำเสนอสอ่ื ต่างๆ อยา่ งเหมาะสม และถกู ตอ้ งตามหลักวชิ าการ (สว่ นท่ี 5) ส่วนสรปุ (Conclusions) บทความทางวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญๆ ของบทความนั้นๆ ซึ่งอาจทำใน ลกั ษณะท่เี ปน็ การย่อ คือ การเลือกเก็บประเดน็ สำคญั ๆ ของบทความนั้นๆ มาเขียนรวมกนั ไว้อยา่ ง สั้นๆ ทา้ ยบท หรอื อาจใช้วธิ กี ารบอกผลลพั ธ์วา่ สงิ่ ทก่ี ลา่ วมามีความสำคญั อยา่ งไร สามารถนำไปใช้ อะไรไดบ้ า้ ง หรือจะทำใหเ้ กดิ อะไรตอ่ ไป หรืออาจใช้วิธีการตง้ั คำถามหรอื ให้ประเด็นทิง้ ท้ายกระต้นุ ใหผ้ ู้อ่านไปสืบเสาะแสวงหาความรู้ หรือคดิ คน้ พัฒนาเรื่องนั้นตอ่ ไป งานเขียนทีด่ คี วรมีการสรุปใน ลกั ษณะใดลักษณะหน่งึ เสมอ (สว่ นท่ี 6) ประกอบดว้ ย กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) หากต้องเขียนกิตติกรรมประกาศเพ่ือ ขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเขียนได้ โดยให้อยู่หลังเนื้อหาของบทความและ ก่อนเอกสารอ้างอิง การพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ (References) 1) เอกสารอา้ งอิงทกุ ลำดบั จะต้องมกี ารอา้ งอิงหรอื กล่าวถึงในบทความ 2) ต้องพิมพเ์ รียงลำดับการอา้ งองิ ตามหมายเลขท่ีกำหนดไว้ที่ได้อา้ งอิงถึงในบทความ โดย ไมต่ ้องแยกภาษาและประเภทของเอกสารอา้ งอิง 3) หมายเลขลำดับการอ้างอิงให้พิมพ์ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ถ้ารายละเอียดของ เอกสารอ้างองิ มคี วามยาว มากกวา่ หนง่ึ บรรทัดใหพ้ ิมพ์ต่อบรรทัดถัดไปโดยย่อหนา้ (โดยเว้นระยะ 7 ชว่ งตัวอกั ษรหรอื เรม่ิ พิมพ์ชว่ งตวั อักษรท่ี 8 การจัดพมิ พเ์ อกสารอา้ งอิงท้ายบทความจะแตกต่าง กันตามชนดิ ของเอกสารทีน่ ำมาอา้ งอิง ใหจ้ ัดพมิ พ์ตามขอ้ แนะนำดังน้ี - ถ้าเป็นรูปแบบการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นระบบ Vancouver - ถ้าเป็นรูปแบบการอ้างอิงทางสังคมศาสตร์ให้เป็นระบบ American Psychological Association


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook