Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ประวัติรัชกาลที่8 แห่งราชวงศ์จักรี

ประวัติรัชกาลที่8 แห่งราชวงศ์จักรี

Published by kansiri2329, 2020-06-09 02:42:57

Description: ประวัติรัชกาลที่8 แห่งราชวงศ์จักรี

Search

Read the Text Version

ประวัตริ ัชกาลท8ี่ แห่งราชวงศจ์ กั รี พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหิดล

พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหิดล พระบรมนามาภิไธย หม่อมเจ้าอานนั ทมหิดล มหิดล พระปรมาภิไธย พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหดิ ล พระอฐั มรามาธบิ ดนิ ทร ราชวงศ์ ราชวงศจ์ ักรี ครองราชย์ 2 มนี าคม พ.ศ. 2477 ระยะครองราชย์ 12 ปี 99 วัน รัชกาลกอ่ นหน้า พระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยหู่ ัว รัชกาลถดั ไป พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวภูมพิ ลอดุลยเดช วดั ประจำรชั กาล วดั สุทัศนเทพวราราม (โดยอนุโลม) ขอ้ มลู สว่ นพระองค์ พระราชสมภพ 20 กนั ยายน พ.ศ. 2468 ไฮเดลแบรก์ สาธารณรัฐไวมาร์ สวรรคต 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (20 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย พระราชบิดา สมเดจ็ พระมหิตลาธิเบศร อดลุ ยเดชวกิ รม พระบรมราชชนก พระราชมารดา สมเด็จพระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ( 20 กันยายน พ.ศ. 2468 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เสดจ็ พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลา นครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระ บรมราชชนก) และหม่อมศรีสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็น \"สมเด็จพระศรีนครินทราบ รมราชชนนี\") มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จ พระเจ้าพน่ี างเธอ เจ้าฟา้ กลั ยาณวิ ัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเปน็ พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็น พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มี พระชนมายุเพียง 8 พรรษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้ง คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะ ทรงบรรลุนิติภาวะ พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างกำหนดการเสด็จพระราช ดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อทีป่ ระเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วย ทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรม พิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาทีท่ รงครองสิรริ าชสมบตั ิทั้งส้นิ 12 ปี

พระราชประวตั ิ ขณะทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระ เจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ กับ หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลแบร์ก สาธารณรฐั ไวมาร์ (ปัจจุบนั คือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชบิดาทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมัน โดยได้รับ พระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันท มหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเป็น พระว รวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระมารดาออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลอง วา่ นนั ท

พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ สมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีไปยัง ประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเดจ็ พระราชบิดาทรงเข้าศึกษาวิชาแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา ในระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2471 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ประทับ ณ วังสระปทุม ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชบิดาทรงพระประชวรและ ส้นิ พระชนม์ ดังน้ัน พระองค์จึงอยู่ในความดแู ลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดยี ว พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียน เทพศิรินทร์ (ท.ศ.2329 ป.) หลังจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 นั้น สมเด็จพระราชชนนีได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะทรงนำพระโอรส และพระธิดาไปประทับที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยพระองค์ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมีเรมองต์ ต่อมาย้ายไปศึกษา ที่โรงเรียนนูแวลเดอลา ซูวิสโรมองต์ และ ทรงศึกษาภาษาไทย ณ ที่ประทับ โดยมีพระ อาจารย์ตามเสด็จไปจากกรุงเทพ การขึ้นทรงราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเมื่อยังทรงพระเยาว์ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติ เจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจาก สภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดลซึ่งเป็นเจ้านาย เชื้อพระบรมวงศพ์ ระองคท์ ี่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑยี รบาลวา่ ด้วยการสืบ

ราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 247๘ โดยได้รับการเฉลิมพระนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2477 ว่า สมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดล ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 8 พรรษา และยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทน จนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าว รวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้าอาทิตยท์ ิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ป้ัน สุขมุ ) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ สิ้นพระชนม์ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งให้นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถึงแก่ อสัญญกรรม จึงมีการแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทน หลงั จากน้ัน เมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อมุ่ อนิ ทรโยธิน) ถึงแกอ่ สัญญกรรม รวมท้ัง พระ เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง นาย ปรีดี พนมยงค์ จึงดำรงตำแหน่งผู้สำเรจ็ ราชการแทนพระองคเ์ พียงผู้เดียว จนกว่าสมเด็จพระ เจ้าอยหู่ ัวจะเสดจ็ กลบั ส่พู ระนคร การเสด็จนิวัตพิ ระนคร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท มหดิ ลเสดจ็ นิวัติพระนคร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์จึงได้เลื่อนกำหนดออกไปก่อน และได้ กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 แต่ก็ทรงติดขัดเรื่องพระพลานามัย อกี เช่นกนั

หลังจากนั้น รัฐบาลได้ส่งพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) ไปเข้าเฝ้า สมเด็จพระราชชนนีที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งในปี พ.ศ. 2479 อย่างไรก็ตาม ในระหว่าง เตรียมการเสด็จนิวัติพระนครนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ คณะรัฐบาลใหม่จึงขอ เลือ่ นการรับเสดจ็ ออกไปอย่างไม่มกี ำหนด หลังจากนั้น รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้ง ในครั้งนี้สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองโลซานที่ประทับโดยทางรถไฟมายัง เมืองมาเชลล์ เพื่อประทับเรือเมโอเนีย ในการเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทย และ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เรือพระที่นั่งได้เทียบจอดทอดสมอที่เกาะสีชัง รัฐบาลได้จัดเรือหลวงศรีอยุธยาออกไปรับเสด็จมายังจังหวัดสมุทรปราการ ณ ที่นั้น สมเด็จ พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จไปคอยรับพระราชนัดดาและ พระสุนิสาด้วย หลังจากนั้น จึงได้เสด็จโดยเรือหลวงศรีอยุธยาเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และ ประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งนับเป็นการเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา ประมาณ 2 เดือน จึงได้เสดจ็ พระราชดำเนินกลับไปศึกษาตอ่ ทีป่ ระเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง พระองค์จึงเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้ง พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งการเสด็จนิวัติประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรม พิมาน ภายในพระบรมมหาราชวงั เป็นที่ประทับ และเนื่องจากพระองคท์ รงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงสามารถบรหิ ารราชการแผ่นดนิ โดยไมต่ ้องมผี ู้สำเร็จราชการแผ่นดนิ อีกตอ่ ไป

สวรรคต พระเมรมุ าศพระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหิดล ดบู ทความหลักที:่ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานนั ทมหิดล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซาน ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์จนเรียบร้อยแล้วจึงจะเสด็จนิวัติพระนครเป็น การถาวรและทรงเข้ารับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคต เสียก่อนด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ณ ห้อง พระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ก่อนกำหนดการเสด็จพระราช ดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน ในชั้นต้นทางราชการได้มีการ แถลงข่าวสาเหตุการสววรคตว่าเป็นอุบัติเหตุจากพระแสงปืนลั่นแต่กา รสอบสวนในภายหลัง กลับพบสาเหตุวา่ เปน็ การลอบปลงพระชนม์ หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมา ประดิษฐาน ณ พระทีน่ ั่งดุสติ มหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และจัดให้มีพระราชพิธีถวาย พระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้อง สนามหลวง วันรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเก็บ พระบรมอัฐิ และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบงเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทอง ภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น หลังจากน้ัน ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดษิ ฐาน ณ พระวิมานชั้นบน พระที่น่ังจักรี มหาปราสาท วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราช ดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม และอัญเชิญพระบรมราชสริรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้ง

เคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานใน พระวิหารหลวง วดั สทุ ศั น์เทพวราราม การเฉลมิ พระปรมาภิไธย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไม่ได้ทรงประกอบการพระ ราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระบรมขัติยราช อิสสริยยศ รวมทั้ง ยังได้ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลเศวตฉัตร ซึ่งใช้ใน การกางก้ันพระบรมศพและพระบรมอัฐิ จึงไดม้ ีการประกาศเฉลมิ พระปรมาภิไธยสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดช วิมล รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช\" โดยประกาศเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองทรง ครองสิรริ าชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู ัวภมู พิ ลอดุลยเดช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็น พระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรยี วรนัดดา มหติ ลานเรศวราง กูร ไอศรู ยสนั ตติวงศวสิ ุทธ์ วรุตมขตั ติยศกั ตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวฐิ ทศพิธราชธรรม อุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลย พิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณต บาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎล เศวตฉตั ราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหา รามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรตั น สรณารกั ษ์วิศษิ ฎศกั ตอัครนเรศ รามาธิบดี พระอฐั มรามาธบิ ดนิ ทร สยามนิ ทราธริ าชบรมนาถบพิตร\" นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาล มหารัษฎธิบดี พระอัฐมรา

มาธิบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร\" และอย่างสังเขปว่า \"พระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดนิ ทร\" พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2489 การปกครอง พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน วนั ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชมุ สภาผู้แทนในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทย เชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิ พลอดลุ ยเดช เมือ่ วนั ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึง่ เปน็ ช่วงทีเ่ กดิ ความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงคราม กลางเมือง เมื่อพระองคท์ รงทราบเรือ่ ง มีพระราชดำรวิ า่ หากปลอ่ ยความข่นุ ข้องบาดหมางไว้ เช่นนี้ จะเปน็ ผลรา้ ยตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทยั เสด็จพระราชดำเนินสำเพง็ ซึ่งใช้ระยะเวลา ประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสดจ็ พระราชดำเนินสำเพ็งในคร้ังนี้จึงเปน็ การประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมด ไป การศาสนา ในการเสดจ็ นิวตั ิพระนครคร้ังแรกนั้น พระองค์ไดป้ ระกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธ มามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19

พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปใน พระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราช วรวหิ าร วดั สระเกศราชวรมหาวิหาร วดั อรณุ ราชวรารามราชวรมหาวหิ าร วดั บวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราช วรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า \"ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง\" ดังนั้น เมื่อ พระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัด แห่งนี้ พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัต เลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียม พระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้ นอกจากนี้ยังได้ พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนา อืน่ ตามสมควร การศึกษา ในการเสด็จนิวัติพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่ เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของ หอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย โรงเรียนเทพศิรนิ ทร์ ซึง่ เปน็ โรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของ พระองค์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 และ อกี คร้ังที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิรริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมือ่ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ มีพระราชปรารภให้มีการ

ผลติ แพทย์เพม่ิ มากข้ึน เพือ่ ใหเ้ พียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จ สวรรคต พบสถานทีส่ ำคัญ! รัชกาลที่ 8 ทรงหว่านพันธุ์ข้าวที่ทงุ่ บางเขน พบพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ อยู่ติดวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ม.ราชภัฏพระนครสร้างเป็นอนุสรณ์เทิดพระเกียรติ \"พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ร.8\" เสดจ็ ฯ พรอ้ มพระอนุชา ร.9 ทอดพระเนตรทำนา-ทรงหวา่ นข้าวเมือ่ ปี 2489 หลังจากมีกระแสข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ติดปัญหาเรื่องตำแหน่ง ก่อสร้างสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ หลังจาก รฟม.ยืนยันก่อสร้างตำแหน่งเดิม แต่ได้รับการ ท้วงติงจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เนื่องจาก ตัวอาคารสถานีจะไปบดบังทัศนียภาพพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 จึงต้องมีการปรับแบบใหม่ โดยจะย้ายสถานีมาไว้ฝั่งตรงข้าม บริเวณหวั มมุ ถนนรามอนิ ทรา ใกลๆ้ สำนักงานเขตบางเขน ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจตำแหน่งที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 พบว่า ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าอาคารวิทยาลัยพุทธศาสตร์และปรัชญา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร ด้านถนนพหลโยธิน ใกล้วงเวียนหลักสี่ โดยอาคารวิทยาลัยดังกล่าวอยู่ระหว่าง ดำเนินการก่อสร้าง ส่วนพระบรมราชานุสาวรียร์ ัชกาลที่ 8 สร้างเสร็จแล้ว โดยมีพิธีวางศิลา ฤกษเ์ มือ่ วนั ที่ 19 ธันวาคม 2554 และอยรู่ ะหว่างการปรับภมู ิทัศน์พื้นทีโ่ ดยรอบให้สวยงาม

บริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ เป็นธรณีสงฆ์ ด้านทิศเหนือของวัดติดถนน พหลโยธินและถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้ทำสัญญาเช่าที่จากวัดพระศรีมหาธาตุเป็นระยะเวลา 30 ปี โดยทางวดั กบั มหาวิทยาลัยร่วมกนั จดั สร้างสถาบันการเรียนการสอนด้านศาสนาและปรัชญา ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรม เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2551 และคาดว่าจะเปิดให้บริการ ภายในปีนี้ นายกฤชญาณ เรืองนุ่ม ไวยาวัจกร วดั พระศรีมหาธาตุ บางเขน กล่าวถงึ การสร้างพระ บรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ต่อปวงชนชาวไทยอย่างยิ่ง เพราะเป็นสถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท มหิดล รัชกาลที่ 8 และพระอนุชา รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ มาทอดพระเนตรการทำนาและทรง หว่านข้าวบริเวณทุ่งบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2489 ซึ่งมีหลักฐานเอกสารและ ภาพถ่ายยืนยันอย่างชัดเจน พร้อมกับคำพูดของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยไปร่วมพิธีก็เป็นหลักฐานได้ เชน่ กนั นายกฤชญาณกล่าวว่า พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายก่อนที่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 คือการเสด็จฯ ทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน พร้อมทรงหว่านข้าวลงบนพื้นนาเพื่อเป็นสิริมงคล แก่แผ่นดินและพสกนิกรชาวบางเขน มีหลักฐานหมายกำหนดการระบุว่าพระองค์เสด็จฯ ถึง วดั เวลา 09.00 น. ทรงนมัสการพระพุทธสหิ ิงค์ทีพ่ ระอุโบสถ จบแลว้ ทรงพระราชปฏิสันถาร กบั พระสงฆ์ จากนั้นเสด็จฯ ไปประทับพลับพลาริมวัดพระศรีฯ ด้านเหนือ ชาวนาประมาณ 50 คน แสดงการทำนา และชาวนา 30 คน แสดงการสีและซ้อมข้าวถวายทอดพระเนตร เมื่อเสร็จ ส้นิ พิธี พระองค์เสด็จฯ ไปมหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

\"จากหลักฐานภาพถ่ายปรากฏชดั ว่า พระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดลรชั กาลที่ 8 และพระ อนชุ า รชั กาลที่ 9 เสด็จฯ ประทบั ในเตน็ ทก์ ระโจมริมวัดเพือ่ ทอดพระเนตรการทำนา หลงั จาก นั้นพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าวไว้ในผืนนา สำหรับแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ก็ได้ ขออนุญาตสำนักพระราชวัง โดยนำภาพถ่ายดังกล่าวมาเป็นต้นแบบและจัดสร้างเพื่อ เทิดพระเกียรติ และเป็นอนุสรณ์แห่งประวัติศาสตร์ให้คนไทยระลึกถึงพระราชกรณียกิจที่ สำคญั ย่งิ ของพระองค์\" ไวยาวัจกรวดั พระศรมี หาธาตฯุ กลา่ ว.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook