Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

ใบความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

Published by sopit2305, 2018-02-19 08:54:33

Description: ใบความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

Search

Read the Text Version

เศรษฐกิจพอเพยี ง “เศรษฐกิจพอเพียง” เปนปรัชญาท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระราชดํารัสชี้แนะแนวทางการดําเนินชีวิตแกพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกวา 25 ป ตั้งแตกอนวิกฤติการณทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังไดทรงเนนยํ้าแนวทางการแกไขเพื่อใหรอดพน และสามารถดํารงอยไู ดอยา งม่ันคงและยัง่ ยืนภายใตก ระแสโลกาภิวตั นและความเปล่ียนแปลงตาง ๆ1. ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง เศรษฐกิจพอเพียง เปนปรัชญาช้ีถึงแนวการดํารงอยูและปฏิบัติตนของประชาชนในทกุ ระดับต้ังแตระดับครอบครวั ระดับชมุ ชนจนถงึ ระดับรัฐ ทง้ั ในการพฒั นาและบริหารประเทศใหดาํ เนนิ ไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพฒั นาเศรษฐกิจเพื่อใหกาวทันตอโลกยุคโลกาภิวัตนความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเปนที่จะตองมีระบบภูมิคุมกันในตัวท่ีดีพอสมควรตอการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงท้ังภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะตองอาศัยความรอบรู ความรอบคอบ และความระมัดระวังอยางยิ่ง ในการนําวิชาการตาง ๆ มาใชในการวางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะตองเสริมสรางพ้ืนฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจาหนาที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับใหมีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตยสุจริต และใหมีความรอบรูที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตดวยความอดทน ความเพียร มีสติ ปญญา และความรอบคอบ เพื่อใหสมดุลและพรอมตอการรองรับการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วและกวางขวางท้ังดานวัตถุ สังคม ส่ิงแวดลอม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกไดเปน อยางดี “เศรษฐกิจพอเพียง แปลวา Sufficiency Economy คาํ วา Sufficiency Economy นีไ้ มมใี นตําราเศรษฐกิจ จะมไี ดอ ยางไร เพราะวา เปน ทฤษฎใี หม Sufficiency Economy นนั้ ไมมใี นตาํ รา เพราะหมายความวาเรามีความคิดใหม และโดยท่ีทานผเู ช่ียวชาญสนใจ กห็ มายความวา เราก็สามารถทีจ่ ะไปปรับปรุง หรอื ไปใชห ลักการ เพื่อทจี่ ะใหเ ศรษฐกจิ ของประเทศและของโลกพัฒนาดขี นึ้ ” พระราชดาํ รสั เนือ่ งในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธนั วาคม 2542

2 “อันนเี้ คยบอกวา ความพอเพียงนี้ไมไ ดห มายความวา ทุกครอบครัวจะตองผลติ อาหารของตัว จะตอ งทอผา ใสเ อง อยา งน้นั มันเกินไป แตว า ในหมบู านหรือในอําเภอ จะตอ งมคี วามพอเพียงพอสมควร บางสง่ิ บางอยางทผ่ี ลติ ไดมากกวาความตองการ กข็ ายได แตข ายในท่ีไมห างไกลเทาไหร ไมตอ งเสยี คาขนสงมากนกั ” พระราชดํารสั เน่อื งในโอกาสวนั เฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธนั วาคม 25402. หลักแนวคิดของเศรษฐกจิ พอเพียง การพฒั นาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยูบนพ้ืนฐานของทางสายกลางและความไมประมาท โดยคํานึงถึง ความพอประมาณ ความมเี หตผุ ล การสรา งภมู ิคมุ กนัท่ีดีในตัว ตลอดจนใชความรู ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทํา3. ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู 5 สว น ดังนี้ 1) กรอบแนวคิด เปนปรชั ญาทีช่ ี้แนะแนวทางการดํารงอยูและปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเปน โดยมีพ้ืนฐานมาจากวิถีชีวิตด้ังเดิมของสังคมไทย สามารถนํามาประยุกตใชไดตลอดเวลา และเปนการมองโลกเชิงระบบท่ีมีการเปล่ียนแปลงอยูตลอดเวลา มุงเนนการรอดพนจากภัยและวกิ ฤต เพอื่ ความมัน่ คงและความยัง่ ยืนของการพัฒนา 2) คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนํามาประยุกตใชกับการปฏิบัติตนไดในทกุ ระดบั โดยเนนการปฏบิ ัตบิ นทางสายกลาง และการพฒั นาอยางเปนขนั้ ตอน 3) คํานิยาม ความพอเพยี งจะตอ งประกอบดวย 3 คุณลักษณะพรอม ๆ กันดงั น้ี (1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไมนอยเกินไปและไมมากเกินไป โดยไมเ บียดเบียนตนเองและผูอนื่ เชน การผลิตและการบริโภคที่อยูในระดับพอประมาณ (2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเก่ียวกับระดับของความพอเพยี งนัน้ จะตองเปน ไปอยางมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปจจัยที่เก่ียวของ ตลอดจนคํานึงถึงผลทคี่ าดวาจะเกิดขนึ้ จากการกระทาํ นั้น ๆ อยา งรอบคอบ (3) การมีภูมิคุมกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวใหพรอมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงดานตาง ๆ ที่จะเกิดข้ึน โดยคํานึงถึงความเปนไปไดของสถานการณต า ง ๆ ท่คี าดวา จะเกิดข้ึนในอนาคตทง้ั ใกลแ ละไกล

3 4) เงอื่ นไข การตดั สินใจและการดําเนนิ กจิ กรรมตาง ๆ ใหอยูในระดับพอเพียงนน้ั ตอ งอาศัยทั้งความรูแ ละคณุ ธรรมเปนพ้นื ฐาน กลา วคอื (1) เงื่อนไขความรู ประกอบดวย ความรอบรูเกี่ยวกับวิชาการตาง ๆ ที่เกี่ยวของอยางรอบดาน ความรอบคอบที่จะนําความรูเหลาน้ันมาพิจารณาใหเชื่อมโยงกัน เพ่ือประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในข้ันปฏิบัติ (2) เง่ือนไขคุณธรรม ที่จะตองเสริมสรางประกอบดวย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซ่อื สตั ยส ุจรติ และมคี วามอดทน มีความเพียร ใชสติปญ ญาในการดาํ เนินชวี ติ 5) แนวทางปฏิบัติ/ผลท่ีคาดวาจะไดรับ จากการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกตใช คือ การพัฒนาท่ีสมดุลและย่ังยืน พรอมรับตอการเปลี่ยนแปลงในทุกดานทั้งดานเศรษฐกิจ สงั คม สิ่งแวดลอม ความรแู ละเทคโนโลยี “ถาไมมี เศรษฐกจิ พอเพยี ง เวลาไฟดบั จะพังหมด จะทําอยางไร ท่ีท่ตี องใชไ ฟฟา กต็ องแยไ ป หากมี เศรษฐกจิ พอเพียง แบบไมเ ต็มที่ ถาเรามเี คร่ืองปน ไฟ กใ็ หป น ไฟ หรือถาข้นั โบราณกวา มดื กจ็ ดุ เทียน คือมีทางทจ่ี ะแกปญหาเสมอ ฉะนน้ั เศรษฐกิจพอเพยี ง นี้ ก็มเี ปน ข้นั ๆ แตจะบอกวา เศรษฐกิจพอเพยี ง น้ี ใหพอเพยี งเฉพาะตวั เองรอ ยเปอรเ ซ็นต นีเ่ ปน สิ่งที่ทาํ ไมได จะตอ งมกี ารแลกเปล่ียน ตอ งมกี ารชว ยกัน พอเพยี งในทฤษฎหี ลวงน้ี คือใหสามารถท่ีจะดาํ เนนิ งานได” พระราชดํารัสเน่อื งในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 25424. เศรษฐกจิ พอเพยี งกับทฤษฎใี หมตามแนวพระราชดาํ ริ เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม เปนแนวทางในการพัฒนาท่ีนําไปสูความสามารถในการพ่ึงตนเองในระดับตาง ๆ อยางเปนข้ันตอน โดยลดความเส่ียงเก่ียวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปล่ียนแปลงจากปจจัยตาง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสรางภูมิคุมกันท่ีดี มีความรู ความเพียรและความอดทนสติและปญ ญา การชว ยเหลอื ซง่ึ กนั และกัน และความสามคั คี

4 เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกวางกวาทฤษฎีใหม โดยท่ีเศรษฐกิจพอเพียงเปนกรอบแนวคิดท่ีช้ีบอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม ในขณะท่ีแนวพระราชดําริเก่ียวกับทฤษฎีใหมหรือเกษตรทฤษฎีใหม ซ่ึงเปนแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอยางเปนขั้นตอนน้ัน เปนตัวอยางการใชหลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ท่ีเปนรูปธรรมเฉพาะในพนื้ ท่ีทเี่ หมาะสม ทฤษฎีใหมต ามแนวพระราชดาํ ริ อาจเปรียบเทียบกบั หลกั เศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงมีอยู 2 แบบ คอื แบบพ้ืนฐานกบั แบบกา วหนา ไดด ั้งน้ี ความพอเพยี งในระดับบุคคลและครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกร เปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบไดกับทฤษฎีใหมขั้นท่ี 1 ท่ีมุงแกปญหาของเกษตรกรท่ีอยูหางไกลแหลงน้ํา ตองพึ่งนํ้าฝนและประสบความเส่ียงจากการท่ีน้ําไมพอเพียง แมกระทั่งสําหรับการปลูกขาวเพื่อบริโภค และมีขอสมมติวา มีท่ีดินพอเพียงในการขุดบอเพื่อแกปญหาในเร่ืองดังกลาวจากการแกปญหาความเสี่ยงเร่ืองน้ํา จะทําใหเกษตรกรสามารถมีขาวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหน่ึงได และใชท่ีดินสวนอ่ืน ๆ สนองความตองการพ้ืนฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในสวนท่ีเหลือเพื่อมีรายไดที่จะใชเปนคาใชจายอ่ืน ๆ ท่ีไมสามารถผลิตเองได ท้ังหมดน้ีเปนการสรางภมู คิ ุมกันในตวั ใหเ กดิ ขนึ้ ในระดบั ครอบครวั อยางไรก็ตาม แมกระทั่งในทฤษฎีใหมข้ันท่ี 1 ก็จําเปนท่ีเกษตรกรจะตองไดรับความชว ยเหลอื จากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองคกรเปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบกาวหนา ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหมข้ันท่ี 2 เปนเร่ืองของการสนับสนุนใหเกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุมหรือสหกรณ หรือการทธ่ี ุรกจิ ตาง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครอื ขายวสิ าหกิจ กลาวคือ เมื่อสมาชิกในแตละครอบครัวหรือองคกรตาง ๆ มีความพอเพียงขัน้ พื้นฐานเปนเบื้องตน แลว กจ็ ะรวมกลมุ กันเพอื่ รวมมือกนั สรางประโยชนใหแกกลุมและสวนรวมบนพ้ืนฐานของการไมเบียดเบียนกัน การแบงปนชวยเหลือซ่ึงกันและกันตามกําลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทําใหชุมชนโดยรวมหรือเครือขายวิสาหกิจน้ัน ๆ เกิดความพอเพยี งในวิถปี ฏิบตั อิ ยางแทจรงิ ความพอเพียงในระดับประเทศเปนเศรษฐกิจพอเพียงแบบกาวหนา ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหมข้ันที่ 3 ซ่ึงสงเสริมใหชุมชนหรือเครือขายวิสาหกิจสรางความรวมมือกับองคก รอนื่ ๆ ในประเทศ เชน บริษัทขนาดใหญ ธนาคาร สถาบนั วิจัย เปน ตน การสรางเครือขายความรวมมือในลักษณะเชนนี้จะเปนประโยชนในการสืบทอดภูมิปญญา แลกเปลี่ยนความรู เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือรวมมือกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทําใหประเทศอันเปนสังคมใหญอันประกอบดวยชุมชน องคกรและธรุ กจิ ตา ง ๆ ท่ีดําเนินชีวิตอยางพอเพียง กลายเปนเครือขายชุมชนพอเพียงท่ีเชื่อมโยงกันดวยหลกั ไมเ บียดเบยี น แบง ปน และชว ยเหลอื ซงึ่ กันและกันไดใ นที่สดุ

5 “ขอใหท ุกคนมคี วามปรารถนาทีจ่ ะใหเมืองไทยพออยพู อกิน มคี วามสงบและทาํ งานตง้ั อธิษฐาน ต้ังปณิธาน ในทางนี้ ที่จะใหเ มอื งไทยอยูแบบพอกนิ ไมใชวา จะรงุ เรืองอยางยอด แตมคี วามความพออยพู อกิน มีความสงบ เปรยี บเทยี บกับประเทศอน่ื ๆ ถา เรารักษาความพออยูพอกนิ นไ้ี ด เรากจ็ ะยอดยง่ิ ยวดได ฉะนน้ั ถา ทกุ ทา นซง่ึ ถือวา เปน ผูมคี วามคิดและมีอทิ ธิพล มีพลงั ท่ีจะทําใหผ อู ืน่ ซงึ่ มีความคดิ เหมอื นกนั ชว ยกนั รักษาสวนรวมใหอยูดีกนิ ดพี อสมควร ขอย้ําพอควร พออยูพอกนิ มีความสงบ ไมใ หค นอนื่ มาแยงคุณสมบัตนิ ีจ้ ากเราไปได ก็จะเปน ของขวัญวันเกดิ ที่ถาวรท่จี ะมีคณุ คาอยูต ลอดกาล” พระราชดาํ รสั เนือ่ งในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธนั วาคม 25425. การสรา งขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพยี ง สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (สศช.)เสนอใหริเร่ิมการสรางขบวนการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง เพ่ือสานตอความคิดและเช่ือมโยงการขยายผลที่เกิดจาการนําหลักปรัชญาฯ ไปใชอยางหลากหลาย รวมท้ังเพ่ือจุดประกายใหเกิดความรูความเขาใจท่ีถูกตอง ซึ่งจะนําไปสูการยอมรับ และการนําไปประยุกตใชใหเกิดผลในทางปฏบิ ตั ิในทุกภาคสวนของสังคมอยา งจริงจัง “ในการพฒั นาประเทศนนั้ จาํ เปนตอ งทาํ ตามลาํ ดับข้ัน เร่มิ ดวยการสรางพ้นื ฐาน คอื ความมกี ินมใี ชของประชาชนกอน ดว ยวิธีการที่ประหยัดระมดั ระวัง แตถ กู ตอ งตามหลักวิชา เมื่อพ้นื ฐานเกดิ ขึน้ มง่ั คงพอควรแลว จึงคอ ยสรา งเสริมความเจรญิ ขน้ั สงู ขน้ึ ตามลาํ ดบั ตอ ไป การถอื หลักทีจ่ ะสง เสริมความเจรญิ ใหค อ ยเปนไปตามลําดบั ดวยความรอบคอบระมดั ระวงั และประหยัดน้ัน กเ็ พ่อื ปอ งกันความผดิ พลาดลมเหลว และเพ่อื ใหบรรลผุ ลสําเรจ็ ไดแ นน อนบรบิ รู ณ” พระบรมราชโชวาทในพิธพี ระราชทานปรญิ ญาบตั รของ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร 19 กรกฎาคม 2517

6 จากพระบรมราโชวาทและพระราชดํารัสของพระองค นับตั้งแตป 2517เปนตนมา จะพบวาพระองคทานไดทรงเนนย้ําแนวทางการพัฒนาที่อยูบนพ้ืนฐานของการพ่ึงตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช การรูจักความพอประมาณ การคํานึงถึงความมีเหตุผลการสรางภูมิคุมกันท่ีดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไมใหประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลําดับขั้นตอนที่ถูกตองตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเปนกรอบในการดาํ รงชวี ิตซึ่งท้งั หมดน้เี ปน ทร่ี กู ันภายใตชือ่ วา เศรษฐกิจพอเพียง สศช. จงึ ไดเ ชญิ ผูทรงคุณวฒุ ิจากสาขาตา ง ๆ มารวมกันกลั่นกรองพระราชดํารัสฯสรุปเปนนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และไดอัญเชิญมาเปนปรัชญานําทางในการจัดทําแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 9 เพื่อสงเสริมใหประชาชนทุกระดับมีความเขาใจและนําไปประกอบการดาํ เนินชวี ิต การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเปาหมายหลักเพื่อสรางเครือขายเรียนรู ใหมีการนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใชเปนกรอบความคิด เปนแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเปนสว นหน่งึ ของวิถีชวี ิตของคนไทยในทกุ ภาคสว น วัตถุประสงคของการขับเคล่ือน เพ่ือสรางความรูความเขาใจท่ีถูกตองเก่ียวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงใหประชาชนทุกคนสามารถนําหลักปรัชญาฯ ไปประยุกตใหไดอยางเหมาะสม และปลูกฝงปรับเปลี่ยนกระบวนทัศนในการดํารงชีวิตใหอยูบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพยี ง ตลอดจนนาํ ไปสูการปรบั แนวทางการพฒั นาใหอ ยบู นพืน้ ฐานของเศรษฐกจิ พอเพียง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เปนการเสริมพลังใหประเทศไทยสามารถพัฒนาไปไดอยางม่ันคงภายใตกระแสโลกาภิวัตน โดยใหความสําคัญกับการสรางฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมใหเขมแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติตาง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพรอมรับตอการเปลี่ยนแปลงตาง ๆ ไดอยางเทาทัน และนําไปสูความอยูเย็นเปน สุขของประชาชนชาวไทย การขับเคล่อื นจะเปนลกั ษณะเครือขายและระดมพลังจากทุกภาคสวน แบงเปน 2เครอื ขา ยสนบั สนุนตามกลุมเปาหมายเบื้องตน ไดแก 1) เครอื ขา ยดา นประชาสังคมและชมุ ชน และ 2) เครือขายธรุ กิจเอกชน นอกจากน้ีแลวยังมเี ครือขา ยสนบั สนุนทรี่ ว มมอื กนั ทํางานตามภารกิจ 3 ดา น ไดแ ก 1) เครือขา ยพัฒนาวชิ าการและสงเสรมิ การศกึ ษาวิจยั 2) เครอื ขา ยสรา งกระบวนการเรยี นรู 3) เครือขา ยสรา งความเขา ใจและเผยแพรป ระชาสัมพันธ ทั้งน้ีแกนกลางขับเคลื่อนมี 3 ระดับ ไดแก คณะท่ีปรึกษาผูทรงคุณวุฒิคณะอนกุ รรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพยี ง และกลมุ งานเศรษฐกิจพอเพียงใน สศช. ซึ่งจะเปนหนว ยปฏบิ ตั งิ านในการดาํ เนนิ งาน

7 การขับเคลื่อนจะเปนในลักษณะเครือขายและระดมพลังจากทุกภาคสวน โดยมีแกนกลางขับเคล่ือน 3 ระดับ ไดแก คณะที่ปรึกษาผูทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุมงานเศรษฐกิจพอเพียงใน สศช. ซึ่งจะเปนหนวยปฏิบัติในการดําเนินงาน และจะทูลเกลาทูลกระหมอมถวายผลการดําเนินงาน เพ่ือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เน่ืองในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 80พรรษา ในเดือนธนั วาคม 2550แหลง อางองิสํานกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแหง ชาติ. “เศรษฐกจิ พอเพยี งคืออะไร”. (ออนไลน) แหลง ที่เขาถึง : http://www.sufficiencyeconomy.org/detail.swf


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook