หนังสอื เรยี นวชิ าเลอื ก สาระการพฒั นาสังคม รายวิชาสโุ ขทยั ศึกษาเชงิ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวถิ ีชวี ติ 40 ประเภทผิวเคลือบนํา้ ยา แบง่ ตามลักษณะของสีและการตกแต่งลวดลายได้ ดังนี้ -ชนิดเคลือบน้ํายาสีเขียว เรียกว่าเป็นเคร่ืองเคลือบดินเผาตระกลูเซลาดอนมีการตกแต่งลวดลาย อย่างงดงามบนภาชนะ - ชนิดเคลือบนํ้ายาสีขาวขุ่น เคร่ืองเคลือบชนิดนพี้ บท่เี ตาสโุ ขทยั และเตาปา่ ยาง ได้แก่ พวกโคมไฟ ตุก๊ ตา กระเบื้อง เปน็ ตน้ - ชนิดเคลือบสีนํ้าตาล สีของน้ํายาเคลือบมีสีน้ําตาลอ่อน จนถึงน้ําตาลเข้ม ได้แก่ ไหขนาดเล็ก ขนานใหญ่ โอง่ ต๊กุ ตา - ชนิดตกแตง่ ลวดลายดว้ ยการขูดขดี ลงไปในเน้อื ดนิ แล้วเคลือบ สว่ นใหญเ่ ปน็ ลายพันธุ์ไมเ้ ลอ้ื ย นอกจากน้ียังมีเคร่ืองป้ันดินเผาสีอ่ืนๆ อีก เช่นสีนํ้าเงินเข้ม สีดํา แต่ท่ีมีลักษณะพิเศษจะงดงานและมีราคา สูงมาก พระพุทธรปู สโุ ขทยั พระพทุ ธรปู สุโขทัยเปน็ พุทธรปู ทง่ี ดงามออ่ นช้อย ดังที่สงวน รอดบญุ (2521)ไดส้ รปุ ไว้ดังนี้ “มีพระพักตร์รูปไข่ ทรงพระเศียรสมส่วนกับพระศอและอังศา พระเกตุเมาลีเป็นเปลวรัสมี ขมวด พระเกศาเป็นวงก้นหอย ไม่มีไรพระศก พระขนงโก่งคมสันดังคนสรเปลือกพะเนตรอวบอูบมีลักษณะดุจ กลีบบัว พระนาสิกงุ้ม พระกรรณยาวตอนบนเป็นมุมแหลมน้อยๆ พระโอษฐ์เล็กและบาง มุมพระโอษฐ์ย้ิม เล็กน้อย พระหนุเป็นปม ช่วงพระอังสากว้าง พระอุระผาย สง่างามดั่งสีหราช พระกายอ่อนช้อย พระกร เรียวดุจง่วงช้างน้ิวพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทอ่อนไหว สังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายสังฆาฏิเป็นแฉก คลา้ ยเขยี้ วตะขาบ จีวรบางแนบพระองค์.. สําหรับอุณาโลม อันประเสริฐ หรือดวงตาท่ีสาม นั้นกล่าวกัน ว่า เป็นเครื่องช้ีว่าพระองค์ทรงเป็นสิ่งท้ังปวงพระกรรณที่ใหญ่อาจแสดงว่า พระองค์ทรงได้ยินส่ิงทั้งปวง และพระเกตุมาลาเป็นสยั ลกั ษณแ์ หง่ สัพพญั ญู คอื รอบรสู้ งิ่ ทัง้ ปวง” ศาสตราจารย์ศิลปะ พีระศรี ไดก้ ล่าวถึงการสรา้ งงานของศลิ ปนิ กับความงามพทุ ธรูปสุโขทัย “…พระพทุ ธรูปสมัยสโุ ขทัยบางองค์งดงามย่ิง จนดูมลี ักษณะคลา้ ยกับสตรีเพศมีน้อยคนทจ่ี ะ ตระหนักว่าลกั ษณะเชน่ น้ขี นึ้ อยู่กบั ความเครรพนบั ถือลกึ ซึง้ ของศิลปินโบราณที่มีอยู่ต่อพระสัมมาสมั พุทธ เจา้ โดยเหตุนี้เองศิลปนิ จึงสร้างพระพุทธรูปไม่ให้มเี พศโดยกล่าวมาแล้วเม่ือพระพทุ ธโคดมได้บรรลุ พระ สมั มาสัมโพธิญาณแลว้ พระองค์ก็ทรงสถิตอยู่ในแดนแหง่ นามธรรม ซึ่งลักษณะเพศไม่มีอยู่อกี เลย เพราะฉะน้นั เร่ืองของพระพทุ ธรูปจึงเป็นโลกุตตระมากกวา่ โลกยี ์…” พระพทุ ธรูปท่ีเป็นแนวพ้ืนฐานของพระพุทธรปู สโุ ขทัยสร้างข้นึ ตามแนวรูปแบบของ พระพทุ ธรูปทวาราวดีในสวุ รรณภูมเิ มื่อได้แนวพน้ื ฐานจากพระพทุ ธรปู ตา่ งๆ แล้วก็สรา้ งข้ึนใหม่ตามรสนิยม แห่งความงามตามยุคสมยั ซ่ึงถ่ายทอดตามจิตวิญญาณท่มี ีศรัทธาแกก่ ลา้ ออกมาเปน็ พระพุทธลักษณะท่ีงาม เด่นไดอ้ ย่างนา่ อัศจรรย์ นอกจากน้ีได้ประดษิ ฐร์ ปู แบบเปลวรัศมบี นพระเมาลไี ดอ้ ยา่ งสวยงามแตง่ ต่าง ออกไปจากยคุ สมยั ตน้ ๆ พระเกตุมาลาท่พี ระเศยี รเป็นลกั ษณะอุณหิส ซง่ึ เปน็ ส่วนของกระหม่อมศรี ษะทน่ี ูนสงู ขน้ึ อย่างสงา่ งามดังผา้ โพกหรือมงกฎุ การสร้างพระพุทธรูปจงึ พยายามทําใหก้ ระหม่อมนนู สูงแตกต่างออกไปจากพระ สาวกและคนท่วั ไป พระศก หมายถึง ผมมีลักษณะเป็นเมด็ ขมวดอย่างก้นหอย ประสงคใ์ หเ้ ห็นเป็นส่ิงแปลกออกไป จากสามัญชนธรรมดา
หนังสือเรียนวิชาเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสุโขทัยศกึ ษาเชิงประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวถิ ชี ีวติ 41 พระรศั มี อยู่บนพระเกตุมาลา มลี ักษณะเปน็ รปู ต่อมกลม หรือปลายแหลมดุจดอกมะลิตมู ซง่ึ หมายถงึ ก้อนแก้ว หรือดวงปัญญานัน่ เอง ต่อมามกี ารประดษิ ฐ์พระรัศมีเปน็ รปู เปลวหรือเปลวเพลงิ วางอยู่ บนพระเกตุมาลาเช่นเดยี วกนั พระพทุ ธรูปสมัยสโุ ขทัยมลี ักษณะความงามเด่นเปน็ พเิ ศษคือ พระวรกายพ่วงพี กาํ ยาํ จงึ มีพระ พาหาใหญ่ พระพักตร์ค่อนข้างยาวรี ชายผ้าสงั ฆฏยิ าว ส่วนมากจะแสดงพระอิรยิ าบถนงั่ นอน ยนื เดนิ ครบท้ังส่อี ริ ยิ าบถ พระอิรยิ าบถต่างๆ มดี ังตอ่ ไปน้ี 1. พระอริ ยิ าบถนงั่ สว่ นมากจะประทบั นงั่ ขัดสมาธิราบ พระหตั ถ์ซ้ายวางบนพระ เพลา พระหัตถข์ วาวางบนพระชานุขา้ งขวา เรยี กว่า ปางมารวิชัย หรอื ปางชนะมาร 2. พระอิริยาบถนอน เรียกว่า ปางไสยาสน์ หรือ ปางสหี ์ไสยาสน์ (นอนอยา่ งราชสีห์อันแสดง ถึงความสง่างามน่าเกรงขาม) ประทบั นอนตะแคงทับพระพาหาด้านขวา และงอพระกรขวาแลว้ ใชพ้ ระ หัตถ์ช้อนขึ้นหนนุ พระศรีค่อนไปด้านหลงั สว่ นพระกรซ้ายวางทอดไปตามพระวรกายและวางพระหตั ถ์ราบ ไปกบั พระชงค์ 3. พระอิริยาบถยืน จดั อยูใ่ นปางห้ามญาติ คอื ประทบั ยนื พระกรซา้ ยทอดลง พระกรขวา ยกขึ้นและเปิดพระหตั ถอ์ อกไปด้านหน้า พระอริ ยิ าบถน้ีมอี ยูม่ าก และมกั จะมขี นาดใหญ่ เรียกว่า พระอัฎฐา รส เชน่ ที่วัดมหาธาตุ และวดั สะพานหนิ จังหวัดสโุ ขทยั 4. พระอิริยาบถเดิน เรียกวา่ ปางลลี า ประทบั ยืนพระบาทซ้ายกา้ วเหลอ่ื มไปขา้ งหนา้ พระ บาทขวาอยใู่ นลักษณะก้าวตามเป็นกิริยาย่างก้าวพระหัตถ์ขวาห้อยลงในท่าไกวพระกร พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น ป้อง พระพุทธรูปปางลีลาน้ีได้รับการยกย่องนับถือมากเพราะมีท่าทางอ่อนช้อยดุจชะลอไปตามลม จัดได้ เปน็ ผลงานสร้างสร้างสรรคส์ ดุ ยอดของพระพุทธรูปสโุ ขทัย
หนงั สอื เรยี นวิชาเลือก สาระการพัฒนาสงั คม รายวิชาสุโขทัยศึกษาเชงิ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวถิ ชี ีวิต 42 เรอ่ื งท่ี 2 แหล่งศิลปกรรมและโบราณสถาน ดว้ ยเหตุท่สี ุโขทัยเป็นจงั หวดั ท่มี มี รดกทางโบราณสถานและโบราณวตั ถุและมีเมืองโบราณ ที่กรมศิลปากรข้ึนทะเบียนไว้เป็นสมบัติของชาติเป็นจํานวนมาก อีกทั้งยังมีเมืองโบราณที่ยังตกสํารวจซึ่ง นักวชิ าการท้องถ่นิ ได้ค้นพบเพ่ิมเตมิ เป็นจาํ นวนมาก ฉะน้นั ในท่ีนี้จะได้กล่าวถึงศิลปกรรมท้องถิ่นโดยสังเขป ดงั น้ี 1. อทุ ยานประวัติศาสตรส์ โุ ขทยั 2. อุทยานประวตั ิศาสตร์ศรสี ัชนาลัย 3. เมืองโบราณบางขลัง 4. แหลง่ ศลิ ปกรรมและเมอื งโบราณทส่ี าํ รวจพบ อทุ ยานประวตั ิศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต้ังอยู่ในเขตตําบลเมืองเก่า อําเภอเมือง จังหวัดสุโขทัยมีอาณาเขต ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร มีโบราณสถานทั้งหมดไม่ต่ํากว่า 200 วัด ด้านทิศตะวันตกของเมืองติด เทือกเขาประทกั ษ์ อนั มีเขาที่สําคญั คอื เขาหลวง เขาโป่งสะเดา เขาแม่ย่า เป็นต้น มีพ้ืนที่ลาดเอียงปางทิศ ตะวนั ออกจนถึงแมน่ ํา้ ยม ซ่งึ ห่างจากตวั เมอื งโบราณประมาณ 12 กิโลเมตร มีโบราณสถานที่นา่ สนใจ คอื 1. โบราณสถานภายในกาํ แพงเมอื ง มีวดั ทบี่ ูรณะแลว้ เปน็ อยา่ งดีจนทําให้ภูมิทัศน์โดยทั่วไปสวยงาม เป็นแหล่งที่ดึงดูดนักท่องเท่ียวได้อย่างดี ประกอบด้วยโบราณสถานหลายแห่ง คือ วัดมหาธาตุ อันเป็นวัด ขนาดใหญ่กลางเมอื งสโุ ขทัย เนินปราสาท วัดสระศรี วดั ศรสี วาย วดั ตระพังเงิน วดั ชนะสงคราม หลักเมือง วัด ตระพงั ทอง วัดใหม่ วดั ตระกวน วดั สรศักด์ิ วัดซอ่ นข้าว ศาลตาผาแดง สระนาํ้ (ตระพัง) บอ่ น้าํ 2.โบราณสถานภายนอกกําแพง สุโขทัยมีแหล่งโบราณสถานท่ีกระจัดกระจายอยู่รอบเมือง สุโขทยั ซงึ่ ล้วนเปน็ แหล่งโบราณสถานท่ีน่าสนใจจาํ นวนมาก คือ วัดศรีชุม วัดพระพายหลวง วัดเตาทุเรียง วัดสังฆาวาส วัดหินต้ัง เตาเผาเครื่องป้ันดินเผา วัดก้อนแลง วัดมุมลังกา วัดอโศกคาราม (วัดสลัดได) วัด ต้นจันทน์ วัดวหิ ารทองหรือวดั ทักษณิ าราม วัดเชตุพน วัดเจดีย์สี่ห้อง วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม (วัดตาเถร ขึงหนึง) วัดยายชี วัดคลองป่าลาน ถนนพระร่วง วัดตระพังช้าง วัดโบสถ์ วัดหญ้ากร่อน วัดช้างล้อม วัด ต้นมะขาม วัดพระนอน วัดตระพังทองหลาง วัดเจดีย์สูง วัดเกาะไม้แดง วัดสะพานหิน วัดอรัญญิก วัด หนองปา่ พง วดั ตระพังชา้ งเผือก วัดช้างรอบ วัดเขาพระบาทน้อย วัดกําแพงหิน วัดป่ามะม่วง วัดสีโทล วัด ตึกหอเทวาลัยเกษตรมาร วดั มังกร วดั เจดยี ์งาม วดั ถาํ้ หีบบน วัดถาํ้ หีบล่าง วัดเขาพระบาทใหญ่ ทํานบพระ รว่ ง (สรดี ภงส์1) ทํานบพระร่วง (สรดี ภงส์2) อทุ ยานประวัติศาสตรศ์ รีสชั นาลยั อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ในเขตอําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณ ต้ังอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตําบลศรีสัชนาลัย พื้นที่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ ทั้งหมดประมาณ 45.14 ตารางกิโลเมตร หา่ งจากอาํ เภอเมอื งสโุ ขทัยประมาณ68กิโลเมตร
หนังสือเรียนวชิ าเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสุโขทยั ศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวิถชี ีวติ 43 ศรีสัชนาลยั เปน็ เมืองโบราณเมืองหน่ึงท่ีเกิดขึ้นก่อนอาณาจักรสุโขทัยกล่าวคือเกิดก่อน ท่ีพ่อขุนศรี อินทราทิตย์จะขึ้นครองกรุงสุโขทัย แต่ในระยะนั้นช่ือว่า เชลียง ซ่ึงเป็นเมืองศูนย์กลางใน ลุ่มแม่น้ํายมมา ก่อน จนกระท่งั กลายเป็นเมืองลูกหลวงเอก มีช่ือว่า “เมืองศรีสัชนาลัย”และเมื่ออยุธยาขยายอํานาจเข้ามา อยสู่ ุโขทยั แลว้ ศรีสัชนาลยั ก็มชี ่ือใหม่วา่ “สวรรคโลก”ซึ่งได้ลดบทบาทลงมามีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองช้ันโท และเมือคราวเสียกรงุ ศรีอยุธยาแกพ่ ม่า ในปี พ.ศ. 2310 เมืองสวรรคโลก กถ็ ูกทิ้งร้างไป เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศ บริเวณที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขามีขอบเขตของ ผงั เมืองลอ้ มรอบด้วยกําแพงเมอื งทเี่ ป็นศลิ าแลงรปู หลายเหล่ียมไม่สมา่ํ เสมอตามทิศทางท่ีสาย ลํานํ้ายมไหล ผ่าน มีโบราณสถานท้ังภายในกําแพงเมืองและนอกกําแพงเมืองรวมท้ังหมดถึง 215 แห่ง ดังจะได้กล่าวถึง ลกั ษณะโบราณท่ปี รากฏในอทุ ยานประวัตศิ าสตร์ศรสี ัชนาลัย ดงั นี้ 1. โบราณสถานในกําแพงเมือง ลักษณะกําแพงเมืองมีกําแพงศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี คนดินและคูนํ้าล้อมรอบ กําแพงเมืองด้านตะวันออกออกเฉียงเหนือเป็นด้านที่ขนานกับลําน้ํายม ก่อด้วย ศลิ าแลงกวา้ ง 2.20 เมตร ยาว 800 เมตร แนวกําแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยาวประมาณ 770 เมตร กําแพงเมืองด้านน้ีเป็น แนว ตรง และยาวท่ีสดุ คือ 1,070 เมตร กวา้ ง 1.80 เมตร แนวกาํ แพงเมืองช้นั กลาง เป็นแนวคนั ดนิ ทีอ่ ยาระหวา่ งกาํ แพงเมืองชน้ั นอก และชั้นในโดยมีคูเมือง คน่ั แนวกําแพงปรากฏอย่เู พยี ง 3 ด้าน คือ - ด้านตะวนั ออกเฉียงใต้ ยาวประมาณ 48 เมตร - ดา้ นตะวนั ตกเฉียงใต้ ยาวประมาณ 130 เมตร - ดา้ นตะวนั ตกเฉยี งเหนือ ยาวประมาณ 500 เมตร ประตูเมอื งมี 6 ประตู คอื ประตูรามณรงค์ อยู่ด้านหน้าตอนกลาง แนวด้านหน้าชิดลําน้ํายมคือประตูดอนแหลมแนวกําแพง ด้านขวา มี 2 ประตู คือ ประตูสะพานจันทร์ อยู่ด้านหน้าแนวเขาและประตูชนะสงครามอยู่ทางด้านหลัง แนวเขา ตรงมุมของกาํ แพงเมืองด้านขวาและด้านหลังชนกันมีประตู ไชยพฤกษ์และประตูสุดท้ายคือ ประตู เตาหม้อทด่ี ้านหลังเมอื งชดิ แมน่ ้าํ ยม 1. โบราณสถานภายในกําแพงเมือง คือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์ 7 แถว วัดสวนแก้ว อุทยานใหญ่ วัด นางพญา วดั สวนแก้วอุทยานน้อย วัดเขาพนมเพลิง วดั เขาสวุ รรณคีรี 2. โบราณสถานภายนอกกาํ แพงเมอื ง คอื วดั พระศรีรตั นมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจนั ทร์ วัดน้อย จาํ ปี วดั โคกสงิ คาราม วัดพญาดํา วดั เขาพระบาท วัดเขาอินทร์ วัดกุฎีราย เตาทุเรียง (ซึ่งมีเป็นจํานวนมาก นับไดห้ ลายร้อยเตาเรยี งรายรมิ ฝงั่ แม่นาํ้ ยม) เมอื งโบราณบางขลัง ชื่อของเมอื งบางขลงั อาจไม่คุ้ยเคยกับบุคคลท่ัวไปมากนัก ด้วยว่าเมื่อราว 30 ปีเศษท่ีผ่านมา เมือง นเ้ี ป็นเมืองโบราณทซี่ ุกซ่อนอย่ใู นป่าลกึ จนเมื่อราว 2507-2508 ชาวบ้านกลุ่มแรกได้เข้าไป จับจองที่ทํามา หากนิ จาํ นวน 18 ครัวเรอื น จนถงึ ปัจจบุ นั นมี้ ีประชากร 19,197 ครัวเรอื น ประชากรเป็นชาย 35,385 คน หญิง 37,088 คน (สุมาลิน วงศ์มณี และ คณะ, 2538) บริเวณเมืองบางขลังปัจจุบันมีประชากรเข้าไป อาศยั อยู่เป็นจาํ นวนมากแต่อยา่ งไรกต็ ามบางแหง่ ท่ียังมีแหล่งโบราณสถานปรากฏอยู่ยังเป็นที่ว่างเปล่าที่ยัง ไม่มีผู้จับจองเป็นเจ้าของ
หนงั สอื เรยี นวิชาเลือก สาระการพฒั นาสังคม รายวิชาสุโขทยั ศกึ ษาเชิงประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวิถีชวี ิต 44 เพื่อให้เยาวชนสุโขทัยได้รู้จักเมืองบางขลังมากขึ้น จึงได้นําเอาเรื่องราวของเมืองบางขลัง ที่ น่าสนใจมากล่าวถงึ ดงั ตอ่ ไปนี้ ประวตั ิชมุ ชนและแหลง่ ศิลปกรรมเมอื งบางขลงั บางขลงั ในอดีตเป็นชุมชนโบราณร่วมสมัยกับสุโขทัยและศรีสัชนาลัย กล่าวคือ สมัยทวาราวดีและ สมัยสโุ ขทยั ดังปรากฏหลงั ฐานในศิลารึกหลักที่ 2 จารกึ วัดศรชี ุมดา้ นที่ 1 บรรทัดที่ 23-24 ว่า “...พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีเสชนาไล...พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด เอาพลมาตบกันที่ บางขลง ได้เวณบางขลงแก่พอ่ ขุนผาเมอื ง... ” และยังปรากฏหลักฐานในจารึกหลักที่ 3 จารึกนครชุม มีกล่าวถึงช่ือเมืองต่างๆ พร้องกับเมือง บางขลง ซึ่งก็หมายถึงเมืองบางขลังน้ันเอง ประกอบกับซากโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ประเภทพระ เคร่ือง พระพุทธรูปจํานวนมาก โดยเฉพาะพระเครื่องกรุบางขลังเป็นพระเคร่ืองท่ีมี ชื่อเสียงด้านความขลัง ความศกั สิทธ์อิ ย่ยู งคงกระพนั หลักฐานที่ปรากฏทางโบราณคดีมีแหล่งโบราณสถานปรากฏอยู่ 4 แหล่งใหญ่ แต่กระจัดกระจาย อยใู่ นอาณาเขตราว 2 กิโลเมตร ได้แก่ 1. วดั โบสถ์ เมอื งบางขลงั มมี ณฑปและกําแพงรอบมณฑปสมยั สุโขทยั และสระน้ําโบราณ 2. วัดใหญ่ชัยมงคล ต้ังอยู่ที่บ้านท่าวิเศษ ในบริเวณวัดใหญ่ชัยมงคล โบราณสถานประกอบ ด้วย ซากเจดยี ์ วิหารและกําแพงวดั นอกจากนี้ยงั มโี บราณสถานและศลิ ปวตั ถุกระจัดกระจายอย่ทู ่วั ไป ทีค่ วรจะกลา่ วถึงไดแ้ ก่ 1. วัดเจดีย์เจด็ แถว เปน็ วัดรา้ งมีกองศิลาแลงกระจัดกระจายอยูจ่ ํานวน 7 กอง 2. วดั เจดียใ์ หญ่ อยู่ใกลว้ ดั เจดีย์เจ็ดแถว สภาพของโบราณสถานมีเพียงศลิ าแลงกระจดั กระจายอยู่ทัว่ ไป 3. เจดีย์เขาพระ อยบู่ นยอดเนินเขาเล็กๆ ของเขาวงเดื่อ สภาพโบราณสถานเป็นศิลาแลงและฐาน เจดยี ์ที่ปรกั หักพงั 4. บอ่ ศลิ าแลง อย่บู ริเวณเชิงเขาเด่ือ ลักษณะของบ่อมีการขุดค้น สันนิษฐานว่าจะเป็นแหลางศิลา แลงท่ใี ช้ในการสรา้ งวดั วาอารามสมยั สโุ ขทัย 5. วดั นากลาง โบราณสถานท่เี หลืออยู่ คือ วิหารปรกั หกั พังและบ่อนา้ํ โบราณ 6. พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เป็นพุทธรูปที่งดงามมากชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อสามพ่ีน้องเดิม ประดิษฐานอยทู่ วี่ ดั โบสถ์ ปัจจุบันประดิษฐานอย่ทู ีว่ ัดบ้านซ่าน อาํ เภอศรสี ําโรง จังหวดั สุโขทยั 7. พระเครื่องเมืองบางขลัง จากการขุดค้นหาวัตถุโบราณของชาวบ้าน ทําให้พบพระเครื่อง เมือง บางขลัง พระพุทธรูปบูชา เป็นจํานวนมาก เป็นที่น่าเสียดายว่าศิลปวัตถุเหล่าน้ีไม่ได้เก็บไว้ใน พิพิธภัณฑ์ หากแตก่ ระจัดกระจายอยใู่ นหมู่นกั สะสมพระและพระเคร่ืองทั่วไป เพราะพระกรุบางขลังมี ชื่อเสียงมากใน ด้านอยยู่ งคงกระพนั
หนังสือเรยี นวชิ าเลอื ก สาระการพัฒนาสังคม รายวชิ าสุโขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวถิ ชี ีวติ 45 เร่ืองท่ี 3 แหล่งศลิ ปกรรมและเมอื งโบราณในสโุ ขทยั สุโขทัยมีแหล่งศิลปกรรมท่ีสําคัญอยู่มากมาย ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่จํานวนมาก เพราะมีเมืองเก่าสุโขทัย เมืองเก่าศรีสัชนาลัย และเมืองโบราณบางขลัง อีกเมืองหนึ่ง ท้ังสามแหล่งนี้กรม ศลิ ปากรซ่งึ มีหน้าท่ีโดยตรงในการฟน้ื ฟอู นรุ กั ษ์ศิลปกรรมอันเป็น มรดกของชาติอยู่แล้วได้มีการบูรณะเมือง สุโขทัยจนท้ังสองแห่ง คือเมืองเก่าสุโขทัยและเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ได้เริ่มโครงการฟื้นฟูเป็นอุทยาน ประวตั ิศาสตรส์ ุโขทัยและอทุ ยานศรสี ัชนาลยั ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จนปัจจบุ นั รฐั บาลไทย และองค์การศึกษา วิทยาศาสตรแ์ ละวัฒนธรรมสหประชาชาติ หรอื ยูเนสโก ยกย่องอุทยานท้งั สองแหง่ เปน็ มรดกโลก ถึงแม้กระนั้นแหล่งศิลปกรรมและเมืองโบราณในท้องถิ่นสุโขทัย ยังคงกระจายอยู่อําเภอต่าง เป็น จํานวนมาก ท่ีขาดการเอาใจใส่บํารุงรักษาก่อให้เกิดความเส่ือมโทรอันเกิดจากการเจตนาและรู้ไม่เท่าถึง การณ์ของบุคลในท้องถิ่น ซึง่ ผเู้ ขยี นมีความประสงคจ์ ะให้เยาวชนไดร้ ู้จัก และเห็นคุณค่าเพ่ือจะเกิดจิตสํานึก ในการอนรุ ักษ์ส่ิงเหลา่ น้ีได้อยคู่ งคูก่ ับสงั คมไทยตลอดไป จึงจะได้กลา่ วถงึ เมืองโบราณและแหล่งศิลปกรรมท่ี ควรรูจ้ กั ดงั น้ี วัดราชธานี วัดราชธานีเปน็ วัดทตี่ งั้ อยู่รมิ ฝัง่ แมน่ าํ้ ยมกลางสุโขทัยใหม่ หรือสุโขทัยในปัจจุบันตําบลธานี อําเภอ เมอื ง จังหวดั สุโขทยั วัดราชธานีเดิมชื่อ “ป่าละเมาะ” เพราะต้ังอยู่บนเกาะซ่ึงเต็มไปด้วยป่าละเมาะและป่าไม้เกาะน้ี เกิดจากคลองแม่ลําพันท่ีไหลเลียบกําแพงเมืองเก่าสุโขทัยไหลมาบรรจบกับแม่นํ้ายมในลักษณะ ตัดกัน ซ้ึง ทําให้เกิดคลองขึน้ อกี คลองหน่ึง อย่ทู างทิศเหนือของเกาะเรียกว่า คลองหัววัว (ปัจจุบันคลองน้ีถูกสร้างเป็น อาคารร้านค้า) คลองหัววัวไหลไปบรรจบกับคลองกระชงค์ทําให้มีสภาพเป็นเกาะ ต่อมาวัดป่าละเมาะได้ เปล่ียนช่ือเป็น “วัดท่าหนี้” เพราะตรงวัดน้ีมีเรือข้ามฝากและเป็นท่าเรือท่ีใช้เป็นท่าไปมาค้าขายจุดสําคัญ ระหว่างเมืองสโุ ขทัยและจากด้านทิศเหนือ คอื เมอื งเชลยี ง และในกาลเวลาต่อมา ได้เปลี่ยนเป็น “วัดธานี” ตามชื่อหมู่บ้าน จนต่อมาในสมัยพระราชธานีมาเป็นเจ้าเมือง(ราชธานี)ได้ทําการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดธานี แลว้ จึงเปลยี่ นช่ือเปน็ “วัดราชธานี” ซงึ่ ใชม้ าจน ถงึ ปจั จบุ ัน วัดราชธานีเป็นวัดเก่าแก่จากหลักฐานทางโบราณคดี มีศิลปวัตถุปรากฏอยู่ คือ เจดีย์เก่าแก่มีอิฐ ขนาดกวา้ ง 6 นว้ิ ยาว 12 น้วิ หนา 1 นวิ้ ครงึ่ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ สมัยสุโขทัย ภายในวิหารวัดราชธานีมีพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางต่างๆ เป็นจํานวนมาก นอกจากน้ียังมี พระพุทธรูปสมัยอูท่ อง สมัยลพบุรีเป็นจํานวนมาก นัยหนึ่งว่าเป็นของเก่าแต่เดิม และท่านเจ้าคุณโบราณ วัตถาจารย์ เจ้าอาวาสได้นํามาจากสุโขทัยเพ่ือนํามาเก็บรักษาไว้ ต่อมาภายหลังได้นําไปเก็บรักษาไว้ท่ี พพิ ิธภณั ฑสถานแห่งชาตภิ มู ิภาคที่ 3 สุโขทัย ที่เหลือนอกนั้นถูกเพลิงเผาเม่ือครั้งเกิดเพลิงไหม้สุโขทัยเมื่อปี 2511 วัดราชธานีน้ีในหนังสืองานฉลองอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ได้เล่าถึงประวัติ ของพระยาพิชัยว่า เดิมช่ือ จ้อย เกิดเม่ือ ปี 2284 จ้อยชอบเรียนวิชาต่อยมวยต่อมาได้มีเร่ืองชกต่อยกับลูก ชายเจ้าเมอื งพิชัย บิดาของนายจอ้ ยเกรงวา่ จะได้รับอันตรายจึงได้หลบหนีไปอยู่ศรีสัชนาลัย ได้ฝึกหัดวิธีฟัน ดาบท่ีศรีสัชนาลัย ต่อมาได้ย้ายจากศรีสัชนาลัยไปอยู่กับพระวัดราชธานี เมืองสุโขทัย ด้วยเกรงอาญาพระ ยาพิชัยจะเอาผดิ จึงไดเ้ ปลี่ยนช่อื จากจอ้ ยเปน็ ทองดี ขณะที่อาศัยอยู่วัดราชธานีได้ไปชมง้ิว จึงนําวิธีการมา ฝึกหัด จนกระท่ังมีครูมวยจีนคนหนึ่งมารับเป็นศิษย์นายจ้อยหรือทองดีได้อาศัยอยู่วัดราชธานีเป็นเวลา
หนงั สือเรยี นวชิ าเลือก สาระการพฒั นาสังคม รายวิชาสุโขทยั ศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวิถีชวี ติ 46 เกอื บปี ต่อจากนัน้ จงึ ได้ไปอยู่กบั พระทีเ่ มอื งตาก ด้วยความท่เี ป็นคนมฝี ีมือ นายทองดีจึงได้เป็นพระยาพิชัย ดาบหกั ทหารเอกของพระเจ้าตากสิน ในสมัยกรงุ ศรอี ยธุ ยานั่นเอง ต่อมาพระราชประสิทธคิ ณุ เจ้าอาวาสวัดราชธานีได้พยายามรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ไว้เป็น จํานวนมาก กรมศิลปากรได้รับเป็นพิพิธภัณฑ์วัดราชธานี อําเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นสาขา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เม่ือพ.ศ.2479และต่อมาได้ย้ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ รวมท้ังสิน1,932 รายการ เก็บไวท้ ีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ภมู ภิ าคที่ 3 สุโขทยั วดั ราชธานีเมือ่ ประมาณ 70 ปกี ่อน ทางราชการพ่อค้า ประชาชน ถือว่าเป็นวัดสําคัญวัดหน่ึง ทาง ราชได้อาศัยประกอบพิธีท่ีสําคัญ เช่น พิธีถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา อีกท้ังยังเป็นวัดท่ีต้ังอยู่กลางใจเมืองมีอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศาลาวัด นอกจากใช้ บําเพ็ญกุศลแล้วยังใช้เป็น สถานศึกษา เป็นที่เรียนหนังสือของเด็กช้ันประถมศึกษาแห่งแรกในเมืองสุโขทัย และโรงเรียนมัธยมศึกษา สตรปี ระจาํ จงั หวัดเคยตั้งอย่ปู ัจจบุ นั คือโรงเรยี นอดุ มดรุณี ดังกล่าวถึงความสําคัญของวัดราชธานีนี้ทําให้ประชาชนทั่วไปเช่ือว่าวัดน้ีมีความสําคัญคือเป็นวัด หลวงทมี่ คี วามสาํ คัญมากวัดหน่ึง วัดหนองโว้ง วัดหนองโว้งตั้งอยู่ที่ หมู่ท่ี 1 ตําบลเมืองบางยม อําเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย สร้างข้ึนในปี 2422 เดิมเป็นสํานักสงฆ์สําหรับเผาศพ เพราะบริเวณพ้ืนที่เหนือวัดประมาณ 1 กิโลเมตรเป็นท่ีต้ังศาล เมืองบางยม (ปจั จบุ นั ศาลเมืองบางยมไดจ้ มนา้ํ หายไปเพราะพื้นทไ่ี กล้แม่น้าํ ยมได้จมหายไปประมาณ 10 ปี) ในปี 2433 คณะสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันสร้างอุโบสถหลังใหม่ โดยสร้างทับท่ีเก่าต่อมาในปี 2439 มีการสร้างมณฑปเพ่ือบรรจุรอยพระบาทพระพุทธบาทจําลองที่มีประวัติไม่แน่ชัดว่าสร้างในสมัย อยุธยาหรือสมัยใด พ.ศ. 2456 ชาวบ้านวัดหนองโว้งได้พบพระพุทธรูปเก่าหลายองค์ซ่ึงอยู่ในอุโบสถหลัง เก่าของวัดปากนํ้า ตําบลปากนํ้า อําเภอสวรรคโลกในอุโบสถพบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย สมัย สโุ ขทัย ซ่งึ มีพทุ ธลักษณะทงี่ ดงานมาก อัญเชิญมาไว้วัดหนองโว้ง เม่ือปี 2456 จํานวน 2 องค์ องค์เล็กหน้า ตักกวา้ ง 31 นว้ิ องค์ใหญห่ น้าตักกวา้ ง 39 น้วิ ชาวบา้ นเรยี กพระพุทธรปู 2 องคน์ ี้วา่ “หลวงพอ่ สองพี่น้อง” ภายในอโุ บสถวัดหนองโวง้ มจี ิตรกรรมฝาพนังท่งี ดงามมาก เขียนไวเ้ ม่ือ ปี พ.ศ. 2433 วัดทุง่ เนนิ พะยอม วัดทุ่งเนินพะยอม ต้ังอยูบ่ า้ นปา่ แฝก หมู่ 2 ตาํ บลป่าแฝก อําเภอกงไกรลาส จังหวัดสโุ ขทัย สภาพภูมิศาสตร์ของวัดทุ่งเนินพะยอมต้ังอยู่บนเนินดินอาณาเขตค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ทา่ มกลางทุง่ นาล้อมรอบและภายในบรเิ วณวัดมีต้นพะยอมใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ดังน้ันการต้ังชื่อวัดให้สอดคล้อง กบั ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศและไมย้ นื ตน้ ทเี่ ป็นจุดเดน่ ของวัดในสมัยก่อนจึงเปน็ ที่มาของ วดั ทุ่งเนินพะยอม หลักฐานความเป็นมาของวัดทุ่งเนินพะยอม ได้จากเอกสารประวัติอําเภอกงไกรลาศเรียบเรียงโดย อดีตศึกษาธิการ นายสุธีร์ ภูวสรรเพ็ชร ซ่ึงได้วิเคราะห์ตามประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2318 สมัยกรุงธนบุรีว่าฝ่ายอะแซวุ่นกี้คุมกองทัพหลวงมีจํานวน 15,000คนหนุนมากับตะแคงมะระหม่อง เจ้าเมืองตองอู กองทัพพม่าเดินทางมาทางด่านแม่ละเมาะเขตเมืองตากเดินทัพผ่านมาทางบ้านด่านลาน หอย โดยไม่มีผู้ใดตา้ นทานได้ เจา้ เมืองและกรมการเมืองของไทยต่างพากันหนีพม่าไปหมดส้ิน จึงได้ตรง มายงั เมอื งสโุ ขทัย ในพงศาวดาร พระเจา้ กรงุ ธนบุรีพระเจ้าตากสนิ ทรงกล่าววา่
หนังสือเรียนวิชาเลอื ก สาระการพฒั นาสงั คม รายวชิ าสโุ ขทยั ศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวถิ ีชีวิต 47 “...สุรสีห์ก็ยกไปตั้งค่ายอยู่ ณ บ้านไกร ป่าแฝก พม่ายกทัพล้อมไว้ แล้วขนค่ายทัพมาเป็นอัน มากจะต้ังค่ายล้อมเปิดช่องไวแ้ ตล่ ะด้านจะลงแมน่ ้ําเจ้าพระยาสุรสีห์ต้ังอยู่สามวันเห็นทัพพม่าเหลือกําลังจะ ต่อรบ จึงเลิกทัพถอยมาทางด้านท่ีเปิดไว้รับเข้าเมืองและตอนอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และกองทัพไทยซ่ึงมาต้ังรับใต้บ้านกงธานีแตกแล้วก็จับทัพแยกไปตีเมืองพิชัย ทัพใหญ่ก็ยกมาถึงเมือง พษิ ณโุ ลกในเดอื นอา้ ยขา้ งขน้ึ ...” จากข้อความน้ีวิเคราะห์ได้ว่าวัดทุ่งเนินพะยอมน่าจะร้างในปี พ.ศ. 2318 เพราะถูกพม่าเผาผลาญ โบสถแ์ ละวหิ ารปรกั หักพัง เมื่อเมืองพิษณุโลกแตกแล้วไพร่พลข้าแผ่นดินคงจะแตกกระจัดกระจาย ทั่วไป แผ่นดินสงบแล้วชาวบ้านป่าแฝกคงกลับมาอยู่ถิ่นเดิม ครั้นเป็นปึกแน่นดีแล้วก็คงช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ วดั ทงุ่ เนินพะยอมกันใหมใ่ หก้ ลบั คนื สภาพเดิม จงึ ปรากฏในโบราณสถานทเ่ี ป็นจดุ เด่นและน่าสนใจ ดงั น้ี 1. อุโบสถ หลังเดิมท่ีสร้างสมัยสุโขทัยซึ่งถูกพม่าเผาผลาญในปี พ.ศ. 2318 เหลือซีกด้านหลัง ด้านเดียว ต่อมาเจ้าอธิการนามเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยสร้างค่อมที่เดิมทําข่ือเป็นไม้ ต่อมาชํารดุ ประชาชนรว่ มกันปฏิสังขรณ์ใหมเ่ ป็นคอนกรตี เสริมเหลก็ เมือ่ ปี พ.ศ. 2510 2. พระประธานในอุโบสถ มีนามว่า “พระทศพลญาน” ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 135 เซนติเมตร สูง 175 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น สร้างเม่ือ พ.ศ. 2498 ในสมัยอาจารย์หรุ่น รกั ษาการแทนเจ้าอาวาสวดั ท่งุ เนินพะยอม 3. วิหารสร้างสมัยสุโขทัย เสาวิหารก่อด้วยอิฐหน้าวัวยังปรากกฎอยู่ วิหารกว้าง 11 เมตร ยาว 21.60 เมตร วิหารยังไม่ได้ทําการซ่อมแซมคงไว้สภาพเดิม ไม่มีผนัง มีพระประธานมีนามว่า “หลวงพ่อ เหม” หน้าตกั กวา้ ง 155 เซนตเิ มตร สูง 190 เซนติเมตร เปน็ พระพุทธรปู ปนู ป้นั 4. หนา้ หลวงพอ่ เหมมีพระพุทธรูปองคห์ นึ่งมนี ามวา่ หลวงพ่อตู้ หนา้ ตกั กว้าง 83 เซนตเิ มตร สูง 104 เซนติเมตร เขา้ ใจวา่ จะเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกสร้างไวเ้ มอ่ื ปฏสิ งั ขรณ์วดั ทุ่งเนนิ พะยอมรุ่นแรก ประชาชนชาวบา้ นป่าแฝกเล่ากนั ตอ่ มาว่าที่วหิ ารหลงั น้ที หี่ ลังคามีฝกั เพกาเป็นทองคาํ พม่าไดเ้ ผาแล้วนาํ เอา ฝักเพกาทองคาํ ไปหลวงพ่อเหมและหลวงพ่อตู้เปน็ พระพทุ ธรปู ที่ศกั ด์ิสทิ ธ์ิ ประชาชนต่างเคารพสกั การะ มาก 5. ศาลาการเปรียญหลังเดิมเปน็ ไม้ชํารดุ ท่านอธกิ ารเฉื่อย อรโุ ณ ไดร้ ่วมกนั สรา้ งเมื่อ พ.ศ. 2516 ปจั จบุ นั นีว้ ัดทุ่งเนินพะยอมเป็นวัดที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นวัดโบราณที่เยาวชน รุน่ หลงั ควรจะให้ความสนใจ วดั หาดเส้ยี ว วัดหาดเส้ียวเดิมชื่อว่า “วัดโพธ์ิไทร” ตั้งอยู่ท่ีตําบลศรีสัชนาลัย อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย บรเิ วณวดั ลอ้ มรอบดว้ ยท่ีอยู่อาศัยของประชาชนและร้านคา้ วดั หาดเสีย้ วเป็นวดั ท่มี คี วามสาํ คญั ต่อไทยพวนทบี่ า้ นหาดเสี้ยว เช่ือว่าเป็นวัดท่ีต้ังพร้อมๆ กับการ อพยพมาต้ังหลกั แหลง่ ของไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว ตามประวัติท่ีพันเอกวิเชียร วงศ์วิเศษ เล่าไว้ในหนังสือ ไทยพวนว่า ไทยพวนคือ ผู้อพยพมาจากแขวงเมืองเชียงขวางประเทศลาว ด้วยเหตุที่การอพยพของไทย พวนไมม่ ีการบันทกึ หรอื จารึกไว้ แตท่ ราบไดจ้ ากคําจารกึ ทีว่ ัดหาดเสยี้ ว ว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2387 และไทย พวนทว่ี ัดหาดเส้ียวน่าจะอพยพมาก่อนสร้างวัดราว 5-6 ปี ชาวไทยพวนเป็นผู้ท่ีรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของ ตนเองไว้อย่างดีท้ังประเพณี ภาษา วัฒนธรรม อันเป็นแบบฉบับอันน่าภาคภูมิใจ มีการดําเนินชีวิต ราบเรยี บสงบสขุ จิตใจ โอบออ้ มอารี ยึดม่ันในศาสนาอยา่ งยิ่ง
หนงั สอื เรียนวิชาเลือก สาระการพฒั นาสังคม รายวิชาสโุ ขทยั ศกึ ษาเชิงประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวิถชี ีวติ 48 วัดหาดเส้ียวมีศิลปวตั ถุท่ีน่าสนใจ คือ 1. ประตูวัด เกี่ยวกับประตูวัด ครูผวน พ่วงชวาลวงศ์ ได้เล่าให้ฟังว่าเดิมทีเดียวรอบบริเวณวัดมี ซุม้ ประตอู ยู่ 8 ทศิ ดังนี้ แต่ละซุ้มประตูมีจิตกรรมปูนป้ันเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ปรากฏเป็นภาษาไทยพวน ซึ่ง อาจารย์ผวน จดจําไว้ตัง้ แตเ่ ยาวว์ ัย ว่า ครุฑทะนงน่งั เนิ้ง แฝงฝา่ ย บูรพาทา่ นนา อาคะเนย์น้นั แมวคํา เปน็ อาจ ทักขนิ เบื้องราชสีห์ แหนแห่ เสือโครง่ น้นั เข้าเฝา้ หรดี ปัจสิมเมนาคเก้ยี ว พนั ดร พายพั เบอื้ งโคจร หนูอยู่ กญุ ชรช้างอุดร เที่ยวเถื่อน งัวเสอื เก้ียงฝา่ ยก้ํา อีสาน จะเห็นได้จากโคลงนี้ว่า ทิศที่มีประตูปรากฏอยู่จะมีชื่อสัตว์ต่างๆ มีตํานานเป็นอริกันทั้งสิ้น เร่ิม ตั้งแต่บูรพา (ครุฑ) ปัจจิม (นาค) อาคเนย์ (แมว) พายัพ (หนู) ทักษิณ (ราชสีห์) อุดร (ช้าง) หรดี (เสือ) อีสาน (วัว) 2. หอไตรวดั หาดเส้ยี ว เปน็ สถาปัตยกรรมที่มีความงามและทรงคุณค่าศิลปกรรม คือเป็นหอไตร ในน้ําที่เก็บคัมภีร์ที่จารึกใบลานจํานวนมากนับเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา คือ ตํารายาอักษรศาสตร์ และ คัมภีร์ทางศาสนาอันได้แก่ พระไตรปิฎก นิทานชาดก คํากลอน เป็นต้น เนื่องจากคัมภีร์ที่จารึกบนใบลาน จาํ เป็นท่จี ะต้องเกบ็ รักษาอย่างระมดั ระวังมใิ หถ้ ูกทําลายง่ายท้ังจากแมลงหรือสัตว์ต่างๆ จึงต้องสร้างในสระ น้าํ ลกั ษณะหอไตรสรา้ งในสระน้าํ เลก็ ๆ โดยการก่ออิฐถือปูนหอไตรเป็นเรือนไม้ทั้งหลัง ช้ันเดียว มีเสา รองรบั ส่แี ถวๆ ละสองต้น ตัวเรือนตีด้วยไม้แบบฝาลูกฟักหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ความโดดเด่นของ หอไตรก็คือลวดลายอนั สลกั เสลาของหน้าบนั ซงึ่ ประกอบด้วยลายกระหนกเครือเถาและเทพพนม ตัวนาคที่ ประทับหลงั คาเป็นไมแ้ กะสลกั ลวดลายที่หวั นาคสภาพโดยทั่วไปยังสมบูรณม์ าก 3. โบสถห์ ลังเกา่ วัดหาดเส้ยี ว ห่างจากซุม้ ประตู 8 ทิศ และหอไตรโบสถ์หลังนี้ได้รับอิทธิพล ของ ส่ิงก่อสร้างแบบชาวล้านช้าง จารึกอักษรธรรมล้านช้าง ติดอยู่ฝาผนังอุโบสถทําให้ทราบว่าผูกพัทธสีมาเม่ือ 2 เมษายน 2387 ซึง่ มีลกั ษณะแปลกตามาก ตัวฐานโบสถ์ยกพ้ืนสูงสร้างด้วยอิฐถือปูน หลังคามีถึงสี่ช้ัน มุง ด้วยกระเบือ้ งดินเผา หนา้ บนั เป็นไม้ตเี ป็นแนวนอน ดา้ นหนา้ โบสถ์มบี นั ไดขนึ้ ทงั้ ซา้ ยและขวาถึงระเบียงหน้า โบสถ์ จึงมีบันไดเข้าไปในตัวโบสถ์อีกทีหน่ึงบริเวณระเบียงหน้าโบสถ์มีเสาไม้ทรงกลมขนาดใหญ่ ซึ่งแต่งบัว หัวเสางดงามมาก ประตโู บสถ์เป็นลวดลายไทยปดิ ทอง โครงหลังคาโบสถก์ ่อสร้างด้วยไม้สี่เหล่ียมขนาดใหญ่ ในลักษณะการเขา้ เดอื ยไม้โครงหลังคาเปน็ ภาพเขยี นลวดลายไทยตลาดทุกด้านสวยงามตระการตามากและ เปน็ ส่ิงแปลกมาก ก็คือ ใบเสมาจะฝังอยู่ภายในตัวโบสถ์โผล่เหนือพื้นนั่งประมาณครึ่งฟุตผิดกับโบสถ์ที่อ่ืนท่ี ใบเสมาจะอยูน่ อกตัวโบสถ์
หนงั สือเรยี นวิชาเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสุโขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวิถชี วี ติ 49 ถาํ้ เจา้ ราม ถํ้าเจ้ารามเป็นถํ้าท่ีมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ ต้ังอยู่ในเขต ตําบลวังนํ้าขาว อําเภอบ้านด่าน ลานหอย จังหวัดสุโขทัย ลักษณะเป็นถํ้าหินขนาดใหญ่ มีทางเดเป็นอุโมงค์เข้าไปเป็นทางยาวและลึกมาก ปากถํ้าอยู่ทางด้านทิศใต้ของขุนเขาพระราม ปากถํ้ากว้าง 6 เมตร กว้างสุดในถ้ํา ประมาณ 10 เมตร สูง ประมาณ 30 เมตร ทางเดินค่อนข้างมืดและลึกลับบางตอนเป็นเหวลึก ภูมิประเทศโดยรอบขุนเขาน้ันแห้ง แล้ง ข้างล่างมพี รรณไม้ใหญ่นอ้ ยหนาทบึ ปจั จบุ ันเปน็ ถ้ํามีคา้ งคาวนับล้านตัวอาศัยอยู่ ประวัตศิ าสตร์อันชวนพิศวงของถ้าํ เจา้ ราม ถ้ําเจา้ รามเป็นถํ้าที่มีช่ือปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่า “…จารึกอันหน่ึงมีในเมืองเชลียง สถาบกไว้พระศรีรัตนมหาธาตุ จารึกอันหนึ่งมีในถํ้าช่ือถํ้าเจ้าราม อยู่ฝ่ังน้ําสัมพาย จารึกอันหนึ่งมีในถํ้า รตั นธาร...” ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงสนใจเรื่องถํ้าเจ้ารามตามท่ีระบุไว้ในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 น้ัน ได้ ทรงนพิ นธเ์ กยี่ วกับเรื่องน้ไี วใ้ นหนังสอื นทิ านโบราณคดี นทิ านเรือ่ งที่ 18 เรือ่ งค้นเมืองโบราณ มใี จความวา่ “...เผอิญศิลาจารึกในถํ้าพระรามนั้น พระยารามราชภักดี (ใหญ่) ผู้ว่าราชการ จังหวัดสโุ ขทัย ไปพบแล้วยงั อยู่ในถ้าํ พระรามนน้ั เองไม่ได้ย้ายเอาไปที่อ่ืนในคําจารึกที่กล่าว ว่ามีใน ถ้ํา พระราม ในถ้าํ รตั นธารก็ว่าอย่างเดียวกันกับในเมืองเชลียง ฉันนึกว่าถ้าคําว่า “มี” ท้ัง 3 แห่งนั้นใช้คําว่า “อยู่” ความก็กลายไปว่าหลักศิลาจารึกอยู่ ณ เมืองเชลียง และอยู่ ณ ถํ้าเจ้ารามอยู่ ณ ถํ้ารัตนธาร เหมือนกันท้ังสามหลัก... ฉันจึงตีความหมายใหม่ว่าพระเจ้ารามคําแหงได้เอาศิลาจารึกประดิษฐานไว้ 3 แหง่ อยูที่เมอื งเชลียง ณ วัดพระศรีรตั นมหาธาตุแห่งหน่ึง อยู่ในถํ้าพระรามแห่งหน่ึงและอยู่ในถํ้ารัตนธาร แห่งหน่ึง ตคี วามเปน็ อยา่ งน้ี …” จากหลกั ฐานทกี่ ลา่ วมาน้ที าํ ใหร้ วู้ ่าพระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) เจ้าเมืองสุโขทัยในปี พ.ศ. 2456-2460 ถวายรายงานสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพว่า ได้พบศิลาจารึกถํ้าพระรามแล้วยังไม่ได้ เอาออกไปไว้ที่อ่ืนและหลงั จากรายงานน้แี ล้วไมป่ รากฏว่าเคยมีผใู้ ดพบหลักศิลาจารกึ ถาํ้ พระรามอีกเลย คําว่าพระรามหรือเจ้าราม น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากวรรณคดีเร่ืองรามายณะหรือรามเกียรติ์ มหากาพย์อันย่ิงใหญ่ของอินเดียในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลของวรรณคดีเร่ืองนี้และเช่ือว่าเป็นกษัตริย์ท่ีดี น่ายกย่อง จงึ ได้ชอื่ ว่าถาํ้ พระราม ตามคําสันนษิ ฐานของมนตช์ ยั เทวัญวโรปกรณ์ (2527) กล่าวไว้ในหนังสือพลิกประวัติศาสตร์สุโข ไทว่า เป็นท่ีตัง้ สาํ นักบวชทางลัทธิศาสนาพราหมณ์มาก่อน เพราะมีผู้พบเห็นองค์เทวรูปในถํ้าและในเวลา ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสํานักบวชของพุทธศาสนา เพราะมีองค์พระพุทธรูปตั้งประดิษฐานอยู่ (ปัจจุบันน้ีเป็น พระพุทธรูปใหม่) บริเวณหน้าถ้ําห่างออกไปเป็นเนินเขาเล็กๆ เป็นที่ค้นพบวัตถุทําด้วยหิน ขอบกลมแบน ต่างๆครูมนต์ชัยสันนิษฐานอีกว่าเป็นลูกชั่งน้ําหนักและพบชิ้นส่วนถ้วยชามสังคโลกก่อนสมัยสุโขทัย พบ ศิลาจารกึ อักษรขอมอยู่ภายในถํา้ เจ้ารามอกี ถาํ้ เจ้ารามจึงเป็นถ้ําทน่ี ่าสนใจมิใช่น้อย นอกจากนี้ปจั จุบนั เป็นท่อี าศัยของค้างคาวนับล้านตัวนับว่า มีจํานวนมากพอท่ีจะอ้างได้ว่ามีค้างคาวมากที่สุดแห่งหน่ึงในประเทศไทยเพราะดูจากปริมาณมูลค้างค้าวท่ี นําออกมา เป็นประโยชน์ให้ชาวชวนใสเ่ ปน็ ปุ๋ยบํารุงไมผ้ ลต่างๆ นั้นมากกว่าจากแหล่งมูลค้างค้าวจังหวัดอ่ืน ทวั่ ประเทศ ในอดีตใช้ดนิ ประสวิ เป็นวสั ดสุ ําคัญสาํ หรับการเล่นดอกไมเ้ พลิง
หนงั สือเรียนวชิ าเลอื ก สาระการพฒั นาสังคม รายวชิ าสโุ ขทยั ศึกษาเชงิ ประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวถิ ชี วี ติ 50 ถา้ํ พระแมย่ ่า ถํ้าแม่ย่าตั้งอยู่เชิงเขาพระแม่ย่า หรือเรียกอีกช่ือหน่ึงว่า “เขาหน้าผา” ตําบลนาเชิงคีรี อําเภอคีรี มาศ จังหวัดสุโขทัย เขาหน้าผาอยู่บนเทือกเขาหลวง แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระรูปแม่ย่าอยู่ท่ีเพิงชะโงก เงือ้ มออกมาทางใตป้ ระมาณ 3 เมตรเศษ แม่ยา่ ซึ่งประดิษฐานอยู่หันพระพักตร์ ไปทางทิศใต้ตามเงื้อมเขาท่ี ย่ืนลํา้ ออกมา ทางดา้ นหลังเงือ้ มผามีถ้าํ ตื้นๆ “พระแม่ย่า” เป็นเทวรูปหินสลักจากหินชนวน สูงประมาณหนึ่งเมตรเศษ ประทับยืนทรงภูษา แต่ไม่ฉลองพระองค์ ทรงถนิมพิมพาภรณ์แบบนางกษัตริย์ ประวัติและที่มาขององค์พระแม่ย่า นั้นไม่มี หลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าเป็นใคร เมื่อประชาชนพากันเรียกว่า พระแม่ย่า ทองเจือ สืบชมพู (2513) สันนิษฐานว่า คงเป็นนางกษัตริย์องค์ใดองค์หน่ึงและนางกษัตริย์องค์นี้น่าจะเป็นนางเสือง ซ่ึงเป็นราชชนนี ของพอ่ ขุนรามคําแหงมหาราชและเปน็ เจา้ ยา่ ของพระยาลิไท ตามหลักฐานทป่ี รากฏในศิลาจารึกพอ่ ขุนรามคาํ แหง คอื จารึกหลกั ที่ 1 ได้กล่าวไวต้ อนหนง่ึ ว่า “…เบอื้ งหวั นอนเมอื งสโุ ขทัยนมี้ กี ฎุ ี พหิ าร ปู่ครู มสี รีดภงส์ มีป่าพรา้ ว มปี ่ามว่ ง มีป่าขาม มีน้ําโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองน้ี ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยน้ีแล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองน้เี ที่ยงเมอื งนด้ี ี ผิไหวบ้ ่ดี พลบี ถ่ ูกผีในเขาอนั นั้บค่ มุ้ เกรงเมอื งนี้หาย...” จากข้อความดังกล่าวได้มีการนําคําว่า พระขพุงผี มาตีความเก่ียวกับพระแม่ย่า โดยนัก ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีร่วมกันวิเคราะห์เมื่อมีการสัมมนาถึงการเมือง และสภาพสังคมสมัยสุโขทัย เม่ือวันท่ี 1-4 สิงหาคม 2520 ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ได้ลงความเห็นว่า พระพขุงผี หมายถึง พระที่โตหรือใหญ่ ซึ่งน่าจะเข้ากับศิลาจารึกที่ว่าพระขพุงผีนี้เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย พ่อขุน รามคาํ แหงทรงเคารพเลื่อมใสพระพุทธรูปองคน์ ม้ี าก เพราะทรงยกให้เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ดังน้ันถ้าแม่ ย่านสี้ ร้างอทุ ิศเพอื่ ผีจริงแลว้ กต็ ้องเป็นผนี างเสื่องแน่ สําหรับพระแม่ย่าในความรู้สึกของชาวสุโขทัยทั่วไป เป็นพระรูปท่ีศักสิทธ์เคารพบูชาอย่างมาก และเชื่อว่าพระองค์ท่านคือนางเสืองพระราชมารดาของพ่อขุนรามคําแหงซึ่งเป็นพ่อเมืองเสมือนพ่อของคน ทั้งเมือง จงึ เรียกพระองคท์ ่านว่า ย่า ฉะนั้นการเรียกชื่อถํ้าแม่ย่าชาวสุโขทัยจึงเรียกตามความเช่ือดังกล่าว แลว้ รวมท้ังเรียกตามพระรปู ทป่ี ระดษิ ฐานเป็นสาํ คัญ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2460 พระยารามราชสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) เจ้าเมืองในสมยั นน้ั เหน็ วา่ พระแมย่ ่าอยู่ท่ีเดิมอาจสูญหายได้ จึงให้อัญเชิญมาไว้ ณ ศาลากลางจังหวัดถึงปี พ.ศ. 2496 นายเชื่อม ศิริสนธิ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้สร้างข้ึนเพ่ือประดิษฐานพระแม่ย่าให้ ประชาชนสักการะบูชา และในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการสร้างศาลขึ้นใหม่เพ่ือให้งดงาม และสมพระเกียรติ ของพระแม่ย่า อันเปน็ ส่ิงศักสิทธ์คิ บู่ ้านคู่เมอื งสุโขทัย
หนังสอื เรียนวิชาเลอื ก สาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสโุ ขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวถิ ชี วี ติ 51 เรอ่ื งท่ี 4 เมืองโบราณในจังหวดั สุโขทัย เก่ียวกับเมืองโบราณจังหวัดสุโขทัยนี้มีผู้สนใจศึกษาไว้มากท้ังยังมีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมชุมชน โบราณเพื่อวิเคราะห์แหล่งโบราณสถาน ประวัติความเป็นมาของโบราณน้ีมีการตรวจสอบจารึกทั้ง อักษรไทย อกั ษรขอมและอ่ืนๆ ตลอดจนมีการสัมมนาเก่ียวกับประวัติศาสตร์สุโขทัย ทําให้ภาพอาณาจักร สโุ ขทัยชัดเจนกระจา่ งขึ้น ชอื่ ของเมอื งในอดตี ถกู กล่าวถึงได้แก่ นครชมุ ชากังราว (กําแพงเพชร) เมืองพาน (พรานกระต่าย) เมืองเพชร (ศรีคีรีมาศ) เมืองบางขลัง เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองเชียงทอง เมือง ทงุ่ ยงั้ และอีกหลายเมือง ท่ีปรากฏหลกั ฐานในศลิ าจารกึ เมืองต่างๆที่ปรากฏในศิลาจารึกน้ันมีชุมชนโบราณอยู่บริเวณใกล้เคียงกับเมืองเก่าสุโขทัย ได้แก่ เมืองพาน เมืองเพชร เมืองกันเตา เมืองบางขลัง และเมืองเก่าศรีสัชนาลัยแต่ในท่ีน้ีผู้เรียบเรียงได้นําข้อมูล จากนกั โบราณคดี คอื คุณเอนก สีหามาตย์ และนักประวตั ศิ าสตรท์ ้องถิน่ โดยตรง คือ คณุ มนต์ชัย เทวัญวโร ปกรณ์ ซ่ึงท่านผู้นี้ได้สละเวลาศึกษาเร่ืองราวของประวัติศาสตร์ท้องถ่ินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาร่วมสาม ทศวรรษ แต่เมืองเหลา่ นี้ยังไม่ได้ขนึ้ ทะเบียนเป็นแหล่งโบราณสถานของกรมศิลปากรทั้งหมด ได้นํามาเรียบ เรียงในบทน้ีเพราะมีเจตนาจะให้ความรู้แก่เยาวชนในท้องถ่ินได้เห็นเป็นสําคัญ เพราะการศึกษาเรื่องราว ของท้องถ่ินนั้น เยาวชนมกั ได้จากนักประวตั ิศาสตรจ์ ากเมอื งใหมๆ่ เป็นสาํ คัญ เมอื งเพชร (เมอื งศรีครี ีมาศ) เมอื งเพชรตัง้ อยทู่ ต่ี าํ บลศรคี รี ีมาศ อําเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยราว 43 กิโลเมตร โดยเส้นทางหมายเลข 101 สุโขทัย-กําแพงเพชร เล้ียวเข้าสู่อุทยานแห่งชาติรามคําแหง จะพบ แนวถนนพระรว่ ง จากแนวถนนพระร่วงอกี ราว 7 กโิ ลเมตรก็จะถงึ เมืองเพชรหรอื เมอื งคีรมี าศ เมืองเพชร(ศรีคีรีมาศ) เป็นเมืองโบราณร่วมสมัยกับสุโขทัย ซ่ึงตามเส้นทางถนนพระร่วงจากเมือง กําแพงเพชร ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ถึงเมืองสุโขทัย ตามระยะทางดังกล่าวจะผ่านเมืองพาน ซ่ึง เป็นเมืองสําคัญท่ีมหาธรรมราชาลิไทได้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ ซ่ึงข้อความปรากฏในศิลาจารึก หลักท่ี 3 ดงั นี้ “…พร ะบท ลักษณ ะน้ีไซ ร้ พ ร ะยา ธ ร ร ม มิกร า ช ให้ไ ปพิมพ์ เอาร อยตีน . . . พ ร ะเป็ น เจ้าถึงสิงหลอันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฏบรรพตประมาณ เท่าใดเอามาพิมพ์ไว้จุ่งคนท้ังหลายแท้... อนั หนงึ่ ประดิษฐานไวใ้ นเมอื งศรีสชั นาลัยเหนือจอมเขา อันหน่ึงประดิษฐานไว้ในเมืองพาน เหนือจอมเขา นางทอง อันหน่งึ ประดิษฐานไว้เหนือจอมเขาปากพระ” ต่อมาได้พบรอยพระพุทธบาทหนิ ชนวนท้ังสามเมือง คือ ที่เมืองศรีสัชนาลัยพบที่วัดเชิงคีรี แต่เชื่อ ว่าน่าจะย้ายมาจากเขาพระบาท ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแก่งหลวง ที่สุโขทัยพบท่ีวัดเขาพระบาทใหญ่ ใกล้กบั ทํานบพระร่วง (สรีดภงส์) ทเ่ี มอื งพานพบทีเ่ ขานางทองปัจจบุ นั เกบ็ ไว้ท่ีวดั เสด็จ จังหวดั กาํ แพงเพชร ในช่วงถนนพระร่วงช่วงต่อจากเมืองพานก็ผ่านเมืองเพชรหรือคีรีมาศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยูห่ ัว ทรงพระราชวนิ จิ ฉยั ไว้ในหนังสือเทย่ี วเมืองพระร่วงเกีย่ วกับเมืองเพชรว่า
หนังสือเรียนวชิ าเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวชิ าสโุ ขทยั ศกึ ษาเชิงประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวถิ ชี วี ติ 52 “...ที่ริมบอ่ ชุมแสงน้ี มีเมืองร้างอยู่เมืองหนึ่ง ซ่ึงราษฎรเรียกว่าเมืองเพชรหรือเมืองศรีคีรีมาศเมือง นี้มีคูและเทินดินอยู่รอบบริบูรณ์รูปส่ีเหลี่ยมรี ยาว6 เส้น 15 วา กว้าง 3 เส้น 5 วา ภายในเขตเมืองไม่มี อะไร จงึ เขา้ ใจวา่ เปน็ เมืองด่านอนั หนง่ึ เทา่ น้ัน เพราะตั้งอยู่ริมถนนพระร่วงทีเดียว พระวิเชียรปราการออก ความเห็นว่า นี่คือเมืองจันทร์ท่ีกล่าวถึงในคําจารึกหลักศิลา ในส่วนทางเดินของพระสามีสังฆราช แต่ชื่อน้ี เรียกกัน อย่เู มืองน้ดี ไู มด่ ีจันทรอ์ ะไรอยูใ่ นนัน้ เลย เป็นเพชรเป็นเขาทองอะไรไปไหนๆ เพราะฉะน้ันยากที่จะ กล่าวได้ว่า ความสันนิษฐานน้ันถูกผิดอย่างไรไม่มีหลักฐานพอท่ีจะยึดได้ เช่น เมืองวานหรือเมืองพรานนั้น เลย” เมอื งเพชรปจั จุบนั น้ีทีพ่ บจากภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นแนวคันดินใหญ่เช่ือมต่อรับนํ้าข้ึนไป ทางเหนือจนถึงเมืองสุโขทัยตําแหน่งท่ีเป็นที่ต้ังของเมืองเพชร สภาพคันดินและทางนํ้ายังเห็นได้ชัดเจนพบ รอ่ งรอยบางส่วนถกู แม่นา้ํ กัดเซาะ ทาํ ใหท้ างน้าํ เปล่ียนทางนา้ํ ไหลไปตามธรรมชาติ สภาพปัจจุบันยังมีกําแพงเมืองสมบูรณ์ทั้ง 4 ด้าน ตรงกลางเมืองมีสระนํ้า ชาวบ้านแถบนั้นกล่าว ว่า เคยมีโบราณสถานภายในเมือง 1 แห่ง แต่ขุดทําลายจนหมดสภาพบริเวณนอกเมืองทางด้านทิศ ตะวันออกและด้านทิศตะวันตกของเมืองบนเชิงเขาเล็กๆ หน่วยศิลปกรท่ี 3 สุโขทัยได้สํารวจพบมีซาก โบราณสถาน 3 แหง่ เมืองเพชรจึงเป็นเมืองเล็กๆ เมืองหน่ึงที่อาจเป็นเมืองบริวารหรือที่พักระหว่างการเดินทางใน ระยะทางถนนพระร่วงกําแพงเพชร-สุโขทัย นอกจากน้ียังอาจมีความสําคัญเก่ียวกับชลประทานในสมัย สุโขทัย เพราะมีคลองใหญแ่ ละคลองสารบบไหลเชอ่ื มเข้ามาในเมอื งและโยงกับแนวคันดิน(ถนนพระร่วง)ข้ึน ไปสุโขทัย ปรางคก์ อ่ อฐิ เขาปู่จ่า ปรางค์ก่ออิฐเขาปู่จา่ เป็นปรางค์ทพ่ี บอยู่บริเวณท่ีราบเชิงเขาหลวง ด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย ใน เขตท้องท่ีบ้านนาสระลอย ตําบลนาเชิงคีรี อําเภอคีรีมาศ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสุโขทัยตามแนวถนนพระร่วง ไปทางด้านทศิ ใต้ ประมาณ 20 กโิ ลเมตร ปรางคก์ ่ออิฐต้ังอยู่บนเนินเขาเล็กๆๆ บริเวณเชิงเขาหลวง สูงจาก ระดับน้ําทะเลประมาณ 96 เมตร สูงจากพื้นดินประมาณ 40-50 เมตร เป็นลักษณะเขาลูกโดดอยู่กลางทุ่ง นา ชาวบ้านเรียกวา่ เขาปูจ่ ่า ดา้ นทศิ ใตข้ องเขาปจู่ า่ มเี ทือกเขาหลวง และเขาเลก็ ๆรายล้อมอยู่ ปรางค์ก่ออิฐเขาปู่จ่าเป็นปรางค์ก่ออิฐองค์แรกและเก่าแก่ท่ีสุดที่พบมาในจังหวัดสุโขทัยและเพ่ิง ค้นพบเม่ือเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 นี้เอง เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีท่ีสําคัญยิ่ง ที่ สอดคล้องกับผลการศึกษาและการขุดค้นทางโบราณคดีของอุทยานประวัติศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2520- 2534 ปรากฏว่ามชี มุ ชนอาศัยอยอู่ ย่างหนาแน่นเปน็ ระยะเวลายาวนาน กอ่ นพทุ ธศตวรรษที่ 18 เปน็ ต้นมา ลักษณะของโบราณสถานปรางค์ก่ออิฐเขาปู่จ่า เป็นปรางค์ก่ออิฐท่ีมีลักษณะศิลปะร่วมสมัยกับ ศิลปะเขมรสมัยบาปวนประมาณพุทธศตวรรษท่ี 16-17 องค์ ปรางค์ก่อด้วยอิฐที่มีขนานใหญ่ เมื่อ ตรวจสอบเนื้ออิฐพบว่ามีส่วนผสมทรายค่อนข้างมาก แผนผังเป็นรูปส่ีเหลี่ยมจุตรัสกว้าง ประมาณ 5 เมตร 80 เซนตเิ มตร ดา้ นหนา้ คลา้ ยมีมขุ ยื่นออกมา ประมาณ 3 เมตร 80 เซนติเมตร องค์ปรางค์สูงประมาณ 10 เมตร มปี ระตหู ลอกท้งั 3 ดา้ น ผนังพงั ทลายไป 2 ดา้ น เทคนิคในการก่ออิฐใหเ้ รียบก่อชิดกันโดยก่อสอบเข้า หากันทั้ง 4 ด้าน จนบรรจบกันเป็นยอด ระหว่างผนังอิฐใช้คานไม้ สําหรับยึดพนังปรางค์ทั้ง 4 ด้าน คล้าย กับปรางค์ก่ออฐิ ทพี่ บในภาคอสี านทว่ั ไป เช่น ปราสาทเมืองต่ําจังหวัดบุรีรัมย์ และเหมือนกับปรางค์ก่ออิฐที่ เมอื งศรเี ทพจังหวดั เพชรบรู ณ์ เป็นตน้
หนังสอื เรียนวชิ าเลอื ก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสุโขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวถิ ีชวี ติ 53 หลักฐานสําคัญท่ีค้นพบจาการสํารวจ คือ ฐานโยนี มีรอยเจาะตรงกลางสําหรับเป็นเดือยใช้ติดต้ัง ลงึ ค์ นอกจากนีย้ งั มศี ีรษะบุคคลจากหินทราย จากหลักฐานท่ีพบน่าจะกําหนดอายุปรางค์องค์นี้เทียบได้กับ ศิลปเขมรสมัยบาปวนเป็นศาสนาสถานในศาสนาพรมหมณ์ลัทธิไศวะนิกายน่าจะสร้างไว้ เป็นที่ทําพธีทาง ศาสนาของคนเดินทางก่อนจะข้ึนไปบนยอดเขาหลวงบนยอดเขาหลวงซึ่งเป็นยอดเขา ท่ีสูงจาก ระดับนา้ํ ทะเลประมาณ 1,200เมตร ก็พบซากโบราณสถานท่กี อ่ ด้วยอิฐขนานใหญ่เช่นเดียวกับปรางค์ก่ออิฐ ท่ีเขาปู่จา นอกจากนี้ยังพบพระนารายณ์ และพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในถ้ําพระนารายณ์ ซึ่งอยู่บนเขา หลวงดว้ ย แต่ได้ถกู โจรกรรมไปแลว้ จากการท่ีพบปรางค์ก่ออิฐเขาปู่จานี้นับว่าเป็นปรางค์ก่ออิฐท่ีเก่าแก่ท่ีสุดในจังหวัดสุโขทัย ซ่ึงแต่ เดิมเช่ือว่าศาลตาผาแดงเป็นเทวลัยท่ีเก่าแก่ท่ีสุดในเมืองสุโขทัย มีอายุร่วมสมัยกับศิลปะเขมรสมัยนครวัด ตน้ ศตวรรษท่ี 18 จากหลักฐานทางโบราณคดีท่ีกล่าวมาย่อมแสดงให้เห็นว่าก่อนสุโขทัยจะเป็นราชธานีแห่งแรกนั้น สุโขทัยมีการกําเนิดมาก่อนศตวรรษท่ี 18 และไม่น่าจะน้อยกว่า 100-200 ปี จาการสันนิษฐานจากแหล่ง โบราณคดเี ขาปู่จ่าน้ีเอง ทําให้ทราบความสัมพนั ธ์ระหว่างอาณาจกั รสุโขทัยกับอาณาจักรละโว้หรืออาณาจัก เขมร แหล่งโบราณคดวี ดั ชมชืน่ แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นตั้งอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยหมู่ท่ี 6ตําบลศรีสัชนาลัย อําเภอศรีสัชนาลัย จงั หวดั สุโขทยั ในพ้ืนทที่ เ่ี ชอ่ื วา่ เป็นแหล่งท่ีต้ังเมืองเชลียงเดิม วัดชมชื่นตั้งอยู่ระหว่างวัด เจ้าจันทร์และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองเชลียงซ่ึงมีหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมท่ีมีความเก่าแก่ก่อน สมัยสุโขทยั วัดชมชื่นเป็นโบราณสถานในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกาเป็น ประธานของวัดมีวิหารประกอบมณฑปต้งั อยู่หน้าโบราณสถานภายในวัดเคยได้รับการบูรณะขุดแต่งมาแล้ว แต่ทาํ เฉพาะตวั โบราณสถานยังไม่ได้ขดุ แต่งพืน้ ทส่ี ่วนอืน่ ๆ จนกระท่ังในปี พ.ศ. 2540 จึงได้ขุดลอกพ้ืนท่ีทํา ให้เห็นแนวกําแพงวดั และโบราณสถานอนื่ ๆท่ฝี งั่ จมดนิ อยู่ วดั ชมชืน่ ตัง้ อยูท่ ี่บรเิ วณแม่น้ํายมไหลวกอ้อม ทําให้พื้นท่ีถูกขนาบด้วยแม่น้ําทั้งสองด้าน มีลักษณะ คลา้ ยแหลมท่ยี น่ื ออกมาจากเมอื งโบราณศรสี ชั นาลยั จากพ้ืนที่ที่ถูกขนาบด้วยลํานํ้ายมนี้เอง จึงทําให้ถูกกัด เซาะพังทลายตลอดเวลา โดยเฉพาะด้านทิศใต้ของวัดชมช่ืนถูกกัดเซาะเข้ามามาก จนกําแพงเมืองท่ีเคยมี อยู่ทางดา้ นน้พี ังทลายไปกับกระแสนํ้า พ้ืนที่ที่ซ้ึงเชือ่ กันวา่ คอื เมืองเชลียงในส่วนนจ้ี ึงแคบเขา้ มาทุกที การขุดค้นทางโบราณคดีวัดชมช่ืน เพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณก่อนสมัยสุโขทัย ได้เร่ิม ขึ้นเม่ือปี พ.ศ. 2537 ดําเนินการขุดค้นจํานวน 1 หลุม ต่อมาเม่ือพบโครงกระดูกมนุษย์ในหลุม ขุดค้นท่ี 1 จึงได้ขยายหลุมขุดค้นเป็นหลุมท่ี 2 และหลุมท่ี 3 ต่อมาในปี พ.ศ. 2539ได้ขุดค้นเพิ่มอีกเป็น 7 หลุม รวม หลุมท่ขี ุดคน้ ทง้ั หมด 10 หลมุ ในพ้นื ท่ตี อ่ เน่ืองกนั จากการขดุ ค้นทางโบราณคดีท้ัง 10 หลุม ได้พบหลักฐานการอยูอาศัยหรือการเข้ามาใช้พ้ืนที่ ของ คนในบริเวณแถบนี้สบื เนื่องมาตั้งแต่ราวช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนกระท่ัง เมืองถูกทิ้งร้างไป ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
หนังสือเรยี นวิชาเลอื ก สาระการพฒั นาสังคม รายวชิ าสโุ ขทยั ศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวถิ ีชีวิต 54 การอยู่อาศัยของชุมชนมีอย่างต่อเนื่องเป็นการยากที่จะแบ่งวัฒนธรรมเป็นยุคสมัยว่าเริ่มต้นหรือ สิ้นสุดตรงไหน เนือ่ งจากธรรมชาติมนษุ ยท์ ่อี ยู่ย่อมมีการสืบสารวัฒนธรรมดั้งเดิมในขณะเดียวกันก็พัฒนาวิถี ชวี ิตความเปน็ อยแู่ ละเทคโนโลยีตลอดจนรบั เอาเทคโนโลยีที่เจริญแพรห่ ลายอยใู่ นชว่ งเวลานัน้ เข้ามาดว้ ย ผลจากการขดุ ค้นทางโบราณคดีโดยการวิเคราะหห์ ลักฐานต่างๆทพี่ บในหลุมขุดค้นสามารถแบ่งช้ัน วฒั นธรรมการเข้าอยอู่ าศยั ของมนุษย์ในแหล่งโบราณวดั ชมชืน่ ได้ 5 ชนั้ วฒั นธรรม ดงั น้ี 1. ชั้นวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย พบในหลุมท่ี 1 อยู่ฝังลึกจากดินประมาณ 6.50-7.80 เมตร สงิ่ ท่พี บคอื เศษภาชนะดนิ เผาเน้อื หยาบ 2. ช้ันวัฒนธรรมสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์สมัยสมัยทวาราวดี พบในหลุมท่ี 1 เช่นกันแต่มีความ ลึกประมาณ 4-5.50 เมตรได้พบโครงกระดูกมนุษย์15 โครง และเครื่องประดับลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว รวมทัง้ เครอ่ื งมือเหล็ก 3. ชัน้ วฒั นธรรมสมัยลพบรุ แี ละตน้ สมยั สุโขทยั อยใู่ นระดับความลึกราว 3-4 เมตรพบเศษภาชนะ ดนิ เผา และพบโบราณสถานก่อด้วยอิฐทยี่ ังคงสภาพอยู่ 2 แห่ง 4. ช้ันวัฒนธรรมสุโขทัยถึงอยุธยา อยู่ในระดับความลึกราว 1.2-3.0 เมตร พบเศษภาชนะดินเผา กระเบอ้ื งมงุ หลงั คา เหล็ก สํารดิ เศษปูน ขณะเดียวกันก็พบเคร่ืองถ้วยสังคโลกของศรีสัชนาลัย ท้ังประเภท เคลือบและไม่เคลือบ 5 .ชั้นวัฒนธรรมสมัยอยุธยาและสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ อยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ผิว ดินจนถึงระดับราว 1.2 เมตร จากผิวดินพบเศษภาชนะดินเผาประเภทเคร่ืองสังคโลก และเศษเคร่ืองถ้วย ราชวงศ์หมงิ หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จาการขุดค้นในเมืองโบราณแห่งนี้ ทําให้สันนิษฐานถึงการตั้งถ่ินฐาน ชุมชนในพื้นท่ี เพราะอาจสืบเน่ืองมาจากมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ซ่ึงเคยอาศัยอยู่ในพื้นท่ีจังหวัด สุโขทัยและใกล้เคียง เนื่องจากได้เคยมีการค้นพบเคร่ืองมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ท่เี ขาเขนเขากา อําเภอศรีนคร บ้านท่าชัย บ้านวังสําโรง อําเภอศรีสัชนาลัย เชียงช่ืน และสวรรคโลก ตามลาํ ดบั
หนังสอื เรียนวิชาเลือก สาระการพัฒนาสังคม รายวชิ าสโุ ขทัยศกึ ษาเชิงประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวิถชี ีวิต 55 กจิ กรรมทา้ ยบท บทท่ี 4 ศิลปกรรมทอ้ งถ่ินสโุ ขทัย 1. ให้นักศึกษาอธบิ ายพรอ้ มยกตวั อย่างศิลปกรรมท้องถ่ินของจงั หวัดสุโขทัย ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................
หนงั สือเรยี นวิชาเลอื ก สาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสุโขทยั ศึกษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวิถชี วี ติ 56 บทที่ 5 ศลิ ป์ : เอกลักษณท์ อ้ งถ่ินสุโขทัย เรอื่ งที่ 1 เจดียท์ รงพมุ่ ข้าวบณิ ฑ์ เร่ืองของงานศิลปะอันเป็นมรดกตกทอดมาแต่ในอดีตนั้นทุกชาติทุกภาษา ต่างก็พยายามที่จะ แสวงหาสบื คน้ เพ่ือหาความล่มุ ลึกของประวตั ิศาสตร์อันยาวนานของชาติเท่าท่ีจะพึงกระทําได้ เพื่อให้เป็นที่ ประจักษแ์ กช่ าวโลกท่ัวไปว่าบรรพบรุ ษุ มีอารยธรรมทสี่ ูงสง่ มีความยง่ิ ใหญ่มาแตบ่ รรพกาล ชาวไทยเราก็มี สุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกและอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาแต่อดีต ปรากฏร่องรอย ซากโบราณสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนศิลปวัตถุให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจ เป็นจํานวนมาก ประกอบกับ เม่ือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ค้นพบศิลาจารึกหลักท่ี 1 บริเวณเนินปราสาทสุโขทัย เม่ือ ราวปี 2376 ทําให้ภาพเมืองสุโขทัยในอดีตอย่างเด่นชัดข้ึน เพราะข้อความท่ีจารึกไว้ กล่าวถึงความ เจริญรุ่งเรอื งของเมืองสุโขทัยอยา่ งเหน็ ได้ชัด ดงั ข้อความที่ปรากฏ ดังน้ี “...เม่ือชั่วพ่อขุนรามคําแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบใน ไพรล่ ทู่ าง เพอื่ นจงู ววั ไปคา้ ข่ีม้าไปขาย ใคร จักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า ไพร่ ฟ้าหนา้ ใส...” “...คนในเมืองสุโขทัยน้ี มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคําแหง เจ้าเมืองสุโขทัยน้ี ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยป่ัว ท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนท้ังหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิงฝูงท่วยศรัทธาใน พระพุทธศาสนา ทรงศลี เมอื่ พรรษาทกุ คน...” “กลางเมืองสโุ ขทัยมีพิหาร ปคู่ รู ..” ข้อความดังกล่าวแสดงถึงความงดงามอลังการของศิลปวัตถุ ซ่ึงสะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ ของชาวสุโขทยั ในอดีตว่ามีชวี ติ ความเปน็ อยู่อยา่ งเสรีมคี วามสุข ความงดงามของงานศิลปะสุโขทัยน้ันหากใครได้มีโอกาสสัมผัสกับซากปรักหักพังท่ีมีความ เจริญรุ่งเรืองเฟ่ืองฟูในอดีตของอาณาจักรสุโขทัยแล้ว จะบังเกดความอัศจรรย์ใจในความคิดสร้างสรรค์ ความเฉลียวฉลาด ประกอบกับความศรัทธาอันแรงกล้าของบรรพชนไทยในอดีตเป็นอย่างยิ่ง เพราะ โบราณสถานโบราณวตั ถุเหล่านัน้ โอ่อ่ายงิ่ ใหญแ่ สดงใหเ้ หน็ อัจฉรยิ ภาพอันลกึ ซ้ึงของภูมปิ ัญญาไทยในอดีตได้ เป็นอย่างดี งานศิลปวัตถุที่จัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์งดงามและโดดเด่นของสุโขทัย ปรากฏอยู่ในซาก โบราณสถาน โบราณวัตถุของเมอื งสุโขทัย (อทุ ยานประวตั ิศาสตรส์ ุโขทัย) และเมอื งศรสี ชั นาลัย (อทุ ยานประวตั ศิ าสตรศ์ รสี ชั นาลัย) แบง่ ประเภทกลา่ วใหเ้ ห็นชดั เจนดังนี้ 1. เจดยี ท์ รงพมุ่ ขา้ วบณิ ฑ์ 2. ลวดลายบนเคร่ืองสงั คโลก 3. ลายจติ รกรรมฝาผนงั ถํ้าวัดศรีชุม 4. ลวดลายประติมากรรมปูนปัน้
หนังสือเรียนวชิ าเลอื ก สาระการพฒั นาสังคม รายวชิ าสโุ ขทยั ศกึ ษาเชิงประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชวี ติ 57 เจดียท์ รงพุ่มข้าวบิณฑ์ หลักฐานท่ีปรากฏทางศิลปกรรมของช่างสกุลสุโขทัยนั้นมีจํานวนมากไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรม ประตมิ ากรรมหรอื สถาปตั ยกรรม ในด้านสถาปัตยกรรมท่ขี ึ้นหนา้ ข้ึนตานนั้ คอื การสรา้ งเจดีย์ แท้จริงแล้วเจดยี ์ทีป่ รากฏในท้องถิ่นสุโขทยั มีจาํ นวนมากและหลากหลายรปู แบบ แตร่ ปู แบบเป็นท่ี ยอมรบั ของคนทวั่ ไปคือเจดียท์ รงพมุ่ ข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม การเรียกเจดีย์ทรงยอดบัวตูมน้ีเรียกตามลักษณะทรงยอดเจดีย์โดยตรงบางครั้งสมเด็จเจ้าฟ้านริศ ทรงเรียกว่า เจดีย์ทรงทะนาน ซง่ึ อาจเปน็ เพราะมีลกั ษณะคลา้ ยทะนานตักข้าวของชาวบ้าน แต่ท่ีเรียกว่า เจดีย์ทรงพุ่มขา้ วบณิ ฑ์ กค็ งเป็นเพราะคล้ายลายพุ่มข้าวบิณฑ์ การนําเอาแบบอย่างดอกบัวมาประดิษฐ์เป็นยอดพุทธเจดีย์นั้นอาจเป็นการยึดถือคติทางพุทธ ศาสนาเช่น เชื่อว่า ดอกบัวเป็นดอกไม้บริสุทธ์ิใช้เป็นพุทธบูชา ถือเป็นดอกไม้สิริมงคล ดอกบัวเป็นแดน กําเนิดของอมิตาภะในแดนสุขาวดี ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านับตั้งแต่การปฏิสนธิ การรองรับย่างก้าวพระบาทตั้งแต่กรประสูติ การบรรลุพระโพธิญาณ และ ปรินิพพาน ดอกบัวเป็น สัญลักษณ์ของจักรวาล พระศากยมุนีและพระโพธิสัตว์ ซ่ึงประทับเหนือดอกบัวจึงหมายถึงการประทับ เหนอื จักรวาล เจดีย์ทรงสุโขทัยหรือเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์จะมีลักษณะสูงเพรียวโปร่งสอบจากท่อนล่างเร่ือยขึ้น ตามจังหวะของชุดฐานต่าง ๆ ท่ีทําซ้อนลดหล่ันกันเป็นชุด รูปแบบของเจดีย์เกดจากการนําเอา องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมในยุคสมัยต่าง ๆ มาผสมผสานกันอย่างลงตัว จนเกิดเป็นรูปแบบ เฉพาะตวั ไมเ่ หมือนกับแบบใด ส่วนประกอบท่ีสําคัญของเจดีย์ทรงดอกบัวตูมนี้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ (สงวนรอดบุญ , 2553) ฐานตอนล่างสุดคือชุดฐานเขียง (ฐานหน้ากระดานหรือชั้นหน้ากระดาน) มักทําเป็นฐานแบบ เรียบง่ายไม่มีลวดลายบัวประกอบ ทําซ้อนกัน 3-4 ชั้นลดหลั่นกันเป็นชุด สอบข้ึนไปรับกับฐานบัว ลูกแก้วอกไก่ (ฐานปัทม์) ซึ่งปรับปรุงพื้นที่ท้องไม้ให้สูงเพิ่มขึ้น ไปรับกับส่วนตอนกลางเจดีย์ คือ ฐาน แว่นฟ้า (ชั้นแว่นตา) ที่ปรับปรุงจากบัวลูกฟัก โดยทําเป็นมุมไม้ย่ีสิบซ้อนกันสองชั้นสําหรับตั้งรับองค์ เรอื นธาตุทเ่ี ป็นรูปแท่งเหลยี่ ม ซ่งึ ปรับปรุงจากเรือนธาตุของปราสาทแบบขอมโดยบีบให้ทรงยึดสูงกว่าเดิม มีการประดับกลีบขนุนตรงมุมด้านบนของเรือนธาตุ และบริเวณตรงกลางด้านบนของเรือนธาตุทําเป็นซุ้ม ประจําทิศ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกลับกลีบขนุนต่อด้วยยอดเจดีย์ทรงดอกบัวตูมท่ีคล่ีคลายมาจากทรง ระฆัง โดยบีบส่วนล่างสุดของทรงระฆังให้สอบเข้าต้ังอยู่บนองค์เรือนธาตุต่อยอดรูปทรงกรวยกลม ควั่น ส่วนตอนล่างของกรวยเปน็ ปล้อง ๆ คล้ายปล้องไฉนต่อข้ึนไปอีกคือกรวยเรียวแหลมอันเป็นยอดสูงสุดของ เจดีย์ เจดีย์ท่ีเป็นแบบของสถาปัตยกรรมสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์องค์ประธานของวัดพระศรีมหาธาตุ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เจดีย์ประธานวัดเจดีย์เจ็ดแถว อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย นอกจากนี้ยังมีการสร้างเจดีย์ลักษณะน้ีไว้ตามเมืองบริวารรอบ ๆ เมืองสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ยุทธหัตถีที่ จงั หวดั ตาก เจดยี ว์ ดั ยอดทองทจี่ ังหวดั พิษณโุ ลก เจดีย์วดั พระธาตุตรยั ตรึงส์ จังหวัดกําแพงเพชร เป็นตน้
หนงั สอื เรยี นวชิ าเลือก สาระการพัฒนาสงั คม รายวิชาสุโขทัยศึกษาเชิงประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวถิ ีชีวิต 58 ส่วนประกอบของเจดีย์ทรงพุม่ ข้าวบณิ ฑ์ โครงสร้างอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง 2 ต่อ 3 มีลักษณะเป็นรูปของข้าวที่ใส่กรวยไว้ในกรวย ดอกไม้ ตัวลายทรงพมุ่ ขา้ วบิณฑ์จะเป็นลายดอกลอย ใช้ออกลายหรืหยุดลาย โครงสร้างการวาดเส้นทรง พ่มุ ข้างบณิ ฑ์
หนังสอื เรียนวิชาเลือก สาระการพัฒนาสงั คม รายวิชาสโุ ขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวิถีชวี ติ 59 เร่อื งที่ 2 ลวดลายบนเครอ่ื งสังคโลก เครื่องสังคโลกเป็นเครื่องป้ันดินเผาท่ีทําขึ้นใช้สอยในสมัยสุโขทัยถึงแม้ว่าปัจจุบันการทํา เคร่ืองป้ันดินเผาชนิดน้ีจะไม้ได้สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน หากแห่เคร่ืองสังคโลกนับเป็นศิลปวัตถุที่มีคุณค่า ในทางโบราณคดสี ามารถใหค้ วามกระจ่างเร่ืองราวในประวัติศาสนาได้เป็นอย่างดี นอกจากน้ัน ในส่วนของ ความงดงามของเครื่องสังคโลกยังมีลักษณะเฉพาะตัวของศิลปะสมัยสุโขทัยอีกด้วย ฉะนั้นในปัจจุบันจึงมี การสร้างศิลปวตั ถุในลักษณะของเครอ่ื งปัน้ ดนิ เผาสงั คโลกกนั อยา่ งกวา้ งขวางจนนับได้เป็นอาชีพที่ทํารายได้ ใหค้ นในทอ้ งถ่ินเป็นจํานวนมาก ด้วยเหตนุ ีก้ ารศึกษาเร่อื งราวของลวดลายบนเคร่อื งสงั คโลกจงึ นบั วา่ มีความสําคญั และเปน็ ประโยชน์ ในการนําไปเปน็ วิชาชีพ และนําไปประยกุ ต์สรา้ งงานอน่ื ๆ ในโอกาสต่อไปได้ การจําแนกลวดลายเคร่ืองสังคโลกประเภทเครื่องถ้วยนี้ กฤษฎา พิณศรี (2535) ได้ ทําการศึกษาและแบง่ ประเภทไว้ เป็น 5 ประเภท ดงั น้ี 1. ประเภทลายพันธ์พฤกษา 2. ประเภทลายรูปสตั ว์ 3. ประเภทลายชอ่ งกระจก 4. ประเภทลายเรขาคณิต 5. ประเภทลายเบด็ เตลด็ ดังจะได้กล่าวและยกตวั อย่างลายประเภทตา่ ง ๆ ดงั ต่อไปนี้ ประเภทลายพันธพ์ ฤกษา ลายทีจ่ ดั อยู่ในประเภทลายพนั ธ์พฤกษา หมายถงึ ลวดลายตา่ ง ๆ ท่ีมีลกั ษณะเนื่องจากลายพนั ธุ์ ไม้ ลายดอกไม้ ลายกลบี ดอกไม้ และลายใบไม้ ซ่งึ พันธไ์ุ ม้เหล่าน้นั อาจเปน็ ลายกอดอกไม้ แลว้ ตกแต่ง ใบหรอื ดอกเป็นลายสีดาํ ทบึ ประเภทลายรปู สัตว์ ลายรูปสตั วท์ ีต่ กแตง่ บนเครื่องถว้ ยสุโขทยั มักเปน็ ลายที่ประกอบอยกู่ บั ลายไมห้ รือพนั ธพ์ุ ฤกษา หรอื ตกแตง่ ลายอนื่ ๆ ประกอบ ลายท่ีเปน็ รปู สตั วส์ ว่ นใหญ่เป็นลายสตั วน์ ้ํา ซ่งึ เชอ่ื กันวา่ เป็นเพราะสุโขทยั เป็นแหลง่ ทม่ี ีปลาหรือสัตวน์ าํ้ ชกุ ชมุ เปน็ ดินแดนในนาํ้ มีปลา ในนามีข้าว ประเภทลายเรขาคณิต ลายประเภทลายเรขาคณิตเปน็ ลายทเี่ ขยี นอยู่ภายในเส้นวงกลมหรือเป็นลายระหวา่ งเสน้ วงกลม ขนาน บางลายอาจมพี นั ธพุ์ ฤกษาผสมอยดู่ ว้ ย
หนงั สอื เรียนวิชาเลือก สาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสโุ ขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวิถีชีวติ 60 ประเภทลายชอ่ งกระจก ลายช่องกระจกเป็นลายท่ีเขียนเป็นช่อง ๆ อาจกล่าวได้ว่ารวมลวดลายประเภทอ่ืน ๆ ไว้ ทั้งหมด เน่อื งจากประเภทนเี้ ปน็ ลายที่นําลายอนื่ ๆ มาผสมกนั โดยแบ่งลายออกเป็นช่อง ๆ ในแต่ละ ช่องจะสอดใสล่ วดลายเหมอื นกันบา้ งตามความเหมาะสม ลวดลายที่ปรากฏในถว้ ยชามสังคโลก เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยมีลักษณะและลวดลายเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของตนเองลวดลายที่ พบมากจากคําอธิบายของนายบุญชู ทิมเอม ผู้คลุกคลีกับเครื่องสังคโลกมานาน กล่าวว่า ลวดลายที่พบ มากก็คือ ลายกงจักร ปลา ดอกไม้ โดยเฉพาะลายปลาเป็นแบบเฉพาะของชาวสุโขทัย และก็ไม่มีแต่เพียง ลายปลาอย่างเดียว ยังมีหลายที่เป็นสัตว์น้ําหลายชนิด ได้แก่ หอย ปู กุ้ง ซ่ึงอาจเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ของเมืองสุโขทัยก็ได้ว่าเป็นดินแดนในน้ํามีปลา ในนามีข้าว เครื่องสังคโลกนับว่าเป็นศิลปวัตถุท่ีมีคุณค่าง ประวตั ศิ าสตร์ และทางโบราณคดอี ยา่ งยง่ิ นับวนั ทีจ่ ะสูญหายไปกาลเวลา เพราะเป็นท่ีต้องการจากนักสะสม นักอนุรักษ์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ชาวสุโขทัยบางกลุ่มจึงได้คิดประดิษฐ์เคร่ืองสังคโลก จําลองขึ้นโดยใช้ฝีมือและความสามารถในเชิงช่างประดิษฐ์เลียนแบบให้เหมือนของจริงมากท่ีสุด ซ่ึงเรา เรียกวิชาชีพเหล่านี้ว่า “สังคโลกจําลอง” อันเป็นวีธีการช่วยอนุรักษ์เครื่องสังคโลกของสุโขทัยอย่างดีท่ีสุด ในปัจจบุ นั
หนงั สอื เรียนวิชาเลอื ก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสโุ ขทัยศึกษาเชงิ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวิถชี ีวติ 61 เรื่องที่ 3 ลายจิตรกรรมฝาผนงั ถา้ํ วัดศรีชมุ วดั ศรีชมุ เป็นวัดทมี่ คี วามสาํ คัญทางประวัติศาสตรแ์ ละโบราณคดีมาก วดั นต้ี ั้งอยูน่ อกกําแพงเมือง สโุ ขทยั ทศิ เหนือ สร้างมาแตเ่ มอื่ ใดไมป่ รากฏหลกั ฐานแนช่ ัด นกั ประวัติศาสตร์ และนกั โบราณคดีสันนิษฐานไดจ้ ากเอกสารหลกั ฐานโดยเฉพาะขอ้ ความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุน รามคําแหง) ด้านที่ 3 บรรทัด 1-3 มีใจความว่า “...เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยน้ี มีตลาดปสานมีพระอจ นะ มปี ราสาท มีปา่ หมากพรา้ ว ปา่ หมากลาง มไี ร่ มนี า มถี ่นิ ฐาน มบี ้านใหญบ่ ้านเล็ก...” เบอ้ื งตีนนอนหมายถงึ ทิศเหนอื ของเมืองสโุ ขทยั มตี ลาดปสานเปน็ ศนู ยก์ ลางการค้าขายเครอ่ื งถ้วย ชามสังคโลก ส่วนพระอจนะนั้นนักประวัติศาสตร์เห็นพ้องต้องกันวาคือพระพุทธรูปปูนป้ันปางมารวิชัย ขนาดใหญท่ ่ีอยภู่ ายในมณฑปวัดศรชี มุ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้วดั ศรชี มุ จะต้องสรา้ งกอ่ นศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึก พ่อขนุ รามคําแหง) ซง่ึ จารกึ ไวร้ าว พ.ศ. 1835 จากนัน้ เรือ่ งราวของวัดศรชี ุมกป็ รากฏอีกในทางพงศาวดารกรงุ ศรอี ยุธยาในตอนปลายสมัยสมเด็จ พระมหาธรรมราชาท่ี 1 เมื่อสัมพันธไมตรีระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดีขาดจากกันสมเด็จพระ นเรศวรได้เสด็จยกทัพหลวงออกจากเมืองพิษณุโลก โดยไปตั้งทัพหลวงที่เมืองเชียงทองระหว่างน้ันพระยา พิชัยคิดกบฏทําการซ้องสุมผู้คนแล้วไปชวนพระยาสวรรคโลกเข้าร่วมจะยกทัพไปตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จ พระนเรศวรทรงทราบข่าวจึงเสด็จยกทัพจากเมืองเชียงทองไปยังเมืองสวรรคโลก (คือศรีสัชนาลัยใน ปัจจุบนั ) ระหว่างทางได้ให้ชุมนุมปุโรหิตพราหมณาจารย์ทําพิธีสัตยาธิษฐานที่วัดฤาษีชุม และให้ท้าวพระ ยาเสนาบดีทั้งหลายกินคร้ันรุ่งข้ึนก็ทรงยกทัพหลวงเสด็จข้ึนทางเขาคับถึงเมืองสวรรคโลก (พระราช พงศาวดาร, 2514) จากข้อความในพงศาวดารน้ี พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั (2519) ได้แสดงความเห็น ไว้ในหนงั สอื เท่ยี วเมืองพระร่วงว่าวัดศรีชุมคือวดั เดียวกับวดั ฤาษีทป่ี รากฏในพงศาวดารนนั้ เอง ไมเคลิ ไร้ท์ (2523) ได้เสนอแนวคิดว่า ช่ือเดิมของวัดศรีชุม คือวัดมเหยงค์ โดยให้เหตุผลว่า วัดมเหยงค์เป็นวัดท่ีมีอยู่ตามเมืองสําคัญคือ เมืองนครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา และเมืองชัยนาท ดงั นัน้ เมอื งสโุ ขทยั จึงนา่ จะมีวดั มเหยงค์ดว้ ยเช่นกนั อย่างไรกต็ ามหลกั ฐานเกยี่ วกับการก่อสร้าง หรือระยะเวลาท่ีสร้างวดั ศรชี มุ ไมก่ ระจา่ งชัดจากนน้ั ก็ ไม่ปรากฏหลกั ฐานใด ๆ เกี่ยวกับวดั ศรชี มุ อกี ศลิ ปะในวัดศรีชมุ จังหวัดสโุ ขทยั จากการศกึ ษาสาํ รวจทางโบราณคดีท่ีวัดศรีชมุ จังหวัดสโุ ขทัยใน อดีตได้พบหลักฐานทเี่ ปน็ งานศิลปะจาํ นวนมาก ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ภาพเขียนเหล่านอ้ี ย่ใู นอาคารทรงมณฑปซง่ึ เปน็ อาคารองคป์ ระธานของวัดอยดู่ า้ นหลงั วิหารใหญ่ มีโครงสร้างเป็นเรือนสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยางประมาณ 22 x 23 เมตร สูงประมาณ 15 เมตร ก้อ ด้วยอิฐฉาบปูน ภายในมณฑปหลังร้ีมีศิลปะสําคัญหลายอย่างคือพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หรือที่เรียกว่า พระอจนะ ภายในผนงั อาคารมณฑปหลงั น้มี ศี ลิ ปะท่สี ําคญั และมีค่าย่ิงคือ ภาพสลักลายเส้นเรื่องชาดกรอย พระพุทธบาท และภาพจิตรกรรมฝาผนังในส่วยรอยพระพุทธบาท และจิตรกรรมฝาผนังนั้นปัจจุบันลบ เลอื นเกือบหมด
หนงั สอื เรียนวิชาเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวชิ าสโุ ขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวิถีชวี ิต 62 ภาพเขียนที่ปรากฏในผนังถ้ํามีลักษณะเป็นภาพลายเส้นเขียนลงในแผ่นหินชนวน จํานวน 51 แผ่น ภาพลายเส้นเหล่านี้มีความงดงามมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นแบบฉบับของการเขียนลายเส้นใน สมยั สโุ ขทัย ลวดลายที่ปรากฏอาจนําไปประกอบหรือตกแต่งงานหัตถกรรมได้ เช่น การนําไปตกแต่ง ภาชนะเครอ่ื งปัน้ ดินเผา การเขยี นลวดลายบนผนื ผา้ เพือ่ แต่งเสอ้ื ผ้า หรอื ตกแตง่ เครื่องเรอื น เปน็ ต้น
หนงั สอื เรียนวชิ าเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวิชาสโุ ขทยั ศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวิถชี ีวิต 63 กจิ กรรมท้ายบท บทที่ 5 ศลิ ป์ : เอกลกั ษณท์ อ้ งถิ่นสุโขทัย 1. ใหน้ กั ศึกษาบอกวธิ ีการอนุรกั ษ์ภมู ิปัญญาของท้องถ่นิ สุโขทัย ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................
หนังสือเรยี นวชิ าเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสุโขทัยศึกษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวถิ ชี วี ติ 64 บทท่ี 6 ดนตรแี ละการแสดงของท้องถนิ่ สโุ ขทัย เรือ่ งที่ 1 ดนตรีพ้ืนบ้าน ดนตรแี ละการแสดงของทอ้ งถน่ิ สุโขทัย ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านนับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซ่ึงบรรพบุรุษได้สร้างสมไว้ให้อนุชนรุ่น หลังเป็นเคร่ืองหมายอย่างหน่ึงที่แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนได้ที่คงไว้ในรูปของขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ซ่ึงประกอบด้วยความอ่อนช้อยท่ีแฝงไว้ด้วยความหนักแน่นมั่นคง อีกท้ังยังมีส่วน เกี่ยวข้องกับชวี ติ ของคนไทยต้ังแตเ่ กดิ จนกระท่ังตาย จึงสมควรที่คนไทยจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีและการ แสดงของชนชาติตน เพราะจะสามารถนํามาใช้กับการดํารงชีวิตช่วยพัฒนาตนเองและสังคมให้อยู่ร่วมกัน อยา่ งมีความสุขได้ในบทนี้จะได้กล่าวถึง 2 หัวข้อใหญ่ คือ ดนตรี และการแสดงพ้ืนบ้าน อันเป็นเอกลักษณ์ ของท้องถิ่นสุโขทัย เกีย่ วกบั ดนตรีและการแสดงพืน้ บา้ นของท้องถ่ินสโุ ขทัยนี้ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัยและสําเนา จันทร์จรญู (ม.ป.ป.) ไดร้ วบรวมได้เปน็ เอกลกั ษณข์ องท้องถน่ิ มี ดงั น้ี 1. ดนตรีพน้ื บา้ น ไดแ้ ก่ มงั คละ และกลองยาว 2. การแสดงพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ ฉุยฉายเข้าวัด เพลงบัวรัง เพลงขอทานและเพลง ประกอบพิธี เปน็ ตน้ ดงั จะได้กลา่ วรายละเอยี ดของดนตรีและการแสดงพ้นื บา้ นต่อไปน้ี ดนตรีพน้ื บา้ น คนสุโขทัยก็เหมือนชาวไทยทั่วไป คือเป็นผู้มีอุปนิสัยเบิกบาน รักความสนุกสนาน ร่ืนเริง ย้ิม หัวเราะง่าย ไม่เคร่งเครียด ไม่อาฆาตมาดร้าย มีความเมตตากรุณา พูดจาอ่อนหวาน และมีการเล่นร้องรํา เป็นนจิ จงึ มีเพลงและเครอื่ งดนตรเี ปน็ ใยสืบสานมาถงึ คนในยุคปัจจุบันอยา่ งต่อเนื่อง แท้จริงแล้วดนตรพี นื้ บ้านของทอ้ งถิ่นสุโขทยั มีเป็นจาํ นวนมาก แต่ผู้เขียนพิจารณาเห็นว่ามีลักษณะ ที่คล้ายคลึงกับท้องถ่ินอื่นมาก ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเครื่องสายมโหรี หรือปี่พาทย์อันประกอบด้วยเครื่อง ดนตรีหลากหลายชนิด จึงได้คัดเลือกเฉพาะเคร่ืองดนตรีที่มีลักษณะโดดเด่นมีการแสดงอย่างแพร่หลายใน ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล หรืองานอวมงคล ดังนั้นจึงจะได้กล่าวถึงการแสดงดนตรีพื้นบ้านในท้องถิ่น สโุ ขทยั เพยี ง 2 เร่ือง คือ มังคละสโุ ขทัย และกลองยาวสุโขทัย
หนงั สอื เรียนวชิ าเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสโุ ขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวถิ ีชีวติ 65 มังคละสโุ ขทัย หลายคนเมื่อได้ยินชื่อกลองมัคละก็มักจะคิดว่าเป็นดนตรีการละเล่นของจังหวัดพิษณุโลก แท้จริง แลว้ ทัง้ พษิ ณโุ ลกและสุโขทัยต่างก็มีการเล่นมังคละเช่นเดียวกันแต่ลีลาการเล่นหรือจังหวะดนตรีอาจแปลก แยกกนั ไปบา้ ง แตก่ น็ บั ว่าการเล่นมังคละทั้งสองเมืองมลี ักษณะท่ีนา่ สนใจไม่นอ้ ย การเล่นมังคละในจงั หวัดสโุ ขทยั ยังไม่ตาย ปัจจุบันการเล่นชนิดน้ียังมีการสืบทอดในจังหวัดสุโขทัย หลายแห่ง เช่น อําเภอเมือง ท่ีตําบลบ้านสวน ตําบลบ้านนา อําเภอศรีสําโรง ท่ีบ้านวังลึก ตําบลหนองรั้ง เหนือ บ้านหนองรั้งใต้ บ้านวัดโพธ์ิ บ้านวงฆ้อง อําเภอกงไกรลาศ ที่ตําบลปรักรัก อําเภอสวรรคโลก ท่ี ตําบลบ้านท่าทอง เป็นต้น ซ่ึงการแสดงในแต่ละอําเภอล้วนเป็นการเล่นท่ีเป็นศิลปะการเล่นแบบโบราณ อย่างแท้จริง กลองมงั คละนี้ชาวเมืองสุโขทยั เรยี กว่า กลองจก๊ โกร๊ด หรือเรียกตามสบายปากว่า บังคละ บ้างหรือ ป่กี ลองบ้าง การเล่นมังคละจะเล่นเป็นวงหรือเป็นคณะประกอบด้วยเสียง ปี่ กลอง ฆ้อง เมื่อเล่นรวมกัน เสียงจะออกมาแหลม โหยหวน เพราะมีทงั้ เสยี งป่แี ละเสียงกลองเสียงแหลมสงู คละเคล้ากนั ไป ประวตั ิการเล่นมังคละ กานเล่นมังคละนี้เชื่อว่าเราได้แบบอย่างมาจากแขกอินเดีย ในสมัยพุทธกาลนานมาแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดาท่ีสวรรค์ช้ันดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน และได้ เสด็จกลับลงมาที่เมืองสังกัสสะนคร ในระหว่างท่ีเสด็จจากเทวโลกมานั้น พระพรหมและพระอินทร์ได้ เนรมิตบันไดข้ึน 3 ชั้น ได้แก่ บันไดทอง บันไดเงิน บันไดแก้ว สําหรับเป็นที่ให้พระพุทธเจ้าเสด็จลงมา นน้ั ไดม้ ีเทวดาตามส่งเสด็จเป็นจํานวนมาก และด้วยพุทธาภินิหาร พระพุทธองค์แรงบันดาลให้โลกทั้งสาม คือ โลกสวรรค์ มนุษย์ และนรกได้มองเหน็ กนั ในขณะท่ีพระพทุ ธองค์เสด็จมาทาบันไดแก้ว ได้มีคนธรรพ์ มาขับร้อง บรรเลงดนตรีเพ่ือเป็นพุทธบูชาและเครื่องดนตรีท่ีคนธรรพ์ได้นํามาแสดงเป็นดนตรีที่มีลักษณะ เหมือนป่กี ลองชนดิ หนง่ึ ของไทยเราโดยเฉพาะกจิ กรรมตามฝาผนังต่าง ๆ จะมีภาพวาดเก่ียวกับคนธรรพ์นํา ดนตรมี าบรรเลง มีการฟอ้ นรําในขณะทพ่ี ระพุทธองค์เสด็จมาน้ันดว้ ย (สําเนา จันทร์จรูญ, ม.ป.ป.) ป่ีกลองหรือดนตรีที่คนธรรพ์มาแสดงน้ีมีลักษณะเหมือนปี่กลองป่ีของไทย ท่ีเรียกว่า มังคละ ซ่ึง แปลวา่ ปีก่ ลองทเี่ ป็นมงคล ประวตั กิ ารเล่นมังคละในเมอื งไทย การเล่นมังคละในเมืองไทยแท้จริงแล้วจะเริ่มต้นอย่างไรไม่มีใครยืนยันได้ แต่มีหลักฐานแสดงถึง การเล่นมังคละบันทกึ ไวเ้ ม่อื ครั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ เม่ือปี พ.ศ. 2444 พระองคบ์ นั ทึกถึงกลองมงั คละ ขณะท่เี มอื งพิษณโุ ลกมขี อ้ ความตอนหน่งึ ว่า “...ลืมเล่าถึงมังคละไป คือวันท่ีพักอยู่ที่ไทรโรงโขน ได้ยินเสียงไกล ๆ เป็นกลองที่ตีเป็นเพลง แตจ่ ะสังเกตเป็นอะไรไม่ได้ รุ่งขึ้นกําลังเดินเรื่อยไปตามทางได้ยินอีกหนหนึ่ง ที่น้ีใกล้เขาเขาแห่นาคกันอยู่ ริมตลิง่ ...” จากข้อความขา้ งต้นแสดงวา่ การเล่นดนตรีมงั คละมมี านานร่วมร้อยปีแล้ว และก็ยังมีสืบทอดมาถึง ปัจจุบัน เคร่ืองดนตรีมังคละประกอบด้วยกลองสองหน้า จํานวน 2 ใบ กลองมังคละ (กลองจ๊กโกร๊ด) จาํ นวน 1 ใบ ฆอ้ ง จากข้อความข้างต้นแสดงว่าการเล่นดนตรีมังคละมีมานานร่วมร้อยปีแล้ว และยังมีสืบทอดมาถึง ปัจจบุ นั
หนังสอื เรยี นวชิ าเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวิชาสุโขทยั ศึกษาเชงิ ประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวถิ ีชวี ติ 66 เครื่องดนตรีมังคละประกอบด้วยกลองสองหน้า จํานวน 2 ใบ กลองมังคละ (กลองจ๊กโกร๊ด) จาํ นวน 1 ใบ ฆอ้ งโหม่ง 3 ใบ ป่ชี วา 1 เลา ฉาบเล็ก 1 คู่ ฉาบใหญ่ 1 คู่ ลักษณะการเล่นมังคละ การเล่นมัคละจะเล่นเป็นวงผู้เล่นประมาณ 9 – 10 คน เครื่องดนตรีท่ีใช้ เล่น คือกลองสองหน้า จํานวน 2 ใบ มีลักษณะเป็นกลองแขก แต่การข้ึนหน้ากลองเหมือนกับการข้ึนหน้า กลองยาว ผู้ตี 2 คน คือตียืน 1 คน และจังหวะหลอนอีก 1 คน ในการตีกลองใช้ไม้เหลาให้กลมยาว ประมาณ 5 นิว้ ตีทีห่ น้ากลอง แต่บางเพลงใช้มอื ตีแทนไมก้ ม็ ี ตัวมังคละหรือ จ๊กโกร๊ด มีลักษณะเหมือนกลองยาวแต่เล็กและสั้น คือมีความยาวประมาณ 1 ฟุต ตรงปลายกลองมังคละไม่ปากกว้างเหมือนกลองยาว หน้ากลองกว้างประมาณ 6-7 นิ้ว ใช้ไม้หวายเล็กๆ จาํ นวน 2 อนั ใชต้ กี ลองมงั คละ ลักษณะกลองมังคละหรือกลองจ๊กโกร๊ด ที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ กล่าวไว้ในจดหมาย ระยะทางไปพิษณโุ ลก (2506) มใี จความว่า “เครอื่ งมงั คละน้ีเป็นเครื่องเบญจดุริยางค์แท้มีกลองเล็กรูปเหมือนเถิดเทิง แต่สั้นขึงหนังหน้าเดี่ยว มไี ม้ตียาวๆ ตรงกับ “วาคต”ใบหน่ึง มีกลองขึง 2 หน้าเหมือนกลองมลายู เป็นตัวผู้ใบหนึ่ง ตรงกับ “วิตฺตํ” เปน็ ตัวเมยี ใบหนึ่งตรงกับ “อาตฺตสิตตฺ ํ” มไี ม้ตตี รง ๆ กลองท้ังสามใบนีต้ ้องหุ้มผ้าดอกเหลือไวแ้ ตห่ น้า…” จากการกล่าวถึงกลอง 2 ลักษณะน้ีก็คือ กลองสองหน้า 2 ใบ และกลองมังคละ หรือ กลองจ๊ก โกร๊ด อกี 1 ใบ ขณะบรรเลงในการแสดงมงั คละ ฆ้อง หรือโหม่ง จํานวน 3 ใบ มีคานหาม ตัวคานหามหัวทําเป็นรูปจระเข้ ท่ีปากจระเข้แขวนฆ้อง โหม่งตัวยืน และมีปีกกาขวางคลา้ ยไมก้ างเขนแขวนฆ้องโหม่งข้างละใบ ตรงกลางคานหามทําเป็นรูปฤๅษีนั่ง บนคานหาม คนที่หามด้านหน้าจะเป็นผู้ตีฆ้องโหม่งยืน คือ ตี ม้ง ม้ง คนที่หามอยู่ด้านหลังจะเป็นผู้ตีฆ้อง โหมง่ 2 ใบ ใหเ้ กิดเสียงสงู ตาํ่ สลับกนั ปี่ชวา จํานวน 1 เลา บานป่ีหรือลําโพงใช้ทองเหลือง ทําให้กว้างบานกว่าปี่ชวาธรรมดาผู้เป่าปี่จะ เป็นตัวหลักในการใหเ้ พลง หรอื ทาํ นองเพลง สุดท้ายก็เป็นฉาบ คู่ใหญเ่ ล็กเพอื่ ตใี ห้จงั หวะ ดนตรตี า่ ง ๆ จะตหี รอื บรรเลงพรอ้ มกันตามจังหวะเพลง เสียงจะผสมผสานกัน บางเพลงก็เร้าใจให้ สนุกสนาน บางเพลงกช็ า้ และโหยหวน เพลงมังคละท่ีสอบถามจากการเลน่ ทย่ี งั มีอยใู่ นปัจจุบันมดี งั นี้ 1. เพลงไมห้ นง่ึ กลองยืน ตดี ังน้ี จะ๊ ทงึ ทึง จะ๊ ทงึ ทงึ จ๊ะ กลองหลอน ตีดังนี้จะตีจ๊ะทิงเนิด ทึงทึง จ๊ะทิงเนิดทึงทึง จะ๊ ทงึ ทงึ เนดิ 2. เพลงไม้สอง กลองยนื ตีดังน้ี จะ๊ ทงึ ทึง ทงึ จะ๊ ทงึ จะ๊ ทงึ ทงึ จ๊ะ กลองหลอน ตีเหมือนไมห้ นงึ่ 3. เพลงกบเขน่ เข้ียว กลองยืน ตดี งั นี้ จะ๊ โกรด๊ จะ๊ คงึ่ คึ่ง จะ๊ คง่ึ จ๊ะโกรด๊ จะ๊ โกร๊ด กลองหลอน ตี จะ๊ โกรด๊ โกรด๊ โกรด๊ คง่ึ คงึ่ จ๊ะคึ่งจะ๊ โกร๊ด โกรด๊ 4. แม่หม้ายกะทกิ แปง้ กลองยืน ตี จ๊ะ จะ๊ จะ๊ แทดแทด จะ๊ แทดแทด จะ๊ แทด จ๊ะแทด กลองหลอน ตี อปี ๊ะ อปี ะ๊ ทึดทดึ ป๊ะทดึ ทดึ ป๊ะทึด ป๊ะทึด
หนงั สือเรยี นวิชาเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวชิ าสุโขทยั ศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวิถชี วี ิต 67 5. ตกปรกั กลองยืน ตี จะปะ๊ เท่งป๊ะ จ๊ะป๊ะ เท่งป๊ะ (ตกปรกั จมปรัก) กลองหลอน ตี ทึงทงึ ทึง โจ๊ะ โจก๊ ป๊ะ โจ๊ะปะ๊ โจะ๊ ปะ๊ ทงึ ทึง 6. กวางเดนิ ดง (มงึ ขึ้นไม่ได้มงึ ก็ตกปรัก) 7. คดุ ทะราดเหยียบกรวด กลองยนื ตี แกรก๊ แกรก๊ แกร๊กเทง่ แกรก๊ (ซํา้ ) 8. ยํ่าคา่ํ กลองหลอน ตี จ๊ะทงิ เนดิ ทึงทงึ ทึงทึงแกรก๊ แกรก๊ แกร๊ก กลองยนื ตี จะ๊ เท่งจ๊ะ จ๊ะเทง่ จ๊ะเท่ง 9. ไทรยอ้ ย กลองหลอน ตี ปะ๊ ทงิ เนิด ปะ๊ ทิงเนดิ เท่งเนิด 10. จูงนางเขา้ ห้อง กลองยนื ตี โจ๊ะ โจะ๊ ทงิ โจ๊ะทงิ โจ๊ะ โจะ๊ โจะ๊ ทิงโจะ๊ โจะ๊ ทงิ โจ๊ะ โจ๊ะ กลองหลอน .... กลองยนื ตี โจะ๊ โจะ๊ โจะ๊ ทิง โจะ๊ ทงิ โจ๊ะทิงโจะ๊ โจะ๊ ทงิ โจ๊ะ โจะ๊ กลองหลอน .... กลองยนื ตี โจ๊ะทิงโจ๊ะ โจ๊ะ โจ๊ะทิงโจ๊ะ โจะ๊ กลองหลอน .... นอกจากนยี้ ังมีเพลงอกี หลายเพลงที่คณะมังคละสโุ ขทัยเคยตีเล่น เช่น เพลงกาจับหลัก เพลงหมูกัด แกนโคนบอน เพลงเขน็ ครกขึน้ ภูเขา เพลงถอยหลังลงคลอง เพลงเวยี นเทียน เพลงสาวน้อยปะแป้ง เพลงไผ่ รว่ ง เพลงทว้ งขา้ ง เพลงนกกระเด้าดนิ เพลงหงสเ์ หิร(หงสล์ ลี า) เพลงลมพัดชายเขา เป็นต้น เพลงที่กล่าวมา กลา่ วมาน้เี ปน็ ที่น่าเสียดายท่ผี ู้เล่นปล่อยให้หายสาบสูญไปโดยไมม่ ีใครต่อเพลงไว้ ทา่ รํามงั คละพ้ืนบา้ นของสุโขทยั จากการรวบรวมท่ารํามังคละของสําเนา จันทร์จรูญ บุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมปี 2532 ได้กล่าว ว่า ในส่วนท่ารํามังคละแบบพื้นบ้านของชาวสุโขทัย การรําในการแสดงมังคละน้ันเป็นการแสดงแบบ พ้ืนบ้าน เม่ือมีการบวชพระแห่นาค หรืองานตรุษ สงกรานต์ หากผู้รําได้ยินเสียงป่ีกลองที่ครึกคร้ืน สนุกสนานแล้ว ผู้รํามักจะออกลวดลายท่ีดีเด่นมาอวดกัน เม่ือผู้หน่ึงรําได้ คนอ่ืน ๆ ต่างก็จะคิดลวดลาย ประชันกัน ผชู้ มก็จะจดจําไปร่ายรํากัน จากท่าทางที่จินตนาการได้ของคนในสมัยก่อนจึงเป็นมรดกตกทอด สบื ต่อกนั มา และมีชื่อเรยี กตา่ ง ๆ ดังน้ี 1. ท่ากลองโยน หรือท่าตกปรกั 2. ทา่ มอญชมดาว 3. ท่ากาสาวไส้ 4. ทา่ ชา้ งประสานงา 5. ทา่ กวางเกลียวหลงั 6. ท่าลงิ อุ้มแตง
หนังสือเรยี นวิชาเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสุโขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวิถชี ีวติ 68 7. ท่านางอาย 8. ท่าหงส์เหิร 9. ทา่ แม่หม้ายทง้ิ แปง้ 10. ท่าผาลา 11. ทา่ จีบยาว 12. ท่าสอดสร้อยมาลา เครอื่ งแตง่ การในการรํามังคละ ชาย สวมเสื้อแขนสั้นคอกลม นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าแถบคาดเอว สองชายหญิง สวม เสอ้ื คอกลม แขนกระบอก หรือหม่ ผา้ แถบ น่งุ โจงกระเบนหรือผ้าถงุ ทดั ดอกไม้ ลกั ษณะการราํ มงั คละพืน้ บา้ นสโุ ขทยั การรํามังคละจะรําเป็นคู่ ระหว่างชาย หญิง ท่าทางในการร่ายรําส่วนมากเป็นการล้อหลอกหยอก เยา้ หรือเปน็ ทา่ ตลกขบขนั เช่นทา่ ลิงอุม้ แตง เป็นต้น บางครง้ั กเ็ ป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว เช่น ท่าแม่หม้ายท้งิ แปง้ เป็นตน้ กลองยาวสโุ ขทัย การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นอย่างหน่ึงของไทยมาตั้งแต่โบราณ มีชื่อเรียกหลายอย่าง ได้แก่ เถิดเทิง เท้งิ บอ้ งกลองยาว ตามประวตั ิการเลน่ กลองยาวยังไม่มหี ลกั ฐานแน่นอนวา่ ใครเปน็ ผปู้ ระดษิ ฐ์ข้ึนเป็นคนแรก สืบ ทราบได้เพียงแต่ว่าเราได้แบบอย่างการเล่นกลองยาวมาจากพม่า ในราวสมัยกรุงธนบุรีหรือต้นกรุง รัตนโกสินทร์ สมัยที่ได้ทําสงครามกับพม่า เพราะมีเพลงพื้นบ้านร้องว่า”พม่ารําขวานพวกชาวบ้านตีกลอง ฟังฟังเสียงมันดังเทิ้งบ้อง...”กล่าวกันว่าเวลาพักรบพวกทหารพม่าก็พากันตีกลองยาว ซึ่งได้นําติดตัวมา อย่างสนุกสนาน ชาวไทยได้เห็นแบบอย่างก็นํามาเล่นบ้าง บางท่านก็เล่าว่ากลองยาวของพม่าน้ีมีชาวพม่า นํามาเผยแพร่ที่ประเทศไทยเมื่อครั้งรัชกาลท่ี 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีบทร้องกราวรํายกทัพพม่าใน การแสดงละครเรื่อง พระอภยั มณีตอนสงครามเก้าทัพ บทร้องมดี ังน้ี ทุงเล ๆ ที่น่จี ะเหพ่ ม่าใหม่ ตกเขา้ มาเมืองไทย เป็นผใู้ หญต่ กี ลองยาว ตวี ่องตีไวตีไดจ้ ังหวะ ทีนี้จะกะเปน็ เพลงกราว เลือ่ งช่ือลือฉาว ตีกลองยาวสลดั ได ๆ บางท่านกล่าวว่า คําว่า “สลัดได” เป็นชื่อของชาวพม่าผู้เข้ามาสอนการเล่นกลองยาวให้ชาวไทย ชื่อว่า “หมอ่ งสลดั ได” ต่อมาคนไทยเรานํากลองยาวมาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น การ เล่นกลองยาวเป็นท่ีนิยมกันมาก ในฤดูกาล งานตรุษสงกรานต์ และการเล่นกลองยาวได้แพร่หลายไปแบ ทกุ หัวเมือง เพราะเล่นง่าย สนุกสนาน เครอ่ื งดนตรีท่ีใช้ในการบรรเลงรว่ มมี ฉาบ กรบั โหม่ง เทา่ น้ัน
หนงั สอื เรียนวิชาเลอื ก สาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสุโขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวถิ ชี ีวติ 69 เม่ือกลองยาวแพร่หลายเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ปรากฏว่านักดนตรีท่ีบรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ ของเจ้าพระยามหินทรศักด์ิธํารง (เพ็ง เพ็ญบุญ) ได้นําเอาวิธีการเล่นกลองยาวมาใช้ในการแสดงละคร พนั ทาง เรือ่ งราชาธิราชตอนยกทพั พมา่ และเรื่องขนุ ชา้ งชนุ แผนตอน พลายเพชรพลายบัวออกศึก ในราว ปลายรัชสมัยที่ 5 นอกจากนี้ในการแสดงละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ เร่ืองเจ้าหญิงแสน หวี ที่แสดง ณ โรงละครแหง่ ชาติ กรมศิลปากรในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้นําเอาลีลาการเล่น กลองยาวมาประกอบการแสดงระบําไวใ้ นละครเรอื่ งน้วี ่า ชุดกลองยาวเขมรัฐ ในสมัยท่ีนายธนิต อยู่โพธิ์ เป็นอธิบดีกรมศิลปากรอยู่นั้น นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้ทราบว่าท่ีหมู่บ้าน เก่า ตําบลจระเข้เผือก อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีการเล่นกลองยาวมาท่ีสืบทอดกันมาช้านาน คือ การเล่น “รําเหย่ย” หรือที่เรียกอีกชื่อหน่ึงว่า รําพาดผ้า เร่ิมต้นด้วยการประโคมกลองยาวอย่างกึกก้อง เร่งเร้าสนุกสนาน สันนิษฐานว่าการเล่นประโคมกลองยาวของชาวบ้านในเขตหมู่บ้านเก่าน้ี อาจได้รับ แบบอย่างมาจากพม่า เพราะตามประวัตศิ าสตร์กล่าววา่ คราใดท่ีพม่ายกกองทัพเข้ามาทําสงครามกับไทย มักจะมาทางด่านของจังหวัดกาญจนบุรี เช่น สงครามเก้าทัพหรือสงครามลาดหญ้า ซ่ึงอยู่ในเขตจังหวัด กาญจนบุรี ดงั น้นั การเลน่ กลองยาวของไทยนา่ จะไดอ้ ทิ ธิพลมาจากการเล่นกลองยาวของพมา่ เม่ือเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน 2509 รัฐบาลไทยได้มอบให้นายธนิต อยู่โพธ์ิ อธิการบดีกรม ศิลปากร นําคณะนาฏศิลป์ไทยไปแสดงเพ่ือเชื่อมสัมพันธไมตรีกับพม่า ณ นครร่างกุ้งและมัณฑเลย์ นาย ปฐมรัตน์ ถนิ่ ธรณี นกั ดนตรขี องกรมศลิ ปากรที่ร่วมไปแสดงในครั้งนี้ ได้เห็นกลองชิดหน่ึงคล้ายกลองยาว ของไทย หากแต่กลองพม่าน้ันติดทองประดับกระจกที่หุ่นกลองสวยงามตามแบบศิลปะพม่า และพม่าก็ เรียกกลองชนดิ นว้ี ่า “โอสิ” และนายธนิต อย่โู พธ์ิ ได้มีโอกาสถามนักโบราณคดีชาวพม่าผู้หน่ึงซ่ึงเป็นผู้นํา ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและโบราณของเขาถึงกองกลองยาวว่ามีกําเนิดมาอย่างไร ซ่ึงเขาได้ตอบว่า ทราบว่าพมา่ ไดม้ าจากไทยใหญอ่ กี ตอ่ หน่ึง สําหรับกลองของไทยใหญ่ทางภาคเหนือของไทยนั้น มีกลองชนิดหนึ่งรูปร่างลักษณะคล้ายกับ กลองยาวมาก ใช้ตีร่วมกับฉาบใหญ่ และโหม่ง 2 ใบ ประกอบจังหวะการฟ้อนดาบ ชาวไทยใหญ่เรียก กลองชนิดน้ีว่า “กลองพุเจ่” กลองพุเจ่มีวิธีการตีเดียวกับกลองยาวแต่จังหวะที่ใช้ตีมีเพียงไม่กี่จังหวะ มุ่ง ประกอบการแสดงเปน็ สว่ นใหญ่ จงั หวะจะเน้นการรุกเร้าในทา่ รําบางท่าเทา่ นน้ั จึงสนั นษิ ฐานว่ากลองพุเจ่ ของชาวไทยใหญ่ชนิดน้ีน่ีเองท่ีพม่านําเอากลับมาเผยแพร่ให้ชาวไทยในภาคกลางใช้เล่นจึงเป็นท่ีนิยมสืบ ต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน หรือถ้าจะกล่าวว่ากลองพุเจ่เป็นต้นกําเนิดของกลองยาวในปัจจุบันนี้น้ันเอง (สําเนา จนั ทร์จรญู , ม.ป.ป.) ประวัตกิ ารเล่นกลองยาวของชาวสุโขทยั สําหรบั ประวตั ิการเล่นกลองยาวของสุโขทัยนั้นมีมาต้ังแต่โบราณ มีผู้สันนิษฐานว่ากลองยาวน้ีเป็น ของพมา่ ไทยเราไดน้ าํ มาในอาํ เภอแม่สอด จงั หวัดตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของไทยทางทิศตะวันตก คน ไทยในเขตนี้ได้ทําการติดต่อกับพม่าอยู่ตลอดเวลา จึงได้รับเอาวัฒนธรรมการเล่นกลองยาวของพม่า อีก ประการหน่ึง เม่อื พม่ายกทพั มาตไี ทยก็ได้เข้ามาทางอาํ เภอแมส่ อด จงั หวดั ตาก เวลาพักทัพก็เอากลองยาว มาตีเล่นกันเป็นท่ีสนุกสนาน คนไทยเราที่อยู่ในเขตน้ีจึงได้รับเอาวิธีการเล่นกลองยาวของพม่าเข้าไว้ เพราะเล่นง่าย สนุกสนาน เลยทําให้การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นพ้ืนเมืองของไทยอย่างนี้มาต้ังแต่สมัย โบราณ
หนังสอื เรยี นวชิ าเลือก สาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสโุ ขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวิถีชวี ติ 70 ท่าโยนกลอง ปัจจุบันนี้การเล่นกลองยาวไม่มีที่ใดจะเล่นได้ดีเท่ากลองยาวของชาวสุโขทัย เพราะกลองยาว สุโขทัยได้รักษาวิธีการเล่นแต่เดิมไว้ได้ดีพอสมควร มีทั้งท่าเต้น ท่าร่ายรํา ท่าพลิกเพลงโลดโผน ซึ่งไม่มี กลองยาวท่ีใดเล่นได้ดีเท่า ดังจะเห็นได้จากงานลอยกระทงเผาเทียน เล่นไฟ หรืองานรับแขกบ้านแขก เมือง จะมีกลองยาวสโุ ขทัยแสดงให้ชมเป็นท่ีน่าชื่นชมยนิ ดเี ปน็ อยา่ งยิ่ง จงึ มชี ื่อเสยี งเปน็ ทีก่ ลา่ วขานทวั่ ไป ลักษณะการเล่นกลองยาว การเลน่ กลองยาวสโุ ขทัยมีลกั ษณะเดน่ ท่พี อจะสรุปได้ ดงั น้ี 1. เคร่ืองดนตรีท่ีเล่นประกอบด้วย ป่ีเป็นตัวนําที่ใช้เป่าให้จังหวะและให้เพลง นับว่าแปลกกว่า กลองยาวของกรมศลิ ปากรหรือจังหวดั อื่น ๆ 2. กลองยาวสุโขทัยมีชดุ นางรําประกอบการแสดงทําใหด้ ูงดงามโดดเด่นกวา่ ท่อี ่นื ๆ 3. การแต่งกาย กลองยาวสุโขทัยฝ่ายชายจะแต่งหน้าและแต่งกายด้วยเส้ือผ้าท่ีมีสีสดใส เหมอื นกันทงั้ คณะ 4. การแสดงฝ่ายชายมกี ารโลดโผน แต่รักษาการเลน่ ของโบราณไว้ 5. จงั หวะเพลงหรือไมก้ ลองของกลองยาวสุโขทัยช้ากว่าของกรมศิลปากร แต่เพลงของกลองยาว สุโขทยั เปน็ ของโบราณที่ได้รับการถา่ ยทอดมาจากบรรพบุรษุ 6. กลองยาวสุโขทัยใช้เวลาแสดงแต่ละคร้ัง 2-3 ชั่วโมง ส่วนกลองยาวของกรมศิลปากรใช้เวลา แสดงเพียง 7-10 นาทเี ทา่ น้นั โอกาสแสดงกลองยาว การแสดงกลองยาวนยิ มเล่นกันในงานรืน่ เรงิ หรอื งานฉลอง เชน่ ตรุษสงกรานต์ งานบวชนาค งาน แห่พระ งานแหเ่ ทยี นเข้าพรรษา สําหรับงานบวชนาคจะมีการเล่นกลองยาวเป็น 3 รอบ รอบแรกเป็นการเล่นนําขบวนแห่นาค ซ่ึง ไปขอศีลท่ีวัดมาบ้านเพื่อทําพิธีทําขวัญนาค รอบที่สอง เป็นการเล่นบนลานกว้าง หรือบนเวที ณ ท่ีบ้าน เจา้ ภาพหลังจากท่ีได้ทาํ ขวญั นาคเสรจ็ แล้ว สว่ ยมากมกั จะแสดงในเวลากลางคืน รอบที่สาม เป็นการเล่นนํา ขบวนแหน่ าคจากบา้ นไปบวชท่ีวัด การเลน่ กลองยาวในขบวนทีแ่ หน่ ี้จะเป็นการเล่นทใี่ ชเ้ วลายาวนานมาก ขบวนกลองยาวอาจตีกลอง โชว์ เพ่อื โชว์ลีลาการเลน่ และการรา่ ยราํ จนสดุ ฝมี ือ การแตง่ กายของกลองยาวสุโขทยั ชาย นุ่งโจงกระเบนหรือโสร่ง เส้ือคอกลมแขนส้ัน มีผ้าขาวม้าหรือผ้าแถบคล้อง 2 ไหล่ ห้อยชาย ข้างหลัง พร้อมท้ังมีผ้าขาวม้าคาดพุงอีกผืนหนึ่ง ต่อมาเม่ือมีการแสดงผาดโผน การนุ่งโจงกระเบนหรือการ นุ่งโสร่งไม่สะดวกต่อการยกแข้งยกขา ฝ่ายชายจึงต้องเปลี่ยนเป็นนุ่งกางเกง แบบสนับเพลา ส่วนท่ีศีรษะมี การโพกผ้าเลียนแบบชาวพม่า หญิง นิยมแต่งชุดไทยบรมพิมานและแบบไทยจักรีมากกว่านุ่งโจงกระเบน ห่มสไบทัดดอกไม้ท่ีผม สขี องเครือ่ งแต่งกายทงั้ ชายทง้ั หญิงอาจเปน็ สีเดยี วกันท้งั คณะ หรือสตี า่ งกันเป็นคู่ ๆ แล้วแต่จะเหน็ งาน
หนงั สอื เรยี นวชิ าเลือก สาระการพัฒนาสงั คม รายวิชาสุโขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชวี ิต 71 หลักการแสดงกลองยาวแบบพืน้ บ้าน การแสดงกลองยาวท่ีถูกต้องผู้แสดงต้องสามารถบอกลําดับข้ันตอนการแสดงได้ รู้จักพิธีไหว้ครู รู้ เพลงกลอง และต้องรู้หลักการจัดชุดต่าง ๆ พร้อมทั้งควบคุมเวลาการแสดงได้อย่างเหมาะสม เพ่ือไม่ให้ผู้ดู เบ่ือหนา่ ย พิธีไหวค้ รู การเล่นกลองยาวก็คงคล้ายการแสดงของไทยท่ัวไปคือ คณะกลองยาวจะต้องทําพิธีไหว้ครูทักครั้ง ทม่ี กี ารแสดง เครอ่ื งไหว้ครูประกอบด้วย เงนิ 12 บาท ธูป 3 ดอก เทยี น 1 เล่ม ดอกไม้ 3 สี บุหร่ี 3 มวน หมาก 3 คํา สุรา 1 ขวด นําของไหว้ครูวางบนโต๊ะ เวลาไหว้ครูใส่พานวางบนโต๊ะ เวลาไหว้ครู หัวหน้าคณะจะจุด เทียน ธูป ทุกคนนั่งประนมมือ ตั้งนะโมพร้อมกัน 3 จบ หัวหน้า คณะหรือผู้อาวุโสกล่าวคําไหว้ครู ทุกคน ไหวต้ าม คาํ กลา่ วไหวค้ รไู ม่เหมอื นกัน แต่ทกุ คนจะหันหน้าไปทางทศิ ตะวันออกเสมอ ลาํ ดบั ขั้นแสดง เม่ือเสร็จพิธีไหว้ครูแล้วผู้แสดงออกมาตรงกลางลานหรือบนเวทีแสดง พอเริ่มแสดงจะมีการโห่ 3 ลา พอจบจะโหม่งฆ้อง 3 คร้ัง คือ มง มง มง เป็นเสียงยืนพื้น ต่อจากนั้นผู้ท่ีทําหน้าที่เป่าป่ีจะเป่า 3 คร้ัง การโหมโรงไม้กลองหรอื เพลงกลองจะเร่มิ ขน้ึ ไปบนข้ันตอน เมอ่ื การโหมโรงเพลงกลองจบแล้ว ชุดการแสดง จะเริม่ แสดงไปจนจบรายการ เพลงกลอง หรือกลองยาวสุโขทยั การแสดงกลองยาวสุโขทัยมเี พลงท่ใี ชเ้ ลน่ พอรวบรวมได้ ดังน้ี ไม้ที่ 1 เพ้ิง เพิง้ เพิ้ง เพิ้งบอ่ ม เพิ้งบอ่ ม บอ่ มเพ้งิ บอ่ ม ไมท้ ี่ 2 บอ่ มเพิ้งบอ่ ม ปะเตงิ เนดิ เติดบอ่ ม ไมท้ ี่ 3 พร่อม พร่อม ตง้ิ เนิดต้ิงเนดิ ไมท้ ี่ 4 ติง้ เนิด ติง้ เนดิ ตง้ิ เนดิ เตดิ เต้ิง ต้งิ เนิด ตงิ้ เนิด ต้ิงเนิด ติ้งเนิดเติดเติ้ง ติ้งเนิด ติงเนิด เติดเติด บอ่ ม เตดิ บอ่ ม ไม้ที่ 5 จับ๊ ทิงเทิง้ ทงิ จะ๊ มะทงิ เทง้ิ บอ่ ม ไม้ที่ 6 บ่อมเพ้ิง ปะเพิ้ง บอ่ มเพงิ้ ปะตเิ พิ้ง บ่อม ไมท้ ี่ 7 เพงิ้ เพง้ิ เพงิ้ บอ่ ม บ่อมเพ้ิงเพิ้ง เพิง้ บอ่ ม บ่อมเพง้ิ เพิง้ ไม้ท่ี 8 เพง้ิ บอ่ ม พอ่ มพอ่ ม พอ่ งเพง้ิ บอ่ ม เพิง้ บ่อม พ่อมเพ้ิงบอ่ ม พอ่ มพ่อม พ่อมเพ้ิงบ่อม ไมท้ ี่ 9 เต้งิ บอ่ ม ต้งิ พอ่ มติ้งพ่อม ไม้ที่ 10 จะ๊ ตงึ ตึง จะ๊ ตึงตงึ จะ๊ ไมท้ ่ี 11 เพง้ิ บ่อม ต้ิงเนิดต้งิ เนิด ไมท้ ี่ 12 จะ๊ เทง่ จ๊ะ จะ๊ เท่งจะ๊
หนังสือเรยี นวิชาเลอื ก สาระการพฒั นาสังคม รายวชิ าสุโขทยั ศกึ ษาเชิงประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวถิ ีชีวติ 72 เคร่ืองดนตรที ่ีใช้ในการแสดงกลองยาว เคร่อื งดนตรีท่ีใช้ในการแสดงพ้นื บ้านสโุ ขทยั มดี ังน้ี 1.ป่ีชวา บานลําโพงทาํ ดว้ ยโลหะ ลิ้นปีท่ ําดว้ ยใบตาลนํามาตัดตามกรรมวิธีของชา่ งผเู้ ปา่ 2.กลองยาวมีขนาดความยาว 2 ศอก หน้ากลองทําด้วยหนังสัตว์ เช่นหนังวัว หนังควาย ตัวกลอง ชดุ กลงึ ด้วยไมข้ นนุ มสี ายสะพายโยงช่วงลา่ งและช่วงบนของตวั กลอง 3.ฉาบกรอและกรอใหญ่ ทาํ ด้วยทองเหลือง 4.โหมง่ ทาํ ด้วยโลหะ หนา้ กวา้ งประมาณ 5-7 น้ิว ไม้สําหรับตใี ชผ้ ้าห่มปลาย 5. กรบั ทําด้วยไมเ้ นอื้ แข็ง หรอื ไมไ้ ผ่ตง การตกแตง่ เครื่องดนตรี กลองเป็นเครื่องดนตรีชนิดเดียวที่มีการตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ผ้าดอกสีสดเย็บจีบระบายรอบ หน้ากลอง ความยาวของผา้ คลมุ ตัวกลองยาวประมาณ 8-10 นวิ้ เรยี กว่า เสอ้ื กลอง ทา่ ราํ ประกอบการแสดง ชาย มีทง้ั ทา่ เตน้ ทา่ ราํ ท่าโยนกลอง ตลอดจนทา่ โลดโผน พร้อมทงั้ การใชศ้ อก เข่า เทา้ และคาง หญิง มีท่ารําหลายท่า เช่น สอดสร้อยมาลา ชักแป้งผัดหน้า มอญชมดาว ยูงฟ้อนหาง แขกเต้า ผาลาเพยี งไหล่ รําสา่ ย นางอาย เปน็ ต้น การร้องเพลงประกอบการแสดง เพลงท่ใี ชร้ อ้ งประกอบการเลน่ กลองยาวมีดงั น้ี มาละโหวย มาละวา มาแตข่ องเขา ของเราไม่มา ตะละลา้ หยุ .....ฮา..... ใครมมี ะกรดู มาแลกมะนาว ใครมีลกู สาว มาแลกลกู เขย เอาวะเอาเหวย ลกู เขยกลองยาว ต้อนไวต้ ้อนไว้ เอาไปบ้านเรา บ้านเราคนจน ไมม่ คี นหงุ ขา้ ว หยุ ....ฮา.... มาละโหวย มาละวา เสอื ออกจากปา่ รอยตีนโต ๆ ตะละล้า หยุ ....ฮา....
หนงั สอื เรยี นวชิ าเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวชิ าสโุ ขทัยศึกษาเชิงประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวิถชี ีวติ 73 บทร้องทส่ี นุกสนานแตโ่ บราณได้แก่บทเกา่ ซึ่งมีเนื้อรอ้ ง ดังน้ี ทุงเลย่าเล ท่ีน่ขี ะเหพ่ ม่าใหม่ ตกเขา้ มา ตกเขา้ มาเมืองไทย เปน็ ผู้ใหญ่ตกี ลองยาว ตวี ่องตีไว ไดจ้ ังหวะ ปะเล้งิ เปิง้ ป๊ะเป็นเพลงกราว ขนึ้ ชอ่ื ขึน้ ชื่อลือฉาว ตกี ลองยาวหม่องสลัดได ตีไดท้ งั้ ซ้าย ตไี ด้ท้งั ขวา ตีไดท้ ัง้ หน้า ตีไดท้ ้ังหลัง ขอโทษ ขอโทษท่านผู้ฟงั ฉนั ตีกระท่ังถึงบาทา มเี มยี มง่ิ สมรมติ ร แม่ยอดสนิทเสน่หา ชือ่ แม่สร้อย ช่ือแม่สรอ้ ยสมุ นทา บ้านอยหู่ นา้ วดั โคกกระทอื เมยี ถามวา่ เมียถามว่าพหี่ ม่องจา๋ จ๋า พ่หี มอ่ งนอนตกี ลองได้หรอื หม่องสลัดไดกไ็ ว้ฝมี ือ ตีขน้ึ เป็นเกลียวกลม (ปรี่ ัว แล้วโหส่ ามลา) ท่าทางในการตกี ลอง ท่าทางของการตกี ลองยาวมที ง้ั การใชฝ้ ีมือ ศอก เข่า เท้า คาง หัว นอกจากนั้นก็ยังใช้ท่าพลิกเพลง เช่น การโยนกลองยาว การโยนกลองกลับหน้ากลับหลัง การต่อตัวโยนกลอง การขึ้นเข่าลงศอก จระเข้ ฟาดหาง การเตะกลองสองไขว้ การโดดแปเท้า การตกี ลองลอดขา เป็นตน้ สว่ นการแสดงของหญงิ จะเปน็ การร่ายรําประเภทท่ีสวยงาม และการหลอกล้อ ระหว่างหนุ่มสาว การเกย้ี วพาราสี เปน็ ต้น
หนงั สือเรียนวิชาเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวชิ าสุโขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวิถชี วี ติ 74 เร่ืองที่ 2 เพลงพ้ืนบา้ น เพลงพน้ื บา้ นจัดว่าเปน็ กรละเล่นพื้นบา้ นอยา่ งหนง่ึ ซ่งึ เปน็ วรรณกรรมมขุ ปาฐะด้วยเพราะไม่มีการ บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่หากมีการจดจําสืบต่อกันจากบรรพบุรุษหลายช่ัวอายุคน นัก คน้ ควา้ วจิ ัยต่างยอมรับกนั วา่ เพลงพน้ื บ้านน่าจะมีมาก่อนวรรณกรรมลายลักษณ์อีก ทั้งนี้เพราะการร้องเล่น เพลงนั้นเป็นงานศิลปะที่ทําให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสและมีความสุข ในการรับรองต่อ ๆ มาก็มีจังหวะดนตรี ทอ้ งถน่ิ เข้ามารว่ ม มีการรา่ ยราํ ประกอบจนเกดิ เปน็ ระบาํ ของชาวบ้าน เพลงพ้ืนบา้ นในท้องถ่ินสุโขทัยใช้ร้อง ราํ ในพิธีต่าง ๆ เช่น เก่ยี วข้าว ทําขวญั ตรษุ สงกรานต์ ฯลฯ ประวัติความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านของไทยน้ัน สําเนียง เรียนรัชตะ (2538) สรุปไว้ว่าเพลง พื้นบ้านของไทยนั้นมีมาช้านานแล้ว ดังข้อความในศิลาจารึกหลักท่ี 1 กล่าวไว้มีข้อความตอนหน่ึงว่า “เสียงพาทย์ เสยี งพิณ เสยี งเลือ่ น เสียงขบั ใครจกั มักเลน่ เล่นใครจกั มกั หัว หวั ” และในไตรภูมิพระร่วงของ พระยาลิไทกล่าวว่า “...บ้างเต้น บ้างรํา บ้างฟ้อนระบํา บรรฤาดุริยดนตรี บ้างดีดี บ้างตี บ้างเป่าบ้างขับ สรรพสาํ เนยี งเสยี งหมนู่ กั คณุ จนกนั ไปเดียรดาษ” ในสมัยอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีข้อความในกฎมณเฑียรบาลตอนที่ 15 ได้ กล่าวถึงการเล่นร้องเรือ เป่าขลุ่ย เป่าป่ี ตีทับขับรํา ซึ่งเป็นเพลงและดนตรีสมัยนั้น นอกจากนั้นในสมัย อยุธยาตอนปลาย กล่าวถึงการเล่นเพลงเทพทอง ซึ่งพระมหานาควัดท่าทราย กล่าวไว้ในหนังสือ ปุณโณ วาทคําฉนั ท์ เปน็ การแสดงมหรสพชนิดหน่งึ ในงานสมโภชพระพุทธบาทสระบรุ ีมใี จความวา่ เทพทองคนรอ้ งเฮ ชนเปรประดับสรวล โตต้ อบกไ็ ปค่ วร ประถอ้ ยแถลงกัน (ปุณโณวาทคาํ ฉนั ท์) ดังน้ันกล่าวได้ว่าในสมัยอยุธยามีการกล่าวถึงเพลงพื้นบ้านอยู่ 2 ประเภท คือ เพลงเรือและเพลง เทพทอง ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยที่มีหลักฐานเก่ียวกับเพลงพ้ืนบ้านชนิดต่าง ๆ มากท่ีสุดต้ังแต่ รัชกาล ที่ 1 ถงึ รชั กาลท่ี 5 นับว่าเป็นยุคทองของเพลงพื้นบ้านโดยเฉพาะเพลงปฏิพากย์ (เพลงร้องโต้ตอบ กัน) เห็นไดจ้ ากการปรากฏเป็นมหรสพในงานพิธี และมีการสร้างชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น เพลงฉ่อย ลําตัด เพลงอีแซว เพลงทรงเคร่ือง ฯลฯ เห็นได้จากวรรณคดีต่าง ๆ เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน อิเหนา จารึกวัด โพธ์ิ มีการเลน่ เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ หลังสมยั รชั กาลที่ 5 อทิ ธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกทําให้เกิดเพลงไทยสากลข้ึน เพลงพ้ืนบ้านจึง เร่ิมหมดความนยิ มทีละนอ้ ย ประกอบกบั ต้องเผชิญอุปสรรคในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ออก พระราชฎีกากําหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ควบคุมการละเล่นพื้นบ้านทําให้เพลงพ้ืนบ้านเส่ือมไป ปัจจบุ ันเพลงพื้นบ้านได้รับการฟ้ืนฟูจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เห็นความสําคัญและเห็นคุณค่า แต่ก็อยู่ในรูป ของการเก็บและการอนรุ กั ษไ์ ว้เทา่ นั้น ไม่มีผู้สืบทอดโดยตรง ท้ังน้ีเพราะการเปล่ียนแปลงของวิถีชีวิตและ ความเป็นอยู่ ดังนัน้ เพลงพื้นบ้านจึงเสอื่ มสญู ไปพร้อม ๆ กบั ผู้เล่น
หนงั สือเรียนวชิ าเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสุโขทยั ศึกษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวถิ ชี ีวิต 75 เพลงพ้ืนบ้านของจังหวัดสุโขทัยน้ัน มีที่มาอย่างไรไม่ปรากฏแน่ชัดคงจดจําต่อ ๆ กันจากปากต่อ ปากจนถึงปจั จุบนั และบางเพลงกก็ ําลงั จะเสอื่ มสูญไป เช่น เพลงยมิ้ ใย เพลงบัวรัง เพลงพิษฐาน ประเภทของเพลงพ้ืนบ้านในท้องถนิ่ สโุ ขทัย จากการศึกษาเพลงพื้นบ้านในท้องถ่ินปรากฏว่ามีหลากหลายแตกต่างกันไปตามลีลา การร้อง และวิธกี ารเลน่ จึงสรปุ เพลงพนื้ บ้านเปน็ 3 ประเภท ดงั นี้ 1. เพลงปฏิพากย์ (เพลงโต้ตอบระหวา่ งหญิง-ชาย) 2. เพลงขอทาน 3. เพลงประกอบพิธี เพลงปฏพิ ากย์ เพลงปฏิพากยห์ รือเพลงรอ้ งโต้ตอบกันระหวา่ งหญิงชายน้นั ในท้องถิน่ สุโขทัยมเี ปน็ จํานวนมาแต่ การสบื ค้นไม่สามารถสบื คน้ หรอื ยืนยันไดว้ ่า สุโขทยั เปน็ แหลง่ ตน้ กําเนิดแต่การละเล่นเหล่านั้นกลับไปมีพ่อ เพลงแม่เพลงปรากฏทใ่ี นจังหวดั ภาคกลาง เชน่ เพลงเรอื เพลงฉ่อย ลําตัด ปรบไก่ ฯลฯ ฉะนั้นในการ กล่าวถึงเพลงพ้ืนบ้านของท้องถิ่นสุโขทัยจะไม่กล่าวรายละเอียดถึงเพลงปฏิพากย์ท่ีกล่าวถึงเฉพาะเพลง พื้นบ้านท่ีมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจังหวัดสุโขทัย คือ เพลงฉุยฉายเข้าวัด เพลงเทพทอง เพลงบัวรงั เพลงพษิ ฐาน เพลงยิม้ ใย ดงั จะกล่าวรายละเอยี ด ดงั ต่อไปนี้ ฉยุ ฉายเข้าวัด ฉุยฉายเข้าวัดเป็นการละเล่นพ้ืนบ้านของท้องถ่ินสุโขทัยมาต้ังแต่สมัยโบราณ นิยมเล่นกันใน ช่วงเวลาตรุษ สงกรานต์ คือ เมื่อถึงวันตรุษสงกรานต์ หนุ่ม ๆ สาว ๆ จะชวนกันหรือนัดกันไปเล่นสนุก กันท่ีวัดหลังจากได้ทําบุญตักบาตรแล้ว ในสมัยโบราณตามชนบทนิยมใช้วัดเป็นที่นัดพบเพ่ือเล่นรําวง ลูก ช่วง สะบ้า มอญซ่อนผา้ ฯลฯ สําหรับในท้องถ่ินอําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย มีการเล่นฉุยฉายเข้าวัด หรือเพลงร้องโต้ตอบ กันอื่น ๆ ได้แก่ เพลงฮินเลเล แต่ถ้าเล่นเพลงท่ีกล่าวมาแล้วซ้ําซากหรือรู้สึกเบื่อก็จะเล่นเข้าทรงต่าง ๆ เชน่ นางด้ง แม่ศรี นางตาล ลิงลม นางสาก ผีกะลา เป็นต้น การเล่นเข้าทรงเหล่านี้เชื่อกันว่าในยาม ตรุษสงกรานต์วิญญาณหรือภูตผีของบรรพบุรุษจะถูกปลดปล่อยมารับส่วนบุญและเล่นสนุกกับลูกหลาน ถ้าเล่นนางด้ง หรือแม่ศรี นางสากวิญญาณท่ีมาเข้าทรงจะร่ายรําหรือร่วมสนุกด้วย แต่ถ้าเล่นลิงลม ผู้ เข้าทรงจะซุกซนหรือปีนป่ายตามประสาลิง ผู้เข้าร่วมเล่นจะเห็นอากัปกิริยาของลิงจะท้ังต่ืนเต้นและ สนุกสนานเป็นอยา่ งยิง่ ในการที่คนสมัยกอ่ นนยิ มใชว้ ัดเปน็ ทีน่ ัดพบเพ่ือเลน่ สนกุ สนานต่าง ๆ น้ันเพราะวัดมีบริเวณลานวัด กว้างขวาง เหมาะท่ีจะใช้เป็นที่รวมคนเพื่อเล่นสนุกได้ เมื่อถึงเวลานัดหมายทางวัดจะตีกลองให้สัญญาณ เพื่อเรียกคนมารวมท่ีวัด พร้อมทั้งจัดหาน้ําดื่มหรือของกินไว้บริการและการเล่นต่าง ๆ ก็จะดําเนินไปจน เย็นหรือต่อไปจนถงึ กลางคนื
หนงั สือเรยี นวชิ าเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวิชาสุโขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวิถชี วี ิต 76 การเลน่ ฉุยฉายเข้าวัดน้ีเข้าใจวา่ ผ้คู ิดคน้ การเลน่ นน้ั สาํ เนา จันทร์จรญู (ม.ป.ป.) กล่าวว่า “ผู้คิด เลน่ ไดน้ าํ มาจากนิยายเร่ืองลักษณวงศ์ ตอนพราหมณ์เกสรแปลงกายเพื่อติดตามพระลักษณวงศ์ ประกอบ กับคนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนเลยได้นําเอาฉุยฉายมาร้องให้เข้าทํานองเข้าจังหวะ” ต่อมาคนรุ่นหลัง ได้นํามารอ้ งตอ่ ๆ กันไป ในส่วนการเล่นในสมัยก่อนร้องผู้เล่นต่างร้องกันสด ๆ ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อน บทร้องจะเปน็ บทเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว หรือมีการต่อว่าต่อขานระหว่างชายหญิง เป็น ที่สนกุ สนานคร้ืนเครงในหมู่ผูช้ ม บางครัง้ เนอื้ รอ้ งก็มีความหมายมีนัยเป็นสองแงส่ องงา่ ม ในการเล่นฉุยฉายเขา้ วัดน้ผี ูเ้ ล่นแบ่งออกเปน็ สองฝา่ ย คือฝา่ ยชายหนึ่ง หญิงฝา่ ยหนงึ่ การเล่นยืน ล้อมกันเป็นครึ่งวงกลม เมื่อฝ่ายใดออกมาก็ต้องร้องและออกลีลาร่ายรําด้วย เมื่อร้องจบลูกคู่ท้ังชายหญิง จะร้องรับสลบั กันไป ปัจจุบันนี้การเล่นฉุยฉายเข้าวัดหายสูญไป เพราะคนในปัจจุบันไม่นิยมเล่นกันในงานวัดอีก ท้ังน้ี เพราะกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่นหนุ่มสาวต้องออกจากท้องถิ่นไปทํางานที่อื่น หรือต้องติด ภาระการศึกษาเล่าเรียน นายสําเนา จันทร์จรูญ อาจารย์ใหญ่วัดโพธาราม (บุญมากพิทยาคาร) ตําบล คลองตาล อําเภอศรสี ําโรง จงั หวดั สโุ ขทยั ไดศ้ กึ ษาคน้ ควา้ วธิ กี ารเลน่ ไว้ หลังจากได้ศึกษาค้นคว้าถึงวิธีการเล่นฉุยฉายเข้าวัดแล้วจึงได้ถ่ายทอดความรู้ที่ได้ยังอาจารย์และ นิสิตวิทยาลัยนาฏศิลปะสุโขทัย และศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย ตลอดจนนิสิตมหาวิทยาลัยนครินทรวิ โรฒ พษิ ณุโลก เพอื่ นําไปเผยแพรต่ อ่ ไป บทร้องหรือเนอื้ ร้อง ดังกล่าวแล้วว่าจากการที่ นายสําเนา จันทร์จรูญ ได้เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าวิธีการเล่นและบทร้อง การเล่นฉุยฉายเขา้ วดั จึงมบี ทร้องโตต้ อบระหวา่ งหญงิ ชายเทา่ ทร่ี วบรวมไว้ ดังนี้ หญงิ ฉุยฉายเอย เย้ืองยา่ งกางกรายลอยชายไปทว่ี ัด ต้งั ใจจะทาํ บุญจะไดเ้ พ่ิมพนู พระศาสน์ จะได้ เพ่ิมพูนพระศาสน์ ชาย ฉยุ ฉายเอย น่งุ ผา้ ลอยชายเยอื้ งกรายไปท่วี ัด เหน็ แม่สาวมาทําบญุ โอโ้ อแ๋ มค่ ณุ งามดดั โอ้โอแ๋ ม่ คุณงามดดั หญงิ ฉุยฉายเอย เย้ืองยา่ งกางกรายน่งุ ผ้าลายไปวดั หนุ่ม ๆ น้อย ๆ เจา้ ก็คอยสกดั กัดใหถ้ นดั กัดให้ ถนัดใจเอย ชาย ฉุยฉายเอย เย้ืองยา่ งกางปกี อย่ามวั หลบหลกี จงกางปีกไว้เอย จงกางปกี ไวเ้ อย หญงิ ฉุยฉายเอย เยอ้ื งยา่ งกางปกี ไมต่ อ้ งหลบหลีก จงหนีบปีกไว้เอย จงหนีบปีก ไว้เอย ชาย ชัดช้าแม่โหนดหน่อยเอย ขุนทองบินลง ลงมากินดอกกระท้อน แม่ดอก กระท้อน ช่างรํา ระบาํ เกา่ เอย ระบําเกา่ เอย หญงิ ชดั ชา้ เจา้ โหนดหนอ่ ยเอย นกแกว้ บินลง ลงมากนิ พวงกล้วย อยา่ มัวทําสวย หางงวยจะหล่นเอย หางงวยจะหล่นเอย ชาย ฉุยฉายเอย เจ้าไปเก็บผัก มองดูคนรักชักคักชักคัน เจ้าเดินดีดด้ิน หึ...ถูผ้าซิ่นเป็นมัน หึ...ถู ผา้ ซิ่นเป็นมัน หญิง ฉุยฉายเอยเจ้าไปเก็บผัก ผัดหน้าทาปาก เดินขะยักขะย่อน มองซ้ายมองขวา กลัวพวกบ้ากลัด มัน กลัวพวกบ้ากลัดมัน
หนังสอื เรยี นวชิ าเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวชิ าสโุ ขทัยศึกษาเชงิ ประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวถิ ชี วี ิต 77 ชาย ฉุยฉายเอย เจา้ ไปท้ายไร่ เจ้าไปทําไม จงตอบมาที ตรงที่ช้ีใหพ้ ข่ี ดุ แหม...มันฉุนกึกเต็มที แหม ...มันฉนุ กึกเต็มที หญิง ฉุยฉายเอย เจา้ ไปท้ายไร่ มาพบพีช่ ายขดุ เผอื กขุดมนั ขุดให้ดี ๆ อย่าขุดที่ช้ี ก็แล้วกัน อย่าขุดที่ ชก้ี ็แลว้ กัน ชาย ฉุยฉายเอย ย้อนรอยถอยกลับ พ่อขอถอยทัพ ขอกราบลาที ปีหน้าฟ้าใหม่ จะมาถามไถ่อีกที จะมาถามไถอ่ กี ที ในการร้องเพลงฉยุ ฉายเขา้ วัด เมอื่ ต้นเสยี งร้องนําจบวรรคแลว้ ลูกคจู่ ะตอ้ งรอ้ งรับคํารอ้ งของตน้ เสียงในคําร้องสุดท้ายของวรรคด้วยทุกคร้ัง เช่น ฉุยฉายเอย ลอยชายไปที่วัด ตั้งใจจะทําบุญจะได้ เพิ่มพูนพระศาสน์ ลูกคู่จะร้องรับว่า “จะได้เพิ่มพูนพระศาสน์” พร้อมกับร้องรับเน้ือร้องทั้งบท ทัง้ นีเ้ พ่ือเป็นการ ร้องทวนบทเพลงที่ร้องไปในตัว และเพ่ือให้คนท่ีจะร้องต่อไปมีโอกาสนกึ เนื้อเพลงได้ ขณะทผ่ี ู้ร้องกาํ ลัง ร้องตอ้ งทาํ ท่าทางประกอบ มกี ารวาดลวดลายอย่างสวยงามบางคนไม่ถนัดในการร่ายราํ กจ็ ะแสดงท่าแลบ ลิ้นปลิน้ ตาหลอก หรอื ทําทา่ ตลกให้ผู้ชมขบขนั เป็นทส่ี นุกสนาน เม่อื ร้องแกก้ นั ไปมาจนกระท่ังเห็นวา่ ฝ่าย ตนจะส้ไู ม่ไดแ้ ล้ว ก็จะหาทางจบเพลง เป็นอนั ว่าจบเพลงฉุยฉายเข้าวัด เครอ่ื งดนตรที ่ใี ช้ประกอบการเล่นฉุยฉายเขา้ วดั เร่ิมแรกใช้วิธปี รบมอื ให้จังหวะ ต่อมาผ้เู ลน่ ได้ทาํ กรับจากไม้เนื้อแข็งหรือซอไมไ้ ผ่มาตใี ห้เขา้ จังหวะการรอ้ ง ครั้นเห็นว่าการตีเกราะเคาะไม้ สนุกครึกคร้นื ผู้เล่นบางคนจงึ ได้ นําเอากลองราํ มะนา ฉ่งิ ฉาบ มาประกอบจงั หวะเพื่อใหเ้ กิดความเรา้ ใจของผูช้ มและผเู้ ลน่ เพลงเทพทอง เพลงเทพทองเป็นเพลงพืน้ บ้านที่เก่าแกม่ าก เรยี กอีกอยา่ งว่า “ เพลงสโุ ขทัย” สนั นิษฐานกนั ว่า เพลงเทพทองเปน็ เพลงท่มี ีมาแล้วตัง้ แต่สมัยสโุ ขทยั ดงั ที่กล่าวมาแล้ววา่ ปรากฏหลักฐานในหนงั สอื บณุ โณ วาทคําฉนั ท์ ของมหานาควดั ทา่ ทรายมกี ารกล่าวถงึ การเล่นเทพทอง แตไ่ ม่มหี ลกั ฐานเนื้อร้องหลงเหลือ อยู่คงมีแต่เพียงทาํ นองเท่านัน้ ตวั อยา่ งเพลงเทพทอง ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า หนังสือดีมีปัญญา ไมเ่ สียหาย ถึงรู้มากไม่มปี ากลาํ บากกาย มีอบุ ายพดู ไม่เปน็ เหน็ ป่วยกาย ตอ่ มาในอาจารยม์ นตรี ตราโมท ได้นําทํานองเพลงเทพทองมาจัดทําโน้ตและให้ดนตรีบรรเลง คณุ หญิงแผ้ว สนทิ วงศ์ ไดป้ ระดิษฐท์ ่าราํ ใหม่ เรียกวา่ “ระบาํ สุโขทัย” ซ่ึงเป็นระบําที่มีความงดงามมาก อกี ทง้ั ดนตรกี ็ไพเราะ จัดเปน็ หน่ึงในห้าของระบาํ โบราณคดนี ั่นเอง
หนังสือเรียนวชิ าเลอื ก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสุโขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวถิ ีชวี ิต 78 เพลงบวั รงั เพลงบัวรังเป็นเพลงพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งซ่ึงไม่เคยปรากฏว่ามีในท้องถิ่นใด แต่จากการศึกษาของ ผู้ช่วยศาสตร์ ดร.ประจักษ์ สายแสง อธิบายให้ผู้เขียนว่า “เพลงบัวรังน้ันจัดเป็นเพลงชิงชู้ให้ทํานอง ตะวันตก ซึ่งในท่ีน้ีหมายถึงทํานองร้องเพลงทางตะวันตกของจังหวัดสุโขทัยอันได้แก่ แถบจังหวัดตากถึง ทํานองดังกล่าวแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดเคยได้ยิน อย่างไรก็ตามลักษณะของเพลงบัวรัง คล้ายกับเพลงโคราช ลักษณะกลองก็คล้ายคลึงกับเพลงก้อมของโคราช ต่างกันท่ีว่าเพลงบัวรังลงท้ายด้วยสระไอ ตามแบบของ กลองหวั เดียว” เพลงบัวรงั พบทต่ี ําบลศรีคีรมี าศ อาํ เภอครี มี าศ จังหวัดสโุ ขทยั เพียงแห่งเดียวไม่ปรากฏว่าพบที่ใด อกี นับเปน็ เพลงทเี่ กา่ แก่หายากอกี เพลงหนงึ่ ทเี ดียว ตวั อยา่ งเน้อื เพลงบัวรัง ลูกจะช้ีตําแหน่ง เสียให้แจ้งประจักษ์ จะแนะสํานัก เอาไว้ในโลกอันน้ี จะขอไขคําขานว่าไว้ในการ โลกีย์ เขาว่ารา่ งตง้ั เร่ือง ไว้ท่ีเมอื งนครชมุ ยังมีนายเนตร อําแดงนุม่ อยู่ที่บา้ นนาหนองบัว เม่ือจะได้เพ่ือน คดิ เปน็ คู่ ไดพ้ ดู กนั อยใู่ นครวั เอ๋ยไฟ พูดจาตกลง มั่นคงเป็นคําขาด เจ้าอย่าพูดเลเทลาดพาด ไปเสียเลยแม่พุ่มพวง อีกสองสามวัน ขา้ งหน้า พีจ่ ะมาพาแม่ดวง เอ๋ยใจ นางนมุ่ น่นั หนา เปน็ กาํ พร้าแมอ่ ยู่ เป็นกําพร้าโดดเดย่ี ว ไมแ่ ลเหลียวเห็นผู้ เอย๋ ใด ถึงตัวเขาเป็นกําพร้า สติปัญญาเขาดี จะหาผัวฝากผี พอไว้เป็นเพ่ือนพอได้ผัวสักคน พอได้เป็น พลเรือน เอ๋ยไป แตพ่ อถึงสามวัน นายเนตรก็หันหน้ากลับ รีบเร่งมารับ เอานางนุ่มวันน้ันพอสมควร ปรารถนา ที่นี้ ก็พาได้กนั เอย๋ ไป ได้กันมานาน จนเมียทรงครรภ์ได้เก้าเดือน มาปวดท้องร้องอิดเอื้อน เจ้าผัวก็น่ังสานอู่ เป็นบุญ สร้างของพอ่ อย่างที่สุด คลอดบุตรเป็นผู้ เอ่ยชาย ที่นจ้ี ะกล่าวถึงเรอ่ื งราวไอ้บัวรัง มันเท่ียวซุกซนเซซัง มาต้ังแต่เมืองลครชัยศรี เมื่อเที่ยวอาศัยวัดวา อยวู่ ัดป่ากระพี้ เอ่ยใหญ่ เห็นเขาน่ังก่อพระทรายกันเป็นวง ได้บัวรังก็ลงไปเดินเล่น แต่พอเหลือบแลเห็น นางนุ่มเมียนาย เนตร นางน่มุ ชะมอ้ ยหางตา ไอบ้ ัวรงั ก็นา่ สงั เวช เอ๋ยใจ นางนุ่มนั่นหนา หางตาเปน็ เจ้าชู้ ไอ้บวั รงั นกึ รู้ไปในการเร่อื งรกั อันการโลกยี ์มันมาทาํ ทีมามาก เอ่ยมาย ฯลฯ
หนังสือเรยี นวชิ าเลือก สาระการพัฒนาสังคม รายวชิ าสโุ ขทยั ศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวถิ ีชวี ติ 79 เพลงยิ้มใย เพลงยิ้มใยเป็นเพลงพ้ืนบ้านอย่างหนึ่งของชาวสุโขทัย เชื่อว่าเป็นเพลงท่ีเก่าแก่มีมาช้านาน ถา่ ยทอดกันมาดว้ ยวธิ ีการจดจาํ ต่อ ๆ กันมาหลายช่ัวอายคุ น ไมม่ กี ารจดบนั ทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จากการสมั ภาษณ์สําเนา จันทร์จรูญ ผสู้ ามารถร้องเพลงทํานองนี้ได้เล่าว่า เพลงยิ้มใยเป็นเพลงที่มี การร้องสนุกสนาน เดิมมีสําเนียงการร้องเป็นสําเนียงท้องถิ่น ยุคแรก ๆ ไม่มีดนตรีประกอบ เพียงใช้การ ปรบมือให้เข้าจังหวะหรือใช้ไม้ 2 อันมาตี เรียกว่า กรับ หรือบางทีใช้กะลาตีกันเข้า 2 ใบ มากระทบ กนั ใหไ้ ด้จงั หวะ เสียงกจ็ ะทาํ ใหเ้ กิดความไพเราะ เรา้ ใจน่าร้อง น่าราํ เป็นที่สนุกสนานครนื้ เครงย่ิงนัก โอกาสที่จะร้องเล่นเพลงย้ิมใย นิยมเล่นในช่วงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ออกพรรษา ทอดกฐิน ผา้ ปา่ และงานแหพ่ ระ เปน็ ต้น วธิ ีการรอ้ ง ลกู คูจ่ ะรอ้ งคําวา่ เชียะ เชียะ เชียะ พรอ้ มท้งั ร้องรบั ท่อนความตอนจะลงเพลงพรอ้ ม ๆ กัน บทร้องเพลงหรือบทเพลงจะเป็นการร้องโต้ตอบระหว่างหญิงชายความหมายเป็นสองแง่สองง่าม เป็นการเก้ยี วพาราสีกนั ระหว่างหนุ่มสาว บางครัง้ ฝ่ายหญิงจะร้องผดิ ๆ ร้อน ๆ บางคร้ังกร็ อ้ งปฏเิ สธ ตัวอย่างเนื้อรอ้ ง ชาย ลกั ยิ้มกฉ็ นั เอย นะแมค่ ณุ เอย๋ ย้มิ ใย (ลกู คู่) เชยี ะ เชียะ เชียะ ดัดผมเรอื นนอก ทดั ดอกไม้ไว้ ชมเลน่ แตไ่ กล ๆ เอ๋ยเถิดเอย (ลูกคู่รับ พร้อมกนั ) หญงิ ลักย้ิมฉันเอย นะพอ่ คณุ เอย๋ ยม้ิ ใส (ลูกคู่) เชียะ เชยี ะ เชียะ ดัดผมเรอื นนอก ทัดดอกกฐิน ชมเล่นแต่กลิ่น เอย๋ เถดิ เอย (ลกู ครู่ บั พร้อมกนั ) ชาย เจ้าชอ่ กฉ็ นั เอย เจ้าช่อมะม่วง (ลกู ค่รู ับ) เชยี ะ เชยี ะ เชยี ะ ลมพัดเข้าหน่อยเอย หรอื กค็ อยจะรว่ ง มันไม่เป็นพ่มุ เปน็ พวง เอ๋ยแลว้ เอย (ลกู คู่รับพร้อมกัน) หญิง เจ้าชอ่ กฉ็ ันเอย เจา้ ช่อมะไฟ (ลกู คูร่ ับ) เชยี ะ เชียะ เชียะ ลมพดั เขา้ หนอ่ ยเอย หนอยก็คอยจะร่วง มันหอ้ ยเปน็ พวง เอ๋ยจรงิ ไหมเอย (ลูกค่รู ับพรอ้ มกนั ) ชาย ลกั ย้มิ นางเอย นะแม่คุณเอ๋ย ยิ้มใย (ลกู คู่) เชียะ เชยี ะ เชียะ นุ่งผ้าลาย หม่ สไบสที อง ผิวเอยแมผ่ ่อง มาเดินทอดน่องหรอื เอย (ลกู ค่รู ับพร้อมกัน) หญงิ ลกั ยิ้มฉันเอย นะพอ่ คุณเอ๋ย ย้ิมใย (ลูกค่รู ับ) เชยี ะ เชยี ะ เชยี ะ พอ่ น่งุ ผ้ามว่ ง ขนเปน็ พวงปรกแทง่ พอ่ จะมากล่นั แกล้ง ใหม้ ันแกว่งหรอื เอย (ลกู คูร่ ับพร้อมกนั ) ชาย ชมโฉมก็นางเอย นะแมเ่ อ๋ย ย้ิมใย (ลกู คู่รบั ) เชียะ เชียะ เชียะ พ่ชี มด้วยใจจรงิ แมย่ อดหญงิ ของไทย พไ่ี ม่กล่ันแกลง้ เอย๋ อย่าทําเป็นแล้ง นํ้าใจ(ลกู คู่รับพร้อมกนั ) หญิง ปากหวานกพ็ อ่ เอย นะพ่อคุณเอ๋ย ยิ้มใย (ลูกคู่รับ) เชยี ะ เชยี ะ เชยี ะ หยอกนิดหยอกหนอ่ ย ทําเปน็ น้อยหัวใจ หวั หรือกไ็ ม่ล้าน เอ๋ยเขกกบาลดี ไหมเอย (ลกู ครู่ ับพรอ้ มกนั )
หนังสือเรยี นวิชาเลอื ก สาระการพฒั นาสงั คม รายวชิ าสโุ ขทยั ศึกษาเชิงประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวถิ ีชวี ิต 80 เพลงยมิ้ ใยในปจั จุบันหาผู้ร้องได้น้อยลงทุกที ลักษณะการร้องที่เด่นชัด คือลูกคู่จะร้องรับด้วยคํา วา่ เชยี ะ เชียะ เชยี ะ ท่ที อ่ นกลางของเน้ือร้องท่อนท่ีหน่ึง กับร้องรับทวนซํ้าสองในบทหลังสองครั้งแล้ว จึงลงคําว่า เอ๋ยแลว้ เอย นับว่าการร้องเพลงชนิดน้ีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงพ้ืนบ้านสุโขทัยแบบหน่ึง ซ่ึงไม่ปรากฏ พบที่แห่งใดเลย ราํ วงแบบบท รําวงแบบบทมีกําเนิดมาจากรําโทน แต่เดิมการรําโทนเป็นการเล่นพ้ืนเมืองอย่างหนึ่งของไทยที่ นิยมเล่นกันในเทศกาลของท้องถ่ิน คําว่า รําโทน สันนิษฐานว่าเรียกชื่อเลียนเสียงตามเคร่ืองดนตรี ประกอบจังหวะเป็นหลัก คือ โทนท่ีตีเป็นลํานําเสียง เครื่องดนตรีท่ีใช้ในการรําโทน ได้แก่ ฉิ่ง กรับ และโทน ลักษณะการรําโทนเป็นการรําคู่ระหว่างชายหญิงให้เข้ากับจังหวะโทน โดยไม่มีท่ารํากําหนดเป็น แบบแผนตายตวั เพลงที่รอ้ งเป็นเพลงสน้ั ๆ เรมิ่ ต้ังแต่บทชมโฉม การเกย้ี วพาราสีสัพยอกหยอกเย้า และ พรอดพรา่ํ ล่าํ ลาจากกัน ดงั ตวั อยา่ ง ต้นโพทา้ ยวัด พอดกึ สงัดลมพดั เย็น ๆ (ซ้าํ ) ตน้ โพระดก ฉันรกั แม่นกสาลิกา ตน้ โพหลายตน้ ฉนั รักแมค่ นเดนิ มา ประวัตขิ องรําวงแบบสโุ ขทยั ราํ วงแบบบทเป็นการราํ คูร่ ะหวา่ งหญิงชาย ในการรา่ ยราํ ทงั้ หญิงชายตา่ งต้องทาํ ท่ารําประกอบบท เพลง หลังสงครามโลกคร้ังท่ีสอง ชาวบ้านทั่วไปนิยมรําวงกันมาก เพราะคนไทยเป็นผู้ท่ีมีนิสัยเบิกบาน ความสนกุ สนานร่าเริง เมอ่ื เกิดสงครามโลกครงั้ ท่ีสอง คนไทยเกิดความเงียบเหงามัวแต่คอยหลบหนีความ ตายลงในหลุมหลบภัยหากได้ยินเสียงหวอเตือนภัยทางอากาศดังขึ้นจนมีเพลง ๆ หนึ่งกล่าวถึงสถานการณ์ บ้านเมืองในยามศกึ สงครามว่า หวอ หวอ หวอ หวอทีไรจิตใจฉนั ให้นกึ กลมุ้ เสียงมนั ดงั บุม บมุ ชวนกันลงหลมุ หลบภัย หวอทไี ร ฟังฟังไประเบิดเวลา ในปี พ.ศ. 2499 ได้มีการรําวงคณะหน่ึงของอําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย มีช่ือคณะว่า “เสมาทอง” ราํ วงคณะนี้มีผูบ้ รรเลงเพลงหรอื กองเชยี รต์ ลอดจนนางราํ เป็นครูหนุ่มสาวชาวอําเภอศรีสําโรง ได้รวมตัวกันหัดรําวงขึ้นเพื่อแสดงในงานฉลองโรงพยาบาลศรีสังวร อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย จน ไดร้ บั การช่ืนชมและมีชื่อเสยี งอย่างมาก เปน็ ตัวอยา่ งท่ดี ีของการรําวงแบบบทในยคุ น้ัน เมื่อทางราชการได้ จดั งานฉลองโรงพยาบาลเรยี บร้อยแล้ว ทางเจ้าหนา้ ท่ีและคณะกรรมการจัดงานฉลองโรงพยาบาลศรีสังวร ได้กราบเรียนเชิญนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงครามและคุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม โดยมี วัตถุประสงค์จะเชิดชูศิลปะการเล่นรําโทนหรือรําวงให้เป็นแบบแผนอันดีงาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม และคุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้นําเน้ือร้องเพลงและทํานองเพลงเอาไปให้ทางกรมศิลปากร พจิ ารณาปรับปรงุ แกไ้ ข จนไดเ้ ป็นแบบอย่างท่ีดี เรยี กว่า รําวงมาตรฐานทใ่ี ชร้ าํ ในปจั จุบันนี้
หนงั สอื เรยี นวชิ าเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวชิ าสโุ ขทยั ศกึ ษาเชิงประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวถิ ีชวี ิต 81 รําวงแบบบทน้ีส่วนใหญ่จะเล่นในงานนักขัตฤกษ์ เช่น ตรุษ สงกรานต์ งานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน บวชนาค งานข้ึนบ้านใหม่ เป็นต้น นอกจากน้ีชาวบ้านยังนิยมรําวงกันในยามว่างจากการ ทาํ หน้าทใ่ี นการทํางาน เพอื่ เป็นการพกั ผ่อนหยอ่ นใจและเชอ่ื มโยงมติ รภาพท่ดี ตี ่อกนั อกี ดว้ ย เครอ่ื งแต่งกาย แต่งกายแบบชาวไทยสมัยก่อน คือ ชาย นงุ่ โจงกระเบน ใส่เส้ือคอกลมแขนสนั้ ผา้ ขาวมา้ คาดทบั เอว หญิง นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแขนกระบอกคอกลม ใช้ผ้าแถบหรือผ้าสไบคล้องคอ หรือบางครั้ง ฝา่ ยหญงิ จะนงุ่ โจงกระเบนใสเ่ ส้อื คอกระเชา้ ห่มผ้าแถบหรือผ้าสไบ เนอ้ื เพลงรําวงแบบบท เพลงรําวงแบบบทตามแบบที่ สําเนา จันทร์จรูญ (ม.ป.ป.) และทองเจือ สืบชมพู (2539) รวบรวมไวใ้ นศูนย์วฒั นธรรมจังหวัดสโุ ขทยั ดงั น้ี เพลงรําโทน มาราํ มาซมิ ารบั กบั พ่ี (ซ้ํา) ชาย นอ้ งสาวเอย๋ โปรดจงชว่ ยปรานี เล่นสภุ าพไมห่ ยาบโลน ในคนื วันน้พี ่ีจะรําโทน นอ้ ย...นอย...น้อย... พีจ่ ะรําโทนใหน้ อ้ งดู ถา้ ได้รําไดร้ ําเป็นคู่ (ซาํ้ ) หญงิ รําเถดิ หนาพีจ่ ๋าน้องจะดู โอ้พ่ีจ๋าถ้านอ้ งราํ ผิด น้องจะเชดิ ชใู นตัวพยี่ า น้อย...นอย...นอ้ ย พีจ่ งช่วยสะกิดน้องน้จี ะรําตาม เพลงเธอจา๋ รกั ฉนั ไหม รกั แลว้ อยา่ แหนงอยา่ หน่าย เธอจา๋ รักฉนั ไหม เชอ่ื อะไรเขาบอก เขาหลอกให้เราพวงชอกชํา้ ระกําใจตาย กลบั มากลายมาจืดมาจาง เขาหลอกให้เราลืมหลง ผูช้ ายหลายใจฉันไมอ่ ยากคบ เพลงช้ีหน้าแลว้ วา่ ไป ฉันไม่อยากคบผ้ชู ายหลายใจ (หญิง) ชหี้ น้าแล้วว่าไป พดู จาตะเลี้ยวตลบ (ซ้ํา) เพลงตามองตา ร้สู ึกเสยี วซ่านหัวใจ ตามองตา สายตาก็จอ้ งมองกนั จะว่าหลงฉันกไ็ ม่หลง เธอชา่ งงามวิไล (ซํ้า) จะว่ารกั ฉนั กไ็ มร่ ัก ฉันยังอดโค้งเธอไม่ได้ ถ้าแม้นรําคูจ่ ะเปน็ บุญตา สวยกวา่ ใครทไี่ ด้เห็นมา ประเดี๋ยวจะว่าให้ไดอ้ าย เพลงเธอรําชา่ งนา่ ดู ชาย เธอราํ ชา่ งน่าดู หญงิ อย่ามาทํา ๆ พดู จา ชาย หวานคารมคําคมแง่งอน
หนังสือเรยี นวิชาเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวชิ าสุโขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวิถีชวี ิต 82 หญิง ร้วู ่างอนจะมาวอนทาํ ไม ชาย รกั นะ่ ซจี งึ มาวอนพดู จา หญิง เสยี เวลาฉันไม่สนใจ ชาย รับรักฉันหนอ่ ยได้ไหม หญิง อ้ยุ ...ไม่ไดห้ วานใจเธอมี เพลงดวงจันทร์วนั เพญ็ ที่เดน่ ดวง ฉันรกั แมพ่ วงมาลยั โอ้พระจนั ทรว์ นั เพญ็ ที่เดน่ ดวง พวงมาลยั ลอยมาลอยวน จะขอจองลองดสู กั หน หอมกล่ินพิกุลชน่ื ใจ (ซ้าํ ) อนจิ จาหนา้ มนคนงามน่ีเอย (ซ้าํ ) มาตรแมน้ ไมม่ เี จา้ ของ สงสัยเมือ่ ไหรจ่ ะหล่น เพลงวนั ทอง ชาย วนั ทองเปน็ หญงิ สองใจ ใครจะเลยี้ งเธอไดน้ ้ําใจแม่วนั ทอง พไ่ี ปทพั กลับมามรี กั ใหม่ ใครจะเลยี้ งเธอไดน้ ้าํ ใจแมว่ ันทอง หญิง โธ๋เอย๋ ยามพ่ไี มแ่ ลมอง มาหาวา่ น้องเปน็ หญิงสองใจ พ่จี า๋ พ่กี ็มเี มยี แล้ว ดแู ต่พลายแกว้ ยงั มีสองใจ เมียพชี่ ่ือวา่ น้องลาวทอง (ซ้าํ ) เปน็ เมียท่ีสองของพีพ่ ลาย.... (เอย๋ โอละหน่าย โอละหนา่ ยหน่อยเอย...) เพลงชูชกสองกุมาร (ชชู ก) รําแบบรําแบบสองกมุ าร ชูชกขอทานสองกมุ ารรอ้ งไห้ ตาชชู กเขาตดี ว้ ยหวาย (ซาํ้ ) สองกมุ ารร้องไหค้ ว้าไมเ้ ท้ามาตี (กมุ าร) ตาจ๋าอยา่ ตหี นูเลย หนไู มเ่ คยจะเดินทางไกล (ชชู ก) ชชิ ะ เอ๋ยเจา้ เด็กน้อย อยา่ ทาํ สําออยเดี๋ยวโดนตดี ้วยหวาย โอ๊ย...โอย...เจบ็ เสียจนเต็มที ตาตีเสียจนหลงั ลาย เพลงสีซอดดี ดิ่ง ฉันบรรเลงเพลงสีซอ ฟังเพราะเสนาะเสยี งเพลง หวานจนใจส่ัน จิตใจไหวหวน่ั เมื่อยามคํ่า ยามคํ่าใครเลา่ จะดดี ดง่ิ ออ อ้ี ออ ฟังเสียงซอเสนาะใจฉัน ยามหนาวใครเหล่าจะร้องราํ ดด๊ี ...ดดี ...ดีด...ดิง่ ...ดดี ............................. เพลงคืนเดือนหงาย แสงจันทร์ฉายสว่างนภา ยามคาํ่ คืนเดอื นหงาย สว่างนภาดุจแสงตะวัน โอแ้ ม่สาวนอ้ ยเปรยี บเหมือนดวงจนั ทร์ เมฆนอ้ ยลอยลงมา รักกันให้ม่ันเอาไวน้ ะเธอ (ซ้ํา) ตัวพ่เี ปรยี บเหมือนกระต่ายต้อย มาซมิ ารกั กนั
หนังสอื เรียนวชิ าเลือก สาระการพฒั นาสังคม รายวิชาสุโขทัยศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวถิ ชี วี ติ 83 เพลงบินถลา ชะ...บินถลาบนิ บนิ ถลาบนิ ...ชะ บุญน้อยตอ้ งลอยถอยหลงั (ซ้าํ ) ชะ ชะ บินถลาบนิ โอแ้ ม่โฉมฉิน พ่ีต้องบินตามมา ไม่รกั พ่บี า้ ง พ่ตี ั้งใจมา เพลงลา น้าํ ตาไหลลว่ ง ออกปากจะลา โอแ้ ม่ดวงจนั ทรา นํ้าตาพาลจะไหล แสนรกั แสนห่วง ให้หว่ งอาลยั แมด่ วงจันทรา มองดฟู ากฟ้า ตัวพีต่ อ้ งจากไกล (ซํ้า) เพลงขอทาน เพลงขอทานหรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า เพลงวณิพก การร้องเล่นเพลงชนิดนี้จะมีมาแต่ครั้งได้ไม่ ปรากฏ แต่คงมีการร้องเล่นมาแต่ดึกดําบรรพ์ท้ังน้ีเพราะปรากฏในคัมภีร์ สารัตถสมุจจัย ซึ่งแต่งมากกว่า 700 ปี ยงั กล่าวอธบิ ายเหตุแห่งมงคลสูตรวา่ ในครั้งพุทธกาลนั้นเมืองในมัชฌิมประเทศมักมีคนไปรับจ้าง เล่านิทานให้กันฟงั ในทป่ี ระชุมชน เช่น ท่ีศาลาพักคนเดนิ ทาง จึงเห็นไดว้ ่าการเลา่ นิทานน้ันมีมานานแล้ว สมยั กอ่ นมีการจา้ งเล่านทิ าน ถา้ ไมม่ ีผู้วา่ จา้ งก็ต้องออกตระเวนเล่านิทานไปในท่ีต่าง ๆ เพ่ือขอแลกเปลี่ยน เปน็ เงินหรือสิ่งของมายังชีพ เมื่อการเล่านิทานได้วิวัฒนาการข้ึนจากการเล่นปากเปล่ามาเป็นบทกลอน แล้วใส่ทํานองข้ึน จากน้นั กเ็ พิ่มเครอ่ื งดนตรีท่ีตนถนัดมาประกอบจังหวะ ทําให้การเล่าเรื่องมีรสชาติข้ึน ท้ังยังสามารถจูงใจ ให้คนมาฟังมากขึ้นอีกด้วย เมื่อผู้ฟังชอบใจก็ให้เงินหรือสิ่งของเฉย ๆ โดยไม่มีเสียงดนตรีหรือนิทานเล่า แลกเปล่ยี น เราเรยี กบุคคลพวกน้วี ่า “กระยาจก” เร่ืองราวของคนขอทานหรือวณิพกน้ี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับสมัยรัชกาลท่ี 5 สมเด็จ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้กล่าวว่ามีวณิพกผู้หน่ึงร้องเพลงอยู่แถวศาลเจ้าพ่อเสือ ละแวกวัดมหรรณ พารามพร้อมสีซอและขับเพลงต่าง ๆ ด้วยลีลาไพเราะเพราะพริ้ง ต่อมาด้วยลีลาอันไพเราะน้ีได้นํามาเป็น ท่วงทาํ นองการรอ้ งเพลงเชดิ หุ่นกระบอกและเรียกท่วงทํานองเพลงน้ีว่า “สังขารา” ตราบจนปัจจุบันนี้ก็ยัง ไม่มใี ครทราบแน่ชัดว่าตาสงั ขาราที่กลา่ วถงึ น้นั มอี ดีตหรอื ปัจจุบันอย่างไร ต่อมานักดนตรีผู้มีชื่อเสียงคือ แอ๊ด คาราบาว ได้นําเพลงขอทานขงนานสําอาง เลิศถวิล วนิพกผู้ ชื่อเสยี งมาขบั รอ้ งเป็นเพลง ทาํ ใหช้ อื่ เสียงของวนพิ กไดร้ ับการกลา่ วถึงอกี ครงั้ สําหรับในจังหวัดสุโขทัยผู้สืบสานตํานานเพลงวนิพก ไม่ใช่กระยาจกหรือผู้ยากไร้แต่หากเป็น ข้าราชการที่มีตําแหน่งถึงผู้ช่วยผู้อํานวยการโรงเรียนหนองปลาหมอวิทยาคม อําเภอสวรรคโลก จังหวัด สุโขทัย คืออาจารย์ ประทีป สุขโสภา การรอ้ งเล่นเพลงวนิพกของครูประทีป หรือประทีป หนองปลาหมอ นั้นมีลีลาไพเราะงดงามย่ิงนัก ด้วยว่าเป็นผู้อยากจน ไม่ใช่ยากจน โดยแต่งการด้วยเครื่องกายท่ีซอมซ่อ ใส่หมวกอําพรางใบหน้าท่ีแท้จริง มีกรับเป็นเคร่ืองมือท่ีสําคัญ ด้วยเสียงร้องที่ไพเราะและการขยับกรับได้อย่างคล่องแคล้วรวดเร็วจึง กลายเปน็ ศลิ ปะทยี่ ากจะมใี ครเสมอเหมอื น
หนงั สอื เรยี นวชิ าเลือก สาระการพัฒนาสงั คม รายวชิ าสุโขทัยศึกษาเชิงประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวิถีชีวิต 84 รปู แบบของเพลงขอทาน รปู แบบของเพลงขอทานน้ี ประทีป สุขโสภา (2539) ได้ศึกษาและรวบรวมการเล่นเพลงขอทาน ไว้สรุปว่า เน้ือร้องเพลงขอทานเป็นลักษณะกลอนหัวเดียว เหมือนกับเพลงฉ่อย ลําตัด และมีสัมผัสท้ายไป เร่ือย ๆ ก่อนจะร้องต้องมีบทเกริ่น เหมือนกับเป็นการโหมโรงก่อนการเล่น จากน้ันจะจับเน้ือร้องเล่นเป็น ตอน ๆ ความยาวแล้วแตเ่ รอื่ งท่ีจะรอ้ ง ถา้ เล่นหลาย ๆ คนจะมลี กู คู่รบั ในสองวรรคสดุ ท้าย เคร่ืองดนตรี เคร่อื งดนตรีท่ีใชป้ ระกอบจะเลน่ ตามที่คนถนัด บางอาจเล่นคนเดียวได้มากกว่า 1 ช้ิน ส่วนมากจะ เป็นเคร่ืองกํากับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และโทน เป็นต้น แต่ถ้าเล่นเป็นคณะอาจมีหลาย ๆ ชิ้น ทาํ ให้เกดิ ความสนกุ สนาน ครึกคร้ืนยงิ่ ข้นึ วิธเี ล่น 1. ทํานองโทน ผรู้ ้องอาจตโี ทนหรอื ตึฉ่ิงไปด้วย เปน็ จงั หวะชั้นเดยี ว ดาํ เนนิ เร่ืองช้า ๆ สามารถยึด เสียงไปตามท่ีต้องการได้ ซ่ึงเป็นเทคนิคของคนร้อง ถ้ามีหลายคนลูกคู่จะคอยร้องรับในสองวรรคท้ายของ แตล่ ะทอ่ นเสมอไป 2. ทาํ นองโหม่ง ผูร้ อ้ งอาจตีโหม่งเองหรือให้คนอื่นตกี ็ไดใ้ นจงั หวะชั้นเดยี วคอ่ นข้างเร็วปานกลาง เน้ือรอ้ งจะเป็นแนวตลกเสียมากกวา่ มีการรอ้ งแก้กันระหว่างพ่อเพลงแม่เพลงเมอ่ื ร้องจบแต่ละบทจะต้องตี โหม่งรับ ซ่ึงสว่ นมากจะเป็นโหมง่ 3 ใบ 3. ทํานองกรบั ผู้ร้องต้องมคี วามชาํ นาญเปน็ พิเศษ ขณะรอ้ งตอ้ งตีกรบั ไปด้วย ลกั ษณะกรบั เป็นกรับชนิดกลมสองคู่ มีเสียงทุ้มกับเสียงแหลม ในมือทั้งซ้ายขวาตีสลับพลิกเพลงเป็นจังหวะเหมือนฉ่ิง ฉาบ เรว็ บ้างชา้ บ้าง ดสู นุกสนาน มีการรวั กรบั และออกลีลาทา่ ทางต่าง ๆ ซึง่ เป็นความสามารถเฉพาะตัว ปจั จบุ นั หาคนเลน่ ได้อยากมาก (ประทปี สุขโสภา, 2539) ตัวอยา่ งเพลงขอทาน ทาํ นองโทน ยายสาํ อาง เลิศถวลิ (อเนก นาวกิ มลู , 2527) ...ท่านมาทาํ ทานกบั หลานวันนี้ หวังกุศลน้ันมี กม็ ากมาย แต่เทวดา ยงั ร้องสาธุการ บนช่องวมิ าน ทพิ ยโ์ กศยั ทา่ นรอ้ งสรรเสรญิ เจรญิ ใจ ผลบญุ ท่ีให้ เอ๋ยทาน... ...แต่วา่ ทําบญุ มันไมส่ ญู เปลา่ เปรียบเหมือนหนง่ึ หวา่ นข้าว กนั ลงไว้ จะตอ้ งออกรวง เอย๋ พ่วงระย้า งอกงามขน้ึ มา กันเรว็ ไว แม่เกษรโกสมุ ประทุมเมศ แม่จะตดั กเิ ลส ไปอยา่ งไร ถา้ แมไ่ ม่โปรด ลูกคงจะเป็นเปรต จะทนทุกขท์ ุเรศ อย่ใู นแดนไพร ไดโ้ ปรดเปรตเมตตา ลูกยาไว้ เสียเลยแม่ใจ เอย๋ บญุ .... ทํานองโหนง่ เรอื่ ง จันทโครบ (ประทปี สขุ โสภา, 2539)
หนงั สอื เรยี นวชิ าเลือก สาระการพฒั นาสงั คม รายวิชาสโุ ขทยั ศกึ ษาเชิงประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวถิ ชี ีวิต 85 ...จะกลา่ วถงึ พระจัน ทะโครบ จะมาเปดิ ผอบ เอ๋ยในไพรวัน ใหค้ ดิ สงสยั เปน็ หนักหนา วา่ พระเจ้าตา ให้อะไรกนั จาํ จะต้องเปิด ออกมาดู ว่าอะไรมนั อยู่ ขา้ งในนั้น คอ่ ย ๆ เปดิ ฝา หรีต่ ามอง จด ๆ จ้อง ๆ มอื ไมส้ นั่ เปดิ ออกทันใด เอะ๊ ใครหว่า ใยมานอนแกผ้ ้า อยู่ในนัน้ พระหวั่นผวา มองตากนั ถูกใจพระจันทร์ จรงิ เอย... (ประทีป สุขโสภา : แสดงในรายการวรรณกรรมพ้ืนบา้ นของมหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช ปี 2539) ทํานองกรับ เร่อื งพระมหาชนก ประทีป สุขโสภา ก็จะวา่ เป็นชาดก พระมหาชนก เมอื งมิถลิ า ตอ้ งระเหเอย๋ เรร่ อ่ น แตใ่ นอุทร พระมารดา นครกาลจัมปากะ เป็นเคหะ มานานชา้ ยึดมั่นกตญั ญู คอยเลยี้ งดู พระมารดา จนสน้ิ ทัง้ ศลิ ปศาสตร์ ชาญฉลาด เป็นหนกั หนา มุ่งหมายจะหกั นักครา เมืองมถิ ลิ า เอ๋ยคนื ขา้ แต่พระแมเ่ จ้า ลกู ไปเอา เอ๋ยเวียงชัย พ่อคา้ และพาณิช กต็ ามตดิ ทงั้ นอ้ ยใหญ่ เภตราพาเคลื่อนคล้อย ทั้งเจด็ รอ้ ย กแ็ ลน่ ใบ คล่ืนรา้ ยทาํ ลายแหลก สาํ เภาแตก ทนไมไ่ หว ทุกชวี ไี ม่มีเหลอื ตกเป็นเหย่อื เอย๋ ปลาใหญ่ ฝ่ายพระชนกไมต่ กใจ ว่ายแหวกอยใู่ น เอย๋ ธาร... อนิจจามหาสตั ว์ ถกู คล่ืนซัด ในธารา ความเพยี รเปน็ ท่ีตั้ง ไมเ่ ห็นฝงั่ ยงั ม่งุ หนา้ เจ็ดวนั ในวารี ฝา่ ยนางมณี เมขลา ไต่ถามไดค้ วามชดั มหาสตั ว์ กุมารา นําพาเขา้ หาฝง่ั กถ็ งึ ยัง มถิ ิลา บา้ นเมืองสขุ สนั ต์แตน่ ้ันมาดว้ ยพระปรชี า เอ๋ยชาญ หมายเหตุ แสดงเฉลิมพระเกียรติ ปีกาญจนาภิเษก 2539 ตาํ นานพระร่วงเจา้ ...จะร่ําขานเป็นตาํ นานเก่า เรื่องพระรว่ งเจา้ กรุงสุโขทยั มียายตาอาศยั อยู่ เขาหลวงยอดภู นนั้ เปน็ พงไพร เชี่ยวชาญเป็นพรานปา่ เท่ยี วเสาะแสวงหา ถ้ําอาศยั บนั ดาลดลใหฝ้ นตก เหลอื บเหน็ ทารก ออกใหม่ ๆ ไม่มผี ูไ้ ม่มคี น ใครหนอสัปดน ไข่ท้ิงไว้ เห็นแตล่ อยอยู่หลายหลากของพญานาค ในถํา้ ใหญ่ สองเฒ่าวันนีแ้ สนดใี จ รบี ตรงเข้าไป เอ๋ยพลัน...
หนงั สือเรยี นวิชาเลอื ก สาระการพัฒนาสังคม รายวชิ าสโุ ขทัยศกึ ษาเชิงประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวถิ ีชีวิต 86 ...ฝ่ายสองตายายอุม้ ทารก ด่มุ เดนิ งันงก เอามาเลี้ยงไว้ ชื่อวา่ พระร่วงดวงโฉลก เกดมาใหโ้ ชค กบั ตายาย อยากได้นอ้ งก็ตอ้ งหา แกะเปน็ ต๊กุ ตา เอามาให้ ไมท้ องหลางได้ตง้ั ช่ือ ให้ว่าพระลือ เป็นน้องชาย ตวั พ่ียาวาจาสิทธิ์ เกดิ มามชี วี ิต ข้ึนทนั ใด ทง้ั สองนอ้ งพ่ีแสนดใี จ ท่องเท่ยี วในไพร เอ๋ยวัน... ...ท่ีเขาพระร่วงเจ้า ออกไปวง่ิ ว่าว ตรงชายปา่ ดึงสายปา่ นด้านลมติด ว่าวน้อยตัวนดิ ข้นึ ส่เู วหา ไม่ทนั หยุดสดดุ ลม้ อันฑะกจ็ ม ตรงชายปา่ มีรอ่ งรอยอย่กู ลางลาน ผูค้ นกล่าวขาน มานานชา้ เปน็ หนองนาํ้ ไม่เคยเหือดแหง้ ใช้ทํายา อศั จรรย์ยิง่ นกั ประจักษต์ า นา่ ทศั นา เอย๋ จรงิ ... ...มีเรอ่ื งราวมากล่าวขาน เล่าเป็นตํานาน กนั เอาไว้ พระร่วงเจ้าวาจาสทิ ธิ์ มีอทิ ธิฤทธิ์ อันเกรียงไกร กนิ ปลาเนอ้ื เหลอื งแต่ก้าง พอเอามาวาง มนั ก็ว่ายไป สมุนไพรในเขาหลวง สรรพยาท้ังปวง เสกไวใ้ ห้ มีบ่อนา้ํ พระสยม ใชไ้ ด้ท้งั กลม แก้คุณไสย์ มหี ินผายาผบี อก ขา้ วสารข้าวตอก ยามเจ็บไข้ ทุกคนกล่าวขานกันท่ัวไป เมอื งสโุ ขทยั เอย๋ ดี... ...พ่ีน้องประลองมือ พระรว่ งพระลอื ตา่ งแขง่ ขัน สรา้ งเจดยี ์ทสี่ ูงใหญ่ ใครสงู กวา่ ใคร ได้ร้กู นั อุตลดุ สดุ ฝีมือ องคข์ องพระลอื สงู กว่าหลายชนั้ พระเสแสร้งแกล้งอจิ ฉา เตะดว้ ยบาทา ขาดสะบัน้ มีเฉลยเอ่ยคาํ อ้าง ทว่ี ัดพระปรางค์ เลา่ ลือกนั ร่องรอยยงั เห็นเชน่ อยทู่ ุกวนั นา่ อัศจรรย์ เอย๋ จริง... ...เสวยรมณค์ รองสมบตั ิ แห่งเมอื งศรีสัช ชนาลัย วนั หน่ึงจงึ ชวนน้อง ท่องเท่ยี วประลอง ในพงไพร โรยแรงถงึ แกง่ สกั ชวนกนั หยดุ พกั ใตร้ ่มไม้ ทรงเกษมพระสาํ ราญ ลงเลน่ ลาํ ธาร ที่เชี่ยวไหล เพลนิ ใจเมอื่ ใกลค้ า่ํ พระลือกด็ าํ ดิ่งจมหาย ไพรฟ่ ้าขา้ แผ่นดนิ ตามหาจนส้นิ จนอ่อนใจ องคพ์ ระรว่ งเจา้ เศร้าหทยั สดุ แสนอาลยั เอ๋ยจริง... ...ตาํ นานเกา่ เลา่ ขาน เร่ืองอศั จรรย์ มีหนกั หนา พระรว่ งเจา้ กรงุ ไกร ครองสโุ ขทัย เอ๋ยพารา เสด็จสรงตรงแก่งหลวง อนั เป็นหว้ ง เอย๋ ธารา แหวกว่ายในสายธาร ทรงพระสําราญ เป็นหนกั หนา วา่ กนั ไว้ท่ีใตน้ ํ้า น้ันเป็นถา้ํ ของนาคา
หนงั สือเรียนวิชาเลอื ก สาระการพัฒนาสงั คม รายวชิ าสโุ ขทัยศึกษาเชิงประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวถิ ชี วี ิต 87 พระรว่ งหายลบั ไปกบั ตา ไมก่ ลับขึน้ มา เอย๋ เลย... ...ดว้ ยเวรด้วยกรรมหรอื คาํ สาป ด้วยบญุ ดว้ ยบาป หรือดีร้าย เมืองน้ีใครดพี ลีถูก ช่วั ลูกช่วั หลาน นานสบาย ใครบัดพลีดพี ลถี ูก ใครฉอ้ ฉล ต้องฉบิ หาย ใครคิดช่ัวไมก่ ลัวบาป ต้องคาํ สาป มามากมาย จะเป็นเรื่องเทจ็ จรงิ หนอหญิงชาย ปยู่ า่ ตายาย เอย๋ มา... หมายเหตุ แสดงงานลอยกระทง เผาเทียนเลน่ ไฟ ปี 2539 จังหวัดสโุ ขทยั เพลงขอทานสโุ ขทัย ตอนวณิพกสุโขทัย จะกล่าวสนุ ทรกลอนสาธก ร่างกายพิการ เดินไม่ไหว ด้วยความยากจน ทนขอทาน เขา้ กทม. เมืองใหญ่ ไม่มีบา้ นชอ่ ง หรือห้องหอ อาศัยเสยี งรอ้ ง เรอื่ ยไป พอ่ แม่ไม่มี ขาดพข่ี าดน้อง ตอ้ งเป็นขอทาน อยากไร้ ไม่มเี สือ้ ผา้ และอาหาร ไมร่ ู้ว่าวันนี้ นอนท่ไี หน เงินเดือนกห็ มด คา่ รถไมม่ ี นกึ ว่าใหท้ าน คนยากไร้ คณุ พอ่ คณุ แม่เจ้าขา เมตตาสงสาร เจ้าประคณุ เจา้ ขา เมตตาผมหน่อย คนละรอ้ ยสองร้อย บา้ งเป็นไร คนละห้าคนละสิบ แกลง้ หยบิ เสยี หน่อย ถา้ เป็นแบงค์ห้าร้อยกท็ อนได้ ถ้าไม่อยากมานี่ อย่าหนีอยา่ เมิน ยกมือให้ผมเดนิ ไปกไ็ ด้ ถา้ กระเปา๋ ทา่ นหนกั แกลง้ ควกั เสียหน่อย อยา่ เสียดายใบละร้อยใหม่ ๆ อยา่ แกล้งทํายึกยกั ทําไมไมค่ วักอีกเล่า ใบละรอ้ ยเก่า ๆ ก็ยงั ได้ อย่ามวั น่งั หนา้ เหยี่ ว บาทเดยี วกย็ งั ไมท่ าํ มานัง่ ค้อนตาควํ่าอย่ไู ด้ อย่ามัวนงั่ หน้าแดง ทําแกล้งไมเ่ ห็น ทาํ บญุ กนั ไมเ่ ปน็ หรืออย่างไร ทาํ เป็นไม่รู้เรือ่ ง โกรธเคืองใครมา ทาํ ไมไม่ควักเงนิ ตราเรว็ ไว ใครทาํ บาทสองบาท เกดิ ชาตขิ า้ งหน้า ระวังจะเปน็ นะ...จะบอกให้ ถา้ ทาํ สิบบาทในชาตนิ ี้ ขอใหเ้ ป็นเศรษฐีต่อไป ถ้าทําสบิ บาทในชาตขิ ้างหนา้ จะไดเ้ ปน็ เทวดายิง่ ใหญ่ ถ้าใบละรอ้ ย ที่สีแดง ๆ ขอให้มตี ําแหน่งโตใหญ่ ถา้ ใครไม่ใหท้ าน กลับไปบ้านแนช่ ัด จะต้องโดนหมากัดนะจะบอกให้ ถา้ กัดเสือ้ ผ้ากัดหน้ากดั หลัง กัดจนกระทง่ั กางเกงใน ขอเชิญทกุ ทา่ น ทําทานกันเถดิ ได้กุศลอนั ประเสรฐิ ยงิ่ ใหญ่ ตอ้ งขอขอบพระคณุ ในบญุ กศุ ล ชว่ ยเดก็ ยากจน แดนไกล ใหก้ ุศลชว่ ยส่ง ม่ันคงความสขุ อยา่ ได้มที กุ ข์ อนั ใด ประทีปหนองปลาหมอ ต้องขอลาไป วณพิ กสโุ ขทยั ขอใหส้ วสั ดี...
หนงั สอื เรียนวิชาเลือก สาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสุโขทัยศึกษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวฒั นธรรมและวิถชี ีวติ 88 เพลงประกอบพิธี เพลงประกอบพิธีหมายถึงบทเพลงมุขปาฐะท่ีใช้ประกอบพิธีการหรือการทําอาชีพ ทั้งนี้เพราะคน ในสมัยก่อนการทํามาหากินต้องอาศัยดินฟ้าอากาศ ซ่ึงต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนฟ้าดีข้าวกล้า ในนาก็เจริญงอกงามหากปีใดฝนแล้งหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาก็จะเสียหาย ไม่มีน้ําจะ ทํานา ชาวบ้านไม่มีวิธีการอ่ืนใดท่ีจะช่วยได้ จึงต้องพึ่งพาสิ่งที่เหนือธรรมชาติจําเป็นต้องเช่ือถือหรือพึ่งพา สิ่งศกั ดส์ิ ิทธิ์ เชน่ เช่ือว่าถา้ ทําพิธีขอฝนด้วยการแห่นางแมว เช่ือว่าหากกระทําเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตก ลงมาได้ หรือเช่ือว่าทําขวัญข้าวแล้วจะทําให้ได้ผลผลิตสูงข้ึน แม่โพสพจะให้ลาภคือข้าว ดังนี้เป็นต้น ดังน้ันพิธีกรรมที่เป็นความเช่ือต่าง ๆ จึงมีเป็นจํานวนมากในที่นี้จะกล่าวถึงพิธีกรรมต่าง ๆ และบทเพลง ประกอบพธิ ี ดงั นี้ 1. เพลงแห่นางแมว 2. บททาํ ขวัญ เพลงแห่นางแมว พิธีแหน่ างแมวคือวธิ ีขอฝนของชาวบ้านในท้องถน่ิ สุโขทยั ทงั้ น้เี พราะในฤดูฝนช่วงเดอื นกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม ฝนมักทิ้งช่วง ข้าวกล้าในนาขาดนํ้า หากได้นําแมวมาแห่แล้วร้องป่าวเพ่ือขอฝนแล้ว เทพยาดาจะช่วยดลใหฝ้ นฟา้ ตกต้องตามฤดูกาลได้ วิธีการเลน่ ชาวบ้านจะนําแมวมาใสใ่ ช่สะลอมมดั ผูกดแี ลว้ ใส่คานหาม คือหามหัวและท้ายสองคน ตกแต่งชะลอมให้ดูสวยงามจากนั้นก็จะแห่ไปรอบ ๆ หมู่บ้านมีขบวน เท้ิงบ้องกลองยาวนําขบวนไปด้วย ขณะที่แหช่ าวบ้านต่างร้องเพลงแหน่ างแมวไปด้วย เช่น เหล้า ข้าวปลา อาหาร ตลอดจนของกินอื่น ๆ แล้ว เคลื่อนตอ่ ไปเรื่อย ๆ จนหมดเขตหม่บู า้ น หลังจากนนั้ ก็นําอาหารมาเล้ียงกัน เนอื้ รอ้ งเพลงแหน่ างแมว นางแมวเอยขอฟา้ ขอฝน ขอนา้ํ มนตร์ ดหัวนางแมว ข้าวเปลอื กข้าวเจา้ ไปหาแมวมา ไม่ใหก้ นิ ปลา ให้ปกู ดั ขา้ ว ไม่ใหก้ นิ เหลา้ ให้ข้าวตายฝอย ไมใ่ หก้ ินอ้อย ให้ออ้ ยตายแมง ไม่ให้กินแตงใหแ้ ตงคอคด ไม่ให้นอนกอด ใหม้ อดกนิ เรือน ใครไม่ให้นอนเพ่อื น ให้เรือนทลาย (ซา้ํ ) แมห่ ม้ายเอยข้าวจะถกู ลูกไม้จะแพง ทําตาแดง ๆ ฝนก็เทลงมา ฝนกเ็ ทลงมา หรอื นางแมวเอยขอฟา้ ขอฝน ขอนํา้ มนตร์ ดแมวขา้ ม่งั คา่ เบี้ยคา่ จา้ ง คา่ แห่แมวมา ถ้าไม่ใหก้ ินปลา ขอใหป้ ูกัดขา้ ว ถา้ ไมใ่ หก้ ินขา้ ว ขอให้ข้าวตายฝอย ถา้ ไม่ใหก้ ินอ้อยขอให้ออ้ ยเปน็ แมง ถา้ ไม่ใหน้ อนเพอื่ นขอให้เรือนทลาย แมย่ ายหอยเอย กะพ่งึ ไข่ลกู * ลกู ไมจ้ ะถูก ลูกไม้จะแพง ฝนตําพรํา ๆ มาลาํ กระแซง ฝนตกเขานอ้ ย มาย้อยชายคา ฝนเขาหลวง เปน็ พว่ งระย้า ไอ้เล เหล่ เล้ ฝนกเ็ ทล่ งมา ฝนก็เทลงมา ๆ ๆ ๆ ๆ
หนังสือเรียนวิชาเลอื ก สาระการพัฒนาสังคม รายวชิ าสุโขทยั ศกึ ษาเชงิ ประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมและวิถีชวี ติ 89 บททาํ ขวญั ข้าว การทําขวญั ขา้ วเปน็ ประเพณหี รือความเช่ือของคนสมยั โบราณที่เช่ือว่าข้าวเป็นผู้มีพระคุณในฐานะ ท่ีเป็นเคร่ืองหล่อเล้ียงชีวิตมนุษย์ การเคารพผู้มีพระคุณถือว่าเป็นมงคล และจะเรียกข้าวว่า “แม่โพสพ” เชื่อว่าแม่โพสพจะเป็นเทพที่ทําให้ผลผลิตคือข้าวในนาอุดมสมบูรณ์ และยังเชื่อว่าแม่โพสพเป็นสตรีท่ี งดงาม ฉะน้ันในการทําขวัญข้าวจะทําเป็นประเพณีของทุกบ้านท่ีมีอาชีพทํานาโดยกําหนดจะทําพิธีในวัน สารทไทย หรอื วันออกพรรษา หรือวนั เพ็ญเดือนสิบสอง มีข้นั ตอนในการทาํ ดังนี้ 1. ทาํ ขวัญข้าวในนา 2. ทาํ ขวญั ขา้ วในลาน 3. ทาํ ขวญั ขา้ วในยงุ้ ฉาง วิธีการเตรยี มขวญั ขา้ ว สานชะลอมใบเล็ก ๆ 1 ใบ ทําธงกระดาษปลายธงเป็นก้านมะพรา้ วเลก็ ๆ ไมไ้ ผ่ทมี่ คี วามยาว พอสมควรผา่ ปลายกระบอกให้วางชะลอมไม่ให้ตก อาหารท่ใี ช้ ไขต่ ม้ สุก อ้อยปลอกเปลือกแล้ว ส้มเกลี้ยง ขนมต่าง ๆ ที่เป็นของแห้ง ข้าวต้มผัด ข้าวแตน นางเล็ด เครื่องหอม น้าํ มนั หอม นาํ สิง่ ของคืออาหารคาวหวานท้ังหมดใช้ชะลอมเล็ก ๆ มัดปากชะลอมด้วยได้แดงด้ายขาวนํามาใส่ ไมไ้ ผท่ ี่ปักในทุ่งนา การปกั ไมไ้ ผ่น้นั ควรปักใหม้ ัน่ คงไม่โอนเอน นําธงมาเสยี บท่ปี ลายชะลอม นําด้ายแดง ดา้ ยขาวมาพนั ที่ต้นข้าว แล้วนําเคร่ืองหอมนา้ํ มันหอมมาหาทต่ี น้ ขา้ วพรอ้ มท่องบทท่ีเปน็ คาถาเชญิ ขวัญ เน้อื รอ้ งในการทาํ ขวัญขา้ ว ดงั น้ี ทาํ ขวญั ข้าวในนา ศรี ศรี วันนี้เปน็ วันดี ศรวี นั ขออนั เชิญพระแม่โพสพ แมน่ พเก้ามารบั เคร่ืองสังเวยซง่ึ เคยมีมาซึ่งครั้งแตพ่ ระฤๅษี พระประลัยโกษฐ์ พระคุณของแมเ่ คยโปรดสตั ว์โลกทั่วหน้า ให้อุดมไปด้วยภักษาหาร เชิญแมม่ ารับประทานในวันน้ี ลกู จดั พิธีมาพร้อมแล้วขออันเชิญ แมท่ ลู กระหม่อมมารับภัตตาหาร ทาํ ขวญั ข้าวในลาน ศรี ศรี วนั นี้วันดี ศรีวนั พญาวนั จะทําขวญั แมโ่ พสพเจ้าข้ึนสู่ยุ้งฉาง แรกเริ่มประเดิมกาลหว่าน ไว้เป็นกล้า งอกงามข้ึนมาชวนกันไปถอน ถอนแล้วก็ฟัด ๆ กําหมวดมัดตัดใบกองสุมไว้ในเทือกนา ชวน กันไปดํา โยนชอกช้ําในเทือกนา ไหนปูปลาจะขบกัดสารพัดภัยนานา เดี๋ยวกระทบแล้งใบแห้งเห่ียวย่อย ยบั เพล้ียพล่อยจะพลอยจบั ใบหมองมัวฟ้ืนตวั วัวควายจะลยุ กระจยุ กระจายแหลกน่าสงสารเมื่ออาการจะ รวงงามพุ่มพวงช่อไสว ลมพัดระบัดใบล้มให้ระเนนนอนชูงวงสลอนทับกัน งามเฉิดฉันพรรณรายนกแก้ว ก้ายจะเฉ่ียวฉาบ จะจิกกินนกเขาบินกระพื้นกระพือ ฮือ ตบไม้ตีมือไม่มีใจจะกลัวเลย ทูนหัวเจ้าแม่เอ่ย ตกให้เกลือ่ นกลาดระดาษทว่ั ลงในแผน่ ระดินดอนชวยกนั ไปเก่ียวรัดให้กลมกลิ้งโยนทุ่มบาตร รับขวัญคราด จะสวดมนต์ การทํามงคลตามประเภทแม่ธรณี ถึงวันดีคืนดีแล้วจะทําขวัญแม่สังข์ทองสองนพแม่แพร พรรณสุริยันเย็นลงรอน ๆ จะยกเครื่องขึ้นประดับ จะทํานับแต่สโมสร มีทั้งขนมนมเนยและบวร มีทั้ง ผ้าผอ่ นและแพรพรรณ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113