๑ กองทัพบกวิชา การศาสนาและศีลธรรม หลักสูตรชัน้ นายพนั (Religion and MoralityOFFICER ADVANCE COURSE) จัดทําโดย กองอนุศาสนาจารย์ กรมยทุ ธศึกษาทหารบก เมอื่ ๓๐ ตลุ าคม ๒๕๕๗
ก คาํ นาํ ตํ า ร า วิ ช า ก า ร ศ า ส น า แ ล ะ ศี ล ธ ร ร ม สํ า ห รั บ ห ลั ก สู ต ร ช้ั น น า ย พั น เ ล่ ม นี้กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบกได้รวบรวมเรียบเรียงเพ่ือใช้เป็นหลักฐานทางวิ ช า ก า ร แ ล ะ ป ร ะ ก อ บ ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ใ น ห ลั ก สู ต ร ช้ั น น า ย พั น ข อ ง โ ร ง เ รี ย น เ ห ล่ าสายวทิ ยาการและหนว่ ยจดั การศึกษาของกองทพั บก เนอื้ หาสารธรรมในตาํ ราเล่มน้ี นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของผู้เข้ารับการศึกษาแล้ว ยังมุ่งประโยชน์ต่อผู้สนใจในพระพุทธศาสนาท่ัวไปอีกด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับศาสนาเปรียบเทียบ พุทธปรัชญา จิตวิทยาในพระพุทธศาสนา การพัฒนาจิต การพัฒนาจริยธรรมกําลังพลของกองทัพบก ซ่ึงผู้ศึกษาสามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนนิ ชีวิตประจําวนั และการปฏิบัตหิ น้าทใ่ี นฐานะผบู้ งั คบั บญั ชาอกี ด้วย กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศกึ ษาทหารบก ตุลาคม ๒๕๕๗
ข. สารบัญ . หนา้คํานาํ ...............................................................................................................................กขอบขา่ ยรายวิชา ............................................................................................................. งตอนที่ ๑ ศาสนาเปรยี บเทยี บ...........................................................................................๑เปรยี บเทียบศาสนาฝ่ายเทวนิยมกับอเทวนิยม.....................................................................๒เปรยี บเทียบศรทั ธาและฐานะของมนษุ ย์ .............................................................................๒เปรยี บเทียบหลกั ความดสี ูงสดุ .............................................................................................๖แนวทางการประเมนิ ..............................................................................................................ตอนที่ ๒ พทุ ธปรชั ญา .....................................................................................................๙ความหมายของพุทธปรชั ญา............................................................................................. ๑๐อภิปรชั ญาแนวพุทธ.......................................................................................................... ๑๐ญาณวิทยาแนวพทุ ธ ......................................................................................................... ๑๓จรยิ ศาสตร์แนวพุทธ ......................................................................................................... ๑๕กฏแหง่ กรรม..................................................................................................................... ๑๘แนวทางการประเมิน ..............................................................................................................ตอนท่ี ๓ จิตวิทยาในพระพทุ ธศาสนา ...........................................................................๒๑จรติ ๖ .............................................................................................................................. ๒๒ลกั ษณะของจติ ท่มี ีจริตแตล่ ะประเภท............................................................................... ๒๒คูข่ องจรติ .......................................................................................................................... ๒๒จุดสังเกตจริต.................................................................................................................... ๒๔แนวทางการประเมิน ..............................................................................................................ตอนท่ี ๔ การพฒั นาจติ .................................................................................................๒๕การพฒั นาจติ หรอื การบาํ เพญ็ จติ ภาวนา........................................................................... ๒๖การละปลโิ พธิ................................................................................................................... ๒๗ประโยชน์ของการปฏบิ ตั ิวปิ สั สนากรรมฐาน ..................................................................... ๒๗
ค หลกั การใหญข่ องพระพทุ ธศาสนา .................................................................................... ๒๘ วธิ ีสมาทานกรรมฐานและการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ.................................................... ๒๙ ธรุ ะในพระพทุ ธศาสนา ..................................................................................................... ๓๐ วธิ ปี ฏิบัติ ......................................................................................................................... ๓๑ การกาํ หนดเม่อื รับรอู้ ารมณ์ต่าง ๆ ................................................................................... ๓๔ สตปิ ัฏฐาน ๔ .................................................................................................................... ๓๕ แนวทางการประเมนิ ..............................................................................................................ตอนท่ี ๕ การพฒั นาจรยิ ธรรมกําลงั พลของกองทัพบก ..................................................๓๘ การพัฒนาจริยธรรมกาํ ลงพลของกองทัพบก .................................................................... ๓๙ การพัฒนาบคุ ลากรกองทพั บก.......................................................................................... ๔๐ หลักสูตรการศาสนาและศีลธรรม...................................................................................... ๔๐ การอบรมศลี ธรรมวัฒนธรรมทหาร................................................................................... ๔๑ การอบรมพธิ กี รดา้ นศาสนาประเพณีและวฒั นธรรมไทย................................................... ๔๖ มารยาททช่ี าวพทุ ธควรรู้................................................................................................... ๔๘ แนวทางการประเมนิ ..............................................................................................................เอกสารอา้ งอิง...............................................................................................................๕๗ภาคผนวก..................................................................................................................... ๕๘ แบบประเมินความรหู้ ลังเรยี น........................................................................................... ๕๙ คณะกรรมการตรวจชาํ ระตํารา......................................................................................... ๖๑
ง ขอบขา่ ยรายวิชา วชิ าการศาสนาและศีลธรรม (หลักสูตรชน้ั นายพัน) 7 ช่วั โมงความมุง่ หมาย: เพ่ือให้มคี วามรูเ้ กยี่ วกบั พุทธธรรม เพือ่ ชีวิตและสังคม สามารถเปรียบเทียบหลกั การใหญ่ ๆ ของศาสนาที่สําคัญ ๆ และนาํ หลกั ธรรมมาประยกุ ตใ์ ชใ้ นการดาํ เนินชีวติ ของตนเอง และ สว่ นรวมเร่ืองและ ชม. / ชนดิ ขอบเขตการสอน หลักฐานความหมาย การสอน - เปรยี บเทยี บศาสนาฝ่ายเทวนิยมกบั อเทวนยิ ม - ศาสนาเปรยี บเทียบ- ศาสนา 1 สช. - เปรียบเทยี บศรัทธาและฐานะของมนุษย์ ของ เสฐียร พนั ธรงั ษี เปรยี บเทยี บ - เปรยี บเทยี บหลักความดีสูงสดุ - วชิ าการศาสนา และศีลธรรม ของ กอศจ.ยศ.ทบ. - บรรณสารของกอศจ.ยศ.ทบ.- พทุ ธปรชั ญา 1 สช. - ความหมายของพทุ ธปรชั ญาพทุ ธปรัชญาเก่ียวกับเรือ่ ง - พุทธปรัชญาของวิทย์ วิท โลกและชวี ติ เวศย์ - อภิปรชั ญาแนวพุทธ - ญาณวิทยาแนวพทุ ธ- จิตวิทยาใน 1 สช. - จริยศาสตร์แนวพทุ ธ - กฎแห่งกรรม - จริต 6พระพุทธศาสนา - ลกั ษณะของจิตท่มี ีจริตแต่ละประเภท - คขู่ องจริต - จดุ สังเกตจริต- การพัฒนาจติ 1.5 สช. - การพฒั นาจิตหรือการบําเพ็ญจติ ภาวนา - ถามตอบวิปสั สนา- - การละปลโิ พธิ กรรมฐาน โดย พระธรรม - ประโยชน์ของการปฏบิ ัติวิปัสสนากรรมฐาน ธรี ราชมหามุนี (ญาณสิทธ)ิ - หลกั การใหญข่ องพระพทุ ธศาสนา - วิธีสมาทานกรรมฐานและการแสดงตนเปน็ พทุ ธมามกะ - ธรุ ะในพระพุทธศาสนา
เรือ่ งและ ชม. / ชนดิ ขอบเขตการสอน จความหมาย การสอน หลกั ฐาน 1 สช. - วธิ ปี ฏิบตั ิ- การพฒั นา - การกาํ หนดเมอ่ื รบั ร้อู ารมณต์ า่ ง ๆ จรยิ ธรรม 0.5 สช. - สติปฏั ฐาน 4 กาํ ลงั พลของ - การพฒั นาจริยธรรมกาํ ลงั พลของกองทัพบก กองทัพบก - การพฒั นาบุคลากรกองทพั บก- การสอบวดั ผล - หลักสตู รวชิ าการศาสนาและศลี ธรรม - การอบรมศลี ธรรมและวัฒนธรรมทหาร - การอบรมพธิ กี รดา้ นศาสนาประเพณีและวฒั นธรม ไทย - มารยาททช่ี าวพุทธควรรู้ - สอบความรูท้ ่ีเรยี นมาทงั้ หมด
๑ ศาสนาเปรยี บเทียบ (comparative religion)..............................................................................................................................สาระการเรียนรู้ ๑. เปรยี บเทียบศาสนาฝ่ายเทวนิยมกับอเทวนยิ ม ๒. เปรียบเทียบศรทั ธาและฐานะของมนษุ ย์ ๓. เปรียบเทยี บความดสี งู สุดวัตถุประสงค์ เมื่อศกึ ษาบทเรยี นนีจ้ บแลว้ ผู้เขา้ รบั การศึกษาสามารถ ๑. เปรยี บเทยี บความแตกต่างระหว่างศาสนาฝา่ ยเทวนยิ มกบั อเทวนิยมได้ ๒. อธบิ ายศรทั ธาและฐานะของมนษุ ย์ได้ ๓. เปรยี บเทยี บความดสี งู สุดตามหลักศาสนาได้กิจกรรมระหว่างเรยี น ๑. บรรยาย ๒. สอบถาม ๓. ใบงานสือ่ การสอน ๑. เพาเวอรพ์ อยท์ ๒. เอกสารตาํ รา ๓. คลปิ วดี ิโอที่เก่ยี วข้องประเมนิ ผล ๑. ใหต้ อบคาํ ถาม ๒. แบบทดสอบหลงั เรยี น
๒ ศาสนาเปรยี บเทียบ (comparative religion)ขอ้ เปรยี บเทยี บระหวา่ งศาสนา เทวนิยม กับ อเทวนิยม ศาสนาพหุเทวนิยม (Deism) เป็นศรัทธาเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ (polytheism) สิงสถิตอยู่ในสรรพสง่ิ แต่พระเจ้าเหล่านั้นไม่มีอํานาจในการสร้างโลก ศรัทธาประเภทน้ี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมชาติเทวนิยม ศาสนาเทวนิยม (Theism) เป็นศรัทธาเช่ือว่ามีพระเจ้าสูงสุดอยู่แต่พระองค์เดียว (Monotheism)สถิตอย่เู ป็นคู่โลก และพระเจา้ น้ันทรงมีอาํ นาจสรา้ งโลก ศรัทธาท้ังส่วนที่เป็น พหุเทวนิยม และ เทวนิยม เป็นศรัทธาเนื่องมาจากเทววิทยา (Theology)เป็นศรัทธาของหมู่ชนเผ่าเซมิติค (Semitic Race) ไม่เก่ียวด้วยกฎของธรรมชาติ (Law of Nature) หรือกฎแห่งการกระทาํ (Law of Karma) ศาสนาส่วนเทวนิยมน้ี ก่อรูปข้ึนเป็นศาสนายิว (ยูดาย) เป็นมูลฐานของศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม ศาสนาอเทวนิยม (Atheism) เป็นศรัทธาเชื่อกฎแห่งธรรมชาติ (Law of Nature) หรือกฎแห่งการกระทําของบุคคลแต่ละคน (Law of Karma) หรือกฎแห่งเหตุผล ( Subject and Object) โลกสร้างขึ้นเป็นอยู่และสลายไปตามกฎเหล่าน้ัน เป็นศรัทธาของชาวอารยันกลุ่มหน่ึง ในที่น้ีได้แก่ศาสนาเชน(ไชนะ) และศาสนาพทุ ธ เปน็ ต้นขอ้ เปรียบเทยี บคตกิ ารสร้างโลกและการสลายแห่งโลก ศาสนากลุ่มพหเุ ทวนิยม หรือ ธรรมชาติเทวนิยม ไม่มีศรัทธาเร่ืองการสร้างโลก สร้างชีวิต โลกเกิดอยา่ งไร ชวี ติ เกิดอย่างไร ไมร่ ู้ รู้เพียงแต่ธรรมชาติทุกอยา่ งมีพระเจา้ ประจําอยู่ ศาสนากลุ่มเทวนิยม : คติ (ศาสนายิว) มีว่า ปฐมกาลโลกมีแต่ความมืดมน พระเจ้า (ยะโฮวา) ผู้ทรงมหิทธิศักดิ์ ทรงอํานาจสูงสุด ทรงเป็นผู้สร้างสรรพส่ิงและสรรพสัตว์ในโลก ทรงสร้างแสงสว่างเพ่ือทาํ ลายความมืด ฯลฯ ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นเจ้าของพืชและสัตว์ท่ีทรงสร้างไว้แล้ว ฯลฯ มนุษย์ท่ีทรงสร้างเปน็ คนแรกชอ่ื “อาดาม” เปน็ ชาย และทรงสร้างมนุษย์หญิงคนแรกช่ือ “เอวา” หรือ “อีฟ” มีลูกหลานว่านเครือไปเต็มโลก ล่วงมาประมาณ ๓๒ ชั่วคน (ช่วงละ ๑๐๐ ปี) พระเจ้าทรงเห็นว่า มนุษย์ท้ังหลายไม่เช่ือฟงั ไม่ปฏบิ ตั ิตามบญั ญตั มิ ีบาปหยาบช้านกั จึงทรงบันดาลให้ฝนตก ไฟไหม้ ล้างมนุษย์ ล้างโลก เสียครั้งหนึ่ง เหลืออยู่แต่มนุษย์และสัตว์ผู้มีธรรม พอน้ําท่วมโลกแห้งลง ก็ทรงสร้างโลกอีกต่อไป โดยนัยนี้ ศาสนาครสิ ต์ และศาสนาอสิ ลามมคี ติคล้ายคลงึ กนั แสดงใหเ้ ห็นความสัมพันธ์กันแหง่ ศาสนากลมุ่ น้ี ศาสนากลุ่มอเทวนิยม มีศรัทธาเน่ืองจากกฎของธรรมชาติและกฎของกรรม คติเรื่องโลก จึงปฏิเสธการสัมพันธ์กับพระเจ้า ผู้สร้างโลกน้ีกําหนดถึงธาตุ (Supreme Elements) ซ่ึงมีอยู่คู่กับโลก (ดินนํ้า ลม ไฟ อากาศ) เคลื่อนไหวผสมส่วนกันด้วยแรงผลักดันหรือพลัง (กรรม-การกระทํา) ของธรรมชาติหรือธาตุนั้น ๆ ก่อรูปของสรรพสิ่งและสรรพสัตว์น้อยใหญ่ข้ึนมาในโลกโดยลักษณะต่าง ๆ กัน ตามผลแห่งพลังนั้น ตราบเท่าท่ีคู่ธาตุ สมการของธรรมชาติยังดํารงคงอยู่ด้วยดี โลกก็ดํารงอยู่ได้ แต่โลก จะสลายไปจวบสมัยเมอื่ คธู่ าตุและสมการของธรรมชาตนิ ้นั ๆ ไม่มีข้อเปรยี บเทียบหลักศรทั ธาอันแสดงถึงฐานะของมนุษย์ มนุษย์กลุ่มพหุเทวนิยม หรือ ธรรมชาติเทวนิยม มีศรัทธาเพียงว่าฐานะของตนขึ้นอยู่กับพระเจ้าผู้สงิ สถติ อยู่ในธรรมชาตแิ ละสรรพสง่ิ รอบตัวเอง มนุษย์กลุ่มเทวนิยม มีศรัทธาว่า ฐานะแห่งความเป็นมนุษย์ (Human Status) ขึ้นตรงต่อผู้สร้าง
๓(พระเจา้ ) ปฏเิ สธความสามารถของมนษุ ย์ ชวี ิตตอ้ งสุดแต่พระองค์ผู้ทรงสร้างมา (ลิขิต) มนุษย์ต้องเชื่อตามบัญญัตขิ องพระเจา้ ปฏบิ ัตติ นไปตามทีท่ รงพระกรณุ า (ให้มาเกดิ และมีชวี ิตอย่)ู มนุษยท์ ้ังหลายมีบาปติดมาแต่กําเนิด อันเนื่องมาจากบาปที่มนุษย์หญิงชายคู่แรกประกอบไว้ด้วยกันท้ังหมด (Origin of Sin) และโดยฐานะแห่งผู้มีบาปติดตวั มาดงั น้ี จึงควรปฏิบัติตนให้ถูกพระทัยของพระเจ้า ด้วยการปฏิบัติตามจริยธรรมในสงั คม อาทิ มีความรกั มคี วามกลวั รกั เพอื่ นบ้าน รักศตั รู ฯลฯ (หมายเหตุ : เร่ืองบาปติดตัวมาแต่กําเนิด เซ็นต์ปอล (St. Paul) สาวกคนสําคัญคนหนึ่งของพระเยซู อธิบายว่า มนุษยม์ คี วามอ่อนแอติดตวั มาต้งั แต่กาํ เนิด ความอ่อนแอน้ี ได้แก่ความไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้โดยลําพัง ด้วยเหตุน้ี (ในศาสนาคริสต์) จึงมีรับพิธีศีลจุ่ม (Baptism) เสียก่อน อธิบายว่า ศีลจุ่มเป็นพิธีล้างบาปให้หมดจากตัวมนุษย์ คือล้างความอ่อนแอ ความเศร้าหมอง และความไม่สามารถให้หมดไปอน่ึง การที่มนุษย์รับศีลจุ่มโดยวิธีจุ่มศีรษะลงไปในนํ้านั้น หมายถึงการยอมรับว่าตนเป็นผู้โง่ เป็นผู้อ่อนแอ ต้องล้างทําลายความโง่ ความอ่อนแอ และความช่ัวร้ายอ่ืนให้สูญสลายไป การยกศีรษะขึ้นมาจากพื้นนา้ํ เทา่ กบั เป็นการชําระความมวั หมองท้ังปวงหรือเทา่ กบั เปน็ การเกิดใหม่ ต่อแต่น้ัน ถือว่าสภาพของจติ ใจท่ีเคยอ่อนแอ เศรา้ หมอง ขุน่ มวั ดว้ ยอาํ นาจผปี ่าซาตานท้งั หลาย ไดป้ ลาสนาการไปแล้ว) บาปอันติดตัวมาก็ดี บาปอันกระทําขึ้นภายหลังก็ดี มีพิธีกรรมที่จะล้างเสียได้ด้วยพระกรุณาของพระเจ้าด้วยความกรุณาของพระเจ้า ซ่ึงมีอยู่ต่อมวลมนุษย์ชีวิตน้ีมีหนเดียว ดวงวิญญาณท่ีมีบาป จะต้องพนิ าศไป ดวงวญิ ญาณที่ปราศจากบาปจะไปสู่สวรรค์ อยู่กับพระเจ้าเป็นนิรันดร ผู้ปฏิบัติดังกล่าว จะบรรลุถงึ ซึง่ ความสุขสุดยอดในชวี ติ คอื ได้ไปอยใู่ นอาณาจกั รของพระเจ้า ฯลฯ ฐานะของมนุษย์ในศาสนากล่มุ น้ี มีหน้าทป่ี ฏิบัติตอ่ พระเจ้าในฐานะเป็นบตุ รของพระเจ้า และสร้างเสรมิ ให้มีฐานะเปน็ มนุษย์ในอดุ มคติ (ตามบัญญตั ิของพระเจ้า) อยู่ในสงั คมแหง่ โลก มนษุ ย์กลมุ่ อเทวนิยม มศี รทั ธาวา่ ฐานะแหง่ ความเป็นมนุษย์ (Human Status ) ข้ึนตรงต่อกรรมคือ การกระทําของตนเอง การกระทาํ ในอดตี (ชาตกิ ่อนหรอื วนั กอ่ น) จักมีกําลังให้ผลในปัจจบุ ันและอนาคตโดยลําดับเป็นเหตุเป็นผลของการกระทําอันเนื่องกันไป (กัมมัสสกตาสัทธา และ วิปากสัทธา) กรรมเป็นเครื่องสร้างโลก สร้างสรรพสิ่งและสรรพสัตว์ กรรมเป็นเครื่องแบ่งฐานะ ประเภท ลักษณะของมนุษย์และสัตว์ใหม้ คี วามแตกตา่ งกนั ฐานะของเรา เป็นทาสของกรรมที่เรากระทําไว้เอง เราหลีกจากความเป็นทาสกรรมไมไ่ ด้ (กรรมลิขติ ) เราเปน็ ตวั ของเราเองสร้างตัวเองด้วยการกระทําของเราเอง เราทํากรรมใดมา จะได้รับผลของกรรมนั้น เราเป็นที่พ่ึงของเรา หาใช่คนอื่นไม่ ชีวิตเป็นมาและเป็นไปตามอํานาจของกรรมหลายคร้ังหลายครา เม่ือส้ินชีวิตแล้วกรรมจะส่งผลให้เกิดใหม่ เกิดและตายเป็นเส้นโซ่ผูกพันเวียนวา่ ยไปจนกวา่ จะบรรลถุ งึ ความสูญสนิ้ แห่งกิเลส (นพิ พานหรือโมกษะ) ฐานะของมนุษย์ในกลุ่มน้ี มีหน้าที่ปฏิบัติเพื่อตน มีฐานะเป็นทาสแห่งการกระทําของตน และสร้างฐานะของตนให้เป็นมนษุ ย์ในอุดมคติ (ตามบัญญตั แิ ห่งกรรม) ออกไปจากสังคมและออกไปจากโลกขอ้ เปรยี บเทยี บ วิธปี ระกาศศาสนา วิธีประกาศศาสนา คือวิธีทํางานของศาสดา สําแดงให้เห็นกุศโลบายของศาสดาแต่ละคน ท่ีปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภูมิศาสตร์และสังคมน้ัน ๆ เป็นข้อให้ระลึกว่า จักอยู่ในสังคมใดควรปฏิบัติตนอย่างไร เข้าลักษณะ รู้จักเทศ เหตุการณ์ และบุคคล จักแสดงเฉพาะงานของศาสดาผู้ก่อต้ังศาสนาใหญ่ อาทิ ศาสนายิว คริสต์ อิสลาม และพทุ ธศาสนา เพื่อมุ่งประโยชน์แก่สังคม อันสังกัดศาสนาใหญ่ทมี่ ีผนู้ บั ถือมากอยใู่ นปัจจุบัน ก. วิธีประกาศศาสนา ของโมเสส โมเสส มองเห็นความแตกแยกใหญ่ และความมที กุ ข์ใหญ่ของชาวยิวท้ังปวง สังคมของชาวยิวถูกทาํ ลายมาเปน็ เวลาชา้ นานจงึ ตัดสินใจประกาศบัญญัติ ๑๐ ประการ อ้างเอานามของพระยะโฮวามาเป็นใหญ่
๔ ความพยายามและการตัดสินใจของโมเสส สามารถผูกชาวยิวไว้เป็นกลุ่มก้อนได้ แม้ต้องกระจัดกระจายไปอย่แู ห่งหนตําบลใด โดยอาศยั บัญญตั ิ ๑๐ ประการ นัน้ โมเสสประกาศ (บังคับ) ไว้เป็นสําคัญดงั นี้ บัญญัติ ๑๐ ประการ เป็นเคร่ืองผูกพันกลุ่มคน พระเจ้าบัญญัติไว้เพื่อชาวยิวท้ังหลาย บัญญัติน้นั เปน็ เครอื่ งผูกพนั ชาติ และวงศต์ ระกูล โมเสสประกาศใหก้ ลมุ่ ชาวยิว แตง่ งานกนั เองในหม่ขู องตนเอง ไมย่ อมให้คนอ่ืนเขา้ ปะปน ประกาศให้มีค่ายบริสุทธิ์ (Holy Tent ) ไว้เป็นท่ีประกอบพิธีทางศาสนา โมเสสเองเป็นผู้ทําพิธีค่ายบริสุทธน์ิ ี้ ตอ่ มากลายเปน็ วิหาร หรือปชู นยี สถานกลางของชาวยิวในภายหลัง ประกาศให้มหี บี แห่งพระบญั ญตั ิ (Ark of Covenant ) ภายในหีบมีหินศักด์ิสิทธ์ิ จารึกบัญญัติไว้๒ แผ่น ใหถ้ อื เทา่ กับพระเจ้าได้ตดิ ตาม (ลูกอิสราเอล) ไปดว้ ยทกุ แห่งหน เพือ่ ความสามคั คขี องชาตวิ งศ์ ข. วธิ ปี ระกาศศาสนา ของพระเยซูเบ้ืองตน้ พระเยซปู ระกาศเทศนาบนภเู ขา (Sermon on the mount ) มคี วามสําคัญแสดงวิธีการประกาศศาสนา อยู่ประโยคหน่ึงว่า “อย่าคิดว่า เรามาทําลายพระบัญญัติและคําสอนของศาสดาพยากรณ์ เรามไิ ดม้ าทําลาย แต่มาเพ่อื จะ (แก้ไข) ทําใหส้ ําเรจ็ (ประโยชน)์ ” ต่อแต่ประกาศเทศนาน้ันแล้ว พระเยซูนําบัญญัติในบัญญัติ ๑๐ ประการ ของโมเสสลางข้อมาแก้ไข เพ่ือประโยชน์ใหญ่แก่สังคม กว้างขวางออกไป อาทิบัญญัติข้อ ๖ (ห้ามมิให้ฆ่าคน) พระเยซูขยายออกไปถงึ การฆา่ สตั ว์ การประทุษรา้ ยทางวาจา และทางใจ เปน็ การประหารดว้ ย บัญญัตขิ อ้ ๗ (ไม่ให้ล่วงประเวณี) พระเยซขู ยายออกไปถงึ ทางใจไม่ใหล้ ะเมดิ แม้แตค่ ิดลว่ งประเวณี (ดูเร่ืองในศาสนายิว) บัญญัติ ข้อ ๑๐ (เก่ียวกับความโลภ ) พระเยซูขยายกว้างออกไป คือ ไม่ให้ตระหนี่ ใครขอเสื้อ ๑ ตัวควรให้อีก ๑ ตัว ให้ต่อสู้ความช่ัวด้วยความดี ถ้าผู้ใดตบแก้มซ้ายให้ย้ายแก้มขวาให้ตบอีกครัง้ หนึง่ ดังนี้เปน็ ต้น อาจเพราะเหตุแห่งการรู้ตัวว่ามีกําลังน้อย นักพรตยิวพวกหน่ึงมีกําลังมาก และยิวกําลังตกอยู่ในอํานาจของโรมัน พระเยซจู ึงประกาศศาสนาเรมิ่ จากคนยากจน เด็กผูอ้ ่อนแอ และผูไ้ มม่ ีทพี่ ง่ึ กอ่ น เมื่อส่งสาวกไปประกาศศาสนา พระเยซูเรียกศิษย์มาส่ังสอนให้ช่วยรักษาคนเจ็บให้หาย ช่วยคนตายใหเ้ ปน็ ช่วยขบั ผปี ีศาจออกจากคนทีถ่ ูกผีสิง ที่ใดควรไป ไม่ควรไป บ้านใดควรอาศัย ไม่ควรอาศัย ถ้าท่ีใดไม่ต้อนรบั ไม่ยอมฟงั คําสอน ให้รบี ออกไป สะบัดผงคลขี องบา้ นนั้นอยา่ ให้ตดิ แมแ้ ต่ท่ีเท้า สอนศิษย์ว่า ไปถึงท่ีใดให้พูดแก่มหาชนว่า “แผ่นดินสวรรค์เข้ามาใกล้ท่านแล้ว” และสั่งเสียไว้เป็นสําคัญว่า “เราใช้พวกท่านไป ดุจแกะอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่า เพราะฉะน้ันจงเป็นคนฉลาดเหมือนงูและเป็นคนสุภาพเหมอื นนกพิราบ” พระเยซู ตั้งเมตตา หรือความรักเป็นฐานแห่งการประกาศศาสนา เพื่อต้านทานกับความทารุณของโรมนั การประกาศศาสนาจงึ เป็นไปในลักษณะอนโุ ลมตาม ทํานองเอาใจต่อผู้อ่อนแอ และผู้ไม่มีท่ีพึ่งทั้งปวง คนส่วนหนึ่งพากันนิยามชีวิตการสอนศาสนาของพระเยซูว่า “ไม่สู้” และต้องถูกจับประหารเพราะความอ่อนแอนน้ั ค. วธิ ีประกาศศาสนาของพระมหะหมดั พระมหะหมัดรตู้ ัววา่ เปน็ คนไม่รหู้ นังสือ ร้คู วามจริงว่าเผ่าคนท้ังหลายในแหลมอาหรับ ต้ังตัวเป็นศตั รูของตน ทกุ เผา่ ไมย่ อมรับคาํ สอนของตน และศกึ ษาวธิ ปี ระกาศศาสนาของพระเยซูมาด้วยดีว่า ศาสดาผู้นั้น ต้องสูญเสียชีวิตเพราะความอ่อนแอ อาศัยเป็นคนบึกบึน มีความปรารถนาใหญ่ และม่ันใจในเทพโองการ จึงเปล่ียนวิธีการสอนศาสนา ตรงข้ามจากที่พระเยซูเคยกระทํามา แสดงตัวเป็นคนเข้มแข็ง ไม่กลัวตาย ใครขัดขืน ใช้กําลังเข้าปราบ ใช้อาวุธเป็นเคร่ืองมือประกาศศาสนาบ่อยครั้ง เกือบเอาชีวิตไม่
๕รอด ชนะทใี่ ดประกาศศาสนาและการปกครองลงในที่น้ัน พระมหะหมัดรักษาชีวิตตลอดมาได้เพราะต่อสู้ ได้เป็นศาสดาใหญ่ และเป็นผบู้ รหิ ารประเทศผูย้ ่ิงใหญ่ในคราวเดียวกันการสงคราม กบั การเผยแผศ่ าสนาอสิ ลาม เปน็ ของคูก่ นั ไปในประวตั ิศาสตรข์ องศาสนานี้ง. วิธีประกาศศาสนาของพระพทุ ธเจ้าพระพุทธเจ้า ผู้ประกาศพทุ ธศาสนา เสด็จออกสบู่ รรพชาเพศ เพราะทรงเบื่อหน่ายในสงั คมอันเกลือ่ นกลน่ ดว้ ยวรรณะ (ชั้น) ของหม่ชู นอนั แตกแยกออกเป็นพวกเปน็ เหลา่ ดูหมิน่ เหยยี ดหยามกัน ฯลฯพระโคดม ทรงมุ่งยังสังคมอันแตกแยกสูงตํ่ากว่ากันให้เสมอเหมือนกัน ชาติและโคตรมิได้เป็นเคร่ืองแบ่งแยกมนุษย์ บุคคลพึงเสมอกันโดยธรรม ประกาศความเสมอเหมือนกันในหมู่สงฆ์สาวก เร่ิมแต่การครองผ้า ความเปน็ อยูด่ ว้ ยอาหารบณิ ฑบาต และหลักการปกครองอันถอื ธรรมเป็นใหญ่ (ธรรมาธิปไตย)กวา่ บุคคลทรงประกาศความไมม่ ีทาสทางสว่ นตัว และที่เก่ียวข้องกับบุคคลอ่ืนเป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเลิกดูหมิ่นเหยียดหยามกันระหว่างวรรณะปฏิรูปเรื่องการทําบุญที่เคยฆ่าสัตว์บูชายัญ ทรงเปลี่ยนเป็นให้สงเคราะห์กนั แทนการเบียดเบยี นกนั ฯลฯวิธีการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า มุ่งตรงไปยังกลุ่มของนักบวช คณาจารย์ อันเป็นแหล่งคารวะบูชาของคนในสมยั น้ัน จากน้อยไปหามาก ได้คณาจารยเ์ สียคนหนึง่ แล้ว จะมีปัญหาอะไรท่ศี ิษย์ ไม่ทรงเกี่ยวขอ้ งกับผมู้ ีทิฏฐิมานะกลา้ เชน่ กลุม่ กษตั รยิ ์ และนกั การเมืองในข้ันต้นเม่ือทรงได้ผลจากขั้นหนึ่งแล้ว ทรงประกาศเข้าไปในกลุ่มกษัตริย์และนักปกครองผู้เป็นหัวหน้าเมอ่ื ไดก้ ษัตรยิ ์ ไดห้ ัวหนา้ คนเสียแลว้ จะมีปัญหาอะไรกบั ผู้คนในบ้านเมืองพระพุทธเจ้า ทรงรับรู้เรื่องปาฏิหาริย์ อันจําแนกออกเป็น ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ การแสดงฤทธ์ิได้เป็นอัศจรรย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ การกําหนดทายใจผู้อื่นได้เป็นอัศจรรย์ และอนุศาสนียปาฏิหาริย์ การสง่ั สอนไดเ้ ปน็ อศั จรรย์ แตท่ รงยกย่องอนุศาสนียปาฏิหารยิ อ์ ย่างเดียวว่าเปน็ เลิศ เปน็ ประโยชนใ์ หญ่การประกาศคาํ สอนของพระองค์ เป็นไปในลกั ษณะอนุศาสนยี ปาฏิหารยิ ์ คือ ทรงประกาศก. ใหร้ ู้แจ้งเห็นจริงในธรรมท่ีควรรูค้ วรเห็นข. มีเหตผุ ล (อนั พสิ ูจน์ได)้ ท่ีผฟู้ ังเห็นไดต้ ามความจริงค. มผี ลเปน็ อศั จรรย์ คือปฏิบัตติ าม จะได้รบั ผลสมการปฏิบัติพระพุทธเจ้า ใช้วธิ ีประกาศศาสนา โดยไม่ยอมขัดใจใคร ไมบ่ งั คับใคร ปล่อยใหท้ กุ คนมี เสรีภาพในความคดิ ใครจะเชือ่ หรือไมเ่ ชือ่ อยา่ งไร สุดแต่สติปญั ญาพจิ ารณาเหน็ ดว้ ยตนเองวธิ ปี ฏิบัติในเรือ่ งทค่ี วรสงสัย หรอื หลกั ความเชือ่ มีหลักพุทธศาสนาวา่มา อนุสสะเวนะ อย่าปลงใจเชื่อดว้ ยฟังตามกนั มามา ปะรมั ปะรายะ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถอื สบื ๆ กนั มามา อติกิรายะ อย่าปลงใจเช่อื ดว้ ยการเล่าลอืมา ปฏิ กสัมปทาเนนะ อยา่ ปลงใจเช่อื ดว้ ยการอา้ งตาํ รา หรือคัมภรี ์มา ตกั กเหตุ อย่าปลงใจเชอ่ื เพราะตรรกมา นยเหตุ อยา่ ปลงใจเชอ่ื เพราะการอนุมานมา อาการปรวิ ิตกั เกนะ อยา่ ปลงใจเช่อื ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตผุ ลมา ทิฏฐินิชฌานกั ขันติยา อยา่ ปลงใจเชื่อเพราะเขา้ ไดก้ บั ทฤษฎีทีพ่ ินิจไว้แล้วมา ภพั พรปู ตายะ อยา่ ปลงใจเช่ือเพราะมองเห็นรูปลกั ษณะว่าจะเป็นไปได้มา สมโณ โน ครตู ิ อยา่ ปลงใจเชื่อเพราะนับถอื วา่ ท่านสมณะนเ้ี ปน็ ครูของเรา
๖ สูตรน้ีช่ือเกสปุตติยสูตร เพราะแสดงท่ีเกสปุตตนิคม ที่ช่ือกาลามสูตรเพราะแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ ศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ ประกอบด้วยประโยชน์ ๓ ประการ อันผู้ปฏิบัติตามเลือกเอาได้อยา่ งใดอยา่ งหน่ึง คือ ก. ประโยชน์ปจั จบุ ัน ในขณะยงั มีชีวิตอยู่ (มนุษยส์ มบตั ิ) ข. ประโยชน์ข้างหนา้ เมอ่ื ชวี ติ ละจากโลกนไ้ี ปแลว้ (สวรรคส์ มบัต)ิ ค. ประโยชนส์ ูงสุด คือความหลุดพ้นจากโลกอนั มวั เมา(นพิ พานสมบตั ิ)ขอ้ เปรียบเทยี บหลักความดีสงู สดุ (SUMMUM BONUM) ศาสดาผู้ประกาศศาสนาทั้งหลาย มีฐานะเหมือนนายเรือมุ่งหมายพาผู้โดยสารให้ถึงฝั่งด้วยกันส้ินจะผิดเวลาช้าเร็ว อ้อมค้อม ไม่สะดวกสบายไปบ้างในระหว่างเดินทาง ย่อมแล้วแต่กรรมวิธีของนายเรือ อันเกิดจากเหตุผลต่างกัน ศาสดาผู้ประกาศคําสอน ย่อมมีกรรมวิธีสั่งสอนปวงชนให้ปฏิบัติตามคําสอนน้ัน เพื่อให้เข้าถึงซึ่งฝั่งอันปรารถนาเป็นชั้นต่ํา ชั้นกลาง และชั้นสูงสุดตามควรแก่อุปนิสัยสามารถของผปู้ ฏบิ ัติ หลกั ปฏบิ ตั เิ พ่อื ความดีสูงสุดของศาสนาท้งั หลายนัน้ ศาสดาแต่ละศาสดาวางไวด้ งั น้ีหลกั ปฏิบัตเิ พื่อความดีสูงสดุ ในศาสนายิว โมเสส ผู้ซ่ึงโลกยอมรับว่า เป็นศาสดาของศาสนายิว (ประกาศบัญญัติของพระเจ้า๑๐ประการ) เป็นหลักปฏิบตั ิตอ่ พระเจา้ และต่อสังคมเพ่ือความดสี งู สุด คอื ๑. อยา่ มีพระเจ้าอ่ืนตอ่ หน้าเราเลย ๒. อยา่ ทํารูปเคารพพระเจา้ ใด ๆ ฯลฯ ๓. อยา่ ออกนามพระยะโฮวา โดยเปลา่ ประโยชน์ ๔. อยา่ ทาํ งานในวนั สปาโต (วนั เสาร์ อนั เปน็ วนั พระเจา้ หยุดสรา้ งโลก) ๕. นบั ถอื บิดามารดา ๖. อยา่ ฆา่ คน ๗. อย่าลว่ งประเวณีผวั เมยี ๘. อย่าลักทรพั ย์ของผู้อนื่ ๙. อย่าเป็นพยานเทจ็ ตอ่ เพ่ือนบา้ น ๑๐. อย่าโลภในสิ่งของ ในภรรยา ในขา้ ทาสชายหญิงของเพอ่ื นบ้าน บัญญัติสําคัญสูงสุดในศาสนานี้ ได้แก่บัญญัติเก่ียวกับความรัก อันเป็นเครื่องเช่ือมระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าให้เขา้ กันได้หลักปฏบิ ัติเพอ่ื ความดสี ูงสุดในศาสนาครสิ ต์ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ ทรงเป็นผู้ฉลาดดัดแปลงคําสอนส่วนแคบของยิวแต่เดิมมาให้กวา้ งขวางและมีคติสูงส่งขนึ้ คําสั่งสอนท่ีสําคัญย่ิงยวดของพระเยซูคือ ความรัก พระเยซูทรงสั่งสอนให้มนุษย์รักพระเจ้า รักเพ่ือนบ้านเหมือนกับรักตนเอง รักแม้กระท่ังศัตรูของตน ศาสนารักของพระเยซูเป็นศาสนาสากลประกอบดว้ ยมโนธรรมสูงสดุ ยากทจี่ ะหาคาํ สอนของศาสนาใดในสายเดียวกันมาเทยี บเคียงได้ ข้อปฏิบัติเพ่ือความดีสูงสุด ในศาสนาคริสต์ท่ีพระเยซูเป็นผู้ประกาศ คือการปฏิบัติให้มีความรักพระเจ้า รกั เพือ่ นบา้ นของตนเอง และรักศตั รูของตนเอง เซ็นต์ ปอล. (ST Paul) คริสตสาวกคนสําคัญคนหน่ึง อรรถาธิบายความรักท่ีพระเยซูทรงสั่งสอนไว้ว่า ความรักอันนี้เป็นความรักท่ีไม่มีการเห็นแก่ตัว (Unselfish Love) คลุกเคล้าอยู่ด้วยแม้แต่เพียงเล็กน้อยความรักน้ันได้แก่ความรักศัตรูเป็นความรักท่ีประกอบด้วยเมตตาให้อภัยและไม่หวังผลตอบแทน
๗ความรักอันนี้เป็นความรักท่ีพระเจ้ามีต่อมวลมนุษย์ท่ีทรงสร้าง ด้วยความรักอันนี้ ที่พระเจ้าทรงสร้างพระบุตร (คือ พระเยซู) ลงมาช่วยให้มนุษย์ปฏิบัติเพ่ือความดีสูงสุด เป็นการเปิดทางรอด (Salvation)ใหแ้ ก่มนษุ ย์ท้ังหลาย และลักษณะแห่งความรักอันนี้เอง ท่ีเรียกว่า Divine Love (Agape) เป็นความรักสามารถรวมมนุษยก์ ับพระเจ้าใหเ้ ข้ากันได้หลักปฏบิ ตั ิเพอ่ื ความดีสงู สุดในศาสนาอิสลาม ผู้นับถือศาสนาอิสลามทุกคนมีศรัทธารากฐานแห่งจิตใจเป็นเบ้ืองต้นว่า “ไม่มีพระเจ้าองค์ใดในโลก นอกจากพระอลั เลาะห์เจ้า (อ้าหล่า) ท่านนะบีมหะหมัดผู้เดียว เป็นผู้รับบัญชามาจากพระอัลเลาะห์พระองคน์ ้นั ” เบ้ืองหน้าแต่น้ัน มุสลิมมีหลักปฏิบัติเพ่ือความดีสูงสุดแห่งชีวิตของตนด้วยการมีศรัทธา (และการปฏบิ ตั ิ) ๕ ประการ หลักศรัทธา ๕ ประการ คอื ๑. ศรัทธาในพระอัลเลาะห์เจ้าว่าไม่มีพระเจ้าองค์ใดนอกจากพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงสร้างสรรพสิ่ง ยิ่งด้วยพระเดช ยิ่งด้วยเมตตา ฯลฯ และเพื่อยังศรัทธาให้สมบูรณ์ ต้องมีศรัทธาอื่นเป็นสว่ นประกอบดว้ ย คอื ก. ศรัทธาในอํานาจหน้าทีข่ องเทพบริวาร ข. ศรัทธาในคมั ภรี ์กรุ ะอา่ น ค. ศรทั ธาในผู้แทนพระอัลเลาะหเ์ จา้ (นะบ)ี ง. ศรัทธาว่า มนษุ ย์ต้องกลบั มาเกดิ เมอ่ื สิ้นโลกด้วยการสรา้ งของพระอัลเลาะห์เจ้าน้นั ๒. ศรัทธา (และต้อง) สวดมนต์ทุกวนั ๆ ละ ๕ ครง้ั ๓. ศรทั ธา (และต้อง) ถือศีลอดในเดอื นรามาดอน (เดือน ๙ ของอสิ ลาม) ๑ เดอื นเตม็ ๔. ศรทั ธา (และตอ้ ง) ใหท้ านซ่ึงแบง่ เป็น ๒ ชนิด คอื ซากัตและซาดากัต ๕. ศรทั ธา (และตอ้ ง) ธดุ งค์ไปบชู า (บวช) ที่เมกกะครงั้ หนึ่งในชีวิตในที่สุด ข้อปฏิบัติสงู สดุ ใน ศาสนาน้ี คือ ความรัก อันเป็นเคร่ืองผูกพันระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าให้เข้ากันได้ (ทํานองศาสนาของเผา่ เซมติ ิคกลมุ่ อน่ื )หลกั ปฏบิ ัตเิ พือ่ ความสูงสดุ ในศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ผู้หวงั ความดสี ูงสดุ แหง่ ชีวิตจะตอ้ งบําเพญ็ ตนตามหลักของอาศรมท้ัง ๔ คือ พรหมจารี คฤหสั ถ์วนปรสั ถ และสนั ยาสี โดยลําดับ หลักการปฏิบัติเพ่อื บรรลุความดสี ูงสุดของชาวอารยันกลุม่ น้คี อื การนาํ อาตมันของตนให้เข้าถึงซ่ึงปรมาตมันอันเป็นมูลเดิมคือ ตัวปฐมวิญญาณ เข้าถึงได้เมื่อใด เรียกว่าโมกษะ (หลุดพ้น) เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัตจิ ักต้องดาํ เนนิ ตามหลกั อาศรมท้งั ๔ เร่มิ จากข้ัน ๑ ถงึ ขั้น ๔ ขัน้ ๔ เปน็ ขน้ั สูงสุด ปฏบิ ตั ติ นเป็นสันยาสี ผแู้ สวงธรรม สนั ยาสี สละโลกยี ์ทั้งสิน้ ออกบาํ เพญ็ พรตในราวไพร ตรงนี้พราหมณไ์ พรต้องปฏิบัตติ ามหลักของโยคี เรียกว่าโยคะ มี ๔ ประการ คอื กรรมมรรค (กรรมโยคะ) ปฏิบัติตามหน้าทโี่ ดยไมห่ วงั สิง่ ตอบแทน ภักติมรรค (ภกั ติโยคะ) ปฏบิ ัติด้วยการอทุ ิศตน ภกั ดีต่อพระเจ้าโดยส่วนเดยี ว ชยานมรรค (ชยานโยคะ) ปฏิบัติด้วยรวมกําลังความรู้ได้เป็นหนึ่งเห็นแจ้งแทงตลอดธรรมแต่ละอยา่ ง ราชมรรค (ราชโยคะ) ปฏบิ ตั ิดว้ ยการฝกึ ทางใจ บังคับใจให้อย่ใู นอาํ นาจด้วยการบาํ เพญ็ ตบะโยคะผู้ปฏิบัติได้ละจากโลกนี้ไปแล้ว ดวงวิญญาณอันเป็นอมตะ (อาตมัน) จะถึงซึ่งโมกษะ คือการเข้าไป
๘รวมอยกู่ ับปรมาตมัน การบาํ เพญ็ ตามมรรคท้ัง ๔ พราหมณเ์ ชือ่ วา่ อาตมันจะเข้าถงึ ปรมาตมนั เปน็ โมกษะได้หลักปฏิบัติเพื่อความดสี ูงสุดในพทุ ธศาสนา พระพุทธเจา้ ทรงประกาศคําสอนเพือ่ ความดีสูงสุดของผปู้ ฏบิ ัติแต่ละขัน้ ดังนี้ ความสุขข้ันต้น (ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์) ให้ปฏิบัติด้วยการมีความเพียรแสวงหา ด้วยการบํารุงรักษาส่ิงท่ีแสวงหามาได้ ด้วยการคบเพ่ือนท่ีดี และด้วยการรู้จักเลี้ยงชีวิตโดยควรแก่กําลังทรัพย์ท่ีหามาได้ ความสุขขั้นกลาง (สัมปรายิกัตถประโยชน์) ให้ปฏิบัติเพื่อความดีในโลกหน้า ด้วยการมีศรัทธาตามเหตุและผล ด้วยการให้มีศีล ดว้ ยการให้มีการเสียสละ และด้วยการมปี ัญญา ร้จู ักคตขิ องธรรมดา ความสุขขั้นสูงสุด (ปรมัตถประโยชน์) การปฏิบัติขั้นน้ีได้แก่ปฏิบัติเพ่ือความหลุดพ้นจาทุกข์(บรรลุนิพพาน) ให้ปฏิบัติตามไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) คือการศึกษาช้ันสูง ๓ อย่าง ได้แก่มีศีลบําเพญ็ สมาธิ ใหเ้ กดิ ปัญญา (พจิ ารณาและปฏิบตั ติ ามอริยมรรค ๘ ประการ) ศลี สมาธิ ปัญญา อนั บคุ คลอบรมได้สมบรู ณ์ จักสมั พนั ธ์กนั ประดจุ เชอื ก ๓ เกลยี ว เอามือจับเข้าที่เกลียวใด ย่อมกระทบไปท้ัง ๓ เกลียว จักอํานวยผล คือ การดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ เป็นขั้นสุดทา้ ย
๙ พุทธปรชั ญา (Buddhist philosophy)“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””สาระการเรียนรู้ ๑. ความหมายของพทุ ธปรัชญา ๒. พทุ ธปรชั ญาเกยี่ วกบั เรื่องโลกและชีวติ ๓. พุทธปรัชญาเกีย่ วกับทฤษฎคี วามรู้ ๔. พุทธปรชั ญาเก่ียวกบั จริยศาสตร์ ๕. กฎแห่งกรรมวตั ถุประสงค์ เมือ่ ศกึ ษาบทเรียนนจ้ี บแลว้ ผ้เู ข้ารบั การศึกษาสามารถ ๑. อธบิ ายความหมายของพทุ ธปรัชญาได้ ๒. อธิบายพทุ ธปรชั ญาเกีย่ วกับเรอ่ื งโลกและชวี ิตได้ ๓. อธบิ ายพทุ ธปรชั ญาเก่ยี วกับทฤษฎคี วามรูไ้ ด้ ๔. อธบิ ายพุทธปรชั ญาเกีย่ วกับจรยิ ศาสตรไ์ ด้ ๕. อธบิ ายกฎแหง่ กรรมได้กิจกรรมระหว่างเรยี น ๑. บรรยาย ๒. สอบถาม ๓. ใบงานส่อื การสอน ๑. เพาเวอรพ์ อยท์ ๒. เอกสารตาํ รา ๓. คลิปวีดิโอทเี่ กีย่ วข้องประเมนิ ผล ๑. ใหต้ อบคําถาม ๒. แบบทดสอบหลังเรียน
๑๐ พุทธปรชั ญา (Buddhist philosophy)ความหมายของปรัชญา พุทธปรชั ญาเก่ียวกับโลกและชีวติ คําว่า “ปรัชญา” แปลจากคําในภาษาอังกฤษว่า “Philosophy” คําเดิมมาจากภาษากรีกว่าPhilein เป็นกิริยา แปลว่า รัก (Love) เป็นนามว่า Philos แปลว่า ผู้มีความรัก (Lover) ผสมกับคําว่าSophia แปลว่า ปัญญา (Wisdom) รวมกันแล้วได้ความหมายว่า ผู้รักความรู้ ( A Lover of Wisdom )หรือผู้รักรู้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายว่า วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้ และความจริง ตามความหมายท่ัว ๆ ไป คําว่า ปรัชญา เป็นเพียงระบบความคิดหรือทรรศนะอันหน่ึงซึ่งไม่มีจุดจบ เปน็ ผลทีเ่ กิดจากความเชอ่ื ถือซึ่งไม่มหี ลกั ปฏบิ ตั ิเปน็ จริยธรรมเพือ่ ความหลุดพ้น แต่พระพุทธศาสนา แม้วา่ พระพุทธเจา้ ทรงแสดงธรรมในฐานะเปน็ คําสอนทางศาสนาก็จริง แต่ก็มีแนวความคิดทางปรัชญาแทรกอยู่ เพียงแต่ว่าโลกทัศน์ของพระพุทธศาสนาต่างจากโลกทัศน์ของปรัชญาสํานกั อื่น ๆ นนั่ คอื ปรชั ญาโดยท่วั ไปเร่ิมต้นด้วย ความสงสัยประหลาดใจ (วิจิกิจฉา) และจบลงด้วยการคิดเหตุผลต่อปัญหาความสงสัยน้ัน (จินตามยปัญญา) ส่วนพุทธปรัชญาเร่ิมต้นด้วยปัญหาความสงสัยหรืออาจเริ่มต้นด้วยความเชื่อ (ศรัทธา) แต่มิได้จบลงแค่ความคิดเหตุผลแต่จบลงด้วยปัญญา คือ ความรู้ที่เกิดจากผลแหง่ ภาคปฏบิ ัติ (ภาวนมยปัญญา) อภปิ รชั ญาแนวพทุ ธ ปัญหาเรื่องจุดกําเนิดและจุดส้ินสุดของโลกน้ันเป็นปัญหาส่วนหน่ึงของอภิปรัชญา และปัญหาส่วนน้ีศาสนาพุทธไม่ค่อยสนใจ แต่อภิปรัชญายังถกเถียงปัญหาอ่ืน เช่นสภาพท่ีแท้จริงอันเป็นแก่นแท้ของมนษุ ย์ และของโลกภายนอก เป็นต้น ปญั หาลกั ษณะนี้พระพุทธองค์ทรงอธิบายเพราะเก่ียวข้องอย่างใกล้ชดิ กับปญั หาเรอ่ื งความทุกข์ มนุษย์ไม่อาจแยกตัวเองออกจากโลกภายนอกได้ ความสุขความทุกข์ของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างไรกับโลกภายนอกและมีความสัมพันธ์อย่างไรกับตัวมนษุ ยเ์ อง และการจะเข้าใจความสัมพนั ธ์นีม้ นษุ ยจ์ ะตอ้ งเขา้ ใจสภาพความจริงของตัวเองและของโลกดังน้นั ศาสนาพุทธจึงไดใ้ หอ้ รรถาธิบายเกยี่ วกับเร่อื งน้ีไว้ ๓ ประเด็นคือ ๑. โลกแหง่ สามญั วสิ ยั ๒. โลกพน้ สามัญวสิ ัย ๓. และธรรมชาตขิ องมนุษย์โลกแห่งสามัญวิสัย โลกแห่งสามัญวิสัยในท่ีนี้หมายถึง โลกแห่งวัตถุที่ประสาทสัมผัสท้ังห้ารับรู้ได้เกี่ยวกับโลกแห่งวัตถุน้ีศาสนาพุทธยอมรับว่ามีอยู่จริงโดยตัวเอง สรรพสิ่งท้ังปวงที่เป็นวัตถุรวมทั้งร่างกายของมนุษย์ แยกออกเปน็ ปฐมธาตไุ ด้ ๔ อย่าง ดิน (ปฐวี), นาํ้ (อาโป), ลม (วาโย), ไฟ (เตโช) สิง่ มลู ฐานทงั้ ๔ น้ี รวมตัวกันบ้างแยกตัวกันบ้าง ทําให้มีการเกิด การเปลี่ยนแปลง และการดับซึ่งสรรพส่ิงท้ังหลาย รวมท้ังปรากฏการณท์ างวตั ถุตา่ ง ๆความทกุ ข์ความสุขของมนุษย์ไม่ข้ึนอยู่กับว่าส่ิงต่าง ๆ ในโลกประกอบไปด้วยอะไร แต่ข้ึนอยู่กับว่ามนุษย์ให้ความหมายอย่างไรกับมัน การเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของชีวิตอยู่ท่ีการเข้าใจธาตุแท้ภายในของตัวมนุษย์เองมากกว่าเข้าใจธาตุแท้ของวัตถุในโลกภายนอก ความสุขสงบท่ีแท้จริงของมนุษย์มิได้อยู่ท่ีความสามารถในการควบคมุ โลกภายนอก แต่อยทู่ ค่ี วามสามารถในการควบคุมจติ ใจของตนเอง ตามทัศนะของพุทธปรัชญาส่ิงต่าง ๆ ในโลกมีอยู่จริงได้โดยที่ไม่อาศัยจิตมนุษย์ กล่าวคือ
๑๑ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์และสัตว์อื่นมิได้สร้างสิ่งท้ังหลายข้ึน และแม้ส่ิงท่ีมีความรู้สึกนึกคิดจะไม่มารับรู้มัน มันก็ยังดํารงอยู่อย่างนั้น โลกที่ไม่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของมนุษย์นั้นคือ โลกบริสุทธิ์ดั้งเดิมท่ีปราศจากค่าและความหมาย แต่โลกที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของมนุษย์น้ันคือ โลกมนุษย์ท่ีมนุษย์ใส่ค่าและความหมายใหแ้ ล้วความเปลย่ี นแปลง ตามทัศนะของศาสนาพุทธ ความเปล่ียนแปลงเปน็ สภาพท่ีแท้จรงิ ของโลก หลักไตรลักษณ์สอนว่าส่ิงท้ังปวงท่ีเราพบเห็นประจําวันนั้นมีลักษณะ ๓ ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันที่จริงท้ังทุกขัง และอนัตตาก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอนิจจัง ซึ่งหมายถึงความเปล่ียนแปลง ทุกส่ิงท่ีเราเห็นในโลกล้วนเป็นตัวของตัวเอง และไม่เป็นตัวของตัวเองในเวลาเดียวกัน ไม้ก็คือไม้ แต่ในเวลาเดียวกันไม้ก็มิใชไ่ ม้ เพราะความเปน็ เถา้ แฝงอยู่ การเปล่ียนแปลงที่เกิดขึ้นกับสรรพส่ิงนั้นเป็นไปตามกฎธรรมชาติท่ีตายตัว ดังท่ีกล่าวไว้ว่า เมื่อสงิ่ นม้ี ี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งน้ีดับ สิ่งนี้จึงดับ กฎธรรมชาติที่ควบคุมสรรพส่ิงมี ๕ กฎ คือหนึ่ง อุตุนิยาม คือกฎท่ีว่าด้วยสิ่งไร้ชีวิต สองพีชนิยาม กฎท่ีว่าด้วยสิ่งมีชีวิต สามจิตนิยาม กฎที่ว่าด้วยความเป็นไปของจิตส่กี รรมนยิ าม คือกฎแห่งกรรม และห้าธรรมนิยาม กฎที่ว่าดว้ ยความดีงามสงู สดุ ศาสนาพทุ ธพดู ถงึ เรื่องการเปลยี่ นแปลง โดยมีวัตถปุ ระสงค์ไม่เหมอื นกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ศึกษาความเปลย่ี นแปลงของสรรพส่ิงในฐานะผู้สงั เกตการณว์ งนอก แต่ศาสนาพุทธศึกษาเรอ่ื งความเปลยี่ นแปลง ในฐานะทีเ่ ปน็ ผรู้ ว่ มอย่ใู นเหตกุ ารณ์ ความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาของโลกเกิดขึ้นกับส่ิงทุกส่ิง แต่เมื่อเราเห็นโลกไม่ตรงตามท่ีมันเป็นจริงแต่สร้างโลกขึ้นมาโดยการให้ความหมายแก่มันความหมายนท้ี ําให้เราไปพัวพนั กับโลกตามทไ่ี ดอ้ ธบิ ายมาแลว้ เมื่อไปพัวพนั กบั โลกก็อยากให้โลกดาํ เนินไปตามเราคาดหวัง แต่ความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาของทุกสิ่ง ดังนั้นความผิดหวังหรือความทุกข์ก็มีได้เสมอ ความเปลี่ยนแปลงจึงดูเหมือนเป็นสาเหตุของความทุกข์ แต่แท้ที่จริงแล้ว มนุษย์น้ันเองเป็นสาเหตุของความทุกข์ของตัวเอง ความเปล่ียนแปลงที่เกิดกับสิ่งใดก็ตามยังความทุกข์ให้ใครไม่ได้นอกจากคน ๆ น้ันนําตัวเองไปเป็นสว่ นหนงึ่ ของโลกทเ่ี ขาสรา้ งข้นึโลกพ้นสามญั วสิ ยั โลกพ้นสามัญวิสัย ในที่น้ีหมายถึง โลกที่ไม่สามารถรู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสธรรมดาหรือโลกที่ประสาทสัมผัสของคนธรรมดาสามัญท่ัวไปมองไม่เห็น บางลัทธิปรัชญาหรือบางศาสนาเช่ือว่า โลกชนิดน้ีมีอยู่จริง เช่น ศาสนาคริสต์ เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า เพลโต้ เช่ือว่ามีโลกแห่งแบบ หรือโลกแห่ง ไอเดีย ลัทธิพราหมณ์เชื่อว่า พรหมหรือปรมาตมัน ซึ่งลัทธิศาสนาหรือลัทธิปรัชญาดังกล่าวถือว่า จุดหมายปลายทางของชวี ิตกค็ ือการได้เขา้ ไปเป็นอนั หนึ่งอนั เดยี วกบั โลกชนิดน้ี พุทธศาสนาปฏิเสธการมีอยู่จริงแห่งโลกที่อยู่ในรูปของพระเจ้า รูปของแบบหรือรูปของพรหมหรือปรมาตมัน แต่พุทธศาสนาก็เชื่อว่ามีโลกท่ีพ้นสามัญวิสัยบางอย่าง เป็นโลกแห่งความจริงเท่ากับโลกมนุษย์ ต่างกับลัทธิศาสนาอ่ืนตรงท่ีว่า โลกชนิดน้ีมิใช่จุดหมายสุดท้ายของชีวิต นรกหรือสวรรค์ มิได้เป็นโลกที่นิรันดรแต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังสารวัฎ สัตว์สามารถข้ึนไปบนสวรรค์ หรือลงนรกได้เป็นการชั่วคราว จุดหมายสุดทา้ ยของชวี ติ ในทศั นะของพทุ ธศาสนาคอื นพิ พานทศั นะของศาสนาพุทธเก่ยี วกบั พระเจา้ ในบรรดาศาสนาหรือลัทธิท่ีถือว่ามีพระเจ้าน้ัน ท่ีสําคัญท่ีสุดคงจะเป็นศาสนา แบบเทวนิยม ซึ่งมีทัศนะว่า มีพระเจ้าองค์เดียว เป็นผู้สร้างสรรพส่ิงรวมทั้งมนุษย์ พระเจ้าเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตมนษุ ย์ เปน็ ผใู้ หค้ วามจรงิ ความดี ความงามแกโ่ ลก เป็นกฎศีลธรรมและเปน็ ผใู้ หร้ างวลั และลงโทษผู้ทําดที ําชวั่ เป็นผู้ค้ําจุน และให้ความหมายแกช่ ีวติ ของมนษุ ย์ และมนษุ ยอ์ าจเขา้ ถึงพระเจา้ ได้ดว้ ยศรัทธา โดย
๑๒สรุป พระเจา้ เปน็ ทงั้ จดุ ตงั้ ต้นและจดุ หมายปลายทางของชีวิตมนุษย์ พระเจ้าตามลกั ษณะน้ี ศาสนาพุทธปฏเิ สธว่าไม่มีจริง ศาสนาพุทธเช่ือว่า มนุษย์เป็นผู้ลิขิตชีวิตของตนเอง กฎแห่งกรรมเป็นกฎซ่ึงควบคุมผลแห่งการกระทําของมนุษย์ แต่กฎแห่งกรรมมิใช่พระเจ้า เพราะพระเจ้ามีลักษณะเป็น “บุคคล” ส่วนกฎแห่งกรรมไม่มีลักษณะเชน่ นั้นสวรรค์ นรก เทวดา แม้ศาสนาพุทธจะปฏิเสธว่าไม่มีพระเจ้าผู้สร้างโลก แต่ศาสนาพุทธเช่ือว่ามีโลกท่ีอยู่พ้นสามัญวิสยั บางอย่าง โลกมนษุ ย์หรอื มนษุ ย์ภูมมิ ใิ ช่โลกแห่งความจรงิ เพยี งอยา่ งเดยี ว ยงั มเี ทวภูมิ คอื สวรรค์ หรือโลกของเทวดา และอบายภูมิคือโลกของสิ่งที่ตํ่ากว่ามนุษย์ เช่น นรก เดรัจฉาน เปรต เป็นต้น นรกสวรรคน์ ั้นตาของคนธรรมดามองไม่เห็น แต่ผู้ท่ีได้บรรลุญาณถึงข้ันหนึ่งแล้วได้ตาทิพย์จึงจะเห็นได้ นรกสวรรค์ในศาสนาพุทธมิใช่จุดหมายสุดท้ายของการเดินทางชีวิตเหมือนกับท่ีบางศาสนาเชื่อว่า สวรรค์นรกเป็นนิรันดร นรกสวรรค์ของศาสนาพุทธเป็นเพียงส่วนหน่ึงของสังสารวัฏ สัตว์โลกท้ังหลายขึ้นไปลงมาไดเ้ ป็นของชว่ั คราว จุดหมายสุดทา้ ยของการเดนิ ทางชีวติ คอื นิพพาน อย่างไรก็ตาม ความมีอยู่หรือไม่มีอยู่จริงของสวรรค์ นรก เทวดา ฯลฯ ไม่ขัดคําสอนหลักของศาสนาพุทธ เพราะว่าตามคติของพุทธเราอาจบรรลุจุดหมายสูงสุด (นิพพาน) ได้ในชาตินี้ศาสนาพุทธสอนว่าความทุกข์เกิดจากตัณหา การขจัดตัณหาได้ทีละน้อยจนกระทั่งสิ้นเชิง เป็นการดําเนินวิถีชีวิตตามแนวพุทธ และการดําเนนิ ชวี ติ ตามวิถนี ี้จะเชื่อหรอื ไมเ่ ชือ่ เรอ่ื งสวรรค์ นรก ฯ ล ฯ ก็ได้ธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ เม่ือพูดถึงธรรมชาติของมนุษย์ ปัญหาพ้ืนฐาน ๒ ปัญหาที่พูดกันในวงการปรัชญา คือ ปัญหาจิตกาย และปัญหาเรอ่ื งเจตจาํ นงเสรี เราจะพดู ถงึ ทัศนะของพทุ ธปรชั ญาทม่ี ีตอ่ ปญั หาทัง้ สองนี้จิต – กาย ศาสนาพุทธสอนเรื่องอนัตตา คือ ปฏิเสธว่าในตัวมนุษย์ไม่มีอะไรท่ีเป็นยืนโรงอยู่อย่างจีรังย่ังยืนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงท้ังในโลกแห่งกายและโลกแห่งจิตของมนุษย์ มนุษย์ประกอบไปด้วยจิตและกาย สภาพทางจิตมี ๔ อยา่ ง กายมีหนงึ่ รวมท้งั หมดเปน็ ๕ อยา่ ง เรยี กวา่ ขนั ธ์ ๕ มีดังนี้ ๑) รูป คือ ร่างกายของมนุษย์ ประกอบไปด้วย ดิน นาํ้ ลม ไฟ เสมือนกบั วตั ถุอ่นื ๆ ในโลก ๒) วญิ ญาณ มไิ ดห้ มายถงึ โซลหรืออาตมนั ซง่ึ คงทต่ี ายตัวแน่นอน แตห่ มายถงึ การรบั ร้แู ตล่ ะครั้งท่ีเกิดขึ้นเม่ือ รูป เสียง กลุ่ม รสสัมผัส และความนึกคิดมากระทบ ตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ เม่ือการกระทบเกิดขน้ึ วญิ ญาณกเ็ กิด ๓) เวทนา ทุกคร้ังท่ีวิญญาณเกิดข้ึนจะมีความรู้สึกบางอย่างเกิดข้ึนต่อส่ิงท่ีมากระทบทําให้เกิดวญิ ญาณ คอื ชอบ ไม่ชอบ หรอื เฉย ๆ เวทนาเป็นศกั ยภาพอกี อนั หน่งึ ของส่งิ มีชวี ิตซ่ึงทอ่ นไมไ้ ม่มี ๔) สัญญา คือ ความสามารถที่จะจํา คือรู้ว่าส่ิงที่มากระทบขณะน้ีเหมือนหรือต่างกับส่ิงก่อน ๆ ท่ีเคยกระทบอย่างไร สัญญาเป็นความสามารถท่ีโยงอดีตเข้ากับปัจจุบัน หากไม่มีสัญญาโลกท่ีมนุษย์ประสบแตล่ ะขณะก็จะเป็นโลกใหม่สาํ หรบั มนษุ ย์อยา่ งสน้ิ เชิง ๕) สังขาร มนุษย์เรามีร่างกาย (รูป) เม่ือมีส่ิงภายนอกมากระทบก็เกิดการรับรู้ (วิญญาณ) แล้วก็เกิดชอบหรือไม่ชอบ (เวทนา) เหตุการณ์ท่ีรับรู้มานี้ก็จารึกอยู่ในความจํา เป็นศักยภาพ พร้อมท่ีจะแสดงออกเมื่อโอกาสมาถึง (สัญญา) ทั้งหมดนี้ถูกรวมตัวกันเข้าโดยพลังอย่างหน่ึงทําให้เกิดแรงโน้มท่ีจะผลักดันใหม้ นษุ ยก์ ระทาํ การหรืองดกระทําการในสถานการณห์ นึ่ง ๆ พลงั นี้คือ สงั ขาร ศาสนาพุทธถือว่าขันธ์ท้ัง ๕ แต่ละขันธ์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเบื้องหลังการเปล่ียนแปลงน้ีก็ไม่มีตัวตนหรืออัตตาที่เป็นเจ้าของ เช่น ร่างกายของคนก็ประกอบไปด้วยธาตุพื้นฐาน ๔ อย่าง แต่ละ
๑๓อย่างก็เปลี่ยนแปลง ดังน้ันร่างกายของมนุษย์ก็เปลี่ยนตลอดเวลา ส่วนที่เป็นทางจิต ๔ อย่างก็เปลี่ยนตลอดเวลาเหมือนกัน ดังนนั้ ตวั ตนของแตล่ ะขันธ์ไมม่ ี และตัวตนทเ่ี กิดจากการรวมตวั ของขนั ธท์ ัง้ ๕ ก็ไม่มี ศาสนา-พุทธปฏิเสธส่ิงทีส่ มบรู ณใ์ นตัวเอง ซง่ึ หมายถึงส่ิงที่ดํารงอยูไ่ ดด้ ว้ ยตวั เองโดยไมอ่ าศยั ส่งิ อืน่เจตจาํ นงเสรี ศาสนาพุทธเชื่อว่าทุกสิ่งท่ีเกิดขึ้นย่อมมีสาเหตุ ตามหลักท่ีว่า“เม่ือสิ่งนี้มี ส่ิงน้ีจึงมี เมื่อส่ิงนี้ดับสิ่งน้ีจึงดับ” และกฎแห่งกรรมเป็นคําสอนหลักของศาสนาพุทธ มนุษย์เป็นผลของการกระทําของตนมนุษย์ จะต้องรับผลจากสิ่งท่ีตนได้ทําไว้ ส่ิงที่มนุษย์เป็นอยู่วันนี้เป็นผลของอดีต ปัญหาท่ีเกิดขึ้นก็คือถ้าปัจจบุ ันเป็นผลของอดีต ปัจจบุ นั มอี ะไรใหม่หรือไม่ ถา้ ไมม่ ีอนาคตก็ต้องเป็นผลของอดีตด้วย เจตจํานงเสรกี ็ไมม่ ี ศาสนาพุทธเองเชื่อกฎแห่งกรรมคือความเป็นสาเหตุเป็นผล แต่ในเวลาเดียวกันก็เช่ือเร่ืองเจตจํานงเสรี ดังที่ตรัสไว้ว่า “ภิกษุท้ังหลาย เจตนานั่นเองคือการกระทํา บุคคลจงใจแล้วจึงกระทําการด้วยกายวาจา” เพราะหากกรรมเก่าเป็นตัวการเดียวและตัวการทั้งหมดที่ทําให้บุคคลลงมือกระทําการอย่างใดอยา่ งหน่งึ แล้ว ความสาํ นกึ ที่ว่า “กจิ นค้ี วรทาํ หรือวา่ กจิ น้ไี มค่ วรทํา” ก็มีไม่ได้ ศาสนาพุทธถือว่าแม้อดีตจะเป็นตัวกําหนดปัจจุบัน แต่ปัจจุบันก็เปิดให้มีทางเลือก พระราชวรมุนี ได้เปรียบเทียบไว้ว่า คนที่เดินขึ้นตึก เม่ือถึงช้ันสามแล้วก็แน่นอนว่าการข้ึนมาถึงชั้นที่สามนั้นเกิดจากการที่ได้เดินขึ้นมาเมื่อสักครู่ แต่เมื่อถึงชั้นสามแล้วจะขับรถวิ่งเหมือนอย่างบนถนนย่อมไม่ได้ แต่จะเดินขึ้นต่อไปหรือไม่ หรือจะเดินลง หรือจะน่ังพัก ย่อมอยู่ในวิสัยท่ีจะเลือกได้ มนุษย์มีเสรีภาพท่ีจะเลือกแต่การเลือกยอ่ มมีขอบเขต ขอบเขตนั้นมาจากปจั จัยภายนอกก็ได้ มาจากกรรมเก่าก็ไดห้ รือรวมกันก็ได้ ญาณวทิ ยาแนวพทุ ธลกั ษณะและบทบาทของความรู้ ตอนแรกนี้จะสํารวจทัศนะของศาสนาพุทธในเรื่อง ความรู้ โดยแยกประเด็นพิจารณา เป็น ๔ประเด็น คอื ๑) จดุ ต้งั ต้น ๒) ท่ีมาของความรู้ ๓) ขอบเขตของความรู้ ๔) บทบาทของความรใู้ นชวี ิตมนุษย์จดุ ตง้ั ตน้ ศาสนาพุทธเห็นว่าไม่ว่าเราจะแสวงหาความรู้ด้วยวิธีใดก็ตาม ตัวมนุษย์เองเป็นผู้ใช้วิธีอันน้ันและเปน็ ผ้ปู ระเมินวิธกี ารอนั นั้น ดังนัน้ หากเราไม่รจู้ ักตวั เองแล้ว ความร้ทู ่ีแทจ้ ริงยอ่ มมไี ด้ยาก ศาสนาพทุ ธเห็นวา่ ในการแสวงหาความรู้ต้องเริ่มจากตัวเองจากจุดที่เรายืนอยู่ นั่นคือจากประสบ-การณข์ องเราเอง แต่ศาสนาพทุ ธมองมนุษยใ์ นฐานะเป็นบคุ คล มใิ ช่เพยี งเป็น “สัตว์ที่อาจรู้จักโลก” ได้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์โลกอื่น มิใช่เพราะควบคุมแต่ภายนอกได้ แต่เพราะควบคุมตัวเองได้ ดังน้ัน ในการเร่ิมสํารวจตัวเอง เราจะไม่ถามว่าเรารู้จักโลกได้แม่นยํา ถูกต้องเพียงใด แต่ประสบการณ์บอกเราว่ามนุษย์ทุกหนทุกแห่ง มีทุกข์ มีสุข มีความสมหวัง และความผิดหวัง มีความด้ินรนและขัดแย้งภายในจิตใจ น้ีคือข้อมูลท่ีได้จากการสํารวจประสบการณ์ของตนเอง และความรู้ท่ีจะแสวงหาต่อไปก็เพ่ือที่จะควบคุมสงิ่ เหล่านี้ทม่ี าของความรู้ ศาสนาพุทธบ่อเกิดของความจริงคือประสบการณ์ น้ีเกิดจากข้อท่ีว่าศาสนาพุทธเริ่มต้นจากการ
๑๔สํารวจตวั เอง คือ การท่ีจะรู้ส่ิงที่เกิดข้ึนตามความ วัตถุประสงค์ของการแสวงหาความรู้ของศาสนาพุทธว่าเปน็ จรงิ (ยถาภูตัง)ขอบเขตของความรู้ ศาสนาพุทธปฏิเสธที่จะพูดถึงปัญหาท่ีทดสอบไม่ได้ด้วยประสบการณ์ พระพุทธองค์ก็ทรงปฏิเสธทจ่ี ะตอบปัญหาทอ่ี ยพู่ ้นประสบการณ์ เช่น อัพยากตปญั หา ๑๐ ขอ้ คือ ๑. โลกเท่ยี งหรือ ๒. โลกไมเ่ ที่ยงหรอื ๓. โลกมีท่ีสดุ หรอื ๔. โลกไมม่ ีท่สี ดุ หรอื ๕. ชีพเป็นสง่ิ เดยี วกบั รา่ งกายหรือ ๖. ชีพไม่เป็นสิง่ เดยี วกบั ร่างกายหรอื ๗. หลงั ตายแล้วสัตวม์ อี ย่หู รอื ๘. หลงั ตายแลว้ สตั วไ์ ม่มีอยหู่ รอื ๙. หลังตายแลว้ สตั วท์ งั้ มอี ยแู่ ละไมม่ ีอยหู่ รอื ๑๐. หลังตายแลว้ สัตว์จะมีอยู่กไ็ ม่ใช่ ไมม่ อี ยูก่ ไ็ มใ่ ชห่ รือ ปัญหาเหล่านี้ไม่ว่าคําตอบจะออกมาในรูปใด อีกฝ่ายหน่ึงโต้แย้งได้เสมอเพราะไม่อาจช้ีให้ประจักษ์ชดั ไดว้ า่ ความจรงิ เปน็ อยา่ งใด เน่อื งจากอยู่พน้ ขอบเขตของประสบการณ์ ศาสนาพุทธนั้น ประสบการณ์นอกจากจะหมายถึงการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสตามปกติแล้วยังกินความถงึ การรับรใู้ นข้นั เหนอื ปกติดว้ ย ดังนั้นมิใช่ว่าศาสนาพุทธจะไม่เชื่อว่ามีส่ิงที่อยู่พ้นประสาทสัมผัสธรรมดา เป็นแต่เพียงว่าสิ่งเหล่าน้ีอธิบายด้วยประสาทสัมผัสธรรมดาไม่ได้ อธิบายด้วยเหตุผล ตรรกะและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ แตส่ ิง่ น้ีมี และมีผปู้ ระสบมาแล้วกค็ ือพระพุทธองค์ และพระอรหันต์ท้งั หลาย การจะรู้ได้ต้องรู้ได้ด้วยตนเอง สําหรับศาสนาพุทธความจริงข้ันสูงสุดนี้มิได้อยู่พ้นประสบการณ์ของมนุษย์ แต่อยู่พ้นโวหารและคาํ อธิบายของมนษุ ย์ เป็นสงิ่ ทีแ่ ตล่ ะคนจะตอ้ งทดสอบด้วยตนเองบทบาทของความรใู้ นชีวติ มนษุ ย์ มนุษย์แสวงหาความรู้เพื่ออะไร การแสวงหาความรู้ของศาสนาพุทธเริ่มจากการสํารวจตัวเองก็เพื่อจะเปลี่ยนตัวเอง ความรู้มิใช่มีไว้เพื่อรู้เฉย ๆ หรือเพ่ือสนองความอยากรู้อยากเห็น ความรู้ต้องทําให้มนษุ ยด์ ขี ึ้น สําหรับศาสนาพุทธ ความรู้เกี่ยวกับเร่ืองใดเร่ืองหนึ่งกับการกลายเป็นสิ่งเดียวกับส่ิงท่ีเรารู้เปน็ อันเดยี วกัน ทฤษฎีกับปฏบิ ตั จิ ึงเป็นสงิ่ แยกกนั ไม่ออก นน่ั คือ ปญั ญากบั ศลี ต่างกเ็ กอ้ื กูลกนั อย่ตู ลอดเวลา จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือสอนให้คนเป็นคนดีข้ึน สมบูรณ์ข้ึน ให้มีความสงบสุขเกดิ ขึ้นท้ังสว่ นบคุ คลและสว่ นรวม จุดหมายปลายทางอันสูงสุดของศาสนาพุทธ คือ นิพพาน ซึ่งเป็นสภาวะท่ีจิตของมนุษย์จะได้ประสบกบั ความสงบสขุ ท่แี ท้จรงิ ในกาลามสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า การจะเช่ืออะไรแค่ไหนนั้น จะต้องทดลองพิสูจน์ดว้ ยตนเองโดยอาศยั สตปิ ัญญาและเหตผุ ล แต่อยา่ เช่อื โดยวธิ ดี ังต่อไปน้ี ๑) อยา่ เชือ่ โดยการฟังตามกันมา
๑๕ ๒) อยา่ เชอ่ื ดว้ ยการถือสบื ๆ กันมา ๓) อยา่ เช่อื ดว้ ยการเลา่ ลอื ๔) อยา่ เชือ่ ดว้ ยการอ้างคมั ภรี ์ ๕) อย่าเชอ่ื โดยนึกคิดเอาเอง ๖) อย่าเชื่อโดยการคาดคะเนเอา ๗) อย่าเช่ือเพราะการตรึกตรอง ๘) อยา่ เชื่อเพราะตรงกบั ความเห็นของตน ๙) อย่าเชอื่ เพราะรูปลักษณน์ า่ เช่อื ๑๐) อยา่ เช่ือเพราะท่านเปน็ ครูของเราและพระองค์ทรงสอนต่อไปว่า เมื่อใดที่เราอาศัยปัญญาทดลองด้วยตนเองแล้วเห็นว่าคําสอนใดเป็นคําสอนท่ีดีมีคุณประโยชน์จึงค่อยเชื่อ ทรงสอนมิให้เช่ืออย่างงมงาย แต่เน้นการทดสอบและปฏิบัติ เมื่อทดลองไดผ้ ลทางปฏบิ ัติแลว้ จึงเช่ือ ศาสนาพุทธสอนเร่ืองศรัทธาเหมือนกัน แต่ศรัทธามิใช่วิธีสุดท้ายที่จะตัดสินว่า ความจริงคืออะไร ศรทั ธาในศาสนาพทุ ธเปน็ เพยี งเครื่องชักจูงให้คนเข้าไปทดสอบความจริง แต่ตัวตัดสินความจริงคือปัญญา ในคําสอนเร่ืองมรรคมีองค์แปด อันเป็นหนทางท่ีจะพามนุษย์ไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความจริงอันสูงสุดนั้น ไม่ปรากฏว่ามีศรัทธาอยู่ด้วย ในการสอนหลักธรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนนน้ั หากในหลกั ธรรมใดมศี รทั ธาอย่จู ะตอ้ งมปี ัญญากํากับอย่เู สมอ เช่น พละ ๕ มี ศรัทธา วิริยะสติ สมาธิ ปญั ญา ในหลกั อริยทรัพยม์ ี ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหสุ จั จะ จาคะ ปัญญา เปน็ ต้น จรยิ ศาสตรแ์ นวพุทธ ปัญหาพื้นฐานทางจริยศาสตร์ ๒ ปัญหา ปัญหาแรกคือ ปัญหาท่ีว่าอะไรควรเป็นจุดหมายปลายทางที่ประเสริฐสุดของชีวิต ปัญหาที่สอง คือ ปัญหาที่ว่าด้วยเราควรใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทําว่าอย่างไรดีอย่างไรชั่ว อย่างไรผิดอย่างไรถูก เราจะพิจารณาทัศนะของศาสนาพุทธในประเด็นทงั้ ๒ น้ีจดุ หมายที่ประเสรฐิ สดุ ของชีวิต จุดหมายของชีวิตตามทัศนะของศาสนาพุทธมองได้ ๒ ด้าน คือ ด้านลบ และด้านบวก ด้านลบคือการหลุดพน้ จากทกุ ข์ ดา้ นบวกคอื การได้สมั ผัสความสขุ ศาสนาพทุ ธก็สอนว่าความสุขเปน็ สงิ่ มีคา่ ของชวี ติความสขุ ตามนัยแหง่ ศาสนาพุทธมี ๓ ระดับคือ ๑) กามสุข ๒) ฌานสุข ๓) นพิ พานสขุ๑.กามสุข ความสุขท่ีเกิดจากกามสุขนี้เป็นเรื่องทางกายหรือทางวัตถุจึงเรียกว่า “กามสุข” และหากจะพูดใน วงกว้างอาจหมายรวมถึงความสุขทางสังคม เช่น เกียรติยศ ความอบอุ่น ไมตรีจิต ฯลฯ ด้วยทั้งหมดเป็นการเสพสุขจากสิ่งท่ีอยู่ในโลกภายนอกตัวมนุษย์ (คือวัตถุ สิ่งของ พืช สัตว์ และเพ่ือนมนุษย์) การเสพสุขจากโลกภายนอกนี้หากไม่มีการยับยั้งชั่งใจแล้ว แทนที่จะเป็นสุขกลับเป็นทุกข์ การหมกมุ่นมัวเมาในความสุขแบบน้ีจนเกินเลยไม่เพียงแต่จะทําให้ตัวเองไม่อยู่ในสภาพที่จะเสพสุขได้ต่อไปอีกเท่าน้ัน แต่ยังทําให้สังคมป่ันป่วน ทําให้เกิดแก่งแย่งการเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม อาจเข้าถึงภาวะระสาํ่ ระสายจนกระทง่ั ไม่มใี ครได้โอกาสเสพสุขแบบน้ี
๑๖ ศาสนาพุทธสอนว่าการเสพกามสุขจะเป็นไปได้ด้วยดีก็ต่อเม่ือมนุษย์มี “ศีล” เป็นหลักปฏิบัติศีลเบ้ืองต้นคือศีล ๕ ได้แก่ การไม่ทําลายชีวิต การไม่เอาของผู้อ่ืนโดยไม่มีสิทธิ การไม่พูดโกหก การไม่ผิดประเวณี และไม่เสพของมึนเมา ศีล ๕ นี้เป็นข้อปฏิบัติเบ้ืองต้นท่ีจะทําให้การเสพกามสุขมีอุปสรรคน้อยและถ้าหากปฏิบัติตาม “ธรรมห้า” ด้วยก็ยิ่งจะทําให้อุปสรรคน้อยลงไปอีก ธรรมห้า ได้แก่ มีเมตตากรุณาหาเล้ียงชีพในทางสุจริต ยับย้ังและควบคุมตนในทางกามารมณ์ มีความซื่อสัตย์ สุจริต และ มีสติอยู่เสมอไมม่ วั เมาประมาท๒.ฌานสขุ ฌาน แปลว่า เพ่ง ได้แก่ภาวะท่ีจิตบรรลุสมาธิถึงระดับหน่ึง ฌานสุขเป็นแดนต่อแดนระหว่างกามสุขกับนพิ พานอนั เป็นความสุขสงู สุด ฌานสขุ มิได้เกิดจากประสาทสัมผัสทัง้ ๕ ไดเ้ สพเสวยกับกามคุณทั้ง ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) เป็นสุขที่ไม่มีทุกข์เจือปนเหมือนกามสุข ฌานสุขเกิดได้จากการบําเพ็ญเพียรทางจิตท่ีเรียกกันว่าการเจริญสมาธิ จิตที่เจริญสมาธิได้ถึงขั้นฌานย่อมหลุดพ้นจากกิเลสตณั หาไดช้ วั่ คราว (ถ้าหลดุ พน้ โดยสิน้ เชงิ ก็เปน็ นพิ พาน) มลี ักษณะสงบ ราบเรียบ กระจ่าง และมีพลังพรอ้ มทจ่ี ะบรรลสุ ัจธรรมขนั้ สงู สดุ การบําเพ็ญเพียรทางจิตก่อนจะบรรลุฌานนั้น ต้องก้าวข้ามอุปสรรคสําคัญ ๕ ประการ ได้เสียก่อน (เรียกอุปสรรคน้ีว่า นิวรณ์ ๕ คือ หนึ่ง กามฉันท์ ความอยากได้นั่นอยากได้นี่ สอง พยาบาทความโกรธความแค้นเคือง สาม ถีนมิทธะ ความเซื่องซึม หงอยเหงา สี่ อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านเดือดร้อนใจ ห้า วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจในผลท่ีจะเกิดจากการปฏิบัติของตน เมื่อละนิวรณ์ท้ัง ๕ได้แล้วจิตใจก็ จะปลอดโปร่ง เกิดความอ่ิมใจข้ึน ซ่ึงตรงกันข้ามกับอิ่มกาย เป็นความสุขทางใจล้วน ๆโดยที่ไม่ต้องอาศัย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสมาสนอง ท่านเปรียบคนที่ละนิวรณ์ ๕ ได้ว่า เหมือนคนหายจากความเจบ็ ปว่ ย มีเรีย่ วแรงดีขึ้นพร้อมท่ีจะปฏิบัติการเพ่ือสัมผัสความสุขที่สูงข้ึน ฌานสุขน่ีอาจเรียกได้วา่ เป็นสุขท่ีเกดิ จากสมาธเิ พราะเป็นผลของการท่ไี ดเ้ จริญสมาธถิ งึ ข้นั หน่ึง๓.นพิ พานสขุศาสนาพุทธถือว่านิพพานเป็น “ความสุขขั้นสูงสุด” หรือ “บรมสุข” นิพพานเป็นประสบการณ์ ที่รู้ได้เฉพาะตน ผู้ท่ีบรรลุแล้วอาจเล่าให้คนอ่ืนฟังได้ แต่ผู้ฟังก็ไม่สามารถรู้เท่ากับผู้ที่ประสบมาแล้วได้ นิพพานคือความดับ ดับในที่น้ีหมายถึง ตัณหาดับ หรืออุปาทานดับ บางคร้ังพระพุทธองค์อธิบายไว้ว่านิพพาน คือ สภาพที่ส้ิน ราคะ โทสะ โมหะ การท่ีบุคคลยังไม่สิ้นซึ่ง ราคะโทสะ โมหะ ย่อมก่อให้เกิดความยึดม่ัน ความยึดมั่นทําให้คนสร้างโลกโดยให้ความหมายและค่าแก่โลกน่กี ็คือการไมเ่ หน็ โลกตามที่มนั เปน็ จริง นพิ พานก็คือการเห็นโลกตามที่มันเป็นจริง มิใช่เห็นโลกตามท่ีเราอยากใหเ้ ปน็ การควบคมุ กิเลสตณั หาไว้ได้ จะทาํ ใหค้ นเห็นโลกตามทีเ่ ป็นจรงิผู้ใดรูแ้ จ้งเกยี่ วกบั โลกท้งั ปวง รู้โลกท้งั ปวงตามความเปน็ จริงแยกออกไปจากโลกได้ ไม่มีกเิ ลสในโลก ควบคมุอารมณ์ท้ังปวงได้ ปลดเปลอื้ งกเิ ลสท้ังมวลได้ ผนู้ ้ันถกู ต้องนิพพานอนั มคี วามสงบอยา่ งยง่ิ ….คําที่ว่า “แยกออกไปจากโลกได้” มิได้หมายความว่า ผู้บรรลุนิพพานต้องปิดตา ปิดหูฯลฯ ไม่รับรู้โลกภายนอกเลย การรับรู้โลกภายนอกยังมีอยู่ แต่หมายถึงการรับรู้โดยปราศจากราคะ โทสะโมหะ เช่น “เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่วางเฉยมีสติสัมปชัญญะ คือเห็นด้วยใจเป็นกลางไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ความโกรธ ความโลภ ความหลง เกิดขึ้นเพราะคนยึดม่ันอยู่ในเร่ือง “อัตตา” การแยกตัวจากโลกกค็ ืออยูใ่ นโลกน่เี อง แต่ไม่ยดึ มั่นในโลก ภิกษทุ ัง้ หลาย อบุ ลกด็ ี ปทมุ กด็ ี เกิดในน้ํา
๑๗ งอกงามในนา้ํ ข้ึนพน้ จากน้าํ แตน่ าํ้ ไมต่ ิดฉันใด พระตถาคต เกดิ ขึ้นแล้วในโลก เจริญในโลก แตพ่ ิชติ โลก ไมถ่ ูกโลกฉาบทา เหมือนกันฉันนั้น สขุ ในนิพพานตา่ งกบั กามสุขและฌานสขุ ตรงท่วี ่า สขุ ๒ อย่างหลงั นนั้ เปน็ “สุขเวทนา”คือเปน็ ความสขุ ทมี่ ตี อ่ อะไรบางอยา่ ง มีอะไรบางอย่างเป็นตัวรับสนอง ตัวรับสนองน้ีคืออารมณ์ ฌานสุขอาศัยธรรมารมณ์ กามสุขอาศัยอารมณ์ทุกอย่าง โดยเฉพาะกามคุณ ๕ แม้ว่าฌานสุขจะเป็นสุขท่ีไม่เก่ียวกับวัตถุ แต่ก็ทําให้เกิดความยึดมั่นได้ จิตใจยังไม่บริสุทธิ์ท้ังสิ้นทีเดียว ส่วนสุขในนิพพานน้ันเป็นประสบการณ์ ท่ีไม่เกี่ยวเนื่องด้วยอารมณ์ เป็นความสุขประณีตมีความสมบูรณ์ในตัว มิใช่ความสุขท่ีเกิดจากการได้สนองความต้องการ มิใช่ความสุขท่ีไปเติมความบกพร่องให้เต็ม แต่เป็นความสุขท่ีเกิดข้ึนเองเปน็ ไปเอง เป็นประสบการณ์เพ่อื ประสบการณน์ น้ั เอง มิใช่เป็นหนทางไปสอู่ ะไรอกี การจะบรรลุนิพพานได้นั้นมขี น้ั ตอนตามลําดับ ๓ ข้นั คือ ศีล สมาธิและปัญญา ศลี นัน้ ทําให้คนมีความสุขเบื้องต้นได้ แต่ศีลอย่างเดียวไม่อาจทําให้บรรลุนิพพานได้ ศีลเป็นเงื่อนไขจําเป็นของนิพพาน แต่มิใช่เงื่อนไขเพียงพอ คือ ปราศจากศีลแล้วการก้าวไปสู่นิพพานเป็นไปไม่ได้ แต่ศีลไม่เพียงพอที่จะทาํ ใหบ้ รรลนุ ิพพาน ศลี ช่วยให้จิตใจเป็นปกตพิ ร้อมทีจ่ ะเจรญิ สมาธิ แต่สมาธิอย่างเดียวก็ไม่ทําให้บรรลุนิพพาน ให้ได้เพียงฌานสุขเท่านั้น ขั้นสุดท้ายท่ีจะทําให้บรรลุนิพพานคือ ปัญญา สมาธิเตรียมพรอ้ มให้แก่จิตใจทจ่ี ะใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่มันเป็นจริง คือ เห็นแจ้ง เรียกตามบาลวี ่าวิปัสสนาเกณฑ์ตัดสินการกระทาํ เกณฑ์ตัดสินการกระทําว่าอย่างไรควร อย่างไรไม่ควร อย่างไรดี อย่างไรช่ัว ของศาสนาพุทธกล่าวอย่างกว้าง ๆ ไดว้ า่ การกระทําดคี อื การกระทําท่เี กดิ จากกุศลมูลคอื ความไม่โลภ ความไมโ่ กรธ ความไม่หลง ซ่ึงทําให้จิตใจปลอดโปร่ง บริสุทธิ์ สงบ ไม่กระวนกระวาย การกระทําช่ัว คือ การกระทําที่เกดิจากความโลภ ความโกรธ ความหลง อันทําให้จิตใจกระวนกระวาย เร่าร้อน ไม่ปลอดโปร่ง ไม่บริสุทธ์ิ เกณฑ์นี้เปน็ เกณฑห์ ลัก ศาสนาพุทธเป็นสัมบูรณนิยมในแง่ท่ีว่า กุศลมูล ๓ กับอกุศลมูล ๓ เป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทําและเกณฑ์นี้เป็นส่ิงตายตัวแน่นอน การกล่าวว่ากุศลมูล ๓ เป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทําก็เหมือนกับกล่าวว่า นิพพานเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทํา การกระทําท่ีมุ่งไปสู่นิพพานก็ถือว่าเป็นการกระทําดี การกระทาํ ท่พี าหา่ งจากนิพพานก็เป็นการกระทําที่ไมด่ ี การกระทําที่ผิดน้ันย่อมผิดเสมอ แม้ว่าผู้กระทําจะรู้สึกตัวหรือไม่ก็ตามว่าสิ่งท่ีตนกําลังทํานั้นผิดในมิลนิ ทปัญหามคี ําถามขึน้ มาวา่ คนหน่งึ รวู้ า่ ทาํ อย่างไรเป็นบาป และบาปนนั้ มโี ทษอยา่ งไร อกี คนไมร่ ู้เลย ใครจะบาปมากกว่ากัน คาํ ตอบก็คือ คนไม่รู้บาปมากกว่า ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลก เพราะคนท่ีไม่รู้กฎหมายนั้นเมือ่ ทําผิดกอ็ าจได้รบั การลดหย่อน แต่เร่ืองน้ีเทียบกับเรื่องกฎหมายของสังคมไม่ได้ต้องเทียบสภาวะของธรรมชาติ กอ้ นเหลก็ ทเี่ ขาเผาไฟจนแดงโชน คนหนึง่ รวู้ ่าเป็น เหลก็ แดง อกี คนหน่งึ ไมร่ ู้ ถา้ จะใหค้ นทง้ั ๒ คนนหี้ ยิบกอ้ น เหล็กแดง คนไหนจะหยบิ ได้เต็มมือและถกู ความร้อนเผา มากกวา่ กัน คนรู้จะหยิบไดส้ นิทหรือ ตอ่ คนไมร่ จู้ งึ หยิบไดเ้ ต็มมอื เมอื่ เปน็ เชน่ นั้นกต็ อ้ งถกู ความรอ้ นเผามากกว่าคนรู้
๑๘ นนั่ แลฉันใด….. ผูท้ ไ่ี ม่รู้วา่ ทําอย่างไรเปน็ บาป และ การกระทาํ นัน้ มีโทษเพียงไร ย่อมไม่มคี วามตะขิดตะขวงใจ อาจทําไดต้ ามอาํ เภอใจ แมบ้ าปหนัก ๆ กท็ าํ ไดโ้ ดยทตี่ น ไม่รู้วา่ การกระทาํ นน้ั ๆ ตนจะตอ้ งเปน็ ผู้รับผลอย่างสาหสั … ดว้ ยเหตนุ ้แี ลจงึ ว่าคนไมร่ ู้บาปมากกว่า ตามศาสนาพุทธคนทําอะไรลงไปอย่างใดอย่างหน่ึง ย่อมได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ขึ้นอยกู่ บั ความเห็นของบคุ คลหรอื ของสงั คม ผดิ ถูกเปน็ เร่ืองตายตวั แน่นอน ในศาสนาพุทธ การกระทําของมนุษย์มีแรงจูงใจ ๒ ประการ ประการแรกคือ อกุศลมูล ๓(โลภ โกรธ หลง) ประการที่ ๒ คือ กศุ ลมูล ๓ (ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง) การกระทําท่ีเกิดจากอกุศลมูลก็คือการกระทําทมี่ ีความร้สู ึกวา่ มี “ตัวตน” ควบคุมอยู่ : การกระทาํ ใดทถี่ ูกนําไปโดยความโลภ เกดิ จากความโลกมีความโลภเป็นเหตุ มคี วามโลภเปน็ บ่อเกดิ สภาพแหง่ การมีตัวตนของการกระทําน้นั ย่อมเกดิ ขน้ึ และการกระทาํ น้ันกบ็ ังเกิดผลเม่ือบังเกิดผลแลว้ บคุ คลยอ่ มเสวยผลของการกระทํานน้ั ….การกระทําใดทถี่ ูกนําไปโดยโทสะ…. การกระทาํ ใดที่ถกู นําไปโดยโมหะ…สภาพแห่งการมีตวั ตนของการกระทํานน้ั ยอ่ มเกดิ ขึน้ …โลภ โกรธ หลง ทําให้เกิดความร้สู กึ วา่ มตี วั ตน แรงจงู ใจทั้ง ๓ นแี้ ยกไมอ่ อกจากตวั ตน กฎแหง่ กรรมความหมายและความสาํ คญั ของเรอ่ื งกรรม กรรมแปลตามศัพท์ว่า การกระทําหรือการงาน แต่ในทางธรรม หมายถึง การกระทําท่ีประกอบดว้ ยเจตนาหรอื การกระทําทมี่ ีความจงใจดังพระพุทธพจน์ท่ีว่า “เจตะนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทาม”ิ แปลวา่ ภิกษทุ งั้ หลาย เจตนาน่นั เอง เราเรียกวา่ กรรม ถ้าเป็นการกระทําที่ไม่มีเจตนา ไม่มีความจงใจกไ็ มเ่ รียกวา่ เปน็ กรรม พระพุทธศาสนาบางคร้ังได้ชื่อว่า “กัมมวาท” คือศาสนาท่ีสอนเรื่องกรรม แม้พระพุทธองค์ก็ได้พระนามว่า “กัมมวาที” คือผู้ทรงสอนเรื่องกรรม ฉะน้ัน ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา หากยังไม่เช่ือเร่ืองกฎแห่งกรรม กย็ ังไมไ่ ดช้ ือ่ ว่านับถือพระพทุ ธศาสนาอย่างแท้จริงประเภทของกรรม ก. จาํ แนกตามคุณภาพหรอื ตามมูลเหตแุ หง่ การกระทาํ มี ๒ อย่างคอื ๑) กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล การกระทําท่ีดี ซึ่งกระทําจากมูลเหตุท่ีดีท่ีเรียกว่า กุศลมูล คืออโลภะ ความไมโ่ ลภ อโทสะ ความไมโ่ กรธ หรือ อโมหะ ความไมห่ ลงงมงาย ๒) อกุศลกรรม กรรมทเี่ ป็นอกุศล การกระทาํ ท่ไี มด่ ี ซึ่งกระทําจากมูลเหตุท่ีช่ัวที่เรียกว่า อกุศลมลู คอื โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ หรือ โมหะ ความหลงงมงาย ข. จําแนกตามทวาร คือทางท่แี สดงออกของการกระทาํ มี ๓ อย่าง คือ ๑) กายกรรม การกระทาํ ทางกาย ๒) วจกี รรม การกระทําทางวาจา ๓) มโนกรรม การกระทําทางใจ ค. กรรม ๑๒ ตามทแี่ สดงไว้ในอรรถกถาและฎกี าท้ังหลาย ดังน้ี หมวดที่ ๑ จําแนกตามเวลาทใ่ี ห้ผล (โดยปากกาล) ๑) ทฏิ ฐธรรมเวทนยี กรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันในภพนี้ คือกรรมดีช่ัวที่กระทําในขณะแห่ง
๑๙ชวนจิตดวงแรก กรรมน้ถี ้าไมม่ ีโอกาสให้ผลในชาตนิ ้กี ็กลายเป็นอโหสิกรรม ไม่มผี ลต่อไป๒) อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมท่ีให้ผลในภพที่จะไปเกิดคือในภพหน้า คือกรรมดีช่ัวที่กระทําในขณะแห่งชวนจิตดวงสุดท้าย (ชวนจิตท่ี ๗) กรรมนี้ให้ผลเฉพาะในชาติถัดจากน้ีไปเท่าน้ัน ถ้าไม่มีโอกาสใหผ้ ลในชาตหิ น้าก็กลายเปน็ อโหสกิ รรม๓) อปราปรยิ เวทนียกรรม กรรมท่ีให้ผลในภพต่อ ๆ ไป คือกรรมดีช่ัวท่ีกระทําในชวนจิตที่ ๒ -๖ แห่งชวนจิตหนึ่ง ๆ กรรมนี้ให้ผลได้เร่ือยไปในอนาคต เมื่อเลยจากภพหน้าไปแล้ว คือได้โอกาสเม่ือใดก็ใหผ้ ลเมอ่ื นน้ั ไมเ่ ป็นอโหสกิ รรม ตราบเท่าท่ียังอยู่ในสงั สารวัฎ๔) อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล คือกรรมท่ีไม่มีโอกาสท่ีจะให้ผลในเวลาที่จะออกผลได้ เม่ือผา่ นลว่ งเวลาน้นั ไปแลว้ ก็ไม่ให้ผลอีกตอ่ ไปหมวดท่ี ๒ จาํ แนกการให้ผลตามหนา้ ท่ี (โดยกิจ)๕) ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรอื กรรมทเ่ี ปน็ ตวั นําใหเ้ กดิ สามารถใหเ้ กิดวิบากเอง๖) อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน ซึ่งไม่สามารถให้เกิดวิบากเอง แต่จะทําหน้าที่ช่วยสนบั สนุนหรอื ซํ้าเตมิ ตอ่ จากชนกกรรม๗) อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับชนกกรรม ทําหน้าที่บีบคั้นมิให้ผลแห่งชนกกรรมและอุปตั ถัมภกกรรมเป็นไปได้นาน๘) อปุ ฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมท่ีตรงกันข้ามที่มีกําลังแรง เข้าตัดรอนกรรมท่ีมีกําลังน้อยกวา่ เสีย หา้ มวิบาก (ผล) ของกรรมอ่นื แลว้ เปิดช่องให้แกว่ บิ ากของตนหมวด ๓ จําแนกตามความแรงในการใหผ้ ล (โดยปากทานปรยิ าย)๙) ครุกกรรม กรรมหนักที่มีผลแรงมาก ฝ่ายดีได้แก่สมาบัติ ๘ ฝ่ายชั่วได้แก่ อนันตริยกรรม(กรรมหนกั ) มีฆา่ มารดา เปน็ ตน้ จะใหผ้ ลก่อนและครอบงํากรรมอ่ืน ๆ เสยี๑๐) พหุลกรรมหรืออาจิณณกรรม กรรมทํามากหรือกรรมชิน กระทําบ่อย ๆ ส่ังสมจนเคยชินเปน็ นิสัย กรรมนถ้ี า้ ไม่มีครกุ กรรมจึงจะใหผ้ ล๑๑) อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ระลึกได้ในเวลาใกล้ตายถ้าไม่มีกรรม ๒ ข้อกอ่ นกรรมนี้กจ็ ะให้ผลกอ่ นกรรมอนื่ ๆ๑๒) กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่ากระทํา คือ กรรมที่ทําด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนัน้ ๆ โดยตรง เป็นกรรมท่ีเบา ถา้ ไมม่ ีกรรม ๓ ขอ้ กอ่ น กรรมน้จี งึ จะใหผ้ ลการใหผ้ ลของกรรมคํากล่าวท่ีชาวพุทธนิยมพูดเรื่องการให้ผลของกรรมคือ “ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ช่ัว” น้ีมาจากพุทธศาสนสุภาษิต (สํ.ส.๕/๙๐๓, ขุ.ชา.๒๗/๒๙๔) ซึ่งนับว่าเป็นข้อความที่แสดงหลักกรรมได้อย่างกระทดั รดั ชดั เจน วา่ “ยาทสิ ัง วะปะเต พชี ัง ตาทิสงั ละภะเต ผะลัง กลั ยาณะการี กัลยาณัง ปาปะการี จะ ปาปะกงั ” “หวา่ นพืชเช่นใด ได้ผลเชน่ นนั้ ผทู้ ําดไี ดด้ ี ผู้ทาํ ชวั่ ไดช้ วั่ ” (ขุ.ชา.๒๗/๒๐๕๔) “กรรมดีหรอื ชวั่ ทุกอยา่ งทคี่ นสงั่ สมไว้ ยอ่ มมผี ล ข้ึนชือ่ วา่ กรรม แมจ้ ะนิดหนอ่ ย ทีจ่ ะวา่ งเปลา่ ไปเลย ย่อมไม่ม”ี (ขุ.ชา. ๒๘/๘๖๔) “กรรมไม่ว่าดหี รอื ชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย”
๒๐เกณฑต์ ดั สินกรรมดีหรือช่วั ก. เกณฑห์ ลัก ตัดสินด้วยพิจารณาจากมูลเหตุว่า เป็นเจตนาที่เกิดจากกุศลมูล ถือว่าเป็นกรรมดี หรือเป็นเจตนาท่ีเกิดจากอกุศลมูล ถือว่าเป็นกรรมช่ัว และพิจารณาตามสภาวะว่า เป็นสภาพเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจสง่ เสรมิ คณุ ภาพและสมรรถภาพจติ ช่วยให้กุศลธรรมเจริญงอกงามขึ้นถือว่าเป็นกรรมดี ถ้าบ่ันทอนคุณภาพและสมรรถภาพของจติ ถอื วา่ เปน็ กรรมชั่ว ข. เกณฑร์ ่วม ๑) ใช้มโนธรรมคือความรู้สึกผิดชอบช่ัวดีของตนเองพิจารณาว่า การที่กระทํานั้นตนเองติเตียนตนเองไดห้ รอื ไม่ เสียความเคารพตนเองหรือไม่ ๒) พิจารณาความยอมรับของวิญญูชนหรือนักปราชญ์ว่าท่านเหล่านั้นยอมรับชื่นชมสรรเสริญหรือตาํ หนิติเตยี น ๓) พิจารณาลักษณะและผลของการกระทําที่มีต่อตนเองและผู้อ่ืนว่าเป็นการเบียดเบียนตนและ ผูอ้ ื่นใหเ้ ดือดร้อนหรือไม่ เปน็ ไปเพอื่ ประโยชนส์ ุขแกต่ นเองและผ้อู ่ืนหรอื ไม่
๒๑ จติ วทิ ยาในพระพุทธศาสนา (Buddhist Psychology ).....................................................................................................................................สาระการเรียนรู้ ๑. จริต ๖ ๒. ลักษณะของจรติ ๓. คู่ของจริต ๔. จดุ สังเกตจริตวัตถุประสงค์ เมอ่ื ศึกษาบทเรยี นน้ีจบแล้ว ผูเ้ ขา้ รับการศึกษาสามารถ ๑. อธิบายจรติ ๖ ได้ ๒. อธิบายลักษณะของจริตได้ ๓. จับค่ขู องจริตได้ ๔. อธิบายจุดสงั เกตของจรติ แต่ละอยา่ งได้กจิ กรรมระหว่างเรียน๑. บรรยาย๒. สอบถาม๓. ใบงานสือ่ การสอน๑. เพาเวอร์พอยท์๒. เอกสารตาํ รา๓. คลปิ วีดิโอทีเ่ กยี่ วข้องประเมนิ ผล๑. ใหต้ อบคาํ ถาม๒. แบบทดสอบหลังเรียน
๒๒ จริต ๖ความทัว่ ไปการปฏิบัติงานเนื่องกับคนอ่ืน เพ่ือสมานสามัคคี สิ่งสําคัญคือการรู้จักจิตใจของกัน และอ่อนโยนผ่อนตามโดยเหมาะสม ฉะน้ันในบทนี้จะเสนอแนะสภาพจิตของบุคคลเฉพาะแต่ที่เก่ียวกับการปฏบิ ัติเนอื่ งกับคนอื่นข้อท่ีควรสนใจในการปฏิบัติงานร่วมกันก็คือเร่ืองจริตของจิต จริต หมายถึงพื้นเพของจิต หรือความตอ้ งการของจติ ซ่ึงถ้าแบ่งตามจรติ แล้ว จิตของคนทัง้ โลกน้ี มอี ยู่ ๖ ประเภท คอื :- ๑. ราคจรติ รกั สวยรักงาม ๒. โทสจรติ หงุดหงดิ รีบร้อน ๓. โมหจรติ เขลา ซมึ ๔. สทั ธาจริต บูชาความเชอ่ื ๕. พุทธจิ ริต ชอบใช้ความรู้ ๖. วติ กจริต กงั วลมากคนทุกคน จะต้องมีจริตแรงไปทางใดทางหนึ่งใน ๖ ทางนี้ หมายความว่าคน ๆ เดียวอาจมีจริตหลายอย่าง แต่มีจริตอย่างหนึ่งเป็นเจ้าเรือน คือหนักไปทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ ใครมีจริตอย่างใดเป็นเจ้าเรือน เราเรียกวา่ คนจรติ นนั้ เชน่ เรียกวา่ คนราคจรติ คนโทสจรติ คนโมหจริต ฯลฯ คนที่มีจริตอย่างใด เม่อื ได้รับการปฏิบัติจากคนอ่นื สอดคลอ้ งกับจริตของตน เขาจะมคี วามพอใจมากเปน็ พเิ ศษ ลักษณะของจติ ทมี่ ีจรติ แตล่ ะประเภท ๑. ราคจรติ ชอบความสวยงาม เมื่อไดพ้ บเหน็ หรือได้ฟงั สิง่ หรอื เรอื่ งที่สวยงาม หรอื ดี จิตใจจะเบิกบาน ชุ่มชนื่ และออ้ ยอิ่งวนเวยี นอยู่กบั สงิ่ นนั้ ๒. โทสจรติ ชอบความรวดเร็ว รบี ร้อน ทาํ อะไรก็ตอ้ งการเห็นผลโดยรวดเรว็ เด็ดขาด ๓. โมหจรติ จิตมีความซมึ เซา ยืดยาว เฉอื่ ยชา ใช้ความคิดไม่ปลอดโปร่ง ๔. สทั ธาจรติ บูชาความเชอื่ สนใจเป็นพเิ ศษกบั สงิ่ ศกั ด์สิ ทิ ธิ์ คนวเิ ศษ ของวเิ ศษ และทําอะไรด้วยความเชื่อมัน่ ๕. พทุ ธจิ รติ ชอบใช้ความรู้ ชอบออกหวั คิด ชอบคน้ คว้า และวิจยั ขอ้ เทจ็ จริง ๖. วติ กจรติ ชอบสรา้ งอารมณข์ ้ึนหลอกใจตวั เองให้วติ กกังวลอยู่เสมอ คูข่ องจริตโปรดทราบว่า จริต ๖ อย่างน้นั เปน็ จริตใหญ่ ๓ เปน็ จรติ รอง ๓ ใครมจี ริตใหญ่อย่างใดแลว้มกั จะมจี รติ รองอย่ดู ้วยคือ :- จริตใหญ่ จริตรอง ราคจริต คู่ สัทธาจรติ โทสจรติ คู่ พทุ ธจิ ริต โมหจรติ คู่ วิตกจรติทา่ นผศู้ ึกษาจะตอ้ งจาํ จริตทเ่ี ป็นคกู่ ันไวใ้ ห้ได้ เพราะจะเปน็ ประโยชนใ์ นการศึกษาและการดักใจคนอ่นื ตอ่ ไปเราจะเอย่ ช่อื ถงึ เฉพาะจรติ ใหญ่ ๓ จรติ เทา่ น้นัวิธสี ังเกตจริต ใครมีจรติ อยา่ งใด สังเกตได้ ๕ ทาง คือ:- ๑. อริ ยิ าบถ ๒. การทาํ งาน
๒๓ ๓. การกนิ ๔. การดู ๕. นิสยั ใจคอ ทั้งน้ีต้องสังเกตการแสดงออกตามปรกตขิ องผ้นู น้ั จริง ๆ ถา้ ผู้นน้ั ไม่อยูใ่ นปรกติแล้ว จะสงั เกตให้แน่นอนไมไ่ ด้ อาการไม่ปรกติดังกลา่ วน้ี หมายถงึ คนทีอ่ ยู่ในสภาพวกิ ลจริต หรือแสรง้ ทําหรือถูกสิง่ อนื่บังคับให้ต้องทําอย่างน้ัน
๒๔ตารางแสดงวธิ สี ังเกตจริตโดยสงั เขป จุดสังเกตจรติจุดสงั เกต คนราคจรติ คนโทสจรติ คนโมหจรติ๑. อิริยาบถ เดนิ เร็ว ผง่ึ ผาย ลงเทา้ หนกั เดินช้าบ้างเรว็ บ้างคด คย้ี ว ท่าทางกระด้าง หลกุ หลกิ ท่าทางบง่ เซ่อ เหมอ่ก. การเดิน เดนิ ช้าละมุนละไม ลงเทา้ เบา ไมป่ รบั ปรงุ ตนเอง ไมเ่ รยี บร้อย ไม่สมาํ่ เสมอข. น่ัง น่งั อาการเรยี บร้อย ชอบคลุกในหมู่ นอนควํ่า ค. การนอน จัดและเก็บทนี่ อนเรียบร้อย รีบร้อนไมเ่ รยี บรอ้ ย ทําไมเ่ ปน็ ลําดบั กวาดข้าม๒. การทาํ งาน ไมร่ บี รอ้ น นอนตะแคง นอนหงาย ไมถ่ ่ีถ้วน งานใดท่ตี ้องทําซ้ํา ๆ จะ ก.การกวาด ทําไดเ้ รยี บร้อย เตยี นดี กวาดเรว็ ฝ่นุ ฟุง้ กาํ ไม้กวาดแน่น ทําได้ไมค่ รบถ้วนขาดๆ ข. งานทวั่ ไป เกนิ ๆ จัดแจงดี ไม่ชอบพดู พูดไมก่ ระจา่ ง ค. การพดู เขยี นตกหล่น และไม่ ทํางานชา้ แตเ่ รยี บร้อย สมา่ํ เสมอ ห่วง ทํางานเรว็ ไม่หว่ งความสวยงาม สม่าํ เสมอ๓. การกนิ ก. รสอาหาร กบั ความสวยงามในทกุ อยา่ ง เสรจ็ ต้องการให้ชอบดดั แปลง ไม่แน่ ข. กริ ิยาท่ีกนิ คาํ ขา้ วไมส่ ม่ําเสมอ เทา่ นั้น กนิ ไมเ่ ป็น๔. การดู กลา่ วช้า เบา เน้นใน กลา่ วเรว็ ดงั ชอบต่อวา่ เน้นใน ไม่ชอบดู และไมช่ อบฟัง การกลา่ วถึงความงาม เขยี น เมื่อพดู ถึงการใช้อาํ นาจ เขยี นเรว็ และหวัด ชอบแขวะ รสอ่อน ชอบปรุงรส รสจดั ชอบของหยาบ เหนียว ละมนุ ละไม ทาํ คําเล็ก ไมเ่ ลอะ รบี ร้อน คาํ โต ทาํ อาหาร ชอบคุย กนิ จุบกินจบิ ร่วงหล่น ไม่ชอบคยุ ไม่ชอบกิน จบุ กนิ จิบ ชอบดูสิ่งที่แสดงความงามและสงิ่ ท่ี ชอบดูส่ิงท่แี สดงความเรว็ กาํ ลังเจริญเตบิ โต การต่อสู้ และสงิ่ ปรักหักพัง๕. นสิ ยั ใจคอ มารยา มกั อาย มักอวด ออ่ นแอ ขโ้ี กรธ ตเี สมอ รษิ ยา ชอบงาน ง่วงเหงา ขเี้ ซา ฟ้งุ ซา่ น ขลาด ขอบยอ มกั ได้ ไมเ่ ดด็ ขาด ชอบอ้อนวอน งอนงอ้ เดน่ เดด็ ขาด ชอบเอาใจ ลังเล สะเพรา่ สอนยาก เช่ืองา่ ย เสียสละ มีความจรงิ ใจ วา่ งา่ ย เชือ่ ง่าย จับจด การปฏิบตั งิ านเนอ่ื งกบั คนอน่ื จะเป็นการสนทนา การสอน การสั่งงานหรอื การปกครองบังคบับญั ชา ก็ตาม ถ้าพยายามกระทาํ ใหส้ อดคล้องกับจริตของผ้ทู ่ีตนเกีย่ วข้องนั้นได้ จะบังเกดิ ผลดีเปน็ พิเศษเสมอ
๒๕ การพฒั นาจิต (The practice of meditation).....................................................................................................................................สาระการเรียนรู้ ๑. การพัฒนาจิตหรือการบาํ เพญ็ จิตภาวนา ๒. การละปลโิ พธิ ๓. ประโยชนข์ องการปฏบิ ัตวิ ิปสั สนากรรมฐาน ๔. หลกั การใหญข่ องพระพุทธศาสนา ๕. วธิ สี มาทานกรรมฐานและการแสดงตนเป็นพทุ ธมามกะ ๖. ธุระในพระพุทธศานา ๗. วธิ ีปฏบิ ัติ ๘. การกาํ หนดเมือ่ รับร้อู ารมณ์ต่าง ๆ ๙. สตปิ ัฎฐาน ๔วัตถุประสงค์ เมื่อศกึ ษาบทเรยี นนี้จบแล้ว ผู้เขา้ รบั การศกึ ษาสามารถ ๑. บอกการพัฒนาจิตหรือการบําเพ็ญจติ ภาวนาได้ ๒. อธบิ ายปลโิ พธแิ ต่ละชนดิ ได้ ๓. บอกประโยชนข์ องการปฏิบตั วิ ปิ ัสสนากรรมฐานได้ ๔. อธิบายหลกั การใหญ่ของพระพุทธศาสนาได้ ๕. บอกวิธสี มาทานกรรมฐานและการแสดงตนเปน็ พุทธมามกะได้ ๖. อธบิ ายธรุ ะในพระพุทธศานาได้ ๗. บอกวธิ ปี ฏบิ ตั วิ ปิ สั นากรรมฐานได้ ๘. อธบิ ายการกาํ หนดเมอื่ รบั รอู้ ารมณต์ ่าง ๆ ได้ ๙. อธบิ ายสตปิ ัฎฐาน ๔ ได้กจิ กรรมระหวา่ งเรียน๑. บรรยาย๒. สอบถาม๓. ใบงานสื่อการสอน๑. เพาเวอรพ์ อยท์๒. เอกสารตาํ รา๓. คลิปวดี โิ อท่ีเกยี่ วขอ้ งประเมินผล๑. ให้ตอบคาํ ถาม๒. แบบทดสอบหลังเรียน
๒๖ การพัฒนาจติ หรือบาํ เพญ็ จิตภาวนา การพฒั นาจติ หรอื บาํ เพญ็ จติ ภาวนา เป็นการฝึกจิตใจสงบ แนว่ แนอ่ ยใู่ นส่งิ ใดสิง่ หนึ่ง อันเปน็ประโยชน์ใหเ้ กิดความรู้ ความเข้าใจในสง่ิ นัน้ ๆ อย่างถ่องแท้ หรอื กล่าวอกี นยั หนงึ่ ไดว้ ่าเปน็ การฝกึ สตแิ ละสมาธิเพอื่ ใหเ้ กดิ ปญั ญาหรอื ความสามารถในการคิดพจิ ารณานัน่ เองการฝกึ สตแิ ละการฝึกสมาธิ การฝกึ สติ (Mindfulness) เปน็ การฝกึ ควบคมุ ความคิดใหร้ ะลึกอยูเ่ สมอวา่ ตนกาํ ลงั ทาํ อะไรทําเพ่ืออะไร และทําอยา่ งไรจึงจะถกู ตอ้ งหรอื สาํ เร็จ การฝึกสมาธิ (Meditation) เป็นการฝึกควบคุมจิตใจให้จดจ่ออยู่กับส่ิงใดสิ่งหนึ่งเท่าน้ันสติสมั ปชญั ญะกบั สมาธิ เปน็ สิ่งท่มี คี วามสมั พันธ์กนั มาก จนอาจเรยี กไดว้ า่ เปน็ สิ่งเดียวกัน ผทู้ ีม่ ีสติสัมปชัญญะจะระลกึ ในสง่ิ ที่ตนกําลงั ทาํ ตลอดเวลา การจดจ่ออยู่กบั สงิ่ ทต่ี นกาํ ลงั ทําซงึ่ ก็คือมีสมาธินัน่ เอง ในทํานองเดยี วกันผู้ท่มี สี มาธิก็ยอ่ มมีสตสิ มั ปชัญญะด้วยเช่นเดียวกันวิปัสสนากรรมฐานคอื วธิ กี ารฝกึ สตสิ มั ปชญั ญะ วปิ สั สนากรรมฐาน เปน็ เรอ่ื งของการศึกษาชวี ิต เพ่ือจะปลดเปล้อื งความทกุ ข์นานาประการออกเสียจากชีวติ เป็นเร่อื งของการค้นหาความจรงิ ว่าชีวิตมนั คอื อะไรกนั แน่ ปกติเราปล่อยใหช้ วี ติ ดําเนินไปตามความเคยชินของมนั ปีแลว้ ปเี ล่า มนั มแี ต่ความมดื บอด วิปัสสนากรรมฐาน เป็นเร่ืองของการตีปญั หาซับซอ้ นของชีวิต เป็นเร่อื งของการคน้ หาความจรงิ ของชีวติ ตามทพ่ี ระพุทธเจ้าไดท้ รงกระทาํ มา วิปสั สนากรรมฐาน เปน็ การเริม่ ต้นในปลดเปลอื้ งตัวเราให้พ้นจากความเปน็ ทาสของความเคยชนิ ในตัวเราน้ัน เรามขี องดีท่มี ีคณุ ค่าอยแู่ ล้ว คอื สติ สมั ปชัญญะ แตเ่ รานาํ ออกมาใชน้ อ้ ยนกั ทงั้ ทีเ่ ปน็ของมคี ณุ ค่าแก่ชีวติ หาประมาณมิได้ วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการระดมเอาสติทง้ั หมดที่มีอยใู่ นตวั เราเอาออกมาใช้ใหเ้ กิดประโยชน์ วปิ ัสสนากรรมฐาน คอื การอญั เชิญสติทีถ่ กู ทอดทิ้งข้ึนมานั่งบัลลงั กข์ องชีวิต เมอ่ื สติ ขน้ึ มาน่งัสบู่ ลั ลังก์แลว้ จติ กจ็ ะคลานเข้ามาหมอบถวายบังคมอยู่เบ้ืองหนา้ สติ สตจิ ะควบคมุ จิตใหแ้ สอ่ อกไปคบหาอารมณต์ ่าง ๆ ภายนอก ในทส่ี ดุ จิตกจ็ ะค่อยคุน้ เคยกบั การสงบอยกู่ บั อารมณ์เดียว เมอื่ จติ สงบตง้ั มั่นดีแล้ว การร้ตู ามความเปน็ จรงิ ก็เป็นผลตดิ ตามมา เมอื่ น้นั แหละเราก็จะทราบไดว้ ่าความทุกข์มนั มาจากไหน เราจะสกัดกน้ั มันไดอ้ ย่างไร นนั่ แหละผลงานของสติ ภายหลงั จากไดท้ ุ่มเทสตสิ มั ปชญั ญะลงไปอย่างเตม็ ทแ่ี ล้ว จติ ใจของผูป้ ฏบิ ตั กิ ็จะได้สัมผัสกบัสัจจะแห่งสภาวะธรรมตา่ ง ๆ อันผู้ปฏิบัติไม่เคยเห็นอย่างซ้งึ ใจมาก่อนผลงานอนั มีค่าลาํ้ เลศิ ของสตสิ ัมปชัญญะ จะทําใหเ้ ราเหน็ อย่างแจง้ ชัดว่า ความทกุ ขร์ ้อนนานาประการน้นั มนั ไหลเขา้ มาสูช่ วี ติของเราทางช่องทวาร ๖ ช่อง ช่องทวาร ๖ นี้ ทางพระพุทธศาสนาท่านเรยี กวา่ อายตนะ อายตนะมีภายใน ๖ ภายนอก๖ ดังนี้ อายตนะภายในมี ตา หู จมกู ลนิ้ กาย ใจ อายตนะภายนอกมี รูป เสยี ง กล่นิ รสโผฏฐพั พะ (กายถูกตอ้ งสมั ผัส) ธรรมารมณ์ (อารมณ์ทเี่ กิดจากใจ) รวม ๑๒ อยา่ งน้ี มีหนา้ ท่ตี อ่ กันเป็นคู่ๆ คอื ตาคู่กับรปู หคู ่กู บั เสียง จมกู คู่กับกลน่ิ ลน้ิ ค่กู ับรส กายคู่กบั การสมั ผัสถกู ตอ้ ง ใจคูก่ ับอารมณท์ ่ีเกดิ กับใจ เมอื่ อายตนะค่ใู ดคหู่ นงึ่ ต่อถึงกนั เขา้ จิตก็เกิดขึน้ ณ ที่นั้นเองและจะดับลงไป ณ ทีน่ นั้ ทนั ทีจึงเห็นไดว้ ่า จติ ไม่ใชต่ ัวไม่ใช่ตน การท่ีเราเห็นวา่ จติ เปน็ ตัวเป็นตนน้ัน ก็เพราะว่าการเกดิ ดับของจิตรวดเร็วมาก การเกิดดับของจติ เปน็ สันตติคือ เกดิ ดับตอ่ เนื่องไมข่ าดสาย เราจึงไมม่ ที างทราบไดถ้ ึงความไมม่ ตี ัวตนของจติ ต่อเมือ่ เราทาํ การกําหนด รูป นาม เปน็ อารมณ์ตามระบบวิปัสสนากรรมฐานทําการสํารวมสตสิ มั ปชญั ญะอย่างม่นั คง จนจติ ตั้งมนั่ ดีแล้ว เราจงึ จะรู้เหน็ การเกดิ ดับของจติ รวมท้ัง
๒๗สภาวะธรรมต่าง ๆ ตามความเปน็ จรงิ การทจ่ี ิตเกิดทางอายตนะตา่ ง ๆ นัน้ มันเปน็ การทํางานรว่ มกนั ของขนั ธ์ ๕ เช่น ตากระทบรปู เจตสกิ ต่าง ๆ ก็เกดิ ตามมาพร้อมกันคือ เวทนา เสวยอารมณ์สุข ทกุ ข์ ไมส่ ขุ ไมท่ กุ ข์ จาํ ได้วา่ รปูอะไร สงั ขาร ทําหนา้ ทป่ี รงุ แตง่ วญิ ญาณ รู้วา่ รปู นี้ ดี ไมด่ ี หรือเฉย ๆ กเิ ลสกจ็ ะตดิ ตามเขา้ มาคอื ดีชอบเป็นโลภะ ไมด่ ไี ม่ชอบเป็นโทสะ เฉย ๆ ขาดสตกิ ําหนดเปน็ โมหะ อนั น้เี องจะบนั ดาลให้อกศุ ลกรรมตา่ ง ๆ เกดิ ตามมา ความประพฤติช่วั ร้ายต่าง ๆ ก็จะเกดิ ณ ตรงน้เี อง การปฏิบตั วิ ปิ ัสสนากรรมฐาน โดยเอาสตเิ ข้าไปต้งั กาํ กบั จติ ตามชอ่ งทวารทัง้ ๖ เมอื่ ปฏบิ ัติไดผ้ ลแก่กล้าแลว้ กจ็ ะเข้าตดั ตอ่ อายตนะทั้ง ๖ คนู่ ้ันไมใ่ หต้ ิดตอ่ กันได้ โดยจะเห็นตามความเป็นจริงว่าเม่ือตากระทบรปู กเ็ ห็นวา่ สกั แต่วา่ เปน็ แค่รปู ไมใ่ ชต่ วั ไม่ใช่ตนบุคคลเราเขา ไม่ทําให้ความรสู้ ึกนกึ คิดปรุงแต่งใหเ้ กดิ ความพอใจหรอื ไมพ่ อใจเกิดข้นึ รปู กจ็ ะดบั ลงอยู่ ณ ตรงนั้นเอง ไม่ไหลเข้ามาสูภ่ ายในจิตได้อกุศลกรรมท้ังหลายก็จะไมต่ ามเข้ามา สตทิ เ่ี กดิ ขึ้นขณะปฏิบัตวิ ิปัสสนากรรมฐานนนั้ นอกจากจะคอยสกดั กัน้ กเิ ลสไมใ่ หเ้ ขา้ มาทางอายตนะแลว้ ยังเพง่ เล็งอย่ทู ี่รูปกับนาม เมอื่ เพ่งอยู่กจ็ ะเห็นความเกดิ ดับของรปู นามน้ัน จกั นาํ ไปสูก่ ารเหน็ พระไตรลักษณค์ อื ความไม่เทย่ี ง ความเปน็ ทุกข์ ความไมม่ ีตัวตนของสงั ขารหรืออัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง การปฏิบตั วิ ิปัสสนากรรมฐานนัน้ จะมผี ลมากนอ้ ยเพยี งใด อยทู่ ีห่ ลักใหญ่ ๓ ประการ ๑. อาตาปี (perseverance) ทําความเพียรเผากเิ ลสให้เร่าร้อน ๒. สติมา (Mindfulness) มสี ติ ๓. สัมปชาโน (awareness) มสี มั ปชญั ญะอยู่กับรปู นามตลอดเวลาเปน็ หลกั สาํ คญันอกจากน้นั ผูป้ ฏบิ ัติต้องมศี รัทธาความเชื่อวา่ การปฏบิ ตั ิเช่นน้มี ีผลจริง ความมศี รัทธาน้ีเปรียบประดุจเมลด็พืชทสี่ มบรู ณด์ พี รอ้ มทจ่ี ะงอกงามได้ทันทีทนี่ ําไปปลูก ความเพยี รประดุจน้าํ ทีพ่ รมลงไปทเี่ มล็ดพืชน้นัเม่อื เมลด็ พชื ได้นํ้าพรมลงไปก็จะงอกงามสมบรู ณข์ น้ึ ทันที เพราะฉะน้ันผ้ปู ฏิบัติจะไดผ้ ลมากนอ้ ยเพยี งใดยอ่ มขึ้นอย่กู ับสงิ่ เหล่านีด้ ้วย การปฏบิ ตั ิ ผู้ปฏบิ ตั ิจะต้องเปรียบเทียบดูจิตใจของเรา ในระหวา่ ง ๒ วาระว่า ก่อนทยี่ งั ไม่ปฏิบตั ิและหลงั การปฏบิ ตั แิ ลว้ วเิ คราะหต์ วั เองว่า มีความแตกต่างกันประการใด การละปลโิ พธการปฏบิ ัตวิ ปิ ัสสนากรรมฐาน จะต้องปฏิบัตใิ หห้ า่ งไกลจากหมคู่ ณะ และปลิโพธ กังวลหว่ งใยในทกุ สงิ่ ทกุ อย่างเสีย เพราะเป็นทางเดียว ทาํ คนเดียว สําเร็จคนเดยี ว แมแ้ ต่ผ้สู อนก็เป็นเพียงแนะนําชที้ างในการปฏิบตั ิ และใหค้ วามอปุ ถมั ภ์อปุ การะ ใหม้ คี วามสะดวกสบายเกยี่ วกบั ทอี่ ยู่อาหาร ยารกั ษาโรค และสถานทใี่ นการปฏบิ ตั ิตามสมควรเท่านั้น ผปู้ ฏิบตั ิจะต้องมีใจเปน็ อิสระ วางจากพันธะทง้ั ปวง คอื ไม่มีปลิโพธ ๑๐ ประการ คือ๑. ไมห่ ่วงบ้านหรอื หว่ งวดั ๒. ไม่หว่ งสกุล๓. ไม่หว่ งลาภ ๔. ไมห่ ว่ งหมู่คณะ๕. ไม่หว่ งทาํ ธุรกจิ ๖. ไมห่ ่วงในการเดนิ ทาง๗. ไม่หว่ งญาติ ๘. ไม่ห่วงในโรค๙. ไม่หว่ งในการเล่าเรียน ๑๐. ไม่ห่วงในการท่จี ะแสดงฤทธ์ิ ประโยชนข์ องการปฏิบัตวิ ปิ ัสสนากรรมฐาน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนน้ั มีประโยชนม์ ากมายเหลือทจี่ ะนับประมาณได้ จะยกมาแสดงตามท่ปี รากฏอยูใ่ นพระไตรปฎิ กสักเลก็ น้อยดงั นี้ คอื
๒๘๑. สัตตานงั วสิ ุทธิยา ทาํ กายวาจาใจ ของสรรพสัตว์ใหบ้ รสิ ทุ ธิ์หมดจด๒. โสกะปะริเทวนัง สะมะตกิ กะมายะ ดับความเศร้าโศก ปรเิ ทวนาการตา่ ง ๆ๓. ทกุ ขะโทมะนสั สานัง อัตถงั คะมายะ ดบั ความทกุ ข์กาย ดับความทุกขใ์ จ๔. ญาณัสสะ อะธคิ ะมายะ เพื่อบรรลมุ รรคผล๕. นพิ พานัสสะ สัจฉกิ ริ ยิ ายะ เพอ่ื ทาํ นิพพานให้แจง้ และยงั มีอยู่อกี มากมาย เช่น ๕.๑ ช่อื วา่ เป็นผไู้ มป่ ระมาท ๕.๒ ชื่อว่าเป็นผู้ได้ปอ้ งกันภัยในอบายภูมิท้งั สี่ ๕.๓ ชอ่ื วา่ ได้บาํ เพญ็ ไตรสกิ ขา ๕.๔ ชื่อวา่ ได้เดินทางสายกลาง คอื มรรค ๘ ๕.๕ ช่ือวา่ ไดบ้ ูชาพระพทุ ธเจา้ ดว้ ยการบูชาอยา่ งสูงสุด ๕.๖ ชื่อว่าไดบ้ ําเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา ใหเ้ ป็นอปุ นสิ ยั ปจั จยั ไปในภายหน้า ๕.๗ ชื่อวา่ ได้ปฏบิ ัติถูกต้องตามพระไตรปฎิ กโดยแทจ้ รงิ ๕.๘ ชอ่ื วา่ เป็นผู้มชี วี ติ ไม่เปลา่ ประโยชนท์ ้งั สาม ๕.๙ ชื่อว่าเปน็ ผ้เู ขา้ ถงึ พระรัตนตรัย อย่างถูกต้อง ๕.๑๐ ช่อื วา่ ได้ปฏิบัตเิ พื่อใหเ้ กดิ วิปัสสนาญาณ ๑๖ ๕.๑๑ ช่ือว่าได้สั่งสมอริยทรัพยไ์ ว้ในภายใน ๕.๑๒ ชื่อว่าเปน็ ผู้มาดไี ปดอี ยู่ดีกินดีไม่เสยี ทที ่เี กิดมาพบพระพทุ ธศาสนา ๕.๑๓ ชือ่ วา่ ไดร้ ักษาอมตมรดกของพระสมั มาสมั พุทธเจา้ ไวเ้ ป็นอยา่ งดี ๕.๑๔ ชอ่ื ว่าได้ช่วยกนั เผยแผ่พระพทุ ธศาสนาให้เจริญรงุ่ เรอื งย่ิง ๆ ขึน้ ไปอีก ๕.๑๕ ชือ่ วา่ ไดเ้ ปน็ ตวั อย่างอันดีงามแก่อนุชนรนุ่ หลัง ๕.๑๖ ช่อื วา่ ตนเองได้มธี นาคารบุญติดตัวไปทกุ ฝกี า้ ว หลักการใหญ่ของพระพทุ ธศาสนาพระสัมมาสมั พทุ ธเจ้าหลงั จากพระองคท์ รงตรัสรไู้ ด้ ๙ เดือน วนั นน้ั ตรงกับข้นึ ๑๕ คาํ่ เดอื น ๓เป็นวันท่พี วกเราเรยี กกันวา่ วันมาฆบชู า พระองคท์ รงวางหลักสตู รการสอนให้พระอรหนั ตสาวกใชเ้ ป็นหลกั ในการเผยแผ่พระพทุ ธศาสนามหี ลักใหญอ่ ยู่ ๓ ประการ คอื๑. สัพพะปาปัสสะอะกะระณงั - การไม่ทาํ บาปทง้ั ปวง๒. กุสะลสั สูปะสมั ปะทา - การทํากุศลให้ถงึ พรอ้ ม๓. สะจิตตะปะริโยทะปะนัง - การชําระจิตของตนให้บริสทุ ธิ์ละความช่วั (ทุจรติ ๑๐ ) อกุศลกรรมบถกายกรรม ๓ ๑. ฆา่ สตั ว์ ๒. ลกั ทรพั ย์ ๓. ประพฤตผิ ิดในกามวจีกรรม ๔ ๑. พูดเท็จ ๒. พูดหยาบ ๓. พูดส่อเสยี ด ๔. พูดเพ้อเจอ้มโนกรรม ๓ ๑. โลภะ (โลภ) ๒. โทสะ (โกรธ) ๓. โมหะ (หลง)ทาํ ความดี บญุ กิริยาวตั ถุ ๑๐๑. การบริจาคทาน ๒. การรกั ษาศลี๓. การเจริญภาวนา ๔. การประพฤติออ่ นนอ้ มถ่อมตนต่อผใู้ หญ่๕. การขวนขวายในกจิ ท่ชี อบ ๖. การใหส้ ่วนบญุ๗. การอนุโมทนาส่วนบญุ ๘. การฟงั ธรรม๙. การแสดงธรรม ๑๐. การทําความเห็นให้ตรง
๒๙มโนกรรม (กิเลส) มี ๓ ระดบั คือโลภะ (โลภ) อยา่ งหยาบปราบด้วยศลี อยา่ งกลางปราบดว้ ยสมาธิโทสะ (โกรธ) อย่างละเอยี ดปราบดว้ ยปัญญาโมหะ (หลง)การทําจติ ให้บริสทุ ธติ์ ้องเจรญิ กรรมฐาน กรรมฐานมี ๒ อย่างคือ๑. สมถกรรมฐานเป็นอุบายให้จิตสงบ ๒. วปิ สั สนากรรมฐาน เป็นอบุ ายให้เกดิ ปัญญาบริสุทธชิ์ วั่ ขณะ แบง่ อารมณ์ออกเปน็ ทาํ ให้จิตบรสิ ทุ ธติ์ ลอดไป มีอารมณ์อยู่กบั๔๐ อยา่ ง มี ๗ หมวด วิปสั สนาภมู ิ ๖ อยา่ ง คอื๑. กสณิ ๑๐ ๑. ขนั ธ์ ๕๒. อสภุ ๑๐ ๒. อายตนะ ๑๒๓. อนสุ ติ ๑๐ ๓. ธาตุ ๑๘๔. พรหมวหิ าร ๔ ๔. อินทรยี ์ ๒๒๕. อาหาเรปฏิกูลสญั ญา ๑ ๕. อรยิ สจั ๔๖. จตุธาตวุ วฎั ฐาน ๑ ๖. ปฏิจจสมปุ บาท ๑๒๗. อรปู ธรรม ๔ วิธสี มาทานกรรมฐานและการแสดงตนเปน็ พทุ ธมามกะ ๑. ถวายสักการะตอ่ พระอาจารยผ์ ใู้ ห้กรรมฐาน ๒. จุด เทียน ธปู บูชาพระรัตนตรยั ๓. ถ้าเปน็ พระ ใหแ้ สดงอาบตั ิก่อน ๔. คฤหสั ถ์ รบั ศลี กอ่ น ๕. มอบกายถวายชวี ิตต่อพระรตั นตรยั ดงั น้ี อมิ าหงั ภะคะวา อตั ตะภาวงั ตุมหากงั ปะริจจะชามิ ขา้ แตอ่ งคส์ มเดจ็ พระผมู้ ีพระภาคเจา้ ขา้ พระองค์ขอมอบกายถวายชวี ติ ตอ่ พระรตั นตรยั คอื พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ ๖. มอบกายถวายตวั ตอ่ พระอาจารย์ ดงั นี้ อิมาหงั อาจารยิ ะ อตั ตะภาวงั ตมุ หากัง ปะรจิ จะชามิ ขา้ แตพ่ ระอาจารย์ผเู้ จริญข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตวั ตอ่ ครบู าอาจารย์ เพ่ือเจรญิ วิปสั สนากรรมฐาน ๗. ขอพระกรรมฐาน นพิ พานสั สะ เม ภันเต สจั ฉกิ ะระณัตถายะ กมั มฏั ฐานงั เทหิ ขา้ แตท่ ่านผเู้ จรญิ ขอทา่ นจงใหก้ รรมฐานแกข่ ้าพเจ้า เพือ่ ทําให้แจง้ ซึ่งมรรคผลนิพพานต่อไป ๘. แผ่เมตตา อะหัง สขุ โิ ต โหมิ ขอใหข้ ้าพเจ้าถึงสุข ปราศจากทกุ ข์ ไมม่ เี วร ไม่มภี ัย ไมม่ ีความลาํ บากไม่มคี วามเดือดร้อน ขอให้มคี วามสุข รกั ษาตนอยู่เถิด สัพเพ สัตตา สขุ ิตา โหนตุ ขอใหส้ ตั ว์ทั้งหลาย ทกุ ตัวตน ตลอดเทพบุตรเทพธิดาทุกพระองค์ พระภิกษุสามเณร และผปู้ ฏบิ ตั ิธรรมทกุ ทา่ น ขอท่านจงมคี วามสขุ ปราศจากทุกข์ ไม่มีเวรไมม่ ีภยั ไมม่ ีความลําบาก ไมม่ คี วามเดอื ดรอ้ น ขอใหม้ ีความสุข รักษาตนอยู่เถดิ ๙. เจริญมรณานสุ สติ อัทธุวงั เม ชวี ิตงั ชวี ติ ของเราไม่แนน่ อน ความตายของเราแน่นอนเราตอ้ งตายแน่ เพราะชีวิตของเรา มคี วามตายเปน็ ที่สดุ นับว่าเป็นโชคอันดแี ล้วทเ่ี ราได้เข้ามาปฏบิ ตั วิ ปิ สั สนากรรมฐาน ณโอกาสบัดนี้ ไม่เสยี ทท่ี ีไ่ ด้เกดิ มาพบพระพุทธศาสนา
๓๐ ๑๐. ตัง้ สจั จะอธษิ ฐาน และปฏิญาณตนตอ่ พระรัตนตรัยและครบู าอาจารย์ เยเนวะ ยันติ นพิ พานงั พระพทุ ธเจ้าและพระอรหนั ตสาวก ได้ดาํ เนนิ ไปสพู่ ระนิพพานด้วยหนทางเส้นน้ี ข้าพเจา้ ขอต้งั สจั จะอธษิ ฐาน ปฏิญาณตนตอ่ พระรัตนตรยั และครบู าอาจารย์ว่าต้ังแตบ่ ัดนี้ต่อไป ขา้ พเจา้ จะตั้งอกตง้ั ใจ ประพฤตแิ ละปฏบิ ตั ิ เพื่อใหบ้ รรลมุ รรคผล ดําเนนิ รอยตามพระองค์ท่าน อมิ ายะ ธมั มานธุ ัมมะปะฏิปัตตยิ า ระตะนตั ตะยงั ปูเชมิ ข้าพเจ้าขอบชู าพระรัตนตรยั ดว้ ยการปฏบิ ัติธรรม สมควรแกม่ รรคผลนพิ พานน้ี ด้วยสัจจะวาจาทก่ี ล่าวอ้างน้ี ขอให้ขา้ พเจา้ ได้บรรลุมรรคผลนิพพานด้วย เทอญฯ ๑๑. สวดพุทธคณุ ธรรมคุณ สังฆคณุ เสรจ็ แล้วกราบ ๓ ครงั้ ๑๒. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ผทู้ จ่ี ะแสดงตนเป็นพทุ ธมามกะ พึงปฏบิ ัติ ดงั นี้ ๑๒.๑ ถวายสกั การะต่อพระอาจารย์ ๑๒.๒ จดุ เทยี น ธูป บชู าพระรตั นตรัย ๑๒.๓ กล่าวแสดงตนเป็นพทุ ธมามกะ ดังน้ี เอสาหัง ภันเต สจุ ริ ะปะรนิ ิพพตัมปิ ตัง ภะคะวนั ตัง สะระณงั คัจฉามิ ธัมมญั จะภิกขสุ ังฆญั จะ พุทธมามะโกติ (มกิ าต)ิ มัง ภนั เต สงั โฆ ธาเรตุ อชั ชะตัคเค ปาณเุ ปตัง สะระณงั คะตงั ข้าแตท่ า่ นผู้เจริญ ขา้ พเจ้าขอถงึ สมเด็จพระผมู้ พี ระภาคเจ้า แม้เสดจ็ ดบั ขันธปรินิพพานนานแลว้ กับท้งั พระธรรมและพระสงฆ์ วา่ เปน็ ทพี่ ึง่ ทร่ี ะลกึ ขอพระสงฆ์จงจําขา้ พเจา้ ไวว้ ่า เปน็ พุทธมามกะ(มามกิ า) ในธรรมวนิ ัย ผถู้ ึงพระรัตนตรยั เป็นสรณะตลอดชีวติ ต้ังแต่บัดน้ีเป็นต้นไป ๑๒.๔ รับศลี ธรุ ะในพระศาสนา ๑. คนั ถธรุ ะ (the burden of studying the Scriptures) ๒. วปิ สั สนาธรุ ะ (the burden of contemplation; obligation of introspection; taskof meditation practice.) คันถธรุ ะ ไดแ้ ก่ การศกึ ษาเล่าเรยี นใหร้ ู้เรอื่ งพระศาสนาและหลักศีลธรรม วปิ สั สนาธรุ ะ ไดแ้ ก่ ธรุ ะหรอื งานอยา่ งสูงในพระศาสนา ซึ่งเปน็ งานทีจ่ ะชว่ ยให้ผนู้ บั ถือพระพุทธศาสนาไดร้ จู้ กั ดับทุกขอ์ อกจากตน มากนอ้ ยตามควรแกก่ ารปฏิบตั ิทางน้ีทางเดียวเทา่ น้ันที่จะทําให้พ้นทกุ ข์ ตัง้ แต่ทกุ ขเ์ ล็กจนทกุ ขใ์ หญ่ เช่นการ เกดิ แก่ เจบ็ ตาย และเปน็ ทางปฏิบัติท่มี อี ยูใ่ นศาสนาของพระพทุ ธเจ้าเทา่ นนั้ วิปสั สนาธุระ ส่วนมากเรารยี กกันว่า วปิ สั สนากรรมฐานนน่ั เอง เมอ่ื กลา่ วถงึ กรรมฐาน ขอใหผ้ ู้ปฏิบตั ิแยกกรรมฐานออกเปน็ ๒ ประเภทเสยี ก่อน การปฏิบตั จิ งึ จะไมป่ ะปนกนั กรรมฐาน ๒ ประเภท คือ ๑. สมถกรรมฐาน (concentration development; the method and practice ofconcentrating the mind; tranquillity development) กรรมฐานชนดิ นเี้ ปน็ อบุ ายให้ใจสงบคอื ใจท่ีอบรมในทางสมถแล้วจะเกดิ นง่ิ และเกาะอย่กู บั อารมณห์ นง่ึ เพียงอย่างเดียว อารมณ์ของสมถกรรมฐานน้ัน ๒. วปิ สั สนากรรมฐาน (insight development) เป็นอุบายใหเ้ รอื งปญั ญา คือเกิดปญั ญาเหน็แจง้ หมายความวา่ เหน็ ปจั จบุ นั เหน็ รปู นาม เหน็ พระไตรลักษณ์ และเหน็ มรรค ผล นิพพานการเรยี นวปิ สั สนากรรมฐานนนั้ เรียนได้ ๒ อย่าง คอื ๑. เรียนอนั ดบั ๒. เรียนสันโดษ การเรียนอันดบั คอื การเรยี นให้รจู้ ัก ขันธ์ ๕ ว่า ได้แก่อะไรบา้ ง ยอ่ ใหส้ น้ั ในทางปฏบิ ตั เิ หลือ
๓๑เท่าใด ได้แก่อะไร เกดิ ทไ่ี หน เกิดเมือ่ ไร เม่อื เกิดข้นึ แลว้ อะไรจะเกิดตามมาอีก จะกําหนดตรงไหนจึงจะถูกขนั ธ์ ๕ เมอ่ื กาํ หนดถูกแล้วจะไดป้ ระโยชน์อย่างไรบา้ งเปน็ ต้น นอกจากนี้กต็ ้องเรียนใหร้ เู้ ร่ืองในอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อรยิ สัจ ๔ ปฏจิ จสมุปบาท ๑๒ โดยละเอียดเสียกอ่ น เรียกวา่เรยี นภาคปรยิ ตั ิ วปิ สั สนาภูมินัน่ เอง แลว้ จึงจะลงมือปฏิบัตไิ ด้ การเรยี นสนั โดษ คือการเรยี นยอ่ ๆ สนั้ ๆ สอนเฉพาะทจี่ ะตอ้ งปฏบัติเทา่ น้นั เรียนชว่ั โมงน้กี ็ปฏิบตั ชิ ั่วโมงน้ีเลย เช่น สอนการเดนิ จงกรม สอนวธิ นี ่ังกําหนดสอนวิธีกําหนดเวทนา สอนวิธกี าํ หนดจติแล้วลงมือปฏิบัตเิ ลย วิธปี ฏบิ ตั ิ ๑. การเดินจงกรม (walking up and down) ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลังมือขวาจับข้อมือซ้ายวางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่ปลายผม กําหนดว่า ยืนหนอช้า ๆ ๕ ครั้ง เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าข้ึนไปบนศีรษะกลับข้ึนกลับลงจนครบ ๕ ครั้งแต่ละคร้ังแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรก คําว่ายืนกําหนดความรู้สึกต้ังแต่ศีรษะลงมาหยุดท่ีสะดือ คําว่า หนอ จากละดือลงไปปลายเท้า กําหนดข้ึนคําว่า ยืน จากปลายเท้า มาหยุดท่ีสะดือ คําว่า หนอ จากสะดือขึ้น ไปปลายผม กําหนด กลับไป กลับมา จนครบ ๕ คร้ัง ขณะนั้นให้ สติอยู่ท่ีร่างกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย เสรจ็ แล้วลมื ตาขึ้น ก้มหน้า ทอดสายตาไป ข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก สติจับอยู่ท่ีเท้า การเดิน กําหนดว่าขวา ย่าง หนอ กําหนดในใจ คําว่า ขวา ต้องยกส้นเท้าขวาข้ึนจากพ้ืนประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อมกัน ย่าง ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าท่ีสุดเท้ายังไม่เหยียบพน้ื คําว่า หนอ เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กําหนดว่า ซ้าย ย่าง หนอ คงปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ ขวา ย่าง หนอ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมากเพ่ือการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เม่ือเดินสุดสถานที่ใช้แลว้ ให้นําเท้ามาเคียงกัน เงยหน้าหลับตา กําหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ คร้ังเหมือนกับท่ีได้อธบิ ายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกําหนดว่า กลับ หนอ ๔ ครั้ง คําว่ากลับหนอคร้ังทหี่ นงึ่ ยกปลายเท้าขวา ใชส้ น้ เท้าหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา ครง้ั ท่ี ๒ ลากเท้าซ้ายมาตดิ กับเท้าขวาครั้งที่ ๓ ทําเหมือนครั้งที่หนึ่ง ครั้งท่ี ๔ ทําเหมือนคร้ังท่ี ๒ ขณะน้ีจะอยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกําหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตาก้มหน้าแล้วกําหนดเดินตอ่ ไป กระทําเช่นนจี้ นหมดเวลาท่ีต้องการ ๒. การนั่ง (to sit (flat on the haunches) cross-legged) กระทําต่อจากการเดินจงกรมอย่าให้ขาดตอนลงเม่ือเดินจงกรมถึงที่จะน่ัง ให้กําหนด ยืน หนอ อีก ๕ คร้ัง ตามที่กระทํามาแลว้ เสียก่อน แล้วกําหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่าปล่อยมือหนอ ๆ ๆ ๆ
๓๒ๆ ชา้ ๆ จนกว่าจะลงสุด เวลานั่งค่อย ๆ ย่อตัวลงพร้อมกับกําหนดตามอาการท่ีทําไปจริง ๆ เช่น ย่อตัวหนอ ๆๆๆ เท้าพืน้ หนอ ๆๆๆ คกุ เข่าหนอ ๆ ๆ ๆ นงั่ หนอ ๆ ๆ ๆ เป็นตน้ อย่าใหส้ ติขาดตอน วิธีนั่ง ให้น่ังขัดสมาธิ คือขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา เอาสติมาจับอยู่ท่ีสะดือที่ท้องพองยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง กําหนดว่า พอง หนอ ใจนึกกับท้องท่ีพองต้องให้ทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออกท้องยุบ กําหนดว่า ยุบ หนอ ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน ข้อสําคัญให้สติจับอยู่ท่ี พอง ยุบ เท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้อง ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า ท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาทางหลัง อย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองข้ึนข้างบนท้องยุบลงขา้ งล่าง ใหก้ าํ หนดเชน่ นี้ตลอดไป จนกวา่ จะถึงเวลาที่กําหนด เม่ือมีเวทนา เวทนาเปน็ เรือ่ งสาํ คัญทสี่ ดุ จะตอ้ งบังเกิดขึ้นกับผปู้ ฏบตั ิแน่นอนจะตอ้ งมีความอดทนเพื่อเป็นการสร้างขนั ติบารมีไปด้วย ถา้ ผ้ปู ฏบิ ัติขาดความอดทนเสียแล้วการปฏบิ ัติวปิ ัสสนากรรมฐานน้นั กล็ ม้ เหลว ในขณะที่น่ังหรอื เดนิ จงกรมอย่นู ั้น ถ้ามเี วทนาความเจบ็ ปวด เม่อื ย คัน เกิดข้ึน ใหห้ ยุดเดนิหรอื หยดุ กําหนดพองยุบ ให้เอาสตไิ ปตงั้ ไว้ที่เวทนาเกดิ และกําหนดไปตามความเป็นจริงว่าปวดหนอ ๆๆ ๆ เจบ็ หนอๆๆๆเม่อื ยหนอ ๆ ๆ ๆ คันหนอ ๆ ๆ ๆ เปน็ ตน้ ให้กาํ หนดไปเรอื่ ย ๆ จนกวา่ เวทนาจะหายไปเม่ือเวทนาหายไปแล้ว ก็ใหก้ าํ หนดน่ังหรือเดนิ ต่อไป จิต เวลานั่งอยหู่ รือเดินอยู่ ถ้าจิตคดิ ถึงบา้ น คดิ ถึงทรัพย์สิน หรอื คดิ ฟุ้งซา่ นต่าง ๆ นานากใ็ ห้เอาสตปิ ักลงท่ลี ิ้นป่ี พรอ้ มกบั กาํ หนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเร่ือย ๆ จนกวา่ จติ จะหยุดคิดแม้ดใี จเสยี ใจ หรอื โกรธ ก็กําหนดเช่นกนั ว่า ดใี จหนอ ๆ ๆ ๆ เสียใจหนอ ๆ ๆ ๆ โกรธหนอ ๆ ๆ ๆ เป็นตน้ เวลานอน เวลานอนคอ่ ย ๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกําหนดตามไปวา่ นอนหนอ ๆ ๆ ๆจนกว่าจะนอนเรียบรอ้ ย ขณะน้นั ให้เอาสติจบั อยูก่ ับอาการเคล่อื นไหวของรา่ งกาย เม่ือนอนเรียบร้อยแลว้ให้เอาสตจิ ับทท่ี อ้ ง แล้วกาํ หนดวา่ พอง หนอ ยุบ หนอ ตอ่ ไปเร่อื ย ๆ ให้คอยสงั เกตให้ดีวา่ จะหลบั ไปตอนพอง หรอื ตอนยุบ อริ ยิ าบถต่าง ๆ การเดินไปในทต่ี ่าง ๆ การเข้าหอ้ งน้าํ การเขา้ หอ้ งสว้ ม การรับประทาน-อาหาร และการกระทํากิจการงานทง้ั ปวง ผูป้ ฏบิ ัติตอ้ งมีสติกําหนดอยู่ทกุ ขณะในอาการเหล่าน้ี ตามความเปน็ จริง คือ มีสติ สมั ปชัญญะ เป็นปัจจบุ ันอยูต่ ลอดเวลา หมายเหตุ การเดนิ จงกรมนนั้ เราทาํ การเดนิ ได้ถงึ ๖ ระยะ การเดินระยะต่อไปนน้ั จะตอ้ งเดนิ ระยะที่ ๑ ใหถ้ กู ต้องคือ ไดป้ จั จุบัน ทําจรงิ ๆ จึงจะเพ่มิ ระยะตอ่ ไปใหต้ ามผลของการปฏบิ ตั ิแต่ละบุคคล กําหนดเดนิ ระยะต่าง ๆ ดงั น้ี ทา่ เดนิ ระยะที่ ๑ ขวาย่างหนอ
๓๓ท่าเดิน ระยะท่ี ๒ ยกหนอ เหยียบหนอท่าเดิน ระยะท่ี ๓ ยกหนอ ยา่ งหนอ เหยียบหนอท่าเดิน ระยะท่ี ๔ ยกส้นหนอ ยกหนอ ยา่ งหนอ เหยียบหนอท่าเดิน ระยะที่ ๕ ยกสน้ หนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถกู หนอ
๓๔ ท่าเดนิ ระยะที่ ๖ ยกสน้ หนอ ยกหนอ ยา่ งหนอ ลงหนอ ถกู หนอ กดหนออานิสงสใ์ นการเดนิ จงกรม ๑. อดทนตอ่ การเดนิ ทางไกล ๒. อดทนตอ่ การทําความเพียร ๓. มีอาพาธนอ้ ย ๔. ย่อยอาหารไดด้ ี ๕. สมาธิที่ได้ขณะเดนิ ต้ังอย่ไู ดน้ าน การกาํ หนดเมือ่ รบั รู้อารมณต์ ่าง ๆ ๑. ตาเหน็ รปู จะหลบั ตาหรอื ลมื ตากแ็ ลว้ แต่ ให้ตง้ั สตไิ ว้ท่ีตา กําหนดว่า เห็นหนอ ๆ ๆ ๆไปเรือ่ ย ๆ จนกวา่ จะรูส้ ึกว่าเห็นกส็ กั แต่วา่ เห็น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้ ถ้าหลับตาอย่กู ็กาํ หนดไปจนกว่าภาพน้ันจะหายไป ๒. หไู ด้ยนิ เสยี ง ใหต้ ้งั สตไิ ว้ทหี่ ู กาํ หนดวา่ เสียงหนอ ๆ ๆ ๆ หรอื ไดย้ ินหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรอื่ ย ๆจนกว่าจะรสู้ กึ เสยี งก็สกั แต่ว่าเสียง ละความพอใจและความไมพ่ อใจออกเสียได้ ๓. จมูกได้กลน่ิ ตง้ั สตไิ ว้ท่ีจมกู กาํ หนดว่า กล่นิ หนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรอ่ื ย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ากลน่ิ ก็
๓๕สกั แต่วา่ กลน่ิ ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้ ๔. ลิน้ ได้รส ตง้ั สตไิ ว้ทลี่ ิ้น กาํ หนดวา่ รสหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรอ่ื ย ๆ จนกวา่ จะรสู้ กึ วา่ รสกส็ กั แตว่ า่รส ละความพอใจและความไมพ่ อใจออกเสยี ได้ ๕. การถกู ต้องสมั ผสั ตง้ั สติไว้ตรงทีส่ มั ผัส กาํ หนดตามความเปน็ จรงิ ทเ่ี กิดขนึ้ ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสยี ได้ ๖. ใจนึกคดิ อารมณ์ ตงั้ สตไิ วท้ ล่ี ้ินป่ี กาํ หนดว่า คดิ หนอ ๆ ๆ ๆ ไปเร่อื ย ๆ จนกวา่ ความนกึ คิดจะหายไป ๗. อาการบางอยา่ งเกิดขน้ึ กําหนดไมท่ ัน หรือกําหนดไม่ถูกว่าจะกาํ หนดอยา่ งไร ตั้งสติไว้ทล่ี ้ินปี่กาํ หนดว่า รู้หนอ ๆ ๆ ๆ ไปเร่อื ย ๆ จนกวา่ อาการนัน้ จะหาย การทเี่ รากําหนดจิต และต้งั สติไว้เช่นนี้ เพราะเหตุว่าจติ ของเราอยู่ใตบ้ งั คับของความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่น ตาเห็นรูป ชอบใจเปน็ โลภะ ไม่ชอบใจเปน็ โทสะ ขาดสติไมไ่ ดก้ ําหนดเป็นโมหะ หไู ดย้ ินเสียง จมกู ได้กล่ิน ลนิ้ ไดร้ ส กายถูกตอ้ งสมั ผสั ก็เชน่ เดยี วกนั การปฏบิ ัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยเอาสตเิ ขา้ ไปตัง้ กาํ กบั ตามอายตนะน้ัน เมือ่ ปฏบิ ัตไิ ดผ้ ลแก่กลา้ แลว้ ก็จะเข้าตดั ท่ีตอ่ ของอายตนะต่าง ๆ เหล่าน้ันมใิ หต้ ดิ ตอ่ กันได้ คือวา่ เมอ่ื เห็นรปู กส็ ักแตว่ ่าเห็น เมือ่ ไดย้ นิ เสยี งกส็ ักแตว่ ่าได้ยนิ ไม่ทาํ ความรูส้ ึกนกึ คิดปรงุ แต่ให้เกิดความพอใจหรอื ความไม่พอใจในส่ิงที่ปรากฎใหเ้ ห็นและได้ยินนนั้ รปู และเสยี ง ทไ่ี ด้เห็นและไดย้ นิ น้ันก็จะดับไป เกิดและดบั อยทู่ ่นี ัน้ เองไมไ่ หลเขา้ มาภายใน อกศุ ลธรรมความทกุ ขร์ อ้ นใจท่ีคอยจะติดตาม รูป เสยี ง และอายตนะภายนอกอน่ืๆ เข้ามากเ็ ข้าไมไ่ ด้ สติทีเ่ กิดขน้ึ ขณะปฏิบตั ิวิปสั สนากรรมฐานนนั้ นอกจากจะคอยสกัดกั้นอกศุ ลธรรมและความทุกข์รอ้ นใจท่ีจะเข้ามาทางอายตนะแล้ว สติเพง่ อยูท่ ่ี รูป นาม เม่ือเพ่งเลง็ อยู่ก็ยอ่ มเห็นความเกดิ ดบั ของ รปูนาม นนั้ จะนาํ ไปส่กู ารเห็นพระไตรลกั ษณ์ คือความไมเ่ ท่ียง ความเป็นทกุ ข์ และความไม่มตี วั ตนของสงั ขารหรืออัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง สตปิ ฎั ฐาน ๔ (Foundations of Mindfulness; setting up of mindfulness) มักจะมีคาํ ถามอย่เู สมอว่า เราจะปฏบิ ตั ิธรรมในแนวไหน หรือสํานกั ใดจงึ จะเป็นการถูกต้องและไดผ้ ล คําถามเช่นนี้เป็นคําถามท่ถี กู ตอ้ งและไมค่ วรถกู ตาํ หนิวา่ ชอบเลอื กนน่ั เลือกน่ี ทถี่ ามก็เพ่ือระวงั ไว้ไมใ่ ห้เดินทางผดิ ทางปฏิบัติท่ถี กู ต้องคือปฏบิ ตั ติ ามสตปิ ัฎฐาน ๔ สตปิ ัฎฐาน ๔ แปลให้เขา้ ใจงา่ ย ๆ กค็ อื ฐานทต่ี งั้ ของสติ หรอื เหตปุ จั จยั สําหรบั ปลกู สติให้เกดิ ขึน้ ในฐานทั้ง ๔ คือ ๑. กายานปุ สั สนาสตปิ ัฎฐาน (contemplation of feelings; mindfulness as regardsfeelings) คอื การพจิ ารณากายจาํ แนกโดยละเอียดมี ๑๔ อย่าง คือ ๑.๑ อสั สาสะ ปสั สาสะ คือลมหายใจเข้าออก ๑.๒ อริ ิยาบถ ๔ ยนื เดนิ นั่ง นอน ๑.๓ อริ ิยาบถย่อย การก้าวไปข้างหนา้ ถอยไปทางหลัง คขู้ าเขา้ เหยียดขาออกงอแขนเขา้ เหยยี ดแขนออก การถา่ ยหนกั ถ่ายเบา การกิน การดื่ม การเคีย้ ว ฯลฯ คอื การเคลอ่ื นไหวร่างกายตา่ ง ๆ ๑.๔ ความเปน็ ปฏิกูลของรา่ งกาย (อาการ ๓๒) ๑.๕ การกําหนดรา่ งกายเปน็ ธาตุ ๔ ๑.๖ ปา่ ช้า ๙
๓๖ ๒. เวทนานปุ สั สนาสตปิ ัฎฐาน (contemplation of feelings; mindfulness as regardsfeelings) คอื การเจริญสติเอาเวทนาเป็นทตี่ ้งั เวทนาแปลวา่ การเสวยอารมณม์ ี ๓ อยา่ งคอื ๒.๑ สุขเวทนา ๒.๒ ทุกขเวทนา ๒.๓ อุเบกขาเวทนา เมอ่ื เวทนาเกดิ ขึน้ ก็ใหส้ ติสมั ปชญั ญะกําหนดไปตามความเป็นจริงวา่ เวทนาน้เี มอื่เกิดขึ้น ต้ังอยู่ ดบั ไป ไม่เทีย่ งแท้แน่นอน เวทนากส็ กั แตว่ ่าเวทนา ไม่ใชส่ ัตวบ์ คุ คลตัวตนเราเขา ไม่ยนิ ดียินรา้ ย ตัณหากจ็ ะไมเ่ กิดขึน้ และปล่อยวางเสยี ได้ เวทนาน้ีเม่อื เจริญใหม้ าก ๆ เป็นไปอยา่ งสมบรู ณแ์ ล้วอาจทําใหท้ ุกขเวทนาลดนอ้ ยลงหรอื ไม่มอี าการเลยก็เปน็ ได้อยา่ งทเ่ี รียกกนั ว่าสามารถแยก รปู นามออกจากกันได้ (เวทนาอย่างละเอียด ๙ อย่าง)๓. จิตตานปุ สั สนาสตปิ ัฎฐาน (contemplation of mind; mindfulness as regardsthoughts) ได้แก่ การปลกู สติโดยเอาจิตเปน็ อารมณห์ รอื เป็นฐาน ทต่ี ้ังจิตนม้ี ี ๑๖ คอื๓.๑ จติ มีราคะ ๓.๒ จิตปราศจากราคะ๓.๓ จิตมีโทสะ ๓.๔ จติ ปราศจากโทสะ๓.๕ จิตมโี มหะ ๓.๖ ปราศจากโมหะ๓.๗ จิตหดหู่ ๓.๘ จติ ฟุ้งซา่ น๓.๙ จติ ยิ่งใหญ่ (มหัคคตจติ ) ๓.๑๐ จติ ไมย่ งิ่ ใหญ่ (อมหัคคตจติ )๓.๑๑ จิตย่ิง (สอตุ ตรจิต) ๓.๑๒ จิตไม่ยงิ่ (อนุตตรจติ )๓.๑๓ จิตตง้ั มน่ั ๓.๑๔ จติ ไม่ต้งั ม่นั๓.๑๕ จติ หลดุ พ้น ๓.๑๖ จิตไม่หลดุ พ้นการทาํ วิปสั สนาใหม้ สี ตพิ ิจารณากาํ หนดใหเ้ หน็ วา่ จติ นี้เมื่อเกิดข้ึน ต้งั อยดู่ ับไป ไมเ่ ท่ยี งแท้แนน่ อนละความพอใจและความไมพ่ อใจออกเสยี ได้ ๔. ธัมมานปุ สั สนาสตปิ ฎั ฐาน (contemplation of mind-objects; mindfulness asregards ideas) คอื มสี ติพิจารณาธรรมทง้ั หลายท้ังปวง คือ ๔.๑ นวิ รณ์ (hindrances; obstacles) คือ รูช้ ดั ในขณะนั้นว่านิวรณ์ ๕ แตล่ ะอยา่ งมอี ยใู่ นใจหรือไม่ ทย่ี งั ไมเ่ กิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกดิ ขึ้นแลว้ ละเสยี ได้อย่างไร ทลี่ ะได้แล้วไมเ่ กิดข้นึ อีกต่อไปอย่างไร ใหร้ ูช้ ดั ตามความเป็นจริงทเี่ ปน็ อยู่ในขณะนน้ั ๔.๒ ขนั ธ์ ๕ (the Five Aggregates) คอื กําหนดรวู้ ่าขนั ธ์ ๕ แตล่ ะอย่างคืออะไรเกดิ ขนึ้ ไดอ้ ย่างไร ดับไปไดอ้ ย่างไร ๔.๓ อายตนะ (the Twelve Spheres) คอื ร้ชู ัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอยา่ งรชู้ ดั ในสังโยชน์ทเี่ กดิ ข้นึ เพราะอาศัยอายตนะนน้ั ๆ ร้ชู ัดว่าสงั โยชน์ท่ยี งั ไม่เกิด เกิดขนึ้ ได้อย่างไร ทเ่ี กิดขึน้แล้วละเสยี ได้อย่างไร ๔.๔ โพชฌงค์ (Constituents (or Factors) of Enlightenment; wisdom-factors) คือ รู้ชัดในขณะน้นั วา่ โพชฌงค์ ๗ แต่ละอย่างมีอยใู่ นใจตนหรอื ไม่ทยี่ งั ไมเ่ กดิ เกดิ ข้นึ ไดอ้ ย่างไร ทเ่ี กดิ ข้นึ แล้วเจรญิ เตมิ บริบรู ณไ์ ด้อย่างไร ทีเ่ กิดขนึ้ แล้วเจรญิ เตม็ บรบิ รู ณ์ได้อยา่ งไร ๔.๕ อรยิ สัจ ๔ (the Four Noble Truths) คือ รชู้ ัดอริยสจั ๔ แตล่ ะอย่างตามความเป็นจริงวา่ คืออะไร สรุป ธมั มานุปสั สนาสติปฎั ฐาน นี้ คือ จิต ท่ีคดิ เป็น กศุ ล อกศุ ล และอพั ยากฤต เทา่ นน้ั ผปู้ ฏิบัตสิ ตปิ ฎั ฐาน ๔ ต้องทําความเข้าใจอารมณ์ ๔ ประการใหถ้ กู ตอ้ ง คือ
๓๗ ๑. กาย ท่ัวรา่ งกายนไี้ มม่ ีอะไรสวยงามแมแ้ ต่สว่ นเดยี ว ควรละความพอใจและความไม่พอใจออกเสยี ได้ ๒. เวทนา สขุ ทุกข์ และไมส่ ุขไมท่ กุ ขน์ ัน้ แท้จรงิ แลว้ มีแต่ทุกข์ แม้เป็นสขุ กเ็ พยี งปดิ บังความทุกขไ์ ว้ ๓. จิต คอื ความคดิ นกึ เปน็ สิง่ ท่ีเปลี่ยนแปลงแปรผันไม่เทยี่ งไมค่ งทน ๔. ธรรม คือ อารมณ์ทเ่ี กดิ กับจิต อาศัยเหตปุ จั จัยเกิดขึน้ เมอ่ื เหตปุ จั จยั ดับไปอารมณ์นนั้ ก็ดบั ไปด้วย ไม่มีสิ่งเปน็ อัตตาใด ๆ เลย สติปัฎฐาน ๔ ทงั้ ๔ ขอ้ มีการเกย่ี วโยงกนั ตลอด ผู้ปฏิบตั ิชาํ นาญแลว้ จะปฏบิ ตั ิขอ้ ใดขอ้ หน่งึ ก็ได้ เพราะทุกข้อเม่อื ปฏบิ ตั ิแล้วกส็ ามารถรู้ รปู นาม เกดิ ดบั เห็นไตรลักษณด์ ว้ ยกนั ทัง้ สนิ้ กาย ธรรม ปญั ญา เวทนา จิต ภาพแสดงสติปฎั ฐาน ๔
๓๘ การพฒั นาจรยิ ธรรมกาํ ลงั พลของกองทัพบก (Moral development of Army troops.).............................................................................................................................สาระการเรยี นรู้ ๑. หลักสตู รการพฒั นาบุคลากรกองทพั บกและโครงการปฏบิ ัตธิ รรมในพรรษา ๒. หลกั สูตรการศาสนาและศีลธรรม ๓. การอบรมศีลธรรมวัฒนธรรมทหารประจําเดอื น ๔. การอบรมพธิ กี รดา้ นศาสนาประเพณีและวัฒนธรรมไทยวัตถุประสงค์ เมอื่ ศกึ ษาบทเรยี นน้จี บแล้ว ผเู้ ขา้ รบั การศึกษาสามารถ ๑. อธบิ ายการดาํ เนนิ ตามนโยบายของ ทบ.ด้านการพัฒนาคณุ ธรรมได้ ๒. บอกคุณสมบัติและแนวทางการปฏิบัตขิ องผูท้ ีจ่ ะเขา้ ร่วมโครงการปฏิบตั ิธรรมในพรรษาได้ ๓. บอกจุดมุง่ หมายของหลกั สตู รการศาสนาและศลี ธรรมได้ ๔. บอกความสําคัญและวธิ ีการปฏบิ ตั ิในการอบรมศลี ธรรมประจาํ เดอื นได้ ๕. บอกคณุ สมบตั ิและจุดมุง่ หมายของผูเ้ ข้ารับการอบรมพธิ ีกรดา้ นศาสนาประเพณวี ัฒนธรรมไทยได้กิจกรรมระหว่างเรียน ๑. บรรยาย ๒. สอบถาม ๓. ใบงานสือ่ การสอน ๑. เพาเวอรพ์ อยท์ ๒. เอกสารตาํ รา ๓. คลปิ วีดิโอทเ่ี กยี่ วข้องประเมนิ ผล ๑. ใหต้ อบคําถาม ๒. แบบทดสอบหลงั เรยี น
๓๙ การพัฒนาจรยิ ธรรมกาํ ลงั พลของกองทัพบก กองอนุศาสนาจารย์ มีหน้าท่ีรับผิดชอบกิจการ อศจ.ทบ. อํานวยการและดําเนินงานเก่ียวกับการศาสน ใหค้ าํ แนะนาํ แก่ผ้บู ังคับบัญชาในปัญหาทงั้ ปวงทเี่ ก่ยี วข้องกบั ศาสนาและขวัญหน้าท่ี ๑. หน้าที่ท่ัวไป : ปฏิบัติการหรืออํานวยการเก่ียวกับการศาสนา และให้คําแนะนําแก่ผบู้ งั คบั บัญชาในปัญหาทงั้ ปวงเกีย่ วกับศาสนาและขวัญ ๒. หน้าที่เฉพาะ : ปฏิบัติการเก่ียวกับการบริการทางศาสนาและวางโครงการให้ทหารมีโอกาสได้ปฏิบัตศิ าสนกิจ ๒.๑ เยย่ี มเยยี นผเู้ จบ็ ป่วยและนักโทษทหาร ๒.๒ ชว่ ยเหลือและประสานงานในการดําเนนิ การใหท้ หารมขี วัญดี ๒.๓ มีส่วนในการอบรมผู้คัดเลือกเข้ามาเป็นทหาร และทําการบรรยายอบรมทหารเกี่ยวกับศาสนา ๒.๔ ติดตอ่ ประสานงานกับองค์การสงเคราะหต์ า่ ง ๆ เชน่ สภากาชาด หรือวดั ในทอ้ งถนิ่ ๒.๕ รบั และแจกจา่ ยเอกสารเก่ียวกับศาสนา และรายงานการปฏิบตั ขิ องตน ๒.๖ ให้คําปรึกษาแก่เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และส่วนอํานวยการอื่น ๆ ในกรมยุทธศึกษาทหารบกในเรือ่ งเกี่ยวกับศาสนา ศลี ธรรม ขวญั ทหาร และกจิ การอนศุ าสนาจารย์ ๒.๗ รว่ มมือในการวางแผนอบรมคณุ ลกั ษณะทหาร ๒.๘ ดําเนินการเรื่องการกําลังพลและการฝึกฝนอนุศาสนาจารย์ให้เป็นผู้มีคุณธรรม และสมรรถภาพเหมาะสมกบั ตําแหน่งหน้าท่ี ๒.๙ เสนอความเหน็ ในการดําเนนิ กจิ การอนศุ าสนาจารย์ตอ่ เจา้ กรมยุทธศึกษาทหารบก ๒.๑๐ วางแผน จัดทําแผน และระเบียบปฏิบัติหน้าที่ของอนุศาสนาจารย์ทั้งในยามปกติและยาม-สงคราม ๒.๑๑ ติดต่อ ร่วมมือกับส่วนราชการและผู้บังคับหน่วยในกองทัพบก ในเร่ืองท่ีเกี่ยวกับกิจการในหนา้ ที่อนุศาสนาจารย์ ๒.๑๒ ควบคุมกิจการอนุศาสนาจารย์ และการปฏิบัติหน้าที่ของอนุศาสนาจารย์ประจําหน่วยในทางวทิ ยาการ ๒.๑๓ ควบคมุ ดแู ลความประพฤติของอนศุ าสนาจารย์ ๒.๑๔ อํานวยการอบรม และการสอนศีลธรรมวัฒนธรรมแก่ทหาร และบุคคลในสังกัดกองทัพบกให้มีความประพฤติและอัธยาศัยดีงาม มีขวัญและกําลังใจเข้มแข็ง มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษตั ริย์ ๒.๑๕ ดําเนนิ การในเรอื่ งการบํารงุ รกั ษาขวญั และกาํ ลงั ใจของทหาร ๒.๑๖ ปฏบิ ตั ิพธิ ีทางศาสนาและการกุศลของกองทพั บก
๔๐ การพฒั นาบคุ ลากรกองทัพบก ปีพุทธศกั ราช ๒๕๒๖ กรมยุทธศกึ ษาทหารบก ไดอ้ นมุ ัติใหอ้ นศุ าสนาจารยท์ หารบก เขา้ คา่ ยฝึกฝนพฒั นาทางจติ จํานวนทงั้ สนิ้ ๓ รุน่ ๆ ละ ๗ วนั ซ่ึงเปน็ จุดเรม่ิ ตน้ ของโครงการการพฒั นาบุคลากรกองทพั บก ต่อมาในปีพุทธศกั ราช ๒๕๒๘ ได้มีการจัดส่งกาํ ลังพลเขา้ รบั การฝึกปฏบิ ตั ธิ รรมที่วดั อมั พวันอาํ เภอพรหมบุรี จังหวดั สิงหบ์ ุรี โดยการอนมุ ัตขิ องผูบ้ ญั ชาการทหารบก ในขณะนนั้ การอบรมตามโครงการพัฒนาบคุ ลากรกองทัพบกจึงได้พัฒนามาตามลําดบั ปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ กองทพั บก ไดอ้ นุมตั ใิ ห้หลกั สูตรการพฒั นาบคุ ลากรกองทัพบกเป็นหลักสตู รทางการศกึ ษาอบรมของกองทพั บก หมายเลขหลกั สตู ร ๑๖ - ข - ฉ.๒ และได้เป็นหลกั สตู รทางการศกึ ษาอบรมมาจนถึงปจั จบุ นั กองอนุศาสนาจารย์ กรมยทุ ธศกึ ษาทหารบก มหี น้าท่ีรับผดิ ชอบในการจดั บุคลากร ของกองทัพบกทุกระดับชัน้ ยศใหเ้ ขา้ รบั การศกึ ษาอบรมในหลกั สตู รการพัฒนาบุคลากรกองทัพบก ณ ศูนย์พฒั นาจิตใจกาํ ลงั พลกองทัพบก วัดอมั พวัน อาํ เภอพรหมบรุ ี จังหวัดสิงหบ์ ุรี ตามอนมุ ตั ขิ องกองทพั บกเปน็ ปๆี ไป ดงั นี้ความม่งุ หมาย เพื่อใหผ้ ้เู ขา้ รบั การศกึ ษาอบรม ไดเ้ รยี นรหู้ รอื ฝึกตามหลักคําสอนของพระพุทธศาสนา ทง้ัภาคทฤษฎแี ละภาคปฏบิ ตั ิ สามารถประยกุ ตค์ าํ สอนนัน้ ๆ มาปรบั ปรุงใช้กบั การดาํ รงชีวิตประจาํ วันและการปฏบิ ัติงานในหน้าทร่ี าชการอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ ซงึ่ จะสง่ ผลใหผ้ ูเ้ ข้ารับการศึกษาอบรมเปน็ กาํ ลงั พลท่ีมคี ุณภาพย่ิงขนึ้ กับทั้งประพฤตติ นใหเ้ ปน็ ประโยชน์แกก่ องทัพบก สงั คมและประเทศชาติคณุ สมบตั ิของผู้เขา้ รบั การศกึ ษาอบรม เปน็ นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน ในกองทัพบกทกุ ชั้นยศและลกู จ้าง ผ้มู คี วามสมคั รใจ หรือผู้ท่หี นว่ ยคดั เลือกเข้ารบั การศึกษาอบรม สาํ หรับงบประมาณและจํานวนผเู้ ข้ารบั การศกึ ษาอบรม ตามที่กองทพั บกอนุมตั ิในแตล่ ะปีการศกึ ษาอบรมในหลกั สูตรดงั กล่าว ประกอบดว้ ยภาคทฤษฎี ๑๕ ช่ัวโมง, ภาคปฏิบัติ ๓๐ ชวั่ โมง และเบ็ดเตลด็ ๔ ช่ัวโมง รวม ๔๙ ชวั่ โมง หลกั สูตรการศาสนาและศลี ธรรม เมอื่ ๒๗ มถิ ุนายน ๒๔๙๙ กองพลที่ ๕ และมณฑลทหารบกท่ี ๕ นครศรีธรรมราช ไดอ้ อกคําส่ังให้นายสิบท่ีได้รับการแต่งต้ังใหม่ และนักเรียนนายสิบที่สังกัดอยู่ทั้งสองหน่วยนี้เข้ารับการศึกษาวิชาการศาสนาและศีลธรรมประมาณ ๒๔ ช่ัวโมง วัตถุประสงค์เพื่อให้นายทหารประทวนมีศีลธรรมเป็นหลักปกครองตน มีเครื่องยดึ เหนี่ยวทางจิตใจ และใหม้ ีจรรยามารยาทประพฤตติ นเหมาะสมกบั หน้าท่ี และได้รายงานใหก้ องอนุศาสนาจารยท์ ราบ พันเอก ป่ิน มุทุกันต์ ขณะดํารงหัวหน้าแผนกศึกษาอยู่ ได้พิจารณาเห็นว่า มีประโยชน์แก่นายทหารประทวนเป็นอย่างย่ิง ควรดําเนินการทุกหน่วย จึงเรียนหารือกับหัวหน้ากองอนุศาสนาจารย์(ตําแหน่งในขณะน้ัน) จึงได้แนบคําสั่งของกองพลที่ ๕ และมณฑลทหารบกท่ี ๕ เสนอไปยังกองทัพบก
๔๑ปรากฏว่ากองทัพบกเห็นด้วยและกําหนดให้ทุกหน่วยในกองทัพบกดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาวิชาน้ี และให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และให้กรมยุทธศึกษาทหารบกเปิดหลักสูตรวิชาการศาสนาและศีลธรรม สว่ นกลาง ระยะเวลาในการศึกษา 4 สัปดาห์ จํานวน 175 ชั่วโมงคณุ สมบัติผเู้ ข้ารับการศึกษา ๑. เป็นนายทหารสญั ญาบัตรหรือนายทหารประทวน ไม่จาํ กดั ชน้ั ยศ ๒. เปน็ ข้าราชการกลาโหมพลเรอื นหรอื ลกู จ้างประจํา สงั กัดกองทพั บก ๓. เปน็ บุคลากรทหี่ นว่ ยงานของภาครฐั - เอกชนฝากเข้ารบั การศกึ ษาความมงุ่ หมายของหลักสูตร เพ่ือใหผ้ ูส้ าํ เรจ็ การศกึ ษาหลักสูตรนี้ ๑. มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมและมีศรัทธาม่ันคงในพระพุทธศาสนาย่ิงข้ึนสามารถนําหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันในการดํารงตนเป็นคนมีคุณธรรมเป็นแบบอย่างท่ีดีของชาวพุทธปกครองคนอยา่ งยุตธิ รรมและปฏบิ ตั ิงานในหน้าที่อยา่ งมีประสิทธิภาพ ๒. มีความรู้เก่ียวกับหลักการและบทบัญญัติของศาสนาใหญ่ ๆ สามารถปฏิบัติตนต่อศาสนิกในศาสนาต่างๆ ไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ งและเหมาะสม ๓. นาํ ความร้ไู ปใชใ้ นการสอบเลอ่ื นฐานะเปน็ นายทหารสัญญาบตั ร การอบรมศลี ธรรมวฒั นธรรมทหาร ๑. ตามระเบียบกรมยทุ ธศกึ ษาทหารบก ว่าด้วยการอบรมศีลธรรมวฒั นธรรมทหาร (ยามปกต)ิพ.ศ. ๒๕๔๙ กาํ หนดให้หน่วยและอนุศาสนาจารย์ปฏบิ ัติดังน้ี ๑.๑ อนศุ าสนาจารย์ต้องให้การบรรยายอบรมแก่บคุ คล ดงั น้ี ๑.๑.๑ นายทหารสัญญาบตั ร และขา้ ราชการกลาโหมพลเรือนช้ันสญั ญาบัตร ๑.๑.๒ นายทหารประทวน ข้าราชการกลาโหมพลเรอื นชน้ั ประทวน และลูกจา้ ง ๑.๑.๓ พลทหารกองประจาํ การ พลอาสาสมัคร และอาสาสมคั รทหารพราน ๑.๑.๔ ผู้ต้องขงั ๑.๑.๕ ครอบครัว การจัดการอบรมแต่ละคร้ัง หน่วยสามารถจัดการอบรมแยกประเภทหรือรวมการก็ได้ ตามความเหมาะสม ๑.๒ ใหห้ น่วยจดั การอบรมแก่บคุ คล ตามข้อ ๑ อยา่ งน้อยเดอื นละ ๑ ครัง้ ๑.๓ การออกคําสง่ั กําหนดการอบรมศลี ธรรมวัฒนธรรมทหาร ใหท้ ําเป็นรายเดือน ๑.๔ ในการจัดการอบรม ใหด้ าํ เนนิ การดังนี้ ๑.๔.๑ ประธานในทป่ี ระชุมจดุ ธปู เทียน ณ ที่บูชาแลว้ กราบพระรัตนตรัยด้วยเบญจางค-ประดิษฐ์ ๓ คร้ัง เคารพธงชาติและพระบรมฉายาลกั ษณ์ เสรจ็ แล้วกลบั มายืนประนมมอื ณ ทข่ี องประธาน ๑.๔.๒ อนุศาสนาจารย์ นํากล่าวคํานมัสการพระรัตนตรัย จบแล้วกราบพระรัตนตรัยเคารพธงชาตแิ ละพระบรมฉายาลักษณ์ และดาํ เนินการอบรม ๑.๔.๓ เมื่ออนุศาสนาจารย์ทําการอบรมจบแล้ว นํากล่าวคําแผ่เมตตา กราบพระรัตนตรัย
๔๒เคารพธงชาตแิ ละพระบรมฉายาลักษณ์ เสร็จแลว้ กลับทเี่ ดิม ๑.๔.๔ ประธานฯ กราบพระรัตนตรัย เคารพธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นอันเสร็จการอบรม ๑.๕ การปฏบิ ัตขิ องผู้รับการอบรม ๑.๕.๑ ตลอดเวลานับตงั้ แตป่ ระธานฯ เริ่มจุดธปู เทยี นและกราบพระรัตนตรัย ให้ผู้รับการอบรมท้ังหมดยืนประนมมือรําลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และให้ลดมือลงเมื่อประธานฯ เคารพธงชาติ และพระบรมฉายาลกั ษณ์ ๑.๕.๒ ตลอดเวลานับต้ังแต่อนุศาสนาจารย์นํากล่าวคํานมัสการพระรัตนตรัย และกราบพระรัตนตรัย ให้ผู้รับการอบรมทั้งหมดยืนประนมมือ ให้ลดมือลงเม่ืออนุศาสนาจารย์เคารพธงชาติและพระบรมฉายาลกั ษณ์ ในกรณีการอบรมพลทหาร เมื่อจะเร่ิมการอบรม ให้อนุศาสนาจารย์สั่งพลทหาร คนใดคนหนง่ึ ในทีป่ ระชุมนน้ั เปน็ ผแู้ ทนจดุ ธูปเทยี นและกราบพระรตั นตรยั เคารพธงชาตแิ ละพระบรม-ฉายาลักษณ์ ๑.๖ บทนมัสการพระรัตนตรัยและบทแผเ่ มตตาใหใ้ ชต้ าม ผนวก ตามระเบยี บฯ ข้างตน้ ๑.๗ ทกุ ครัง้ ทมี่ กี ารอบรม ให้หน่วยรับการอบรมสง่ ยอดผ้เู ขา้ รบั การอบรมแก่อนุศาสนาจารย์ ๑.๘ ผทู้ ําการอบรม ๑.๘.๑ อนศุ าสนาจารย์ ๑.๘.๒ ผู้ช่วยอนุศาสนาจารย์ ในกรณอี บรมพลทหาร ๑.๘.๓ พระสงฆ์ หรือผทู้ รงคุณวุฒิ การอบรมเปน็ หน้าทข่ี องอนุศาสนาจารย์ แตห่ ากอนุศาสนาจารย์เห็นเป็นการสมควรจะนิมนต์พระสงฆ์ หรอื เชิญผ้ทู รงคุณวุฒทิ ําการอบรมแทนก็ได้ แต่ตอ้ งไดร้ บั ความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาและต้องอบรมเฉพาะเรือ่ งที่เก่ียวกับศีลธรรมและวัฒนธรรมเทา่ นั้น ๑.๙ ในที่ต้ังหน่วยทหารแห่งหนึ่ง ให้มีสถานที่อบรมไว้เป็นส่วนรวม ๑ แห่ง มีความสงบและเหมาะสมที่จะใชอ้ บรมศีลธรรมทางศาสนา โดยจดั ให้มีอุปกรณ์ท่ีจําเปน็ ดังน้ี ๑.๙.๑ โต๊ะหมู่บูชาพร้อมด้วยพระพุทธรูป แจกัน เชิงเทียน กระถางธูป ธงชาติ และพระบรมฉายาลกั ษณ์ รวมเป็น ๑ ชุด ขนาดพอเหมาะกับสถานที่ ๑.๙.๒ แท่นสําหรบั ยนื บรรยาย และเคร่ืองอปุ กรณ์การบรรยายตามความเหมาะสม ๑.๙.๓ เกา้ อ้ี หรอื มา้ นงั่ สําหรับผฟู้ ังการบรรยาย ๑.๙.๔ อปุ กรณอ์ น่ื ๆ ตามความจาํ เป็น สถานที่อบรมดังกล่าวและการจัดสถานท่ีอบรมอยู่ในความควบคุมของหน่วยหรืออนุศาสนาจารย์ประจําหน่วย และหน่วยที่ต้ังอยู่ในบริเวณเดียวกัน อาจให้ผู้รับการอบรมไปรับการอบรมในสถานท่ีเดียวกันได้ ๑.๑๐ การปฏบิ ัติในกรณพี เิ ศษ ๑.๑๐.๑ เมอื่ ผู้บงั คับบญั ชาหน่วยใดเห็นวา่ ทหารคนใดมีความประพฤตินิสัยใจคอเป็นไปในทางอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ราชการ แก่ตนเอง และครอบครัวของบุคคลผู้นั้น หาก
๔๓อนุศาสนาจารยไ์ ด้ช่วยแกป้ ญั หาทางจติ ใจให้แล้วจะเป็นผลดี ให้ส่งตัวไปให้อนุศาสนาจารย์ ให้การแนะนําทางใจ เป็นรายบุคคล หรือส่งอนุศาสนาจารย์ไปพบปะเยี่ยมเยียน แล้วแต่ความเหมาะสม ในการให้คําแนะนําทางใจนั้น เม่ืออนุศาสนาจารย์ได้ทราบความผิดพลาดหรือความบกพร่องใดๆ ของผู้รับ การอบรมแลว้ จะตอ้ งรกั ษาไว้เป็นความลับส่วนบคุ คล ๑.๑๐.๒ หากมที หารหรือครอบครวั ประสบเคราะห์กรรมต้องโทษ เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตอนศุ าสนาจารย์ควรไปเย่ยี มเยยี นผ้นู ั้น และกล่าวปลุกปลอบบํารงุ ขวญั หรือใหค้ ําแนะนําตามสมควร ในกรณีที่ทหารต้องประสบอุปัทวเหตุบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หากมีอนุศาสนาจารย์อยู่ในท่ีไม่ห่างไกลเกินไป ผู้บังคับบัญชาของผู้ได้รับเคราะห์กรรมน้ัน ควรจะได้ติดต่อให้อนุศาสนาจารย์ทราบ เพื่ออนุศาสนาจารย์จะได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านขวัญและจิตใจ ในการเยี่ยมเยียนเพื่อบํารุงขวัญ และให้คาํ แนะนาํ ดังกลา่ ว อนุศาสนาจารย์อาจสง่ หนงั สือไปแทนตนก็ได้ ๑.๑๐.๓ เพ่ือผลการอบรมทางจิตใจให้หน่วยอํานวยความสะดวกแก่อนุศาสนาจารย์ทําการพบปะเย่ยี มเยยี นทหารไดต้ ลอดเวลา และหากทหารประสงค์จะพบปะกับอนุศาสนาจารย์ เป็นการส่วนตัว ก็ให้อํานวยความสะดวกด้วย ผู้บังคับบัญชาพึงเข้าใจว่า อนุศาสนาจารย์คือผู้ที่จะให้ความชว่ ยเหลอื แก่ตนในการปกครองทหาร มใิ ชผ่ คู้ อยจับผดิ ๑.๑๐.๔ บุคคลพลเรือนที่พํานักอยู่ในหน่วยทหาร หากผู้บังคับบัญชาหน่วยนั้น เห็นเปน็ การสมควรจะจัดให้ได้รบั การอบรมจากอนุศาสนาจารยเ์ ป็นสว่ นรวม ก็สามารถดาํ เนนิ การได้ ๑.๑๐.๕ การอบรมนายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน พลทหาร ลูกจ้าง และบุคคลอื่นๆ หากผู้บังคับบัญชาหน่วยนั้นประสงค์จะให้อนุศาสนาจารย์ช่วยอบรมช้ีแจงในเร่ืองใดเป็นกรณีพิเศษสามารถให้อนุศาสนาจารย์รบั พจิ ารณาอบรมได้ ถ้าไม่ผดิ ศลี ธรรม ๑.๑๑ การอบรมหมายถึง ๑.๑๑.๑ การบรรยาย ๑.๑๑.๒ การพบปะเยย่ี มเยยี น ๑.๑๑.๓ การแนะนาํ ๑.๑๑.๔ การใหก้ ารศึกษา ๑.๑๒ การส่งยอดผเู้ ข้ารับฟงั การบรรยาย ๑.๑๒.๑ หน่วยและส่วนราชการที่ส่งกําลังพลเข้าฟังการบรรยายอบรม มอบให้ ผู้ควบคมุ สง่ ยอดให้แก่อนศุ าสนาจารยเ์ ม่ือไปถงึ สถานทอี่ บรม ๑.๑๒.๒ การส่งยอดใชใ้ บส่งยอดแบบใบส่งยอด ทบ.๓๔๑ - ๐๐๒ โดยลงยอดเต็ม และยอดรับการอบรมของกําลังพลที่เข้าฟังการบรรยายอบรมด้วยทุกคร้ัง เพื่อสะดวกในการคิดเป็นร้อยละ เม่ือรายงานผบู้ ังคบั บัญชาและหนว่ ยเหนือ ๑.๑๒.๓ ยอดเต็มของผู้เข้าฟังการบรรยายอบรม หมายถึงยอดกําลังพลประจําวัน มิได้หมายถึงยอดบรรจุจริง ๑.๑๓ การบนั ทึกเรือ่ งที่อบรม ๑.๑๓.๑ อนศุ าสนาจารย์ผู้อบรม ต้องบันทึกเรื่องที่อบรมแต่ละคร้ังและความเห็น ลงใน
๔๔สมดุ ทบ.๓๔๑ - ๐๐๓ ดว้ ยทุกคร้งั ๑.๑๓.๒ กรณีที่เชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยาย หรือนิมนต์พระสงฆ์แสดงธรรมหรือบรรยายจะขอให้วิทยากรและพระสงฆ์บันทึกเรื่องและความเห็นด้วยตนเอง หรืออนุศาสนาจารย์ จะบนั ทกึ เรื่องและความเหน็ ลงในสมุด ทบ.๓๔๑ - ๐๐๓ ให้ก็ได้ ๑.๑๔ การแสดงธรรม การบรรยายของพระสงฆ์ ๑.๑๔.๑ อนุศาสนาจารย์จะนําผู้ฟังการบรรยายอบรม รับศีลก่อนการฟังบรรยายและให้รับพรเม่ือประธานได้ถวายเครอื่ งไทยธรรมแล้วกไ็ ด้ หรือจะให้ฟังการบรรยายโดยไม่รับศีลก็ได้ข้ึนอยู่กับสถานการณท์ ี่เหมาะสม ๑.๑๔.๒ กรณีพระสงฆ์แสดงธรรมตามรูปแบบ จะต้องมีการรับศีล มีการอาราธนาธรรมตามแบบของการแสดงธรรม ๒. ตามระเบยี บ ยศ.ทบ. วา่ ด้วยการอบรมศีลธรรมวฒั นธรรมทหาร (ยามสงคราม)พ.ศ. ๒๕๐๕ และบทบาทของหนว่ ยทเ่ี ก่ยี วข้อง ๒.๑ ในทต่ี ้งั หน่วยนน้ั ๆ จัดใหม้ สี ่งิ อปุ กรณท์ เ่ี ก่ยี วขอ้ งกบั การอบรม คือ ๒.๑.๑ เตน็ ท์ ๒.๑.๒ พระพุทธรปู ขนาดหนา้ ตักไม่เล็กกว่า ๕ นวิ้ ๒.๑.๓ ธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ ๒.๑.๔ แจกันดอกไม้ เชิงเทยี น กระถางธูป ๒.๒ ความมุ่งหมายในการอบรมยามสงคราม ๒.๒.๑ ใหท้ หารมีนา้ํ ใจเสียสละ พรอ้ มทีจ่ ะทาํ การสรู้ บเพื่อรักษาประเทศชาติ ศาสนาและพระมหากษตั ริย์ ๒.๒.๒ ให้ทหารมีขวัญดี เคร่งครัดในระเบียบวินัย เชื่อถือ เช่ือม่ัน ในรัฐบาลและผูบ้ งั คบั บญั ชาของตน ๒.๒.๓ ให้ทหารมีศีลธรรมวัฒนธรรม สมานสามัคคีระหว่างหน่วย ระหว่างบุคคลและระหว่างทหารกับประชาชน ๒.๒.๔ ใหท้ หารมีความองอาจกลา้ หาญ เสยี สละและไมป่ ระมาทในการปฏิบัติหนา้ ท่ี ๒.๒.๕ ใหร้ จู้ กั ปลกู ความนยิ มทหารในหมปู่ ระชาชนในด้านจรยิ ธรรม ๒.๓ หน้าท่แี ละบทบาทของกรมยทุ ธศึกษาทหารบก ๒.๓.๑ สนับสนนุ หน่วยทไ่ี ม่มอี นุศาสนาจารย์ใหไ้ ดร้ บั การอบรมศลี ธรรมวัฒนธรรม ๒.๓.๒ สอดส่อง ตรวจ ใหค้ าํ แนะนําแกห่ น่วยในปญั หาเรือ่ งขวัญกาํ ลงั ใจและศีลธรรม ๒.๓.๓ สรปุ รายงานของหนว่ ย เสนอกองทัพบกเป็นคร้งั คราว ๒.๔ หนา้ ทแี่ ละบทบาทหน่วยขน้ึ ตรงกองทพั บกทม่ี อี นศุ าสนาจารย์ ๒.๔.๑ จัดอนุศาสนาจารย์อบรมจิตใจทหาร นําประกอบพิธีทางศาสนา พบปะ เย่ียมเยยี น เปน็ รายหนว่ ย หรอื เปน็ บุคคลตามแตก่ รณี ๒.๔.๒ จัดใหม้ ีการประชุมฟังการบรรยายอบรมจากอนศุ าสนาจารย์เปน็ ครั้งคราว
Search