Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปรับปรุง 2564

คู่มือระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปรับปรุง 2564

Published by Tanapat Issarangkul Na Ayutthaya, 2021-07-12 08:10:10

Description: คู่มือระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปรับปรุง 2564

Search

Read the Text Version

คู่มือการประกนั คุณภาพภายใน ของสถานศกึ ษานำร่องทม่ี เี ป้าหมายเฉพาะ ระดบั การศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน โรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวัดเชียงใหม่ สงั กดั สำนกั บริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร คู่มอื การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 1

คำนำ ตามที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ได้ประกาศและบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นมา โดยบญั ญตั ิในมาตรา ๓๗ ใหส้ ถานศึกษานำร่องจัดให้มีระบบการประกนั คุณภาพ ภายในสถานศึกษาและมีการประเมินเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนและตรวจสอบคุณภาพ การศกึ ษาภายในสถานศึกษาเป็นประจำทกุ ปี จึงทำใหส้ ถานศึกษานำร่องทกุ แหง่ ต้องจัดใหม้ ีระบบการประกัน คณุ ภาพการศกึ ษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำร่องให้สอดคล้อง กับเป้าหมายและบริบทของแต่ละสถานศึกษา ซึ่งจะทำให้สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของ การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ยกระดับคุณภาพของผู้เรียนในจังหวัดเชียงใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำและ สรา้ งโอกาสทางการศึกษาใหแ้ กก่ ลุ่มเปา้ หมายต่าง ๆ ในทุกช่วงวยั ใหผ้ เู้ รียนไดพ้ ัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ดงั นน้ั การประกนั คุณภาพภายในของสถานศึกษานำร่องจงึ เป็นการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพภายในและ มาตรฐานการศึกษาที่มีลกั ษณะเฉพาะสอดคล้องกบั ความจำเป็นต้องการ บนความหลากหลายเชิงเศรษฐกจิ พหุ วัฒนธรรมของกลุ่มชาตพิ ันธ์และประชาชนทุกกล่มุ ในพื้นที่ของตน ในพน้ื ที่จงั หวดั เชียงใหม่ คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษานำร่องที่มีเป้าหมายเฉพาะฉบับนี้ จึงเป็นแนวทาง สำคญั เพอ่ื การพฒั นาคุณภาพการศึกษา ตรวจสอบตดิ ตามและประเมินคุณภาพการศึกษให้บรรลเุ ปา้ หมายตาม มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ คู่มือฯ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 แนวทางการประกันคุณภาพ ภายใน ส่วนที่ 3 การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และส่วนที่ 4 รายงานการประเมนิ ตนเองของสถานศกึ ษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ขอขอบคุณคณะกรรมการดำเนินงานและ ผเู้ ก่ยี วขอ้ งทกุ ฝ่ายท้งั ภายในและภายนอกสถานศึกษา ท่มี สี ่วนรว่ มในการจัดทำคู่มือการประกนั คุณภาพภายใน ของสถานศกึ ษานำรอ่ งท่มี เี ป้าหมายเฉพาะ ฉบับนี้ และหวังว่า คมู่ อื ฉบับนี้ จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การพฒั นาระบบ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษานำรอ่ งที่มีเป้าหมายเฉพาะ ตลอดจนเพื่อประโยชน์ตอ่ การประเมนิ คุณภาพตามมาตรฐานการศกึ ษาท่ีกำหนดไว้ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จงั หวดั เชียงใหม่ ค่มู อื การประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษานำรอ่ ง 1

สารบญั คำนำ ก สารบญั ข ส่วนที่ 1 บทนำ 1 1.1 ความเปน็ มา 1 1.2 วัตถปุ ระสงค์ 3 1.3 ขอบขา่ ย 3 1.4 เปา้ หมาย 4 1.5 นยิ ามศัพทเ์ ฉพาะ 4 ส่วนท่ี 2 แนวทางการประกันคุณภาพภายใน 6 2.1 แนวทางการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวัดเชยี งใหม่ 6 2.2 วธิ ีการดำเนนิ งานการประกนั คณุ ภาพภายในของโรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ 10 2.3 บทบาทหน้าท่ีผเู้ กีย่ วข้อง 11 สว่ นที่ 3 การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินคณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา 13 3.1 การติดตาม และตรวจสอบ 13 3.2 การประเมินผล 13 3.3 การประเมินคณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา ระดับการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน 14 ส่วนที่ 4 แบบจัดเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู 4.1 ดา้ นผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน 4.2 ดา้ นกระบวนการบริหารและการจดั การ 4.3 ดา้ นการจดั การเรียนรูท้ ่เี น้นผู้เรียนเปน็ สำคญั ส่วนท่ี 5 รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา 31 5.1 รายงานการประเมินตนเอง 31 บรรณานกุ รม 34 ภาคผนวก 35 ภาคผนวก ก ประกาศมาตรฐานการศกึ ษาขัน้ พื้นฐานเพ่อื การประกันคณุ ภาพภายใน 36 ภาคผนวก ข รายละเอยี ดการเกบ็ รวบรวมข้อมลู 42 ภาคผนวก ค คำสง่ั แตง่ ต้ังคณะทำงาน 53 คูม่ ือการประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 2

สว่ นที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมา การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นกระบวนการบริหารจัดการที่เปน็ กลไกสำคัญให้สถานศึกษาสามารถ จัดการศึกษาใหผ้ ู้เรยี นมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เปน็ ท่เี ชอ่ื ถือศรัทธาและยอมรับของสังคม ซ่งึ จะชว่ ย ให้ประชาชนเกดิ ความมน่ั ใจในระบบการศกึ ษา การประกนั คุณภาพการศกึ ษาจงึ เปน็ ระบบทคี่ วรดำเนินการโดย บุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดในการดำเนินงานตั้งแต่การ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล ซ่ึงจะทำให้ประชาชนไดร้ บั ขอ้ มลู คณุ ภาพการศกึ ษาที่เชอ่ื ถอื ได้ เกดิ ความเช่อื ม่ัน และสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเปน็ การคุ้มครองผู้บริโภค และเกิดความเสมอภาคในโอกาสทีจ่ ะได้รับการบริการการศึกษาทีม่ ีคุณภาพอยา่ งทัว่ ถงึ ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง และช่วย กระตุ้นให้สถานศึกษาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้ มาตรฐาน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม การดำรงชีวิตตามหลักศาสนา และ วฒั นธรรมอันดีงาม เปน็ ทรัพยากรมนุษย์ทมี่ คี ุณภาพ สามารถประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอยูใ่ นสังคมได้อยา่ งมี ความสุข (สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา, 2561) นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ.2545 ได้ กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการประกนั คุณภาพการศึกษา ไว้ในหมวดท่ี 6 ว่าด้วยมาตรฐานและการประกนั คณุ ภาพ ดงั นใี้ นมาตรา 47 ใหม้ ีระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษาเพื่อพัฒนาคุณภาพแลมาตรฐานการศึกษา ทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในมาตรา 48 ให้ หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการ ประกันคุณภาพภายในเปน็ สว่ นหนึ่งของกระบวนการบรหิ ารการศกึ ษาทีต่ ้องดำเนินการอย่างต่อเนอื่ ง โดยมีการ จดั ทำรายงานประจำปเี สนอต่อหน่วยงานตน้ สังกัดหนว่ ยงานที่เกยี่ วข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชนเพ่ือนาไปสู่ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก ในมาตรา 49 ให้มี สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมนิ คุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของ สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจดั การศึกษาในแต่ละระดบั ตามที่กำหนดไว้ ฯลฯ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 (ราช กิจจานุเบกษา, 2561) เพ่อื ให้เป็นไปตามทพี่ ระราชบัญญตั ิการศกึ ษาแห่งชาตไิ ด้กำหนดไว้ และสรา้ งระบบการ ประกันคุณภาพการศึกษา ที่มีการประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศกึ ษา เพ่อื ใหเ้ กิดความเช่ือม่นั ให้แก่ผมู้ ีสว่ นเกี่ยวข้องและสาธารณชน ว่าสถานศึกษาน้ันสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคณุ ภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของ คู่มือการประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 3

หน่วยงานต้นสังกัดหรือหนว่ ยงานทีก่ ำกับดูแล โดยกำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อเป็นหลักประกันด้านคุณภาพการศึกษาซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียนให้ ได้รับโอกาสทางการศกึ ษาอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ พร้อมทงั้ ตอบสนองความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถน่ิ ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นสถานศึกษาทุกแห่งในประเทศไทยในฐานะหน่วยงานที่จัดการศึกษาและรับผิดชอบในการจัด การศึกษาในระดับพื้นที่ต้องดำเนนิ การจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงสถานศึกษานำร่องใน พืน้ ทน่ี วตั กรรมการศกึ ษา ซึ่งเป็นรูปแบบหนงึ่ ของการบริหารจดั การและการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษา ให้กับจังหวัดและสถานศึกษา โดยตราเป็นกฎหมาย พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 (ราชกจิ จานุเบกษา,2562) และคดั เลอื กให้จงั หวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวดั นำรอ่ ง 1 ใน 6 จังหวัด มีเป้าหมายท่ี สำคัญในการจัดตั้งพ้ืนที่นวัตกรรมการศึกษา คือ (1) คดิ คน้ และพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพ่ือ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาข้ัน พื้นฐานอื่น (2) ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา (3) กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษานำรอ่ งในพ้นื ทีน่ วตั กรรมการศึกษาเพ่ือเพม่ิ ความคลอ่ งตวั ในการบรหิ ารและการจดั การศึกษาให้ มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ (4) สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครฐั องค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพน้ื ท่นี วัตกรรมการศึกษา และ “มาตรา 37 กำหนดให้สถานศึกษานำร่องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและมีการ ประเมนิ เพอ่ื วดั ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผ้เู รยี นและตรวจสอบคณุ ภาพการศกึ ษาภายในสถานศกึ ษาเปน็ ประจำทุกปี ทงั้ น้ี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการทีค่ ณะกรรมการนโยบายกำหนดให้สถานศึกษานำร่องรายงาน ผลการประเมินและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาต่อคณะกรรมการขับเคลื่อน และให้ คณะกรรมการขับเคลื่อนให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา เพื่อให้การประกันคุณภาพ การศึกษาของสถานศึกษาพฒั นาอยา่ งตอ่ เนือ่ ง” เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนราชประชานุ- เคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ให้เข้มแข็งตามแนวคิด หลักการ กฎกระทรวงดังกล่าว และสอดคล้องกับ วสิ ยั ทศั น์ของโรงเรียน คือ “ภายในปี พ.ศ.2564 โรงเรยี นราชประชานุเคราะห์ 31 มรี ะบบการจัดการศึกษาที่ มีคุณภาพ มีครูมืออาชีพ ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามหลักสูตร และเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” ปรัชญาของโรงเรียน คือ “ใฝ่รู้ สู้งาน สืบสานแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพยี ง” อตั ลกั ษณข์ องนักเรยี น คอื “สขุ ภาพดี คณุ ธรรมเดน่ เปน็ จติ อาสา” และเอกลักษณข์ องโรงเรยี น คือ “อุทยานการเรยี นรู้” โรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวัดเชียงใหม่ จงึ ได้จัดทำคูม่ ือการประเมินคุณภาพ ภายในสถานศึกษา เพ่อื การประเมนิ คณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษาระดบั การศกึ ษาข้ันพ้นื ฐานขน้ึ เพ่อื ใหค้ ณะ ครูและบุคลากรรู้ เข้าใจ และตระหนกั ถึงประโยชนข์ องการประกนั คณุ ภาพภายใน สามารถดำเนินการประเมิน คุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้แบบเก็บข้อมูลมาตรฐานการศึกษาได้อย่างชัดเจน ครอบคลุม ถูกต้องและ เหมาะสม ช่วยพัฒนาระบบการประกนั คุณภาพภายในให้เข้มแขง็ ได้ตอ่ ไป ดังน้นั โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ได้สมัครเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่อง และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการพัฒนา คมู่ ือการประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษานำรอ่ ง 4

ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษานำร่องที่มีเป้าหมายเฉพาะ สำหรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ (สุบัน พรเวียงและมนต์นภัส มโนการณ์,2563) ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะและสอดคล้องกับความจำเป็นต้องการ ความ หลากหลายเชิงเศรษฐกิจ พหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์และประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาเพื่อให้การจัดการศึกษาได้บรรลุและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการศึกษา สามารถชว่ ยยกระดบั คุณภาพของผู้เรียน ลดความเหล่ือมล้ำและสรา้ งโอกาสทางการศกึ ษาใหแ้ ก่กลุ่มเป้าหมาย ต่าง ๆ ในทุกช่วงวัย ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพโดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง สอดคล้องกับ ความจำเป็นต้องการ และความหลากหลายเชงิ พหุวัฒนธรรมของกลุม่ ชาติพันธ์ต่าง ๆ และสามารถต่อยอดใน การนำใช้ไปใช้เพื่อประโยชนใ์ นการเพ่ิมคุณคา่ ทางเศรษฐกิจ สังคมและส่ิงแวดลอ้ มใหเ้ พิม่ ขนึ้ 1.2 วตั ถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผูบ้ รหิ ารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ที่มสี ่วนเกีย่ วข้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพฒั นา ระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จังหวดั เชียงใหม่ 2. เพอื่ ให้ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา ครผู ูส้ อน และผทู้ ่มี ีส่วนเกี่ยวข้องมีแนวทางการดำเนนิ งานระบบการประกัน คณุ ภาพภายใน สำหรับโรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวัดเชียงใหม่ 3. เพ่ือใหผ้ ู้บรหิ ารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผ้ทู ่ีมสี ว่ นเก่ียวข้องนำคู่มือไปใช้ในการประเมินคุณภาพาตาม มาตรฐานการศกึ ษาเพอื่ การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จงั หวดั เชยี งใหม่ 1.3 ขอบขา่ ย แนวทางการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1. ปจั จยั นำเขา้ คือ การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้ TEAM+ Model 2. กระบวนการ คือ การดำเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศกึ ษาของโรงเรียน ราชประชานุเคราะห์ 31 จงั หวัดเชยี งใหม่ 3. ผลลพั ธ์ คือ ผลเชิงคุณภาพและเชงิ ปริมาณของการดำเนนิ งานตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน ราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวดั เชยี งใหม่ มาตรฐานการศกึ ษา ระดับการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน ไดแ้ ก่ มาตรฐานท่ี 1 คุณภาพของผู้เรยี น 1.1 ผลสมั ฤทธ์ทิ างวิชาการของผูเ้ รยี น 1.2 คุณลกั ษณะที่พงึ ประสงคข์ องผเู้ รยี น มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจัดการ มาตรฐานท่ี ๓ การจดั การเรยี นรู้ท่เี นน้ ผเู้ รยี นเป็นสำคญั คู่มือการประกันคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำร่อง 5

1.4 เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชงิ ปรมิ าณ ไดแ้ ก่ ผ้มู สี ว่ นร่วมในการดำเนินงานการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรียนราช ประชานุเคราะห์ 31 จงั หวดั เชยี งใหม่ ประกอบดว้ ย 1.1 ผู้บริหารสถานศกึ ษา จำนวน 5 คน 1.2 ครูและบุคลากร จำนวน 71 คน 1.3 นักเรียน จำนวน 950 คน 1.4 คณะกรรมการสถานศกึ ษา จำนวน 15 คน 1.5 ผูป้ กครอง จำนวน 1,748 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ ไดแ้ ก่ 2.1 มีความรู้ ความเขา้ ใจเก่ียวกับการพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรียนราชประชา นุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ 2.2 มีแนวทางการดำเนินงานระบบการประกนั คุณภาพภายใน สำหรับโรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จังหวดั เชยี งใหม่ 2.3 มีคู่มือในการประเมินคุณภาพาตามมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในของ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จงั หวัดเชียงใหม่ 1.5 นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ 1. แนวทางการประกันคณุ ภาพภายในของโรงเรยี นราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวดั เชียงใหม่ หมายถงึ แนวทางสำคัญเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตรวจสอบติดตามและประเมินคุณภาพการศึกษให้บรรลุ เป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ คู่มือฯ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน ส่วนที่ 2 การ ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษานำร่องที่มีเป้าหมายเฉพาะ ส่วนที่ 3 การประเมินคุณภาพภายในของ สถานศกึ ษานำร่องทม่ี เี ปา้ หมายเฉพาะ และสว่ นท่ี 4 สรปุ และรายงานผล 2. การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมนิ ผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน การศกึ ษาของสถานศกึ ษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศกึ ษา หรอื โดยหน่วยงานตน้ สังกดั ที่มีหน้าที่กำกับ ดูแลสถานศึกษา 3. มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกยี่ วกับคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์และมาตรฐานท่ีต้องการให้ เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การ ตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัด เชยี งใหม่ ประกอบด้วยมาตรฐาน 1 ระดับ คู่มือการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 6

3.1 มาตรฐานการศึกษาระดบั การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะท่พี ึง ประสงค์และมาตรฐานการศึกษาระดับการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพของผูเ้ รยี น 1.1 ผลสัมฤทธ์ิทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คณุ ลกั ษณะทพี่ ึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจดั การ มาตรฐานที่ ๓ การจัดการเรียนรู้ที่เนน้ ผเู้ รียนเป็นสำคัญ 4. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ หมายถึง สถานศึกษาประเภทอยู่ประจำ ภายใต้ การประสานงานระหว่างมูลนิธริ าชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์กับสำนกั บริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศกึ ษาธิการ จดั การศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสและเด็กในพนื้ ที่ราบสงู ในระดบั การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ตัง้ แตช่ น้ั ประถมศึกษาปีท่ี 1 ถึงช้นั มัธยมศกึ ษาปีท่ี 6 สถานท่ีจัดตง้ั อำเภอแม่แจม่ จังหวดั เชยี งใหม่ คมู่ ือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 7

สว่ นท่ี 2 แนวทางการประกันคณุ ภาพภายใน 2.1 แนวทางการประกันคณุ ภาพภายในของโรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ระบบประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนราชประชานเุ คราะห์ 31 จังหวัดเชยี งใหม่ ภาพ 1 โมเดลกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จงั หวัดเชยี งใหม่ รายละเอยี ดของแนวทางการประกนั คณุ ภาพภายในของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จงั หวัดเชียงใหม่ มีดงั นี้ 1. ปัจจัยนำเขา้ (Input) โรงเรยี นราชประชานุเคราะห์ 31 จงั หวดั เชยี งใหม่ มีการบริหารจัดการโดยใช้รูปแบบ TEAM+ Model ในการใช้บรหิ ารจัดการสถานศึกษาที่เปน็ ส่วนหนึ่งของการนำทรพั ยากรหรือวัตถดุ บิ ที่มีเข้าสู่ระบบการประกนั คุณภาพภายใน โดยมรี ายละเอียดดังน้ี 1.1 T : Trainer หมายถึง หวั หน้ากลุ่มงาน เป็นการกระจายอำนาจการบริหารงานในสถานศึกษา โดยการนำครูและบุคลากรที่มคี วามรู้และ ประสบการณ์ขึ้นมาเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งได้จัดทำโครงสร้างการบริหารงานภายในสถานศึกษาแบ่ง ออกเป็น 10 กลุ่มงาน คือ 1) กลุ่มงานบริหารประถมศึกษา 2) กลุ่มงานบริหารงานวิชาการ 3) กลุ่มงาน ส่งเสริมวิชาการ 4) กลุ่มงานตามนโยบาย 5) กลุ่มงานวินัยนักเรียน 6) กลุ่มงานส่งเสริมกิจการนักเรียน 7) กลุ่มงานแผนงานและงบประมาณ 8) กลมุ่ งานบคุ คล 9) กลุ่มงานอำนวยการ และ10) กลุ่มงานอาคารสถานที่ โดยมีการวางแผนร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่มีเป้าห มายตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน เพ่ือใหเ้ กดิ ประสิทธภิ าพและประสทิ ธผิ ลมากท่สี ุด ค่มู ือการประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 8

1.2 E : Environment หมายถึง แหล่งเรยี นรู้/สิง่ แวดลอ้ ม เป็นการพัฒนาแหล่งเรยี นรู้ในสถานศึกษา เพ่อื ใหเ้ ปน็ อทุ ยานการเรียนรู้ และทำใหเ้ กดิ สงิ่ แวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้วิถีพอเพียง โดยสามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับผู้เรียน บุคลากร ชุมชน สถานศึกษา และ หน่วยงานต่าง ๆ ได้มาศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ภายในสถานศึกษา ซึ่งเป็นไปตามเอกลักษณ์ของโรงเรียนคือ “อุทยานการเรียนรู้” และยังมีแหล่งเรยี นรู้ภายในสถานศึกษาอีกมาก เช่น ศูนย์การเรยี นรู้โรงแรม โรงฝึกงาน อาชีพแผนกช่าง แผนกคหกรรม แผนกคอมพิวเตอร์ ฐานกิจกรรมศนู ยก์ ารเรียนรูต้ ามหลักปรัชญาของเศรษกิจ พอเพยี ง ดา้ นการศกึ ษา เปน็ ต้น 1.3 A : Active Learning หมายถึง การเรยี นรู้แบบลงมอื ปฏิบัติจริง เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับทุกรายวิชาที่จัดการ เรยี นการสอน ทำใหผ้ ้เู รียนได้มีบทบาทในการแสวงหาความรู้จากอุทยาการเรียนรู้ และเรียนรอู้ ย่างมีปฏิสมั พนั ธ์ จนเกิดความรคู้ วามเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้ได้สามารถวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ค่า หรือสรา้ งสรรคส์ ่ิงต่าง ๆ สามารถพฒั นาตนเองเตม็ ความสามารถ และยังช่วยในการปลกู ฝงั ให้ครแู ละผูเ้ รยี นใช้ชีวติ ในรูปแบบวิถพี อเพยี ง 1.4 M1 : Man หมายถึง การบรหิ ารบคุ ลากร ครแู ละบคุ ลากรภายในสถานศึกษาซึง่ ถือว่าเปน็ ปัจจยั หลักทส่ี ำคญั ทส่ี ุด เพราะการพฒั นาหรือการ ดำเนินงานต่าง ๆ ต้องอาศัยครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ทั้งในด้านความคิด การวางแผน การ ดำเนินการ โดยมีการจดั หน้าทป่ี ฏิบตั งิ านของครแู ละบุคลากรให้เหมาะสมกับงานตรงตามความสามารถของแต่ ละบุคคล พร้อมทัง้ ยังไดร้ ับความรว่ มมอื ทีด่ ีจากภาคีเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนในรูปแบบตา่ ง ๆ เช่น จาก คณะกรรมการสถานศึกษา ฯลฯ จนทำให้เกิดการผลการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จากความ รว่ มมอื ในการทำงานของครแู ละบคุ ลากรภายในสถานศกึ ษา สง่ ผลใหโ้ รงเรยี นราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัด เชียงใหม่ ได้การคัดเลือกให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษกิจพอเพียง ด้านการศึกษา จาก กระทรวงศกึ ษาธกิ าร 1.5 M2 : Money หมายถึง การบรหิ ารงบประมาณ การบริหารจัดการงบประมาณมีการวางแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ จัดทำ มาตรฐานภาระงานงบประมาณ มีการชี้แจงให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทราบ การมอบหมายงานให้ รับผิดชอบโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถและความต้องการของสถานศึกษา ใช้งบประมาณตรงตามกรอบ และวัตถุประสงค์ ถูกต้องตามระเบียบ มีระบบควบคุม ตรวจสอบภายใน รายงานการใช้งบประมาณเป็น ปัจจุบัน และมีการประเมินผลและนำผลไปปรับปรุง และในการจัดตั้งคำของบประมาณของแต่ละปี สถานศึกษาไดร้ ับการจดั สรรงบประมาณในทกุ ด้านอยา่ งเพียงพอ สามารถวางแผนบริหารงบประมาณได้อย่างมี ประสทิ ธิภาพ 1.6 M3 : Materials หมายถึง การบริหารทรพั ยากร มีการบริหารทรัพยากรอย่างคุม้ คา่ โดยมีการวางแผนการทรพั ยาการที่เป็นวัสดุ อปุ กรณต์ ามความ จำเป็นและความเหมาะสม สถานศึกษาได้จดั สรรทรัพยากรในทุก ๆ ดา้ นอยา่ งเพียงพอ ลดจำนวนทีใ่ ช้เกินความ ความจำเปน็ ออกให้มากท่สี ดุ เพอ่ื ท่ีจะมาช่วยในการพฒั นาองคก์ รหรอื สถานศกึ ษาใหม้ ีความกา้ วหน้าในทกุ ดา้ น คู่มอื การประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำรอ่ ง 9

1.7 M4 : Management หมายถงึ กระบวนการจัดการ เป็นกระบวนการจัดการบริหารงานในสถานศึกษาโดยยึดหลักรูปแบบของ TEAM+ Model เพื่อให้การดำเนินงานท้ังหมดเป็นไปอยา่ งมีประสิทธิภาพ และเกิดประสทิ ธผิ ลอย่างเต็มท่ี โดยมีระบบการนิเทศ กำกับติดตามที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญช่วยใหส้ ถานศึกษาพัฒนาไปในทิศทางท่ีตอ้ งการ ทั้งนี้โดยที่ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานเพื่อ บรรลุผลตามเป้าหมาย 1.8 Plus (+) : ระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศ (Information and communications technology : ICT) ในการพฒั นาสถานศกึ ษา นอกจากการดำเนนิ งานทง้ั 4 องค์ประกอบ (TEAM) แลว้ กระบวนการ ดำเนินงานเปน็ ปจั จัยสำคัญทน่ี ำไปสู่การประสบความสำเรจ็ ในการพัฒนาสถานศกึ ษาสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก ปรชั ญาของเศรษกจิ พอเพียง ดา้ นการศกึ ษา ซึง่ ในกระบวนการดำเนินงานในสถานศกึ ษาทั้งหมดได้ใชเ้ ทคโนโลยี สารสนเทศ มาขบั เคลอ่ื นสถานศึกษา คอื Information and communications technology (ICT) หมายถึง การบริหารงานโดยการนำเทคโนโลยสี ารสนเทศมาอำนวยความสะดวกในการทำงานเพือ่ ให้ เกิดความรวดเรว็ และมีข้อมูลสารสนเทศที่เที่ยงตรง น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้ทันที โดยใช้ระบบ checkin.rpk31 school ของสถานศึกษาคดิ คน้ ขึ้นมาในการจดั การขอ้ มลู สารสนเทศทั้งหมด 2. กระบวนการ (Process) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ มีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษา ตามแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร กำหนดไว้ 3 มาตรฐาน ไดแ้ ก่ มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพของผ้เู รียน มี ๒ ประเด็นพิจารณา ๑1 ประเด็นย่อย มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มี ๗ ประเด็นพิจารณา มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจดั การเรียนการสอนทเี่ นน้ ผ้เู รียนเป็นสำคัญ มี 3 ประเดน็ พจิ ารณา ๑0 ประเด็นยอ่ ย โดยในแต่ละ มาตรฐานได้กำหนดคำอธิบาย ประเดน็ การพิจารณา ระดับคุณภาพ และเกณฑ์การตัดสนิ คุณภาพของมาตรฐาน โดยการกำหนดระดบั คุณภาพของแตล่ ะมาตรฐานน้นั ไดแ้ บ่งเป็น ๕ ระดบั ได้แก่ ๑) ระดับ ๑ หมายถึง กำลงั พัฒนา ๒) ระดบั ๒ หมายถงึ ปานกลาง ๓) ระดบั ๓ หมายถงึ ดี ๔) ระดับ ๔ หมายถงึ ดเี ลิศ ๕) ระดับ ๕ หมายถงึ ยอดเย่ียม โดยมกี ระบวนการประกันคุณภาพการศกึ ษาภายในสถานศึกษา ดังนี้ ๑. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เปน็ ไปตามมาตรฐานการศกึ ษา ระดบั การศึกษา ปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติที่กำหนดไว้ตาม พระราชบัญญัติพื้นท่ี นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 มาตรา 37 กำหนดให้สถานศึกษานำร่องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษาและมีการประเมินเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนและตรวจสอบ คุณภาพการศกึ ษาภายในสถานศกึ ษาเปน็ ประจำทุกปี เพ่อื ให้คณะกรรมการขับเคลือ่ นให้คำปรกึ ษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยให้ สถานศึกษาและผู้เก่ยี วขอ้ งดำเนนิ การและถือเป็นความรับผดิ ชอบรว่ มกนั คู่มือการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 10

๒. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ ต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยสะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศกึ ษา ๓. ดำเนนิ การตามแผนพฒั นาการจดั การศึกษาของสถานศึกษา ๔. ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยกำหนดผูร้ บั ผิดชอบในการ ประเมนิ ผลและตรวจสอบคุณภาพการศกึ ษา ทั้งระดับบคุ คลและระดับสถานศึกษา และกำหนดการประเมินผล และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อย่างนอ้ ยภาคเรียนละ ๑ คร้งั โดยวธิ ีการและเครื่องมือที่ หลากหลายและเหมาะสม ๕. ติดตามผลการดำเนนิ การเพ่ือพัฒนาสถานศกึ ษาใหม้ ีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และ นำ ผลการตดิ ตามไปใชป้ ระโยชน์ในการปรบั ปรงุ พัฒนา ๖. จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษานำเสนอรายงานผลการประเมินตนเองต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ ความเหน็ ชอบ และจัดส่งรายงานดังกล่าวตอ่ หนว่ ยงานต้นสงั กัดหรือหน่วยงานท่ีกำกับดแู ล และคณะกรรมการ ขับเคลือ่ นพนื้ ท่ีนวัตกรรมการศึกษาเปน็ ประจำทกุ ปี ๗. พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพโดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเอง (Self- Assessment Report : SAR) และตามคำแนะนำของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล และ คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างมี ประสทิ ธภิ าพและพฒั นาอย่างต่อเนอ่ื ง 3. ผลลพั ธ์ (Output) 3.1 ผลเชงิ คุณภาพและเชิงปริมาณของผเู้ รียนโรงเรียนราชประชานเุ คราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ผลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่บ่งบอกถึงคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประกอบด้วย ความสามารถในการอ่าน การเขยี น การส่ือสาร การคดิ คำนวณ การคิดประเภทต่าง ๆ การสร้าง นวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่อวิชาชพี และดา้ นคณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ที่เปน็ ค่านยิ มท่ีดีตามที่สถานศึกษา กำหนด ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกับนความแตกต่างและหลากหลาย รวมทง้ั สขุ ภาวะทางรา่ งกายและจิตสงั คม 3.2 ผลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของการบริหารจดั การโรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวดั เชียงใหม่ ผลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่บ่งบอกถึงการบริหารจัดการของสถานศึกษา ที่มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดชัดเจน มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยใชร้ ะบบเทคโนโลยี สารสนเทศ (ICT) มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการท่ีเนน้ คุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และ ทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาครูและบุคลากรใหม้ ีความเชย่ี วชาญทางวิชาชีพใหส้ อดคลอ้ งกบั เกณฑก์ ารประเมินวิทย คมู่ ือการประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 11

ฐานะตาม ว.21 รวมทั้งจัดภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในบริ บทของ โรงเรียนประจำอย่างมีความสุข มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการในการ จดั การเรยี นร้ใู หบ้ รรลซุ ง่ึ เป้าหมายวสิ ัยทัศน์และพนั ธกจิ ของสถานศึกษา 3.3 ผลเชงิ คุณภาพและเชิงปรมิ าณของการจัดการเรยี นการสอนโรงเรยี นราชประชานุเคราะห์ 31 จงั หวดั เชียงใหม่ ผลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่บ่งบอกถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนตาม มาตรฐานและตัวชี้วดั ของหลักสตู รสถานศกึ ษา และมเี กณฑ์การประเมนิ ใหส้ อดคลอ้ งกบั เกณฑ์การประเมินผล งานทเ่ี กิดจากการปฏบิ ัติหนา้ ที่ตำแหนง่ ครู 3 ดา้ น 13 ตัวช้วี ดั เพื่อพัฒนากระบวนการจดั การเรียนการสอนท่ี เน้นผ้เู รียนเป็นสำคัญ 3.4 ผลเชงิ คุณภาพและเชงิ ปรมิ าณความพึงพอใจของผปู้ กครองและชมุ ชนใกล้เคียง ผลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่บ่งบอกถึงความพึงพอใจในภาพรวมของผู้ปกครองและชุมชน ใกลเ้ คยี งในการรับบริการ รวมถึงในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวดั เชยี งใหม่ 2.2 บทบาทหนา้ ท่ผี ู้เกีย่ วขอ้ ง 1) คณะกรรมการสถานศึกษา ใช้มาตรฐานเปน็ เคร่ืองมือส่อื สารให้ประชาชนได้รับทราบกระบวนการ จัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้คนไทยในท้องถิ่นเขา้ ใจและเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้การจัด การศกึ ษาชว่ ยยกระดับคุณภาพผเู้ รยี นให้ไดต้ ามมาตรฐานท่ีกำหนด 2) ผูบ้ รหิ ารสถานศกึ ษา ใช้มาตรฐานเป็นแนวทางรว่ มมือกันจัดการศึกษาใหบ้ รรลตุ ามเป้าหมาย ทต่ี งั้ ไว้ 3) ผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้การจัดการศึกษาช่วยยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้ได้ตาม มาตรฐานทีก่ ำหนด 4) ครู ใช้มาตรฐานเป็นกรอบแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ และเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองตามคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่มาตรฐานกำหนด เพื่อให้ ผู้เรยี นมีคณุ ภาพตามทม่ี าตรฐานกำหนดไว้ 5) ผูเ้ รียน ทำให้เกดิ การพฒั นาตนเองตามความคาดหวังของสังคมและประเทศชาติวา่ ต้องการคนท่ีมี คุณลกั ษณะทีพ่ งึ ประสงคอ์ ย่างไร จะทำอยา่ งไรจงึ จะเป็นผ้มู คี ณุ สมบตั ิตามท่ีมาตรฐานการศกึ ษากำหนด คู่มอื การประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำร่อง 12

2.3 วธิ กี ารดำเนนิ งานการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรียนราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวดั เชยี งใหม่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ มีวิธีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตาม กระบวนการ PDCA โดยมีรายละเอียดดงั น้ี กระบวนการ ภาระงานตาม ระยะเวลา รอ่ งรอยหลกั ฐานประกอบ ผูร้ บั ผดิ ชอบ ผทู้ เ่ี กีย่ วขอ้ ง กฎกระทรวง 1. การจดั ทำมาตรฐาน เม.ย – พ.ค. 1. มาตรฐานการศึกษา/คา่ เป้าหมาย งานประกนั - บุคลากรทกุ การศึกษา 2. หนงั สือ/รอ่ งรอยการระชา คณุ ภาพ กลุ่ม สัมพนั ธม์ าตรฐาน/ค่าเปา้ หมาย การศกึ ษา - กรรมการ สถานศึกษา P : PLAN 2. การจัดทำแผนพฒั นา เม.ย – พ.ค. 1. แผนพฒั นาการศกึ ษา/ งานแผน - บคุ ลากรทุก กลมุ่ การศึกษา/แผนปฏบิ ตั ิการ แผนปฏบิ ัติการประจำปี ประจำปี 2. รายงานการประชุมทบทวน - กรรมการ แผนพัฒนาการศึกษา สถานศกึ ษา 3. ร่องรอยการนำสง่ แผนพัฒนา การศกึ ษาให้ สศศ. 3. การดำเนินงานตาม พ.ค. – ม.ี ค. 1. คู่มือการปฏบิ ัตงิ าน กลุม่ บุคคล บคุ ลากรทุก แผน 2. แบบเสนองาน กล่มุ แผนงาน กลุ่มงาน 3. แบบเสนอโครงการ และงบประมาณ D : DO 4. สารสนเทศ กล่มุ บริหารงาน ท่ัวไป 5. แผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปี กลมุ่ แผนงาน และงบประมาณ 4. การประเมินผลและ ม.ิ ย. ตดิ ตาม ตรวจสอบงาน/โครงการ งานแผน บุคลากรทุก การตรวจสอบ ระยะที่ 1 กลมุ่ งาน ก.ย. ติดตาม ตรวจสอบงาน/โครงการ ระยะที่ 2 รายงานการปฏิบตั งิ านรายบุคคล กลมุ่ บุคคล (SAR) คร้ังท่ี 1 C : CHECK ตดิ ตามระบบประกันคุณภาพภายใน งานประกัน คร้ังที่ 1 คณุ ภาพ การศึกษา ธ.ค. ติดตาม ตรวจสอบงาน/โครงการ งานแผน ระยะที่ 3 มี.ค. ติดตาม ตรวจสอบงาน/โครงการ งานแผน ระยะที่ 4 คูม่ ือการประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 13

กระบวนการ ภาระงานตาม ระยะเวลา ร่องรอยหลักฐานประกอบ ผู้รับผิดชอบ ผ้ทู เ่ี ก่ยี วขอ้ ง กฎกระทรวง มี.ค. งานแผน บุคลากรทุก สรปุ งาน/สรุปโครงการตาม กล่มุ งาน 5. การติดตามผลการ มี.ค.-เม.ย. แผนปฏบิ ัติการประจำปี ทกุ กลุ่มงาน ดำเนนิ งาน พ.ค.-มิ.ย. ประเมนิ ความพงึ พอใจตอ่ งาน/ งานธุรการ โครงการ งานบคุ คล 6. การจัดส่งรายงาน พ.ค.-มิ.ย. รายงานการปฏบิ ตั ิงานรายบคุ คล บคุ ลากรทกุ ประจำปี (SAR) คร้ังที่ 2 งานประกัน กลมุ่ งาน 1.ติดตามระบบประกันคุณภาพ คณุ ภาพ A : 7. นำผลจากการรายงาน ภายในคร้งั ท่ี 2 การศกึ ษา ACTION มาพัฒนาคุณภาพ 2.รายงานการประเมินคุณภาพ ภายในประจำปีการศึกษา............... งานประกัน สถานศึกษา 1.หนังสอื นำสง่ รายงานประจำปี คณุ ภาพ 2.หลักฐานการเผยแพร่รายงาน การศึกษา 3.รายงานการประชมุ คณะกรรมการ สถานศึกษาเพื่อทราบผลการ งานประกัน ดำเนนิ งาน คณุ ภาพ 1. รายงานการประเมินคณุ ภาพ การศกึ ษา ภายในประจำปกี ารศึกษา............... 2. รายงานการประเมนิ คณุ ภาพ ภายนอกประจำปกี ารศกึ ษา............ (ถ้ามี) 3. แบบสรปุ รายงานการประชมุ เพื่อ การประกันคุณภาพการศกึ ษา คมู่ อื การประกันคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำร่อง 14

ภาพท่ี 2 แผนภาพแสดงกระบวนการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศึกษา ค่มู ือการประกันคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 15

สว่ นท่ี 3 การตดิ ตาม ตรวจสอบ และการประเมินคณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมนิ คณุ ภาพตามมาตรฐานการศึกษา ตามแนวทางการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ติดตามและตรวจสอบ 2) การประเมินคณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา และ 3) การกำหนดระดบั คุณภาพของ แต่ละมาตรฐาน รายละเอียดมดี ังนี้ 3.1 การติดตาม และตรวจสอบ การตดิ ตาม และตรวจสอบตามแนวทางการประกนั คุณภาพภายในของโรงเรยี นราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชยี งใหม่ มีดงั น้ี 3.1.1 สถานศึกษาแต่งตั้งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายใน สถานศึกษา ประกอบดว้ ย ผู้อำนายการสถานศึกษา ผทู้ รงคุณวุฒภิ ายนอก ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศกึ ษา และตัวแทนครูเปน็ กรรมการและเลขานกุ าร หรอื อนื่ ๆ ตามทโี่ รงเรียนเห็นสมควร 3.1.2 กำหนดประเด็นการติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐาน การศึกษาขั้นพน้ื ฐาน เพ่อื ตดิ ตาม ชว่ ยเหลือและให้คำแนะนำเกยี่ วกับการดำเนนิ งานตามมาตรฐานการศึกษาท่ี กำหนดไว้ 3.1.3 ระยะเวลาการตดิ ตาม และตรวจสอบ มี 2 ระยะ ไดแ้ ก่ ครงั้ ที่ 1 เดือนกันยายน มกี ารตดิ ตามตรวจสอบภายในระดับสถานศึกษา จากคณะกรรมการ ดำเนนิ งานประกนั คณุ ภาพสถานศึกษา ครั้งที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ มีการติดตาม ตรวจสอบภายในสถานศึกษาระดับผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอก จากคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา 3.1.4 เคร่อื งมือการตดิ ตาม และตรวจสอบ ไดแ้ ก่ แบบตดิ ตาม และตรวจสอบการดำเนินงานตามแนว ทางการประกันคณุ ภาพภายในของโรงเรยี น 3.2 การประเมินผล การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ท่ี กำหนดไว้ มีดังนี้ คมู่ อื การประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 16

ระดับการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน วิธกี ารประเมนิ เครือ่ งมือ มาตรฐานการศึกษา แบบสังเกต/แบบทดสอบ/แบบ การสงั เกต ประเมนิ /แบบสอบถาม/แบบ ๑. คุณภาพของผู้เรยี น การสอบถาม, สัมภาษณ์ ฯลฯ การสัมภาษณ์ ๒. กระบวนการบรหิ ารและการจดั การ การทดสอบ แบบประเมิน/แบบสอบถาม/ การประเมนิ แบบสมั ภาษณ์ ฯลฯ ๓. กระบวนการจัดการเรียนการสอนทีเ่ น้น ผเู้ รยี นเป็นสำคญั การสงั เกต แบบประเมนิ /แบบสอบถาม/ การสอบถาม, แบบสัมภาษณ์/แบบนเิ ทศการ 4. ความพงึ พอใจในการดำเนินงานตามแนว การสมั ภาษณ์ สอน ฯลฯ ทางการประกันคณุ ภาพภายในของโรงเรยี น การสงั เกต แบบสอบถามความพึงพอใจ การสอบถาม, การสัมภาษณ์ การนเิ ทศการสอน การสอบถาม 3.3 การประเมนิ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดบั การศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน มาตรฐานการศกึ ษาระดับการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน กำหนดไว้ ๓ มาตรฐาน ไดแ้ ก่ มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพ ของผู้เรียน มี ๒ ประเด็นพิจารณา 11 ประเด็นยอ่ ย มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มี 7 ประเด็นพิจารณา มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 13 ประเด็น พจิ ารณา โดยในแตล่ ะมาตรฐานไดก้ ำหนดคำอธบิ าย ประเด็นการพจิ ารณา ระดับคุณภาพ และเกณฑ์การตัดสิน คุณภาพของมาตรฐาน โดยการกำหนดระดบั คุณภาพของแต่ละมาตรฐานนน้ั ไดแ้ บง่ เป็น ๕ ระดบั ได้แก่ ๑) ระดับ 1 หมายถงึ กำลงั พัฒนา มีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 ๒) ระดบั 2 หมายถงึ ปานกลาง มีคะแนนร้อยละ 60.00 - 69.99 ๓) ระดับ 3 หมายถึง ดี มีคะแนนร้อยละ 70.00 - 79.99 ๔) ระดับ 4 หมายถงึ ดีเลิศ มคี ะแนนรอ้ ยละ 80.00 - 89.99 ๕) ระดับ 5 หมายถึง ยอดเยย่ี ม มีคะแนนรอ้ ยละ 90.00 - 100.00 มีรายละเอยี ดมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาข้ันพนื้ ฐาน มีจำนวน ๓ มาตรฐาน 31 ประเดน็ พจิ ารณา และการกำหนดระดับคุณภาพและเกณฑก์ ารตัดสนิ คุณภาพ ดงั นี้ ค่มู ือการประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำรอ่ ง 17

มาตรฐานท่ี ๑ ดา้ นคุณภาพของผเู้ รยี น ประเดน็ การพิจารณา รายละเอยี ด เป้าหมายท่ี สถานศกึ ษากำหนด มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพของผูเ้ รยี น ดเี ลิศ ๑.๑ ผลสมั ฤทธิ์ทาง ผู้เรียนมคี วามสามารถในการอา่ น การเขียน การสื่อสาร ร้อยละ 82 ของผเู้ รียน วชิ าการของผเู้ รียน และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดใน ไดร้ บั ผลการประเมนิ ใน แตล่ ะระดบั ช้นั ๑) มคี วามสามารถใน ระดับดีขึ้นไป การอ่าน การเขยี น การส่ือสารและการคดิ คำนวณ 2) มีความสามารถใน ผ ู ้ เ ร ี ย น ม ี ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร คิ ด จ ำ แ น ก แ ย ก แ ย ะ การคดิ วเิ คราะห์ คดิ อย่างมวี จิ ารณญาณ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้ รอ้ ยละ 82 ของผู้เรียน อภปิ รายแลกเปล่ียน ความคิดเหน็ และ เหตผุ ลประกอบการตดั สนิ ใจ มีการอภิปรายแลกเปล่ียน ไดร้ บั ผลการประเมินใน แกป้ ญั หา ความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลตามเกณฑ์ท่ี ระดบั ดขี ึ้นไป 3) มคี วามสามารถใน สถานศึกษากำหนดไว้ในแต่ละระดบั ชน้ั การสร้างนวัตกรรม ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วย รอ้ ยละ 82 ของผเู้ รียน 4) มีความสามารถใน ตัวเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้และ ได้รับผลการประเมินใน การใชเ้ ทคโนโลยี สารสนเทศและ ประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อาจเป็น ระดับดขี ึน้ ไป การสอื่ สาร แนวความคิด โครงการ โครงงาน ชนิ้ งาน ผลผลิต 5) มผี ลสัมฤทธิ์ทางการ เรยี นตามหลกั สตู ร ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 82 ของผเู้ รยี น สถานศึกษา และการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้าน ไดร้ ับผลการประเมินใน 6) มคี วามรู้ ทักษะ การเรยี นรู้ การสือ่ สาร การทำงาน อยา่ งสร้างสรรค์ และ ระดับดขี ึ้นไป พนื้ ฐาน และเจตคตทิ ่ดี ี มีจรยิ ธรรม ต่องานอาชพี ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในผลสัมฤทธิ์ทางการ ร้อยละ 80 ของผเู้ รียน เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้าน ได้รบั ผลการประเมินใน ความรู้ ความเขา้ ใจ ทักษะ กระบวนการตา่ ง ๆ ในแต่ละ ระดบั ดีขึ้นไป กลุ่มสาระการเรยี นรู้ ผเู้ รียนมเี จตคติท่ีดีตอ่ งานอาชีพ มคี วามรู้ ทกั ษะพ้ืนฐาน ร้อยละ 82 ของผเู้ รยี น ด้านงานอาชพี เพ่ือเป็นแนวทางในการประกอบอาชพี ใน ได้รับผลการประเมนิ ใน อนาคตได้ ระดับดีข้ึนไป คมู่ ือการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศึกษานำรอ่ ง 18

ประเดน็ การพิจารณา รายละเอยี ด เป้าหมายท่ี สถานศกึ ษากำหนด 1.2 คุณลักษณะท่ีพึง ประสงค์ของผู้เรยี น 1) การมีคณุ ลักษณะ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่กำหนดไว้ ร้อยละ 82 ของผูเ้ รียน ค่านิยม และอัตลักษณ์ ในหลักสูตร คือ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต ไดร้ ับผลการประเมินใน ของนกั เรียนทด่ี ี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน ระดับดขี ึ้นไป รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ มีทักษะการดำรงชีวิต ในโรงเรียนประจำ และคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของ นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัด เชียงใหม่ คอื สขุ ภาพดี คณุ ธรรมเด่น เป็นจติ อาสา 2) การมีทกั ษะการ ผู้เรียนมีทักษะการดำรงชีวิตในโรงเรียนประจำ ตามที่ รอ้ ยละ 82 ของผู้เรยี น ดำรงชีวติ ในโรงเรยี น กำหนดไว้ 8 ทักษะ คือ กิจกรรมส่งเสริมสุขนิสัย ได้รบั ผลการประเมินใน ประจำ กิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมหลัก ระดับดีขึ้นไป โภชนาการ กิจกรรมหลักไตรรงค์ กิจกรรมสร้างเสริม ภาวะผู้นำ กิจกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น และกิจกรรมพัฒนา สุนทรียภาพ 3) ความภูมใิ จในทอ้ งถน่ิ ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย ร้อยละ 82 ของผเู้ รยี น และความเป็นไทย โดยมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง ได้รับผลการประเมนิ ใน ได้เข้าร่วมกิจกรรมหลักไตรรงค์ กิจกรรมวันสำคัญของ ระดับดีขน้ึ ไป ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และร่วมอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณที ้องถ่นิ 4) การยอมรับที่จะอยู่ ผู้เรียนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่ ร้อยละ 82 ของผเู้ รยี น ร่วมกันบนความแตกต่าง หลากหลาย โดยอาศัยอยู่ในโรงเรียนประจำอย่างไม่ ไดร้ บั ผลการประเมินใน และหลากหลาย สร้างปัญหา ไม่ทะเลาะวิวาท จนเกิดความขัดแย้ง เข้า ระดับดขี ึ้นไป ร่วมกิจกรรมประเพณี และวัฒนธรรมทางชาติพันธ์ุ รวมถึงการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามจารีตประเพณี ท่ีดีงาม 5) สุขภาวะทางรา่ งกาย ผู้เรียนเกิดสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคมที่ดี รอ้ ยละ 82 ของผเู้ รยี น และจติ สงั คม เหมาะสมกับวัย คือ มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์การ ไดร้ บั ผลการประเมนิ ใน เจริญโต มีสุขภาพจติที่ดี และร่วมกิจกรรมจิตอาสาตาม ระดบั ดีขน้ึ ไป โอกาสท่ีเหมาะสม คมู่ ือการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 19

ระดบั คุณภาพและเกณฑ์การตัดสนิ คุณภาพ ระดับคุณภาพ ประเดน็ การพจิ ารณา/รายละเอียด กำลงั พฒั นา ผู้เรียนต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ตามประเด็น ปานกลาง พิจารณาดงั นี้ 1.1 ผลสัมฤทธ์ทิ างวชิ าการของผ้เู รยี น ๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขยี น การสอ่ื สาร และการคดิ คำนวณ ๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลีย่ นความคดิ เห็น และแกป้ ัญหา ๓) มคี วามสามารถในการสรา้ งนวตั กรรม ๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร ๕) มีผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นตามหลกั สูตรสถานศึกษา ๖) มคี วามรู้ ทักษะพ้ืนฐาน และเจตคตทิ ด่ี ีต่องานอาชพี 1.2 คณุ ลกั ษณะทพ่ี ึงประสงค์ของผเู้ รยี น ๑) การมคี ณุ ลักษณะ คา่ นยิ ม และอัตลกั ษณ์ของนกั เรียนท่ดี ี 2) การมีทักษะดำรงชีวติ ในโรงเรียนประจำ 3) ความภมู ิใจในท้องถน่ิ และความเปน็ ไทย 4) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกนั บนความแตกตา่ งและหลากหลาย 5) สขุ ภาวะทางร่างกาย และจิตสงั คม ผู้เรียนร้อยละ 60.00 - 69.99 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ตาม ประเดน็ พิจารณาดังน้ี 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวชิ าการของผูเ้ รียน ๑) มีความสามารถในการอา่ น การเขียน การสอื่ สาร และการคิดคำนวณ ๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลยี่ นความคิดเหน็ และแก้ปัญหา ๓) มีความสามารถในการสรา้ งนวตั กรรม ๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร ๕) มผี ลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นตามหลกั สตู รสถานศึกษา ๖) มคี วามรู้ ทกั ษะพ้นื ฐาน และเจตคติทดี่ ีตอ่ งานอาชพี 1.2 คณุ ลักษณะทีพ่ งึ ประสงคข์ องผเู้ รียน ๑) การมีคณุ ลักษณะ คา่ นยิ ม และอัตลกั ษณ์ของนักเรยี นทดี่ ี 2) การมีทักษะดำรงชวี ติ ในโรงเรียนประจำ 3) ความภูมใิ จในทอ้ งถิน่ และความเปน็ ไทย คมู่ อื การประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 20

ระดบั คุณภาพ ประเด็นการพจิ ารณา/รายละเอียด 4) การยอมรับทีจ่ ะอย่รู ่วมกนั บนความแตกต่างและหลากหลาย 5) สขุ ภาวะทางร่างกาย และจิตสงั คม ดี ผู้เรียนร้อยละ 70.00 - 79.99 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ตาม ประเดน็ พจิ ารณาดงั นี้ 1.1 ผลสัมฤทธทิ์ างวิชาการของผู้เรียน ๑) มคี วามสามารถในการอ่าน การเขียน การสือ่ สาร และการคิดคำนวณ ๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลยี่ นความคดิ เหน็ และแก้ปญั หา ๓) มคี วามสามารถในการสร้างนวัตกรรม ๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอื่ สาร ๕) มผี ลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นตามหลักสูตรสถานศกึ ษา ๖) มคี วามรู้ ทกั ษะพ้ืนฐาน และเจตคติท่ีดีต่องานอาชีพ 1.2 คุณลักษณะทพี่ งึ ประสงค์ของผเู้ รียน ๑) การมีคณุ ลกั ษณะ ค่านิยม และอตั ลกั ษณ์ของนักเรียนทด่ี ี 2) การมที กั ษะดำรงชีวิตในโรงเรยี นประจำ 3) ความภูมิใจในท้องถิน่ และความเปน็ ไทย 4) การยอมรบั ทจี่ ะอย่รู ว่ มกนั บนความแตกต่างและหลากหลาย 5) สขุ ภาวะทางรา่ งกาย และจติ สังคม ดเี ลิศ ผู้เรียนร้อยละ 80.00 - 89.99 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ตาม ประเดน็ พจิ ารณาดงั น้ี 1.1 ผลสมั ฤทธทิ์ างวิชาการของผ้เู รยี น ๑) มคี วามสามารถในการอา่ น การเขยี น การส่อื สาร และการคดิ คำนวณ ๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปล่ียนความคิดเหน็ และแก้ปญั หา ๓) มคี วามสามารถในการสรา้ งนวัตกรรม ๔) มคี วามสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร ๕) มผี ลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนตามหลกั สูตรสถานศึกษา ๖) มีความรู้ ทกั ษะพนื้ ฐาน และเจตคติทด่ี ีตอ่ งานอาชพี 1.2 คณุ ลักษณะที่พงึ ประสงค์ของผเู้ รยี น ๑) การมคี ณุ ลักษณะ ค่านิยม และอัตลักษณข์ องนกั เรียนทด่ี ี 2) การมที ักษะดำรงชีวติ ในโรงเรียนประจำ คูม่ ือการประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 21

ระดับคณุ ภาพ ประเดน็ การพิจารณา/รายละเอียด ยอดเยยี่ ม 3) ความภมู ิใจในท้องถิ่นและความเปน็ ไทย 4) การยอมรบั ที่จะอยู่รว่ มกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 5) สขุ ภาวะทางร่างกาย และจิตสงั คม ผู้เรียนร้อยละ 90.00 - 100.00ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ตาม ประเด็นพิจารณาดงั น้ี 1.1 ผลสัมฤทธทิ์ างวิชาการของผเู้ รยี น ๑) มีความสามารถในการอา่ น การเขยี น การส่ือสาร และการคดิ คำนวณ ๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลย่ี นความคิดเห็น และแกป้ ัญหา ๓) มคี วามสามารถในการสร้างนวัตกรรม ๔) มคี วามสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร ๕) มผี ลสัมฤทธิท์ างการเรียนตามหลักสูตรสถานศกึ ษา ๖) มคี วามรู้ ทกั ษะพ้นื ฐาน และเจตคติที่ดีตอ่ งานอาชพี 1.2 คณุ ลักษณะท่พี งึ ประสงคข์ องผู้เรียน ๑) การมีคุณลักษณะ ค่านยิ ม และอตั ลกั ษณข์ องนักเรียนท่ดี ี 2) การมีทักษะดำรงชวี ิตในโรงเรยี นประจำ 3) ความภูมใิ จในทอ้ งถน่ิ และความเปน็ ไทย 4) การยอมรับที่จะอยู่รว่ มกนั บนความแตกต่างและหลากหลาย 5) สขุ ภาวะทางรา่ งกาย และจติ สังคม คู่มอื การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 22

มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจัดการ ประเด็นการพจิ ารณา รายละเอยี ด เป้าหมายท่ี สถานศึกษากำหนด มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ๒.๑ มีเป้าหมาย สถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้ รอ้ ยละ 82 ของ วสิ ยั ทัศน์และพันธกจิ ที่ อย่างชดั เจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศกึ ษา ความ ผ้มู ีสว่ นเกีย่ วข้อง สถานศึกษากำหนด ต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการ มคี วามพึงพอใจระดบั ชัดเจน ศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด ดขี ้นึ ไป และ รวมทงั้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสงั คม ผลการดำเนนิ งาน 2.2 มรี ะบบบริหาร สถานศึกษามกี ารบรหิ ารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ตามประเดน็ พิจารณา จดั การคุณภาพของ อย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพ เป็นไปตามเป้าหมายที่ การจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนา กำหนด สถานศกึ ษา คุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบประเมินผล และปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหาร อัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษาและระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน การนำ ข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนา และ รว่ มรบั ผิดชอบตอ่ ผลการจัดการศึกษา 2.3 ดำเนินงานพฒั นา สถานศึกษาบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ทั้งด้าน วิชาการท่ีเน้นคุณภาพ การพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้น ผเู้ รียนรอบดา้ นตาม คุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน เชอื่ มโยงวิถีชีวิตจริง และ หลกั สูตรสถานศึกษา ครอบคลุมทกุ กลุ่มเป้าหมายของนกั เรียนดอ้ ยโอกาสทาง และทกุ กลุม่ เป้าหมาย การศกึ ษา 2.4 พฒั นาครูและ สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มี บุคลากรใหม้ คี วาม ความเชีย่ วชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มชี ุมชนการเรียนรู้ เชย่ี วชาญทางวชิ าชีพ ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของ ผู้เรียนให้สอดคล้องกับเกณฑก์ ารประเมินวิทยฐานะตาม ว.21 2.5 จดั สภาพแวดลอ้ ม สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายใน ทางกายภาพและสังคมท่ี และภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ เออ้ื ต่อการจดั การเรยี นรู้ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีความปลอดภัยตามบริบท คู่มอื การประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 23

ประเด็นการพิจารณา รายละเอยี ด เปา้ หมายที่ สถานศึกษากำหนด 2.6 จัดระบบเทคโนโลยี ของโรงเรยี นประจำอยา่ งมคี วามสุข สารสนเทศเพื่อสนบั สนุน สถานศึกษาจัดระบบการจัดหาการพัฒนาและการ การบริหารจัดการและ บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหาร การจดั การเรยี นรู้ จัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของ สถานศึกษา ๒.๗ หนว่ ยงาน องคก์ ร สถานศึกษามีการสง่ เสริมสนับสนนุ ให้หนว่ ยงาน องค์กร ชมุ ชนให้การสนับสนุน ชุมชนภายนอกเข้านอกมามีส่วนร่วมในการพัฒนา การพฒั นาคณุ ภาพการ คุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการที่ จัดการศกึ ษาด้วย หลากหลาย รูปแบบและวธิ ีการที่ หลากหลาย ระดบั คุณภาพและเกณฑ์การตัดสินคณุ ภาพ ระดับคุณภาพ ประเดน็ การพจิ ารณา กำลังพัฒนา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่ำกว่าร้อยละ 60 มีความพึงพอใจในการบริหารและการ จดั การอยใู่ นระดับดีขน้ึ ไป ตามประเด็นพจิ ารณาดงั นี้ 1) เป้าหมาย วสิ ัยทศั น์ และพันธกจิ ที่สถานศึกษากำหนดขึ้นไม่ชดั เจน 2) มีระบบบริหารจดั การคณุ ภาพของสถานศึกษา 3) ดำเนินงานพฒั นาวิชาการทีเ่ นน้ คณุ ภาพผ้เู รยี นรอบดา้ นตามหลกั สูตรสถานศกึ ษา 4) พัฒนาครูและบคุ ลากรให้มีความเชยี่ วชาญทางวชิ าชีพ 5) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมี คณุ ภาพ 6) จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการ เรยี นรู้ 7) มีการส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร ชุมชนภายนอกเข้านอกมามีส่วน รว่ มในการดำเนนิ งาน คมู่ อื การประกนั คณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 24

ระดบั คุณภาพ ประเด็นการพิจารณา ปานกลาง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร้อยละ 60.00 - 69.99 มีความพึงพอใจในการบริหารและ ดี การจัดการอยใู่ นระดบั ดขี ึ้นไป ตามประเด็นพจิ ารณาดังน้ี 1) เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจนเป็นไปได้ในการ ปฏิบัติ 2) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศกึ ษา 3) ดำเนนิ งานพฒั นาวชิ าการท่เี น้นคณุ ภาพผ้เู รียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา 4) พัฒนาครูและบคุ ลากรให้มคี วามเชยี่ วชาญทางวชิ าชีพ 5) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมี คุณภาพ 6) จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการ เรียนรู้ 7) มีการส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร ชุมชนภายนอกเข้านอกมามีส่วน ร่วมในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศกึ ษา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร้อยละ 70.00 - 79.99 มีความพึงพอใจในการบริหารและ การจดั การอยู่ในระดับดขี ้นึ ไป ตามประเดน็ พจิ ารณาดังน้ี 1) เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน สอดคล้องกับ บรบิ ทของสถานศึกษา เป็นไปได้ในการปฏิบตั ิ 2) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน ส่งผลต่อคุณภาพตาม มาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา 3) ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสู ตร สถานศกึ ษา และทุกกลุ่มเปา้ หมาย 4) พฒั นาครูและบุคลากรให้มคี วามเชีย่ วชาญทางวชิ าชีพ 5) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมี คณุ ภาพ 6) จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบรหิ ารจัดการและการจัดการ เรียนรู้ 7) มีการส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร ชุมชนภายนอกเข้านอกมามีส่วน รว่ มในการพฒั นาคณุ ภาพการจดั การศกึ ษา คู่มอื การประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 25

ระดับคณุ ภาพ ประเดน็ การพิจารณา ดีเลิศ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร้อยละ 80.00 - 89.99 มีความพึงพอใจในการบริหารและ ยอดเย่ยี ม การจดั การอยูใ่ นระดับดีข้นึ ไป ตามประเดน็ พจิ ารณาดงั นี้ 1) มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจท่ีสถานศึกษากำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบท ของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน นโยบาลของรัฐบาล แผนการศึกษา แห่งชาติ เป็นไปได้ในการปฏิบตั ิ 2) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน ส่งผลต่อคุณภาพตาม มาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้ท่มี ีส่วนเก่ียวข้องทุก ฝา่ ย 3) ดำเนินงานพฒั นาวชิ าการที่เน้นคุณภาพผเู้ รียนรอบดา้ นตามหลกั สตู รสถานศึกษา และทุกกลุ่มเปา้ หมาย เชอื่ มโยงกบั ชีวิตจริง 4) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ตรงตามความต้องการ ของครู และสถานศึกษา 5) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมี คุณภาพ และมีความปลอดภยั 6) จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการ เรยี นรูท้ เี่ หมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา 7) มีการส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร ชุมชนภายนอกเข้านอกมามีส่วน รว่ มในการพัฒนาคุณภาพการจดั การศกึ ษา ผ้ทู ีม่ สี ่วนเกยี่ วขอ้ งร้อยละ 90.00 - 100.00 มคี วามพึงพอใจในการบริหารและ การจดั การอยใู่ นระดบั ดขี ้นึ ไป ตามประเด็นพิจารณาดังนี้ 1) มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน สอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษา ความต้องการชุมชน นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษา แห่งชาติ เป็นไปได้ในการปฏิบตั ิ ทันตอ่ การเปลี่ยนแปลง 2) มีระบบบริหารจดั การคณุ ภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อ คณุ ภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมอื ของผู้ท่ีมีส่วน เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และเปน็ แบบอยา่ งได้ 3) ดำเนินงานพฒั นาวชิ าการที่เน้นคณุ ภาพผ้เู รียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทกุ กลุม่ เปา้ หมาย เชือ่ มโยงกบั ชวี ติ จรงิ และเป็นแบบอย่างได้ 4) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการ เรยี นรู้ทางวชิ าชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้อง คู่มอื การประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 26

ระดบั คณุ ภาพ ประเด็นการพจิ ารณา กบั เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะตาม ว.21 5) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และ สภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอ้ือต่อการจัดการเรียนรู้ มคี วามปลอดภัยตามบริบท ของโรงเรียนประจำอยา่ งมีความสุข 6) จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการ เรียนรทู้ ่เี หมาะสมกบั สภาพของสถานศกึ ษา 7) มีการส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร ชุมชนภายนอกเข้านอกมามีส่วน รว่ มในการพฒั นาคุณภาพการจดั การศึกษาดว้ ยรูปแบบและวิธกี ารท่หี ลากหลาย คู่มอื การประกันคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำร่อง 27

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนทเี่ น้นผเู้ รียนเปน็ สำคัญ ประเด็นการพจิ ารณา รายละเอียด เปา้ หมายที่ สถานศึกษากำหนด มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรยี นการสอนทีเ่ นน้ ผเู้ รียนเป็นสำคญั ดเี ลศิ 3.1 ดา้ นการจัดการ ครูมีการจัดทำหลักสูตรและหรือพัฒนาหลักสูตร รอ้ ยละ 82 ของครู เรยี นการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีปัญญา มี ได้รับผลการประเมนิ ศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพตาม ในระดบั ดขี นึ้ ไป มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการรูปแบบที่หลากหลาย และ เหมาะสมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ผูเ้ รียนเกิดการเรยี นรู้ ดว้ ยวิธีการปฏบิ ตั ิ 1) การสร้างและหรอื พัฒนาหลักสูตร ครูมีการวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชวี้ ัด ผลการเรยี นรู้เพ่ือนำไปจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่ สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดและหรือผล การเรียนรู้ ปรับประยุกต์หลักสูตรรายวิชา และหน่วย การเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษา ผเู้ รียน เรอ่ื งท้องถน่ิ และสามารถ นำไปปฏิบัติได้จริง มีการประเมินผลการใช้หลักสูตร อยา่ งเป็นระบบและนำผลการประเมินการใช้หลกั สตู รมา ปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้นำเป็นพี่เลี้ยงและเป็นที่ปรึกษาด้านหลักสูตร ได้ 2) การจัดการเรียนรู้ ครูมีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะตามมาตรฐานการ เรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติ และเตม็ ตามศักยภาพโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง คูม่ อื การประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำร่อง 28

ประเดน็ การพจิ ารณา รายละเอียด เป้าหมายที่ สถานศึกษากำหนด บคุ คล 2.1) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ครูออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยการปรับประยุกต์ ให้สอดคล้องกับบริบท ของสถานศึกษาท้องถิ่นและ เหมาะสมกับผู้เรียน มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการ ปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ อย่างหลากหลายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมีการ ประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ รวมถึงการนำผล การประเมินมาปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น เป็น แบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ เป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษาด้าน การออกแบบหนว่ ยการเรยี นรู้ได้ 2.2) การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล/แผนการสอน รายบุคคล/แผนการจัดประสบการณ์ การจัดทำ แผนการจัดประสบการณ์ หมายถึง การกำหนดแนว ทางการจัดประสบการณ์เพือ่ ส่งเสริมพัฒนาการที่สมดลุ ทัง้ 4 ดา้ น ไดแ้ ก่ ดา้ นร่างกาย อารมณ์ จติ ใจ สังคม และ สติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัยและ ความแตกตา่ งระหว่างบุคคล 2.3) กลยุทธ์ในการจดั การเรยี นรู้ ครูมีการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ เทคนิค และวิธีการที่เน้นวิธกี ารปฏบิ ัติ มีความหลากหลาย ใช้ สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจดั การเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลตามแผนการจัดการจัดการ เรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดหรือ ผลการเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้และสอดคล้องกับ ธรรมชาติของผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ ประเมินผล การใช้กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ และนำผลการ ประเมินมาปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น นิเทศ การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา กลยุทธ์การจัดการ เรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้ในสถานศึกษาที่มีบริบท คมู่ อื การประกันคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 29

ประเด็นการพิจารณา รายละเอยี ด เปา้ หมายท่ี สถานศกึ ษากำหนด ใกล้เคยี ง เป็นแบบอย่างท่ีดแี ละเปน็ ผู้นำใหผ้ อู้ ื่นได้ 2.4) คณุ ภาพผเู้ รียน ครูมีผลการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ ที่ส่งผลให้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษา กำหนด 3) การสร้างและการพฒั นาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการศึกษาและแหล่งเรยี นรู้ ครูมีการสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในการ จัดการเรยี นรทู้ ีเ่ หมาะสมกบั ผูเ้ รียน สอดคล้องกับเน้ือหา สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ ประเมินผลการใช้สื่อ นวตั กรรม เทคโนโลยที างการศกึ ษา แหลง่ เรียนรู้และนำ ผลการประเมินไปปรับปรุง พัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น สามารถนำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา แหลง่ เรยี นรู้ ไปปรบั ประยกุ ตใ์ ช้ในสถานศึกษาท่ีมีบริบท ใกลเ้ คยี งเป็นแบบอยา่ งท่ีดแี ละเปน็ ผูน้ ำทางการศกึ ษาได้ 4) การวัดและประเมินผลการเรยี นรู้ ครูสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลที่ หลากหลาย เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานการ เรียนรู้ ตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้ มีการกำหนด จุดประสงคก์ ารเรียนร้มู ีการประเมนิ ตามสภาพจริงมีการ ประเมินตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ และนำผลการประเมินคุณภาพ ของเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไปปรับปรุง พัฒนาให้มีคุณภาพสูงข้ึน เป็นแบบอย่างทีด่ ีเป็นพี่เล้ยี ง และให้คำปรึกษาด้านการวัดและประเมนิ ผลได้ 5) การวิจัยเพ่ือพฒั นาการเรยี นรู้ ครูใช้กระบวนการวิจัยหรือดำเนินการวิจัยในการ สร้างองค์ความรู้ใหมเ่ พ่ือแกป้ ญั หาหรือพฒั นาการเรียนรู้ ของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับ ค่มู อื การประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 30

ประเด็นการพจิ ารณา รายละเอยี ด เปา้ หมายท่ี สถานศึกษากำหนด 3.2 ดา้ นการบริหาร จัดการชน้ั เรยี น สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น นำผลการ แก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือ ผลการวิจัยไปใช้ เป็นผู้นำและให้คำแนะนำในการใช้ กระบวนการวิจัยหรือดำเนินการวิจัยในการสร้างองค์ ความรู้ใหมเ่ พ่ือแกป้ ัญหาและหรือพัฒนาการเรียนร้ขู อง ผเู้ รยี นได้อยา่ งเหมาะสม ครูมีการจัดกิจกรรมสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก รอ้ ยละ 80 ของครู จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่สง่ เสริม สนบั สนุน และ มผี ลการประเมนิ ใน ช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และ ระดับดขี ้นึ ไป เป็นผู้เสริมแรง ชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนศึกษาแสวงหา ความรู้ คิดวิเคราะห์ ปฏิบัติและค้นพบคำตอบด้วย ตนเอง 1) การบรหิ ารจดั การชนั้ เรียน ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความความปลอดภัยและมีความสขุ ส่งเสริมให้ผูเ้ รยี น เกิดกระบวนการคิด มีทักษะชีวิตและทักษะการทำงาน อบรมบ่มนิสยั ใหผ้ ู้เรียนมคี ุณธรรมจริยธรรม คณุ ลกั ษณะ อันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็น ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็ม ตามศักยภาพเกิดแรงบันดาลใจ เป็นแบบอย่างทีด่ ีดา้ น การบรหิ ารจัดการช้ันเรียน 2) การจดั ระบบดูแลช่วยเหลอื ผเู้ รยี น ครูมีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำ และใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยผู้เรียนมี โครงการและจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่ หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือผเู้ รยี น ส่งเสรมิ ปอ้ งกัน และแก้ปัญหาผเู้ รยี นอยา่ งเป็นระบบ นำไปประยุกต์ใชใ้ น สถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง เป็นแบบอย่างท่ีดี และ เป็นผนู้ ำได้ คู่มอื การประกนั คณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 31

ประเด็นการพจิ ารณา รายละเอียด เป้าหมายที่ สถานศึกษากำหนด 3.3 ดา้ นการพัฒนา ตนเองและพฒั นา 3) การจดั ทำขอ้ มูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้น วชิ าชีพ เรียนหรอื ประจำวชิ า การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้น เรียนหรือประจำวิชา อย่างเป็นระบบ ถูกต้องและเป็น ปัจจุบัน ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนา ผเู้ รียน ให้คำปรกึ ษาแก่ครูในสถานศึกษาด้านการจัดทำ ขอ้ มลู สารสนเทศ ครูมีกระบวนการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโดยมี รอ้ ยละ 80 ของครู แผนการพัฒนาตนเองและดำเนินการพัฒนาตนเองตาม มผี ลการประเมนิ ใน แผนอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ระดบั ดขี น้ึ ไป ความต้องการจำเปน็ องค์ความรใู้ หม่ นโยบายแผนกล ยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกดั มกี ารแลกเปล่ียนการเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษา หรือระดบั เครอื ข่าย หรอื ระดับชาติ และแสดงบทบาท ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบ กลั ยาณมติ ร ทม่ี วี สิ ัยทัศน์ คุณค่า เปา้ หมายและภารกิจ ร่วมกัน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้เกิดเป็น วฒั นธรรมองคก์ รและสร้างนวัตกรรมจากการเข้าร่วมใน ชุมชนแห่งการเรยี นรู้ทางวชิ าชีพ 1) การพฒั นาตนเอง จัดทำแผนพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับสภาพการ ปฏิบัติงานความตอ้ งการจำเป็นหรือตามแผนกลยุทธ์ของ หน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัด มีการ พัฒนาตนเองตามแผน นำความรู้ความสามารถทักษะท่ี ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการ เรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สร้างองค์ความรูใ้ หม่ที่ ไดจ้ ากการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างท่ีดี และเป็นผนู้ ำ 2) การพฒั นาวิชาชีพ ครูเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นำองค์ ความรู้ที่ได้จากการเขา้ ร่วมชุมชนการเรียนรูทางวิชาชีพ คู่มอื การประกันคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำร่อง 32

ประเด็นการพิจารณา รายละเอยี ด เปา้ หมายที่ สถานศกึ ษากำหนด ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และสร้างนวัตกรรมท่ี ได้จากการเข้าร่วมในชมุ ชนการเรียนรู้ทางวิชาชพี สร้าง เครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สร้างวัฒนธรรม ทางการเรียนรู้ในสถานศึกษา เป็นผูน้ ำการเปล่ียนแปลง ท่ีสง่ ผลต่อเพ่ือนรว่ มวิชาชีพ เปน็ แบบอยา่ งท่ีดี และเป็น ผนู้ ำได้ ระดับคุณภาพและเกณฑก์ ารตัดสินคุณภาพ ระดับคณุ ภาพ ประเด็นการพิจารณา กำลงั พัฒนา ครูผู้สอนต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไป ตามประเด็น ปานกลาง พจิ ารณาดังน้ี 1) มีการสรา้ งและหรอื พัฒนาหลักสตู ร สามารถปฏบิ ัติทำไดจ้ ริง 2) มีการออกแบบหนว่ ยการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำไดจ้ ริง 3) มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล/ แผนการสอนรายบุคคล/แผนการจัดประสบการณ์ สามารถปฏิบตั ิทำไดจ้ ริง 4) มีกลยุทธ์ในการจดั การเรยี นรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง 5) มีจำนวนผเู้ รียนไม่นอ้ ยกว่ารอ้ ยละ 55 มีผลการเรยี น 3 ขนึ้ ไป 6) มีการสร้างและการพัฒนาสือ่ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหลง่ เรยี นรู้ สามารถปฏบิ ัตทิ ำได้จริง 7) มีการวดั และประเมินผลการเรยี นรู้ สามารถปฏิบัติทำไดจ้ ริง 8) มีการทำวจิ ยั เพอื่ พัฒนาการเรยี นรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง 9) มีการบรหิ ารจัดการชัน้ เรียน สามารถปฏิบัตทิ ำได้จริง 10) มกี ารจดั ทำระบบดูแลชว่ ยเหลอื ผู้เรยี น สามารถปฏิบัติทำได้จริง 11) มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา สามารถปฏิบัติทำได้จริง 12) มกี ารจัดทำแผนพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบตั ทิ ำได้จริง 13) มกี ารเขา้ ร่วมชมุ ชนการเรยี นรทู้ างวิชาชพี สามารถปฏบิ ัตทิ ำไดจ้ ริง ครูผู้สอนร้อยละ 60.00 - 69.99 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปตาม ประเด็นพจิ ารณาดงั นี้ 1) มีการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร สามารถปฏิบัติทำได้จริง และนำผลมา ค่มู อื การประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำรอ่ ง 33

ระดับคณุ ภาพ ประเดน็ การพจิ ารณา พฒั นาตอ่ ไป 2) มีการออกแบบหนว่ ยการเรียนรู้ สามารถปฏบิ ัตทิ ำไดจ้ ริง และนำผลมาพัฒนา ต่อไป 3) มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล/ แผนการสอนรายบคุ คล/แผนการจัดประสบการณ์ สามารถปฏิบัตทิ ำไดจ้ ริง และนำผลมา พฒั นาต่อไป 4) มีกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง และนำผลมาพัฒนา ตอ่ ไป 5) มีจำนวนผูเ้ รียนไม่นอ้ ยกวา่ รอ้ ยละ 60 มผี ลการเรยี น 3 ข้นึ ไป 6) มีการสร้างและการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหลง่ เรียนรู้ สามารถปฏบิ ตั ิทำได้จริง และนำผลมาพัฒนาต่อไป 7) มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง และนำผลมา พฒั นาตอ่ ไป 8) มีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง และนำผลมา พัฒนาต่อไป 9) มีการบริหารจัดการชั้นเรียน สามารถปฏิบัติทำได้จริง และนำผลมาพัฒนา ต่อไป 10) มกี ารจดั ทำระบบดแู ลชว่ ยเหลอื ผู้เรียน สามารถปฏบิ ัติทำได้จรงิ และนำผล มาพฒั นาตอ่ ไป 11) มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา สามารถปฏิบัติทำไดจ้ รงิ และนำผลมาพัฒนาตอ่ ไป 12) มกี ารจดั ทำแผนพัฒนาตนเอง สามารถปฏบิ ตั ิทำได้จรงิ และนำผลมาพัฒนา ตอ่ ไป 13) มกี ารเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สามารถปฏบิ ัติทำได้จรงิ และนำ ผลมาพฒั นาต่อไป ดี ครูผู้สอนร้อยละ 70.00 - 79.99 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปตาม ประเดน็ พิจารณาดงั นี้ 1) มีการสร้างและหรอื พฒั นาหลักสตู ร สามารถปฏบิ ัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็นพเ่ี ลีย้ งหรือรว่ มปรกึ ษาแลกเปลยี่ นในดา้ นนนั้ 2) มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็นพเี่ ลี้ยงหรอื ร่วมปรึกษาแลกเปล่ยี นในดา้ นนัน้ 3) มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล/ คมู่ อื การประกันคุณภาพภายในสถานศกึ ษานำร่อง 34

ระดบั คณุ ภาพ ประเด็นการพิจารณา แผนการสอนรายบุคคล/แผนการจัดประสบการณ์ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมา พัฒนา เป็นพเ่ี ลีย้ งหรือรว่ มปรึกษาแลกเปลยี่ นในดา้ นนน้ั 4) มีกลยุทธ์ในการจดั การเรยี นรู้ สามารถปฏบิ ัติทำไดจ้ รงิ นำผลมาพฒั นา เป็นพี่ เล้ียงหรอื ร่วมปรึกษาแลกเปล่ียนในดา้ นน้ัน 5) มีจำนวนผเู้ รยี นไม่นอ้ ยกวา่ ร้อยละ 65 มผี ลการเรยี น 3 ขนึ้ ไป 6) มีการสร้างและการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหลง่ เรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็นพี่เลี้ยงหรือร่วมปรึกษาแลกเปลี่ยน ในด้านนนั้ 7) มกี ารวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จรงิ นำผลมาพัฒนา เปน็ พเ่ี ล้ียงหรือรว่ มปรึกษาแลกเปล่ยี นในดา้ นนั้น 8) มีการทำวิจัยเพือ่ พัฒนาการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จรงิ นำผลมาพัฒนา เปน็ พ่ีเลย้ี งหรือร่วมปรกึ ษาแลกเปลี่ยนในด้านนน้ั 9) มกี ารบรหิ ารจัดการชัน้ เรียน สามารถปฏิบัติทำได้จรงิ นำผลมาพัฒนา เป็นพี่ เลย้ี งหรือรว่ มปรกึ ษาแลกเปลี่ยนในดา้ นน้ัน 10) มีการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมา พฒั นา เป็นพ่เี ลี้ยงหรือร่วมปรกึ ษาแลกเปล่ยี นในด้านนนั้ 11) มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็นพี่เลี้ยงหรือร่วมปรึกษาแลกเปลี่ยนในดา้ น นนั้ 12) มีการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เปน็ พเี่ ลีย้ งหรอื ร่วมปรกึ ษาแลกเปลี่ยนในดา้ นน้นั 13) มีการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผล มาพัฒนา เป็นพ่ีเลีย้ งหรอื ร่วมปรึกษาแลกเปลีย่ นในดา้ นนน้ั ดีเลศิ ครูผู้สอนร้อยละ 80.00 - 89.99 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปตาม ประเดน็ พิจารณาดงั น้ี 1) มีการสรา้ งและหรอื พัฒนาหลักสตู ร สามารถปฏิบตั ิทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็นแบบอยา่ งทดี่ ี เปน็ พเ่ี ลีย้ งหรอื เปน็ ทป่ี รกึ ษาในด้านน้นั 2) มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เปน็ แบบอย่างทด่ี ี เปน็ พีเ่ ลย้ี งหรือเป็นท่ีปรกึ ษาในดา้ นนั้น 3) มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล/ แผนการสอนรายบุคคล/แผนการจัดประสบการณ์ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมา พัฒนา เปน็ แบบอยา่ งที่ดี เป็นพเ่ี ลีย้ งหรอื เปน็ ท่ีปรึกษาในด้านนนั้ คมู่ ือการประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 35

ระดบั คุณภาพ ประเดน็ การพิจารณา 4) มีกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็น แบบอยา่ งทีด่ ี เป็นพ่ีเลี้ยงหรือเป็นที่ปรึกษาในด้านน้นั 5) มีจำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่ารอ้ ยละ 70 มผี ลการเรยี น 3 ขึน้ ไป 6) มีการสร้างและการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหลง่ เรยี นรู้ สามารถปฏบิ ตั ิทำได้จรงิ นำผลมาพฒั นา เป็นแบบอย่างท่ีดี เป็นพี่เลี้ยงหรือเป็นที่ ปรึกษาในดา้ นนน้ั 7) มกี ารวดั และประเมินผลการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เปน็ แบบอย่างที่ดี เปน็ พีเ่ ลยี้ งหรือเปน็ ทปี่ รกึ ษาในด้านนั้น 8) มีการทำวิจัยเพือ่ พัฒนาการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำไดจ้ รงิ นำผลมาพัฒนา เปน็ แบบอย่างท่ดี ี เป็นพีเ่ ลี้ยงหรอื เปน็ ทีป่ รึกษาในดา้ นนน้ั 9) มีการบริหารจัดการชั้นเรียน สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็น แบบอยา่ งท่ีดี เปน็ พเ่ี ล้ียงหรือเปน็ ทีป่ รกึ ษาในดา้ นนนั้ 10) มีการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมา พัฒนา เปน็ แบบอย่างท่ดี ี เป็นพเี่ ลย้ี งหรือเปน็ ทีป่ รกึ ษาในด้านนัน้ 11) มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา สามารถปฏิบตั ิทำได้จริง นำผลมาพฒั นา เปน็ แบบอย่างทด่ี ี เป็นพ่เี ลี้ยงหรือเป็นที่ปรึกษา ในดา้ นนนั้ 12) มีการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็นแบบอยา่ งทดี่ ี เป็นพ่ีเล้ียงหรอื เปน็ ทป่ี รึกษาในดา้ นน้ัน 13) มีการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผล มาพฒั นา เปน็ แบบอยา่ งทดี่ ี เปน็ พเี่ ลีย้ งหรอื เป็นทป่ี รึกษาในดา้ นนัน้ ยอดเย่ียม ครูผู้สอนร้อยละ 90.00 - 100.00 ได้รับผลการประเมินในระดับดีขึ้นไปตาม ประเดน็ พจิ ารณาดงั น้ี 1) มีการสรา้ งและหรือพัฒนาหลักสูตร สามารถปฏิบัตทิ ำได้จรงิ นำผลมาพัฒนา เป็นแบบอยา่ งท่ีดี เปน็ ผนู้ ำ เปน็ พีเ่ ลีย้ งหรือเป็นท่ปี รกึ ษาในด้านนน้ั 2) มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เปน็ แบบอยา่ งที่ดี เปน็ ผนู้ ำ เป็นพี่เลี้ยงหรือเปน็ ทปี่ รึกษาในดา้ นนน้ั 3) มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล/ แผนการสอนรายบุคคล/แผนการจัดประสบการณ์ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมา พัฒนา เปน็ แบบอยา่ งทด่ี ี เป็นผู้นำ เป็นพี่เลีย้ งหรือเปน็ ที่ปรึกษาในดา้ นน้ัน 4) มีกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ สามารถปฏิบัตทิ ำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็น แบบอย่างท่ดี ี เปน็ ผูน้ ำ เป็นพีเ่ ลีย้ งหรือเปน็ ทีป่ รึกษาในด้านนนั้ คมู่ อื การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 36

ระดบั คุณภาพ ประเด็นการพจิ ารณา 5) มีจำนวนผู้เรยี นไม่นอ้ ยกว่ารอ้ ยละ 75 มีผลการเรียน 3 ขึ้นไป 6) มีการสร้างและการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่ง เรียนรู้ สามารถปฏิบัตทิ ำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ เป็นพี่เล้ยี ง หรอื เปน็ ทีป่ รึกษาในดา้ นน้ัน 7) มกี ารวัดและประเมนิ ผลการเรยี นรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เปน็ แบบอยา่ งท่ีดี เปน็ ผูน้ ำ เปน็ พเ่ี ลย้ี งหรือเป็นที่ปรกึ ษาในด้านน้นั 8) มีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติทำได้จรงิ นำผลมาพัฒนา เปน็ แบบอย่างท่ีดี เป็นผนู้ ำ เป็นพีเ่ ลีย้ งหรอื เปน็ ทีป่ รกึ ษาในด้านน้นั 9) มีการบริหารจัดการชั้นเรียน สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็น แบบอยา่ งท่ดี ี เปน็ ผู้นำ เป็นพเี่ ล้ยี งหรอื เปน็ ทป่ี รกึ ษาในด้านนัน้ 10) มีการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมา พัฒนา เปน็ แบบอยา่ งท่ดี ี เป็นผนู้ ำ เปน็ พ่ีเลีย้ งหรือเปน็ ทป่ี รึกษาในดา้ นนั้น 11) มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา สามารถปฏิบตั ทิ ำได้จริง นำผลมาพฒั นา เป็นแบบอย่างทด่ี ี เป็นผู้นำ เป็นพเี่ ล้ียงหรือเป็น ที่ปรึกษาในดา้ นน้นั 12) มีการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผลมาพัฒนา เป็นแบบอยา่ งทีด่ ี เป็นผ้นู ำ เป็นพี่เลี้ยงหรอื เปน็ ที่ปรกึ ษาในด้านน้นั 13) มีการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สามารถปฏิบัติทำได้จริง นำผล มาพฒั นา เปน็ แบบอย่างทดี่ ี เป็นผู้นำ เป็นพ่เี ล้ยี งหรอื เป็นท่ปี รึกษาในดา้ นน้ัน คู่มอื การประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 37

ส่วนท่ี 4 แบบจัดเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู การดำเนินงานตามมาตรฐานการศกึ ษา โรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 31 จังหวดั เชยี งใหม่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน เพื่อง่ายต่อการรวบรวมข้อมูลออกมาเป็นสารสนเทศของโรงเรียน จึงได้สร้างแบบจัดเก็บรวบรวม ข้อมูลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ โดย ประกอบไปด้วย 1. แบบเกบ็ ข้อมูลมาตรฐานท่ี 1 คณุ ภาพนักเรียน 2. แบบเก็บขอ้ มูลมาตรฐานท่ี 2 การบริหารจัดการ 3. แบบเกบ็ ข้อมูลมาตรฐานที่ 3 การจดั การเรียนการสอนท่ีเนน้ ผเู้ รยี นเปน็ สำคญั โดยมรี ายละเอยี ด ดังน้ี คมู่ อื การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 38

แบบ ปก.001 แบบสรปุ ขอ้ มูลเพอื่ ตรวจสอบระบบประกนั คณุ ภาพภายใน โรงเรียนราชประชานเุ คราะห์ 31 จงั หวัดเชยี งใหม่ ปกี ารศกึ ษา................. ********************************** มาตรฐานที่ 1 คณุ ภาพนกั เรียน 1.1 ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี น ประเดน็ จำนวน ค่าเป้าหมาย ผลการ กจิ กรรม /งาน/ แนวทางการ เครือ่ งมือ นกั เรยี น ที่กำหนดไว้ ดำเนินงาน โครงการท่ไี ด้ พัฒนาตอ่ ไป วเิ คราะห์ ดำเนนิ การ หมายเลข ประเดน็ ที่ 1 ความสามารถในการอ่าน การเขยี น การสอ่ื สาร และการคดิ คำนวณ 1 1. ความสามารถในการอ่าน 2 2. ความสามารถในการ 3 4 เขียน 3. ความสามารถในการ สอ่ื สาร 4. ความสามารถในการคดิ คำนวณ สรปุ ภาพรวม ประเดน็ ท่ี 2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณและการอภิปรายแลกเปลีย่ นความ คิดเหน็ และแกป้ ัญหา 1.ความสามารถในการคิด วเิ คราะห์ 2.ความสามารถในการคดิ อยา่ งมีวิจารณญาณ 3.ความสามารถในการ อภิปรายแลกเปลย่ี นความ คิดเห็นและแก้ปญั หา สรุปภาพรวม ประเดน็ ท่ี 3 ความสามารถ ในการสร้างสรรค์นวตั กรรม ประเดน็ ท่ี 4 ความสามารถ ในการใชเ้ ทคโนโลยี คมู่ อื การประกนั คณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 39

ประเด็น จำนวน ค่าเป้าหมาย ผลการ กจิ กรรม /งาน/ แนวทางการ เคร่อื งมือ นกั เรยี น ทก่ี ำหนดไว้ ดำเนนิ งาน พฒั นาตอ่ ไป วิเคราะห์ โครงการท่ีได้ หมายเลข ดำเนนิ การ 5 สารสนเทศและการสอ่ื สาร 6 ประเด็นท่ี 5 ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นทกุ กล่มุ สาระการเรยี นรู้ กล่มุ สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรยี นรู้ ภาษาตา่ งประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรยี นรู้ วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สงั คมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศกึ ษาพลศึกษา กลุ่มสาระการเรยี นรู้ การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรยี นรู้ ศลิ ปศกึ ษา สรปุ ภาพรวม ประเดน็ ที่ 6 ความรู้ ทกั ษะ พ้ืนฐาน และเจตคติท่ีดีตอ่ งานอาชพี ค่มู อื การประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษานำร่อง 40

1.2 คณุ ลักษณะท่พี ึงประสงค์ของผ้เู รยี น ประเดน็ จำนวน คา่ เปา้ หมายที่ ผลการ กิจกรรม /งาน/ แนวทางการ เคร่อื งมือ นกั เรียน กำหนดไว้ ดำเนินงาน โครงการทีไ่ ด้ พัฒนาต่อไป วิเคราะห์ ประเด็นท่ี 1 การมี คุณลักษณะ คา่ นยิ ม ดำเนินการ หมายเลข และอตั ลกั ษณ์ของ นกั เรียนที่ดี 7 ประเดน็ ที่ 2 การมีทักษะ การดำรงชีวิตในโรงเรียน 8 ประจำ 9 ประเดน็ ที่ 3 ความภูมใิ จ 10 ในท้องถิ่นและความเปน็ ไทย ประเด็นท่ี 4 การยอมรบั ที่จะอยู่รว่ มกนั บนความ แตกต่างและหลากหลาย ประเด็นที่ 5 สขุ ภาวะ ทางกาย และจิตสงั คม คู่มอื การประกนั คุณภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 41

แบบ ปก.002 แบบสำรวจขอ้ มลู เพอ่ื ตรวจสอบระบบประกันคณุ ภาพภายใน โรงเรียนราชประชานเุ คราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ปกี ารศกึ ษา...................... ********************************** มาตรฐานท่ี 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 1. การกำหนดเป้าหมาย วสิ ยั ทศั น์ พนั ธกจิ ของสถานศึกษา  มกี ารวเิ คราะหย์ ุทธศาตรข์ องหนว่ ยงานตน้ สงั กดั ระดับกระทรวง  มกี ารวเิ คราะหย์ ุทธศาตร์ของหน่วยงานตน้ สงั กัด ระดบั สพฐ.  มีการวิเคราะห์ยทุ ธศาตร์ของหนว่ ยงานต้นสงั กัด ระดบั สศศ.  มกี ารวเิ คราะห์บริบทของชุมชน และของสถานศกึ ษา  อื่นๆ(ระบุ)………………………………………………………….. 2. ความสัมพันธเ์ ชื่อมโยงระหว่าง วสิ ยั ทัศน์ พันธกจิ และเปา้ หมายทสี่ ถานศึกษาได้กำหนด  พันธกิจที่กำหนด สอดคลอ้ ง เปน็ ไปได้ และครอบคลุม วสิ ยั ทัศนท์ ่กี ำหนด  เป้าหมายทกี่ ำหนด สอดคล้องกบั พนั ธกจิ ทส่ี ถานศึกษาจะดำเนินการ  กลยุทธท์ กี่ ำหนด สอดคล้องกับเป้าหมายที่ไดก้ ำหนดไว้  ตัวชวี้ ดั ความสำเร็จ มีความชัดเจน เปน็ ไปไดใ้ นการปฏบิ ัติ  อื่นๆ(ระบ)ุ ………………………………………………………………… 3. สถานศกึ ษาได้จัดทำแผนพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษา ระยะ………………………..ปี  มีการวิเคราะหส์ ภาพแวดลอ้ มภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก  มีการกำหนด 4. กระบวนการพัฒนาสถานศึกษา  แผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปี มาจากการวิเคราะห์แผนพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา  แผนปฏิบตั ิการประจำปี กำหนดภาระงาน โครงการ ทีช่ ดั เจน เป็นไปได้ในการปฏบิ ตั ิ  ภาระงาน/โครงการ ตามแผนปฏิบตั ิการประจำปี กำหนดระยะเวลาในการปฏิบตั งิ าน ที่เหมาะสม เป็นไปได้  ภาระงาน/โครงการตอบสนองวิสัยทศั น์ พนั ธกจิ เป้าหมายของสถานศกึ ษา จำนวน…………….งาน…………………..โครงการ  ภาระงาน/โครงการเป็นการแกไ้ ขการปฏิบัตงิ านของสถานศึกษา ตามท่ีค้นพบ หรอื ได้รับการเสนอแนะ จำนวน…………….งาน…………………..โครงการ คมู่ อื การประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 42

 ผ้มู สี ว่ นร่วมในการจดั ทำแผนปฏิบัตกิ ารประจำปี ประกอบด้วย……………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 5. สถานศกึ ษามภี าระงาน/โครงการทคี่ รอบคลุมโครงสร้าง  มีแผนงาน/โครงการทเ่ี ก่ยี วกับการพฒั นางานวิชาการ………..งาน….……โครงการ….…….กิจกรรม  มีแผนงาน/โครงการทเ่ี กีย่ วกบั การพฒั นาบคุ ลากร………..งาน….….…โครงการ….…….กิจกรรม  มีแผนงาน/โครงการทีเ่ กย่ี วกบั การพฒั นางานอาคารสถานทสี่ ภาพแวดล้อม………...งาน ..............โครงการ….…….กิจกรรม  มีแผนงาน/โครงการที่เก่ยี วกับการพฒั นาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพอ่ื การบริหาร และการจัดการเรยี นรู้…………..งาน……………โครงการ……….….กจิ กรรม  อื่นๆ(ระบ)ุ …………………………………………………………………………… 6. สถานศกึ ษามกี ารสรุปรายงานผลการดำเนนิ งานตามแผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปี  มี  ไม่มี  อื่นๆ(ระบ)ุ ……………………………………………………………………………………………………………. ผลการดำเนินงาน  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน……..…..งาน…..……..โครงการ  สอดคลอ้ งกับยุทธศาสตรก์ ระทรวงศกึ ษาธกิ าร จำนวน……..…..งาน…..……..โครงการ  สอดคล้องกับยทุ ธศาสตรส์ พฐ. จำนวน……..…..งาน…..……..โครงการ  สอดคล้องกบั ยุทธศาสตรส์ ศศ. จำนวน…..……..งาน…..……..โครงการ  สอดคลอ้ งกับกลยทุ ธข์ องสถานศึกษา จำนวน…..……..งาน..………..โครงการ  สอดคล้องกบั มาตรฐานของสถานศกึ ษา จำนวน……..…..งาน…..……..โครงการ  อ่นื ๆ (ระบ)ุ ………………………………………………………………………………………………….. 7. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปี บรรลุเปา้ หมาย  ต่ำกว่าเปา้ หมายท่ีกำหนดไว้ จำนวน……………..งาน…………………..โครงการ  เป็นไปตามเป้าหมาย จำนวน……………..งาน…………………..โครงการ  สงู กวา่ เป้าหมายทก่ี ำหนดไว้ จำนวน……………..งาน…………………..โครงการ คูม่ ือการประกันคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 43

8. สถานศึกษาได้รบั การยอมรับใหเ้ ปน็ แบบอยา่ งดา้ นการบรหิ าร เรอ่ื งใดบา้ ง ระดบั ใด ในปีการศึกษา……......... (รายงานในปกี ารศึกษาปจั จบุ นั ) 8.1 รางวัลของสถานศกึ ษา ช่อื รางวัล/แบบอยา่ ง ลกั ษณะ หน่วยงานทย่ี กย่อง รางวัล/แบบอย่างระดับ 8.2 รางวลั ของผ้บู รหิ าร ลักษณะ หนว่ ยงานทยี่ กยอ่ ง รางวลั /แบบอยา่ งระดับ ชื่อรางวลั /แบบอย่าง 9. ผลการประเมนิ ความพึงพอใจตอ่ การบริหารสถานศึกษา  ดา้ นวิชาการ…………………………………………………………………………………………………  ดา้ นบคุ ลากร…………………………………………………………………………………………………  ดา้ นแผนงานและงบประมาณ…………………………………………………………………………  ด้านบรหิ ารทั่วไป…………………………………………………………………………………………..  ดา้ นอ่ืนๆ(ระบ)ุ ……………………………………………………………………………………………. 10. แนวทางพัฒนาคณุ ภาพการบริหารจัดการ ในปกี ารศึกษาตอ่ ไป ……………………………………........................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... ............. ...................................................................................................................... .............................................. คมู่ ือการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศึกษานำรอ่ ง 44

แบบสรุปขอ้ มูลเพอ่ื ตรวจสอบร โรงเรยี นราชประชานุเคราะห์ 31 จังห ****************** มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรยี นกา ท่ี ชอ่ื -สกุล ตำแหน่ง ดา้ นท่ี 1 1.1 1.2.1 1.2.2 1.2.3 1.2.4 1.3 1.4 เกณฑร์ ะดับคะแนน 4.01 – 5.00 หมายถงึ ยอดเย่ียม 3.01 – 4.00 หมายถึง ดีเลศิ 2.01 – 3.00 หมายถงึ ดี 1.01 – 2.00 หมายถงึ ปานกลาง 0.00 – 1.00 หมายถงึ ปรับปรงุ

แบบ ปก.003 ระบบประกันคณุ ภาพภายใน หวดั เชียงใหม่ ปกี ารศกึ ษา............... *************** ารสอนทเี่ นน้ ผเู้ รยี นเปน็ สำคญั เฉลีย่ ดา้ นท่ี 2 เฉล่ยี ด้านที่ 3 เฉลย่ี เฉลย่ี แปลผล 4 1.5 ดา้ น 1 2.1 2.2 2.3 ดา้ น 2 3.1 3.2 ดา้ น 3 รวม 3 ด้าน คูม่ ือการประกันคณุ ภาพภายในสถานศึกษานำรอ่ ง 45

แบบนิเทศการสอนรายบคุ คล มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรยี นการสอนท่ีเนน้ ผูเ้ รยี นเปน็ สำคญั แบบนิเทศการสอน ประจำภาคเรียนท่ี ........... / ๒๕๖๒ ครง้ั ที่ ชอ่ื ผรู้ บั การนิเทศ ห้องเรียน ว/ด/ป ที่นิเทศ เวลา คำชแ้ี จง ให้คณะกรรมการนเิ ทศสงั เกตกระบวนการจัดการเรยี นการสอนของครู และบคุ ลากร ทางการศกึ ษาอย่างน้อยภาคเรยี นละ ๑ ครั้ง โดยทำเคร่ืองหมาย  ในช่อง  ทเี่ ป็นระดับการปฏิบัติงานการเรยี น การสอนของครู และบุคลากรทางการศกึ ษาแต่ละ บุคคล พรอ้ มท้ังตรวจสอบรอ่ งรอยหลกั ฐานท่ีสอดคล้องกบั ระดับคุณภาพนัน้ ๆ ด้วย หัวขอ้ การสังเกตการสอน ร่องรอย หลกั ฐาน สนับสนนุ ด้านท่ี 1 ด้านการจดั การเรยี นการสอน 1.1 ครมู ีการสรา้ งหรอื พฒั นาหลักสูตร  ระดับ ๑ วเิ คราะหห์ ลกั สูตรมาตรฐานการเรยี นรูแ้ ละตวั ช้วี ดั และหรอื ผลการเรยี นรแู้ ละนำไปจดั ทำรายวชิ าและหนว่ ยการ เรยี นรู้ใหส้ อดคล้องกบั มาตรฐานการเรยี นรูต้ ัวชว้ี ดั และหรือผลการเรยี นรู้ ร่วมพัฒนาหลักสตู รรายวชิ าและหนว่ ยการเรยี นรใู้ ห้ สอดคล้องกบั บรบิ ทของสถานศึกษาผเู้ รยี นท้องถ่ินและสามารถนำไปปฏบิ ตั ิไดจ้ ริง มสี ว่ นร่วมในการประมวลผลการใช้หลกั สตู ร  ระดบั ๒ วิเคราะห์หลักสตู รมาตรฐานการเรยี นรู้และตวั ชว้ี ดั และหรอื ผลการเรยี นร้แู ละนำไปจัดทำรายวิชาและหนว่ ย การเรยี นร้ใู หส้ อดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชีว้ ดั และหรอื ผลการเรยี นรรู้ ว่ มพฒั นาหลกั สตู รรายวชิ าและหน่วยการเรยี นรู้ให้ สอดคลอ้ งกบั บริบทของสถานศึกษาผูเ้ รียนทอ้ งถ่ินและสามารถนำไปปฏบิ ตั ไิ ด้จริง รวมประเมนิ ผลการใชห้ ลักสูตรและนำผลการ ประเมนิ มาปรบั ปรุงให้มคี ุณภาพใหส้ งู ขนึ้  ระดับ ๓ วเิ คราะห์หลกั สูตรมาตรฐานการเรยี นรู้และตัวช้วี ดั และหรือผลการเรยี นร้แู ละนำไปจัดทำรายวิชาและหน่วยการ เรียนรใู้ หส้ อดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวช้วี ดั และหรอื ผลการเรยี นรู้ ปรบั ประยุกต์หลกั สตู รรายวชิ า และหน่วยการเรียนรู้ ให้ สอดคลอ้ งกับบริบทของสถานศึกษา ผูเ้ รียน ทอ้ งถนิ่ และสามารถนำไปปฏิบตั ิได้จรงิ ประเมนิ ผลการใชห้ ลักสูตรอยา่ งเปน็ ระบบและ นำผลการประเมนิ การใช้หลักสูตรมาปรับปรงุ พัฒนาใหม้ คี ณุ ภาพสูงขน้ึ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรูด้ ้านหลักสตู ร  ระดับ ๔ วเิ คราะห์หลักสตู รมาตรฐานการเรยี นรู้และตัวช้ีวัดและหรอื ผลการเรยี นรู้และนำไปจดั ทำรายวชิ าและหนว่ ยการ เรียนรู้ให้สอดคล้องกบั มาตรฐานการเรียนรตู้ ัวชวี้ ัดและหรอื ผลการเรียนรู้ ปรับประยกุ ตห์ ลักสตู รรายวิชา และหน่วยการเรยี นรู้ ให้ สอดคลอ้ งกับบรบิ ทของสถานศกึ ษาผ้เู รยี น ทอ้ งถ่ิน และสามารถนำไปปฏบิ ตั ิได้จรงิ ประเมินผลการใชห้ ลักสูตรอยา่ งเป็นระบบและนำ ผลการประเมนิ การใชห้ ลกั สตู รมาปรบั ปรงุ พฒั นาให้มคี ณุ ภาพสงู ข้ึน เปน็ แบบอย่างที่ดีและเป็นผู้นำเปน็ พี่เลย้ี งและเปน็ ที่ปรึกษาด้าน หลักสูตร  ระดับ ๕ วเิ คราะห์หลกั สตู รมาตรฐานการเรยี นรูแ้ ละตัวชวี้ ดั และหรือผลการเรยี นรแู้ ละนำไปจดั ทำรายวิชาและหน่วย การเรียนรใู้ ห้สอดคลอ้ งกบั มาตรฐานการเรียนร้ตู ัวชวี้ ดั และหรอื ผลการเรียนรู้ ปรบั ประยุกต์หลกั สตู รรายวิชา และหนว่ ยการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ใหส้ อดคล้องกับบริบทของสถานศกึ ษา ผู้เรยี น เร่ืองท้องถ่นิ และสามารถนำไปปฏิบตั ิไดจ้ ริง ประเมินผลการ ใช้หลักสูตรอย่างเป็นระบบและนำผลการประเมนิ การใชห้ ลักสตู รมาปรับปรุงพฒั นาให้มคี ณุ ภาพสูงข้ึน เปน็ แบบอย่างท่ีดแี ละเป็นผ้นู ำ คมู่ ือการประกันคุณภาพภายในสถานศกึ ษานำร่อง 46

หัวข้อการสงั เกตการสอน รอ่ งรอย หลักฐาน สนบั สนนุ เป็นพเี่ ล้ียงและเปน็ ทป่ี รกึ ษาด้านหลักสตู ร 1.2 การจัดการเรียนรู้ 1.2.1 การออกแบบหนว่ ยการเรยี นรู้  ระดบั ๑ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้เรยี นให้สอดคลอ้ งกับบริบทของสถานศึกษาเรยี นรูท้ ้องถน่ิ และผู้เรยี นรู้ มกี ิจกรรมการ เรียนรู้ดว้ ยวิธีปฏบิ ัติทีส่ อดคลอ้ งกบั ธรรมชาติของสาระการเรยี นรแู้ ละสามารถนำไปปฏบิ ตั ทิ ำได้จรงิ ประเมนิ ผลการใชห้ น่วยการเรียนรู้  ระดับ ๒ ออกแบบหนว่ ยการเรยี นร้โู ดยการปรบั ประยกุ ตใ์ ห้สอดคล้องกับบรบิ ทของสถานศึกษาทอ้ งถิ่นและเหมาะสมกับ ผเู้ รยี น มกี ิจกรรมการเรยี นรดู้ ้วยวิธีการปฏิบัติทสี่ อดคลอ้ งกับธรรมชาติของสาระการเรยี นรอู้ ยา่ งหลากหลายและสามารถนำไปปฏบิ ตั ิ ไดจ้ ริง3. ประเมนิ ผลการใชห้ น่วยการเรียนรูแ้ ละนำผลการประเมนิ มาปรับปรงุ พฒั นาใหม้ คี ุณภาพสงู ขน้ึ  ระดับ ๓ ออกแบบหนว่ ยการเรียนรู้โดยการปรับประยุกต์ใหส้ อดคล้องกบั บริบทของสถานศกึ ษาท้องถ่นิ และเหมาะสมกบั ผเู้ รียน มกี ิจกรรมการเรียนรดู้ ้วยวิธีการปฏิบัติทสี่ อดคล้องกบั ธรรมชาตขิ องสาระการเรยี นรอู้ ยา่ งหลากหลายและสามารถนำไปปฏิบัติ ไดจ้ ริงประเมนิ ผลการใช้หนว่ ยการเรยี นรู้และนำผลการประเมนิ มาปรบั ปรงุ พัฒนาให้มีคุณภาพสูงขนึ้ เปน็ พีเ่ ลยี้ งหรอื ร่วมปรกึ ษา แลกเปลี่ยนรูเ้ รียนรู้ด้านการอออกแบบหน่วยการเรียนรู้  ระดับ ๔ ออกแบบหนว่ ยการเรียนรโู้ ดยการปรับประยุกต์ ให้สอดคล้องกับบริบท ของสถานศึกษาทอ้ งถนิ่ แลเหมาะสมกับ ผเู้ รยี น มกี จิ กรรมการเรียนรู้ดว้ ยวิธีการปฏิบตั ิท่สี อดคล้องกบั ธรรมชาตขิ องสาระการเรียนรู้อยา่ งหลากหลายและสามารถนำไปปฏบิ ัติ ได้จริง3.ประเมินผลการใช้หนว่ ยการเรียนรูแ้ ละนำผลการประเมินมาปรับปรงุ พัฒนาใหม้ คี ณุ ภาพสูงขนึ้ เปน็ แบบอยา่ งทด่ี ี เปน็ พ่ีเลี้ยง และหรือเป็นทปี่ รกึ ษาด้านการออกแบบหน่วยการเรยี นรู้  ระดับ ๕ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยการปรับประยุกต์ใหส้ อดคลอ้ งกบั บรบิ ท ของสถานศึกษาทอ้ งถน่ิ และเหมาะสม กับผูเ้ รยี น มกี จิ กรรมการเรยี นรดู้ ้วยวิธีการปฏบิ ัตทิ ี่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรยี นรอู้ ย่างหลากหลายและสามารถนำไป ปฏิบัตไิ ดจ้ ริง.ประเมินผลการใชห้ น่วยการเรียนรแู้ ละนำผลการประเมนิ มาปรับปรงุ พฒั นาใหม้ ีคุณภาพสูงขึ้น เปน็ แบบอย่างทีด่ ี เป็น ผู้นำ เปน็ พเ่ี ล้ยี งและหรือเป็นท่ีปรกึ ษาด้านการออกแบบหนว่ ยการเรยี นรู้ 1.2.2 การจัดทำแผนการเรียนรู้/แผนการจัดการเฉพาะศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนให้บริการเฉพาะ ครอบครวั (IFSP)แผนการสอนเฉพาะบคุ คล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์  ระดบั ๑ วเิ คราะห์ผเู้ รียนเปน็ รายบคุ คลจดั ทำแผนการจดั การเรียนรู้ /แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)แผนการ สอนรายบุคคล(IIP)แผนการจัดประสบการณส์ อดคล้องกบั การออกแบบหน่วยการเรยี นรู้ธรรมชาติของผเู้ รียนและบรบิ ทของ สถานศกึ ษาและทอ้ งถ่ิน ท่มี อี งคป์ ระกอบครบถว้ น ตามรูปแบบที่หน่วยงานการศึกษาหรือสว่ นราชการต้นสงั กัดกำหนด และสามารถ นำไปปฏบิ ัตไิ ด้จริง มกี จิ กรรมการเรียนรูส้ อดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผ้เู รยี น มบี ันทึกหลังการสอนท่สี อดคลอ้ งกบั จดุ ประสงค์การเรียนรู้  ระดับ ๒ วิเคราะห์ผเู้ รียนเปน็ รายบคุ คลจดั ทำแผนการจัดการเรียนรู้ /แผนการจดั การศกึ ษาเฉพาะบุคคล(IEP)แผนการ สอนรายบุคคล(IIP)แผนการจัดประสบการณ์สอดคลอ้ งกบั การออกแบบหนว่ ยการเรยี นรธู้ รรมชาติของผู้เรียนและบรบิ ทของ สถานศึกษาและท้องถิ่น ทม่ี ีองคป์ ระกอบครบถว้ น ตามรปู แบบที่หนว่ ยงานการศกึ ษาหรอื ส่วนราชการตน้ สงั กัดกำหนด และสามารถ นำไปปฏบิ ัตไิ ดจ้ รงิ มกี ิจกรรมการเรยี นรสู้ อดคลอ้ งกบั ธรรมชาตขิ องสาระการเรียนรแู้ ละผเู้ รียน มีบันทึกหลงั การสอนทส่ี อดคล้องกับ จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ และนำผลมาพัฒนาแผนการจดั การเรยี นรู้ คู่มอื การประกนั คุณภาพภายในสถานศกึ ษานำรอ่ ง 47