Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความหมายความรู้เบื้องต้นจิตวิทยาสำหรับครู (4)

ความหมายความรู้เบื้องต้นจิตวิทยาสำหรับครู (4)

Published by Sutinee lanar, 2023-04-04 04:16:09

Description: ความหมายความรู้เบื้องต้นจิตวิทยาสำหรับครู (4)

Search

Read the Text Version

จิตวิทยา สำหรับครู เสนอ อาจารย์เขมินต์ธารากรณ์ บัวเพ็ชร

บทที่ 1

ความหมายความรู้เบื้องต้นจิตวิทยาสำหรับครู จิตวิทยา PSYCHOLOGY-PSYCHO มาจากคําภาษากรีกว่า PSYCHE แปลว่า จิตวิญญาณ-LOGOS แปลว่า การศึกษาหรือการค้นคว้าหรือการหาความรู้ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เเละ สัตว์ ทั้งพฤติกรรมสามารถสังเกตได้โดยตรง เเละพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง

ความสำคัญของจิตวิทยา 1.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ความต้องการการแก้ปัญหา การปรับ ตัว อารมณ์และความรู่สึกในสถานการณ์ต่างๆ 2.ช่วยในการแก้ปัญหาทางจิต รู้จักวิธีรักษาสุขภาพจิตได้ดี สามารถเอาชนะปมด้อยต่างๆรู้วิธีแก้ปัญหา และปรับตัวอย่างเหมาะสม ขจัดความขัดแย้งในใจได้และความวิตกกังวลได้ 3.สามารถเข้าใจ ตัดสินใจ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในสังคม 4.ช่วยในการวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม

จุดมุ่งหมายในการศึกษาจิตวิทยา 1.เพื่อให้ผู้สอนมีความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎีหลักการเเละสาระอื่นๆที่เกี่ยวข้อง กับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่ 2.เพื่อให้ผู้สอนนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เเละความเข้าใจในตัวผู้เรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อ การเรียนการสอน 3.เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำเทคนิ คเเละวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน การเเก้ไขปัญหาใน ชั้นเรียน สามารถควบคุมพฤติกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนเเละบุคลิกภาพของผู้เรียนได้ตามจุดมุ่ง หมาย

ความสำคัญของจิตวิทยาต่ออาชีพครู 1.ผู้สอนจัดการกับอารมณ์ ของตนได้อย่างถูกต้อง 2.ผู้สอนรู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียนที่ตนเองสอน 3.ผู้สอนมีความเข้าใจในความเเตกต่างระหว่างบุคคล 4.ผู้สอนรู้วิธีการจัดสภาพเเวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมเเก่วัยเเละขั้นพัฒนาการของผู้เรียน 5.ผู้สอนทราบถึงตัวเเปรต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียน 6.ผู้สอนสามารถเเก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอน

ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา 1.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึกสติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียน จิตวิทยาสาขาอื่นต่อไป 2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้น ตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา

3.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคล ในกลุ่มสังคมปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน 4.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของ มนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง 5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียนนักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้าน การปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ

6.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อนหรืออาจเปิด เป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้ 7.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้น 8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology)ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระ ทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงานแรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน

9.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและ นักการศึกษา 10.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ

บทที่ 2

ปัจจัยพฤติกรรมมนุษย์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งมีปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย ปัจจัยทางจิตวิทยา จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางใน การรับรู้และตีความสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกายจะแสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญ ประกอบ ด้วย แรงจูงใจและ การเรียนรู้

แรงจูงใจ ความหมาย ประเภทและปัจจัย แรงผลักดันจากภายในที่ทำให้ให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมตอบสนองอย่าง มีทิศทางและ เป้าหมาย เรียกว่า แรงจูงใจ คนที่มีแรงจูงใจ ที่จะทำ พฤติกรรมหนึ่งสูงกว่า จะใช้ ความพยายามนำ การกระทำไปสู่เป้าหมายสูงกว่า คนที่มีแรงจูงใจต่ำกว่า

ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของชีวิต คือ อาหาร น้ำ ความปลอดภัย ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น วิตกกังวล กลัว โกรธ รัก เกลียด และความรู้สึกอื่นใด ที่ให้คนมีพฤติกรรม ตั้งแต่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนถึง การฆ่าผู้อื่น

ปัจจัยทางความคิด เป็นปัจจัยที่กำหนดให้บุคคลกระทำในเรื่องที่คิดว่า เหมาะสมและเป็นไปได้ และ ตามความคาดหวังว่า ผู้อื่นจะสนองตอบ การกระทำของตนอย่างไร ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคม และเป็นที่ ยอมรับ ของบุคคลในสังคมนั้นด้วย

ทฤษฎีแรงจูงใจ นักจิตวิทยาได้พัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายถึงแรงจูงใจของมนุษย์ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ ปรากฏ แต่ละทฤษฎีมีจุดที่เป็น ความแนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกันไป

ทฤษฎีสัญชาติญาณ สัญชาติญาณ เป็น พฤติกรรมที่มนุษย์ แสดงออกโดยอัตโนมัติ ตามธรรมชาติของชีวิต เป็นความพร้อม ที่จะทำ พฤติกรรม ได้ใน ทันที เมื่อปรากฎ สิ่งเร้า เฉพาะต่อพฤติกรรมนั้น สัญชาติญาณ จึงมีความสำคัญต่อ ความอยู่รอด ของชีวิต ในสัตว์บางชนิด เช่นปลากัดตัวผู้จะแสดงการก้าวร้าว พร้อม ต่อสู้

บทที่ 3

พัฒนาการของมนุษย์ ความหมายของพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนเเปลงในด้านต่างๆ ทั้งในด้านโครงสร้างเเละเเบบเเผนของร่างกายทุกส่วน อย่างมีขั้นตอนเเละเป็นระเบียบเเบบเเผนนับตั้งเเต่ปฏิสนธิจนกระทั่งเสียชีวิต

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคคล 1.การเจริญเติบโต หมายถึง การเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างทางร่างกาย เช่น น้ำหนัก ส่วนสูงกล้ามเนื้อ รูปร่าง 2.วุฒิภาวะ หมายถึง การเจริญเติบโตของโครงสร้างทางร่างกายอย่างเป็นลำดับขั้นตอนตามธรรมชาติ จนถึงจุดสูงสูด 3.การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมอันเนื่ องมาจากการฝึกฝน ฝึกหัด หรือประสบการณ์ เดิมที่มีอยู่

การเเบ่งวัยพัฒนาการ 4.วัยผู้ใหญ่ 5.วัยกลางคน 1.วัยทารก 6.วัยชรา 2.วัยเด็ก 3.วัยรุ่น

พัฒนาการในวัยต่างๆ 1.วัยทารก จะมีช่วงเวลาตั้งเเต่เเรกเกิด-2 ปี วัยทารกยังเป็นวัยที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องอาศัย ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น วัยนี้ มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เเละเห็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย อย่างชัดเจน สิ่งที่สำคัญ คือ การพัฒนากล้ามเนื้อ

2.วัยเด็ก เป็นวัยที่อยู่ในช่วงอายุ 2-11 ปี มีการพัฒนากล้ามเนื้อที่ใช้ในการเล่น มักมีพฤติกรรมเลียนเเบบ ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัว พัฒนาการด้านสติปัญญาจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในตอนปลายของวัยวัยเด็กจะมีการ พัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง

3.วัยรุ่น การเข้าสู่วัยรุ่นของเด็กชายเเละเด็กหญิงเเตกต่างกัน พัฒนาการทางกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เด็กผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน เด็กผู้ชายเริ่มฝันเปียกมีลักษณะเป็นวัยหนุ่มวัยสาว

4.วัยผู้ใหญ่ วัยผู้ใหญ่เเบ่งออกเป็น 3 ช่วงอายุ คือ 1.วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 18-45 ปี 2.วัยกลางคน อายุ 45-65 ปี 3.วัยชรา หรือผู้ใหญ่ตอนปลาย อายุ 65 ปีขึ้นไป

พัฒนาการทางกาย -วัยผู้ใหญ่ตอนต้น จัดว่าเป็นระยะที่ดีที่สุดของชีวิต ร่างกายมีการเจริญเติบโตมากที่สุดตอน อายุ 20 ปี มีความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อ -วัยกลางคน ร่างกายจะเริ่มค่อยๆ เสื่อมลง จากวัยผู้ใหญ่ตอนต้น -วัยชรา การเสื่อมในร่างกายมักปรากฏอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะสูญเสียความสามารถที่ปกป้อง ตนเองจากโรคต่างๆ

พัฒนาการทางสังคมเเละบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ เป็นวัยที่ประสบความสำเร็จในงานอาชีพ จะเพิ่มมากขึ้นในระหว่าง 20-40 ปี จะมีประสบการณ์ ใน การจัดการกับสถานการณ์ ต่างๆในชีวิตประจำวัน

บุคคลในวัยชรามีลักษณะดังนี้ 1.โครงสร้างของร่างกายเปลี่ยนเเปลง 2.จุกจิกจู้จี้ ขี้บ่น 3.หลงลืมได้ง่าย 4.ขี้น้อยใจ 5.เจ็บป่วยได้ง่าย

บทที่ 4

ความจำของมนุษย์ ความหมายของความจำ ความจำเป็นที่ที่บุคคลใช้เก็บรักษาข้อมูลความรู้ต่างๆที่เขาได้รับจากการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ซึ่งส่งผลให้บุคคสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตเข้าใจสิ่งต่างๆในปัจจุบันและคาดการณ์ไป ยังอนาคตได้

กระบวนการจำของมนุษย์ ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1. กระบวนการใส่รหัส เป็นกระบวนการประมวล และให้ความหมายกับสิ่งที่รับรู้ เพื่อที่จะสร้างตัวแทนของสิ่งนั้นขึ้นมาเก็บไว้ ใน ระบบความจำ 2. กระบวนการเก็บจำ (Storage) เป็นกระบวนการเก็บรักษาตัวแทนของข้อมูลที่ได้รับมาให้อยู่ในหน่วยความจำ

3. กระบวนการนำข้อมูลออกมาจากระบบการจำ (Retrieval) เป็นการดึงข้อมูลที่ถูกใส่รหัสและเก็บอยู่ในหน่วยความจำออกมาใช้ธรรมชาติของความจำมนุษย์ หาก ได้ลองอ่านหนังสือ หรือบทความรวมถึง งานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความจำของมนุษย์แล้ว จะ เห็นว่า ธรรมชาติของความจำมนุษย์ที่พบได้ทั่วไป มักครอบคลุมรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทที่ 5

สติปัยญาความคิดเชาน์ปัญญา ความหมายของการคิด ฮิลการ์ดกล่าวว่า การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมองอันเนื่องมาจากการใช้สัญลักษณ์ แทนสิ่งของ เหตุการณ์หรือ สถานการณ์ ต่าง ๆ บรูโน กล่าวว่า การคิดเป็นกระบวนการทางสมองที่ใช้สัญลักษณ์ จินตภาพ ความคิดเห็น และความคิด รวบยอด แทนประสบการณ์ในอดีต ความเป็นไปได้ในอนาคต และความเป็นจริงที่ปรากฏ การคิดจึงทำให้คนเรา มีกระบวนการ ทางสมองในระดับสูง

ความสำคัญของการคิด การคิดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่สำคัญที่สุดที่จะมีผลและรากฐานของการเปลี่ยนแปลงในชีวิต แต่ละ บุคคลในการดำเนินงาน ของสังคม ถ้าคนแต่ละคนคิดดี คิดถูกต้อง คิดเหมาะสม การดำเนินชีวิตของ คน และความเป็นไปของสังคม ก็จะดำเนินไปอย่างมีคุณค่าสูง การคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์การ คิดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่ซับซ้อนสังคมจะก้าวหน้าต่อไปได้ก็เมื่อบุคคลในสังคม มีความคิด รู้จักคิดป้องกัน หรือคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และพัฒนาปรับปรุงภาวะต่างๆ ให้ดีขึ้น

กระบวนการของการคิด การคิดเป็นกระบวนการของจิตใจหรือกระบวนการทางสมอง ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ การคิดไม่มี ขอบเขตจำกัด กระบวนการคิด ของมนุษย์เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนที่เริ่มจากสิ่งเร้ามา กระตุ้นทำให้ จิตใส่ใจ กับสิ่งเร้า และสมองนำข้อมูล หรือความรู้ที่มีอยู่มา ประมวล เพื่อให้ได้ผลของการคิดออกมา เหตุของการคิด ต้นเหตุของการคิดคือสิ่งเร้าที่เป็นปัญหา หรือสิ่งเร้าที่เป็นความต้องการหรือสิ่งเร้าที่ ชวนสงสัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ความหมายของเชาวน์ปัญญา คือ ความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ การปรับตัวต่อปัญหาอย่างเหมาะสมและความสามารถใน อันที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและมีคุณค่าทางสังคม พัฒนาการของเชาวน์ปัญญา เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่บุคคลแต่ละคนมีติดตัวมาแต่กำเนิดและพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามระดับอายุ และสิ่งแวดล้อมเชาวน์ปัญญาของแต่ละคนจะมีลักษณะที่สูงต่ำไม่เท่ากัน

บทที่ 6

การรับรู้และทฤษฎีการรับรู้ การรับรู้ หมายถึง การที่มนุษย์น าข้อมูลที่ได้จากความรู้สึกสัมผัส ซึ่งเป็นข้อมูลดิบจากประสาท สัมผัสทั้ง5 อันประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสมาจำแนก แยกแยะคัดเลือก วิเคราะห์ ด้วยกระบวนการท างานของสมอง

ลักษณะที่สำคัญของการรับรู้มี 6ประการ คือ 1. ต้องมีพื้นฐานข้อมูลหรือความรู้ในเรื่องนั้ นมาก่อน 2.จะต้องประกอบด้วยข้อวินิจฉัยต้องอาศัยวิธีการวินิจฉัยโดยการตั้งสมมติฐานหรือปะติดปะต่อเรื่องต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้การรับรู้ในสิ่ งนั้ นเกิด ความสมบูรณ์มากที่สุด 3. จะต้องมีความสามารถในการแยกแยะ 4. ลักษณะของการรับรู้จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ของข้อมูลต่าง ๆ หลายประเภท 5. กระบวนการของการรับรู้จะต้องอาศัยของการดัดแปลง 6. กระบวนการของการรับรู้มักจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการทำงานของสมองใน

กระบวนการของการรับรู้ กระบวนการของการรับรู้จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้ 1. มีสิ่งเร้าที่จะรับเข้าสู่ร่างกายทางประสาทสัมผัสโดยผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 2. ประสาทรับสัมผัส รับสิ่ งเร้าเข้ามา ซึ่งประสาทสัมผัสและความรู้สึกสัมผัส เช่น หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง จะต้องสมบูรณ์พอที่จะสัมผัสสิ่งเร้านั้น และส่งต่อไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย 3. การแปลความหมายเกิดจากประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ได้สัมผัสนั้น เกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเป็นพฤติกรรมต่างๆ ขึ้น

องค์ประกอบของการรับรู้ 1.สิ่งเร้าได้แก่วัตถุ แสง เสียง กลิ่น รสต่างๆ 2.อวัยวะรับสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง ถ้าไม่สมบูรณ์จะทำให้สูญเสียการรับรู้ได้ 3.ประสาทในการรับสัมผัสเป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสไปยังสมองส่วนกลาง เพื่อการแปลความต่อไป 4.ประสบการณ์เดิม การรู้จัก การจำได้ ทำให้การรับรู้ได้ดีขึ้น 5.ค่านิยม ทัศนคติ 6.ความใส่ใจ ความตั้งใจ 7.สภาพจิตใจ อารมณ์ เช่น การคาดหวัง ความดีใจ เสียใจ 8.ความสามารถทางสติปัญญา ทำให้รับรู้ได้เร็ว

ทฤษฎีการรับรู้ การรับรู้ป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะ ขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อม ของตน และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ ดัง นั้น การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยการรับรู้ และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจัยการรับรู้ ประกอบด้วยประสาทสัมผัส และปัจจัยทางจิต คือความรู้เดิม ความต้องการ และเจตคติเป็นต้น การรับรู้ จะประกอบด้วยกระบวนการสามด้าน คือการรับสัมผัสการแปลความหมายและอารมณ์

พฤติกรรมต่างๆนำไปสู่การกำหนดทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ การจัดระบบการรับรู้ มนุษย์เมื่อพบสิ่งเร้าไม่ได้รับรู้ตามที่สิ่งเร้าปรากฏแต่จะนำมาจัดระบบตามหลักดังนี้ 1.หลักแห่งความคล้ายคลึง สิ่งเร้าใดที่มีความคล้ายกันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 2.หลักแห่งความใกล้ชิด สิ่งเร้าที่มีความใกล้กันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 3.หลักแห่งความสมบูรณ์ เป็นการรับรู้สิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้น …การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ สิ่งเร้า มาเร้า ประสาทก็ตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสกับอวัยวะรับสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยัง ระบบประสาทส่วนกลาง

บทที่ 7

การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้ การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์เดิมทำให้คนเผชิญกับ สถานการณ์เดิมต่างไปจากเดิม เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน พฤติกรรมใดที่ ไม่เปลี่ยนแปลงจึงไม่เรียกว่าเกิดการเรียนรู้ ผลของการเรียนรู้จะก่อให้เกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติ

ความสำคัญของการเรียนรู้ การเรียนรู้มีความสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติ ทุกศาสนาและทุก วงการอาชีพ ความสำเร็จในการพัฒนาตน สังคมและมวลมนุษยโลก ทั้งในการดำรงชีวิต การทำงาน และการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นและสันติสุขนั้ น ย่อมเกิดจากการที่มนุษยมีการสะสมการเรียน รู้ที่สืบทอดกันต่อๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เป้าหมายของการเรียนรู้ เป้าหมายของการเรียนรู้ในการเรียนรู้ หมายถึง การกำหนดจุดหมายปลายทางของ ผู้เรียนว่าจะต้องบรรลุถึงจุดหมายปลายทาง มีเป้าหมาย 3 ด้าน คือ 1. ความรู้ (Knowledge) ได้แก่ 1.1 ความรู้เชิงกระบวนการ เช่น อธิบายกระบวนการที่เกี่ยวข้องได้ 1.2 ความรู้เชิงประจัก เช่น วิเคราะห์ถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ 1.3 ความรู้เชิงเนื้อหา เช่น อธิบายสาระสำคัญของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้

ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หมายถึง คำอธิบายแนวความคิดที่ได้จากการค้นพบว่า คนเราเกิดเรียนรู้ได้อย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ทำอย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) •ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ •ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน •ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ •ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง •ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง •เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook