Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ยาเสพติด

ยาเสพติด

Published by topper122551, 2022-08-26 07:10:21

Description: ยาเสพติด

Search

Read the Text Version

ยาเสพติด จัดทำโดย ภานุพงศ์ ทิวะศศิธรเลขที่29ม.2/14

คำนำ

สสาารรบบััญญ ความหมายของยาเสพติด หน้า1 ประเภทยาเสพติด หน้า2 ประเภทยาเสพติด2 หน้า3 โทษของยาเสพติด หน้า4 สาเหตุของการติดยาเสพติด หน้า5 วิธีป้องกันการติดยาเสพติด หน้า6 อ้างอิง หน้า7

ความหมายของยาเสพติด สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือ จากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่า จะโดย การกิน ดม สูบ ฉีด หรือ ด้วยประการใด ๆ แล้วจะทำให้เกิดผล ต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น - ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้น เรื่อยๆ

ประเภทยาเสพติด ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ ๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.๑ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจาก พืช เช่น ฝิ่ น กระท่อม กัญชา เป็นต้น ๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น ๒. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ ๒.๑ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอ สดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ ๒.๒ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็น เท่านั้น ได้แก่ ฝิ่ น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน

ประเภทยาเสพติด2 ๒.๓ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพ ติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมี บทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโค เคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่ นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่ น ๒.๔ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยา เสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบท ลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติล คลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟค รีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ ๒.๕ ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้า ข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

โทษยาเสพติด โทษของการติดยาเสพติด ทำลายประสาทสมอง จิตใจเสื่อม ซึมเศร้า กังวล เลื่อนลอย และเป็นโรคจิตจากพิษยานั้นๆ เสีย บุคลิกภาพ ขาดความสนใจตนเอง ขาด สติสัมปชัญญะ ร่างกายซูบซีด อ่อนเพลีย พิษยา ทำลายอวัยวะต่างๆให้เสื่อมลง มีโรคแทรกได้ง่าย

สาเหตุติดยาเสพติด 1. สาเหตุทางด้านบุคคล 1.1 ถูกชักชวน 1.2 สภาพความกดดันทางครอบครัว เช่น การทะเลาะกันของพ่อแม่ 1.3 ความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น คนขับรถหรือลูกเรือในทะเล 1.4 เกิดความเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิตใจ อาจมีการใช้สารเสพติดเพื่อบรรเทาอาการป่วยทาง กายและทางจิตบางชนิดนานติดต่อกันจนติดยาได้ 1.5 ถูกหลอกลวงโดยผู้รับไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนรับมาเป็นสารเสพติดหรือโดยการผสมปลอมปนกับ อาหาร ของขบเคี้ยว 2. สาเหตุจากตัวยาหรือสารเสพติด ตามปกติแล้วตัวยาหรือสารเสพติดจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ถ้าคนไม่นำมาใช้ แต่ เมื่อบุคคลใช้ยาหรือสารเสพติด คุณสมบัติเฉพาะของสารนั้นจะทำให้เกิดการเสพติดได้ ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับชนิดและขนาดของสารเสพติดที่ใช้ 3. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม 3.1 อยู่ในแหล่งที่มีการซื้อ-ขาย หรือเสพ สารเสพติด 3.2 สภาพแวดล้อมบังคับ โดยเฉพาะผู้ที่ติดสารเสพติดแล้วต้องการจะเลิกเสพเมื่อเข้า รับการรักษาหายแล้ว สังคมอาจจะไม่ยอมรับ แหล่งงานปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากมี ประวัติติดสารเสพติด จึงทำให้ต้องกลับไปอยู่ในสังคมสารเสพติดเช่นเดิม

วิธีป้องกันการติดยาเสพติด การป้องกันตนเอง 1. ไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย 2. เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปใน ทางเสื่อมเสีย 3. รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา แต่หากว่าไม่สามารถ แก้ไขเองได้ ก็ควรจะปรึกษากับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ 4. การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อน ชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จักปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจง ผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่าง จริงจังและจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก ป้องกันตนเอง ทำได้โดย.. • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพ ติดได้ • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์ • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยา เสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษา ผู้ใหญ่

อ้างอิง https://webportal.bangkok.go.th/lab/pa ge/main/2162/0/1/info/60062/%E0%B8 %A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8% AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B 4%E0%B8%94 https://www.rama.mahidol.ac.th/ramam ental/generalknowledge/06212014-1613 http://www.phichai.ac.th/khongpop/pa ge4.html http://bangtakean.go.th/public/news/d ata/detail/news_id/62/menu/132


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook