Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแบบยั่งยืน

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแบบยั่งยืน

Published by learnoffice, 2020-05-19 02:34:21

Description: สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแบบยั่งยืน

Search

Read the Text Version

สร้างชมุ ชน คนบา้ นใหม่

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนรุ กั ษ์พันธกุ รรมพืชแบบยงั่ ยนื จดั ทาโดย อาจารยภ์ ทั รเวช ธาราเวชรกั ษ์ สานักสง่ เสริมการเรยี นร้แู ละบรกิ ารวชิ าการ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปู ถมั ภ์

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนุรักษ์พนั ธกุ รรมพชื แบบยง่ั ยนื สร้างชมุ ชน คนบ้านใหม่ ส่กู ารอนรุ ักษพ์ นั ธกุ รรมพืชแบบยัง่ ยนื สงวนลิขสทิ ธต์ิ ามพระราชบัญญัติ ห้ามทำการลอกเลียนแบบไม่วา่ สว่ นใดสว่ นหนง่ึ ของหนังสอื เลม่ น้ี นอกจากจะได้อนญุ าต พิมพ์ครงั้ ท่ี 1 มกราคม 2563 ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สรา้ งชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพชื แบบยง่ั ยนื .—ปทมุ ธานี : สำนักส่งเสริมการเรยี นรู้และบริการวชิ าการ มหาวิทยาลยั ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2563. 41 หน้า. 1. การพัฒนาชมุ ชน. 2. พันธุ์พืช. I. ภทั รเวช ธาราเวชรักษ์. II. ชือ่ เร่ือง. 307.14 ISBN 978-974-252-0 บรรณาธิการอำนวยการ ผู้ชว่ ยศาสตรจารย์ ดร.สพุ จน์ ทรายแกว้ รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ธนานันท์ ผูช้ ่วยศาสตรจารย์เศกพร ตนั ศรปี ระภาศริ ิ คณะผู้จดั ทำ อาจารย์ภัทรเวช ธาราเวชรักษ์ อาจารยว์ ณิ ากร ทรี่ ัก อาจารย์วษิ ชญะ ศลิ าน้อย อาจารยร์ วธิ ร ฐานสั สกลุ อาจารย์ปรียาภา เมืองนก ศลิ ปกรรม อาจารยภ์ ัทรเวช ธาราเวชรกั ษ์ ออกแบบปก อาจารยภ์ ทั รเวช ธาราเวชรกั ษ์ พสิ จู นอ์ กั ษร อาจารย์ ดร.วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์ เมธี ถกู แบบ ประสานงานการผลติ อาจารย์ภัทรเวช ธาราเวชรักษ์ จดั พิมพ์โดย สำนักสง่ เสรมิ การเรียนรแู้ ละบรกิ ารวชิ าการ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราราชูปถัมภ์ เลขท่ี 1 หมู่ที่ 20 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวดั ปทมุ ธานี 13180 โทรศพั ท์ 0-2909-3026 http://www.vru.ac.th E-mail: [email protected] ดำเนนิ การผลติ โดย บริษัท ซิต้ีพร้นิ ท์ จำกดั เลขท่ี 1/50 หมู่ที่ 20 ถนนพหลโยธนิ ตำบลคลองหนง่ึ อำเภอคลองหลวง จงั หวดั ปทมุ ธานี 13180 โทรศพั ท์ 08-1839-2719

สรา้ งชมุ ชน คนบา้ นใหม่ ส่กู ารอนุรักษ์พันธุกรรมพชื แบบย่งั ยนื คำนำ การถอดบทเรียนเรื่อง “สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช แบบยั่งยืน” เป็นความร่วมมือกันระหว่างเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัด ปทมุ ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถมั ภ์ ได้เหน็ ว่าการอนรุ กั ษ์ พันธุกรรมพืชท้องถิ่นบนพื้นที่ปกปักมีความสำคัญยิ่ง และเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ยังได้ ดำเนินการเข้าร่วมสนองพระราชดำริตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำรสิ มเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี อย่างเตม็ รูปแบบมาโดยตลอด ซึ่งได้มีการบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินโครงการระหว่างประชาชน และหน่วยงาน ภาครฐั ในชมุ ชนอยา่ งมีศักยภาพจนเกิดความย่งั ยนื ของพันธพุ์ ืชท้องถ่ินบนพื้นทีป่ กปัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ดำเนินการถอดบทเรียนเรื่อง “สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การ อนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพืชแบบยั่งยืน” เพื่อนำมาเปน็ องค์ความรู้ในการพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์ พนั ธุกรรมพืชโดยอาศยั การบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในทอ้ งถ่ิน และ สามารถนำองค์ความรู้จากการถอดบทเรียนครั้งนี้ไปศึกษาปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างมี ประสิทธภิ าพตอ่ ไป อาจารยภ์ ัทรเวช ธาราเวชรักษ์ สำนกั สง่ เสรมิ การเรยี นรู้และบริการวิชาการ มหาวิทยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ ปพี ทุ ธศักราช 2563

สรา้ งชมุ ชน คนบ้านใหม่ สกู่ ารอนรุ กั ษพ์ ันธุกรรมพืชแบบยงั่ ยืน สารบัญ บรบิ ทพ้ืนท่ีและทรพั ยากรทอ้ งถ่นิ ในตำบลบ้านใหม่ 1 สถานทีส่ ำคญั ในพน้ื ทเี่ ทศบาลตำบลบ้านใหม่ 3 3 วัดเทียนถวาย 6 วัดเทพสรธรรมาราม 8 วัดดาวดึงษ์ 10 ศาลเจ้าแมท่ บั ทมิ (เจ้าแมท่ ิพย์เกสร) 12 ศาลปู่โพธิ์ใหญ่ 14 หลมุ หลบภัยสมัย จอมพล ป. พิบลู สงคราม 17 ภมู ปิ ญั ญาท้องถิน่ ในพ้ืนที่เทศบาลตำบลบา้ นใหม่ 17 ขา้ วต้มลูกโยน และขนมเทยี นแกว้ 18 ขนมเม็ดขนนุ 19 ดนตรีไทย 20 ตะบันไฟ 21 ไมไ้ ผน่ ้วิ ล็อค 22 พวงมะโหด 23 การดำเนินงานและกระบวนการอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื 25 การกำหนดขอบเขตพน้ื ที่ และการสำรวจทรัพยากร 29 การทำผังแสดงขอบเขตในพนื้ ท่ีปกปกั ทรพั ยากรท้องถิ่น 30 การศกึ ษาทรัพยากรในพ้นื ทปี่ กปักทรพั ยากรท้องถ่ิน 32 การทำตัวอยา่ งทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรทอ้ งถ่นิ 36 การทำทะเบยี นทรัพยากรในพน้ื ทปี่ กปักทรพั ยากรท้องถ่นิ 39 การดแู ล รักษา ทรัพยากรในพ้นื ทีป่ กปกั ทรพั ยากรทอ้ งถน่ิ 41 บทสรปุ การสังเคราะห์องค์ความรภู้ ายใต้การอนรุ ักษพ์ ันธุกรรมพชื

สรา้ งชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ นั ธกุ รรมพืชแบบยงั่ ยนื บริบทพื้นทีแ่ ละทรัพยากรท้องถิน่ ในตำบลบ้านใหม่ ประวัติ ตำบลบ้านใหม่ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การ บริหารส่วนตำบลในปี พ.ศ. 2537 หลังจากนั้นได้ยกฐานะจากสภาตำบลเดิมขึ้นเป็นองค์การ บริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 โดยมีนายสมบูรณ์ ปานย้อย เป็นประธาน กรรมการบริหาร เริ่มแรกตำบลบ้านใหม่จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง เนื่องจากมีงบประมาณในการบริหารงาน ปีละสิบล้านบาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 มีรายได้ มากขึ้นจึงมีการกำหนดให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ ภายใต้การบรหิ ารจัดการ ของเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ตราสัญลักษณ์ของเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ประกอบไปด้วย “ดอกบัว” หมายถึง สัญลกั ษณ์แทนจงั หวัดปทุมธานี แต่เดิมชื่อเมืองสามโคก ภายหลังไดร้ ับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นเมืองปทุมธานี “ต้นเทียน” หมายถึง เทศบาลตำบลบ้านใหม่ และ “รัศมีเปลวเทียน” หมายถึง สมาชิกเทศบาลตำบล บ้านใหม่ ซง่ึ เปน็ ตัวแทนของราษฎรที่มาจากการเลือกต้งั ภายใตร้ ะบบประชาธิปไตย ปัจจุบันเทศบาลตำบลบ้านใหม่ เป็นชุมชนที่มีการผสมผสานระหว่างความเจริญ แบบชุมชนเมืองและชุมชนชนบทที่มีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนาเพื่อยกระดับเป็นชุมชนน่าอยู่ และเพียบพร้อมดว้ ยบรกิ ารสาธารณะ โดยมพี ืน้ ท่รี ับผดิ ชอบท้ังหมด 8.5 ตารางกิโลเมตร ทาง ทิศเหนือติดกับเทศบาลตำบลบางกะดี ทิศใต้ติดกับเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ทิศตะวันออก ติดกับเทศบาลตำบลหลักหกและเทศบาลตำบลบางพูน และทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำ เจ้าพระยา พื้นที่ของเทศบาลตำบลบ้านใหม่ยังแบ่งเขตรับผิดชอบออกเป็น 6 หมู่บ้าน ประกอบไปดว้ ย หมู่ 1 บ้านคลองบ้านใหม่ หมู่ 2 บ้านคลองบางตะองค์ หมู่ 3 บา้ นคลองรังสิต ฝง่ั เหนอื หมู่ 4 บา้ นคลองรังสิตฝงั่ ใต้ หมู่ 5 บา้ นบางกระต้น และหมู่ 6 บ้านบางสานฝ่ังเหนือ ตลอดจนยังมีสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญที่เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และภูมปิ ญั ญาทอ้ งถิน่ อีกหลายแห่ง 1

สรา้ งชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนรุ ักษ์พนั ธุกรรมพชื แบบยัง่ ยนื นายสมบูรณ์ ปานยอ้ ย นายกเทศมนตรีตำบลบ้านใหม่ หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 6 อ้างอิง: https://www.google.co.th/maps/place/Ban+Mai,+Mueang+Pathum+Thani+District,+Pathum+Thani+12000/@13.9650662,100. 5435442,15z/data=!3m1!4b1!4m5!3m4!1s0x30e281607ed5b1d7:0x4019237450c97e0!8m2!3d13.9576046!4d100.5506732?hl=en&authuser=0 2

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพชื แบบย่งั ยืน สถานที่สำคัญในพ้ืนที่เทศบาลตำบลบา้ นใหม่ วัดเทียนถวาย เป็นวัดที่เก่าแก่ในตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัด ปทุมธานี ได้รับพระราชทานวสิ ุงคามสมี าในปี พ.ศ. 1885 เขตวิสุงคามสีมา กวา้ ง 19.80 เมตร ยาว 29 เมตร พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว รัชกาลท่ี 5 ได้เคยเสดจ็ ทางชลมารค พร้อมด้วยข้าราชบริพารเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ 20 บาท พร้อมโปรดให้ถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระธรรมานสุ ารที ่เี ป็น เจ้าอาวาสในสมัยนั้นด้วย มีพระประธานคอื หลวงพ่อวัดป่าเลไลก์คูก่ ับวัด ปัจจุบันพระอุโบสถ รากฐานแข็งแรงไมเ่ คยทรดุ ตวั ไมเ่ คยแตกราวมีแตเ่ สอ่ื มโทรมไปตามกาลเวลาเทา่ นน้ั แตเ่ ดมิ วดั เทียนถวายถูกสรา้ งข้ึนเมือ่ ปี พ.ศ. 1880 ในสมยั พระเจา้ อทู่ องทรงเป็นเจ้า เมืองในขณะนั้น และเป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่กว่าวัดพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกถึง 4 ปี ครัง้ คราวท่ีได้อพยพหนโี รคระบาดมาก่อตงั้ กองเกวียนพักอาศยั กลางคือจุดไฟสว่างไสว พักอยู่ ราว 1 เดือนเศษ ก่อนที่จะอพยพกลับเมืองพระเจ้าอู่ทองได้ทรงมีรับสั่งให้มีการสร้างวัดขึ้น แล้วขนานนามว่า “วัดเกวียนไสว” ซึ่งโบราณวัตถุบางชิ้นยังอยู่ที่วัด ต่อมาชาวบ้านได้เรียก นามของวัดที่ผิดเพี้ยนไปตามยุคสมัยเป็น “วัดเทียนถวาย” บ้างก็เรียกอีกนามหนึ่งว่า “วดั เหล้าจืด” หมายถงึ คนเมาสุรามาถงึ วดั แห่งนีก้ ็หายเมาเสมือนกบั ว่าเหล้าจืด เน่ืองจากเกรง กลัวเจา้ อาวาสในสมยั ก่อนนค้ี ือ พระธรรมานุสารี (สว่าง ธมฺมโชโต) ปัจจุบันวัดเทียนถวายเป็นเขตอนุรักษ์ “นกแก้วโม่ง” ซึ่งนักดูนกที่อยากศึกษาวิถี การดำรงชีวิตของนกแก้วโม่ง มักจะเดินทางมาที่วัดเทียนถวายแห่งนี้ ในเวลากลางวันและ มสี ภาพอากาศร้อนจดั นกแก้วโม่งจะหลบแดดอยู่ในโพรงหรอื ยอดไมส้ งู ทำให้เห็นตัวนกไดย้ าก และช่วงเวลาที่สามารถเห็นนกแก้วโม่งได้ง่ายคือ ช่วงเช้า และช่วงเย็น เนื่องจากนกแก้วโม่ง จะออกมาส่งเสยี งร้องและโชว์ตวั ใหท้ ุกคนได้ชม 3

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 4

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 5

สร้างชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ ักษพ์ นั ธกุ รรมพืชแบบย่งั ยืน วัดเทพสรธรรมาราม เดิมถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานปฏิบัติธรรม บายตึ๊กเจีย โดยพระอาจารยเ์ ทยี นชัย ชัยทีโป ซึ่งคำวา่ “บายตก๊ึ เจีย” เป็นภาษาเขมร เป็นคำ ที่หลวงปูส่ รวงมกั กลา่ วให้พรเสมอ ๆ คำวา่ “บาย” เปน็ ภาษาเขมรแปลวา่ ข้าว “ตก๊ึ ” แปลว่า น้ำ และ “เจีย” แปลว่าดี รวมแล้วคำว่า “บายตึ๊กเจีย” แปลว่าข้าวน้ำดีนั่นเอง ต่อมาได้ต้ัง เป็นวัดเทพสรธรรมาราม ณ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธปฏิมา พระสีวลี พระอุปคุต พระเศรษฐีนวโกฏิ องค์พ่อจตุคามรามเทพ พระพรหม พระโพธิสัตว์กวนอิม หลวงปู่ทวด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ฤาษีตาไฟ และ ทีส่ ำคญั คือรูปเหมือนของหลวงปสู่ รวงทีม่ ีขนาดใหญท่ สี่ ุดในประเทศไทย 6

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 7

สร้างชมุ ชน คนบ้านใหม่ สกู่ ารอนรุ กั ษ์พนั ธกุ รรมพชื แบบยัง่ ยนื วัดดาวดึงษ์ เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่อีกวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของ ตำบลบ้านใหม่ จังหวัดปทุมธานี สันนิษฐานวา่ ก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 เป็นวัด ของชาวรามัญจากคำเล่าขานสืบเนื่องกันต่อมาว่าในท้องถิ่นย่านตำบลบ้านใหม่แห่งนี้ เดิมที เป็นแหล่งพำนักพักพิงของชาวบ้านรามัญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระมหากษตั รยิ ์ไทย ชาวรามัญเหลา่ น้ัน เมือ่ ลงหลกั ปกั ฐานรวมตัวกันอยู่เป็นชมุ ชนมีความสุข สบายตามอัตภาพ ก็ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมาเพื่อใช้ไปที่อบรมส่ังสอน กุลบุตรกุลธิดา ละแวกบ้าน เมื่อกาลเวลาผ่านไปจากชุมชนขนาดเล็กก็กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ แรกเริ่ม แล้ววัดแหง่ นี้กอ่ ตง้ั เป็นสำนักสงฆ์ขน้ึ มากอ่ น จากนน้ั ก็ยกฐานะเป็นวัดในเวลาตอ่ มา “วัดดาวดึงษ์” ซึ่งชื่อนี้เรียกกันมาจากปากของชาวรามัญว่า เมื่อครั้งที่ต้นตระกูล ของพวกเขาอยู่ที่เมืองรามัญ วัดที่ต้นตระกูลของพวกเขาก็ได้มีชื่อว่า “วัดดาวดึงษ์” ครั้นพอ อพยพมาพึง่ บารมีผืนแผน่ ดนิ สยามจึงไดส้ รา้ งวดั เพ่ือเป็นการระลกึ ถึงถ่นิ กำเนินของบรรพบุรุษ ทำให้มีการขนานนามว่า “วัดดาวดึงษ์” ไว้เป็นอนุสรณ์ และยังเป็นชื่อของสวรรค์ชั้นที่ 2 อีกด้วย 8

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 9

สร้างชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ นั ธุกรรมพืชแบบยั่งยนื ศาลเจ้าแม่ทับทิม (เจ้าแม่ทิพย์เกสร) ตามประวัติท่ีชาวบ้าน เล่าขานกันมาร้อยกว่าปี คนเฒ่าคนแก่ที่อาศัยอยู่ละแวกนี้ ได้เห็นศาลเจ้าแม่ทับทิมอยู่ก่อน แลว้ ซง่ึ ไม่สามารถทราบได้วา่ ใครเป็นผ้สู ร้างข้ึน แต่ที่ดนิ ทีส่ ร้างศาลเจ้าแม่ทบั ทิมแหง่ น้เี ป็นท่มี ี โฉนดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา คาดว่าเป็นของคนเก่าแก่ที่ปลูกสร้างไว้ด้วยความเคารพนับถือ โดยสรา้ งศาลเปน็ เรือนไมส้ ักขนาดประมาณ 64 ตารางเมตร และดา้ นบนศาลได้มีกระดูกส่วน หัวของจระเข้ขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้คนได้มากราบไหว้ และบรเิ วณศาลเจ้าแมท่ บั ทิมยังมตี ้นยาง นาใหญ่ที่มีอายุร้อยกว่าปีขนาด 5 คนโอบ อยู่คู่กับศาลเจ้าแม่ทับทัมแห่งนี้ และในเดือน พฤษภาคมของทุกปี จะจัดงานงานประจำปีศาลเจ้าแม่ทับทิม มีการสรงน้ำเจ้าแม่ มีมหรสพ และการแสดงละครรำถวาย 10

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 11

สรา้ งชุมชน คนบา้ นใหม่ สูก่ ารอนุรกั ษพ์ นั ธกุ รรมพืชแบบยั่งยนื ศาลปโู่ พธิ์ใหญ่ ตามประวตั ทิ ่ีได้เลา่ ขานกนั มา นายโพธิ์ เป็นคนพื้นท่ตี ำบล บ้านใหม่ ไดไ้ ล่ควายมาขายและทำงานเปน็ ลูกจา้ งทำนาให้กับตาปร๋ือและยายแป้น ต่อมานาย โพธิ์ ได้มีอาการล้มป่วยลงจึงได้สั่งเสียตาปรื๋อและยายแป้นให้สร้างศาล และปั้นรูปของนาย โพธิ์ไว้ในศาลเพื่อดูแลปกปักรักษาพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันศาลปู่โพธิ์ใหญ่เป็นศาลไม้เป็นที่ สักการะบชู าของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ และยงั มคี วามเช่อื กนั มาว่าหากบ้านใดมีงาน อปุ สมบท ผูเ้ ปน็ นาคต้องมาขอขมาลาอุปสมบทท่ีศาลป่โู พธ์ิใหญ่เพ่ือเปน็ สิรมิ งคล และในวันท่ี 14 เมษายนของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพ่อปู่โพธิ์ใหญ่ ซึ่งเป็นประเพณีสืบสานต่อกันมา อย่างยาวนาน 12

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 13

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สูก่ ารอนรุ กั ษ์พนั ธุกรรมพชื แบบย่งั ยืน หลุมหลบภัยสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2484 ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเยอรมันเป็นผู้นำในการทำ สงครามโลกในครั้งนั้น ตรงกับสมัยจอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซ่ึง ประเทศไทยหน่งึ ในประเทศที่ไดร้ บั ผลกระทบจากสงครามโลกในครัง้ ที่ 2 อย่างหลีกเลี่ยงไมไ่ ด้ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นได้ขยายอำนาจมายังประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ใช้ ประเทศไทยเป็นทางผา่ นไปยงั ประเทศพมา่ และอินเดีย การเคลื่อนย้ายกำลังพลของประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ ได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล จอมพล ป. ให้ยกพลผ่านประเทศไทย จะเห็นได้จากการใช้กำลังแรงงานชาวต่างชาติจำนวน มากในการก่อสร้างทางรถไฟที่มีชื่อเรียกว่า “ทางรถไฟสายมรณะ” เพื่อใช้เป็นเส้นทาง คมนาคมในการขนส่งเสบียง อาวุธ ไปยังประเทศพม่าโดยผ่านทางจังหวัดกาญจนบุรี ในขณะ นั้นประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย ซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตร ประกอบดว้ ย ประเทศองั กฤษ ฝรง่ั เศส และอกี หลายประเทศ รวมถงึ เสรไี ทย คือ คนไทยท่ีไป ศึกษาอยู่ต่างประเทศ และไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลของจอมพล ป. กับการท่ีให้ประเทศญี่ปุ่นใช้ ประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่านในการเคลื่อนย้ายกำลังพลอยู่ตลอดเวลา และต้องการให้ ประเทศญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามและนำถนนทหารออกจากประเทศไทย ในระหว่างที่ทหารของ ฝา่ ยสมั พนั ธมติ รโจมตที หารญปี่ ่นุ ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มกี ารสั่งการให้สร้างหลุม หลบภัยไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงหลุมหลบภัยบริเวณหมู่ 6 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทมุ ธานี ลักษณะของหลุมหลบภยั มีลักษณะเป็นรูปไข่ผ่าซีก หรือรูปนูนหลังเต่า ทำด้วยอิฐ ถอื ปนู มปี ระตูทางเข้าออก 2 ทาง ทศิ เหนือกับทิศใต้ สามารถจคุ นไดป้ ระมาณ 15 ถงึ 20 คน เพื่อหลบการท้ิงระเบิดของฝ่ายพันธมิตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการปรบั ปรุงบริเวณหลุม หลบภัยเพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นสถานที่สำคัญให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงประวัติศาสตร์และความ เปน็ มาของหลมุ หลบภยั 14

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 15

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 16

สรา้ งชมุ ชน คนบ้านใหม่ ส่กู ารอนรุ ักษ์พนั ธุกรรมพืชแบบย่ังยนื ภมู ปิ ัญญาท้องถ่นิ ในพน้ื ท่ีเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ข้าวต้มลูกโยน และขนมเทียนแก้ว โดยมีคุณป้าจำเนียร ปานทอง เป็นเจ้าของภูมิปัญญา สถานที่การทำข้าวต้มลูกโยนและขนมเทียนแก้วของคุณป้า จำเนียร ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็น สถานที่ให้องค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผลิตภัณฑ์และการแปรรูป “ขนมข้าวต้ม ลูกโยน” เป็นขนมไทยอย่างหนึ่งซึ่งทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งห่อด้วยใบลำเจียกใช้ในเทศกาล ออกพรรษาประเพณตี ักบาตรเทโว และ “ขนมเทียนแกว้ ” เป็นการดดั แปลงมาจากขนมเทียน ที่เปลี่ยนจากแป้งข้าวเหนียว มาใช้แป้งถั่วเขียวแทนทำให้เนื้อขนมใสมองเห็นไส้ด้านใน และ ยงั มีเน้ือทีน่ ุม่ กว่าแล้วไม่ตดิ มอื อ้างอิง: เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมอื ง จงั หวดั ปทมุ ธานี 17

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ ส่กู ารอนรุ กั ษ์พนั ธุกรรมพชื แบบย่งั ยืน ขนมเม็ดขนุน โดยมีคุณป้าชูศรี ภู่เจริญ เป็นเจ้าของภูมิปัญญา สถานที่ การทำขนมเม็ดขนุนของคุณป้าชูศรี ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 43/2 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอ เมือง จังหวัดปทุมธานี จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการทำขนมไทยอย่างหนึ่งมีสี ทองเหลอื งทีม่ ลี ักษณะคลา้ ยกบั เมด็ ขนนุ จงึ มีชอ่ื เรยี กวา่ “ขนมเมด็ ขนุน” ซึ่งขนมเม็ดขนุนของ คุณป้าชูศรี จะทำมาจากถั่วกวนแล้วนำไปชุบไข่ และทำเพื่อใช้ในงานมงคลต่าง ๆ จึงมี ความเชื่อกันว่าชื่อของขนมเม็ดขนุนจะเป็นสิริมงคลช่วยให้มีคนสนับสนุนในการดำเนินชีวิต หน้าทีก่ ารงาน หรือแมแ้ ตก่ ารประกอบกิจการให้มคี วามเจริญรุ่งเรืองย่ิงขนึ้ อา้ งองิ : เทศบาลตำบลบา้ นใหม่ อำเภอเมือง จงั หวัดปทุมธานี 18

สร้างชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สกู่ ารอนรุ ักษพ์ นั ธกุ รรมพืชแบบย่งั ยนื ดนตรีไทย โดยมีอาจารย์เสนาะ ดำนิล เป็นเจ้าของภูมิปัญญาด้านศิลปะ พื้นบ้าน สถานที่พบภูมิปัญญาตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 103/2 หมู่ 5 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จุดเด่นด้านดนตรีไทยของอาจารย์เสนาะ คือความสามารถในการถ่ายถอด องค์ความรทู้ างด้านดนตรีไทยจากรนุ่ สู่รุ่นเพ่ือเปน็ การสบื สานอนุรักษว์ ัฒนธรรมการเล่นดนตรี ไทย การไหว้ครู และครอบเศียร ซึ่งกิจวัตรที่อาจารย์เสนาะต้องทำประจำทุกวันคือ การนำ เครื่องไหว้ที่ประกอบไปด้วย อาหารคาว หวาน น้ำ สำหรับถวายแต่ละเศียรพ่อครู และมี การไหว้ครูครอบเศยี ร ปลี ะ 1 ครั้ง อ้างองิ : เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมอื ง จงั หวัดปทมุ ธานี 19

สร้างชมุ ชน คนบ้านใหม่ สู่การอนุรกั ษ์พันธุกรรมพชื แบบยงั่ ยืน ตะบันไฟ โดยมีคุณลุงแสวง ไรว่ อน ประธานสภาเทศบาลตำบลบ้านใหม่ เป็น เจา้ ของภมู ปิ ญั ญาดา้ นเคร่ืองมือจุดไฟ สถานทีพ่ บภมู ิปัญญา ณ บา้ นเลขที่ 44/1 หมู่ 6 ตำบล บ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งจุดเด่นของตะบันไฟมีลักษณะคล้ายกับตะบันตำ หมากของคนโบราณ ตวั ตะบนั เปน็ กระบอกทำจากเขาควายนำมาเจาะใหเ้ ป็นรูกลม และมีลูก ตะบันทำจากเขาควายเป็นเคร่ืองมือสมัยโบราณที่ทำหน้าที่ในการจุดไฟ วิธีการใช้ต้องนำเชอื้ ไฟใส่ในกระบอกแล้วใช้ตะบันหรือแท่งกลมทำให้เกิดการเสียดสีด้วยการตบหรือกระแทกลูก ตะบันอย่างแรงและรวดเร็วถึงจะเกิดความร้อนมีประกายไฟขึ้น คนสมัยโบราณจึงใช้เป็น เคร่ืองมือในการจุดไฟ อ้างอิง: เทศบาลตำบลบา้ นใหม่ อำเภอเมือง จงั หวดั ปทุมธานี 20

สร้างชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สกู่ ารอนุรักษ์พนั ธุกรรมพชื แบบย่งั ยนื ไม้ไผ่นิ้วล็อค โดยคุณพี่วทัญญู สุทัตโต เป็นเจ้าของภูมิปัญญา สถานที่พบ ณ บ้านเลขท่ี 7/1 หมู่ 4 ตำบลบา้ นใหม่ อำเภอเมือง จงั หวัดปทมุ ธานี ซง่ึ ไมไ้ ผน่ ว้ิ ล็อคสามารถ ใช้บริหารนิ้วและข้อมือ เพื่อป้องกันปัญหานิ้วล็อคในผู้สูงอายุและคนพิการ นอกจากนี้ ยังสามารถปอ้ งกันปัญหานิว้ ยดึ และข้อนว้ิ ยึดเกรงได้อกี ดว้ ย อ้างอิง: เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมอื ง จงั หวดั ปทุมธานี 21

สร้างชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สูก่ ารอนุรักษ์พันธุกรรมพชื แบบยัง่ ยนื พวงมะโหด โดยคุณพี่อำนวย สุทัตโต สถานที่พบภูมิปัญญา ณ บ้านเลขที่ 7/1 หมู่ท่ี 4 ตำบลบา้ นใหม่ อำเภอเมือง จงั หวัดปทุมธานี พวงมะโหดเปน็ เครอื่ งแขวนโบราณ ทที่ ำจากกระดาษสที นี่ ำมาพับแลว้ ตดั เป็นรปู ตา่ ง ๆ นอกจากน้ี พวงมะโหดยงั เปน็ เครื่องแขวน ประเภทหน่ึงท่ีใช้แขวนในงานมงคลเทา่ นั้น อาทิเชน่ งานแต่งงาน งานบวช งานทำบญุ ขึ้นบ้าน ใหม่ งานวันสงกรานต์ งานโกนจุก และงานบุญทั่วไป ซึ่งจะนำมาแขวนสถานที่ที่เด่นที่สุดใน บ้าน อยา่ งเช่นใจกลางบ้าน อ้างอิง: เทศบาลตำบลบา้ นใหม่ อำเภอเมอื ง จงั หวัดปทุมธานี 22

สรา้ งชมุ ชน คนบ้านใหม่ ส่กู ารอนรุ ักษพ์ นั ธุกรรมพืชแบบยัง่ ยืน การดำเนนิ งานและกระบวนการอนรุ ักษ์พันธุกรรมพืช นอกจากบริบทชุมชนที่น่าสนใจแล้ว ในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัด ปทุมธานี ยังเป็นพื้นที่ปกปักที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติพรรณนานาชนิดที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่มาของการเข้าร่วม “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” หรือ อพ.สธ. ที่ทรงให้ความสำคัญใน การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นของภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท่ี หายากแล้วโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชยังเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาพันธุกรรมพืช ท้องถิ่น และนำข้อมูลจากการศึกษามาใช้ประโยชน์ รวมทั้งทำให้เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จงั หวดั ปทุมธานี ไดน้ อ้ มนำองค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการไปสรา้ งประโยชน์ ใหก้ ับประชาชนในพ้ืนท่ีได้อย่างเป็นรปู ธรรม การดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ของพืน้ ทเี่ ทศบาลตำบลบา้ นใหม่เรม่ิ ต้น ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 ซึ่งมีนายสมศักดิ์ ปานน้อย นายกเทศมนตรีตำบทบ้านใหม่ เป็นผู้นำ ในการขบั เคล่อื นกจิ กรรมปกปักทรัพยากรท้องถ่ิน เพือ่ ปกปกั พน้ื ที่ป่าธรรมชาติด้ังเดมิ โดยมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การกำหนดขอบเขตพื้นที่ และการสำรวจทรัพยากร (2) การทำผังแสดง ขอบเขตในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น (3) การศึกษาทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากร ท้องถิ่น (4) การทำตัวอย่างทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น (5) การทำทะเบียน ทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรพั ยากรท้องถิ่น และ (6) การดูแล รักษา ทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก ทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อให้ทราบว่ามีทรัพยากรที่มีความสำคัญ และมีลักษณะพิเศษ ตลอดจน นำไปสู่การอนรุ ักษ์และใชป้ ระโยชน์อยา่ งย่ังยนื ต่อไป ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมปกปักทรัพยากรท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบ้านใหม่ จึงมีพื้นที่เป้าหมายคือวัดเทียนถวาย และบริเวณตำบลทั้งหมด 6 หมู่บ้าน โดยผู้เข้าร่วม โครงการคือ ผู้นำชุมชน ประชาชนอาสาทั่วไป และโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนกึ ในการรักษาอนุรักษ์ดูแลพนั ธุ์ไมท้ ีค่ วรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้รุ่นลกู รนุ่ หลานไดร้ ู้จกั และสบื สานให้คงอยู่สบื ตอ่ ไป 23

สรา้ งชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สกู่ ารอนรุ กั ษพ์ นั ธุกรรมพชื แบบย่ังยนื อา้ งองิ : เทศบาลตำบลบา้ นใหม่ อำเภอเมือง จงั หวดั ปทมุ ธานี 24

สรา้ งชมุ ชน คนบา้ นใหม่ ส่กู ารอนรุ กั ษพ์ ันธุกรรมพืชแบบย่ังยนื การกำหนดขอบเขตพืน้ ที่ และการสำรวจทรพั ยากร การกำหนดขอบเขตพื้นที่ และการสำรวจทรัพยากร แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรมย่อย ได้แก่ (1) การกำหนดขอบเขตพื้นที่ปกปัก (2) การสำรวจทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก (3) การจำแนกชนิดของกายภาพในพื้นที่ปกปัก และ (4) การติดรหัสประจำชนิด โดยท้ัง 4 กิจกรรมได้มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างประชาชนอาสาสมัคร นักเรียน และ เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อา้ งอิง: https://www.google.co.th/maps/place/Ban+Mai,+Mueang+Pathum+Thani+District,+Pathum+Thani+12000/@13.9650662,100. 5435442,15z/data=!3m1!4b1!4m5!3m4!1s0x30e281607ed5b1d7:0x4019237450c97e0!8m2!3d13.9576046!4d100.5506732?hl=en&authuser=0 การกำหนดขอบเขตพืน้ ที่ปกปกั 25

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ ักษพ์ นั ธุกรรมพืชแบบย่ังยนื การสำรวจทรพั ยากรในพืน้ ท่ีปกปัก 26

สร้างชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สกู่ ารอนรุ ักษ์พนั ธกุ รรมพืชแบบย่งั ยนื การจำแนกชนดิ ของกายภาพในพ้นื ทีป่ กปกั 27

สรา้ งชุมชน คนบ้านใหม่ สกู่ ารอนรุ กั ษ์พนั ธุกรรมพืชแบบย่งั ยืน การตดิ รหสั ประจำชนิด 28

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนุรักษพ์ นั ธกุ รรมพืชแบบยัง่ ยนื การทำผงั แสดงขอบเขตในพ้ืนทีป่ กปกั ทรัพยากรทอ้ งถ่ิน ก า ร ท ำ ผ ั ง แส ด ง ขอ บ เข ตใ น พ ื้ น ที ่ ปก ป ัก ท รั พ ยา ก รท้ อ งถ ิ ่ นเ ป็ น กา รร่ ว มมื อ กับ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานและกองช่างของเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้การทำผังแสดงขอบเขตที่แม่นยำมากที่สุด โดยผู้ปฏิบัติทุกคนจะต้องอาศัยหลักการที่ ว่าด้วย “ซ่อื ตรง มงุ่ มน่ั พฒั นา สามัคคี มคี ุณธรรม” พืน้ ทดี่ นิ ในวัดเทียนถวาย จำนวน 2 ไร่ พ้ืนท่ีบอ่ บวั จำนวน 1 ไร่ อา้ งอิง: https://earth.google.com/ 29

สร้างชุมชน คนบ้านใหม่ สู่การอนรุ ักษพ์ นั ธกุ รรมพืชแบบยงั่ ยนื การศึกษาทรพั ยากรในพ้นื ทป่ี กปกั ทรัพยากรท้องถ่ิน การศึกษาทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรทอ้ งถิ่น แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ (1) การศึกษาทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก เป็นการแสดงตารางสรุปจำนวนทรัพยากร ที่ศึกษา แสดงผลงาน ชิ้นงาน ภาพประกอบ และ (2) การถ่ายภาพทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก เป็นการถ่ายภาพส่วนประกอบต่าง ๆ ของทรัพยากร โดยทั้ง 2 กิจกรรมต้องอาศัย การบูรณาการความร่วมมือระหว่างประชาชนอาสาสมัคร นักเรียน และเทศบาลตำบล บา้ นใหม่ เพื่อให้ทุกภาคสว่ นได้มีองคค์ วามรูไ้ ปในทศิ ทางเดียวกัน การศกึ ษาทรพั ยากรในพนื้ ท่ีปกปกั 30

สรา้ งชุมชน คนบ้านใหม่ สกู่ ารอนรุ ักษพ์ นั ธุกรรมพืชแบบยั่งยนื การถา่ ยภาพทรพั ยากรในพ้ืนทปี่ กปกั 31

สรา้ งชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษ์พนั ธุกรรมพืชแบบยั่งยนื การทำตวั อยา่ งทรพั ยากรในพ้นื ที่ปกปัก ทรัพยากรทอ้ งถิ่น การทำตัวอย่างทรัพยากรในพน้ื ท่ปี กปักทรัพยากรท้องถน่ิ เปน็ การแสดงตารางสรุป จำนวนตัวอย่างทรัพยากร เช่น พืช สัตว์ แหล่งน้ำ พร้อมทั้งแสดงวิธีการทำตวั อย่าง โดยการ ทำตัวอย่างทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่นจะการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ประชาชนอาสาสมัคร นักเรียน และเทศบาลตำบลบ้านใหม่ เพื่อให้การทำตวั อยา่ งทรัพยากร ออกมาสมบรู ณท์ สี่ ุด 32

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 33

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 34

สร้างชุมชน คนบา้ นใหม่ สู่การอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื 35

สร้างชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สกู่ ารอนุรักษ์พนั ธุกรรมพืชแบบยงั่ ยนื การทำทะเบียนทรพั ยากรในพ้ืนที่ปกปกั ทรัพยากรทอ้ งถ่ิน การทำทะเบียนทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ (1) การทำทะเบียนทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก ตามแบบ อพ.สธ. และ (2) ระบบจัดเก็บและสือค้นได้ กิจกรรมดังกลา่ วจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่โครงการอนุรักษ์ พนั ธกุ รรมพืชของเทศบาทตำบลบา้ นใหม่ การทาทะเบียนทรัพยากรในพน้ื ที่ปกปัก ตามแบบ อพ.สธ. ประกอบไปด้วย 9 ใบงาน ใบงานท่ี 1 เร่อื งการเกบ็ ข้อมูลพ้นื ฐานในทอ้ งถ่ิน ใบงานท่ี 2 เรอ่ื งการเก็บขอ้ มลู การประกอบอาชพี ในท้องถิน่ ใบงานที่ 3 เรอ่ื งการเกบ็ ขอ้ มูลดา้ นกายภาพในท้องถ่ิน ใบงานท่ี 4 เรอื่ งการเกบ็ ขอ้ มูลประวตั หิ ม่บู ้าน ชมุ ชน วถิ ีชมุ ชน ใบงานที่ 5 เรื่องการเก็บขอ้ มลู การใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถน่ิ ใบงานที่ 6 เรอ่ื งการเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสตั วใ์ นท้องถนิ่ ใบงานที่ 7 เรอ่ื งการเกบ็ ขอ้ มลู การใชป้ ระโยชน์ของชวี ภาพอน่ื ๆ ใบงานท่ี 8 เรอื่ งการเก็บขอ้ มลู ภมู ิปัญญาในทอ้ งถน่ิ ใบงานที่ 9 เรอ่ื งการเก็บข้อมูลแหล่งทรพั ยากรและโบราณคดีในท้องถ่ิน 36

สร้างชมุ ชน คนบ้านใหม่ สกู่ ารอนรุ กั ษพ์ ันธุกรรมพชื แบบย่งั ยนื ระบบจดั เก็บและสบื ค้นได้ 37

สร้างชมุ ชน คนบ้านใหม่ สกู่ ารอนรุ กั ษพ์ ันธุกรรมพชื แบบย่งั ยนื ระบบจดั เก็บและสบื ค้นได้ 38

สร้างชมุ ชน คนบ้านใหม่ สู่การอนุรกั ษพ์ นั ธกุ รรมพืชแบบย่งั ยืน การดแู ล รักษา ทรัพยากรในพน้ื ท่ปี กปกั ทรัพยากรทอ้ งถ่ิน การดูแล รักษา ทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น เช่น การทำแนวกันไฟ การทำฝายชะลอน้ำ อาสาสมัครดูแลพื้นที่ป่าปกปักทรัพยากรท้องถิ่น กิจกรรมนี้เป็นการ ร่วมมือกันระหว่างประชาชนอาสาสมัคร นักเรียน และเทศบาลตำบลบ้านใหม่ เพื่อให้เกิด ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกลูกัน ภายใต้ความสมัครใจกันในการการดูแล รักษา ทรัพยากร ในพน้ื ทีป่ กปกั ทรพั ยากรท้องถิ่นของพ้ืนทเี่ ทศบาลตำบลบ้านใหม่ 39

สรา้ งชุมชน คนบ้านใหม่ สกู่ ารอนรุ กั ษพ์ นั ธกุ รรมพชื แบบย่งั ยนื อา้ งอิง: http://baanmai.go.th/public/texteditor/data/index/menu/441 40

สรา้ งชมุ ชน คนบา้ นใหม่ สกู่ ารอนรุ กั ษพ์ ันธุกรรมพชื แบบย่ังยืน บทสรุปการสงั เคราะห์องคค์ วามร้ภู ายใต้ การอนุรกั ษพ์ ันธกุ รรมพืช ด้วยแรงบัลดาลใจของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เริ่มต้นจากปี 2554 ในพื้นที่นี้ไม่ได้รับอุทกภัย นายสมบูรณ์ ปานย้อย นายกเทศมนตรีตำบลบา้ นใหม่ จงึ เรยี กหน่วยงานในตำบลทุกภาคส่วนมาประชุมกัน เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่หายาก และพืชที่ขึ้นในพื้นที่ปกปักในพื้นที่ตำบล ตอ่ มาก็เรมิ่ ศกึ ษาเพาะพันธ์ุกล้าไม้ และได้พบกับโครงการอนรุ ักษ์พันธุกรรมพืชอนั เนือ่ งมาจาก พระราชดำริ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จึงได้เริ่มสมคั รเข้า ร่วมโครงการ และมีการบูรณาการความร่วมมอื กับประชาชนอาสา เด็กนักเรียนจากโรงเรียน เทศบาลตำบลบ้านใหม่ และวัดเทียนถวาย รวมแล้วร้อยกว่าชวี ติ ร่วมกันดำเนินงานด้วยความ สามคั คี ช่วยเหลอื เกอื้ กลู กันจนทรัพยากรท้องถิน่ ได้มีการอนุรกั ษอ์ ย่างจรงิ จังเพอ่ื ให้ประชาชน รนุ่ หลังได้มกี ารศึกษาหาความรู้ในอนาคต ความสำเร็จของโครงการอันดับแรกชุมชนได้ป้ายพระราชทานโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป้าหมายทีจ่ ะดำเนินการต่อไป คือ การต่อยอดศกึ ษาการทรพั ยากรในท้องถิ่น สัตว์ ชวี ภาพ วัฒนธรรม และภมู ปิ ญั ญาท้องถิน่ เพือ่ ให้ชมุ ชนไดใ้ ช้ทรัพยากรทมี่ ีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิด ประโยชน์อยา่ งคุ้มคา่ และยง่ั ยนื ต่อไป 41

สานกั ส่งเสรมิ การเรียนรู้และบริการวิชาการ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ เลขที่ 1 หมทู่ ี่ 20 ถนนพหลโยธิน ตาบลคลองหนง่ึ อาเภอคลองหลวง จงั หวดั ปทุมธานี 13180 โทรศัพท์ 0-2909-3026