50 ปดี ิเทพ อยู่ยืนยง ทั้งเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จําเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกคร่อมปิดทางพิพาทออก ได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็น “การใช้สิทธิตามปกตินิยม” อันเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายซึ่งวิญญู ชนหรือบุคคลทั่วไปใช้กันแล้ว เช่น การที่เจ้าหนี้เรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชําระหนี้ การกระทําอันเป็น การใช้สิทธิอย่างปกตินิยมแลว้ ยอ่ มไม่เปน็ ละเมิด มีคําพิพากษาฎกี าที่นา่ สนใจดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2544 คดีเดิมมีประเด็นข้อพิพาทว่า กระถางต้นไม้และถังขยะท่ี จําเลยวางในทางพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิการใช้ทางของโจทก์หรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกันกับที่โจทก์ ฟ้องคดีนี้ แต่คดีเดิมศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์อ้างว่ากระถางต้นไม้และถังขยะที่จําเลยวาง อยู่บนทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของบุคคลภายนอกที่โจทก์จําเลยใช้ร่วมกัน แต่โจทก์ไม่ได้นําบุคคลภายนอกมา สืบให้ศาลเห็นว่ายินยอมให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินร่วมกับจําเลยหรือทางพิพาทตกเป็นภารจํายอมอันถือได้ว่าศาล ชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องเพราะมิได้นําสืบให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาท ดังนั้นประเด็นว่า การกระทําของจําเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่จึงยังไม่ได้วินิจฉัย เมื่อโจทก์ฟ้องเจ้าของทางพิพาทจน ได้ทางพิพาทเป็นภารจํายอมแล้วจึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ว่าจําเลยกระทําละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นการขอให้ศาล วินิจฉัยว่าการที่จําเลยวางกระถางต้นไม้ ถังขยะ และทิ้งส่ิงปฏิกูลลงในถังขยะซึ่งอยู่ในทางพิพาทเป็นการ ละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ย่อมเป็นการพิจารณาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็น ฟอ้ งซํา้ ตามประมวลกฎหมายวธิ พี ิจารณาความแพง่ มาตรา 148 วรรคหน่งึ ซอยพิพาทอันเป็นภารจํายอมที่โจทก์และจําเลยใช้ร่วมกันกว้างประมาณ 5 เมตร จําเลยวาง กระถางต้นไม้บนทางพิพาทใกล้ประตูรั้วบ้านจําเลยเป็นผลให้ทางแคบลงเหลือประมาณ 4 เมตร เป็น ลักษณะเดียวกับที่โจทก์ก่อกระถางอิฐเป็นแนวเดียวกับตึกแถวที่อยู่ติดรั้วบ้านโจทก์ และเพื่อป้องกันมิให้ รถยนต์แล่นทับท่อระบายนํ้าตรงทางพิพาท เมื่อโจทก์ยังคงขับรถยนต์แล่นเข้าออกได้เป็นปกติการกระทํา ของจําเลยในทางพิพาทเป็นการใช้สิทธิโดยปกตินิยม ส่วนการวางถังขยะไว้นอกบ้านเพื่อให้พนักงานเก็บ ขยะมาเก็บไปทิ้งเช่นเดียวกับคนทั่วไปถือปฏิบัติกัน เมื่อการวางถังขยะมิได้เกะกะกีดขวางทางเดินรถยนต์ ลักษณะของขยะก็มิได้น่ารังเกียจส่งกลิ่นเหม็นรบกวนแต่อย่างใด การกระทําของจําเลยจึงเป็นการใช้สิทธิ โดยปกตนิ ิยม ไม่เปน็ การละเมิดต่อโจทก์ “การใช้สทิ ธิเกนิ ส่วน” มีไดอ้ ยู่ 2 ลกั ษณะด้วยกนั ไดแ้ ก่ (ก) การกระทาํ เพอื่ จงใจกล่ันแกลง้
คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 51 “การกระทําเพื่อจงใจกลั่นแกล้ง” ได้แก่ การกระทําเพื่อจงใจกลั่นแกล้งบุคคลอื่น โดยตัวของ ผู้กระทําย่อมรู้ถึงผลของการกระทําที่สร้างความเสียหายแก่บุคคลอื่นแต่ฝ่ายเดียว การกระทําที่จงใจกล่ัน แกลง้ ถอื เปน็ การกระทําละเมิด มคี ําพพิ ากษาฎีกาทีน่ า่ สนใจดงั ต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2529 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นน้ันเป็น การอันมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จําเลยมีตึกแถวอยู่ติดกันและมีท่อระบายนํ้าโสโครกฝังอยู่ด้านหลังของ ตึกแถวเป็นแนวเดียวกัน1ท่อเพื่อระบายนํ้าร่วมกันไปสู่ท่อระบายนํ้าสาธารณะโจทก์จําเลยมีเรื่องพิพาทกัน มาก่อนแล้วจําเลยนําแผ่นเหล็กเจาะรูเล็ก ๆ ปิดกั้นทางระบายนํ้าที่จะระบายมาจากบ้านโจทก์จนเป็นเหตุให้ เกิดนํ้าท่วมขังบ้านโจทก์เป็นการกระทําที่จงใจจะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ถึงแม้จะกระทําในที่ดินของ ตนเองก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการกระทําโดยละเมิดตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 โจทก์ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาในกรณีฉุกเฉินให้ จําเลยรื้อถอนแผ่นเหล็กดังกล่าวออกเมื่อศาลอนุญาตแล้วโจทก์ก็เอาแผ่นเหล็กที่จําเลยนําไปปิดกั้นออกการ กระทําของโจทก์ดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามคําสั่งศาลอันชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทํา โดยละเมิด แต่ถ้าเป็น “การใช้สิทธิตามธรรมดา” โดยตัวของผู้กระทําเองไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่น แกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นแต่ฝ่ายเดียวแล้ว ก็ย่อมไม่ถือเป็นละเมิด แม้ว่าการ กระทําดังกล่าวจะทําให้บุคคลอื่นเกิด “เสียหายไปบ้าง” ก็ย่อมไม่เป็นละเมิด มีคําพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ ดังต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2538 ผู้กระทําหรือผู้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ บุคคลอื่นอันเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421 นั้นต้องมีเจตนาหรือจงใจ กลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นฝ่ายเดียวเมื่อโจทก์ติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์ บนดาดฟ้าตึกแถวที่โจทก์เช่าเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ได้จําเลยก็ย่อมมีสิทธิติดตั้งป้ายโฆษณา งานในธุรกิจของจําเลยบนดาดฟ้าตึกแถวที่จําเลยเช่าเพื่อประโยชน์ในกิจการของจําเลยได้เช่นกันโดยไม่ต้อง คํานึงถึงว่าฝ่ายใดติดตั้งก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่าจําเลยกระทําเพื่อจงใจกลั่นแกล้งโจทก์แม้ป้ายโฆษณาของ จาํ เลยจะอย่ใู กล้และปิดบงั ปา้ ยโฆษณาของโจทกบ์ ้างก็หาเปน็ การละเมดิ ตอ่ โจทก์ไม่ (ข) การกระทาํ ท่กี ่อความเดือดร้อนราํ คาญ “การกระทําที่ก่อความเดือดร้อนรําคาญ” ได้แก่ การกระทําที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเพื่อน บ้าน ทําให้เพื่อนบ้านเผชิญกับความเดือดร้อนรําคาญเกินควรคาดหมายได้ตามปกติ ซึ่งไปพ้องกับบริบทของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 ที่ว่า “บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของ
52 ปดี เิ ทพ อยยู่ ืนยง อสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและ เหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตําแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคํานึงประกอบไซร้ ท่านว่าเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ทั้งนี้ ไม่ลบล้างสิทธิท่ี จะเรยี กเอาค่าทดแทน” มคี ําพพิ ากษาฎกี าท่ีนา่ สนใจดงั ต่อไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537 รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจําเลยเดิมเม่ือ จําเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กําแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง นํ้าฝนก็จะสาดและไหลเป็นปกติทั้งสองด้าน ไม่มีผู้ใดเดือดร้อนครั้นจําเลยต่อเติมอาคารขึ้นนํ้าฝนไม่สาดเข้าไปโดนทรัพย์สินของจําเลยและไหลไปในที่ดิน ของโจทก์มากกว่าปกติซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะ เกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจําเลยที่จะต้องป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จําเลยทราบจําเลยมิได้ จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่ายของฝ่ายโจทก์การกระทําของจําเลยที่ต่อเติมอาคาร จึงเป็นการใช้ สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 และโจทก์มี สิทธิท่ีจะปฏิบตั ิการเพ่ือยงั ให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนราํ คาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2540 โจทก์ก่อสร้างบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานครอันเป็นเมือง หลวงของประเทศมีประชาชนอยู่หนาแน่น มีอาคารบ้านเรือนอาคารพาณิชย์และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ปลูกอยู่ อย่างแออัดที่ดินที่ตั้งบ้านโจทก์อยู่ใกล้กับถนนรัชดาภิเษกตัดกับถนนลาดพร้าว เป็นย่านที่มีความเจริญมาก ที่ดินมีเนื้อที่ว่างน้อยและราคาแพง จึงต้องมีการก่อสร้างอาคารสูงมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด การที่โจทก์ก่อสร้างบ้านในทําเลดังกล่าวจึงควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าอาจมีผู้มาก่อสร้างอาคารสูงใกล้กับ บ้านโจทก์เป็นเหตุให้บังทิศทางลม แสงสว่าง และทัศนียภาพที่มองจากบ้านโจทก์ อันเป็นไปตามปกติและมี เหตุอันควรอยู่แล้ว ดังนั้น แม้จําเลยก่อสร้างอาคารเป็นผนังทึบไม่มีช่องระบายลมก็ตาม แต่กระแสลมและ แสงสว่างยังคงพัดผ่านและส่องมายังบ้านโจทก์ได้พอสมควร ประกอบกับโจทก์ก็ตั้งใจจะติดต้ัง เครื่องปรับอากาศในบ้านของโจทก์อยู่แล้ว เพราะสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในกรุงเทพมหานคร เพื่อความ สะดวกสบายของโจทก์เองหาใช่เพราะการก่อสร้างอาคารของจําเลยทําให้อากาศร้อนอบอ้าวไม่ ทั้งการท่ี จําเลยก่อสร้างอาคารสูงบังบ้านโจทก์ก็หาเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทําให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ไม่ เพราะกรณีตามมาตรา 421 จะต้องเป็นเรื่องของการแกล้งโดย ผู้กระทํามุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นถา่ ยเดียว แต่ถ้าเป็นการกระทําโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดา ของสิทธินั้น แม้ผู้กระทําจะเห็นว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายบ้างก็ไม่เป็นละเมิด เมื่อไม่ปรากฏว่าการ กอ่ สร้างอาคารนัน้ จาํ เลยไดก้ ระทําเพอื่ กลัน่ แกลง้ โจทก์โดยมุ่งต่อความเสยี หายแก่โจทกถ์ า่ ยเดียว การใชส้ ทิ ธิ ของจําเลยในการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 421 กรณไี มม่ ีเหตุที่จะรือ้ ถอนอาคารของจาํ เลยและกําหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้สอยอาคารให้โจทก์
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 53 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2546 โจทก์ทําสัญญาเช่าที่ดินจากเทศบาลเมืองโพธารามเพื่อใช้ เป็นสถานที่จอดรถสําหรับกิจการโรงแรมของโจทก์ ส่วนจําเลยทั้งสามเป็นเจ้าของตึกแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดิน ข้างเคียงได้ติดตั้งหลังคากันสาดรุกลํ้าเข้ามาในที่ดินที่โจทก์เช่า โจทก์ไม่สามารถใช้หรือได้รับประโยชน์จาก ที่ดินดังกล่าวได้โดยสะดวก ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการ ใช้ท่ีดิน แม้โจทก์จะเป็นเพียงผู้เช่าที่ดิน แต่การเช่าดังกล่าวก็เพื่อประโยชน์ในกิจการโรงแรมของโจทก์ เมื่อ โจทก์เป็นเจ้าของโรงแรมอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเดือดร้อนรําคาญเป็นพิเศษจากการกระทําของ จําเลยทั้งสาม จึงย่อมมีอํานาจฟ้องให้ขจัดความเดือดร้อนนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และมาตรา 1337 แม้ว่าจําเลยทั้งสามจะติดตั้งหลังคาตึกแถวก่อนที่โจทก์จะทําสัญญาเช่าที่ดิน ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียสิทธิดังกล่าวไปไม่ โจทก์มีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความ เดือดร้อนให้สิ้นไปโดยฟ้องจําเลยทั้งสามให้รื้อถอนหลังคาที่ต่อเติมออกจากตึกแถวซึ่งกีดขวางการใช้ ประโยชน์จากทด่ี นิ ทโี่ จทก์เช่าได้ 1.3 ความเสียหายเกิดจากการฝา่ ฝืนกฎหมายทปี่ ระสงคเ์ พอ่ื จะปกป้องบุคคลอน่ื ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 “ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับ แห่งกฎหมายใดอันมีท่ีประสงค์เพ่ือจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดทําการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ ก่อนว่าผนู้ ัน้ เป็นผผู้ ิด” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 เป็น “บทสันนิษฐาน” ของกฎหมายละเมิด ว่าผู้ใดเป็นผู้ผิด หากผู้นั้นกระทําการอันฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอ่ืน แล้ว บุคคลอื่นได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด เช่นว่า นี้กฎหมายให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลอื่นผู้เสียหาย หรอื ผู้ได้รบั ความเสียหาย มีคาํ พพิ ากษาศาลฎกี าท่ีนา่ สนใจอาทิ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 การที่จําเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกในเวลากลางคืนบรรทุกรถ แทรกเตอร์ใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ยื่นลํ้าออกมานอกตัวรถบรรทุกจําเลยที่2จะต้องติดไฟสัญญาณ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกําหนดของกรมตํารวจแต่ จําเลยที่ 2 มิได้กระทําเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความประสงค์จะปกป้องบุคคล อื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจําเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 422 จําเลยท่ี4ขับรถในเวลากลางคืนลงเนินซึ่งความเร็วของรถต้องเพิ่มขึ้นขณะท่ีมีแสงไฟของรถแล่นสวนมาเห็น ได้ไกลจําเลยที่4จะต้องระวังเพิ่มขึ้นโดยลดความเร็วแต่จําเลยท่ี4ยังขับต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุ ชนกับใบมีดรถแทรกเตอร์ที่จําเลยที่ 2 ขับมาจึงเป็นความประมาทของจําเลยที่4ด้วย ค่าเสียหายจากการ
54 ปีดเิ ทพ อยยู่ นื ยง กระทําละเมิดในกรณีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและทุพพลภาพได้แก่ค่ารักษาพยาบาลค่าขาเทียมค่า เสียความสามารถในการประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตตามมาตรา 444และค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามมาตรา 446 วรรคหนึ่งได้แก่ค่าที่ต้องทุพพลภาพพิการตลอด ชีวิตต้องทรมานร่างกายและจิตใจนอกจากนี้หากทรัพย์สินหายจากการกระทําละเมิดก็มีสิทธิได้รับชดใช้อีก ต่างหาก จําเลยที่ 2 และที่ 4 ต่างฝ่ายต่างทําละเมิดโดยมิได้ร่วมกันแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหม ทดแทนทั้งหมดแกโ่ จทกค์ งรบั ผดิ เฉพาะสว่ นของตนเทา่ นน้ั คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2542 จําเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกซึ่งเพลาขาดไว้ที่ไหล่ถนน โดยมี ส่วนท้ายของรถลํ้าเข้าไปในช่องทางจราจรประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วจําเลยที่ 1 ออกไปโทรศัพท์แจ้ง จําเลยที่ 2 โดยจําเลยที่ 1 ไม่ได้ให้สัญญาณใด ๆ ว่ามีรถจอดลํ้าอยู่บนถนนดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ให้พ้นภยันตรายจากสิ่งกีดขวางบนถนน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายชน ท้ายรถบรรทุกคันดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น จําเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดตาม ประมวล กฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา 422 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2546 เมื่อจําเลยที่ 1 ชําระบัญชีแล้ว จําเลยที่ 1 ยังมีเงินหรือ ทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ แต่จําเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชําระบัญชี ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจําเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรต่อ โจทก์ แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้เงินให้แก่เจ้าหน้ี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 หรือ วางเงินเท่าจํานวนหนี้นั้นตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คน ใดที่มิได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1264 จึงถือได้ว่าจําเลยที่ 2 ได้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชําระบัญชีของจําเลยที่ 1 เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 จําเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใน หน้ีค่าภาษีอากรของจาํ เลยท่ี 1 ในวงเงนิ ไมเ่ กินทีจ่ าํ เลยที่ 1 มเี หลอื อยู่ในวันเลกิ กิจการ 1.4 หมน่ิ ประมาทในทางแพง่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคแรก “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืน ต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นท่ี เสียหายแก่ทางทํามาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดย ประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่เขาเพื่อ ความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อ ความนั้นไม่จริง แตห่ ากควรจะรู้ได้’’
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 55 มาตรานี้ เป็นเรื่อง “หมิ่นประมาทในทางแพ่ง” โดยตัวผู้กระทําไปกระทําการหมิ่นประมาท ผู้อื่น ทําให้ผู้อื่นถูกดูหมิ่น เกลียดชังหรือเสียชื่อเสียง โดยข้อความที่หมิ่นประมาทต้องเป็นข้อความอันฝ่าฝืน ต่อความเป็นจริงหรือเป็นข้อความอันเป็นเท็จ ผลของการหมิ่นประมาทในทางแพ่งนั้นก็คือผู้กระทําไป กระทําการหมิ่นประมาทจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดจากการ หมิ่นประมาท แต่หากเป็นข้อความที่ไม่เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง ก็ย่อมไม่เป็นหมิ่นประมาท ในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา 423 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2539 คาเฟอีนเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายไม่ว่าจะผสมอยู่ ในตํารับยาใด ก็ไม่สมควรที่จะปล่อยใหป้ ระชาชนซื้อหารับประทานเองตามใจชอบ การที่จําเลยที่ 3 ลงพิมพ์ ข้อความด้วยว่า เจ้าตํารับผลิตยามัจจุราชถามหาก็ดี เจ้าตํารับยาพยายมก็ดีแต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้ว คงมีความหมายแต่เพียงว่ายาดังกล่าวเป็นยาอันตรายต่อร่างกายและอาจถึงแก่ชีวิตได้ หาใช่มีความหมายว่า รับประทานแล้วจะเกิดผลให้ต้องตายในทันที ไม่แต่เป็นการสื่อความหมายให้ประชาชนทราบว่ามีความเสี่ยง ต่อภัยอนั ตรายทีอ่ าจไดร้ บั จากการบริโภคยาสองชนิดดังกลา่ วท่ีมสี ่วนผสมของคาเฟอนี อยดู่ ว้ ยเท่านั้น โจทก์ได้บรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับยาโคบาลเคคินว่าเป็นยาบํารุงร่างกาย ส่วนยาโคบาล บี ดับบลิว ว่าเป็นยาช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบการหายใจ กับมีภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนอง ติดอยู่ที่แผงยาด้วย และโจทก์ประสงค์จะใช้ภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย ก็ตาม การที่จําเลยที่ 3 ใช้ข้อความว่า \"เป็นยาปลุกคึกน้องใหม่\" กับยาของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ ว่าหากบริโภคยาของโจทก์แล้วร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่าคึกคะนอง ยังไม่มีความหมายชัดเจนพอให้ ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นยาปลุกกําหนัดทางเพศสําหรับข้อความที่ว่า \"ยังถูกเพ่งเล็งว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าเทียม\" เมื่อจําเลยที่ 3ได้กล่าวเป็นทํานองยกขึ้นเปรียบเทียบและมิได้เป็นการกล่าวยืนยันว่ายาของโจทก์เป็นยาม้า แตอ่ ยา่ งใด ดังน้ี ขอ้ ความทจ่ี ําเลยที่ 3 ลงพมิ พ์ไปนนั้ ไมเ่ ป็นขอ้ ความอันฝ่าฝืนตอ่ ความเป็นจรงิ จึงไม่เปน็ การ ละเมดิ ตอ่ โจทก์ (ก) “ผู้ใด” ตามมาตรา 423 อาจเป็นได้ท้งั บุคคลธรรมดาหรอื นติ ิบุคคล คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 21420/2556 ข้อเท็จจริงที่จะทําให้การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย เป็นการทําละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนก็คือการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายนั้นฝ่าฝืนต่อความจริง หากการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายความ จริงก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทําละเมิด การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. ประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่อง แล้ว ร. ในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อ. ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และหม่อม ราชวงศ์ จ. ในฐานะปลัดกระทรวงการคลัง ร่วมกันแถลงข่าว ณ ทําเนียบรัฐบาล เผยแพร่รายชื่อบริษัท
56 ปีดิเทพ อยู่ยืนยง เงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์รวม 10 บริษัท โดยมีชื่อของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. รวมอยู่ด้วย ซึ่งการแถลงข่าวของบุคคลดังกล่าวเป็นการแถลงต่อสาธารณชนตามปกติวิสัยเพื่อยุติกระแส ความตื่นตระหนกต่อความมั่นคงทางการเงินของประเทศตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 57 วรรคหนึ่ง ดังนี้ คําแถลงข่าวของบุคคล ดังกล่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจําเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อ ความจริง การการะทําของบุคคลดังกล่าวจึงไม่เป็นการทําละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จําเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับ ผิดใชค้ ่าสินไหมทดแทนใหแ้ ก่โจทก์ทง้ั สอง (ข) “กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย” ได้แก่ การกระทําการใด ๆ เพื่อแสดงให้บุคคลที่สามทราบ หรือเข้าใจความหมายใน “กล่าว” คือ พูดต่อบุคคลที่สาม ในส่วน “ไขข่าว” คือ กระจายข่าวจากบุคคลอ่ืน มคี าํ พพิ ากษาฎกี าทนี่ ่าสนใจดังตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2525 จําเลยทั้งหกร่วมกันนําเรื่องราวชีวิตจริงของโจทก์ที่ 1 มา แสดงละครจีนหรืองิ้ว โดยบิดเบือนให้เห็นว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาน้อยมีนิสัยไม่ดี ชอบอิจฉาริษยาและก่อ เรื่องวุ่นวายขึ้นในครอบครัวจนเป็นเหตุให้สามีถูกบุตรสาวใช้ปืนยิงถึงแก่ความตาย ทําให้โจทก์ที่ 1 เสีย ชื่อเสียงอาจถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ การกระทําของจําเลยทั้งหกจึงเป็นการร่วมกันทําละเมิดต่อโจทก์ ท่ี 1 คําพิพากษาฎีกาที่ 891/2557 คํากล่าวของจําเลยที่ 1 ตามคําฟ้องที่ว่า \"พวกมันมีเหี้ย 7 ตัว\" หรือ \"มันเป็นสามานย์\" แม้เป็นการกล่าวกระทบถึงโจทก์ทั้งเจ็ด แต่ก็มิใช่การนําความเท็จหรือข้อความที่ไม่ เป็นความจริงเกี่ยวกับตัวโจทก์ทั้งเจ็ดมากล่าว หากแต่เป็นการด่าโจทก์ทั้งเจ็ดด้วยความรู้สึกเกลียดชังว่า โจทก์ท้ังเจ็ดเป็นคนไม่ดี โดยเปรียบเหมือนสัตว์ซึ่งไม่ใช่เป็นการนําข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมากล่าว จําเลยที่ 1 จึงไม่ได้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 423 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2526 การที่หนังสือพิมพ์เสนอข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ว่า ..... โจทก์ประพฤติปฏิบัติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม ......โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มี นิสัยชอบใช้อํานาจบาตรใหญ่ ......ฯลฯ.....นั้น หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็น ธรรมอันเปน็ วสิ ยั ของประชาชนย่อมกระทําไม่ เมอ่ื ขอ้ ความนน้ั ไมเ่ ปน็ ความจรงิ ยอ่ มเปน็ การละเมดิ ตอ่ โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 และการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่า ฝืนต่อความจริงนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แม้ผู้กล่าวหรือไขข่าวมิได้รู้ ว่าข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรรู้ได้ก็ต้องรับผิด แม้มูลกรณีเดียวกันนี้ศาลในคดีส่วนอาญาจะได้พิพากษา ให้จําเลยโฆษณาคําพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้วก็ตาม การที่ศาลในคดีส่วนแพ่งยังพิพากษาให้จําเลย
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 57 โฆษณาคําพิพากษาในหนังสือพิมพ์อีกด้วยนั้น ก็เป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447 หาใช่เป็นการลงโทษจําเลยสองครั้งในความผิดเดียวกันไม่แต่เม่ือ จําเลยได้โฆษณาคําพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้ว ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์ กลับคืนดี จึงไม่จําเป็นที่จะต้องโฆษณาต่อไปอีก จําเลยเป็นบรรณาธิการผู้พมิ พ์ผู้โฆษณา แม้จะมิใช่เจ้าของ หนังสือพิมพ์และมิได้เป็นผู้เขียนหรือมีส่วนรู้เห็นในการเขียนข้อความอันเป็นละเมิดก็ตาม จําเลยก็ต้อง รับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนําลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมดเพราะตนเป็น ผู้จัดการไขข่าวใหแ้ พรห่ ลาย (ค) “ข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง” ได้แก่ ข้อความท่ี “ไม่ตรงต่อความเป็นจริง” อาจไม่ ตรงต่อความเป็นจริง “ทั้งหมด” หรือเพียง “บางส่วน” แต่ถ้าข้อความที่กล่าวนั้นตรงต่อความเป็นจริงแล้ว กย็ ่อมไม่ถอื เปน็ ข้อความอนั ฝา่ ฝนื ต่อความเปน็ จริง มคี ําพพิ ากษาฎกี าที่น่าสนใจดงั ตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2551 โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่า จําเลยทั้งสามลง พิมพ์ข้อความเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ของจําเลยที่ 1 อันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงและมิใช่เป็นการติชมด้วย ความเป็นธรรมเป็นละเมิดต่อโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางทํามาหาได้และทาง เจริญในกิจการของโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ ส่วนการคิดคํานวณ ค่าเสียหายอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนําสืบในชั้นพิจารณาได้ มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งขอ้ หาซ่ึงจะตอ้ งบรรยายมาในคําฟอ้ ง คําฟ้องของโจทก์ในส่วนนจี้ ึงไม่เคลือบคลมุ จําเลยที่ 2 เขียนข่าวลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจสืบเนื่องจาก ว. เพื่อนของจําเลยที่ 2 มา แจ้งให้ทราบว่าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของโจทก์ 1 คืน เสียค่ารักษาพยาบาลประมาณ 4,000 บาท แพงกว่าที่โรงพยาบาลประมาณไว้ 3,000 บาท แต่จําเลยที่ 2 ลงข่าวมีข้อความที่หมิ่นประมาท โจทก์อ่านแล้วเป็นที่เข้าใจว่าโรงพยาบาลศรีสยามได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตว์ แพทย์ของโรงพยาบาลเป็นโจรใน เครื่องแบบสีขาว โรงพยาบาลเป็นโรงทรมานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ซึ่งไม่ได้เป็นข้อความที่เกี่ยวกับ โรงพยาบาลคิดค่ารักษาพยาบาลแพงเกินกว่าความเป็นจริงตามที่จําเลยที่ 2 รับทราบมา จึงไม่ใช่ข้อความที่ ติชมด้วยความสุจริตเป็นธรรมเพื่อปกปักรักษาประโยชน์สังคมโดยส่วนรวม การที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ลงพิมพ์โฆษณาต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นท่ี เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณชิ ย์ มาตรา 423 จําเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตน คัดเลือกนํามาลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด จะอ้างว่าโดยปกติตนจะตรวจข่าวในกรอบพาดหัวหน้า
58 ปีดิเทพ อยยู่ นื ยง 1 เป็นหลัก ข่าวในส่วนปลีกย่อยจะไม่ให้ความสนใจนั้นไม่ได้ เมื่อข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ลงพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็จะต้องรับผิดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้ แพร่หลาย ส่วนจําเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจําเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในการทําละเมิดของจําเลยท่ี 2 และที่ 3 ในทางการท่จี ้างตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา 425 ด้วย คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2539 โจทก์ได้บรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับยาโคบาลเคคินว่าเป็น ยาบํารุงร่างกาย ส่วนยาโคบาล บี ดับบลิว ว่าเป็นยาช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและระบบการ หายใจ กับมีภาพโคบาลขี่ม้าคึกคะนองติดอยู่ที่แผงยาด้วย และโจทก์ประสงค์จะใช้ภาพโคบาลขี่ม้าคึก คะนองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยก็ตาม การที่จําเลยที่ 3 ใช้ข้อความว่า \"เป็นยาปลุกคึกน้องใหม่\" กับยาของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากบริโภคยาของโจทก์แล้วร่างกายแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า คึกคะนอง ยังไม่มีความหมายชัดเจนพอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นยาปลุกกําหนัดทางเพศสําหรับข้อความที่ว่า \"ยังถูกเพ่งเล็งว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าเทียม\" เมื่อจําเลยที่ 3ได้กล่าวเป็นทํานองยกขึ้นเปรียบเทียบและมิได้ เป็นการกล่าวยืนยันว่ายาของโจทก์เป็นยาม้าแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความที่จําเลยที่ 3 ลงพิมพ์ไปนั้นไม่เป็น ข้อความอนั ฝ่าฝนื ตอ่ ความเปน็ จริง จึงไม่เปน็ การละเมดิ ต่อโจทก์ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10448/2553 ข้อความทั้งหมดตามบทความสรุปว่า โจทก์ในฐานะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่กํากับดูแลกรมศาสนา ทํางานไม่เป็น ไม่สามารถแก้ไข ปัญหาวัดพระธรรมกาย ท่าดีทีเหลว โอบอุ้มพระธัมมชโยเนื่องจากรับเงินสินบนจากพระธัมมชโย 150,000,000 บาท เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วมีลักษณะเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่า ฝืนต่อความจริง ซึ่งจําเลยทั้งสามก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่ลักษณะของการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอ ขอ้ เทจ็ จรงิ โดยสจุ รติ หรอื ตชิ มด้วยความเป็นธรรม จําเลยทั้งสามจงึ กระทาํ ละเมิดต่อโจทก์ (ง) “การกล่าวหรือไขข่าวต่อบุคคลที่สาม” ได้แก่ การกล่าวหรือไขข่าวให้บุคคลที่สามเข้าใจ ความหมายของถ้อยคําหมิ่นประมาท ไม่ว่าการกล่าวหรือไขข่าวจะเป็นการกระทําโดยผู้กระทําจงใจก็ดีหรือ ผู้กระทาํ ประมาทเลนิ เลอ่ ก็ตาม มคี ําพิพากษาฎกี าทนี่ า่ สนใจดงั ตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 8446/2538 โจทก์บรรยายฟ้องให้จําเลยรับผิดฐานละเมิดโดยยก ข้ออ้างว่า จําเลยกล่าวหรือไข่ข่าวซ่ึงข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทํามาหาได้หรือทางเจริญของโจทก์ซึ่งเป็นความรับผิดเพื่อละเมิดตามมาตรา 423 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อข้อความที่จําเลยพูดทางโทรศัพท์แก่ น. ภริยาโจทก์เป็น ความจริงการที่จําเลยกล่าวแก่ น. ซึ่งมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นละเมิดตามมาตรา 423 จําเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จําเลยรับผิดตามมาตรา 420 จงึ เปน็ การไมช่ อบ เพราะนอกเหนอื ไปจากท่ีปรากฏในคาํ ฟอ้ ง
คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 59 (จ) “เป็นที่เสียหาย” คือ การทําให้บุคคลอื่นถูกคลายความน่าเชื่อถือหรือรู้สึกถูกดูหมิ่น เกลียดชัง รวมไปถงึ บุคคลทว่ั ไปบังเกดิ ความกลัวบุคคลทีถ่ กู หมิ่นประมาท ในสว่ นความเสยี หายจากการหม่ินประมาทในทางแพง่ แบ่งได้เปน็ 2 ประเภทด้วยกนั ไดแ้ ก่ “เปน็ ทเ่ี สยี หายแกช่ อ่ื เสียงหรือเกยี รติคณุ ” มคี าํ พิพากษาฎกี าที่นา่ สนใจดงั ตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2558 แมจ้ าํ เลยทง้ั สองจะเปน็ สอ่ื มวลชน มเี สรภี าพในการแสดง ความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทํา การใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่จําเลยทั้ง สองนําข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เคยนําเสนอภาพและข่าวไปก่อน หน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซํ้าโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กําลังมี เพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทําที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อ สิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ต่อ พนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทําในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือวา่ โจทก์ยินยอมเปิดเผย ชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ แม้โจทก์จะเป็นนักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ แต่ก็ ย่อมมีสิทธิของความเป็นส่วนตัว มิใช่ว่าเมื่อเป็นนักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะแล้วจะทําให้สิทธิในความ เป็นส่วนตัวต้องสูญสิ้นไปทั้งหมด การกระทําของจําเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของ โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่ง ข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จําเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหาย แก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทํามาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตาม มาตรา 423 ได้ โดยจําเลยทั้งสองต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น และแม้จะมีบุคคลอื่นกระทําละเมิด ด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้กระทําละเมิดรายนั้น ๆ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จําเลยทั้งสองจะยกขึ้นอ้าง เพื่อให้ศาลปรับลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดลง แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 จะบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้ถูกกระทําละเมิด สามารถยกขึ้นเพ่ือใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติในทํานองเดียวกันนี้ก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าจําเลยทั้งสองต้องรับผิด ต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมาย ทกี่ าํ หนดสทิ ธิ หนา้ ท่ี และความรบั ผิดชอบระหวา่ งบคุ คลไวเ้ ป็นการเฉพาะ “เป็นทีเ่ สียหายแกท่ างทํามาหาได้หรือทางเจรญิ ” มีคาํ พพิ ากษาฎกี าทีน่ ่าสนใจดงั ตอ่ ไปนี้
60 ปีดิเทพ อยูย่ นื ยง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2478 เข้าหุ้นส่วนกันรับเป็นตัวแทนจําหน่ายนํ้ามัน เม่ือบริษัท นํ้ามันบอกเลิกไม่ให้หุ้นส่วนนั้นเป็นตัวแทนอีกต่อไป หาเป็นเหตุทําให้หุ้นส่วนนั้นเลิกจากกันตาม มาตรา 1055(3) ไม่ลงประกาศหนังสือพิมพ์ว่าหุ้นส่วนเลิกจากกันแล้วและว่าหุ้นส่วนผู้หนึ่งไม่ได้เป็นหุ้นส่วนในห้าง หุ้นส่วนนั้นต่อไปแล้ว แต่ความจริงหุ้นส่วนนั้นยังหาได้เลิกจากกันไม่ ผู้ประกาศยอมต้องรับผิดในความ เสยี หายฐานละเมดิ ตาม มาตรา 423 (ฉ) “ควรจะรู้ว่าไม่จริง” ได้แก่ ตัวผู้กระทําการหมิ่นประมาทไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงใจ ถ้อยคําหมิ่นประมาทนั้นให้ดีเสียก่อน จะรู้ได้ว่าถ้อยคําหมิ่นประมาทนั้นจริงหรือไม่จริง มีคําพิพากษาฎีกาที่ น่าสนใจดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2528 การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อ ความจริงอันเป็นการทําละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 นั้นผู้กระทําจะต้องรู้ หรือควรจะรู้ได้ว่าไม่จริงจําเลยที่ 3 ลงพิมพ์โฆษณาข้อความในหนังสือพิมพ์เพื่อให้นักข่าวของตนซึ่งถูกฆ่า ตายได้รับความเป็นธรรมถึงหากข่าวนั้นจะไม่เป็นความจริง โดยมีผู้แอบอ้างชื่อโจทก์นําสร้อยไปมอบให้ ภริยารัฐมนตรีเพื่อวิ่งเต้นล้มคดีที่โจทก์ตกเป็นผู้ต้องหาจ้างวานฆ่านักข่าวแต่เมื่อมีเหตุที่จําเลยที่ 3 จะ คาดคดิ เชน่ นน้ั ไดจ้ าํ เลยท่ี 3 ก็ไม่อาจจะรู้ได้ว่าไม่จริงการกระทําของจําเลยท่ี3 จึงไม่เป็นการทําละเมิด การที่ จําเลยที่ 3 ลงพิมพ์โฆษณาข้อความทํานองว่าโจทก์เป็นผู้กระทําความผิด นําความชั่วและเสื่อมเสียมาสู่ จังหวัดตราดจนเมื่อโจทก์ถูกส่งตัวเข้าไปคุมขังในเรือนจํา จึงมีฝนตกกระหนํ่าลงมาอย่างรุนแรงเป็นการชําระ ล้างความชั่วให้หมดสิ้นไป โดยที่โจทก์มิได้เป็นผู้ใช้จ้างวานฆ่านักข่าวของหนังสือพิมพ์นั้นย่อมเป็นการไขข่าว แพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียหรือเกียรติคุณของโจทก์แม้ หนังสือพิมพ์จะลงพิมพ์โฆษณาข้อความตามที่ได้รับฟังมาจากบุคคลอื่นเมื่อข้อความนั้นฝ่าฝืนต่อความจริง การกล่าวหรือไขข่าวซํ้าก็เป็นการทําละเมิดทั้งข้อความที่จําเลยที่ 3 นําลงพิมพ์โฆษณาหาใช่เป็นการป้องกัน ตนหรือส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อม กระทําไม่แม้โจทก์จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้จ้างวานฆ่านักข่าวของหนังสือพิมพ์และถูกส่งตัวเข้าไปคุมขังใน เรือนจําจําเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิที่จะนําเอาคําวิพากษ์วิจารณ์ของชาวบ้านมาลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เป็น ผู้กระทําความผิดก่อนที่ศาลจะมีคําพิพากษาการที่จําเลยที่ 3 ลงพิมพ์โฆษณาข้อความซึ่งควรจะรู้ได้ว่าไม่ จรงิ จึงเป็นการทําละเมดิ (ช) “การใช้ค่าสินไหมทดแทน” คือ การใช้เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดข้ึน แก่ชอ่ื เสียงหรือเกยี รติคณุ หรอื ทางทํามาหาได้หรือทางเจรญิ แกผ่ ู้อื่น มคี ําพิพากษาฎีกาทีน่ า่ สนใจดังต่อไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2539 การละเมิดชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตรา 423 และ 447 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กําหนดให้ผู้กระทําละเมิดชดใช้
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 61 ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น และศาลอาจสั่งให้ผู้กระทําละเมิด จัดการตามควรเพื่อให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีเท่านั้นที่โจทก์ขอให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจํากัด จําเลยที่ 1 เป็นกรณีที่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ให้ความคุ้มครองไว้ ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ถอน คําขอดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจํากัดกลุ่มสมาชิก กนช. (ศูนย์ ประสานงานทหารกองหนุนแห่งชาติ (ศูนย์ กนช.กอ.รมน.)) มัคคุเทศก์จําเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษา ยนื จึงไมช่ อบศาลฎีกาชอบท่ีจะแกไ้ ขเสียใหถ้ กู ตอ้ งได้ (ซ) “ข้อยกเว้นความรบั ผดิ ” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคสองได้วางหลักเกณฑ์ไว้ “ผู้ใดส่งข่าว สาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเอง หรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้น ด้วยแล้ว ท่านว่า เพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทําให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่” มีคําพิพากษา ฎีกาท่ีน่าสนใจดังต่อไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2531 โจทก์มีส่วนทําให้ข้อเทจ็ จริงในกรณีพิพาทระหว่างจําเลย กับ ห. บิดเบือน จนเป็นเหตุให้จําเลยถูกผู้บังคับบัญชาลงโทษโดยไม่เป็นธรรม จําเลยย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่า เหตุที่จําเลยไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นเพราะการกระทําของโจทก์ การที่จําเลยอุทธรณ์คําส่ัง คณะกรรมการสอบสวนโดยกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ดังข้อความตามฟ้อง จึงเป็นการไขข่าวซึ่งมีส่วนเป็นความ จริงและจําเลยกระทําการดังกล่าวโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนและส่วนได้เสียของตนตามคลอง ธรรมไมเ่ ป็นละเมิดตอ่ โจทก์ (ฌ) ความแตกต่างระหว่าง “หมิ่นประมาทในทางแพ่ง” แตกต่างกับ “หมิ่นประมาทในทาง อาญา” ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวาง โทษจาํ คุกไมเ่ กนิ หนึ่งปี หรือปรบั ไม่เกนิ สองหมื่นบาท หรอื ทง้ั จาํ ทง้ั ปรบั ” “หมิ่นประมาทในทางอาญา” ผู้กระทําต้องกระทําโดย “เจตนา” เท่านั้น ในส่วน“หมิ่น ประมาทในทางแพ่ง” ตัวผู้กระทาํ อาจกระทําโดย “จงใจ” หรือ “ประมาทเลนิ เล่อ” ก็เปน็ ได้ “หมิ่นประมาทในทางอาญา” ย่อมทําให้เกิดความเสียหายต่อ “ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ” ถูกดู หมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ส่วน “หมิ่นประมาทในทางแพ่ง” ย่อมทําให้เกิดความเสียหายต่อ “ชื่อเสียงหรือ เกียรตคิ ณุ ” หรือ “ทางทาํ มาหาไดห้ รอื ทางเจริญ”
62 ปีดิเทพ อยู่ยนื ยง “หมิ่นประมาทในทางอาญา” ข้อความที่หมิ่นประมาทอาจฝ่าฝืนต่อความจริงหรืออาจไม่ฝ่า ฝืนต่อความจริงก็ได้ ในส่วน “หมิ่นประมาทในทางแพ่ง” ข้อความที่หมิ่นประมาทต้องฝ่าฝืนต่อความเป็น จริงเท่าน้ัน
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมิด 63 บทท่ี 2 การพิพากษาสว่ นคดลี ะเมิดในทางแพ่ง ไมต่ ้องนําองค์ประกอบกฎหมายอาญามาวนิ ิจฉยั ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 “ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อ ละเมิดและกําหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จําต้องดําเนินตามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จําต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทําผิดต้องคําพิพากษา ลงโทษทางอาญาหรอื ไม”่ การพิพากษาคดีเกี่ยวกับความรับผิดเพื่อละเมิดในทางแพ่งและการกําหนดค่าสินไหมทดแทน ศาลไม่จําต้องดําเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญา (ศาลไม่จําต้องนําเอาองค์ประกอบของ กฎหมายอาญามาวินิจฉัยในเรื่องความรับผิดเพื่อละเมิดในทางแพ่ง) อีกทั้งไม่จําต้องพิเคราะห์ถึงการที่ ผ้กู ระทาํ ละเมดิ ตอ้ งคาํ พิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ มีคาํ พิพากษาศาลฎกี าท่ีน่าสนใจอาทิ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2524 ในคดีส่วนแพ่ง ปัญหาที่ว่าคนขับรถของฝ่ายใดประมาท นั้นคู่ความตกลงกันให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญา หากศาลสูงพิจารณาคดีถึง ที่สุดว่า จําเลยที่ 1 คนขับรถของจําเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิด จําเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ต่อมาศาล อุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดว่าทั้งสองฝ่ายมีความผิดและลงโทษจําคุก แม้คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าเคย ขับรถทั้งสองฝ่ายมีความผิด ก็ยังแสดงว่า จําเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดด้วยอยู่นั่นเอง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่คู่ความตกลงกันแต่ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 บัญญัติไว้ ว่าในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกําหนดค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่ง ต้องเป็นไป ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่จําต้องคํานึงถึงว่าจําเลยต้อง คําพิพากษาว่าได้กระทําความผิดทางอาญาหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 และคนขับรถของ โจทก์ที่ 2 ต่างมีส่วนกระทําความผิดกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 และ มาตรา 223 ซึ่งศาลมีอํานาจกําหนดค่าสินไหมทดแทนสูงตํ่าตามส่วน แห่งความยิ่งหย่อนของผู้มีส่วน ก่อให้เกิดความเสียหายโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ แม้ในคดีส่วนอาญาพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยท่ี
64 ปีดิเทพ อยูย่ นื ยง 1และคนขับรถของโจทก์ที่ 2 เท่ากัน ก็เป็นการใช้ดุลพินิจกําหนดโทษในความผิดทางอาญา จะถือเป็นหลัก ในการวินจิ ฉัยความรับผิดทางแพ่งวา่ ทงั้ สองประมาทเท่ากันหาได้ไม่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2528 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 424 บัญญัติ ว่า ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด และกําหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลไม่จําต้องดําเนิน ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญา อันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษและไม่จําต้องพิเคราะห์ถึงการท่ี ผู้กระทําละเมิดต้องคําพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ฉะนั้นการที่ศาลเคยพิพากษาในคดีอาญาว่า จําเลย ไม่มีเจตนาลักทรัพย์และ ยกฟ้องโจทก์ ก็ไม่จําต้อง ฟังว่าจําเลยไม่ได้กระทําละเมิดตอ่ โจทก์เพราะจําเลยอาจ กระทําผิดกฎหมายอย่างอื่นเช่นกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่บัญญัติถึงอํานาจหน้าที่ในการยึดทรัพย์ ของลูกหนี้ไวแ้ ล้วก็ ได้ จึงตอ้ งฟังขอ้ เทจ็ จรงิ ต่อไปวา่ จาํ เลยกระทาํ ละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เนื้อความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 สอดคล้องกับเนื้อความของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 ที่ว่า “คําพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าจําเลยต้องคํา พิพากษาว่าไดก้ ระทาํ ความผิดหรือไม่” อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า “ในการพิพากษาคดสี ่วนแพ่ง ศาลจําตอ้ งถอื ขอ้ เท็จจริงตามทีป่ รากฏในคาํ พิพากษาคดสี ่วนอาญา” กลา่ วอกี นัยหนึ่งศาลจะต้องยึดถือข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นสําคัญและศาล ต้องฝงั ยุตเิ ม่ือมีคาํ พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่ใชป้ ระเด็นปลีกยอ่ ย (คําพพิ ากษาศาลฎกี าท่ี 659/2540) ในทางทฤษฎีนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และมาตรา 47 มีความ แตกต่างกัน นั้นก็คือ มาตรา 46 วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่าในการฟังข้อเท็จจริงนั้น ศาลจําต้องถือตาม ข้อเท็จจริงที่ฟังได้เป็นยุติในคดีอาญา แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 วาง หลักเกณฑ์เอาไว้ว่าในการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับ ผดิ ของบุคคลในทางแพ่ง มีคําพพิ ากษาศาลฎกี าทน่ี ่าสนใจไดแ้ ก่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2525 มูลละเมิดต่อโจทก์ในคดีนี้เป็นการกระทําอันเดียวกับที่ อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําให้เกิดเพลิงไหม้บ้านของโจทก์โดยประมาท ซึ่งในคดีอาญา ดังกล่าวศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่เห็นจําเลยกระทําผิดพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอ ฟังที่จะลงโทษจําเลยได้ คดีถึงที่สุด ดังนั้นในการพิพากษาคดีนี้ ศาลจําต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคํา พิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวว่าจําเลยมิได้กระทําให้เกิดเพลิงไหม้บ้านของโจทก์โดยประมาทตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จาํ เลยจงึ ไม่ได้กระทําละเมดิ ต่อโจทก์
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 65 ในคดีอาญาที่จําเลยถูกฟ้องในข้อหากระทําให้เกิดเพลิงไหม้บ้านโจทก์โดยประมาทนั้น ถือได้ วา่ โจทกเ์ ปน็ ผ้เู สียหายใน คดีอาญาดงั กลา่ วน้ัน ขอ้ เท็จจริงในคดอี าญาจึงต้องผูกพันโจทกใ์ นคดีน้ดี ว้ ย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 เป็นบทบัญญัติถึงการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ในความรับผิดเรื่องละเมิดและกําหนดค่าสินไหมทดแทนว่าจะต้องดําเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน กฎหมายส่วนแพ่ง โดยมิต้องคํานึงถึงบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จําต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทําผิดต้องคําพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ เป็นคนละกรณีกับ ประมวลกฎหมายวิธพี ิจารณาความอาญา มาตรา 46
66 ปดี เิ ทพ อยู่ยืนยง บทท่ี 3 ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทาํ ของบุคคลอน่ื ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของบุคคลอื่น ได้แก่ ความรับผิดเพื่อละเมิดเมื่อ บุคคลใดที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวเราหรือบุคคลที่เรามีหน้าที่ดูแล ไปกระทําละเมิดจนก่อให้เกิด ความเสียหายแก่บุคคลอื่นแล้ว เช่นว่านี้กฎหมายกําหนดไว้ชัดเจนว่าให้เราต้องรับผิดเพื่อการกระทําละเมิด ของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวเราหรือบุคคลที่เรามีหน้าที่ดูแล โดยที่เราผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบุคคล ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดอย่าง “ลูกหนี้ร่วม” ผู้เสียหายอาจเลือก (ก) ฟ้องเฉพาะผู้กระทําละเมิดให้ผู้กระทํา ละเมิดรับผิดโดยตรง (ข) ฟ้องเฉพาะผู้ต้องรับผิดเพื่อการกระทําละเมิดของบุคคลอื่นเพื่อต้องรับผิดเพื่อการ กระทําละเมดิ ของบคุ คลอนื่ รบั ผิด หรือ (ค) ฟอ้ งทงั้ คู่รวมกันมาอย่างลกู หนี้ร่วม ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นความรับ ผิดเพื่อละเมิดดังนี้ (ก) ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของลูกจ้าง (มาตรา 425) (ข) ความรับ ผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําของตัวแทน (มาตรา 427) (ค) ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการ กระทําของผู้ไร้ความสามารถ (มาตรา 429) และ (ง) ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอ่ืน ซึ่งรับดูแล (มาตรา 430) แต่เฉพาะในส่วนความรับผิดของผู้ว่าจ้าง (มาตรา 428) เป็นเรื่องที่ความรับผิดของ ผู้ว่าจ้างทําของกล่าวคือผู้ว่าจ้างทําของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ บุคคลภายนอกในระหว่างทําการงานที่ว่าจ้าง ซึ่งแท้จริงแล้วมาตรา 428 ถือเป็นเรื่องของความรับผิดเพ่ือ ละเมิดอันเกิดจากการกระทําของตัวผู้ว่าจ้างทําของ ถ้าผู้ว่าจ้างทําของเป็นผู้ผิดในส่วนของการงานที่สั่งให้ ทํา เป็นผู้ผิดในคําสั่งที่ผู้ว่าจ้างได้ให้ไว้หรือเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง เช่นว่านี้แล้วผู้ว่าจ้างทําของต้อง รบั ผิดเพอื่ ละเมิดอนั เกิดจากการกระทาํ ของตัวผ้วู ่าจา้ งทาํ ของเอง 3.1 ความรบั ผิดของนายจา้ ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผล แหง่ ละเมิด ซง่ึ ลูกจา้ งไดก้ ระทําไปในทางการท่จี า้ งน้นั ” 3.1.1. ความเปน็ นายจา้ งและลูกจ้าง
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 67 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 575 ไดว้ างหลกั เกณฑ์เอาไวว้ า่ “อันวา่ จ้างแรงงาน นั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทํางานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและ นายจ้างตกลงจะให้สนิ จา้ งตลอดเวลาทีท่ าํ งานให้” เช่นนี้เอง “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 จึง หมายถึง “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” ภายใต้หลักเกณฑ์ “สัญญาจ้างแรงงาน” ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 425 องค์ประกอบที่จะพิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวเป็น “นายจ้าง” หรือไม่ ต้องพิจารณาว่า (ก) นายจ้างต้องมี “อํานาจควบคุมบังคับบัญชา” ลูกจ้าง และ (ข) นายจ้างต้อง “จ่ายสินจ้าง” ให้ลูกจ้าง จะ จ่ายเป็นรายวัน รายเดือน หรือรายปีก็ได้ รวมไปถึงนายจ้างอาจจ้ายแบบค่าจ้างเหมาก็ได้ (คําพิพากษาศาล ฎีกาที่ 722/2524) หากขาดองค์ประกอบอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ย่อมไม่ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็น “นายจ้าง” มีคาํ พิพากษาฎกี าทนี่ ่าสนใจดังต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2499 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าเกิดการละเมิดขึ้นในระหว่างท่ี เจ้าของเรือยนต์ (จําเลยที่ 1) ให้บุคคลอื่นเช่าเรือไปประกอบธุรกิจโดยที่คนประจําเรือรวมทั้งจําเลยที่ 2 ผู้ ควบคุมเรือนั้นได้รับเงินเดือนจากผู้เช่า ดังนี้ย่อมถือว่าผู้เช่าเป็นนายจ้างของ จําเลยที่ 2 หาใช่เจ้าของเรือ ยนต์ไม่. แม้ในระยะนี้จะได้มีการซ่อมเรือโดยเจ้าของเรือเป็นผู้จ่ายเงินค่าซ่อมก็ดี ก็ยังถือว่าเป็นเวลาระหว่าง เชา่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2500 แพซุงของจําเลยขาดลอยตามนํ้าที่ไหลเชี่ยว ไปกระทบ เสาเรือนโจทก์เสียหายแม้โจทก์จะไม่มีพยานสืบว่า เป็นเพราะเหตุใดแพจึงขาดจําเลยก็ต้องรับผิด เพราะเป็น หน้าที่จําเลยจะต้องระวังรักษาไม่ให้แพซุงขาดลอยไปตามกระแสนํ้าที่ไหลเชี่ยว จ้างคนดูแลรักษาแพซุง มี หนังสือสัญญารับฝากให้ค่าจ้างเฝ้าเป็นรายเดือน เป็นการจ้างแรงงาน นายจ้างต้องรับผิดในละเมิดของ ลูกจา้ ง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2522 จําเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ ได้ว่าจ้าง พ. ไปยึดรถคันดังกล่าวคืนมา พ.ได้ว่าจ้างจําเลยที่ 2 ทําการยึดอีกต่อหนึ่ง เมื่อยึดรถได้แล้วจําเลยที่ 2 ขับ รถยนต์คันดังกล่าวมาเพื่อมอบให้ พ. ระหว่างทางจําเลยท่ี 2 ขับรถโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ การที่จําเลยที่ 1 จ้าง พ.ไปยึดรถยนต์เป็นการจ้างทําของมิใช่จ้างแรงงาน เพราะเป็นการถือเอา ความสําเร็จของงานเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญา มิใช่สัญญาระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง เมื่อ พ.จ้างจําเลยท่ี 2 ไปยึดรถอีกต่อหนึ่ง จําเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อยู่ในฐานะนายจ้างและไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจําเลยที่ 2 จึงไม่ ต้องรบั ผดิ ต่อโจทกใ์ นการกระทาํ ละเมดิ ของจาํ เลยท่ี 2
68 ปีดเิ ทพ อย่ยู นื ยง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2523 จําเลยที่ 1 รับจ้างจําเลยที่ 2 และบุคคลอื่นล้างและเฝ้า รถ ซึ่งจอดอยู่ริมถนนที่จําเลยที่ 1 ปฏิบัติงานเฝ้ายามอยู่แล้ว ไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ 1 ต้องทําตามคําสั่งหรือ อยู่ในความควบคุมของจําเลยที่ 2 การจ้างเช่นนี้เป็นการจ้างทําของเพราะผู้ว่าจ้างต้องการแต่ผลสําเร็จของ งานคืนความสะอาดและความคงอยู่ของรถ ไม่ใช่จ้างแรงงาน จําเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ลูกจ้างจําเลยที่ 2 จําเลยที่ 2 ไมต่ ้องร่วมรับผดิ กับจาํ เลยท่ี 1 ในการที่จาํ เลยที่ 1 ทาํ ละเมิดต่อโจทก์ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2534 โจทก์ฟ้องว่าคนขับรถยนต์บรรทุกของจําเลยชื่อนาย สมศักดิ์ไม่ทราบนามสกุล ตามที่จําเลยให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงตัวบุคคล ตามที่จําเลยให้การถึง ซึ่งการท่ีบุคคลนั้นจะเป็นนายสมศักดิ์หรือนายคํารณและชื่อดังกล่าวจะเป็นชื่อจริง หรือไม่ก็คงหมายถึงบุคคลคนเดียวกันที่เป็นลูกจ้างขับรถให้จําเลยในทางการที่จ้างนั่นเอง ที่จําเลยอ้างว่า คนขับรถยนต์บรรทุกชื่อนายคํารณมิใช่นายสมศักดิ์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง จําเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบนั้น ฟังไม่ขึ้น โจทก์เช่ารถยนต์โดยสารที่ถูกรถยนต์บรรทุกของจําเลยชนจากบริษัท ธ. โจทก์ได้ทําการซ่อมแซม รถยนต์โดยสารตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบริษัท ธ. เจ้าของรถยนต์โดยสารแล้ว โจทก์จึงเสียหายและ ฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้กับค่าขาดรายได้ในระหว่างซ่อมแซมได้ แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ โดยสารก็ตาม ส่วนค่าเช่ารถยนต์โดยสารที่โจทก์ต้องจ่ายแก่บริษัท ธ. นั้นเป็นเงินลงทุนของโจทก์ที่จะทําให้ เกิดรายได้ขึ้นซึ่งไม่ว่าจะมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นหรือไม่ โจทก์ก็ต้องจ่ายอยู่แล้ว ค่าเช่ารถยนต์โดยสารจึงไม่ใช่ ความเสียหายที่เกิดจากการกระทําละเมิดของลูกจ้างจําเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จําเลยชดใช้ค่าเช่ารถยนต์ โดยสารในระหว่างการซ่อมแซมแก่โจทก์ 3.1.2 นายจ้างต้องร่วมรบั ผดิ กบั ลูกจ้างในผลแห่งละเมิด “นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด” ได้แก่ นายจ้างต้องรับผิดเท่ากับลูกจ้าง และนายจ้างไมต่ อ้ งรับผิดเกนิ ไปกว่าทล่ี กู จ้างจะต้องรบั ผดิ มคี ําพพิ ากษาฎีกาทนี่ า่ สนใจดงั ต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2524 (ประชุมใหญ่) เมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฟ้องฎีกา สําหรับลูกจ้างแล้วคดีเกี่ยวกับลูกจ้างเป็นอันถึงที่สุดตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าให้ลูกจ้างร่วมกับ นายจา้ งชําระเงินแก่โจทก์จํานวนหนึ่งอันเป็นการชําระหนี้ที่ไม่อาจแบง่ แยกได้ แม้โจทก์ยังคงฎีกาให้นายจ้าง รับผิดเพิ่มขึ้นนายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างเท่ากับจํานวนเงินที่ต้องชําระตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ เท่าน้นั นายจา้ งไม่ต้องรบั ผิดเกนิ ไปกว่าท่ีลูกจา้ งจะตอ้ งรับผิด 3.1.3 ลกู จ้างไดก้ ระทาํ ไปในทางการที่จา้ ง “ลูกจ้างได้กระทําไปในทางการที่จ้าง” ได้แก่ การกระทําของลูกจ้างตามตําแหน่งหน้าที่ท่ี ลูกจ้างไดร้ บั มอบหมายจากนายจา้ ง มคี ําพพิ ากษาฎีกาที่นา่ สนใจดงั ต่อไปน้ี
คาํ อธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 69 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2524 จําเลยที่ 3 เข้าหุ้นกับจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลดําเนิน กิจการเหมืองแร่จําเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจําเลยที่ 2 ทําหน้าที่เป็นยามรักษาทรัพย์สินของเหมืองแร่ จึงถือได้ ว่าจําเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 3 ด้วย การที่จําเลยที่ 3 มอบอาวุธปืนให้จําเลยที่ 1 ไปใช้ในการอยู่ ยามและจําเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงโจทก์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของจําเลยที่ 2 และที่ 3 ที่อยู่ ในเหมือง ถือว่าเป็นการกระทําในทางการที่จ้างจําเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่า สนิ ไหมทดแทนแกโ่ จทกต์ ามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์มาตรา 425 3.1.4 สิทธิไลเ่ บ้ีย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 ได้วางหลักเกณฑ์เรื่อง “สิทธิไล่เบี้ย” เอาไว้ ว่า “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทํานั้น ชอบที่จะได้ ชดใช้จากลูกจ้างนั้น” กล่าวอีกนัยหนึ่งนายจ้างสามารถไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้เพียงใดนั้น นายจ้างสามารถ ไล่เบี้ยได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่นายจ้างต้องรับผิดชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายจากการที่ลูกจ้างกระทําละเมิด ไปในทางการท่จี ้างเทา่ น้นั ส่วน “ค่าสินไหมทดแทน” ดังกล่าวต้องเป็น “ค่าสินไหมทดแทน” ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 438 ถึง 447 ซึ่งไม่รวม “ค่าฤชาธรรมเนียม” ที่นายจ้างรับผิดชดใช้ให้กับ บคุ คลภายนอก มีคําพพิ ากษาฎีกาที่นา่ สนใจดังต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2547 จําเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ขับรถยนต์ในทางการท่ี จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนนาง ศ. ถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ตายฟ้องโจทก์แต่ผู้เดียวในฐานะ นายจ้างให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยและให้โจทก์ ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน ซึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่า สินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทํานั้นชอบที่จะได้รับชดใช้จากลูกจ้าง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกจึงชอบที่จะได้รับชดใช้จากลูกจ้าง เฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ได้ใช้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเท่านั้น สําหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ชดใช้ให้แก่ ทายาทของผู้ตายเป็นความรับผิดตามคําพิพากษา อันเกิดจากการดําเนินคดีระหว่างโจทก์กับทายาทของ ผู้ตายและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการ กระทาํ ละเมดิ ของจําเลย โจทก์ไมม่ สี ิทธิไลเ่ บีย้ ให้จาํ เลยชดใช้คา่ ฤชาธรรมเนยี มดงั กล่าว 3.2 ความรบั ผดิ ของตวั การ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 “บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ ใชบ้ งั คบั แก่ตวั การและตัวแทนดว้ ยโดยอนุโลม\"
70 ปดี ิเทพ อยยู่ ืนยง 3.2.1 บทบญั ญตั ิในมาตราท้งั สองก่อนน้นั “บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 นี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 และมาตรา 426 ซึ่งอาจกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ได้ว่า “ตัวการต้องร่วมกันรับผิดกับตัวแทนในผลแห่งละเมิด ซึ่งตัวแทนได้กระทําไปในทางการที่ตัวแทนแต่งตั้งให้ ตัวการไปติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก” (ความรับผิดของตัวการ) และ “ตัวการซึ่งได้ใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทํานั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทนนั้น” (สิทธิไล่ เบ้ยี ) 3.2.2 ท่านให้ใชบ้ งั คับแก่ตัวการและตวั แทนโดยอนโุ ลม “ทา่ นใหใ้ ชบ้ ังคับแก่ตัวการและตวั แทน” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 797 วาง หลักเกณฑ์เอาไว้ว่า “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอํานาจทํา การแทนบุคคลอีกคนหนึง่ เรยี กวา่ ตวั การ และตกลงจะทาํ การดังนน้ั อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเปน็ โดยตั้งแตง่ แสดงออกชดั หรอื โดยปรยิ ายกย็ อ่ มได”้ จะเป็นตัวการตัวแทนกันหรือไม่นั้น จะต้องมีตัวการได้ “มอบอํานาจให้ตัวแทนไปติดต่อ สัมพันธ์กับบุคคลที่สาม” เพราะหาก “ไม่มี” การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลที่สามแล้ว ก็ย่อมถือ “ไม่ได้” ว่า บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์เป็นตัวการตัวแทนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 มี คําพพิ ากษาฎกี าท่นี า่ สนใจดังตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2532 รถแท็กซี่เป็นของจําเลยที่ 2 นํามาใช้วิ่งในนามของ สหกรณ์จําเลยที่ 3 โดยเสียค่าบํารุงเป็นรายเดือนให้จําเลยที่ 3 ทั้งมีตราของจําเลยที่ 3 อยู่ที่ประตูรถ คน ทั่วไปที่พบเห็นรถคันดังกล่าวต้องเข้าใจว่าเป็นรถของจําเลยที่ 3 เท่ากับจําเลยที่ 3 เชิดให้จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คนขับเป็นตัวแทนในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารจําเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในการทําละเมิดของจําเลยที่ 1ส่วนจําเลยที่ 2 ก็มีผลประโยชน์ร่วมกับจําเลยที่ 1 ในรถคัน ดังกล่าวถือว่าจําเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ จําเลยท่ี 2 จาํ เลยที่ 2 ต้องรว่ มรบั ผดิ กับจาํ เลยที่ 1 เช่นกัน คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2510 เจ้าของรถยนต์นํารถยนต์ไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถแล้วเจ้าของ รถยนต์วานให้ช่างซ่อมรถขับรถคันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับอู่ไปเกิดชนกับ รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายระหว่างทาง ดังนี้ ช่างซ่อมรถไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของ รถยนต์ เจ้าของรถยนต์ไมต่ อ้ งรว่ มรบั ผิดในการละเมดิ นัน้
คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 71 “ตัวแทน” ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ได้แก่ “ตัวแทนรับมอบอํานาจ ทว่ั ไป” “ตัวแทนรบั มอบอาํ นาจเฉพาะการ” “ตัวแทนโดยปริยาย” และ “ตวั แทนเชดิ ” ในส่วนของผู้เป็นลูกจ้างนั้น “ลูกจ้างอาจเป็นได้ทั้งลูกจ้างและตัวแทนในคราวเดียวกนั ” หาก ลูกจ้างกระทํากิจการงานของนายจ้างในทางการที่จ้างและกระทํากิจการงานของนายจ้างเกี่ยวกับบุคคลท่ี สาม (คําพิพากษาศาลฎีกาท่ี 1495/2498, คําพพิ ากษาศาลฎีกาที่ 2258/2527) 3.2.3 คําพิพากษาศาลฎีกาท่นี า่ สนใจเก่ียวกับกรณรี ถยนตห์ ายในหา้ งสรรพสนิ คา้ ห้างสรรพสินค้าซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้บริษัทรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นตัวแทนดูแล รักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของห้างสรรพสินค้า เมื่อเกิดรถยนต์หายใน ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้าจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งบริษัทรักษาความปลอดภัยตัวแทน ของห้างสรรพสินค้าได้กระทําไปในทางการที่มอบหมายให้ทําแทนนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 427 มีคาํ พพิ ากษาฎกี าท่ีน่าสนใจดงั ตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2542 จําเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน มี วัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชนจ์ ากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ต พลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทําสัญญาว่าจ้างจําเลยที่ 1 ให้ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 มาดูแลรักษา ความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าดังกล่าว จึงเป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และจําเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ยังทําหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไปดูแลรักษา ความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่าที่เกิดเหตุ พฤติการณ์ของบริษัท ธ. กับจําเลยที่ 2 ที่ประกอบ กิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจําเลยที่ 2 และชื่อศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคารเดียวกัน และมีพนักงาน รักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจําเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จําเลยท่ี 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มา ใช้บริการแทนจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วย การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 ไม่ ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรม รถยนต์ เป็นผลโดยตรงทําให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทํา ละเมิดต่อนาย ส. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การกระทําดังกล่าวเป็นการกระทํา ไปในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 1 ดังนั้น จําเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความ ปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ส่วนจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จําเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและ
72 ปดี เิ ทพ อย่ยู ืนยง ปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของ จําเลยที่ 2 ได้กระทําไปในทางการทีม่ อบหมายให้ทาํ แทนนน้ั ตาม ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา 427 ประกอบดว้ ยมาตรา 420 จําเลยท้ังสองจงึ ต้องรับผิดตอ่ โจทก์ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5800/2553 แม้จําเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า เทสโก้ โลตัส สาขามีนบุรี จะไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่มาจอดเพื่อใช้บริการของห้างจําเลยที่ 1 และไม่มีการเก็บค่าจอดรถก็ตาม แต่การก่อสร้างห้างจําเลยที่ 1 อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซ่ึง กําหนดให้ต้องมีที่จอดรถ 1 คัน ต่อพื้นที่ทุก ๆ 20 ตารางเมตร และจําเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจําเลยที่ 2 ดูแล รักษาความปลอดภัยของห้าง โดยต้องตรวจบัตรเมื่อจะนํารถออกให้ตรงกับทะเบียนรถ จึงเป็นการจัดที่จอด รถให้แก่ลูกค้า ตามพฤติการณ์เป็นการให้บริการอย่างหนึ่งที่มีผลต่อยอดจําหน่ายสินค้า ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่น จึงเป็นผู้ให้บริการ ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 3 และ นอกจากผู้บริโภคในคดีนี้แล้วยังมีผู้บริโภคอื่นอีกหลายรายที่นํารถไปจอดในที่จอดรถของห้างจําเลยที่ 1 แล้วสูญหายไป การดําเนินคดีย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมตาม พระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค มาตรา 39 โจทก์ย่อมมีอํานาจฟ้อง เมื่อปรากฏว่ารถที่สูญหายไปบัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้บริโภค การ ที่จําเลยที่ 3 ที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจําเลยที่ 2 ไม่ระมัดระวังในการออกบัตรจอดรถ และตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้บริโภคถูกลักไป จึงเป็นการกระทําละเมิดต่อ ผู้บริโภค ตาม ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 425 จาํ เลยท่ี 2 ท่ี 3 และท่ี 4 จงึ ต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการกระทําละเมิดดังกล่าว ทั้งจําเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จําเลยที่ 2 ดูแลรักษาความ ปลอดภัยของจําเลยที่ 1 และลูกจ้าง ตลอดทั้งทรัพย์สินอื่นซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของจําเลยที่ 1 ใน บริเวณห้างจําเลยที่ 1 ด้วย จําเลยที่ 2 ย่อมเป็นตัวแทนของจําเลยที่ 1 ที่ได้รับมอบหมายจึงต้องรักษาความ ปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคด้วย เมื่อจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทําละเมิดต่อผู้บริโภค จําเลยที่ 1 ในฐานะ ตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดท่ีตัวแทนได้กระทําไปในกิจการที่ได้รับมอบหมายให้ทําแทนน้ัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 427 3.3 ความรบั ผิดของผู้ว่าจ้าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 “ผู้ว่าจ้างทําของไม่ต้องรับผิดเพื่อความ เสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทําการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเปน็ ผู้ ผิดในส่วนการงานท่ีสั่งใหท้ าํ หรอื ในคําสง่ั ทีต่ นใหไ้ วห้ รอื ในการเลือกหาผรู้ ับจา้ ง”
คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 73 3.3.1 ผู้วา่ จ้างทาํ ของ “ผู้ว่าจ้าง” และ “ผู้รับจ้าง” ต้องเป็นมีความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะของ “สัญญาจ้างทํา ของ” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า “อันว่าจ้างทําของนั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทําการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหน่ึง เรียกว่าผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสําเร็จแห่งการที่ทํานั้น” หากไม่เป็น “ผู้ว่าจ้าง” กับ “ผู้รับจ้าง” ตามความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะของ “สัญญาจ้างทําของ” “สัญญาจ้างทําของ” ก็อาจเป็น “ตวั การ” กบั “ตัวแทน” ตามความสมั พันธ์เป็นไปในลกั ษณะของ “สญั ญาตวั แทน” ก็ได้ มคี าํ พพิ ากษาฎกี า ทน่ี ่าสนใจดังตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2522 จําเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ ได้ว่าจ้าง พ. ไปยึดรถคันดังกล่าวคืนมา พ.ได้ว่าจ้างจําเลยที่ 2 ทําการยึดอีกต่อหนึ่ง เมื่อยึดรถได้แล้วจําเลยที่ 2 ขับ รถยนต์คันดังกล่าวมาเพื่อมอบให้ พ. ระหว่างทางจําเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ การที่จําเลยที่ 1 จ้าง พ.ไปยึดรถยนต์เป็นการจ้างทําของมิใช่จ้างแรงงาน เพราะเป็นการถือเอา ความสําเร็จของงานเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญา มิใช่สัญญาระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง เมื่อ พ.จ้างจําเลยท่ี 2 ไปยึดรถอีกต่อหนึ่ง จําเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อยู่ในฐานะนายจ้างและไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจําเลยที่ 2 จึงไม่ ตอ้ งรับผิดตอ่ โจทก์ในการกระทําละเมดิ ของจาํ เลยท่ี 2 3.3.2 ไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกใน ระหวา่ งทาํ การงานทีว่ ่าจ้าง “ไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทํา การงานที่ว่าจ้าง” กล่าวคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 เป็นเร่ืองของความรับผิดเพ่ือ ละเมิดอันเกิดจากการกระทําของตัวผู้รับจ้างทําของเอง หากผู้รับจ้างทําของกระทําละเมิดต่อผู้เสียหายหรือ ผ้ตู ้องเสียหายแล้ว ผูร้ บั จา้ งทําของตอ้ งรบั ผดิ โดยทีผ่ ้วู ่าจ้างทําของไมต่ ้องรว่ มรบั ผิดอย่างลูกหนี้รว่ ม 3.3.3 เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําหรือในคําสั่งที่ตนให้ไว้หรือใน การเลอื กหาผรู้ ับจา้ ง “เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําหรือในคําสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือก หาผู้รับจ้าง” ได้แก่ กฎหมายกําหนดเอาไว้อย่างชัดเจนในกรณีที่ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจาก ความผิดของตัวผู้ว่าจ้างเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งกฎหมายกําหนดข้อยกเว้นในมาตรา 428 ดังกล่าวเอาไว้เพื่อให้ ตัวผู้ว่าจ้างทําของต้องรับผิดเพื่อละเมิดด้วยตนเอง อันเกิดจากกรณี 3 ประการด้วยกัน คือ (ก) ผู้ว่าจ้างจะ
74 ปีดเิ ทพ อยู่ยืนยง เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําหรือ (ข) ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในคําสั่งที่ตนให้ไว้หรือ (ค) ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดใน การเลือกหาผรู้ ับจ้าง (ก) “ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทํา” ได้แก่ ผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างให้เขาทํากิจการ งานอะไรและกิจการงานดังกล่าวได้เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอก มตี วั อยา่ งคําพิพากษาศาลฎกี าที่นา่ สนใจ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2539 จําเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินที่มีการก่อสร้างและตอก เสาเข็มยินยอมให้จําเลยที่ 2 ขออนุญาตก่อสร้างบนที่ดินมีจําเลยที่ 3 เป็นผู้จ้างให้จําเลยที่ 4ดําเนินการตอก เสาเข็มบนที่ดินเมื่อเกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ที่1ซึ่งอยู่บนที่ดินข้างเคียงจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็เคย เข้าไปตรวจดูแลซ่อมแซมให้บางส่วนพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มี ผลประโยชน์ร่วมกันในการก่อสร้างอาคารบนที่ดินของจําเลยที่ 1 แม้จําเลยที่ 3 จะเป็นผู้จ้างให้จําเลยที่ 4 ตอกเสาเขม็ แตก่ เ็ พ่อื ประโยชนข์ องจาํ เลยท่ี 1 ถงึ ท่ี 3 ด้วยถือไดว้ า่ จําเลยที่ 1 ถงึ ท่ี 3 เปน็ ผู้รว่ มกันจ้างจําเลย ที่ 4 ในการตอกเสาเข็มซึ่งโดยปกติผู้ว่าจ้างทําของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดข้ึน แก่บุคคลภายนอกในระหว่างทําการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําหรือใน คําสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างการที่จําเลยที่ 4 ตอกเสาเข็มตามแผนผังแบบแปลนการก่อสร้าง ของจําเลยที่1ถึงที่3ห่างรั้วกําแพงของโจทก์เพียง 2 เมตรเท่ากับจําเลยที่ 4 ได้ดําเนินการตามคําสั่งของ จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ผู้ว่าจ้างจึงเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําอันทําให้เกิดความ เสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ที่ศาลชั้นต้นกําหนดค่าเสียหายของโจทก์ที่1โดยพิเคราะห์ตามคําเบิกความของ ย. พยานโจทก์ที่ 1 ประกอบภาพถ่ายและใบประเมินราคาแล้วเห็นว่ากําแพงรั้วพื้นซีเมนต์ตัวอาคารและสระนํ้า เสียหายเปน็ จํานวนมากจึงเหมาะสมแล้ว คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2543 แม้จําเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นผู้ว่าจ้างจําเลยที่ 6 และท่ี 7 ตอกเสาเข็มในการก่อสร้างภัตตาคาร แต่ได้ความว่าจําเลยที่ 1 มิได้ปล่อยให้จําเลยที่ 6 และที่ 7 ตอก เสาเข็มไปตามแบบแปลนโดยลําพัง จําเลยที่ 1 ให้ ก. เป็นวิศวกรผู้ควบคุมดูแลการตอกเสาเข็มทั้งหมด ก. จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของจําเลยที่ 1 เมื่อ ก. เห็นแล้วว่าการตอกเสาเข็มของจําเลยที่ 6 และที่ 7 ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์แต่มิได้สั่งห้ามหรือให้เปลี่ยนแปลงวิธีการทํางานเพื่อมิให้โจทก์ต้องเสียหาย ถือได้ว่า จาํ เลยท่ี 1 เปน็ ผผู้ ดิ ในสว่ นการงานที่ส่งั ใหท้ าํ ดว้ ย (ข) “ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในคําสั่งที่ตนให้ไว้” ได้แก่ คําสั่งหรือคําบงการตามสัญญาจ้างทําของ ซึ่งเป็นคําสั่งให้ผู้รับจ้างทําของกระทําการตามความประสงค์ในคําสั่งของตน มีตัวอย่างคําพิพากษาศาลฎีกา ท่นี า่ สนใจ
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 75 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2532 การตอกเสาเข็มและการขุดดินทําห้องใต้ดินบริเวณ ก่อสร้างของจําเลยทําให้บ้านของโจทก์และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นได้รับความเสียหายแม้จําเลยจะมิได้เป็นผู้ ตอกเสาเข็มเอง แต่ก็ได้ว่าจ้างบริษัทอื่นทําและจําเลยควบคุมการตอกเสาเข็มให้ถูกต้องตามจํานวนและตอก ตรงจุดที่กําหนดให้ตอก การตอกเสาเข็มดังกล่าวกระทําไปตามคําสั่งหรือคําบงการของจําเลย ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการกระทําตามคําสั่งของจําเลยโดยตรง จําเลยหาพ้นจากความรับผิดตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ไม่ (ค) “ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง” ได้แก่ การเลือกผู้รับจ้างที่ไม่คํานึงถึง สาระสําคัญของบุคคลผู้รับจ้างหรือไม่ใคร่ครวญเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลผู้รับจ้างทําของ มีตัวอย่างคํา พิพากษาศาลฎกี าทีน่ ่าสนใจ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2550 จําเลยซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างเป็นผู้กําหนดวิธีการให้ผู้รับจ้างตัด ต้นไม้และให้คนควบคุมดูแลการตัดต้นไม้ตลอดเวลา แต่ในวันที่มีการตัดต้นไม้และทําให้ไม้ล้มพาดสาย ไฟฟ้าแรงสูงในที่ดินของโจทก์ขาดก่อให้เกิดความเสียหายกลับไม่มีผู้ใดควบคุม การที่ผู้รับจ้างไม่มีความรู้ ความชํานาญในการตัดต้นไม้ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างข้างเคียงหรือไม่ยอมทําตามวิธีการที่ ถูกต้อง ถือได้ว่าจําเลยเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทํา หรือในคําสั่งที่ให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง จาํ เลยจงึ ต้องรับผดิ ต่อโจทกต์ ามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 428 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2552 จําเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้าง ท. ให้รับเหมาก่อสร้างบ้านโดย จําเลยที่ 2 เป็นคนมาติดต่อรับเงินค่าจ้างจากจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิที่จะบอกกล่าวให้ ท. ทํางานตรงไหนก็ได้ตามที่ต้องการ จําเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งให้ ท. เปลี่ยนแปลงขนาดเสาเข็มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ราคาแพงกล่าวเดิม และเป็นคนเอาเงินให้ ท. ไปซื้อ จึงฟังได้ว่า จําเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจําเลยที่ 1 ซ่ึง จําเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการกระทําของตัวแทน ดังนั้น แม้ ท. จะเป็นผู้ดําเนินการตอกเสาเข็ม แต่ จําเลยท่ี 1 ก็มีส่วนผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทํา และการที่ ท. ไม่ได้เรียนวิชาช่างมาโดยตรง เพิ่งรับเหมางาน ก่อสร้างให้จําเลยที่ 1 เป็นงานแรก ก็เกิดเหตุทําให้บ้านของโจทก์ทั้งสองเกิดรอยร้าว เสียหาย แสดงว่า ท. เป็นผู้ขาดความรู้ความสามารถ การที่จําเลยที่ 1 ว่าจ้างให้ ท. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถือว่าเป็นความผิดของ จําเลยที่ 1 ในการเลือกหาผู้รับจ้างมาก่อสร้างด้วย ทั้งเมื่อจําเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา จําเลยที่ 1 ก็ให้ การรับสารภาพ ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และแม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้ฟ้อง ท. ก็ไม่ เปน็ เหตใุ หจ้ าํ เลยท่ี 1 พ้นความรบั ผดิ
76 ปดี ิเทพ อย่ยู ืนยง 3.4 ความรับผิดของบดิ ามารดาหรอื ผอู้ นุบาล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็น ผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทําละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้อง รับผดิ ร่วมกับเขาดว้ ย เว้นแตจ่ ะพิสจู น์ได้วา่ ตนได้ใชค้ วามระมดั ระวงั ตามสมควรแกห่ น้าท่ีดูแลซงึ่ ทาํ อยู่นัน้ ” 3.4.1 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผล ท่ตี นทาํ ละเมิด “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทํา ละเมิด” หมายถึง ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทําด้วยตัวเองของ “ผู้เยาว์” หรือ “คน วิกลจริต” แม้กฎหมายจะกําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการทํานิติกรรมสัญญาเอาไว้ให้กับ แต่ หาก“ผู้เยาว์” หรือ “คนวิกลจริต” ไปกระทําละเมิดต่อบุคคลอื่นแล้ว ก็ยังคงต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการ กระทาํ ละเมิดของตนอยู่นั้นเอง (ก) ผู้เยาว์ “ผู้เยาว์” ได้แก่ บุคคลที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะไม่ว่าจะเป็นบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุครบ 20 ปี หรอื เม่อื ทําการสมรสโดยชอบดว้ ยกฎหมาย (ข) คนวกิ ลจรติ “คนวกิ ลจรติ ” ได้แก่ ผวู้ กิ ลจรติ ทศี่ าลมคี าํ ส่ังใหเ้ ป็นคนไรค้ วามสามารถแลว้ 3.4.2 บดิ ามารดาหรือผอู้ นุบาลของบคุ คลเช่นวา่ นีย้ อ่ มตอ้ งรับผดิ ร่วมกับเขาดว้ ย “บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย” หมายถึง “บิดา มารดาของผู้เยาว์” หรือ “ผู้อนุบาลของคนวิกลจริต” ที่ได้บกพร่องในหน้าที่ในการดูแลผู้เยาว์หรือคน วิกลจริตกับบุคคลดังกล่าวต้องไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ในการดูแลผู้เยาว์หรือคน วกิ ลจริต (ก) มารดา “มารดา” ได้แก่ มารดาที่ชอบด้วยกฎหมายและมีอํานาจปกครองบุตร (มาตรา 1567) (คํา พพิ ากษาฎีกาที่ 5545/2546)
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 77 (ข) บิดา “บิดา” ได้แก่ บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและมีอํานาจปกครองบุตร (มาตรา 1567) (คํา พิพากษาฎีกาที่ 5545/2546) นอกจากนี้ “บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์มาตรา 429 ยังรวมไปถึง (ก) บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะบิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาใน ภายหลัง บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรในภายหลังและศาลได้พิพากษาในภายหลังว่าให้บุตรเป็นบุตรโดย ชอบด้วยกฎหมายของบิดา และ (ข) บิดามารดาบุญธรรม (มาตรา 1598/28) ถ้าบุตรผู้เยาว์ไปกระทําละเมิด ต่อบุคคลภายนอกแล้ว บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและมีอํานาจปกครองบุตรในขณะนั้นต้องร่วมกับผิดอย่าง ลูกหนี้ร่วม นั้นก็คือ บุคคลภายนอกจะเลือกฟ้องต่อผู้เยาว์เพียงอย่างเดียว บุคคลภายนอกจะเลือกฟ้องต่อ บิดามารดาเพยี งอยา่ งเดียวหรือบคุ คลภายนอกจะเลือกฟ้องใหบ้ ิดามารดาและผูเ้ ยาวร์ ่วมกันรับผิดดว้ ยก็ได้ หากบิดาดังกล่าวเป็น “บิดาตามความเป็นจริง” หรือยังคงเป็น “บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ก็ย่อมไม่มีอํานาจปกครอง (มาตรา 1567) แต่ “บิดาตามความเป็นจริง” อาจเป็นเพียง “ผู้รับดูแล” ผู้เยาว์ ในระหว่างที่ผู้เยาว์ไปกระทําละเมิดได้ หาก “บิดาตามความเป็นจริง” เป็นผู้ดูแลผู้เยาว์ในระหว่างที่ผู้เยาว์ ไปกระทําละเมิด ก็ต้องรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 (ความรับผิดของอาจารย์ หรอื ผูร้ บั ดแู ล) มีคาํ พิพากษาฎกี าท่ีนา่ สนใจดังตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 9184/2539 จําเลยที่ 2 เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจําเลยท่ี 1ซึ่งเป็นผู้เยาว์ การที่จําเลยที่ 1 ไปกระทําละเมิดต่อผู้อื่นจะนําประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จําเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้ แต่จําเลยที่ 2 เป็น ผู้ปกครองดูแลจําเลยที่ 1ต้องนําประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 มาใช้บังคับในส่วนที่ เกี่ยวกับจําเลยที่ 2 การที่จําเลยที่ 2 ให้จําเลยที่ 3 นํากุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้าน ขายของของจําเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จําเลยที่ 3 ขายของ จนเป็นเหตุให้จําเลยที่ 1 แอบหยิบ เอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ป โดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจําเลยท่ี 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่ หนา้ ทด่ี ูแลซ่ึงทาํ อยนู่ ัน้ จําเลยที่ 2 และท่ี 3จึงตอ้ งรับผดิ รว่ มกบั จําเลยท่ี 1 ในการทาํ ละเมดิ ตอ่ โจทก์ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5545/2546 การที่จําเลยที่ 1 อยู่ในความปกครองดูแลของจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจําเลยที่ 1 แต่จําเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจําเลยที่ 1 ตามสมควร ไม่ห้ามปรามจําเลยที่ 1 มิให้เล่นไฟและนํ้ามันอันเป็นของที่เกิดอันตรายได้ง่าย จําเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ดูแลจําเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจําเลยที่ 1 ด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430
78 ปีดิเทพ อยู่ยืนยง 3.4.3 เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทําอยู่ น้ัน “เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทําอยู่นั้น” ได้แก่ หน้าที่นําสืบของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล โดยต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่ หน้าทีด่ แู ลซงึ่ ทาํ อยูน่ น้ั มคี าํ พพิ ากษาฎกี าทีน่ า่ สนใจดงั ตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2540 จําเลยร่วมบุตรโจทก์นํารถยนต์ของโจทก์พาเพื่อน ๆ ไป เที่ยวสถานบันเทิงโดยจําเลยร่วมให้ ฉ. เป็นผู้ขับไปยังสถานบันเทิง ครั้นเลิกจากเที่ยวเมื่อเวลา 3 นาฬิกา ของวันใหม่เปลี่ยนให้จําเลยที่ 1 ขับกลับจากสถานบันเทิงแล้วเกิดเหตุ การที่จําเลยที่ 1 ออกจากบ้านไป เที่ยวและที่จําเลยร่วมยอมให้จําเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของโจทก์พาจําเลยร่วมกับเพื่อน ๆ กลับจากเที่ยวสถาน บันเทิงไม่มีพฤติการณ์ใดท่ีส่อให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 จะต้องไปทําหน้าที่ขับรถยนต์ของโจทก์แทน ฉ. การที่ จําเลยที่ 1 อาสาขับรถยนต์โจทก์ตอนขากลับต้องถือว่าเป็นการสุดวิสัยของจําเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดา มารดาจะรู้เห็นได้ ถือว่าจําเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซ่ึงทําอยู่ใน ขณะนั้นแล้ว เพราะไม่ได้ความว่าจําเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ให้ไปกระทําหรือรู้แล้วยังยอมให้กระทําดังนั้น จําเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจําเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณชิ ย์ มาตรา 429 แต่หลงั เกิดเหตจุ ําเลยที่ 2 ในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจําเลยที่ 1 ไดต้ กลงต่อ หน้าพนักงานสอบสวนยินยอมชดใช้ค่าเสียหายในการละเมิดของจําเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพัน จําเลยที่ 2 ส่วนจําเลยท่ี 3 มิไดต้ กลงยินยอมชดใช้คา่ เสยี หายแต่อย่างใด จึงไม่ผูกพันจําเลยที่ 3 จําเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจําเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จําเลยร่วมนํารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้จําเลยที่ 1 ขับไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ ต้องเล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติภัยอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจําเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดเหตุละเมิดในคดีนี้ด้วย จําเลยรว่ มจึงตอ้ งร่วมรับผดิ กบั จําเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดน้ัน คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18033/2557 จําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้เยาว์ จําเลยที่ 4 ที่ 5 เป็น ผู้ดูแลจําเลยที่ 1 ส่วนจําเลยที่ 7 ที่ 8 เป็นผู้ดูแลจําเลยที่ 2 โดย ป.พ.พ. มาตรา 430 บัญญัติว่าให้ผู้รับดูแล ผู้เยาว์จําต้องร่วมรับผิดกับผู้เยาว์ในการละเมิดซึ่งผู้เยาว์ได้กระทําลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เมื่อโจทก์กล่าวอ้างจําเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งดูแล จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 7 ที่ 8 ซึ่งดูแลจําเลยที่ 2 มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ปล่อยปละละเลยให้ จําเลยที่ 1 และที่ 2 เล่นไฟแช็กแก๊ส ซึ่งบุคคลอื่นในวัยผู้เยาว์ไม่อาจเล่นได้ จึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนําสืบ พิสูจน์ให้ได้ว่าจําเลยที่ 4 ที่ 5 และจําเลยที่ 7 ที่ 8 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจําเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 79 สมควร โดยปล่อยปละละเลยให้จําเลยท่ี 1 และที่ 2 เล่นไฟแช็กแก๊ส จนเกิดเพลิงไหม้ลุกลามทรัพย์สินของ โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่ทางพิจารณาโจทก์นําสืบได้ความเพียงว่า วันเกิดเหตุจําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พา กันมาเล่นอยู่บริเวณโรงจอดรถภายในลานรับซื้อไม้ยูคาลิปตัสของโจทก์จนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ถังนํ้ามัน และเศษผ้าที่กองอยู่บริเวณด้านหน้ารถบรรทุกสิบล้อ หมายเลขทะเบียน 83 - 0776 อุดรธานี และไฟ ลุกลามไหม้รถบรรทุกสิบล้อดังกล่าว รวมทั้งรถพ่วงบรรทุกท้าย หมายเลขทะเบียน 81 - 9686 อุดรธานี กับ รถแบ็คโฮ ของโจทก์ซึ่งจอดไว้ในโรงจอดรถได้รับความเสียหาย โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด ว่าวันเกิดเหตุจําเลยที่ 4 ที่ 5 และจําเลยที่ 7 ที่ 8 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจําเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม สมควรหรือปล่อยปละละเลยให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 เล่นไฟแช็กแก๊ส แม้ได้ความว่า วันเกิดเหตุจําเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อไฟแช็กแก๊สจากร้านค้าและนํามาจดุ เลน่ กนั บริเวณท่ีเกดิ เหตุ แตข่ อ้ น้จี าํ เลยที่ 4 ท่ี 5 และจาํ เลย ที่ 7 ที่ 8 ต่อสู้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว โดยจําเลยที่ 4 ที่ 5 นําสืบว่า ไม่เคย ปล่อยให้จําเลยที่ 1 เล่นไฟ ไม่เคยใช้ให้ไปจุดไฟเผาขยะหรือใช้ให้ไปซื้อไฟแช็กแก๊สที่ร้านค้า วันเกิดเหตุ จําเลยที่ 1 ไปเล่นที่ลานรับซื้อไม้ยูคาลิปตัส เนื่องจากบุตรเขยของจําเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งเป็นลุงของจําเลยที่ 1 ทํางานที่ลานดังกล่าว และจําเลยที่ 7 และที่ 8 นําสืบว่าวันเกิดเหตุ จําเลยที่ 7 และที่ 8 ออกจากบ้านไปงาน ศพตั้งแต่เช้า จึงพาจําเลยที่ 2 ไปฝากกับนางฉุยซ่ึงเป็นพี่สาวของจําเลยที่ 6 โดยโจทก์มิได้คัดค้านข้อเท็จจริง ที่นําสืบว่าไม่เป็นความจริง ประกอบกับโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าวันเกิดเหตุจําเลย ที่ 4 ที่ 5 และจําเลยที่ 7 ที่ 8 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจําเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างไร หรือรู้เห็นกับการท่ีจําเลย ที่ 1 และที่ 2 ซื้อไฟแช็กแก๊สและนํามาจุดเล่นจนเกิดเพลิงลุกไหม้ทรัพย์สินโจทก์หรือเคยรู้เห็นว่าจําเลยที่ 1 ที่ 2 เล่นไฟแช็กแก๊สแล้วไม่ดูแลห้ามปราม ลําพังโจทก์เพียงปากเดียวที่เบิกความลอย ๆ จึงยังไม่มีนํ้าหนัก เพียงพอ จําเลยท่ี 4 ท่ี 5 ที่ 7 และที่ 8 จงึ ไมต่ ้องร่วมรับผดิ กบั จาํ เลยท่ี 1 และที่ 2 3.4.4 สทิ ธิไล่เบย้ี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 431 “ในกรณีที่กล่าวมาในสองมาตราก่อนนั้น ท่านให้นําบทบัญญัติแห่ง มาตรา 426 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม” “บิดามารดาของผู้เยาว์” หรือ “ผู้ อนุบาลของคนวิกลจริต” ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกระทําละเมิดแล้ว สามารถไล่ เบี้ยจากผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตที่เป็นผู้กระทําละเมิดได้ เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์เรื่องสิทธิไล่เบี้ยตามมาตรา 426 3.5 ความรับผดิ ของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือผู้รบั ดูแล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับ ดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จําต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการ
80 ปดี เิ ทพ อยู่ยืนยง ละเมิด ซึ่งเขาได้กระทําลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความ ระมัดระวังตามสมควร” 3.5.1 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็น นิตย์ก็ดี ช่ัวครัง้ คราวกด็ ี มาตรา 430 นี้กําหนดหลักเกณฑ์ความรับผิดเพื่อละเมิดของผู้มีหน้าที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ ความสามารถ เมื่อผู้ไร้ความสามารถไปกระทําละเมิดต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอก แล้วผู้ดูแลบุคคลผู้ ไร้ความสามารถมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เช่นว่านี้ผู้มีหน้าที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถต้อง รบั ผิดอย่างลกู หน้ีร่วม (ก) ผู้ไรค้ วามสามารถ “ผู้ไร้ความสามารถ” ไดแ้ ก่ ผู้เยาวห์ รือคนวกิ ลจรติ (ข) ผรู้ ับดแู ลผูไ้ รค้ วามสามารถ “ผู้รับดูแลผู้ไร้ความสามารถ” ได้แก่ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ ไรค้ วามสามารถอยเู่ ป็นนิตยก์ ็ดี ชัว่ ครง้ั คราวก็ดี “ครูบาอาจารย์” คอื บุคคลผู้ใหก้ ารศึกษา “นายจา้ ง” คือ นายจา้ งตามสัญญาจา้ งแรงงาน “บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่รับดูแลผู้ไร้ความสามารถ” คือ บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดา นอกกฎหมาย (ค) หนา้ ทร่ี ับดแู ลบคุ คลผูไ้ รค้ วามสามารถ “หนา้ ทีร่ บั ดแู ลบคุ คลผูไ้ ร้ความสามารถ” ได้แก่ หนา้ ทีอ่ ยา่ งหน่งึ อยา่ งใด ไม่วา่ จะเปน็ “หนา้ ที่ ตามกฎหมาย” “หน้าที่ตามสัญญา” หรือ “หน้าที่ตามวิชาชีพหรือตามพฤติการณ์” หน้าที่ดังกล่าว ก่อให้เกิดหน้าที่ระมัดระวังดูแลไม่ให้ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตไปกระทําละเมิด มีคําพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ ดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2511 เช้าวันเกิดเหตุครูได้เก็บเอาไม้กระบอกพลุที่เด็กนักเรียน เล่นมาทําลายและห้ามไม่ให้เล่นต่อไป ตอนหยุดพักกลางวันนักเรียนคนหนึ่งได้เล่นกระบอกพลุที่นอก ห้องเรียนไปโดนนัยน์ตานักเรียนอีกคนหนึ่งบอด พฤติการณ์เช่นนี้ครูได้ใช้ระมัดระวังตามสมควรแล้ว เหตุท่ี เกิดละเมิดเปน็ การนอกเหนอื อาํ นาจและวิสยั ท่ีครูจะดูแลให้ปลอดภยั ไดค้ รจู ึงไม่ตอ้ งรับผิด
คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 81 มารดาปล่อยให้บุตรเล่นไม้กระบอกพลุที่บ้านและนําไปเล่นที่โรงเรียน จนบุตรมีความชํานาญ ทําไม้กระบอกพลุให้คนอื่นเล่นได้ แสดงว่ามารดาปล่อยปละละเลยไม่ได้ดูแลหรือห้ามปราม แม้เหตุจะ เกดิ ข้นึ ท่โี รงเรียนลับหลังมารดากต็ าม กห็ าทาํ ใหม้ ารดาพ้นความผดิ ไม่ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 9184/2539 จําเลยที่ 2 เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจําเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้เยาว์ การที่จําเลยที่ 1 ไปกระทําละเมิดต่อผู้อื่นจะนําประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จําเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้ แต่จําเลยที่ 2 เป็น ผู้ปกครองดูแลจําเลยที่ 1ต้องนําประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 มาใช้บังคับในส่วนที่ เกี่ยวกับจําเลยที่ 2 การที่จําเลยที่ 2 ให้จําเลยที่ 3 นํากุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้าน ขายของของจําเลยที่ 3ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จําเลยที่ 3 ขายของ จนเป็นเหตุให้จําเลยที่ 1 แอบหยิบเอา กุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจําเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่ หนา้ ที่ดแู ลซงึ่ ทําอยนู่ ้ัน จาํ เลยท่ี 2 และท่ี 3จึงต้องรบั ผดิ รว่ มกบั จาํ เลยท่ี 1 ในการทาํ ละเมิดต่อโจทก์ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 12979/2558 เจ้าพนักงานตํารวจนําตัวผู้เยาว์ส่งสถานพินิจฯ เป็น หน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากําหนดไว้ไม่มีเจตนารับดูแลผู้เยาว์ เมื่อผู้เยาว์หลบหนี ไปทําละเมิด เจ้าพนักงานตํารวจไม่ต้องรับผิดเพราะไม่อยู่ในบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 ส่วนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ไม่ต้องรับผิดเพราะเป็นเพียงความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าพนักงานตํารวจไม่ได้ทําละเมิดโดยตรงที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดตาม พระราชบัญญัติความรับ ผิดทางละเมดิ ของเจ้าหน้าท่ี พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนง่ึ 3.5.2 จาํ ตอ้ งรับผิดรว่ มกับผ้ไู รค้ วามสามารถในการละเมิด “จําต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด” ได้แก่ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จําต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ ความสามารถในการละเมิด “อย่างลูกหนี้ร่วม” โดยผู้เสียหายจะเลือกฟ้องผู้ไร้ความสามารถหรือผู้รับดูแลผู้ ไรค้ วามสามารถคนใดคนหน่ึงหรือฟ้องทงั้ สองคนใหร้ ว่ มกันรบั ผดิ กไ็ ด้ 3.5.3 ซ่ึงเขาได้กระทําลงในระหวา่ งทอี่ ยู่ในความดูแลของตน “ซึ่งเขาได้กระทําลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน” ได้แก่ การกระทําละเมิดต้องเกิดใน ระหว่างที่ผู้รับดูแลผู้ไร้ความสามารถ “กําลังรับดูแล” บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ ไม่ว่าจะรับดูแลเป็น ประจํากด็ หี รือช่วั คราวก็ตาม มีคําพพิ ากษาฎีกาทน่ี า่ สนใจดงั ตอ่ ไปน้ี
82 ปดี ิเทพ อยูย่ นื ยง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10239/2546 ขณะเกิดเหตุคดีนี้ จําเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากับจําเลย ที่ 1 แล้ว โดยมีข้อตกลงกันว่าให้จําเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์อยู่ในอํานาจปกครองของจําเลยที่ 1 แต่เพียง ผู้เดียว จําเลยที่ 2 จึงไม่มีอํานาจปกครองเพื่อจัดการดูแลบุตรผู้เยาว์ตามที่กฎหมายกําหนดต่อไป การที่ จําเลยที่ 3 ไปกระทําละเมิดต่อผู้อื่น จะนํา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 มาปรับใช้บังคับ ในส่วนทเ่ี กี่ยวกบั การทีจ่ ําเลยที่ 2 จะตอ้ งรว่ มรบั ผิดด้วยหรือไม่ ไมไ่ ด้ หลังจากจดทะเบียนหย่าแล้ว จําเลยที่ 2 ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับจําเลยที่ 1 และที่ 3 แม้จําเลยท่ี 2 ยังมีชื่อในทะเบียนบ้านร่วมกับจําเลยที่ 1 และที่ 3 และภายหลังเกิดเหตุ จําเลยที่ 2 ได้ไปเจรจา ค่าเสียหายกับโจทก์หรือไปดูแลจําเลยที่ 3 เป็นครั้งคราว พฤติการณ์เหล่านี้ยังรับฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 2 เป็น ผู้รับดูแลจําเลยที่ 3 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 จําเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใน ผลแหง่ ละเมดิ ของจาํ เลยที่ 3 3.5.4 ถา้ หากพสิ ูจนไ์ ดว้ า่ บุคคลนั้น ๆ มไิ ด้ใชค้ วามระมดั ระวังตามสมควร “ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร” หมายถึง ภาระพิสูจน์ ว่าครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่รับดูแลผู้ไร้ความสามารถมิไดใ้ ช้ความระมัดระวัง(มาตรา 430) ตามสมควรย่อมตกอยูก่ ับ “ผ้เู สียหายหรือผู้ถูกกระทําละเมดิ ” แต่เรื่องความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล (มาตรา 429) ภาระพิสูจน์ว่าได้ใช้ความ ระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทําอยู่นั้นย่อมตกอยู่กับ “บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลผู้ วกิ ลจรติ ” 3.5.5 สทิ ธไิ ลเ่ บ้ีย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 431 “ในกรณีที่กล่าวมาในสองมาตราก่อนน้ัน ท่านให้นําบทบัญญัติแห่ง มาตรา 426 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม” ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอ่ืน ซึ่งรับดูแลได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกระทําละเมิดแล้ว สามารถไล่เบี้ยจากผู้ไร้ ความสามารถได้ เชน่ เดียวกบั หลักเกณฑเ์ รอ่ื งสิทธไิ ล่เบีย้ ตามมาตรา 426
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมดิ 83 บทท่ี 4 บคุ คลหลายคนร่วมกันกระทําละเมดิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 “ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่ บุคคลอื่นโดยร่วมกันทําละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ เสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจําพวกที่ทําละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผกู้ อ่ ให้เกิดเสียหายนัน้ ดว้ ย อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทําละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทําละเมิด รว่ มกนั ด้วย ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิด เปน็ สว่ นเท่า ๆ กัน เวน้ แต่โดยพฤตกิ ารณ์ ศาลจะวินจิ ฉัยเปน็ ประการอ่นื ” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ในเรื่องของ “บุคคล หลายคนร่วมกันกระทําละเมิด” นั้นหมายความว่าผู้กระทําละเมิดหลายคนอาจกระทําละเมิดต่อผู้เสียหาย รายหนึ่งรายใด ผู้เสียหายรายนั้นอาจเรียกร้องให้ผู้กระทําละเมิดคนหนึ่งคนใดชดใช้ค่าเสียหายหรือค่า สินไหมทดแทนได้ โดยที่ผู้เสียหายเองอาจฟ้องให้ผู้กระทําละเมิดคนหนึ่งคนใด “รับผิดชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนท้ังหมด” หรอื “รับผดิ ใช้ค่าสินไหมทดแทนเตม็ จาํ นวน” ในส่วนถ้าผู้กระทําละเมิดรายหนึ่งรายใดถูกฟ้องให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและผู้กระทํา ละเมิดรายนั้นได้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเต็มจํานวนแล้ว ผู้กระทําละเมิดย่อมสามารถไปไล่เบี้ยผู้ ร่วมกระทําละเมิดรายอื่น ๆ อย่างลูกหนี้ร่วม (มาตรา 291) (มาตรา 432 วรรคสาม) ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ ว่าในระหว่างผู้กระทําละเมิดทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กนั เว้นเสียแต่วา่ ศาลจะได้วนิ ิจฉยั เป็นอยา่ งอ่นื มคี าํ พิพากษาฎีกาทีน่ ่าสนใจดังตอ่ ไปน้ี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคแรก นี้เป็นเรื่อง “การร่วมกันทํา ละเมิด” ของผู้กระทําละเมิดหลายคนต่อผู้เสียหาย กล่าวคือ ผู้เสียหายอาจเรียกร้องให้ผู้กระทําละเมิดคน หนึ่งคนใดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ผู้กระทําละเมิดคนหนึ่งคนใดนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายมากน้อย
84 ปีดเิ ทพ อยยู่ นื ยง เพียงใดไม่สําคัญ สําคัญที่ว่าผู้เสียหายอาจฟ้องให้ผู้กระทําละเมิดคนหนึ่งคนใด “รับผิดชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนทั้งหมด” หรือ “รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจํานวน” โดยผู้กระทําละเมิดคนหนึ่งนั้นมีฐานะ อย่างลูกหนี้ร่วม (มาตรา 291) เมื่อผู้กระทําละเมิดคนหนึ่งคนใดได้ทําการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับ ผู้เสียหายไปแล้ว ผู้กระทําละเมิดย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยผู้ร่วมกระทําละเมิดรายอื่น ๆ ตามหลักลูกหนี้ร่วม มาตรา 432 วรรคสาม โดยในระหว่างผู้กระทําละเมิดหลายคนที่ร่วมกันกระทําละเมิดต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่า สินไหมทดแทนนั้น มาตรา 432 วางหลักเกณฑ์เอาไว้ให้ต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดย พฤติการณ์ศาลจะวินจิ ฉยั เป็นประการอ่นื มคี ําพิพากษาฎีกาท่นี ่าสนใจดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2506 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรค ท้าย เป็นบทบัญญัติสําหรับแยกความรับผิดระหว่างผู้ละเมิดด้วยกัน มิใช่ว่ารับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งมีวรรคหน่ึง บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าต้องร่วมกันรับผิดใช้ คําว่า \"ร่วมกันใช้\" มีความหมายว่า แต่ละคนจําต้องชําระ หนี้สิ้นเชิง แต่เจ้าหนี้จะเรียกชําระหนี้จากคนใดทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ถึงกระนั้นลูกหนี้ทั้งหมดก็ยังคงต้อง ผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชําระสิ้นเชิง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 การ ทําให้ทรัพย์เขาเสียหายโดยผิดกฎหมายเป็นละเมิด เมื่อร่วมกันกระทําก็เป็นการร่วมกันทําละเมิด และต้อง ร่วมกันรับผิด กฎหมายมุ่งหมายถึงการกระทํา มิใช่ดูผลของความเสียหายว่าแยกกันได้หรือไม่ แม้จะไม่รู้ตัว ว่าคนไหนก่อให้เกิดเสียหาย แต่ถ้าเป็นพวกที่ทําละเมิดร่วมกันแล้ว ก็ต้องรับผิดร่วมกันทั้งหมดตามประมวล กฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา 432 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2529 จําเลยกับพวกร่วมกันกระทําความผิดตามฟ้องและได้ ทรัพย์สิน จากผู้เสียหายคิดเป็นเงิน 6,000 บาทกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 คือจําเลยกับพวก ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น คําว่า 'ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน' หมายความว่า แต่ละคน จะต้องชําระหนี้ทั้งหมดโดยส้ินเชิง อันมีฐานะ เชน่ เดยี วกบั ลกู หนี้ร่วม คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2538 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยทั้งสามรื้อกําแพงของจําเลย ที่ปิดกั้นที่ดินโจทก์และให้รื้อหลังคาที่คร่อมที่ดินโจทก์ออกไปเป็นคดีที่โจทก์ใช้สิทธิการเป็นเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์เรียกร้องให้ขจัดความเดือดร้อนรําคาญให้สิ้นไปตราบใดที่จําเลยที่ 1 ยังก่อความเดือดร้อน รําคาญอยู่โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับได้มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางละเมิดจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุ ความ 1 ปี จําเลยที่1เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัดซึ่งการแสดงออกย่อมกระทําโดยทางกรรมการเมื่อ หลังคาโรงงานของจําเลยที่ 1 รุกลํ้าเป็นละเมิดต่อที่ดินของโจทก์จําเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอํานาจจึง ต้องรว่ มรับผิดในการกระทําละเมิดด้วย
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 85 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2552 เหตุละเมิดเกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ความทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มีผลใช้บังคับ แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ในวันที่ 18 มกราคม 2544 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคบั แลว้ แตเ่ มอ่ื พ.ร.บ.ความรบั ผดิ ทางละเมดิ ของเจ้าหน้าท่ี พ.ศ.2539 มิไดม้ ีบทบัญญตั ใิ หใ้ ช้บังคบั แกค่ ดี ละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ทําละเมิดที่เกิดข้ึน ก่อนพระราชบัญญตั ฉิ บบั นใี้ ช้บงั คับจงึ ต้องอยู่ภายในบทบัญญตั แิ หง่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จําเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมงานจ้างก่อสร้างถนน จําเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นคณะกรรมการตรวจการ จ้าง แต่ผู้รับจ้างก่อสร้างถนนไม่ถูกต้องตามแบบทําให้ถนนชํารุด การที่จําเลยที่ 1 ไม่ทําหน้าท่ีควบคุมการ ก่อสร้างถนน ส่วนจําเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มิได้ไปตรวจรับงานจ้างพร้อมกันไม่ชอบด้วยระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ถือว่าจําเลยทั้งหกประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการปฏิบัติ หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายอําเภอสรรคบุรีเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จําเลยทั้งหกจึง ต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคแรก 4.1 บคุ คลหลายคนก่อใหเ้ กิดเสียหายแกบ่ ุคคลอ่นื โดยรว่ มกันทําละเมดิ “บุคคลหลายคน” ได้แก่ ผู้กระทําละเมิดหลายคน โดยที่ผู้กระทําละเมิดหลายคนต้องจงใจ กระทําละเมิดร่วมกัน (เทียบเคียงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83) มีคําพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ ดงั ต่อไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2522 จําเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่ง กันมาเป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจําเลยทั้งสองมี เท่ากัน และเป็นกรณีต่างทําละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใชค้ ่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ จาํ เลยทงั้ สองตอ้ งรบั ผิดแบง่ ออกเปน็ สว่ นเทา่ ๆ กัน คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2523 รถยนต์ที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 ขับวิ่งคู่กันไปแล้วเกิด กระแทกกันรถยนต์ที่จําเลยที่ 1 ขับเสียหลักวิ่งข้ามเกาะกลางถนนไปชนสามีและบิดาโจทก์ถึงตายเป็นเรื่อง ต่างทําละเมิด ไม่ใช่ร่วมกันทําละเมิดจําเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างจําเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจําเลยที่ 2 ในผลแหง่ การทาํ ละเมิดของจาํ เลยที่ 2 ดว้ ย
86 ปดี เิ ทพ อยู่ยนื ยง 4.2 บุคคลผู้ยุยงส่งเสรมิ หรอื ชว่ ยเหลอื ในการทาํ ละเมดิ “บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทําละเมิด” ได้แก่ บุคคลท่ียุยงส่งเสริมในทํานอง เดียวกับ “ผู้ใช้” (เทียบเคียงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84) และ “จงใจ” ยุยงส่งเสริมรู้ถึงผลของการ กระทาํ ละเมิดของตน มีคาํ พิพากษาฎกี าที่น่าสนใจดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2540 จําเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจําเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ไม่มี ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จําเลยร่วมนํารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้ จําเลยที่ 1 ขับไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ต้องเล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติภัยอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจําเลย รว่ มมสี ่วนก่อใหเ้ กดิ เหตลุ ะเมดิ ในคดีนีด้ ้วย จําเลยรว่ มจึงตอ้ งร่วมรบั ผิดกบั จําเลยที่ 1 ในผลแหง่ ละเมิดนั้น 4.3 บทบญั ญตั สิ ําหรับแยกความรบั ผิดระหวา่ งผ้กู ระทาํ ละเมดิ ดว้ ยกัน “ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับ ผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน” หมายความว่าในระหว่างบุคคลทั้งหลายที่กระทําละเมิดร่วมกันต้องรับผิดเป็นส่วน เท่า ๆ กัน “เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น” กล่าวคือเมื่อผู้กระทําละเมิดรายหน่ึง รายใดได้ทําการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ถูกกระทําละเมิดไปแล้ว ผู้กระทําละเมิดรายนี้ย่อมรับช่วง สิทธิตามมาตรา 291 และมีสิทธิไล่เบี้ยผู้ร่วมกระทําละเมิดรายอื่น ๆ ได้ ตามหลักเกณฑ์มาตรา 226 และ 229 มคี ําพิพากษาฎกี าท่ีน่าสนใจดงั ต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2524 โจทก์กับจําเลยที่ 1 ได้ร่วมกันยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ไป ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นแก่สหกรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณชิ ย์ มาตรา 432 วรรคแรก ระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่จะต้องรับผิดยิ่งหยอ่ นกว่า กันจึงต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันตามมาตรา 432 วรรคสาม เมื่อโจทก์ได้ชําระเงินที่ยักยอกให้สหกรณ์ฯ ไป ยอ่ มรับช่วงสทิ ธิของ สหกรณ์ฯ มาไล่เบ้ียเอากับจําเลยท่ี 1 ไดต้ ามมาตรา 229 (3), 226 แตถ่ า้ เป็นกรณี “ต่างคนต่างประมาท แต่ไปก่อให้เกิดความเสียหายแกผ่ เู้ สียหายรายเดียวกัน” ให้ถือว่าผู้กระทําละเมิดที่ต่างคนต่างประมาทนี้ต้องร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมาตรา 291 ประกอบกับ มาตรา 301 มีคาํ พพิ ากษาฎีกาทน่ี า่ สนใจดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2537 จําเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์คันหนึ่ง ส่วนจําเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 3 และเป็นคนขับรถยนต์อีกคันหนึ่งซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจําเลยที่ 4 วันเกิดเหตุ จําเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่จําเลยที่ 2 เป็นคนขับในทางการที่จ้างของจําเลยท่ี
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 87 3 เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่จําเลยที่ 2 ขับเสียหลักแล่นไปชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ทําให้ รถยนตค์ ันท่โี จทกร์ ับประกันภยั ไดร้ บั ความเสียหาย โจทก์จา่ ยคา่ ซอ่ มรถยนต์ใหแ้ ก่ผเู้ อาประกนั ภยั แล้วจงึ รบั ชว่ งสทิ ธขิ องผู้เอาประกนั ภยั มาเรยี กร้องจากจําเลย ดังนี้ แม้จะได้ความวา่ เหตเุ กิดจากความประมาทเลินเลอ่ ของจําเลยที่ 2 ด้วยเท่า ๆ กับความประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ 1 แต่เมื่อได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ รถยนต์ที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับประกันภัยไว้ จึงต้องถือว่าจําเลยที่ 1 และที่ 2 ล้วนมีส่วน ก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จําเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างลูกหนี้ร่วม โดยจําเลยทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิเต็มจํานวนความ เสียหายโดยจะแบ่งความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ จําเลยที่ 3 ซ่ึงเป็นนายจ้างและจําเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัย จึงต้องร่วมรับผิดกับจําเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวทั้งหมดเช่นกัน (มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10949/2558 และ 3958/2559 วินจิ ฉยั ในทาํ นองเดยี วกนั )
88 ปดี เิ ทพ อย่ยู นื ยง บทที่ 5 ความรับผดิ เพอื่ ละเมดิ อันเกดิ จากทรพั ย์ ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากทรัพย์ ได้แก่ ความเสียหายจากบรรดาทรัพย์ที่เป็น “สัตว์ หรือสิ่งของบางอย่าง” ที่กฎหมายกําหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ควบคุม หรือผู้รับ เลี้ยงรับรักษาต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์นั้น หากบุคคลเหล่านี้ไม่ระมัดระวังควบคุมดูแล บรรดาทรัพย์ที่เป็นสัตว์หรือสิ่งของบางอย่างให้ดี แล้วสัตว์หรือสิ่งของเหล่านี้ก่อความเสียหายให้แก่บุคคล อื่นแล้ว กฎหมายกําหนดให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิด ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากทรัพย์ถือเป็น \"ความ รับผิดเด็ดขาด\" ที่กฎหมายกําหนดข้อสันนิษฐานว่าบุคคลเหล่านี้ต้องสมควรต้องรับผิดในความเสียหายที่ เกิดขึ้นอันเกิดจากทรัพย์ โดยไม่ต้องคํานึงว่าบุคคลเหล่านี้จะมีการกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ หรือไม่ จําเป็นต้องพิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ หากมีความเสียหาย เกดิ ขนึ้ จากทรพั ยน์ ั้นแล้ว บคุ คลเหลา่ นกี้ ็ต้องรบั ผิดอย่างเด็ดขาด ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากทรัพย์ แบ่งออกเป็นตามความเสียหายอันเกิดขึ้นจากส่ิง ต่อไปนี้ (ก) ความเสียหายอันเกิดจากสัตว์ (มาตรา 433) (ข) ความเสียหายเกิดจากโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้ (มาตรา 434) (ค) ความเสียหายอันเกิดจากของตกหล่นหรือทิ้งขว้างจากโรงเรือน (มาตรา 436) (ง) ความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะ (มาตรา 437 วรรคแรก) และ (จ) ความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ อันตราย (มาตรา 437 วรรคสอง) แต่ถ้าแบ่งตามความรับผิด ก็จะแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มความรับผิดด้วยกันได้แก่ ความรับผิดของ เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงสัตว์ (มาตรา 433) ความรับผิดของผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง (มาตรา 434) ความรับผิดของผู้อยู่ในโรงเรือนกรณีของตก (มาตรา 436) ความรับผิดของผู้ครอบครองหรือควบคุม ยานพาหนะ (มาตรา 437 วรรคแรก) และความรับผิดของผู้ครอบครองหรือควบคุมทรัพย์อันตราย (มาตรา 437 วรรคสอง)
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมิด 89 5.1 ความรับผดิ ของเจ้าของหรอื ผ้รู ับเลยี้ งรบั รกั ษาสัตว์ 5.1.1 ความเสยี หายเกิดข้ึนเพราะสตั ว์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 วรรคแรกตอนต้น “ถ้าความเสียหายเกิดข้ึน เพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ใหแ้ กฝ่ ่ายทีต่ อ้ งเสียหายเพ่ือความเสียหายอยา่ งใด ๆ อันเกิดแต่สตั ว์นนั้ ” (ก) ความเสียหายเกิดขนึ้ เพราะสตั ว์ “ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์” ได้แก่ ความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกิดขึ้นมา จากการกระทําของสัตว์โดยตรง เช่น กัด ขวิด ดีด เตะ รวมไปถึงความเดือดร้อนรําคาญจากการหอนหรือ เหา่ ของสัตว์ มคี ําพพิ ากษาฎกี าที่น่าสนใจดังต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2516 ม้าผู้ของโจทก์ตามเข้าไปสัดม้าตัวเมียของจําเลยท่ี 1 ที่ใต้ถุนบ้านของจําเลยที่ 1 ม้าจําเลยที่ 1 ขัดขืนและเตะม้าโจทก์ซึ่งเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจําเลยที่ 1 เสียหาย โดยจําเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอมด้วยถือได้ว่าเป็นภยันตรายอันมีมาโดยฉุกเฉิน การที่จําเลยทั้งสามได้ ร่วมกันใช้ไม้ตีม้าของโจทก์โดยจําเลยที่ 1 ขอร้อง นับว่าเป็นการกระทําโดยจําเป็นเพื่อป้องกันสิทธิของ จําเลยที่ 1 ซึ่งจําเลยควรจะใช้ไม้ตีเพียงเท่าที่จะไล่ม้าของโจทก์ออกไปจากเขตบ้านของจําเลยที่ 1 เท่านั้นแต่ จําเลยร่วมกันใช้ไม้ตีม้าของโจทก์บาดเจ็บจนถึงตาย จึงเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ จําเลยทั้งสามต้องรับผิด ชดใช้ค่าสนิ ไหมทดแทนแกโ่ จทก์ (ข) สัตว์ “สัตว”์ ได้แก่ สัตว์ทุกชนิดและสัตว์ดังกล่าวต้อง “มีเจ้าของ” ซึ่งตัวเจ้าของเองนั้นต้อง ครอบครองและยดึ ถือสัตว์นั้นเอาไวเ้ พื่อตน (ค) บคุ คลผ้รู บั เลยี้ งรบั รกั ษาไว้แทนเจา้ ของ “บคุ คลผู้รบั เลย้ี งรบั รักษาไวแ้ ทนเจ้าของ” หมายถึง ผ้มู ีหน้าที่ดแู ลและควบคมุ สตั ว์ ไม่ ว่าจะเป็นหน้าทีต่ ามกฎหมายก็ดหี รอื หน้าที่ตามสัญญากต็ าม มีคาํ พิพากษาศาลฎกี าทีน่ า่ สนใจดงั นี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2542 จําเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของช้างพลายนวล จําเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นบุตรจําเลยที่ 3 และเป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษาช้างพลายนวลไว้แทนเจ้าของ จําเลยที่ 4 และที่ 5 นําช้างพลายนวลเข้ามาแห่ในงานขบวนแห่นาคกับช้างอื่น ๆ ซึ่งมีช้างของโจทก์รวมอยู่ด้วย ช้างพลายนวลชนช้างของโจทก์ได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จําเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ร่วมรู้เห็นใน
90 ปดี เิ ทพ อยยู่ นื ยง การที่จําเลยท่ี 5 นําช้างมารว่ มในขบวนแห่นาคเพราะอยู่คนละหมู่บ้านกัน แสดงให้เห็นว่า จําเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษาช้างพลายนวลโดยเด็ดขาด โดยจําเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รับประโยชน์และเกี่ยวข้อง ด้วย ความรับผิดย่อมตกแก่จําเลยท่ี 4 และที่ 5 ผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 จําเลยท่ี 2 และท่ี 3 จงึ ไม่ตอ้ งรว่ มรับผิดดว้ ย (ง) ผรู้ ับผิดชดใชค้ ่าสนิ ไหมทดแทนใหแ้ กฝ่ ่ายทีต่ ้องเสยี หาย “ผู้รับผิด” ตามมาตรา 433 วรรคแรก ได้แก่ “เจ้าของสัตว์” หรือ “บุคคลผู้รับเลี้ยง รับรกั ษาไว้แทนเจ้าของ” อย่างไรก็ตาม หากมีผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ โดยที่เจ้าของไม่ได้เก่ียวข้องด้วย เช่นว่านี้ผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีผู้รับเลี้ยงรับ รกั ษาหรือผรู้ ับเล้ียงรับรักษาไมไ่ ด้เกย่ี วขอ้ งด้วย เจา้ ของสตั ว์ต้องรบั ผิดแต่เพียงผู้เดียว มาตรานี้ใช้ถ้อยคําว่า “หรือ” นั้นหมายความว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดเท่านั้นจะต้องรับ ผิดหรอื ผรู้ ับผดิ มไี ด้เพยี งผู้เดยี วเทา่ นัน้ มีคําพิพากษาฎกี าท่ีน่าสนใจดังต่อไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2510 เจ้าของช้างมอบช้างให้บุตรไปดูแลเลี้ยงรักษาและ ทํางานหาประโยชน์โดยเจ้าของช้างไม่ได้เกี่ยวข้องในการเลี้ยงหรือรับจ้าง เมื่อช้างทําความเสียหายขึ้นโดย ละเมดิ เจา้ ของช้างไม่ต้องรบั ผดิ บตุ รผเู้ ลยี้ งรักษาช้างเท่านน้ั ต้องรบั ผดิ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2510 เจ้าของช้างใช้ให้บุคคลอื่นเอาช้างของตนไป รับจ้างลากไม้ เป็นการที่บุคคลนั้นทําแทนจําเลย เมื่อลูกของช้างนั้นไปทําอันตรายบุคคลภายนอกโดยผู้ที่เอา ช้างของตนไปมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควร เจ้าของช้างต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูก ช้างน้ันทาํ อันตราย (จ) เจ้าของสัตว์ “เจ้าของสัตว์” ได้แก่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ในสัตว์นั้น กล่าวคือเจ้าของต้องครอบครอง สัตว์และมีเจตนายดึ ถือสัตว์เอาไว้เพื่อตน มีคําพพิ ากษาฎกี าทนี่ ่าสนใจดังตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2523 สุนัขในบ้านจําเลยออกจากบ้านไปกัดโจทก์ ภริยา จําเลยรับว่าเป็นเจ้าของ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยต้องสันนิษฐานว่าสุนัขเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา1474 จําเลยจึงเป็นเจ้าของสุนัขด้วย สุนัขหลบหนีออกไปได้ขณะจําเลยเปิดประตูสุนัข จึงออกไปกัดโจทก์ได้แสดงว่าจําเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรในการเลี้ยงดูสุนัขจําเลยต้องชดใช้ ค่าเสียหายใหโ้ จทกร์ วมท้ังทดแทนความตกใจและทกุ ขท์ รมานด้วย
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมิด 91 (ฉ) บุคคลผรู้ ับเลีย้ งรับรกั ษาไว้แทนเจ้าของ “บุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ” ได้แก่ ผู้รับเลี้ยงรับรักษาเอาไว้แทนเจ้าของ ในขณะที่สัตว์ดังกล่าวไปก่อให้เกิดความเสียหาย ส่วนจะรับเลี้ยงเอาไว้ “ตามสัญญา” หรือหน้าที่ “ตาม ความเป็นจริง” ก็ถือว่าเป็นการรับเลี้ยงรับรักษาเอาไว้แทนเจ้าของ แต่ในขณะที่มีการรับเลี้ยงรับรักษาไว้ แทนเจ้าของ ต้อง “ขาดจากการดูแลและครอบครอง” ของเจ้าของสัตว์ดังกล่าว เช่น โรงพยาบาลสัตว์ ร้าน ตดั ขนสตั ว์ และสถานรับฝากสัตว์เลย้ี งค้างคืน ส่วน “คนรับใช้ตามบ้าน” หากมาช่วยให้อาคาร ช่วยตัดขน ช่วยตัดเล็บ ช่วยอาบนํ้า สัตว์เลีย้ ง “ไมถ่ ือเป็น” บคุ คลผู้รับเลีย้ งรับรักษาไว้แทนเจา้ ของ 5.1.2 ข้อแกต้ วั ไมต่ อ้ งรบั ผิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 วรรคแรกตอนท้าย “เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์ อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น” มาตรา 433 ตอนท้ายถือเป็น “ข้อแก้ตัวไม่ต้องรับผิด” ของเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทน เจ้าของ เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของต้องพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังหรื อนําสืบให้ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังหรือไม่ หากนําสืบไม่ได้ก็จะต้องรับผิดตามมาตรานี้ มีคําพิพากษาฎีกา ทนี่ ่าสนใจดงั ต่อไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2492 ตามมาตรา 433 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็น หน้าที่ของผู้เป็นเจ้าของสัตว์จะพิสูจน์ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงสัตว์ การรักษาตาม ชะนดิ และวสิ ยั ของสัตว์ ช้างของจําเลยตกมันเต็มที่ ถ้าได้ยินเสียงคนเป็นไล่อาละวาดทันที ช้างของจําเลยได้เพ่นพ่าน อยู่ในละแวกบ้านไม่น้อยกว่า 20 วัน จําเลยเป็นแต่คอยเฝ้าดูแลในเวลากลางวันห่าง ๆ เพราะเข้าใกล้ไม่ได้ ส่วนในเวลากลางคืนหาได้เฝ้าดูแลไม่ เมื่อปรากฎว่าช้างของจําเลยได้ทําร้ายผู้อื่นตาย จําเลยจึงได้ใช้วิธียิงขา ช้างและจับได้ จะว่าจําเลยได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชะนิดและวิสัยของ สตั ว์แลว้ ไมไ่ ด้ คําพิพากษาฎีกาที่ 3451/2555 รอยห้ามล้อของรถยนต์กระบะซึ่งยาวประมาณ 20 เมตร อยู่ ในช่องเดินรถของ ล. โดยเฉพาะรอยห้ามล้อรถด้านซ้ายอยู่ห่างจากไหล่ถนนพอสมควร แสดงว่ากระบือของ จําเลยได้วิ่งตัดหน้ารถของ ล. ในระยะกระชั้นชิดจนไม่สามารถห้ามล้อรถได้ทัน จึงชนกระบือของจําเลย แม้
92 ปีดเิ ทพ อยู่ยนื ยง ก่อนถึงที่เกิดเหตุประมาณ 200 เมตร มีป้ายสีเหลืองเตือนระวังสัตว์เลี้ยงก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏจากทางนํา สืบของจําเลยว่าขณะเกิดเหตุ ล. ขับรถด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างไร การที่มีป้ายสี เหลืองเตือนให้ระวังสัตว์เลี้ยงมิได้หมายความว่าหากเหตุรถชนสัตวเ์ ลี้ยงแล้ว ผู้ขับรถชนสัตว์เลี้ยงจะต้องผิด เสมอไป เมื่อพิจารณาประกอบ พระราชบัญญัติจราจรทางบกจราจรทางบก ฯ มาตรา 111 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดข่ี จูง ไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ ซ่ึง เป็นกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้ขับรถให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ถนน การที่ฝูงกระบือท่ี จําเลยเลี้ยงมีมากถึง 43 ตัว แต่มีผู้ควบคุมดูแลเพียง 2 คน ถือว่ามีผู้ควบคุมดูแลไม่เพียงพอ ข้อเท็จจริงฟัง ได้ว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรในการควบคุมดูแล เลี้ยงกระบือ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์จําเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 433 วรรคหนึ่ง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2559 ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ จูง ไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทางเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ เมื่อจําเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของสุนัขจึงเป็นผู้ดูแลสัตว์จะต้องดูแลควบคุมมิให้ สัตว์กีดขวางการจราจร การที่สุนัขของจําเลยทั้งสองวิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ในระยะ กระชั้นชิด ย่อมเป็นผลโดยตรงที่ทําให้รถจักรยานยนต์ของโจทก์ล้ม เมื่อไมป่ รากฏจากทางนําสืบของจําเลย ทั้งสองว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างไร ดังน้ัน เหตุละเมิดจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจําเลยทั้งสองที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการ ควบคุมดูแลสุนัข เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ จําเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 วรรคหนึ่ง 5.1.3 สิทธิไล่เบ้ยี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 วรรคสอง “อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดั่ง กล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิดหรือเอาแก่เจ้าของ สัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้” มาตรานี้วรรคสองเป็นเรื่อง “สิทธิไล่เบี้ย” เมื่อบุคคลผู้รับเลี้ยงรับ รักษาไว้แทนเจ้าของชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว ย่อมก่อให้เกิดสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้ที่มา “เร้า” (หรือ กระตุ้นสัตว์) หรอื “ย่ัว” (หรือทําใหส้ ัตวโ์ กรธ) สัตวน์ น้ั 5.2 ความรับผดิ ของผู้ครองโรงเรือนหรือสิง่ ปลกู สร้าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่องก็ดี หรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่าผู้
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 93 ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตาม สมควรเพ่อื ปัดปอ้ งมิให้เกดิ เสยี หายฉะนน้ั แลว้ ท่านว่าผเู้ ปน็ เจา้ ของจําต้องใชค้ ่าสนิ ไหมทดแทน บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ให้ใช้บังคับได้ตลอดถงึ ความบกพรอ่ งในการปลกู หรอื คา้ํ จนุ ต้นไมห้ รอื กอไผ่ดว้ ย ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคข้างต้นนั้น ถ้ายังมีผู้อื่นอีกที่ต้องรับผิดชอบในการก่อให้เกิด เสียหายน้นั ด้วยไซร้ ท่านว่าผูค้ รองหรอื เจ้าของจะใชส้ ิทธไิ ลเ่ บย้ี เอาแก่ผนู้ ัน้ ก็ได้” 5.2.1 ความเสยี หายเกิดจากโรงเรอื น หรอื สิง่ ปลกู สร้างอย่างอ่ืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 วรรคแรก “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะ เหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่องก็ดี หรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่า ผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตาม สมควรเพอ่ื ปดั ปอ้ งมิให้เกดิ เสยี หายฉะนน้ั แลว้ ทา่ นว่าผเู้ ปน็ เจ้าของจําตอ้ งใช้ค่าสนิ ไหมทดแทน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 วรรคแรกนี้หากเหตุแห่งความเสียหาย เกิดขึ้นจากโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ ผู้ท่ีต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ได้แก่ “ผู้ครอง” หรือ “เจา้ ของ” ก. ผคู้ รอง “ผู้ครอง” คือ ผู้มีสิทธิครอบครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น ผู้เช่า ผู้อาศัย ผู้ ครอบครองปรปักษ์ ซึ่งจะต้องเป็นการครอบครองในลักษณะท่ีขาดจากเจ้าของ หากไม่ขาดจากเจ้าของหรือ ความเป็นเจ้าของแลว้ ย่อมไมถ่ ือเป็นผ้คู รองตามมาตรา 434 มคี าํ พิพากษาฎีกาท่ีน่าสนใจดงั ต่อไปนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ 2959/2516 ป้ายโฆษณาติดตั้งบนดาดฟ้าตึก ผู้เช่าสถานที่ติดตั้ง เป็นผู้ครองป้าย ผู้รับจ้างติดตั้งและดูแลป้ายไม่ใช่ผู้ครองร่วมด้วย ป้ายตั้งขึ้นไม่ตรงตามแบบแปลน จึงถูก พายุตามธรรมดาพัดพังลงทําให้โจทก์เสียหาย ผู้เช่าสถานที่อันเป็นผู้ครองป้ายต้องรับผิด ส่วนผู้รับจ้าง ซ่ึง เป็นผู้ติดตั้งป้ายก็ต้องรับผิดด้วยเพราะเป็นการกระทําโดยประมาทเลินเล่อไม่ติดตั้งป้ายให้ดีเป็นความรับผิด ตามมาตรา 420 แต่เมื่อเจ้าของป้ายได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับเจ้าของรถไปแล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไล่ เบี้ยเอากบั ผู้รบั จา้ งทําป้ายไดต้ ามมาตรา 434 วรรคทา้ ย คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2520 จําเลยให้เช่าตึกของจําเลยทั้งสามชั้นแต่จําเลยยัง ใช้ตึกของจําเลยบางส่วนเป็นที่ตั้งบริษัทและสํานักงานของจําเลยอยู่ ถือว่าจําเลยยังครองตึกของจําเลยอยู่
94 ปีดิเทพ อยู่ยืนยง หากความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ตึกของจําเลยก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่องหรือบํารุงรักษาไม่ เพียงพอ จําเลยซึง่ เป็นทัง้ ผ้คู รองและเจ้าของตกึ จําต้องใช้ค่าสนิ ไหมทดแทนให้โจทก์ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2526 โจทก์ฟ้องให้จําเลยรับผิดในความเสียหายอันเกิด จากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของจําเลย มิใช่ให้รับผิดจากการทําละเมิดของลูกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องนําสืบถึง ฐานะความเกี่ยวพันของลูกจ้าง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายเกิดจากท่อระบายนํ้าจากดาดฟ้า โรงแรมชํารุดบกพร่องหรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอ จําเลยซึ่งเป็นทั้งผู้ครองและเจ้าของดาดฟ้าโรงแรมและท่อ ระบายนํ้าดังกล่าว จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ผู้รับประกันภัย ซึ่งได้ใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ เอาประกันภยั ไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา 434 ประกอบด้วยมาตรา 880 ข. เจ้าของ “เจ้าของ” คือ ผู้เปน็ เจา้ ของกรรมสิทธ์ิในสิ่งปลูกสรา้ ง ค. โรงเรอื น “โรงเรือน” ไดแ้ ก่ สง่ิ ปลกู สรา้ งทใี่ ชเ้ ป็นท่ีอยอู่ าศยั หรือประกอบกจิ การบางอย่าง ง. สง่ิ ปลกู สรา้ ง “สงิ่ ปลูกสรา้ ง” ไดแ้ ก่ สงิ่ ทมี่ นษุ ยไ์ ด้ปลกู สรา้ งข้ึนมา จ. ก่อสรา้ งไวช้ ํารดุ บกพรอ่ งก็ดี หรือบาํ รุงรกั ษาไมเ่ พยี งพอกด็ ี “ก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่องก็ดี หรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี” ได้แก่ ก่อสร้างไว้นาน จนเสื่อมจากสภาพเดิม จนเกิดการแตกหักเสียหายหรือจนเกิดการบุบสลาย หรือไม่ได้พยายามรักษาสภาพ ของเคร่อื งมอื เครื่องจักรตา่ ง ๆ ใหม้ สี ภาพท่พี รอ้ มจะใช้งานอยู่ตลอดเวลา ฉ. ผู้ทตี่ อ้ งรับผิดในความเสยี หายท่ีเกิดขนึ้ “ผู้ที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น” ตามมาตรานี้ ได้แก่ “ผู้ครอง” หรือ “เจ้าของ 5.2.2 ความเสยี หายเกดิ จากต้นไมห้ รือกอไผ่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 วรรคแรก “บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรค กอ่ นน้นั ใหใ้ ช้บังคับได้ตลอดถงึ ความ บกพรอ่ งในการปลกู หรือคา้ํ จุนต้นไมห้ รือกอไผ่ด้วย”
คําอธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 95 (ก) ตน้ ไม้ “ต้นไม้” ได้แก่ พชื ท่ัวไปทีม่ ลี าํ ตน้ และกิง่ กา้ น (ข) ปลูก “ปลูก” ได้แก่ เอาส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นไม้หรือเอาเฉพาะส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ไปใส่ไว้ ในดินเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต การปลูกนี้ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเองก็ดีหรือว่าขานวานใช้ให้คนอื่นปลูก ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทําของ ถ้าหากไม่ดูแลต้นไม้ให้ดีแล้ว “ผู้ครอง” หรือ “เจ้าของ” ต้อง รับผิด มีคาํ พิพากษาฎีกาทนี่ ่าสนใจดงั ตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2528 ต้นไม้ของจําเลยล้มเอนเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โจทก์บอกกล่าวให้ จําเลยตัด จําเลยก็ไม่ยอมตัดและไม่ยอมให้โจทก์ตัด แสดงว่าจําเลยยังครอบครองและ แสดงความหวงแหนเป็นเจ้าของต้นไม้นั้นอยู่ดังน้ัน ตราบใดที่จําเลยยังคงปล่อยให้ต้นไม้ของจําเลยล้มเอน เข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่ยอมคํ้าจุนหรือตัดออกเพื่อระงับความเสียหายอันจะพึงเกิดแก่โจทก์ต่อไป ย่อมถือได้ว่าจําเลยกระทําละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันมาอยู่ตราบนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนที่ยังไม่ พน้ กําหนด 1 ปยี อ้ นหลังไปนับแตว่ นั ฟอ้ ง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538 ต้นสนที่อยู่ข้างถนนซึ่งเทศบาลจําเลยที่1มีหน้าที่ ดูแลมีสภาพผุกลวงแม้จะมีฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุแต่ก็เป็นฝนตกเล็กน้อยและปานกลางในช่วง สั้นๆและความเร็วของลมก็เป็นความเร็วลมปกติการที่ต้นสนล้มลงทับรถยนต์โจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุ สุดวิสัยเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนแต่เป็นความบกพร่องของจําเลยท่ี1ที่ไม่ยอมโค่นหรือคํ้าจุนต้นสน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจําเลยที่1จึงต้องรับผิด ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพล ภาพตลอดชีวิตโดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เสียสมรรถภาพทางเพศและไม่สามารถ เดินได้กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ท้ังสองกรณอี นั เนอื่ งมาจากเหตทุ ีต่ า่ งกันจงึ แยกจํานวนใหช้ ดใช้ตามเหตทุ แ่ี ยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2560 ต้นกระถินปลูกในที่ดินของจําเลย แต่ห่างจากแนว เสาไฟฟ้าของโจทก์เพียง 2 ถึง 3 เมตร และสูงกว่าเสาไฟฟ้ามาก ลักษณะนี้ต้องถือว่าการปลูกหรือคํ้าจุน บกพร่องเพราะเป็นที่น่ากลัวอันตรายจากการหักโค่นของต้นกระถินล้มทับสายไฟฟ้าของโจทก์ ปกติธรรมดา ต้นไม้ต้องมีวันโค่นล้มและไม่แน่นอนว่าจะโค่นล้มเมื่อใด ต้นไม้ที่ปลูกในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ง่านเช่นนี้เจ้าของต้องตัดฟันให้เตี้ยลงเพื่อเมื่อโค่นล้มจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือทรัพย์สินของ ผู้อื่น หรือจะต้องคํ้าจุนด้านที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นให้โค่นล้มเข้ามาในที่ดินของตนเอง การ
96 ปดี เิ ทพ อยูย่ ืนยง ปล่อยต้นกระถินดังกล่าวไว้ในลักษณะเช่นนั้นถือว่าเป็นความบกพร่องของจําเลยผู้เป็นเจ้าของต้นกระถินท่ี บํารุงรกั ษาไมเ่ พียงพอตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 ต้นไม้สูงใหญ่ของจําเลยปลูกอยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้าของโจทก์มาก ถ้าโค่นล้มทับ สายไฟฟ้าย่อมจะเกิดอันตรายแก่สายไฟฟ้า อุปกรณ์และเสาไฟฟ้า ยิ่งกรณีมีพายุฟ้าคะนองโอกาสที่ต้นไม้จะ โค่นล้มก็มีมากเป็นธรรมดา ตามปกติแล้วในฤดูฝนหรือก่อนจะถึงฤดูฝนย่อมเกิดเหตุฝนฟ้าคะนองลมพัดแรง และมีต้นไม้หักโค่นล้มได้ เหตุดังกล่าวเป็นเรื่องที่อาจคาดการณ์และป้องกันได้ เหตุฝนฟ้าคะนองและมีลม พัดในฤดูฝนหรือก่อนจะถึงฤดูฝนอันเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปีดังกล่าว จึงมิใช่เหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจ ป้องกันได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 8 5.2.3 สทิ ธิไล่เบยี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 วรรคสาม “ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรค ข้างต้นนั้น ถ้ายังมีผู้อื่นอีกที่ต้องรับ ผิดชอบในการก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วยไซร้ ท่านว่าผู้ครองหรือเจ้าของ จะใช้สิทธไิ ล่เบี้ยเอาแก่ผู้นั้นก็ได้” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 วรรคสามเป็นเรื่อง “สิทธิไล่เบี้ย” ถ้าเป็น กรณีของผู้รับจ้าง (ตามสัญญาจ้างทําของ) เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้างหรือผู้รับจ้างก่อสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูก สร้าง ได้ก่อให้เกิดความชํารุดบกพร่องในระหว่างก่อสร้าง แล้วส่งมอบให้ผู้ว่าจ้าง (ตามสัญญาจ้างทําของ) เช่น ผู้ครองหรือเจ้าของ เข้าพักอาศัยหรือใช้ประโยชน์ในโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง แล้วต่อมาโรงเรือนสิ่งปลูก สร้างนั้นได้สร้างความเสียหายให้ผู้อื่นในภายหลังอันเนื่องมาจากความชํารุดบกพร่องที่ผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือผู้รับจ้างก่อสร้างได้ก่อเอาไว้ เช่นนี้เจ้าของหรือผู้ครองที่เป็นผู้ว่าจ้างก็ต้องรับผิด แต่ก็ยังมีสิทธิไล่เบ้ีย เอาจากผ้รู บั เหมาก่อสร้างท่ีเปน็ ผู้รับจ้างกอ่ สร้างได้ 5.2.4 สิทธิปอ้ งกนั ภัยอันตรายลว่ งหน้า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 435 “บุคคลใดจะประสบความเสียหายอนั พึงเกิด จากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น บุคคลผู้นั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จําเป็นเพื่อบําบัด ปดั ป้องภยนั ตรายนน้ั เสียได้” มาตรานี้กล่าวถึงเรื่อง “สิทธิป้องกันภัยอันตรายล่วงหน้า” มาตรานี้ใช้ถ้อยคําในตัวบทว่า บุคคลใด “จะประสบความเสียหาย” อันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น แสดงว่าภัย อันตรายยังไม่มีถึงหรือแสดงว่าภัยอันตรายกําลังจะมาถึง บุคคลผู้นั้น “ชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่ จําเป็น” เพื่อบําบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ เช่น บุคคลที่จะประสบความเสียหายอาจฟ้องต่อศาล ให้
คาํ อธบิ าย กฎหมายลักษณะละเมิด 97 ศาลบงั คับให้ผู้ครองหรือเจ้าของจัดการตามที่จําเป็นเพื่อบําบัดปัดป้องภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้ เปน็ ต้น 5.3 ความรับผิดของบุคคลผ้อู ยู่ในโรงเรือนกรณีของตกหลน่ หรอื ทง้ิ ขวา้ งจากโรงเรอื น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436 “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบใน ความเสยี หายอนั เกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนัน้ หรือเพราะทง้ิ ขวา้ งของไปตกในทีอ่ นั มิควร” (ก) บุคคล “บุคคล” ไดแ้ ก่ บคุ คลธรรมดา (ข) บคุ คลผู้อยใู่ นโรงเรือน “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน” ได้แก่ ผู้อยู่ในโรงเรือนต้องเป็นบุคคลที่สามารถควบคุมบังคับ บัญชาคนอื่นที่อยู่ร่วมด้วยในโรงเรือนนั้นได้ เช่น เจ้าบ้าน เจ้าของสถานที่ หัวหน้าครอบครัว แต่ถ้าผู้อยู่ใน โรงเรือนในลักษณะที่เป็นเพียงผู้อาศัยหรือผู้อยู่ภายใต้ความควบคุมบังคับบัญชาอีกทีหนึ่ง เช่นว่านี้ “ไม่ถือ ว่าเป็น” บุคคลผ้อู ย่ใู นโรงเรือน เชน่ คนรบั ใช้ ลูกจ้าง แขกท่ีมาอยอู่ าศัยดว้ ยชัว่ คราว เปน็ ต้น หากบุคคลที่อยู่ในโรงเรือนในฐานะผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าไปอยู่อีกส่วนหนึ่ง ผู้อาศัยใน ฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าไปอยู่อีกส่วนหนึ่ง โดยมีการ “อยู่แยกกันเป็นสัดส่วน” ในทํานองที่ครอบครองท่ี พักอาศัย “คนล่ะส่วน” ระหว่างบุคคลที่อยู่ในโรงเรือน (ผู้ให้เช่า) กับผู้อาศัย (ผู้เช่า) แล้ว แล้วผู้อาศัย (ผู้ เช่า) ทําของตกหล่นจากโรงเรือนหรือทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร เช่นว่านี้บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน (ผู้ให้ เชา่ ) ไม่ต้องรบั ผดิ ตามมาตรา 436 มคี าํ พิพากษาศาลฎีกาท่นี ่าสนใจดังต่อไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2518 จําเลยสร้างแฟลตให้คนเช่า ซึ่งอาจทิ้งของและนํ้า ลงบนที่ดินของโจทก์ถัดไป แม้จําเลยจะครอบครองและอยู่อาศัยในแฟลต แต่ได้มีผู้เช่าแยกเป็นส่วนสัดซึ่ง เป็นผู้ทําละเมิด จําเลยไม่ต้องรับผิดตาม มาตรา 436 ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือจงใจหรือประมาท เลินเลอ่ ทําละเมดิ ตอ่ โจทก์ (ค) ตอ้ งรบั ผดิ ชอบในความเสียหาย “ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย” ได้แก่ ต้องรับผิดชอบในความพินาศ ความสูญเสีย ความยอ่ ยยบั และการพงั ทลายอย่างหนง่ึ อยา่ งใด
98 ปดี เิ ทพ อยู่ยืนยง (ง) ของ “ของ” ได้แก่ สิ่งของทุกชนิด แต่ต้องไม่ใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือน (ถ้าเป็นกรณี ส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือน ผู้ครองโรงเรือนอาจต้องรับผิดตามมาตรา 434 ซึ่งต้องดูข้อเท็จจริงเป็นกรณี ไป) (จ) ตกหล่น “ตกหล่น” ได้แก่ การเคลอ่ื นทีข่ องวัตถทุ ่ีตกอย่างอิสระภายใตแ้ รงโน้มถว่ งของโลก (ฉ) ท้ิงขว้าง “ทิ้งขว้าง” ได้แก่ ผู้กระทําได้ทิ้งขว้างของให้ไปตกในสถานที่อันมิควร โดยผู้กระทํา ไม่ใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่กฎหมายกําหนดความรับผิดของผู้อยู่ในโรงเรือนเอาไว้อย่างเด็ดขาด โดยไม่ได้มีกฎหมายกําหนดให้แก้ตัวหรือข้อยกเว้นความรับผิดเอาไว้ มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ ดังตอ่ ไปน้ี คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541 แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจําเลยที่ 1 ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและ ให้บริการด้านความปลอดภยั ซอ่ มแซมบํารงุ รกั ษาส่งิ ปลูกสร้างและทรพั ยส์ นิ ส่วนกลางตลอดจนอปุ กรณต์ า่ ง ๆ ก็ตาม แต่จําเลยที่ 1เป็นผู้เช่าซ่ึงเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายใน อาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่าบริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดัง กล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จําเลยท่ี 1ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะ เช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคล ผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิว ไปถูก สายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กาย เป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจําเลยที่ 1 ครอบครอง จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิด ในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจาก อาคารดังกล่าว ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ท่ี ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จําเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถ นําต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นําสําเนามาสืบได้ สําเนาเอกสาร ดังกล่าวจึงรับฟังเป็น พยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับ เอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆที่ส่งต่อศาลได้ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ ส่งให้ทําคําแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสําคัญโดยมีคํารับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มี
คําอธบิ าย กฎหมายลกั ษณะละเมดิ 99 วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจําเลย ที่ 1 เห็นว่าคําแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคําแถลงคัดค้านของจําเลยที่ 1ไม่ปรากฏว่าจําเลย ที่ 1 คัดค้านว่าคําแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไรดังนั้น ศาล จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคําแปลเป็นภาษาไทย ถูกตอ้ งกต็ าม 5.4 ความรบั ผิดของผู้ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคแรก “บุคคลใดครอบครองหรือ ควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการ เสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะ ความผิดของผู้ต้องเสียหายนน้ั เอง” ความรับผดิ ตามมาตรา 437 วรรคหน่ึง เปน็ ความรับผิดอันเกิดจากข้อสนั นิษฐานของกฎหมาย โดยไมต่ ้องพจิ ารณาวา่ ผู้ครอบครองหรอื ควบคมุ ดูแลยานพาหนะนนั้ ได้กระทําโดยจงใจหรอื ประมาทเลินเลอ่ หรอื ไม่ (คําพพิ ากษาศาลฎกี าท่ี 12725/2555) 5.4.1 กรณีรถยนต์ชนกนั กรณี “ผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์ไปชนรถยนต์ของผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์อีก ฝ่าย” กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นเรื่องของยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่ายมาชนกัน จึงมิใช่ กรณีตามมาตรา 437 ต้องนําเอามาตรา 420 มาปรับใช้กับกรณี เพราะถ้าเป็นกรณีของมาตรา 437 ต้องมี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์เท่านั้น มีคําพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ ดังตอ่ ไปนี้ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2544 โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา437 ก็ต่อเมื่อโจทก์มิใช่เป็นผู้ที่ครอบครองหรือควบคุม ยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล เมื่อเหตุเกิดขึ้นจากรถยนต์ของโจทก์และจําเลยซึ่งกําลังแล่นชน กัน เป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่าย จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 437 โจทก์จึงมีหน้าท่ี นําสืบว่าจําเลย เป็นฝ่ายประมาท เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 84 กรณี “ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกระทําละเมิดไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง” ในการควบคุมหรือครอบครอง เครื่องจักรกลที่ก่อให้เกิดความเสียหายของผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์ทั้งสองฝ่ายที่ขับรถยนต์มาชน
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152