ส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (critical thinking and problem solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (creativity and innovation) เพ่ือให้สามารถ บรู ณาการความรูแ้ ละทักษะวชิ าชีพในการสรา้ งสรรค์นวตั กรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ 2) พฒั นาหลักสตู รใหม่เพ่ือ ผลิตกําลังคนดา้ นนวตั กรรมเพ่ือสุขภาพ เพ่ือรองรบั อุตสาหกรรมเปา้ หมายของประเทศ แมว้ า่ วิทยาลยั ฯ จะมีผู้สอนท่ี มีองค์ความรู้และทักษะการทําวจิ ัยขั้นสงู ในการพัฒนานวัตกรรม แต่การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลกั สตู ร ใหม่เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตมีทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรมนั้นยังขาดแนวทางที่เป็นระบบ ดังนั้น ความรู้ท่ี เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรใหม่อย่างเป็นระบบเพื่อผลิตบัณฑิตท่ีแก้ปัญหาวิชาชีพ ด้วยนวัตกรรมจงึ มีความจําเปน็ อยา่ งยิ่ง กรอบซีดีไอโอ (CDIO framework) เป็นการจัดการเรียนการสอนท่ีมุง่ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นทรัพยากรมนษุ ย์ที่ พร้อมสําหรับโลกของการทํางานในอนาคต (future ready workforce) ด้วยกระบวนการรับรู้ปัญหา (conceive) – ออกแบบ (design) วิธีแก้ปัญหา - ประยุกต์ใช้ความรู้ (implement) เพื่อสร้างวิธีแก้ปัญหา - และดําเนินงาน (operate) โดยนําวิธีแกป้ ัญหาไปทดลองใช้จรงิ (4) CDIO framework จึงเปน็ เคร่อื งมือทเ่ี หมาะสมในการจดั การเรียน การสอนและการพัฒนาหลักสูตรเพ่ือสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพท่ีสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมต้นแบบเพื่อแก้ปัญหาที่สนใจได้ ปัจจุบันวิทยาลัย ฯ มีผู้สอนท่ีผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการเร่ืองการจัดการ เรียนการสอนรูปแบบ CDIO framework และได้รับการแต่งตั้งจาก Singapore Polytechnic ประเทศสิงคโปร์ ให้ เป็น CDIO master trainer จํานวนสองท่าน ทําหน้าท่ีเป็นวิทยากรอบรมเรื่องการจัดการศึกษารูปแบบ CDIO framework ให้กับหนว่ ยงานที่สนใจทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพอ่ื พฒั นาผู้เรยี นของวิทยาลัย ฯ ให้มคี ุณลกั ษณะของบัณฑิตท่ีพึงประสงค์ สามารถสรา้ งสรรคน์ วัตกรรมจาก ภูมปิ ัญญาไทยได้อย่างเป็นระบบ คณะกรรมการจัดการความรูด้ ้านการเรยี นการสอนของวทิ ยาลัย ฯ จึงกาํ หนดให้การ จัดการความรู้เก่ียวกับวิธีจัดการเรียนการสอนแก่อาจารย์ของวิทยาลัย ฯ โดยกลุ่มเป้าหมายคืออาจารย์ผู้รับผิดชอบ รายวิชาปฏบิ ตั กิ ารและคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรใหม่ และมีเป้าหมายในการจดั การความรู้ในครั้งน้ีเพื่อสง่ เสริมให้ นักศึกษาสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพ่ือดูแลสุขภาพได้ ผลการดําเนินงานพบว่านักศึกษาสามารถ บูรณาการความรู้และทักษะวชิ าชีพในการสร้างผลิตภัณฑต์ ้นแบบได้ดว้ ยกระบวนการวทิ ยาศาสตร์และการวจิ ัย และมี ผลงานต้นแบบบางส่วนที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันนวัตกรรมในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ และ บางส่วนได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในการพัฒนาต่อยอด นับเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรทู้ ่ีมีคุณคา่ แก่ผู้เรียนและเป็นจดุ เรมิ่ ต้นของการสรา้ งนวตั กรที่จะเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลอ่ื นเศรษฐกิจของประเทศไทยดว้ ย นวัตกรรมต่อไป นอกจากน้ียังสามารถพัฒนาหลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2561) ระดับปริญญาตรี คือหลักสูตรวิทยาศาสตร บัณฑิต สาขานวัตกรรมผลิตภัณฑสุขภาพได้ ปัจจัยท่ีทําให้นักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ในครั้งน้ีคือการกระตุ้นให้ นักศึกษามีแรงจูงใจจากภายใน (intrinsic motivation) ในการคิดอย่างสร้างสรรค์ (creative thinking) และสร้าง นวตั กรรมเพอื่ ใช้แก้ปญั หาในประเดน็ ทต่ี นเองสนใจ วธิ ีการดาเนนิ งาน การดําเนินการจัดการความรเู้ รื่อง การจัดการเรียนการสอนตามกรอบซีดีไอโอเพ่ือสร้างบัณฑิตนักสร้างสรรค์ นวตั กรรม มขี ้ันตอนการดําเนินงานจดั การความรดู้ งั แสดงน้ี 1. การบ่งชค้ี วามรู้ (knowledge identification) เพอื่ ใหเ้ กดิ การขับเคลื่อนวทิ ยาลัย ฯ ตามกรอบแนวคิดการ เป็นมหาวิทยาลยั นวัตกรรม วิทยาลัย ฯ จึงจัดทําแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ.2561-2564 ข้ึน โดยมีประเด็นยุทธศาสตรท์ ี่ 1 การผลิตและพัฒนากําลังคนด้านวิชาชพี และเทคโนโลยชี ้ันสูงรองรับยุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบในการดําเนินงาน และ เพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ คณะกรรมการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน จึงได้ประชุม ร่วมกันเพื่อสํารวจองค์ความรู้ท่ีจําเป็นสําหรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรม โดย พิจารณาจากผลการวเิ คราะห์ SWOT analysis ร่วมกบั การจัดลาํ ดับองค์ความรู้ที่จําเป็นต่อการผลักดันใหย้ ุทธศาสตร์ ท่ี 1 ประสบผลสําเร็จ ผลการบ่งชี้ความรู้พบว่าคณาจารย์ของวิทยาลัย ฯ มีความเช่ียวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา
ผลติ ภณั ฑน์ วตั กรรมจากสมนุ ไพร แตร่ ปู แบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวไปสู่นักศึกษาน้นั มีความหลากหลายตาม ความถนัดของอาจารย์แต่ละท่าน การมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนท่ีแตกต่างกันนี้อาจส่งผลให้บัณฑิตนัก สร้างสรรค์นวตั กรรมของวิทยาลัย ฯ ขาดอัตลักษณ์ได้ ดังนั้นคณะกรรมการจัดการความรดู้ ้านการเรยี นการสอนจึงได้ กําหนดหัวข้อองค์ความรู้ที่จําเป็นสําหรับการผลิตบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิทยาลัย ฯ ขึ้น ซึ่งได้แก่ วิธี จัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างบัณฑิตของวิทยาลัย ฯ ให้เป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมเพ่ือ สขุ ภาพ 2. การแสวงหาความรู้ท่ีต้องการ (knowledge acquisition) หลังจากกําหนดองค์ความรู้ท่ีต้องการแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นข้ันตอนดําเนินการสํารวจว่าแหล่งขององค์ความรทู้ ่ีต้องการนั้นมีอยู่ภายในหรือภายนอกวิทยาลยั ฯ โดย คณะกรรมการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนได้ทําการสํารวจจํานวนอาจารย์ของวิทยาลัยฯ ท่ีผ่านการอบรม กระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Finnish University pedagogy, CDIO framework, STEM, และ innovative teaching model อื่นๆ ผลการสํารวจพบว่าวิทยาลยั ฯ มีอาจารย์ท่ีผ่านการอบรม Finnish University pedagogy จาํ นวน 8 คน, CDIO framework จํานวน 23 คน, STEM จาํ นวน 3 คน, และ SPASS model จาํ นวน 2 คน ในจํานวนนี้มีอาจารย์จํานวน 3 ท่าน ที่ประสบผลสําเร็จในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ นวัตกรรมของนักศึกษา โดยเป็นอาจารย์ที่ประยุกต์ใช้รูปแบบ Finnish University pedagogy จํานวน 1 ท่าน, รปู แบบ CDIO framework จํานวน 1 ทา่ น และรูปแบบ SPASS จํานวน 1 ทา่ น 3. การสร้างและการพัฒนาความรู้ (knowledge creation and development) ข้ันตอนน้ีเป็นการ แลกเปล่ียนเรียนรู้องค์ความรู้จากบุคคลภายในของวิทยาลัย ฯ จํานวน 3 คน ท่ีเป็นแหล่งความรู้เร่ืองกระบวนการ จัดการเรียนการสอนรูปแบบ Finnish University Pedagogy (อ.ภก.เอมอร ชัยประทีป), CDIO framework (ดร. ทนพญ.รุ่งนภา ศรานุชิต), และ SPASS (ดร.พว.จุฑาภรณ์ ขวัญสังข์) ด้วยเคร่ืองมือจัดการความรู้แบบสุนทรียสนทนา (dialogue) จากน้ันจึงร่วมกันเลือกองค์ความรู้ท่ีเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรเพ่ือ สร้างบัณฑิตนักสร้างสรรค์นวัตกรรมเพ่ือสุขภาพมากท่ีสุด ซ่ึงก็คือ CDIO framework และจัดทําเป็นคู่มือการจัด การศกึ ษาเพ่ือสร้างบัณฑติ นักปฏบิ ัติและสรา้ งสรรค์นวัตกรรม วทิ ยาลัยการแพทยแ์ ผนไทย 4. การแบ่งปันแลกเปล่ียนความรู้ (Knowledge sharing) เป็นการถ่ายทอดความรู้ CDIO framework สู่ กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คืออาจารย์ผู้สอนจํานวน 1 ท่านและกลุ่มอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจํานวน 5 ท่าน โดย กําหนดตัวช้ีวัดคือการจัดทําคู่มือวิธีจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรเพ่ือสร้างบัณฑิตนักสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย และมีเป้าหมายของการจัดการความรู้คือต้องมีการนํา CDIO framework ไป ประยุกตใ์ ช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนอยา่ งน้อย 2 รายวิชา และมหี ลกั สูตรที่พฒั นาข้ึนตามกรอบ CDIO framework จาํ นวน 1 หลักสตู ร ผลและอภปิ รายผลการดาเนินงาน การดาํ เนินการจัดการความรู้เพ่ือผลติ บัณฑติ นักสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิทยาลยั ฯ เรมิ่ จากการประชุมของ คณะกรรมการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนเพ่ือกําหนดองค์ความรู้ท่ีต้องการคือวิธีจัดการเรียนการสอนและ การพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างบัณฑิตของวิทยาลัย ฯ ให้เป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ผลการสํารวจพบว่า อาจารย์ของวิทยาลัย ฯ ผ่านการอบรมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 รูปแบบการ จัดการเรยี นการสอนที่อาจารย์ของวทิ ยาลยั ฯ ได้เขา้ ร่วมอบรมประกอบดว้ ยรปู แบบ CDIO framework มีผู้เขา้ อบรม 22 คน คิดเป็นร้อยละ 64, รูปแบบ Finnish University Pedagogy มีผู้เข้าอบรม 8 คน คิดเป็นร้อยละ 22, รูปแบบ STEM ผ้เู ข้าอบรม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 8, และรูปแบบ SPASS ผเู้ ขา้ อบรม 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6
ภาพท่ี 1 แสดงรอ้ ยละของอาจารยว์ ิทยาลัยการแพทยแ์ ผนไทย ทผ่ี า่ นการอบรมการจัดการเรยี นการสอนรปู แบบ SPASS (2 คน), STEM (3 คน), Finnish University Pedagogy (8 คน), CDIO framework (22 คน) ในการอบรม CDIO framework และ Finnish University Pedagogy พบว่ามีอาจารย์จํานวน 2 คน ได้แก่ ดร.ทนพญ.รุ่งนภา ศรานุชิต (รายวิชาปัญหาพิเศษด้านสุขภาพความงามและสปา) และ อ.ภก.เอมอร ชัยประทีป (รายวิชาโภชนาการ) ท่ีนําความรู้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสรมิ การผลติ บัณฑติ นักปฏิบัติท่ีสร้างสรรค์นวัตกรรมในรปู แบบผลิตภัณฑ์เพ่ือสุขภาพและความงาม (ภาพที่ 2ก) และได้รับรางวัลจากการ ประกวดผลงานของนักศึกษาทั้งในระดบั ชาติ (ภาพท่ี 3ข) และนานาชาติ (ภาพท่ี 2ค) นอกจากนี้อาจารย์ท้งั สองคนยัง ไดร้ ับคดั เลือกให้เป็น CDIO master trainer และ Finnish University Pedagogy mentor ของมหาวิทยาลยั ฯ เพ่อื ทําหน้าท่ีเป็นวิทยากรอบรมหลักสูตร CDIO framework และ Finnish University Pedagogy ให้แก่บุคลากรทาง การศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ฯ สําหรับรูปแบบ SPASS น้ัน ดร.พว.จุฑาภรณ์ ขวัญสังข์ ได้นํามาใช้ ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเภสัชกรรมแผนไทยเพ่ือความงาม สามารถส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ ใหแ้ ก่นกั ศกึ ษาจนไดร้ ับรางวลั จากการประกวด Start up ของมหาวิทยาลัย ฯ (ภาพท่ี 2ง) ภาพท่ี 2 ผลงานของนักศกึ ษาวทิ ยาลยั การแพทย์แผนไทยจากการจดั การเรยี นการสอนแบบ CDIO framework, Finnish University Pedagogy และ SPASS ก. ผลิตภณั ฑต์ ้นแบบเพ่ือสุขภาพและความงามรายวชิ าปัญหาพเิ ศษดา้ นสุขภาพความงามและสปา ข. นักศึกษาเขา้ ร่วมการประกวดในงานประชุมวิชาการระดบั ชาติ ค. นักศึกษาได้รบั รางวลั จากงานประชุมวชิ าการระดบั นานาชาติ ง. นักศกึ ษาได้รบั รางวัลจากการประกวด Start up
คณะกรรมการการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนได้จัดประชุมเพื่อแลกเปล่ียนเรียนรู้โดยเชิญอาจารย์ ทั้งสามท่านมาถ่ายทอดประสบการณ์ (ภาพท่ี 3) และกําหนดให้การจัดการเรียนการสอนแบบ CDIO framework เป็นหวั ขอ้ หน่งึ ในการจัดการความรู้เพ่ือสรา้ งบณั ฑติ ของวทิ ยาลยั ฯ ใหเ้ ปน็ นกั สร้างสรรคน์ วตั กรรมเพ่อื สุขภาพ ภาพท่ี 3 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เร่ืองการจดั การเรียนการสอนแบบ CDIO framework, Finnish University Pedagogy และ SPASS ของคณะกรรมการการจดั การความรู้ด้านการเรียนการสอน จากนั้นจึงกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะนํา CDIO framework ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่ง พิจารณาจากรายวิชาที่มีบรบิ ทสัมพันธ์กบั การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรม จาํ นวน 3 รายวชิ า ได้แก่ วิชาการตั้งตํารับเครื่องสําอาง วิชาสุคนธบําบัด วิชาการออกแบบและพัฒนาตํารับเภสัชภัณฑ์ ซ่ึงมีอาจารย์สุรัติวดี ทั่งม่ังมี เป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา และดําเนินการจัดการเรียนการสอนตาม CDIO framework ในภาคการศึกษาที่ 1/2561 โดยให้นักศึกษาทํางานกลุ่ม เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ ระดมสมองเพื่อออกแบบวิธีแก้ปัญหาโดย ประยุกต์ใช้ความรู้ในรายวิชาท่ีเรียนและบูรณาการร่วมกับความรู้จากรายวิชาอื่นๆ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตามที่แต่ละกลุ่มสนใจ จากน้ันจัดแสดงผลงาน และเชิญผู้ประกอบการจากภายนอกมาเยี่ยมชมและร่วมประเมินผล งาน ดังแสดงในภาพที่ 4 ซึ่งจากการจัดกิจกรรมดังกล่าวทําให้นักศึกษามีประสบการณ์จริงในการนําเสนอสินค้าแก่ ผู้ประกอบการ และยังสามารถขายผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้แก่ผู้ประกอบการและอาจารย์ท่ีเข้าเย่ียมชมกิจกรรม ทําให้ นักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในผลงานและความสามารถของตนเอง ภาพกิจกรรมนี้ได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ วทิ ยาลัย ฯ
ภาพท่ี 4 บรรยากาศการจัดแสดงผลงานนวตั กรรมผลิตภณั ฑเ์ พื่อสุขภาพและความงามของนักศึกษา วชิ าการตงั้ ตาํ รบั เครือ่ งสาํ อาง วชิ าสุคนธบําบัด และวิชาการออกแบบและพฒั นาตาํ รบั เภสชั ภัณฑ์ จาํ นวน 25 กล่มุ นอกจากจะนํา CDIO framework มาเป็นกรอบในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมของนักศึกษาของวิทยาลัย ฯ ทั้งสองหลักสูตรแล้ว วิทยาลัย ฯ ซ่ึงมีองค์ความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพด้วย ภูมิปัญญาไทย ยังตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ ในการก้าวสู่ Innovative University ด้วยการพัฒนา หลักสูตรใหม่เพ่อื รองรับผลติ กําลงั คนที่มคี วามสามารถในการสร้างสรรค์นวตั กรรมเพ่ือเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และขับเคล่ือนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ สขุ ภาพ (หลักสตู รใหม่ พ.ศ. 2561) โดยใช้ CDIO framework เป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตร (ภาพที่ 5) โดยมี จุดเด่นคือเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่สถานประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลกั สตู ร จัดการเรียนการสอนและ ประเมินสมรรถนะตลอดหลักสูตร โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย 19 บริษัท (ภาพที่ 6) เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร ซึ่งจะเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2562 นี้ มคอ.2 ของหลักสูตรใหมน่ ี้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของวิทยาลยั ฯ
ภาพที่ 5 การพฒั นาหลกั สตู รวิทยาศาสตรบณั ฑติ สาขาวชิ านวตั กรรมผลติ ภัณฑ์สุขภาพ หลกั สตู รใหม่ พ.ศ. 2561 ตาม CDIO framework ภาพท่ี 6 พิธีลงนามบนั ทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือขา่ ย 19 บรษิ ทั เพ่ือพฒั นาหลักสูตรและจดั การศึกษาหลักสตู รวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวชิ านวัตกรรมผลติ ภัณฑ์สขุ ภาพ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561) การจัดการความรู้เรื่องวิธีจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรเพ่ือสร้างบัณฑิตของวิทยาลัย ฯ ให้ เปน็ นักสรา้ งสรรค์นวัตกรรมเพ่ือสุขภาพ ในครัง้ นปี้ ระสบความสําเร็จจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ การมเี ป้าหมาย ที่ชัดเจนของมหาวิทยาลัย ฯ ในการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรม การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของผู้บริหารวิทยาลัย ฯ ในการให้บุคลากรเข้ารับการอบรมด้านการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาตนเอง และการทํางานร่วมกันเป็นทีม อย่างมี ประสิทธิภาพของบุคลากรในวิทยาลยั ฯ เพื่อปรับเปลี่ยนรปู แบบการเรียนการสอนเพ่ือสร้างให้บัณฑิตของวิทยาลยั ฯ เป็นบัณฑิตนกั ปฏบิ ตั ิท่มี ีคุณลกั ษณะท่ีพึงประสงค์ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต อยา่ งไรกต็ าม วทิ ยาลยั ฯ ยงั ตอ้ งขยายผลการจดั การเรยี นการสอนรปู แบบ CDIO framework นไี้ ปยังอาจารย์ท่านอ่ืนในวทิ ยาลัย ฯ ต่อไป สรปุ วิทยาลัย ฯ ได้ดําเนินการจัดการความรู้เรื่องวิธจี ัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสตู รเพื่อสรา้ งบัณฑติ ของวิทยาลัย ฯ ใหเ้ ป็นนกั สร้างสรรค์นวัตกรรมเพ่ือสุขภาพ โดยใช้รปู แบบ CDIO framework ในการจดั การเรียนการ
สอนและการพัฒนาหลักสูตร และสามารถส่งเสรมิ ให้นักศึกษาสร้างนวตั กรรมที่เป็นผลติ ภณั ฑ์ต้นแบบตามความสนใจ ได้ ซึ่งนอกจากนักศึกษาจะได้แสดงถึงมรรถนะในการปฏิบัติตามวิชาชีพแล้ว ยังแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบอีกด้วย สําหรับการเตรียมความพร้อมรองรับการเปน็ มหาวิทยาลัยนวัตกรรมน้นั วิทยาลัย ฯ ไดพ้ ัฒนาหลกั สตู รใหมต่ าม CDIO framework โดยมสี ถานประกอบการเข้ามารว่ มในการออกแบบหลักสูตร จึงนบั วา่ หลักสูตรใหม่นี้เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่ใช้ CDIO framework เป็นกรอบใน การออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑตฺ ใหส้ อดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการของสถานประกอบการ บรรณานกุ รม 1. ราชกจิ จานุเบกษา. ยุทธศาสตรช์ าติ (พ.ศ. 2561-2580). สืบคน้ เมอื่ 8 กมุ ภาพันธ์ 2562 เข้าถงึ ได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF 2. แผนยทุ ธศาตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). มหาวิทยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลธญั บรุ ี. สืบค้นเม่ือ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เขา้ ถึงได้จาก http://www.pld.rmutt.ac.th/download/Download(2)/Policy/P01_11012562.pdf 3. แผนยุทธศาสตร์ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). วิทยาลยั การแพทย์แผนไทย. สบื คน้ เม่ือ 8 กมุ ภาพนั ธ์ 2562 เขา้ ถงึ ได้จาก https://www.tmc.rmutt.ac.th/wpcontent/uploads/2015/03/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0% B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0% B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-4-%E0%B8%9B%E0%B8%B5- %E0%B8%9E.%E0%B8%A8.-2561-2564.p 4. CDIO Initiative. Retrieved February 8, 2019, From http://www.cdio.org/
โครงการอบรมผลติ ภัณฑ์ของทีร่ ะลกึ จากเศษไม้ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ธนเดช วรวงษ์ การบริการวิชาการแก่สังคมเป็นหน่ึงในภารกิจท่ีสนองนโยบายการบริหารงานของรัฐในการ พัฒนาประเทศให้มีความเจรญิ รงุ่ เรืองข้ึนและขยายวงกว้างออกไปสู่ชนบท ซ่ึงมหาวิทยาลยั เป็นแหลง่ รวมทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้ท่ีหลากหลายมีความเช่ียวชาญ และความถนัดในด้านต่างๆ ซ่ึง การให้บริการวิชาการนอกจากเป็นการทาประโยชน์ให้สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้รับประโยชน์ใน ด้านต่างๆเป็นผลพวงท่ีตามมาอีกหลายอย่าง เช่น เป็นการเพิ่มพูนความรู้และสร้างประสบการณ์ สาหรับอาจารย์ อันนามาสู่การพัฒนาท้ังอาจารย์และนักศึกษา โดยมีการดาเนินงานตามพันธกิจหลัก 4 ด้านคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม และ ด้านทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีปรัชญาในการสร้างผลงานวิจัย สร้างสรรค์ ส่ิงประดิษฐ์ และนวัตกรรมด้านศิลปกรรมศาสตร์ บนพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถ ถา่ ยทอดองคค์ วามรู้ สรา้ งคุณคา่ หรอื มลู คา่ เพิม่ ของผลติ ผลใหแ้ ก่ประเทศ ซึง่ ในปีงบประมาณ 2561 น้ี คณะได้รับภารกิจในการบริการวิชาการให้กับชุมชนในพื้นท่ี ตาบลบึงบา อาเภอหนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี วัตถุประสงค์ของการบริการในคร้ังนี้เป็นการนาเอาทรัพยากรที่มีอยู่ในพ้ืนที่มาเป็นฐานใน การเสริมสรา้ งคุณคา่ และมูลคา่ เพ่มิ ใหเ้ กิดขนึ้ กบั ผ้ทู ่ีอาศยั อยู่ในชุมชนน้ัน อย่างย่ังยืนตอ่ ไปในอนาคต ผู้รับผิดชอบโครงการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเศษไม้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนเดช วรวงษ์ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นผู้ท่ีมีความรู้ ความสามารถทางด้านศิลปกรรมและงานประยุกต์ศิลปกรรม สามารถถ่ายทอดเอาความรู้จากศาสตร์ ทางด้านศิลปะไปเพิ่มมูลค่าทรัพยากรวัตถุดิบในชุมชนให้กับผู้คนในชุมชนได้มองเห็นเป็นช่องทางใน การปรับความคิดนาเอาทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพยากรที่เป็นชิ้นส่วนเศษของวัสดุต่างๆที่มีอยู่ใน ชุมชน นามาปรับแต่ง เพ่ิมเติม ให้เกิดมีมูลค่าข้ึนมาได้ อาจจะเป็นที่มาของรายได้อีกช่องทางหน่ึง ใหก้ ับครอบครัวก็เปน็ ได้ แล้วยังเปน็ การลดเศษสงิ่ ท่ีอาจจะเป็นขยะทส่ี ร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมได้ โครงการอบรมผลิตภณั ฑ์ของที่ระลึกจากเศษไม้ เป็นโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย 20 ปี ระยะท่ี 1 (พ.ศ.2561-2564) เป็นโครงการใหม่ได้มี การดาเนินการในปี พ.ศ.2561
ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนางานบริการวิชาการเพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตที่ย่ังยืนของ ชมุ ชนและเศรษฐกจิ เมืองใหม่ เปา้ ประสงค์ 1. งานบริการวิชาการสามารถขับเคล่ือนและตอบสนองต่อการพฒั นา คุณภาพชวี ติ ความต้องการของสงั คมอยา่ งมีส่วนร่วม 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลธญั บุรี เปน็ ต้นแบบของการพฒั นา ชมุ ชนและสงั คมอย่างยงั่ ยนื 3. ยกระดับฝมี ือแรงงานเพ่ือเพม่ิ ผลิตภาพให้กับประเทศ ตัวชวี้ ัด จานวนชุมชนต้นแบบที่ได้รับการบรกิ ารวิชาการจากมหาวิทยาลัย - เป้าประสงค์ ระดบั คณะ 1 ชมุ ชน ระดบั ความสาเร็จของการพฒั นาชมุ ชนเป้าหมาย ให้มคี วามเข้มแขง็ มีคุณภาพชีวติ ดีขน้ึ และมีความยงั่ ยืน 1ชุมชน กลยทุ ธ์ 1. พฒั นาพ้นื ที่ (area based) ตาบลบงึ บา จงั หวดั ปทมุ ธานี ใหย้ ั่งยืน ดว้ ย social engagement และ smart city 2. กาหนดชุมชนเพ่อื ให้บรกิ ารวชิ าการแก่สังคม โดยจดั ทาเปน็ ข้อตกลงมี ความร่วมมือทางวชิ าการ/บริการวชิ าการ ตัวชวี้ ัดกลยุทธ์ - จานวนเครือขา่ ยความร่วมมือ กับหนว่ ยงานภายนอกในการพัฒนา ชมุ ชน หรอื องค์กรเปา้ หมาย 1 ชุมชน - รอ้ ยละ80ของผ้ผู ่านการอบรม/พฒั นาอาชพี ระยะส้ัน สามารถนา ความรูไ้ ปใช้ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนางานได้ - รอ้ ยละ80ของโครงการบรกิ ารวชิ าการท่ีถูกนาไปใชบ้ ูรณาการเพ่ือ พัฒนาการเรยี นการสอน 3 รายวิชาตอ่ ภาคการศึกษา - รอ้ ยละ85ความพงึ พอใจของชมุ ชนเป้าหมายตอ่ การบรกิ ารวชิ าการของ มหาวทิ ยาลยั การดาเนินการในครั้งนี้ได้กาหนดพ้ืนท่ีไว้ที่ หมู่ 1 ตาบลบึงบา อาเภอหนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี ซ่ึงจังหวัดปทุมธานีนี้ได้เป็นจังหวัดที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาให้เป็นเขต เศรษฐกจิ เมืองใหมข่ องชาติ การดาเนินการบริการวิชาการแก่สังคม ช่ือโครงการอบรมผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเศษไม้ จากการท่ีได้ลงพ้ืนท่ีสารวจความต้องการของคนในชุมชน เขตพื้นท่ีหมู่ 1 ตาบลบึงบา อาเภอหนอง เสือ จังหวัดปทุมธานี ได้สารวจสอบถามถึงเรื่องการมองหาทรัพยากรวัตถุดิบอะไรที่มีอยู่พอสมควร
ภายในชุมชนแล้วยงั ไม่ได้มีการนาไปใช้ใหเ้ กิดประโยชน์แต่อย่างไร จะได้นาส่ิงน้ันมาประยุกต์สรา้ งให้ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ สร้างประโยชน์จากสิ่งนั้นให้เกิดข้ึนเพ่ือเพ่ิมคุณค่าและเพ่ิมมูลค่าให้เกิด ข้ึนกับชุมชน มีผู้มาเข้าฟังในครั้งน้ีหลายท่านได้แสดงความเห็นกันหลากหลาย สุดท้ายจากการระดม ความคิดกัน ได้ผลสรุปออกมาดังน้ี คือให้นาเอาเศษไม้ท่ีเหลือจากการทาเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ในชุมชน นามาสร้างเป็นผลิตภณั ฑ์เพื่อเปน็ การเพิ่มมลู คา่ ให้กบั วตั ถดุ ิบที่ไม่ไดม้ ีการก่อใหเ้ กดิ ประโยชน์ใดๆ 1.การเตรียมการในเบ้อื งต้น นับจากที่มหาวิทยาลัยได้มีนโยบายเรื่องการให้หน่วยงานระดับคณะได้นาเอาองค์ความรู้ท่ีมี อย่ใู นแต่ละคณะออกไปทาการบริการวชิ าการแก่สังคม ผู้ท่มี หี น้าที่รับผิดชอบโครงการต้องเป็นแกน นาในการดาเนินการ ขับเคลื่อนงานให้มีการเคล่ือนไหวเป็นไปตามลาดับขั้นตอนตามระยะเวลาของ แผนท่ีไดว้ างไว้ 1.1นับจากที่ได้ลงพ้ืนท่ี ศึกษา สารวจถึงความต้องการของชุมชน ทาให้ได้ทราบถึงความ ต้องการภายในชุมชนและได้เข้าใจในวิถีชีวิตของชุมชนว่าธรรมชาติของชุมชนแต่ละท่ีน้ันมีธรรมชาติ เป็นอย่างไร ดังเช่น ชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก ผู้คนในชุมชนน้ันจะประกอบอาชีพทาการ ค้าขาย เม่ือทาการค้าขายก็มีความจาเป็นที่ต้องให้เวลาไปในส่วนน้ัน ทาให้มีเวลาค่อนข้างน้อยท่ีจะ ออกไปไหนหรือทาอะไรอย่างอื่น ดังนั้นการนัดหมายให้ไปร่วมทากิจกรรม หรือการเรียนรู้ หรือการ อบรมต่างๆนั้น จะได้รับความร่วมมือค่อนข้างน้อย สาหรับชุมชนที่มีอาชีพในการทาไร่ ทานา จะมี เวลาค่อนข้างมาก สามารถที่จะเข้าร่วมทากิจกรรมต่างๆได้ดี ดังเช่นชุมชนบึงบา หมู่ 1 อาเภอหนอง เสือ จังหวัดปทุมธานี ชุมชนนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทานา ดังนั้นผู้คนในชุมชนนี้จึงมีเวลาที่ ค่อนข้างจะอิสระพอสมควร หลังจากที่ได้เก็บข้อมูลในส่วนต่างๆในชมุ ชนและได้สารวจความต้องการ ของชุมชน ได้พบว่าชุมชนน้ีนอกจากทานาแล้วบางครอบครัวยังมีการทาเฟอร์นิเจอร์ไม้อยู่ด้วย เศษ ช้ินส่วนไม้ที่เหลือจากการทาเฟอร์นิเจอร์ไม่ได้มีการนาไปทาประโยชน์ใดๆ นอกเสียจากเอาไปเผา ทาลาย จึงได้นาเอาข้อมูลประเด็นน้ีมาร่วมวิเคราะห์หาเหตุเพื่อเอาไปก่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาได้ น่าจะเป็นผลที่ดีกว่าดังที่เป็นอยู่ ทุกคนมีความเห็นพ้องต้องกัน จึงได้นาเร่ืองท่ีได้ไปจัดทาแผนเขียน เป็นโครงการการอบรมให้ความรู้ข้ึนมา โดยการมุ่งเน้นการนาเอาทรัพยากรท่ีมีอยู่ในชุมชนนั้นไป ประยกุ ตร์ ว่ มกับศาสตร์ทางด้านศิลปกรรม ใช้ชื่อโครงการอบรมในคร้ังนวี้ ่า“โครงการอบรมผลิตภัณฑ์ ของทรี่ ะลกึ จากเศษไม้”เพอื่ นาเสนอของงบประมาณและขออนมุ ตั ิดาเนินการโครงการต่อไป 1.2แต่งต้ังคณะกรรมการดาเนินการ เน่ืองจากงานบริการวิชาการน้ันเป็นงานท่ีต้องใช้ ความเสียสละเป็นอย่างมาก ดังน้ันบุคคลผู้ท่ีจะมาทางานนี้ต้องมีใจของการเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ การ
คัดเลือกและเชิญบุคคลใดๆให้เข้ามามีส่วนรว่ มในการทางานบริการวิชาการน้ันต้องพิจารณาในปจั จัย น้ีเป็นประเด็นหลัก ในการดาเนินการนั้นต้องเข้าไปพบและเชื้อเชิญส่วนตัวในแต่ละคน อธิบายช้ีแจง ในรายละเอียดของโครงการใหช้ ัดเจน แสดงเหตุผลบอกถึงส่ิงทเี่ ป็นประโยชนใ์ นการท่ีได้ทางานบริการ วิชาการ และจะพิจารณารวมไปถึงอาจารย์ท่ีประจาหลักสูตรในแต่ละหลักสูตรท่ีจะเชิญมาร่วมเป็น กรรมการในการทางานต้องมีวิชาสอนท่ีมีความเกี่ยวข้องกับงานที่จะไปทาการอบรม เพ่ือจะได้มีผล สืบเน่ืองในการนาเอาเนื้อหาที่จะไปทาการอบรม เอาไปให้นักศึกษาได้ร่วมเป็นผู้มีส่วนร่วมท้ังในการ เรียนในช่ัวโมงเรียนและการได้ออกไปช่วยในกิจกรรมการอบรมด้วย ในส่วนของเจ้าหน้าท่ีฝ่าย สนับสนุนก็มีความจาเป็นท่ีจะต้องแต่งตั้งไว้ด้วย เพราะว่าจะมีงานในบางส่วนบางอย่างที่เกี่ยวกับ ทางด้านเอกสาร และการประสานงานต่างๆ 1.3ดาเนินการจัดซ้ือวัสดุ อุปกรณ์ท่ีต้องใช้ในการปฏิบัติการการอบรม ในส่วนนี้ควรมีการ ดาเนินการล่วงหน้าไว้ก่อน เผื่อเวลาไว้บ้าง เพราะว่าจะต้องมีการสารวจราคาส่ิงของเคร่ืองใช้ต่างๆ เพื่อให้ได้ของท่ีดีและมีประสิทธิภาพราคาเหมาะสม ส่ิงใดที่อยู่ในระเบียบที่สามารถซ้ือได้ และส่ิงใดที่ ระเบียบไม่ครอบคลุมไม่สามารถซื้อได้ ต้องมีความชัดเจน เพ่ือป้องกันปัญหาการใช้เงินผิดประเภทที่ จะมตี ามมาภายหลงั ซึง่ รายละเอยี ดการจดั ซื้อจัดจ้าง การใชเ้ งินประเภทตา่ งๆนน้ั มหี นว่ ยงานกองคลัง ท่ีคอยให้คาปรึกษานับว่าเป็นหน่วยสนับสนุนที่สามารถให้ความกระจ่างได้เป็นอย่างดี ปัญหาที่มักจะ เกิดขึ้นในส่วนของการจัดซ้ือจัดจ้างค่อนข้างท่ีจะมีอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น จัดซ้ือของให้ไม่ตรง กับความต้องการ ของบางอย่างขาดตลาดทาให้ไม่สามารถจัดซ้ือได้ หรือว่าของมาช้าหรือมาไม่ทันใน วันอบรม ฯลฯ 1.4ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก หน่วยงาน อบต.เป็นหน่วยงานท่ีทางานการ บริหารงานชุมชน มีสถานะภาพเป็นหน่วยงานราชการ การท่ีเราเข้าไปพบ ขอข้อมูล หรือการเข้าไป เพื่อท่ีจะไปทาการพัฒนาชุมชนนั้น จะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี เพราะว่าเราเองก็ทางานท่ีเป็น หน่วยงานราชการเช่นเดียวกัน สาหรับการเข้าพบผู้นาชมุ ชน ต้องมีการสอบถามข้อมูลให้ชัดเจนก่อน จาก อบต. ว่าธรรมชาตขิ องแตล่ ะชมุ ชนนั้นเป็นอยา่ งไร 2.การดาเนินการกอ่ นการจดั อบรม นับจากท่ีได้เตรียมการในเบ้ืองต้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างก็พร้อมที่จะนาไปสู่การ ปฏิบัติการ ซึ่งในการปฏิบัติการนอกพื้นที่น้ันมีความแตกต่างและยุ่งยากกว่าการทางานในส่วนของ ห้องเรียน เพราะว่าต้องมีการไปพบปะผู้คนที่หลากหลาย ท่ีมีพื้นฐานทางด้านความดิดที่แตกต่างกัน ช่วงของวัยท่ีไม่ได้อยู่ในช่วงของวัยเดียวกัน และยังไม่สามารถใช้กฎระเบียบข้อบังคับใดๆกับบุคคล
กลมุ่ นไ้ี ด้เป็นไปตามทค่ี าดหวงั ได้ ดังนนั้ สงิ่ ท่สี าคัญคือการใช้ความรัก ความนอบน้อมถอ่ มตน ความยมิ้ แย้ม ตลอดไปถึงการเตรียมการทางด้านข้อมูล ท่ีเป็นท้ังรูปภาพส่ือการสอน และภาคข้อมูลเอกสารที่ มปี ระโยชน์ ให้มีความนา่ สนใจ เพื่อดงึ ดูดให้สนใจ มีความตอ้ งการที่อยากจะเรยี นรู้ 2.1ประชุมคณะกรรมการดาเนินงาน เป็นการประชุมครั้งแรกของการดาเนินการ เพื่อ ชี้แจงให้คณะกรรมการได้รบั ทราบถึงวตั ถปุ ระสงค์และแนวทางในการปฏบิ ัติ มอบหมายงานตามภาระ งานท่ไี ดก้ าหนดเอาไว้ ใหส้ อดคล้องกับความรู้ความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล พรอ้ มกับ กาหนดวันท่ีจะประชุมในคร้ังต่อไปไวใ้ ห้ชดั เจน และให้ทุกคนได้เตรียมทาภาระงานที่ได้รบั มอบหมาย ให้เรียบรอ้ ยพรอ้ มกบั นามาชแี้ จงในการประชมุ ในครั้งตอ่ ไป 2.2นาพาคณะกรรมการดาเนินงานลงพื้นที่ พบผู้นาชุมชนและดูสถานท่ีที่จะมาทาการจัด อบรม ในส่วนตรงนเี้ พอ่ื ใหไ้ ดม้ กี ารพดู คุยปรึกษาหารอื กนั จะใชบ้ รกิ ารรถต้ขู องมหาวทิ ยาลัย เพราะว่า การท่ีทุกคนได้น่ังไปในรถคันเดยี วกนั น้ันจะทาใหเ้ กดิ การสนทนากันข้ึน ดงั น้นั โอกาสนี้จึงเป็นช่วงเวลา ที่ดีท่ีเหมาะสมที่จะทาความเข้าใจในส่วนต่างๆ ปรับความคิดให้มีความคิดเห็นท่ีเป็นไปในทิศทาง เดียวกันได้ ปัญหาของการออกไปลงพ้ืนท่ีน้ีก็คือ ปัญหาด้านเวลา ท้ังเวลาของผู้นาชุมชน เวลาของ คณะกรรมการ ที่เป็นอาจารย์ต้องติดภาระงานสอน เวลาของยานพาหนะซึ่งจะมีเวลาว่างตรงกัน หรอื ไม่ และการไปยังบา้ นของผู้นาชุมชนต้องประสานงานกับผู้นาชุมชนให้ชัดเจนเรียบร้อย ต้องไม่ไป ในช่วงคาบเก่ียวของอาหารมอ้ื กลางวัน เพราะวา่ จะทาใหเ้ กิดความรู้สกึ ทอ่ี ดึ อัดกนั ทัง้ สองฝา่ ย 2.3มอบหมายให้คณะกรรมการท่านใดที่เป็นสายวิชาการ ให้นาเอารายละเอียดเนื้อหา บางช่วงบางตอนของโครงการไปบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ ใน เบื้องต้น ได้มกี ารกระจายบุคคลผู้ทมี่ าเป็นคณะกรรมการดาเนินการใหห้ ลากหลายในสาขาตา่ งๆทาให้ เกิดการกระจายในรายวชิ าทจี่ ะไปบูรณาการทางด้านการเรียนการสอนไดก้ ว้างขน้ึ บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาประติมากรรมนูนสูง หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาประตมิ ากรรม อาจารย์ดษิ ฐวฒั น์ อนิ นพุ ฒั น์ เป็นผ้รู บั ผิดชอบ บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรออกแบบนิเทศ ศลิ ป ผู้ช่วยศาสตราจารยช์ มจันทร์ ดวงเดอื น เปน็ ผ้รู ับผดิ ชอบ บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาออกแบบศลิ ปกรรม หลักสูตรศิลปบณั ฑติ สาขา ศิลปะภาพพิมพ์ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ธนเดช วรวงษ์ เป็นผู้รบั ผดิ ชอบ บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานศิลปะ หลักสูตรนวัตการ ออกแบบผลติ ภัณฑ์รว่ มสมยั ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ธนเดช วรวงษ์ เป็นผรู้ ับผิดชอบ
บูรณาการกบั การเรียนการสอนในรายวิชาจติ รกรรมสอี ะครลี ิค หลกั สตู รศิลปบณั ฑิตสาขา จิตรกรรม ผชู้ ว่ ยศาสตราจารยร์ ตั นฤทธ์ิ จนั ทรรงั สี เป็นผ้รู บั ผดิ ชอบ บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาองค์ประกอบศิลปะ2 หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรม ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์รัตนฤทธ์ิ จนั ทรรงั สี เป็นผ้รู ับผดิ ชอบ 2.4ลงพ้ืนที่พบประชาชนในชุมชนรอบท่ี 2 จากการที่ได้มีการพบกันไปครั้งหน่ึงแล้วซึ่ง รอบแรกนั้นเป็นรอบของการสารวจ แต่ในรอบนี้เป็นรอบของการประชาสัมพันธ์ ความรู้อย่างหน่ึงท่ี ได้รับจากการที่ได้พูดคุยกับชาวบ้าน คือวิถีธรรมชาติของชาวบ้าน โดยทั่วไปแล้วเขาจะมีวิถีชีวิตของ เขาที่เป็นของใครของคนน้ัน มีเร่ืองท่ีต้องยุ่งอยู่กับชีวิตตนเองหลายอย่างอยู่แล้ว โดยเฉพาะเกี่ยวกับ การทามาหากิน ตอ้ งสูบน้าเขา้ ไร่เขา้ นา ไปงานสังคม เช่น งานบวช งานแตง่ งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ ไปส่ง-ไปรับ ลูก-หลาน ไปโรงเรียน การท่ีจะให้เขามาใส่ใจในเร่ืองที่นอกเหนือจากนี้น้ันค่อนข้างจะ น้อย ยิ่งถ้าเร่ืองนั้นๆไม่ได้มีผลได้-ผลเสียโดยตรงต่อเขาด้วยแล้ว โอกาสที่จะมาสนใจย่ิงน้อยลงไปอีก ด้วยเหตุน้ี ดังนั้นคณะกรรมการดาเนินงานเกรงว่าเม่ือถึงเวลาวันอบรมแล้ว จะมีคนเข้ามารับการ อบรมไม่ตรงเต็มตามเป้าหมายจึงต้องหาทางเพื่อให้มีคนมาเข้ารับการอบรมเต็มตามจานวนท่ีได้ กาหนดไว้ และในการไปพบปะกบั ทางชมุ ชนในคร้ังนไ้ี ด้นาเอาภาพตัวอยา่ งผลงานทีจ่ ะไปทาการอบรม ไปประชาสัมพันธ์ด้วย ภาพท้ังหมดน้ันได้มอบไว้ให้กับผู้นาชุมชนเพ่ือติดบอร์ดเพื่อประชาสัมพันธ์ ให้กับผู้ที่ไม่ได้มาในวันที่มีการนัดหมายในครั้งนั้น ได้รับรู้ถึงเร่ืองราวต่างๆท่ีจะมีขึ้นในวันอบรม บอก ถงึ สิ่งทเี่ ขาจะได้รับเม่อื เข้ามารับการอบรม มีทงั้ สง่ิ ท่ีจะได้รับในระยะสั้นและสิ่งที่จะได้รับในระยะยาว 2.5การเช่ือมสายสัมพันธ์ เนื่องจากการทางานบริการวิชาการท่ีต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับ บุคคลที่ไม่เคยได้รู้จักกันมาก่อน ดังน้ันการที่ได้มาพบกันเพียงแค่ครั้งหรือสองครั้งนั้นคงยังไม่เพียง พอที่จะทาให้เขาได้มองเห็นและให้ความสาคัญ สนใจ ใส่ใจ ในส่ิงที่ทางมหาวิทยาลัยนาไปมอบให้ ดังนั้นผู้รับผิดชอบโครงการจึงจาเป็นต้องติดต่อกับผู้นาชุมชนอย่างสม่าเสมอ ท้ังเป็นทางการและไม่ เปน็ ทางการ เพ่อื เป็นการตอกยา้ กระตุน้ เตือนโดยตรง 3.การดาเนนิ การอบรม การดาเนินการปฏิบัติการอบรมนอกพ้ืนท่ีน้ันเป็นส่ิงท่ีค่อนข้างยุ่งยากอยู่หลายประการ มีทั้ง การเตรียมการทางด้านครุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ เอกสาร ตลอดจนอาหาร เคร่ืองดื่ม ฯลฯ ต้องมีการ เตรยี มการให้พร้อมสมบรู ณม์ ากกว่าการจัดการอบรมในพื้นที่
3.1ด้านสถานที่ ประสานงานกับผู้นาชุมชนหรือเจ้าของพื้นท่ีท่ีจะใช้ดาเนินการการอบรม สารวจตรวจเชค็ พืน้ ท่ี เรือ่ งโต๊ะ เก้าอ้ี ผนงั พืน้ เรยี บทีจ่ าเป็นจะตอ้ งใช้ในการตดิ แผน่ โปสเตอรใ์ ห้ความรู้ ในเรือ่ งท่ที าการอบรม กระดานไวทบ์ อรด์ พัดลม ปลัก๊ ไฟ 3.2ด้านผู้เข้ารับการอบรม กระชับกับผู้นาชุมชนให้ทาการประชาสัมพันธ์อีกคร้ัง เพ่ือ กระตุ้นเตือน หรือเตือนความจาแก่ลูกบ้าน ขณะเดียวกันนั้นทางด้านผู้จัดอบรมก็ต้องช่วย ประสานงานอีกทางหนง่ึ ไปยังผ้คู นทไี่ ดไ้ ปทาความรจู้ ักปฏสิ มั พนั ธ์ไวก้ ่อนหนา้ น้ี 3.3ด้านอาหาร เคร่ืองด่ืม ได้จัดการดาเนินการติดต่อไปยังผู้ท่ีรับเหมาทาอาหารให้จบ เบด็ เสร็จท่ีเจ้าเดยี ว แยกแยะรายละเอยี ดของประเภทอาหารไวใ้ ห้ชดั เจน เชน่ อาหารมังสวิรตั ิ อาหาร สาหรับอิสลาม รสชาดของอาหารกาหนดไว้กลางๆ จะไม่ให้เจ้าบ้านต้องมาทาอาหารเพื่อไม่ให้เกิด ความยุ่งยากแก่เจ้าบ้าน เจ้าบ้านยังสามารถเข้ารับการอบรมไปพร้อมกับลูกบ้านได้ด้วย ทาให้ได้รับ ความรู้ไปพร้อมๆกัน ยังผลให้เกิดความเข้าใจสามารถเป็นแกนนาทางด้านการสร้างผลิตภัณฑ์ของที่ ระลกึ จากเศษไม้ไดใ้ นโอกาสตอ่ ๆไป 3.4ดา้ นโปสเตอร์แสดงการปฏิบัติการ เนื่องด้วยการดาเนนิ การอบรมหรือการทากจิ กรรม ใดใดทจี่ ดั ขนึ้ กับบุคคลในหมู่บา้ นหรือชุมชนหรือท่ีสาธารณะชน นบั ว่าเปน็ สิ่งท่คี ่อนข้างควบคุมยากใน เร่ืองเวลา เร่ืองความเข้าใจในความรู้ท่ีอธิบาย ดังน้ันการจัดแสดงข้ันตอนวิธีการทางานที่เป็นแผ่น โปสเตอร์นับว่าเป็นสิ่งท่ีจาเป็น สามารถแก้ปัญหาในความเข้าใจของคนที่เข้าใจช้า หรือมาเข้ารับการ อบรมช้าได้ ทาให้สามารถย้อนกลับไปดูเพื่อทาความเข้าใจได้ โปสเตอร์หลักคือโปสเตอร์ช่ืองานการ อบรม โครงการอะไร วัน-เวลาอะไร ใครเป็นผู้มาทาการให้ความรู้ในการอบรม เหล่าน้ีได้ชี้แจงไว้เป็น ทีเ่ รียบรอ้ ย 3.5ด้านครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์ในการอบรม มีเครื่องมือช่างประเภทต่างๆทางคณะผู้จัดเป็นผู้ จัดเตรียมไป มีการตรวจเช็คความเรียบร้อยพร้อมใช้งาน โต๊ะพับหน้าโฟร์เมก้าจัดเตรียมไป 4 ตัว ใช้ สาหรับวางงานตัวอย่าง วางอุปกรณ์ เครื่องมือช่าง ไมค์โครโฟน ลาโพง ส่วนเก้าอี้และโต๊ะสาหรับนั่ง ทางาน ท่ีบ้านผู้นาชุมชนมีไว้อย่างเพียงพอ เพราะว่าสถานท่ีแห่งนี้เป็นที่ท่ีใช้เป็นศูนย์รวมในการจัด กจิ กรรมต่างๆในชุมชนอยู่แล้ว 3.6ด้านเอกสาร ท่ีต้องคานึงถึงและจัดเตรียมไปให้พร้อมคือเอกสารกาหนดการ ดาเนินการการอบรมและเอกสารในเชิงที่เปน็ ความรู้ในการจัดทาของที่ระลึก ใบเซนต์ชื่อสาหรบั ผูเ้ ข้า รบั การอบรม คณะกรรมการดาเนนิ งาน และวิทยากร 3.7ด้านตน้ แบบของทร่ี ะลึก เน่อื งจากผู้คนท่ีอยู่ในชุมชน มคี วามหลากหลายในหลายๆมิติ ทั้งทางด้านการศึกษา ทางด้านวัย ทางด้านปัญญา ดังน้ันการที่จะอธิบายหรือการให้ความรู้ความ
เข้าใจ ถ้าเป็นรูปแบบเดียวกันอาจจะรับรู้หรือเข้าใจได้ไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการจัดเตรียมภาพ ตวั อยา่ งทเ่ี ป็นตน้ แบบเอาไปดว้ ย ในขณะเดียวกันนน้ั ก็ไดเ้ ตรียมภาพรา่ งแบบท่ีพร้อมจะดาเนนิ การไป ด้วย เพราะว่าบางคนนั้นไม่สามารถที่จะวาดรูปได้ ก็ให้ใช้ภาพต้นแบบเหล่าน้ีไปทาการสร้างงานได้ เลย 3.8นักศึกษา การที่จะนานักศึกษาท้ังหมดที่ได้ทาการบูรณาการงานสร้างผลติ ภัณฑ์ของที่ ระลึกจากเศษไม้ท่ที าในช่วั โมงเรยี นไปทง่ี านอบรมด้วยท้ังหมดนั้น เป็นไปไมไ่ ด้แน่นอน เพราะว่าต้องมี ความเก่ียวเน่ืองกับเรื่องยานพาหนะ เรื่องอาหาร จึงต้องมีการคัดเลือกไปบางคน บางกลุ่ม ท่ีมี ความสามารถที่ดี มีความชานาญในส่วนของงานแต่ละด้าน เช่น การลงสี ระบายสี ก็จะให้นักศึกษา ทางด้านหลักสูตรจิตรกรรมไป ถ้าเป็นทางด้านการเล่ือยไม้ ฉลุไม้ ประกอบชิ้นส่วน ก็จะให้นักศึกษา ทางด้านหลกั สตู รนวตั กรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมยั ไปรว่ มเป็นผชู้ ว่ ย ภาพบรรยากาศในพนื้ ท่กี ารอบรม ประเด็นสาคัญสรปุ ได้ ดงั นี้ จากการที่ได้ปฏิบัติงานทางด้านการบริการวิชาการ ประจาปีงบประมาณ 2561 ณ พ้ืนท่ี ชุมชนหมู่ 1 ตาบลบึงบา อาเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ภายใต้ชื่อโครงการอบรมผลิตภณั ฑ์ของที่ ระลึกจากเศษไม้ ทาให้สามารถรวบรวมประเด็นความรู้ ประเด็นปัญหา และประเด็นแนวทางการ แกไ้ ข ออกมาเปน็ องค์ความรู้ไว้ได้ดังน้ี
1.ศึกษาทาความเข้าใจในธรรมชาติการดาเนินชีวิตของประชากรในพื้นที่ ตรวจเช็ค รายละเอียดถึงเร่ืองของการเป็นบุคคลในพ้ืนท่ีหรือเป็นประชากรแฝง เพื่อการวางแผนในการ ดาเนินงาน จะไดม้ คี วามสอดคลอ้ งกบั วิถชี วี ิตของประชากรเหล่านั้น 2.การเลือกบุคคลเขา้ มาเพื่อดาเนนิ การแต่งต้งั เป็นคณะกรรมการดาเนินงาน ตอ้ งเลือกบุคคล ที่มีความเสียสละ มองโลกในแง่ดี และเลือกบุคคลท่ีอยู่ในหลักสูตรท่ีหลากหลาย เพ่ือกระจายงานไป บรู ณาการกบั รายวชิ าในการเรียนการสอนทห่ี ลากหลายขนี้ 3.การจัดซ้ือวัสดุฝึก ปัญหาคือ วัสดุมีไม่ตรงตามที่ต้องการ วัสดุบางอย่างซ้ือไม่ได้ผิดระเบียบ เปน็ การใชเ้ งินผิดประเภท ทางออกของการดาเนินการในเรื่องน้ีกค็ ือ ปรกึ ษากองคลัง หรอื นาประเด็น เขา้ ทีป่ ระชมุ เพอื่ ให้ทปี่ ระชุมชว่ ยหาทางออกให้ 4.การประสานงานกับชุมชน ต้องหาบุคคลผู้ซึ่งเป็นหลักในชุมชน แล้วหมั่นติดต่อ ประสานงานเป็นระยะๆ เพื่อใหเ้ กิดความคนุ้ เคยและจะได้ไม่ลืมในส่ิงท่ีได้เสนอไปก่อนหน้าน้ี 5.นางานบริการวิชาการไปบูรณาการกับการเรียนการสอน ตามที่ได้คัดเลือกบุคคลท่ีอยู่ต่าง หลักสูตรกัน เข้ามาร่วมทางานบริการวิชาการ จึงทาให้ได้มีหลายหลักสูตรที่สามารถนางานบริการ วชิ าการเข้าไปบูรณาการกับการเรยี นการสอนได้ 6.การประชาสัมพันธ์โครงการ การท่ีได้ไปพบกับชุมชนมาครั้งหนึ่งแล้วนั้น ยังไม่เพียงพอ ใน ความเปน็ จริงนนั้ เขาอาจจะยังไม่รู้ ไมไ่ ด้เขา้ ใจ หรอื อาจจะยงั ไม่ได้สนใจในสง่ิ ท่ีได้ไปนาเสนอใดๆเลยก็ เป็นได้ ดังน้นั จึงต้องมีการไปอีก จะมากหรอื จะน้อยครั้งนน้ั ให้ดจู ังหวะ ดูความเหมาะสม ไมต่ ้องถึงกับ ไปพบทุกคน แต่ให้ไปท่ีผู้นาชุมชน แล้วจัดทาเอกสาร แผ่นพับ ภาพตัวอย่างผลงาน แผ่นโปสเตอร์ มอบใหไ้ ว้ เอาไวแ้ จกกับคนอืน่ ๆท่ไี ด้แวะมาท่บี ้านของผนู้ าชุมชน 7.ครุภัณฑ์ท่ีจาเป็นที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติงาน คณะผู้ดาเนินงานต้องมีการจัดเตรียมไว้ให้ พร้อม มีการตรวจเช็คสภาพให้เรียบร้อย หรือบางอย่างที่เป็นประเภทเครื่องมือช่างหรือเป็นอุปกรณ์ พ้ืนฐาน ก็ขอให้ทางชุมชนช่วยกนั นามาดว้ ย
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116