Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการใช้สื่อ Happy Energy HOUSE

คู่มือการใช้สื่อ Happy Energy HOUSE

Published by Wichida Soonjan, 2021-10-18 15:01:09

Description: คู่มือการใช้สื่อ Happy Energy HOUSE

Search

Read the Text Version

คู่มือการใช้สื่ อ Happy Energy House ชั้นประถมศึ กษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ 2

คำนำ คู่มือการใช้สื่อ เรื่อง Happy Energy House เป็นส่วนหนึ่ งของรายวิชา การผลิตสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ รหัสวิชา 21024313 โดยมีอาจารย์ ดร. อัจฉรา ไชยศรี ขูรีรัง เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำสื่อ สื่อการสอนชุดนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้นั กเรียนได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์ พลังงาน การเปลี่ยนรูปพลังงาน และวัฏจักรน้ำ โดยสื่อการสอนนี้ ใช้สอนใน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการใช้สื่อ เรื่อง Happy Energy House จะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่มาศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎการอนุรักษ์ พลังงาน การเปลี่ยนรูปพลังงาน และวัฏจักรน้ำ หากมีข้อบกพร่องประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วย ผู้จัดทำ

สารบัญ หน้ า ชื่อสื่อ ............................................................................................................. 1 ใช้สำหรับการเรียนการสอนในระดับชั้น .......................................................... 1 ระยะเวลาในการจัดทำ .................................................................................... 1 งบประมาณ .................................................................................................... 1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด .......................................................................... 1 หลักการและเหตุผล ....................................................................................... 2 วัตถุประสงค์ .................................................................................................. 2 ประโยชน์ ที่นั กเรียนจะได้รับ ........................................................................... 3 วัสดุ / อุปกรณ์ ............................................................................................... 3 ลักษณะสำคัญของสื่อ ..................................................................................... 10 ขั้นตอนการผลิตสื่อ ........................................................................................ 10 วิธีการเล่นเกมบันไดงู .................................................................................... 21 กติกาการเล่นเกมบันไดงู ............................................................................... 21 ข้อดีของสื่อการเรียนการสอน ........................................................................ 22 ผู้จัดทำ .......................................................................................................... 23

บทนำ ชื่อสื่อ Happy Energy House ใช้สำหรับการเรียนการสอนในระดับชั้น ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระยะเวลาในการจัดทำ 1 อาทิตย์ งบประมาณ 1500 บาท มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก พิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและ ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงานการ เปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงานปฏิสั มพันธ์ ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ ตัวชี้วัด ว 3.2 ป. 5/3 สร้างแบบจำลองที่อธิบายการ หมุนเวียนของน้ำในวัฏจักรน้ำ ว 2.3 ม. 2/6 วิเคราะห์สถานการณ์และอธิบาย การเปลี่ยนและการถ่ายโอนพลังงานโดยใช้กฎการ อนุรักษ์พลังงาน Happy Energy House 1

หลักการและเหตุผล วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสั งคมโลกปัจจุบันและ อนาคต วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดที่เป็นเหตุ เป็นผล คิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์และวิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการ ค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถ ตัดสิ นใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม ในการ สอนวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อที่หลากหลายในลักษณะต่าง ๆ เพื่อช่วยให้นั กเรียนเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามสื่อวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีราคาสูงและมีอุปสรรคในการจัดหา ดังนั้ นการสร้างและพัฒนา สื่อการเรียนการสอนที่มีราคาย่อมเยาว์ เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น นำวัสดุ เหลือใช้ต่าง ๆ มาเป็นวัตถุดิบในการประดิษฐ์จึงเป็นแนวทางที่น่ าจะเกิด ประโยชน์ ในหนั งสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 หน่ วยที่ 4 เรื่อง วัฏจักร และหนั งสือเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 หน่ วยที่ 5 งานและพลังงาน ดังนั้ นการที่จะ ทำให้นั กเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง และเกิดทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ได้นั้ นจำเป็นต้องสร้างสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและ ทันยุคเทคโนโลยี เพื่อให้นั กเรียนได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจ เรื่อง วัฏจักรน้ำ งานและพลังงาน การเปลี่ยนรูปพลังงาน มากขึ้นและสามารถ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาในอนาคตได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นั กเรียนศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎการอนุรักษ์พลังงาน 2. เพื่อให้นั กเรียนศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรน้ำ 3. เพื่อให้นั กเรียนศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การเปลี่ยนรูปพลังงาน 4. สามารถนำความรู้ที่ได้จากสื่อการสอนไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันได้ 2

ประโยชน์ ที่นั กเรียนจะได้รับ 1. นั กเรียนเกิดความสนใจในการเรียนมากขึ้น 2. ได้รับความรู้เพิ่มเติมนอกเหนื อจากการเรียนในหนั งสือ 3. นั กเรียนสามารถนำความรู้ เรื่อง วัฏจักรน้ำ งานและพลังงาน การเปลี่ยนรูปพลังงาน ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการศึกษาต่อ ในอนาคตได้ 4. นั กเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ด้านสื่ อได้ วัสดุ/อุปกรณ์ 1. มอเตอร์ DV 3 V, 6 V 2. หลอดไฟ LED 3

3. รางถ่าน 7. ลวด 4. สายไฟ แดง – ดำ 8. แท่งกาว 5. ถ่านไฟ 9. สีน้ำ 6. ปืนกาว 10. พู่กัน 4

11. กาวร้อน 15. กาวสองหน้ า 12. กาวน้ำ 16. ไม้ไอติม 13. เทปใส 17. ไม้จิ้มฟัน 14. แลคซีน 18. ไม้ลูกชิ้น 5

19. ไม้ตะเกียบ 23. เฮลิคอปเตอร์ 20. ไม้ไผ่ 21. กิ่งไม้ 24. แกนกระดาษทิชชู 22. รถของเล่น 25. กระดาษรีไซเคิล 26. กระดาษการ์ดขาว ความหนา 180 แกรม 6

27. กระดาษสติ๊กเกอร์ใส 31. แผงไข่กระดาษ 28. กรรไกร 32. ขวดน้ำ 29. คัตเตอร์ 33. ขวดแก้ว 30. ผงดินเทียมและผงหญ้าเทียม 34. กระป๋อง 7

35. สายยางใส 39. ฟิวเจอร์บอร์ด 36. กล่องกระดาษ 40. ถุงใส 37. กังหันน้ำ 41. ไม้อัด 38. สำลี 42. โฟม 8

43. ทิชชู 47. เลื่อยตัดไม้ 44. ด้าย 45. ไม้บรรทัด 46. กระดาษสี 9

ลักษณะสำคัญของสื่ อ สื่อการเรียนการสอน เรื่อง Happy Energy House ขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 60.5 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร เกมบันไดงู ขนาดกว้าง 49 เซนติเมตร ยาว 65 เซนติเมตร ขั้นตอนการผลิตสื่ อ ในการผลิตสื่อ Happy Energy House มีขั้นตอนในการผลิตสื่อทั้งหมด ดังนี้ ตอนที่ 1 ออกแบบฐาน 1. ออกแบบสัดส่วนของสื่อให้ได้ตามรูปแบบที่ ต้องการ ตัดโฟมและไม่อัดให้ได้เพื่อใช้เป็นฐานขนาด 60 * 50 เซนติเมตร จากนั้ นเจาะโฟมให้มีความลึกขนาด 3 เซนติเมตร ดังภาพ Happy Energy House 10

2. ทำพื้นดินและหญ้าด้วยวิธีการทำแบบเปเปอร์มาเช่ ดังภาพ ตอนที่ 2 ออกแบบบ้าน 1. ร่างแบบบ้านใส่กล่องกระดาษ จากนั้ นตัดชิ้นส่วนแล้วนำมา ประกอบ ดังภาพ 2. นำทิชชูมาติดกล่องกระดาษรอให้แห้ง แล้วตัดกล่องกระดาษให้ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ดังภาพ 11

3. จากนั้ นนำมาติดกับตัวบ้านโดยใช้ปืนกาวเป็นตัวยึด ดังภาพ 4. แล้วทำการทาสีตามที่ต้อง ดังภาพ 5. นำกระดาษทิชชูทากาวแล้วติดรอบแกนทิชชู จากนั้ นรอให้แห้ง และทาสี ตามที่ต้องการ 12

6. ในส่วนของหลังคาทำเหมือนข้อ 2 จากนั้ นประกอบตามรูป แบบที่ต้องการ ดังภาพ 7. นำไม้ไอติมมาประกอบเป็นฐานจำนวน 7 แท่ง และสะพาน จำนวน 11 แท่ง และไม้ลูกชิ้นใช้เป็นเสาติดฐาน ดังภาพ ตอนที่ 3 ออกแบบกังหันน้ำ 1. นำขวดน้ำมาเจาะรูจำนวน 2 รู แล้วนำสายยางใส่รูทั้ง 2 จาก นั้ นใช้ปืนกาวปิดเพื่อไม่ให้อากาศเข้า 13

2. ใช้ไม้ไอติมจำนวน 50 แท่ง โดยประกอบด้านละ 9 แท่ง ตัววาง ถังน้ำจำนวน 6 แท่ง 3. ใช้ไม้ตะเกียบจำนวน 3 คู่ ทำเป็นเสาโดยยึดด้วยปืนกาว จาก นั้ นนำกระป๋องมาทำเป็นถังเก็บน้ำ ในส่วนของหลังคาทำเหมือนตอนที่ 2 ข้อ ที่ 2 ดังภาพ 14

ตอนที่ 4 การทำต้นไม้และถนน 1. นำกิ่งไม้แห้งทากาวแล้วพันด้วยกระดาษรีไซเคิล รอให้แห้ง แล้วพันด้วยกระดาษทิชชู รอให้แห้งแล้วทาสี ดังภาพ 2. จากนั้ นตัดโฟมเป็นรูปทรงกลม ทากาวพันด้วยกระดาษ รีไซเคิล รอให้แห้งชุบกาวแล้วนำไปชุบผงหญ้าเทียม 3. ปั้ นก้อนสำลีให้เป็นเมฆ แล้วนำไปติดกับกิ่งไม้ที่ทำไว้ จากนั้ น นำกล่องกระดาษมาตัดเป็นรูปหยดน้ำแล้วรอยด้วยด้าย เสร็จแล้วนำไปติด กับกิ่งไม้ที่ทำไว้ แล้วนำเฮลิคอปเตอร์มาติดที่ปลายยอดของกิ่งไม้ ดังภาพ 15

ตอนที่ 5 การทำกังหันลม 1. นำไม้ไผ่จำนวน 2 อัน มาทาสีขาว รอให้แห้งแล้วนำสายไฟมา สอดเข้าตรงรูที่เจาะไว้ ดังภาพ 2. ตัดกล่องกระดาษเพื่อใช้เป็นฐานและกล่องหุ้มมอเตอร์ เจาะรู ฐานเพื่อสอดสายไฟขึ้นมาเชื่อมกับตัวมอเตอร์ ทาสีแล้วรอให้แห้ง จากนั้ น นำมาประกอบเป็นฐานและกล่องหุ้มมอเตอร์ ดังภาพ 3. ใช้กระดาษมาพับตัดเป็นใบพัดกังหันลม ทาสีรอให้แห้ง เมื่อ แห้งแล้วนำมาประกอบเป็นกังหันลม ดังภาพ 16

ตอนที่ 6 การต่อวงจรไฟฟ้า 1. ต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนานโดยการนำสายไฟ ต่อหลอดไฟ LED ขาสั้นและสายไฟสีแดงต่อหลอดไฟ LED ขายาวต่อแบบนี้ ตามจำนวนหลอด ไฟที่ต้องการ จากนั้ นเชื่อมสายไฟฟ้าเข้ากับมอเตอร์และกังหันลม ดังภาพ 2. นำหลอดไฟที่ต่อกับสายไฟเรียบร้อยแล้วไปต่อขึ้นเสาไฟตาม ที่เรากำหนดไว้ ดังภาพ 3. ตรวจสอบวงจรไฟโดยใช้พัดลมเป่าไปที่กังหันลมเพื่อให้กังหัน ลมหมุนแล้วหลอดไฟจะติดเป็นอันเรียบร้อย ดังภาพ 17

ตอนที่ 7 การทำวัฏจักรน้ำ 1. ออกแบบสัดส่วนของวัฏจักรน้ำตามรูปแบบที่ต้องการ แล้วติด กระดาษสีกับฟิวเจอร์บอร์ดด้วยกาวสองหน้ า ใช้เป็นพื้นหลังของวัฏจักรน้ำ 2. ปั้ นก้อนสำลีให้เป็นเมฆ ตัดกระดาษสีให้ได้ตามรูปทรงที่ ออกแบบไว้ นำมาติดใส่พื้นหลังของวัฏจักรน้ำ เป็นอันเสร็จ ดังภาพ ตอนที่ 8 การทำเกมบันไดงูและการ์ดคำถาม 1. ร่างแบบงูใส่กล่องกระดาษและกระดาษ 100 ปอนด์ จากนั้ นตัด ชิ้นส่วนแล้วนำมาประกอบ ดังภาพ 18

2. แล้วทาสีตามที่ต้องการ ดังภาพ 3. นำหมายเลข 1 – 50 และรูปงูมาเคลือบด้วยกระดาษสติกเกอร์ ใส แล้วนำมาติดบนตัวงู ดังภาพ 7. เคลือบบัตรคำถาม ด้วยเครื่องเคลือบร้อน แล้วตัดให้ได้ขนาด ตามที่ต้องการ เป็นอันเสร็จ ดังภาพ 19

ตอนที่ 9 การทำกล่องสื่อการสอน 1. ออกแบบกล่องสื่อการสอนแล้วตัดฟิวเจอร์บอร์ดให้ฐานกล่อง ขนาด 61 * 75 เซนติเมตรด้านข้างขนาด 65 * 75 เซนติเมตรด้านหลัง 61 * 65 เซนติเมตรและฝากล่องขนาด 65 * 80 * 10 เซนติเมตร 2. ประกอบฟิวเจอร์บอร์ดเข้าหากันโดยใช้เลคซีนยึดตามมุมต่าง ๆ เพื่อให้ได้กล่องตามได้ออกแบบไว้ 3. นำกล่องที่เสร็จสมบูรณ์ไปใส่สื่อการสอนเป็นอันเสร็จ ดังภาพ กติกาเล่นเกมบันไดงู 1. กำหนดให้ผู้เล่นมีจำนวน 3 – 5 คน โดยให้มีกรรมการในการ เล่น 1 คน (กรรมการจะเป็นผู้เฉลยคำตอบของบัตรคำถามแต่ละสี) 2. ให้ผู้เล่นกดหมุดวงล้อเพื่อเลือกลำดับในการเล่น ผู้เล่นที่ได้ คะแนนมากที่สุดจะได้เริ่มเล่นเป็นคนแรก และเรียงตามลำดับจากมากไป น้ อย 3. ในเกมบันไดงูจะมีโบนั สคำถาม ได้แก่ สีเหลือง สีแดง สีม่วง หากผู้เล่นคนใดเดินมาหยุดในสีที่กำหนดไว้จะได้รับคำถาม หากตอบถูกจะได้ เดินหน้ า 3 ครั้ง แต่ถ้าตอบผิดจะต้องหยุดอยู่ที่เดิม 1 ครั้ง 4. ผู้เล่นที่ถึงจุด WINNER ก่อนจะเป็นผู้ชนะ 20

กติกาเล่นเกมบันไดงู 1. กำหนดให้ผู้เล่นมีจำนวน 3 – 5 คน โดยให้มีกรรมการในการ เล่น 1 คน (กรรมการจะเป็นผู้เฉลยคำตอบของบัตรคำถามแต่ละสี) 2. ให้ผู้เล่นกดหมุดวงล้อเพื่อเลือกลำดับในการเล่น ผู้เล่นที่ได้ คะแนนมากที่สุดจะได้เริ่มเล่นเป็นคนแรก และเรียงตามลำดับจากมากไป น้ อย 3. ในเกมบันไดงูจะมีโบนั สคำถาม ได้แก่ สีเหลือง สีแดง สีม่วง หากผู้เล่นคนใดเดินมาหยุดในสีที่กำหนดไว้จะได้รับคำถาม หากตอบถูกจะได้ เดินหน้ า 3 ครั้ง แต่ถ้าตอบผิดจะต้องหยุดอยู่ที่เดิม 1 ครั้ง 4. ผู้เล่นที่ถึงจุด WINNER ก่อนจะเป็นผู้ชนะ วิธีเล่นเกมบันไดงู 1. ให้ผู้เล่นจับกลุ่มเล่นเกมบันไดงู โดยในแต่ละรอบจะมีผู้เล่น จำนวน 3 - 5 คน ประกอบด้วย ผู้เล่น 4 คน และกรรมการ 1 คน 2. ผู้เล่นแต่ละคนเลือกตัวเดินคนละ 1 ตัว แล้วนำไปวางที่จุด START 3. ให้ผู้เล่นคนแรกกดหมุนวงล้อละขยับตัวเดินไปบนช่องตาม จำนวนคะแนนที่หมุนได้ จากนั้ นให้ผู้เล่นคนต่อไปหมุดวงล้อและสลับกัน เล่นไปเรื่อย ๆ 4. ระหว่างที่ผู้เล่นเดินบนตัวงูก็จะมีบันไดงูขึ้น - ลง หากตกช่อง บันไดที่มีงูหันหัวขึ้นก็ให้ขึ้นไปสุดบันได หากตกช่องที่มีงูหันหัวลง ก็ให้ลงมา จากหัวงูไปยังหางงู และถ้าผู้เล่นได้โบนั สคำถามตามสีที่กำหนดไว้จะต้อง ตอบคำถาม หากตอบถูกจะได้เดินหน้ า 3 ครั้ง หากตอบผิดจะต้องหยุดอยู่ที่ เดิม 1 ครั้ง 5. เล่นไปเรื่อย ๆ ถ้าตัวผู้เล่นคนใดเดินทางถึงจุด WINNER ก่อน จะเป็นผู้ชนะ 21

ข้อดีของสื่ อการสอน 1. ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่อง กฎการ อนุรักษ์พลังงาน การเปลี่ยนรูปพลังงาน และวัฏจักรน้ำ มากขึ้น 2. ในการจัดทำสื่อการสอนสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ ในการสร้างสื่ อการสอนได้ 3. ช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน สร้างบรรยากาศ ในการเรียนให้สนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ช่วยแบ่งเบาภาระในการเตรียมเนื้ อหาของผู้สอน 22

ผู้จัดทำ นางสาวอาทิตยา อุดารักษ์ รหัส 61101208106 นางสาวอัญชนา น้อยพิทักษ์ รหัส 61101208107 นางสาววิชิดา ศูนย์จันทร์ รหัส 61101208127 นักศึ กษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 23




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook