Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Model เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

Model เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

Published by educat tion, 2021-01-28 04:10:20

Description: โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

Keywords: kusk,model,education

Search

Read the Text Version

โรงเรยี นสาธติ แหง่ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศูนยว์ จิ ยั และพัฒนาการศกึ ษา 1

คำนำ Model เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการได้จัดทำและรวบรวมขึ้นเพื่อ ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐–๒๕๗๙ ที่วาง กรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึง โอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและ การพัฒนาประเทศ โรงเรียนสามารถนำ Model ไปใช้ในการดำเนินงานและปรับให้เหมาะสมกับบริบท ของตนเอง เพื่อการบรรลเุ ปา้ หมายของการพฒั นาคุณภาพนกั เรยี น นิสติ /นกั ศึกษา และบุคลากร ในโอกาสนี้ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ คณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ทุ่มเทและเสียสละเวลาในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการช่วยเหลือ และสนับสนนุ ในทกุ ด้าน ขอขอบคณุ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์วจิ ิตตรา จันทร์ศรีบตุ ร ที่ไดก้ รณุ าเป็นผู้เชี่ยวชาญและ ให้คำปรกึ ษาในด้านการใช้คำศพั ท์เฉพาะสำหรับการพฒั นา Model รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการรวบรวมองค์ ความรู้ของโรงเรียนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านการศึกษาโดยจัดทำเป็นเล่มเอกสาร “Model เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา” ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี้จะเป็นแนวทางให้ครู/อาจารย์ บุคลากร และผู้สนใจทัว่ ไป สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านการจัดการศึกษาของหน่วยงาน ได้อย่างมีประสทิ ธิภาพและเกิดประสทิ ธผิ ลตามเปา้ หมาย หากมขี ้อผิดพลาดประการใด คณะผ้จู ดั ทำขออภัยมา ณ โอกาสน้ี และขอน้อมรบั คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเอกสารให้สมบูรณ์ต่อไป คณะผู้จดั ทำ ฝา่ ยวจิ ยั และบรกิ ารวชิ าการ 2563 2

สารบญั หนา้ ส่วนที่ 1 Model การบริหารโรงเรยี น 1 1.1 การบรหิ ารองคก์ รเพอื่ ยกระดับคณุ ภาพและเพ่มิ มลู ค่าทางการศึกษา 2 โรงเรียนสาธิตแหง่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนา 9 การศกึ ษา .......................................................................................................................... 1.2 รูปแบบการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายในสถานศึกษาโรงเรียน สาธิตแหง่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศนู ย์วิจยั และพัฒนา การศกึ ษา............................................................................................................................ ส่วนท่ี 2 Model การเรียนการสอน .......................................................................................... 19 2.1 รปู แบบชมุ ชนการเรียนรู้ทางวชิ าชีพเพ่อื เสริมสร้างสมรรถนะการจดั ประสบการณก์ าร 20 เรยี นรตู้ ามแนวคดิ พหปุ ัญญารว่ มกบั ภาษาธรรมชาตขิ องนักศึกษาฝกึ ประสบการณว์ ชิ าชีพ 27 ครทู ีส่ ่งเสริมคณุ ลักษณะทพี่ ึงประสงคของเดก็ ปฐมวยั ....................................................... 2.2 การจัดการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตรต์ ามแนวคิด STEM Education รว่ มกับกระบวนการคิด เชงิ ออกแบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีในยุคดจิ ติ อล เพอ่ื เสริมสรา้ งสมรรถนะการแกป้ ญั หา อยา่ งสรา้ งสรรค์และการสร้างสรรคน์ วตั กรรมของนักเรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษา ................... สว่ นท่ี 3 Model การจดั การความรู้ .......................................................................................... 34 3.1 รปู แบบการจดั อบรมเชิงปฏบิ ตั ิการที่มีประสิทธิผลโรงเรยี นสาธิตแห่ง 35 มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วจิ ยั และพฒั นาการศึกษา ............ 3.2 รูปแบบชมุ ชนการเรยี นรู้ทางวชิ าชีพ (PLC) ท่ีเนน้ การมสี ว่ นรว่ มเพ่ือเสริมสร้าง 43 สมรรถนะการจัดประสบการณก์ ารเรยี นร้ขู องนักศกึ ษาครทู ส่ี ่งเสรมิ คณุ ลกั ษณะ- ท่ีพงึ ประสงคของเดก็ ปฐมวัย ............................................................................................. 3

สารบญั ภาพ ภาพที่ หน้า 1 แนวคิดพืน้ ฐานในการพฒั นารูปแบบการบริหารองค์กรเพ่ือยกระดับคุณภาพและเพ่มิ มลู คา่ ทางการศึกษาโรงเรยี นสาธติ แห่งมหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศนู ยว์ ิจยั และพฒั นาการศึกษา ............................................................................................ 3 2 กระบวนการของรปู แบบการบริหารองคก์ รเพอ่ื ยกระดบั คณุ ภาพและเพิ่มมลู ค่าทาง การศึกษา โรงเรียนสาธติ แห่งมหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศูนยว์ ิจัยและพฒั นาการศกึ ษา ............................................................................................ 5 3 รปู แบบการบริหารองคก์ รเพ่อื ยกระดับคุณภาพและเพิม่ มลู คา่ ทางการศกึ ษา โรงเรยี น สาธิตแห่งมหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนยว์ จิ ัยและพฒั นา การศกึ ษา............................................................................................................................ 7 4 แนวคิดพนื้ ฐานในการพฒั นารปู แบบการพฒั นาระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ภายในสถานศกึ ษา โรงเรียนสาธติ แห่งมหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจยั และพฒั นาการศกึ ษา ........................................................................................... 11 5 กระบวนการเชงิ ระบบในการบรหิ ารระบบประกนั คุณภาพการศกึ ษา ............................... 14 6 กระบวนการของรูปแบบการพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายใน สถานศกึ ษา โรงเรียนสาธติ แหง่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศนู ย์วิจยั และพฒั นาการศกึ ษา ........................................................................................... 15 7 องคป์ ระกอบของรูปแบบการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศกึ ษา โรงเรยี นสาธติ แหง่ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจยั และพฒั นาการศกึ ษา (ACCSOF Model) ........................................................... 17 8 ขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนการจัดการเรยี นรู้.............................................................. 23 9 กระบวนการของรปู แบบชุมชนการเรยี นร้ทู างวชิ าชีพเพ่ือเสรมิ สรา้ งสมรรถนะการจดั ประสบการณก์ ารเรยี นร้ตู ามแนวคดิ พหปุ ญั ญารว่ มกับภาษาธรรมชาติของนกั ศกึ ษาฝกึ ประสบการณ์วิชาชีพครู ท่ีส่งเสรมิ คณุ ลักษณะทีพ่ งึ ประสงคของเดก็ ปฐมวยั .................. 24 10 รูปแบบชุมชนการเรยี นรู้ทางวิชาชีพเพอ่ื เสริมสรา้ งสมรรถนะการจัดประสบการณก์ าร เรยี นรู้ตามแนวคิดพหปุ ัญญารว่ มกับภาษาธรรมชาติของนักศกึ ษาฝึกประสบการณ์วชิ าชพี ครู ที่ส่งเสรมิ คณุ ลักษณะท่ีพึงประสงคของเด็กปฐมวยั ...................................................... 25 11 แนวคิดพนื้ ฐานในการพฒั นารปู แบบการจดั การเรียนร้วู ทิ ยาศาสตร์ ตามแนวคิด STEM Education รว่ มกับกระบวนการคดิ เชงิ ออกแบบทผ่ี สมผสานเทคโนโลยใี นยคุ ดิจติ อล เพ่ือเสรมิ สรา้ งสมรรถนะการแก้ปญั หาอยา่ งสรา้ งสรรค์และการสรา้ งสรรค์นวัตกรรมของ นกั เรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษา ................................................................................................. 28 12 กระบวนการของรปู แบบการจดั การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด STEM Education รว่ มกบั กระบวนการคดิ เชิงออกแบบทีผ่ สมผสานเทคโนโลยใี นยคุ ดจิ ิตอล เพือ่ เสรมิ สรา้ งสมรรถนะการแก้ปัญหาอยา่ งสรา้ งสรรคแ์ ละการสรา้ งสรรค์นวัตกรรม ของนักเรยี นระดับมธั ยมศกึ ษา ………………………………………………………………………………. 31 4ฮ

สารบญั ภาพ (ต่อ) ภาพที่ หนา้ 13 รปู แบบการจดั การเรยี นรูว้ ิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด STEM Education รว่ มกบั กระบวนการคิดเชงิ ออกแบบท่ีผสมผสานเทคโนโลยใี นยคุ ดิจิตอลเพือ่ เสริมสร้าง สมรรถนะการแกป้ ัญหาอยา่ งสรา้ งสรรคแ์ ละการสร้างสรรคน์ วัตกรรมของนักเรียน ระดับมธั ยมศึกษา ........................................................................................................... 33 14 กระบวนการเสรมิ พลงั (Empowerment) 4 ขน้ั ตอน ................................................... 39 15 ขนั้ ตอนการดำเนินงานรูปแบบการจดั อบรมเชงิ ปฏิบัติการทีม่ ปี ระสทิ ธิผล โรงเรียน สาธติ แหง่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศึกษา ........................................................................................................................ 40 16 เทคนคิ การเสรมิ พลงั (Empowerment) ....................................................................... 46 17 รปู แบบชุมชนการเรียนร้ทู างวิชาชีพ (PLC) ทเ่ี น้นการมสี ่วนรว่ มเพอ่ื เสรมิ สร้าง สมรรถนะการจดั ประสบการณ์การเรยี นรู้ของนกั ศกึ ษาครูทสี่ ่งเสริมคณุ ลกั ษณะท่ี พึงประสงคของเด็กปฐมวยั ............................................................................................. 47 ฮ5

สว่ นที่ 1 Model การบริหารโรงเรยี น 1

รปู แบบ การบรหิ ารองคก์ รเพ่อื ยกระดบั คณุ ภาพและเพม่ิ มูลค่าทางการศกึ ษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศนู ย์วิจัยและพฒั นาการศึกษา จดั ทำโดย คณะกรรมการบรหิ ารโรงเรยี น 2

รปู แบบการบรหิ ารองคก์ รเพ่ือยกระดับคณุ ภาพและเพ่ิมมูลค่าทางการศกึ ษา โรงเรยี นสาธิตแห่งมหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศนู ยว์ จิ ัยและพัฒนาการศึกษา “Scale Up model” รูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าทางการศึกษา เป็นรูปแบบการบริหาร โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นสากลในด้านการจัดการศึกษาโดยเน้นการวิจัยและนวัตกรรม ทางการศึกษา ร่วมกับการน้อมนำหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน และบุคลากร ภายใต้วิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่ว่า “องค์กรแห่งการวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา ยึดหลัก ธรรมาภิบาล ประสานชุมชนสัมพันธ์ สร้างสรรค์ครูมืออาชีพ จุดประทีปทักษะทางปัญญา เดินหน้าดำรง คณุ ธรรม เสริมสรา้ งความเปน็ ผ้นู ำอยา่ งอารยชน ม่งุ ผลสู่ศาสตร์พระราชา” แนวคิดพน้ื ฐานในการพฒั นารูปแบบ รูปแบบการบริหารโรงเรียน มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีระบบและหลักความเป็นสากล (System Theory and Principle of Universality) เทคนิควงจรคุณภาพ (Quality cycle techniques, PDCA) การ บริหารจัดการสถานศึกษา (School Management) มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ในรูปแบบ ของผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ (Desired Outcomes of Education, DOE) การประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษา (Quality assessment in accordance with educational standards) การมีส่วนร่วม การร่วม แรง ร่วมใจ และการเสริมพลัง (Participation, Collaboration, and Empowerment) ดังภาพท่ี 1 Participation, System Theory Collaboration, and Principle of and Universality Empowerment Quality cycle techniques, PDCA Quality School assessment in accordance with Management educational Desired standards Outcomes of Education, DOE ภาพที่ 1 แนวคิดพนื้ ฐานในการพฒั นารูปแบบการบริหารองคก์ รเพื่อยกระดับคณุ ภาพและเพม่ิ มลู คา่ ทาง การศึกษาโรงเรยี นสาธติ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศนู ย์วจิ ยั และพัฒนา การศกึ ษา 3

องค์ประกอบของรูปแบบ องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าทางการศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ การวัดและประเมินผล และปัจจัยสนับสนุน มี รายละเอียดดงั น้ี 1. หลกั การ เสริมสร้างคุณภาพนักเรียนและสมรรถนะของบุคลากรด้วยหลักธรรมาภิบาลและการ มีส่วนร่วมอยา่ งย่ังยนื เพอ่ื ก้าวสคู่ วามเปน็ สากลในด้านการพัฒนาคณุ ภาพการจดั การศกึ ษาอย่างมอื อาชพี 2. วตั ถปุ ระสงค์ : 2.1 เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและคุณลักษณะท่ี พึงประสงค์ 2.2 เพื่อพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice Competencies) และ คณุ ลักษณะท่ีดขี องบุคลากร 3. กระบวนการ ขั้นท่ี 1 สังเคราะห์นโยบายและเป้าหมายของโรงเรียนรวมถึงการประเมินความต้องการจำเป็น (Synthesize school policies and goals including basic need assessment: S) ว ิ เ ค ร า ะ ห์ แ ล ะ ส ั ง เ ค ร า ะ ห์ น โ ย บ า ย แ ล ะ เ ป ้ า ห ม า ย ข อ ง ก า ร จ ั ด ก า ร ศ ึ ก ษ า ท ั ้ ง ใ น ร ะ ดั บ ก่อนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษา และประเมินความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่ประกอบด้วย หลักสูตร การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน การผลิตและ พัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล รวมทั้งสิ่งสนับสนุนการจัดการศึกษา ได้แก่ การวิจัย การ บริการวิชาการ การสร้างเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษา จากนั้นจึงกำหนด เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพนักเรียนและบคุ ลากรของโรงเรยี นร่วมกนั ขั้นท่ี 2 สร้างและพัฒนาระบบการบริหารงานในโรงเรียน (Create and develop school administrative system: C) พัฒนาระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้ครอบคลุม 7 หมวด ของ EdPEx ได้แก่ หมวดการนำองค์กร กลยุทธ์ ลูกค้า การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ของบุคลากร ระบบปฏิบัติการ และผลลัพธ์ โดยโรงเรียนกำหนดให้มีการพัฒนาระบบการบริหารงานที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมนำสู่การปฏิบตั ิ ได้โดยใช้กระบวนการเชิงระบบในการบริหารงานให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ซึ่งนำไปสู่การบรรลุ เป้าหมายท่สี อดคล้องและครอบคลุม EdPEx ตามตวั ช้วี ดั 7 หมวด ขั้นท่ี 3 รวบรวมความคิดและจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Accumulate ideas and do the action plans: A) นำผลการสังเคราะห์และการประเมินในข้อ 3.1 และระบบการบริหารงานในข้อ 3.2 มาจัดทำ แผนปฏิบัติงานของโรงเรียนโดยเสนอโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนและ มาตรฐานการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลกั ความโปร่งใส หลกั ความมสี ่วนรว่ ม หลกั ความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มคา่ 4

ขั้นที่ 4 นำสู่ประสิทธิภาพการผลิตและผลลัพธ์ (Lead to productive performance and outcome: L) ดำเนินงานตามแผนการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research Based) ร่วมกับการใช้วงจรคุณภาพ (Quality cycle techniques, PDCA) โดยเน้นการมสี ่วนร่วม การร่วมแรง ร่วมใจ และรวมพลังในการเรียนรู้และปฏิบัติงาน อันนำไปสู่ผลผลิตตามเป้าหมายของโรงเรียน และผลการปฏิบัติงานทเ่ี ปน็ เลิศ (Best Practice) ข้นั ท่ี 5 ขยายผลส่ชู ุมชนการเรียนรู้ (Expand to professional learning community: E) มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในชุมชนการเรียนรู้ ( Professional learning community) อย่างกัลยาณมิตร รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ เพื่อการพัฒนางานและ การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศสู่ระดับสากลด้วยกระบวนการพัฒนาวิชาชีพ โดยใช้แนวทางของ coaching และ mentoring มีการสะท้อนผลการปฏิบัติงานร่วมกับการสร้างขวัญ กำลังใจ และการเสริมพลัง (Empowerment) แก่นกั เรียนและบคุ ลากรทกุ คน ข้ันท่ี 6 ยกระดบั ระบบการทำงานเพื่อการพฒั นาท่ีย่งั ยนื (Upgrade functional system for sustainable development: Up) สรา้ งมลู ค่าเพมิ่ ของระบบการจัดการศกึ ษาของโรงเรียน ขยายผล เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ (MOU) และสถาบันร่วมพัฒนาวิชาชีพ (Professional Development Institution) กระบวนการของรูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าทางการศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา มี 6 ขั้นตอน ดงั ภาพท่ี 2 ภาพที่ 2 กระบวนการของรูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าทางการศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศกึ ษา 5

4. การวัดและประเมนิ ผล 4.1 คณุ ภาพนักเรยี น 3 ดา้ นคือ ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียน สมรรถนะและคุณลักษณะท่พี งึ ประสงค์ 4.2 สมรรถนะการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice Competencies) และคุณลักษณะที่ดีของ บคุ ลากรของโรงเรียน 5. ปัจจยั สนบั สนนุ 5.1 ความรู้ความเข้าใจ เจตคติและความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายต่อการพัฒนาระบบ การจดั การศกึ ษาของโรงเรยี น 5.2 ความร่วมมือทางวิชาการของสถาบันเครือข่ายและสถาบันการศึกษาทั้งระดับการศึกษา ข้ันพ้ืนฐานและระดับอดุ มศึกษา 5.3 การขบั เคลอ่ื นจากหน่วยงานระดบั นโยบายและการสนับสนุนของผบู้ ริหาร 5.4 ความพร้อมของทรัพยากรในการจัดการศึกษาและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของนกั เรยี น จากองค์ประกอบดังกล่าวของรูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าทาง การศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ที่ผู้วิจัยนำเสนอ โดยมีองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ การวัดและการประเมินผล และปจั จัยสนบั สนนุ ดงั ภาพที่ 3 6

ภาพที่ 3 รปู แบบการบรหิ ารองคก์ รเพื่อยกระดับคณุ ภาพและเพ่มิ มูลคา่ ทางการศ ศนู ย์วิจัยและพฒั นาการศึกษา 7

ศกึ ษา โรงเรยี นสาธติ แหง่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

รายชื่อคณะทำงาน อดุ มศรี ประธานกรรมการ รศั มี รองประธาน 1. ผู้ชว่ ยศาสตราจารยณ์ ชพงศ์ เดอื นแจง้ กรรมการ 2. ผชู้ ว่ ยศาสตราจารยส์ านิตย์ รามศริ ิ กรรมการ 3. ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วสนั ต์ ธนชั ญาอิศมเ์ ดช กรรมการ 4. ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รุจิราพร เหลา่ เหมมณี กรรมการ 5. ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ วา่ ที่ ร.ต.ภมู พิ ฒั น์ จนั ทร์ขามเรยี น กรรมการ 6. ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.กติ ศิ าอร แสงเสถียร กรรมการ 7. ผชู้ ว่ ยศาสตราจารยพ์ ลาภรณ์ อ่อนสม้ กรติ กรรมการและเลขานกุ าร 8. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารยอ์ ุทัยวรรณ 9. นางสาวสนุ สิ า 8

รูปแบบ การพฒั นาระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายในสถานศกึ ษา โรงเรยี นสาธิตแห่งมหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศูนยว์ ิจัยและพฒั นาการศึกษา จัดทำโดย คณะกรรมการงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา 9

รปู แบบการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตแหง่ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนยว์ ิจยั และพัฒนาการศกึ ษา “ACCSOF Model” ความเป็นมาและความสำคญั รูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ตามพระราชบัญญัติ การศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และทแ่ี ก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสงั กดั และสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอ ต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ การศกึ ษาและเพ่ือรองรับการประกันคณุ ภาพภายนอก อ้างอิงตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2561 มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 มีจำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการ จดั การเรียนการสอนที่เน้นผเู้ รียนเปน็ สำคัญ มรี ายละเอยี ดของแตล่ ะมาตรฐานดงั น้ี มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรยี น 1.1 ผลสมั ฤทธิท์ างวิชาการของผู้เรียน 1.1.1 มคี วามสามารถในการอ่าน การเขยี น การส่ือสาร และการคิดคำนวณ 1.1.2 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคดิ เห็น และแก้ปัญหา 1.1.3 มคี วามสามารถในการสรา้ งนวัตกรรม 1.1.4 ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่อื สาร 1.1.5 มผี ลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 1.1.6 มคี วามรู้ ทักษะพนื้ ฐาน และเจตคตทิ ด่ี ตี อ่ งานอาชพี 1.2 คุณลักษณะท่ีพึงประสงคข์ องผเู้ รยี น 1.2.1 มีคุณลกั ษณะและคา่ นยิ มท่ดี ีตามที่สถานศึกษากำหนด 1.2.2 มคี วามภมู ิใจในท้องถนิ่ และความเป็นไทย 1.2.3 ยอมรบั ทีจ่ ะอยู่รว่ มกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 1.2.4 มสี ุขภาวะทางร่างกาย และจติ สังคม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.1 มเี ปา้ หมาย วิสัยทศั น์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน 2.2 มีระบบบรหิ ารจดั การคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุก กลุม่ เปา้ หมาย 2.4 พัฒนาครแู ละบคุ ลากรใหม้ คี วามเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จดั สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสงั คมท่ีเอ้ือตอ่ การจดั การเรียนรู้ 10

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เนน้ ผเู้ รียนเปน็ สำคญั 3.1 จัดการเรียนรผู้ า่ นกระบวนการคิดและปฏบิ ตั จิ ริง และสามารถนำไปประยกุ ตใ์ ช้ในชวี ติ ได้ 3.2 ใช้สอ่ื เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนร้ทู ีเ่ อ้อื ต่อการเรียนรู้ 3.3 มกี ารบรหิ ารจัดการชัน้ เรียนเชงิ บวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผ้เู รยี นอยา่ งเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผ้เู รียนอย่างตอ่ เน่ือง 3.5 มกี ารแลกเปลย่ี นเรียนรแู้ ละใหข้ อ้ มูลป้อนกลบั เพ่อื ปรบั ปรุงและ พัฒนาการจัดการเรยี นรู้ ดังนั้นเพื่อตอบสนองนโยบายทางโรงเรียนได้มีการทำวิจัยเรื่อง “ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศึกษา” นข้ี น้ึ มาเพอื่ สามารถจดั การศกึ ษาไดอ้ ย่างมคี ุณภาพตามมาตรฐานการศกึ ษาและบรรลุเป้าประสงค์ ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล พร้อมทั้งจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่ หนว่ ยงานตน้ สังกดั หรอื หน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทกุ ปี และเผยแพรตอ่ สาธารณชน แนวคดิ พ้ืนฐานในการพัฒนารปู แบบ แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วย แนวคิดและหลักการเกย่ี วกับการประกนั คุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน การพฒั นาคณุ ภาพ โรงเรียนและงานประกันคุณภาพภายใน แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้น พื้นฐาน การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และการเสริมสร้างพลัง และการบริหารจัดการสถานศึกษาและ รูปแบบการพัฒนางานประกันคณุ ภาพ ดังภาพท่ี 4 การบรหิ ารจัดการ การประกันคุณภาพ การพฒั นาคณุ ภาพ สถานศกึ ษาและ ภายในและมาตรฐาน โรงเรยี นและงาน รูปแบบการพฒั นา การศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน ประกนั คณุ ภาพ งานประกนั คณุ ภาพ แนวคดิ พนื้ ฐาน ภายใน เกีย่ วกบั รูปแบบการ พัฒนาระบบประกัน คณุ ภาพการศึกษา การมีสว่ นรว่ มในการ แนวทางการประเมิน บริหารงาน และการ คณุ ภาพการศึกษา เสรมิ สรา้ งพลงั ตามมาตรฐาน การศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน ภาพที่ 4 แนวคิดพ้นื ฐานในการพฒั นารปู แบบการพฒั นาระบบการประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา โรงเรยี นสาธติ แหง่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศูนยว์ ิจัย และพัฒนาการศึกษา 11

องค์ประกอบของรปู แบบ จากการศึกษาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศกึ ษา ซึง่ ประกอบด้วย การประกันคณุ ภาพภายใน และมาตรฐานการศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน การพัฒนาคุณภาพ โรงเรียนและงานประกันคุณภาพภายใน การบริหารจัดการสถานศึกษาและรูปแบบการพัฒนางานประกัน คุณภาพ และแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ ของรปู แบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ การประเมนิ คณุ ภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา และเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศกึ ษา มีรายละเอยี ดดังนี้ 1. หลักการ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกลไกที่มุ่ง พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนด้วยกระบวนการเชิงระบบ (Systematic) ที่เน้นการมีส่วนร่วม (Participation) และการเสริมสร้างพลัง (Empowerment) ให้มีความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมตาม พันธกจิ และนโยบายการจดั การศึกษาของโรงเรียน 2. วัตถปุ ระสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาระดับ การศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาผลการจัดทำรายงานการประเมนิ ตนเอง (SAR) ประกอบดว้ ย 2.1) ความสามารถของบุคลากรในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามเพื่อจัดทำรายงานการ ประเมินตนเอง (SAR) 2.2) คุณภาพของรายงานการประเมินตนเอง (SAR) 3. กระบวนการ ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนัก (Awareness: A) โดยการให้ความรู้ในด้านงานประกันคุณภาพ การศึกษาและสร้างความเข้าใจในบทบาทและหนา้ ทขี่ องทกุ ฝา่ ยในการทำงาน ขั้นที่ 2 สร้างเสรมิ ความรแู้ ละความสามารถดา้ นการประกนั คุณภาพการศึกษา (Construction: C) ประกอบดว้ ยสาระสำคัญดงั นี้ 2.1 ระบบประกันคณุ ภาพภายใน 2.2 การกำหนดกรอบและวางแผนการประเมนิ คุณภาพการศกึ ษา 2.3 การสรา้ งเคร่ืองมือประเมนิ คณุ ภาพและหาคุณภาพ (บนั ทึกภาคสนาม : Field Note) 2.4 การฝึกปฏิบตั ิ 2.5 การเก็บรวบรวมข้อมลู และวิเคราะหข์ อ้ มูล 2.6 การนำเสนอผลการประเมนิ คณุ ภาพ และเขยี นรายงานการประเมินตนเอง (Self-Study Report : SSR) ขั้นที่ 3 รว่ มกำหนดความรับผดิ ชอบ (Collaboration: C) 3.1 รว่ มกันเสนอและแตง่ ตง้ั คณะกรรมการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา 3.2 ชีแ้ จงบทบาทและหน้าท่ีความรบั ผดิ ชอบ 3.3 ตรวจสอบความครบถว้ น 3.4 ทบทวนและแกไ้ ข ข้ันที่ 4 สังเคราะหข์ ้อมูลสารสนเทศเพ่อื การประกนั คณุ ภาพการศึกษา (Synthesis: S) ประกอบดว้ ยข้อมูลสำคญั ดังนี้ 12

4.1 ผลการดำเนนิ งานในรอบปีที่ผา่ นมา 4.2 วิสยั ทศั น์ พนั ธกิจ ยุทธศาสตร์ เปา้ ประสงค์ กลยุทธ์ และนโยบายของผบู้ รหิ าร สถานศกึ ษา 4.3 ข้อมลู สารสนเทศทางการศกึ ษา 4.4 ความคดิ เห็นของผูม้ สี ว่ นเกย่ี วข้อง ได้แก่ บคุ ลากรของโรงเรียน นักเรียน ผูป้ กครอง และชุมชน ขนั้ ที่ 5 ปฏบิ ตั ิการตามระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษา (Operation: O) ประกอบด้วย 3 ข้นั คอื 5.1 เตรียมการ 5.2 ดำเนนิ การ 5.3 รายงานผลการประเมนิ คณุ ภาพภายใน โดยในการปฏิบัติการน้ัน ผู้วิจัยใช้กระบวนการเชิงระบบ (Systematic Process) เป็นกลไกการ บริหารระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใต้การมีส่วนร่วม (Participation) และการเสริมสร้างพลัง (Empowerment) ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยการใช้ระบบ Coaching and Mentoring และใช้วงจร การบริหารระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามแนวการบริหารระบบคุณภาพ PDCA ในการขับเคลื่อน ระบบการประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจของสถานศึกษา มีรายละเอียดดังน้ี 5.1 เตรียมการ มีการตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการตามระบบการประกันคุณภาพ การศกึ ษาที่เน้นการมีสว่ นรว่ มและเสรมิ สร้างพลังให้มคี วามต่อเนอื่ งในการดำเนนิ งานตามแนวการบรหิ ารระบบ คุณภาพ PDCA ดังนี้ 5.1 Plan: เตรียมการ Plan Do 1. แต่งตงั้ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานและค่า 1. สง่ เสรมิ การมีส่วนร่วมของผมู้ สี ่วนเกีย่ วขอ้ ง เปา้ หมาย และกำหนดบทบาทหน้าทเี่ พื่อสรา้ งความ 2. รว่ มกนั จัดทำแผนพฒั นาการจัดการศกึ ษา ตระหนักให้แกบ่ ุคลากร 3. ร่วมกนั จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 2. ช้ีแจงและสรา้ งความเขา้ ใจรว่ มกันเกี่ยวกับระบบ 4. รว่ มกนั จดั ทำปฏิทนิ การประกันคณุ ภาพการศึกษา การประกนั คณุ ภาพการศึกษาทม่ี ี ความสำคญั และ ของสถานศกึ ษา ความจำเปน็ ต่อสถานศึกษา 5. รว่ มกนั จัดเตรยี มปจั จัยการบริหารจดั การประกนั 3. ร่วมกันวางแผนการประเมนิ คณุ ภาพการศึกษา คุณภาพการศกึ ษา ไดแ้ ก่ 4 M ประกอบด้วย Man ตามมาตรฐาน 3 มาตรฐาน (บคุ ลากร) Money (งบประมาณ) Material (วัสดุ อปุ กรณ)์ และMethod (วธิ กี าร) Check Act 1. ร่วมกันพิจารณาแนวทางการปฏิบัติ และความ 1. ร่วมกันกำกับและติดตามเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยใชร้ ะบบ Coaching and Mentoring โดยเน้นความถูกตอ้ งและความเป็นไปได้ 2. ร่วมกันพจิ ารณาความสมบูรณ์ของระบบ ฐานข้อมูลและสารสนเทศ 13

5.2 ดำเนินการ โดยใช้กระบวนการเชิงระบบ (Systematic Process) เป็นกลไกการบริหาร ระบบประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ปัจจัย (Inputs: I) กระบวนการ (Process: P) และผลผลิต/ ผลลัพธ์ (Output/Outcome: O) และใหข้ ้อมูลป้อนกลบั เพอื่ การปรับปรุงและพัฒนา ดังภาพที่ 5 ภาพท่ี 5 กระบวนการเชงิ ระบบในการบรหิ ารระบบประกันคณุ ภาพการศึกษา ในการดำเนินการครั้งนี้ เน้นการมีส่วนร่วม (Participation) และการเสริมสร้างพลัง (Empowerment) โดยใช้ระบบ Coaching and Mentoring เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ตามแนวการบริหารระบบคุณภาพ PDCA และใช้แบบบันทึกภาคสนามตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 มาตรฐาน เป็นเคร่ืองมือในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล มรี ายละเอยี ดดังนี้ 5.2 Do & Check: ดำเนนิ การ Plan Do 1. ศกึ ษาแผนการพฒั นาการจดั การศกึ ษา 1. ร่วมกันดำเนนิ งานตามแผนการประเมินคณุ ภาพ 2. ร่วมกันพิจารณาเปา้ หมายของสถานศึกษา การศกึ ษา โดยใช้วธิ กี ารเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล ไดแ้ ก่ วสิ ยั ทัศน์ พันธกจิ ยุทธศาสตร์โรงเรียน ภาคสนาม ดว้ ยแบบบนั ทึกภาคสนาม (Field เป้าประสงค์ กลยทุ ธ์ และนโยบาย Note) ตามมาตรฐานการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน 3 3. ร่วมกันกำหนดกรอบและแนวทางการประเมิน มาตรฐาน คุณภาพการศกึ ษาตามมาตรฐานการศกึ ษาข้ัน 2. ร่วมกนั สรุปผลการประเมนิ คณุ ภาพการศึกษา พน้ื ฐาน 3 มาตรฐาน ตามมาตรฐานการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน 3 มาตรฐาน Check Act 1. ร่วมกันพิจารณาการบรรลุผลการดำเนินงาน 1. ร่วมกันกำกบั และติดตามเปน็ ระยะอยา่ งต่อเน่อื ง ตามแผนพฒั นาการจดั การศกึ ษา โดยใช้ระบบ Coaching and Mentoring 5.3 รายงานผล เป็นการจัดทำรายละเอียดของผลการประเมินคุณภาพภายในของ สถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 มาตรฐาน หลังการเก็บข้อมูลในแบบบันทึกภาคสนาม เรียบร้อยแล้ว นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสรุปผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยจัดทำเป็น รายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) 14

5.3 Act: รายงานผล Plan Do 1. สังเคราะห์ผลการประเมนิ คุณภาพภายในของ 1. รว่ มกันจัดทำรายงานผลการประเมินคณุ ภาพ สถานศกึ ษาจากแบบบนั ทกึ ภาคสนามตามมาตรฐาน ภายใน การศึกษาข้นั พื้นฐาน 3 มาตรฐาน Check Act 1. ร่วมกันพิจารณาความถูกตอ้ และเป็นปจั จุบันของ 1. ร่วมกันกำกับและติดตามเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เอกสารรายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน โดยใชร้ ะบบ Coaching and Mentoring ขั้นที่ 6 ติดตาม ตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Follow up: F) มีการ ดำเนินการดังนี้ 6.1 ติดตาม และตรวจสอบ เอกสารรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) 6.2 นำผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาจากการประเมินตนเองมาวิเคราะห์ และนำไปใชพ้ ัฒนาการบรหิ ารและการเรียนการสอนอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง 6.3 เผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและ เครือขา่ ยภายนอก กระบวนการของรูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (ACCSOF Model) มี 6 ขั้นตอน ดังภาพที่ 6 ภาพที่ 6 กระบวนการของรูปแบบการพฒั นาระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายในสถานศึกษา โรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วจิ ัยและพฒั นาการศกึ ษา 15

4. การวดั และประเมนิ ผล 4.1 ประเมินคุณภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามมาตรฐาน การศกึ ษาระดับการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน 4.2 ประเมินผลการจัดทำรายงานการประเมนิ ตนเอง (SAR) ประกอบดว้ ย 1) ความสามารถของบุคลากรในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามเพื่อจัดทำรายงานการ ประเมินตนเอง (SAR) 2) คณุ ภาพของรายงานการประเมินตนเอง (SAR) 5. เงือ่ นไขสำคญั ที่นำไปสคู่ วามสำเร็จ 5.1 ผู้บริหารมีนโยบายพัฒนาสถานศึกษาดา้ นระบบประกันคุณภาพภายในอย่างตอ่ เนื่อง 5.2 บุคลากรให้ความสำคัญและมีความตระหนกั ในการทำงานตามมาตรฐานประกันคุณภาพภายใน สถานศกึ ษาให้เปน็ วัฒนธรรมองค์กร จากการศึกษาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาโรงเรียนสาธิตแหง่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศนู ย์วจิ ัยและพฒั นาการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย การประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาคุณภาพโรงเรียน และงานประกันคณุ ภาพภายใน การบรหิ ารจดั การสถานศกึ ษาและรูปแบบการพฒั นางานประกนั คณุ ภาพ และ แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ผู้วิจัยนำมาพัฒนารูปแบบการ พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา โดยใช้ชื่อรูปแบบว่า “ACCSOF Model” หรือ “รูปแบบ เอซีซีเอสโอเอฟ”และมีองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่ ความสำเร็จ ดังภาพที่ 7 16

ภาพที่ 7 รูปแบบการพฒั นาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศนู ยว์ จิ ยั และพฒั นาการศึกษา (ACCSOF Model) 17

ผู้ทรงคณุ วุฒิ อาจารยด์ สุ ิต หังเสวก ผอู้ ำนวยการกลุ่มนเิ ทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจัดการศึกษา สำนกั งานเขตพน้ื การศกึ ษาประถมศกึ ษานครปฐม เขต 1 อาจารย์วิไล คชศลิ า ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นทกี่ ารศึกษานครปฐม เขต 1 คุณทองวาท ราชชารี นักวิเคราะหน์ โยบายและแผน ชำนาญการ หวั หน้างานนโยบายและแผน คณุ กมลธนัสร์ สามสีเนยี ม เจา้ หน้าท่ีบรหิ ารงานทวั่ ไป ระดบั ปฏบิ ตั ิการ รายชอื่ คณะทำงาน ผู้อำนวยการ ทป่ี รึกษา ท่ปี รึกษา รองผู้อำนวยการฝา่ ยบรหิ าร ที่ปรึกษา ทป่ี รึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ทีป่ รึกษา รองผู้อำนวยการฝา่ ยวจิ ัยและบรกิ ารวิชาการ ที่ปรึกษา ทป่ี รึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ ท่ีปรกึ ษา รองผ้อู ำนวยการฝา่ ยกิจการนักเรียน ทีป่ รกึ ษา ผชู้ ่วยผอู้ ำนวยการระดับการศกึ ษาปฐมวัย ประธาน รองประธาน ผชู้ ว่ ยผูอ้ ำนวยการระดับประถมศึกษา กรรมการ กรรมการ ผู้ช่วยผอู้ ำนวยการระดบั มธั ยมศกึ ษา กรรมการ นางสาวสุกญั ญา ทพิ ย์รักษ์ กรรมการ กรรมการ นางสิริมา ศิริฤกษ์ กรรมการ กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารยณ์ ุภัทรณยี ์ สขุ ุมะ กรรมการ กรรมการ ผู้ชว่ ยศาสตราจารยว์ จิ ิตตรา จันทร์ศรีบตุ ร กรรมการ กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาํ พร ขุนเนียม กรรมการและเลขานกุ าร กรรมการและผู้ช่วยเลขานกุ าร นางนภัสกร อุดมศรี นายภาสวิชญ์ หลาวมา นางสาวภทั รศ์ รัณย์ ธนัชญาอิศม์เดช นางสุวีณา เดือนแจง้ นางสาวนลินทิพย์ มโนมนั่ นางสาวมนิ ตรา สงิ หนาค นายนเรศ มว่ งอยู่ นางสาวชลทชิ า ป้นั ศรนี วล นางสาวทิพย์ภาพร ขุนไกร นางสาวรัถญา เทยี นเหลอื ง 18

ส่วนท่ี 2 Model การเรยี นการสอน 19

รปู แบบ ชมุ ชนการเรยี นรทู้ างวิชาชีพเพ่ือเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปญั ญารว่ มกับ ภาษาธรรมชาติของนกั ศึกษาฝกึ ประสบการณ์วชิ าชีพครูท่ีสง่ เสรมิ คณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงคของเด็กปฐมวัย จดั ทำโดย ผู้ชว่ ยศาสตราจารยช์ ตุ มิ า รัศมี และคณะ รว่ มกบั งานฝกึ ประสบการณว์ ิชาชพี ครู และงานการศกึ ษาปฐมวัย 20

รปู แบบชุมชนการเรยี นรู้ทางวชิ าชีพเพือ่ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรยี นรู้ ตามแนวคดิ พหุปญั ญารว่ มกบั ภาษาธรรมชาติของนักศกึ ษาฝึกประสบการณ์วชิ าชพี ครูทสี่ ง่ เสริม คณุ ลกั ษณะทพ่ี งึ ประสงคของเดก็ ปฐมวัย “KU.KIDS Model” แนวคิดพืน้ ฐานในการพฒั นารปู แบบ รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพ่ือเสรมิ สร้างสมรรถนะการจัดประสบการณก์ ารเรยี นรู้ตามแนวคิด พหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค ของเด็กปฐมวัย มีแนวคิดพื้นฐานมาจากมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ในรูปแบบของผลลัพธ์ที่พึง ประสงค์ (Desired Outcomes of Education, DOE) การจัดการศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 การจดั ประสบการณ์การเรียนรูส้ ำหรับเด็กปฐมวยั จิตวิทยาพฒั นาการสำหรบั เดก็ ปฐมวัย ชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) แนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) สำหรับเดก็ ปฐมวัย การฝึกประสบการณ์วชิ าชีพครู และคณุ ลักษณะท่ีพึงประสงคของเดก็ ปฐมวยั องค์ประกอบของรูปแบบ รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการวิจัยครั้งนี้ มีชื่อว่า “KU.KIDS Model” มีองค์ประกอบ 5 ดา้ น คือ หลกั การ วตั ถปุ ระสงค์ กระบวนการ การวัดและประเมนิ ผล และปัจจัยสนบั สนนุ โดยองค์ประกอบ แตล่ ะด้านมีสาระสำคัญดังน้ี 1. หลักการ พัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) บนฐานคิดของพหุปัญญาและภาษาธรรมชาติ ที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยและบรรลุเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาระดับ ปฐมวยั เป็นสำคัญ 2. วัตถปุ ระสงค์ 2.1 เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับ ภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนการใช้รปู แบบ และระยะหลังการใชร้ ูปแบบ 2.2 เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้รูปแบบชุมชน การเรยี นรูท้ างวชิ าชีพ 2.3 เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญา 8 ด้านของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้ รปู แบบชมุ ชนการเรียนรู้ทางวชิ าชีพ 3. กระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินการตามระยะของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครู ท่ีสง่ เสริมคณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงคของเดก็ ปฐมวยั มกี ารดำเนนิ การตามลำดับอยา่ งต่อเน่ือง 6 ขั้น คือ 21

ขั้นที่ 1 การเรียนรู้ความรู้ใหม่ (Knowing and Learning New Knowledge: K) เป็นการให้ โอกาสนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์พื้เลี้ยงในระดับชั้นอนุบาลศกึ ษา ได้เปิดรับความรู้และ ความคิด หรือวิธีการใหมๆ่ กระตุน้ ใหพ้ ฒั นาแนวคดิ และมีมมุ มองใหมๆ่ ทางดา้ นหลักสูตรการจดั ประสบการณ์ การเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลของเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทางด้านการศึกษาผ่านออนไลน์ และเมื่อมองย้อนกลับมาศึกษาข้อมูลในบริบทโรงเรียน และห้องเรียน สิ่งที่ต้องการพัฒนาอย่างเร่งด่วนคืออะไร และมีวิธีการอย่างไร นอกจากนี้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์จากวิทยากรเชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเลือกหัวข้อ ตามความต้องการของอาจารย์พ่ีเลีย้ งและนักศึกษา เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของเดก็ แต่ละคนในช้นั เรยี นให้เกิดประสิทธิผลสงู สดุ ขนั้ ที่ 2 การสร้างความเขา้ ใจรว่ มกัน (Understanding Coordination: U) เปน็ การดำเนนิ การ ที่ต่อยอดจากขั้นที่ 1 นำความคิดใหม่ ๆ มาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความจำเป็นในการนำกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ท างวิชาชีพมาใช้ใน การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครู ที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงคของเด็กปฐมวัย และร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมมือรวม พลังกันเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในระดับชั้นอนุบาลศึกษาทั้งระบบ โดย เน้นการมีส่วนร่วม (Participation) ของบุคลากรทุกฝ่ายในระดับอนุบาลรวมทั้งผู้แทนผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อสร้างทีม PLC และกำหนด ปฏิทินการดำเนินกิจกรรม PLC เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ร่วมกนั ขนั้ ท่ี 3 การลงมอื ปฏบิ ัติ (Keep Practicing: K) นกั ศึกษาฝกึ ประสบการณ์วชิ าชพี ครูและอาจารย์ พี่เลี้ยงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาหรอื สิ่งที่ตอ้ งการพัฒนาเด็กในชั้นเรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซ่ึง ประกอบด้วยพัฒนาการ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา รวมทั้งพหุ ปัญญา 8 ด้าน และร่วมกันหาสาเหตุที่แท้จริงของการไม่บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ร่วมกันออกแบบการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ และสื่อ แหล่งเรียนรู้ โดยเลือกเทคนิค วิธีการ กระบวนการขั้นตอน รูปแบบ ท่ี เหมาะสมต่อการนำไปพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และพหุปัญญา 8 ด้านของเด็กระดับปฐมวัย นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเขียนแผนและเตรียมการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับ ภาษาธรรมชาติ โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงให้ความรู้ และให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด สมาชิกทีม PLC เตรียมสังเกต การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กำหนดวันเวลาในการสังเกตการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนของทีม หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แล้ว ทีม PLC ร่วมกันทบทวน ตั้งข้อสังเกต และให้คำแนะนำแก่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้วยวิธีการ After Action Review : AAR หลงั การลงมอื ปฏิบตั ิทันที นำไปส่กู ารกำหนดปัญหาและพฒั นาในโอกาสตอ่ ไป ขั้นที่ 4 การสะท้อนคิด (Ideas Reflection: I) ทีม PLC ร่วมกันกำหนดประเด็นในการสะท้อน ความคิดให้ครอบคลุมสิ่งที่ร่วมกันศึกษา เพื่อกำหนดสิ่งที่จะพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วางแผน การสังเกตการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้า สนับสนุนสื่อ-อุปกรณ์ แนะนำการใช้เทคโนโลยี ประกอบการจดั ประสบการณ์การเรยี นรู้สำหรบั เด็กปฐมวยั ในยคุ ดจิ ทิ ัล ขั้นที่ 5 การถอดบทเรียนอย่างมีเป้าประสงค์ (Deliberating Lesson Learned: D) ทีม PLC ร่วมกันถอดบทเรียนจากการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปญั ญา 22

ร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงคของเด็ก ปฐมวัย เพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับ รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพท่ีเหมาะสมกับบริบทโรงเรียนและ ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ชุมชน จากนั้นนำผลท่ไี ด้ จากการถอดบทเรียน ไปใช้ดำเนินการร่วมกบั การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เพื่อช่วย ในการจัดการระบบความรู้ โดยมีรูปแบบที่ใช้ในการจัดการความรู้ชื่อ “MDOFT Model” มีขั้นตอนการ ดำเนินงานดงั ภาพท่ี 8 ภาพที่ 8 ขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนการจดั การเรียนรู้ ขั้นที่ 6 การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development : S) ทีม PLC ร่วมกันเสนอแนะ แนวทางในการนำรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อให้เกิด Mind Set ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้อย่างยั่งยืน ด้วยการขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย ความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง และชุมชน ที่ได้ให้ความไว้วางใจกับโรงเรียนในการดูแลและพัฒนาบุตรหลานให้เติบโต ก้าวหน้า และมีพัฒนาการสมวยั ผู้วิจัยนำเสนอกระบวนการของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู ที่สง่ เสริมคุณลักษณะทพ่ี งึ ประสงคของเดก็ ปฐมวัย ดังภาพที่ 9 23

ภาพที่ 9 กระบวนการของรูปแบบชุมชนการเรยี นรทู้ างวิชาชพี เพอื่ เสรมิ สรา้ งสมรรถนะการจดั ประสบการณ์ การเรียนร้ตู ามแนวคดิ พหุปญั ญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนกั ศึกษาฝกึ ประสบการณว์ ิชาชพี ครูท่ี สง่ เสรมิ คณุ ลกั ษณะทพ่ี ึงประสงคของเด็กปฐมวยั 4. การวัดและประเมินผล 4.1 สมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติ ของนกั ศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชพี ครู 4.2 คุณลกั ษณะทพี่ ึงประสงคแ์ ละความสามารถทางพหปุ ญั ญา 8 ด้านของเดก็ ปฐมวัย 5. ปัจจัยสนับสนนุ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ “KU.KIDS Model” ทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลสูงสุดต่อนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และเด็กปฐมวัย คือ การเสริมสร้างพลัง (Empowerment) การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing and Learning) การสอน งาน (Coaching) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) การสะท้อนผล (Reflecting) การมีส่วนร่วม (Participation) และการร่วมแรง ร่วมใจ รวมพลัง (Collaboration) ผ่านกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยา่ งต่อเนือ่ ง จากองค์ประกอบดังกล่าวของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาร่วมกับภาษาธรรมชาติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยนำเสนอ โดยมีองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ การวัดและการประเมินผล และปัจจัยสนับสนุน ดังภาพท่ี 10 24

ภาพท่ี 10 รปู แบบชุมชนการเรยี นร้ทู างวิชาชพี เพ่อื เสริมสร้างสมรรถนะการจดั ประสบกา ฝึกประสบการณ์วชิ าชพี ครู ทสี่ ่งเสริมคณุ ลกั ษณะท่ีพงึ ประสงคของเดก็ ปฐมวยั 25

ารณก์ ารเรยี นรตู้ ามแนวคดิ พหุปญั ญารว่ มกับภาษาธรรมชาตขิ องนักศึกษา ย

รายช่ือคณะทำงาน ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ชุติมา รัศมี ประธาน รองประธาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจิราพร รามศริ ิ กรรมการ กรรมการ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.อำพร ขุนเนียม กรรมการ กรรมการและเลขานุการ นางนภัสกร อดุ มศรี ประธานกรรมการ นางพทั ธ์ชรญั ญา วรมาลี รองประธานกรรมการ นายธนวรรธน์ สวนประเสรฐิ กรรมการ กรรมการ คณะกรรมการงานฝึกประสบการณว์ ิชาชพี ครู กรรมการ กรรมการ ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร.รจุ ิราพร รามศริ ิ กรรมการ กรรมการ ผู้ชว่ ยศาสตราจารยอ์ ุทยั วรรณ แสงเสถียร กรรมการและเลขานกุ าร กรรมการและผ้ชู ่วยเลขานุการ ผู้ชว่ ยศาสตราจารยส์ วรส ศรอี นันตคม ประธานกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารยข์ จรรตั น์ อุดมศรี กรรมการ กรรมการ นางสาวมลิวัลย์ กาญจนชาตรี กรรมการ นายปรีชา นวมนาม กรรมการ นางสาวสุพตั รา ฝา่ ยขันธ์ กรรมการ นางสาวบรู นาถ เฉยฉนิ กรรมการ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.อำพร ขนุ เนียม กรรมการและเลขานกุ าร กรรมการและผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร นายธนวรรธน์ สวนประเสริฐ คณะกรรมการงานการศกึ ษาปฐมวยั อดุ มศรี รศั มี นางนภัสกร ผชู้ ่วยศาสตราจารยช์ ตุ ิมา เจรญิ ศิลป์ชัย ผชู้ ว่ ยศาสตราจารยก์ รรณิการ์ ดอกชะเอม วรมาลี ผู้ชว่ ยศาสตราจารยพ์ รสถติ ขนุ ไกร นางพัทธ์ชรญั ญา เมืองบรุ ี นางสาวทพิ ยภ์ าพร วงั เย็นนยิ ม นางอญั ชุลีกร โรจนทั นางพศิ มยั นางมณรี ตั น์ 26

รูปแบบ การจัดการเรียนรวู้ ทิ ยาศาสตร์ตามแนวคดิ STEM Education ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบท่ีผสมผสานเทคโนโลยใี นยคุ ดจิ ิตอล เพื่อเสริมสรา้ งสมรรถนะการแกป้ ญั หาอยา่ งสร้างสรรค์และ การสรา้ งสรรค์นวัตกรรมของนกั เรียนระดับมัธยมศกึ ษา จัดทำโดย ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.รจุ ริ าพร รามศิริ อ.สกุ ญั ญา ทพิ ย์รักษ์ กล่มุ สาระการเรียนรวู้ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี 27

รูปแบบการจดั การเรียนรู้วทิ ยาศาสตรต์ ามแนวคิด STEM Education รว่ มกับกระบวนการคิด เชิงออกแบบท่ผี สมผสานเทคโนโลยีในยคุ ดจิ ิตอลเพื่อเสริมสรา้ งสมรรถนะการแกป้ ญั หาอยา่ งสร้างสรรค์ และการสรา้ งสรรค์นวตั กรรมของนกั เรยี นระดับมธั ยมศึกษา “EEIPS Model” แนวคดิ พื้นฐานในการพฒั นารปู แบบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิด STEM Education ร่วมกับกระบวนการคิด เชิงออกแบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และ การสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบที่เกี่ยวข้อง 6 แนวคิด ดงั นี้ 1. ยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) 2. มาตรฐาน/ตวั ช้ีวดั (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ. 2560 Basic Education Curriculum B.E 2551 (A.D. 2008) 3. มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ พ.ศ. 2561 ในรูปแบบของผลลัพธท์ พี่ ึงประสงค์ (Desired Outcomes of Education, DOE) 4. กระบวนการคดิ เชิงออกแบบ (Design Thinking) 5. สะเต็มศกึ ษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) 6. กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Process) จากแนวคิดพ้ืนฐานในการพัฒนารปู แบบดงั กลา่ ว นำเสนอแนวคิดท่เี ก่ียวขอ้ งได้ดงั ภาพท่ี 11 ภาพที่ 11 แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด STEM Education ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การแก้ปญั หาอย่างสรา้ งสรรค์และการสร้างสรรคน์ วัตกรรมของนกั เรยี นระดบั มัธยมศกึ ษา 28

องค์ประกอบของรูปแบบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิด STEM Education ร่วมกับกระบวนการคิดเชิง ออกแบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการ สร้างสรรค์นวตั กรรมของนักเรียนระดบั มธั ยมศึกษา ใช้ชอื่ รูปแบบว่า “EEIPS Model” ใชเ้ ป็นสว่ นหนง่ึ ของการ จัดการเรียนรใู้ นรายวิชาฟิสกิ ส์ 5 (ว 32205) และเทคโนโลยสี ารสนเทศ (ว 33285) ภาคเรียนท่ี 2 ปี การศึกษา 2562 ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 11 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 คาบ รวมเป็น 55 คาบ มีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ การวัดและประเมินผล และปจั จยั สนบั สนนุ โดยองคป์ ระกอบแต่ละด้านมสี าระสำคัญดังนี้ 1. หลักการ การเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสาน เทคโนโลยี คือ การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีบทบาทในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือความคิดใหม่ๆ เพื่อใช้ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามความต้องการของผู้บริโภค ที่เน้นการสร้างต้นแบบของนวัตกรรมจาก การบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพือ่ เสรมิ สร้างสมรรถนะการแก้ปัญหาอย่างสรา้ งสรรค์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมของผูเ้ รยี น 2. วตั ถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษา 3. กระบวนการ EEIPS Model เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่บูรณาการแนวคิด STEM Education ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และการใชเ้ ทคโนโลยีดิจทิ ลั ในการจดั การเรียนรใู้ ห้เกดิ ประโยชน์ตอ่ ผู้เรียน ในด้านสมรรถนะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งจะเริ่มต้นการเตรียมความ พร้อมก่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยการปรับ Mindset เพื่อสร้างแรงขับในการเรียนรู้และเห็น ความสำคัญของการบูรณาการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล การออกแบบ การลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และ การใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน โดยอาจใช้คำกล่าวหรือแนวคิดของนัก การศึกษา เช่น Dr. Seuss “The more that you read, the more things you will know. The more that you learn, the more places you'll go.” จากนัน้ จึงดำเนินการตามกระบวนการ “EEIPS” 5 ข้ันตอน ดังนี้ ขนั้ ที่ 1 การทำความเขา้ ใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง (Empathize: E) การทำความเข้าใจกลุม่ เป้าหมายอย่างลึกซึ้งทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ว่าปญั หาความต้องการ ใดของกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet Needs) ซึ่งเป็นโอกาสที่นักเรียนจะสามารถนำไป สร้างนวัตกรรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ดำเนินการโดยให้นักเรียนเลือกเก็บข้อมูลด้วย วธิ กี ารสัมภาษณ์และสงั เกตกลมุ่ เปา้ หมายคนทน่ี ่าสนใจและเตม็ ใจในการให้ข้อมูล ข้ันท่ี 2 การสำรวจแนวคิด และต้งั กรอบโจทย์ (Explore Ideas and Define: E) เป็นขั้นตอนที่ให้นักเรียนสำรวจค้นหาข้อมูลทั่วไปและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์บริบทของกลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดประเด็นให้ครอบคลุม และนำข้อมูลที่ได้ทำความเข้าใจ กลุม่ เป้าหมายอยา่ งลึกซง้ึ (Insights) รวมถึงบริบททเ่ี กย่ี วข้องมาวิเคราะหเ์ พือ่ สรปุ ประเด็นสำคัญและเปา้ หมาย ของการออกแบบ เพื่อให้ได้กรอบโจทยท์ ี่ชดั เจนและตรงตามความตอ้ งการของกลุ่มเป้าหมายอยา่ งแท้จริง โดย กำหนดให้นักเรยี นทำงานเปน็ ทมี และใชแ้ ผนภูมทิ างคณิตศาสตร์ เชน่ แผนภูมแิ ท่ง แผนภูมริ ูปวงกลม แผนภมู ิ 29

ก้างปลา เป็นต้น มาช่วยในการวิเคราะห์หามุมมอง (Point of View) ที่พิเศษเป็นลักษณะเฉพาะ จากนั้นนำ ประเด็นข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งมาจัดลำดับความสำคัญ โดยเน้น มุมมองท่สี ามารถตอบสนองคุณค่าและความต้องการของกลุ่มเปา้ หมายไดอ้ ยา่ งแท้จรงิ ขั้นที่ 3 การสร้างความคิด วางแผนและออกแบบI (Ideate, Plan and Design: I) ให้นักเรียนระดมสมองคิดหาแนวทางในการวางแผนและออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมเพ่ือ ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการใช้คำถามว่า “ทำไมและอย่างไร (Why and How)” เพื่อเอื้อให้สมาชกิ ในทีมมองเห็นภาพรวมของนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นร่วมกัน วางแผนและออกแบบนวัตกรรมโดยเสนอในลักษณะรูปภาพและระบุองค์ประกอบของนวัตกรรมที่ ประกอบด้วย ชื่อนวัตกรรม ความสำคัญ วัตถุประสงค์ หลักการทำงาน และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น จากนั้นให้แต่ละทีมนำเสนอผลการออกแบบนวัตกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและ กันด้วยวิธีการอภิปรายในประเด็นคำถาม “ทำไมและอย่างไร” ในขั้นนี้นักเรียนสามารถออกแบบโดยใช้ เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อพัฒนาการทำงานของนวัตกรรมสั่งการโดยใช้ Application และ/Coding เพื่อควบคุม การทำงานของอุปกรณใ์ นระบบท่ีนกั เรยี นพฒั นาขึน้ เป็นตน้ แบบนวตั กรรม ขน้ั ท่ี 4 การสรา้ งตน้ แบบ ทดสอบและปรบั ปรงุ (Prototype, Test and Improve: P) การสร้างต้นแบบเป็นการถ่ายทอดความคิดของทีมที่ร่วมกันออกแบบไว้มาทำให้เป็น รูปธรรม จับต้องได้ โดยทำเป็นต้นแบบนวตั กรรมเพื่อทดสอบด้านรูปลกั ษณ์ ความสวยงาม สีสัน ความทนทาน ของวัสดุ เพื่อที่จะหาว่าคุณลักษณะใดมีผลต่อความชอบของผู้ใช้ และการสื่อถึงความรู้สึกกับผู้ใช้ หรืออาจทำ เป็นต้นแบบนวัตกรรมเพื่อทดสอบด้านพฤติกรรมของผู้ใช้ที่มีต่อนวัตกรรมที่สร้างขึ้น หรือต้นแบบด้าน ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ คุณภาพ ความสามารถในการทำงานของนวัตกรรม ประโยชน์ของนวัตกรรม เป็นต้น จากน้ัน จึงนำต้นแบบนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานกับกลุ่มเป้าหมายและศึกษาประสิทธิผล ของต้นแบบนวัตกรรมที่สร้างขึ้น โดยใช้สถานที่ทดสอบในบริบทที่ผู้ใช้งานจะใช้ในชีวิตจริง ในระหว่างการ ทดสอบมขี ้อที่ควรปฏิบัติ คือควรบอกข้อมูลเท่าท่ีจำเป็นทางด้านกจิ กรรมทีผ่ ู้ทดสอบตอ้ งทำ ไม่ควรอธบิ ายการ ทำงานของแนวคิดที่นำมาทดสอบ ควรให้ผู้ทดสอบได้ลองใช้ในวิธีของตัวเอง ไม่ควรตัดสินว่าวิธีนั้นถูกหรือผิด คอยสังเกตปฏิกิริยาและความรู้สึกของผู้ใช้ระหว่างการทดสอบต้นแบบ และไม่ควรขัดจังหวะการใช้งาน จากนน้ั จงึ นำตน้ แบบนวัตกรรมท่ีนักเรยี นสร้างข้นึ มาปรับปรงุ ใหเ้ ป็นรูปร่างสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ งาน โดยในการทดสอบแตล่ ะคร้ังจะชว่ ยให้นักเรียนเกิดความคิดใหม่ ๆ เพ่มิ เติม ซึ่งการดำเนนิ งานในขน้ั ท่ี 4 น้ี พอจะสรุปเป็นขั้นตอนย่อยได้ 4 ขั้นคือ สร้างต้นแบบ (Build) ทดสอบและประเมิน (Test and Evaluate) ทดสอบซำ้ (Iterate) และออกแบบใหม่ (Redesign) ขน้ั ที่ 5 การแบง่ ปนั และการประเมิน (Share and Assessment: S) ขั้นแบ่งปันและประเมิน เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ต้นแบบ นวัตกรรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายภายใต้กรอบโจทย์ในขั้นที่ 2 ระหว่างนักเรียน เพื่อน ครู และ ผู้สนใจ โดยนักเรียนร่วมกันจัดนิทรรศการการแสดงผลงานในโรงเรียน จัดเผยแพร่ผลงานผ่านออนไลน์ ร่วมจัด แสดงผลงานในกิจกรรมการต้อนรับผู้บริหาร และครูจากภายนอกโรงเรียน รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมจัด นิทรรศการงานเกษตรกำแพงแสน ประจำปี 2562 ณ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และมีการประเมินผลงานของนักเรียนจากรายงานการ พฒั นานวัตกรรมในรูปแบบของกระบวนการวิจยั 30

ผู้วิจัยนำเสนอกระบวนการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิด STEM Education ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการ แก้ปญั หาอย่างสรา้ งสรรค์และการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับมธั ยมศึกษา ดังภาพท่ี 12 ภาพที่ 12 กระบวนการของรูปแบบการจัดการเรยี นรวู้ ทิ ยาศาสตร์ ตามแนวคิด STEM Education รว่ มกับ กระบวนการคิดเชงิ ออกแบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีในยุคดจิ ิตอล เพ่ือเสรมิ สร้างสมรรถนะ การแก้ปญั หาอยา่ งสร้างสรรค์ และการสรา้ งสรรคน์ วัตกรรมของนกั เรียนระดบั มธั ยมศึกษา 4. การวัดและประเมนิ ผล 4.1 สมรรถนะการแกป้ ญั หาอยา่ งสรา้ งสรรค์ 4.2 สมรรถนะการสร้างสรรคน์ วัตกรรม 5. ปัจจัยสนับสนุน 5.1 ทัศนะเชิงบวก (Mindset) ความร่วมแรงร่วมใจ (Collaboration) และความมุ่งมั่นตั้งใจ (Intention) ในการปฏบิ ตั งิ านให้สำเร็จของนกั เรียน 5.2 การเสริมพลัง (Empowerment) ในการเรยี นรใู้ หแ้ กน่ ักเรียน 5.3 ความพร้อมสิง่ อำนวยความสะดวก (Facilities) ไดแ้ ก่ ทรัพยากรและแหลง่ เรยี นรู้ทั้งภายในและ ภายนอกโรงเรยี น 31

จากองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิด STEM Education ร่วมกับ กระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสานเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์และการสร้างสรรค์นวตั กรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่ผู้วิจัยนำเสนอโดยมอี งค์ประกอบของ รูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ การวัดและการประเมินผล และปัจจัย สนบั สนนุ สรปุ ไดด้ ังภาพที่ 13 32

ภาพที่ 13 รปู แบบการจัดการเรียนรวู้ ิทยาศาสตร์ตามแนวคดิ STEM Education ร่วมก สมรรถนะการแกป้ ญั หาอย่างสร้างสรรค์และการสรา้ งสรรค์นวัตกรรมของนัก 33

กับกระบวนการคดิ เชงิ ออกแบบทผ่ี สมผสานเทคโนโลยใี นยุคดจิ ิตอล เพื่อเสรมิ สรา้ ง กเรียนระดับมธั ยมศึกษา

สว่ นท่ี 3 Model การจัดการความรู้ 34

รูปแบบ การจัดอบรมเชิงปฏิบตั ิการท่ีมีประสิทธผิ ล โรงเรยี นสาธติ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนยว์ ิจัยและพฒั นาการศึกษา จดั ทำโดย ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ณชพงศ์ อดุ มศรี และคณะ 35

รปู แบบการจดั อบรมเชิงปฏบิ ตั ิการทมี่ ปี ระสทิ ธิผล โรงเรยี นสาธิตแหง่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศนู ยว์ จิ ัยและพัฒนาการศกึ ษา “MSOFT Model” 1. เปา้ หมายและวัตถปุ ระสงค์ เป้าหมาย งานบริการวชิ าการและเครือข่ายความรว่ มมือเพ่ือพัฒนาครูผู้สอนระดับการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน ท่ีทำหน้าทีพ่ ัฒนาคุณภาพผู้เรยี นในยุคศตวรรษท่ี 21 วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่มี ประสิทธผิ ลของครูในโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมอื 1.2 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล ที่เสริมสร้างสมรรถนะครูผู้สอน ในโรงเรยี นเครอื ขา่ ยความร่วมมือระดับการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน และส่งเสรมิ ทกั ษะผ้เู รียนในศตวรรษที่ ๒๑ 1.3 เพื่อนำรูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล ไปใช้ในการพัฒนาโครงการอบรม เชิงปฏบิ ตั ิการบูรณาการการจัดการเรยี นรู้ตามแนวคิด STEM Education เพ่ือสง่ เสรมิ ทักษะผูเ้ รียนในศตวรรษ ท่ี ๒๑ 1.4 เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการอบรม เชงิ ปฏิบตั กิ ารบรู ณาการการจัดการเรยี นรู้ตามแนวคดิ STEM Education เพอ่ื สง่ เสรมิ ทักษะผูเ้ รยี นในศตวรรษ ที่ 21 ประกอบด้วย 1) ผลการพัฒนากระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education เพอื่ สง่ เสรมิ ทกั ษะผเู้ รียนในศตวรรษท่ี 21 2) ผลการประเมินสมรรถนะครูผู้สอนในโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือระดับการศึกษา ขัน้ พ้ืนฐาน 2. การสนบั สนนุ จากผูบ้ ังคบั บัญชา 1.1 การมอบนโยบายการปฏิบัติงาน ที่สะท้อนยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียน ข้อที่ 2 พัฒนา คณาจารย์และบุคลากรให้มีมาตรฐานวิชาชีพ และสะท้อนยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและรองรับการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ที่ 1.8 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน ภายนอก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในการเผยแพร่ผลงานบริการวิชาการ เพอื่ การสรา้ งนวตั กรรม 1.2 การกำกับ ติดตาม และช่วยเหลือ การดำเนินงานการพัฒนาโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ทม่ี ีประสิทธิผล 36

3. วิธีการ แนวทาง กระบวนการดำเนินงานจดั การความรู้ แผนการดำเนินงาน ประเดน็ การจดั การ ชือ่ เรอ่ื ง แหลง่ ความรู้ ระยะเวลา ตวั ช้ีวดั ผลผลติ ตัวช้ีวดั ความรู้ สร้างวสิ ยั ทศั น์ ดำเนนิ การ ความสำเร็จ ร่วมกนั 1. โรงเรียนเครอื ข่าย ม.ี ค.61 – จำนวนครูของ 1. การศกึ ษาและ ความรว่ มมอื พ.ค.61 โรงเรยี นเครือขา่ ย จำนวนครขู อง วเิ คราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ 2. เพอ่ื นรว่ มงานภายใน ความรว่ มมอื ท่มี ี โรงเรียนเครือข่าย พนื้ ฐานและความ องค์ประกอบของ และภายนอกโรงเรยี น พ.ค.61 ความตอ้ งการในการ ความรว่ มมอื ที่ตอบ ตอ้ งการในการจดั รูปแบบการจัด 3. เพื่อนรว่ มงานในกลุม่ พัฒนาสมรรถนะการ รบั การเข้าร่วม อบรมเชงิ ปฏิบตั กิ าร อบรมเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร สาระการเรียนรแู้ ละต่าง พ.ค.61 – จัดการเรียนรู้ ผา่ น โครงการอยา่ งน้อย ทีม่ ปี ระสิทธผิ ลของ กลุ่มสาระการเรยี นรู้ มิ.ย.61 การอบรมเชงิ รอ้ ยละ75 ครใู นโรงเรียน แนวคิดสกู่ ารปฏบิ ตั ิ ปฏบิ ตั ิการ เครือขา่ ยความ :การอบรมเชงิ 1. เอกสารเนอ้ื หาสาระ ก.ค.61 รว่ มมอื ปฏิบัตกิ าร บรู ณา ที่เกี่ยวกับการจดั อบรม เอกสารรูปแบบการ คุณภาพของ 2. การพัฒนา การการจัดการ เชงิ ปฏิบัติการ การ จดั อบรมเชิง รปู แบบการจัด รูปแบบการจดั เรยี นรู้ตามแนวคดิ จัดการเรยี นการสอน ปฏบิ ตั ิการที่มี อบรมเชิงปฏิบตั ิการ อบรมเชิงปฏบิ ตั กิ าร STEM Education ตามแนวคิด STEM ประสิทธิผล ที่มปี ระสทิ ธผิ ล ทม่ี ีประสิทธผิ ล เพ่ือส่งเสรมิ ทกั ษะ นโยบายการจดั ผู้เรยี นในศตวรรษท่ี การศึกษา หลกั สูตรการ เอกสารประกอบการ จำนวนครขู อง 3. การบริหาร ๒๑ จัดอบรมเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร อบรมเชงิ ปฏบิ ตั ิการ โรงเรยี นเครอื ขา่ ย จัดการ เพอื่ เพม่ิ ทบทวนผลการ แนวทางการพัฒนา บรู ณาการการ ความรว่ มมอื ท่ีมี ประสิทธภิ าพการ ปฏิบัตงิ าน (After นวัตกรรมการเรียนการ จัดการเรยี นรู้ตาม เวลาเขา้ รว่ มการ อบรมเชิงปฏิบตั ิการ Action Review : สอน แนวคดิ STEM อบรมเชงิ ปฏิบตั กิ าร AAR) 1. Best Practice ดา้ น Education เพอ่ื อย่างน้อยร้อยละ 4. การประเมินผล การจัดอบรมเชิง สง่ เสรมิ ทักษะผู้เรยี น 95 ติดตาม ตรวจสอบ ปฏบิ ตั ิการทีเ่ ป็นเลิศ ในศตวรรษท่ี ๒๑ และพัฒนาคณุ ภาพ 2. ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา อยา่ งตอ่ เน่อื ง ผลการอบรมเชงิ 1. การบรรลุ และเป็นแม่แบบ เวบ็ ไซต์ของโรงเรยี น ปฏบิ ตั กิ าร วตั ถปุ ระสงคข์ อง ศูนย์การฝกึ อบรม สาธติ แหง่ มหาวทิ ยาลยั โครงการอบรมเชิง เชงิ ปฏบิ ัติการท่ีเนน้ เกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ปฏบิ ัติการ ประสทิ ธิผล กำแพงแสน 2. ผลการ ดำเนินงานที่ เผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์โรงเรียน สาธติ แหง่ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขต กำแพงแสน 37

4. กระบวนการของรูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขตกำแพงแสน ศูนยว์ จิ ยั และพฒั นาการศกึ ษา 1. พนั ธกจิ (Mission: M) บคุ ลากรรว่ มกนั พัฒนารปู แบบการจดั การฝึกอบรมเชิงปฏบิ ัตกิ ารโดยมีกรอบการทำงาน ดงั นี้ 1.1 ศึกษาวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ของสถานศึกษา และนโยบาย ของผ้บู รหิ ารสถานศกึ ษา 1.2 ศึกษาพันธกิจเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มโรงเรียนภาคี จำนวน 10 สถาบัน ในฐานะโรงเรียน แม่ขา่ ย ในการพฒั นาสมรรถนะการจดั การเรียนการสอน 2. กำหนดหวั ข้อและผ้เู ช่ยี วชาญ (Specify Topic and Specialist: S) 2.1 รว่ มกันกำหนดหวั ขอ้ การจดั การฝกึ อบรมเชิงปฏิบตั กิ าร 2.2 รว่ มกันเสนอและแตง่ ตั้งผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการการฝึกอบรมเชงิ ปฏิบัติการ 2.3 ชแี้ จงบทบาทและหนา้ ทีค่ วามรับผดิ ชอบ 2.4 ตรวจสอบความถูกต้อง 2.5 ทบทวนและแก้ไข 3. ปฏบิ ัติการตามรปู แบบการจดั อบรมเชิงปฏิบตั กิ าร (Operation: O) 3.1 เตรียมความพร้อม ในการปฏิบัติการตามรูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการมี สว่ นรว่ มและเสริมสรา้ งพลงั โดยดำเนนิ งานตามแนว PDCA Plan Do 1. ช้แี จงและทำความเข้าใจรว่ มกันเก่ยี วกบั การ พัฒนารูปแบบการจดั การฝกึ อบรมเชิงปฏิบัติการ ท่ี 1. สง่ เสรมิ การมีส่วนร่วมของผูม้ สี ่วนเก่ยี วขอ้ ง มีความสำคัญและจำเปน็ ต่อการพฒั นาองค์กร 2. ร่วมกนั จัดทำแผนการดำเนนิ โครงการการ 2. รว่ มกันวางแผนข้ันตอนการจัดอบรมเชงิ ฝกึ อบรมเชิงปฏิบัติการ ปฏิบตั ิการ 3. รว่ มกนั จัดเตรยี มปัจจยั การบริหารจัดการ โครงการการฝกึ อบรมเชิงปฏิบตั ิการ ได้แก่ บคุ ลากร Check (man) งบประมาณ (money) วัสดุ (material) และวิธกี าร (method) Act 1. รว่ มกันพจิ ารณาแนวทางการปฏิบตั ิ เพอ่ื ใหเ้ กิด 1. ร่วมกันกำกบั และติดตามเปน็ ระยะอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ความชดั เจน ถกู ตอ้ ง และเป็นไปได้ โดยใชร้ ะบบ Coaching and Mentoring 3.2 ดำเนนิ การ โดยการดำเนนิ การคร้ังนม้ี กี ารใชร้ ูปแบบการดำเนนิ การ ดงั น้ี 1) กระบวนการเชิงระบบ (Systematic Process) เป็นกลไกในการจัดโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย ปัจจัย (Inputs) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output/outcome) และ ใหข้ อ้ มูลย้อนกลบั เพือ่ การปรบั ปรุงและพัฒนา ปัจจัย กระบวนการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ (Inputs) (Process) (Output/outcome) 1. พนั ธกจิ - โครงการการฝึกอบรมเชงิ - ทกั ษะผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21 2. นโยบาย ปฏบิ ตั กิ าร 3. เครือขา่ ยความรว่ มมือ 38

2) เทคนิคการมีส่วนร่วม (participation) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ด้วยการใช้ระบบ KM เพื่อช่วยกันระดมความคิดในการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของครูโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือ ในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบและพัฒนาการจัด อบรมเชิงปฏิบัติการให้มีประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ ร่วมกันบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอบรม เชงิ ปฏิบตั กิ าร และตรวจสอบ ทบทวนกระบวนการทำงานท่ีเป็นเลิศ 3) เทคนิคการเสริมพลัง (Empowerment) การเสริมพลังมาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่ร่วมกันกระตุ้น (Engage) ให้เกิดความสนใจในการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อนำไปสู่ คณุ ภาพผูเ้ รยี น รว่ มกนั ขับเคลือ่ นให้เกิดการเปล่ยี นแปลงแนวคิดและเหน็ ความสำคญั ของการพัฒนาตนเองของ ครูสู่การพัฒนาผู้เรียนโดยเน้นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันหาแนวทางเสริมสร้างประสบการณ์การ ทำงานที่เป็นระบบ ทบทวนวิธีการที่เป็นไปได้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของงานตามกระบวนการเสริมสร้างพลัง (Empowerment) 4 ขน้ั ตอน ดังภาพท่ี 14 ภาพที่ 14 กระบวนการเสรมิ พลัง (Empowerment) 4 ขน้ั ตอน 3.3 ประเมินและสรุปผล เป็นการประเมินผลการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลังการจัดโครงการเป็นที่เรียบร้อย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรม เชงิ ปฏิบตั กิ าร 4. ติดตาม ตรวจสอบ และพฒั นาคณุ ภาพอยา่ งตอ่ เน่อื ง (Follow Up: F) 4.1 ติดตามผลการเขา้ ร่วมโครงการการฝกึ อบรมเชิงปฏิบัตกิ าร จากผูเ้ ข้ารว่ มอบรม 4.2 ทบทวนผลการปฏบิ ัตงิ าน (After Action Review : AAR) ประกอบด้วย 6 ประเด็น คือ 1) มีสงิ่ ใดที่ทำได้ดีแล้ว และควรรักษาไว้ใหม้ ตี ่อไป 2) ถงึ เปา้ หมายตามแผนหรอื ไม่ 3) อะไรเปน็ ปญั หาและอปุ สรรคท่ีเกดิ ขนึ้ ระหวา่ งการทำงาน 4) เราไดเ้ รียนรอู้ ะไรบา้ งจากการทำกจิ กรรมในโครงการ 5) แนวทางที่ควรนำไปปรบั ปรุงแกไ้ ขคร้ังตอ่ ไป 6) ข้อพงึ ระวังท่คี วรใหค้ วามสำคัญ 39

4.3 นำผลการประเมินที่ได้มาพัฒนาการจัดกิจกรรมในโครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ อย่างต่อเนอ่ื ง 5. ฝกึ อบรมเชงิ ปฏบิ ัติการและการขยายผล (Training Center and Transportability: T) 5.1 พฒั นาบุคลากรให้มคี วามเชย่ี วชาญในการเปน็ ผนู้ ำฝกึ อบรมเชงิ ปฏิบัติการ 5.2 เผยแพร่ผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและโรงเรียน เครือข่ายความรว่ มมอื 10 สถาบัน 5.3 มงุ่ เปา้ สกู่ ารเปน็ แม่แบบศนู ย์การฝกึ อบรมเชงิ ปฏบิ ตั ิการในด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนในเครอื ข่าย ความรว่ มมือ 5.4 นำรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ MSOFT Model ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการ อบรมเชงิ ปฏบิ ัติการในสว่ นงานอนื่ 5.5 ใช้รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ MSOFT Model เป็นแนวทางในการให้บริการวิชาการของ โรงเรยี นตามยทุ ธศาสตร์ด้านการพฒั นาคณาจารย์และบุคลากรให้มีมาตรฐานวชิ าชีพ และการพัฒนาระบบการ บรหิ ารจัดการเพ่ือเพม่ิ ประสทิ ธิภาพและรองรับการเปลีย่ นแปลง ขั้นตอนการดำเนินงานการจัดการความรู้ของรูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา นำเสนอ ดงั ภาพที่ 15 ภาพท่ี 15 ขนั้ ตอนการดำเนินงานรปู แบบการจัดอบรมเชงิ ปฏิบัตกิ ารทม่ี ปี ระสทิ ธิผล โรงเรียนสาธิต แห่งมหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศนู ย์วจิ ยั และพัฒนาการศกึ ษา 40

5. ผลการดำเนนิ การหรอื การเปลี่ยนแปลงทเี่ กดิ ขน้ึ จากการจัดการความรู้ OUTPUT OUTCOME 1. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ บูรณา 1. จำนวนครูของโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือที่มี การการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education เวลาเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างน้อยร้อยละ เพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ฉบับ 95 สมบรู ณ์ 2. ประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ 1. ร้อยละของจำนวนครูโรงเรียนเครือข่ายความ สมรรถนะครดู ้านการจัดการเรียนรู้ ประกอบดว้ ย ร่วมมือที่ได้รับวุฒิบัตรผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ 2.1 ความสามารถในการออกแบบหนว่ ยการเรยี นรู้ การประเมินของโครงการอบรมเชงิ ปฏิบตั ิการ 2.2 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ 2. ผลการดำเนนิ งานของโครงการอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร ตามแนวคิด STEM Education เพื่อส่งเสริมทักษะ ทเี่ ผยแพร่ผา่ นเว็บไซตโ์ รงเรียนสาธติ แห่งมหาวิทยาลัย ผูเ้ รียนในศตวรรษที่ 21 เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศนู ย์วจิ ยั และ พัฒนาการศกึ ษา 6. ประโยชนท์ ีไ่ ดร้ บั จากการจดั การความรู้ ต่อคน งาน ทรพั ยากร และองค์กร ประโยชนต์ อ่ คน - อาจารยใ์ นโรงเรยี นสาธิตและโรงเรยี นเครอื ขา่ ยความรว่ มมือมกี ารพฒั นาการเรียนรู้ดา้ น การอบรมเชงิ ปฏิบัตกิ าร สรา้ งความมัน่ ใจ ภาคภมู ิใจในการถา่ ยทอดองค์ความรู้ต่อไป ประโยชนต์ อ่ งาน - สรา้ งงานใหม่และใหบ้ ริการวชิ าการ สร้างเครอื ข่ายความรว่ มมอื ทางวชิ าการระหวา่ ง หนว่ ยงาน และสถาบนั การศกึ ษา ประโยชนต์ อ่ - ผลจากการพัฒนาปรบั ปรงุ ทำให้องคก์ รใชท้ รพั ยากรอยา่ งคุ้มค่าและเกดิ ประโยชนส์ ูงสุด ทรพั ยากร ต่อหนว่ ยงานและสถาบนั ประโยชนต์ ่อ - เปน็ องคก์ รแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง เปน็ แหลง่ เรียนรูเ้ พอื่ พัฒนาวชิ าชพี ครู ให้ องคก์ ร สามารถแข่งขนั กับองค์กรอนื่ และเป็นศนู ยฝ์ กึ อบรมเชงิ ปฏบิ ัติการในด้านตา่ ง ๆ ของ โรงเรียนในเครอื ขา่ ยความร่วมมือ 7. แหล่งรวบรวมความร/ู้ ศนู ย์กลางความรู้ของหน่วยงาน http://www.kps.ku.ac.th/ ข้อมลู หรอื ตวั อย่างการนำความรูท้ จ่ี ดั เกบ็ ไปใชป้ ระโยชน์ (ข้อมลู การดาวนโ์ หลดเอกสาร) 8. ปญั หาทีพ่ บและวิธกี ารแกไ้ ข ปัญหา/อปุ สรรค แนวทางการแก้ไข ผู้รบั ผดิ ชอบ เนื่องจาก รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มโอกาสการจัดอบรมเชิง - คณะกรรมการบริการ MSOFT Model ใช้เป็นแนวทางในการจัด ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ วิชาการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบูรณาการการ วิทยากรจากอาจารย์ในโรงเรียน จัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM Education ผลัดเปลี่ยนกันไปตามความ เพื่อส่งเสริมทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เป็น ต้องการของครูโรงเรียนเครือข่าย โครงการแรกท่ีอาจารยแ์ ละบคุ ลากรของโรงเรียน และอาจขยายผลสู่โรงเรียนใน ได้มีโอกาสร่วมกันเผยแพร่ความรู้และ จงั หวัดใกลเ้ คยี ง ประสบการณ์สู่ชุมชน จึงอาจยังไม่ค่อยมีความ ชำนาญมากนกั แตท่ กุ ฝ่ายก็สามารถปฏิบตั หิ น้าที่ ได้เต็มศักยภาพ 41

9. รายช่ือคณะทำงาน คณบดคี ณะศกึ ษาศาสตรแ์ ละพฒั นศาสตร์ ท่ปี รกึ ษา ประธาน ผ้ชู ่วยศาสตราจารยณ์ ชพงศ์ อดุ มศรี รองประธาน กรรมการ ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รจุ ิราพร รามศริ ิ กรรมการ กรรมการ ผชู้ ่วยศาสตราจารยว์ ิจติ ตรา จันทรศ์ รบี ุตร กรรมการ กรรมการ ดร.สุกัญญา ปญั ญาสหี ์ กรรมการ กรรมการ นายเสกสรรค์ วลิ ัยลักษณ์ กรรมการ กรรมการ นายดาวดุ ชา แตง่ โสภา กรรมการ กรรมการ นางสาวมินตรา สิงหนาค กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ชว่ ยเลขานกุ าร นางสาวระวีวรรณ สระทองอ๋นั กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ นางสริ มิ า ศิริฤกษ์ นางนภาลัย วิลัยลกั ษณ์ นายนเรศ มว่ งอยู่ นางสำราญ ศรีสังข์ นางสาวสุนสิ า ออ่ นส้มกริต นายวุฒินันท์ ไอยราพฒั นา นายธนวรรธน์ สวนประเสริฐ นางสาวสกุ ญั ญา ทพิ ย์รักษ์ 42