Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สรุปความรู้วิชาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา

สรุปความรู้วิชาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา

Published by suwananhappy91, 2021-09-27 06:27:33

Description: สรุปความรู้วิชาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา

Search

Read the Text Version

สรุปความรู้วิชา การจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับ มัธยมศึกษา นางสาวสุวนั นท์ ซำเซ็น รหัส 62003161016

มาตรฐานสมรรถนะผู้เรียน (Competency Standard) สมรรถนะหลัก 1. สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง 2. สมรรถนะด้านการสื่อสาร 3. สมรรถนะด้านความร่วมมือ 4. สมรรถนะด้านการคิดขั้นสูง 5. สมรรถนะด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง สมรรถนะเฉพาะของผู้มีความสนใจพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี 1. อ่านออก 2. เขียนได้ 3. คิดเลขเป็น 4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญานและการแก้ปัญหา 5. ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม 6. ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ 7. ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา 8. ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ 9. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 10. ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ 11. ความเมตตา กรุณา วินัย คุณธรรม จริยธรรม

การพัฒนาสมรรถนะ สมรรถนะเป็นผลรวมของความรู้ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ และความสามารถ อื่น ๆ ที่ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่ง สมรรถนะแสดงออกทางพฤติกรรมการปฏิบัติ สามารถวัดและประเมินผลได้ สมรรถนะกับทักษะสําคัญในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์กัน แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้สอนจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะ สําคัญในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ถือเป็นการพัฒนา สมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะของผู้เรียนที่มีความสนใจพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนกับการจัดการเรียนรู้มีความ สำคัญ ดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ 2. ช่วยให้เกิดการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ 3. ช่วยลดสาระการเรียนรู้ที่ไม่จำเป็น อันส่งผลให้สถานศึกษามีพื้นที่และเวลาใน การจัดการเรียนรู้อื่นที่เหมาะสมกับผู้เรียน วิถีชีวิตและชุมชนได้มากขึ้น 4. ช่วยลดภาระและเวลาในการสอบตามตัวชี้วัดจำนวนมาก เพราะสามารถวัด และประเมินผลผู้เรียนด้วยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นถึง สมรรถนะหลัก

วัยรุ่น วันรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายด้าน จึงเป็นวัยที่จะเกิดปัญหา ได้มาก ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของมนุษย์ ได้แก่ การเจริญเติบโต ความพร้อมหรือวุฒิภาวะ และการเรียนรู้ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้มนุษย์มีการพัฒนา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ การเรียนรู้พัฒนาการของนักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งสามารถศึกษา ได้จากทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1 2 ทฤษฎีของ ทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ อีริก เอช อีริกสัน 3 4 ทฤษฎีของ ทฤษฎีของ ฌอง เพียร์เจต์ ลอเรนซ์ โคลเบิร์

วัยรุ่น การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีของพัฒนาการและพัฒนาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกรเรียนรู้ได้ ดังนี้ ด้านอารมณ์ 1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริม อารมณ์ทางบวก ไม่เครียด ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ครอบครัว และสังคม 2. มีบริการการให้คำแนะนำ ในการพูดคุยควรใช้เหตุผลและแสดงความมี วุฒิภาวะ ไม่ควรใช้อารมณ์หรือการบังคับ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญารู้คิด 1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความ 1. การจัดการเรียนการสอน ควรเน้นให้มีการทดลอง สะอาดและสุขภาพร่างกายอย่างถูกต้อง เหมือนจริง มีการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลกับสิ่งที่เป็น 2. ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนา นามธรรม ควรเน้นพัฒนาความสามารถในการคิดเชิง กล้ามเนื้อที่กำลังเปลี่ยนแปลง ตรรกวิทยาในลักษณะที่ซับซ้อนมากขึ้นและสร้าง 3. จัดสรรอาหารให้ครบทุกหมู่และเพียง ความสามารถในการเชื่อมโยงตัวแปลต่าง ๆ ให้มีการ พอ เพื่อส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรงและ คิดอย่างมีเหตุผล ชดเชยพลังงานที่ร่างกายใช้ไปในการ 2. การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนววยในการพัฒนา เจริญเติบโต ความคิด ความเข้าใจ ด้านสังคม 1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เพื่อฝึกฝน การเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี รวมถึงการเรียนรู้การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น

การศึกษารายงานการวิจัย สภาพปัญหา/ความเป็นมาของการทำวิจัย ควรเขียนให้ตรงประเด็นว่าปัญหาคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และนำทฤษฏี/แนวคิด ของนักวิชาการในศาสตร์นั้น ๆ มาใช้สนับสนุน เขียนให้เข้าใจง่ายโดยใช้ภาษาที่ง่าย ๆ ต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กัน ในส่วนสุดท้ายควรเขียนสรุปให้เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการเขียนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและมีความสอดคล้องกับสมมุติฐาน และประเด็นที่จะวิจัย รวมถึงมีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง สามารถวัดและเก็บข้อมูลได้ ขอบเขตการวิจัย เป็นการกำหนดขอบเขตให้ครอบคลุมแก่การวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวกับประชากร ตัวแปร ที่ศึกษา เนื้อหาสาระ และระยะเวลาในการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ เป็นการให้ความหมายคำสำคัญ อาจได้จากแนวคิด ทฤษฏีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แต่มี ลักษณะที่เฉพาะเจาะจงในงานวิจัยแต่ละเรื่อง และมีความเชื่อมโยงกับเครื่องมือในการวิจัย เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ควรมีการเรียงลำดับความสำคัญตามตัวแปรที่ศึกษาแล้วนำมาสรุปเป็นกรอบแนว ความคิดเชิงทฤษฏี แล้วจึงนำมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองที่ใช้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมนั้น ๆ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้แสดงคำตอบของปัญหาการวิจัยตามลำดับ ที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปย่อเนื้อหาสาระตั้งแต่ต้นของรายงานการวิจัย และขยายความโดยแสดงให้ เห็นว่าผลการวิจัยมีความสอดคล้องกับสมมุติฐานข้อเท็จจริงที่ได้ ถ้ามีความขัดแย้งจะต้อง อธิบายเหตุผล รวมถึงให้คำแนะนำโดยพิจารณาจากผลการวิจัยที่ตนเองได้ดำเนินการวิจัย

แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ของครู ภายใต้กรอบ เนื้อหา สาระที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผน ล่วงหน้าก่อนการจัดการเรียนรู้ โดยศึกษาเนื้อหาที่จะเขียนให้ ละเอียดและตามลำดับขั้นตอน แบ่งหน่วยเนื้อหาย่อย แบ่งเวลาที่ ใช้การสอนทุกหัวข้อให้มีความสอดคล้องกัน สิ่งที่ได้เรียนรู้เกียวกับ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้มีดังนี้ 1.จุดประสงค์การเรียนรู้ 2.สาระสำคัญ ต้องเขียนเป็น ต้องเกิดจากการวิเคราะห์ ความคิดรวบยอด และแสดงให้เห็น มาตรฐานและตัวชี้วัดตาม ถึงวิธีการที่ได้มาซึ่งความรู้ ตารางวิเคราะห์หลักสูตร 4. กิจกรรมการเรียนรู้ ต้องทำให้ 3. สาระการเรียนรู้ เป็นองค์ ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ และ ความรู้ ทักษะ เจตคติ ของผู้เรียนที่ ได้รับความรู้ ทักษะและเจตคติครบถ้วน จะต้องเรียนรู้ในหน่วยย่อยนั้น ๆ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยควรเลือกรูป แบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและส่ง 5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ เสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ต้องเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียนตามที่กำหนดใน 6. การวัดและประเมินผล เป็นการ กิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินผลผู้เรียนตามจุดประสงค์การ เรียนรู้ ซึ่งควรระบุเครื่องมือวัดและเกณฑ์ การให้คะแนน

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือสำหรับครูนำไปใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในการ จัดการเรียนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งในวิชานี้ได้เรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ จากการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ดังนี้ การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PROBLEM BASED LEARNING) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องเป็นปัญหาที่ ใกล้ตัวและพบเจอในชีวิตประจำวัน เพราะจะเข้าถึงผู้เรียนได้ง่าย และสร้างองค์ความรู้ ให้เกิดขึ้นโดยใช้กระบวนการทำงานแบบกลุ่ม ประกอบด้วย 6 ขันตอน ดังนี้ 1. ขั้นกำหนดปัญหา 4. ขั้นสังเคราะห์ความรู้ 2. ขั้นทำความเข้าใจปัญหา 5. ขั้นสรุปและประเมินผล 3. ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า 6. ขั้นนำเสนอและประเมินผล การจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะแบบมีกา รโต้แย้ง (Argument-Driven Inquiry) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สนับสนุนนักเรียนให้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการพัฒนาการสร้างข้อมูล การออกแบบและดำเนินการทดลอง การใช้ข้อมูลในการตอบคำถามบนพื้นฐานของหลักฐาน เชิงประจักษ์และการให้เหตุผล การเขียนและการสะท้อนการทำงานของตนเอง และมีส่วนร่วม ในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ขันตอน ดังนี้ 1. ขั้นการระบุภาระงาน 4. ขั้นกิจกรรมการโต้แย้ง 2. ขั้นการสำรวจและรวบรวมข้อมูล 5. ขั้นการเขียนรายงานผลการสำรวจตรวจสอบ 3. ขั้นการสร้างข้อโต้แย้งชั่วคราว 6. ขั้นการอภิปรายสะท้อนผลและการปรับปรุงรายงาน

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (INQUIRY BASED LEARNING) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ โดยการ แสวงหาและศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างองค์ความรู้ของตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยศาสตร์ ซึ่งมีครูผู้สอนคอยอำนวยการและสนับสนุน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นการสร้างความสนใจ (Engagement) 2. ขั้นการสํารวจและค้นหา (Exploration) 3. ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 4. ขั้นการขยายความรู้ (Elaboration) 5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่นำศิลปะมาบูรณาการกับการ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนน าความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ประกอบด้วย 5 ขันตอน ดังนี้ 1. ขั้นการระบุปัญหา (Identify challenge) 2. ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (Explore Ideas) 3. ขั้นออกแบบวางแผนและพัฒนา (Plan and Develop) 4. ขั้นการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluate) 5. ขั้นการนำเสนอผลลัพธ์ (Present the Solution)

ขอบคุณค่ะ