Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore chapter9

chapter9

Published by ปราโมทย์ พรหมขันธ์, 2018-09-30 21:38:46

Description: chapter9

Search

Read the Text Version

บทท่ี 9 จรรยาบรรณดานนวตั กรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ปจจุบันเปนที่ยอมรับกันแลววานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คอื กลไกสําคัญในการพัฒนาประเทศทกุ ๆ ดาน โดยเฉพาะการศึกษา จึงเปนหนาทขี่ องรัฐบาลทกุ ประเทศในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ใหเ ทาเทียมกับนานาอารยประเทศ เพอ่ื ความเจริญ ความมน่ั คงและเสริมสรา งศักยภาพของประชาชนใหกาวไปสูพลโลก แตในทางกลับกันนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็สงผลกระทบเชิงลบตอประชาชนในประเทศที่ไมมีการประสานความรวมมือระหวางภาครัฐ เอกชนและความรวมมือกับประเทศทเ่ี ปนผูสรา งเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงเกิดปญหาขึ้นกับประเทศไทย ทั้งทางดานการศึกษา ดานสังคม การติดตอส่ือสารที่ทําใหปฏิสัมพันธระหวางคนในสังคมแปลกแยกออกไป และการใชเทคโนโลยีที่ไมใสใจตอสุขภาพ รวมถึงคาใชจายที่ตามมาอยางมากมาย เทคโนโลยีเหลานี้เปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของมนุษย การแกไขปญหาดังกลาวไดดีท่ีสุดคอื ความตระหนกั ถงึ คุณธรรมและจริยธรรมในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศความเหล่อื มล้ําดานดิจิทัล ปจจุบันจากวิวัฒนาการอันกาวหนาและพัฒนาไปอยางรวดเร็ว ยุคนี้จึงถือวาเปนยุคของขอมูลสารสนเทศและความรู (Information and Knowledge Society) ความไมเทาเทียมกันของบคุ คลในสงั คม ท่ีมคี วามสามารถในการเขาถึงขอ มูล ขา วสารสามารถสรางความแตกตางกัน จะทําใหรายได สถานภาพทางสังคม และการเรียนรู แตกตางกันเปนเปนอยางมาก ความไดเปรียบในการเขาถึงขอมูลขาวสารได จะนําไปสูความเหลื่อมลาํ้ ดานการศึกษา สถานภาพทางสงั คมและเศรษฐกิจจงึ เรียกวา เปน ความเหล่อื มล้ําดา นดจิ ิทลั (digital divide) ความเหล่ือมล้ําดานดิจิทัล กิดานันท มลิทอง (2548) กลาววา หมายถึง ความมี และความไมมี อันทําใหเกิดชองวาง ระหวาง ผูมีสารสนเทศ และ ผูไรสารสนเทศ (information havesand have-nots) คือ บุคคลท่ีเขาถึงและรับรูขาวสารความรู และบุคคลที่ไมมีโอกาสไดรับขาวสารอยางเทาเทียมกัน โดยเนนถึงการท่ีบุคคลสามารถใชหรือเขาถึงอินเทอรเน็ต (internet access) ไดหรอื ไม และรวมถงึ ประสิทธิภาพการรไู อซที ีของแตล ะบคุ คลดวย จากการศึกษารายงานสุขภาพคนไทย พ.ศ.2556 จากเว็บไซต http://www.hiso.or.thสรุปไดวา ปจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทอยางมากในทุกกิจกรรมประจําวันของคนเราโดยเฉพาะการใชโทรศัพทมือถือ และการเขาถึงอินเทอรเ น็ตหรือใชสังคมออนไลน เชน เฟซบุค ทวีตเตอร และอินสตาแกรมเพิ่มสูงขึ้นทุกป แตคนไทยมอี ัตราการเขาถึงอินเทอรเน็ตตํ่าและตํ่ากวาหลายประเทศในภูมิภาค ไมวาจะเปนสิงคโปร มาเลเซีย บรูไนเวียดนาม และฟลิปปนส ซ่ึงในมุมมองของการพัฒนาประเทศ รวมถึงการพัฒนามนษุ ยถือเปนความทาทายท่ีสําคัญ จึงควรตองเรง สงเสริมเพ่ือเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศและความสามารถในการแขงขันของประเทศในระดับภูมิภาค

228ถึงแมวาการขยายตัวอยางรวดเรว็ ของการใชอินเทอรเน็ตและสังคมออนไลนของคนไทยในชวงท่ีผานมา ซ่งึ ถือเปนเร่ืองท่ีดี แตก็มีสิ่งที่ตอ งใหความสําคญั นนั่ คือการเรง สรางความตระหนักและจิตสํานึกของคนไทยใหใชอินเทอรเน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศตางๆอยางสรา งสรรค เพ่ือใหเกดิ ประโยชนตอการพัฒนาประเทศ รวมถึงเพ่ือเพิ่มศกั ยภาพในการพัฒนาตนเองโดยเฉพาะในกลุมเด็ก เยาวชนและวัยรุน (อายุ 6 - 14 ป และ 15 - 24 ป) ซ่งึ เปนกลมุ ที่มีสดั สวนสูงทีส่ ุด ดังภาพที่ 9.1 ภาพที่ 9.1 การใชโทรศพั ทม อื ถือและอินเทอรเ นต็ ป พ.ศ.2548-2555 ทม่ี า: http://www.hiso.or.th ภาพที่ 9.2 จาํ นวนผูใ ช facebook ป พ.ศ.2555 ท่มี า: http://www.hiso.or.th

229 ภาพท่ี 9.3 จาํ นวนผใู ชอนิ เทอรเนต็ ป พ.ศ.2555 ท่มี า: http://www.hiso.or.th สาเหตุของการเกิดความเหลื่อมล้ําดานดิจิทัล เนื่องจากความแตกตางกันทั้งฐานะความเปนอยูของบุคคล สภาพครอบครัว ระดับการศึกษา การอยูในทองถ่ินหางไกลจากความเจริญไมมีไฟฟาหรือโทรศพั ทใช แมวาจะมีคอมพิวเตอรใ ชแตก ็ไมสามารถเชื่อมตอกับเครือขายอินเทอรเน็ตไดดวยเหตุของโครงสรา งพ้ืนฐานดานการสื่อสารโทรคมนาคมยังไปไมถึง หรือไมคุมกับการลงทุนของหนวยงานท่ีเกี่ยวของ ความเหลื่อมลํ้าทางดานดิจิทัล เปนคาํ ที่เกิดข้ึนในชวงกลางทศวรรษท่ี 1990sโดยสะทอนใหเห็นถึงชองวางขนาดใหญ ระหวางผูมีคอมพิวเตอรและเขาถึงอินเทอรเน็ตกับผูไมมีโอกาสใช โดยเฉพาะอยางยิ่งในชวงแรกๆ ท่ีคอมพิวเตอรย ังมรี าคาสงู และเวิลดไวดเ ว็บ ยังเปนการใชงานอยูในแวดวงจํากัดของนักวิทยาศาสตรและผูมีฐานะดีเทาน้ัน จึงทําใหผูมีรายไดปานกลางและรายไดนอยแทบที่จะไมมีโอกาสใชประโยชนจากเว็บไซตไดเลย แมว าในเวลาตอมาคอมพิวเตอรจะมีราคาถูกลงและการบรกิ ารอินเทอรเน็ตมมี ากขน้ึ แตยงั คงมีความเหลือลํ้าเนื่องมาจากปจ จัยตางๆ มากดงั ท่ี ดนวุ ศนิ เจรญิ (2551) ไดสรปุ ถึงสาเหตุของความเหลือ่ มลา้ํ ดงั ภาพที่ 9.4

230 ภาพที่ 9.4 สาเหตุของความเหลือ่ มลา้ํ ดานดิจทิ ัล ทม่ี า: http://mba.nida.ac.th/cec จากภาพที่ 9.4 สรุปปญหาของความเหลอื่ มล้ําดานดิจิทัลไดวา การขาดแคลนนโยบายสนับสนุนจากรัฐ หรือ การใชนโยบายที่ไมเหมาะสม สงผลใหจํานวนผูใหบรกิ ารมีจํากัด รวมท้ังสองปจจัยน้ีนําไปสคู วามไมทั่วถึงของโครงสรางพื้นฐานเชน คอมพิวเตอรและอินเทอรเน็ต อุปกรณและการใหบริการที่มีราคาแพง สําหรับปจจัยดานอายุ และปจจัยดานการศึกษา นําไปสู การขาดความรูความชํานาญในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังน้ันสถานการณความเหล่ือมล้ําทางดิจิทัล ของประเทศไทยอยูในเกณฑที่นาเปนหวงและมีความจําเปนอยางย่ิงที่ตองไดรับการแกไข เน่ืองจากความสามารถในการเขาถึงขอมลู สารสนเทศและความรู ผานทางคอมพิวเตอรและอินเทอรเ น็ต เปนตวั แปรทส่ี ําคัญในการขจัดความยากจนและพฒั นาเศรษฐกจิ ใหเ ปน ไปอยางยง่ั ยนื สําหรับแนวทางการแกไ ขปญหาความเหล่อื มลาํ้ ดานดิจิทลั น้นั จาํ เปนตอ งทาํ ไปดวยกันทั้งระบบทั้งภาครฐั เอกชน องคก รอิสระ (NGO) รวมท้ังระบบการศึกษา และโครงสรา งพื้นฐาน การลดชองวางทางเทคโนโลยีสารสนเทศดวยเพียงการซื้อเคร่ืองคอมพิวเตอร หรอื ติดตั้งระบบอินเทอรเน็ตเขาไปยังกลุมคนยากจน หรอื ผดู อยโอกาสไมใ ชก ารแกปญ หาในระยะยาว ดงั ภาพท่ี 9.5

231 ภาพที่ 9.5 แนวทางแกไขปญ หาความเหล่อื มลา้ํ ดานดิจทิ ลั ทีม่ า: http://mba.nida.ac.th/cec การแกปญหาท่ียั่งยืนควรเปนการแกปญหาท่ีเนนไปที่ตัวบุคคลและชุมชน โดยใหโอกาสผดู อ ยโอกาสรวมถึงผูท่ีไมสามารถเขา ถงึ เทคโนโลยีสารสนเทศไดโดยงา ย เชน ผพู ิการและผูสูงอายุ ใหเขาใจถึงเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถงึ วธิ ีการทจี่ ะสามารถประยุกตใชเทคโนโลยสี ารสนเทศเหลาน้ันในการทํางานและวิถีชวี ติ ของตนเอง มปี ระเด็นที่ควรพิจารณา ดงั ตอ ไปน้ี 1. ลดอตั ราคา ใชบ ริการอินเทอรเ นต็ ใหมีราคาถูกลง 2. ปรบั ปรงุ คณุ ภาพในการใหบรกิ ารเทคโนโลยีสารสนเทศ ใหท ั่วถึงทุกภมู ิภาค 3. เพ่ิมทกั ษะและความรขู องประชาชนในการใชอินเทอรเนต็ และวิจารณญาณในการใช 4. สามารถเขาถึงและใชบริการอนิ เทอรเ นต็ ในสถานทที่ าํ งาน โรงเรยี น และบาน 5. มขี อ มูลสารสนเทศทีเ่ ปน ประโยชนส อดคลอ งกบั ความตองการของประชาชน ดงั นั้นรัฐบาลและหนวยงานท่ีเกีย่ วขอ ง ควรดําเนนิ การดวยนโยบายดังตอ ไปน้ี 1. กําหนดใหการขยายโครงขายบริการโทรคมนาคมสําหรับบริการโทรคมนาคมพนื้ ฐานโดยท่ัวถงึ สามารถรองรับการใหบ ริการอินเทอรเนต็ ดวยความเร็วและคุณภาพทเี่ หมาะสมโดยรัฐบาลตองผลักดันใหประเทศไทยเปนสังคมแหงการเรียนรู และกําหนดใหการขยายโครงขายบริการโทรคมนาคมทุกพ้ืนท่ีที่โครงสรางพ้ืนฐานสามารถเขาถึงได สามารถรองรับการใชงาน

232อินเทอรเน็ตดวยความเรว็ ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เพราะจะเปดโอกาสใหประชาชนในพื้นที่หา งไกลสามารถมีทางเลอื กในการเขาถึงบรกิ ารอินเทอรเน็ตไดอยางเทา เทยี มกนั รวมถึงคอมพวิ เตอรและอุปกรณเชื่อมตอดวยเทคโนโลยีตางๆ ควรราคาถูก เพราะเปนปจจัยหนึ่งท่ีจะชวยลดชองวางความเหล่ือมลํา้ ทางดิจิทัล ควรเปนการรว มมือระหวางภาครฐั และเอกชนในการนําเสนอคอมพิวเตอรฮารด แวรและซอฟตแวรร าคาถกู ใหกบั ผูทีม่ รี ายไดนอย เพ่ือท่ีจะเขาถึงและใชเ ทคโนโลยีสารสนเทศได 2. สงเสริมการวิจัยและพัฒนาเพ่ือใหมีการใชเทคโนโลยีโครงขายความเร็วสูงเน่ืองจากสอื่ ตางๆ ในปจจุบันมีรูปแบบการใชงานขอมูลในลกั ษณะมัลติมีเดีย เชน เพลง วิดีโอ และโปรแกรมประยุกตอื่นๆผานทางเครือขา ยอินเทอรเน็ต จึงตองการระบบเครือขา ยท่ีมีความรวดเร็วในการรับสงขอมูล (Bandwidth) สูง ซ่ึงในขณะนี้หนวยงานองคกรของภาครัฐบาล โดยเฉพาะสถานศกึ ษา ยงั คงใชระบบเครือขา ยทมี่ ีความรวดเร็วในการรับสง ขอมูลต่ํา ไมสามารถใชประโยชนจากสื่อมัลตมิ เี ดยี ดังกลา วในการจัดการเรียนการสอนได 3. การนําเครือ่ งคอมพวิ เตอรก ลบั มาใชง านใหม ซง่ึ ควรเปนความรว มมือระหวา งภาครฐัและภาคเอกชนในรปู แบบเครือขาย มีการประชาสมั พนั ธใหองคกรตางๆบริจาคเคร่ืองคอมพิวเตอรท่ีใชงานแลว เพื่อนําไปใชในชุมชนที่ดอยโอกาส และยังชวยลดผลกระทบตอสภาพแวดลอมจากการกําจัดอุปกรณคอมพิวเตอรเหลา น้นั ดว ย รวมถึงลดคาใชจ าย และภาระทางกฎหมายที่บังคับใหร ีไซเคิลเคร่ืองคอมพิวเตอรเกาอีกดวย เชน มูลนิธิกระจกเงา ไดดําเนินงานโครงการคอมพิวเตอรเพ่ือนองเน่ืองจากมูลนิธิพบวา โรงเรียนขนาดเล็กในพ้ืนท่ีตางจังหวัด ยังคงขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนหน่ึงในน้ันคือ อุปกรณคอมพิวเตอร ซึ่งเปนเครื่องมือในการศึกษา เพื่อใหนักเรียนคนควาหาขอมูลประกอบการเรยี น จากสภาพปญหาการขาดแคลนคอมพิวเตอรข องโรงเรียนในพื้นที่ตางจังหวัด เม่ือเปรียบเทียบกับการใชคอมพิวเตอรของคนเมืองน้ันถือวามีความรวดเร็วตอการเขาถึงเทคโนโลยีสมัยใหม เปน เหตุใหมกี ารเปล่ียนรนุ การใชงานอยูบ อยครั้ง มูลนิธิกระจกเงา ไดทําการเปดรับบรจิ าคคอมพิวเตอรและอุปกรณตอพวงทุกสภาพการใชงาน โดย เจาหนาท่ีจะนํามาซอมบํารุงตรวจสอบสภาพกอนที่จะสงมอบตอใหกับโรงเรียน ขนาดเล็กท่ีขาดแคลน นอกจากจะเปนการแบงปนเทคโนโลยีเพื่อนักเรียนไดศึกษาใชงานแลว ยังไดเปนการนาํ ทรัพยากรเครื่องมือเดมิ ที่มีอยูกลับมาใชประโยชนตอไดอกี ครงั้ ดงั ภาพท่ี 9.6

233 ภาพที่ 9.6 โครงการคอมพิวเตอรเ พื่อนองของมูลนธิ กิ ระจกเงา ทีม่ า: http://www.oknation.net 4. รัฐควรจัดใหมีบริการท่ีสอดคลองกับชุมชน เชน โครงการอินเทอรเน็ตตําบล และโครงการอินเทอรเน็ตในสถานศึกษา ซึ่งผลการดําเนินงานตามโครงการตางๆ ของรัฐบาลท่ีผานมาพบวาการแกไขปญหาความเหลื่อมลํ้าในการเขาถึงขอมูลสารสนเทศของประชาชน บางสวนมักดําเนนิ การในลกั ษณะการนํานโยบายจากสวนกลางไปใชในลักษณะเดียวกันทุกพ้ืนท่ี การดาํ เนินการในลักษณะดังกลาวอาจไมสอดคลองกับความตองการที่แทจรงิ ของประชาชนในชุมชนแตล ะพื้นที่ซึ่งอาจมีความตองการ และความพรอมท่ีแตกตางกัน จึงสงผลใหขาดการมีสวนรวมของประชาชนในชุมชน และมีผลกระทบใหบางโครงการไมประสบผลสําเร็จตามเปาหมายท่ีไดตั้งไว จึงมีลักษณะการบริหารงานแบบ จากบนสูลาง (Top-Down) หรือลักษณะการสั่งการจากหนวยงานหรือองคกร โดยไมม ีการวเิ คราะหความตอ งการในการใชเ ทคโนโลยสี ารสนเทศของประชาชนในชมุ ชนอยา งแทจ ริง

234 5. สงเสริมใหมีเน้อื หาของสารสนเทศและซอฟตแวรท่ีเหมาะสม ในสวนน้ีเปนบทบาทท้ังภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาซอฟตแวรรวมถึงเว็บไซตที่เหมาะสมและงายตอการใชงานของกลุมเปาหมายท่แี ตกตา งกัน โดยการสง เสริมใหม ีผูใหบริการเน้ือหา (Content Providers) และขยายขอบเขตกจิ กรรมบนเครือขายอินเทอรเน็ตใหครอบคลุมความตองการของประชาชนในชนบท ควรมีการสํารวจความตองการในดานเน้ือหาที่จําเปนและเปนที่ตองการในแตละพ้ืนท่ี สนับสนุนใหใชอินเทอรเนต็ เปนเคร่ืองมือทางการศึกษา การพาณิชย การสาธารณสุข และการใหบริการของภาครฐัมากข้ึน และควรสนับสนุนการใชชื่อโดเมน (Domain Name) ภาษาไทย รวมทั้งควรมีการจัดทําซอฟตแวรภาษาไทย และเว็บไซตภาษาไทยใหมากยิ่งขึ้น เน่ืองจากสาเหตุอยางหนึ่งของการที่ประชาชนไมตองการใชอินเทอรเน็ตเนื่องมาจากขอจํากัดในดานความสามารถการใชภาษา ภาครัฐควรมีการจัดทําขอตกลงกับบริษัทพัฒนาซอฟตแวรและเว็บไซตตางๆ ท้ังไทยและในภูมิภาค ใหสามารถนําเสนอเปนภาษาไทยไดด วยนอกจากจะนําเสนอเปนภาษาของตนเอง รวมถึงของประเทศไทยท่ีควรเพิ่มการนําเสนอเปนภาษาอื่นๆ เชน ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศในภูมิภาคอาเซียนดวย 6. พัฒนาชองทางการเขาถึงอนิ เทอรเ นต็ ใหมคี วามหลากหลายมากย่ิงขน้ึ เน่ืองจากในปจจุบันการเขาถึงอินเทอรเน็ต ไมจําเปนท่ีจะจํากัดเฉพาะการเขาถึงผานการใชคอมพิวเตอรต้ังโตะหรือพกพาเทาน้นั การเขาถงึ อินเทอรเ นต็ สามารถกระทําไดผ า นทางอุปกรณอืน่ ๆ เชน โทรศัพทม ือถือเครื่องเลน MP3 วิดีโอเกม หรือแมกระท่ังทีวี อีกทั้งราคาท่ีมีแนวโนมที่ต่ําลงพรอมกับฟงกช่ันการทาํ งานทเี่ พ่ิมขึ้น โทรศัพทมอื ถือเหลา น้ีสามารถท่ีจะเปนชองทางในการเขาถึงอินเทอรเ น็ตไดเปนอยางดี และขณะน้ีเปนยุคของโทรศัพทมอื ถือยุคท่ี 3 (3G) ซ่ึงมีชองทางในการรับและสงสัญญาณท่ีสูงข้ึน(Broadband Connection) ทาํ ใหก ารเขาถงึ อินเทอรเนต็ สามารถเปน ไปไดทุกท่ีและรวดเรว็ และควรพิจารณาเพิ่มชองทางในการเขาถงึ ของผูพิการดวย เชน ผพู ิการทางสายตาควรมีโอกาสในการเขาถึงขอ มลู ผา นทางเสียง เชน Spoken Web Site หรือ Voice E‐mail เปนตน 7. ควรสง เสริมยกระดับการศกึ ษาและขีดความสามารถในการใชงานอินเทอรเน็ตของประชาชน โดยมอบใหเปนหนาที่ของภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา ในการใหการฝกอบรมเพ่ือใหประชาชนในกลุมเปาหมายตางๆโดยเฉพาะกลุม คนพิการ กลุม ผสู ูงอายุ และเกษตรกรซ่งึ ยังมีสัดสวนการใชงานอินเทอรเน็ตคอนขางต่ํา เม่ือเทียบกับประชากรกลุมอ่ืนๆสามารถเขาถึงและใชขอมูลสารสนเทศทางอินเทอรเน็ตไดอยางมีประสิทธิภาพ โดยการฝกอบรมความมีการออกแบบหลักสูตรใหตรงกับพ้ืนฐาน และความตองการของประชาชนในแตละกลุมเปาหมาย ทางเลือกอยางหน่ึงคือ ควรมีการสงเสริมใหมีการเรียนการสอนทางไกล ไปยังกลุมประชากรท่ีมีความเสียเปรียบในการเขา ถึงขอมูลสารสนเทศ นอกจากน้ีควรมีการสงเสริมใหมีศูนยใหบริการอินเทอรเ นต็ ในพืน้ ท่ีตา งๆในรูปแบบบรกิ ารสาธารณะ ไปยังระดับหมูบาน โดยการออกแบบศูนยดังกลาว ควรออกแบบใหต รงกับความตอ งการในแตละพนื้ ท่ี และหนวยงานท่มี ีหนาท่ีจัดการฝก อบรม ควรจัดชอ งทางการเรียนการสอนผานทางอินเทอรเน็ตในรูปแบบของอีเลิรนนิงในพื้นท่ี เพ่ือสงเสริมการคนหาและเรียนรูขอมูลสารสนเทศผา นทางอินเทอรเน็ต เชน โครงการทรูปลกู ปญ ญา ดงั ภาพท่ี 9.7

235 ภาพที่ 9.7 โครงการทรปู ลกู ปญ ญา ทีม่ า: http://www.trueplookpanya.comผลกระทบเชิงลบของการใชนวตั กรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ แมจะมีประโยชนและถือวามีความจาํ เปนในวิถีชีวิตจองประชาชนในศตวรรษที่ 21 ก็ตาม แตอีกดานหนึ่งก็มีผลกระทบเชิงลบตอผูใช นํามาซ่ึงโทษภัยเชน ปญหาดานสุขภาพ ส่ิงแวดลอม ความไมเทาเทียมกันในสังคม การกาวกายสิทธิสวนบุคคล และการหลอกลวงในโลกไซเบอร ผลกระทบดังกลาว ทําใหประเทศไทยตองตราพระราชบัญญัติวาดวยการกระทําความผิดเก่ยี วกบั คอมพิวเตอร พ.ศ.2550 รายละเอยี ดในแตละประเดน็ มดี งั ตอไปนี้ 1. ปญหาดานสุขภาพ เปนผลกระทบโดยตรงตอผูใชงานเทคโนโลยีสารสนเทศดานสุขภาพทั้งกาย ใจ และสังคมรอบขาง โดยสวนใหญแลว ผูใชเทคโนโลยีสารสนเทศเอง จะไมรูตัวจนกวาจะเกิดปญหาดานสุขภาพข้ึน ประชาชนผูใชงานคอมพิวเตอร อินเทอรเน็ต รวมทั้งโทรศัพทมือถือ แท็บเล็ต จึงควรระมัดระวังในการใชอ ุปกรณเหลาน้ีอยางเหมาะสม ถูกวิธี เพือ่ ปอ งกันการเกิดผลเสียตอสุขภาพซ่ึงอาจรายแรงจนเกินกวาจะรักษาได นอกจากนี้สนามแมเหล็กไฟฟาจากโทรศัพทเคล่ือนทีแ่ ละเสาอากาศทําใหมีการแผรังสี เปนตน เหตุของการเกิดมะเร็งและโรครายอ่ืนไดทางการแพทยไดวิจัยความเช่ือมโยงระหวางการใชคอมพิวเตอรมากเกินไปกับความเจ็บปวยดานสุขภาพ พบวา การนั่งทาํ งานหนาจอคอมพิวเตอรนานๆ ทําใหเกิดความเมื่อยลาของกลา มเนอ้ื ดวงตามผี ลกระทบทําใหเมอื่ ยตา สายตาเส่อื มลง ปวดกลา มเนื้อและปวดศรี ษะ คล่ืนไส เปนตน เน่ืองมาจาก

236การกระพริบและแสงสะทอนจากจอมอนิเตอร สวนผลกระทบทางระบบประสาท ทําใหเกิดอาการปวดศรี ษะ คลื่นไส อึดอัด และนอนไมห ลบั เปนตน โรคท่ีเกิดจากทานง่ั เชน กลมุ อาการปวดขอตางๆและจากการเคลือ่ นไหวขอมือและแขนมากเกินไป จะทําใหข อมือลา และนาํ ไปสูการบาดเจ็บตึงเครยี ดของกลามเนอื้ ได รวมถึงโรคท่ีเกิดจากเชื้อโรคที่มีอยูในคอมพิวเตอร เชน โรคภูมิแพ จากฝุนละอองท่ีสะสมอยูในตัวเครือ่ งคอมพวิ เตอร และถูกใบพดั ระบายความรอนเปา ออกมาตลอดเวลาทใ่ี ชง าน มีการวิจัยคนพบวาสารเคมีจากจอคอมพิวเตอรกอใหเกิดโรคภูมิแพได สารน้ีมีช่ือวา TriphenylPhosphate ทใี่ ชก ันอยางแพรหลายทั้งในจอวิดีโอและคอมพวิ เตอร สามารถกอ ใหเกดิ ปฏิกริ ิยาภูมแิ พเชน คนั คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบวา เมื่อจอคอมพิวเตอรร อนข้ึนจะปลอยสารเคมีดังกลาวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในหองทํางานที่มเี น้ือที่จํากัด เครื่องคอมพวิ เตอรอาจจะเปนสาเหตุสาํ คญั ทก่ี อ ใหเ กิดโรคภมู ิแพไ ด นอกจากอาการบาดเจบ็ ทเี่ หน็ ไดชัดแลว ยังมีความเจ็บปวยทางดา นความคิดและจิตใจอันเกิดจากการใชคอมพิวเตอรและอินเทอรเน็ต รวมถึงการไดรับสารสนเทศมากเกินไป จนทําใหเกิดความกดดันและความสับสนทางจิต เชน โรคทนรอไมได (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผูที่เลนอินเทอรเ น็ต ทีท่ ําใหก ลายเปนคนข้ีเบ่ือ หงดุ หงิดงา ย ใจรอน เครียดงาย เชน ทนรอเครื่องดาวนโ หลดนานๆ ไมได กระวนกระวาย หากมีอาการมากๆ ก็จะเขาขายโรคประสาทได จึงควรปรับเปล่ียนลักษณะงานและพยายามควบคุมอารมณตนเอง โดยการใชคอมพิวเตอรใหนอยกวา 1-2 ชั่วโมง ตอคร้ังเพ่อื พักกลามเน้อื ตา หากนานกวานี้สายตาจะพรา อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง นาํ้ ตาไหลปวดคอ ปวดบา ปวดไหล 2. ปญหาดานสิ่งแวดลอม ปจจุบันมีเคร่ืองคอมพิวเตอรและอุปกรณตอพวงประเภทตางๆ ที่ไมใชงานแลวถูกทิ้งใหเปนขยะจํานวนมาก อันเปนผลใหเกิดมลพิษดานส่ิงแวดลอมและสืบเน่ืองไปถึงปญหาดานสุขภาพดวย อุปกรณไ อซีทีเหลานี้ไมวาจะเปนเครอ่ื งคอมพิวเตอร เครือ่ งแสกนเนอร จอภาพ เปนตน ไดแพรสารตะกั่วและสารหนูท่ีเปนพิษตอรางกาย ที่เพียงบางสวนของอุปกรณเ หลาน้ีเทานั้นที่สามารถทําลายหรอื นํามาใชใ หมได ทําใหสวนท่ีไมถูกทําลายถูกนาํ้ ชะลางซึมลงพื้นดินกอใหเกิดมลภาวะและเปนอันตรายตอสุขภาพ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไดมีนโยบายลดการใชกระดาษ สงเสริมใหมีการใชกระดาษซํ้า (Recycle) โดยการปรับปรุงกระบวนการทํางานภายในดวยระบบอิเล็กทรอนิกส การจํากัดการใชห มึก เพ่ือลดปรมิ าณคารบอนท่ีเกิดข้ึนจากการพิมพเอกสาร การจัดเก็บและสงตอเอกสารในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส ซึ่งเปนสวนหน่งึ ของการนาํ ระบบไอทมี าปรบั ใชใ นกระบวนการทํางานมาตรการลดการใชพ ลังงานในสวนของพลังงานดานไฟฟา และนํ้ามันโดยวัดระดับความสําเร็จของการดําเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน 3. ความไมเทาเทียมกันในสังคม ความเหลื่อมล้ําดานดิจิทัลระหวางบุคคลในชาติเดยี วกันและระหวางประเทศพัฒนาแลว และประเทศกําลังพัฒนา ลวนกอใหเกิดความไมเ ทาเทียมกันในสังคมระดับประเทศและระดับโลก จากผลการศึกษาเร่ืองความเหลื่อมล้ําดานดิจิทัลพบวา ผูมีรายไดสูงเปนกลุมที่ใชอินเทอรเน็ตมากกวากลุมผูมีรายไดนอย แผนการพัฒนาสังคมแหงความเทาเทยี มดวยไอซที ี พ.ศ.2551-2553 ระบุสาเหตทุ ท่ี ําใหเ กิดความเหล่ือมล้ําดานดจิ ิทลั วา เน่ืองจากสังคมยังมีผูท่ีขาดแคลนอุปกรณ เทคโนโลยี และวิธีการเขาถึงขอมูลขาวสารหรือองคความรู ซ่ึงเปนสวน

237สาํ คัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต จึงเกิดความแตกตางและความเหลื่อมล้ําทางดานความรูขึ้นมาในสังคม โดยเฉพาะผูดอยโอกาส คนพิการ และผูสูงอายุ คําถามคือจะทําอยางไรท่ีจะทําใหชองวางท่ีเกิดขึ้นลดลง แผนการพัฒนาสังคมฯ ดังกลา ว จึงกําหนดกรอบแนวทางและแผนงานใหผูดอ ยโอกาสสามารถเขาถึงแหลงบริการและขาวสารขอมลู ไดอยางเทาเทียม โดยการลดขอจํากัดการใชเว็บไซต(เพิ่ม Web Accessibility) เพิ่มการใชเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก (พัฒ นา AssistiveTechnology) และ เพิม่ แหลง เขาถงึ อนิ เทอรเนต็ (เพิ่ม Access Channels) ความเหล่ือมลํ้าของสังคมในประเทศไทย ที่เกิดจากการพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยางรวดเร็ว ซึ่งเรียกวา ความเหลื่อมลํ้าในการเขาถึงสารสนเทศและความรูผานเครือขา ยเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร สังคมจึงไดรบั ผลกระทบท้ังเชงิ บวกและเชิงลบ ในเชิงบวก ไอซีทีบางสวนไดรับการพัฒนาโดยคํานึงถึงการเขาใชของผูดอยโอกาส คนพิการและผูสงู อายุ เพ่ือยกระดับและพัฒนาคณุ ภาพชีวติ ทด่ี ีและเปนสวนหนึ่งของสังคมแหงภมู ิปญญาและการเรียนรู เชนเดียวกับสมาชิกอ่ืนในสังคม ไดรับความสะดวกมากข้ึนในดานการสื่อสารสาธารณะบริการโทรศัพท การใชบริการทั้ง หลายท่ีผานระบบขอมูลขาวสารอิเล็กทรอนิกสเคร่ืองบริการทํารายการอัตโนมัติ (Interactive Transaction Machines :ITM) ฯลฯ ส่ิงเหลานี้ลวนแตเปนการเพ่ิมคุณภาพชีวิตของผูดอ ยโอกาส คนพิการและผูส ูงอายุ สําหรับผลกระทบในเชงิ ลบนั้น แมวาผดู อยโอกาส คนพิการ และผสู ูงอายุ เขาถึงไอซที ีไดโดยสะดวกข้ึน แตอาจตกเปนเหยื่อพวกมิจฉาชีพที่มุงกออาชญากรรมดานไอซีที อาจเปนการเปดชองทางและโอกาส ทําใหเขาไดรับอันตรายหรือรับขอมูลที่เปนภัยตอตนเองได ดังนั้น การชวยใหประชาชนกลุมนี้ขาถึงสารสนเทศ จงึ ตอ งมีการคาํ นึงถงึ แนวทางที่จะพิทักษผดู อยโอกาส คนพิการและผูสูงอายุ ไมตกเปน เหย่อื อาชญากรรมทางคอมพวิ เตอร 4. การกาวกายสิทธสิ วนบุคคล ดวยสมมรรถนะของเคร่ืองคอมพิวเตอรและอุปกรณตอพวงทมี่ ีขนาดเล็ก เชน กลองดิจิทัลและโทรศพั ทเคลอ่ื นท่ี ซ่ึงมีกลอ งถา ยรูปขนาดเลก็ ติดตั้งอยู ทําใหผูประสงคร า ยสามารถแอบถา ยภาพบคุ คลในลกั ษณะอนาจาร หรือนําไปตัดตอ เปนภาพทน่ี ําความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาใหกับบุคคลน้ัน แลวนําไปเผยแพรทางอินเทอรเน็ต ทําใหเกิดความเขาใจผิดแกผูชมรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 35 ระบุวา \"สิทธิของบุคคลในครอบครัวเกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเปนอยูสวนตัวยอมไดรับความคุมครองการกลาวหรือไขขาวแพรหลายซึ่งขอความหรือภาพไมวาดวยวิธใี ดไปยังสาธารณชน อันเปนการละเมิดหรอื กระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ช่ือเสียง หรือความเปนอยูสวนตัวจะกระทํามิได เวนแตกรณีท่ีเปนประโยชนตอสาธารณะ บุคคลยอมมีสิทธิไดรับความคุมครองจากการแสวงประโยชนโดยมิชอบจากขอมูลสวนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ท้ังน้ี ตามท่ีกฎหมายบัญญัติ\" แมแตการสงอีเมลในลักษณะ spamและอีเมลขยะ (junk mail) จํานวนมากโดยท่ีผูรบั ไมตองการ รวมถึงการปลอยไวรัสไปตามเครือขายคอมพิวเตอรต า งๆ เปน การกา วกา ยและลดิ รอนสทิ ธิสว นบคุ คลอยางย่ิง

238 5. การหลอกลวงในโลกไซเบอร จากรายงานของ 2012 NORTON CYBERCRIMEREPORT; Norton by Symantec, 2012 ระบุวาอาชญากรรมไซเบอร ป พ.ศ. 2555 ผูใชบริการออนไลนในโลกไซเบอรกวา 1.3 หมื่นคน จาก 24 ประเทศ ท่ัวโลก Symantec รายงานขอคนพบอยางนาสนใจวาแตละวัน เหยื่อของอาชญากรรมในโลกไซเบอร มีถึง 1.5 ลานคนท่วั โลก คิดเปน 18คนตอวนิ าที คิดเปนคา ความเสยี หายถึง 110 พนั ลา นเหรียญสหรฐั ตอ ป รปู แบบของอาชญากรรมผานเครอื ขายสงั คมออนไลนและเคร่อื งมือสอื่ สารพกพา โดยเฉพาะโทรศัพทมอื ถือมีแนวโนมเพิ่มขึ้นอยางมาก มีความซับซอนคาดไมถึง และความสามารถในการเตรียมการรับมือไดย ากมากยิ่งข้ึน ชองทางของการกออาชญากรรมไซเบอรท่ีสําคัญ ไดแก ชองทางอีเมล การรักษาความลับเก่ียวกับรหัสผานรวมถึงการต้ังคารหัสผานความปลอดภัย ยังคงเปนกุญแจหลักที่สําคัญในการปองกันตนเองของผูใชบ รกิ ารจากอาชญากรรมไซเบอรทีเ่ กดิ ข้นึ ได จากรายงานสุขภาพคนไทย พ.ศ.2556 การหลอกลวงในโลกไซเบอรเกิดขึ้นกับกลุมผูใชง านคอมพิวเตอร และอนิ เทอรเ น็ตในระดับองคก ร ซงึ่ เปนกลุม คนที่ใชค อมพิวเตอรมากทส่ี ุด และเปนกลุมที่เส่ียงกับการโจมตีโดยผูไมหวังดี เพ่ือลวงเอาขอมลู ความลบั หรือ ทําลายระบบไอทีที่เปนแกนสําคัญในการดําเนินธุรกิจยุคใหม รายละเอียดของภัยคุกคามทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีดังตารางท่ี 9.1ตารางท่ี 9.1 ประเภทภัยคุกคามทางระบบคอมพิวเตอร ประเภทภัยคกุ คาม คําอธิบาย1. การหลอกลวง หรือฉอ โกงเพ่อื ผลประโยชน เกิดไดในหลายลักษณ ะ เชน เว็บไซตปลอม(Fraud) (Phishing) การลักลอบใชง านระบบหรือทรัพยากร ท า งส า ร ส น เท ศ ท่ี ไม ไ ด รั บ อ นุ ญ า ต เพ่ื อ แ ส ว งห า ผลประโยชนของตนเอง2. โปรแกรมไมพงึ ประสงค เกิดจากโปรแกรมหรือซอฟตแวรทีถ่ ูกพฒั นาขึ้นเพ่ือ(Malicious Code) สงใหเกิดผลลัพธท่ีไมพึงประสงค กับผูใชงานหรือ ระบบ เชน เกิดความขัดขอ งหรือเสียหายกับระบบ เชน Virus, Worm, Trojan หรือ Spyware ตา งๆ3. ความพยายามจะบุกรุกเขา ระบบ เกิดจากความพยายามจะบุกรุก/เจาะเขาระบบ(Intrusion Attempts) เพ่ือจะไดเขาครอบครองหรอื ทําใหเกดิ ความขัดของ กับบริการตางๆ ของระบบภัยคุกคามนี้รวมถึง ค ว า ม พ ย า ย า ม จ ะ บุ ก รุ ก / เจ า ะ ร ะ บ บ ผ า น ช อ ง ทางการตรวจสอบ บัญชีช่ือผูใชงานและรหัสผาน (Login) ดว ยที่มา: ศนู ยประสานการรักษาความมน่ั คงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอรประเทศไทย:ThaiCERT, 2555

ตารางท่ี 9.1 (ตอ ) 239 ประเภทภยั คกุ คาม คาํ อธิบาย4. ความพยายามรวบรวมขอมูลของระบบ เกิดจากความพยายามในการรวบรวมขอมลู จดุ ออ น (Information Gathering) ของระบบของผูไมประสงคดี (Scanning) เชน ขอมูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ ระบบซอฟตแ วรที่5. ภยั คุกคามอนื่ ๆ ติดต้ังหรือใชงาน ขอมูลบัญชีช่ือผูใชงาน (User Account) ทีม่ ีอยูบนระบบเปน ตน ภัยคุกคามอื่นๆ เชน เนื้อหาที่เปนภัยคุกคาม การ โจมตีสภาพความพรอมใชงานของระบบการเขาถึง และเปลี่ยนแปลงขอ มูลโดยไมไดรับอนุญาตภาพท่ี 9.8 ภยั คุกคามทางระบบคอมพิวเตอร ป พ.ศ.2555ทมี่ า: http://www.hiso.or.th

240พระราชบัญญตั วิ า ดว ยการกระทําความผิดเกีย่ วกับคอมพวิ เตอร พ.ศ.2550 ภัยคุกคามท่ีเกิดขึ้นจากการใชเทคโนโลยีสารสนเทศของประชาชนไดเพิ่มจํานวนสูงข้ึนเน่ืองจากการใชงานดานเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นซ่ึงสงผลใหเกิดการกระทําความผิดเก่ียวกับคอมพิวเตอรมากขึ้นดวยเชนกัน ดังน้ัน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 หมวดคอมพิวเตอร จึงถูกบัญญัติข้ึนเพ่ืออธิบายลักษณะของการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรและบทลงโทษ ทั้งนเี้ พื่อสรางความเขาใจแกประชาชนและชวยเหลือประชาชนเม่ือตกเปนเหย่ือของการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร นอกจากนี้ยังสงเสริมใหประชาชนมีความรแู ละตระหนักถึงบทกฎหมายและบทลงโทษเพ่ือท่ีจะสามารถปองกันตนเองจากการตกเปนเหย่ือ และปองกันไมใหตนเองกระทําความผดิ เก่ียวกับคอมพวิ เตอรทั้งโดยเจตนาหรือไมเจตนา ประเภทของการกระทําความผิดทเ่ี กย่ี วกับคอมพิวเตอร ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร แบงไดเปน 2 แบบ คอื 1. อาชญากรรมคอมพิวเตอรในรูปแบบด้ังเดิม ซึ่งเปนการกระทําความผิดตอตัวขอมูลหรือระบบคอมพิวเตอรโดยตรงตามมาตรา 5-13 เชน การเจาะระบบ การดักขอมูล หรือการกอวินาศกรรมคอมพิวเตอรดว ยการเผยแพรโปรแกรมทาํ ลาย 2. ความผดิ ทีว่ าดวยตัวเนื้อหาของขอ มูลทนี่ ําเขาสูร ะบบคอมพิวเตอรท่ีประชาชนสามารถเขาถึงไดต ามมาตรา 14-16 เชน การเผยแพรภาพลามก การเผยแพรขอมลู ท่ีขดั ตอความม่ันคง หรอืการหมิน่ ประมาทดว ยการตัดตอ ภาพ เปนตน ในดานกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย ไดม ีการรา งกฎหมายท่ีเก่ียวขอ งทัง้ สนิ้ 6 ฉบับ ไดแ ก 1) กฎหมายเกีย่ วกบั ธรุ กรรมอิเล็กทรอนกิ ส 2) กฎหมายลายมือชื่ออิเลก็ ทรอนกิ ส 3) กฎหมายเก่ยี วกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร 4) กฎหมายเกี่ยวกบั การโอนเงนิ ทางอิเลก็ ทรอนกิ ส 5) กฎหมายเก่ียวกับการคมุ ครองขอมูลสวนบุคคล และ 6) กฎหมายลําดบั รองรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเก่ยี วกับการพัฒนาโครงสรา งพนื้ ฐานสารสนเทศ เทคโนโลยีเปนเคร่ืองมือของการเรียนรู ในศตวรรษที่ 21 ในขณะเดียวกัน หากนําไปใชในทางที่ผิดกฎหมาย ก็จะถือวาผิดจริยธรรม การกําหนดนโยบายเกี่ยวกับจริยธรรมการใชคอมพิวเตอรและเครือขายจึงเปนสิ่งจําเปนหนวยงานตางๆ ควรกําหนดระเบียบ กฎเกณฑเปนลายลักษณอักษรเพื่อเปนแนวทางในการปฏิบัติรวมกัน และผูใชควรท่ีจะปฏิบัติตามระเบียบอยางเครงครัด รวมถึงชวยสอดสอง ดูแลและปองกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร อยางสมํ่าเสมอ เพื่อใหประชาชนในสังคมอยูกันอยางสงบสุข การกระทําดังตอไปนี้ ถือวาเขาขายการใชคอมพิวเตอรท่ีผิดกฎหมาย ใชไปในทางทผ่ี ิดและผิดจรรยาบรรณ

241 1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร (computer crime) หมายถึง การกระทําที่ผิดกฎหมายโดยการใชคอมพวิ เตอร การทาํ ลายคอมพิวเตอร หรือ การลักลอบเขา ใชร ะบบคอมพวิ เตอร (hack) 2. ชนิดของอาชญากรรมคอมพิวเตอร (type of computer crime) จากขาวการกระทําความผดิ เก่ียวกบั คอมพิวเตอรท ผ่ี า นมา สามารถแยกชนดิ ของความผดิ ไดด งั น้ี 2.1 การโกงขอมูล (data diddling) เปนการปรับเปล่ียนและจัดเก็บขอมูลในระบบคอมพิวเตอรโดยไมไดรับอนุญาต เชน ลักลอบเขาไปในระบบฐานขอมูลเกรดนักศึกษา แลวไปเปลีย่ นแปลงขอมูล เปนตน 2.2 เทคนิคแบบมาโทรจัน (Trojan horse technique) มาจากกลยุทธทางสังคมระหวางกรีซกับทรอย ในคริสตศตวรรษท่ี 16 กอนคริสตกาล ที่ลักลอบทหารใสไวในมาไมแลวนําไปมอบใหกับกรีซ พอพลบค่ําก็ออกมาเปดประตูใหกับทหารทรอยเขาโจมตีกรีซ จากหลักการน้ีเองอาชญากรคอมพิวเตอรจ ะแฝงชุดรหัส (code) คอมพิวเตอร ฝงไวในโปรแกรมที่มีลขิ สิทธิ์ และตอมาcode ดังกลาวจะทาํ งานโดยไมไ ดร บั อนญุ าตและสรา งความเสียหายแกระบบคอมพวิ เตอร 3. การใชคอมพิวเตอรในทางที่ผิด (computer abuse) หมายถึง การกระทําท่ีไมผิดกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร แตผิดดานจริยธรรม เชน การแพรไวรัส การขโมยขอมูล หรือทําใหระบบเครือขา ยคอมพวิ เตอรห ยุดชะงักหรอื ลม เปน ตน 4. คนที่ใชคอมพิวเตอรในทางที่ผิดกฎหมาย (hacker) คาํ วา hacker เปนช่ือท่ีใชเรียกบคุ คลที่มีความชาํ นาญในการใชคอมพิวเตอรไปในทางที่ผิดกฎหมาย เชน แอบขโมยขอมูลจากระบบเครือขายคอมพิวเตอร แอบแกไขตวั เลขในบัญชีธนาคารของตนเองหรอื บุคคลอื่น หรือการปรับแกไขดดั แปลงโปรแกรมคอมพวิ เตอร (crack) โดยไมถ ูกตอ งตามกฎหมาย 5. ไวรัสคอมพิวเตอร (computer virus) ไวรัสคือโปรแกรมคอมพิวเตอร ท่ีซอนตัวอยูในโปรแกรมหลัก หรอื ระบบปฏิบัติการของผูใชงาน และจะถูกกําหนดใหเ ร่มิ ทาํ งาน โดยรบกวนขอ มูลแฟมขอมูลในเวลาท่ีผูใชกําลังทํางาน หากไมมีโปรแกรมโปรแกรมทําลายไวรัส โปรแกรมไวรัสก็จะกระจาย และแพรไ ปยังอปุ กรณบันทกึ ขอ มลู จากเคร่ืองหน่ึงไปยังอกี เครือ่ งหนงึ่ หรอื จากเครอื ขายหนึ่งไปยังอีกเครือขายหนง่ึ เปน ตน การเจริญเตบิ โตอยางรวดเรว็ ของระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสารประเทศไทยสงผลใหชีวิตประจําวันของผูคนในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความรวดเร็วและสะดวกสบายนอกจากจะเปนประโยชนมหาศาลท่ีผูใชไดรับจากเทคโนโลยีทันสมัยนี้ ส่ิงที่แฝงมาดวยคือภัยรายที่อาจคกุ คามชีวิตและทําใหสูญเสียทรัพยสินได ที่เรียกวาจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร (computercrime หรือ cyber crime) คือการกระทําที่ผิดกฎหมายโดยใชคอมพิวเตอรเปนเครื่องมือ เชน การโจรกรรมขอ มูลหรือความลบั ของหนวยงาน การบิดเบอื นขอ มูลการฉอโกง การฟอกเงิน การถอดรหสัโปรแกรมคอมพิวเตอร รวมถึงการกอกวนโดยกลุมแฮกเกอร (hacker) เชน ไวรัสคอมพิวเตอร การทาํ ลายขอ มลู และอปุ กรณ เปน ตน

242ตารางที่ 9.2 บทกาํ หนดโทษตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร พ.ศ. 2550ตารางท่ี 9.3 การกระทําความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร พ.ศ. 2550ฐานความผดิ ตัวอยา ง ตวั อยางผลกระทบตอ รูปแบบการกระทําความผดิ ความมัน่ คงปลอดภยั (Information Security)มาตรา ๕ เขาถงึ ระบบคอมพิวเตอร สปายแวร (Spyware)มาตรา ๖ เปดเผยมาตรการปองกนั ระบบ สนฟิ เฟอร (Sniffer) & ความเสียหายมาตรา ๗ เขาถึงขอ มลู คอมพิวเตอร - การสอดแนมขอ มลู สวนตัวมาตรา ๘ ดักรบั ขอ มลู คอมพวิ เตอร การใชช ุดคาํ สั่งในทางมชิ อบ - การแอบดกั ฟง packet (Malicious Code) เชนมาตรา ๙ รบกวน/ทาํ ลายขอ มลู คอมพวิ เตอร Viruses, Worms, Trojan - การตง้ั เวลาใหโปรแกรมทําลายมาตรา ๑๐ รบกวน/ทําลายระบบ Horses ขอ มลู คอมพิวเตอรหรอื ระบบคอมพวิ เตอรคอมพิวเตอร - การทาํ ใหระบบคอมพวิ เตอรทํางานผดิ ปกติ ไปจากเดิม หรอื หยุดทาํ งาน (Denial ofมาตรา ๑๑ สแปมเมล การทาํ สแปม (Spamming) Service)มาตรา ๑๒ เหตุฉกรรจ อนั เกดิ จากการ BOT หรอื BOTNET รบกวนการใชระบบคอมพวิ เตอรต ามปกติกระทําขางตน อาจถึงข้นั ทําใหเปน Zombie - ผลกระทบตอ ความมน่ั คงปลอดภยั ของ ประเทศ

243 หรอื ทางเศรษฐกิจ - ความปลอดภยั สาธารณะมาตรา ๑๓ การจาํ หนา ยหรอื เผยแพรช ุดคาํ สง่ั Hacking Tools - การบรกิ ารสาธารณะไมพ ึงประสงค - อาจเกดิ สงครามขอมลู ขาวสารมาตรา ๑๔ การนาํ เขาสรู ะบบคอมพิวเตอร การใชช ดุ คาํ ส่งั ในทางมชิ อบ (Information Warfare)ซงึ่ ขอ มลู คอมพวิ เตอรปลอม, เท็จ หรอื ไม (Malicious Code) เชนเหมาะสม หรอื การสง ตอ ขอ มลู (forward) Viruses, Worms, Trojan - การสอดแนมขอ มลู สวนตัวนน้ั Horses, Phishing - การแอบดกั ฟง packet - การตั้งเวลาใหโ ปรแกรมทําลาย ขอ มูลคอมพิวเตอรหรอื ระบบคอมพวิ เตอร - การทาํ ใหระบบคอมพวิ เตอรทาํ งานผดิ ปกติ ไปจากเดิม หรอื หยดุ ทาํ งาน (Denial of Service)ตารางท่ี 9.3 (ตอ) ตัวอยาง ตัวอยา งผลกระทบตอ รูปแบบการกระทาํ ความผดิ ความมนั่ คงปลอดภัย ฐานความผดิ (Information Security) การโพสตห รอื นาํ เขาขอ มลูมาตรา ๑๕ ความรบั ผดิ ฐานสนับสนนุ การ คอมพวิ เตอรตามมาตรา ๑๔ & ความเสยี หายกระทาํ ความผดิ ของผใู หบ ริการ การตดั ตอ ภาพ ความเสยี หายกับบคุ คลอื่นมาตรา ๑๖ การตดั ตอ ภาพ เปน เหตใุ หถ กู ดูหม่ิน ถกู เกลียดชัง หรอื อับอาย ผูถ กู กระทําถูกดหู มิ่น ถูกเกลยี ดชังหรืออบั อาย วิธีปองกนั การเขาถึงขอมลู และคอมพิวเตอรจากบคุ คลอื่นทไี่ มไ ดรบั อนุญาต มดี ังนี้ 1. การใชช่อื ผูใช (username) และรหัสผา น (password) 2. การใชวัตถุใดๆ เพ่อื การเขา สูระบบ ไดแก บัตรหรือกญุ แจ 3. การใชอุปกรณทางชีวภาพ (biometric device) เปนการใชอุปกรณท่ีตรวจสอบลกั ษณะสว นบคุ คลเพือ่ การอนญุ าตใชโ ปรแกรม ระบบ หรือการเขาใชห อ งคอมพวิ เตอร 4. ระบบเรียกกลับ (callback system) เปนระบบที่ผูใชระบุช่ือและรหัสผานเพื่อขอใชระบบปลายทางจรยิ ธรรมในการใชนวัตกรรมและเทคโนโลยสี ารสนเทศ ประสงค ปราณีตพลกรัง และคณะ (2541) ใหความหมายของคําวา จริยธรรม (ethics)คือ ความถูกตองหรือไมถูกตองที่เปนตัวแทนศีลธรรมที่เปนอิสระในการเลือกท่ีจะชักนําพฤติกรรมบุคคล อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) และระบบสารสนเทศ(information system) ทําใหเกดิ ปญ หาความแตกตางกนั ระหวา งบคุ คลและสังคม สามารถทําใหเ กิด

244การบุกรุกสิทธิสวนบุคคลของผูอื่นหรือของคูแขงขัน การตกงาน การประกอบอาชญากรรมขอมูลตลอดจนการเกดิ นวัตกรรมใหมๆ ทําใหเกิดการผูแพ ผูชนะ ผูไดประโยชน ผเู สยี ประโยชน จากภาวะเชนน้ีทําใหเกิดการกระทําที่เปนความรับผิดชอบดานจริยธรรมและดานสังคมข้ึน ขอควรพิจารณาเก่ยี วกบั จรยิ ธรรมของผูใ ชค อมพิวเตอร มีดังตอไปนี้ 1. การพิจารณาถึงจริยธรรมของผูใชคอมพิวเตอร (ethical considerations) จริยธรรมของนักคอมพิวเตอรห รือผูใชคอมพวิ เตอร เกี่ยวของกับความชอบธรรม เน่ืองจากบุคคลตองรับรูดวยตนเองอยูแลววาสิ่งใดควรหรือไมควรกระทํา เชน การคัดลอกโปรแกรมท่ีมีลิขสิทธิ์มาใชเพื่อการคาหรอื การขโมยความลบั ทางสารสนเทศของบุคคลอ่ืน ไมวา จะเปนรหัสผใู ชและรหัสผาน เปน ตน 2. ความสัมพันธระหวางคอมพิวเตอรและปญหาดานจริยธรรม (computer-relatedethical issues) ผูท่ีทํางานทางดานคอมพิวเตอรและระบบสารสนเทศ ตองระมัดระวังและมีจรรยาบรรณ ดังที่ ศรีไพร ศกั ดิ์รงุ พงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลยชัย (2549) กลาวถึงจรยิ ธรรมในสังคมสารสนเทศ วา หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กําหนดข้ึนเพื่อใชเปนแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใชระบบคอมพิวเตอรแ ละสารสนเทศ ซ่ึงเปนหลักเกณฑและมาตรฐานท่ีประชาชนใชในการตัดสินใจเพื่อการกระทําในส่งิ ท่ีถกู และหลีกเลี่ยงในการกระทําผดิ ตอผูอ ืน่ ท่อี ยูรวมกันในสงั คม โดยมีหลักการทเี่ รียกวา PAPA ประกอบดวย 2.1 ความเปนสวนตัว (information privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยูตามลําพัง และเปนสิทธิท่ีเจาของสามารถที่จะควบคุมขอมูลของตนเองในการเปดเผยใหกับผูอื่น สิทธินี้ใชไดครอบคลมุ ทง้ั ปจ เจกบคุ คล กลมุ บุคคล และองคกรตา งๆ 2.2 ความถูกตอง (information accuracy) หมายถึง ความนาเชื่อถือไดของขอมูลโดยพิจารณาวาใครจะเปน ผรู ับผิดชอบตอ ความถูกตองของขอมูลท่จี ดั เก็บและเผยแพร ดงั น้นั ในการจัดทาํขอมูลและสารสนเทศใหมีความถูกตอง นาเชื่อถือนั้น ขอมูลควรไดรับการตรวจสอบความถูกตองกอนที่จะนําเขาฐานขอมูล รวมถึงปรับปรุงขอมูลใหมีความทันสมัยอยูเสมอ รวมถึงการใหสิทธิแกบุคคลในการเขา ไปตรวจสอบความถูกตองของขอ มลู ของตนเองได 2.3 ความเปนเจาของ (intellectual property) หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรพั ยส นิ ท่จี บั ตองได เชน คอมพิวเตอร รถยนต และทรัพยส นิ ทางปญ ญาทจี่ ับตอ งไมไ ด เชน บทเพลงโปรแกรมคอมพวิ เตอร ที่สามารถถายทอดและบันทึกลงสื่อตา งๆ ได เชน สิง่ พิมพ เทป ซดี ีรอม เปน ตน 2.4 การเขาถึงขอมูล (data accessibility) หมายถึง การเขา ใชง านโปรแกรมหรอื ระบบคอมพิวเตอร ที่มีการกําหนดสิทธิตามระดับของผูใชงาน เพ่ือปองกันการเขาไปดําเนินการตางๆ กับขอมูลของผูใชท่ีไมมีสวนเก่ียวของ และเปน การรักษาความลับของขอมูล ดงั นั้นจึงไมควรเขาถึงขอมูลของผูอ น่ื โดยไมไ ดรับความยนิ ยอม เพราะจะเปนการละเมิดขอ มูลของบคุ คลอ่นื สําหรับสิทธิทางดานทรัพยสินทางปญญาน้ัน เปนทรัพยสินที่จับตองไมได ถูกสรางโดยบุคคลหรือบริษัท และอยูภายใตการคุมครองของกฎหมาย 3 ประการ ดังน้ี ความลับทางการคา(trade secrets) ลิขสิทธิ์ (copyright) และ สิทธิ์บัตร (patents) การคุมครองทั้ง 3 แบบเปนการคมุ ครองทแ่ี ตกตา งกนั ในเรอ่ื งของซอฟตแ วร (software)

245 วิสัยทัศนของแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร (ฉบับท่ี 2) ของประเทศไทย พ.ศ.2552-2556 กําหนดไววา “ประเทศไทยเปนสังคมอุดมปญญา (Smart Thailand) ดวยICT” โดยนิยามคาํ วา \"สังคมอุดมปญญา\" คือ สังคมท่ีมีการพัฒนาและใชเทคโนโลยีสารสนเทศอยางชาญฉลาด โดยใชแนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนทกุ ระดับมีความเฉลียวฉลาด(smart) และรอบรูสารสนเทศ (information literacy) สามารถเขาถึง และใชสารสนเทศอยางมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณ และรเู ทาทัน กอใหเกิดประโยชนแกตนและสังคม มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีธรรมาภิบาล (smart governance) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสูเศรษฐกจิ และสังคมฐานความรูและนวัตกรรมอยางย่ังยนื และม่ันคง บทสรุป ในบทน้ีไดนําเสนอความเหล่ือมล้ําดานดิจิทัล ซึ่งเกิดข้ึนจากชองวางของบุคคลที่เขาถึงและรบั รูข าวสารความรู และบุคคลที่ไมมีโอกาสไดร บั ขาวสารอยา งเทา เทียมกัน โดยเนน ถึงการท่ีบุคคลสามารถใชห รอื เขาถึงอินเทอรเน็ตไดหรือไม รวมถึงประสิทธิภาพการรูไอซีทีของแตละบุคคลดวย สําหรับผลกระทบเชงิ ลบของการใชนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ไดแก 1) ดานสุขภาพ2) ดา นสิ่งแวดลอ ม 3) ดา นความไมเทาเทยี มกันในสงั คม 4) ดานการกาวกายสิทธิสว นบุคคล และ 5)การหลอกลวงในโลกไซเบอร สุดทายนําเสนอลักษณะการกระทาํ ผิดทางคอมพิวเตอรและบทลงโทษตาม พระราชบญั ญตั ิวาดว ยการกระทําความผิดเกีย่ วกบั คอมพิวเตอร พ.ศ.2550 และจริยธรรมในการใชคอมพิวเตอร ซ่ึงเปนหลักเกณฑและมาตรฐานท่ีประชาชนใชในการตัดสนิ ใจเพื่อการกระทําในสิ่งที่ถกู และหลีกเลยี่ งในการกระทาํ ผิดตอผอู ื่นทอ่ี ยรู วมกันในสงั คม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook