Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-Book การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

E-Book การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

Published by nuongluethai, 2020-03-04 03:32:14

Description: E-Book การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

Search

Read the Text Version

สารบัญความหมายการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์3องค์ประกอบของการสื่อสาร4 ชนิดของสัญญาณข้อมูล6ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล 8สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล12ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์20โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์24

ความหมายและความส าคัญของการสื่อสารข้อมูล/เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communications)หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งท าให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและ ได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และท าให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจ านวนมาก-3-ย้อนกลับ

องค์ประกอบที่ส าคัญของการสื่อสาร1. ผู้ส่งสาร (sender)หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ท าหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งก าเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสาร ความคิด ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม2. สาร (message)หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถท าให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่านท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น-4-ย้อนกลับ

องค์ประกอบที่ส าคัญของการสื่อสาร < ต่อ >3. สื่อ หรือ ช่องทาง (media or channel)เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง ที่เป็นพาหนะของสาร ท าหน้าที่น าสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางท าหน้าที่น าสารไปสู่ผู้รับสาร การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป4. ผู้รับสาร (receiver)หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร จ า ก ผู้ส่งสาร แ ล ะ แสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เช่น ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ฟังรายการวิทยุ กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น-5-ย้อนกลับ

ชนิดของสัญญาณข้อมูล1. สัญญาณแอนาล็อก (Analog Signal)เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (sine wave) โดยแต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อน าสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณ ก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการได้ ตัวอย่างการส่งข้อมูลที่มีสัญญาณแบบแอนาล็อกคือ การส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์เฮิร์ต (hertz:Hz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนาล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจ านวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น สัญญาณข้อมูลที่มีความถี่ 60Hz หมายถึงใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ (ขึ้นและลงนับเป็น 1 รอบ)-6-ย้อนกลับ

ชนิดของสัญญาณข้อมูล < ต่อ >2. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)ลักษณะเป็นกราฟสี่เหลี่ยม (Square Graph) เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่องรูปแบบของสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ปะติดปะต่อ กล่าวคือมีบางช่วงที่ระดับของสัญญาณเป็น0การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัลก่อนสัญญาณดิจิทัลมีหน่วยความเร็วเป็นบิตต่อวินาที หรือ bitpersecond (bps) หมายถึงจ านวนบิตที่ส่งได้ในช่วงเวลา1วินาที-7-ย้อนกลับ

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูลทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อน าข้อมูลสามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ> แบบทิศทางเดียว ( Simplex )> แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex )> แบบสองทิศทางพร้อมกัน ( Full Duplex )-8-ย้อนกลับ

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางเดียว”(One-way Communication) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น-9-ย้อนกลับ

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด-10-ย้อนกลับ

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >3. แบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร-11-ย้อนกลับ

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลเป็นส่วนที่ท าให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้น ๆ สามารถน าผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการน าข้อมูล หรือที่เรียกกันว่า “แบนด์วิดท์” (Bandwidth) มีหน่วยเป็นจ านวนบิตข้อมูลต่อวินาที (Bit Per Second : BPS) ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้1. สื่อกลางประเภทมีสาย (wired system)สื่อกลางประเภทมีสาย หมายถึง สื่อกลางที่เป็นสายซึ่งใช้ในการเชื่อมโยงโดยอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์มี 3 ชนิด ได้แก่- สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair)- สายโคแอกเซียล (coaxial cable)- สายใยแก้วน าแสง (Optic Fiber)-12-ย้อนกลับ

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอกเนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ ส าหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่าน สายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าก าลังแรงได้ ท าให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วส าหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อย เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง1) สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair)-13-ย้อนกลับ

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >ตัวอย่างเช่น1. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP)เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า2. สายคู่เกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP)เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น ท าให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ ากว่าจึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน ที่เห็นในชีวิตประจ าวันคือ สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในบ้าน-14-ย้อนกลับ

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >2) สายโคแอกเซียล (coaxial cable)สายโคแอกเซียลมีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากแผงรับสัญญาณมายังโทรทัศน์ มีอยู่ 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ใช้ส่งข้อมุลประเภทดิจิทัล และชนิด 75โอห์ม ใช้ส่งข้อมูลประเภทแอนะล็อก สายโคแอกเซียลจะมีลวดทองแดงพันเป็นเกลียวอยู่ถัดจากชั้นฉนวนพลาสติดนอกสุด เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ สายโคแอกเซียลสามารถให้ความถี่สัญญาณไฟฟ้าได้กว้างถึง 500 MHz จึงเหมาะส าหรับใช้เชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน-15-ย้อนกลับ

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >3) สายใยแก้วน าแสง (Optic Fiber)เป็นสายน าสัญญาณที่ใช้ รูปแบบของแสงในการรับ-ส่ง ข้อมูล อุปกรณ์ทั้งสองตัวมีหน้าที่แปลงสัญญาณ แสงให้เป็นสัญญาณที่เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จัก (ดิจิตอล) สายใยแก้วน าแสงมี ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลที่เร็วที่สุดเมื่อเทียบกับสายน าสัญญาณชนิดอื่น รองรับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงถึง 565-1300 Mbps-16-ย้อนกลับ

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >2. สื่อกลางประเภทไร้สาย (wireless Media)2.1 คลื่นวิทยุ (radio)เป็นการแพร่สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในคลื่นความถี่ตั้งแต่ 30 เมกกะเฮิตรซ์ (MHz) จนถึง1 กิกะเฮิตรซ์ (GHz) เหมาะส าหรับการกระจายเสียง เนื่องจากคลื่นวิทยุไม่สะท้อนที่ชั้นบรรยากาศ จึงไม่เกิดการรบกวนของคลื่นวิทยุที่ตัวเครื่องรับแม้จะอยู่ในระยะทางไกล แต่คลื่นวิทยุจะแพร่กระจายไปทั้วทุกทิศทาง จึงมีความปลอดภัยของข้อมูลน้อย คลื่นวิทยุถูกน ามาใช้เป็นระบบวิทยุสื่อสารในงานด้านการขนส่ง หรือการสื่อสารในรถแท็กซี่ หรืองานด้านการทหารและต ารวจ เป็นต้น-17-ย้อนกลับ

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >2.2 ไมโครเวฟ (Microwave)สัญญาณไมโครเวฟเป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูงส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟ ซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานีที่ท าหน้าที่ส่งและรับข้อมูลและเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกที่มีความโค้งได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะ ๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอด ๆ ระหว่างสถานีต่อสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง แต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดดอย เพื่อหลีกเลี่ยงการชนหากมีสิ่งกีดขวาง เนื่องจากแนวการเดินทางที่เป็นเส้นตรงของสัญญาณดังที่กล่าวมาแล้วการส่งข้อมูลด้วยสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆและทุรกันดาร-18-ย้อนกลับ

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล < ต่อ >2.2 ดาวเทียม (satellite system)มีสถานีภาคพื้นดินท าหน้าที่ส่งสัญญาณไปยัง ดาวเทียม และดาวเทียมก็จะท าหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณก่อนที่จะส่ง สัญญาณข้อมูลต่อไปยังสถานีภาคพื้นดิน ที่ท าหน้าที่รับสัญญาณ การสื่อสารผ่านดาวเทียมจะมีระยะทางในการสื่อสารที่ไกลมาก นิยมใช้กับการสื่อสารระหว่างประเทศ เช่น การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกจากประเทศเยอรมนีมายังประเทศไทย เป็นต้น-19-ย้อนกลับ

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ หรือระยะทางการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN)-20-ย้อนกลับ

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ < ต่อ >1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ระบบ LAN ช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในส านักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วน าแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า-21-ย้อนกลับ

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ < ต่อ >2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)หมายถึง การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี-22-ย้อนกลับ

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ < ต่อ >3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN)ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระยะไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างประเทศ การเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วโลก ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารระยะไกล อัตราการรับส่งข้อมูลจึงต่ า และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การสื่อสารระยะไกล จ าเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ คือ โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และสามารถน าเครือข่าย LAN มาเชื่อมต่อกัน เป็นเครือข่ายระยะไกลได้ ตัวอย่างของเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น-23-ย้อนกลับ

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันเรียกว่า เครือข่าย ซึ่งเครือข่ายนี้ไม่จ าเป็นต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นที่ท าหน้าที่ส่งข้อมูลและรับข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายมีรูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (network topology) ต่าง ๆ ดังนี้1. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)2. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star Topology)3. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)4. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเมช (Mesh Topology)5. เครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)-24-ย้อนกลับ

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ < ต่อ >การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดท างาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้>> ข้อดี เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อง่าย ไม่ซับซ้อน ประหยัดสายสัญญาณ>> ข้อจ ากัด หากมีการส่งข้อความจากคอมพิวเตอร์สองเครื่องพร้อมกันจะท าให้ข้อมูลสูญหาย เนื่องจากการชน ของข้อมูล ต้องท าการส่งข้อมูลใหม่ -25-ย้อนกลับ

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ < ต่อ >การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star Topology)เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน>> ข้อดี ง่ายต่อการตรวจเช็คเมื่อคอมพิวเตอร์มีปัญหาส่งข้อมูลไม่ได้ ลดปัญหาการชนของข้อมูล>> ข้อจ ากัด HUB เป็นตัวกลาง ของการส่งข้อมูล ถ้าเสียระบบก็ล่ม-26-ย้อนกลับ

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ < ต่อ >การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะท า ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้>> ข้อดี เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมีโอกาสในการส่งข้อมูลได้เท่าเทียมกัน ไม่มีปัญหา เรื่องการชนของข้อมูล>> ข้อจ ากัด การส่งข้อมูลจะช้ากว่าทุกระบบ เพราะต้องส่งผ่านทีละเครื่อง จนถึงเครื่องที่ร้องขอข้อมูล-27-ย้อนกลับ

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ < ต่อ >การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเมช (Mesh Topology)เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากและมีประสิทธิภาพสูงตามล าดับ เพราะเมื่อเส้นทางของการเชื่อมต่อข้อมูลคู่ใดคู่หนึ่งเกิดปัญหาหรือขาดจากกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ยังสามารถติดต่อกันได้ด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (Router) ซึ่งจะเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ ไปยังจุดหมายปลายทางโดยอัตโนมัติ การเชื่อมต่อแบบเมชนี้มักเป็นเครือข่ายแบบไร้สาย>> ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายช ารุด เครือข่ายทั้งหมดยังสามารถใช้ได้ ท าให้ระบบมีเสถียรภาพสูง>> ข้อจ ากัด สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ใช้สายเคเบิ้ลมากกว่าต่อแบบอื่นๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยน และการบ ารุงรักษาระบบเครือข่าย-28-ย้อนกลับ

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ < ต่อ >เครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น น าเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะส าหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถท างานร่วมกัน>> ข้อดี สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่อยู่ในระยะไกลได้ ท าให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ >> ข้อจ ากัด ดูแลระบบยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง โครงสร้างมีความซับซ้อน มีรูปแบบไม่แน่นอน-29-ย้อนกลับ

จัดท ำโดยนำงสำว กัญญำวีร์ ด ำข ำรหัส 091นำงสำว วิภวำนี อ่อนภักดีรหัส 103นำงสำว หนึ่งฤทัย วงศ์สอน รหัส 1092 สคธ 4 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook