Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สมุดเล่มเล็กเรื่องนาฏศิลป์นานาชาติ

สมุดเล่มเล็กเรื่องนาฏศิลป์นานาชาติ

Published by kannika36993, 2021-12-29 06:46:46

Description: สมุดเล่มเล็กเรื่องนาฏศิลป์นานาชาติ

Search

Read the Text Version

สมุดเล่มเล็กเรื่อง… นาฏศิ ลป์น านาชาติ จัดทำ โดย นางสาวกรรณิการ์ ทายิดา ม.6.2 เลขที่14



คำนำ สมุดเล่มเล็กเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ศ33102 ศิลปะ6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนาฎศิลป์นานาชาติ ได้แก่ นาฎศิลป์อินเดีย นาฎศิลป์จีน นาฏศิลป์ญี่ปุ่น นาฎศิลป์มาเลเซีย นาฎศิลป์อินโดนีเซียและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือ นักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อ ผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย



สารบัญ เรื่อง หน้า นาฏศิลป์อินเดีย 1-3 นาฏศิลป์จีน 4-7 นาฏศิลป์ญี่ปุ่น 8-10 นาฏศิลป์มาเลเซีย 11-13 นาฏศิลป์อินโดนีเซีย 14-16



1 นาฏศิลป์อินเดีย

ภารตะนาฏยัม 2 เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีส่วน สำคัญในพิธีของศาสนาฮินดูสมัยโบราณ โดย สตรีฮินดูจะถวายตัวรับใช้ศาสนาเป็น “เทวทาสี” ร่ายรำขับร้อง บูชาเทพในเทวาลัย ซึ่งจะเริ่มฝึก ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ศึกษาพระเวท วรรณกรรม ดนตรี การขับร้องของเทวทาสีเปรียบประดุจนาง อัปสรที่ทำหน้าที่ร่ายรำบนสวรรค์ ท่ารำมีทั้งหมด 108 ท่า การแสดง ผู้แสดงต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมีแบบแผน ด้วยระยะเวลายาวนานจนมี ฝีมือยอดเยี่ยม สามารถเครื่องไหวร่างกายได้สอดคล้องกับจังหวะดนตรี เนื้อหาสาระ ของการแสดง สะท้อนสัจธรรมที่ปลูกฝังยึดมั่นในคำสอนของศาสนา แสดงได้ทุกสถาน ที่ ไม่เน้นเวที ฉาก เพราะความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภารตะนาฏยัม คือลีลาการ เต้น และการร่ายรำ

3 เครื่องแต่งกาย ในสมัยโบราณ ไม่สวมเสื้อ สวมแต่ผ้านุ่งยาวแค่เข่า ใส่ เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู กำไล ข้อมือ ข้อเท้า ต้นแขน ปละเครื่อง ประดับที่ศีรษะ ปัจจุบันสวมเสื้อ ยึดหลักการแต่งกายสตรีที่เป็นชุดประจำ ชาติของอินเดีย

4 นาฏศิลป์จีน

การแสดงอุปรากรจีน (งิ้ว) 5 อุปรากรจีนที่เป็นแบบมาตรฐาน และนับเป็นศิลปะ ประจำชาติคือ อุปรากรปักกิ่ง ซึ่งการแสดงจะเน้นศิลปะด้านดนตรี การขับร้อง นาฎลีลา การแสดงอารมณ์ศิลปะการต่อสู้กายกรรม ผู้แสดงจะต้องมีพรสวรรค์น้ำเสียงมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังต้องมี ความอดทนสูงอีกด้วย

6 องค์ประกอบของอุปรากรจีนจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1. ประเภทและบทบาทตัวละคร ตัวละครชายกับหญิงแบ่งออกเป็น \"บู๊และบุ๋น\" โดย ประเภทที่แสดงบู๊จะต้องแสดงกายกรรม ส่วนประเภทที่แสดงบุ๋นจะเน้นที่การขับร้อง และการแสดงอารณ์ แต่ถ้าแสดงบทบาทที่คาบเกี่ยวกัน จะเรียกตัวละครนั้นว่า \"บู๊บุ๋น\" 2. เทคนิคการแสดง แสดงตามทฤษฎีการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกาย มีจังหวะ สง่างาม การเคลื่อนไหวของมือ เท้า การเดิน การเคลื่อนไหวของหนวดเครา ชายเสื้อ ขนนกที่ประดับอยู่บนศีรษะจะคล้ายกับละครใบ้ ใช้สัญลักษณ์แทนความหมาย เช่น การยกทัพใช้คนถือธงเพียงคนเดียว เดินนำหน้าแม่ทัพ กิริยาอายของสตรีจะแสดงโดย การยกแขนเสื้อมาบังใบหน้า และการแสดงว่ากำลังนอนก็แสดงโดยวางแขนไว้บนโต๊ะ แล้วนอนหนุนแขน เป็นต้น

7 องค์ประกอบของอุปรากรจีนจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้ (ต่อ) 3. เครื่องแต่งกาย แต่งตามชุดประจำชาติ มีชุดจักรพรรดิ ชุดขุนนาง เครื่องทรงเสื้อเกราะ มงกุฎจักรพรรดิ หมวกขุนนาง นักรบ รองเท้าเป็นรองเท้าผ้าพื้นเรียบ ผู้แสดงแต่งหน้าเองตามบทบาทที่แสดง

8 นาฏศิลป์ญี่ปุ่น

9 ละครคาบูกิ ต้นกำเนิดของคาบูกิมาจากหญิงชื่อ โอคุนิ เกอิชาผู้แต่งกาย ด้วยชุดหรูหราอลังการ บางครั้งก็แต่งเป็นซามูไรเลียนแบบ ผู้ชายออกแสดงด้วยท่าทางการร่ายรำแปลกตา ในสมัยนั้น เรียกการแสดงของโอคุนิด้วยภาษาญี่ปุ่นว่า คาบุอิตะเอ็นชุสึ (การแสดงแปลกใหม่น่าแปลกตา) จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า \"คาบูกิ\"

10 การแต่งหน้าและการแต่งกาย คาบูกินั้นจะเน้นความฉูดฉาดอลังการ มีเอกลักษณ์ที่การแต่งหน้านักแสดง ที่เรียกว่า คุมาโดริ (Kumadori) โดยจะทาหน้าเป็นสีขาวและวาดลวดลาย ซึ่งแบ่งสีออกเป็น สีแดงคือฝ่ายดี สีฟ้าคือฝ่ายร้าย สีน้ำตาลคือตัวละครที่ ไม่ใช่มนุษย์ นอกจากนี้ยังใส่วิกผมและสวมชุดหรูหราสวยงาม การแสดง มีทั้งการร้องและการพากษ์ ท่าทางการแสดงมีแบบแผนที่เคร่งครัด เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ ศาสนาและเทพนิยาย ใช้ผู้ชายแสดงล้วนแต่ง กายด้วยสีสันฉูดฉาด มีการเขียนหน้าคล้ายงิ้ว การแต่งหน้ามีแบบแผนตายตัว กำหนดว่าสีใดเป็นของตัวละครใด เช่นผู้ร้ายหน้าสีน้ำเงิน พระเอกหน้าสีขาว

11 นาฏศิลป์มาเลเซีย

ซาปิน 12 การเต้นชาปิน ที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรมลายูโดยชุมชนชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานใน รัฐยะโฮร์ก่อนครสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ซึ่งเป็นประเพณีเฉพาะของชาวอาหรับมา เลย์และได้แพร่หลายไปทั่วคาบสมุทรมลายูจนเป็นที่ยอมรับในรูปแบบศิลปะแห่ง ชาติของมาเลเซีย การเต้นชาปินจะมีทั้งรูปแบบอาหรับและมลายูซึ่งทั้ง 2 รูป แบบเป็นที่ยอมรับในรัฐยะโฮร์และมาจากประเพณีของชาวอาหรับบนคาบสมุทร ชายฝั่ งทางใต้ของเยเมน 1. ซาปินอาหรับ 2. ซาปินมลายู

13 การแสดง ซาปินมีผู้แสดง 12 คน แบ่งเป็นหญิงชายจำนวนเท่ากัน ฝ่ายละ 6 จับคู่เต้นกันเป็นกลุ่ม ใช้การยกเท้ายกขาพร้อมกันเป็นจังหวะ เครื่องแต่งกาย เป็นแบบเรียบๆ ชายใส่หมวกอิสลามหรือหมวกแขก ใส่เสื้อกั๊ก นุ่งโสร่ง หญิงนุ่งกระโปรง เสื้อรัดรูป มีผ้าแพรคลุมศีรษะ

14 นาฏศิลป์อินโดนีเซีย

วายัง 15 การแสดงเชิดหุ่นเงาของอินโดนีเซีย “วายัง” เป็นชื่อเรียกการแสดงการเชิดหุ่นที่ทำจากหนังบนจอผ้า และมี ลักษณะเหมือนหุ่นเงา โดยการแสดงนี้ถือกำเนิดขึ้นที่เกาะชวา ส่วนคำ ว่า “วายัง” นี้ก็เป็นภาษาชวาเช่นเดียวกัน สำหรับความเป็นมาของการ แสดงวายังนี้ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า มีที่มาอย่างไร แต่นักวิชาการ ต่างๆได้แสดงความเห็นที่แตกต่างกันออกไป เกี่ยวกับต้นกำเนิด

16 การแสดง แต่เดิมหุ่นเชิดทำด้วยหนังสัตว์ เรียกว่า วายัง กุลิต เรื่องที่ใช้แสดงในวายังคือ รามายณะ และมหาภารตะ โดยทำเป็นบทละครเฉพาะของ วายัง มีการแทรกเรื่องปรัชญา ข้อคิดขบขัน ในชีวิตประจำวัน นำมาเชื่อมโยงร่วมสมัยใหม่

Thank you


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook