Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อยุธยา

Description: อยุธยา

Search

Read the Text Version

ประวัติศาสตร์ชาติไทย สมัยอยุธยา ที่มา สรุปสังคมด้วยภาพ By พี่นุ๊ก

ประวัติศาสตร์อยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๙ พระเจ้าอู่ทอง ได้สถาปนาอยุธยาขึ้น โดยตั้งขึ้นใน เมืองเก่า “อโยธยา” ที่มีมาก่อน และเป็นเมืองที่อยู่ระหว่างกลางของสุพรรณบุรี และลพบุรี ประวัติศาสตร์ช่วงแรกของอยุธยา เป็นเรื่องของการแก่งแย่งชิงอำนาจของ ๒ ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณบุรี และจบด้วยชัยชนะของฝ่าย สุพรรณบุรี ในสมัยของพระเจ้าอินทราชาธิราชที่ ๑ ดังนั้นในครึ่งหนึ่งของ ประวัติศาสตร์อยุธยา (ก่อนเสียกรุงให้พม่าครั้งที่ ๑) ที่มีกษัตริย์จาก ๒ ราชวงศ์ รวม ๑๗ พระองศ์นั้น จะมีกษัตริย์จากราชวงศ์อู่ทอง ๓ พระองศ์คือ พระรามาธิบดีที่ ๑ พระราเมศวร และพระรามรามาธิราช

ประวัติศาสตร์อยุธยา ในช่วงแรกของอาณาจักรอยุธยา มีความพยายามที่จะยึดอาณาจักรของขอม ที่เมืองพระนครหลวงหรือกรุงศรียโสธรปุระ ซึ่งมีการทำสงคราม ๓ ครั้งใหญ่ อันเป็นผลทำให้อาณาจักรขอม อ่อนอำนาจลงและต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ พนมเปญ ในขณะเดียวกันอยุธยาก็พยายามแผ่อำนาจไปทางเหนือ เข้าครอบ ครองอาณาจักรสุโขทัยได้สำเร็จ ส่วนทางใต้อยุธยาก็ได้เมืองนครศรีธรรมราช การขยายอำนาจของอยุธยาทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจเหนือเชียงใหม่และ อาณาจักรมอญ (ในพม่าตอนล่าง) ความพยายามของอยุธยาที่จะมีอำนาจเหนือ เชียงใหม่และมอญนี้ ก็ทำให้มีการขัดแย้งกับพม่าเป็นประจำ อันทำให้อยุธยา ถูกทำลายลงในปี พ.ศ.๒๓๑๐ (เสียกรุงครั้งที่ ๑)

สาเหตุการตั้งอยุธยาเป็นเมืองหลวง บริเวณนี้ความอุดมสมบูรณ์ตั้งอยู่บน ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ๓ สาย ได้แก่ แม่น้ำ เจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำ ลพบุรี เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม การประมง การคมนาคม และการ ค้าขาย เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางน้ำ เดิน ทางไปยังหัวเมืองภาคเหนือ ใช้แม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นทางออกสู่ทะเล เพื่อค้าขาย และติดต่อกับต่างประเทศ ความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ คือ การ ป้องกันการบุกรุกของข้าศึก ซึ่งสภาพ พื้นที่เป็นเกาะมีแม่น้ำและลำคลองล้อม รอบ ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมภายนอก ข้าศึกไม่สามารถตั้งทัพต่อไปได้

กษัตริย์สมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยา มี ๕ ราชวงศ์ ๓๓ พระองค์ ๑.ราชวงศ์อู่ทอง พระมหากษัตริย์ ๓ พระองค์ ๒.ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระมหากษัตริย์ ๑๓ พระองค์ ๓.ราชวงศ์สุโขทัย พระมหากษัตริย์ ๗ พระองค์ ๔.ราชวงศ์ปราสาททอง พระมหากษัตริย์๔ พระองค์ ๕.ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระมหากษัตริย์ ๖ พระองค์

รูปแบบการปกครองของอยุธยา

สาเหตุการตั้งอยุธยาเป็นเมืองหลวง การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในขณะนั้นอาณาจักรสุโขทัยเสื่อม อำนาจ และอาณาจักรขอมพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สวรรคต พระมหากษัตริย์มีพระปรีชาสามารถ และมีกองกำลังทหารที่ดี ประชาชน อาศัยในบริเวณพระนครจำนวนมาก เมื่อเกิดสงครามสามารถเรียกเกณฑ์ไพร่พล ได้ทันที กรุงศรีอยุธยามีทรัพยากรมาก ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ และแหล่งน้ำที่อุดม สมบูรณ์ เมืองสุพรรณบุรี เมืองละโว้ ร่วมมือสนับสนุนรวมกันเป็นอาณาจักรที่มี อำนาจเข้มแข็งได้

รูปแบบการปกครองของอยุธยา ระบบการปกครองของอยุธยาเป็นระบบ “ราชาธิราชผสมกับศักดินา” กล่าวคือกษัตริย์มี อำนาจสูงสุด แต่ก็ยังมีการแบ่งชนชั้นปกครอง เป็น พระมหากษัตริย์-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร ออกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน มีการเกณฑ์ แรงงาน “ไพร่” และการเก็บอากร “ส่วย” เป็นผลิตผลและตัวเงิน พระเจ้าแผ่นดินทรง ผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ การแบ่งชนชั้นของความเป็นเจ้าและ ขุนนาง มิได้มีการแบ่งตายตัวทั้งนี้เพราะ การสืบราชสมบัติ บางครั้งขุนนางก็สามารถ ขึ้นมายึดอำนาจตั้งราชวงศ์ ใหม่ได้ ดังจะเห็นในกรณีของขุนวรวงศาธิ ราช หรือในกรณีของราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สำหรับราษฎรทั่วไปนั้น ออกแบ่งออกเป็น “ไพร่” โดยต้องมีสังกัดขึ้นกับ “มูลนาย” อย่างแน่นอน มีการแบ่งเป็น “ไพร่หลวง” และ “ไพร่สม” (ไพร่หลวงขึ้นตรงต่อ พระเจ้าแผ่นดิน ไพร่สมขึ้นเจ้าหรือขุนนาง) ไพร่ทั้งสองแบบมีหน้าที่ที่จะต้องถูกเกณฑ์ แรงงานทำงานให้กับนายของตน และถูกเกณฑ์เป็นทหารเมื่อเวลามีสงคราม นอกจากนี้ ยังมี “ไพร่ส่วย” ซึ่งเป็นไร่ที่เอาผลิตผลมาเสียภาษีแทนการเกณฑ์แรงงาน ไพร่แบบนี้ จะเป็นราษฎรที่อยู่ห่างไกลออกไปและอยู่ในพื้นที่ที่มีผลิตผลจากป่าหรือจากแผ่นดิน

รูปแบบการปกครองของอยุธยา

กษัตริย์สมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ที่สำคัญมีความสำคัญต่อกรุงศรีอยุธยา ๑.พระเจ้าอู่ทอง สถาปนากรุงศรีอยุธยา ๒.ขุนหลวงพะงั่ว ขยายอำนาจไปสู่เขมรและสุโขทัยเป็นผลสำเร็จ ๓.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รวมกรุงสุโขทัยกับกับอยุธยาเป็นผลสำเร็จ ๔.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ติดต่อกับโปรตุเกส ชาวยุโรป ๕.สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ค้นพบรอบพระพุทธบาท ๖.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กอบกู้เอกราชจากพม่า ๗.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสและยุคทองของวรรณคดี ๘.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ยุคทองของวรรณคดี

รูปแบบการปกครองของอยุธยา

รูปแบบการปกครองของอยุธยา

รูปแบบการปกครองของอยุธยา

รูปแบบการปกครองของอยุธยา

สภาพสังคมในอยุธยา

เศรษฐกิจในอยุธยา

เศรษฐกิจในอยุธยา

เศรษฐกิจในอยุธยา

การต่างประเทศในสมัยอยุธยา

การต่างประเทศในสมัยอยุธยา

การต่างประเทศในสมัยอยุธยา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook