Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มืองานศพ รวม

คู่มืองานศพ รวม

Description: คู่มืองานศพ รวม

Search

Read the Text Version

คำนำ การจัดงานศพแบบไทย ผู้จัดจะต้องมีความรู้ในการดำเนินงานและขั้นตอน ต่างๆ ตามพิธีการทางศาสนา การจัดงานศพแบบไทยถือได้ว่ายังมีบุคคลจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ทราบในการดำเนินงานและขั้นตอนการจัดงานที่ถูกต้องตามแบบประเพณีไทย กองการเจา้ หน้าที่ ไดต้ ระหนกถงึ ความสำคัญในการจัดงานศพแบบไทย จงึ ได้ทำการ รวบรวมความรู้จากหนว่ ยงานทเ่ี ก่ียวข้อง โดยมีวัตถปุ ระสงคเ์ พ่ือใหบ้ ุคลากรในสังกัดองค์การ บรหิ ารสว่ นจงั หวัดกาญจนบรุ ี ตลอดจนผทู้ ่ีสนใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจดั งานศพ แบบไทยให้ประสบผลสำเร็จลุลว่ งดว้ ยดี กองการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายสง่ เสริมและพัฒนาบคุ ลากร มนี าคม 2564 จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวดั กาญจนบุรี

สารบญั หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ภาคผนวก ค บทนำ 1 วตั ถปุ ระสงคใ์ นการจดั ทำคมู่ ือ 1 ผลที่คาดว่าจะไดร้ ับ 1 ทำอย่างไรเม่อื มรการตาย 2 พธิ ีงานศพ 3 - ลำดบั ข้ันตอนการปฏิบัติ 3 1. การแจ้งตาย 3 - การเสยี ชีวิต ณ โรงพยาบาล 3 - การเสยี ชวี ติ ณ บา้ น 4 - การเสยี ชีวติ เนื่องจากอุบตั ิเหตุ หรอื ถูกฆาตกรรม 4 - เตรียมหลักฐานแจ้งการตาย 5 2. การนำศพไปวดั 6 3. การอาบน้ำศพ 7 4. การรดน้ำศพ 7 5. การจดั ศพลงหีบ 9 6. การจัดตง้ั ศพ 9 การจัดงานบำเพ็ญกุศลการสวดพระอภิธรรม 10 การบรรจุเกบ็ ศพ 11 ขั้นตอนการปฏิบัตใิ นพิธีบรรจุศพ 11 การฌาปณกจิ 12 การบำเพญ็ กศุ ลหน้าศพ 12 เคล่ือนศพไปเมรุ 13 พิธีแห่ศพเวียนเมรุ 13 การทอดผา้ บังสุกลุ 13 วิธปี ฏิบัตกิ ารเผาศพ 14 เผาจริง – เผาหลอก 14 - 15 การเกบ็ อัฐิ 16 พิธีสามหาบ 17 บรรจอุ ัฐิ 17 ลอยอังคาร 17 จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารส่วนจังหวดั กาญจนบุรี

ภาคผนวก ค ตวั อย่างใบมรณบตั ร , หนงั สือรบั รองการตายในโรงพยาบาล หน้า ตัวอยา่ งบทพธิ ีกรงานฌาปนกจิ 5 บรรณานุกรม 18 - 19 22 จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวดั กาญจนบุรี

1 บทนำ ความเป็นมา กองการเจ้าหน้ามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี โดยให้ความรู้ด้านวิชาการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานซึ่งรูปแบบจะเป็นลักษณะของการจัด โครงการฝึกอบรม หรือการให้ความรู้ผ่านทางโซเชียลในรูปแบบต่างๆ นอกจากการฝึกอบรมให้ความรู้ที่ จำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแล้วนัน้ การให้ความรู้นอกเหนือจากงานทีต่ ้องปฏิบตั ิ แต่เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตหรือสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ เช่น ความรู้ทางด้านประเพณี วฒั นธรรมการจดั งานศพแบบไทย การบำเพ็ญกศุ ลให้กับผเู้ สียชีวิตซง่ึ อาจจะเปน็ บุคลากรหรือบดิ ามารดา เพื่อเป็นการร่วมไว้อาลัยในวาระสุดท้ายของผู้ล่วงลับและเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพแล้ว งานศพถือได้ว่าเป็น ประเพณีที่มีเวลาเตรียมตัวน้อยที่สุดจากบรรดางานต่างๆ ทางศาสนา ซึ่งในสถานการณ์ขณะนั้นเจ้าภาพ บางรายไม่สามารถท่ีจะกำหนดลำดับขัน้ ตอนในการจัดงานศพได้ เนื่องจากปัญหาหลายประการ อาทิ ไม่ มผี มู้ คี วามรู้แนะนำเก่ยี วกบั การจัดงานศพ หรอื มีญาติพนี่ ้องอยหู่ ่างไกลกันต้องดำเนนิ การโดยลำพัง ดังนั้น ในฐานะหน่วยงานที่รบั ผิดชอบได้ตระหนักถงึ ความสำคญั ของการส่งเสริมความรู้ ให้กับบุคลากร จึงได้จัดทำคู่มือการจัดงานศพแบบไทยเพื่อมุ่งหวังจะให้ผู้ที่ต้องดำเนินงานจัดงานศพมี ความรู้ ความเข้าใจในเรือ่ งดังกลา่ วได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าในโลกแห่งโซเชยี ลจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลาย ช่องทางก็ตาม แต่เพื่อเปิดโอกาสให้กับกลุ่มคนบางรายที่ไม่สามารถเข้าถึงช่องทางแห่งโลกโซเชียลนี้ได้ ผู้ดำเนินการจึงเห็นว่าการจัดทำคู่มือการจัดงานศพแบบไทยจะทำให้ทุกคนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ได้ ตลอดเวลา ซึ่งคู่มือจะกล่าวถึงข้อมูลในเชงิ ปฏบิ ัติการดำเนนิ งานขั้นต้นตั้งแต่การเตรียมหลักฐานแจ้งการ ตาย จนถงึ ขัน้ ตอนสดุ ทา้ ยคือการนำอฐั ิไปลอยองั คารได้อยา่ งถูกต้อง วัตถปุ ระสงค์ 1. เพื่อให้ข้าราชการ ข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดงานศพแบบไทย 2. เพื่อให้ข้าราชการ ข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี มีความเข้าใจกระบวนการและขน้ั ตอนการจัดงานศพแบบไทย ผลท่ีคาดวา่ จะได้รบั 1. ข้าราชการ ข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างสังกัดองค์การ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดงานศพแบบไทย 2. ข้าราชการ ข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี สามารถนำคู่มือไปใช้ในการเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ และ ดำเนินการจัดงานศพแบบไทยได้ จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องคก์ ารบรหิ ารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

2 ทำอยา่ งไรเม่อื มกี าร “ตาย” 4 ด้วยสังคมมองว่าการตายเป็นเรื่องไกลตัว แม้แต่จะพูดคำว่า “ตาย” ยังเห็นว่าเป็นเรื่อง ต้องห้ามหรืออัปมงคล ความรู้เรื่องการจัดการเกี่ยวกับการตาย จึงเป็นเรื่องห่างไกลยิ่งกว่า แต่เรื่องเช่นน้ี “รู้ไว้ใช่ว่า” เพราะสักวันหนึ่งเมื่อถึงวันที่สูญเสียคนใกล้ชิด จะได้ไม่มึนงงตื่นตระหนกจนทำอะไรไม่ถูก เมื่อมีการตายเกิดขึน้ ภาระหน้าที่ของญาติพี่นอ้ งคือ ดำเนินการ เพื่อให้การตายของคนผู้นั้นมีผลทางกฎหมาย ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปประกอบพิธีทางศาสนา โดยกฎหมายระบุว่า เมื่อมีการตาย ไม่ว่าจะตาย ในบ้านหรือ นอกบา้ น ไม่วา่ จะตายโดยสาเหตุธรรมชาติหรือผิดธรรมชาติ ญาติผตู้ ายหรือผู้พบศพจะต้องแจง้ การตายน้ันกับ นายทะเบียนท้องถิ่น ที่มีชื่อผู้ตายอยู่ในทะเบียนบ้านหรือในพื้นที่ที่พบศพ จากนั้นสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น จะออกใบมรณบัตรเป็นหลักฐานการตาย เพื่อให้นำไปใช้ในการเคลื่อนย้ายศพ การทำพิธีศพ การขอรับสิทธิ ประโยชน์และยกเลิก เอกสารสัญญาต่างๆ ของผู้ตาย เช่น ประกันชีวิต การปิดบัญชีธนาคารเป็นต้น ทง้ั น้ี การแจ้งตายต้องดำเนินการภายใน 24 ชวั่ โมงนบั ตง้ั แต่เวลาตายหรือเวลาทพี่ บศพ จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องคก์ ารบรหิ ารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

3 พธิ ีงานศพ ลำดับข้นั ตอนการปฏิบัติ หลังจากมีการเสียชีวิต รายละเอียดของลำดับขัน้ ตอนการปฏิบัติที่ญาตคิ วรทราบเกี่ยวกบั พิธี งานศพมีดังตอ่ ไปนี้ 1.การแจง้ ตาย 2.การนำศพไปวดั 3.การอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ 4.การจัดงานบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรม 5.การบรรจุเกบ็ ศพ 6.การฌาปนกจิ ศพ 7.การเกบ็ อฐั ิ 8.การลอยอังคาร 1.การแจง้ ตาย การเสยี ชวี ิต ณ โรงพยาบาล โรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตาย แล้วนำ ใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตวั ประชาชนของผู้เสียชวี ติ ไปยังสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต (อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับใบมรณบัตร แต่โรงพยาบาลบางแห่งจะออกใบมรณบัตรให้ เอง หรือช่วยดำเนินการให้เพื่ออำนวยความสะดวก โดยญาติของผู้เสียชีวิต จะต้องนำทะเบียนบ้านไปให้ โรงพยาบาลด้วย ขอรบั หนังสอื รับรองการตายจากโรงพยาบาล จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวัดกาญจนบุรี

4 การเสยี ชีวิต ณ บ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออก ใบรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าทสี่ ำนักงานทะเบียนท้องถ่ิน (แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตที่บ้านเรือนนั้นตั้งอยู่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับต้ังแต่เวลาตาย หรือพบศพ เพ่ือขอใบมรณบตั ร การเสียชีวิตเน่ืองจากอบุ ัตเิ หตุ หรอื ถกู ฆาตกรรม เจ้าบ้านหรือผู้ที่ไปตายหรืผู้พบศพ จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชันสูตรศพ เพื่อทำ หลักฐานการเสียชีวติ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพโดยระหว่างเจ้าหน้าที่หรือแพทย์ได้ตรวจ ศพแลว้ ญาตผิ เู้ สียชวี ติ จะต้องไปขอหลักฐานจากเจา้ หนา้ ท่ีตำรวจท้องที่ท่ีรบั ผดิ ชอบ พร้อมทั้งขอใบชันสูตรศพ จากแพทย์ เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นในการขอใบมรณะบัตร โดยแจ้งด้วยว่า จะนำศพไปบำเพ็ญกศุ ล ณ วัดใด โดยระบุในช่องท่วี ่า เผา ฝัง เกบ็ หรืออุทศิ การแจ้งตายและขอใบมรณบัตรจากสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง ควรรีบทำ เพราะตอ้ งใช้ใบมรณบตั รประกอบการขอรับศพ และนำศพไปประกอบพธิ ีทว่ี ัด จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวัดกาญจนบรุ ี

5 เตรยี มหลกั ฐานแจ้งการตาย การแจ้งการตายในทุกกรณี ผแู้ จ้งจะตอ้ งมหี ลกั ฐานดงั น้ี - บตั รประจำตวั ประชาชนผู้แจ้ง - สำเนาทะเบียนบา้ นฉบับเจ้าบา้ นท่ผี ู้ตายมีชือ่ และรายการบคุ คล (ถา้ มี) - หนังสือรบั รองการตาย (ทร.4/1) จากโรงพยาบาล แพทย์ประจำโรงพยาบาลผู้ดแู ลก่อนตายจะเปน็ ผอู้ อกหนังสอื รับรองการตายให้ - นำหลักฐานข้างตน้ ไปยงั ณ สำนักงานทะเบียนทอ้ งถน่ิ ตัวอยา่ งใบมรณบัตร (ทร.4 ตอน 1) ตัวอย่างหนงั สือรบั รอง การตายในโรงพยาบาล จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวดั กาญจนบุรี

6 2. การนำศพไปวดั เมื่อติดต่อวันที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลเรยี บร้อยแล้ว การนำศพไปวัดอาจติดต่อขอให้ทาง วัดจัดรถไปรับศพสถานที่จัดงานศพ ส่วนใหญ่เป็นวัดใกล้บ้านหรือบ้านของผู้ตาย หรือแจ้งความประสงค์กับ เจ้าหน้าท่ีของโรงพยาบาล ขอให้จัดรถส่งศพให้และนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดท่ีนำศพ ไปตั้งบำเพ็ญกุศล * ก่อนที่จะนำศพไปวัดควรจัดเตรียมเสื้อผ้าจากทางบ้านหรือโรงพยาบาลให้เรียบรอ้ ยก่อน พร้อมจัดเตรียมผ้าแพรสำหรับคลมุ ศพและรปู ภาพท่จี ะตั้งหน้าศพ กำหนดวันเวลารดน้ำศพ จำนวนวนั สวดอภธิ รรมศพ และวันฌาปนกิจ แจ้งขา่ วการตายใหก้ ับญาติ ผรู้ ว่ มงาน เพอื่ น หรือคนที่รูจ้ กั มักคนุ้ กันกบั ผตู้ าย จัดเตรียมงานเร่ืองช่างภาพ/พธิ ีกร/คนบวชหน้าไฟ/คนเขยี นและอ่านคำไว้อาลัย/ของชำร่วย/ เครือ่ งไทยธรรมประกอบพธิ ีและเงนิ ทำบุญ จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องค์การบรหิ ารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

7 ๓.การอาบน้ำศพ เป็นการชำระร่างกายศพให้สะอาด และแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต ถือว่าเป็นเรื่องภายในครอบครวั เป็นหนา้ ที่ของบตุ รธิดา โดยเฉพาะ ไมน่ ยิ มเชญิ คนภายนอก - การอาบน้ำใหศ้ พกระทำดว้ ยนำ้ อนุ่ ก่อนแลว้ ล้างดว้ ยน้ำเย็น ฟอกสบู่ ขัดถรู า่ งกายศพใหส้ ะอาด - เมื่ออาบนำ้ ศพเสร็จแลว้ ก็เอาขม้ินทาตามรา่ งกาย ตลอดถึงฝา่ มือฝ่าเทา้ และประพรมด้วยน้ำหอม - ถ้าเป็นศพที่ตนเคารพนับถืออย่างยิ่ง เช่น บิดา มารดา ฯลฯ ก็นิยมเอาผ้าขาว หรือ ผ้าเช็ดหน้า ซับใบหน้าฝ่ามือทั้งสองข้างและฝ่าเท้าทั้งสองข้าง เพื่อถอดเอารอยฝ่ามือและฝ่าเท้า ไว้กราบไหว้ บูชา หรือใชเ้ ป็นประเจยี ด - ต่อจากนัน้ กแ็ ตง่ ตวั ศพ ตามฐานะของผ้ตู าย เช่น เปน็ ข้าราชการกแ็ ตง่ เครื่องแบบเป็นตน้ - เมอื่ แต่งตัวศพเสร็จเรียบรอ้ ยแล้ว จงึ นำศพขนึ้ นอนบนเตียงสำหรบั รอการรดนำ้ ต่อไป 4.การรดน้ำศพ ก กาารรรตดั้งเนตำ้ียศงรพดน้ำศพ นิยมต้ังเตยี งไวด้ า้ นซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรตั นตรัย โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชา ไว้ดา้ นบนศีรษะของศพ นิยมให้ศพนอนหงายหนั ด้านขวามือของศพ หรือด้านปลายเทา้ ของศพให้อยู่ทางผู้ท่ีมา แสดงความเคารพ และใชผ้ า้ ห่มใหมๆ่ หรือผ้าแพรคลมุ ตลอดร่างศพนั้นโดยเปิดหนา้ และมอื ขวาไว้เทา่ นน้ั - เจา้ ภาพควรเตรยี มน้ำอบ น้ำหอม พรอ้ มขันใสน่ ้ำผสมน้ำอบน้ำหอม และขันเล็กสำหรบั ตักน้ำย่ืนให้แขก และ ขันขนาดใหญ่มีพานรองรับน้ำที่รดมือศพด้วย หรือจะขอร้องให้ทางเจ้าหน้าที่ฌาปณสถานจัดเตรียมให้ก็ได้ แลว้ แต่จะตกลงกัน จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารส่วนจงั หวดั กาญจนบรุ ี

8 4.การรดนำ้ ศพ (ตอ่ ) - ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น นิยมให้เจ้าภาพ หรือเชิญผู้มีอาวุโสเป็นประธานในพธิ จี ุดเครือ่ ง บูชาพระรัตนตรัยก่อนแล้วจุดเครื่องทองน้อย (หรือธูปเทียน) ทางด้านศีรษะศพ แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป โดยเวลาที่นยิ มในการรดนำ้ ศพโดยท่วั ไปคอื เวลา 16.00 - 17.00 น. - นิยมให้ลกู หลาน ผใู้ กลช้ ิด ทำการรดนำ้ ศพเสยี ก่อน ถึงเวลาเชญิ แขกเพ่ือมิให้คับค่ังเสียเวลา รอคอยของแขกผ้มู าแสดงความเคารพ - เจ้าภาพควรจัดคนให้ทำหน้าที่คอยรับรองและเรียนเชิญแขกเข้ารดน้ำศพโดยนิยมให้ ลกู หลาน หรอื ญาตฝิ า่ ยเจ้าภาพทำหนา้ ท่ี - เมื่อแขกรดน้ำศพหมดแล้ว จึงเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ในที่นั้น เป็นผู้แทนรดน้ำศพ ดว้ ยนำ้ หลวงอาบศพ หรอื เปน็ ผูร้ ดนำ้ ศพเป็นคนสดุ ทา้ ย - เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั้น ได้รดน้ำหลวงอาบศพหรือได้รดน้ำศพแล้วถือกันว่าเป็น อันเสร็จพิธีรดนำ้ ศพ ไม่นิยมให้ผู้ใดผ้หู นึ่งรดน้ำศพอกี ต่อไป หน้าทีป่ ระธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพ หน้าที่ประธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพ ก่อนจะรับน้ำหลวงจากเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ต้องถวายคำนับไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ ๑ ครั้ง ก่อนรับน้ำหลวงอาบศพจาก เจ้าหน้าที่สำนกั พระราชวัง เมื่อรับแล้ว ให้รดน้ำหลวงอาบศพ โดยเทตรงบรเิ วณทรวงอกศพ แล้วจึงรดน้ำขม้นิ กับน้ำอบไทย จากนนั้ ถวายความเคารพในทิศทางเดมิ เป็นอันเสร็จพธิ ี วิธปี ฏิบตั ิในการรดนำ้ ศพ - ถ้าเปน็ คฤหัสถ์ ซงึ่ มีอาวุโสสูงกว่าตน กอ่ นจะทำพธิ ีรดน้ำศพ นิยมน่งั คกุ เข่า น้อมด้วยยกมือ ไหว้พร้อมกับนึกขอขมาโทษต่อศพนั้นว่า “กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ” (ขา้ พเจา้ ได้ลว่ งเกินต่อทา่ น ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจกด็ ี ขอทา่ นโปรดอโหสกิ รรมให้แก่ขา้ พเจ้าดว้ ยเถิด) - เมื่อยกมือไหว้ขอขมาโทษต่อศพจบแล้ว ก็ถือภาชนะสำหรบั รดน้ำด้วยมือท้ังสอง เทน้ำลงท่ี . ฝ่ามือขวาของศพ พร้อมกับนึกในใจว่า “อิหัง มะตะกะสะรีรัง อิสิญจิโตทะกัง วิยะ อโหสิกัมมัง” (ร่างกายที่ตายไปแล้วนี้ ย่อมเป็นอโหสิกรรม ไม่มีโทษ เหมอื นนำ้ ทีร่ ดแลว้ ฉนั นัน้ ) - เมื่อรดน้ำศพเสร็จแล้ว นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับอธิษฐานว่า . “ขอจงไปสู่สุขติๆเถิด” จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวดั กาญจนบุรี

9 5.การจดั ศพลงหีบ เมื่อเสรจ็ พธิ รี ดน้ำศพแล้ว สำหรับการจดั ศพลงหบี นน้ั นิยมมอบใหเ้ จ้าหนา้ ท่ีของวัด เป็นผู้ทำ พิธีกรรมตา่ งๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถน่ิ น้นั ๆ เพื่อใหเ้ กิดความเรียบร้อย แล้วจะได้ตัง้ บำเพ็ญกศุ ลศพต่อไป สำหรบั ศพที่ไดร้ ับพระราชทานโกศหรอื หีบหลวง ทางเจ้าหนา้ ทจี่ ากสำนกั พระราชวังเปน็ ผ้ดู ำเนินการ 6.การจัดตง้ั ศพ - เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว ให้ตามไฟ (คือให้ตั้งตะเกียง มีโคมและหรี่ไฟไว้ท่ปี ลายเทา้ ศพ 1 ท)่ี - ในพิธีทางราชการ เมื่ออาบน้ำศพและบรรจุศพลงหีบ น้ำขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้ว จะนิมนต์ พระสงฆ์ 10 รูป (หรือ 20 รูป) สดับปรกรณ์ (บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพ และญาตๆิ กรวดนำ้ เปน็ อันเสรจ็ พิธี - สำหรับศพชาวบา้ นทัว่ ไป ปัจจุบันนยิ มนมิ นต์พระสงฆ์ 1 รปู (หรือหลายรูปก็แล้วแต่ศรัทธา ของเจ้าภาพ) เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพหรือบนที่ที่เตรียมไว้ นิมนต์พระสงฆ์ ชักผ้าบังสกุ ุล (จะเป็นผา้ ไตรจีวร สบง ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าเช็ดหน้ากไ็ ด้) เมื่อพระสงฆ์ชกั ผา้ บังสุกุลแล้ว ก็ถือเป็น อนั เสร็จพิธกี ารต้ังศพ จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวัดกาญจนบุรี

10 การจัดงานบำเพ็ญกศุ ลการสวดพระอภิธรรม - การสวดพระอภิธรรมประจำคืน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “สวดหน้าศพ” นิยมเริ่มจัดทำ ตง้ั แตว่ นั ต้ังศพเปน็ ต้นไปทุกคนื - โดยจะนิยมสวด 1 คืน 3 คืน 5 คืน 7 คืน (ในบางรายหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วนั จนครบ 100 วนั หรือจนถึงวันฌาปณกิจศพ) - ตามประเพณีนิยมแต่โบราณ จะนิมนต์พระสวดอภิธรรม 4 รูป และสวด 4 จบ พระสงฆ์ จะลงสวดเวลาตามแต่ละท้องถ่นิ (ปกตจิ ะนิยมเริม่ ตั้งแต่เวลา 19.00 น.) - ตอ้ งจดั ใหม้ ีเครอื่ งไทยธรรมพรอ้ มผา้ สบงเพ่ือถวายพระสวดอภธิ รรม และบงั สุกุลให้ผูเ้ สียชีวติ (ปจั จบุ ันทางฌาปณสถานหรือทางวัด จะมบี รกิ ารจัดหาให้) - ปัจจัยถวายพระ 4 รปู ตามแต่จะศรทั ธา - ตามประเพณนี ยิ มมกั มีอาหารวา่ งเลีย้ งแขก ท่ีมาฟงั สวดทุกคืน - ถ้าผ้ตู ายเป็นข้าราชการชน้ั ผูใ้ หญ่ หรือเปน็ ท่เี คารพนับถอื ของคนทงั้ หลาย นยิ มเปิดโอกาส ให้มีการจองเปน็ เจา้ ภาพบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผลู้ ่วงลบั ไปแลว้ เพื่อเปน็ การแสดงความกตัญญกู ตเวทีต่อท่านผมู้ ีพระคุณ หรอื มอี ปุ การคณุ แกต่ น ตามประเพณีนยิ มของสงั คม การจัดงานทำบุญ - ตามประเพณีไทย ก่อนที่จะทำการฌาปณกิจศพ จะมีการบำเพ็ญกุศลทำบุญครบรอบวัน ตาย (ครบ 7 วนั ครบ 50 วัน ครบ 100 วัน) แตป่ ัจจบุ นั จะนยิ มจัดงานบำเพญ็ กศุ ล 7 วนั - ส่วนมากจะนมิ นตพ์ ระสงฆ์ โดยสวดพระพุทธมนตแ์ ละฉนั เพล เพ่ืออุทิศสว่ นกุศลให้กับผู้ตาย (โดยญาติจดั อาหาร จดั เคร่อื งสงั ฆทานไทยธรรมมาเอง หรือให้ฌาปณสถานหรือทางวัดดำเนนิ การแทนก็ได้) จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวดั กาญจนบรุ ี

11 การบรรจเุ กบ็ ศพ - การบรรจเุ กบ็ ศพ จะกระทำในวนั สุดท้ายของการสวดพระอภิธรรม โดยสวดจบสุดทา้ ยเสร็จ แล้วจะนำศพไปเกบ็ ท่ีสุสาน หรอื ศาลา หลังจากสวดพระอภธิ รรมตามกำหนดแล้ว หากญาติประสงค์จะเก็บศพ ไวก้ อ่ น เพื่อรอญาตหิ รือรอโอกาสอันเหมาะสม ที่จะทำการฌาปณกจิ หรอื บรรจศุ พฝังไวใ้ นสุสานต่อไป - ญาติจะกำหนดเองวา่ จะเกบ็ ศพวนั ใด กี่วนั โดยทำการตกลงกบั ทางวัดหรือฌาปณสถาน - ญาติจะต้องเตรียมผ้าไตร ดอกไม้ ธูป เทียน ลูกดินห่อด้วยกระดาษสีขาว-ดำ ใส่ถาดไว้เพ่ือ แจกแขกผมู้ ารว่ มงานคนละก้อน จะมีดอกไม้ด้วยกไ็ ด้ (ปัจจบุ ัน สว่ นมากทางวดั หรือทางฌาปณสถาน จะมีบริการจดั หาให้) - นมิ นต์พระสงฆพ์ จิ ารณาผ้าบงั สกุ ุล 1 รูป ไว้ในวนั สุดทา้ ยของการสวดพระอภธิ รรมเพือ่ ดำเนิน การดำเนินการบรรจุศพไว้ โดยประสานงานกบั ทางเจา้ หน้าที่ ของวัดหรอื ฌาปณสถาน ขน้ั ตอนการปฏิบตั ิในพธิ ีบรรจศุ พ - เจา้ หน้าทีจ่ ัดสถานทปี่ ระกอบพธิ บี รรจุศพ ณ บรเิ วณหนา้ ที่ตัง้ ศพ - เชิญประธานในพิธีทอดผ้าบังสกุ ุล 1 ไตร (บางงานจะไปทอดผ้าบงั สุกุล ณ สถานที่เก็บศพ) แล้วนิมนตพ์ ระสงฆ์พิจารณาผ้าบงั สุกุล - เชิญประธานในพิธวี างหอ่ ดินขาว-ดนิ ดำ และชอ่ ดอกไม้บนพานหนา้ ศพ ตามลำดับ - เมื่อทุกคนวางห่อดินและช่อดอกไม้เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเคลื่อนศพไปยัง สถานท่เี ก็บศพ - บรรดาญาติและผู้ที่เคารพนับถือ จะจุดธูปเทียนวางพวงมาลัยหรือช่อดอกไม้เป็นอันดับ สดุ ท้าย จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารส่วนจงั หวดั กาญจนบรุ ี

12 การฌาปณกจิ ศพ - การฌาปณกิจศพ ได้แก่ การปลงศพ หรือ เผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำ การฌาปณกิจศพทีแ่ น่นอน แล้วทำความตกลงกันกับเจ้าหนา้ ที่ของวัดหรือฌาปณสถานกอ่ น ทั้งนี้เพื่อเป็นการ เลือกจองวนั ที่ต้องการ - กรณีบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปณกิจ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีก วาระหน่ึง โดยสวดก่อน 1 คืน แลว้ วนั รงุ่ ข้ึนจะทำพิธฌี าปณกจิ หรอื อาจจะไม่ตง้ั สวดพระอภธิ รรมอีก เพียงแต่ ยกศพขึ้นตั้ง ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในช่วงบ่าย แล้วทำ การฌาปณกิจศพในตอนเย็น การกระทำเชน่ นี้มักเรยี กกนั ว่า “ตง้ั เชา้ เผาเย็น” ถา้ หากศพนั้นเป็นบุพการี สามี ภรรยา ก็ควรตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อน เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตาย อีกทั้งยังเป็นการบำเพ็ญ กุศลเพ่ิมเติมใหอ้ กี การบำเพ็ญกศุ ลหนา้ ศพ ในวันท่ีมีพิธพี ระราชทานเพลงิ ศพ หรือฌาปณกิจศพนั้น จะนิยมบำเพ็ญกศุ ลอุทิศให้ผ้ตู ายกอ่ น เช่น - จดั พธิ บี วชลกู หลานเป็นพระภิกษุ หรอื สามเณรท่ีเรียกว่า “บวชหนา้ ไฟ” - นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป สวดพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพล (อาจจะเลี้ยงพระเพ่ิม จำนวนเทา่ ใดก็ได้) - จดั ให้มีพระธรรมเทศนา 1 กณั ฑ์ - นิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกา บังสุกุล (จำนวนพระสงฆ์ 10 รูป หรือนิยมเท่าอายุผู้ตายหรือ ตามศรัทธา) - ถวายเครอ่ื งไทยธรรม กรวดน้ำ เปน็ อนั เสรจ็ พธิ บี ำเพ็ญกศุ ลหน้าศพ เจ้าภาพจะตอ้ งเตรยี มอปุ กรณห์ ลกั ตา่ งๆ ได้แก่ 1.เครื่องไทยธรรม ผ้าสบงถวายพระสวดมนตฉ์ ันเพล 2.เครอื่ งไทยธรรมผ้าไตร และเครอ่ื งติดกณั ฑ์เทศน์ถวายพระเทศน์ 3.ผา้ ไตรประธานเพือ่ ทอดบงั สุกลุ และมหาบงั สกุ ุลก่อนทำการฌาปณกิจ 4.ผ้าสบงถวายพระสวดมาติกาบังสุกุลตามจำนวนพระสวด (ส่วนใหญ่จะนิมนต์พระ 10 รูป แต่บางแหง่ จะนมิ นต์พระทงั้ วัดหรือตามจำนวนอายุของผ้ตู าย) 5.เตรียมดอกไม้จันทน์ให้กับแขกผู้มาร่วมงาน และดอกไม้จันทน์สำหรับประธานในพิธี (ปจั จบุ ันทางวัดหรือฌาปณสถาน จะมีบรกิ ารจดั เตรยี มอุปกรณเ์ หล่าน้ใี ห้ทั้งหมด แตห่ ากทางเจา้ ภาพอยากจะ จดั ก็จัดหามาเองก็ได)้ จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องค์การบรหิ ารส่วนจังหวดั กาญจนบรุ ี

13 เคลือ่ นศพไปเมรุ - หลังจากบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย ก่อนจะเคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุนั้น นิยมให้ลูกหลานคน ใกล้ชิดผู้ตายได้ทำพิธีขอขมาศพ เพื่อเป็นการอภัยโทษที่เคยล่วงเกินต่อกัน โดยตั้งจิต หรือกล่าวคำขอขมาต่อ ศพนั้นวา่ \"กายะกมั มงั วะจกี ัมมงั มะโนกมั มัง อะโหสิกมั มัง โหตุ\" (ขา้ พเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน [อาจจะออกนาม ผู้ตามกไ็ ด้] ทางกายกด็ ี ทางวาจากด็ ี ทางใจกด็ ี ขอท่านไดโ้ ปรดอโหสกิ รรมดว้ ยเถดิ ) พิธีแห่ศพเวยี นเมรุ - การเคล่อื นศพต้องนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป เป็นผูน้ ำศพ เวยี นรอบเมรุ 3 รอบ - การเวียนต้องเวียนจากขวาไปซ้ายของเมรุ คือ เดินเวียนซ้ายเมรุ (เมรุอยู่ทางซ้ายมือของผู้ เดนิ ) เรมิ่ จากบนั ไดหน้าเมรุ - เจ้าภาพและญาติของผตู้ ายต้องเดินเขา้ ขบวนตามศพเวยี นรอบเมรุด้วย - ถ้าศพนั้นมีรูปถ่ายของผู้ตาย ซึ่งนำไปตั้งไว้ในที่บำเพ็ญกุศล ก็ต้องมีผู้ถือรูปถ่ายนำหน้าศพ ไปในขบวน โดยมพี ระสงฆเ์ ป็นผนู้ ำ และมีคนถือเคร่ืองทองน้อยหรอื กระถางธูปนำหน้าศพ - ลำดับการแหศ่ พ ถือหลัก \"พระ-กระถางธปู -รปู ภาพ-ศพ-ญาตมิ ิตร\" - เม่ือไดน้ ำศพเวียนรอบเมรคุ รบ 3 รอบแลว้ เจา้ หนา้ ทนี่ ำศพขึ้นตัง้ บนเมรุ การทอดผา้ บังสุกุล - การทอดผ้าบังสุกุลนั้น เจ้าภาพจะต้องพิจารณาว่า แขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่เชิญไว้ มีจำนวนเท่าใดก็จัดผ้าไตรเท่ากับจำนวนแขกชั้นผู้ใหญ่ ส่วนจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นควรให้เปน็ ไปตามความ เหมาะสม - การเชิญแขกข้นึ ทอดผ้าบงั สกุ ลุ เจ้าภาพ จะตอ้ งไปเชญิ ดว้ ยตนเอง โดยมีผ้ถู ือพานผ้าไตรตามเจ้าภาพไปด้วย - แต่ถ้าแขกที่เปน็ ประธานเป็นผใู้ หญช่ ้ันสงู หรอื เปน็ ผูบ้ งั คับบัญชาชัน้ สงู ของเจา้ ภาพ ก็ควรถอื พานผา้ ไตร ไปเชิญด้วยตนเอง - เม่อื แขกผ้รู บั เชิญลุกจากท่นี ่ัง เจา้ ภาพหรอื ผู้ถอื พานผา้ ไตร กเ็ ดินตามแขกผนู้ นั้ ไป - เมื่อข้นึ บนั ไดเมรแุ ล้วก็สง่ มอบผา้ ไตรให้ ผ้ทู อดผ้าก็จะรับผา้ ไตร นำไปวางลงตรงท่สี ำหรับทอดผ้า แตถ่ ้าไมม่ ีการจัดทส่ี ำหรับทอดผา้ ไว้ กว็ างผา้ ไตร นัน้ ลงบนหบี ศพทางดา้ นหัวนอนศพ แลว้ ผทู้ อดผา้ ก็คอยอยู่จนกว่าพระสงฆจ์ ะมาชกั ผ้าบังสุกุล - โดยลำดับการเชญิ แขกขน้ึ ทอดผ้าบังสกุ ุลนั้น จะเชญิ แขกผูม้ ีอาวโุ สน้อยไปหามากตามลำดับ และเชิญประธานในพธิ ีขน้ึ ทอดผา้ บังสกุ ุลเปน็ อนั ดับสุดท้าย - เมอ่ื ประธานในพธิ ีทอดผา้ บงั สกุ ลุ แล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชมุ เพลิงต่อไป จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารส่วนจงั หวัดกาญจนบุรี

14 วิธปี ฎิบัติการเผาศพ - นิยมยนื ตรง หา่ งจากศพ ประมาณ 1 ก้าว - ถา้ แต่งเครื่องแบบขา้ ราชการ นิยมยนื ตรงโคง้ คำนับ - ถา้ มิได้แต่งเคร่อื งแบบขา้ ราชการ นยิ มนอ้ มไหว้ พร้อมท้งั ธปู เทยี น ดอกไม้จันทนท์ ี่อยใู่ นมอื (เฉพาะศพน้นั มอี าวโุ สสงู กวา่ ตน หรือมีอาวโุ สร่นุ ราวคราวเดยี วกนั ) - ขณะท่ยี ืนตรงโคง้ คำนับ หรือ น้อมไหวน้ ้นั ควรตั้งจิตขอขมาตอ่ ศพนั้นว่า \"กายะกมั มงั วะจกี มั มงั มะโนกมั มงั อะโหสิกมั มงั โหตุ\" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกนิ ต่อทา่ น ทางกายกด็ ี ทางวาจาก็ดี ทางใจกด็ ี ขอท่านไดโ้ ปรด อโหสกิ รรมใหแ้ ก่ ขา้ พเจา้ ดว้ ยเถดิ ) - เมือ่ ขอขมาต่อศพเสรจ็ แลว้ นอ้ มตัวลงวางธูป เทียน ดอกไม้จนั ทน์ ท่เี ชิงตะกอน ในขณะน้นั ควรพจิ ารณาตวั เอง ถงึ ความตาย วา่ \"ร่างกายของมนษุ ย์เราน้ี ย่อมมคี วามตาย เปน็ ธรรมดาอย่างน้ี เปน็ ปกติอยา่ งนี้ ไมล่ ว่ งพ้นความตายอย่างนี้ไปได้เลย \" ดังคำพระทว่ี ่า \"อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตโี ต\" - เม่ือพจิ ารณาตวั เองระลึกนึกถึงความตายจบแล้ว ยนื ตรง โคง้ คำนบั หรอื ยกมอื ไหว้ศพอีกครั้ง พร้อมกับนกึ อธฐิ านในใจวา่ \"ขอจงไปสสู่ คุ ตๆิ เถดิ \" เผาจรงิ -เผาหลอก ธรรมเนียมปฏิบัติทีน่ ิยมกันในปจั จุบันสำหรับการฌาปนกจิ ศพ จะมีพิธีการ \"เผาหลอก\" ก่อน แล้วจึง \"เผาจริง\" คือจะให้แขกที่มาร่วมงานทั้งหลาย ไปวางธูปเทียน ดอกไม้จันทน์ที่หน้าหรือใต้หีบศพ เพื่อ แสดงความเคารพศพ ซึ่งเสมือนเป็นการทำพิธีเผาศพโดยสมมติ ยังไม่ใช่พิธีการเผาศพจริง แต่การ \"เผาจริง\" เพียงอย่างเดียวและจะทำกันในเวลาช่วงบ่ายถึงเย็นแต่เนื่องจากเกรงว่า การเผาศพจะก่อให้เกิดกลิ่น ซึ่งอาจ สรา้ งความเดือดรอ้ นรำคาญแก่ผ้มู าร่วมงาน จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวัดกาญจนบรุ ี

15 ตัวอยา่ งลำดับพธิ ีการฌาปนกิจศพ 09.00 น. - เชิญศพขึน้ ตงั้ บนศาลาบำเพญ็ กศุ ล 10.15 น. - นิมนต์พระสงฆ์ประจำท่อี าสน์สงฆ์ 10.20 น. - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบชู าพระรตั นตรยั 10.25 น. - อาราธนาพระปรติ ร (กรณีจัดพิธีสวดพระพทุ ธมนตต์ อนเช้า) 10.30 น. - พระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนต์ 11.00 น. - ถวายภัตตาหารเพลและเคร่อื งไทยธรรม 12.00 น. - เลีย้ งอาหารกลางวนั แกญ่ าตมิ ติ รและแขกทีม่ าในงาน 14.00 น. - นมิ นต์พระเทศนข์ ึ้นบนอาสน์สงฆ์ 14.05 น. - เจ้าภาพจุดธูปเทยี นบชู าพระรตั นตรยั จุดเทยี นกณั ฑเ์ ทศน์และหน้าทต่ี งั้ ศพ 14.10 น. - อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวาย กณั ฑ์เทศน์ 15.00 น. - นมิ นต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสนส์ งฆพ์ ร้อมกัน เพื่อสวดมาตกิ าบงั สุกลุ 15.30 น. – เคลอ่ื นศพเวยี นเมรุ 3 รอบ (พระสงฆน์ ำศพ 1 รูป) 15.45 น. - เชญิ ศพขึน้ ส่เู มรุ 16.00 น. - อ่านคำและยนื ไวอ้ าลัย (ถา้ ม)ี - เจา้ ภาพเชิญแขกผใู้ หญท่ อดผ้าบงั สุกลุ (ลำดับจากผู้อาวโุ สน้อยไปมาก) - ประธานในพิธีทอดผ้าบงั สกุ ลุ หน้าหบี ศพ - เจ้าภาพเชิญแขกขนึ้ ประชุมเพลิง จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องคก์ ารบรหิ ารสว่ นจงั หวัดกาญจนบรุ ี

16 การเกบ็ อฐั ิ ในการกำหนดเวลาเกบ็ อัฐินัน้ สุดแล้วแตเ่ จ้าภาพจะตอ้ งการ โดยนิยมปฏบิ ตั ิกัน 2 แบบคอื 1) ทำพิธีเก็บอัฐิในวันเผา : ใช้ปฏิบัติในงานพระราชทานเพลิงศพ หรืองานฌาปนกจิ ศพที่จดั ใหม้ กี ารบำเพ็ญกุศลอัฐิติดต่อกัน เพือ่ รวบรดั งานใหเ้ สรจ็ ภายในวนั นน้ั 2) ทำพิธเี ก็บอฐั ิในตอนเช้าวันรุ่งขน้ึ : ใช้ปฏิบัติในงานเผาศพที่เจ้าภาพ ประสงค์จะทำบุญอัฐิ ในวนั รุ่งขนึ้ (ทำบุญสามหาบ) หรอื ยังไมจ่ ดั ทำบุญอัฐิเพราะยงั ไม่พร้อม - เจา้ ภาพต้องแจง้ ความประสงค์ให้เจ้าหนา้ ทข่ี องวดั ทราบ และจดั เตรยี มโกศสำหรับบรรจุอัฐิ นำ้ อบหรือนำ้ หอม ดอกไม้ และอาหารคาวหวานสำหรบั ถวายพระสงฆ์ - โดยนิมนตพ์ ระสงฆ์มาพจิ ารณา \"บังสกุ ลุ อฐั ิ\" หรอื ท่ีเรียกวา่ \"แปรรูป\" หรอื \"แปรธาต\"ุ - ในการเกบ็ อัฐินัน้ เจา้ หน้าทส่ี ัปเหร่อ นิยมทำพธิ ีแปรธาตุ คอื นำเอาอัฐิของผ้ตู ายท่ีเผาแลว้ มาวางเปน็ รูปรา่ งคน โดยวางโครงรา่ งให้หนั หัวไปทางทศิ ตะวันตก แลว้ นิมนตพ์ ระสงฆ์ ใหพ้ จิ ารณา \"บังสุกุล ตาย\" กอ่ น แล้วแปรธาตโุ ครงร่างกระดูกให้หันหัวไปทางทิศตะวันออก แล้วนิมนต์พระสงฆ์ให้พิจารณา \"บงั สกุ ลุ เป็น\" อกี ครั้งหนึง่ - ต่อจากน้ันจงึ ใหเ้ จา้ ภาพเก็บอัฐิ ใส่โกศ โดยเลือกเก็บอัฐิจากร่างกาย รวม 6 แห่งคือ กระโหลกศีรษะ 1 ชิ้น แขนทั้ง 2 ขาทั้ง 2 และ ซี่โครง หน้าอก 1 ช้นิ - ส่วนอัฐิท่ีเหลือ รวมทั้ง \"อังคาร\" (ขี้เถ้า) ทั้งหมดนยิ มกวาดรวมเก็บใส่ลุง้ หรือหีบไม้ แล้วเอา ผา้ ขาวห่อเกบ็ ไว้ เพ่ือนำไปบรรจใุ นท่อี ันเหมาะสมหรือนิยมนำไปลอยในทะเล - เมื่อเก็บอัฐิเสร็จแล้ว นำอาหารคาวหวานไปถวายพระสงฆ์ที่นิมนต์มาพิจารณาบังสุกุล (หรือปัจจุบันจะนิยมทำแบบย่อ คือ หลังจากพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ประเคนไทยธรรมบนเมรุเลย) อุปกรณเ์ คร่อื งใชท้ ี่ควรเตรียมพรอ้ มก่อน 1) โกศ สำหรับใส่อฐั ิ 2) ลุง้ หรอื หีบไม้ สำหรับใส่อฐั ิและอังคารทเี่ หลอื (หรือใชผ้ า้ ขาว) 3) ผ้าขาว สำหรับหอ่ ลุ้งหรอื หบี ไม้ (ประมาณ 2 เมตร) 4) ผ้าบังสกุ ลุ สำหรบั ทอดบังสุกุล ก่อนเก็บอัฐิ (นิยมใช้ผา้ สบง) 5) น้ำอบไทย 1 ขวด 6) ดอกมะลิ ดอกไม้ เหรยี ญเงิน (สำหรับโรยบนอัฐ)ิ 7) อาหารคาวหวาน จดั ใสป่ ิน่ โต (สำหรับถวายพระสงฆ์) 8) ดอกไม้ธูปเทียน ไทยธรรม (ตามจำนวนพระสงฆ)์ จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี

17 พิธสี ามหาบ พิธีเก็บอัฐิน้ี โบราณเรยี กวา่ \"พธิ ี 3 หาบ\" คอื 1. หาบของนุ่ง (สบงจีวร) 2. หาบของกนิ (อาหารคาว-หวานถวายพระ) 3. หาบของใช้ (เตา หม้อ ถ้วยชาม เป็นต้น) ญาติพี่น้องช่วยกันหาบเดินเวียนเมรุ 3 รอบ ก่อนเก็บอัฐิ เรียกกันว่า \"พิธีเดินสามหาบ\" แล้วนำหาบสิ่งของไป ตั้งเรียงไว้ที่อาสน์สงฆ์ เจ้าภาพนำเอาผ้าไตรจีวรไปทอดที่กองอัฐิ นิมนต์พระสงฆ์ 3 รูป พิจารณาผ้าบังสุกุล เสร็จแล้วถวายสิ่งของสามหาบ พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศกุศลให้ผู้ตาย เรียกว่า \"พิธีสามหาบ\" ในปัจจุบันพิธีสามหาบ มีจัดกันน้อยลง โดยนิยมจัดอาหารใส่ปิน่ โตถวายพระแทน เพราะไม่ยุ่งยาก สะดวกต่อ การปฎิบัติ บรรจอุ ัฐิ - อฐั ิทเี่ หลือจากการเกบ็ ใสโ่ กศ ซ่งึ ได้รวบรวมใส่หอ่ ผ้าไวน้ ้ัน บางรายก็จะซ้ือเจดียม์ าบรรจไุ ว้ที่วัด บางรายกบ็ รรจไุ ว้ในเจดยี ์หรือพระปรางค์ ซึ่งภายในไดท้ ำไว้เปน็ ชอ่ งๆบางวดั ก็ทำทส่ี ำหรบั บรรจุอัฐไิ วต้ ามผนัง กำแพง ระเบียง ของวหิ ารหรอื โบสถ์ - เม่อื ญาติได้ตกลงแลว้ วา่ จะทำการบรรจอุ ฐั ไิ ว้ที่ใด ก็ตดิ ตอ่ เจ้าหน้าทที่ ีจ่ ัดการ ณ ที่นัน้ - เมื่อเวลาบรรจุ จดุ ธูปเทียนเคารพอฐั ิและบอกผู้ตายวา่ จะบรรจุอฐั ิไว้ในท่ีนน้ั มโี อกาสเม่ือใดก็จะ มาบำเพ็ญกุศลให้ - พร้อมกันนั้น นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป มาบังสุกุลให้แก่อัฐิ โดยมีของถวายพระ พร้อมด้วยใบ ปวารณาตามสมควร - เมื่อไดบ้ ังสกุ ลุ เสรจ็ แล้ว ก็ใช้น้ำอบหรอื นำ้ หอมประพรมท่หี อ่ อัฐนิ ัน้ แล้วจึงนำเข้าในที่บรรจุ ลอยองั คาร คำวา่ \"ลอย\" คอื การปล่อยให้ลอยตามนำ้ (หรืออากาศ) คำว่า \"องั คาร\" คอื เถา้ ถ่านของศพทีเ่ ผาแล้ว คำวา่ \"ลอยองั คาร\" จึงหมายถงึ การนำอัฐไิ ปลอยในนำ้ โดยนยิ มไปลอยกันในแม่นำ้ หรอื ทะเล เหตุผลที่คนนิยมลอยอังคารและอัฐิหลังจากฌาปนกิจศพแล้วนั้น เพราะมี . ความเชอื่ กันว่ารา่ งกายของมนุษย์นนั้ เกดิ ขึ้นจากธาตุ คอื ดนิ น้ำ ลม ไฟ . มาประชุมรวมกัน ครั้นเมื่อร่างกายแตกดับแล้วก็ควรให้มันกลับไปอยู่ . ในสภาพเดมิ ตามธรรมชาติ โดย \"น้ำ\" เป็นหน่งึ ในธาตุหลักท่ีมีลักษณะ . เย็น สงบ ชุ่มชื่น อีกทั้ง \"น้ำ\" ยังเป็นสิ่งที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับ ทุกสรรพสิ่ง ทำให้เกิดความเชื่อถือตามคตินิยมที่ว่า การนำอัฐิ และอังคารไปลอยที่ในแม่น้ำหรือทะเล จะทำให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมี ความสุข มีความสงบ ร่มเย็น ชุ่มชื่น เหมอื นดงั \"นำ้ \" จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารส่วนจงั หวัดกาญจนบรุ ี

18 ตวั อย่าง บทพิธีกรงานฌาปนกจิ กราบนมัสการ....................................................................................................................... กราบเรยี น....................................................................................................................................... และทา่ นผู้มีเกียรตทิ ่เี คารพ กระผม.................................................... ได้รับมอบหมายใหเ้ ป็นพธิ ีกรเพื่อดำเนินพิธีการใน การประกอบพิธฌี าปนกิจ ในวนั น้ี ก่อนอื่นขอเชิญตัวแทนฌาปนกิจ (ธกส. สาขาปากช่อง โดย ...................................................... .................................... ) มอบเงินชว่ ยงาน...เชิญตัวแทนเจา้ ภาพ รับมอบ สรีระสังขารอันเป็นอนิจจังที่ทอดร่างสงบนิ่งอยู่บนจิตกาธาน ณ ฌาปนสถานของ วดั ...................................................... เปน็ สรีระร่างอันไรว้ ิญญาณของ ................................................... เพื่อรอการประกอบพิธีฌาปนกิจ ซึ่งได้จากผู้ที่เป็นที่รักไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ คงเหลือแต่สิ่งที่คงอยู่เพื่อ ระลกึ นึกถงึ คือคุณงามความดีที่ทา่ นได้สร้างสมไว้เม่ือครั้งยังมชี ีวิตอยู่ ซึ่งเปน็ อดตี แห่งความอาลัยอย่างหาที่สุด มิได้ บัดนี้...นาย...................................ได้หยุดพักกระแสแห่งชีวิตของท่านแล้ว ตามวัฎฎะ สงั สาระ แห่งมวลมนษุ ยท์ ุกผู้ทกุ นามมิอาจจะหลีกเลยี่ งได้ ณ โอกาสก่อนทจ่ี ะถึงวาระแห่งการประกอบพิธีฌาปนกจิ ในวนั นน้ี ั้น เจา้ ภาพซ่งึ ประกอบไป ดว้ ย ภรรยา ลกู หลาน และญาติพน่ี อ้ ง ใคร่ขอกราบขอบพระคณุ ทา่ นประธาน และท่านผมู้ ีเกียรตทิ ี่ได้กรุณา มารว่ มงานฌาปนกิจในวนั น้ี ถ้ามี ไม่มีให้ข้ามในวงเล็บนี้ไป(ก่อนที่จะประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลทอดผ้าบังสุกุลและผ้ามหา บังสุกุลนั้น เจ้าภาพมีจิตอันเป็นกุศลที่จะบริจาคเงินและสิ่งของให้กับวัดและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นกุศล อุทศิ ใหก้ ับผู้วายชนม์ ตามลำดบั ดงั ต่อไปน้ี 1. ถวายโต๊ะมา้ น่ังวัดคลองมว่ ง เชญิ ไวยาวัจกรวดั คลองมว่ งเป็นตวั แทนรับมอบ 2. กองทุนอาหารกลางวนั รร.วันอาสาพัฒนา 2520 3. กองทนุ อาหารกลางวัน รร.บา้ นวงั บา้ นสสี ด 4. ชมรมผู้สงู อายุ เรยี นเชญิ คุณหมอสายชล รมยาคม) ณ เวลาน้ี จะไดบ้ ำเพ็ญกุศล ทกั ษิณานปุ าทาน ทอดผา้ บงั สกุ ุล และผ้ามหาบงั สกุ ุล เพือ่ เปน็ กุศลอุทิศให้กับผ้วู ายชนม์ โดยกระผมจะไดเ้ รียนเชญิ กราบเรยี นเชิญท่านผมู้ ีเกยี รติทมี ีรายนามดังต่อไปนี้ เปน็ ตวั แทนทกุ ๆ ทา่ นข้ึนทอดผ้าบังสกุ ลุ และผา้ มหาบังสุกุล ตามลำดบั ตอ่ ไป (ซักซอ้ มการข้ึนทอดผา้ บังสุกุล เช่น การข้ึนวางดอกไมจ้ ันทน์และการลงบันได) จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวดั กาญจนบุรี

19 1. เรียนเชญิ ..............................................................ตำแหน่ง............................................. ได้กรุณาใหเ้ กยี รติขึน้ ทอดผา้ บังสุกุล ๏ กราบนมิ นต.์ ............................................................วัด......................................... เป็นองค์พจิ ารณาผ้าบังสกุ ุล 2. เรียนเชิญ......................................................ตำแหน่ง...................................................... ๏ กราบนมิ นต์.............................................................วัด............................................ 3. เรียนเชญิ .........................................................ตำแหนง่ ............................................... ๏ กราบนิมนต.์ ............................................................วัด.......................................... 4. เรยี นเชิญ...........................................................ตำแหน่ง............................................... ๏ กราบนิมนต.์ ............................................................วัด.......................................... 5. เรียนเชญิ ..............................................................ตำแหน่ง............................................. ๏ กราบนิมนต.์ ............................................................วัด.......................................... 6. เรียนเชญิ ..........................................................ตำแหน่ง............................................... ๏ กราบนมิ นต์.............................................................วดั .......................................... 7. เรียนเชิญ...........................................................ตำแหนง่ ............................................... ๏ กราบนิมนต.์ ............................................................วัด.......................................... 8. เรยี นเชิญ.............................................ตำแหน่ง.............................................................. ๏ กราบนิมนต.์ ..........................................วดั .......................................................... ทา่ นประธานและท่านผู้มเี กียรตทิ ี่เคารพครับ ก่อนที่กระผมจะได้กราบเรียนเชิญท่านประธานในพิธี ซึ่งในวันนี้เจ้าภาพได้รับเกียรติอย่างสูงยิ่งจาก (ชื่อ)................................................................................ได้ขึ้นทอดผ้ามหาบังสุกุลน้ัน ใคร่ขอนำประวัติของ (ช่ือผู้วายชนม)์ ...................................................... มาอ่าน เพื่อเปน็ มรณัสติต่อไป จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวัดกาญจนบรุ ี

20 ประวตั ิโดยสังเขปของนาย................................................................. นาย............................................... เกิดเมื่อวันที่ .......................................... ที่ บ้าน ......................... ตำบล............................ อำเภอ...................................... จังหวัด ..................................... เป็นบุตรของ คุณพ่อ....................................... คุณแม่................................... มีพี่น้องทั้งหมด ............................ คน โดยมพี น่ี ้องทั้งหมด ...................... คน ดังนี้ 1. .................................................................. 2. ................................................................... 3. .................................................................. 4. .................................................................. การศึกษา จบชั้น....................... ที่โรงเรียน......................................................................... เมอ่ื ถึงวัยอนั ควร ไดส้ มรสกับ............................................ และมีบตุ รธดิ าด้วยกัน ...... คน คือ 1................................................ 2. ......................................... อาชพี การงาน นาย....................................................... ปจั จุบันประกอบอาชพี ....................................................... ชีวติ สมรส.................................................................................................................... .. อุปนสิ ยั และการมสี ว่ นรว่ มกับชุมชน นาย................................................. เปน็ คนขยนั และตั้งใจทำงาน จนกระทั่งไม่มีเวลาหยุด พัก ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เป็นคนมีระเบียบ ผลงานต้องออกมาดีเสมอ เป็นคนที่รักครอบครัวอย่าง เสมอต้นเสมอปลาย รัก ห่วงใยลูก ๆ ภรรยา และญาติพี่น้องทุกคน ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากของ ตนเอง สำหรบั กบั เพอ่ื นบ้าน กเ็ ป็นคนมอี ัธยาศยั ไมตรีดี มนี ้ำใจ และเปน็ ทร่ี ักใครข่ องทกุ คน การมสี ่วนร่วมกับชุมชน -เป็นผรู้ ่วมจดั ต้งั กลุ่มฌาปนกจิ หมบู่ ้านหมทู่ ่ี 4 เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 -เปน็ กรรมการหมบู่ า้ น -เป็นกรรมการวดั คลองม่วง................) ไม่ต้องมีเพราะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ(ด้านสุขภาพร่างกาย นาย................. ปกติเป็นคนมีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง ไม่เคยเจ็บป่วยถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล เมื่อต้นปีนี้รู้สึกไม่สบาย จึงไปหาหมอ แล ะต่อมาเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ลูก ๆ เห็นว่าคุณพ่อควรได้รับการรักษาท่ี โรงพยาบาลท่ีดีกวา่ นี้ จึงไดพ้ าไปรบั การรกั ษาท่ีโรงพยาบาลจุฬา กรงุ เทพมหานคร ) วันที่ ............................... เวลาประมาณ .................................. น. จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวดั กาญจนบุรี

21 นาย...............................................ได้จากภรรยา ลกู หลาน ญาตสิ นทิ มติ รสหาย อย่างไมม่ ีวนั กลับ สิรอิ ายุได้ ............................. ปี (บอกสาเหตุของการเสยี ชีวติ ) อโหสกิ มั มัง เมื่อครงั้ ผู้วายชนม์ยังมีชีวิตอยู่ หากได้ลว่ งเกินท่าน หรือท่านได้ลว่ งเกิน จะด้วย เจตนาหรอื หาไมก่ ต็ าม ไม่วา่ จะเปน็ กายกรรม วจกี รรม หรือมโนกรรม ขอได้โปรดอโหสิกรรมแกก่ ัน ด้วยบุญกุศลท่.ี นาย............................. ได้สร้างสมไว้เมื่อครง้ั ยงั มชี วี ิตอยู่ ตลอดจนกุศลผลบุญ ที่ทุกท่านได้ร่วมกันบำเพ็ญในวันนี้ ขอได้โปรดเป็นพลวปัจจัย เป็นกุศลน้อมนำส่งให้ดวงวิญญาณของ. นาย.............................................. จงไปส่สู คุ ติในห้วงสมั ปรายภพดว้ ยเทอญ ทา่ นประธานและท่านผู้มเี กยี รตทิ ่เี คารพครับ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ท่านได้รจนาไว้ในกฤษณาสอนน้อง เพื่อเป็นอุทาหรณ์ เตอื นสตพิ วกเราทา่ นท้งั หลายวา่ พฤษภกาสร อีกกุญชรอนั ปลดปลง โททนต์เสนง่ คง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสนิ้ ท้งั อินทรีย์ สถติ ท่วั แต่ชั่วดี ประดบั ไว้ในโลกา เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์เป็นครั้งสุดท้าย ขอเรียนเชิญแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ไดก้ รณุ ายืนสงบน่ิง เปน็ เวลาประมาณ 1 นาที ............ขอบคุณครบั ..... เชิญนั่งครับ (ซักซอ้ มการข้ึนวาง ดอกไม้จนั ทน)์ ลำดับต่อไปจะเป็นการทอดผ้ามหาบังสุกุล และประชุมเพลิงของท่านประธานฝ่ายฆราวาส และประธานฝา่ ยสงฆ์ กราบเรียนเชิญ............................................................................ประธานในพิธี ได้กรุณาให้เกียรตขิ ้นึ ทอดผ้ามหาบงั สุกลุ และ ประชมุ เพลิง กราบนิมนต์...................................................................................ประธานฝ่ายสงฆ์ ไดเ้ ปน็ องค์พจิ ารณาผา้ มหาบังสุกลุ และประชุมเพลงิ กราบนมิ นตค์ รับ (กลา่ วขอบคณุ และอวยพรแขกท่ีมาร่วมงาน เดนิ ทางกลบั โดยสวัสดิภาพ) จดั ทำโดย กองการเจา้ หนา้ ที่ องค์การบรหิ ารส่วนจงั หวัดกาญจนบรุ ี

22 เอกสารอ้างอิง 1) พิธกี าร-พธิ กี รรม (ของกองทพั เรือ) 2) ค่มู อื การประกอบพิธีศพ (ของกรมตำรวจ สำนกั งานตำรวจแหง่ ชาติ) 3) โครงการสอื่ สารสร้างความตระหนกั วถิ ีสู่การตายอยา่ งสงบเครื่อข่ายพทุ ธิกา จดั ทำโดย กองการเจา้ หน้าที่ องค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวัดกาญจนบุรี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook