Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความงานวิจัย

บทความงานวิจัย

Published by pukwan77, 2018-09-08 01:07:38

Description: บทความงานวิจัยที่ นักเรียนามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ในการเรียนการสอนได้

Search

Read the Text Version

เพศวิถที ีก่ ำ�ลงั เปลี่ยนแปลงไป ในสังคมไทย Sexuality Transition in Thai Society กฤตยา อาชวนจิ กลุ Kritaya Archavanitkul 1บทคัดย่อ บทความน้ีอภิปรายถึงเพศวิถีท่ีกำ�ลังเปลี่ยนไปและไม่เปลี่ยนไปในสังคมไทย ท่ีเปล่ียนไปมี 4 เรื่องคือ (1) เพศสัมพันธ์ทเ่ี ปล่ยี นไป โดยเฉพาะเพศสัมพนั ธ์คร้งั แรกของผชู้ ายไทย (2) เพศวถิ ที างเลือกทีเ่ ปลี่ยนไปในความหลากหลายทางเพศ (3) การคา้บริการทางเพศที่เปล่ียนไป และ (4) เพศศึกษาที่เปล่ียนไป ส่วนเพศวิถีที่ยังคงไม่เปล่ียนแปลงเลยในรอบคร่ึงศตวรรษที่ผ่านมาคือ การควบคุมเรื่องเพศของผู้หญิง ที่สะท้อนออกมาในวัฒนธรรมทางเพศ โดยเฉพาะเร่ืองความรุนแรงทางเพศ ท่ีผู้หญิงยังเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเพศไม่เปลี่ยนแปลง และผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทำ�แท้งที่ปลอดภัยได้การเปลีย่ นแปลงทงั้ หมดเกิดข้นึ ภายใตข้ อ้ สันนิษฐานว่า มาจากบริบทสงั คมการเมือง 3 เรือ่ งคือ (1) การเปล่ยี นแปลงทางการเมืองหลงั เหตกุ ารณ์ 14 ตลุ าคม 2516 น�ำ มาสเู่ สรภี าพทางการเมอื งและเสรภี าพเพศวถิ ี (2) การระบาดของเอชไอว/ี เอดสแ์ ละการเตบิ โตของภาคประชาสงั คม (ประมาณหลัง พ.ศ. 2530) และ (3) การเติบโตของยคุ ไอทีและส่ือสารสนเทศ ต้งั แต่ พ.ศ. 2540 เปน็ ต้นมาซ่ึงแต่ละบริบทได้ส่งผลตอ่ การเปลี่ยนแปลงเพศวิถี สิทธิและเสรีภาพทางเพศของปัจเจกบุคคลดว้ ยAbstract This article examines the four transitions of sexuality in Thai society: (1) changes in the pattern of Thai men’sfirst sex; (2) changes among sexual minorities in relation to sexual diversities; (3) changes in the sex industry; and(4) changes in sex education. Nonetheless, there is one aspect of sexuality that has never changed during the last50 years: ‘the control of women sexuality’ under the strong grip of Thai sexual culture. Two concrete examples aresexual violence against women and abortion rights. It is assumed that the sexuality transitions have been the resultin three social and political events. Chronologically these are: (1) political freedom leading to sexuality freedom afterthe 1974 student uprising; (2) the AIDS pandemic and an increasing role of civil society in public policy (after 1987);and (3) the growth of information technology and cyberspace (from 1997 onwards). Each event has influencedchanges in individual sexuality, rights, and freedom.1 รองศาสตราจารย์ ประจ�ำ สถาบนั วจิ ัยประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลัยมหิดล

1. วา่ ด้วยความหมายของคำ� ว่า ‘เพศ’ บทความนีข้ อเปดิ ฉากวา่ ดว้ ยความหมายของคำ�ว่า ‘เพศ’ ซึง่ มักจะมคี วามหมายอยา่ งนอ้ ย 3 นัย คอื (1) เพศสรีระ (sex) เป็น ‘เพศ’ ที่หมายถึงสรีระร่างกาย หรือเขียนให้ตรงก็คือ อวัยวะท่ีบ่งบอกว่า เปน็ เพศอะไร (2) เพศภาวะ (gender) เป็น ‘เพศ’ ทีห่ มายถงึ ภาวะแห่งเพศทีถ่ ูกประกอบสร้างทางสงั คม เพศภาวะ ที่เราคุ้นเคยและถูกขัดเกลาหลอมสร้างกันมา ก็คือ ความเป็นหญิงความเป็นชาย ดังน้ันในอีกแง่มุมหน่ึง เพศภาวะจึงเป็นเรอื่ งของบทบาทในเรอ่ื งต่างๆ ทส่ี ังคมก�ำ หนดใหก้ ับสถานะทางเพศซ่ึงมกั ดจู ากเพศสรีระ คอื หญงิ ชาย และหากสงั คมเกดิ เปลย่ี นการก�ำ หนดสถานะทางเพศวา่ อาจมาจากองคป์ ระกอบอน่ื ๆ นอกเหนอื จาก เพศสรีระ สถานะทางเพศก็จะมเี พมิ่ มากข้นึ เช่น เกย์ กะเทย ทอม ด้ี ฯลฯ อนั จะน�ำ ไปสูก่ ารก�ำ หนดบทบาท เพศต่างๆ มากกวา่ หญงิ และชาย2 (3) เพศวิถี (sexuality) หมายถึง ‘วิถีชีวิตทางเพศทถี่ กู หลอมสร้างจากค่านิยม บรรทัดฐาน และระบบ วิธีคิด วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความปรารถนาและการแสดงออกทางเพศ ความคิดเก่ียวกับคู่รัก คู่ชีวิตในอุดมคติ และกามกิจ’ ซ่ึงเป็นระบบความคิดและพฤติกรรมท่ีมีความหมายทางสังคม สัมพันธ์กับมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สงั คม และวฒั นธรรมทีก่ �ำ หนดและสร้างความหมายใหแ้ ก่เร่อื งเพศในหลากหลายแง่มมุ ‘เรอื่ งเพศ’ ที่ต้งั ใจจะสนทนาในบทความนีอ้ ยู่ในความหมายท่ีสาม ค�ำ วา่ เพศวถิ ี มนี กั สตรนี ยิ มไทยพยายามอธบิ ายความหมายอยหู่ ลายคน และขยายออกไปจากทผ่ี เู้ ขยี น นิยามไวข้ า้ งตน้ ดังเชน่ พริสรา แซ่ก้วย (2547:14) อธิบายวา่ คอื วิธปี ฏิบตั ทิ ่ีเก่ยี วกบั ความปรารถนาทางเพศ หรอื ทเ่ี รียกไวใ้ นกฎหมายลา้ นนาดัง้ เดมิ ว่า ‘ตัณหาอาลัย’ โดยในแต่ละระบบสังคมน้ัน ความปรารถนาทางเพศ ของปัจเจกบุคคลเปน็ มากกว่าพฤติกรรมตามธรรมชาติ วา่ ใครมเี พศสมั พันธ์กบั ใคร ทีไ่ หน อย่างไร แตห่ มาย รวมถึงความปรารถนาที่ดี ที่เหมาะสม การเก้ียวพาราสี มโนทัศน์เก่ียวกับคู่ในอุดมคติ ฯลฯ จึงเป็นทั้งเร่ือง การสร้างความหมายทางสังคม เป็นเป้าหมายของการควบคุมทางสังคมและการเมือง และเป็นพื้นที่ของ การยอมจำ�นนและการต่อสู้ในระดับปัจเจก ขณะท่ี วิลาสินี พิพิธกุล (2547) ให้ความหมายว่า เพศวิถี คือ ระบบความคิด ความเชื่อเร่ืองเพศ เปน็ กระบวนการทางสงั คมและวฒั นธรรมทกี่ �ำ หนด จดั การ ก�ำ กบั ควบคมุ รวมทงั้ การแสดงออกเกย่ี วกบั รสนยิ ม ทางเพศ ความปรารถนา ความพึงพอใจในเรอ่ื งเพศ การแสดงท่าทที ี่เกยี่ วกับเรื่องเพศ การแต่งกาย เปา้ หมาย ในความสนใจทางเพศ และการสรา้ งจนิ ตนาการทเี่ กยี่ วกบั เรอ่ื งเพศ ไปจนถงึ การออกกฎเกณฑ์ ระเบยี บกฎหมาย ต่างๆ ที่มาควบคุมหรือกำ�กับดูแลเร่ืองเพศของคนในสังคม โดยทั่วไปแล้ว สังคมจะมีการสร้างบรรทัดฐาน ชุดหนึ่งที่ยอมรับหรือให้ความชอบธรรมกับเพศวิถีที่กำ�หนดข้ึนเท่านั้น ส่วน ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ (2550) ไดใ้ หร้ ายละเอยี ดถงึ แง่มมุ ของเพศวถิ ีว่ามี 6 มติ ิ ดังนี้3 2 ขอบคณุ รองศาสตราจารย์ ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ ทเ่ี พ่มิ คำ�อธิบายของเพศภาวะในส่วนนี้ 3 ปรบั จากการบรรยายของ ชลดิ าภรณ์ สง่ สมั พนั ธ.์ การสมั มนาเรอื่ งเพศวถิ แี ละการปรบั ใชใ้ นงานสง่ เสรมิ สขุ ภาพทางเพศ จดั โดยองคก์ ารแพธ UNAIDS และกรมควบคมุ โรค เมอ่ื วนั ที่ 5-9 พฤศจกิ ายน 2550.44 ประชากรและสังคม 2554

(1) มิติของความปรารถนา การประพฤติ ปฏิบัติ และอัตลักษณ์ (erotic desires, practices and identity) เพศวถิ ที เี่ กยี่ วขอ้ งกบั อตั ลกั ษณ์ คอื การนยิ ามตวั เองในทางเพศ ซงึ่ เชอื่ มโยงกบั เพศภาวะ (gender) แต่อัตลักษณ์ไม่ได้ข้ึนอยกู่ บั การท่นี ยิ ามตัวเองเพียงอยา่ งเดียว ยังขน้ึ อยูก่ บั การทีค่ นอืน่ นยิ ามหรือมองว่าเราเป็นอยา่ งไรในทางเพศด้วย (2) มิติการนำ�เสนอร่างกาย (appearances and display) เราอยากให้คนอ่ืนเห็นเราเป็นอย่างไร เรากน็ ำ�เสนอตวั เองอยา่ งนนั้ อาจดว้ ยทรงผม หรอื เสอื้ ผา้ เพอื่ นำ�ความเปน็ เพศหญงิ เพศชาย หรอื เพศทางเลอื กอื่นๆ (3) มิติของพฤตกิ รรม และกิริยามารยาท (behaviors and manners) ทเ่ี กี่ยวขอ้ งกบั ความเป็นตวั ตน ในทางเพศ ซ่ึงการกระทำ�แบบเดยี วกันแตอ่ าจถกู ตีความไม่เหมอื นกนั ข้นึ อยู่กบั บริบท ขึ้นอยูก่ บั ความพึงพอใจ หรือความรสู้ กึ ที่เรามตี ่อคนคนน้ัน เป็นความรสู้ กึ สว่ นตวั (4) มติ ิของการดึงดูดทางเพศ (attraction) สังคมวางกฎกติกาของความรกั ให้รักเฉพาะเพ่ือนต่างเพศ เท่าน้ัน แต่คนที่รักเพศเดียวกันก็ไม่ได้หลุดออกจากกติกาของการรักต่างเพศ เพราะคนที่รัก เพศเดียวกนั กจ็ ะรักกบั คนท่มี เี พศภาวะเดียวกับเราเทา่ นนั้ ดังนน้ั จงึ ไมม่ ีใครหลุดจากกรอบนี้ ซ่งึ ถา้ หลดุ จากกรอบนคี้ อื สามารถสนใจหรอื ดงึ ดดู กบั คนไดท้ กุ คน ทกุ เพศ ทกุ วยั นอกจากนค้ี วามรกั ก็ไมไ่ ดข้ ้นึ อยกู่ ับการท่เี ราต้องรักต่างเพศเทา่ นน้ั แต่เก่ยี วข้องกับ เชอ้ื ชาติ ชนชน้ั และอ่นื ๆ อกี ด้วย (5) มิตขิ องความสมั พันธ์ (relationship) กฎกตกิ าวา่ ดว้ ยการดำ�เนนิ ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งชาย - หญิง เปลยี่ นแปลงไปตามยคุ สมัย และวฒั นธรรม ซึ่งบางสังคมไมม่ ีกตกิ าของการจบความสัมพันธ์ (6) มิติของเพศสัมพันธ์ (having sex) เพศวิถีมีการนิยามว่าอะไรคือการร่วมเพศ ทำ�อย่างไรจึง เรียกวา่ การรว่ มเพศ และการร่วมเพศทีถ่ ูกตอ้ งเป็นอยา่ งไร และท่ผี ดิ ปกติเปน็ อย่างไร จากคำ�อธิบายท้ังหมดนี้ซ่อนนัยที่ส�ำ คัญอย่างหน่ึงคือ เพศวิถีมิใช่เร่ืองหยุดน่ิง แต่มีการเปล่ียนแปลงตลอดเวลา ในแง่ปัจเจกบุคคล เพศวิถีจึงเป็นกระบวนการชีวิตท่ียาวนานของคนๆ หนึ่ง มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะตอบโต้หรือยอมตามต่อกรอบกติกาเรื่องเพศท่ีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และสัมพันธ์กับเหตกุ ารณ์ตา่ งๆ ในชว่ งเวลาหนง่ึ ๆ ในแง่ระบบสังคม เพศวิถีจงึ มีที่ทางอยู่บนกฎเกณฑข์ องการเมอื ง ศีลธรรมและแนวปฏิบัติเรื่องเพศ หรือวัฒนธรรมทางเพศในแต่ละสังคม ซ่ึงเปล่ียนแปลงไปตามกาลเวลา บทความน้ีต้ังใจจะเป็นงานนำ�ร่องทท่ี ดลองรวบรวมขอ้ มูลและวเิ คราะห์ดูว่า ในชว่ งประมาณ 50 ปีทผ่ี ่านมานี้ เพศวิถีในสงั คมไทยทีเ่ ปลยี่ นแปลงไป มเี รอื่ งอะไรบา้ ง และทย่ี งั คงไมเ่ ปลยี่ นแปลงไปมอี ะไรบ้าง ทจี่ รงิ มีตัวอย่างของการเปล่ียนแปลงเรื่องเพศวถิ ที ีเ่ ห็นได้ชัดมากมายในบ้านเรา ไดแ้ ก่ วธิ ีการคมุ ก�ำ เนิดที่เข้ามาสอดแทรกในชีวิตคู่ ‘การทำ�รักโดยไม่ต้องทำ�ลูก’ ได้เป็นแนวปฏิบัติท่ีเปลี่ยนแปลงไปชนิดไม่สามารถกู่คืนกลับให้เหมือนเดิมก่อนหน้าน้ี ‘การอยู่ก่อนแต่ง’ เป็นเร่ืองท่ีไม่สร้างความแปลกใจอีกต่อไป รวมถึง‘การปรากฏตัวชัดเจนข้ึนของกลุ่มคนท่ีรักเพศเดียวกัน หรือผู้มีเพศวิถีทางเลือก’ ไม่ว่าจะเป็นเกย์ กะเทยสาวประเภทสอง ทอม ดี้ ตุ๊ด แตว๋ แต๊บ และสดั สว่ นของคนทีต่ ดั สนิ ใจอยู่เปน็ โสดเพ่ิมสงู ขน้ึ มากกวา่ แต่กอ่ นโดยเฉพาะผหู้ ญงิ เป็นต้น เพศวิถที ก่ี ำ�ลงั เปล่ยี นแปลงไปในสงั คมไทย 45

บทความทดลองน้จี ะจับประเด็น เพศวถิ ที ี่ก�ำ ลังเปล่ยี นไป 4 เร่อื งคอื (1) เพศสมั พนั ธ์ โดยเฉพาะเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน (2) เพศวิถีทางเลือกกับความหลากหลายทางเพศ (3) การค้าบริการทางเพศและ (4) เพศศกึ ษารอบด้าน (sexuality education) และ เพศวิถีทีย่ ังไมเ่ ปลย่ี นแปลง ทส่ี ำ�คัญท่ีสดุ คอืการควบคุมเรื่องเพศของผู้หญิง ท่ีสะท้อนออกมาในวัฒนธรรมทางเพศ โดยเฉพาะเรื่องความรุนแรงทางเพศและการทำ�แท้ง โดยตอนท้ายสุดจะวิเคราะห์เชิงแนวคิดว่า สถานการณ์ท่ีเปลี่ยนแปลงไปนี้เชื่อมโยงกับเร่ืองการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และประเด็นสทิ ธิ เสรีภาพ ของปัจเจกบุคคลอยา่ งไร2. เพศวิถที ่ีเปลย่ี นแปลงไป 2.1 เพศสมั พนั ธ์ท่ีเปล่ียนไป ในที่น้ีเสนอการมองจากเพศสัมพันธ์คร้ังแรกของชายไทย โดยเปรียบเทียบจากการวิจัยระดับชาติหลายช้นิ ทร่ี วบรวมโดยนมิ่ อนงค์ งามประภาสม (Ngamprapasom, 2001) ท่ีมคี ำ�ถามวา่ ค่นู อนคนแรกของคณุ คอื ใคร ค�ำ ตอบทใี่ หเ้ ลอื กคอื ภรรยา พนกั งานหญงิ บรกิ าร เพอื่ นสนทิ และคนอนื่ ๆ การอา่ นผลครงั้ นผ้ี เู้ ขยี นค�ำ นวณอายุผ้ตู อบ ณ พ.ศ. 2553 เพื่อให้ความร้สู ึกเปน็ ปัจจบุ ันมากทส่ี ุด พบแบบแผนทีน่ า่ สนใจดงั น้ี (ดูรปู 1) ในรุ่นของชายสูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป คือสองกลุ่มซ้ายสุดในรูป สัดส่วนมากกว่าคร่ึงหนึ่งมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกกับภรรยาตนเอง แม้สัดส่วนของชายรุ่นถัดมาคืออายุ 46 - 60 ปี ยังคงมีสัดส่วนการมีเซ็กส์ครั้งแรกกับคู่ตนเองมากท่ีสุด แต่จำ�นวนเปอร์เซ็นต์ลดลงไปมากคือ เหลือเพียงประมาณหน่ึงในสามขณะที่สัดส่วนของผู้ตอบว่าคู่นอนคนแรกคือหญิงบริการก็เพ่ิมตามมาติดๆ ในสัดส่วนท่ีใกล้เคียงกัน แต่ในรนุ่ อายุ 41 - 45 ปี กลบั มีประสบการณ์ทางเพศครั้งแรกกับหญิงบริการมากทสี่ ดุ คอื ร้อยละ 43 และรุน่ น้องถัดมา คืออายุ 36 - 40 ปี ซึ่งเกิดในช่วง พ.ศ. 2513 - 2517 เป็นรุ่นท่ีเร่ิมมีเซ็กส์ครั้งแรกกับเพื่อนสนิทเป็นสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 43) และรุ่นที่อายุน้อยที่สุดในรูป (อายุ 31 - 35 ปี) สองในสาม (ร้อยละ 62)มปี ระสบการณ์ทางเพศครัง้ แรกกับเพื่อน รอ้ ยละ 14 กบั หญงิ บริการ และร้อยละ 2 กับค่สู มรสของตนเอง46 ประชากรและสงั คม 2554

รูปท่ี 1 ผูช้ ายไทยรุ่นต่างๆ มีเพศสัมพนั ธค์ ร้ังแรกกบั ใคร ? 100 80 64 60 52 62รอยละ 37 3635 43 43 30 33 31 40 21 27 22 20 131013 20 19 1617 1118 1917 19 2018 9 14 0 9 2 2483-2487 2488-2492 2493-2497 2498-2502 2503-2507 2508-2512 2513-2517 2518-2522 พ.ศ.เกิด (66-70) (61-65) (56-60) (51-55) (46-50) (41-45) (36-40) (31-35) พ(อ.ศาย.2ุ 5ณ53) เพ่ือนสนิท อื่นๆ คสู มรส หญงิ บริการทม่ี า: กฤตยา อาชวนจิ กุล และกนกวรรณ ธราวรรณ, 2550. (ปรบั จาก Ngamprapasom, 2001, รูปที่ 2) น่าสังเกตว่า คำ�ตอบ ‘คนอ่ืนๆ’ เพิ่มสูงข้ึนเร่ือยๆ ตามรุ่นอายุ โดยเฉพาะคนที่เกิดช่วงระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2517 และ พ.ศ. 2518 - 2522 ตอบวา่ มีเพศสมั พนั ธ์คร้ังแรกกับ “คนอน่ื ๆ” สูงถึง ร้อยละ 27 และรอ้ ยละ 22 ตามลำ�ดบั ค�ำ ถามกค็ อื เราจะตคี วามคนอ่นื ๆ หรือแมแ้ ต่ ‘เพ่อื นสนิท’ (ร้อยละ 62) อยา่ งไร?เชน่ เปน็ การมเี พศสมั พนั ธก์ บั คนเพศเดยี วกนั หรอื ตา่ งเพศ นนั่ คอื การสำ�รวจในลกั ษณะน้ี ยงั คงวางอยภู่ ายใต้วธิ คี ดิ แบบรกั ตา่ งเพศอยู่ ท�ำ ใหผ้ ลการศกึ ษาโนม้ เอยี งไปในทางการตอกย�ำ้ บรรทดั ฐานของรกั ตา่ งเพศคอ่ นขา้ งมากและชีว้ า่ การสำ�รวจเรอื่ งเพศที่ผ่านมายังขาดความละเอียดออ่ นเร่ืองการรกั เพศเดยี วกัน ขณะเดียวกนั ก็ไมอ่ าจใหภ้ าพการเปล่ยี นแปลงทีส่ ะท้อนเรือ่ งความหลากหลายทางเพศ4 ในช่วงสองทศวรรษล่าสุด (พ.ศ. 2534 - 2553) หรือเริ่มนับแต่มีการระบาดของเอดส์เป็นต้นมามีงานวิจัยสำ�รวจจำ�นวนมากท่ีมุ่งศึกษาพฤติกรรมทางเพศกลุ่มวัยรุ่น เน่ืองจากถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเส่ียงทางเพศ พบผลสอดคล้องกันว่า สัดส่วนของวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันต้ังแต่วัยเรียนมีสูงข้ึนกว่าแต่ก่อนมาก และมีแนวโน้มท่ีจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเม่ืออายุน้อยลงเร่ือยๆ การสำ�รวจระดับชาติก่อนพ.ศ. 2543 พบอายทุ ีเ่ ร่ิมมเี พศสมั พันธค์ รง้ั แรกเฉลย่ี ท่อี ายุประมาณ 14 - 17 ปี (Ngamprapasom, 2001)แตผ่ ลการส�ำ รวจพฤตกิ รรมทางเพศระดับชาตลิ า่ สุด ของสถาบนั วจิ ยั ประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลยั มหดิ ลเม่ือ พ.ศ. 2549 พบว่า อายทุ ี่เร่ิมมเี ซก็ สใ์ นกล่มุ ผถู้ กู สมั ภาษณ์อายุ 18 - 24 ปี ผูช้ ายอยทู่ ชี่ ว่ งอายุ 10 - 13 ปีและผู้หญงิ อยทู่ ่ี 11 - 14 ปี (Sabaiying, 2009:83) งานส�ำ รวจพฤตกิ รรมทางเพศระดบั ชาตลิ า่ สดุ ดงั กลา่ ว ยงั พบวา่ สดั สว่ นของวยั รนุ่ ชายไทยอายุ 15 - 18 ปีทมี่ ปี ระสบการณท์ างเพศแล้วมสี งู ถงึ รอ้ ยละ 61 โดยเกอื บทั้งหมดเปน็ เซก็ สน์ อกการแต่งงาน ซึ่งเปน็ สัดส่วนท่ีสูงมากเมอ่ื เปรียบเทยี บกบั วยั ร่นุ ฟิลปิ ปินส์ (รอ้ ยละ 45) และเวยี ดนาม (ร้อยละ 10) (Phodhisiha & Xenos,4 ขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ ทก่ี ระต้นุ ใหม้ องประเดน็ นี้ เพศวิถที ี่กำ�ลังเปลย่ี นแปลงไปในสังคมไทย 47

2009:65 - 66) ข้อมูลชุดนี้เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียด พบว่าผู้ชายอายุ 20 - 24 ปี และอายุ 18 - 19 ปีเรยี นรเู้ รอื่ งเพศครง้ั แรกจากหญงิ บรกิ ารมเี พยี งรอ้ ยละ 4 และรอ้ ยละ 2 ตามล�ำ ดบั เทา่ นน้ั และมากกวา่ ครง่ึ หนง่ึมีทัศนคติทางบวกต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน ท้ังนี้วัยรุ่นไทยรายงานว่าพ่อแม่ตนเองยอมรับการมีเพศสัมพนั ธ์นอกการแต่งงานของลูกชายมากกวา่ ลูกสาว (Sabaiying, 2009: 73 - 76) กล่าวได้ว่า ความเปล่ียนแปลงที่ชัดเจนในเรื่องน้ีก็คือ ชายไทยเรียนรู้ประสบการณ์ทางเพศคร้ังแรกกับหญงิ บริการและคสู่ มรสของตนเองน้อยลงเรื่อยๆ โดยท่ีสว่ นใหญ่มเี ซ็กส์คร้งั แรกกบั เพ่ือนหรือกกิ๊ เพศสมั พันธ์กอ่ นแตง่ งาน และการอยกู่ อ่ นแตง่ มแี นวโนม้ จะเปน็ บรรทดั ฐานของคนวยั ทำ�งาน และหนมุ่ สาวในวยั เรยี นหนงั สอื(Yamarat, 2010) สะท้อนว่าความคิดเรื่องการรักษาพรหมจารีของหญิงไทยไว้จนกว่าจะแต่งงานผ่อนคลายลงมาก และคาถา ‘รกั นวลสงวนตวั ’ ทีม่ คี วามหมายถึงให้มีเซ็กส์เมือ่ แตง่ งาน กค็ ลายมนต์ในทางปฏิบตั ิลงมากเชน่ กนั 2.2 เพศวถิ ที างเลอื กทเี่ ปลยี่ นไปในความหลากหลายทางเพศ ก่อนอ่ืนขออธิบายถึงศัพท์ ‘ความหลากหลายทางเพศ (sexual diversities)’ ซึ่งถูกใช้เป็นช่ือเครือข่ายคนทำ�งานเก่ียวกับสิทธิของคนรักเพศเดียวกันเมื่อกลางปี 25485 เพื่อให้หมายรวมถึงผู้มีเพศวิถีทางเลือก ทกุ แบบ ไมว่ า่ จะเป็น ชายรกั ชาย หญงิ รักหญงิ เกย์คิง เกยค์ วีน ควงิ ทอม ดี้ กะเทย สาวประเภทสอง คนขา้ ม เพศ ตุ๊ด แต๊บ และ ฯลฯ รวมถึงผู้ท่ีรักต่างเพศด้วย แต่ภายหลังเครือข่ายดังกล่าวมีแนวโน้มท่ีจะใช้ศัพท์น้ี เรยี กกลมุ่ LGBTI (lesbian, gay, bisexual, transgender, intersex6) วา่ คอื กลมุ่ ผมู้ คี วามหลากหลายทางเพศ สำ�หรับคำ�ว่า ‘เพศวิถีทางเลือก’ ผู้เขียนต้ังใจให้มีความหมายถึง เพศวิถีของคนส่วนน้อย (sexualminorities) หรือหลายคนเรียกว่า ‘เพศที่สาม’ ซ่ึงดำ�รงอยู่ในสังคมไทยมาเน่ินนาน ดังปรากฏมีรูปจิตรกรรมฝาผนังของหญิงรักหญิงในวัดคงคาราม จังหวัดราชบุรี7 และในตำ�นานไทยเก่าแก่เร่ืองกำ�เนิดมนุษย์ท่ีกล่าวว่า ‘โลกประกอบด้วยสามเพศ: ผู้ชาย ผหู้ ญงิ และกะเทย กะเทยในต�ำ นานมิใชช่ ายหรือหญิงท่ีผดิ ปกติ กะเทย เป็น มนษุ ย์จ�ำ พวกหนึง่ ทแ่ี ตกต่างซึง่ อาจมรี ่างกายเปน็ ชายหรอื หญงิ ’8 แต่ด้วยเหตทุ ่สี ังคมไทยในอดตี หมาดๆ ยังคงจัดกลมุ่ คนเหล่านว้ี ่า ‘มคี วามผดิ ปกติทางเพศ’ หรือ ‘เบย่ี งเบนทางเพศ’ ทำ�ใหใ้ นอดตี คนกลุ่มน้ีมักตอ้ งอยูอ่ ยา่ งปกปดิ ไมม่ ีกลมุ่ องค์กรทีเ่ ปน็ ปากเสยี งของตนเอง 5 ผูเ้ ขียนเป็นผเู้ สนอให้ใช้ศพั ทน์ ี้คร้ังแรกในการประชมุ วิชาการนานาชาตเิ ร่อื ง ‘เพศวถิ ี เพศภาวะ และสทิ ธใิ นเอเชยี : วา่ ดว้ ยเร่ืองเควียร์ศึกษา’ จัดโดยสำ�นักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายเควียร์แห่งภาคพ้ืนเอเชียแปซิฟิก ณ โรงแรม แอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ เม่ือวันท่ี 7 - 9 กรกฎาคม 2548 6 บุคคลที่มีอวัยวะเพศที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นต้ังแต่แรกคลอด หรือพัฒนาเมื่อร่างกายเติบโตข้ึน เช่น มลี กั ษณะภายนอกเปน็ ผหู้ ญงิ แตม่ ลี กั ษณะอวยั วะเพศใกลเ้ คยี งเพศชาย หรอื เดก็ หญงิ ทเี่ กดิ มาพรอ้ มปมุ่ กระสนั (clitoris) ใหญ่ หรอื เดก็ ชาย ท่ีเกดิ มามีลึงคเ์ ลก็ จว๋ิ หรอื ผู้ทีเ่ กิดมาทม่ี ีทงั้ โครโมโซม XX และ XY เป็นตน้ (http://www.isna.org/faq/what_is_intersex) 7 เป็นวัดมอญมีอายุมากกว่า 200 ปี ภายในวัดมีสิ่งส�ำ คัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆ หอนอน หอฉัน และตัวโบสถ์วัดได้รับ การขึน้ ทะเบียนเปน็ สิ่งอนุรักษข์ องกรมศิลปากร 8 คำ�กล่าวเปิดของเครือข่ายความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยในงานประชุมท่ีอ้างถึงในฟุตโน้ต 2 ท้ังนี้ตำ�นานโบราณท่ีว่าคือ คัมภีร์ ปฐมมูลมลุ ีของอาณาจกั รลา้ นนา คมั ภีร์น้ีมไิ ดร้ ะบุวา่ ผ้ทู ีร่ ักเพศเดียวกันมีความเป็นมนุษยน์ ้อยกว่าหรือมคี ุณคา่ นอ้ ยกว่าชายและหญงิ48 ประชากรและสงั คม 2554

จากการศึกษาของปีเตอร์ แจค็ สัน เรอื่ ง ‘การระเบดิ ขนึ้ ของอัตลกั ษณท์ างเพศในสงั คมไทย’ (Jackson,2000) ท่ีระบุว่า นับต้ังแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา ได้เกิดการจ�ำ แนกเพศใหม่ๆ ขึ้นในสังคมไทย(รูปท่ี 2) เห็นได้ว่าศัพท์ประดิษฐ์ใหม่ที่เรียกผู้มีเพศวิถีทางเลือก บางคำ�ก็ตายหายไป (เช่น กระเทียม)หลายค�ำ กย็ งั คงใชอ้ ยจู่ นถงึ ปจั จบุ นั และมศี พั ทใ์ หมๆ่ เพม่ิ ขน้ึ เชน่ กนั ทง้ั หมดนแ้ี สดงใหเ้ หน็ ถงึ ความหลากหลายของเพศวถิ ีในกลมุ่ LGBTI รปู ที่ 2: การเปลยี่ นผา่ นประเภทของเพศในสังคมไทยหมายเหตุ: ประเภทของเพศภาวะ/เพศสรีระ จำ�แนกโดยเส้นตรงความต่อเนื่องทางเพศในสังคมไทย จากเป็นชายมากท่ีสุด ถงึ เป็นหญิงมากทส่ี ุด โดยใช้ลูกศรแสดงสมมติฐานของการเปลี่ยนแปลงท่ีมา: Jackson, 2000. ปัจจุบันการปรากฏตัวของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน หรือผู้มีเพศวิถีทางเลือก ท้ังในระดับบุคคลและกลุ่มองค์กรเห็นได้ชัดเจนมากข้ึนมาก ดังข้อค้นพบจากฐานข้อมูลเร่ืองเพศในข่าวออนไลน์ของแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศที่พบว่า ต้ังแต่ พ.ศ. 2540 ถึง 2550 มีข่าวในประเด็นของผู้มีเพศวิถีทางเลือกทั้งข่าวบุคคลและขา่ วเคลอ่ื นไหวรณรงคเ์ กย่ี วกบั LGBTI รวม 1,345 ชน้ิ ในจ�ำ นวนนเ้ี ปน็ ขา่ วรณรงคจ์ �ำ นวน288 ชน้ิ (รอ้ ยละ 21) โดยรูปแบบการเคลอ่ื นไหวรณรงคม์ หี ลากหลาย ไดแ้ ก่ การตอบโต้นโยบายของภาครัฐที่ละเมดิ สทิ ธิ หรอื กีดกันผมู้ เี พศวถิ ีทางเลือก การเรยี กร้องสิทธิในประเดน็ ต่างๆ ทงั้ การรวมตวั กนั เป็นเครือข่ายท�ำ งาน จนถงึ ผปู้ ระสบปญั หาละเมดิ สทิ ธอิ อกมาเรยี กรอ้ งผา่ นสอ่ื รายบคุ คล การจดั ประชมุ สมั มนาเพอื่ เผยแพร่ข้อมูลงานวิชาการท่ีเก่ียวข้องกับประเด็นความหลากหลายทางเพศ การให้ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคนรกั เพศเดยี วกันในแงม่ มุ หลากหลาย โดยกลมุ่ บุคคลและองค์กรตา่ งๆ และการเปิดเผยและแสดงตัวตนของชุมชนคนรกั เพศเดียวกนั เช่น งานชมุ นุมสังสรรค์ (จิตตมิ า ภาณุเตชะ, 2551) เพศวิถีท่ีก�ำ ลงั เปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย 49

ตง้ั แต่ พ.ศ. 2545 กลมุ่ อญั จารี (องคก์ รหญงิ รกั หญงิ ทท่ี �ำ งานสนบั สนนุ และปกปอ้ งสทิ ธคิ นรกั เพศเดยี วกนั )ได้ขับเคล่ือนผลักดันจนกระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้ยอมรับว่าการรักเพศเดียวกันมิได้เป็นเร่ืองผิดปกติวปิ รติ หรอื เปน็ โรคจติ แตอ่ ยา่ งใด9 ปจั จบุ นั มกี ลมุ่ องคก์ รทที่ �ำ งานเกย่ี วกบั สทิ ธขิ องกลมุ่ เพศวถิ ที างเลอื กเพม่ิ ขน้ึจำ�นวนมากท้ังในส่วนกลางและภูมิภาค โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องสิทธิทางเพศและสิทธิด้านเอดส์ ในช่วง10 ปีท่ีผ่านมา องค์กรเหล่าน้ีได้ร่วมทำ�งานด้านสิทธิและสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการสทิ ธมิ นุษยชนแห่งชาติ และองคก์ รทนุ ใหญอ่ ยา่ งสำ�นกั งานกองทนุ สนับสนนุ การสร้างเสรมิ สขุ ภาพ (สสส.) การผลักดันที่สำ�คัญเร่ืองหนึ่งคือ การต่อสู้ให้การไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในมิตติ ่างๆ ในมาตรา 30 ของรฐั ธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพม่ิ คำ�ว่า ‘อัตลักษณ์ทางเพศ’ ทห่ี มายถงึ เพศที่สามเข้าไปด้วย แม้การแก้ไขจะแพ้ไปอย่างกำ้�ก่ึง10 แต่ในรายละเอียดส่วนท่ีเป็นเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการห้ามเลือกปฏิบัติทางเพศ ก็ระบุว่าให้ปกป้องคุ้มครองครอบคลุมถึงบุคคลที่มี‘อัตลักษณ์ทางเพศ’ ต่างไปจากเพศชายและเพศหญิงไว้ดว้ ย (เจิมศักดิ์ ป่ินทอง, 2550) ในดา้ นของผลกระทบในเชงิ ประชากร การปรากฏตวั ชดั เจนมากขนึ้ ของกะเทย สาวประเภทสอง หรอื ชายแต่งหญงิ กอ่ ใหเ้ กิดความกังวลใจต่อนักประชากรศาสตรว์ า่ จะลดจ�ำ นวนผูช้ ายที่จะเป็นคู่เจริญพนั ธ์ขุ องผหู้ ญิงน้อยลงไปอกี เพราะอตั ราส่วนทางเพศของประชากรไทย ชายตอ่ หญงิ เท่ากับ 97 ตอ่ 100 ดงั น้ัน ‘ถ้าผชู้ ายจ�ำ นวนหนึง่ เช่น รอ้ ยละ 5 หรือ 10 เปลยี่ นขา้ งกลายไปอยูก่ ับฝา่ ยหญงิ เสียแลว้ อตั ราส่วนเพศกจ็ ะยง่ิ ลดลงไปอีก จนเหลอื 92 หรือ 87 ได้ ถา้ เป็นเชน่ นั้น ตลาดการจับค่แู ตง่ งาน เพือ่ มีลูกสืบทอดพนั ธุต์ ่อไปก็ยิ่งบบี รดัจนน่าจะมผี ลใหอ้ ตั ราการครองโสดของสตรีเพม่ิ สงู ขน้ึ และส่งผลใหอ้ ตั ราเจริญพนั ธร์ุ วมของประชากรลดตำ�่ ลงไปอีก’ (ปราโมทย์ ประสาทกุล และ ปทั มา วา่ พัฒนวงศ์, 2551:13) สิ่งที่น่าสนใจในความเปล่ียนแปลงก็คือ แม้ทัศนะท่ัวไปของสังคมไทยต่อเพศท่ีสาม ที่นักวิชาการต่างประเทศวเิ คราะห์วา่ มลี ักษณะ ‘ทนได้ แต่ยอมรับไมไ่ ด’้ (Jackson & Cook, 1999) และการด�ำ เนนิ ชีวิตของชนกลุ่มน้อยทางเพศยังคงถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในหลากหลายแง่มุม ดังเรื่องจริงที่ปรากฏในหนงั สอื ‘ชวี ติ ทถี่ กู ละเมดิ : เรอ่ื งเลา่ กะเทย ทอม ดี้ หญงิ รกั หญงิ ชายรกั ชาย และกฎหมายสทิ ธมิ นษุ ยขนระหวา่ งประเทศ’ (จันทร์จิรา บุญประเสรฐิ , 2554) 9 เปน็ การตอบ ‘กลมุ่ อญั จาร’ี ทย่ี น่ื จดหมายใหก้ รมสขุ ภาพจติ ออกหนงั สอื รบั รองทางวชิ าการวา่ คนรกั เพศเดยี วกนั มไิ ดม้ คี วามผดิ ปกตทิ างจติ หรอื เปน็ โรคแตอ่ ย่างใด กรมสขุ ภาพจติ ไดส้ ่งหนงั สือตอบเลขท่สี ธ. 0605/375 ลงวนั ที่ 29 มกราคม 2545 รับรองว่าไมผ่ ิดปกติ โดยอา้ ง ตามองคก์ ารอนามัยโลกท่ไี ด้ถอนการจำ�แนกโรควา่ คนรักเพศเดยี วกันผิดปกติทางจิตออกไปแล้วเมื่อ พ.ศ. 2535 ซ่งึ ก่อนหน้าน้ันสมาคม สุขวทิ ยาจิตแหง่ สหรัฐอเมริกากไ็ ดถ้ อนออกไปตงั้ แต่ พ.ศ. 2516 [http://www.sapaan.org/article/39.html] 10 เจิมศักด์ิ ป่นิ ทอง (2550) ในฐานะสมาชกิ สภารา่ งรฐั ธรรมนญู (สสร.) เขยี นเล่าเร่ืองนี้ว่า ‘...โดยเฉพาะในวันก่อนสุดทา้ ยของการประชมุ ถึงขนาดได้มีการลงมติผ่านไปแล้วด้วยซ�ำ้ ว่า ให้แก้ไขเพิ่มเติมโดยบัญญัติห้ามมิให้เลือกปฏิบัติต่อมีอัตลักษณ์ทางเพศไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย เพียงแต่ในภายหลัง เม่ือนายการุณ ใสงาม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้เสนอให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทบทวนว่า เร่ืองใดหากเป็นการ แปรญตั ตแิ ก้ไขหลักการเดมิ จะท�ำ ไม่ได้ จะทำ�ไดต้ อ้ งเปน็ การเปล่ียนแปลงถอ้ ยค�ำ เท่าน้นั จึงนำ�มาซง่ึ การพิจารณารอื้ ดูว่า การเพมิ่ ค�ำ ว่า ‘ อัตตลักษณ์ทางเพศ’ เข้าไว้ในหลักการเรื่อง ’การไม่เลือกปฏิบัติ’ เป็นการแก้ไขหลักการ หรือเป็นเพียงเพ่ิมเติมรายละเอียดเข้าไปใน หลักการเรื่อง ’การไม่เลือกปฏิบัติ’ อันเดิม แต่ในท้ายที่สุด สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ลงมติว่า เป็นการแก้ไขหลักการ ด้วยมติ 29 ต่อ 29 กระท่งั ประธาน สสร. ตอ้ งลงมติชขี้ าด โดยชี้ว่า เป็นการแกไ้ ขหลักการ และนำ�มาซงึ่ การลงมตอิ ีกคร้ัง ทำ�ให้ค�ำ ว่า ‘อัตลักษณท์ างเพศ’ ตอ้ งถูกตัดออกในทสี่ ดุ ’50 ประชากรและสงั คม 2554

กล่าวได้ว่ามุมมองต่อกลุ่มผู้มีเพศวิถีทางเลือกโดยรวมของสังคมไทยเปลี่ยนไปในทางบวก คือ สังคมมกี ารยอมรบั ความหลากหลายของเพศวถิ ที างเลอื กมากขนึ้ ไมว่ า่ จะเปน็ การยอมรบั รว่ มท�ำ งานกบั ภาคราชการหรือการต่อสู้ผลักดันเร่ืองสิทธิของตนเองในเรื่องต่างๆ ท่ีสำ�คัญคือ การที่สถาบันราชภัฏออกระเบียบห้ามนักศึกษาทั้งที่แปลงเพศ เกย์ และหญิงรักหญิงไม่ให้เรียนในวิทยาลัยครู 36 แห่งท่ัวประเทศ เมื่อพ.ศ. 2539 - 2540 แต่ข้อห้ามดังกล่าวก็ถูกยกเลิกไปในท่ีสุด ซึ่งเป็นผลการรณรงค์ของภาคประชาสังคมทท่ี �ำ งานเร่ืองสิทธขิ องเพศทสี่ าม และส่ือหนงั สือพมิ พท์ ่ีไมเ่ หน็ ด้วยเป็นสว่ นใหญ่ อีกตัวอย่างหน่ึงที่น่าสนใจก็คือ แม้ปรากฏการณ์ท่ีมีพ้ืนท่ีของสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร และภาพยนตร์ไดเ้ ปดิ เรอ่ื งราวของเกย์ สาวประเภทสอง และชายรกั ชายมานานรว่ ม 20 ปแี ลว้ แต่พนื้ ท่ีดังกล่าวนี้เพิง่ เร่ิมเปิดเร่อื งราวของหญิงรกั หญงิ สู่สาธารณะไม่นานปีนัก (กอ่ นหน้านีม้ บี า้ งประปราย แตม่ ักกระจายเพยี งในวงแคบๆ เทา่ นน้ั ) ไดแ้ ก่ นติ ยสาร Tom Act ทเ่ี รม่ิ ใน พ.ศ. 2551 ดว้ ยจ�ำ นวนพมิ พฉ์ บบั แรกเพยี ง 1,000 เลม่ปัจจุบัน (2554) มียอดพิมพ์ครั้งละ 50,000 ฉบับ และในปี 2553 เกิดหนังรักของเลสเบ้ียนเร่ืองแรกในประเทศไทยช่อื ‘Yes or No อยากรกั ก็รักเลย’ ทไี่ ดร้ บั การกลา่ วขาน จนผกู้ ำ�กบั หญงิ ของภาพยนตรเ์ รอื่ งน้ีตดิ หนึ่งในหา้ ผู้ถกู เสนอช่อื รบั รางวลั ผู้ก�ำ กบั ยอดเยีย่ มในปที ผ่ี า่ นมา (Doksone, 2011) ควรกลา่ วเพม่ิ เตมิ ดว้ ยวา่ ในประเทศอนื่ ๆ กพ็ บแนวโนม้ ทางบวกเชน่ เดยี วกนั ดงั ผลการสำ�รวจเรอ่ื งสงั คมทว่ั ไป (General Social Survey) ทศ่ี นู ยว์ จิ ยั แหง่ ชาตดิ า้ นความคดิ เหน็ ของมหาวทิ ยาลยั ชคิ าโก ทที่ ำ�การส�ำ รวจปีละสองครั้งต่อเน่ืองเป็นเวลา 22 ปีแล้ว ผลการสำ�รวจเมื่อปลายปี 2553 พบเป็นครั้งแรกว่า สัดส่วนคนอเมริกนั ที่สนบั สนุนการแตง่ งานของคนเพศเดียวกนั มสี งู กว่ากล่มุ ผู้คดั คา้ น คอื รอ้ ยละ 46 ตอ่ รอ้ ยละ 40(Daly, 2011) และล่าสดุ ข่าวของบีบซี เี มือ่ วันที่ 26 เมษายน 2554 รายงานวา่ ศาลสงู ของประเทศปากสี ถานได้เร่งให้หน่วยงานรัฐเกี่ยวกับฐานข้อมูลระดับชาติและทะเบียนราษฎร์ออกบัตรประจำ�ตัวของเพศที่สามเปน็ she - male หรอื he - male เน่ืองจากกลมุ่ คนเหลา่ น้ียงั ขาดสิทธิข้ันพื้นฐานเพราะไมม่ ีบัตรประจ�ำ ตวั ตรงกับเพศตนเอง11 2.3 การค้าบรกิ ารทางเพศท่ีเปลย่ี นไป การมีเซ็กส์เพ่ือแลกเงิน สิ่งของ และทำ�เป็นอาชีพ ประเทศส่วนใหญ่ถือว่าเป็นเพศวิถีต้องห้าม เป็นอาชญากรรม ทีม่ บี ทลงโทษถงึ จ�ำ คกุ ขณะทผี่ ปู้ ระกอบอาชีพน้ี ซึ่งสว่ นใหญเ่ ป็นผู้หญงิ มกั ถกู ประณามว่าเปน็ผู้หญิงชวั่ หรอื นางกลางเมือง ส�ำ หรับสงั คมไทยมองว่า ‘โสเภณ’ี เป็นส่งิ ช่วั รา้ ยทจ่ี �ำ เปน็ ของสงั คม การซอ้ื ขายบริการทางเพศจึงมสี ถานะกงึ่ ผิดกฎหมายในบ้านเรา ดังตัวกฎหมายทใ่ี ชก้ ันมาฉบับเดิมเมอื่ พ.ศ. 2503 และกฎหมายปจั จบุ นั (พระราชบญั ญตั ปิ อ้ งกนั และปราบปรามการคา้ ประเวณี พ.ศ. 2539) เนน้ การ ‘ปราม’ การคา้ประเวณีมากกว่าการ ‘ปราบ’ ขณะที่เจ้าหน้าท่ีรัฐ โดยเฉพาะตำ�รวจก็ยังถูกมองว่า รีดไถและรับส่วยจากสถานคา้ บรกิ ารทางเพศ ดงั งานวจิ ยั ของ ผาสกุ พงษไ์ พจติ ร ทศี่ กึ ษาเรอื่ งภาษเี ถอ่ื นของโสเภณี เมอื่ พ.ศ. 2538พบว่า มีมลู คา่ หลายรอ้ ยล้านบาทต่อปี (ผูจ้ ัดการรายวนั , 16 กรกฎาคม 2546) มิตขิ องการค้าบรกิ ารทางเพศในสังคมไทยขา้ งต้นน้ี ดูจะเป็นสิง่ ทไี่ มไ่ ด้เปลย่ี นแปลงไปมากนักในช่วงครึง่ ศตวรรษที่ผา่ นมา11 จาก http://www.bbc.co.uk/news/world - south - asia - 13192077 สบื คน้ เมือ่ วนั ท่ี 28 เมษายน 2554 เพศวถิ ที ก่ี �ำ ลังเปลยี่ นแปลงไปในสงั คมไทย 51

แต่ส่ิงท่ีเปล่ียนแปลงไปมากมหาศาลคือ รูปแบบของธุรกิจการค้าบริการทางเพศ ท่ีจริงๆ แล้ว มีการเปล่ยี นแปลงอย่ตู ลอดเวลา สถานการณป์ ัจจบุ นั (2554) กเ็ ปลีย่ นไปมากหากเปรียบเทียบกับเม่อื 20 ปที ีแ่ ล้วถ้าดูจากข้อมูลการสำ�รวจเฝ้าระวังสถานการค้าบริการ โดยกรมควบคุมโรคที่ทำ�ในทุกเดือนมกราคมอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2514 มีแนวโน้มชัดเจนว่า สถานบริการมีการปรับเปลี่ยนจากรูปแบบด้ังเดิม จากที่เป็นส�ำ นกั หรอื ซอ่ งขายบรกิ ารทางเพศอยา่ งเดยี วลว้ นๆ มาอยใู่ นรปู แบบทม่ี กี ารใหบ้ รกิ ารเสรมิ และการชกั จงู ใจดา้ นอน่ื ๆ เพม่ิ ขน้ึ และมลี กั ษณะฝงั ตวั อยกู่ บั สถานบรกิ ารบนั เทงิ ในรปู แบบตา่ งๆ (บาร์ คาราโอเกะ ผบั คอกเทลเลาจ์สวนอาหาร ฯลฯ) หรือสถานบริการอื่นๆ มากขึ้น (อาบอบนวด นวดแผนโบราณ หอพัก ร้านตัดผม ฯลฯ)มีรูปแบบการบริการเคลื่อนที่มากขึ้น และมีกลุ่มค้าบริการอิสระไม่ขึ้นกับตัวสถานบริการมากขึ้น ขณะที่ผูค้ า้ บรกิ ารแมส้ ว่ นใหญเ่ ปน็ ผู้หญงิ แต่ก็มผี ชู้ ายขายบริการมากข้นึ อย่างชัดเจน (กฤตยา อาชวนิจกุล, 2541) ขบวนการจัดหาผู้หญิงเข้าสู่อาชีพน้ีก็เปลี่ยนแปลงชัดเจนเช่นกัน คือ จากยุคต้นๆ ที่หญิงสาวเข้าเมืองมาท�ำ งานแล้วถกู หลอกใหค้ า้ ประเวณี ปรับเปลย่ี นเปน็ ยคุ ตกเขยี ว ท่ีนายหน้ารุกเขา้ ชนบทเพือ่ หลอกเดก็ มาค้าประเวณี และหรือพอ่ แมเ่ ป็นนายหนา้ ขายลูกสาวคา้ ประเวณเี สยี เอง ถัดมาคือ ยคุ จัดหาเดก็ ชาวเขาเผ่าตา่ งๆเข้ามาค้าบริการในเมือง และตามด้วยการหาหญิงสาวจากประเทศข้างเคียง เช่น เขมร ลาว พม่า และจีนตอนใต้ มาคา้ บริการทางเพศ จนถึงยคุ ไซเบอรท์ ี่เดก็ และเยาวชนเสนอตวั ขายบรกิ ารทางเพศแบบ ‘ก่งึ สมัครใจ’มรี ปู แบบการให้บรกิ ารหลากหลาย (กฤตยา อาชวนิจกลุ ,2537; กฤตยา อาชวนจิ กุล และพรสุข เกิดสวา่ ง,2540; พรพรรณ บรู ณสจั จะ, 2548) จากฐานข้อมลู ข่าวหนังสือพมิ พเ์ รอ่ื งเพศในช่วง พ.ศ. 2540 - 2550 ยืนยันและให้ภาพชดั เจนตอ่ ข้อสรุปขา้ งตน้ วา่ ขา่ วผคู้ า้ บรกิ ารอสิ ระโดยเฉพาะในรปู ชว่ั คราวมากขน้ึ (กลุ ภา วจนสาระ, 2551)ดงั ขา่ วเกย่ี วกบั นกั เรยี นนักศึกษาขายบริการ เริ่มมีข่าวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แต่เป็นข่าวมากข้ึนในช่วงปี 2544 - 2545 จนนำ�มาสู่การจดั ระเบยี บสงั คมรปู แบบตา่ งๆ เชน่ การเขา้ ตรวจคน้ สถานบนั เทงิ และหอพกั พอชว่ งปี 2545 - 2546 จ�ำ นวนขา่ วในหวั ขอ้ นข้ี ยายตัวเพม่ิ ขน้ึ เกือบ 3 เท่า เนอ่ื งจากมขี ่าวจบั เอเย่นตค์ า้ บรกิ ารท่เี ปน็ นักศกึ ษา ขา่ วนกั ศกึ ษาค้าบริการเป็นอาชีพเสริมมีมากข้ึน เริ่มมีข่าวนักเรียนขายบริการและเป็นเอเย่นต์เอง เช่น จับแม่เล้าคาชุดนร.ดึงเพอ่ื นค้ากามส่งบ�ำ เรอเสย่ี (2545) แฉแหลก นศ. ขายตวั ตร. แชมป์ใชบ้ รกิ ารฮติ มธั ยม (2544) ซมั เมอร์เซก็ ซ์ นร.ขายตวั แหย่ ดึ เสาไฟ ‘สวนลมุ ’ (2545) ลอ่ ซอื้  - จบั ‘ยู สายเดยี่ ว’ แมเ่ ลา้ นศ.เรค่ า้ กามสาวปวช. (2545)แฉนศ.กลายพนั ธเ์ ปน็ ไอต้ วั หลอ่ ๆ ฟาดเปน็ แสน (2544) ชายขายตวั เฟอื่ ง เดอื นละแสนลอ่ ใจหนมุ่ วยั แตกพาน(2546) รูปแบบและสถานท่ีขายบริการทางเพศมีลักษณะหลากหลายมากข้ึนเช่นกัน เช่น ร้านตัดผมสวนสาธารณะ รา้ นคาราโอเกะ ซาวนา่ โรงภาพยนตร์ ในรถ ตรู้ ถไฟ ในเรอื กลางทะเล ในห้องนำ�้ สาธารณะฯลฯ ดังข่าว ลยุ รา้ นตดั ผมกามมีห้องซอย ‘นศ.กลั บก’ ล่อนจอ้ น (2545) จับคา้ กามตลาดวัวแก้ผ้าโชว์ 30 - อบึ้ 100 (2545) ลวงขายกามกลางทะเลบ�ำ เรอสวาทตงั เก (2545) คา้ กามในตรู้ ถไฟอา้ งเรา้ ใจใชท้ แ่ี คบ (2546)แฉขายตัวพสิ ดาร - ใหบ้ ริการบนรถตู้ (2549) เปน็ ต้น นอกจากน้ี บนพื้นที่อินเตอร์เน็ตและสื่อสมัยใหม่ก็ถูกนำ�มาใช้เป็นช่องทางการค้าบริการทางเพศเชน่ การซอ้ื ขายบรกิ ารทางเพศผา่ นหอ้ งสนทนา ผา่ นเวบ็ แคม ผา่ นบรกิ ารของโทรศพั ทเ์ คลอ่ื นทไี่ ดด้ ว้ ย เรยี กวา่เซ็กซ์เอม็ เอ็มเอส (Sex Multi - Media Service) หรอื ผา่ นสอ่ื เครอื ขา่ ยทางสงั คม (hi5, facebook, multiply)52 ประชากรและสังคม 2554

รวมถึงตามเว็บบอร์ดต่างๆ ก็มีการโพสขายบริการ หรือนำ�เสนอรูปภาพส่วนตัวของตนเองหรือผู้อ่ืนเพ่ือขายบริการ (อทิ ธิพล ปรตี ปิ ระสงค์, 2546) อยา่ งไรกต็ าม ทศั นะสงั คมไทยทม่ี องผคู้ า้ บรกิ าร โดยเฉพาะผหู้ ญงิ วา่ คอื ‘หญงิ คนชว่ั ’ อยา่ งชอื่ เรอื่ งนยิ ายของ ก. สุรางคนางค์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480 ก็ยังคงดำ�รงอยู่ไม่เปล่ียนแปลง และน่าสังเกตว่าแม้ส่วนใหญ่ของผู้ชายไทยไม่ได้เรียนรู้ประสบการณ์ทางเพศครั้งแรกจากการซ้ือบริการ หลังยุคเอดส์ระบาดชัดเจนแล้ว (หลงั พ.ศ. 2530) แตม่ ไิ ด้หมายความวา่ การขายบริการทางเพศ ซ่งึ สว่ นใหญ่แฝงฝังอย่ใู นธุรกจิบนั เทงิ และบรกิ ารรปู แบบตา่ งๆ จะหดตวั ลดลง กลบั ปรากฏวา่ ธรุ กจิ เซก็ สต์ อ้ งหา้ มกลบั ขยายตวั เปน็ อตุ สาหกรรมบริการที่ใหญ่โต12 ดังตัวเลขท่ี ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตเจ้าของสถานอาบอบนวดขนาดใหญ่ ประมาณการว่ายอดรวมรายได้ทเ่ี กดิ จากธุรกจิ ให้บริการทางเพศทว่ั ประเทศในปี พ.ศ. 2550 มปี ระมาณ 163,839 ลา้ นบาทคดิ เปน็ รอ้ ยละ 2 ของจีดีพี (ประชาชาติธรุ กิจ 15 สงิ หาคม 2551) 2.4 เพศศึกษาที่เปลย่ี นไป เสียงเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการจัดการเรียนการสอน ‘เพศศึกษา’ มักดังข้ึนเป็นระยะๆเม่ือเกิดปัญหาเก่ียวกับเร่ืองเพศในสังคมไทย ดังตัวอย่างจากข่าวสั่นสะเทือนสังคมไทยที่สุดในรอบปี 2553เรื่องการทำ�แท้งเถื่อนที่ถูกเปิดโปง เม่ือมีการพบซากตัวอ่อนของมนุษย์จากการทำ�แท้งจำ�นวน 2,002 ซากในวดั ใจกลางเมืองกรงุ พรอ้ มๆ กบั ‘เพศศึกษา’ (sex education) กเ็ ป็นทางทางออกทีส่ ื่อหนังสอื พิมพ์น�ำ มาพาดหัว เช่น ‘ผปู้ กครองเหน็ ดว้ ยกวา่ 90% สอนเพศศกึ ษาสกดั ทำ�แทง้ ’ (มตชิ นรายวนั , 26 พฤศจกิ ายน 2553, หน้า 10) ‘สะกิด รร. ‘เลกิ อ�้ำ อ้ึง’ สอนเร่อื งเพศ’ (ไทยโพสต์, 27 พฤศจกิ ายน 2553, หนา้ 8) ‘ชพี้ อ่ แม ่ - ครูร่วมสอนเซก็ ส์ปลอดภยั ’ (ข่าวสด, 7 ธันวาคม 2553, หน้า 26) ขอ้ เสนอใหจ้ ดั การเรยี นการสอนเพศศกึ ษาทดี่ เู ปน็ จรงิ เปน็ จงั กอ่ นขา่ วขา้ งตน้ จะเกดิ ขนึ้ คอื ขอ้ เสนอจากผลการประชมุ สมชั ชาสขุ ภาพแหง่ ชาตคิ รง้ั ทหี่ นงึ่ พ.ศ. 2551 ในมตเิ รอื่ งสขุ ภาวะทางเพศ สบื เนอื่ งมาจากปญั หาความรนุ แรงทางเพศ การตงั้ ครรภท์ ไี่ มพ่ รอ้ ม และเรอื่ งเพศกบั เอดส/์ โรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธ์ ซง่ึ เปน็ ขอ้ เสนอล�ำ ดับแรกมีรายละเอียดดังน้ี (กฤตยา อาชวนจิ กลุ , 2552:107) จัดให้มีการสอนเพศศึกษารอบด้านให้สอดคล้องเหมาะสมกับนักเรียนทุกชั้น เพ่ือเสริมสร้างภูมิคมุ้ กันดา้ นสุขภาวะทางเพศ เนอ้ื หาหลักสูตรตอ้ งสอดแทรกการเรียนรู้เร่ืองเนอื้ ตวั รา่ งกายตนเอง เรื่องเพศกบั เอดส์ เรอื่ งอนามยั เจรญิ พนั ธุ์ และทกั ษะการจดั การความสมั พนั ธก์ บั ผอู้ น่ื ครผู สู้ อนทกุ คนตอ้ งผา่ นการอบรมหลักสูตรการสอนเรื่องเพศศึกษารอบด้าน เพ่ือแก้ปัญหาการนำ�ครูที่ไม่มีทักษะและไม่มีความเข้าใจเรื่องเพศศึกษารอบด้านมาสอน และกำ�หนดให้การจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษารอบด้านในโรงเรียนเปน็ ตวั ชว้ี ดั ตวั หนง่ึ ของการประกันคณุ ภาพการศกึ ษาของทกุ โรงเรียน12 คร้งั หนึง่ ดิกชน่ั นารีลองแมนเคยใหค้ �ำ จ�ำ กดั ความ ‘กรุงเทพฯ’ ว่า ‘เปน็ สถานท่ีท่มี โี สเภณจี ำ�นวนมาก’ จนคนไทยหลายวงการลุกมาประทว้ ง เป็นข่าวใหญโ่ ตใน พ.ศ. 2536 เพศวิถีทก่ี �ำ ลงั เปลีย่ นแปลงไปในสังคมไทย 53

เม่ือลองสอบทวนความเป็นมาของข้อเสนอให้เกิด ‘เพศศึกษา’ ในประเทศไทยพบว่า เริ่มขึ้นตั้งแต่ 69 ปีท่ีแล้ว!!! คือ เมื่อ พ.ศ. 2485 สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้ต้ังคณะอนุกรรมการวางหลักสูตรเพศศึกษา เพื่อศึกษาค้นคว้าหลักสูตรในเรื่องเพศศึกษา ได้ผลออกมาเป็น ‘แนวการสอนเพศศึกษา’ สำ�หรับชั้นอนุบาล ชนั้ ประถม ชน้ั มธั ยมและเตรยี มอดุ มศกึ ษา เมอื่ วนั ท่ี 1 สงิ หาคม พ.ศ. 2501 แตก่ ไ็ มไ่ ดร้ บั การบรรจไุ วใ้ นหลกั สตู ร การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะเหตุผลว่าสภาพการศึกษาของไทยยังไม่พร้อมที่จะรับการศึกษา เรอื่ งเพศศกึ ษา (สภาวัฒนธรรมแหง่ ชาต,ิ 2501 อ้างใน ระววิ รรณ แสงฉาย, 2538:53 - 56) ถดั มาอกี 20 ปี จงึ มกี ารบรรจเุ นอื้ หาเรอื่ งเพศศกึ ษาอยา่ งเปน็ ทางการครงั้ แรกไวใ้ น พ.ศ. 2521 แตเ่ พราะ เร่ืองเพศยังถกู มองวา่ เปน็ เรื่องตอ้ งห้ามท่ีจะน�ำ มาสอนในโรงเรียน จงึ เลี่ยงไปใช้ค�ำ อน่ื ๆ แทน เชน่ ธรรมชาติ แหง่ ชีวติ บคุ คลและชวี ิตครอบครัว ชีวิตและครอบครัวศึกษา เป็นต้น และบรู ณาการเนอ้ื หาไวใ้ นวชิ าต่างๆ เชน่ วิชาส่งเสริมประสบการณ์ชวี ติ วิทยาศาสตร์ สุขศกึ ษา ฯลฯ (ยุพา พนู คํา และกอบกาญจน์ มหทั ธโน, 2544) หลงั จากนั้น กระทรวงศึกษาธกิ าร รวมถงึ หนว่ ยงานระดบั กรมของกระทรวงเอง กอ็ อกโรงมาส่งเสรมิ ให้จดั การ เรยี นการสอน ‘เพศศกึ ษา’ ทง้ั ในโรงเรยี นและนอกโรงเรยี น อกี หลายระลอก ดงั น้ี (นนั ทยิ า สคุ นธปฏภิ าค, 2552) - ใน พ.ศ. 2525 สอดแทรก ‘เพศศกึ ษา’ ในหมวดวชิ าสขุ ศกึ ษา สงั คมศกึ ษา วทิ ยาศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ ลกู เสอื อนุกาชาด หรือกิจกรรมแนะแนว และมกี ารอบรมครูผ้สู อนเรื่องเพศศึกษา - ใน พ.ศ. 2530 ร่วมมือกับสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย (สวท.) จัดทำ�หนังสือคู่มือ การสอนเร่ืองครอบครัวศึกษา และผลิตส่อื การเรยี นการสอนเรอื่ งชีวติ ครอบครวั ศึกษา เพื่อนำ�ไปใช้ในโรงเรยี น สงั กัดของกรมสามญั ศกึ ษา ระดบั มัธยมศึกษาทั่วประเทศ - ใน พ.ศ. 2543 ร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสขุ โดยกรมอนามัย และกรมสขุ ภาพจติ จดั ท�ำ โครงสร้าง หลกั สตู รเพศศกึ ษา แตเ่ มอ่ื กระทรวงศกึ ษาธกิ ารน�ำ ไปใชจ้ รงิ กเ็ ปลยี่ นชอ่ื หลกั สตู รจากเพศศกึ ษา เปน็ ‘ชวี ติ และ ครอบครัวศกึ ษา’ นำ�ไปบรรจุไวใ้ นวิชาสขุ ศึกษาและพลศึกษา โดยจัดท�ำ คู่มือชดุ ‘แนวทางใหก้ ารศึกษาเรือ่ งชวี ิต และครอบครัวศึกษา: ขอบข่ายสาระตามระดับชั้น’ ข้ึน และมีการประกาศใช้หลักสูตรน้ีอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2545 เอดสก์ ับเพศศกึ ษา เมอ่ื สถิติจำ�นวนผ้ตู ิดเช้อื เอดส์รายใหม่ในต้นทศวรรษ 2540 ช้วี ่าเพม่ิ สูงขึ้นในกล่มุ อายุ 15 - 24 ปี โดยมสี าเหตหุ ลกั มาจากการมเี ซ็กส์ท่ไี มไ่ ด้ป้องกัน (ชื่นฤทัย กาญจนะจติ รา และคณะ, 2546: 62 - 65) ‘เพศศกึ ษา’ ก็ถูกเสนอใหเ้ ป็นอกี หน่งึ ทางออกในการชว่ ยปอ้ งกนั ปัญหาน้ี ใน พ.ศ. 2554 กองทนุ โลก ด้านเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย (Global Fund To Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria - GFATM) สนับสนุนให้สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดทำ�หนังสือ ‘แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศศึกษา’ ช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบ่งออกเป็น 4 เล่ม ใช้เป็นคู่มือสำ�หรับครูผู้สอนนำ�ไปบูรณาการเน้ือหาเพศศึกษาในสาระวิชาท่ีเก่ียวข้อง เพ่ือหวังจะปลูกฝังความเช่ือและทัศนคติที่เหมาะสมในเรื่องเพศให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมในสังคมไทย54 ประชากรและสงั คม 2554

และเพ่ือให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกัน ไม่เกิดปัญหาพฤติกรรมในเรื่องเพศ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรการตั้งครรภ์ท่ีไม่พึงประสงค์ การมีค่านิยมที่ไม่เหมาะสมในเรื่องเพศ เป็นต้น หลังจากคู่มือดังกล่าวถูกนำ�ไปทดลองใช้ และมกี ารปรบั ปรงุ ใหส้ มบรู ณย์ งิ่ ขนึ้ กถ็ กู จดั พมิ พข์ น้ึ ครง้ั แรกใน พ.ศ. 2549 (ส�ำ นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน 2550) ขณะท่ีใน พ.ศ. 2546 กระทรวงศกึ ษาธิการ และกระทรวงสาธารณสขุ รว่ มมอื กบั องคก์ ารแพธ (PATH)ภายใตก้ ารสนบั สนนุ ของกองทนุ โลกฯ เชน่ กนั จดั โครงการ ‘กา้ วยา่ งอยา่ งเขา้ ใจ’ เพอ่ื สง่ เสรมิ การจดั กระบวนการเรียนรู้เร่อื งเพศศกึ ษาและปอ้ งกนั เอดส์ในกลุ่มเยาวชนในสถานศกึ ษา มรี ะยะเวลาดำ�เนนิ การ 5 ปี (1 ตุลาคม2546 - 30 กนั ยายน 2551) มสี ถานศกึ ษาเขา้ รว่ มโครงการ 699 แหง่ และโครงการนยี้ งั คงด�ำ เนนิ การตอ่ เนอื่ งจนถึงปัจจุบันฯ (2554) เพื่อเผยแพร่เพศศึกษาในกลุ่มเยาวชนที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น นอกเหนือจากการจดั กจิ กรรมในโรงเรียน13 นอกจากน้ี ใน พ.ศ. 2545 - 2546 สำ�นักอนามัย กรุงเทพมหานคร สนับสนุนให้สมาคมส่งเสริมสถานสภาพสตรีพัฒนาหลักสูตรเพศศึกษา และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เร่ืองเพศศึกษาอย่างเป็นระบบ ให้แก่สถานศกึ ษาในสงั กดั กรงุ เทพมหานคร ภายใตห้ ลกั สตู รเสรมิ สรา้ งทกั ษะชวี ติ และเพศศกึ ษาชอ่ื ‘โลกหมนุ ไดด้ ว้ ยมอื ฉัน’ ซึง่ ปรับมาจากหลกั สตู ร The World Starts With Me - WSWM ของ World Population Foundationประเทศเนเธอรแ์ ลนด์ ต่อมา กรุงเทพมหานครได้บรรจุหลักสตู รน้ีในแผนยทุ ธศาสตร์การปกป้องคุม้ ครองเดก็ในพื้นท่ีกรุงเทพมหานคร และในปีการศึกษา 2550 ได้ดำ�เนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรน้ีในโรงเรยี นขยายโอกาสของกรงุ เทพมหานคร เพม่ิ จากเดมิ อกี 14 แหง่ และมแี ผนจะขยายใหค้ รอบคลมุ ทง้ั หมดในปตี ่อๆ ไป (ทพิ วัลย์ มารศรี และ เมทินี พงษเ์ วช ม.ป.ป. อ้างใน นันทิยา สุคนธปฏิภาค, 2551) นา่ สังเกตวา่ การสอนเพศศกึ ษาในระดับโรงเรยี นสายสามัญทั้งหมด ไมว่ ่าจะเป็นหลักสูตรของกระทรวงศกึ ษาธกิ ารเองกด็ ี หรอื หลกั สตู รทพ่ี ฒั นาโดยองคก์ รพฒั นาเอกชน ยงั คงใชว้ ธิ บี รู ณาการเนอ้ื หาลงไปในวชิ าอนื่ ๆหรือจัดเป็นกิจกรรมต่างหากออกมา ไม่มีวิชาท่ีถูกเรียกว่า ‘เพศศึกษา’ ให้นักเรียน ต้องเรียนหรือเลือกเรียนแต่ประการใด อย่างไรก็ตาม กระบวนการเรียนการสอนท่ีกระทรวงศึกษาธิการจัดเองน้ัน ถูกองค์การพัฒนาเอกชนวพิ ากษว์ า่ มไิ ดส้ อนสาระของเพศศกึ ษาอยา่ งทคี่ วรจะเปน็ แตเ่ นน้ ไปทเ่ี รอ่ื งการเปลยี่ นแปลงของรา่ งกายในวยั เจริญพันธ์ุ และมุ่งควบคมุ ‘ก�ำ หนดั ’ และคมุ ‘กำ�เนดิ ’ ภายใตก้ รอบ ‘วฒั นธรรมไทย’ และ ‘ศีลธรรมอนั ดีงาม’ ทำ�ให้การเรียนการสอนมีแต่เนื้อหาท่ีมุ่ง ‘สั่งสอน’ และ ‘ห้ามปราม’ เน่ืองจากความเชื่อว่า การสอนเพศศกึ ษาตรงไปตรงมา คือ ‘การช้ีโพรงใหก้ ระรอก’ หรอื ‘การสอนให้มเี พศสมั พันธ์’ (องค์การแพธ, 2550:9) องค์กรพัฒนาเอกชนเช่ือว่า หลักการท่ีควรนำ�มาสอนคือ เพศศึกษารอบด้าน แต่เพศศึกษาที่พัฒนาโดยหนว่ ยราชการไทยมกั เน้น เพศศกึ ษาท่ีห้ามการมีเพศสัมพนั ธจ์ นกวา่ จะแต่งงาน หรือกค็ ือ หา้ มการมีเซก็ ส์นอกการแต่งงานนั่นเอง ซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่า ‘เพศศึกษาแบบจารีต’ โดยองค์การแพธที่เป็นผู้นำ�ในเร่ืองนี้ไดเ้ ปรยี บเทียบเนอ้ื หาการสอนของเพศศกึ ษาสองแบบตามตารางข้างลา่ งน้ี13 http://www.thaipr.net/keywordnews.aspx?keyword= ‘โครงการก้าวยา่ งอยา่ งเขา้ ใจ’ [สืบค้นเมื่อวนั ท่ี 13 พฤษภาคม 2554] เพศวถิ ีที่กำ�ลังเปลย่ี นแปลงไปในสังคมไทย 55

ตาราง 1 เปรยี บเทยี บเน้ือหาของเพศศึกษาแบบจารตี และเพศศกึ ษารอบดา้ นเพศศกึ ษาแบบจารตี เพศศกึ ษารอบดา้ นเพศสัมพนั ธท์ ีอ่ ยนู่ อกการแต่งงานเป็นอันตราย เรือ่ งเพศเปน็ เรอื่ งธรรมชาติ ความตอ้ งการทางเพศเป็นตอ่ ชวี ติ จิตใจ และความผาสกุ ของสังคม เรอื่ งปกติ และเป็นสว่ นหนึง่ ของชีวติ ทีม่ สี ขุ ภาวะการละเว้นไม่มีเพศสัมพนั ธ์จนกว่าจะแตง่ งาน คือ การไมม่ เี พศสัมพนั ธ์คือ วิธที ่ดี ที ี่สุดต่อการป้องกันต้งั ครรภ์พฤติกรรมทางเพศอยา่ งเดยี วทเี่ ปน็ ทย่ี อมรับ และโรคตดิ ต่อทางเพศสมั พันธร์ วมทง้ั โรคเอดส์ควรใหค้ ุณค่าแกส่ ง่ิ ที่ถูกต้องดงี าม ทม่ี ไี ด้เพยี งอยา่ งเดียว การใหค้ ุณค่า และตระหนกั ถึงสง่ิ ท่ตี นเองให้คณุ ค่าเทา่ นนั้ สำ�หรับทกุ คน ควบคไู่ ปกบั ความเข้าใจว่าครอบครัวและชมุ ชนทเี่ ราอยู่ ให้คณุ ค่าต่อส่ิงนนั้ อยา่ งไรตอกยำ�้ ประเด็นการรักษาพรหมจรรย์ และผลรา้ ยตา่ งๆ ให้สาระท่หี ลากหลายท่ีเก่ียวกับเรอื่ งเพศ ไมว่ ่าจะเป็นของการมเี พศสมั พนั ธ์โดยไมแ่ ต่งงาน พัฒนาการธรรมชาติในเรื่องเพศของมนุษย์ สมั พันธภาพ ทกั ษะสว่ นบคุ คล การแสดงออกในเร่ืองเพศพยายามหลกี เลีย่ งทจ่ี ะพูดถึงเรือ่ งการสำ�เร็จความใคร่ ให้ขอ้ เทจ็ จริง ตรงไปตรงมาเกย่ี วกับเร่ืองด้วยตวั เอง ความพงึ ใจในเพศรส การท�ำ แทง้ การส�ำ เร็จความใครด่ ้วยตวั เอง ความพึงใจในเพศรสและรสนิยมทางเพศแบบต่างๆ การทำ�แท้ง และรสนิยมทางเพศแบบต่างๆใหข้ ้อมลู เชิงต�ำ หนิ ป้องปราม เพื่อมุ่งให้รักษาพรหมจรรย์ ให้ขอ้ มูลทางบวกเก่ยี วกับเร่ืองเพศ การแสดงออกทางเพศและไม่ส่งเสริมการแสดงออก หรือการแสดงความร้สู กึ ควบคไู่ ปกับผลดีของการรกั ษาพรหมจรรย์ท่ีเกี่ยวกบั เรื่องเพศไมพ่ ยายามพดู ถงึ วธิ กี ารคมุ ก�ำ เนดิ ใหร้ วู้ า่ จะปฏบิ ตั ไิ ดอ้ ยา่ งไร สอนใหร้ ูว้ า่ การใช้วิธคี มุ ก�ำ เนดิ สมัยใหมส่ ามารถปอ้ งกันยกเวน้ เรอ่ื งถงุ ยางและความไมป่ ลอดภยั ของถงุ ยาง การต้งั ครรภ์ไม่พึงประสงคไ์ ด้อย่างไรใหข้ อ้ มูลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดสไ์ มช่ ดั เจน ให้ข้อมลู ที่ถกู ต้องชดั เจน เกย่ี วกับโรคตดิ ต่อทางเพศมักขยายความเรอื่ งการตดิ เช้ือเอดส์ดว้ ยข้อมลู ทเ่ี กนิ จริง สมั พนั ธ์และเอดส์ รวมทง้ั การหลีกเลยี่ งความเส่ียงว่าและพยายามชกั จูงว่าถา้ มีเพศสมั พนั ธ์โดยไม่แตง่ งาน สามารถทำ�ได้อย่างไรบ้างจะไดร้ บั ผลจากโรครา้ ยเหล่านนั้ อยา่ งหลกี เล่ยี งไม่ได้มักจะนำ�ค�ำ สอนมาใช้เป็นเครือ่ งตอกย้ำ� จงู ใจให้เชอื่ ถือ สอนให้ตระหนักว่า คำ�สอนและคณุ ค่าทางศาสนาท่บี คุ คลและปฏิบัติ และสร้างความรู้สกึ เป็นบาปผิด เมอ่ื ไม่ปฏิบตั ิ ยดึ ถือจะมีสว่ นก�ำ หนดการด�ำ เนินชวี ติ และการแสดงออกตาม ทางเพศของบุคคลอยา่ งไร และใหโ้ อกาสผเู้ รียนได้สำ�รวจ ความคิด ความเชื่อของตน และครอบครัวตอ่ เรอ่ื งนี้หากเดก็ /วยั รุ่นหญิงต้ังครรภไ์ มพ่ ึงประสงค์ มเี พียงหนทางเดยี ว เม่อื เดก็ /วัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ทีไ่ ม่พรอ้ ม มที างเลือกไม่วา่ จะคอื ต้องอุ้มครรภจ์ นคลอดและตอ้ งเลย้ี งดูบุตรหรอื หาผ้อู ปุ ถัมภ์ เป็นการอ้มุ ครรภจ์ นครบกำ�หนดคลอดและเลยี้ งดทู ารกทางเลอื กของการทำ�แทง้ เปน็ บาปผดิ ร้ายแรง และยอมรับไมไ่ ด้ หรือเมื่อคลอดแลว้ อาจหาทางผู้อุปถมั ภ์ทารก หรอื อาจยุตกิ ารตั้งครรภ์ด้วยการท�ำ แท้งหากไมพ่ รอ้ มจริงๆที่มา: ปรับจากสไลด์ ‘เราสอนเพศศึกษาแบบไหน’ ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ [hpc3.anamai.moph.go.th/hpc/ activity/280653/4.ppt]56 ประชากรและสังคม 2554

อยา่ งไรก็ตาม แม้เนื้อหาและกระบวนการเรยี นการสอนของเพศศกึ ษารอบดา้ น จะเน้นการแลกเปล่ยี นประสบการณ์ การรับฟังผู้อื่น การไม่ตัดสินพฤติกรรม และไม่ตีตราเพศวิถีส่วนน้อย รวมถึงพยายามเน้นให้ผ้เู รียนได้ครบทัง้ ความรู้ ทัศนคติ และโอกาสในการฝึกฝนทกั ษะต่างๆ ก็ตาม แต่ วจิ ติ ร วอ่ งวารีทพิ ย์ ในฐานะครทู ไี่ ดน้ �ำ กระบวนการเหลา่ นไ้ี ปใชก้ ส็ ะทอ้ นปญั หาส�ำ คญั 3 ประการคอื (1) ครตู อ้ งสรา้ งบรรยากาศทปี่ ลอดภยัในการเรียนรู้เรื่องเพศ (2) ครูต้องเปิดเผยและให้ข้อมูลครบถ้วนรอบด้าน และ (3) หลักสูตรต้องเน้นสมั ฤทธผ์ิ ลในการถอดถอนมายาคตใิ นเรอื่ งทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั เพศวถิ ี เอชไอว/ี เอดส์ และถงุ ยาง โดยเฉพาะในประเดน็สุดท้าย วิจิตร พบว่า ‘เพศศึกษาท้ังกระบวนการ (หลักสูตร การอบรมครู การเรียนการสอนในชั้นเรียนเพศศึกษา) แทบไม่เคยได้ท้าทาย/ต้ังคำ�ถามเอากับสถานะอันได้เปรียบและความไม่รับผิดชอบของคู่สัมพันธ์เพศชาย (เน้นโดยผู้เขยี น)’ (วจิ ิตร ว่องวารีทิพย,์ 255414) น่ันคือ กระบวนการเรียนการสอนของเพศศึกษารอบด้าน ก็ยังคงถูกครอบงำ�ด้วยมายาคติต่างๆ ท่ีเกย่ี วกบั เพศวถิ ี เชน่ ผหู้ ญงิ ดกี บั การเปน็ แมท่ ดี่ ี ผหู้ ญงิ ดกี บั การไมค่ วรรเู้ รอื่ งเพศ เนน้ ความรกั ความสมั พนั ธข์ องรกั ต่างเพศ ไม่มภี าพของความเปน็ พ่อ (fatherhood) ปรากฏในเน้อื หาหลกั สูตร และอ่นื ๆ อกี มากมาย 3.1 การควบคมุ เรอื่ งเพศวถิ ใึ นสังคมไทย ในการพิจารณาดูว่าสังคมไทยมีวิธีการควบคุมเร่ืองเพศวิถีอย่างไร เราสามารถวิเคราะห์ผ่านคำ�สอนที่เปน็ ขอ้ หา้ มปฏบิ ตั แิ ละขอ้ สนบั สนนุ ใหท้ �ำ โนน่ ท�ำ นเ่ี รอ่ื งเพศ หรอื คอื don’t and do ในภาษาองั กฤษ ดงั ตวั อยา่ งที่ได้มาจากการท่ีผู้เขียนทดลองนำ�เรื่องน้ีแลกเปล่ียนความเห็นกับคนทำ�งานในสถานศึกษาเร่ืองเพศศึกษาและผู้ปฏบิ ัติงานในองคก์ รพฒั นาเอกชนที่ท�ำ งานด้านเอดส์ เมื่อเดอื นพฤศจกิ ายน 2550 โดยให้ชว่ ยกนั คิดว่ามีเร่อื งเพศอะไรบ้างทส่ี ังคมบอกวา่ “จงท�ำ ” และ “อยา่ ทำ�” ซง่ึ ไดข้ อ้ ห้ามและขอ้ สนับสนนุ มากกวา่ 100 ข้อในทน่ี ้ียกมาเพียงอยา่ งละ 10 ตวั อย่าง ดงั นี้ จงท�ำ (do) รักนวลสงวนตัว รักเดยี วใจเดียว อดเปร้ียวไว้กินหวาน มี sex เม่ือพร้อม ท�ำ ตวั ใหเ้ รียบร้อยแต่งตัวมิดชิด แต่งตัวให้ตรงเพศ เข้าตามตรอกออกตามประตู เร่ืองเพศเป็นเร่ืองส่วนตัว จงพูดคุยกับเพศตรงขา้ มในทเ่ี ปิดเผย อย่าทำ� (don’t) อย่ารริ กั ในวัยเรยี น อยา่ มีเพศสัมพนั ธก์ อ่ นวยั อันควร อย่ามเี พศสัมพันธ์กอ่ นแต่งงานอย่าหมกมุ่นในเรื่องเพศ อย่าแสดงออกว่ามีความต้องการทางเพศ อย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าให้ใครถูกเน้ือต้องตวั อยา่ พดู คุยเรอ่ื งเพศ เดก็ ไม่ควรรูเ้ รอื่ งเพศ อย่ามีเพศสมั พนั ธ์กบั เพศเดียวกัน ตัวอย่างทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นถึงภาคปฏิบัติการของคำ�สอนต่างๆ ที่ควบคุมเรื่องเพศ โดยใช้อำ�นาจทางวัฒนธรรมเปน็ กลไกควบคุมผ่านความคิดเชงิ จารตี ประเพณี หรอื ชุดความคิดตา่ งๆ ที่ส่งผ่านวาทกรรมหลากหลายแบบ หลากหลายช่องทาง และ สร้างวัฒนธรรมทางเพศสองมาตรฐาน ข้ึนมา น่ันคือ การใช้ความรู้ ความเข้าใจ และค่านิยมต่อเรื่องเพศวิถีต่างชุดกันในการส่ังสอนผู้หญิงกับผู้ชาย โดยผู้ชายจะได้รับการปลกู ฝงั เรื่องเพศแบบหนึง่ และผหู้ ญิงจะถกู ปลกู ฝังอกี แบบหนึง่14 ไมส่ ามารถอา้ งเลขหนา้ ได้ เพราะบทความอยรู่ ะหวา่ งจดั พมิ พใ์ นวารสารจดุ ยนื ของศนู ยส์ ตรศี กึ ษา คณะสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม.่ เพศวิถีที่กำ�ลงั เปลย่ี นแปลงไปในสังคมไทย 57

สงั คมไทยขดั เกลาผชู้ ายวา่ ควรจะมปี ระสบการณเ์ รอื่ งเพศกอ่ นการแตง่ งาน การสะสมประสบการณแ์ บบทเ่ี รยี กกันว่า ‘ฟันผหู้ ญิง’ ได้รบั การยอมรับเป็นบรรทดั ฐานในกลุ่มผูช้ าย ดังนั้น ชายไทยแท้ในกรอบเพศภาวะท่วี ่าน้จี ึง ‘ตอ้ งเป็นผู้ชายท่เี จนโลกโลกยี ์ มีท้งั ทักษะและความรู้ ทีอ่ าจสง่ั สมไดจ้ ากเพศสัมพันธ์ช่วั ครัง้ ชั่วคราวจากการซื้อประเวณี และจากผู้หญิงสาวที่ “ไม่รักนวลสงวนตัว” การเป็นชายแต่ขาดประสบการณ์เร่ืองเพศกเ็ ป็นเหมือนกับอศั วนิ ท่ีมอี าวุธเป็นเพยี งดาบดว้ นทขี่ าดการลับคม’ (กฤตยา อาชวนิจกุล และพริศรา แซ่กว้ ย,2551:83) ส�ำ หรับผหู้ ญงิ ไทยควรตอ้ ง “รกั นวลสงวนตัว” ไม่มีเซก็ ส์กอ่ นการแตง่ งาน สิ่งท่ีสงั คมไทยต้องการในเชิงอุดมคติ ก็คือ ‘การผลิตมโนทัศน์เก่ียวกับผู้หญิงไทยท่ีดี เพื่อเป็น “กุลสตรี” มีคุณสมบัติเป็นแม่บ้าน แม่เรือนอย่างสมบูรณ์ สามารถทำ�หน้าท่ีในการดูแลสมาชิกในครอบครัว ตั้งแต่พ่อ แม่ สามี ลูก และพ่ีน้องให้ได้สขุ กายสบายใจ และไมร่ เู้ ดยี งสาเรื่องเพศ’ (กฤตยา อาชวนิจกลุ และพริศรา แซ่กว้ ย, 2551: 82) เทา่ กบั วา่ วฒั นธรรมทางเพศของไทยหลอ่ เลยี้ งการมเี พศสมั พนั ธน์ อกสมรสของผชู้ าย ไมไ่ ดเ้ ปลย่ี นแปลงเลยจากอดีตถึงปัจจุบัน ขณะท่ีผู้หญิงถูกสอนให้ไม่ควรสนใจเรื่องเพศ จนถึงทำ�ให้กลัวเร่ืองเพศ ส่งผลให้ขาดภูมิคุ้มกันในการสร้างความสัมพันธ์เชิงพิศวาสกับเพศตรงข้าม การขัดเกลาหลอมสร้างชายไทยและหญงิ ไทยดว้ ยอดุ มคตขิ า้ งตน้ นี้ จงึ เปน็ การเรยี นรหู้ ลอ่ หลอมและขดั เกลาใหเ้ พศชายท�ำ รา้ ยเพศหญงิ อยา่ งไมร่ ตู้ วัและเป็นกระบวนการทม่ี ่งุ ควบคุมเพศวิถขี องผูห้ ญงิ มากกวา่ ผู้ชาย ขอ้ สรปุ ขา้ งตน้ นี้ ยนื ยนั ไดจ้ ากผลการศกึ ษาเรอื่ งความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งเพศและเพศสมั พนั ธก์ อ่ นแตง่ งานของวัยรุ่น ท่ีระบุว่า ลูกผู้หญิงจะถูกพ่อแม่ขัดเกลาให้รับรู้และเกรงกลัวอำ�นาจทางเพศของผู้ชาย ผู้หญิงเกิดความรู้สึกด้อยกว่าผู้ชายในเรื่อง ความสัมพันธ์ทางเพศ รวมถึงเกิดความรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถปกป้องคมุ้ ครองตัวเองในเรอ่ื งเพศได้ (นิมิต ม่ังมที รพั ย์, 2542) แตพ่ ลงั อ�ำ นาจของวาทกรรมเชงิ จารตี นกี้ อ็ อ่ นก�ำ ลงั ลงทกุ วนั ดงั ทก่ี ลา่ วในขา้ งตน้ แลว้ วา่ การมเี พศสมั พนั ธ์ของเยาวชนหนุ่มสาวก่อนการแต่งงาน ได้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในยุคน้ีไปแล้วสะทอ้ นวา่ ทัศนคตทิ ี่ว่าเรื่องเพศเป็นเรอื่ งสกปรก เปน็ เรือ่ งไมค่ วรพูด และไม่ควรเรียนรู้กอ่ นการแต่งงาน กไ็ ม่เป็นจริงนักในปัจจุบัน (2554) ปรากฏการณ์ท่ีว่าน้ีทำ�ให้เยาวชนยุคปัจจุบันเหมือนเดินทางอยู่ระหว่างโลกสองโลก คอื โลกทย่ี งั สอนเรอื่ งเพศแบบจารตี และโลกทส่ี มั ผสั จากเพอ่ื นฝงู จากการโฆษณาและสอื่ บนั เทงิเรงิ รมย์ ทเี่ รง่ กระตนุ้ ให้แสดงและเสพเร่อื งเพศ ไม่วา่ จะเป็นการปรุงแตง่ เนื้อตวั จริตกิริยา และทักษะในเร่ืองเพศอยา่ งเต็มท่ี (กฤตยา อาชวนิจกุล และพรศิ รา แซ่ก้วย, 2551:89) อย่างไรก็ตาม หลังจากท่ีผู้เขียนทำ�งานและเคลื่อนไหวเรื่องสุขภาวะทางเพศมามากกว่า 20 ปี ก็ได้ข้อสรุปว่า การควบคุมเพศวิถีอย่างเข้มข้นต่อผู้หญิงในสังคมไทย ยังคงมีบางมิติท่ีไม่เคยเปล่ียนแปลงเลยอย่างน้อยก็ในรอบครึ่งศตวรรษนี้ ปรากฏการณ์รูปธรรมที่จะขอยกมาอย่างสังเขป ณ ท่ีนี้ มีสองเรื่องคือความรนุ แรงทางเพศ และการทำ�แทง้ 3.2 ผ้หู ญงิ ยังเสีย่ งทีจ่ ะต้องเผชิญกับความรนุ แรงทางเพศไม่เปลี่ยนแปลง จากแหลง่ ข้อมลู ส�ำ คัญสามแหล่ง ที่ช้ใี ห้เหน็ ถงึ สถานการณ์ความรนุ แรงทางเพศในสงั คมไทย คอื หน่ึง จากฐานขอ้ มลู ข่าวและบทความเรือ่ งเพศในประเทศไทยในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 2541 - 2550) รวม 17,529 ชิน้58 ประชากรและสังคม 2554

(กลุ ภา, 2551) สอง ขนาดของความรนุ แรงทางเพศทช่ี จ้ี ากรายงานวจิ ยั ไดแ้ ก่ เรอ่ื งเซก็ สค์ รง้ั แรกกบั ความรนุ แรงทางเพศ (กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ, 2551) และความรุนแรงต่อผ้หู ญิงในชีวิตคู่ (กฤตยา อาชวนิจกุลและคณะ, 2546) และ สาม จากสถติ คิ วามรนุ แรงทางเพศจากหนว่ ยงานของรฐั ไดแ้ ก่ จ�ำ นวนคดอี าชญากรรมทางเพศ จำ�นวนเยาวชนท่ีกระทำ�ความผิดละเมิดทางเพศ และจำ�นวนผู้หญิงและเด็กที่มารับบริการจากศนู ย์พึ่งไดใ้ นโรงพยาบาลของรฐั ทว่ั ประเทศ (กฤตยา อาชวนิจกุล, 2552) สรุปสถานการณภ์ าพรวมได้ว่า ข่าวเร่ืองความรุนแรงทางเพศถูกตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน โดยข่าวข่มขืนมีสัดส่วนสูงสุด คือสูงถึงร้อยละ 38 และข่าวการกระท�ำ รุนแรงทางเพศในประเด็นอื่นๆ (การค้าประเวณี การลวนลามทางเพศการตดั อวยั วะเพศ ทัศนคตแิ ละความเช่อื การทำ�ร้ายหรอื การฆา่ กนั ตายเพราะความหงึ หวง) ตามมาเป็นล�ำ ดับสองคอื รอ้ ยละ 26 ซง่ึ รวมกนั แลว้ ขา่ วและบทความเกย่ี วกบั ความรนุ แรงทางเพศมสี ดั สว่ นสงู ถงึ เกอื บสองในสาม(ร้อยละ 64) ของจำ�นวนขา่ วทั้งหมด โดยพบจำ�นวนผู้ถูกกระทำ�รุนแรงทางเพศเพ่ิมขึ้นทุกปี เกือบท้ังหมดเป็นการกระทำ�ของผู้ชายที่ละเมิดทางเพศตอ่ ผหู้ ญิง (รอ้ ยละ 98.3) ทีเ่ หลือเปน็ การกระทำ�ระหวา่ งชายต่อชาย (รอ้ ยละ 1.5) และหญิงกระทำ�ต่อชาย (ร้อยละ 0.3) ผู้กระท�ำ สว่ นใหญ่เปน็ คนสนิท หรือคุน้ เคย จำ�นวนหนึง่ คอื มีความสมั พนั ธ์ทางสายเลอื ดกับผู้ถูกกระทำ� ที่สำ�คัญคือ เด็กผู้หญิงอายุต่ำ�กว่า 15 ปีเป็นคนกลุ่มใหญ่ท่ีสุดในบรรดาผู้ถูกละเมิดทางเพศขณะที่ผกู้ ระทำ�การละเมิดทางเพศก็มอี ายนุ อ้ ยลงเรื่อยๆ ดงั กลา่ วแลว้ วา่ ฐานขอ้ มลู เรอ่ื งเพศจากขา่ วสอ่ื สง่ิ พมิ พ์ มกี ารตพี มิ พข์ า่ วความรนุ แรงทางเพศเฉลยี่ วนั ละ3 ขา่ ว โดยมสี ดั สว่ นสงู ถงึ รอ้ ยละ 64 จากขา่ วเรอ่ื งเพศทงั้ หมด ในทางตรงขา้ มสดั สว่ นของหนงั สอื และงานวจิ ยัท่ีเกี่ยวกบั ความรนุ แรงทางเพศในห้องสมุดมหาวทิ ยาลยั ช้นั นำ�ของประเทศ 5 แหง่ มีอยู่เพยี งรอ้ ยละ 8 เทา่ นั้น(ตาราง 2) โดยสว่ นใหญเ่ ป็นงานทผ่ี ลติ ในรอบ 10 ปีท่ผี ่านมา โดยจำ�นวนหนังสอื และรายงานวจิ ัยท้งั หมดน้ีไม่มีตำ�ราเกี่ยวกับเร่ืองความรุนแรงทางเพศเลยสักเล่มเดียว ซึ่งชี้ถึงความขาดแคลนองค์ความรู้ด้านนี้ในสังคมไทยอย่างยงิ่ตาราง 2 แสดงการกระจายรอ้ ยละของหัวขอ้ ในฐานขอ้ มูลเร่อื งเพศ เปรียบเทยี บระหวา่ งฐานข้อมลู ฯ ในส่วนท่ีเป็นหนงั สือและข่าว กลุม่ ค�ำ ส�ำ คัญทจี่ ัดเกบ็ ฐานข้อมลู ฯ สว่ นหนงั สือ ฐานขอ้ มูลฯ และวทิ ยานพิ นธ์ ขา่ วอนามัยเจรญิ พันธุ์ 63 17ความรุนแรงทางเพศ 8 64การเรยี นรู้เรอื่ งเพศ 16 9ความหลากหลายทางเพศ 5 7เพศภาวะ 4 2หวั ข้ออื่นๆ 4 1 100 รวม: ร้อยละ 3,367 100 จำ�นวน 17,529ท่มี า: กลุ ภา วจนสาระ, 2551, ตาราง 3, หน้า 72. เพศวิถที ี่ก�ำ ลงั เปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย 59

ที่สำ�คัญคอื มุมมองของสงั คมไทยยงั คงมีอคตติ อ่ ผ้หู ญงิ ท่ถี กู ละเมดิ ไม่เปลี่ยนแปลง ไดแ้ ก่ ความเชือ่ ท่ีวา่ ผู้หญิงมีส่วนทำ�ให้เกิดความรุนแรงขึ้น ขณะท่ีผู้หญิงเองที่เป็นผู้ถูกกระทำ�ก็มักลงโทษตนเองและรู้สึกว่าตนเองผิดและสกปรก หรือความเช่ือท่ีว่าความรุนแรงทางเพศต้องมากับบาดแผลและร่องรอยการต่อสู้ เพราะสังคมไทยยงั ขาดความเขา้ ใจถึง รากเหงา้ ของการละเมิดทางเพศวา่ มาจากความสัมพันธเ์ ชิงอำ�นาจระหวา่ งผกู้ ระทำ�กบั ผถู้ กู กระท�ำ หรอื ความคดิ ทว่ี า่ ผกู้ ระท�ำ รนุ แรงทางเพศมกั เปน็ คนผดิ ปกติ คนจน หรอื คนตดิ ยา เปน็ ตน้ อคติตา่ งๆ เหลา่ นย้ี งั ฝงั อยกู่ ระบวนการยตุ ธิ รรมดว้ ย ทง้ั ในเชงิ ตวั บทกฎหมายและระเบยี บปฏบิ ตั ติ า่ งๆ และทศั นคติของบคุ ลากรทเ่ี กย่ี วขอ้ งตอ่ ประเดน็ ความรนุ แรงทางเพศ ทง้ั หมดนจ้ี งึ ทำ�ใหผ้ ถู้ กู ละเมดิ จ�ำ นวนมากไมไ่ ดแ้ จง้ ความต่อต�ำ รวจ จ�ำ นวนคดอี าชญากรรมทางเพศปลี ะหา้ พันกว่าคดี จึงเป็นเพียงยอดของปลายภเู ขาน�ำ้ แข็งเท่าน้ัน 3.3 ผหู้ ญงิ ทท่ี ้องไม่พรอ้ มยงั ไม่สามารถเขา้ ถึงบรกิ ารทำ� แท้งท่ีปลอดภยั ได้ จนถึงทุกวันนีก้ ็ยงั มีผูห้ ญงิ ที่บาดเจบ็ พิการ หรือเสยี ชีวิตจากการท�ำ แท้งทีไ่ มป่ ลอดภัยในทกุ จังหวัดของ ประเทศไทย ทง้ั ๆ ทเ่ี ทคโนโลยที ี่ใช้เพ่ือยุตกิ ารต้ังครรภ์ ได้พัฒนามาอยา่ งต่อเน่อื งและก้าวหน้ามากขน้ึ เร่ือยๆ ในชว่ ง 20 ปที ผี่ า่ นมา จนเกดิ เครอื่ งมอื หรอื ตวั ยาใหมๆ่ ทใ่ี ชง้ า่ ย ปลอดภยั ราคาถกู และมปี ระสทิ ธภิ าพในการ ยุตกิ ารตงั้ ครรภส์ งู ถึงรอ้ ยละ 95 - 99 ได้แก่ เคร่ืองดดู มอื ถือ (Manual Vaccum Aspirator - MVA) ซึง่ ผู้ให้บริการไม่จำ�เป็นต้องเป็นสูตินรีแพทย์ แพทย์ท่ัวไป หรือพยาบาลก็สามารถทำ�ได้ และการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยา (Medical Termination - MTOP) ซ่ึงผู้หญิงสามารถใช้เองได้ หากสามารถเข้าถึงยาได้ (กำ�แหงจาตรุ จินดา, 2554) แต่ประเทศไทยยังหา้ มการนำ�เขา้ ยาเหลา่ น้ี นอกจากเพือ่ นำ�มาใชใ้ นการศึกษาวจิ ยั เทา่ นน้ั เหตุท่ีเป็นเช่นน้ีเพราะการทำ�แท้งยังเป็นส่ิงผิดกฎหมายในบ้านเรา กฎหมายเกี่ยวกับการทำ�แท้งที่ระบุ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 - 305 บังคับใช้มาต้ังแต่ พ.ศ. 2500 หรือ 54 ปีมาแล้ว โดย 3 มาตราแรก (มาตรา 301 - 303) มสี าระส�ำ คัญเก่ยี วกับโทษของการทำ�แทง้ ไมว่ า่ ผหู้ ญงิ ทที่ อ้ งแล้วทำ�แทง้ ดว้ ยตนเอง หรอื ยอมใหผ้ ู้อื่นทำ�แทง้ ให้ มาตรา 304 เป็นเรือ่ งความพยายามจะทำ�แทง้ แลว้ ท�ำ ไม่สำ�เร็จ ไมว่ า่ หญงิ จะยนิ ยอมหรอื ไมก่ ต็ าม การกระท�ำ นัน้ ก็ไม่มคี วามผิด สว่ นมาตรา 305 เปน็ ข้อยกเว้นวา่ ถ้าการท�ำ แท้งนนั้ เปน็ การกระทำ�ของนายแพทย์ โดยผู้หญิงยนิ ยอม บนความจ�ำ เปน็ “ตอ้ งกระท�ำ เนอื่ งจากสขุ ภาพของหญงิ นน้ั หรอื หญงิ มคี รรภเ์ นอื่ งจากการกระท�ำ ความผดิ ทาง อาญา ตามทีบ่ ัญญัติไวใ้ นมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรอื มาตรา 284 ผ้กู ระทำ�ไม่มี ความผิด” ตลอดระยะเวลากว่า 54 ปีท่ีมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับน้ี และมีการปราบปรามจับกุมผู้กระท�ำ ผิด กฎหมายอยู่ตลอด แต่ปรากฏว่ามีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำ�นวนน้อยมาก นายแพทย์วิฑูรย์ อ้ึงประพนั ธ์ (2537: 21 - 42) ตัง้ ขอ้ สังเกตวา่ เงอ่ื นไขท่รี ะบุไวใ้ นมาตรา 305 ซ่งึ เปิดใหแ้ พทย์ทำ�แท้งใหแ้ ก่ ผหู้ ญงิ ไดถ้ า้ ตง้ั ครรภแ์ ลว้ เกดิ ปญั หาสขุ ภาพ หรอื เพราะถกู ขม่ ขนื นนั้ ถอื ไดว้ า่ เปน็ เงอื่ นไขทม่ี ปี ญั หาอยา่ งมาก ในการตีความและการปฏิบัติ ดังนั้นแพทย์ส่วนใหญ่จึงปฏิเสธท่ีจะทำ�แท้ง หรือถ้าทำ�ก็จะตีความ กฎหมายอย่างแคบทีส่ ดุ เพอื่ ไม่ใหต้ นเองถกู ตง้ั ขอ้ กลา่ วหา สถติ จิ ากกระทรวงสาธารณสขุ ชี้วา่ การมกี ฎหมายหา้ มทำ�แท้งไมช่ ว่ ยใหก้ ารลักลอบทำ�แทง้ ลดลง เพราะ ยงั มผี ปู้ ว่ ยดว้ ยภาวะแทรกซอ้ นจากการทำ�แทง้ ทผ่ี ดิ กฎหมาย เขา้ รกั ษาตวั ตามสถานพยาบาลของรฐั ทวั่ ประเทศ60 ประชากรและสังคม 2554

เป็นจำ�นวนหลายหม่ืนคนตอ่ ปี ดังผลการส�ำ รวจสถานการณ์การทำ�แทง้ ในประเทศไทย พ.ศ. 2542 จากผ้ปู ่วยแท้งทั่วประเทศจ�ำ นวน 45,990 คน ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายของผู้หญิงจากการท�ำ แท้งสงู ถงึ 300 ต่อแสน ขณะทอี่ ัตราตายของผหู้ ญงิ ทต่ี ั้งครรภแ์ ล้วคลอดทารกมีชีพมเี พยี ง 20 ต่อแสนเทา่ นน้ั จนแมแ้ ตแ่ พทยเ์ องยงั ยอมรบั วา่ อนั ตรายจากการท�ำ แทง้ ทไ่ี มไ่ ดม้ าตรฐานนน้ั เปน็ ปญั หาสาธารณสขุล�ำ ดับตน้ ของประเทศมาโดยตลอด (Boonthai, et al., 2003) สถานการณ์ท่ีด�ำ รงอยู่ต่อเน่ืองไม่เปลี่ยนแปลงเลยนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะขณะที่ประเทศไทยประสบความสำ�เร็จเป็นท่ียอมรับทั่วโลกในงานวางแผนครอบครัว และอนามัยการเจริญพันธ์ุ แต่เรายังคงปล่อยให้ผู้หญิงไทยต้องล้มตายและพิการจากปัญหาทางสุขภาพที่รักษาได้ง่ายๆ น้ีต่อไป เป็นที่มาของคำ�ถามสำ�คัญสองข้อท่ีเป็นคนละด้านของเหรียญเดียวกัน คือ หน่ึง เหตุใดสังคมไทยไม่เห็นว่าชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้มีคณุ คา่ พอทจ่ี ะไดร้ บั การดแู ลรกั ษา? และ สอง ทำ�ไมการตายและบาดเจ็บของผู้หญิงจากการทำ�แท้งที่ไม่ปลอดภยั จงึ ยังเปน็ ปัญหาสาธารณสขุ ทแ่ี กไ้ ขไม่ส�ำ เรจ็ ? สถานการณ์ขา้ งตน้ นีส้ ะทอ้ นอะไรบ้าง? (กฤตยา อาชวนิจกุล และนภาภรณ์ หะวานานท,์ 2537) (1) สะท้อนความล้มเหลวของสังคมไทย ในการปรับเปล่ียนบรรทัดฐานความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผหู้ ญงิ ให้สอดคลอ้ งกบั สภาพความเปน็ จริง (2) สะท้อนความไร้ประสทิ ธภิ าพในการใหค้ วามรู้เรือ่ งเพศศกึ ษาแก่ประชาชนทกุ กลมุ่ วัย (3) สะท้อนความลม้ เหลวของการให้บรกิ ารคมุ ก�ำ เนิดท่ไี มส่ ามารถบริการได้อย่างทว่ั ถงึ ในทกุ กลมุ่ (4) สะท้อนความอยุติธรรมของสังคม ที่สร้างเง่ือนไขทำ�ให้ผู้หญิงต้องกลายเป็นผู้รับผิดชอบและแบกผลลพั ธต์ า่ งๆ ทเ่ี ปน็ ความเจบ็ ปวดทง้ั ทางรา่ งกาย จติ ใจ อารมณ์ และสงั คม อนั สบื เนอ่ื งมาจากการตง้ั ครรภ์ไมพ่ รอ้ ม โดยปราศจากการชว่ ยเหลอื และสนบั สนนุ จากสงั คมอยา่ งเปน็ ระบบ และยงั ถกู นยิ ามตามกฎหมายวา่เปน็ ผู้ประกอบอาชญากรรมอกี ดว้ ย4. วิเคราะหบ์ ริบทสงั คมไทยกับเพศวถิ ีท่ี (ไม่) เปลี่ยนไป บรบิ ททส่ี ง่ ผลใหเ้ กดิ ความเปลย่ี นแปลงเรอ่ื งเพศวถิ ใี นสงั คมไทย นา่ จะมาจากการเปลย่ี นแปลงสามเรอ่ื ง คอื (1) เสรีภาพทางการเมืองน�ำ มาสู่เสรีภาพเพศวิถี กระบวนการเปล่ียนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การเปลย่ี นแปลงทางการเมืองหลงั เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ท่ีสามารถขับไล่ผู้นำ�เผด็จการทางทหารออกจากประเทศไปได้ และเปิดบรรยากาศของเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนกลุ่มต่างๆ หลังถูกปิดกั้นมานานมากกว่า 10 ปี ถ้าพูดภาษา postmodernism ก็คือเร่ืองท่ีเคยถกู กดทบั ไว้ ถูกเบยี ดทบั ไว้ ก็คอ่ ยๆ เผยตวั มันออกมา หลังปี 2516 ได้เกิดการเคลื่อนไหวจากประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่เห็นชัดเจนคือ ผู้ใช้แรงงานออกมาเคล่ือนไหวขอเพ่ิมค่าแรงท่ีถูกกดตลอดมาในยุครัฐบาลเผด็จการทหาร มีการประท้วงที่เรียกกันว่าประท้วงรายวนั เกดิ ขน้ึ บอ่ ยครงั้ มาก เกดิ ขบวนการชาวไรช่ าวนาเรยี กรอ้ งการปฏริ ปู ทด่ี นิ และขอขนึ้ ราคาพชื ผลการเกษตรหลังจากน้ันมีการจัดต้ังสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย และเกิดหนังสือพิมพ์รายวันและนิตยสารที่ เพศวิถที ่ีกำ�ลงั เปล่ียนแปลงไปในสงั คมไทย 61

ออกใหม่ท่ีสนใจปัญหาสังคม หรือทเ่ี รียกกนั วา่ ‘hard news’ มากข้ึน รวมถึงการเกดิ โครงการประชาธิปไตยสู่ชนบท และการปฏริ ปู การศึกษา เป็นต้น เรื่องเพศวิถีที่มีข้อโต้เถียงในหนังสือพิมพ์ชัดเจนก็คือเรื่องการท�ำ แท้ง ดังตัวอย่างข่าวที่ปรากฏในช่วงปีพ.ศ. 2517 - 2518 ดังต่อไปน้ี (รังสรรค์, 2523:55) ‘แพทย์ 14 ประเทศว่าควรเลิกกฎหมายทำ�แท้ง’(ประชาธิปไตย 4 กุมภาพันธ์, 2517) ; ‘ร.ม.ต. อุดม เห็นควรแก้กฎหมายห้ามทำ�แท้ง’ (ประชาธิปไตย,8 กมุ ภาพนั ธ์ 2517) ; สรรใจ แสงวิเชียร ‘การท�ำ แท้งเสร’ี (สยามรฐั 27 กมุ ภาพันธ,์ 2517) ; สมมาตรแก้วโรจน์ ‘การทำ�แทง้ ควรแกท้ ป่ี ลายเหตุหรอื ’ (สยามรฐั 26 สิงหาคม, 2516) ; จนั อบั ‘อนั ตรายจากการทำ�แท้ง’ (สยามรฐั 30 กนั ยายน, 2518) ; สนั ติภาพ ไชยวงศเ์ กยี รติ ‘เมืองไทยควรออกกฎหมายการทำ�แท้งไดแ้ ลว้ ’ (ประชาชาติ 6 มกราคม, 2518) ขณะเดียวกันเยาวชนในช่วงนี้และคนท่ีเกิดหลัง 14 ต.ค. ล้วนเติบโตมากับบรรยากาศทางการเมืองท่ีคนหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัย และในระดับโรงเรียนท้ังสายสามัญและสายอาชีวศึกษา ต่างออกมาทำ�กิจกรรมสาธารณะเพื่อผู้อื่น การเรียนรู้เรื่องเร่ืองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ กระจายไปอยา่ งรวดเรว็ และหนง่ึ ในนั้นคอื เร่อื งเพศวถิ ี แม้ในอกี 3 ปีต่อมาจะเกิดรฐั ประหารในวนั ที่ 6 ตลุ าคม 2519หลังเหตุการณ์สังหารนักศึกษาอย่างป่าเถื่อนทั้งในและนอกร้ัวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่รัฐประหารครั้งนี้ก็ไม่สามารถสะกัดก้ันวิญญาณประชาธิปไตยที่เติบโตให้แคระแกร็นได้ เพราะเม่ือปัจเจกต่ืนรู้ เข้าใจสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองแล้ว ความต่นื รู้กม็ ีโอกาสทจ่ี ะคงอยตู่ ลอดไป (2) การระบาดของเอชไอว/ี เอดสแ์ ละการเตบิ โตของภาคประชาสงั คม (ประมาณหลงั พ.ศ. 2530)เป็นจุดเปล่ียนเรื่องเพศวิถีที่สำ�คัญเช่นกัน เพราะการระบาดของเอดส์ในประเทศไทยที่มีสถิติชี้ชัดว่า มีสาเหตุหลกั มาจากการมเี พศสมั พนั ธท์ ไ่ี มป่ ลอดภยั ท�ำ ใหม้ เี มด็ เงนิ มาสนบั สนนุ การวจิ ยั เรอ่ื งเพศมากขน้ึ มาก กอ่ นหนา้ น้ีไม่เคยมีงานวิจัยสำ�รวจระดับชาติเก่ียวกับพฤติกรรมทางเพศ ก็เกิดมีขึ้นคร้ังแรกใน พ.ศ. 2533 จนมีรายงานออกมาชอ่ื ‘Thai Sexual Behavior and Risk of HIV Infection: A Report of the 1990 Survey of PartnerRelations and Risk of HIV Infection’ (Sittitrai, et al., 1992) ประกอบกับในช่วงใกล้เคียงกันนี้ มีนักเรียนนักศึกษาท่ีเข้าป่า ไปร่วมต่อสู่กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เรม่ิ ทยอยเดนิ ทางออกจากปา่ คนกลมุ่ นจ้ี �ำ นวนมากไดห้ นั มาท�ำ งานในองคก์ รพฒั นาเอกชน (อพช.)กล่าวได้ว่างานภาคประชาสังคมในประเทศไทยเติบโตข้ึนมากหลังจากท่ีคนออกจากป่า เพราะทางเลือกหน่ึงของคนหนมุ่ สาวกลมุ่ นท้ี ย่ี งั ตอ้ งการท�ำ งานเพอื่ สงั คมตอ่ ไปในความเชอื่ ของตวั เอง กค็ อื การเขา้ รว่ มงานกบั องคก์ รในภาคประชาสังคม อพช. ได้กลายเป็นพลังขับเคล่ือนเรื่องสาธารณะท่ีสำ�คัญต้ังแต่ในยุคน้ีเป็นต้นมา หน่ึงในประเด็นท่ีขับเคล่ือนคือเร่ืองเพศวิถีที่เริ่มจากงานเอดส์ และเกิดการปรากฏตัวของเกย์และกะเทยท่ีทำ�งานต้านเอดส์และเรียกร้องสิทธิของผู้ติดเช้ือ ขณะที่งานเก่ียวกับสิทธิผู้หญิงและสิทธิเด็กก็เติบโตชัดเจนอย่างรวดเร็ว ได้แก่การเคลื่อนไหวเพ่ือยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ซ่ึงอพช.ด้านผู้หญิงและด้านเด็ก ได้ร่วมกันทำ�งานเป็นเครอื ขา่ ยตงั้ แตช่ ว่ งนจี้ นถงึ ปจั จบุ นั และคณะท�ำ งานเพอ่ื ยตุ กิ ารเอาเปรยี บเดก็ ทางเพศ (พปพ.) ทม่ี งุ่ ท�ำ งานเรอื่ งยุติปัญหาโสเภณีเด็กในช่วงปี พ.ศ. 2533 - 2536 รวมถึงการเกิดขององค์กรที่ทำ�งานด้านสิทธิของคนรักเพศเดียวกันองค์กรแรกในประเทศไทย คือ อัญจารี ท่ีตั้งข้ึนใน พ.ศ. 2529 แต่มามีชื่อกลุ่ม ใน พ.ศ. 2531(กฤตยา อาชวนิจกลุ และกนกวรรณ ธราวรรณ, 2545)62 ประชากรและสังคม 2554

(3) การเติบโตของยุคไอทีและสื่อสารสนเทศ การเกิดขึ้นของส่ือสมัยใหม่ประมาณปี พ.ศ. 2540เป็นต้นมา ไมว่ า่ จะเป็นอินเตอรเ์ นต็ และเครอื ข่ายสงั คมบนพ้นื ท่ไี ซเบอร์ โทรศัพท์มอื ถอื ไอโฟน และไอแพดคือ การเปิดพ้ืนท่ีใหม่อีกพื้นที่หนึ่งในการเรียนรู้เรื่องเพศ ซึ่งต่างจากบริบทข้างต้น คือมีลักษณะเป็นเร่ืองของปจั เจกมากขนึ้ เพราะสามารถทจี่ ะเรยี นรไู้ ดด้ ว้ ยตนเอง โดยเลอื กทจ่ี ะเขา้ ถงึ เรอื่ งเพศแบบใดกไ็ ด้ นานเทา่ ไรกไ็ ด้ตามทต่ี นเองตอ้ งการ ยกเว้นเยาวชนวัยเรยี นท่อี าจถูกควบคุมเวลาจากผ้ปู กครองบ้าง ไอทีคือลมหายใจใหม่ที่ขาดไม่ได้ของเยาวชนและคนที่ติดสื่อบนพ้ืนท่ีไซเบอร์ เดิมวัยรุ่นไทยสามารถเข้าถึงและเรียนรู้เร่ืองเพศจาก 3 ช่องทางหลัก คือ จากเพ่ือน จากการอ่านหนังสือ และจากการดูวิดีทัศน์โดยวัยรุ่นมักอ่านหนังสือหรือดูหนังโป๊แล้วก็คุยกับเพื่อน ‘อินเตอร์เน็ต’ คือ ช่องทางเรียนรู้เรื่องเพศท่ีสำ�คัญในปัจจุบัน ซ่ึงผู้เขียนเข้าใจว่าน่าจะมาแรงแซงหน้าช่องทางอื่นๆ เพราะมาพร้อมกับรูป เสียง ท่าทาง และการสนทนาได้ในเวลาเดียวกัน ผู้เขียนสันนิษฐานว่า คนท่ีเติบโตมากับสังคมไซเบอร์น้ี น่าจะมีวิถีทางเพศแตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน แต่จะแตกต่างอย่างไร ในด้านไหน ด้วยเหตุอะไร น่าจะมีการศึกษาวจิ ยั ต่อไปในอนาคต ควรกล่าวเพม่ิ เติมดว้ ยวา่ บรบิ ทข้างต้นน้ยี ังนำ�กระแสสิทธมิ นุษยชนเขา้ มาพรอ้ มๆ กบั การเปลยี่ นแปลงทางการเมือง เพราะเร่ืองสิทธิมนุษยชนเป็นกระแสของโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยไม่สามารถจะปฏิเสธได้ดังกล่าวแล้วว่า เสรีภาพทางการเมืองก็คือเสรีภาพและสิทธิทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิท่ีจะมีชีวิตท่ีปลอดภัยทางเพศ หรือปลอดความรนุ แรงทางเพศทุกรูปแบบ ซ่งึ ในภาคปฏิบัติแลว้ ก็รวมทกุ เร่ืองท่ีเกี่ยวกบั เพศวิถีเข้ามาไมว่ า่ จะเปน็ การแตง่ งาน การมลี กู การหยา่ การท�ำ แทง้ การรกั เพศเดยี วกนั การอยเู่ ปน็ โสด และเรอื่ งเพศอนื่ ๆอีกมากมาย5. สรุป วถิ ที างเพศของคนไทยทีเ่ ปลยี่ นแปลงไปจากเดมิ และทย่ี ังไม่เปลี่ยนแปลงทบ่ี รรยายมาทัง้ หมดน้ี มที งั้ ที่เป็นเร่ืองดา้ นบวกและด้านลบ ผู้เขียนเป็นหน่งึ ในฟนั เฟืองท่ที �ำ งานขบั เคลอ่ื นเรื่องเพศวิถี เพศภาวะ และสิทธิอนามยั เจรญิ พนั ธ์ุ มานานหลายสบิ ปี ปจั จบุ นั ไดเ้ ขา้ รว่ มกระแสสรา้ งสงั คมทม่ี สี ขุ ภาวะทางเพศ และอยากชกั ชวนผอู้ า่ นได้เข้ารว่ มด้วย เพ่อื ช่วยกนั ผลักดนั ใหเ้ กิด... (1) รัฐบาลทีต่ ระหนกั ว่าสขุ ภาวะทางเพศเป็นสิทธิพื้นฐาน (2) นโยบายและกฎหมายท่ีคมุ้ ครองสทิ ธทิ างเพศ (3) การให้การศกึ ษาเร่ืองเพศศึกษารอบดา้ นทเ่ี หมาะสมตลอดชว่ งอายุ (4) โครงสรา้ งพน้ื ฐานทเี่ พยี งพอตอ่ การใหบ้ รกิ ารอนามยั เจรญิ พนั ธแ์ุ ละสขุ ภาพทางเพศทล่ี ะเอยี ดออ่ นและเป็นมิตร (5) การวิจยั และระบบเฝา้ ระวังสขุ ภาวะทางเพศที่รอบด้าน (6) สังคมท่ใี ห้ความสำ�คัญตอ่ ความหลากหลายทางเพศ เพศวถิ ที ก่ี ำ�ลังเปลีย่ นแปลงไปในสงั คมไทย 63

เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย กฤตยา อาชวนิจกุล. (2537). จับตาสถานการณ์การค้าเด็กหญิงในรอบสิบปี ในยุคนโยบายยุติปัญหาโสเภณีเด็กขึ้นหิ้งรัฐไท. ใน จรรยา เศรษฐบตุ ร และสภุ าณี เวชพงศา (บรรณาธกิ าร), NICS เขตปลอดโสเภณี ?(หนา้ 229-267). นครปฐม: สถาบนั วจิ ยั ประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล. กฤตยา อาชวนจิ กลุ . (2541). จ�ำ นวนโสเภณเี ดก็ ในประเทศไทยมเี ทา่ ไรกนั แน่ ? เอกสารประกอบการประชมุ เพอื่ รบั ฟงั ความคดิ เหน็ เกี่ยวกับจำ�นวนโสเภณีเด็กในประเทศไทย จัดโดย กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, ณ ห้องประชมุ ช้นั 6 โรงพยาบาลบำ�ราศนราดูร, นนทบรุ ,ี วันที่ 27 กรกฎาคม 2541. กฤตยา อาชวนิจกุล (บรรณาธิการ). (2552). ถึงเวลาต้องเข้าใจและแก้ไข... ความรุนแรงทางเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม. กรงุ เทพมหานคร: แผนงานสร้างเสริมสขุ ภาวะทางเพศ และสำ�นกั งานคณะกรรมการสุขภาพแหง่ ชาติ. กฤตยา อาชวนจิ กลุ และนภาภรณ์ หะวานนท์ (บรรณาธกิ าร). (2537). ทศิ ทางใหมข่ องการวางแผนครอบครวั และเพศศกึ ษา. รายงาน จากการถอดเทปการสัมมนาทางวิชาการเร่ือง ทิศทางใหม่ของการวางแผนครอบครัวและเพศศึกษา เพื่อใช้เป็นเอกสาร ประกอบการประชมุ ระดบั ชาตเิ รือ่ ง “การตั้งครรภไ์ มพ่ งึ ประสงค์: ประเด็นท้าทายการให้บริการทางดา้ นสาธารณสขุ ของรัฐ” จดั โดย บณั ฑติ วทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ และสถาบนั วจิ ยั ประชากรและสงั คม มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล ณ โรงแรม ปรนิ ซพ์ าเลส, กรุงเทพมหานคร, วนั ท่ี 7 ธนั วาคม 2537. กฤตยา อาชวนจิ กลุ และพรสขุ เกดิ สวา่ ง. (2540). เสน้ ทางแรงงานหญงิ จากประเทศเพอื่ นบา้ นสธู่ รุ กจิ บรกิ ารทางเพศในประเทศไทย. นครปฐม: สถาบนั วจิ ัยประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล. กฤตยา อาชวนิจกุล และกนกวรรณ ธราวรรณ. (2545). ขบวนการทางสังคมบนมติ ิการเมอื งเรอื่ งเพศและร่างกายผู้หญิง. ใน ผาสุก พงษ์ไพจติ ร และคณะ, วิถชี ีวติ วธิ ีสู้: ขบวนการประชาชนรว่ มสมยั (หน้า 34-129). เชยี งใหม่: ซลิ คเ์ วอรม์ บุค๊ . กฤตยา อาชวนิจกุล, ชน่ื ฤทยั กาญจนะจติ รา, วาสนา อมิ่ เอม, และอษุ า เลิศศรีสันทดั . (2546). ความรนุ แรงในชวี ติ คู่กับสขุ ภาพ ผู้หญิง. นครปฐม: สถาบันวิจยั ประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหดิ ล. กฤตยา อาชวนิจกลุ และกนกวรรณ ธราวรรณ. 2550. วเิ คราะหว์ ธิ ีคิดวทิ ยาในงานวิจัยเร่ืองเพศภาวะและเพศวิถกี ับเอดสศ์ ึกษา. กรงุ เทพมหานคร: แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ มูลนธิ ิสร้างความเขา้ ใจเร่อื งสขุ ภาพผูห้ ญิง. กฤตยา อาชวนจิ กลุ และพรสิ รา แซก่ ว้ ย. (2551). การควบคมุ เรอ่ื งเซก็ สก์ บั เพศวถิ ที เ่ี ปลย่ี นไป. ใน กฤตยา อาชวนจิ กลุ และกาญจนา ต้ังชลทิพย์ (บรรณาธิการ), ประชากรและสังคม 2551: มิติ ‘เพศ’ ในประชากรและสังคม (หน้า 80-95). นครปฐม: ส�ำ นักพิมพ์ประชากรและสงั คม. กฤตยา อาชวนิจกุล, ช่ืนฤทัย กาญจนะจิตรา, และวาสนา อิ่มเอม. (2551). เซ็กส์คร้ังแรกของคนไทย... ต้องการหรือถูกบังคับ คู่นอนคอื ใคร และใช้ถงุ ยางหรือไม่?. ใน กฤตยา อาชวนิจกุล และกาญจนา ตง้ั ชลทิพย์ (บรรณาธิการ), ประชากรและสังคม 2551: มติ ิ ‘เพศ’ ในประชากรและสงั คม (หน้า30-46). นครปฐม: สำ�นักพมิ พ์ประชากรและสงั คม. กุลภา วจนสาระ. (2551). มี ‘เรอื่ ง’ เพศแบบไหนในหอ้ งสมุดและในข่าว. กรงุ เทพมหานคร: แผนงานสรา้ งเสรมิ สขุ ภาวะทางเพศ มลู นธิ ิสรา้ งความเขา้ ใจเร่อื งสขุ ภาพผหู้ ญิง (สคส.). กำ�แหง จาตุรจินดา. (2554). การแท้งที่ไม่ปลอดภัย ใครรับผิดชอบ?. เอกสารประกอบการการอบรมเรื่อง ‘การป้องกันการแท้ง ท่ีไม่ปลอดภัย’ จัดโดย มูลนิธิเพื่อสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี (แห่งประเทศไทย) ร่วมกับส�ำ นักอนามัย การเจริญพันธุ์ กรมอนามัย, ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงแรมเซ็นจนู รี่ปาร์ค, กรุงเทพมหานคร, วนั ที่ 16-18 มนี าคม 2554. จติ ตมิ า ภาณเุ ตชะ. (2551). 11 ปแี หง่ ความเคลอื่ นไหวของความหลกหลายทางเพศ (2540-2550). ใน กลุ ภา วจนสาระ (ผเู้ ขยี น), มี ‘เรื่อง’ เพศแบบไหนในห้องสมุดและในข่าว( หน้า 92-98). กรุงเทพมหานคร: แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ มูลนิธสิ รา้ งความเข้าใจเรอื่ งสุขภาพผู้หญงิ (สคส.). เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2550). มองพัฒนาการสังคมไทย ผ่านประเด็น “อัตตลักษณ์ทางเพศ” ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ. สืบค้นเมื่อ วันท่ี 13 มีนาคม 2554, จาก ผู้จัดการออนไลน์: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID =9500000076558. จันทรจ์ ิรา บญุ ประเสรฐิ . (2554). ชีวติ ทถี่ กู ละเมิด: เรื่องเล่ากะเทย ทอม ดี้ หญงิ รกั หญิง ชายรกั ชาย และกฎหมายสทิ ธมิ นุษยชน ระหวา่ งประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มลู นิธธิ ีรนาถ กาญจนอักษร และสมาคมฟ้าสรี งุ้ แห่งประเทศไทย.64 ประชากรและสังคม 2554

ชนื่ ฤทยั กาญจนะจติ รา, ชาย โพธสิ ติ า, กฤตยา อาชวนจิ กลุ , และวาสนา อมิ่ เอม. (2546). วยั รนุ่ กบั ถงุ ยางและภยั เอดส.์ ใน สขุ ภาพ คนไทย 2546 (หน้า 62-65). นครปฐม: สถาบนั วิจัยประชากรและสงั คม มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล.ทพิ วลั ย์ มารศรี และ เมทนิ ี พงษเ์ วช. (มปป.). “โลกหมุนไดด้ ว้ ยมือฉนั ”: โครงการเสรมิ สรา้ งทกั ษะชวี ติ สขุ ภาพทางเพศ และอนามยั เจรญิ พนั ธ์ุ ส�ำ หรับวยั มธั ยมต้น, เอกสารอดั ส�ำ เนา.นิมิต มั่งมีทรัพย์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างเพศและเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานของวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต พฒั นศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ.นันทิยา สุคนธปฏิภาค. (2552). เรือ่ ง ‘เพศ’ ในคูม่ อื การเรียนการสอนเรื่อง ‘เพศศึกษา’ ในสถานศกึ ษาไทย. รายงานวิจัยเสนอตอ่ แผนงานสรา้ งเสรมิ สุขภาวะทางเพศ ระยะทห่ี น่ึง, เอกสารอัดสำ�เนา.ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัทมา ว่าพัฒนวงศ์. (2551). ความไม่สมดุลของประชากรชายและหญิงในประเทศไทย. ใน กฤตยา อาชวนิจกุล และกาญจนา ต้ังชลทิพย์ (บรรณาธิการ), ประชากรและสังคม 2551: มิติ ‘เพศ’ ในประชากรและสังคม (หน้า 4-16). นครปฐม: สำ�นักพมิ พป์ ระชากรและสังคม.พริศรา แซ่ก้วย. (2547). ส้ันๆ เก่ยี วกบั เพศวิถีในมุมมองสตรีนิยม. ใน กาญจนา แก้วเทพ และพรศิ รา แซก่ ้วย (บรรณาธิการ), เพศวถิ ี : วนั วาน วนั น้ี และวันพร่งุ ท่ีจะไม่เหมอื นเดมิ (หน้า 13-22). กรุงเทพมหานคร : ศูนยส์ ตรีศกึ ษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่.พรพรรณ บรู ณสจั จะ. (2549). การเปลยี่ นแปลงลกั ษณะของการใหบ้ รกิ ารทางเพศ. รายงานเฝา้ ระวงั ทางระบาดวทิ ยา ประจ�ำ สปั ดาห,์ 37 (5): 73-75.วจิ ติ ร วอ่ งวารที พิ ย.์ (2554). ‘หลกั การ เหตผุ ล และผล...?: บททบทวนโครงการเพศศกึ ษาในโรงเรยี น’. จดุ ยนื : วารสารสตรนี ยิ มไทย, ฉบบั ที่ 5 อยรู่ ะหว่างการจัดพมิ พ์.วฑิ ูรย์ องึ้ ประพันธ์. (2537). กฎหมายทำ�แทง้ : ข้อโตแ้ ยง้ ที่ยงั ไม่ยุต.ิ กรงุ เทพมหานคร : สำ�นักพมิ พ์เจนเดอร์เพรส.วิลาสินี พิพิธกุล. (2547). วาทกรรมเรื่องเพศในหนังสือพิมพ์. เอกสารประกอบการประชุมคณะผู้เช่ียวชาญและคณะทำ�งาน เพอ่ื บญั ญตั ศิ พั ทก์ ารน�ำ เสนอขา่ วผหู้ ญงิ ในสอ่ื มวลชน, ณ สมาคมนกั ขา่ วนกั หนงั สอื พมิ พแ์ หง่ ประเทศไทย, กรงุ เทพมหานคร, วันท่ี 11 กนั ยายน 2547.ยุพา พูนคำ� และ กอบกาญจน์ มหทั ธโน. (2544). เพศศกึ ษา : ภูมิคุม้ กนั ท่วี ัยรนุ่ ต้องไดร้ บั . วารสารการสง่ เสริมสุขภาพและอนามยั ส่ิงแวดลอ้ ม, 24(2): 26-32.ระวิวรรณ แสงฉาย. (2538). การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา: แนวคิดสำ�หรับพ่อแม่ ครูผู้สอนในโรงเรียน บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสขุ . กรุงเทพมหานคร: ทพี พี รน้ิ ท.์รงั สรรค์ ธนะพรพนั ธ.์ุ (2523). การยกเลกิ กฎหมายหา้ มการทำ�แทง้ : ขอ้ สนบั สนนุ และขอ้ คดั คา้ น. ใน สพุ ร เกดิ สวา่ ง (บรรณาธกิ าร), ข้อเทจ็ จรงิ เก่ียวกบั การทำ�แทง้ ในประเทศไทย( หน้า 39-51). กรงุ เทพมหานคร: ธรี ะการพมิ พ.์ส�ำ นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ . (2550). แนวทาง การจดั กิจกรรมการเรยี นรู้เพศศกึ ษา ชว่ งชน้ั ท่ี 1 ชน้ั ประถมศึกษาปที ี่ 1 – 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์ชมุ นุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจ�ำ กัด._______________. (2550). แนวทางการจดั กจิ กรรมการเรยี นรเู้ พศศกึ ษา ชว่ งชนั้ ท่ี 2 ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 4 – 6. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพช์ มุ นุมสหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทยจำ�กดั ._______________. (2550).แนวทางการจดั กจิ กรรมการเรยี นรเู้ พศศกึ ษา ชว่ งชนั้ ที่ 3 ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 1 – 3. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพช์ มุ นุมสหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทยจ�ำ กดั ._______________. (2550).แนวทางการจดั กจิ กรรมการเรยี นรเู้ พศศกึ ษา ชว่ งชนั้ ท่ี 4 ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 4 – 6. กรงุ เทพมหานคร: โรงพมิ พ์ชมุ นุมสหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทยจ�ำ กัด.องค์การแพธ (PATH). (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านในสถานศึกษาสำ�หรับผู้บริหารสถานศึกษา. กรงุ เทพมหานคร: บริษทั เออร์เจนท์ แทค จ�ำ กดั .อทิ ธิพล ปรีตปิ ระสงค์. (2546). ‘ธรุ กจิ นอกระบบ’ ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบธุรกิจสื่อลามกอนาจารบนอนิ เตอรเ์ น็ต. รายงาน วจิ ัยของมลู นิธิคนงึ ฤๅไชย, เอกสารอัดสำ�เนา. เพศวิถีท่ีก�ำ ลังเปลีย่ นแปลงไปในสังคมไทย 65

หนงั สือพมิ พ์ ข่าวสด. วนั ท่ี 7 ธันวาคม 2553. (ชีพ้ ่อแม-่ ครูร่วมสอนเซ็กสป์ ลอดภัย) ผจู้ ดั การรายวนั . วนั ที่ 16 กรกฎาคม 2546. (ชีถ้ งึ เวลา เปดิ ขายบรกิ ารทางเพศถกู กฎหมาย ลดปญั หาสงั คม) ประชาชาตธิ ุรกจิ . วนั ท่ี 15 สิงหาคม 2551. (เปดิ ภาคนิพนธ์”ชูวทิ ย”์ มหาบัณฑิตมธ.ช�ำ แหละเพศพาณิชย์แสนลา้ น). มติชนรายวนั . วนั ท่ี 26 พฤศจิกายน 2553. (ผู้ปกครองเห็นด้วยกว่า 90% สอนเพศศกึ ษาสกัดทำ�แทง้ ) ไทยโพสต.์ วนั ท่ี 27 พฤศจกิ ายน 2553. (สะกดิ รร. ‘เลิกอำ้�อึง้ ’ สอนเรอื่ งเพศ) ภาษาองั กฤษ Boonthai, N., Warakamin, S., Tangcharoensathien, V., & Pongkittilah, W. (2003). Voices of Thai Physicians on Abortion. Unpublished Document, Reproductive Health Division, Department of Health, Ministry of Public Health. Daly, K. (2011). For the first time, more Americans support than oppose same-sex marriage. Retrieved 16 April 2011: http://www.americanindependent.com/172674/survey-for-the-first-time-more-americans- support-than-oppose-same-sex-marriage. Doksone, T. (2011). Lesbians in Thailand Push Boundaries, Become Chic. Associated Press Online Retrieved 16 April 2011: http://m.apnews.com/ap/db_15806/contentdetail.htm?contentguid= QC1LBZa4 Jackson, P. (2000). An Explosion of Thai Identities: Global Queering and Re-Imaging Queer Theory. Culture, Health & Sexuality, 2(4): 405-424. Jackson, P. A., & Cook, N.M. (1999). Genders & Sexualities in Modern Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books. Jackson, P. (1999). Male homosexuality and transgenderism in the Thai Buddhist tradition. In Winston Leyland (Ed.), Queer Dharma: Voices of Gay Buddhists (pp. 55–89). San Francisco: Gay Sunshine Press. Ngamprapasom, N. (2001). The First Sexsual Intercourse of Thai Men. Unpublished Ph.D Dissertation in Demography, Institute for Population and Research, Mahidol University. Phodhisita, C., & Xenos, P. (2009). Survey comparisons of sexual risk behavior of young adults in Thailnad, Vietnam, and the Philippines. In A. Chamratrithirong & D. Phuengsamran (Eds.), :The Era of ARV in the Generalised HIV Epidemic in Thailand: Research Approach(pp. 43-68). Nakhon Pathom: Institute for Population and Research, Mahidol University. Sittitrai, W., Phanuphak, P., Barry, J., & Brown, T. (1992). Thai Sexual Behavior and Risk of HIV Infection: A Report of the 1990 Survey of Partner Relations and Risk of HIV Infection. Program on AIDS, Thai Red Cross Society and Institute of Population Studies, Chulalongkorn University. Sabaiying, M. (2009). Social perception and evolving sexual behavior and partner preference of young people. In A. Chamratrithirong & D. Phuengsamran (Eds.), :The Era of ARV in the Generalised HIV Epidemic in Thailand: Research Approach (pp. 43-68). Nakhon Pathom: Institute for Population and Research, Mahidol University. Yamarat, K. (2010). Sexual partnering among college students: Challenge against traditional sexual control?. Journal of Population and social Studies, 18(2): 65-86.66 ประชากรและสังคม 2554


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook