2. ความสุภาพเรียบร้อย ทั้งผู้หญิงและผู้ชายไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายเพ่ือในโอกาสใด พื้นฐานร่วมกนั ทีค่ วรมีอยู่ คือ ความสุภาพเรยี บร้อย ความสุภาพเรียบร้อยมักอยู่ดว้ ยกนั แต่ไม่ใชอ่ ยา่ ง เดียวกัน ความสุภาพในการแต่งกายจะต้องใช้เรื่องของโอกาสเข้ามาตัดสิน ในบางโอกาสเราอาจ แต่งกายไม่สุภาพก็ได้ เช่น เวลาไปงานสังสรรค์ร่ืนเริงในหมู่เพ่ือนสนิทของตนซ่ึงมักไม่มีใครเข้มงวด ระวังเรื่องความสุภาพนักแต่เวลาไปทำงานหรือออกงานต่าง ๆ ท่ีจะต้องพบปะผู้คนมากมายหลาย ระดับ เราต้องแต่งกายให้สุภาพมากกว่าปกติ ซ่ึงความสุภาพเรียบร้อยในการแต่งกายแบบผู้หญิงและ ผูช้ าย มีรายละเอียดทต่ี ่างกัน ดงั น้ี 2.1 ผูช้ าย การแตง่ กายที่สุภาพเรยี บรอ้ ย คอื ใสเ่ สือ้ และกางเกงที่สไี ม่สดเดน่ หรอื มี ลวดลายจนเกินไป ถ้าใส่สูทสากลเสื้อและกางเกงนิยมให้เป็นผ้าเดียวกันและสีเดียวกัน เสื้อใส่ไป ทำงานควรเป็นเชิ้ตแขนยาวกับกระดุมเส้ือทุกเม็ด ต่อชายเสื้อในกางเกง และไม่พับแขนเส้ือข้ึน ผกู เนคไทให้ยาวระดบั หวั เขม็ ขัด สวมถงุ เทา้ สเี ขม้ และรองเท้าหนงั แบบหุ้มสน้ 2.2 ผูห้ ญงิ การแตง่ กายสุภาพเรยี บร้อย คอื ใสเ่ ส้ือผา้ ที่สีไม่สดเด่นจนเกินไป เสอื้ ผา้ ไม่คับหรือหลวมเกินไป เส้ือผ้าไม่มีลายฉลุหรือเนื้อบางเบาเห็นรูปร่าง ขอเส้ือไม่คว้านลึกจนเกินไป กระโปรงไม่สั้นหรือยาวเกินไป ไม่เว้าแหว่งหรือผ่าสูง เครื่องประดับควรใส่แต่พอดีและไม่ใส่ เครื่องประดับท่ีมีเสียงรบกวนผู้อื่น มีการแต่งหน้า แต่งผม และแต่งเล็บแต่พองาม ไม่ใช้น้ำหอมที่มี กลิน่ แรงเกินไป ใสร่ องเทา้ แบบหุ้มสน้ หรือแบบมสี ายรดั สน้ เทา้ 3. ความประณตี เส้อื ผา้ ท่ีมคี วามประณีตดไู ดจ้ ากคุณสมบัตขิ องเนอื้ ผา้ และฝีมอื การตดั เย็บ ของช่าง ถ้าใช้เนื้อผ้าดี การตัดเย็บดี เสื้อผ้าจะไม่เสียรูปทรงง่าย เนื้อผ้าท้ิงตัวมีน้ำหนัก ไม่ยับง่าย สีไม่ตก ระบายเหง่ือได้ดี ตะเข็บด้ายตรงและแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย ปกหรือคอเสื้อควรจะพับลง หรือติดแนบกับตัวเส้ือตามแบบที่กำหนดของผู้ออกแบบ หากเป็นเส้ือผ้าที่มีลวดลายควรวางลายผ้า ต่อเน่ืองกันพอดีตรงตะเขบ็ และรอยต่อต่าง ๆ 4. ความเหมาะควรแก่กาลเทศะ บุคคลควรเลอื กเครอ่ื งแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาสหรือ งานท่ีเข้าร่วม กิจกรรม สถานท่ี และยังต้องรู้จักแต่งกายให้เหมาะสมกับงานอาชีพหรือสถานภาพใน การทำงานของตนด้วย เช่น ในการแต่งตัวไปทำงานก็ควรแต่งชุดท่ีมีความคล่องตัว ทะมัดทะแมงใน การเคลื่อนไหวตัวในการทำงาน เป็นต้น การแต่งกายท่ีเหมาะควรแก่กาลเทศะเป็นการแสดงถึงการให้ เกียรติแก่บุคคลและสถานท่ี ซึ่งเร่ืองนี้เป็นมารยาททางสังคมอย่างหนึ่งท่ีสำคัญมาก และบุคคลควร คำนึงถึงเป็นอันดับแรกและให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกเคร่ืองแต่งกาย เพราะการแต่งกายที่ ผิดกาลเทศะแม้จะเหมาะสมกับรูปร่างมีความสวยงามเพียงใด แต่อาจถูกผู้คนตำหนิติเตียนได้ว่าไม่มี มารยาททางสงั คม ทำให้ไม่ไดร้ ับการยอมรับและเช่ือถือจากผู้ทีส่ มาคมร่วมกัน 5. ความเหมาะสมกบั รปู ลกั ษณ์ การเลอื กแบบและสีของเสอ้ื ผ้าทเ่ี หมาะสมกลมกลืนกบั รูปรา่ งของตนเอง ต้องพิจารณาสัดส่วนรปู ร่างซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตนเอง เม่อื สวมเส้ือผ้าแล้วจะต้อง อำพรางจุดบกพร่องของรูปร่างได้ ขณะเดียวกันเสื้อผ้าก็สามารถมีส่วนช่วยเสริมจุดเด่นของรูปร่าง เปน็ การแต่งกายด้วยเส้ือผา้ ท่เี หมาะกับเรอื นรา่ งซึ่งจะทำให้มภี าพลักษณ์ท่ดี ี 88
การแต่งกายนับว่าเป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพภายนอก ผู้พูดสามารถแต่ งกายเพื่อ เสริมสร้างบุคลิกภาพท่ีดีให้กับตนเองได้ หลักสำคัญ คือ การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมกับรูปร่างลักษณะของตนเอง ต้องสะอาดสุภาพเรียบร้อย รวมท้ังการรู้จักเลือกเสื้อผ้าท่ีมี คุณภาพดี และดูแลรักษาให้เส้ือผ้าท่ีสวมใส่อยู่ในสภาพที่ประณีตอยู่เสมอ หากผู้พูดแต่งกายดีเท่ากับ เป็นการแสดงความนับถือตนเองและให้เกียรติผู้ที่เราไปพบปะพูดคุยด้วยกัน ทำให้ผู้พูดได้รับความ ชืน่ ชมและไดร้ ับการยอมรบั นบั ถอื 6. การใชไ้ มโครโฟน ไมโครโฟน เป็นเครื่องมอื ท่ชี ่วยในการพดู ที่เปน็ ประโยชน์อย่างมาก สามารถช่วยใหผ้ ู้ฟังได้ยิน ท่ัวถึง ซึ่งเทคนิคการใช้ไมโครโฟนก็มีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กบั ลักษณะของไมโครโฟนท่ีผู้พูด ใช้ การใชไ้ มโครโฟนในแบบตา่ ง ๆ มีรายละเอยี ดทต่ี า่ งกัน ดังนี้ (แสงธรรม บวั แสงธรรม, 2557:105) 1. การใชไ้ มโครโฟนขาต้ังพนื้ เป็นรูปแบบทม่ี ักพบเจอกนั บอ่ ยในงานพิธีตา่ ง ๆ เช่น งาน แต่งงาน ประธานในพิธีควรยืนเปล่าหลังไมโครโฟนประเภทขาต้ัง เพราะทำให้ดูสุภาพเป็นทางการ และไม่ควรถอดไมโครโฟนออกจากขาตั้งแล้วถือพูด เน่ืองจากดูแล้วไม่เหมาะสม ผู้พูดควรปรับ ไมโครโฟนให้มีความสูงของไมโครโฟนให้พอดีกับปาก จะทำให้ผู้พูด พูดได้ถนัดและเสียงจะเข้า ไมโครโฟนไดเ้ ตม็ ที่ ผู้ฟังไดย้ นิ ชดั เจน ภาพท่ี 3.24 แสดงตำแหน่งไมโครโฟน ท่มี า : zoundlab (Online: 2562) นอกจากหาตำแหน่งไมโครโฟนที่เหมาะสมแล้ว ตำแหน่งของผู้พูดก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ผู้พูดควรอยู่หน้าไมโครโฟน หากเราใช้ไมโครโฟนแบบรับเสียงรอบทิศทางคงไม่มีผลมากนัก แต่หาก เราใช้ไมโครโฟนแบบ Cardioids ที่รับเสียงเฉพาะด้านหน้า หรือ Uni-Direction ท่ีรับเสียงเฉพาะ ทิศทาง คงต้องดูดา้ นหน้าไมโครโฟนใหด้ ี เพราะหน้าไมโครโฟนเป็นส่วนที่รับเสียงได้ดีทส่ี ุด ถา้ ผู้พูดยืน อยู่ตำแหนง่ ด้านหลงั ไมโครโฟน เสยี งทเ่ี ขา้ ไปคงไม่ชดั เจนนัก อกี ท้ังควรปรบั ระดับองศาของไมโครโฟน ใหเ้ หมาะสม ไม่คว่ำหรอื เอยี งไมโครโฟนจนเกนิ ไป หันหัวไมโครโฟนใหร้ บั กับบรเิ วณปากของผู้พดู และ ใช้เสยี งอยา่ งเหมาะสม 89
นอกจากนร้ี ะยะห่างจากตัวไมโครโฟนก็สำคัญเช่นกัน ผู้พดู ไมค่ วรยื่นปากจนชิไมโครโฟนมาก เกินไป จะทำให้เสยี งที่ออกมาแตกพร่า หรือดังเกินไป อีกท้ังยังได้ยินเสียงที่ไม่ต้องการ เช่น เสียง /P/ /B/ /T/ /K/ เช่น เวลาเราพูดคำทม่ี ี พ.พาน จะมีเสียง “เพอะ” ออกมา เสยี งส่วนเกินน้ี ทำให้อารมณ์ ของเสยี งเปลี่ยนไปได้ แตก่ ไ็ มค่ วรยืนหา่ งไมโครโฟน เพราะเสยี งทอี่ อกจากไมโครโฟนเบาเกินไป หากผู้ พูดอยู่ในตำแหน่งที่พอดี และใช้เสียงได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เสยี งที่ออกมาไม่ดังหรือเบาจนเกินไป อีกท้ังผ้ใู ชเ้ สยี งไมเ่ หน่อื ยมากจนเกนิ ไปด้วย (zoundlab, Online: 2562) 2. การใช้ไมโครโฟนสายแตไ่ มใ่ ชข้ าต้งั ส่วนมากจะใช้กบั การพดู ทไี่ มเ่ ป็นทางการ เช่น พิธีกรภาคสนาม ผู้ดำเนินรายการ คนทำกิจกรรมกลุ่ม หรือวิทยากรท่ีต้องการความใกล้ชิดผู้ฟัง เพ่ือความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวร่างกาย การถือไมโครโฟนแบบน้ี ให้ถึงท่ีตรงกลางด้านของ ไมโครโฟน ไม่ควรจับที่หัวไมโครโฟนเหมือนนักร้อง หรือจับโคนไมโครโฟนใกล้ช่องเสียบสาย เพราะ มืออาจจะไปโดนข้ัวที่เสียบทำให้เครื่องหลวมหรือหลุดได้ ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรจับสายไมโครโฟน นกั พดู จำนวนไม่นอ้ ยมักจะเคยชินกับการจับสายไมโครโฟนด้วยมืออีกข้างหนงึ่ ท่ีเหลอื อยู่ เพราะไม่รู้จะ วางมือไว้ตรงไหนเลยมาจับสาย หรือเอามาพันรอบไว้ท่ีมือจนพันกันเป็นม้วนโดยที่ไม่รู้ตัว การกระทำ ดังกล่าวจะเป็นเป้าสายตาของผู้ฟัง อาจทำให้ผฟู้ ังไม่ฟังเนื้อหา แต่มองสายไมโครโฟนที่พันเป็นวงใหญ่ และลุ้นว่าเมอ่ื ไหรผ่ ู้พดู จะปล่อยเสียที ซึง่ การใช้สายไมโครโฟนถือไวใ้ นมือตอนพูดตลอดเวลา ทำให้มือ ที่เหลืออีกหน่ึงข้าง บางครั้งมีเอกสารที่ต้องถือไว้ในมือก็ไม่เหลือมือที่จะแสดงท่าทางประกอบการพูด บ่อยคร้ังท่ีผู้พูดเลือกใช้มือที่ถือไมโครโฟน ช้ีผู้ฟังประกอบการพูด จึงทำให้เสียงหลุดหายเป็นช่วง ๆ ข้อแนะนำ คือ ไม่ควรใช้มือที่ถือไมโครโฟนช้ีนอกจากไม่น่าดูแล้วเสียงก็ไม่เข้าไมโครโฟน ทำให้ เสียงพดู ขาด ๆ เกิน ๆ ไมร่ าบร่ืน ภาพท่ี 3.25 แสดงวิธีการจับไมโครโฟน ทีม่ า : zoundlab (Online: 2562) 3. การใช้ไมโครโฟนแบบลอย ปัจจุบนั การพูดหันมานยิ มใช้ไมโครโฟนชนดิ นี้กนั มาก เพราะ สะดวกไม่มีสายไฟระโยงระยางให้เกะกะ มีความคล่องตัวสูง รายละเอียดส่วนใหญ่เหมือนกับการใช้ ไมโครโฟนทมี่ ีสาย ยกเว้นไม่ตอ้ งกงั วลว่าจะมีสายไฟไว้เผลอพนั มือผ้ใู ช้ ไมโครโฟนแบบลอย ควรศึกษา วิธีการ ปิด-เปิด ก่อนทุกคร้ัง เพราะแต่ละรุ่นมีสวิตช์ไม่เหมือนกัน และค่อนข้างยุ่งยาก สิ่งสำคัญอีก 90
อย่างหน่ึง คือ แบตเตอรี่ ควรแน่ใจว่าเป็นแบตเตอรี่ใหม่อย่าดูแค่แสงไฟสีเขียว แต่ต้องตรวจสอบ ดกู ่อนว่าเป็นแบตเตอรใ่ี หมห่ รือไม่เพื่อไม่ใหเ้ กดิ การผิดพลาดแบตเตอรี่หมดขณะกำลงั พูด 4. การใช้ไมโครโฟนตง้ั โต๊ะ เป็นไมโครโฟนใชบ้ นโต๊ะประชมุ หรอื วางไว้บนแท่นพูด มีหลาย รูปแบบหลายขนาดวิธีการใช้ก็ต่างกัน ถ้าเป็นแบบติดตั้งในห้องประชุม ลักษณะก้านยาวบางรุ่นถูก ควบคุมโดยประธานที่หัวโต๊ะ คือ ประธานจะเปิด-ปิดไมโครโฟนผู้เข้าร่วมประชุมได้ การปรับ ไมโครโฟนดว้ ยวิธีการยกก้านไมโครโฟนขน้ึ ลงตามความพอใจ 5. การใช้ไมโครโฟนไร้สายแบบหนีบ ไมโครโฟนชนดิ นีเ้ ป็นไมโครโฟนไรส้ ายชนดิ หน่งึ เวลา ใช้ให้มตี ัวรบั สัญญาณไว้ท่ีสาบเสอ้ื จากตัวรับสญั ญาณจะมีสายเชื่อมไปท่ีกล่องรบั สัญญาณส่วนมากจะ ให้เหน็บไว้ที่เอวหรือเข็มขัด มีสวิตช์เปิด-ปิดก่อนใช้ต้องเปิดสวิตช์นิยมใช้มากในปัจจุบันเห็นได้จาก ผูด้ ำเนนิ รายการโทรทัศนผ์ ้ปู ระกาศขา่ วหรือแมแ้ ต่การแสดงละคร การใช้ไมโครโฟนในรูปแบบต่าง ๆ มีข้อควรระวงั แตกต่างกันออกไป ผู้พดู ตอ้ งระมัดระวังและ เตรยี มการตง้ั แต่ตน้ ดกี วา่ แก้ปัญหาในภายหลัง 7. การเชอ่ื มน่ั ในตนเอง เป็นส่ิงสำคัญมากในตัวผู้พูด เพราะถ้าหากผู้พูดมีความเชื่อม่ันในตนเอง การพูดจะดำเนินไป ได้ด้วยดี ความวิตกกังวลตกใจกลัวจะไม่เกิดข้ึน สำหรับนักพูดมือใหม่ เม่ือออกมาพูดอาจมีอาการ ประหม่า บางคนตกใจจนพูดไม่ออก มีอาการขาสั่น ปากส่ันหน้าซีด เหงื่อไหล อาการเหล่านี้เกิดจาก ระบบประสาทภายในร่างกายสั่งการแบบกะทันหัน ประกอบกับอารมณ์วิตกกังวลของผู้พูด ลักษณะ เช่นน้ีเรียกว่า “การต่ืนเวที” โดยส่วนใหญ่เรามาแก้ปัญหาการตื่นเวทีหรือท่ีเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า อาการประหม่าท่ีปลายเหตุ คือ เม่ือมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นค่อยหาวิธีจัดการกับมันให้หายไป เช่น ขาสั่นให้จิกน้ิวเท้าแรง ๆ ต่ืนเต้นใจส่ันให้ด่ืมน้ำเย็นก่อนขึ้นพูด หรือหายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ ถา้ มือส่ัน มือเย็น ให้ถูไปมาให้เกิดความอบอุ่นของมือ สร้างกำลังใจโดยการตะโกนออกมาดัง ๆ 2 - 3 คำ เช่น สู้ ๆ แต่ต้องมั่นใจว่าไม่รบกวนผู้อื่น หากแต่วิธีเหล่าน้ีเป็นวิธีการแก้อาการประหม่าที่ปลาย เหตุ ถ้าผู้พูดรู้จักความประหมา่ ได้ดกี จ็ ะมวี ธิ กี ารปอ้ งกันไม่ให้ความประมาทมีอทิ ธิพลเหนือผพู้ ูดได้ อาการประหม่า แบง่ ออกไดเ้ ป็น 4 ประเภท ดงั นี้ (แสงธรรม บวั แสงธรรม,2557: 57-76) 1. ประหม่าเน้อื หา เป็นสาเหตหุ นงึ่ ท่ีทำใหเ้ กิดอาการประมาณในระดับตน้ ๆ โดยส่วนใหญ่ มักจะปฏิเสธการขึ้นพูดแล้วให้เหตุผลว่าไม่รู้จะพูดอะไร คิดไม่ออกว่าจะพูดอะไร ซ่ึงอาการประหม่า เน้อื หาน้ี สามารถแบ่งได้เปน็ 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 ประเภทท่ไี ม่มีเวลาเตรียมตัว ผพู้ ดู จะเจอเหตกุ ารณ์ทีต่ ้องพูดแบบไมท่ นั ตั้งตัว หรือพูดแบบกะทันหัน เช่น การกล่าวให้แสดงความคิดเห็น เม่ือเกิดเหตุการณ์แบบน้ีผู้พูดมักจะใช้ ท่าไม้ตายในการรับมือด้วยวิธีการยกมือขึ้นแล้วชี้ไปท่ีคนข้าง ๆ ทำนองว่าคนนั่งข้าง ๆ เขามีความ เหมาะสมมากกว่า และมีความสามารถมากกว่าในการพูด ซ่ึงเป็นสถานการณ์ท่ีไม่ควรเกิดข้ึน หากเจอสถานการณ์เชน่ นี้ แนะนำว่า ให้พูดในสิ่งที่เราถนัด และพยายามพูดในลักษณะของการช่ืนชม ยกย่องคนฟังไว้ก่อน โปรดจำไว้ว่า คนฟังมักจะจดจำหรือประทับใจจากความรู้สึกของผู้พูดไม่ใช่จาก 91
เนื้อหา เพราะฉะนั้นเวลาพูดกะทันหันให้เน้นไปที่อารมณ์ความรู้สึกที่เรามีต่อกลุ่มผู้ฟัง ในขณะที่เป็น เรื่องเชิงบวกหรือเป็นเร่ืองดี ๆ เพราะการพูดยาวไปก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องท่ีดีเสมอ พูดมากก็ผิดมาก พูดนานกอ็ าจทำใหค้ นฟงั เบอ่ื 1.2 ประเภทการพดู ท่มี เี วลาเตรียมตวั สำหรบั การเตรียมเนอื้ หาแบบมเี วลาเตรียม ตวั นน้ั ไมย่ าก แต่ผพู้ ูดต้องรูว้ ่าเราจะพูดเรือ่ งอะไร มีประเด็นหลักทีจ่ ะใหผ้ คู้ นฟงั รับรู้คอื อะไร ถา้ เป็นไป ได้ควรสรรหาตัวอย่างมาประกอบเพ่ือให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เมื่อเตรียมเน้ือหาแล้วก็จัดวาง โครงสร้างให้เหมาะสม อาจเริ่มจากการเกริ่นนำเล็กน้อย ค่อยค่อยปูเรื่องไปสู่วิกฤติหรือปัญหาท่ีผู้พูด ต้องการพูดถึง จากนั้นจึงเข้าสู่ช่วงสำคัญท่ีต้องเน้นเป็นพิเศษ และสรุปตอนท้ายอย่างประทับใจ หรอื อยใู่ นประเดน็ 2. ประหม่าสถานที่ เป็นอาการตืน่ เวทสี ามารถเกิดขน้ึ ไดก้ บั ทุกคนด้วยปรากฏอาการ ต่ืนเต้น มือไม้สั่น เม่ือตอนใกล้จะข้ึนเวที บางคนชะล่าใจว่าไม่ต่ืนเต้น เพราะตอนมาถึงงานใหม่ ๆ ก็ไม่ได้มีอาการอะไรมากนัก แต่พอจวนเจียนเวลาเข้ามาอาการตื่นเวทีก็ปรากฏขึ้นมาอย่างฉับพลัน ซ่ึงอาการต่ืนเวทีนี้เกิดจากความไม่คุ้นเคย ความอ่อนประสบการณ์ในการขึ้นเวที ผู้พูดบางคนไม่ สามารถเก็บอาการตื่นเต้นไว้ได้ ข้อแนะนำเพื่อแก้ไขอาการเหล่าน้ี คือ การไปถึงก่อนงานจะเริ่ม 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ให้ถึงงานก่อนที่เวทีจะจัดเตรียมเรียบร้อย มีเจ้าหน้าที่มาติดตั้งเคร่ืองเสียง ไมโครโฟน ติดตั้งข้อความท่ีฉากหลังของเวที ช่วงเวลาอย่างน้ีเหมาะที่ผู้พูดจะไปสร้างความคุ้นเคยกับ เวทีเสยี กอ่ น โดยวิธกี ารให้เดินขน้ึ เวทีไปท่ีขาตั้งไมโครโฟน ขยบั ไมโครโฟนแล้วทดสอบว่าเสียงดหี รือไม่ และเพ่ือสร้างความคุ้นเคยกบั เวที 3. ประหมา่ บคุ คล เป็นอาการประหมา่ ทีพ่ บเจอกนั ได้บ่อย ๆ แมก้ บั คนท่พี ูดอยเู่ ป็นประจำ ทุกวัน พอเปลี่ยนกลุ่มคนฟังหน้าใหม่จะมีอาการทันที จะตื่นเต้นทุกคร้ังที่ต้องพูดกับคนแปลกหน้า ซ่งึ การปอ้ งกนั ไม่ใหเ้ กิดอาการประหม่าตน่ื เต้นกับบคุ คลต้องแก้ทใี่ จ ด้วยการปรบั วิธคี ิดของเราเสยี ใหม่ จะทำให้ผู้พดู ขจดั อาการประหมา่ บุคคลไดผ้ ลทสี่ ดุ 4. ประหมา่ เฉยี บพลนั เป็นอาการประหม่าที่เกดิ ข้ึนอย่างไม่ร้ตู ัว เรยี กได้ว่าเป็นอุบตั เิ หตุท่ี เกยี่ วข้องกับการพูดที่เกิดข้ึนมาโดยไมค่ าดคิด ไม่ได้ตั้งใจ เช่น ไฟดบั ลำโพงไม่ดัง เครอื่ งฉายไม่ทำงาน และบางเหตุการณ์อาจช่วยให้ประมาทต่ืนเต้นเฉียบพลัน บางคนพูดอยู่ก็มีผู้ฟังเดินออกจากห้อง ผู้พูด จะรู้สึกขาดความเช่ือม่ันขึ้นมา และนึกว่าตนเองคงพูดอะไรไม่ดีหรือไม่น่าสนใจ แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไร ขึ้นในขณะท่ีกำลังพูด ส่ิงท่ีสำคัญที่สุด คือ ต้องไม่หยุดการพูด อาจหยุดเงียบเพ่ือผ่อนลมหายใจเพียง เล็กน้อย แต่ไม่ใช่การถอนหายใจแรงออกมา เก็บอาการในขณะที่หายใจเขา้ ไปลึก ๆ ช้า ๆ อย่างเงียบ ดว้ ยการยมิ้ หรอื สายตามองไปรอบ ๆ ทำเหมือนกำลังจะบอกอะไรบางสง่ิ บางอย่างที่สำคัญ สงิ่ เหลา่ น้ี สามารถทำได้คล่องและดูเป็นธรรมชาติ โดยการส่ังสมประสบการณ์ให้มากพอ ดังนั้นเร่ือง ประสบการณ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้พูดจะต้องหาโอกาสให้กับตัวเองได้สัมผัสกับเวทีบ่อย ๆ ไม่ว่าจะ เป็นเวทีเลก็ หรือเวทใี หญ่ ผู้ฟังจะมากหรอื จะนอ้ ยไม่สำคญั งานวิจัยของสวพร จันทรสกุล และคณะ (2561) ได้กล่าวถึงความวิตกกังวลของการพูด นำเสนอหน้าช้ัน เรียนของนั กศึกษ าหลักสูตรศิลป ศาสตรบัณ ฑิ ต สาขาวิชา ภ าษาไท ย 92
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พบว่า ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วยปัจจัยย่อย จำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.1) ความเช่ือมั่นในตนเอง 1.2) บุคลิกภาพเฉพาะบุคคล และ 1.3) สภาวะสภาพจิตใจขณะนำเสนอ และ 2) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วยปัจจัยย่อย จำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ 2.1) อาจารย์ผู้สอน 2.2) เพ่ือนร่วมชั้นเรียน 2.3) การใช้ภาษาและทักษะการพูด 2.4) เน้ือหา สื่อและอุปกรณ์การนำเสนอ ทั้งน้ีปัจจัยภายใน ท่ีส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาในการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียนมากที่สุด คือ ประเด็น ความเชือ่ มนั่ ในตนเอง ซงึ่ สอดคลอ้ งกับความคดิ เห็นของนกั ศึกษาว่าความวิตกกงั วลท่ีเกิดจากการขาด ความเช่ือมั่นในตนเองจะส่งผลกระทบในหลายด้านต่อการนำเสนอ อีกทั้งบุคลิกภาพเฉพาะบุคคล นกั ศึกษาบางคนไมช่ อบอยูต่ อ่ หน้าผู้คนจำนวนมาก จึงไม่สามารถพูดนำเสนอหนา้ ชน้ั เรียนได้ หรือหาก ตอ้ งนำเสนอจะมีอาการมือไมส้ ่ัน เหง่ือไหล เกดิ ความวติ กกังและกลัวการนำเสนอหน้าช้นั เรียน ซ่งึ เป็น ผลต่อสภาวะสภาพจิตใจขณะนำเสนอ นักศึกษาจะมีความรู้สึกสมองว่างเปล่าจนเกือบพูดต่อไปไม่ได้ เม่ือตอ้ งออกมาพูดนำเสนอหน้าชน้ั เรยี น ในส่วนปจั จัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อความวติ กกังวลของ นักศึกษาในการนำเสนอหน้าชั้นเรียนมากที่สุด คือ ประเด็นอาจารย์ผู้สอน นักศึกษาจะเกิดอาการ ประหม่าเมื่ออาจารย์มักแก้ไขข้อผิดพลาดทันทีทันใดขณะท่ีกำลังนำเสนอ ซึ่งสอดคล้องกับการให้ ข้อคิดเห็นของนักศึกษาว่าอาจารย์มีส่วนอย่างมากต่อความวติ กกังวลของนักศึกษา ท้ังนี้ผู้วจิ ัยมีความ คิดเห็นใน 2 ประเด็นถึงความวิตกกังวลของนักศึกษา คือ ประเด็นที่ 1 เกิดจากความคาดหวังของ อาจารย์ในเนื้อหาท่ีนักศึกษานำมาเสนอหน้าชั้น และประเด็นท่ี 2 ประสบการณ์ของนักศึกษาท่ีไม่ได้ ในการนำเสนอหน้าช้ันเรียน ซึ่งนักศึกษาต่างให้ความเห็นว่า มีความกลัวทุกคร้ังในการนำเสนอว่า อาจารย์จะตำหนิเรื่องเนื้อหาในการนำเสนอในขณะที่นำเสนอหรือไม่ และเม่ือพูดหรือนำเสนอเน้ือหา ผิดพลาด อาจารย์ก็จะพูดแทรกขึ้นมาทันที จึงทำให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีในการนำเสนอ หน้าช้ันเรียนในครั้งต่อไป รองลงมาประเด็นเพื่อนร่วมช้ันเรียน นักศึกษารู้สึกว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน สามารถพดู นำเสนอได้ดีกวา่ เพอื่ นท่มี ีความสามารถในการพดู ได้ดี มักสร้างความกดดันให้กบั นกั ศกึ ษา ที่มีทักษะการพูดนำเสนอไม่ดีพอสมควร เน่ืองจากอาจเกิดการเปรียบเทียบ จึงทำให้นักศึกษาที่ต้อง ออกมาพูดนำเสนอต่อมีความกดดันและวิตกกังวลในการพูดนำเสนอ และเพื่อนยังส่งผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกจึงทำให้ขาดความม่ันใจ ลำดับต่อมาประเด็นเน้ือหา ส่ือและอุปกรณ์การนำเสนอ ซึ่ง สอดคล้องกับความคิดเห็นของนักศึกษาว่าปัญหาเรื่องการเรียบเรียงไวยากรณ์หรือประโยคทาง ภาษาไทยในการพูดนำเสนอมีสาเหตุมาจากนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูในการพูดเป็นภาษาแรก เม่ือต้องออกมานำเสนอหน้าช้ันเรียนจึงเกิดความกังวลเรื่องการเรียบเรยี งประโยคหรือการเลือกใช้คำ ไทยให้ถูกต้อง และประเด็นเน้ือหา สื่อและอุปกรณ์การนำเสนอ ข้อจำกัดของเวลาทำให้นักศึกษา ตืน่ เต้นจนทำให้คุณใช้เวลานานเพ่อื นกึ ถึงสิ่งทต่ี ้องการนำเสนอ อย่างไรก็ตาม ความรสู้ ึกประหม่านั้นเกิดขึ้นได้เสมอ จนกว่าผูพ้ ูดจะมีประสบการณ์ในการพูด มากพอสมควร หรือมีการฝกึ ซอ้ มมาเปน็ อยา่ งดี แต่ถ้าผู้พูดเกิดความรู้สึกตืน่ เวทีเม่ือเผชิญหน้ากับผู้ฟัง ผ้พู ูดควรจะแกด้ ้วยวิธีการเคล่อื นไหวร่างกายให้เป็นประโยชน์ก็ได้ แต่ท้ังหมดท้ังมวลผพู้ ูดจะต้องมีสติ ไหวพริบ และให้คดิ เสียวา่ อย่างน้อยความประหม่าเล็กน้อย ในระดับที่ควบคุมได้จะทำให้ผู้พูดมีความ ต้งั ใจมากข้นึ ในการข้นึ เวที 93
กระบวนการเตรียมความพร้อมด้านบุคลิกภาพก่อนพูด ผู้พูดควรเตรียมลำดับข้ันตอนเพ่ือให้ การพูดสามารถดำเนินการไปสู่เป้าหมาย ผู้ท่ีมีบุคลิกภาพที่ดี มีท่าทีท่ีสง่าผ่าเผย มีกิริยาท่ีน่าช่ืนชม ย่อมเป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ฟังตั้งแต่แรกเริ่ม นอกจากน้ีการแสดงถึงความสามารถในการใช้ภาษา น้ำเสียงการแสดงความรู้หรือการแสดงแนวคิดส่ิงแปลกใหม่ถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้พูด ทุกคนควรตระหนัก และมันเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ คุณสมบัติเหล่าน้ีเป็นสิ่งสะท้อนภาพลักษณ์ ของผู้พูดซ่ึงผู้ฟังสามารถประเมินได้ตลอดเวลา การพูดที่ดีจงึ ควรเตรียมความพร้อมของผู้พูดต้ังแต่ต้น จนจบ การวเิ คราะหผ์ ้ฟู ัง การวเิ คราะหผ์ ู้ฟัง เป็นการกระบวนการเตรียมความพรอ้ มกอ่ นพูด เปน็ กระบวนการส่ือสารท่ี เกี่ยวข้องกับผู้พูด ผู้ฟัง และเน้ือหาท่ีพูด ผู้พูดจะต้องส่ือความหมายความรู้สึกตลอดจนข้อคิดความ คิดเห็นที่ผู้ฟังสนใจ ผู้พูดส่วนใหญ่มักมองข้ามความจริงที่สำคัญข้อน้ี ปกติผู้พูดมักจะพูดแต่เรื่องท่ี ตนสนใจ มีแต่ความคิดที่สำคัญของตนลงไปให้ผู้ฟัง จนลืมคิดไปว่าเนื้อหานั้นอาจไม่มีความสำคัญต่อ ผฟู้ ังเลยกไ็ ด้ ดงั น้ันการวเิ คราะห์ผู้ฟังจงึ เปน็ สิ่งจำเป็นท่ผี ู้พูดมองข้ามไม่ได้ ถา้ ผู้พูดไม่รู้จกั กลมุ่ ผู้ฟังนนั้ ก็ ควรสอบถามจากผู้รู้หรือผู้เก่ียวข้องหากไม่สามารถทำได้จากวิธีดังกล่าวผู้พูดก็ต้องวิเคราะห์ด้วยวิธี การศึกษาข้อมูล ซึ่งแยกตามทฤษฎขี อง ฉัตรวรุณ ตันนะรตั น์ (2537: 29) ทเี่ กีย่ วขอ้ งดงั ต่อไปนี้ 1. สภาวะทางสังคมของผูฟ้ ัง 2. การยึดมัน่ และทัศนคตขิ องผ้ฟู ัง 3. ทศั นคติของผู้ฟังท่มี ีต่อผ้พู ูด 4. ทศั นคติของผ้ฟู งั ทม่ี ีต่อเรอื่ งที่พดู 5. การวเิ คราะห์สถานการณ์ในการพูด 6. ตวั อย่างโครงร่างการวเิ คราะห์ผูฟ้ ัง 1. สภาวะทางสังคมของผ้ฟู งั 1.1 จำนวนหรือขนาดของผู้ฟงั ตามหลกั จติ วทิ ยาการพูดกล่มุ ผฟู้ งั ท่ีมีขนาดเลก็ ผู้พูดจะต้องพยายามสร้างความ สัมพันธ์กับผู้ฟังอย่างมาก แต่ถ้าผู้พูดกับผู้ฟังที่เป็นกลุ่มใหญ่ ผู้พูดอาจสร้างความสัมพันธ์กับผู้ฟังได้ น้อยลง ท้ังนเี้ พราะคนต่างทร่ี วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ยิ่งมีขนาดใหญเ่ พียงใด ความเป็นตัวของตัวเองจะย่ิง ลดลงตามลำดับ โดยเฉพาะช่วงเวลาเม่ือเกิดอารมณ์ร่วมกันของกลุ่ม วิจิตร อาวะกุล (2524 : 12) กล่าวว่า มนุษย์จะสญู เสียความเป็นของตัวเอง และมักจะตัดสินใจในเร่ืองต่าง ๆ แบบพวกมากลากไป การทราบจำนวนของผู้ฟัง จะช่วยให้ผู้พูดสามารถจัดเตรียมเนื้อหา และเลือกวิธีการพูดได้อย่าง เหมาะสม รวมทั้งสามารถจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบในการพูดได้อย่ างครบถ้วนซ่ึง สุจริต เพียรชอบ (2529 : 13-14) ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ว่า ผู้ท่ีสามารถทราบจำนวนผู้ฟังได้ ล่วงหน้าจะไดร้ บั ประโยชน์เป็นอย่างยง่ิ เพราะจะทำให้เตรียมเร่ืองเตรียมตัวเตรียมใจไดย้ งิ่ ขึ้น การพดู ท่ี มีผู้ฟังเป็นจำนวนมากนั้น แสดงว่าผู้ฟังมีความสนใจเรื่องที่จะพูด ผู้พูดจึงต้องพยายามเตรียมตัวให้ดี 94
เพ่ือให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์จากการพูดตามท่ีเขาคาดหวังไว้ การใช้ถ้อยคำ ข้อควรระมัดระวัง คนหมู่ มากที่อยู่รวมกนั มกั ไมเ่ ป็นตวั ของตวั เองเวลาทฟี่ ังบรรยายนาน ๆ เขาจะเกิดอาการรว่ มของกล่มุ ขึ้นมา แทน เช่น ถ้าผู้ฟงั คนหนึ่งหัวเราะขำขนั ผู้ฟงั คนอ่ืนก็จะหัวเราะไปดว้ ย ขณะเดียวกันถ้าผฟู้ ังบางคนเกิด ความไม่พอใจก็อาจส่งเสียงที่ไม่สุภาพตามกันขึ้นมาได้ท้ังท่ีไม่ได้ตั้งใจ นอกจากนี้การพูดที่มีผู้ฟังเป็น จำนวนมาก จนถึงกับเบียดเสียดหรือแออดั จะทำใหผ้ ู้พูดและผู้ฟังเกิดอารมณ์ร้สู กึ อึดอดั ถ้าอากาศร้อน อบอ้าวด้วยย่งิ ร้สู กึ อดึ อดั มากข้ึน 1.2 วัยหรือระดับอายุ เป็นส่วนประกอบทีส่ ำคัญทจ่ี ะใช้เป็นเครื่องมือตดั สนิ ความสนใจ ประสบการณ์ และ ความต้องการของผู้ฟัง เช่น ถ้าต้องพูดเรื่องสงครามโลกคร้ังท่ี 2 ให้ผู้ฟังอายุน้อย ผู้พูดจะต้องอธิบาย มากพอสมควร ส่วนการพดู ให้ผู้ฟงั ท่ีมีอายุมากผูพ้ ูดไมจ่ ำเป็นต้องอธิบายมากแต่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลมา อ้างอิง ผู้ฟังท่ีมีวัยต่างกัน ความสนใจและความเข้าใจเรื่องย่อมต่างกัน การเรียนรู้ถึงอายุผู้ฟังก็เพื่อจะ ให้ทราบว่าการพูดกับคนในวัยน้ัน ควรใช้วิธีการพูดและคำพูดอย่างไร สามารถแยกได้ตามอายุช่วงวัย ดังนี้ 1.2.1 วยั เดก็ เปน็ วัยท่ียังรักความสนุกสนาน ซกุ ซนไม่อยูน่ ิง่ เฉย ไม่สามารถตง้ั ใจ ฟงั เรื่องราวได้นาน ๆ มีความเบื่อง่าย มีความสนใจแต่เรื่องสนุกสนานต่ืนเต้น อยากรู้อยากเห็น ดังนั้น การพูดจงึ ไม่ควรเนน้ หลกั วิชาการหรอื เนื้อหามากจนเกินไป ควรพดู เรือ่ งที่สนกุ ใช้คำพดู งา่ ย ๆ แตเ่ ป็น ถ้อยคำท่ีเต็มไปด้วยอารมณ์ปลุกเร้า ตื่นเต้น เสียงพูดจะต้องต่ืนเต้น ไม่พูดเสียงเบาเด็ดขาด ช่วงเวลา ในการพูด ไม่ควรพูดนานจนเกินไป เพราะความสนใจของวัยเด็กจะมีช่วงเวลาที่สั้น แต่ควรใช้วิธีการ เสริมกิจกรรมต่าง ๆ ทีใ่ ห้เด็กไดม้ ีส่วนรว่ มเขา้ ไปแทน 1.2.2 วัยรุ่น เป็น วัยรักสวยรักงาม ยังเป็ น วัยท่ี อยู่ใน ลักษ ณ ะเป็ นเด็ก แต่ความสำคัญตนผิดว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฉะนั้นเด็กวัยรุ่นไม่ชอบให้ใครมากระทำกับตัวเขาเหมือนกับ เด็ก วยั รุ่นเป็นวัยท่ีอยู่กึ่งกลางระหวา่ งความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ ยงั ไม่บรรลุนิติภาวะและยังไม่เข้าใจใน เหตุการณ์บางอย่าง เพราะไม่มีประสบการณ์มากเพียงพอ ยังไม่มีความรับผิดชอบในเรื่องใด ๆ (ฉัตรวรุณ ตันนนะรัตน์, 2537:30) ฉะน้ันการพูดกับเด็กวัยรุ่น จึงควรมีจุดมุ่งหมายที่มุ่งในเหตุการณ์ ปัจจุบัน น่าทดลอง เหตุการณ์ที่ทันสมัย ยอมรับความคิดเห็นในความสามารถของวัยรุ่น และควรพูด สอดแทรกจิตวทิ ยาเด็กวยั รุน่ ด้วย 1.2.3 วัยหนุ่มสาว ส่วนใหญ่มักจะเป็นวัยที่จบการศึกษา วัยน้ีเป็นวัยท่ีมีพลังสูง มีความกระตือรือร้น อารมณ์เพ้อฝัน มีอุดมคติแรงกล้า สนใจในเรื่องอนาคตความเปล่ียนแปลง มักตัดสินใจเร่ืองต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด มีอุดมการณ์และต้องการแก้ไขปรับปรุงส่ิงต่าง ๆ ให้ทันสมัย เนื้อหาที่พูดอาจมีความลึกซ้ึงและมีความสลับซับซ้อนมากกว่าวัยรุ่น พูดเร่ืองอุดมการณ์ หรอื เทคโนโลยตี ลอดจนวิทยาการสมัยใหม่ ผ้พู ูดควรใชเ้ หตผุ ลและพดู ในเชงิ โน้มน้าวใจ 1.2.4 วยั กลางคนหรอื วยั ผใู้ หญ่ เปน็ วัยที่มีเหตุผลมาก สนใจเร่อื งทเ่ี ปน็ สาระ โดยเฉพาะอย่างย่ิงเร่ืองที่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง มีอุดมคติ และมีความมุ่งม่ันในการสร้างอนาคต ให้เป็นปึกแผ่น ลักษณะการฟังเน้นเน้ือหาสาระข้อเท็จจริงและความเป็นเหตุเป็นผลในการพูดเป็น 95
สำคัญ ดังนั้นผ้พู ดู กับผู้ฟงั ในวยั กลางคนหรือวัยผู้ใหญจ่ ะต้องพูดอย่างมีเหตุผลมีสาระมีน้ำหนัก ชวนให้ น่าเชื่อถือ จึงจะสามารถจูงใจให้คล้อยตามได้ ส่ิงสำคัญของผู้พูดในวัยน้ี ผู้พูดควรเตรียมเร่ืองอย่าง ละเอียดรอบคอบ และมีเหตุผลเลือกใช้คำท่ีมีพลังท่ีจะชักจูงความคิดของผู้ฟังให้ได้ ไม่ควรพูดเร่ือง ตลกไร้สาระ แต่อาจมีเร่ืองเบาสมองได้บ้าง แต่ไม่ควรพูดเยอะจนเกินไป ดังนั้นผู้พูดจึงต้องคอยระวัง สังเกตปฏกิ ริ ิยาของผู้ฟังวยั น้ีใหด้ ี 1.2.5 วัยชรา เป็นวัยทผ่ี ่านชวี ิตและประสบการณม์ ามาก และมีความรูร้ อบตัว ต่าง ๆ อย่างดี ผู้ฟังในวัยนี้มักสนใจเร่ืองราวในอดีต ชอบคิด ชอบยึดถือสิ่งที่พึ่งพาทางจิตใจ มองโลก ในแง่ความเป็นจริงมากกว่าการใฝ่ฝันถึงอุดมการณ์ เนื้อหาดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเน้นถึงข้อเท็จจริง ข้อคิดหรือคติสอนใจท่ีมุ่งเน้นให้ยึดถือและเป็นหลักปฏิบัติ หรือพูดเกี่ยวกับสวัสดิภาพทางครอบครัว จติ ใจ และควรพดู ในทำนองเป็นทีป่ รึกษาหรือเปน็ ผู้ปรับทุกข์ การวิเคราะห์วัยของผู้ฟัง นับว่ามีความสำคัญต่อการพูด เพราะนอกจากจะทำให้ผู้พูดได้รู้ถึง ความต้องการของผู้ฟังในแต่ละวัยแล้ว ผู้พูดสามารถเตรียมเนื้อหารายละเอียดและวิธีการนำเสนอ ท่ีจะช่วยเสริมสร้างในการพูดให้บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไร กต็ ามกรณีท่ีผู้พูดจะต้องพูดในกลุ่มซึ่งมีผู้ฟังต่างวยั การพูดท่ีดีควรยดึ หลักของความเป็นกลางนั่นก็คือ ผู้พูดควรเลือกเรื่องหรือยกตัวอย่างที่ผู้ฟังทุกคนสามารถรับฟังได้ เช่น เร่ืองความประหยัด หรือเร่ือง การอนรุ กั ษส์ ิ่งแวดล้อม เป็นตน้ 1.3 เพศของผูฟ้ งั หากผู้พดู ไดท้ ราบลว่ งหน้าวา่ ผ้ฟู ังประกอบด้วยบุคคลประเภทใดบา้ ง จะช่วยให้ผ้พู ดู สามารถ เลือกเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะนำมาพูดให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้ฟังในการนำเสนอได้ ทัง้ นค้ี วามสนใจของเพศหญงิ และเพศชายมีความแตกต่างกนั ดังนี้ เพศหญิง มกั มอี ารมณอ์ ่อนไหวต่อคำพดู มีความอ่อนโยน ไมน่ ิยมคำคอ่ นขา้ งหยาบ สนใจสิ่งที่สวยงาม โดยเฉพาะเรื่องที่เก่ียวกับการแต่งกาย แฟชั่นใหม่ ๆ เร่ืองเก่ียวกับการบ้านการ เรอื น การเลย้ี งดบู ุตร หรือการจับจา่ ยใช้สอย เปน็ ตน้ เพศชาย มกั พดู จูงใจได้ยากกว่าเพศหญงิ เพราะจิตใจไม่อ่อนไหวไปตามคำพูด จงึ ตอ้ ง อาศัยถ้อยคำท่ีหนักแน่นและจริงจัง ประกอบไปด้วยข้อเท็จจริง เพศชายส่วนใหญ่มักสนใจเร่ืองรถ การเมอื ง เศรษฐกิจ สังคม กีฬา เป็นตน้ เนื่องจากเพศชายและเพศหญิงมีความสนใจที่ต่างกัน นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต (2543 : 141) ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การใช้ถ้อยคำหรือการยกตัวอย่างประกอบการพูด ผู้พูดควรระมัดระวังและควร พิจารณาให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดในกลุ่มผู้ฟังที่มีท้ังผู้ชายและผู้หญิง ควรเลือกใช้ ถอ้ ยคำและตัวอย่างท่ีเป็นกลาง ทั้งน้ีเพื่อไม่ให้ผู้ฟังเกิดความรสู้ ึกที่เป็นอคติ หรือมองว่าผู้พูดเกิดความ ลำเอยี ง 96
1.4 ความแตกตา่ งทางความเชอื่ และศาสนา ฉตั รวรณุ ตนั นะรตั น์ (2537 : 31) กลา่ ววา่ เช่ือชาติศาสนา จารีตประเพณี และความ เชื่อถือ เป็นวัฒนธรรมอย่างหน่ึงท่ีคนเรายึดถือกันมาตั้งแต่ด้ังเดิม ผู้พูดควรศึกษาและระมัดระวังเร่ือง น้ดี ว้ ย มฉิ ะนั้นจะทำใหผ้ ู้ฟงั ขนุ่ ข้องหมองใจในการพดู ครง้ั นน้ั ได้ 1.5 ฐานะและอาชพี ของผู้ฟัง ผูพ้ ดู ที่ดีควรทราบว่าผู้ฟังส่วนใหญม่ อี าชพี อะไร มีฐานะความเปน็ อย่อู ยา่ งไร สภาพ ทางสังคมเป็นเช่นไร เพ่ือผู้พูดได้จัดเตรียมเนื้อเร่ืองในการพูดได้อย่างเหมาะสม ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์ (2537: 31) ได้แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ไว้ว่า การรู้ถึงฐานะและอาชีพของผู้ฟัง ย่อมเป็นผลกำไร ของผู้พูด เพราะผู้ฟังในแต่ละครั้งมีอาชีพที่หลากหลายแตกต่างกัน ย่อมมีความสนใจต่างกัน เช่น ถ้าผู้ฟังเป็นผู้ที่มฐี านะยากจน ความเป็นอยแู่ ร้นแค้นผู้ พูดจะต้องพูดในทำนองให้คำปรึกษา และแสดง ความเห็นใจ หากผู้ฟังท่ีมีฐานะดี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่มั่นคง ผู้พูดจะต้องเรียบเรียงเรื่องท่ีจะพูด ในแนวทางเศรษฐกิจการ ลงทุน แต่ถ้าพูดกับชาวนา ก็ต้องพูดให้ผู้ฟังมีความภาคภูมิใจในอาชีพท่ีเป็น กระดกู สนั หลังของชาติ เป็นต้น 1.6 ระดับการศึกษา ระดบั การศกึ ษาของผู้ฟัง มผี ลต่อความสามารถในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้มากน้อย ต่างกัน ผู้พูดจะต้องพิจารณาดูว่าผู้ฟังมีระดับการศึกษามากน้อยเพียงใด นิพนธ์ ศศิธร (2528:45) ได้ต้ังข้อสังเกตในเรื่องน้ีไว้ว่า มาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่เคร่ืองวัดภูมิปัญญาของคนทุกคน แต่พอจะ กำหนดเป็นหลักท่ัวไปได้ว่า ย่ิงมีการศึกษาสูงเพียงใดย่อมมีความเข้าใจเรื่องข้อความถ้อยคำและศัพท์ ทางวิชาการมากข้ึนเท่าน้ัน หากพิจารณาในแง่การพูดเพ่ือโน้มน้าวใจแล้ว ผู้มีการศึกษาสูงต้องชักจูง ด้วยเหตุผลและตรรกวิทยา ผู้มีการศึกษาน้อยอาจต้องเน้นด้านอารมณ์และความเช่ือมากกว่า หมายความว่าผ้มู มี าตรฐานการศึกษาสูงหรือต่ำ ยอมเป็นเป้าหมายในการโฆษณาชวนเชอื่ ปลกุ ฝนั หรือ ชกั จูงได้เหมอื นกนั แต่ดว้ ยวิธกี ารและสาระทีต่ า่ งกัน สุจิตรา จรจิตร (2527 : 66-67) ได้กล่าวถึงการเตรียมเรื่องท่ีจะพูดโดยพิจารณาถึงระดับ การศึกษาของผูฟ้ งั ไว้ 3 ระดับ คือ 1) ผ้ฟู ังท่มี รี ะดบั การศึกษาต่ำ ควรเตรยี มเรื่องทีจ่ ะพดู ดังนี้ 1.1) พดู เรื่องท่เี ข้าใจได้งา่ ย 1.2) พูดเร่อื งทว่ั ไปและมเี น้ือหาไม่ซำ้ ซ้อนกนั 1.3) พูดเรอ่ื งที่มีขอ้ มูลไม่ลึกซึ้งมากนักและมขี อบเขตไมก่ ว้างจนเกนิ ไป 1.4) มีตวั อยา่ งท่ีชดั เจนและสอดคลอ้ งกับผู้ฟงั 1.5) ใช้ภาษางา่ ย ๆ ไมซ่ ับซ้อนหรือกำกวม 2) ผฟู้ งั ทมี่ รี ะดับการศกึ ษาสงู ควรเตรียมเรือ่ งท่ีจะพูดดงั นี้ 2.1) พูดเน้ือหาเชิงวิชาการทล่ี ึกซ้งึ 97
2.2) เป็นเร่ืองท่มี ีเหตุผล ขอ้ มูลและข้อเทจ็ จริงประกอบ 2.3) เลอื กใช้ศัพท์เทคนคิ หรอื ศัพทย์ ากตามความเหมาะสม 2.4) เนือ้ หาท่พี ดู ให้ความร้ปู ระสบการณ์และแนวคดิ ใหมๆ่ 2.5) ใช้ความเปรียบ สภุ าษิต และคำคมประกอบการพดู 3) ผู้ฟังทม่ี ีการศกึ ษาหลายระดบั ควรเตรียมเรือ่ งที่จะพูดดงั น้ี 3.1) ควรเลอื กเรื่องทผ่ี ู้ฟงั ทุกระดบั สามารถฟงั ได้ 3.2) เปน็ เรอื่ งทีไ่ ม่ลกึ ซ้ึงหรอื งา่ ยจนเกินไป 3.3) เปน็ เรอ่ื งท่ีเกีย่ วกับผู้ฟงั โดยทวั่ ไป 3.4) ใช้ภาษาท่ีเข้าใจงา่ ย หรือถ้าใชศ้ พั ท์ยาก ควรขยายความหมายให้ชัดเจน 1.7 การเปน็ สมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหน่งึ การท่ีผพู้ ูดรู้ว่าผู้ฟงั เป็นสมาชกิ ของกลุม่ ใดกลมุ่ หน่ึงในสังคมนั้น เทา่ กบั เป็นการช่วยให้ เตรียมตัวได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ ผู้พูดจะรู้ว่ากลุ่มน้ัน ๆ มีความสนใจด้านใด มีทัศนคติอย่างไร เช่น ถ้าผู้ฟงั เป็นสมาชิกของสมาคมการคา้ สินค้าส่งออก ผูพ้ ูดจะไดค้ วามรู้เบื้องต้นแล้วว่าผู้ฟงั ส่วนใหญ่เป็น พอ่ คา้ นกั ธุรกจิ ท่ีสง่ ออก เร่ืองทเ่ี ตรียมตัวในการพูดจึงควรเป็นเร่ืองเก่ียวกับการลงทุนและสินคา้ ส่งออก นอกประเทศ วิธกี ารติดตอ่ ท่คี ล่องตัวทั้งในและนอกประเทศสนิ ค้าที่ต่างประเทศสนใจ เป็นตน้ หรือถ้า กลุ่มผู้ฟังเป็นสมาชิกของชมรมนิยมไทย ผู้พูดจะได้ความรู้เบ้ืองต้นแล้วว่าจุดมุ่งหมายของกลุ่มน้ัน เกยี่ วกับการส่งเสริมสินค้าไทย นา่ จะมีความเป็นนิยมไทยไม่เพียงแต่สินค้าแตอ่ าจรวมถงึ วัฒนธรรมอีก ดว้ ย (ฉัตรวรณุ ตนั นะรตั น์, 2537:32) 2. การยดึ มัน่ และทัศนคตขิ องผู้ฟงั การยึดถือเอาความเช่ือค่า นิยม และทัศนคติ จากผู้ท่ีอยู่ใกล้ชิดและสภาพแวดล้อมการ เป็นอยู่ สิ่งเหล่านี้จะยึดติดแน่นจนเป็นนิสัยและเป็นความคิดท่ีฝังหัวจนส่ือออกมาเป็นการกระทำ เช่น คนบางกลุ่มยึดม่ันในค่านิยมของการรับราชการมากกว่าการค้าขาย บางคนยังยึดมั่นเกี่ยวกับ เศรษฐกิจและการครองชีพ ดังสำนวนที่ว่า เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย หรือแม้แต่บางคนยัง ยึดม่ันว่า รถไฟเรือเมล์ลิเกตำรวจน้ันไม่ควรคบหาเป็นสามีด้วย แต่ในขณะเดียวกันบางคนก็จะเห็นว่า สง่ิ ท่ียกตัวอย่างมาข้างต้นน้ันไร้สาระ เม่ือผพู้ ูดรู้ว่าผู้ฟังยึดมั่นในความเชือ่ และทัศนคติด้านใดด้านหนึ่ง แล้ว ก็ควรหลีกเล่ียงที่จะกล่าวถึงส่ิงท่ีขัดแย้งต่อความเช่ือนั้น ในขณะเดียวกันก็ควรเตรียมเร่ืองให้อยู่ ในแนวเดียวกันกับความยึดม่ันและทัศนคติของผู้ฟัง ในการพูดนั้น ๆ ก็จะมีแนวโน้มที่จะประสบ ความสำเร็จ 3. ทัศนคติของผฟู้ งั ท่ีมีตอ่ ผพู้ ูด ทัศนคติส่วนใหญ่ท่ีผู้ฟังที่มีต่อผู้พูด จะมีตั้งแต่เร่ิมต้นในการส่ือสาร ในปัจจุบัน พบว่า ผู้พูดท่ี ผู้ฟังนิยมชมชอบยอมรับและประทับใจน้ันมักมีคุณลักษณะที่มีประสิทธิภาพน่านับถือ มีความกล้าพูด และมีความเป็นมิตร ทัศนคติส่วนใหญ่ท่ีผู้ฟังมีต่อผูพ้ ูดก็คือ ผู้พูดเป็นผู้ท่ีมีช่ือเสียงหรือไม่ และในขณะ ท่ีพดู นั้นมีพฤติกรรมอย่างไร ทั้งนผี้ ้ฟู งั จะถามตวั เองเกี่ยวกับผูพ้ ูดในหลายประเด็น เช่น 98
1) คนนจ้ี ะพูดดีไหม มสี ตปิ ญั ญาท่ลี ึกซ้งึ เฉียบแหลม และมีประสบการณ์ไหม 2) เป็นคนดีเป็นคนน่านยิ มหรอื ไม่ 3) เป็นคนนา่ ไว้ใจคนซือ่ ตรงยตุ ธิ รรมและจรงิ ใจหรือไม่ 4) เป็นคนกระฉบั กระเฉงกลา้ พดู หรอื ไม่ 5) เปน็ คนทีม่ ีความอบอ่นุ เป็นมิตรและมคี วามเชื่อมัน่ ในตนเองหรอื ไม่ ซ่ึงต้ังแต่ข้อที่ 1-5 เป็นคุณลักษณะท่ีผู้ฟังต้องการจากผู้พูด คุณลักษณะเหล่าน้ีมีอิทธิพลต่อ ทัศนคตขิ องผ้ฟู งั ทมี่ ตี ่อผ้พู ดู เป็นอย่างมาก 4. ทัศนคติของผฟู้ ังท่ีมตี อ่ เร่ืองที่พูด โดยส่วนใหญ่ความรู้สึกนึกคิดที่ผู้ฟังมีต่อเร่ืองท่ีจะนำมาพูด ผู้ฟังบางส่วนอาจมองถึง คุ ณ ป ร ะ โย ช น์ ห รื อ ส า ร ะ ส ำ คั ญ ใน ป ร ะ เด็ น ที่ ผู้ พู ด น ำ เส น อ ว่ า เรื่ อ ง ท่ี พู ด มี ส่ ว น เก่ี ย ว ข้ อ ง แ ล ะ มี ความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ท่ีตนเองจะได้รับอย่างไร ขณะเดียวกันผู้ฟังบางส่วนไม่ได้ให้ความสนใจ กับเรื่องท่ีนำเสนอแต่อย่างใด หากผู้พูดสามารถสร้างทัศนคติของผู้ฟังที่มีต่อเร่ืองท่ีจะนำมาพูดได้ จะช่วยให้ผู้พูดสามารถปรับเน้ือหาหรือสอดแทรกข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และเหมาะกับ ความต้องการของผู้ฟัง โดยปกติผู้ฟังจะสนใจเรื่องท่ีผู้พูดนำมาเสนอ ถ้าไม่สนใจก็จะเฉยต่อเร่ืองที่ฟัง นักวิจัยสมัยใหม่บางคนกล่าวว่าทัศนคติของผู้ฟังนั้นเป็นสิ่งที่บ่งช้ีว่าการพูดในแต่ละครั้งจะประสบ ความสำเรจ็ หรอื ไม่ ถา้ ผู้ฟงั ไม่สนใจผู้พูดกจ็ ะแสดงอาการตอ่ ไปน้ี 1) ไมส่ นใจทจี่ ะฟังเนือ้ หาสาระเรอ่ื งนนั้ 2) ฟงั บ้างไมฟ่ ังบ้าง 3) ไม่ยอมรับผู้พูดว่ามีความรู้ 4) ไม่รับฟังเนือ้ หาสาระท่ผี ้พู ดู พูดโดยอ้างบุคลิกทด่ี ้อยของผู้พูดเปน็ ข้ออ้าง เรมอนด์ดอส.รอส (Raymond S.Ross อ้างในวิรัช ลภิรัตนกุล, 2526:38) พิจารณาปฏิกิริยา แหง่ ทศั นคตขิ องผูฟ้ ัง ทม่ี ตี ่อจุดมงุ่ หมายหรือเรื่องทนี่ ำมาพูดดังนี้ ภาพท่ี 3.26 สเกลทศั นคติของผฟู้ งั จากรูปจะเห็นได้ว่า ภาพทัศนคติของเรมอนด์ดอส.รอส (Raymond S.Ross) ผู้ฟัง จะมี ทัศนคตคิ ัดคาน ไม่เหน็ ดว้ ย ไมแ่ น่ใจ เหน็ ดว้ ย และสนบั สนนุ ตอ่ เร่ืองท่พี ดู 99
นอกจากน้ี ภินท์ ภารดาม (2557: 49-58) ได้กล่าวถึงทัศนคติที่มีต่อเร่ืองท่ีพูด สรุปได้ว่า ความชอบใจ ไม่ชอบใจ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ฟัง อยู่ที่ว่าผู้พูดจะสังเกตเห็น ได้หรือไม่ ลักษณะการฟงั ไดใ้ นแสดงตารางท่3ี .1 ศลิ ปะของการฟังด้วยความร้สู กึ ตัว ดังน้ี ตารางท่ี 3.1 ศิลปะของการฟงั ดว้ ยความรู้สกึ ตัว แบบของการฟงั ฟังแตไ่ มไ่ ด้ยนิ ได้ ฟงั แล้วจม ฟงั แลว้ คดิ หนัก ฟงั แล้วคิดตาม ยินแตไ่ ม่ได้ฟัง ไปขา้ งหนา้ ลักษณะเฉพาะ ใจไม่ไดอ้ ยู่กบั การ ฟังแล้วเขิน ขนาดท่ีฟังคดิ ขนาดที่ฟังไปคิด ฟงั ติดตามเร่อื งเราไป เทยี บเคียง เทยี บเคียง จนเอามาเปน็ พยายามหา พยายามทำความ อารมณ์ ข้อสรปุ ทเ่ี ขา้ กนั ได้ เข้าใจ มอี าการนวั เนียอยู่ กบั สมมติฐานหรือ ในอารมณห์ รอื ความเชอื่ เดมิ ของ เร่ืองราวน้นั ตน อาการที่ เหมอ่ ลอย ใบหนา้ มีเลอื ดขน้ึ พูดแทรกโดยไม่รอ ตาลอยไม่สบตา สงั เกตเหน็ ได้ ตาลอย บางคร้ังน้ำตาคลอ ใหอ้ ีกฝา่ ยพดู จบ ไมต่ อบสนองต่อ เสยี งส่นั เครอื เวลา รา่ งกายแขง็ เกรง็ เรือ่ งราวท่ีกำลงั ตอ้ งพูด ตอ่ ต้าน ไดย้ นิ ได้ฟัง หายใจถ่ี แววตาแขง็ กร้าว ไม่ผ่อนคลาย สาเหตุ ไม่มีสมาธิจดจ่อ มนี สิ ยั โกรธงา่ ย ความถือตน ขาดความเข้าใจ อย่กู ับการฟัง แยกแยะไม่ไดว้ ่า อยู่ติดอยู่กับ และทักษะเร่อื ง เปน็ คนวอกแวก สิง่ ใดเป็น ความเหน็ แกต่ น การฟังกลัวจะลมื ง่าย ปรากฏการณ์และ แบบสดุ โต่ง ตัวจะจับประเดน็ สิ่งใดเปน็ ความ กลัวคนอืน่ ติเตียน ไม่ได้กลัวคนอนื่ คิดเหน็ ของตน วา่ ไมเ่ ก่ง วา่ โง่ อุปสรรคของการ เรียนรูแ้ บบลึก มองไมเ่ หน็ ความ ไมเ่ ปิดรบั ความรู้ การเรียนรูช้ า้ เรยี นรู้ ไม่ได้ รู้เรอ่ื งใดก็ เชอื่ มโยงของ หรือประสบการณ์ เพราะไปติดอยู่ เพยี งผวิ เผินหรือ ปรากฎการณ์ ใหม่ๆที่ไม่เข้ากบั กบั ความพยายาม ฉาบฉวย เพราะถูกดึงให้ ความเชื่อหลักการ หาเหตุผลหรือ คลกุ เคลา้ อย่ใู น ของตน การอ้างองิ จาก อารมณ์ ความร้เู ก่าของตน แนวทางแก้ไข ฝกึ สมาธิ ฝกึ การกลับมา ปลูกฝงั ศรัทธา มันสังเกตการฟงั เบื้องต้น ร้สู ึกตัว ความเช่อื ของตนไมใ่ ห้ไป 100
แบบของการฟัง ฟังแตไ่ ม่ได้ยินได้ ฟังแลว้ จม ฟังแล้วคดิ หนกั ฟงั แลว้ คดิ ตาม ยินแต่ไมไ่ ด้ฟัง ไปขา้ งหน้า ออกจากเรื่องราว โดยเฉพาะความ ตดิ อยูก่ บั ความ บ่อย ๆ เชือ่ ในสัจจะทีร่ ู้ สมบรู ณแ์ บบ เห็นและพิสูจน์ได้ กลับมารู้สกึ ตัว กลบั เน้ือกับตัว บอ่ ย ๆ กลับมาบ่มเพาะ สนุ ทรียภาพศิลปะ ความรูส้ กึ ละเอียดอ่อนท่ี กา้ วข้ามการใช้ เหตุผล ท่ีมา: ภินท์ ภารดาม, 2557: 58-59 จากตาราง จะเห็นได้ว่าผู้พูดจำเป็นจะต้องสังเกตพฤติกรรม และปฏิกิริยาของผู้ฟังต่อการ ตอบสนองต่อผู้พูด เพื่อท่ีผู้พูดสามารถปรับทัศนคติของผู้ฟังต่อเร่ืองท่ีตนพูดได้อย่างรวดเร็ว ถ้าผู้ฟัง รสู้ ึกเฉย ๆ อาจเรยี กร้องความสนใจ เช่น การตบโต๊ะ หรอื เพิม่ ระดบั เสียงให้ดังขนึ้ ถึงแม้ในขณะทีผ่ ูพ้ ูด พยายามวิเคราะห์ผู้ฟัง แต่หากไม่มีการวิเคราะห์ผู้ฟังก่อนการพูดอย่างจริงจัง จะไม่ได้ผล 100% และทัศนคติของผู้ฟังอาจเปล่ียนแปลงได้ในขณะที่กำลังพูด ดังนั้นส่ิงท่ีสำคัญที่สุด ผู้พูดจะต้องคอยดู ปฏิกิริยาของผู้ฟังในขณะที่พูดจนจบ ควรสังเกตว่าผู้ฟังนั่งท่าใด สีหน้า การหัวเราะ การกระซบิ คุยกัน การหาว การปรบมือ หรือแม้แต่กระท่ังการบิดตัว ซึ่งปฏิกิริยาเหล่าน้ี เป็นสื่อที่จะบ่งบอกถึงทัศนคติ ของผู้ฟังท่ีมีต่อผู้พูดและเร่ืองที่มีต่อผู้พูด ดังนั้นในฐานะท่ีผู้พูดเป็นผู้ส่งสาร ควรตระหนักว่าปฏิกิริยา ของผูฟ้ ังท่กี ลา่ วมาเปน็ ผลสะท้อนกลับของผฟู้ ังในฐานะเป็นผู้รบั สาร ฉะนน้ั ผพู้ ูดจะตอ้ งเลือกเรอื่ งท่ีพูด และวธิ กี ารพูดใหเ้ หมาะสมกับทัศนคติและความสนใจของผฟู้ งั 5. การวเิ คราะหส์ ถานการณใ์ นการพูด เมื่อวิเคราะห์ผู้ฟังแล้ว ผู้พูดควรจะวิเคราะห์สถานการณ์ในการพูดครั้งนั้นด้วย การวิเคราะห์ สถานการณ์ลว่ งหน้าจะช่วยให้ผพู้ ูดมีความมั่นใจ และประสบความสำเร็จในการพูดย่ิงขึ้น สถานการณ์ ที่ผูพ้ ดู ควรรู้ มีดงั ต่อไปนี้ 5.1 โอกาส ผู้พูดควรทราบก่อนว่าโอกาสในการพดู ครง้ั นั้นเป็นอย่างไร เช่น การพูดอวยพรใน งานสมรสยอมไม่เหมือนกับการพูดอวยพรในงานวันเกิด การใช้ถ้อยคำตลอดจนการแต่งกายย่อม เปล่ียนไป ผู้พูดที่ดีจึงควรทราบก่อนว่าตนจะต้องพูดในโอกาสอะไร เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ถูกต้องและ เหมาะสม 5.2 เวลา เป็นส่วนสำคัญส่วนหน่ึงในการพูด ผู้พูดจะต้องทราบกำหนดเวลาในการพูดท่ี แน่นอนว่าจะต้องใช้เวลาในการพูดนานเพียงใด พูดในช่วงเวลาใด เพราะหากเวลาและช่วงเวลาในการ พูดที่แตกต่างกันผู้พูดจะต้องเตรียมตัวต่างกันออกไปด้วย เช่น ถ้าระยะเวลาในการพูดส้ันผู้พูดจะต้อง 101
เลือกพูดในสาระสำคัญเท่าน้ัน ถ้าพูดในช่วงเวลาท่ีใกล้รับประทานอาหารผู้ฟังอาจจะเกิดอาการ กระวนกระวายเพราะหิว เป็นตน้ 5.3 สถานท่ี การรู้ถึงสถานท่ีท่จี ะพูดน้ันเป็นสิง่ หนง่ึ ท่ีผู้พดู ควรทราบลว่ งหน้า เพื่อจะได้เตรียม ท้งั ร่างกาย การแต่งกาย เนื้อเรื่อง รวมทั้งสือ่ อุปกรณ์ประกอบการบรรยาย เพราะเรื่องที่เหมาะสมกับ สถานทห่ี นึง่ นัน้ อาจจะไมเ่ หมาะสมกบั อีกสถานทีห่ นึง่ กไ็ ด้ 6. ตวั อย่างโครงร่างการวิเคราะหผ์ ู้ฟัง ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์ (2534: 36) ได้ทำโครงร่างการวิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อเป็นการวางแผนใน การปรบั เนื้อหาและการพดู ทเี่ หมาะสมกบั ความสนใจและทศั นคตขิ องผูฟ้ ัง ดังนี้ ตารางท่ี 3.2 โครงร่างการวเิ คราะหผ์ ู้ฟงั เร่ือง การขาดแคลนสมาชกิ สภาชาย – หญิง เพ่ือ เสนอประเด็นแก่สภานักศกึ ษา จดุ มงุ่ หมายทัว่ ไป เพื่อชกั จูงนกั ศึกษา จดุ มงุ่ หมายเฉพาะ เพ่ือให้สมาชิกสภานักศึกษา แสดงความคิกเห็นและเห็นด้วยกับ ระเบียบท่ีขอเพิ่มจำนวนสมาชิกสภา ท่ีมาจากชมรมต่าง ๆ ใน มหาวิทยาลัย ผฟู้ ัง สมาชกิ สภานกั ศกึ ษา มหาวทิ ยาลัยราชภฏั ยะลา การวิเคราะห์ผูฟ้ งั จำนวนผู้ฟงั 40-50 คน เพศและวัย เพศชายและเพศหญงิ อายปุ ระมาณ 19 - 23 ปี อาชีพ นักศึกษา ความรูข้ องผูฟ้ ัง มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระเบียบของสภานักศึกษา และมีความรู้ จำกดั และไมพ่ อใจระเบียบบางข้อ ความสนใจของผู้ฟัง สนใจการเรยี นและปัญหาของตนเองตลอดจนการเขา้ ร่วมกิจกรรม ตา่ ง ๆ ของทางมหาวทิ ยาลัย การยดึ ม่ัน เช่อื วา่ ทกุ คนมีสิทธิเทา่ เทียมกัน ทัศนคติทีผ่ ูฟ้ ังมีต่อผู้พดู เปน็ กันเองเพราะผูพ้ ูดเปน็ เพอ่ื นสมาชกิ สภานกั ศึกษาดว้ ยกัน ทศั นคติท่ีผู้ฟงั มีต่อเรื่องท่ีพดู สนใจ เพราะเกย่ี วข้องกบั สภานกั ศึกษา วิเคราะห์สถานการณใ์ นการพูด โอกาส การประชุมประจำเดอื นของสภานกั ศกึ ษา เวลา เร่ิมเวลา 13.00-16.30น. ใชเ้ วลาการพูด คนละ 15 นาที สถานท่ี ห้องประชุมสภานกั ศึกษา ทีม่ า : ฉัตรวรณุ ตันนะรตั น์, 2534 : 36 102
การวิเคราะห์ผู้ฟังในขณะที่พูดนั้น แม้จะเป็นเร่ืองที่ไม่ได้ทำได้ง่ายนักแต่ก็ถือเป็นส่ิงสำคัญ และเป็นส่ิงจำเป็นท่ีผู้พูดทุกคนไม่ควรละเลย ทั้งนี้การวิเคราะห์ผู้ฟังขณะพูดเป็นการเตรียมการ ในขั้นปฏิบตั ิ ซึง่ ผู้พูดจะต้องอาศัยการสงั เกตปฏิภาณไหวพรบิ ในการแกไ้ ขปัญหาโดยฉบั พลัน ไดเ้ รยี นรู้ ประเภทของผูฟ้ ังขณะพูดพร้อมทั้งแนวทางแกไ้ ขจะทำให้ผพู้ ูดมองภาพผู้ฟังได้เด่นชัดยิ่งขึ้น และพรอ้ ม ที่จะรบั สถานการณต์ า่ ง ๆ ได้เปน็ อยา่ งดี บทสรุป ผู้พูดเป็นผู้ท่ีมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดไปยังผู้ฟัง การเป็นผู้พูดท่ีดี นอกจากจะเรียนรู้ทฤษฎีการพูดแล้ว ผู้พูดจำเป็นต้องมีพ้ืนฐานทักษะการพูดตลอดจนการแสดงออก ต่อหน้าผู้ฟังท่ีดีก่อน ด้วยวิธีการสำรวจตนเองก่อนว่ามีพ้ืนฐานการนำเสนอหรือการพูดมากน้อย เพียงใด รวมถึงการมีบุคลิกภาพดีพอท่ีจะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ เพราะฉะน้ันไม่เพียงแต่ทักษะ การพูดที่ผู้พูดควรหม่ันฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ แต่การเตรียมความพร้อมด้านบุคลิกภาพก็เป็นสิ่ง สำคัญที่ผู้พูดควรจะคำนึงถึงเช่นกัน การเตรียมความพร้อมด้านบุคลิกภาพ ผู้พูดจะต้องมีความพร้อม ท้ังบุคลิกภาพภายใน ได้แก่ ความรู้ความสามารถ ค่านิยม ทัศนคติ ไหวพริบ อารมณ์ ความรู้สึก เป็น ต้น และบุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ รูปร่างหน้าตา ผม เครื่องแต่งกาย น้ำเสียง การเลือกใช้ภาษา ตลอดจนอิริยาบถต่าง ๆ ท่ีแสดงออกต่อหน้าผู้ฟัง เป็นต้น ซ่ึงการเตรยี มความพร้อมดา้ นบุคลกิ ภาพใน เบ้ืองต้น ผู้พูดจำเป็นต้องรู้และพัฒนาบุคลิกภาพของต้นในด้านการใช้ภาษาและน้ำเสียง จะต้องรู้จัก เลือกใช้ภาษาและน้ำเสียงให้เหมาะสมตามสถานการณ์หรือบริบทแวดล้อมอย่างถูกกาลเทศะ นอกจากน้ีการใช้สายตา เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ ผู้พูดควรสบตาผู้ฟังในขณะท่ีกำลัง สนทนา เพราะสายตาสามารถสร้างความสัมพันธ์และถ่ายถอดความรู้สึกไปยังผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ในสว่ นของอิริยาบถ เปน็ ส่วนประกอบท่สี ำคัญของการมีบุคลกิ ภาพที่ดี ต่อให้ผพู้ ูดแตง่ กายด้วยเสื้อผ้า ท่ีดูสุภาพมาแล้ว แต่หากการเคล่ือนไหวอิริยาบถไม่สุภาพ ก็จะทำให้ผู้พูดขาดความน่าเช่ือถือท่ีมีต่อ ผู้ฟังได้ อิริยาบถที่ควรฝึกและพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ การวางท่าทางให้ถูกต้องในขณะที่ยืน การเดิน ในระดับพื้นปกติ การเดินข้ึนหรือลงบันได การน่ังไขว่ห้าง การนั่งบนโซฟาหรือเก้าอี้นวม การใช้มือ เพ่ือขยายความหรือเป็นส่ิงท่ีช่วยในการเล่าเรื่อง เพ่ือให้เห็นภาพประกอบ การแสดงออกทางสีหน้า เป็นต้น นอกจากน้ีเครื่องแต่งกาย เป็นบุคลิกภาพท่ีบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยใจคอและรสนิยมของผู้พูด เป็นปจั จัยท่ีดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ต้งั แต่ยังไม่เร่ิมพูด เพราะฉะน้นั ผ้พู ูดควรให้ความสำคัญในการ เลือกเคร่ืองแต่งกายให้เหมาสมกับรูปร่างและเหมาะสมกับกาลเทศะ ในการส่งเสริมและพัฒนา บุคลิกภาพเร่ืองของการใช้ไมโครโฟน เป็นสิ่งท่ีผู้พูดไม่ควรมองข้าม เพราะหากผู้พูดใช้ไมโครโฟนผิด ประเภท ก็อาจสร้างปัญหาให้กับผู้พูดได้ เช่น การเลือกประเภทไมโครโฟนให้เหมาะกับการงานท่ีได้ ออกไปพูด การจับไมโครโฟนมีความสมั พันธ์กับระดับเสียงของผ้พู ูด หากผู้พูดเป็นคนมรี ะดับเสียงท่ีดัง ฟังชัด ก็ควรเว้นระยะห่างระหว่างไมโครโฟนกับปากให้เหมาะสม เป็นต้น และสิ่งท่ีจำเป็นและเป็นส่ิง สำคัญมากสำหรับผู้พูด หากผู้พูดได้เตรียมความพร้อม พัฒนาบุคลิกภาพที่ดีมากน้อยเพียงใด แต่ยัง หากขนาดความมน่ั ใจ กจ็ ะเป็นอุปสรรคต่อผู้พดู ทนั ที ผู้พูดจะต้องมีความเช่ือมนั่ ในตนเอง โดยเร่มิ จาก การฝึกฝนและฝึกซ้อมในการพูดอย่างสม่ำเสมอ ขึ้นเวที หรือใชท้ ักษะการพูดให้บ่อยขึ้น ก็จะช่วยให้ผู้ พูดสร้างความมั่นใจใหก้ บั ตนเองได้ 103
นอกจากการเตรียมความพร้อมด้านบุคลิกภาพ การวิเคราะห์ผ้ฟู ังจัดเป็นกระบวนการเตรียม ความพร้อมก่อนพูดในโอกาสต่าง ๆ เพราะผู้พูดจะต้องสื่อสารความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ฟังได้รับรู้ ทั้งนี้สิ่งท่ีผู้พูดจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ผู้ฟัง ได้แก่ 1) สภาวะทางสังคม ของผู้ฟัง ประกอบไปด้วย จำนวนหรือขนาดของผู้ฟัง วัยหรือระดับอายุของผู้ฟัง เพศของผู้ฟัง ความ แตกต่างทางความเช่ือและศาสนา ฐานะและอาชพี ของผู้ฟัง ระดับการศึกษา และการเป็นสมาชิกของ กลุ่มใดกลุ่มหน่ึง 2) การยึดมนั่ และทัศนคติของผู้ฟัง 3) ทัศนคติท่ีผฟู้ ังมีตอ่ ผู้พูด 4) ทัศนคติผู้ฟังที่มีต่อ เรื่องที่พูด 5) การวิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด ท้ัง 5 ประเด็นในการวิเคราะห์ผู้ฟัง หากผู้พูด สามารถวิเคราะห์ผู้ฟังได้อย่างลึกซ้ึง จะทำให้ผู้พูดสามารถจับประเด็นและเลือกเรื่องที่จะนำเสนอได้ อย่างน่าสนใจต่อผู้ฟัง เหมือนสุภาษิต “รู้เขา รู้เรา” หากผู้พูดรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ฟังได้มาก เท่าไหร่ การพูดที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายและประสบความสำเร็จในการพูดในครั้งน้ันก็มีโอกาสมาก ยง่ิ ขึน้ 104
คำถามท้ายบทท่ี 3 1. กระบวนการเตรียมความพรอ้ มกอ่ นพดู มีความสำคญั ต่อผู้พูดอย่างไร 2. บคุ ลิกภาพมีความสำคัญตอ่ ผู้พูดอย่างไร 3. บคุ ลกิ ภาพภายนอกและบคุ ลิกภาพภายในมีความสมั พนั ธก์ ันอยา่ งไร 4. อธิบายความแตกต่างระหวา่ งภาษาพูดและภาษาเขยี น พอสงั เขป 5. ขณะสนทนา ผู้พูดไม่กลา้ สบตาค่สู นทนา มวี ธิ ีแก้ไขอย่างไร 6. “มอื ” มีหนา้ ทส่ี ำคญั อย่าไรต่อการพดู 7. การวิเคราะหผ์ ู้ฟังมีกปี่ ระเภท อะไรบ้าง 8. ทำไมนักพูดทีด่ ี ต้องวิเคราะห์ผู้ฟงั 9. “การฟัง” สามารถพฒั นาผู้พูดได้อย่างไร 10. ถ้าผฟู้ งั มีอาการเหม่อลอย ไม่ตง้ั ใจฟงั ผู้พูดจะมีวธิ กี ารแก้ไขอย่างไร 105
บรรณานกุ รม ภาษาไทย กัญญา วารีเพชร. (2546). การศกึ ษาบุคลิกภาพของพนักงานธนาคารกรงุ ศรีอยธุ ยา จํากัด (มหาชน). สารนิพนธการศึกษามหาบณั ฑิต สาขาธรุ กจิ การศกึ ษา, คณะศึกษาศาสตร มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กญั ญา สุวรรณแสง. (2532). การพัฒนาบุคลกิ ภาพและการปรับตัว. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์ร วงั บูรพา. จตุ ิมา เสรีพิทยารัตน.์ (2544). บคุ ลิกภาพของนักเรยี นพยาบาลศาสตรระดับต้น กอง การศกึ ษากรมการแพทยทหารเรอื กรงุ เทพ. ปรญิ ญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑติ สาขาจติ วิทยา, คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวิโรฒ. ฉตั รวรุณ ตันนะรัตน.์ (2537). การพดู เบือ้ งต้น. กรงุ เทพฯ : กง่ิ จนั ทร์การพมิ พ์. ชลลดา ทวคี ณู . (2556). เทคนิคการพฒั นาบคุ ลกิ ภาพ. พมิ พค์ รง้ั ท่ี 2. กรงุ เทพ: โอเดียนสโตร.์ ชิตาภา สขุ พลำ. (2548). การสื่อสารระหวา่ งบุคคล. กรุงเทพฯ: โอเดยี นสโตร.์ ถิรนนั ท์ อนวัชศริ ิวงศ.์ (2533). การส่ือสารระหวา่ งบคุ คล. พิมพ์คร้งั ท่ี 2. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . นริ ตั น์ จรจิตร. (2550). ศิลปะการพูดสำหรบั ผบู้ รหิ าร. สงขลา: ภาคพื้นฐานการศกึ ษา คณะวิชาครุศาสตร์. นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต. (2543). หลกั การพดู . คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สงขลา : มหาวทิ ยาลัยทักษณิ . นพิ นธ์ ศศธิ ร. (2528). หลักการพดู ในที่ประชุมชน. กรงุ เทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. พมิ ลพรรณ เชื้อบางแกว้ . (2559). การพฒั นาบคุ ลิกภาพ Personality Development. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยกรุงเทพ. ภินท์ ภารดาม. (2557). ศลิ ปะการฟงั อย่างลกึ ซ้ึง. กรงุ เทพฯ : สวนเงนิ มีนา. วิจิตร บญุ ยะโหตระ. (2550). ศาสตร์ของการยิ้ม นติ ยสารฟิตเนส10 (106). [ออนไลน์]. สืบคน้ เมือ่ 12 เมษายน 2562, จาก: https://bit.ly/3dVLHXs. 106
วิจิตร อาวะกุล. (2524). เพอ่ื การพดู การฟัง เพื่อการประชุมทดี่ ี. กรุงเทพฯ : ไทยวฒั นา พานชิ . วริ ัช ลภิรตั นกลุ . (2526). วาทนเิ ทศและวาทศิลป.์ กรุงเทพฯ : กรงุ สยามการพมิ พ์. วยี ร์ ฎา กวิณรวีบริรักษ์. (2560). สรา้ งเสน่หฝ์ ึกน้ำเสียงง่าย ๆ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมอื่ 10 เมษายน 2562, จาก: https://bit.ly/2ZdgDPc. สมชาติ กจิ ยรรยง. (2559). 108 เกมและกิจกรรมเพ่ือพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ: ซเี อ็ด. สวพร จันทรสกลุ และคณะ. (2561). ปัจจัยทส่ี ่งผลตอ่ ความวติ กกังวลในการพูดนำเสนอ หน้าชั้นเรียน ของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะ มนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราช ภฏั ยะลา. สถาบนั พัฒนาบุคลกิ ภาพจอห์น โรเบิรต์ เพาเวอรส์ . (2535). เอกสารประกอบการฝึกอบรม การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับสตร.ี [อัดสำเนา] ม.ป.ท. สวัสดิ์ บนั เทิงสขุ . (2530). เทคนคิ การพูด. กรงุ เทพฯ: ฉับแกระ. สจุ รติ เพียรชอบ. (2529). การแสดงออกต่อหนา้ ประชุมชน. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพค์ รุ ุสภา. สุจิตรา จรจิตร. (2527). การฝึกพดู และภาษาไทย. สงขลา : ภาควิชาสารตั ถศึกษา คณะ วทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สุภัททา ปณะฑะแพทย.์ (2542). พฤติกรรมมนุษยแ์ ละการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: สถาบัน ราชภฎั สวนสนุ นั . แสงธรรม บัวแสงธรรม. (2557). พูดได้ พูดเก่ง พูดเปน็ พูดดี. นนทบุรี : ธงิ ค์ บยี อนด์ บคุ๊ ส.์ Brandthink. (2562). ฝกึ มองคสู่ นทนา ใช้สายตาเพิ่มทกั ษะการใช้ชวี ติ . [ออนไลน์]. สบื ค้น เมือ่ 10 เมษายน 2562, จาก: https://bit.ly/2TaRReI. Rajcharawee. (2559). วิธเี ดนิ ให้ดูดโี ดยผเู้ ช่ยี วชาญดา้ นบุคลกิ ภาพ. [ออนไลน์]. สบื ค้น เม่ือ 10 เมษายน 2562, จาก: https://bit.ly/2z7Zc7V. Wikihow. (2562). วธิ กี ารสบตาคน. [ออนไลน์]. สบื คน้ เมื่อ 10 เมษายน 2562, จาก: https://bit.ly/3dVKboe. Zoundlab. (2562). 4 เทคนิค การใชไ้ มโครโฟนเบ้อื งตน้ สำหรบั มอื ใหม่. [ออนไลน์]. สบื คน้ เม่อื 10 เมษายน 2562, จาก: https://bit.ly/2X6Do4i. 107
ภาษาองั กฤษ Osborn, Michael & Suzanne Osborn. (1994). Public Speaking. 3th ed., Boston: Houghton Miffilin Company. 108
บทที่ 4 การพูดอธิบาย ภาพท่ี 4.1 การพดู อธิบาย การพดู อธิบาย จดั เป็นการพูดในรปู แบบของการพูดชีแ้ จงแสดงเหตผุ ล เพื่อใหผ้ ้ฟู ังเกิดความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะในบางครั้งเราอาจต้องการแสดงความ คิดเห็น อธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจและรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ จึงทำให้ผู้ฟังสามารถแสดงความคิด เห็น ซักถาม แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน จึงทำให้การพูดอธิบายมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ความสามารถในการพูดอธิบายต้องแสดงรายละเอียดและให้ตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจ เกิดความชัดเจนในสิ่งน้ัน หรือขยายความในลักษณะที่ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจเร่ืองราวต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซง่ึ อาจกระทำได้โดยการบอก การตีความ การสาธิต การยกตัวอยา่ ง ฯลฯ ในบทนีไ้ ด้นำเสนอเรื่องการ พูดอธิบาย โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ความหมายของการพูดอธิบาย จุดมุ่งหมายของการพูดอธิบาย ประเภทของการพูดอธิบาย กลวิธกี ารพูดอธบิ าย คุณสมบตั ขิ องนักพดู อธิบาย การแสดงเหตุผลในการ พดู อธิบาย หลกั การพดู อธบิ าย และตัวอย่างการพูดอธบิ าย ทงั้ นี้เพอื่ ให้เข้าใจในหลกั ทฤษฎจี นสามารถ นำฝกึ ปฏิบัตแิ ละประยุกตใ์ ชก้ ารพูดอธบิ าย ทำให้ผ้ฟู ังสนใจและเข้าใจความหมายไดด้ ีย่ิงข้นึ ความหมายของการพูดอธิบาย การพูดอธิบาย เป็นการพูดแสดงเหตุผล สร้างความเข้าใจในเรื่องที่พูดอย่างละเอียดเป็น ขั้นตอน หรือเปน็ การอธบิ ายตคี วาม ขยายความเพือ่ ใหผ้ ู้ฟังเกดิ ความเข้าใจ สามารถสรปุ ไดด้ ังน้ี วินัย จันทร์พริ้ม (2550: 75) กล่าวว่า การพูดอธิบาย คือ การพูดชี้แจงแสดงเหตุผล ขยาย ความหรือไขความในเรื่องที่พูดให้ละเอียด ชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังได้ฟังอย่างแจ่มแจ้ง เช่น การอธิบาย ทฤษฎี กฎเกณฑ์ วธิ กี ารและเนื้อหาวชิ าต่าง ๆ เปน็ ต้น
ประเสรฐิ บุญเสริม (Online: 9) กลา่ วว่า การพดู อธิบาย คอื การพูดเพื่อชแ้ี จงหรือให้ความรู้ วิธีการอธิบายอาจทำไดห้ ลายแบบ เชน่ การซักถาม การยกตวั อย่าง การเปรยี บเทียบ เปน็ ต้น เสนีย์ วิลาวรรณ (Online: 1) กล่าวว่า การพูดอธิบาย คือ การพูดที่ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจใน ความจรงิ ความสัมพันธห์ รือปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ดังนั้น การพูดอธิบาย จัดเป็นการพูดในรูปแบบของการพูดแสดงความคิดเห็น ที่ต้องการให้ ผ้รู ับสารเกดิ ความเข้าใจตอ้ งตามจุดมงุ่ หมายอยา่ งถูกต้องและชัดเจน จุดมุ่งหมายของการพูดอธิบาย การพดู อธบิ ายเพ่ือใหผ้ ฟู้ งั เกดิ ความเข้าใจ มีจดุ มุ่งหมายดังน้ี (วนิ ยั จันทรพ์ ร้มิ , 2550: 76) 1. เพอ่ื ให้ขา่ วสาร เป็นการให้ผูฟ้ ังเกิดความเขา้ ใจเก่ยี วกับเหตุการณ์หรอื เรื่องราวทเ่ี กิดขน้ึ ตามที่ผู้พูดได้เห็นหรือได้รับรู้มา โดยแยกแยะรายละเอียดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจ เหตุการณ์หรอื เร่อื งราวอยา่ งถกู ต้องและชัดเจนย่ิงขนึ้ 2. เพอ่ื ให้ความรู้ เป็นการใหผ้ ้ฟู ังได้รบั รู้ เขา้ ใจ เกยี่ วกับเน้อื หาสาระของเร่อื งทพ่ี ูด เชน่ การปฐมนิเทศนักศกึ ษา การพูดในเน้ือหารายวชิ าตา่ ง ๆ เป็นต้น 3. เพื่อใหเ้ กิดความคดิ เปน็ การพดู อธบิ ายเกยี่ วกับแนวคิดเร่อื งใดเรอื่ งหน่งึ เพื่อใหผ้ ้ฟู งั พิจารณาไตรต่ รองและเกดิ แนวคิดหรือทัศนะอย่างใดอย่างหน่งึ เกย่ี วกับเรื่องนั้น ๆ เช่น การพูดอธิบาย เกย่ี วกับขอ้ กฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองสตั ว์ การแสดงทศั นะในประเดน็ การศกึ ษาในยุคปจั จบุ นั เป็นตน้ 4. เพื่อจงู ใจ เปน็ การพดู อธบิ ายเรอื่ งใดเรื่องหน่ึง เพอื่ จูงใจใหผ้ ฟู้ ังเกิดความรูส้ กึ คล้อยตาม เกิดความเชือ่ และศรทั ธา ซึ่งส่งผลให้ผ้ฟู งั เกิดความเปล่ยี นแปลงทัศนคติ ความเชอื่ หรอื พฤตกิ รรมและ การกระทำให้ปฏิบัติตามที่ผู้พูดต้องการ เช่น การพูดอธิบายเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน การ รณรงค์การใช้ถุงผา้ เป็นต้น 5. เพอื่ ใหผ้ ้ฟู งั ไดร้ ับความรคู้ วามเข้าใจ เปน็ การอธบิ ายท่ีม่งุ ใหผ้ ูฟ้ ังมีความรูค้ วามเขา้ ใจใน เนื้อหาสาระเรื่องที่พูดของวิชาการในสาขาต่าง ๆ เช่น การอธิบาย รายวิชาให้นักศึกษาฟัง โดยยกตวั อยา่ งประกอบเพอื่ ใหเ้ ขา้ ใจชดั เจนยิง่ ขึน้ (ลลติ า โชติรังสยี ากุล, 2544: 178) ประเภทของการพดู อธิบาย การพูดอธิบายนับว่าเป็นการพูดอีกรูปแบบหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งใช้กันมากในชีวิตประจำวันและ ทุกวงการอาชีพ เช่น วงการการศึกษา นักธุรกิจ แพทย์ นักกฎหมาย เป็นต้น ลักษณะของการพูด อธิบายเป็นการพูดที่สามารถอธิบายโดยตรงกับผู้ฟัง หรืออาจพูดผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น การพูดอธิบาย ผา่ นรายการวทิ ยุ โทรทศั น์ หรอื ช่องทางสื่อออนไลนต์ ่าง ๆ เปน็ ตน้ ในการพดู อธิบายเพ่ือให้ผู้ฟังเข้าใจ ง่ายขึ้นอาจใช้สื่อประกอบการอธิบายได้ เช่น รูปภาพ กราฟ อุปกรณ์การสาธิต เป็นต้น ทั้งนี้สามารถ แบ่งประเภทของการพดู อธิบายได้ 2 ลกั ษณะ (ลลิตา โชติรงั สียากุล, 2544: 177-178) คือ 110
1. การอธบิ ายแบบเป็นทางการ โดยพูดในที่ประชมุ เช่น อาจารยอ์ ธบิ ายเนอื้ หารายวิชาใน สาขาต่าง ๆ ใหน้ ักศึกษาได้ฟงั หรือ คณุ หมออธิบายขั้นตอนการรักษาโรคตลอดจนการดูแลตนเองเมื่อ เจ็บปว่ ย หรือตวั แทนจำหน่ายสินค้าอธิบายถงึ คุณลักษณะของสินค้าให้กลุ่มลกู ค้าท่ีสนใจฟัง เปน็ ต้น 2. การอธิบายแบบไมเ่ ป็นทางการ เชน่ อธบิ ายเร่ืองราวประสบการณ์ในชวี ติ อธบิ ายวิธกี าร ทำคุกกี้ หรอื อธิบายเหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ เป็นต้น กลวธิ ีการพดู อธบิ าย การพูดอธิบายสามารถจำแนกได้หลายกลวิธีตามวิธีการและลักษณะของการพูด (มณฑนา วฒั นถนอม, 2533: 34-36) ดงั นี้ 1. การพดู อธิบายตามลำดบั ขั้นตอน เป็นการอธิบายท่ีแสดงให้เห็นข้นั ตอนไปตามลำดบั อย่างสมเหตุสมผล เพื่อไม่ให้ผู้ฟังเกิดความสับสน การอธิบายในลักษณะน้ีเป็นการกล่าวถึง กระบวนการหรือกรรมวิธี มักจะใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ การเปลี่ยนแปลงที่มีขั้นตอนเป็นระยะ ๆ ไป เช่น อธิบายการผลิตสิ่งของต่าง ๆ การประกอบอาหาร การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ กระบวนการ ทำงานของระบบอวัยวะภายในร่างกายมนษุ ย์ เป็นต้น 2. การอธิบายดว้ ยการใหค้ ำนิยามหรอื คำจำกดั ความ เปน็ การอธบิ ายความหมายของสิ่งใด สิ่งหนึ่งอย่างกระชับรัดกุมเพื่อให้เข้าใจชัดเจน การอธิบายลักษณะนี้เป็นการจัดประเภทต่าง ๆ และ พิจารณาว่าแตกต่างจากสิ่งอื่นในประเภทนั้นอย่างไร ในการสื่อสารบางระดับบางครั้งมีผู้ฟังอาจไม่ เขา้ ใจความหมายของคำหรือศัพท์บางคำ ในกรณเี ช่นนี้ ผพู้ ูดตอ้ งให้ความหมายของคำหรือศัพท์นั้น ๆ เพ่อื จะไดเ้ ข้าใจตรงกนั การอธบิ ายความหมายของคำหรือศัพท์นี้ เรียกว่า การนิยาม โดยปกตมิ กั นิยาม ให้สั้นและรัดกุม ซึ่งอาจมีผลให้ผู้ฟังยังคงไม่เข้าใจชัดเจน จึงจำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจได้ อย่างชดั เจนขึน้ วธิ ีการนิยามหลักสำคัญ คือ ตอ้ งบอกสงิ่ ที่นยิ ามนั้นจดั อยู่ในประเภทใด และเม่อื จัดอยู่ ในประเภทนั้น ๆ แล้ว สิ่งนั้นแตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในประเภทเดียวกันนั้นอย่างไร (เว็บบล็อก, Online) เช่น การอธบิ ายคำศพั ท์ สำนวน หรือขอ้ ความต่าง ๆ เปน็ ตน้ 3. การพูดอธบิ ายด้วยการเปรียบเทียบ เปน็ การอธิบายท่ีชีใ้ ห้เหน็ ถงึ ความเหมือนและความ แตกต่าง ๆ ของสิ่งที่ผู้ฟังรู้จักคุ้นเคยกับสิ่งใหม่ที่กำลังอธิบายอยู่ เหมาะที่จะใช้ในการอธิบายสิ่ง ที่ แปลกใหม่หรือสิ่งที่ผู้ฟังไม่คุ้นเคยมาก่อน เช่น อธิบายโทรศัพท์มือถือในแต่ละยี่ห้อ อธิบายลักษณะ สถาปัตยกรรมแตล่ ะประเทศ เปน็ ตน้ 4. การอธิบายดว้ ยการยกตวั อยา่ ง เป็นการอธิบายถงึ หลกั การ วิธีการ หรือความรบู้ างอยา่ ง ท่เี ขา้ ใจยาก โดยการใช้ตัวอย่างประกอบจะชว่ ยใหผ้ ู้ฟังเข้าใจชัดเจนย่ิงขึ้น โดยท่ัวไปมักจะเริ่มต้นด้วย หลกั การ วิธกี ารท่วั ไป แล้วจงึ ยกตวั อย่างประกอบ เชน่ อธิบายเกี่ยวกบั หลักการกล่าวสนุ ทรพจน์ การ ปฏิบตั ิตนใหพ้ ้นจากความทกุ ข์ การอธิบายเนือ้ หาในรายวิชาตา่ ง ๆ เป็นต้น 111
5. การพดู อธบิ ายดว้ ยการใชอ้ ุปกรณ์ เปน็ การอธบิ ายใชอ้ ปุ กรณ์ตา่ ง ๆ เช่น รูปแบบ แผนผงั แผนที่ สื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ประกอบการอธิบายเพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจและมองเห็นภาพ สามารถช่วยประหยัดเวลาในการอธิบายให้เกิดความเข้าใจได้อีกดว้ ย การอธบิ ายท่ีสามารถใช้อุปกรณ์ ประกอบมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเรื่องที่จะอธิบาย เช่น อธิบายการ วางแผนครอบครวั อธบิ ายการแต่งกายแตล่ ะยคุ สมัย อธบิ ายปรากฏการณท์ างดาราศาสตร์ เป็นต้น 6. การอธิบายดว้ ยการช้ีสาเหตแุ ละผลลพั ธ์ท่ีสมั พนั ธ์กัน เปน็ การอธบิ ายท่ีผู้พดู สามารถ วิเคราะห์ให้เห็นว่าเรื่องที่กล่าวมานั้นมีอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผลลัพธ์ หรืออธิบายว่าผลที่เกิดข้ึน นั้นมาจากสาเหตุใด เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่อธิบายได้ง่ายขึ้น เช่น อธิบายการเกิดโรคระบาดต่าง ๆ อธบิ ายถงึ ความเหล่ือมล้ำทางการศึกษา เป็นต้น 7. การอธบิ ายแบบวเิ คราะห์ เปน็ การพูดอธิบายจากต้นเรือ่ งแยกแยะออกไปสู่ปลายเรือ่ ง หรือกล่าวถึงส่วนใหญ่ก่อนแล้วจึงค่อยย่อยลงไปเป็นลำดับ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนในตอนปลาย เช่น การวเิ คราะหเ์ หตบุ ้านการเมอื ง เปน็ ต้น 8. การพูดอธบิ ายแบบสังเคราะห์ เปน็ การพดู อธบิ ายสืบสาวจากปลายมาหาต้น อาจเริม่ ดว้ ยการกล่าวคำสรปุ แสดงเรอ่ื งย่อย ๆ ไปหาเรอื่ งใหญ่ อนั เป็นจุดสำคัญทั้งหมดของเร่อื ง เมื่อจบแล้ว จะเข้าใจได้ตลอดเรื่อง เช่น การวิเคราะห์เศรษฐกิจ เป็นต้น (สำเนียง มณีกาญจน์ และสมบัติ จำปา เงนิ , 2535: 88) องคป์ ระกอบของการพูดอธบิ าย การพดู อธบิ ายให้มปี ระสทิ ธภิ าพมีองค์ประกอบ 4 ประการ (วนิ ยั จนั ทรพ์ ร้มิ , 2550: 78) คือ 1. ความถูกตอ้ ง ในการพูดอธบิ ายแต่ละครงั้ ผู้พดู จะต้องคำนึงถึงความถกู ต้องของเน้ือหา ที่ จะนำมาอธิบายเป็นสำคัญ ถ้าเปน็ ขา่ วสารต้องเป็นเหตุการณ์หรือเรื่องราวท่ีเกิดข้ึนจริง ถ้าเป็นเนื้อหา วิชาการก็ต้องศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และผู้พูดได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ แล้ว ด้วยใจเปน็ ธรรม 2. ความแจ่มชดั ในการพดู อธบิ ายแตล่ ะคร้งั ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงความแจม่ ชดั ของ เรื่องท่ี พูด ความแจ่มชัดของเรื่องที่พูดจะเกิดขึ้นได้ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดวางโครงเรื่อง ตามล ำดับ ขั้นตอน อย่างถูกต้องเหมาะสม อธิบายด้วยถ้อยคำภาษาอย่างง่าย ๆ มีสื่อหรือตัวอย่างมาประกอบ ให้ผู้ฟัง เขา้ ใจและจดจำได้ง่าย 3. ความสนใจ ในการพูดอธบิ ายแต่ละครั้ง ผพู้ ูดตอ้ งคำนึงถึงความสนใจของผู้ฟังอยูเ่ สมอ ผู้พูดจะต้องพยายามเร้าความสนใจของผู้ฟังให้สนใจติดตามเรื่องที่กำลังอธิบายตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น การตั้งคำถามหรือตั้งปัญหาให้ผู้ฟังได้คิด เพื่อให้ผู้ฟังตั้งใจติดตามเรื่องให้ได้คำตอบหรือข้อสรุป ตอนท้ายของการพดู 112
4. ความเข้าใจชดั เจน ในการพดู อธิบายแต่ละครง้ั ผู้พดู ควรบอกใหผ้ ฟู้ ังรบั รู้วา่ ผพู้ ดู จะ อธิบายแง่ใด ทัศนะใด หรือมีแนวคิดอย่างไร ผู้พูดต้องแบ่งเวลาในการอธิบายให้เหมาะสมกับ เนื้อหา สาระท่พี ูดพยายามพูดให้จบในเวลาที่กำหนดและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังไดซ้ ักถามข้อสงสัยหรือแสดงความ คิดเหน็ เกย่ี วกับเร่ืองทพ่ี ดู ในตอนท้าย คณุ สมบัติของนักพดู อธบิ าย การพดู อธิบายจะไดผ้ ลดขี ึ้นอยกู่ ับผู้อธบิ าย ถ้าผ้อู ธิบายมีความสามารถในการ พดู แล้วก็จะทำ ให้การอธิบายคร้ังนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะเปน็ เรื่องที่ยากไมน่ ่าสนใจก็ตาม ดังนั้นผู้อธบิ าย จึงจำเป็นต้องมคี ุณสมบตั ติ อ่ ไปน้ี (ลลติ า โชติรังสยี ากลุ , 2544: 180) 1. มีความรู้ความเขา้ ใจในเรือ่ งทต่ี นอธบิ ายเป็นอย่างดี 2. มคี วามสามารถในการคดิ วิเคราะหแ์ ละเปน็ คนชา่ งสังเกต 3. มีความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมกบั เร่ืองและผู้ฟงั 4. มีความใฝร่ ู้ หมัน่ ศกึ ษาคน้ คว้าหาความรูจ้ ากการอา่ น การฟังอยเู่ สมอ 5. มบี ุคลกิ ภาพทด่ี ี เชอ่ื มน่ั ในตนเอง และมีความเปน็ กนั เองกบั ผูฟ้ งั 6. ฝกึ ฝนการอธิบายอย่เู สมอ ๆ เพือ่ ให้เกดิ ทักษะในการพดู อธิบาย การแสดงเหตผุ ลในการพดู อธบิ าย การแสดงเหตุผลในการพูดอธิบาย เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลเนื้อหาต่าง ๆ มาสนับสนุนให้มี ประสิทธิภาพต่อการพูดอธิบาย เช่น เมื่อทนายต้องอธิบายข้อเท็จจริงทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อให้ลุกความ ชนะคดี โดยจะต้องหารูปแบบในการเชื่อมโยงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม รูปแบบการแสดงเหตผุ ลมดี ังน้ี (Johnston, 1994: 133-137 อ้างถึงใน ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามร,ี 2556: 139-147) 1. การแสดงเหตุผลในเชิงสาเหตแุ ละผล เป็นการสร้างสารทเี่ สนอเหตแุ ละผลตามลำดบั โดย อธบิ ายว่าการกระทำอย่างหนึ่งเปน็ สาเหตุให้เกดิ ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรอื แสดงวา่ เหตกุ ารณ์ที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลอย่างหนึ่งในอนาคต เช่น วิกฤตน้ำมันแพง จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว การอดหลับอดนอนจะทำให้สุขภาพแย่ลง ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการให้ผลกระทบที่ไม่ดีเกิดขึ้นจึงต้องขจัด สาเหตุนั้น ถ้าการถือบัตรเครดิตหลายใบทำให้มีโอกาสที่หนี้บัตร เครดิตจะสูงขึ้น การลดจำนวนบัตร เครดติ ซ่งึ เปน็ การตดั สาเหตอุ อกไปจะช่วยลดผลกระทบต่อการเพ่ิม หนบ้ี ัตรเครดิต โฆษณาสินค้ามักใช้ การแสดงเหตุผลรูปแบบนี้ เช่น โฆษณาครีมรักษาสิว โดยระบุว่า ไขมันที่เกาะตามรูขุมขนบนใบหน้า เป็นสาเหตทุ ำใหเ้ กดิ สิว ซง่ึ ครีมรักษาสิวนจ้ี ะกำจัดสวิ ทต่ี ัวสาเหตุ ด้วยการช่วยละลายไขมันท่ีเกาะตาม รูขุมขนและกระชับรูขมุ ขน สิว หรอื ผลทไ่ี ม่นา่ พอใจนี้จงึ ไมเ่ กิดข้นึ 113
2. การแสดงเหตผุ ลในเชงิ ผลและสาเหตุ การแสดงเหตผุ ลในเชงิ ผลลพั ธ์และสาเหตุเป็นการ ชี้ว่าผลลัพธ์บางอย่างที่ได้เกิดขึ้นแล้วมีสาเหตุมาจากปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัย เช่น นักลงทุนชะลอ การลงทุน เพราะสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และวิกฤตน้ำมันแพง หรือในปัจจุบันเด็กมี ความก้าวร้าวมากขึ้นเพราะเนื้อหารายการโทรทัศน์มีความรุนแรงมากขึ้น หรือโรคคอเลสเตอรอลใน เส้นเลือดสูงมาจากการบริโภคอาหารประเภทไขมันมาก การไม่ออกกำลังกาย และความเครียด จะเห็นได้ว่าการแสดงเหตุผลในเชิงสาเหตุและผลเป็นการทำนายสิ่งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น ส่วนการ แสดงเหตุผลในเชงิ ผลและสาเหตุเป็นการอธบิ ายสิ่งทเ่ี กดิ ขึ้นแลว้ ในอดีต ในการประเมินการแสดงเหตุผลในเชิงเหตุและผล กับการแสดงเหตุผลแบบผลและเหตุน้ัน ผู้รับสารต้องพิจารณาการเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลมีเหตุมีผลหรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มจะ ทำใหเ้ กิดผลตามท่ีผสู้ ่งสารกล่าวหรือไม่ นอกจากนคี้ วรพจิ ารณาด้วยวา่ นอกจากสาเหตุทผ่ี ู้สง่ สารกล่าว อา้ งแลว้ ผลที่เกดิ ขนึ้ นน้ี ่าจะมาจากสาเหตุอืน่ ๆ อกี หรือไม่ 3. การแสดงเหตุผลโดยวธิ ีนิรนยั เป็นการใชเ้ หตทุ างตรรกะวิทยารปู แบบหน่ึง ผสู้ ง่ สารต้อง เสนอหลักการกว้าง ๆ ทั่วไปก่อน จากนั้นก็เสนอสารของตนในฐานะเป็นข้อเสนอย่อยอันหนึ่งภายใต้ หลักการทั่วไป ด้วยเหตุผลทางตรรกวิทยาจะสรุปได้ว่า สถานการณ์ย่อยนั้นเข้าตามหลักเกณฑ์ของ สถานการณ์ทั่วไปด้วยเช่นกัน เช่น ไม่มีประเทศอุตสาหกรรมใดในโลกที่มีการลงโทษประหารชีวิต ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงควรยกเลิกโทษประหารชีวิต ปัญหาของการแสดงเหตุผลโดยวิธีนิรนัย ถ้าผู้รับสารรู้สึกทางลบตอ่ หลักการทั่วไปหรือไม่เชื่อว่าถูกต้อง อาจทำให้ขาดความสนใจในหลักการท่ี เฉพาะเจาะจงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ส่งสารต้องการอธิบายภาพเหมารวมต่อกลุ่มคน ที่ทำให้คิดว่า ใครก็ตามท่ีอยู่ใน กลุ่มนั้นเหมือนกันเป็นลักษณะของการนิรนัย เช่น ภาพเหมารวมว่าชาวจีนขยัน ขันแข็ง ดังนั้น ไม่ว่าชาวจีนคนใดก็ตามก็น่าจะมีความขยันขันแข็ง เป็นการสรุปจากภาพเหมารวมซึ่ง เป็นหลักการทั่วไป ในฐานะผู้รับสาร ควรจะพิจารณาความถูกต้องของข้อเสนอทั่วไป เช่น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศเดียวหรือไม่ที่มีการลงโทษประหารชีวิต นอกจากนี้ ต้องพจิ ารณาว่าการนิรนยั จากหลกั การท่ัวไปมายังสถานการณเ์ ฉพาะต่าง ๆ นั้นมคี วามถกู ตอ้ งหรือไม่ 4. การแสดงเหตุผลโดยวิธีอุปนัย เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการแสดงเหตุผลทางตรรกวิทยา สำหรับวิธีน้ี ผู้ส่งสารต้องอ้างถึงตัวอย่างเฉพาะหลาย ๆ ตัวอย่างเพื่อนำไปสู่การสรุป กรณีตัวอย่างท่ี เฉพาะเจาะจงตา่ ง ๆ เปน็ หลกั ฐานหรือขอ้ สนบั สนุนในสง่ิ ที่ผสู้ ง่ สารสรุป เชน่ นดิ าเปดิ เพลงคลาสสิคให้ ลูกฟังแลว้ พบว่าลกู มีพฒั นาการดา้ นความคดิ สร้างสรรค์ดี สภุ าให้ลูกฟังเพลงคลาสสคิ ต้ังแต่เล็ก ๆ และ ลูกของสุภามีความคิดสร้างสรรค์ นฤมลเปิดเพลงคลาสสิคให้ลูกฟังเสมอ ลูกจึงมีพัฒนาการทาง ความคดิ สร้างสรรค์ จากตัวอย่างข้างต้นนำไปสู่การสรุปว่าพ่อแม่ควรให้เด็กฟังเพลงคลาสสิคตั้งแต่เล็ก เพื่อเป็น การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้เช่นกันที่ผู้ส่งสารจะไม่สรุปออกมาอย่าง ชดั เจน เพียงแตก่ ล่าวเปน็ นัยให้ผรู้ ับสารได้สรุปเองจากตวั อยา่ งเฉพาะ 5. การแสดงเหตุผลแบบคู่ขนาน เป็นการสร้างสารในการอธิบายโดยการนำเสนอเรื่องราว หรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่ผู้ส่งสารนำเสนอ ผู้ส่งสารจะชี้ถึงความ 114
คล้ายคลึงกันและระบุเหตุผลที่ข้อสรุปจากเรื่องราวตัวอย่างสามารถมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ ปัจจุบันได้ เช่น ทนายความชี้ให้เห็นว่าคดีความที่กำลังกล่าวถึงนี้คล้ายคลึง กับคดีก่อนหน้านี้ในทุก แง่มุม ดงั นั้นผู้พพิ ากษาควรพจิ ารณาตดั สินเชน่ เดยี วกับคดีกอ่ นหนา้ นี้ 6. การแสดงเหตุผลจากตัวอย่างหรือสัญลักษณ์ ผู้พูดสามารถให้เหตุผลโดยการยกตัวอย่าง เพื่อมาอธิบายหัวข้อและสนับสนุนข้อสรุปของตนเอง หรือให้เหตุผลจากสัญลักษณ์หรอื ตัวบ่งชีต้ ่าง ๆ และนำไปสู่การสรุป เช่น นายแพทย์สรุปวา่ คนไข้เปน็ โรคอะไรจากอาการต่าง ๆ นักการเมืองช้ีให้เหน็ ว่าภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนี้ตกต่ำลงกว่าเดิม หลังจากที่ฝ่ายตรงข้ามเข้ามาบริหารประเทศ โดยอ้างถึงอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ตลาดหุ้นซบเซาลง ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ตัวบ่งช้ี เหล่านี้ช่วยให้สารมีพลังในการโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารคล้อยตามมากขึ้น ในส่วนของผู้รับสารควร ประเมินข้อโต้แย้งที่ใช้สัญลักษณ์ด้วยการพิจารณาว่าสัญลักษณ์ เหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกันกับ ขอ้ สรปุ หรือไม่ สญั ลักษณท์ ี่นำมาแสดงถูกต้องหรือไม่ หลักการพดู อธบิ าย ภาพที่ 4.2 แผนผงั หลักการพูดอธบิ าย จากภาพ ได้อธิบายหลักการพูดอธิบายควรมีหลักปฏิบัติดังน้ี (ลลิตา โชติรังสียากุล, 2544: 177-178) 1. ศึกษาค้นควา้ และรวบรวมขอ้ มลู ผู้พดู ควรศกึ ษาและค้นคว้าข้อมลู ในประเดน็ หรอื หวั ข้อ ของการอธิบายอยา่ งเปน็ ระบบ 2. กำหนดขอบเขตแนวคดิ และประเดน็ ที่สำคญั เปน็ ขั้นตอนของการกำหนดจดุ มุ่งหมาย การอธบิ ายให้ชดั เจน ตอ้ งการให้ผูฟ้ งั รับรสู้ าระอะไร ได้รบั ประโยชนอ์ ะไรจากการรบั ฟงั 3. การวิเคราะห์ผฟู้ ัง เปน็ ข้ันตอนทสี่ ำคญั ของการพูดอธิบาย เพื่อเป็นส่งิ กำหนดถงึ ความ เหมาะสมของการใช้ระดับภาษา การเตรยี มสื่อ ตลอดจนการเตรียมเนื้อเร่ืองให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เช่น วัย เพศ ระดบั การศึกษา ความเช่อื ทศั นคตขิ องผฟู้ ัง เปน็ ตน้ 4. การเตรยี มเนอ้ื เรอ่ื ง ในกรณผี พู้ ูดต้องเลือกเร่อื งเอง ให้นำผลจากการวเิ คราะหผ์ ฟู้ งั มา เป็นแนวทางในการเลือกเรื่องหรือประเด็นในการอธิบาย แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดหัวข้อมาแล้ว พิจารณาจัดเตรียมเนื้อเรื่องให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ความพร้อมตลอดจนทัศนคติ 115
ของผู้ฟัง โดยทั่วไปการเตรียมเนื้อหาจะต้องวางเค้าโครงเรื่องว่าจะพูดเกี่ยวกับอะไร จะต้องแบ่ง ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนนำเรื่องหรืออารัมภบท เนื้อเรื่อง และสรุปเรื่อง ตัวอย่างเช่น หากผู้พูดต้อง พูด 100 สว่ น คำนำ เนอื้ เรือ่ ง และสรปุ จะมสี ัดสว่ นดงั ภาพที่ 4.3 ภาพท่ี 4.3 สดั สว่ นการเตรียมเค้าโครงการพูดอธิบาย จากภาพสดั สว่ นการเตรยี มเค้าโครงการพูดอธบิ าย หากผู้พูดอธบิ ายตอ้ งพูดในเวลา 5 นาที อาจใชส้ ตู ร 1 : 3 : 1 คอื คำนำ 1 นาที เนอื้ เรื่อง 3นาที และสรปุ 1 นาที จากการวิเคราะห์ องคป์ ระกอบหรอื เคา้ โครงที่มีสว่ นทำใหเ้ กิดความสำเรจ็ ในการพูดนนั้ ปรากฏวา่ พบข้อเท็จจริง ดังน้ี (สวสั ด์ิ บันเทงิ สุข, 2553: 141) 1. เนื้อหาสาระของเรือ่ งมสี ่วนทำใหเ้ กิดความสำเร็จ 50% 2. ความดีเดน่ ในการขนึ้ ต้นและลงท้ายมีสว่ นทำใหเ้ กดิ ความสำเรจ็ 20% 3. ศิลปะการพดู และการแสดงออกมสี ่วนทำให้เกิดความสำเรจ็ 20% 4. บคุ ลกิ ภาพของผู้พดู มสี ่วนทำใหเ้ กิดความสำเร็จ 10% ในการร่างเค้าโครงก่อนพูดอธิบายต้องร่างหัวข้อเรื่องตามลำดับ ร่างข้อความที่จะกล่าวใน แต่ละตอน เช่น การกล่าวปฏสิ นั ถาร และการร่างข้อย่อย การลำดับเร่ืองดงั น้ี 1. คำนำของเรอ่ื ง เป็นการกลา่ วเกร่นิ ให้ผู้ฟงั รูว้ า่ จะพูดอะไรมีความสำคญั อย่างไร เป็นการกล่าวเพื่อนำเรื่องเข้าหาผู้ฟัง โดยกล่าวถึงพื้นฐานของเรื่องตอนต้น อาจจะพูดอย่างย่อส่วน หนึ่ง ไม่ต้องเล่าอย่างละเอียดทงั้ หมด 2. เน้อื เรื่อง เป็นการกล่าวถึงเรื่องตามจดุ ประสงค์ ตอ้ งพดู อยา่ งละเอยี ดเป็นตอน ๆ ตามลำดับเนื้อหา เช่น ต้องพิจารณาให้ชัดเจนตามชื่อเรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ชี้ให้เห็นข้อขัดแย้ง ขอ้ ถูกข้อผิด ทางร้ายทางเสีย อา้ งเหตุผล แสดงข้อเปรียบเทียบ ช้ีให้เห็นความแตกต่างหรือการพิสูจน์ ให้เห็นจริงตามชื่อเรื่อง ในระหว่างการพูดนี้จะต้องระลึกถึงชื่อเร่ืองเสมอว่าตน กำลังพูดเรื่องอะไร จะตอ้ งวกเน้อื หาหรือตัวอย่างเขา้ สู่จุดมุ่งหมายนนั้ 3. ตอนสรุป หมายถึง การพดู สรปุ เนือ้ หาท้ังหมดทไี่ ด้พูดไปแล้วอย่างยอ่ ๆ สรปุ ความคดิ เหน็ ให้สั้น และเน้นใหห้ นกั ในจุดมุ่งหมายในประโยคสุดทา้ ย ถา้ หากจุดประสงค์จะพดู เพ่ือการ วิงวอนใด ๆ จะต้องแทรกคำพูดเพื่อวิงวอนเป็นครั้งสุดท้าย หรือต้องการพูดให้ผู้ฟังเห็นด้วยกับ 116
ความคิดนั้น ๆ ก็จำต้องชักจูงหรือกล่าวเน้นอีกครั้งหนึ่ง ในการพูดตอนจบนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก ทีส่ ุด 5. ศกึ ษาคน้ ควา้ ขอ้ มูลอยา่ งละเอียด ในรายละเอียดของเน้ือเร่ือง ผู้อธิบายตอ้ งรูเ้ รื่องท่ตี น จะอธบิ ายเป็นอยา่ งดี และร้แู หล่งข้อมูลซึ่งอาจจะไดจ้ ากหนังสือ วทิ ยุ โทรทัศน์ กไ็ ด้ การเตรียมข้อมูล ที่ดจี ะช่วยให้เกิดความม่นั ใจและทำใหผ้ ฟู้ ังเกิดศรทั ธาในตวั ผพู้ ดู ดว้ ย 6. เตรยี มอปุ กรณท์ ี่จำเป็นจะต้องใชป้ ระกอบการอธิบาย ช่วยให้การพูดอธิบายเกดิ ความ ชัดเจนต่อความเข้าใจของผู้ฟัง ทั้งนี้ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะอธิบายและต้อง เตรยี มการใช้อปุ กรณใ์ ห้พรอ้ มดว้ ย 7. เลือกกลวธิ ีการอธิบาย ผ้พู ดู จะตอ้ งพจิ ารณาเลือกกลวธิ กี ารพูดอธิบายหรือลักษณะการ อธิบายตามวิธีการต่าง ๆ เช่น การอธิบายด้วยการใช้คำนิยาม การพูดอธิบายแบบยกตัวอย่าง ตามที่ กล่าวมาแลว้ ในหวั ข้อกลวธิ กี ารพูดอธบิ าย แต่ในบางคร้งั ผู้พูดสามารถพดู อธบิ ายในหลายกลวิธีรวมกัน ก็ได้ 8. เมื่อเรมิ่ ดำเนนิ การอธิบาย ส่ิงท่ผี ้พู ูดควรคำนงึ ถงึ คือ การใชร้ ะดบั เสียง อยา่ ใชเ้ สียงที่ ราบเรียบจนเป็นเสียงเดียวกนั ตลอดทั้งเรือ่ ง จะทำให้ผู้ฟงั ไม่สนใจ ต้องมีการเว้นจังหวะ ไม่พูดช้าหรอื เรว็ เกินไป ใช้โทนเสยี งสงู ตำตามบรบิ ทของเน้ือหา และควรคำนงึ ถึงการเลือกใชภ้ าษา จะต้องใช้ภาษา ธรรมดาท่ีเขา้ ใจง่าย จึงจะทำให้ผฟู้ ังเขา้ ใจและไม่เบอื่ หน่าย ตวั อยา่ งการพูดอธบิ าย 1. ตวั อยา่ งการพูดอธบิ ายตามลำดบั ขั้นตอน สวสั ดคี ะ่ สปั ดาห์ทแ่ี ล้วชาลไี ด้พดู ถึงเมนไู มโครเวฟ วิธกี ารทำปลาราดพรกิ ไปแลว้ วนั น้ีชาลีได้ นำสูตรการทำไข่ตุ๋นด้วยไมโครเวฟ เป็นอาหารที่มีวิธีทำแสนง่ายดายมาก ๆ ก่อนอื่นก็ต้องเตรียม ส่วนผสมและวตั ถดุ บิ ดงั นี้ ไข่ไก่ 2 ฟอง นำ้ เปลา่ ½ ถว้ ยตวง ซอสปรุงอาหาร 2 ชอ้ นชา หมูสบั สกุ และผักตามชอบ ขั้นตอนการทำ ตอกไข่ใส่ถ้วย แลว้ ตไี ข่ใหแ้ ตก จากนั้นเติมซอสปรุงอาหารและน้ำลงไป คนให้ เข้ากนั จากนั้นกรองไขใ่ สถ่ ้วยท่จี ะนำเขา้ ไมโครเวฟ นำเข้าไมโครเวฟ 2 รอบ แลว้ เอาจานปดิ ถ้วยท่ีเอา เข้าไมโครเวฟ รอบที่1 ใช้ไฟ 300 วัตต์ เป็นเวลา 4 นาที รอบที่ 2 ใช้ไฟ 300 วัตต์ เป็นเวลา 3.30 นาที เมื่อเวลาครบ นำออกจากไมโครเวฟ จะได้ไข่ตุ๋นเนื้อเนียน ใส่หมูสับสุก และผักตามชอบ พร้อม จัดเสิร์ฟจา้ เห็นไหมคะ การทำไข่ตนุ๋ ดว้ ยไมโครเวฟไมย่ ากเลย แถมยังประหยัดเวลาในการเตรยี มอุปกรณ์ ในการทำอาหารอกี ด้วย ลองทำดูนะคะ ชาลกี ารนั ต์ตคี วามอร่อย สำหรับวันน้ี สวสั ดคี ะ่ 117
2. ตวั อยา่ งการพูดอธิบายดว้ ยการใหค้ ำนยิ ามหรือคำจำกัดความ ยิ้มหน่อยนะตัวเอง!! กบที่มีสีหน้าบึ้งตึงตลอดเวลานี้ เป็นสายพันธุ์ กบฝนดำแอฟริกา (African Black Rain Frog) จัดอยู่ในวงศ์ Brevicipitidae family เป็นกบที่พบเฉพาะพื้นที่ป่าเขต รอ้ นในแอฟริกาใตเ้ ทา่ นนั้ แมว้ า่ มนั จะมรี ูปลักษณ์ที่ไม่เป็นมิตรนัก และมีกล่ินตวั ท่ีค่อนข้างเหม็น แต่ภาพของมันก็ยังน่า เอน็ ดูสำหรบั ผ้ทู ี่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก จนมีบางคนตั้งฉายาใหว้ ่าเป็น \"อะโวคาโดหน้าบึ้ง\" กบชนิดนี้ มักจะขุดหลุมเพื่ออยู่อาศัยลึกลงไปใต้ดินประมาณ 15 ซม. และเมื่อพวกมันรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคามก็ จะพองตัวให้ใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะตอนอยู่ในหลุม เพื่อให้สัตว์ที่จะมาจับมันไม่สามารถดึงตัวมันออกมา จากหลุมไดน้ ัน่ เอง ในปัจจุบันพวกมันมีจำนวนลดลงเนื่องจากสาเหตุจากการบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย และการเปลยี่ นแปลงของสภาพอากาศอยา่ งรวดเรว็ (สำรวจโลก, Online) 3. ตวั อยา่ งการพูดอธิบายดว้ ยการเปรยี บเทยี บ หนังสือพิมพ์แตกต่างจากนิตยสารในด้านรูปเล่ม และผู้อ่านซึ่งเป็นเป้าหมาย ภาษา หนังสือพิมพ์แตกต่างจากภาษาเขียนทั่วไปที่ใช้ในสื่อประเภทอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวนั้นมีรูปแบบ ไวยากรณ์และหลักการใช้คำที่เป็นรูปแบบพิเศษ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ ของการทำหนังสือพิมพ์ท่ี จะต้องงา่ ยแกค่ วามเข้าใจของผูอ้ ่านระดับธรรมดาเป็นสำคญั เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์ คือ ข่าว บทบรรณาธิการและบทความ แต่เนื้อหา หลักของ นิตยสาร คือ สารคดี ภาษาของหนังสือพิมพ์ต้องสั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย หัวข่าวต้อง สะดุดตา เชิญ ชวนให้คนซื้อ แต่เนื้อหาของนิตยสารอาจยาวกว่า และอาจเจาะไปสู่ผู้รับซึ่งเป็น เป้าหมายที่มี สมรรถนะในการอ่านสูง นอกเหนอื จากข้อแตกตา่ งดังกล่าวแลว้ ทง้ั หนงั สอื พิมพ์ และนติ ยสารสามารถ ใช้กลวธิ ใี นการเขยี นร่วมกันไดต้ ามวัตถปุ ระสงคข์ องผู้เขยี น (วนิ ยั จันทรพ์ รมิ้ , 2550: 183) 4. ตัวอย่างการพูดอธิบายด้วยการยกตัวอย่าง การปลูกไมด้ อกไม้ประดบั ให้งามสมดงั ใจปรารถนาน้นั ผปู้ ลูกตอ้ งศึกษาลักษณะธรรมชาติการ เจริญเตบิ โตของต้นไมแ้ ต่ละชนิดใหถ้ ่องแท้กอ่ นแลว้ จงึ ปลกู และบำรุงรักษาใหต้ รงกบั ลักษณะธรรมชาติ นั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น หากจะปลูกบอนสีต้องรู้ว่าบอนสีต้องการความชื้นสูง ไม่ชอบแสงแดดจัด เจริญ งอกงามในท่ีรม่ รำไร ดงั นั้นเวลาปลูก จงึ ต้องปลูกในทรี่ ่มรำไร และใหน้ ำ้ มากจนชมุ่ พอ บอนสีจงึ จะงาม สมดงั ใจผปู้ ลูก หากจะปลูกกุหลาบต้องทราบว่ากุหลาบเป็นตน้ ไม้ชอบแดดจัด ชอบดินท่ีระบายน้ำได้ดี ดังน้นั ผู้ปลูกกหุ ลาบกต็ อ้ งวางกระถางหรอื ปลูกดว้ ยหญา้ ไซแห้งแช่นำ้ จนช่มุ จงึ จะเจรญิ งอกงาม หากจะ ปลูกต้นไม้ประเภทแคคตัส ก็ต้องทราบว่าต้นไม้ต้องการน้ำน้อยชอบแสงแดดมาก การดูแลรักษา จึง ฉีดน้ำฝอยให้ก็เพียงพอ หากรดน้ำทุกวนั เชน่ ตน้ ไมอ้ ่นื แคคตสั จะเนา่ ตายหมด (นริ มติ , Online) 118
5. ตวั อยา่ งการพดู อธิบายด้วยการชสี้ าเหตแุ ละผลลพั ธ์ที่สมั พนั ธก์ นั น้ำหวานเข้มข้น…อนั ตราย !! นอกจากสิ่งและรสชาติอร่อยแล้วสีสันที่น่ารับประทานนับเป็นสัมผัสแรกที่เป็นแรงดึงดูดใจ ผู้บรโิ ภค สที ่ีใช้ผสมอาหารตามท้องตลาดนั้น มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ 1. สีอนิ ทรยี ์ ทไ่ี ดจ้ ากการสังเคราะหข์ องสารเคมปี ระเภทตา่ ง ๆ 2. สีอนินทรีย์ ไดจ้ ากผงถ่านท่ไี ด้จากการเผาพชื เชน่ สีดำจากกาบมะพร้าวเผา 3. สที ่ีได้จากธรรมชาติ เชน่ สแี ดงจากกระเจีย๊ บ ครัง่ หรอื สีเขยี วจากใบเตย เจ้าสีผสมอาหารที่อาจก่อปัญหาแก่ผู้บริโภค คือ สารอินทรีย์ เนื่องจากมีโครงสร้างมีแต่ละ ชนิด มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดสี เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี แต่ถ้า หากใช้ตามปริมาณที่กฎหมายกำหนดจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแต่หากผู้ผลิตอาหารใช้สีอิ นทรีย์ มากเกินไป ผู้บริโภคก็มีโอกาสได้รับโลหะหนักปริมาณมากขึ้น ทำให้เกิดการสะสมในร่างการจนเป็น อันตรายได้ เช่น สารหนู เมื่อเข้าสู่ร่างกายและสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับ ไต จะทำ ให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โลหิตจาง ส่วนสารตะกั่ว จะมี พิษต่อระบบประสาททั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำหวานเข้มขน้ จำนวน 6 อย่างเพอ่ื วิเคราะหห์ าปริมาณของสีสังเคราะห์ปรากฏว่ามี 3 ตัวอย่าง ท่พี บว่ามีปริมาณของ สีผสมอาหารเกินข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้อาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม ลกู กวาด และขนมหวาน เดิมสปี องโซ 4 อาร์ (สแี ดง) ไดไ้ มเ่ กนิ 50 มิลลิกรัมตอ่ อาหารในลักษณะท่ีจะ ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม เห็นอย่างนี้แล้วอดห่วงผู้บริโภคและเดก็ ไม่ได้ เพราะปัจจบุ ันน้ำหวานเข้มข้นท่มี ี ใหเ้ ลอื กหลากสีสนั กำลงั เปน็ ทนี่ ยิ มและมขี ายอยู่ทัว่ ไปคงต้องฝากผผู้ ลติ ท้ังหลายว่าควรระมดั ระวังการ ใชเ้ พือ่ ความปลอดภยั ของผู้บรโิ ภค สว่ นผูบ้ ริโภคเองก็ตอ้ งสังเกตสกั นิด น้ำหวานเข้มขน้ หรืออาหารท่ีมี สฉี ดู ฉาดเกนิ ไป หากเลีย่ งได้กจ็ ะดี (นริ มติ , Online) บทสรปุ การพูดอธิบาย จดั เป็นการพูดในรูปแบบของการพดู ชี้แจงแสดงเหตผุ ล เพอ่ื ให้ผ้ฟู งั เกิดความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งเป็นรูปแบบการพูดที่ใช้กันมากและมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งเป็น การพูดที่ใช้กันมากในวงการธุรกิจ วงการแพทย์ และวงการการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการ การศึกษา การพูดอธิบายมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อจะใช้ชี้แจงแสดงเหตุผล ขยายความหรือไข ความในสง่ิ ที่ตนรู้และเขา้ ใจใหผ้ ฟู้ ังไดร้ ู้และเข้าใจเชน่ เดียวกัน การพดู อธิบายสามารถพูดผ่านสือ่ ตา่ ง ๆ เช่น การพูดอธบิ ายผ่านส่ือรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือช่องทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการพูดอธิบายแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การ พูดอธิบายที่เป็นทางการ เช่น การประชุม การอธิบายเนื้อหารายวิชาในชั้นเรียน และการพูดอธิบาย แบบไมเ่ ปน็ ทางการ เชน่ การอธิบายเร่ืองราวหรือประสบการณช์ ีวิตของผู้พูด หรือการอธิบายขั้นตอน การทำอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ในการพูดอธิบาย ผู้พูดจะต้องมีกลวิธีในการพูดอธิบาย ได้แก่ การพูด 119
อธิบายตามลำดับข้ันตอน กลวิธนี จี้ ะแสดงใหเ้ หน็ เป็นข้ันตอนตามลำดบั เพอื่ ให้ไมผ่ ฟู้ งั เกิดความสับสน การพูดอธิบายด้วยการให้คำนิยามหรือคำจำกัดความ เป็นการอธิบายความหมายในสิ่งต่าง ๆ อย่าง กระชับและเข้าใจได้อย่างชัดเจน กลวิธีการพูดอธิบายด้วยการเปรียบเทียบ เป็นอีกหนึ่งกลวิธีท่ี สามารถอธิบายแสดงการเปรียบเทียบให้เห็นความเหมือนหรือความแตกต่าง เป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟัง เกดิ จนิ ตภาพตามผู้พูดใหเ้ ห็นถึงความแตกต่างอยา่ งชัดเจน ในสว่ นของการอธิบายด้วยการยำตัวอย่าง เป็นกลวิธีที่สามารถสอดแทรกกับกลวิธีอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย เพื่อเป็นการยกตัวอย่างในการขยาย ความในสิ่งที่ผู้พูดกำลังอธิบาย เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจเรื่องที่กำลังฟังได้อย่างแจ่มแจ้ง การพูด อธิบายดว้ ยการใชอ้ ุปกรณ์ เป็นการพดู อธิบายที่ใช้ส่ือหรืออปุ กรณต์ า่ ง ๆ เขา้ มาชว่ ยให้การพดู อธบิ ายมี ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และการใช้สื่อหรืออุปกรณ์ช่วยในการอธิบายจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการ อธิบายได้อีกวิธีหนงึ่ กลวิธกี ารพูดอธิบายด้วยการชส้ี าเหตุและผลลัพธ์ทส่ี ัมพันธ์กัน เปน็ การอธิบายท่ีผู้ พูดวิเคราะห์ให้เห็นว่าเรื่องที่กล่าวมานั้นมีอะไรเป็นเหตุและจะมีผลลัพธ์อย่างไร เช่น การอธิบายการ เกิดโรคระบาดโคโรน่าไวรัส (COVID-19) หากไม่ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันจะเกิดผลลัพธ์ที่น่า กลัวอย่างไร เป็นต้น กลวิธีการพูดอธิบายแบบวิเคราะห์ เป็นการพูดอธิบายจากต้นเร่ืองแยกแยะออก ไปส่ไู ปเรือ่ ง ซงึ่ มคี วามสอดคล้องกบั กลวธิ ีการพดู อธิบายแบบสังเคราะห์ ซง่ึ เป็นการพูดอธิบายสืบสาว จากปลายมาหาตน้ หรือกล่าวจากการสรุป แล้วค่อยแสดงเรือ่ งยอ่ ย ๆ ไปหาเรื่องใหญ่ ทั้งนี้ในการพดู อธิบายแต่ละครั้ง ผู้พูดควรเลือกกลวิธีที่เหมาะสมกับเนื้อหา ผู้ฟัง รวมถึงบริบทแวดล้อมต่าง ๆ ผู้พูด สามาถนำเอากลวิธีการพูดอธิบายในรูปแบบต่าง ๆ มาผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการ อธบิ ายมากท่ีสุด หลักการพูดอธิบาย ผู้พูดจำเป็นต้องศกึ ษาค้นคว้าและรวบรวมขอ้ มูลกอ่ นพูดอธิบาย จากนั้น กำหนดขอบเขต แนวคิดในประเด็นที่สำคัญ เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายการอธิบายให้ชัดเจน จากนั้น ดำเนินการวิเคราะห์ผูฟ้ ัง เพื่อเป็นสิ่งที่กำหนดถงึ ความเหมาะสมของการใชร้ ะดับภาษา การเตรียมส่อื ตลอดจนเนื้อเร่ืองให้เหมาะสม จากนนั้ เป็นขนั้ ตอนของการเตรยี มเนื้อเรื่อง โดยทว่ั ไปผพู้ ดู สามารถแบ่ง เนื้อเรื่องออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำเรื่อง เนื้อเรื่อง และส่วนสรุป โดยแบ่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม กับเวลาในการอธิบาย จากนั้นผู้พูดจะต้องเตรียมเนื้อเรื่องและสื่อที่เหมาะสมที่จะใช้ประกอบการ อธิบาย เลือกกลวิธีการอธิบายที่เหมาะสม ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมและสำรวจข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากการฝึกซ้อมแล้วดำเนินการแก้ไข เมื่อเริ่มดำเนินการอธิบาย สิ่งที่ผู้พูดควรคำ นึง คือ การใช้ ระดบั นำ้ เสยี งท่เี หมาะสม ไม่ดงั หรือเบาจนเกนิ ไป มกี ารเวน้ จงั หวะ และต้องใชภ้ าษาทีเ่ ข้าใจงา่ ย จึงจะ ทำให้ผฟู้ งั เขา้ ใจและไม่เกดิ อาการเบ่อื หนา่ ย 120
คำถามทา้ ยบทท่ี 4 1. การพดู อธิบาย เป็นการพูดในลกั ษณะรปู แบบใด 2. หากต้องพดู อธิบาย พูดมีกลวิธใี นการพดอธิบายอยา่ งไร 3. การแสดงเหตผุ ลในเชิงสาเหตุและผล เปน็ การสรา้ งสารทเ่ี สนอเหตแุ ละผลอย่างไร 4. หลกั การพดู อธิบายมีกขี่ ้นั ตอน อธิบาย 5. สดั ส่วนการเตรียมเคา้ โครงการพูดควรมีสัดส่วนเท่าไหร่ อธบิ าย พรอ้ มยกตวั อย่าง แบบฝึกปฏบิ ตั กิ ารพดู อธิบาย นักศกึ ษาฝกึ ปฏิบตั ิการพูดอธิบาย โดยมีวิธกี ารฝกึ ปฏบิ ตั ิ ดังนี้ 1. นกั ศกึ ษาฝกึ การพูดอธบิ าย โดยเลอื กตามประเภทของการพูดอธบิ าย ดงั นี้ 1.1 การพูดอธิบายตามลำดับข้ันตอน 1.2 การพูดอธิบายด้วยการใชค้ ำนิยามหรือคำจำกัดความ 1.3 การพดู อธิบายด้วยการเปรยี บเทียบ 1.4 การพดู อธบิ ายด้วยการยกตวั อย่าง 1.5 การพูดอธบายด้วยการชี้สาเหตแุ ละผลลัพธท์ ี่สมั พันธก์ นั 2. อาจารยผ์ สู้ อนกำหนดระยะเวลาการพูดอธบิ ายตามความเหมาะสม 3. เมือ่ นักศกึ ษาเลือกประเภทของการพดู อธบิ าย ให้นักศึกษาดำเนินการตอ่ ไปน้ี 3.1 กำหนดหรอื ตง้ั ช่ือหวั ข้อใหส้ อดคล้องกับประเภทขอการพดู นำเสนอทีไ่ ด้เลอื ก 3.2 กำหนดจดุ มงุ่ หมายของเรื่องที่จะอธิบาย 3.3 วิเคราะห์ผูฟ้ งั 3.4 ศกึ ษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลนำมาสังเคราะหแ์ ละจดั เรยี งลำดับเนื้อหาท่ีจะพูด 3.5 หากมสี ื่อหรือเคร่ืองมือประกอบการพูดนำเสนอ จดั เตรยี มให้พร้อม 3.6 เลอื กกลวิธีการหรือลกั ษณะการอธิบายตามวธิ ีการที่ได้เตรียมมา 3.7 ฝกึ ซ้อมการพดู อธิบายตามระยะเวลาทก่ี ำหนด 4. นักศึกษาดำเนินการอธบิ ายตามหัวข้อได้จัดเตรียมมา 5. เมอื่ จบการพูดอธิบาย ร่วมแสดงความคิดเห็น และสรปุ สงิ่ ท่ีไดน้ ำเสนอ 121
บรรณานุกรม ภาษาไทย ประเสรฐิ บญุ เสริม. ศลิ ปะการพดู เพื่อการสอ่ื สาร. [ออนไลน]์ . สบื ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2562, จาก : https://bit.ly/2XL9rs9. ณัฐฐ์ชุดา วจิ ิตรจามร.ี (2556). การสอ่ื สารเพอ่ื การโนม้ น้าว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.์ นริ มิต. การอธิบายและการยกตวั อยา่ ง. [ออนไลน]์ . สืบค้นเม่อื 10 เมษายน 2562, จาก : http://neramit01.blogspot.com/p/blog-page.html. มณฑนา วฒั นถนอม. (2533). ภาษากบั การสื่อสาร. กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลัยศลิ ปากร. ลลิตา โชตริ ังสียากลุ . (2544) วาทการ. สงขลา: สถาบนั ราชภฏั สงขลา. . (2542) หลกั การพดู . สงขลา: สถาบันราชภฏั สงขลา. วนิ ยั จันทร์พริ้ม. (2550). หลักการพดู . สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา. เวบ็ บล็อค. การอธิบายคืออะไร. [ออนไลน์]. สบื ค้นเม่อื 9 เมษายน 2562, จาก : https://sites.google.com/site/khuanrudeephantumat/kar-xthibay-khux- xari-3. เสนยี ์ วิลาวรรณ. ภาษาไทย ท 203 - ท 204. [ออนไลน]์ . สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2562, จาก : https://bit.ly/3h8kyTW. สำเนยี ง มณกี าญจน์และสมบัติ จำปาเงนิ . (2535). หลกั นักพดู . กรงุ เทพฯ: ข้าวฟ่าง. สำรวจโลก. กบฝนดำแอฟริกา. [ออนไลน์]. สบื ค้นเม่ือ 10 เมษายน 2562, จาก : https://www.facebook.com/samrujlok/. ภาษาองั กฤษ Johnston,D. D. (1994). The art and science of persuasion. United States: WCB Brow&Benchmark. 122
บทที่ 5 การพูดอภิปราย การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดที่มีลักษณะคล้ายการสนทนา แต่การอภิปรายแตกต่างกับ การสนทนาในลักษณะสำคัญ คือ การอภิปรายมีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอน เช่น การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาในเรื่องใดเร่ืองหนึ่ง และการอภิปรายอาจนำไปสู่การตัดสินใจหา ข้อตกลงเพ่ือแก้ปัญหาต่าง ๆ ในบทนี้ได้นำเสนอเรื่องการพูดอภิปราย โดยมีเน้ือหาประกอบด้วย ความหมายของการอภิปราย จุดมุ่งหมายของการอภิปราย องค์ประกอบของการอภิปราย การ จัดเตรียมสถานท่ีอภิปราย และประโยชน์ของการอภิปราย ทั้งนี้เพ่ือให้ผู้พูดได้ศึกษาทำความเข้าใจให้ หลกั และทฤษฎี สามารถนำไปประยุกตใ์ ช้ในการฝึกทักษะการพูดอภิปรายตอ่ ไป ความหมายของการอภิปราย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2552 (2556: 1374) ได้ให้ความหมายของ การอภปิ ราย หมายถงึ การพดู ชแ้ี จงแสดงความคิดเหน็ สวนิต ยมาภัย (2530 : 142) กล่าวว่า การอภิปราย คือ การแสดงความรู้ความเข้าใจ และความคิดเห็นเกย่ี วกบั เร่อื งใดเรื่องหนง่ึ นันทา ขุนภักดี (2529: 176) กล่าวว่า การอภิปราย คือ การท่ีบุคคลกลุ่มหน่ึงซ่ึงมีความรู้ ความสนใจในเรื่องเดียวกัน หรือมีปัญหาในทำนองเดียวกัน ร่วมพูดคุยแลกเปล่ียนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นกนั หรือปรกึ ษาหารอื กันเพอื่ ชว่ ยแก้ปญั หาท่ีเกิดข้นึ สุจริต เพียรชอบ (2535: 5) ได้กล่าววา่ การอภปิ รายตอ่ หนา้ ประชุมชน คือ การทผ่ี ู้เช่ยี วชาญ ในด้านต่าง ๆ ประมาณ 2-5 คน มาอภิปรายบนเวทีต่อหน้าผู้ฟังจำนวนมาก มีผู้ดำเนินการอภิปราย เป็นผู้ดำเนินการ ผู้ร่วมอภิปรายจะพูดให้ความรู้และแนวความคิดต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง เมื่อผู้อภิปรายพูดเสนอความคิดต่าง ๆ เสร็จแล้ว ผู้ฟังจะมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายด้วยกัน ซักถามปัญหากลา่ วเพ่ิมเตมิ หรอื ตัง้ ข้อสงั เกตต่าง ๆ ได้ ดังนั้น การอภปิ ราย คือ การพูดของกลุ่มบุคคลซ่ึงมีจดุ ม่งุ หมายเพ่ือปรกึ ษาหารือในหวั ข้อหรือ ปญั หาใดปัญหาหนง่ึ หรือเพ่อื แลกเปลย่ี นความรู้ความคิดเหน็ และหาแนวร่วมในการแกป้ ัญหาน้ัน ๆ จดุ มุ่งหมายของการอภิปราย โดยท่ัวไปการอภิปรายมีจุดม่งุ หมาย ดงั น้ี (ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์, 2519: 362) 1. เพอื่ หาข้อเท็จจรงิ โดยการแลกเปลีย่ นความรคู้ วามคิดเห็นอย่างมเี หตผุ ล 2. เพื่อนำความรู้มาแก้ปญั หาสงั คม โดยใชห้ ลกั ความคดิ เหน็ แบบประชาธปิ ไตย 3. เพื่อสละความเหน็ สว่ นรวม แล้วนำไปปฏบิ ัติ 4. เพ่อื ฝกึ ให้ผรู้ ่วมอภิปราย มีความคดิ แบบประชาธิปไตยมากยง่ิ ขึ้น
5. เพื่อช่วยผู้อภิปรายได้เรียนรู้ การทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้จะการปรับตัวในสังคม รู้จักผู้อ่ืน และเข้าใจผูอ้ น่ื ดยี งิ่ ขึน้ 6. เพ่ือเป็นการแลกเปล่ียนความคิดเห็นจากบุคคลหลาย ๆ ฝา่ ย อนั เปน็ ประโยชน์สู่การแกไ้ ข ปัญหา องคป์ ระกอบของการอภิปราย สามารถสรุปองค์ประกอบได้ 5 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังน้ี (นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต, 2543: 316) 1. ผดู้ ำเนนิ การอภิปราย 2. ผรู้ ่วมอภิปราย 3. ผฟู้ งั การอภปิ ราย 4. ขบวนการแก้ปญั หา 1. ผูด้ ำเนินการอภิปราย ผูท้ ่ที ำหน้าที่เป็นผูน้ ำในการอภปิ ราย จะตอ้ งเป็นผู้ทม่ี ีความรคู้ วามสามารถ มีวาทศิลป์ในการ พูดโน้มน้าวให้ผู้ร่วมอภิปรายทุกคนได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นปัญหา ท้ังน้ีได้กล่าวคุณลักษณะ ของผู้ดำเนนิ การอภปิ รายไว้ ดงั น้ี คณุ ลักษณะของผ้ดู ำเนนิ การอภิปราย 1. มีบุคลกิ ภาพท่ดี ี มลี กั ษณะเป็นผนู้ ำ และมศี ลิ ปะในการพูด 2. มคี วามรู้เกย่ี วกบั ขน้ั ตอนในการดำเนนิ การอภิปราย 3. มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องท่ีจะอภิปราย รู้ข้อเท็จจริงและเข้าใจสถานการณ์ของ ปัญหานน้ั ๆ เปน็ อยา่ งดี 4. มีความคิดรเิ รม่ิ สร้างสรรค์ 5. มีไหวพริบแก้ไขปัญหาเฉพาะหนา้ ได้ดี 6. มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศในการอภิปรายของตนเอง 7. รู้จักวางตัวเป็นกลาง 8. รู้จกั เคารพความคดิ เห็นของผู้อืน่ 9. รู้จกั รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานอยา่ งมีวตั ถปุ ระสงค์ 10. เปน็ ผู้ตรงตอ่ เวลา นอกจากน้ี ลลิตา โชติรังสียากุล (2544: 193-194) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติพิเศษของ ผดู้ ำเนนิ การอธิปราย สามารถสรุปไดด้ งั น้ี 1. มคี วามรใู้ นเรอ่ื งทจี่ ะอภปิ รายเป็นอย่างดี สามารถกลา่ วนำและสรุปหรือเสรมิ ความ ขยาย ความอยากมกี ฎเกณฑ์ ช่วยใหผ้ ฟู้ งั ซักถามหากเหน็ วา่ ผฟู้ ังยังไมเ่ ขา้ ใจเรอ่ื งอภิปรายเพยี งพอ 124
2. มคี วามรเู้ กยี่ วกับผอู้ ภปิ ราย รจู้ กั ผลงานดีเดน่ ของผอู้ ภิปรายเพอ่ื จะได้แนะนำผ้อู ภปิ ราย ได้อย่างถูกต้อง และสามารถจัดให้ผู้อภิปรายแต่ละคนได้พูดในแนวทางท่ีตนถนัด ควรจะซักถามให้ สอดคล้องกบั ความสนใจของผู้พดู แต่ละคน 3. มบี คุ ลิกภาพท่ดี ี มีลกั ษณะความเปน็ ผนู้ ำ มีความคดิ สร้างสรรค์ มปี ฏภิ าณไหวพริบในการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนมีสีหน้าและท่าทางเป็นมิตร ย้ิมแย้มแจ่มใส มีชีวิตชีวา รู้จักควบคุม อารมณแ์ ละสามารถช่วยสร้างบรรยากาศให้สดชน่ื ไม่เคร่งเครียด 4. มวี าทศลิ ป์ มนี ำ้ เสยี งท่ีชัดเจน รจู้ ักเนน้ เสียงหนกั เบาไม่พูดซ้ำซาก ไมห่ กั หาญน้ำใจ ผู้อภิปราย เม่ือมีความรู้หรือความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ตลอดจนมีวาจาสุภาพ รู้จักประสานความคิด ของผู้อภิปรายแตล่ ะคนได้อย่างต่อเน่ือง สามารถสรปุ ความด้วยภาษาที่เหมาะสมและกะทัดรัดง่ายต่อ การเขา้ ใจ 5. รจู้ กั วางตวั เป็นกลาง เคารพความคดิ เหน็ ของผรู้ ่วมอภิปรายทกุ คน ให้โอกาสแต่ละคนได้ แสดงทัศนคติตลอดจนความรู้ของตนได้อย่างทั่วถึง ไม่ใช่พูดคนเดียว และไม่ควรสนับสนุนผู้อภิปราย คนใดคนหนงึ่ โตแ้ ย้งผู้อภิปรายอีกคนอย่างไมส่ ุภาพ 6. ร้กู ลวธิ แี ละขั้นตอนในการดำเนินการอภิปราย สามารถควบคมุ การอภปิ รายให้ดำเนนิ ไป ตามขั้นตอนสู่จุดมุ่งหมาย กำหนดให้ผู้ร่วมอภิปรายแต่ละคนพูดตามหัวข้อและตามเวลาท่ีกำหนด หากผู้ร่วมอภิปรายนอกประเด็น สามารถกระตุ้นเตือนให้กลับสู่หัวข้อเดิมท่ีกำหนดไว้ ไม่ปล่อยให้ ผู้ร่วมอภิปรายคนใดคนหน่ึงพูดเกินเวลาท่ีกำหนดไว้จนเกินสมควร จะทำให้ผู้ร่วมอภิปรายคนอ่ืน ๆ พูดได้น้อยกว่าท่ีกำหนดหรือไม่มีโอกาสได้พูดเลย ต้องรู้ว่าใครควรพูดก่อนหลัง หรือพูดรอบที่สอง เมอื่ ไหร่ 7. เป็นผตู้ รงตอ่ เวลาในการเร่ิมอภปิ ราย ระหว่างเวลาทีอ่ ภปิ ราย และการจบอภิปราย หนา้ ทีข่ องผู้ดำเนินการอภิปราย กอ่ นการพูดอภิปราย ควรปฏิบตั ิดงั นี้ (ลลติ า โชติรงั สียากุล, 2544: 194) 1. ศกึ ษาหาความรู้เร่อื งที่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย 2. รวบรวมข้อมูลหรอื ประวัตผิ ู้รว่ มอภปิ รายทกุ คน 3. ก่อนข้ึนเวที ควรมีเวลาพบปะพูดคยุ กับผู้รว่ มอภปิ ราย เพ่ือตกลงกตกิ าบางอยา่ งที่ กำหนดขนึ้ เชน่ จะกลา่ วเชญิ ใหใ้ ครพดู กรี่ อบ พูดคนละกนี่ าที เป็นต้น วิธีการดำเนินการอภปิ ราย (ฉตั รวรุณ ตนั นะรัตน์, 2519: 368-371) มีดังนี้ 1. ผู้ดำเนนิ การอภิปรายจะต้องดำเนินหน้าทีเ่ ป็นพิธกี ร นัน่ กคอื จะตอ้ งกล่าวปฏิสันถาร กบั ผ้ฟู ัง แล้วแสดงถึงโอกาสและสาเหตุทีไ่ ด้นำปัญหา หรอื เรื่องน้นั ๆ ข้นึ มาอภิปราย เพ่ือว่าผู้ฟังจะได้ ทราบถึงวัตถปุ ระสงคข์ องการอภปิ ราย และจะไดเ้ ตรยี มตวั ฟงั เร่ืองที่ตนคิดวา่ มีสาระและนา่ สนใจ 125
2. ผู้ดำเนินการอภิปราย จะต้องแนะนำผู้อภิปรายท้ังหมดให้ผู้ฟังได้รู้จัก การแนะนำนั้น จะต้องไม่ยืดยาวเกินไป ในการแนะนำให้เร่ิมต้นด้วยช่ือ ตำแหน่งหน้าท่ี ผลงานดีเด่น และ ความสามารถทีเ่ หมาะกับการอภปิ รายน้นั ๆ 3. เชิญผู้อภิปรายแต่ละคนพูดแสดงความคิดเห็น เสนอข้อเท็จจริง ในกรณีที่มีผู้อภิปรายพูด แล้วความหมายไม่แจ่มแจ้ง ผู้ดำเนินการอภิปรายจะต้องพูดสรุปให้รัดกุม และให้ต่อเน่ืองกับเร่ืองที่ ผ้อู ภปิ รายคนอน่ื ๆ จะพูดตอ่ ไป 4. ผู้ดำเนินการอภิปรายจะต้องรู้จักสร้างบรรยากาศของการอภิปรายให้ดำเนินไปด้วยดี คือ จะต้องสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองกับผู้อภิปราย ต้องระวังให้ผู้อภิปรายพูดอยู่ในประเด็น ช่วยซกั ถามข้อสงสยั เพ่ือให้ผู้อภิปรายพูดเพม่ิ เตมิ ช้ีให้ตรงเป้าหมาย 5. เม่ือการอภิปรายยุติลงแล้ว ผู้ดำเนินการอภิปรายต้องสรุปผลของการอภิปรายทั้งหมด อาจจะให้ข้อแนะนำสำหรับปฏิบัติไว้ด้วย และต้องกล่าวขอบคุณผอู้ ภปิ รายทั้งหมด รวมทง้ั ต่อผู้ฟังด้วย และบางคร้ังก็เป็นผู้กล่าวปิดการอภิปรายด้วย 2. ผ้รู ่วมอภปิ ราย การอภิปรายจะบรรลุได้มากน้อยเพียงไร ข้ึนอยู่กับความร่วมมือของผู้ร่วมอภิปราย ดังนั้น ผู้ร่วมอภิปรายท่ีดีจำเป็นต้องมีความสนใจและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาท่ีจะอภิปรายอย่าง แจ่มแจ้ง รวมทั้งต้องคำนึงถึงหน้าที่และรู้ถึงวิธีดำเนินการอภิปรายอย่างชัดเจน ทั้งนี้ นิพนธ์ ทิพย์ศรี นมิ ติ (2543 : 318) ได้กล่าวคุณลักษณะของผูร้ ว่ มการอภปิ รายไวด้ ังนี้ คุณลักษณะของผรู้ ่วมการอภิปราย 1. มคี วามสนใจและมคี วามรู้เกี่ยวกับปญั หาท่จี ะอภปิ ราย 2. เป็นคนใจกว้าง เคารพในความคดิ เห็นผอู้ ่นื 3. มมี ารยาทในการพดู รูจ้ ักกตกิ าใหเ้ กยี รตผิ อู้ น่ื 4. มคี วามคิดเปน็ ของตนเอง 5. เปน็ ผมู้ ีวาทศลิ ป์ และมคี วามสามารถในการถา่ ยทอดความรสู้ ึกนึกคิด 6. มคี วามรับผิดชอบต่อคำพดู การอภปิ รายร่วมกบั ผอู้ ภปิ ราย นอกจากน้ี ลลิตา โชติรังสียากุล (2544: 193-194) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติพิเศษของผู้ร่วมการ อภิปราย ดงั น้ี 1. เปน็ ผมู้ คี วามรู้และความสนใจในเรอื่ งที่จะอภปิ ราย เตรียมตัวการพดู เป็นอยา่ งดี 2. เปน็ คนใจกว้าง เคารพความคดิ เห็นของผูอ้ ภิปรายคนอนื่ ๆ เคารพการสรุปผลของ การอภิปราย แม้จะขัดแย้งกับความคิดของตนเองก็ตาม หากมีข้อโต้แย้งก็ควรจะพูดอย่างมีมารยาท ไม่ก้าวร้าว เมอ่ื พดู เสร็จก็ตอ้ งฟงั ผอู้ น่ื พูดอยา่ งสนใจ 3. มีมารยาทในการพูด เคารพกตกิ า ข้อตกลง และรักษาเวลาการพูดของตนเองอยา่ ง เคร่งครดั 126
4. เป็นผรู้ ้จู ักรับผดิ ชอบต่อการอภิปรายรว่ มกับผอู้ ื่น เพราะความสำเรจ็ หรือความ ล้มเหลวข้ึนอยู่กับผู้ร่วมอภิปรายทุกคน หนา้ ทขี่ องผรู้ ว่ มอภปิ ราย สามารถแบ่งหนา้ ท่ขี องผรู้ ว่ มอภปิ รายออกเปน็ การเตรยี มการอภิปราย และหน้าทใี่ นการ อภิปรายร่วมกับผู้อื่น ดังนี้ (วรี ะเกียรติ รุจิรกลุ , 2556: 39-41) 1. การเตรียมการอภปิ ราย เนื่องจากผอู้ ภิปรายต้องเป็นผทู้ ่ีแสดงข้อเท็จจริง เหตุผล และต้อง พิจารณาตดั สนิ ปัญหา ดงั นั้นผู้อภปิ รายจึงควรมกี ารตระเตรียมเนอ้ื หา ดังนี้ 1.1 คน้ ควา้ หาความรู้ในปญั หา หรือเรอ่ื งทีจ่ ะอภปิ ราย ดว้ ยวิธีตา่ ง ๆ เช่น จากการ อา่ นหนังสือ การสมั ภาษณ์ การสอบถาม หรือด้วยการพิจารณา เป็นต้น 1.2 พิจารณาข้อเท็จจริงท่ีได้จากการค้นคว้าว่าเป็นข้อมูลท่ีมีเหตุผล เป็นจริง มีทศั นคตทิ ด่ี ี และสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้ 1.3 เมื่อมีข้อมูลท่ีมีเหตุผลพร้อมแล้ว ให้เรียงลำดับความสำคัญของหัวข้อท่ีจะ อภปิ ราย ดงั น้ี 1.3.1 คำจำกดั ความ และขอบเขตของปญั หา 1.3.2 ความสัมพันธ์ของข้อเทจ็ จรงิ และเหตผุ ล 1.3.3 พิจารณารายละเอยี ดในการแก้ปญั หา 1.3.4 ขอ้ เสนอแนะในการแก้ปญั หา และผลของการแกปญั หา 2. หน้าที่ในการอภิปราย ผู้อภิปรายอาจสามารถยึดหลักต่อไปน้ี เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการ อภิปรายได้ดังน้ี 2.1 ผู้อภิปรายควรพูดต่อเมื่อผู้ดำเนินการอภิปรายได้พูดเชิญเท่าน้ัน และในการพูด แสดงความคิดเห็นของตนควรจะกำหนดเวลาให้พอประมาณ นั่นคือไม่ใช้เวลาพูดน้อยเกินไปและ ย่อมจะไม่ใชเ้ วลาพูดนานเกินไป เพราะจะเปน็ การผูกขาดการพูดแต่ผู้เดียว 2.2 เม่ือมีโอกาสได้อภิปรายแล้ว ก็ควรจะพูดให้ตรงประเด็นในกรณีไม่เข้าใจ เน้ือเร่ืองท่ีจะพูด ควรจะขอให้ผู้ดำเนินการอภิปรายอธิบายให้ฟัง การเสนอข้อคิดเห็นและเหตุผลนั้น ควรจะเสนอตามลำดบั และขอ้ คดิ เห็นนั้นควรจะเป็นข้อคิดท่มี ปี ระโยชน์ 2.3 ควรรักษาเวลาที่ผู้ดำเนินการอภิปรายกำหนดให้พูดอย่างเคร่งครัด ถ้าไม่ สามารถท่ีจะจบเร่ืองที่พูดได้ภายในเวลาท่ีกำหนด และต้องการท่ีจะพูดต่อไป ควรขออนุญาตจาก ผู้ดำเนินการอภปิ รายเสียกอ่ น 2.4 ในกรณีท่ีตอ้ งการจะพูดเพ่ิมเติมหรอื แทรกข้อคิดเห็น (เม่ือยังไม่ถึงลำดับท่ีตนจะ พูด) ต้องขออนญุ าตจากผู้ดำเนนิ การอภิปราย 127
2.5 ควรจะเป็นผ้ฟู ังท่ีดีเม่ือผ้รู ่วมอภิปรายพูด เพราะเป็นการให้เกียรติและยกย่องใน ความคิดเหน็ ของผอู้ น่ื 2.6 ควรสรปุ ขอ้ คิดเหน็ ท่ตี นได้ดำเนินการอภปิ ราย 4. ผฟู้ ังการอภปิ ราย การอภิปรายในบางลักษณะสามารถให้ผู้ฟังเข้าร่วมอภิปรายได้ โดยเฉพาะการอภิปรายใน ชุมชน ดังนัน้ ผ้ทู ่ีเขา้ ร่วมฟังการอภิปราย ควรคำนงึ ถึงเรือ่ งต่อไปน้ี 1. มมี ารยาทในการฟงั เช่น ต้งั ใจฟังเมือ่ ผอู้ ภปิ รายพูด หรือปรบมือเพอื่ ให้เกียรติ 2. จดบนั ทึกสงิ่ ต่าง ๆ ทีน่ า่ สนใจ 3. ซกั ถามขอ้ สงสัยโดยขออนุญาตผา่ นทางประธาน 4. ควรนำส่งิ ทด่ี จี ากการฟงั ไปปฏิบตั ิให้เกดิ ประโยชน์แก่ตนเอง 5. ขบวนการแกป้ ญั หา นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต (2543 : 319) ได้กล่าวถึงกระบวนการแก้ปัญหาในการอภิปราย ควร คำนงึ ถงึ ประเด็นตอ่ ไปน้ี 1. รูปแบบ ซ่ึงจะช่วยให้สามารถจำกัดขอบเขตของปัญหาท่ีจะอภิปราย ท้ังนี้เพราะการมี ผู้อภิปรายหลาย ๆ คน มักก่อให้เกิดความคิดท่ีหลากหลาย บางครั้งอาจเกิดข้อโต้แย้งหรือนอก ประเดน็ ในการอภิปรายได้ ด้วยเหตุน้จี ึงต้องมรี ูปแบบของการแกป้ ัญหา เชน่ จัดใหผ้ ู้อภิปรายแตล่ ะคน พดู หัวขอ้ ทไี่ ม่ซ้ำซอ้ นกัน หรือหากเป็นหวั ขอ้ เดียวกันใหพ้ ูดแสดงคนละทรรศนะ เปน็ ตน้ 2. เหตุผล เป็นเร่ืองสำคัญท่ีสุดของการอภิปราย เพราะถ้าขาดเหตุผลจะไม่เรียกว่าการ อภปิ ราย ทัง้ นี้การอภปิ รายเป็นการแกไ้ ขปัญหาดว้ ยเหตผุ ลเปน็ หลกั สำคัญ 3. วัตถุประสงค์ในการอภิปราย ผู้อภิปรายจะต้องมีวัตถุประสงค์ท่ีแน่นอน หากขาด วตั ถุประสงค์จะทำให้การอภิปรายนัน้ ๆ ขาดทศิ ทางและเลอื่ นลอย 4. ข้อเสนอแนะและสรุปผล การอภิปรายข้อเสนอแนะและการสรุปผลถือเป็นขบวนการ สำคัญ ท้งั นีเ้ พราะจะไดน้ ำผลการอภิปรายดังกล่าวไปปฏิบัติให้เกิดผลประโยชน์ ประเภทของการอภปิ ราย การแบง่ ประเภทของการอภิปรายออกเปน็ 2 ประเภท คือ 1. การอภิปรายภายในกล่มุ 2. การอภิปรายในที่ชมุ ชน 1. การอภปิ รายภายในกลมุ่ การอภิปรายภายในกลุ่ม คือ การอภิปรายท่ีเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนในการพูด แสดงความคิดเห็น โดยผลัดกันพูดผลัดกันฟัง ส่วนใหญ่จะเป็นการอภิปรายของกลุ่มเล็ก ๆ ซ่ึงมี 128
สมาชิกไม่เกิน 20 คน การอภิปรายแบบนี้จะบรรยากาศแบบเป็นกันเอง เพราะผู้อภิปรายมักจะ คนุ้ เคยกันดี คำพูดท่ีใช้เป็นคำพูดที่ใช้ในการสนทนาท่ัวไปไม่มีพิธรี ีตองมากนัก เนื่องจากไม่มีผู้ฟังกลุ่ม อืน่ นอกจากผู้อภิปรายในกล่มุ เทา่ นั้น การอภิปรายในกลุ่ม สามารถแบ่งการอภิปรายในรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ (วีระเกยี รติ รุจิรกุล, 2556: 39-41) 1.1 การอภิปรายระดมพลังสมอง (brain storming) คือ การอภิปรายกลุ่มย่อย เพ่ือรวบรวมความคิดเห็นจากสมาชิกภายในกลุ่มให้ได้มากท่สี ุด ภายในระยะเวลาสนั้ ๆ สมาชกิ ภายใน กลุ่มจะพยายามแสดงความคิดเห็นของตนอย่างกว้างขวางและเสรี เม่ือทุกคนได้แสดงความคิดเห็น แล้วก็จะช่วยกันคัดเลือกความคิดเห็นท่ีสามารถเป็นไปได้ หรือเป็นแนวทางที่ดีท่ีสุดของกลุ่มเพ่ือ ดำเนินการต่อไป การอภิปรายแบบระดมพลังสมองน้ีมักจะใช้ในการอภิปรายเพื่อแก้ไขปัญหา หรอื เพอ่ื กอ่ ให้เกดิ ความคดิ ริเร่มิ สรา้ งสรรคต์ ่าง ๆ 1.2 การอภิปรายแบบฟลิ ลิป 66 (the phillip 66) คอื การอภิปรายกลุม่ ทีใ่ ช้สำหรับ การร่วมพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่มีข้อจำกัดในเร่ืองเวลาที่ใช้แก้ปัญหา และมีสมาชิกจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถอภิปรายได้อย่างทว่ั ถงึ การอภิปรายแบบฟิลลิป 66 น้ี จะแบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 6 คน สมาชิกของกลุ่มแต่ละคนจะมีเวลาแสดงความคิดเห็นประมาณ 1 นาที เมื่อได้ข้อสรุปของแต่ละกลุ่ม แลว้ จะนำผลการอภิปรายน้ันมาเสนอใหส้ มาชิกทั้งหมดทราบอกี ครัง้ หนึ่ง 1.3 การอภิปรายแบบ buzz group หรือ buzz session เป็นการอภิปรายท่ีจัดให้ สมาชิกกลุ่มใหญ่จับคู่ประชุมปรึกษากัน แล้วส่งตัวแทนมาเสนอผลการประชุมให้สมาชิกท้ังกลุม่ ทราบ ตอ่ ไป การอภิปรายที่กล่าวมาแล้วนี้ มักจะใช้กันแพร่หลายในวงการราชการ วงการการศึกษา และ ธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนจัดแทรกอย่ใู นการอภิปรายกลุ่มใหญ่ ลักษณะที่ดีของการอภิปรายแบบกลุ่ม ประกอบด้วย (ลลิตา โชติรังสียากุล 2544: 198- 199) 1. หัวข้อท่ีจะอภปิ รายกลุ่ม ใหส้ มาชิกในกลุ่มเป็นผูเ้ ลือกหรือจัดทำขนึ้ โดยมีคณะกรรมการ เปน็ ผ้วู างแผนการอภิปราย 2. ประธานและสมาชิกในกลมุ่ จะต้องเตรยี มเรื่องทจ่ี ะอภิปรายร่วมกัน 3. คำถาม-คำตอบสว่ นใหญ่ควรมาจากสมาชิกในกล่มุ ไมใ่ ช่มาจากประธานแต่เพยี งผเู้ ดียว 4. สง่ เสริมความคดิ ในด้านต่าง ๆ และเนน้ ถึงความสำคญั ของสมาชิกในกลุ่มแตล่ ะคน 5. บรรยากาศในการอภิปรายเปน็ กนั เอง ช่วยใหส้ มาชกิ ในกลุ่มแต่ละคนได้พฒั นาทัศนคติ มวี ฒุ ิภาวะสูงขน้ึ มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อืน่ ได้ดี มมี นษุ ยสัมพนั ธ์ และมคี วามรบั ผิดชอบท่ดี ขี ้ึน 6. สมาชิกในกลุม่ ควรมีทกั ษะในการคดิ พูด ฟัง อ่าน และเขียนในระดบั ใกล้เคียงกนั 7. การอภปิ รายควรเปน็ ไปตามหัวขอ้ และวตั ถปุ ระสงค์ทว่ี างไว้ 129
ผ้มู สี ่วนร่วมในการอภปิ รายกลุ่ม ประกอบไปด้วยบุคคลตอ่ ไปนี้ 1. ทีป่ รกึ ษาหรอื วิทยากรเปน็ ผทู้ มี่ ีความร้ใู นเรอ่ื งทีก่ ำลงั อภิปรายเปน็ อย่างดี เพอื่ จะไดเ้ ป็นผูใ้ ห้ ความรู้เพ่ิมเติม ตอบปัญหาหรือแก้ข้อขัดข้องต่าง ๆ ของสมาชิก ในกรณีท่ีเลือกอภิปรายนั้นยาก สมาชิกในกลุ่มอาจจะมีความรู้ไม่เพียงพอท่ีจะอภิปรายจึงควรมีวิทยากรกลุ่ม กลุ่มละ 1 คนหรือ มากกวา่ นน้ั กไ็ ด้ 2. ประธานในการอภิปราย เปน็ ผูน้ ำหรอื ผู้ดำเนินการอภปิ ราย พยายามสง่ เสรมิ หรอื สนับสนนุ ใหผ้ รู้ ่วมอภิปรายได้แสดงความคิดเห็นให้มากทสี่ ุดและตอ้ งเป็นผูส้ รุปดว้ ย 3. รองประธาน เปน็ ผู้ทำหน้าทแี่ ทนประธาน เมือ่ ประธานไมส่ ามารถปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ีได้ 4. เลขานุการกลมุ่ เปน็ ผู้จดรายงานการประชุมของกลมุ่ อภิปราย ซึง่ ไดร้ ับเลอื กจากประธาน หรอื สมาชิกในกลุม่ เลอื กให้ก็ได้ หนา้ ที่ของเลขานุการกลมุ่ มดี งั น้ี 4.1 บันทึกข้อเทจ็ จริงของการอภปิ รายโดยละเอียด แตไ่ ม่ใชจ่ ดทุกคำ 4.2 ในบางเรอ่ื งหากเกิดความลงั เลในการบันทกึ จำเปน็ ต้องขอให้ประธานชี้ขาดถงึ ข้อคิดเห็น ทคี่ วรบนั ทกึ 4.3 เตอื นสมาชิกเม่ือเห็นวา่ อภิปรายเร่ิมออกนอกลนู่ อกทาง เพอ่ื ช่วยประธานตะล่อมการ อภปิ รายเขา้ สูป่ ระเดน็ 4.4 รายงานความคบื หนา้ ระหวา่ งการอภิปราย เม่อื ประธานหรอื สมาชกิ ตอ้ งการทราบโดย เสนอผลสรปุ 4.5 เรียบเรียงจัดเตรยี มสำเนาบันทึกการอภปิ ราย เสนอผลสรุปสุดทา้ ยเม่อื สิน้ สุดการ อภปิ ราย 5. สมาชิกผู้ร่วมอภิปราย เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมอภิปรายพิจารณาปัญหา และตกลงเงื่อนไขในเร่ืองใดเรื่องหนึ่ง ผู้ร่วมอภิปรายทุกคนควรมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการ อภิปราย 2. การอภปิ รายในท่ชี ุมชน ฉตั รวรุณ ตันนะรตั น์ (2519: 362) กล่าวไว้ว่า การอภิปรายในที่ประชุมชน เป็นการอภิปราย ที่มีผู้อภิปรายเป็นผู้พูดฝ่ายหนึ่งและมีผู้ฟังอีกฝ่ายหน่ึง ผู้ฟังอาจจะมีส่วนได้พูดบ้าง เมื่อการอภิปราย ยุติจะเปิดให้มีการซักถาม (forum period) สุจรติ เพียรชอบ (2535: 20) ได้เสนอความเห็นเก่ียวกับช่วงการซักถามหรอื การเปิดอภิปราย ท่ัวไปว่า การเปดิ การอภิปรายทั่วไป คอื หลังจากการบรรยายหรืออภิปรายแล้วผู้ฟังก็จะมีส่วนรว่ มใน 130
การอภิปรายด้วยการซักถามปัญหา กล่าวเสริมหรือสนับสนุน กล่าวโต้แย้ง ให้ข้อมูลเพ่ิมเติมและตั้ง ข้อสังเกต การบรรยายหรือการอภิปรายต่าง ๆ น้ันควรจะได้จัดให้ผู้ฟังได้มีโอกาสซักถามปัญหาและ แสดงความคิดเห็นเต็มทกี่ ารอภิปรายในท่ชี ุมชนนี้ อาจแบง่ ออกเป็นหลายประเภท ดงั น้ี 2.1 การอภปิ รายเป็นคณะ (panel discussion) คอื การอภิปรายทป่ี ระกอบไปดว้ ยผู้ อภิปรายต้ังแต่ 2-5 คน หรือจะมากกว่าน้ันเล็กน้อยก็ได้ ผู้อภิปรายเหล่าน้ันเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมี ความรู้มากเป็นพิเศษในเรือ่ งท่ีจะอภปิ ราย ผู้อภิปรายจะน่ังอยบู่ นเวทีหันหน้าเขา้ หาผฟู้ ังมผี ดู้ ำเนินการ อภิปรายเป็นผู้ดำเนินการ ผู้อภิปรายจะพูดแสดงความรู้ ความคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่าง เป็นกันเองต่อหน้าผู้ฟัง สำหรับผู้ฟังนั้นนอกจากจะได้รับความรู้ และได้ฟังข้อคิดเห็นในแนวแปลก ๆ แล้วยังได้รับความสนุกอีกด้วย เพราะจะมีการอภิปรายโต้ตอบกันในระหว่างผู้อภิปรายในทำนองการ สนทนาซักถาม ซ่ึงอาจมีการแสดงความคิดสนับสนุนคล้อยตามบ้าง ขัดแย้งบ้าง ประนีประนอมบ้าง นอกจากนี้ ในช่วงของการอภิปรายผู้ฟังมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นและซักถามได้อีกด้วย การอภิปรายในรปู แบบน้ีจงึ ได้รบั ความนิยมอยา่ งกวา้ งขวาง ข้อสังเกต การอภิปรายทั้งคณะ เหมาะสำหรับให้ความรู้ ความคดิ แก่ผฟู้ ังในวงกว้าง ไม่ไดใ้ ห้ ข้อเท็จจริงและรายละเอียดท่ีลึกซึ้งได้มากเท่ากับการอภิปรายแบบปาฐกถาหมู่ แต่ก็ดีในแง่ท่ีให้ท้ัง ความรู้และความสนุกสนานไปในขณะเดียวกัน บรรยากาศในการอภิปรายจะเป็นกันเองผู้อภิปรายมี เสรีภาพในการพดู อยา่ งกวา้ งขวาง 2.2 การอภิปรายแบบปาฐกถาหมู่ (symposium) การอภิปรายแบบนี้เป็นการอภิปรายของ คณะผู้บรรยาย ซึ่งเป็นผู้เช่ียวชาญในด้านต่าง ๆ ตามปกติแล้วจะมีผู้ร่วมอภิปรายประมาณ 2-5 คน มีผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้ดำเนินการ มุ่งที่จะให้ความรู้และแนวความคิดอย่างละเอียดแก่ผู้ฟัง ลกั ษณะการอภิปรายแบบปาฐกถาหมู่ คือ ผู้ร่วมอภิปรายแต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้พูดในส่วนใด ส่วนหน่ึงของเรอ่ื งท่ีจะอภิปราย เป็นเร่อื งปาฐกถาส้ัน ๆ ซึ่งจะครอบคลมุ เนื้อหาสาระทส่ี ำคญั ๆ ในส่วน ทต่ี นได้รับมอบหมายเท่าน้ัน จะไม่ไปกา้ วก่ายในสว่ นของบุคคลอนื่ เน่ืองจากผู้ฟังมีความคาดหวังที่จะ ไดร้ ับความรูอ้ ย่างละเอียดลึกซ้ึง ผอู้ ภิปรายจะตอ้ งไปศึกษาค้นคว้าเป็นอย่างดี หากมีตัวเลข สถิติ หรือ ข้อมูลใดท่ีจะนำมาใช้ประกอบการอภิปราย เพื่อให้ผู้ฟังได้รับความรู้อย่างกว้างขวางลึกซ้ึงได้ ก็ควร นำมาใช้ประกอบการอภิปราย และเนื่องจากมีเวลาในการอภิปรายไม่มากเท่าท่ีควร ผู้อภิปรายอาจ เตรียมเอกสารมาแจกผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการอภิปรายแบบน้ีจึงมีลักษณะจริงจังและเป็นทางการ เช่น การประชุม อบรม และการสัมมนาต่าง ๆ ในด้านของผู้ฟังมีโอกาสได้ซักถามและแสดงความคิดเห็น อยา่ งกว้างขวาง ข้อสังเกต การอภิปรายแบบปาฐกถาหมู่มีลักษณะจริงจังและเป็นทางการมากกว่าการ อภิปรายเป็นคณะ เพราะเป็นเหมือนการรวมองค์ปาฐกถาซ่ึงเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ไว้ในคราว เดียวกัน ผู้ร่วมอภิปรายจะมีปฏิกิริยาระหว่างกันและกันน้อยมากหรือไม่มีเลย และเนื่องจากการ อภิปรายแบบน้ี เน้นในด้านเนื้อหาสาระมากจึงมักนิยมใช้ในการประชุม สัมมนา หรือเพื่อให้ความรู้ ทางด้านวิชาการ 131
2.3 การอภิปรายแบบซักถาม (colloquy) เป็นวิธีการอภิปรายท่ีปรับปรุงมาจากการ อภิปรายเป็นคณะ คือ ในการอภิปรายน้ันจะมีผู้อภิปรายเป็นสองกลุ่มด้วยกัน กลุ่มหนึ่งประกอบไป ด้วยตัวแทนของผู้ฟังประมาณ 2-4 คน อีกกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยวิทยากรประมาณ 2-4 คนเช่นกัน วิทยากรมักจะเป็นผู้เช่ียวชาญในเร่ืองที่จะอภิปราย ทั้งสองฝ่ายนั่งหันหน้าเข้าหาผู้ฟัง มีผู้ดำเนินการ อภิปรายน่ังอยู่ตรงกลางเป็นผู้กล่าวเปิดการอภิปราย และเปิดโอกาสให้ท้ังสองฝ่ายรวมท้ังผู้ฟัง ถามคำถาม และแสดงความคิดเห็น ผู้ร่วมอภิปรายที่เป็นตัวแทนของผู้ฟังน้ันจะเป็นผู้เสนอปัญหาหรือ ถามคำถาม วิทยากรจะเป็นผู้ตอบคำถาม ถ้าการตอบคำถามเป็นที่พอใจของผู้ฟังก็อาจจะมีการถาม คำถามต่อไป แต่ถ้าผู้ฟังยังมีข้อสงสัยก็อาจถามวิทยากรได้จนเป็นท่ีพอใจ แล้วตัวแทนผู้ฟังจึงถาม คำถามตอ่ ไป ข้อสังเกต การอภิปรายแบบนี้เหมาะสมสำหรับการประชุม อบรมและการสัมมนา หรือการ พูดใด ๆ ท่ีต้องการให้ผู้ฟังได้มีโอกาสซักถามอย่างเต็มท่ี แต่เน่ืองจากการอภิปรายแบบนี้เป็นไปอย่าง เสรีและกว้างขวางจึงมักมีปัญหาเรื่องเวลา เพื่อทุกคนที่มีส่วนร่วมในการอภิปรายจะได้มีโอกาสพูด ซักถามปญั หาและแสดงความคิดเห็น การจัดเตรียมสถานทอ่ี ภิปราย การจัดเตรียมสถานที่อภิปราย สามารถจัดเตรียมได้หลายรูปแบบตามประเภทของการ อภปิ ราย ดังน้ี 1. การอภิปรายเป็นคณะ เป็นการอภิปรายแบบพิธีการหรือกึ่งพิธีการก็ได้ ซึ่งมีผู้อภิปราย 3-7 คน อภิปรายตามเป้าหมายหรือประเด็นที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพ่ือเสนอความคิดเห็นของผู้ร่วม อภิปรายหลาย ๆ คนในประเด็นปัญหาเดียวกัน ซ่ึงในช่วงท้ายสามารถแลกเปล่ียนความคิดเห็นกับ ผ้รู ว่ มอภิปรายได้ โดยมีรูปแบบการจดั สถานทีด่ ังรูปต่อไปน้ี ภาพท่ี 5.1 แผนผังการจัดสถานที่การอภิปรายเป็นคณะ ทมี่ า : วีระเกยี รติ รจุ ิรกลุ , 2556: 45 132
2. การจัดสถานที่การอภิปรายแบบปาฐกถาหมู่ การอภิปรายลักษณะนี้ส่วนใหญ่ใช้ประเด็น ในการอภิปรายที่เกี่ยวกับวิชาการ ผู้ร่วมอภิปรายจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทางที่ เก่ียวข้องกับประเด็นหรือปัญหาเพียงด้านเดยี ว โดยสมาชิกในกลุ่มมีประมาณ 3-7 คน ซ่ึงแต่ละคนจะ แสดงความรู้ตามแขนงวิชาท่ีตนถนัด การอภิปรายเช่นนี้อาจเรียกว่า เป็นการอภิปรายแลกเปล่ียน ความรู้ไดเ้ ชน่ กนั โดยมีรูปแบบการจัดสถานทีด่ ังรูปตอ่ ไปนี้ ภาพที่ 5.2 แผนผงั การจดั สถานท่ีการอภปิ รายแบบปาฐกถาหมู่ ท่ีมา : วรี ะเกยี รติ รจุ ริ กลุ , 2556: 45 3. การจดั สถานที่การอภิปรายซักถาม เป็นการอภปิ รายแบบทวั่ ไปโดยมผี ฟู้ ังมสี ่วนร่วมในการ อภิปรายมากกว่าการอภิปรายแบบอ่ืน ๆ ความสำคัญของการอภิปรายประเภทนี้ คือ การเน้นให้ผ้ฟู ัง มีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงสนับสนุน หรือไม่เห็นด้วยก็ได้ ซ่ึงมีจำนวนผู้อภิปรายประมาณ 2-3 คน รวมทัง้ ผู้ดำเนินการอภิปราย โดยมีรูปแบบการจดั สถานที่ดังรูปต่อไปน้ี ภาพท่ี 5.3 แผนผงั การจดั สถานท่ีการอภปิ รายซักถาม ที่มา : วีระเกียรติ รุจิรกลุ ,2556 : 46 133
ประโยชนข์ องการอภิปราย วีระเกียรติ รุจิรกุล (2556: 46) กล่าวถึงประโยชน์ของการอภิปรายว่า การอภิปรายจะมี ประโยชนท์ ้ังผอู้ ภปิ รายและผ้ฟู งั ดงั นี้ 1. ผูอ้ ภิปรายจะได้ประโยชนจ์ ากการอภปิ ราย คอื 1.1 มีโอกาสค้นควา้ ขอ้ เท็จจริง ทำให้มีความรูใ้ นเรอ่ื งท่ีจะอภิปรายกวา้ งอย่างย่ิงข้ึน 1.2 ทำให้กล้าพดู แสดงความคดิ เห็นทีเ่ ป็นประโยชนต์ ่อสังคม 1.3 สามารถทำงานรว่ มกับผอู้ ื่น และมีความรับผิดชอบร่วมกนั 1.4 ไดเ้ รยี นรผู้ ้อู ่ืน และเขา้ ใจผู้อืน่ ดยี ิ่งขน้ึ 1.5 ทำใหร้ จู้ ักเปน็ ผูย้ อมรับความคิดเหน็ ท่ีเปน็ ประโยชน์ตอ่ สงั คม 1.6 ทำให้เปน็ ท่ีรจู้ กั รับผดิ ชอบต่อสงั คม ไดช้ ่วยเหลือแก้ไขปญั หาใหล้ ลุ ว่ งไป 1.7 ทำให้รูจ้ กั ปัญหา เผชิญปญั หา และไดน้ ำความรู้มาใชแ้ ก้ไขปัญหากบั ตนเอง 1.8 ทำให้ได้ฝกึ การมคี วามคดิ แบบประชาธปิ ไตย 1.9 ทำให้มีโอกาสได้นำความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ที่มีประโยชน์ไป ถ่ายทอดใหแ้ ก่สงั คม 1.10 ทำให้ได้พฒั นาแนวคดิ ด้านตา่ ง ๆ และเพมิ่ พูนสตปิ ญั ญาให้แกต่ นเอง 2. ผูฟ้ งั (สังคมส่วนรวม) จะได้ประโยชน์จากการอภปิ ราย คอื 2.1 ทำให้ผู้ฟังมีใจกวา้ ง รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อ่ืนท่ีดีกว่าตน เพ่ือหวังผล ใหส้ ังคมท่ีตนอาศยั อยมู่ ีความเจริญขึ้น 2.2 ความคิดเห็นจากการอภิปรายสามารถนำไปแก้ไขปัญหาท่ีเกิดขึ้นในสังคมของ ตนได้ เพราะความคดิ เหน็ ในการแก้ปัญหาทีม่ าจากกลุ่มคนย่อมเป็นทน่ี ่าเชื่อถือและปฏบิ ตั ิตามได้ 2.3 การอภิปรายจะเป็นแหล่งความรอู้ ย่างดี ถ้าได้มกี ารบันทกึ การอภิปรายไว้ นอกจากน้ีประโยชน์ของการอภิปรายสามารถสรุปได้ 5 ด้าน ดังนี้ (มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา, Online: 2558) 1. ดา้ นการศึกษา การอภปิ รายมบี ทบาทในดา้ นการศึกษาระดบั ต่าง ๆ ต้งั แต่ระดับ ประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา การส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาเรียนด้วยวิธีการอภิปราย เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังฝึกให้ผู้เรียน รู้วิธีการทำงานร่วมกับผู้อ่ืน รู้จักร่วมกันวางแผน คิดแก้ปัญหาข้อสรุปในเร่ืองต่าง ๆ และร่วมกัน พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสม การอภิปรายจึงมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน อยา่ งย่งิ 2. ดา้ นสังคม การอภปิ รายมบี ทบาทสำคญั มากในสงั คม เพราะการตัดสินใจปัญหา ส่วนรวมถึงความคิดคนส่วนใหญ่ การอภิปรายเป็นการตัดสินใจของกลุ่มบุคคลที่จะต้องเป็นไปตาม เหตุผล มีรูปแบบและมีขอบเขต การอภิปรายจึงเป็นการฝึกนิสัยความเป็นประชาธิปไตยให้สังคม 134
ทำให้กล้าคิดกล้าแสดงออกในความคิดเห็นของตนเอง และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมี เหตุผล สามารถทำงานรว่ มกับผูอ้ นื่ ไดท้ ำให้เกิดความสามคั คีกนั ในสังคม 3. ด้านการเมอื ง การอภิปรายเป็นการเผยแพร่ความรู้ นโยบาย การดำเนนิ งานของ รัฐบาลให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อจะได้ทราบความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ซ่ึงจะได้นำไป เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานตา่ ง ๆ ให้ดยี ิ่งขึ้น 4. ดา้ นศาสนา การเผยแพร่ศาสนาในสมยั นนี้ ยิ มใชว้ ธิ ีอภปิ รายกันมาก เพราะสามารถ ให้ความรู้แก่ผู้ฟังได้อย่างกว้างขวาง ผู้อภิปรายแต่ละคนความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปหลายแง่มุม ยอ่ มทำให้ผู้ฟงั เขา้ ใจได้แจ้งดยี ่ิงขนึ้ 5. ด้านธุรกิจ มกี ารอภิปรายเพ่ือวางหลกั การและตกลงแก้ไขปญั หาต่าง ๆ ท่เี กดิ ขน้ึ เพอื่ ความเจริญก้าวหนา้ ของกิจการ บทสรุป การอภิปราย เป็นการพูดที่มีลักษณะคล้ายการสนทนา แต่การอธิปรายมีลักษณะแตกต่างใน ลักษณะสำคัญ คือ การอภิปรายเป็นการพูดที่มีการกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ล่วงหน้า เพ่ือปรึกษาหารือ แลกเปล่ียนเรยี นรู้ ในหัวข้อหรอื ปญั หาและหาแนวร่วมในการแก้ปัญหาหรอื การหาข้อสรปุ ร่วมกัน การ อภิปรายมีจุดมุ่งหมายของการพูดหลายประการ เช่น เพื่อสืบเสาะหาข้อเท็จจริง โดยการแลกเปลี่ยน เรียนรู้อย่างมีเหตุผล เพื่อนำองค์ความรู้ท่ีมีแก้ไขปัญหาของสังคมโดยใช้หลักคิดแบบประชาธิปไตย เป็นต้น การอภิปรายจะช่วยให้ผู้อธิปรายและผู้ร่วมอภิปราย ได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อ่ืนตลอดจน การปรับตวั ในสงั คม เขา้ ใจผูอ้ นื่ ได้ดียงิ่ ข้ึน องค์ประกอบหลักท่ีสำคัญของการอภิปรายมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้ดำเนินการอภิปราย ทำหนา้ ที่เป็นผูน้ ำในการอภิปราย ตอ้ งเป็นผู้ท่ีมีวาทศิลป์ในการพูดโนม้ นา้ วท่จี ะทำใหผ้ ู้รว่ มอภปิ รายได้ แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ต้องมีบุคลิกภาพเป็นผู้นำ มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะได้ดี ต้องมี ความรู้เรื่องที่จะอภิปรายอย่างดีเพื่อที่จะสรุปหรือเสริมความผู้ร่วมอภิปรายได้ อีกท้ังยังต้องเป็นผู้ที่ รู้จักวางตัวเป็นกลางไม่เอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะต้องมีหลักคิดและเหตุผลพอสมควร 2) ผู้ร่วม อภิปราย ซึ่งเป็นองค์ประกอบทม่ี ีความสำคัญ ในการอภิปรายจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึน้ อยู่กับ ความร่วมมือของผู้ร่วมอภิปราย ดังนั้นผู้รว่ มอภิปรายจะต้องมีความสนใจและมีความรู้เก่ียวกับปญั หา ทจี่ ะอภปิ ราย ตอ้ งเป็นผใู้ จกวา้ ง รับฟงั ความคิดเหน็ ของผู้รว่ มอภิปรายผู้อนื่ มวี าทศิลป์ในการถา่ ยทอด ความรู้สึกและความคิด เคารพกติกาในการอภิปราย และต้องรับผิดชอบต่อคำพูดในการพูดอภิปราย รว่ มกับผู้อ่ืน 3) ผู้ฟงั การอภปิ ราย โดยเฉพาะการอภิปรายในท่ชี ุมชน ผ้ฟู งั อภิปรายจะต้องมมี ารยาทใน การฟัง จดบันทึกส่ิงต่าง ๆ ที่น่าสนใจ สามารถซักถามไดโ้ ดยการขออนุญาตผา่ นทางประธานหรือผู้ดำ เดินการอภิปราย และควรนำส่ิงต่าง ๆ จากการฟังนำไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ และ 4) ขบวนการแก้ไขปัญหา สิ่งที่ควรคำนึงถือ ได้แก่ รูปแบบในการแก้ไขปัญหา เช่น การจัดให้ผู้ร่วม อภิปรายแต่ละคนพูดหัวข้อไม่ซ้ำกัน หรือหากเป็นหัวข้อเดียวกันสามารถแสดงความคิดเห็นคนละ 135
ทรรศนะก็ได้ ในขบวนการแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการอภิปราย เพราะ การอภิปรายจำเป็นจะต้อใช้เหตุผลในการแสดงความคิดเห็น อีกทั้งเพื่อให้การอภิปรายยังอยู่ในกรอบ ของจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการอภิปราย และสามารถให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา หรือหาข้อสรปุ ร่วมกันเพื่อนำไปส่ปู ระโยชนส์ ูงสดุ ในประเด็นการอภิปราย จากองค์ประกอบดังกล่าว นำไปสู่ประเภทของการอภิปราย ผู้จัดการอภิปรายจำเป็นต้อง ทราบประเภทว่าการอภิปรายในเรื่องดังกลา่ วเป็นการอภิปรายในรูปแบบใด ท้ังนกี้ ารอภิปรายสามารถ แบ่งไดเ้ ป็น 2 ประเภท คือ 1) การอภปิ รายแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นการอภิปรายที่มีสมาชิกในกลุ่มไม่เกนิ 20 คน อาจไม่มีผู้ฟังการอภิปราย บรรยากาศเป็นรูปแบบกันเอง ในการอภิปรายแบบกลุ่ม มีรูปแบบการ อภิปราย 3 รูปแบบ ได้แก่ การอภิปรายระดมพลังสมอง การอภิปรายแบบฟิลลิป 66 และการ อภิปรายแบบ buzz group 2) การอภิปรายในที่ชุมชน เป็นการอภิปรายท่ีมีผู้ฟังการอภิปรายเป็น องค์ประกอบและมีส่วนร่วมในการอภิปรายด้วยการซักถาม กล่าวเสริมสนับสนุนหรือกล่าวโต้แย้งได้ การอภิปรายในรูปแบบดังกล่าว สามารถจัดการอภิปรายในรูปแบบเป็นคณะ มีผู้อภิปรายต้ังแต่ 2-5 คน หรือมากกว่าเล็กน้อย เหมาะสำหรับให้ความรู้ความคิดเห็นกับผฟู้ ังในวงกว้าง บรรยากาศเปน็ การ เอง ต่อมาการอภิปรายแบบปาฐกถาหมู่ มีผู้อภิปรายตั้งแต่ 2-5 คน หรือมากกว่าเล็กน้อย มีลักษณะ เป็นทางการมากกว่าการอภิปรายแบบคณะ เพราะเป็นการรวมองคป์ าฐกถาซ่ึงเปน็ ผู้เช่ียวชาญในด้าน ต่าง ๆ ไว้ในคราวเดียวกัน โดยเน้นเน้ือหาสาระ เช่น การประชุม การสัมมนา หรือการให้ความรู้ทาง วชิ าการ ตอ่ มาการอภิปรายแบบซักถาม เป็นรูปแบบการอภิปรายในรปู แบบหน่ึงของการอภิปรายในที่ ชุมชน ซึ่งปรับปรุงมาจากการอภิปรายแบบคณะ อาจแบ่งเป็นสองกลุ่มการอภิปราย เหมาะสำหรับ การประชุม การสมั มนา หรือการอภิปรายที่ตอ้ งการใหผ้ ู้ฟังสามารถซักถามได้อย่างเต็มที่ มีสว่ นร่วมใน การแสดงความคิดเห็น ทั้งในประเภทของการอภิปรายท่ีกล่าวมา มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเตรียม สถานที่ในรูปแบบการอภิปรายต่าง ๆ ที่แตกตา่ งกัน ผู้อภิปรายจำเป็นต้องเลอื กรูปแบบการอภปิ รายท่ี เหมาะสมกับหัวข้อหรือประเด็นการอภิปราย คำนึงถึงโอกาสในการอภิปราย ตลอดจนสถานท่ีในการ อภิปราย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมต่อจุดมุ่งหมายของการ อภปิ ราย เพราะฉะน้ัน การอภิปรายจึงเป็นการพูดของกลุ่มบุคคลซึ่งมีจุดมุ่งหมาย เพ่ือแก้ไขปัญหาใด ปัญหาหนึ่ง หรือเพื่อแสดงความคิดเห็นแลกเปล่ียนเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา การอภิปรายที่ดี และประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้จัดอภิปรายจะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์หรือหัวข้อในปัญหาของ การอภิปรายอย่างถ่องแท้ และควรรู้ว่าจะต้องใช้รูปแบบใดในการดำเนินการจึงจะเหมาะสม นอกจากนี้ผู้ที่มีส่วนเก่ียวข้องในการอภิปรายในทุกรูปแบบ ก็ควรศึกษาถึงบทบาทหน้าท่ีตนเองท่ี จะตอ้ งปฏบิ ัติ ทั้งนีเ้ พ่อื ใหก้ ระบวนการในการอภปิ รายบรรลไุ ปตามจดุ มุ่งหมายทีต่ ัง้ ไว้ 136
คำถามทา้ ยบทท่ี 5 1. การพูดอภิปราย เป็นการพดู ในรูปแบบใด 2. การพดู อภิปรายมีก่ีประเภท อธบิ าย 3. คณุ ลักษณะของผู้ดำเนนิ การอภิปราย ควรมลี กั ษณะอยา่ งไร 4. การจดั เตรยี มสถานทีก่ ารอภิปรายมีกป่ี ระเภท อธิบาย 5. อธบิ ายประโยชน์ของการอภิปรายทม่ี ีต่อผ้ฟู ังและผู้พูดอภิปราย แบบฝึกปฏบิ ัติการพดู อภปิ ราย นักศกึ ษาฝึกปฏิบตั ิการพูดอภิปราย โดยมวี ิธีการฝกึ ปฏิบัติ ดังนี้ 1. ใหน้ กั ศึกษาแบ่งกลมุ่ ฝึกการพูดและจำลองเหตุการณใ์ นการพูดอภิปราย โดยเลอื กตาม ประเภทของการพูดอภปิ ราย ดงั น้ี 1.1 การพูดอภปิ รายภายในกลุม่ 1.2 การพูดอภปิ รายในทช่ี ุมชน 2. อาจารยผ์ ูส้ อนกำหนดระยะเวลาการพูดอภิปรายตามความเหมาะสม 3. เมอื่ นักศกึ ษาเลอื กประเภทของการพดู อภปิ ราย ใหน้ ักศึกษาดำเนนิ การต่อไปนี้ 3.1 กำหนดและแบง่ หนา้ ที่ตามองค์ประกอบขอการพูดอภปิ ราย 3.2 กำหนดหรอื ตั้งช่ือหัวขอ้ ให้สอดคล้องกบั ประเภทของการพูดนำเสนอท่ีไดเ้ ลือก 3.3 กำหนดจดุ มุ่งหมายของเรื่องท่ีจะอภปิ ราย 3.4 วิเคราะหผ์ ูฟ้ งั 3.5 ศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลนำมาสงั เคราะห์และจดั เรียงลำดับเนอ้ื หาทจี่ ะพูด 3.6 หากมีส่อื หรือเครื่องมือประกอบการพูดนำเสนอ จดั เตรยี มใหพ้ รอ้ ม 3.7 ฝกึ ซอ้ มการพูดอธิบายตามระยะเวลาทกี่ ำหนด 4. นกั ศกึ ษาสรา้ งสถานการณจ์ ำลองในการดำเนนิ การอภปิ รายตามหวั ข้อไดจ้ ดั เตรยี มมา 5. เมือ่ จบการพดู อภปิ ราย ร่วมแสดงความคิดเห็น และสรปุ สง่ิ ทไ่ี ดน้ ำเสนอ 137
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256