Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เรียนจิตวิทยา

เรียนจิตวิทยา

Published by nutthakidta123, 2021-11-01 15:52:51

Description: เรียนจิตวิทยา

Search

Read the Text Version

เรียนจิตวิทยา นางสาวณัฐกฤตา พีระพันธุ์ 210201013

จิตวิทยา คืออะไร ? จิตวิทยา มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche หมายถึง จิตวิญญาณ (mind, soul) คำว่า Logos หมายถึง ศาสตร์ วิชา วิทยาการ (science, study)

จิตวิทยา (psychology) คือ การศึกษาเรื่องของจิตใจ พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของคนและสัตว์ โดยวิธีการทดลอง สังเกต สำรวจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มักเน้นการศึกษา แต่ละคนหรือกลุ่มเล็ก ๆ มากกว่า แบ่งเป็นแขนงต่าง เช่น จิตวิทยาการทดลอง (experimental psychology) เน้นวิธีการศึกษากระบวนการทางจิตใจและพฤติกรรม อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาอาชีพ จิตวิทยาคลินิก

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา จิตวิทยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณที่พยายามค้นหาความหมายของจิต ซึ่งในระยะแรกจะคิดถึงหัวใจ และสมอง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของความคิด ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 19 การศึกษาจิตวิทยาแยกออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางปรัชญา และ แนววิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ผู้นำแนวคิดทางปรัชญา คือจอห์น ล็อค (John Lock, 1632-1704) เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้รับฉายาว่าเป็น บิดาแห่งจิตวิทยาแผนใหม่ ซึ่งให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของการคิดที่มีความสัมพันธ์กับจิต และความรู้ทั้งหมดของบุคคลเกิดจากการที่ประสาทสัมผัสปะทะกับโลกกายภาพ เขาเชื่อว่าจิตเปรียบเหมือน กระดาษที่ว่างเปล่า แต่เมื่อบุคคลมีประสบการณ์ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสทำให้เกิดรอยขีดเขียน

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อจิตมาก เขาอธิบายว่าจิตของมนุษย์เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ และถูกเชื่อมโยงต่อกัน ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ประสบ ความสำเร็จเป็นอย่างมากขณะที่การอธิบายเรื่องจิตวิญญาณเป็นเรื่องยากไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน การศึกษาจิตวิทยาจึงถูกนำไปใช้ในการทดลอง การสังเกต การพิจารณาในเวลาต่อมา

ประวัตินักจิตวิทยาที่โด่งดัง

ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2399 ในจักรวรรดิออสเตรียซึ่งปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็ก และเสียชีวิตวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2482 รวมอายุ 83 ปี ครอบครัวมีอาชีพขายขนสัตว์ มีฐานะปานกลางซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) สนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเวียนนาสาขา วิทยาศาสตร์ แล้วเรียนต่อสาขาแพทยศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านโรคทางสมองและประสาทที่ กรุงปารีสกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านอัมพาต ที่นั่นฟรอยด์ได้ค้นพบว่าความจริงแล้ว คนไข้บางรายป่วย เป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ร่างกาย

ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออก มาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น และยังเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับแรงขับทาง สัญชาตญาณ (Instinctual drive) และ เป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ได้ จิตจึงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่ง บ้างจะแสดงออกมาในรูปแบบ ของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) แต่ฟรอยด์ไม่ได้หมายถึง ความต้องการทางเพศ นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้อธิบายว่าสัญชาตญาณจะแสดงออกมาในรูปของพลังทางจิตที่เกี่ยวข้อง กับพลังขับทางเพศเรียกว่า พลังลิบิโด (Libido)

ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) ฌองเพียเจต์ (เกิด9 สิงหาคมพ.ศ. 2439 นอยชาเทลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2523 เจนีวา) นักจิตวิทยาชาวสวิสซึ่งเป็นคนแรกที่ทำการศึกษาอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับการได้มาซึ่งความเข้าใจในเด็ก หลายคนคิดว่าเขาเป็นบุคคลสำคัญในศตวรรษที่ 20 ฌองเพียเจต์ศึกษาสัตววิทยา (ปริญญาเอก 2461) และปรัชญาที่มหาวิทยาลัยนอยชาเทลประ เทศสวิตเซอร์แลนด์และจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยซูริค (พ.ศ. 2462) และในปารีสภายใต้ปิแอร์เจเน็ต และ ธีโอดอร์ไซมอนร่วมกับคนอื่น ๆ

ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) Jean Piaget เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก เขาแย้งว่าความเข้าใจ ของเด็ก ๆ เกี่ยวกับโลกดำเนินไปผ่านสี่ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาเซ็นเซอร์และการรับรู้ตนเอง ความคิดที่เป็นตัวแทนรวมถึงการใช้ภาษา การจำแนกวัตถุตามความเหมือนและความแตกต่าง และการเกิดขึ้นของความสามารถเชิงตรรกะเบื้องต้น และการให้เหตุผลขั้นสูง รวมถึงการจัดการ ความคิดเชิงนามธรรม

โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst) ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่า งานที่ มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า “ งานพัฒนาการ ” หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัย ของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการ เรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป ในการสร้างทฤษฎีงานพัฒนาการ ฮาวิกเฮิร์ส ถือว่าการพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับ ปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียว สังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยทางจิตวิทยาของ แต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย

โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst) ฮาวิกเฮิร์ส ได้สรุปว่าตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี 3 อย่าง 1. วุฒิภาวะทางร่างกาย 2. ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่ 3. ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล 3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) 3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach)

ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎี ของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางใน ประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป วิธีการวิจัย จะสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรมที่ ผู้ตอบยากที่จะตัดสินใจได้ว่า“ถูก” “ผิด” “ควรทำ” “ไม่ควรทำ” อย่างเด็ดขาด เพราะขึ้นอยู่ กับองค์ประกอบหลายอย่าง การตอบจะขึ้นกับวัยของผู้ตอบเกี่ยวกับความเห็นใจในบทบาท ของผู้แสดงพฤติกรรมในเรื่องค่านิยม ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความ ยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึดถือ

โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst) ฮาวิกเฮิร์ส ได้สรุปว่าตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี 3 อย่าง 1. วุฒิภาวะทางร่างกาย 2. ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่ 3. ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล 3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) 3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach)

เจอร์โรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner) บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญา ต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้ เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)

จิตวิทยา เรียนที่ไหนได้บ้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - สาขาจิตวิทยาคลินิก - สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม คณะจิตวิทยา และองค์การ

จิตวิทยา เรียนที่ไหนได้บ้าง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ -สาขาจิตวิทยาคลินิก -สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา -สาขาจิตวิทยาองค์การ

เรียนจิตวิทยา จบมาทํางานอะไร จิตวิทยาคลินิก เมื่อเราเรียนจบสาขานี้มา สามารถเข้าไปทำงานในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนในตำแหน่ง นักจิตวิทยาคลินิก ทำหน้าที่ให้การปรึกษา พูดคุย ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีสุขภาพจิตไม่ปกติไม่ว่าจะ เป็นผู้ที่มีความเครียดจากการทำงาน ผู้ที่มีความวิตกกังวล ไปจนถึงการบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ให้ทุกคนคืนสู่สภาพจิตใจที่สมบูรณ์และปรับตัวเข้ากับสังคมได้ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สาขานี้เป็นอีกสาขาที่มองเห็นภาพอาชีพหลังเรียนจบได้ค่อนข้างชัดเจน โดยศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมของเหล่าพนักงานในองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงปัจจัยทางจิตวิทยาที่ เกี่ยวข้องกับการทำงาน การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนาและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ใน องค์การ เอาเป็นว่าจบสาขานี้ไป เท่ากับก้าวขาเขาสู่แผนกทรัพยากรบุคคล หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า HR ไปแล้วข้างหนึ่ง

เรียนจิตวิทยา จบมาทํางานอะไร สาขาจิตวิทยาการปรึกษา เป็นการทำงานกับคนทั่วไป มีหน้าที่ให้คำปรึกษาสำหรับคนที่มีปัญหา อยากมีที่ปรึกษา ไม่สามารถ หาทางแก้ด้วยตัวเอง อาจจะไม่มีความเจ็บป่วยทางจิตใด ๆ สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ในโรงพยาบาล บริษัทต่าง ๆ หรือจะเป็นหน่วยงานทางเอกชนก็ได้ สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ เรียนเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนถึงเสียชีวิต สามารถทำงานได้ทุกที่ ส่วนมากจะ ทำงานเป็นครูแนะแนว ให้คำปรึกษาเด็ก หรือกระตุ้นพัฒนาการให้กับเด็ก ขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนนั้น สนใจการทำงานในช่วงวัยใด ทำงานได้กับทั้งเด็กไปจนถึงวัยชราเลย

ตัวอย่างอาชีพ นักจิตวิทยาคลินิก คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) และมีใบประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยา คลินิกส่วนใหญ่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในหน่วยงานทางการ แพทย์และสถานพยาบาลต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ ให้การรักษาทางการแพทย์ อาทิงานจิตเวชศาสตร์(Psychiatry) งานระบบ ประสาทและสมอง(Neuroscience) งานเวชกรรมป้องกัน งานเวชศาสตร์ ฟื้นฟู งานยาเสพติด จิตเวชเด็กและวัยรุ่น งานเวชศาสตร์ครอบครัว งานนิติ จิตเวช เป็นต้น

บทบาทหน้าที่หลักของนักจิตวิทยาคลินิก ได้แก่ งานตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษา ผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสัมพันธภาพ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผู้ป่วยจิตเวช หรือบุคคลทั่วไปที่อาจมีปัญหาดังกล่าว อาทิผู้มีสภาพจิตใจย่ำแย่หลังจาก ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงหรือความเครียดต่างๆ ทั้งที่เป็นแบบชั่วคราวหรือ ถาวร การบำบัดรักษาจะช่วยให้อาการเหล่านั้นบรรเทาลง และช่วยให้บุคคลเกิด การปรับตัวต่อสถานการณ์และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากขึ้น นอก เหนือจากนี้ นักจิตวิทยาคลินิกยังมีบทบาทในงานส่งเสริมป้องกันหรืองาน จิตเวชชุมชน งานวิจัย ตลอดจนการดูแลฝึกอบรม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook