Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พฤติกรรมสัตว์

พฤติกรรมสัตว์

Published by kingkarn1498, 2021-10-07 02:26:04

Description: พฤติกรรมสัตว์

Search

Read the Text Version

ANIMAL BEHAVIOR

พฤติกรรมสัตว์ แบบฝึกหัดก่อนเรียน 1.การเกิดพฤติกรรมในสัตว์ชั้นสูง ถูกควบคุมด้วยระบบใด ก.ระบบห่อหุ้มร่างกาย ข.ระบบโครงร่าง ค.ระบบกล้ามเนื้อ ง.ระบบประสาท 2.ข้อใดไม่เป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ก.นกตัวเมียฟักไข่ ข.นกตัวผู้สร้างรัง ค.นกเกี้ยวพาราสี ง.นกตามแม่ไปหาอาหาร 3.การที่กบไม่ยอมกินผึ้งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมแบบใด ก.ความเคยชิน ข.ลองผิดลองถูก ค.รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง ง.มีเหตุผล 4.การเต้นรำของผึ้ง การสร้างรังของนก เป็นพฤติกรรมแบบใด ก.แทกซิส ข.รีเฟล็กซ์ ค.รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง ง.การเรียนรู้ 5.เมื่อเห็นมะนาวฝานแล้วรู้สึกน้ำลายสอ อาการเช่นนี้เป็นพฤติกรรมแบบใด ก.ความเคยชิน ข.การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข ค.การฝังใจ ง.การลองผิดลองถูก

พฤติกรรมสัตว์ พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Inherited Behavior / Innated Behavior) 1.โอเรียนเทชัน (orientation) : การตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการเคลื่อนที่เพื่อ หาตำแหน่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 1) ไคนีซิส (kinesis) : การเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีจากสิ่งเร้า โดยไม่มีทิศทางแน่นอน พบในสัตว์ที่อวัยวะรับความรู้สึกยังไม่เจริญมาก มีทิศทางการเคลื่อนที่เป็นแบบสุ่ม เช่น พารามีเซียม เคลื่อนที่สุ่มไปเรื่อย ๆ เพื่อหลบหนีบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง 2) แทกซิส (taxis) : การเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีจากสิ่งเร้า โดยมีทิศทางแน่นอน เช่น สิ่งเร้าคือแสง (phototaxis) : การบินเข้าหาแสงสว่างของแมลงเม่า สิ่งเร้าคือสารเคมี (Chemotaxis) : การเคลื่อนที่เข้าหาบริเวณที่เป็นกรดอ่อนของ พารามีเซียม สิ่งเร้าคือน้ำหรือความชื้น (hydrotaxis) : การเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งน้ำของสัตว์ ต่างๆ 2.รีเฟล็กซ์ (Reflex) : เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างทันทีทันใด โดยไม่ต้องรอคำสั่ง จากสมอง (ประมวลผลที่ ไขสันหลัง) พบทั้งในสัตว์ชั้นสูงและชั้นต่ำ เช่น กระตุกเข่า เมื่อเคาะที่หัวเข่า เซลล์ประสาทรับ ความรู้สึกจะนำกระแสประสาทส่งไปยัง ไขสันหลัง (spinal cord) แล้วจึงประมวลผลให้เซลล์ประสาท สั่งการ (motor neuron) ตอบสนองทันที 3.รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (chain of reflex) หรือ สัญชาตญาณ (Instinct) : คือ พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัตว์สามารถแสดงออกได้โดยไม่ต้องมี ประสบการณ์มาก่อน เช่น การดูดนมของทารก : เมื่อทารกหิวและปากได้สัมผัสกับหัวนม ทารกจะดูดนม ซึ่งจะ กระตุ้นให้กลืนนมที่ดูด เป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ต่อเนื่องกันไปจนกว่าทารกจะอิ่ม

พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (Learned Behavior / Acquired Behavior) 1.การฝังใจ (Imprinting) : เป็นพฤติกรรมที่เกิดกับ สิ่งมีชีวิตแรกเกิด และในช่วงเวลาที่จำกัดเท่านั้น เช่น สัตว์จำพวกนก มีช่วงเวลาทำให้เกิดการฝังใจ ประมาน 36 ชม. หลังฟักออกจากไข่ ระยะนี้ เรียกว่า “ระยะวิกฤต (Critical period)” ถ้าเกินช่วงเวลานี้ไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมดังกล่าว 2.ความเคยชิน (habituation) : สัตว์จะมีพฤติกรรม การตอบสนองต่อ สิ่งเร้าลดลงเรื่อยๆ (เพิกเฉย) เช่น นกกา : เมื่อพบหุ่นไล่กา (ซึ่งถือเป็นสิ่งเร้า) ใน ครั้งแรกจะบินหนี แต่เมื่อเรียนรู้ว่าหุ่นไล่กา ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว นกกาก็จะเลิกบินหนี 3. การลองผิดลองถูก (trial and error learning) : เป็นพฤติกรรม ที่สัตว์ ต้องเผชิญต่อสิ่งเร้าที่ยังไม่ทราบว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสีย เช่น การทดลองของแมว : นำแมวใส่ไว้ในกรงและวางอาหารไว้ด้านนอก กรงให้แมวสามารถมองเห็นได้ ด้านในกรงมีกลไกที่สามารถเปิด การ ทดลองครั้งแรกๆ แมวจะหาวิธีออกจากกรง และบังเอิญเปิดกลไกได้ ซึ่งจะใช้เวลานาน แต่เมื่อแมวได้เรียนรู้วิธีการเปิดแล้ว จะสามารถ เปิดกรงได้ไวขึ้น 4.การมีเงื่อนไข (conditioning หรือ condition reflex) : เป็นการ เรียนรู้ของสัตว์ที่มีต่อสิ่งเร้าสองสิ่ง เช่น สุนัข : จะน้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหาร (สิ่งเร้าแท้) ทดลองโดยเมื่อให้ อาหารสุนัขทุกครั้งทำการสั่นกระดิ่งควบคู่ ไปด้วย เมื่อสุนัขได้เรียนรู้ ถ้าทำการสั่นกระดิ่ง (สิ่งเร้าเทียม) สุนัขจะน้ำลายไหล 5.การใช้เหตุผล (reasoning) : เป็นการใช้ความสามารถของสัตว์ตอบโต้ ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เป็นพฤติกรรมที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น รวมทั้งคน เนื่องจากมีสมองและระบบประสาทที่เจริญมากกว่าสัตว์อื่น

พฤติกรรมการสื่อสารของสัตว์ (Signal and Communication) 1.การสื่อสารด้วยท่าทาง (visual signal) เช่น ผึ้ง: ผึ้งสำรวจสามารถส่งข่าวให้ผึ้งงานได้ว่าที่ใดมีอาหาร โดยการ เต้นรำ 2 แบบ คือ - การเต้นรำแบบวงกลม (round dance) : ใช้เมื่ออาหารอยู่ใกล้ ไม่เกิน 80 เมตร โดยการเต้นรำแบบนี้ไม่ สามารถบอกทิศทาง ของอาหารได้ - การเต้นรำแบบเลขแปด (wagging dance) : ใช้บอกตำแหน่ง และระยะทางของอาหารได้ อัตราการ เต้นระบำสายท้องจะถี่ขึ้น หากแหล่งอาหารอยู่ไกล และใช้ดวงอาทิตย์เป็นเข็มทิศใน การบอกทิศทาง 2.การสื่อสารด้วยเสียง (Sound signal) เช่น เสียงขู่ : เสียงคำรามของสิงโต, เสียงเห่าของสุนัข, งูหางกระดิ่ง สั่นหาง เสียงเรียกคู่ : เสียงกบ-คางคก, เสียงจิ้งหรีดตัวผู้, เสียงนกร้อง เสียงเรียกรวมกลุ่ม เช่น เสียงนกร้อง, เสียงไก่ขัน, เสียงแกะ เสียงกาหนดสถานที่ : ค้างคาวและโลมาใช้เสียงนำทาง 3.การสื่อสารด้วยการสัมผัส (physical signal) เช่น สุนัข : เลียปากสุนัขตัวอื่นแสดงความเป็นมิตร แมงมุม : ตัวผู้จะเคาะใยแมงมุมตัวเมียสื่อสารเพื่อผสมพันธุ์ 4.การสื่อสารด้วยสารเคมี (Chemical signal) เช่น เสือ แมว สุนัข : ใช้ฉี่เป็นเครื่องบอกอาณาเขตของตัวเอง มด : ใช้ฟีโรโมน เป็นตัวนำทาง ทำให้มดเดินตามกันเป็นขบวนได้

ฟีโรโมน (Pheromone) 1.ประเภทของฟีโรโมน 1) releaser pheromone : ฟีโรโมนที่มีผลทำให้พฤติกรรมต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น มีผลให้เกิดการรวมกลุ่ม (aggregation) เช่น นางพญาปลวก ปล่อยสาร ทำให้ปลวกงานรวมกลุ่มกัน มีผลดึงดูดเพศตรงข้าม (sex attractant) เช่น ผีเสื้อกลาง คืนตัวเมียหลั่งสารดึงดูดเพศตรงข้ามจากต่อม ใต้ท้อง ถ้านำสารนี้ ไปป้ายที่บริเวณใด ตัวผู้จะบินเวียนรอบวัตถุนี้เพื่อต้องการผสม พันธุ์ 2) primer pheromone : ฟีโรโมนที่มีผลต่อ \"สรีระภายใน ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ฟีโรโมนราชินีผึ้ง (queen substance) » ปล่อยฟีโรโมนเพื่อ ทำให้ผึ้งงานเป็นหมัน ไม่ให้สืบพันธุ์ 2.การปล่อยและรับฟีโรโมนของสัตว์ : มี 3 วิธี ดังนี้ 1) ปล่อยกลิ่นให้ได้รับกลิ่น (olfaction) : พบในสัตว์เกือบทุกชนิด โดยส่วนใหญ่จะเพื่อดึงดูดให้เพศตรงข้าม มาผสมพันธุ์ รองลงมาคือ การประกาศอาณาเขต เช่น เสือปล่อยฟีโรโมนออกมาพร้อมปัสสาวะ เพื่อประกาศอาณาเขต 2) ปล่อยสารเคมีให้กิน (ingestion) : ส่วนใหญ่พบในแมลง เช่น ผึ้งนางพญาสร้างสารจากต่อมบริเวณรยางค์ปาก (queen's substance) ไว้สำหรับล่อให้ผึ้งงานกินเข้าไป ซึ่งมีผลยับยั้งรังไข่ ของผึ้งงานไม่ให้เจริญ ทำให้ผึ้งงานเป็นหมัน สืบพันธุ์ไม่ได้เหมือน ผึ้งนางพญา 3) ปล่อยสารเคมีให้ดูดซึม (absorption) : พบในแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนตัวผู้ปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้หลังจากผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อน มาสัมผัส ฟีโรโมนก็จะดูดซึมเข้าไปเพื่อกระตุ้นให้เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย และสืบพันธุ์ได้ นางสาวกิ่งกาญจน์ ภัติศิริ ม.6/5 เลขที่ 17

พฤติกรรมสัตว์ แบบฝึกหัดหลังเรียน 1.การเกี้ยวพาราสีของนกยูงจัดเป็นพฤติกรรมแบบใด ก.reproductive behavior ข.conditioning behavior ค.trial and error behavior ง.reasoning behavior 2.พฤติกรรมการเรียนรู้ที่ได้จากการฝึกสัตว์ให้แสดงท่าทางต่างๆ จัดเป็น พฤติกรรมแบบใด ก.การใช้เหตุผล ข.การฝังใจ ค.การมีเงื่อนไข ง.ความเคยชิน 3.พฤติกรรมที่ช่วยให้สัตว์ผสมพันธุ์ภายในสปีชีส์เดียวกันเท่านั้นคืออะไร ก.การฝังใจและการมีเงื่อนไข ข.การฝังใจและรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง ค.ความเคยชินและการฝังใจ ง.การใช้เหตุผล 4.การเต้นรำของผึ้ง การสร้างรังของนก เป็นพฤติกรรมแบบใด ก.แทกซิส ข.รีเฟล็กซ์ ค.รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง ง.การเรียนรู้ 5.เมื่อเห็นมะนาวฝานแล้วรู้สึกน้ำลายสอ อาการเช่นนี้เป็นพฤติกรรมแบบใด ก.ความเคยชิน ข.การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข ค.การฝังใจ ง.การลองผิดลองถูก

พฤติกรรมสัตว์ เฉลยแบบฝึกหัด แบบฝึกหัดก่อนเรียน 1. ง.ระบบประสาท 2. ง.นกตามแม่ไปหาอาหาร 3. ข.ลองผิดลองถูก 4. ค.รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง 5. ข.การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข แบบฝึกหัดหลังเรียน 1. ก.reproductive behavior 2. ค.การมีเงื่อนไข 3. ข.การฝังใจและรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง 4. ค.รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง 5. ข.การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข จัดทำโดย นางสาวกิ่งกาญจน์ ภัติศิริ ม.6/5 เลขที่17


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook