Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จากน่านเจ้าถึงภูกามยาว

จากน่านเจ้าถึงภูกามยาว

Published by Guset User, 2023-01-10 06:31:18

Description: จากน่านเจ้าถึงภูกามยาว

Search

Read the Text Version

จากน่านเจา้ ถึงภกู ามยาว ดร.อภิรชั ศกั ด์ิ รัชนวี งศ์ น่านเจา้ 1281–1480 ทม่ี า https://th.wikipedia.org/wiki/ อาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรน่านเจ้า๑ หรือ เจ้าทางใต้ หรือจีน เรียกว่า สานสานโกวะ ตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 1192 โดยพระเจ้าสีนุโล แห่งเหม่งแซ ต่อมาพระเจ้าพีล่อโก๊ะได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แยกกันตั้งอยู่เป็นอิสระ 6 แคว้น คือ เหม่งแซ (Mengshe) ม่งซุย (Mengsui) ลางเซียง (Langqiong) เต็งตัน (Dengtan) ซีล่าง (Shilang) และยู่ซี (Yuexi) เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเหม่งแซได้สำเร็จ ตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า ในยุคแรก ๆ นั้น น่านเจ้าก็มสี ัมพนั ธ์กับรัฐรอบ ๆ ทั้งราชวงศฝ์ ่ายใต้ของจีนและแคว้นเล็กๆในสุวรรณภมู ิ ในรัชกาล ของจักรพรรดิถังเสวียนจง (พ.ศ. 1255–1299) ราชสำนักถัง พยายามขยายอำนาจลงใต้และมีการส่งกองทัพมา พชิ ติ อาณาจักรน่านเจา้ 2 ครง้ั ใหญ่ ๆ แต่กองทัพถังกพ็ ่ายแพย้ บั เยินกลับไป หมงซุ่ย (Mengsui)๔ เป็นสถานที่สำคัญของอาณาจักรน่านเจ้า หรือ อ้ายลาว ซึ่งเป็นอาณาจักรที่รวม กันมีสามพระองคด์ ว้ ยกัน

๒ พระเจ้าพีล่อโก๊ะ๒ เป็นกษัตริย์องคท์ ่ีสี่แหง่ ราชวงศ์สินโล ซึ่งครองอาณาจักรน่านเจ้าในจีนใต้ ประมาณปี พ.ศ.1194 - 1445 ในระยะเวลาเกือบสามร้อยปีนั้น อาณาจักรน่านเจ้ามีลักษณะเป็นไทย ครั้นราชวงศ์สินโล สิน้ สดุ ลงกก็ ลายเป็นจนี ยงิ่ ข้ึนเปน็ ลำดับ จนกระทัง่ ถูกโคน่ ลง โดยกองทัพของพระเจา้ หงวนสีโจ้งฮอ่ งเต้ หรือพระเจ้า กุบไลข่าน เมื่อปี พ.ศ.1796 พระเจ้าพีล่อโก๊ะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าโลเซงปี ในรัชสมัยของพระองค์ (พ.ศ. 1271 - 1291) พระองค์ทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับจีน เคยเสด็จไปสู่ราชสำนักจีน ช่วยจีนรบทิเบตตลอดจน ร่วมมือในการปราบการขบถและโจรผู้ร้ายด่านหัวเมือง ทรงรวบรวมแคว้นต่าง ๆ ห้าแคว้นเข้าเป็นอันหน่ึง อันเดียวกับนา่ นเจ้า เมื่อพระเจ้าสินโลได้ต้ังอาณาจกั รน่านเจ้าขึ้นนั้น มีกลุ่มชนอยู่ถึง 37 กลุ่ม จึงทรงแบง่ ออกเป็น หกแคว้น พระองค์ทรงครองแคว้นหนึ่ง อีกห้าแคว้นโปรดให้ญาติใกล้ชิดไปครอง ภายหลังแคว้นทั้งห้านี้ถือตนเป็น อิสระ พระเจ้าพีล่อโก๊ะสามารถปราบแคว้นทั้งห้าลงได้ ครั้นพระองค์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าพีล่อฝงราชโอรสได้เสวย ราชย์ตอ่ มา พระเจ้าพีล่อโก๊ะ หรือ ขุนบรมราชาธิราช หรือขุนบรม เป็นพ่อต้นตระกูลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในตำนาน ของชาวลาวปัจจุบัน๗ ตำนานของขุนบรมได้กล่าวว่า ผู้คนสมัยโบราณโหดร้ายมาก เทพองค์หนึ่งจึงได้ลงทัณฑ์ คนกลุ่มนั้นโดยทำให้โลกน้ำท่วม หลังจากนั้นเทพก็ได้ส่งผู้นำจากสวรรค์ 3 ท่าน พร้อมกับกระบือเป็นพาหนะ ผู้นำสามท่านน้ีจะได้เปน็ เจ้าแห่งคนกลุ่มใหม่บนโลก ในที่สุดผูน้ ำสามท่านกับกระบือตัวนั้นก็ได้มาเยียบแผ่นดินโลก ในเมืองแถน ต่อมาเมื่อแผ่นดินนั้นกลายเป็นนาสำหรับปลูกข้าว กระบือตัวนั้นก็ตายและมีบวบด้วยกิ่งก้านสาขา ออกมาจากรูจมูกของศพ จากตัวบวบไปถึงกิ่งก้านนั้นเผ่ามนุษย์ก็เกิดมา ซึ่งเผ่าที่มีผิวคล้ำออกมาจากบริเวณน้ัน ดว้ ยอาวธุ แหลมและอีกเผ่าหนง่ึ ออกมาจากบรเิ วณเดยี วกนั ด้วยการขุดเทพตา่ ง ๆ กไ็ ด้สอนกลุ่มคนไทสร้างบา้ นและ เก็บเกี่ยวข้าว พวกเขาได้รับการอบรมและคำสอนวิธีการประพฤติตัวและพิธีกรรมต่าง ๆ จากนั้นกลุ่มชาวไทก็ได้ ขยายใหญ่ขึ้น จึงทำให้ชุมชนต้องการผู้ปกครอง ผู้ที่จะทำให้กลุ่มชาวไทนี้อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ เทพใหญ่ จึงเลยส่งพระโอรสของพระองค์เองมีนามว่า “ขุนบรม” มาบนโลก เพื่อที่จะเป็นผู้นำของกลุ่มไทนี้ ขุนบรม ได้ปกครองกลุ่มชาวไทนี้มา 25 ปี โดยสอนพวกเขาการใช้เครื่องมือใหม่ ๆ และแนะนำศิลปะใหม่ ๆ หลังจาก 25 ปีนี้ ขุนบรมทรงได้แบ่งอาณาจักรไท โดยให้พระโอรสของพระองค์ทั้ง 7 ท่าน ครองแต่ละส่วนของอาณาจักร พระโอรสที่มีอายุสูงสุด ขุนลอ ได้ปกครองเมืองชวา (ปัจจุบันคือหลวงพระบาง: เป็นเมืองเอกของแขวง หลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมา บรรจบกันบริเวณน้นั เรยี กว่า “ปากคาน” เปน็ เมืองที่องคก์ ารยเู นสโกได้ยกยอ่ งให้เป็นมรดกโลก หลวงพระบางเป็น เมืองเก่าแก่เป็นราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรล้านช้าง สมัยแรกเริ่มสถาปนาอาณาจักรล้านช้าง แต่เดิมมีชื่อว่า \"เมืองซวา\" (ออกเสียงว่า “ซัว”) และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอซึ่งถือเป็นปฐมกษัตริย์ลาวได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราช ธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น \"เชียงทอง\" เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1916) เสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระบิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์ องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมกำลังขณะอยู่ในเมืองพระนคร หรือ เมืองเสียมราฐ และนำกองทัพนับพันกำลังเพื่อกู้ราชบัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นมาใหม่ และสถาปนาเมืองเชียงทองขึ้นเป็นราชธานีว่า “กรุงศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี” ต่อมาในรัชสมัยพระโพธิสาร ราชเจ้า พระองค์ได้ทรงอาราธนาพระบางซึง่ เดิมประดษิ ฐานอยูท่ ่ีเมืองเวียงคำขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทอง อนั เป็นนครหลวง เมอื งเชียงทองจึงมชี ื่อเรียกวา่ \"หลวงพระบาง\" นับแตน่ ้ันมา ต่อมาไดย้ กฐานะขึ้นเปน็ \"นครหลวง

๓ พระบาง\" เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 และมีพิธีการประกาศยกฐานะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561)๘ หลวงพระบาง ท่ีมา https://th.wikipedia.org/wiki/ และพระโอรสท่เี หลือได้ปกครองเมืองเชียงขวาง เมอื งอยธุ ยา เมืองเชียงใหม่ เมืองสิบสองปันนา เมืองหงสาวดี และ อกี เมอื งหนึ่งท่ีไม่มีใครรูแ้ น่นอนแต่สันนิษฐานว่าเปน็ บริเวณภาคเหนือของประเทศเวยี ดนามปัจจุบนั ดงั นี้ เชียงขวาง๙ เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ติดกับ ประเทศเวียดนาม ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,200 เมตร เมืองเอกเดิมคือเมืองคูน แต่ด้วยสภาพความเสียหายอย่างรุนแรงจากสงครามเวียดนาม จึงย้ายเมืองเอกมาเป็นเมืองโพนสวรรค์ใ นปัจจุบัน ในสมัยโบราณ เมืองนี้รู้จักกันในชื่อว่า “เมืองพวน” ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ที่นั่น หรืออพยพไปอยู่ที่อื่นเรียกว่า “ชาวไทพวน” และบริเวณนี้ยังมีทุ่งไหหิน ทิศเหนือ ติดกับแขวงหัวพัน ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม ทิศใต้ ตดิ กับแขวงบอลิคำไซ ทศิ ตะวนั ตก ติดกับแขวงหลวงพระบาง ยคุ สงครามเวยี ดนาม ในปี พ.ศ. 2513 แขวง เชียงขวางเคยเป็นสมรภูมิรบอันดุเดือดนับครั้งไม่ถ้วน ในยุคสงครามเวียดนามหรือสงครามอินโดจีน เนื่องจาก เชียงขวาง คือหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศลาว ด้วยชัยภูมิที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศ อยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ราว 400 กิโลเมตร และหากเดินทางจากเมืองโพนสะหวัน ซึ่งเป็นเมืองเอกของเชียงขวางในปัจจุบัน ข้ามเทือกเขาอันสลับซับซ้อนบนทางหลวงหมายเลข 7 ไปสุดชายแดน ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามที่ด่านน้ำกลั่น ระยะทาง 130 กิโลเมตร จึงไม่น่าแปลกที่ในช่วงสงคราม อินโดจีน บริเวณนี้เคยใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงรวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ จากประเทศเวียดนามเหนือ สู่ขบวนการปะเทดลาวที่เป็นพันธมิตรต่อกัน โดยถูกเรียกขานว่า \"เส้นทางโฮจิมินห\"์ ด้วยชัยภูมิดังกล่าว ขบวนการ ปะเทดลาวจึงได้จัดตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นที่นี่ เป็นเหตุให้ในช่วงเวลานั้น กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด บี 52 เข้ามาทิ้งระเบิดปูพรมเพ่ือทำลายล้างขบวนการปะเทดลาว ทำให้บ้านเมืองราษฎร หลายร้อยหลัง ตลอดจนวัดวาอารามถูกทำลายแทบทั้งหมด ส่งผลให้ราษฎรและทหารฝ่ายขบวนการปะเทดลาว

๔ ต้องอพยพเข้าไปอยู่ตามถ้ำและหุบเขาทั่วไปในแขวงเชียงขวางและพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบัน (๒๕๖๕) ในปัจจุบัน สภาพของซากปรักหักพังจากพิษภัยของสงครามยังคงมีรอ่ งรอยให้เห็นอยูโ่ ดยท่ัวไปในเมอื งคูน ซึ่งเป็นเมอื งเอกเดมิ ของแขวงเชียงขวาง โดยซากปรักหักพังบางแห่ง ทางรัฐบาลลาวได้อนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความ เลวร้ายของสงครามที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต ทั้งร่องรอยของหลุมระเบิดขนาดใหญ่ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป ต่อมา หลุมระเบิดบางสว่ นถูกดัดแปลงใหเ้ ป็นบ่อเลี้ยงปลาในนาข้าว ส่วนเศษซากของลูกระเบิดกไ็ ด้ถูกนำมาดัดแปลงเป็น สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ อาทิ รั้วบ้าน เสาบ้าน รางข้าวหมู ที่นั่งเล่น เป็นต้น แม้จะผ่านภาวะสงครามอันเลวร้ายมา ไม่นานนกั แต่เมอื งเชียงขวางในปัจจุบนั ก็เร่ิมฟ้นื ตัวเร่อื ย ๆ อย่างค่อยเปน็ ค่อยไป และผสมผสานสิง่ ตา่ ง ๆ ทีเ่ กิดขน้ึ ในอดีตมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับการสร้างเมืองโพนสะหวันทดแทนเมืองคูนที่ถูกทำลายลงด้วย พษิ สงคราม แผนทแี่ ขวงเชยี งขวาง เมืองโพนสะหวัน ท่ีมา https://th.wikipedia.org/wiki/

๕ เมืองอยุธยา๑๐ อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและ ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า \" ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว \" ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุมากมายกรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์ มีราชวงศ์ ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักรรวม 5 ราชวงศ์ (1) ราชวงศ์อู่ทอง (2) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (3) ราชวงศ์สุโขทัย (4) ราชวงศป์ ราสาททอง (5) ราชวงศ์บา้ นพลูหลวง จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา เป็นอดีตราชธานขี องไทยมีหลักฐาน ของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่า เป็นหลกั ฐานรว่ มสมยั ท่ใี กลเ้ คยี งเหตกุ ารณม์ ากทส่ี ุด ซ่ึงเมอื งอโยธยาหรืออโยธยาศรรี ามเทพนคร หรอื เมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และ มีวฒั นธรรมทรี่ งุ่ เรืองแห่งหนง่ึ มกี ารใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมอื ง 3 ฉบบั คือ พระอยั การลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ใน ปลายปีเดียวกันแล้วทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุ ธยาไปยัง กรุงธนบุรีเพื่อสร้างเมืองใหม่ แต่กรุงศรีอยุธยาไม่ได้ กลายเป็นเมืองร้าง ยังคงมีคนรักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และ ราษฎรที่หลบหนีไปได้กลับเข้ามาอยู่รวมกัน ต่อมาได้รับการยกย่อง เป็นเมืองจัตวาเรียก \"เมืองกรุงเก่า\" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียวกับ สมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครอง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลข้ึ นโดยให้ รวมเมืองที่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการ มณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดต้ัง มณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหาร การปกครองมากขึ้นการสร้างสิ่งสาธารณูปโภค หลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันใน สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยาเพื่อเป็นการ ฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปี พ.ศ.2498นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และมอบเงินจำนวน200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะ โบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาเป็น \" มรดกโลก \" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถาน เมืองอยุธยา

๖ ทม่ี า https://travel.mthai.com/blog/168577.html เมืองเชียงใหม่ อาณาจักรล้านนา๑๑ (Lan Na Kingdom) คือ ราชอาณาจักรของชาวชาวไทยวน ในอดีตตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑล ยูนนาน ประเทศจีน ภาคตะวันออกของประเทศพม่า เช่น ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็น เมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนใน ปัจจุบัน ไดแ้ ก่ จังหวดั เชยี งใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแมฮ่ อ่ งสอน[3] โดยมเี มืองเชยี งใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง เคยถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการ หรือรัฐส่วยของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านช้าง จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมือง ส่วนหนึ่งของอาณาจักรตองอูสมัยญองยานไปในที่สุดและรวมเข้ากับสยามจนเป็นภาคเหนือตอนบนของประเทศ ไทยจนถึงปัจจุบัน ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1800 รัฐสยามหยุดการเป็นเอกราชของล้านนาและรวม อาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสยาม โดยเริ่มต้นใน ค.ศ. 1874/๒๔๑๗ เมื่อรัฐสยามปรับเปลี่ยนอาณาจักร ล้านนาไปเป็นมณฑลพายัพ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสยามเต็มตัว อาณาจักรล้านนาถูกควบคุมตามระบบ เทศาภิบาลของสยามที่จัดตั้งใน ค.ศ. 1899/๒๓๓๒ ใน ค.ศ. 1909/๒๔๕๒ อาณาจักรล้านนาไม่ได้เป็นรัฐอิสระ อีกต่อไป เพราะสยามได้แบ่งเขตแดนของตนกับอังกฤษและฝรั่งเศส ปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา กลายเป็น 8 จงั หวดั ในภาคเหนอื ตอนบนของประเทศไทย ล้านนา หมายถึง ดนิ แดนท่ีมีนานบั ลา้ น หรือมีท่ีนาเป็น

๗ จำนวนมากคูก่ บั ล้านชา้ ง คอื ดนิ แดนท่ีมีช้างนับล้านตวั เม่อื ปี พ.ศ. 2530 คำวา่ \"ล้านนา\" กบั \"ลานนา\" เปน็ หัวข้อ โต้เถียงกัน ซึ่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมี ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นประธาน ได้ให้ข้อยุติว่า \"ล้านนา\" เป็นคำที่ถูกต้อง และเป็นคำที่ใช้กันในวงวิชาการ[9]ล้านนายังมีชื่อใกล้เคียงและสัมพันธ์กับอาณาจักร ใกล้เคียงอื่นอีกด้วย เช่น สิบสองปันนา ปัญหาที่นำไปสู่การโต้เถียงกันนั้น สืบเนื่องมาจากในอดีตการเขียน มักไม่ค่อยเคร่งครัดในเรื่องวรรณยุกต์ แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า แม้จะเขียนโดยไม่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ แต่ให้อ่าน เหมือนมีวรรณยุกต์โท สำหรับคำ \"ลานนา\" น่าจะมาจากพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวที่ว่า \"ลานนาหมายถงึ ทำเลทำนา\" ซึ่งทำให้คำว่าลานนาใช้กันมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ[9] ภายหลัง พ.ศ. 2510 นักวิชาการระดับสูงพบว่าล้านนาเป็นคำที่ถูกต้องแล้ว และชัดเจนย่ิ งขึ้นเมื่อ ดร. ฮันส์ เพนธ์ (Dr. Hans Penth) ค้นพบคำว่า \"ลา้ นนา\" ในศลิ าจารกึ ทีว่ ัดเชียงสา ซึง่ เขียนขึน้ ในปี พ.ศ. 2096 การตรวจสอบคำ ว่า ล้านนา ได้อาศัยศัพท์ภาษาบาลี โดยพบว่าท้ายคัมภีร์ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง เขยี นว่า ทสลกฺขเขตฺตนคร (LN-Dassalakakettanakorn.png) /ทะสะลกั ขะเขตตะนะคอน/ แปลวา่ เมอื งสิบ แสนนา เป็นคำคู่กับเมืองหลวงพระบางที่ชื่ออาณาจักร ศรีสตนาคนหุต หรือช้างร้อยหมื่น ล้านนาคือชื่อที่ถูกต้อง (ธเนศวร์ เจริญเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) อธิบายไว้ดังนี้ คนไทยรู้จักอาณาจักรลานนาเป็นเวลานานแล้ว อาณาจักรแห่งนี้รุ่งเรืองในยุคเดียวกันกับอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง อาณาจักรลานนา มีบริเวณที่ตั้งอยู่ในดินแดน 8 จังหวัดของภาคเหนือตอนบนของไทยในปัจจุบัน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน นักวิชาการไทยได้ตื่นตัวหันมาสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและ ปัญหาท้องถิ่นในปจั จุบนั มากขึ้น ผลพวงอันหนึ่งของการศึกษาก็คือ ข้อเสนอท่ีว่าอาณาจักรลานนานั้น ควรจะเรียก เสียใหม่ให้ถูกต้องว่า “ อาณาจักรล้านนา ” ซึ่งแปลว่า ที่นาจำนวน 1 ล้าน ด้วยเหตุผลดังนี้ หนึ่ง คำว่าลานนา ไมม่ ใี นภาษาเหนือ ไทยเหนือใช้คำว่าลานเฉพาะกับต้นลานและใบลาน สว่ นลานซ่ึงแปลวา่ ท่รี าบโล่งภาษาไทยเหนือ เรียกว่า ข่วง และเรียกลานที่ใช้สำหรับนวดข้าวว่า ตะลางตีข้าว สอง การวัดพื้นที่ในภาคเหนือยุคเก่า วัดเป็น ร้อยนา ปันนา หมื่นนา แสนนา และล้านนา และจำนวนดังกล่าวเป็นตำแหน่งทางราชการด้วย จากหลักฐานที่พบ เขตเมืองเชียงแสนมี 65 ปันนา เขตเมืองเชียงรายมี 27 ปันนา และเขตเมืองเชยี งรุ่งมี 12 ปันนา พม่ามักเรียกชอ่ื ตามชาติพนั ธุ์ พม่าจึงเรียกล้านนาว่า “ยวน” และเรยี กหวั เมืองของชาวไทใหญ่วา่ “ชาน” หลกั ฐานจีนเรียกล้านนา ว่า ปาไป่สีฟู่กั๋ว แปลว่า \"อาณาจักรสนมแปดร้อย\" เป็นชื่อที่ราชวงศ์หยวนใช้เรียกอาณาจักรล้านนาที่มาของชื่อมี อธิบายในพงศาวดารราชวงศ์หยวนฉบับใหม่ กล่าวไว้ว่า \"อันปาไปสีฟู่ [สนมแปดร้อย] นั้น ชื่อภาษาอี๋ว่าจิ่งไม่ [เชยี งใหม่] เล่าลอื กนั ว่าผเู้ ปน็ ประมุขมีชายาถึงแปดร้อย แต่ละคนเป็นผูน้ ำค่ายหนง่ึ จงึ ไดน้ ามตามน้ี…\" การใช้คำว่า \"ล้านนาไทย\" นั้น เป็นเสมือนการเน้นความเป็นไทย ซึ่งใช้กันมาในสมัยหลังด้วยเหตุผลทางการเมือง คำว่าล้านนา น่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพญากือนา เนื่องจากพระนาม \"กือนา\" หมายถึงจำนวนร้อยล้าน และต่อมาคำว่า ล้านนาไดใ้ ชเ้ รยี กกษัตริยแ์ ละประชาชน โดยแพรห่ ลายมากในสมยั พระเจ้าตโิ ลกราช

๘ วดั เจดยี ์หลวง สรา้ งขนึ้ ในช่วงยุคทองของล้านนา ทีม่ า https://th.wikipedia.org/wiki/ เมืองสิบสองปันนา๑๒ เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของชาวไทลื้อ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑล ยูนนาน ประเทศจีน มีเมืองหลวง คือ เมืองเชียงรุ่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่และมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน ซึ่งในประเทศ จีนเรียกว่า \"แม่น้ำหลานชาง\" ในประเทศจีน พื้นที่แห่งนี้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างทางไปจากชาวจีนฮั่น ทั้งประชากร สถาปัตยกรรม ภาษา และวัฒนธรรม ชาวไทลื้อ นั้นมีความคล้ายคลึงกับของชาวไทใหญ่ ชาวไทเขินและชาว ไทยวน (ไท-ยวน) เป็นอย่างมาก รวมไปถึงชาวไทยและชาวลาว สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา เป็นคำภาษา ไทลื้อ มีความหมายว่า \"สิบสองเมือง\" คำว่า \"พันนา\" เป็นหน่วยการปกครองของคนไทในอดีต ตามหนังสือ พงศาวดารโยนก ชื่อนี้สอดคล้องกับเขตปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทในอินโดจีนของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 ถึง พ.ศ. 2488 คอื สิบสองจไุ ท เขตปกครองตนเองชนชาตไิ ท สบิ สองปนั นามเี นื้อที่ 19,700 ตาราง กโิ ลเมตร มีอาณาเขตติดกับแขวงหลวงนำ้ ทา แขวงพงสาลีของประเทศลาว และรัฐชานของพมา่ โดยมชี ายแดนยาว 966 กโิ ลเมตร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านตอนกลาง ในสมยั โบราณ เคยเปน็ ท่ตี งั้ ของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวง อยู่ที่หนองแส หรือ เมืองต้าลี่ ในประเทศจีนปัจจุบัน สิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อประมาณ 825 ปกี ่อน โดย พญาเจือง หรือสมเดจ็ พระเจา้ หอคำเชยี งรุ่งท่ี 1 ในตำราของไทย เมอื่ พุทธศตวรรษ ที่ 18 ชาวมองโกลได้รุกรานอาณาจักรล้านนา ส่วนสิบสองปันนานั้นจึงได้เป็นของมองโกล และก็ไ ด้เป็นของจีน

๙ ต่อมา (ตามประวัติศาสตร์จีน) การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาล ครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำ เชียงรงุ่ ที่ 3 (ทา้ วอา้ ยปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตา๋ น จากนัน้ เกดิ ความวนุ่ วายเปลี่ยนแปลงไปเร่ือย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยาย อาณาเขตเข้าไปยึดถึงเมืองเชียงตุง เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลอื้ จากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หั วเมืองประเทศราช หากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาวทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุงและแถบใต้คง สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้ง โดยชาว มองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจนี อีกคร้ังในปี พ.ศ. 1835 การสน้ิ สุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับ อำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ (จุ่มกาบหลาบคำ) มาให้เป็นตราแผ่นดิน แทนตรานกหัสดลี ิงก์ การเปล่ียนช่อื เจ้าผคู้ รองนคร จากชอ่ื ภาษาไทล้ือเป็นภาษาจนี เรม่ิ ข้ึนในยุคน้ี เจ้าผู้ครองนคร ชาวไทลื้อ ถูกเรียกว่า เจ้าแสนหวีฟ้า เมื่อพุทธศตวรรษที่ 21 พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอู และขยายอาณาเขต ของตนไปทางตะวันออก พม่าได้โจมตีสิบสองปันนา ต่อจากนั้นจึงได้แบ่งเมืองเชียงรุ่งเป็น สิบสองปันนา และเป็น เมืองในปจั จบุ ัน ไดแ้ ก่ เมืองฮาย ม้าง หนุ แจ้ ฮงิ ลวง องิ ู ลา พง อู่ เมืองออ่ ง และเชยี งรุ่ง จงึ เรียกเรียกเมีองแถว ๆ นี้รวมกันว่า สิบสองปันนา ในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่าและศาสนาได้เข้าไปในสิบสองปันนา พันนา ในอดตี ท้ังหมดของสบิ สองปันนามที ั้งหมด ดงั นี้ (๑) เมืองเชยี งรงุ่ เมอื งยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา (๒) เมืองแจ เมืองมาง (ฟากตะวนั ตก) เมืองเชียงลู เมอื งออง เป็น 1 พันนา (๓) เมืองลวง เปน็ 1 พนั นา (๔) เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา (๕) เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา (๖) เมืองงาด เมืองขาง เมืองวัง เป็น 1 พันนา (๗) เมอื งหล้า เมอื งบาน เปน็ 1 พันนา (๘) เมอื งฮิง เมืองปาง เปน็ 1 พันนา (๙) เชียงเหนอื เมอื งลา เปน็ 1 พันนา (๑๐) เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา (๑๑) เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา (๑๒) เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา (๑๓) เมืองภูแถนหลวง เวียงคำแถน เป็น 1 พันนา สมัยหลงั ราชวงศ์มังราย หลังจากพระเจา้ กาวิละได้ปลดปลอ่ ยเชียงใหม่และอาณาจักรล้านนาจากพม่าแล้ว พระเจา้ กาวิละ ทรงพิจารณาเหน็ ว่าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นเป็นเมืองรา้ ง เพราะผู้คนหนีภัยสงคราม อีกทัง้ ในกำแพงตัวเมอื ง เชียงใหม่ยังมีต้นไม้เถาวัลย์ปกคลุม ชุกชุมด้วยเสือ สัตว์ป่านานาพันธุ์ ผู้คนของพระองค์มีน้อยไม่อาจบูรณะ ซ่อมแซมเมืองใหญ่ได้ จึงยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนโดยไปตีเมืองไตในดินแดน ๑๒ ปันนา ทั้งไตลื้อ ไตโหลง (ไทใหญ)่ ไตขึน (คนไตลื้อในเมืองเชียงตุง) ไตลื้อเมืองยอง ไตลื้อเมืองลวง ไตลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า มาอยู่ที่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และน่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรยี กกนั ว่ายุค \"เก็บผกั ใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมอื ง\" อันเป็น วิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงก่อนนั้น พม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่พุกาม และมัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก ในช่วงสงครามโลกสิบสองปันนานั้น ตกอยู่ในแผ่นดินจีน ถูกยุบเมืองเชียงรุ่งจากเมืองหลวง เป็นแค่เมือง พรอ้ ม ๆ กบั เจ้าทง้ั หลายดว้ ย โดยเคยมเี จา้ ปกครองอยู่ถึง 44 พระองค์ โดยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชยี ง รุ่งที่ 44 หรือเจ้าหม่อมคำลือ เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ เป็นราชบุตรของเจ้าหม่อมแสนเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนนั้นมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าหม่อมคำลือ แต่พระองคท์ ่านเองไม่มบี ตุ ร จงึ ได้ขอเจ้าหมอ่ มคำลอื เป็นราชบตุ รบุญธรรม เจ้าหมอ่ มคำลือเกิดเมอื่ ปี ค.ศ. 1928/ ๒๔๗๑ และไปเรียนหนังสือที่เมืองฉงชิ่งเมื่ออายุ 16 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1944/๒๔๘๗ ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในชว่ งน้นั เกิด สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945/๒๔๘๒-๒๔๘๘) พธิ ีฮับเมืองจึงไมส่ มบูรณ์ ท่านได้ กลับไปเรียนเปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949 -1950/๒๔๙๒-๒๔๙๓

๑๐ ท่านจึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน โดยที่ยังมิได้บริหาร ราชการแผ่นดินเลย เนื่องจากหลังจากทำพิธีฮับเมืองครั้งแรกแล้ว ท่านได้แต่งตั้งให้เจ้าหม่อมแสนเมือง พระราช บิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นท่านก็ไปเรียนหนังสือต่อ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ท่านได้เรียนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยยูนนาน และได้แต่งงานกบั “สิว์ จิ๊ว เฟิน” ชาวจีนคุนหมิง ในปี ค.ศ.1953/๒๔๙๖ ก่อนที่จะทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ อีก 8 ปี ที่สถาบันวิจัยชนชาติส่วนน้อย แห่งชาติ สังกัดสภาวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ต่อมาเจ้าหม่อมแสนเมืองได้ขอให้รัฐบาลจีน ย้ายทั้งสองกลับมาที่คุนหมิง โดยมาทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษา ซึ่งรวมถึงอักษรไทลื้อ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971/๒๕๑๔ รัฐบาลจีนมีคำสั่งให้เจ้าหม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำงานในสวนอ้อย ในอำเภอ เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลา 9 ปี การใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ “สิว์ จิ๊ว เฟิน” เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วยและหลังจาก “เติ้ง เสี่ยวผิง” ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบายที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบทเป็นนโยบายที่ผิดพลาดในปัจจุบัน ดังนั้น เจ้าหม่อมคำลือและภรรยา จึงมีโอกาสกลับคุนหมิง โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติในมหาวิทยาลัย ชนชาติยูนนาน จนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์” หลังจากเกษียณอายุแล้ว ทางการจีนได้ให้ฐานะทางสังคมแก่เจ้าหม่อมคำลือ ในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น “รองประธานสภาที่ปรึกษา การเมืองระดับมณฑล” และ “กรรมการสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ” ซึ่งมีที่พักและรถประจำตำแหน่งให้ แต่ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว โดยคนที่มี “แซ่เต๋า” ในสิบสองปันนาคือ เจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมือง ทง้ั หลายเหล่าน้ี จงั หวดั ปกครองตนเองสบิ สองปนั นาในมณฑลยูนนาน จงั หวดั ปกครองตนเองสิบสองปันนา แบ่ง ๓ อำเภอ ท่มี า https://th.wikipedia.org/wiki/ หมายเหตุ ภาพขวามือ (๑) สชี มพู-อำเภอเมอื งฮาย (๒) สีฟา้ -นครเชียงรุ่ง (๓) สีเขียว-อำเภอเมอื งล้า

๑๑ เมืองหงสาวดี๑๓ อาณาจักรหงสาวดี บางครั้งเรียก กรุงหงสาวดี หรืออย่างส้ัน พะโค) เป็นอาณาจกั รท่ี ปกครองพม่าตอนล่างตั้งแต่ พ.ศ. 1830 จนถึง พ.ศ. 2082 และระหว่าง พ.ศ. 2093–2095 เป็นอาณาจักร ของผู้ที่พูดภาษามอญ ก่อตั้งในฐานะรามัญประเทศ โดยพระเจ้าฟ้ารั่วหรือมะกะโท หลังจากการล่มสลายของ อาณาจักรพุกามใน พ.ศ. 1830 เป็นประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัยและราชวงศ์หยวนของมองโกลที่ปกครอง จีน อาณาจักรนี้เป็นอิสระจากสุโขทัยใน พ.ศ. 1873 แต่ยังคงเป็นพันธมิตรกับสามดินแดนสำคัญของอาณาจักร คือ เขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี หงสาวดีและเมาะตะมะ เมาะตะมะได้เกิดกบฏขึ้นใน พ.ศ. 1906– 1931 การปกครองของพระเจ้าราชาธิราชใน พ.ศ. 1927–1964 ได้รวมอาณาจักรของชาวมอญเข้าเป็น หนึ่งเดียวและประสบความสำเร็จต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรอังวะ อาณาจักรของผู้ที่พูดภาษาพม่า จากทางเหนือ ในช่วงสงครามสี่สิบปี (พ.ศ. 1928–1967) และสามารถขยายตัวไปทางตะวันตกได้อาณาจักร ยะไข่ ไว้ในอำนาจระหว่าง พ.ศ. 1956–1964 สงครามสิ้นสุดลงโดยเสมอกัน แต่ถือเป็นชัยชนะของอาณาจักร หงสาวดีที่สามารถขัดขวางการสถาปนาอาณาจักรพุกามอีกครั้งของอังวะ ในช่วงหลายปีหลังสงครามหงสาวดี ได้ช่วยเหลือรัฐบรรณาการทางตอนใต้ของอังวะ คืออาณาจักรแปร และอาณาจักรตองอูในการก่อกบฏต่ออังวะ หลังสงครามหงสาวดีเข้าสู่ยุคทองในขณะที่อาณาจักรอังวะตกต่ำลง ราว พ.ศ. 1963 –2073 หงสาวดี เป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดในบรรดาอาณาจักรทั้งหลายที่เกิดขึ้นหลังอาณาจักรพุกามล่มสลาย ภายใต้การ ปกครองของกษัตริย์หลายพระองค์ เช่น พญารามที่ 1, พระนางเชงสอบู, พระเจ้าธรรมเจดีย์ และพญารามที่ 2 อาณาจักรนี้มีบทบาทสำคัญทางการค้าในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย เป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงของพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ทั้งยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศรีลังกา มีการปฏิรูปและสนับสนุนศาสนาจนแพร่กระจาย ไปทั่วประเทศในภายหลัง อาณาจักรค่อย ๆ อ่อนแอลงตั้งแต่ พ.ศ. 2077 ภายใต้การรุกรานอย่างต่อเนื่อง โดยอาณาจักรตองอูจากพม่าตอนบน พระเจ้าสการะวุตพี ไม่สามารถต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรตองอู ซึ่งนำโดยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระเจ้าบุเรงนอง ตองอูเข้ายึดครองหงสาวดีและที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีได้ ใน พ.ศ. 2081–2082 และเมาะตะมะใน พ.ศ. 2084 อาณาจักรนี้ฟื้นตัวขึ้นมาได้อีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2093 หลังพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สิ้นพระชนม์ แต่มีอำนาจปกครองเพียงแค่เมืองหงสาวดี ก่อนถูกพ ระเจ้า บุเรงนองปราบไดอ้ ย่างรวดเร็วในเดือนมนี าคม พ.ศ. 2094 แม้ว่ากษัตริยใ์ นราชวงศต์ องอจู ะปกครองพม่าตอนล่าง จนถึงพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ยุคทองของอาณาจักรหงสาวดียังเป็นที่จดจำของชาวมอญในพม่าตอนล่าง ปี พ.ศ. 2283 ไดม้ กี ารก่อกบฎต่อตา้ นราชวงศ์ตองอูที่ออ่ นแอและกอ่ ตัง้ อาณาจักรหงสาวดีใหม่ ธงอาณาจักรหงสาวดี พ.ศ. 1830–พ.ศ. 2094 ทม่ี า https://th.wikipedia.org/wiki/

๑๒ นกั วชิ าการหลายท่านได้นับถอื ว่า นิทานของขุนบรมไดอ้ ธบิ ายการอพยบของกลมุ่ ชาวไทจากดินแดนจีน (เปรียบเทียบเป็นสวรรค์ในตำนาน) ไปภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เปรียบเทียบเป็นดินแดนใหม่) ระบบของ การแบ่งและขยายอาณาจักรสำหรับพระโอรสทั้ง 7 ในตำนานก็แสดงให้เห็นถึงการบริหารองค์กรหมู่บ้านของชาว ไทโบราณ หม่บู า้ นเหลา่ นน้ั เรยี กว่า \"เมอื ง\" ราชวงศข์ นุ บรมมหาราชา กษตั ริยข์ องอาณาจักรน่านเจา้ (อา้ ยลาว) ได้มี พระโอรส 9 องค์ และ 7 ใน 9 ไดค้ รองเปน็ กษัตริย์ของอาณาจกั รตา่ งๆ ในบรเิ วณทเี่ รียกวา่ \"แหลมทอง\" ไดแ้ ก่๗ ๑. ขุนลอ (อา้ ยลอ) ปกครองเมอื งชวา (ปจั จบุ ันหลวงพระบาง) ๒. ขนุ ผาลา้ น (ยี่ผาลา้ น) ปกครองเมอื งสบิ สองปันนา ๓. ขนุ จุลง (สามจลุ ง) ปกครองเมืองโกดแทแ้ ผนปม (ปัจจุบันเวยี ดนาม) ๔. ขุนคำผง (ไสคำผง) ปกครองเมืองเชียงใหม่ ๕. ขุนอนิ (ง่วั อิน) ปกครองเมอื งศรอี ยธุ ยา ๖. ขนุ กม (ลกกม) ปกครองเมอื งหงสาวดี (อนิ ทรปัต) ๗. ขนุ เจือง (เจด็ เจอื ง) ปกครองเมืองพวน (เชียงขวาง) พญามังรายจากเมอื งเชียงใหม่และพระเจ้าอู่ทองจากเมอื งศรีอยุธยาไดร้ บั คำนับถอื ว่าเดมิ ทีแล้วมาจาก ราชวงศ์ขนุ บรมของลาว นักวิชาการ David K. Wyatt๗ เชื่อว่าตำนานของขุนบรมสามารถช่วยให้ความเข้าใจลึกซ้ึง ประวัติศาสตร์ของชาวไทโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ตำนานของขุนบรมหลายรุ่นเกิดข้ึนนานทสี่ ุด เมื่อ พ.ศ. 1241 ในเชียงขวาง และอาณาจกั รกลุม่ คนท่ีพดู กลุ่มภาษาไทก็มีการสร้างอาณาจักรต่างๆ ในปีหลังจาก พ.ศ. นั้น ข้อมูลนี้สามารถอธิบายการขยายตัวของกลุ่มชาวไท และสามารถให้เหตุผลที่เป็นตำนานว่า ทำไมชาวไท ถึงแยกกันอยู่แบบนี้ นักวิเคราะห์ผู้ชำนาญด้านภาษาได้วิเคราะห์ว่าการแบ่งกลุ่มของชาวไทโบราณเกิดขึ้น เมื่อศตวรรษที่ 7 และ 11 การแบ่งแยกนี้เกิดขึ้นคู่กันกับเส้นภูมิภาคคล้ายกับการแบ่งแยกในตำนานของขุนบรม และกลุ่มไทได้อพยบออกมาจากแผ่นดินที่เคยอาศัยมานานในเวียดนามปัจจุบัน ซึ่งในบริเวณนั้นก็ยังมีคนพูด กลุ่มภาษาไทอยู่ทีอ่ าจจะแยกตวั ออกมาก่อนกลุ่มอื่นในประวัตศิ าสตร์แล้ว กลุ่มภาษาไท (Tai languages) หรือ กลุ่มภาษาจ้วง-ไท (Zhuang–Tai languages)๑๔ เป็นกลุ่มภาษา ย่อยกลุ่มหนึ่งของตระกูลภาษาขร้า-ไท ประกอบด้วย ภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษา ไทใหญ่ในรัฐชานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้ กลุ่มภาษาไท แบ่งเปน็ (๑) กลุ่มภาษาไทเหนือ ภาษาแสก (ลาว) ภาษาจ้วงเหนือ (จีน) ภาษาปู้อี (Buyi) (จีน) ภาษาไทแมน (ลาว) E (จีน) (๒) กลุม่ ภาษาไทกลาง ภาษาจว้ งใต้ (จีน) ภาษาม่านเชาลาน (เวยี ดนาม) ภาษานงุ (เวยี ดนาม) ภาษาตัย่ (เวียดนาม) ภาษาซนึ ลาว (Ts'ün-Lao) (เวียดนาม) ภาษานาง (เวยี ดนาม) (๓) กล่มุ ภาษาไทตะวนั ตกเฉยี งใต้ ภาษาไทหย่า (จนี ) ภาษาพูโก (ลาว) ภาษาปาดี (จีน) ภาษาไททัญ (เวียดนาม) ภาษาต่ัยซาปา (เวียดนาม) ภาษาไทโหลง (ไทหลวง) (ลาว) ภาษาไทฮ้องจีน (จีน) ภาษาตุรุง (อินเดีย) ภาษายอง (ไทย) ภาษาไทยถิ่นใต้ (ปักษ์ใต้) (ไทย) กลุ่มภาษา ไทกลาง-ตะวันออก กลุ่มภาษาไทกลาง-ตะวันออก แบง่ ยอ่ ยออกเป็น (๑) ภาษาเชียงแสน ภาษาไทดำ (เวยี ดนาม) ภาษาไทย ถิ่นเหนือ (ภาษาล้านนา, ภาษาไทยวน) (ไทย, ลาว, พม่า) ภาษาไทโซ่ง (ไทย) ภาษาไทย (ไทย) ภาษาไทฮ่างตง (เวียดนาม) ภาษาไทขาว (ภาษาไทด่อน) (เวียดนาม) ภาษาไทแดง (ภาษาไทโด) (เวียดนาม) ภาษาไทเติ๊ก (เวยี ดนาม) ภาษาทลู าว (เวียดนาม) (๒) ภาษาลาว-ผไู้ ท ภาษาลาว (ลาว) ภาษาญอ้ (ไทย) ภาษาพวน (ไทย, ลาว)

๑๓ ภาษาผู้ไท (ไทย) ภาษาอีสาน (ภาษาไทยถิ่นอีสาน) (ไทย, ลาว) (๓) ภาษาไทตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) ภาษา อาหม (รัฐอัสสัม - สูญแล้ว ภาษาอัสสัมสมัยใหม่จัดอยู่ในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน) ภาษาอ่ายตน (รัฐอัสสัม) ภาษา ลื้อ (ภาษาไทลื้อ) (จีน, เวียดนาม, ไทย, ลาว, พม่า) ภาษาคำตี่ (รัฐอัสสัม, พม่า) ภาษาเขิน (พม่า) ภาษาคำยัง (รัฐอัสสมั ) ภาษาพ่าเก (รฐั อัสสัม) ภาษาไทใหญ่ (ภาษาชาน) (พม่า) ภาษาไทใตค้ ง (ภาษาไทเหนือ) (จีน, เวียดนาม, ไทย, ลาว) ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ หมายเหตุ การกระจายของภาษากลุม่ ไท ไทเหนอื /จว้ งเหนอื ไทกลาง/จ้วงใต้ ไทตะวันตกเฉียงใต้/ไทย

๑๔ ตัวเขยี นไท ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ พ.ศ. 1291 พระเจ้าโก๊ะล่อฝง เป็นพระโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะ (Piluoge)๓ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 1291 เมื่อพระบิดาได้สิ้นพระชนม์ เป็นกษัตริย์น่านเจ้า (พ.ศ. 1291-1322) เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1322 รวมพระชนมายุได้ 67 พรรษา ทรงส่งกองทัพไปโจมตีราชวงศ์ถังบ้าง เพื่อขยายอำนาจ กองทัพน่านเจ้า ประสบชัยชนะใหญ่ ๆ หลายครั้ง เพราะราชสำนักถังเริ่มอ่อนแอลง จวบจนเมื่อเกิดกบฏอันลู่ซานในช่วงปลาย รชั สมยั ของจักรพรรดิถังเสวียนจง กองทัพถงั ก็ตอ้ งเจรจาและยอมรับอำนาจของพระเจ้าโก๊ะล่อฝงในแดนใต้ พ.ศ. 1372 กองทัพน่านเจ้า๓ สามารถบุกลึกเข้าไปถึงใจกลางมณฑลเสฉวน และยึดเอาเฉิงตูเมืองหลวง ของมณฑลมาได้ สร้างความพรั่นพรึงให้ราชสำนักถังมาก ภายหลังจากรัชสมัยของพระเจ้าโก๊ะล่อฝง น่านเจ้า กค็ อ่ ย ๆ อ่อนแอลง แต่ก็ยังมกี ษัตรยิ ์ปกครองสืบต่อกนั มาอกี หลายพระองค์ ทว่ากษัตริยพ์ ระองคต์ อ่ ๆ มามกั ตกอยู่ ในวังวนของการชิงอำนาจระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ ในอาณาจักร รวมถึงการแย่งชิงอำนาจของตระกูลขุนนาง จวบจนถึงปี พ.ศ. 1445 อาณาจักรน่านเจ้าก็ล่มสลายลงจากการก่อกบฏของชนเผ่าต่าง ๆ ในอาณาจักร ดินแดน ยูนนานจึงกลายเป็นสุญญากาศทางอำนาจไปอีกหลายปี ก่อนที่ “ต้วนซีผิง” จะนำชาวเผ่าไป๋และเผ่าพันธมิตร

๑๕ ลุกขึ้นรวบรวมดินแดนในยูนนานเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง และก่อตั้งอาณาจักรใหม่ที่ชื่อว่า “อาณาจักรต้าหล่ี” ขึ้นมา แทนในปี พ.ศ. 1480 ในยุครุ่งเรืองนั้นอาณาจักรน่านเจ้า มีอาณาเขตกว้างขวาง คือเขตมณฑลยูนนานทั้งหมด รวมแคว้นสิบสองปันนาด้วย ทิศเหนือจดมณฑลเสฉวน ทิศใต้ จดพม่า ญวน ทิศตะวันออกจดดินแดนไกวเจา กวางสี ตังเกี๋ย ทิศตะวันตก จดพม่า ทิเบต มีกษัตริย์ปกครองอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นกับแคว้นใดได้ยาวนานหลาย ร้อยปี นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และมานุษยวิทยาในอดีต๑ เคยมีแนวความคิดว่า “คนใน อาณาจักรน่านเจ้านัน้ น่าจะเป็นคนไทยหรอื บรรพบุรุษของคนไทยในยุคปจั จุบัน” เนื่องจากอ้างอิงมาจากหลกั ฐาน ทางโบราณคดีของจีน อาทิ วิลเลียม เจ.เกดนีย์ (William J. Gedney) นักวิชาการชาวอเมริกัน, ดร.บรรจบ พันธุเมธา และ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร นักวิชาการชาวไทย ได้ข้อสรุปว่าเป็นถิ่นที่คนไทอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้มีการผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์อื่น และอพยพลงมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิอย่างในปัจจุบัน ซึ่งแนวความคิดนไ้ี ด้รับการสนับสนุนจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมอ่ื ครัง้ ดำรงตำแหนง่ นายกรฐั มนตรี เมื่อคราวไป เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2518 แต่ก็มีข้อแย้งเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน อาทิ เฟดเดอริก โมต (Frederick Mot) หรือ ชาลส์ แบกคัส (Charles Bacchus) รวมทั้งนักวิชาการชาวไทย ดร.วินัย พงษ์ศรีเพียร มีความเห็นว่าไม่น่าจะใช่เป็นคนไทย โดยอ้างว่าภาษาที่ใช้ในอาณาจักรน่านเจ้าที่ปรากฏในหนังสือหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 มีลักษณะคล้ายภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า มากกว่า และมีส่วนที่ คล้ายภาษาไทยซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท น้อยมาก และวัฒนธรรมการเอาพยางค์สุดท้ายของพ่อมาตั้งเป็น ชื่อพยางค์แรกของลูก เช่น พีล่อโก๊ะ เป็น โก๊ะล่อฝง เป็นวัฒนธรรมร่วมกับวัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูล ทิเบต-พม่า ด้วยเช่นกัน แต่ในประเด็นนี้ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ยังเห็นแย้งว่า ข้อพิสูจน์นี้ยังไม่หนักแน่นพอ เพราะระยะเวลาที่ผ่านไปหลายร้อยปี ธรรมเนียมบางอย่างอาจแปรเปลี่ยนไป โดย ศ.ดร.ประเสริฐ ยังไม่ยอมรับ ทั้งหมดว่า ผู้คนท่ีอาศัยอยใู่ นอาณาจักรนา่ นเจ้ามใิ ชค่ นไทย ทม่ี า https://www.silpa-mag.com/history/article_70305

๑๖ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษท่ี 2 แล้วที่ชาวจีนได้เข้ามาครอบครองเหนือดินแดนที่เป็นมณฑลยูนนานในปจั จุบนั ๕ ณ ที่น้ัน ชาวจนี ได้พบกับความหลากหลายของบรรดาผู้คนท่ีจีนเรยี กว่า “คนป่าคนเถือ่ น” (หม่าน Man) ทบี่ างพวก ก็ยอมรับอารยธรรมจีน ตระกูลผู้ปกครองท้องถิ่นหนึ่งนามว่า จ้วน (Zuan) มีศูนย์กลางอยู่ในอาณาบริเวณทางทิศ ใต้ของเมืองคุนหมิง ต่อไปจนจรดชายแดนเวียดนามปัจจุบัน ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น ในศตวรรษที่ 2 ตระกูลนไ้ี ดก้ ลายเป็นเจ้าปกครองมณฑล น่ีคอื ดินแดนทม่ี ชี นเผา่ ไทและแม้ว/เย้าอาศัยอยู่ ส่วนด้านทางตะวันตกกับ ตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลนี้ ก็มีผู้คนที่ครอบครองอยู่แล้ว และจีนเรียกว่า หวู-หม่าน (Wu-man) หรือ “คนป่า- คนเถื่อนดำ” พวกนี้พูดภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า คล้ายกับพวก “โลโล่” หรือ “ละหุ” ที่ก็ยังอาศัยอยู่ในดินแดน แถบนี้ พวกหวู-หม่านแห่งยูนนานตะวันตกนี่แหละที่ในศตวรรษที่ 7 ได้กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐน่านเจ้า ภายใน ศตวรรษที่ 7 ชาวจีนก็ได้เข้ามาครอบครองยูนนานได้ถึงครึ่งหนึ่ง การปกครองของจีนขยายไปทางตะวันตกจนจรด แม่น้ำโขง แต่ในไม่ช้าจีนก็ต้องตั้งรับการขยายตัวของทิเบต ซึ่งคุกคามต่อจีนตามชายแดนตะวันตกเฉียงใต้ ในยูนนานและในเสฉวน จีนพยายามรักษาความมั่นคงทางชายแดน ด้วยการเป็นพันธมิตรกับแว่นแคว้นในท้องถ่ิน พันธมิตรหนึ่งดังกล่าวก็คือพระเจ้าพีล่อโก๊ะ หนึ่งในหกของเจ้าแว่นแคว้นเล็ก ๆ รอบทะเลสาบต้าลี่ในยูนนาน ตะวันตก พระเจ้าพีล่อโก๊ะ ถือว่ารัฐเล็กรัฐน้อย 6 รัฐนี้ อยู่ภายใต้การปกครองของตนตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 730 และเมื่อปี 738 ก็ได้รับการรับรองจากราชสำนักจีนให้เป็น “เจ้าแห่งยูนนาน” ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับ “เจ้าทางใต้ (น่านเจ้า)” ดำเนินไปฉันมิตรจนกระทั่งประมาณปี 740 แต่ก็กลับเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในทศวรรษ ต่อมา ภายใต้ลกู ชายของพลี ่อโกะ๊ เอง คอื โก๊ะล่อฝง ระหวา่ งปี 752 ถึงปี 754 จีนส่งทัพไปโจมตนี ่านเจ้าถึง 4 ทัพ แต่ทุกครั้งก็ถูกกองกำลังของโก๊ะล่อฝงตีแตกกลับมา และน่านเจ้าก็ขยายการปกครองของตนเหนือยูนนาน ตะวันออกกับกุ้ยโจวตะวันตก เมื่อจีนยุ่งอยู่กับการกบฏ แรงกดดันต่อน่านเจ้าก็ลดถอยลง และการสถาปนา จกั รวรรดิใหม่น้ีในเขตตะวันตกเฉยี งใตก้ ็สร้างข้ึนดว้ ยการตั้งเมืองหลวงทส่ี องที่เมืองคุนหมิงในปี 764 จดหมายเหตุ ร่วมสมัยที่ครอบคลุมเรื่องน่านเจ้าได้ดีที่สุดคือ “หม่านชู” (Man Shu) ที่เขียนขึ้นโดยข้าสำนักจีนเมื่อประมาณปี 860 เอกสารนี้ชี้ให้เห็นถึงรัฐกึ่งทหารที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอย่างดี ปกครองอยู่เหนือหลายชนเผ่าชาติพันธ์ุ ในแง่การบริหารนั้น แบ่งเป็น 6 “คณะกรรมการ” หรือกรม ต่างรับผิดชอบการสงคราม การประชากรและรายได้ การรับรองแขกต่างประเทศ การลงโทษทัณฑ์ การแรงงาน และการระดมพล เหนืออำนาจและสถานะของ คณะกรรมการชุดนี้ก็จะมี “อัครเสนา 12” ซึ่งแต่ละวัน ๆ ต้องเข้าเฝ้า “น่านเจ้า” เพื่อพิจารณาข้อราชการ ยังมี “ข้าราชการบริสุทธิ์ยุติธรรม” ทั้งหกที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นองคมนตรีของเจ้าอีกด้วย การปกครองนี้ รวมถึงลำดับ ขั้นของเจ้าหน้าที่ จากระดับหัวหน้าที่ดูแลหนึ่งร้อยครัวเรือน ไปจนถึงเจ้าเมืองที่ควบคุมครัวเรือนถึงหนึ่งหมื่น หัวหน้าครอบครัวที่เป็นชายจะต้องชำระภาษีเป็นปริมาณข้าว 18 ลิตร รวมทั้งยังอาจต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นไพร่พล ทหาร กองทัพดึงดูดเด็กหนุ่มให้มาร่วมฝึกฝนเมื่อว่างจากงานการเกษตร กองทัพน่านเจ้ามีประสิทธิภาพ มีพลัง มีวินัยดีและมีผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการสู้รบ “กษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “พระเจ้าพีล่อโก๊ะ หรือ ขุนบรม” น่านเจ้าเป็นมหาอำนาจใหญ่ในกิจการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนเหนือและทางเอเชีย ตะวันออกทางตอนใต้เป็นเวลาหลายศตวรรษ กองทัพน่านเจ้าสร้างแรงกดดันต่ออาณาจักรพยูในพม่าภาคกลาง จู่โจมดินแดนที่ในปัจจุบันคือพม่าตอนใต้กับไทยตอนเหนือ น่านเจ้ายังส่งกองทัพไปโจมตีเขมรเจนละ และมีบันทึก กล่าวไว้ว่า “ไปไกลถึงชายฝั่งทะเล” ทั้งยังส่งกองทัพไปตีอันนัม (เวียดนามเหนือ) ดินแดนในอารักขาของจีน ตอ่ จากน้ันอำนาจของน่านเจา้ กค็ ่อยลดลง จีนกลบั ฟ้ืนตัวขึน้ ใหม่ เวียดนามเป็นอสิ ระ (ปี 939) และพัฒนาการใหม่ ก็เริ่มก่อรูปขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือ ความสำคัญของน่านเจ้าต่อประวัติศาสตร์ของคนเผ่าไท

๑๗ ไม่ไดอ้ ย่ทู ีว่ า่ ใครคือเจ้าผปู้ กครอง ซึ่งกไ็ ม่ไดเ้ ป็นคนเผ่าไท เจ้าของนา่ นเจ้าสืบสายกันทางบิดา มีระบบของการต้ังช่ือ พยางค์แรกของชื่อเจ้าแต่ละคน คือ พยางค์เดียวกันกับพยางค์สุดท้ายของนามบิดา ดังนั้น ก็จะเป็นเช่นนี้ คือ พี-ล่อ-โก๊ะ, โก๊ะ-ล่อ-ฝง, ฝง-เจี่ย-อี้, อ้ี-มู่-ซุ่น (Pi-lo-ko, Ko-lo-feng, Feng-chia-i, I-mou-hsun) ฯลฯ นี่เป็นแบบ แผนทพ่ี บทั่วไปในหมู่ของชนเผ่าโลโล่กบั กลมุ่ ทิเบต-พม่า แตไ่ มเ่ ป็นท่ีรู้จักกันในชนเผ่าไท บันทกึ รายการของคำศัพท์ น่านเจ้าที่กล่าวถึงไว้ในหนังสือหม่านชู ก็เทียบได้กับภาษาโลโล่ ไม่ใช่กับภาษาไท และตำนานชนเผ่าไท หรือ พงศาวดาร ก็ไม่มีการเอ่ยถึงอาณาจักรน่านเจ้าหรือเจ้าตนใดเลย ในขณะที่ในศตวรรษที่ 19 นี้ บรรดาหัวหน้า เผ่าโลโล่ในยูนนานกลางกลับสืบบรรพชนของตนกลับไปยังราชสำนักน่านเจ้า ในทางกลับกัน ความสำคัญของน่าน เจ้าน่าจะต้องพิจารณาต่อผลกระทบที่มีต่อชนเผ่าไทที่อาศัยอยู่ในดินแดนทางตอนใต้และทางตอนตะวันออกตาม ชายขอบของจักรวรรดินั้น น่านเจ้าได้เปิดเส้นทางคมนาคมข้ามแดนระหว่างอินเดียกับจีน ผลลัพธ์ทางภูมิปัญญา และวฒั นธรรมคร้งั นส้ี ำคัญยง่ิ นา่ นเจ้ากลายเปน็ รฐั นับถือพุทธ และคงไดช้ ่วยในการเผยแผ่พทุ ธศาสนาไปในดินแดน ที่ตนครอบครองอยู่ รวมทั้งการเผยแพร่ศิลปะและวิทยาการของอินเดียด้วย การที่น่านเจ้าเรืองอำนาจขึ้นมาได้ ก็ปิดกั้นมิให้ดินแดนตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนในติดต่อกับจีนได้โดยตรง ในเวลาเดียวกันอำนาจ ของน่านเจ้าก็ช่วยทำให้การค้าขายข้ามแดนระหว่างอินเดียกับจีนกระตุ้นต่อการค้าในท้องถิ่นของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ตอนเหนือ เจ้าในท้องถิ่นก็คงจับโอกาสทางการเมืองใหม่นี้ได้ สามารถได้ผลประโยชน์ หรือ ไม่ก็ได้รับ อารักขาในความสัมพันธ์ต่อสู้กับเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งยังได้ลอกเลียนรูปแบบของการปกครองกับการทหารของ น่านเจ้าด้วย แม้ว่าบรรดาเจ้าเผ่าไทที่ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของน่านเจ้าโดยตรง แต่ก็อาจถูกกดดันให้รวบรวม กำลังพลเพื่อป้องกันตนเอง และน่านเจ้าหาใช่รัฐแรกที่รุกเข้ามาในโลกของเผ่าไทไม่ และก็ไม่ใช่รั ฐสุดท้าย อย่างแน่นอน แต่นานเจ้าก็เป็นระบอบสำคัญแรกที่เข้ามาพัวพันกับที่สูงตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคพื้นทวีป กล่าวคือ ในดินแดนที่ปัจจุบันคือ รัฐฉานของพม่า ไทยภาคเหนือ และลาว ตลอดจนเวียดนาม ตะวันตกเฉียงเหนือ ในศตวรรษต่อจากยุครุ่งเรืองของน่านเจ้า ในศตวรรษที่ 8 และ 9 แรงกดดันกลับจะมาจาก ทางทิศใต้จากจักรวรรดิใหญ่โตที่ต่างออกไป หลักฐานเกี่ยวกับน่านเจ้าที่หลงเหลือตกทอดมา ไม่ได้กล่าวถึงอะไร ที่จะทำให้คิดว่า นี่คือรัฐของชนเผ่าไทในดินแดนที่สูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในศตวรรษที่ 9 และที่ 10 แต่หลักฐานก็กล่าวถึงบรรดารัฐเกือบทั้งหมดที่อยู่ข้างเคียงทางใต้ และเป็นปฏิปักษ์กับเผ่าไทในศตวรรษต่อ ๆ มา ทั้งยังมีความสำคัญยิ่งยวดในการสร้างอารยธรรมของชนเผ่าไท จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก จะรวมถึง หน่วยของเวียดนามในหุบเขาลุ่มแม่น้ำแดง และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในเวียดนามเหนือ รวมทั้งอาณาจักร จามปาทางฝั่งทะเลตอนกลางของเวียดนาม จักรวรรดิเขมรที่อังกอร์ (พระนครหลวง-ยโศธรปุระ) รวมทั้งบรรดา อาณาจักรในไทยภาคกลางกับภาคเหนือ อาณาจักรมอญกับพยูในพม่า โดยรวมแล้วบรรดาอาณาจักรเหล่าน้ี หันหนา้ ออกทะเล สรา้ งเป็นวงแหวนลอ้ มรอบชนเผ่าไทไวใ้ นดินแดนทสี่ ูง นับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นตน้ มา อาณาจักร เหล่านี้ก็เข้มแข็งขึ้น ทั้งยังแผ่ขยายดินแดนออกไป และชนเผ่าไทก็จะเข้าไปพัวพันในชีวิตและการเมืองของ อาณาจักรเหล่านั้น

๑๘ ที่มา https://www.silpa-mag.com/history/article_70305 ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ชาติไทยสมัยหนึ่ง เคยผนวก “อาณาจักรน่านเจ้า” เป็นส่วนหนึ่งของ ชาติไทย๖ นัยว่าเป็นอาณาจักรอันเก่าแก่แตโ่ บราณ และเป็นตน้ กำเนิดของ “ประเทศไทย” แม้ในวันน้ีจะไม่ปรากฏ ในตำราเรียนแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่าความคิดความเช่ือดังกล่าว ฝังลึกลงในมโนสำนึกของคนไทย ส่งผ่านจากรุ่นสูร่ ุน่ ยังพอพบเห็นร่องรอยได้ไม่ยากนัก ทั้งที่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับในทางวิชาการอีกแล้ว ในปัจจุบันนักวิชาการ โดยเฉพาะนักประวัติศาสตร์ไม่ยอมรับแนวคิดอาณาจักรน่านเจ้าอีกแล้ว โดยยืนยันด้วยหลักฐานต่าง ๆ จนตกไป

๑๙ ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป” (Thailand: A Short History) โดย “เดวิด เค วัยอาจ” (David K Ayamay) ระบุชัดว่า ข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับน่านเจ้าที่หลงเหลือในวันนี้ มิได้ชวนให้คิดไปเลยว่าเป็นดินแดนของ คนไท-ไต บนที่ราบสูงด้านเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปกครองน่านเจ้าองค์แรกคือ “พระเจ้าพีล่อโก๊ะ” (ซึ่งย่อมกลายเป็นกษัตริย์องค์แรกของไทยโดยปริยาย) ผู้รวบรวมแว่นแคว้นน้อยใหญ่รอบทะเลสาบ “ต้าล่ี” ในยูนนานตะวันตก 6 แคว้น ได้รับการสถาปนาจากราชสำนักจีนให้เป็น “เจ้าแห่งยูนนาน” สืบทอดตำแหน่ง กษัตริย์ทางสายบิดา โดยใช้ระบบนามบุคคลที่นำพยางค์สุดท้ายของพ่อมาเป็นพยางค์นำหน้าของชื่อตน นั่นคือ พี–ล่อ–โกะ๊ , โก๊ะ–ล่อ–ฝง, ฝง–เจี่ย–อ้ี, อ้ี–มู่–ซุ่น ตามลำดับ ธรรมเนียมตั้งชือ่ ดงั กล่าวเปน็ แบบแผนวัฒนธรรมที่พบ ในหมู่ชนเผ่าโลโล่ (หรือ “ละหุ”) กับชนชาติทิเบต-พม่า ไม่พบในชนเผ่าไท-ไต นอกจากนี้คำศัพท์ภาษาน่านเจ้า ในหนังสือ “หม่านชู” (Man Shu) เขียนโดยข้าราชสำนักจีนราว พ.ศ. 1403 ซึ่งจัดเป็นเอกสารร่วมสมัย ก็เทียบเคียงได้กับภาษาโลโล่ ไม่ใช่ภาษาไท-ไต อีกทั้งตำนานหรือพงศาวดารของชนเผ่าไท-ไต ก็ไม่ได้เอ่ยถึง อาณาจักรน่านเจ้าหรือเจ้าองค์ใดเลย ประกอบกับพบหลักฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่า บรรดาหัวหน้าเผ่าโลโล่ ในยูนนานกลาง สืบบรรพบุรุษของตนกลับไปยังราชสำนักน่านเจ้าอีกด้วย การสะท้อนถึงความทรงจำฝังลึกของ คนไทยยุคหนึ่ง เชื่อว่าเรามี “ประเทศไทย” ที่เก่าแก่กว่าอาณาจักรสุโขทัย และมีกษัตริย์ไทยมาก่อนหน้า “พ่อขนุ ศรีอินทราทิตย์” แห่งอาณาจักรสโุ ขทยั ซง่ึ ประวตั ศิ าสตรฉ์ บับทางการถือวา่ ปฐมกษตั รยิ ์แห่งสยามประเทศ ขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1792 แม้จะไม่ได้ออกเสียงเรียงนามให้ชัดเจน แต่ก็พอจะให้เดาได้ว่า “น่านเจ้า” คือ อาณาจักรไทยที่มีมาก่อนสุโขทัย ที่น่าสนใจไปกว่าก็คือในยุคข้อมูลข่าวสารที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นห้องสมุดหรือ คลังความรู้ขนาดใหญ่ ความคิดความทรงจำเรื่อง “น่านเจ้า” ได้ย้ายจากตำราเรียนที่ยกเลิกไปแล้ว ไปฝังตัวอยู่ใน พื้นที่บนโลกออนไลน์ ลองเสิร์ชหาข้อมูลในหัวข้อ “วิวัฒนาการของละครไทย” ก็ยังพบเจอร่องรอยอันฝังแน่น ด้วยพลังของระบบการศึกษาของชาติ ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของห้องเรียนที่สะกดให้เด็กนักเรียนเชื่อโดยสนิทใจ แมจ้ ะมีหลกั ฐานโต้แย้งคัดค้านในภายหลงั แต่กไ็ ม่ทนั กบั ความคดิ ทถ่ี ูกปลกู ฝังไปเสียแล้ว คล้ายกับกรณีใกล้เคียงกัน อย่างเรื่อง “คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต” ซึ่งทุกวันนี้ยังมีคนฝังหัวกับความคิดดังกล่าว ผนวก “น่านเจ้า” เข้าสู่ สำนึกคนไทย ต้นกระแสความคิดเริ่มจากความเชื่อว่า คนไทยอพยพลงใต้มาจากเทือกเขาอัลไตของหมอ สอนศาสนา “วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์” (William Clifton Dodd) ซึ่งได้เดินทางสำรวจอาณาบริเวณพื้นที่แถบ เชียงรายไปจนถึงจีน พร้อมทั้งเผยแผ่ศาสนาไปด้วย หมอดอดด์ได้เขียนงานชื่อ The Thai Race : The Elder Brother of the Chinese ใน พ.ศ. 2452 ซ่ึงมีอิทธิพลสงู ยง่ิ ต่อแนวคิด “ชาตินิยมไทย” ในกาลต่อมา โดยสรุปว่า “คนไทยสืบเชื้อสายจากมองโกลและยังเป็นชาติพันธุ์เก่าแก่กว่าจีนและฮิบรู ” ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ)์ ไดส้ านตอ่ แนวคิดนโ้ี ดยแตง่ หนังสือช่ือ “หลกั ไทย” ยำ้ ว่า คนไทยกำเนิดมาจากแถบเทือกเขาอัลไต ตามแนวคิดของดอดด์ หนังสือเล่มนี้ยังได้รับพระราชทานรางวัลประกาศนียบัตรวรรณคดีของราชบัณฑิตยสภา ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2471 ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเดินหน้า โหมประโคมแนวคิดชาตินิยมอย่างเต็มที่ มือขวาคนสำคัญคอื หลวงวิจิตรวาทการ ได้ตีพิมพ์งานเขียนประวัตศิ าสตร์ นิพนธ์สนับสนุนแนวคิด “อาณาจักรน่านเจ้า” ว่าเป็นคนไทย โดยระบุว่า ชนชาติไท-กะได อพยพจากเทือก เขา อัลไต แล้วมาก่อร่างสร้างอาณาจักรน่านเจ้า จากนั้นก็แยกแตกออกมาสร้างล้านนาและสุโขทัย โดยเชื่อว่า คำว่า “ไต” ท้ายคำ “อัลไต” (Altai) หมายถึง ชนชาติไท-กะได และที่สำคัญ “น่านเจ้า” คือหนึ่งในละครเพลงท้ัง 24 เรื่องของหลวงวิจิตรวาทการ หลายเรื่องยังเป็นที่รู้จักและจดจำจนทุกวันนี้ เช่น เลื อดสุพรรณ, ศึกถลาง, ราชมนู, เจ้าหญิงแสนหวี เป็นต้น ด้วยความสั่นสะเทือนอารมณ์ในบทละคร ทั้งรักและรบตามขนบนิยายโรแมนติก

๒๐ ความรักระหว่างหญิง-ชาย ควบคู่กันไปกับความรักชาติ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความคิดเรื่องน่านเจ้า ยังดำรงอยู่ ในชุดความคิดว่าด้วยวิวัฒนาการการละครไทยดังที่ปรากฏ แนวคิดคนไทยจากเทือกเขาอัลไต รวมทั้งอาณาจักร น่านเจ้า ยิ่งกลายเป็นรูปธรรมจารึกในสำนึก เมื่อถูกบรรจุไว้ในหนังสือแผนที่ภูมิศาสตร์สำหรับชั้นมัธยมปลาย โดย ทองใบ แตงน้อย ซึ่งทรงอิทธิพลและหล่อหลอมความคิดทางชาติพันธุ์ให้กับคนไทยมาตั้งแต่วัยเด็ก ในอนาคต ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ตามที่ปรากฏในหนังสือเรียนปัจจุบันบางเรื่อง อาจต้องประสบชะตากรรม แบบเดียวกับเรื่อง “น่านเจ้า” หรือ “เทือกเขาอัลไต” ก็ได้ และแม้ว่าความถูกต้องตามหลักวิชา หรือข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลังก็คงยากจะลบล้างความเชื่อดังกล่าว เพราะคนไทยยังถูก “โปรแกรม” ความคิดมาอย่างผิด ๆ ตั้งแต่วัยเด็ก ไม่ว่าโลกจะก้าวไปไกลแค่ไหน เราจะยังต้องเจอคนที่เชื่อว่า คนไทยมาจาก เทอื กเขาอัลไต หรอื น่านเจา้ เป็นไทยอีกตอ่ ไป กษัตริย์พระองค์แรกแห่งชนเผ่าไทย๑๔ ที่ถูกบันทึกว่าทรงพระปรีชาสามารถแผ่อาณาเขตไปถึงลาว เวียดนาม ไทย และจีน...ที่พระนาม ขุนบรม หรือขุนบูลมราชาธิราช มีเรื่องราวแตกต่างกันในพงศาวดารหลายๆ ฉบับ ฉบับที่โลดโผนกว่า...คือฉบับล้านช้าง กล่าวถึงปู่ลางเซิง ขุนเด็กและขุนคาน ปกครองเมืองลุ่ม (เมืองมนุษย์) แต่ไม่กระทำพลีกรรมแก่พระยาแถน พระยาแถนจึงบันดาลให้น้ำท่วมเมือง ขุนทั้งสามจึงต่อแพพาลูกเมียไปอยู่ เมืองฟ้ากับพระยาแถนชั่วคราว พอน้ำลดแห้งก็ขอกลับมาอยู่เมืองลุ่ม เลือกทำเลที่เมืองนาน้อยอ้อยหนู ได้ควาย ลงมาช่วยทำนา เมอ่ื ควายตายเกิดต้นน้ำเตา้ ทรี่ จู มกู ควาย มีผลน้ำเต้าป้งู (โปง้ -ใหญ)่ 3 ผล ป่ลู างเซงิ ใชส้ วา่ นเผาไฟ และสิ่วเจาะน้ำเต้า คนที่ออกจากรูสิ่ว เป็นไท คือไทยเลิง ไทยลอ และไทยควาง คนที่ออกจากรูสว่านเผาไฟ คือ ไทยลม และไทยลี ผิวสีดำ ไทยพวกนี้เป็นข้า คนสองพวกนี้มีออกมามากเกิน พระยาแถน ส่งขุนครูและขุนครอง ลงมาปกครอง แต่ขุนท้ังสองดื่มแตเ่ หล้า ไม่สนใจประชาชน ขุนเด็กขุนคาน จึงขอให้พระยาแถน เรียกขุนท้ังสองคืน ไป ขอขุนบรมลงมาทำหน้าที่แทน ขุนบรมสอนให้ประชาชนทำไร่ ทำนา จนพึ่งพาตัวเองได้ พระยาแถนก็แยกเมือง มนุษย์ออกจากเมืองฟ้า ศาสตราจารย์ ขจร สุขพานิช “เมืองฟ้าพระยาแถน คืออาณาจักรเทียนในประเทศจีน” ขุนวิจิตรมาตรา “เมืองฟ้าพระยาแถน คือเมืองหนองแถน อาณาจักรน่านเจ้า ขุนบรม คือ พีล่อโก๊ะ กษัตริย์องค์ท่ี 5 ของไทยเมือง เสวยราชย์ พ.ศ.1271” ต่อมาขุนบรมสร้างบ้านเมืองเป็นปึกแผ่น เรียกว่า “เมืองแถน” พงศาวดารลาว ของมหาสิลา วีระวงส์ “ขุนบรมคือพีล่อโก๊ะ ครองหนองแส หรือเมืองแถน เมื่อ พ.ศ.1272 เม่ือ ชนั ษาได้ 32 ปี 2 ปีต่อมา กย็ ้ายไปอย่นู าน้อยออ้ ยหนู หรอื เมอื งกาหลง คอื เชียงรุง่ ในสิบสองปนั นา แล้วยกไปตีได้ เมืองต้าหอ ในมณฑลยูนนานของจีน และให้ขุนลอ (โก๊ะล่อฝง) ครองเมืองกาหลงแทน ขุนบรมสิ้นพระชนม์ พ.ศ. 1293 ขุนบรมมเี มียสองคน คนแรกชอ่ื นางแอกแดง คนท่สี องชื่อนางยมพลา มีโอรสรวม 7 องค์ ให้แยกย้ายกันไป ครองเมืองต่างๆ องค์ที่ 1 ขุนลอ ไปครองเมืองชวา (ล้านช้าง) องค์ที่ 2 ยี่ผาลาน ไปครองเมืองหอแต (หนองแส) องค์ที่ 3 สามจูสง ไปครองเมืองแกว (เวียดนาม) องค์ท่ี 4 ไสผง ไปครองล้านนา องค์ที่ 5 งั่วอิน ไปครองเมือง อโยธยา (สยาม) องค์ที่ 6 ลกกลม ไปครองเมือง เชียงคม (คำเกิด) และองค์ที่ 7 เจ็ดเจิง ไปครองเมืองพวน (เชียงขวาง) ตำนานเหล่านี้ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานไว้ในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เล่ม 2 อักษร ข-จ ฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า ทางวิชาการบางเรื่องขาดหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และชาติพันธ์ุ วทิ ยา สนบั สนนุ ทฤษฎี ศาสตราจารย์ ขจร สุขพานชิ ไม่มเี ค้าเง่อื นว่าอาณาจักรเทยี นแถบทะเลสาบเทียนในมณฑล ยูนนาน เป็นอาณาจักรคนไทย จีนมีหลักฐาน พุทธศตวรรษที่ 1 กษัตริย์เทียน สืบเชื้อสายจากแม่ทัพสมัยราชวงฉู ซึ่งยกทัพมารุกรานยูนนาน อยู่ปกครองเผ่าพันธุ์ต่างๆ จนถึง พ.ศ.435 จึงยอมอ่อนน้อมเป็นประเทศราชต่อ ราชวงศ์ฮั่น ข้อสมมติฐาน เรื่องอาณาจักรน่านเจ้าของขุนวิจิตรมาตรา นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่รับแล้วว่า ชนช้นั

๒๑ ปกครองเป็นพวกโล่–โล้ คนไทยอาจเป็นประชากรเผ่าพันธุ์หนึ่ง ทั้งประเพณีการเฉลิมพระนามพระมหากษัตริย์ โดยใช้คำท้ายขององค์แรก เป็นคำขึ้นต้นระนามขององค์ต่อมา เช่น พีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง และฝงกาอี ไม่ใช่ประเพณี ของไทย แต่เปน็ ของโล่-โล้ เมื่อเปน็ เช่นน้ันเรือ่ งขนุ บรม จงึ ไม่น่าเก่ยี วขอ้ งกบั อาณาจกั รเทยี นและอาณาจกั รนา่ นเจ้า ความจริงจากพงศาวดาร...ไทยไม่ใช่น่านเจ้า เราคงไม่รู้สึกสูญเสียอะไร สิ่งที่น่าห่วงให้มากๆ กว่า คือไทยพวกที่ 5 สมัยอพยพ ไทยสยามเคยถูกเรียกว่า “ไทยน้อย” แต่ถึงวันนี้ จำนวนไทยแม้ไม่มาก แต่ก็ไม่น้อยเกินไป ใครจะมายำ่ ยเี ราคงไม่ได้ ยกเวน้ ไทยย่ำยกี นั เอง โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น หรือ แคว้นโยนก (พ.ศ. 1200–1650) เป็นรัฐของชาวไทยวน (ไท-ยวน)๑๕ ทีต่ ง้ั อยแู่ ถบลมุ่ น้ำโขงตอนกลาง อนั เปน็ ท่ีราบลมุ่ ของนำ้ แมก่ ก เป็นที่ตง้ั แหลง่ ชมุ ชนทีม่ ีมาอย่างช้านาน ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของชนชาติไทย ตั้งแต่ประมาณปี 1200-1650 อาณาจักรโยนก ก็ล่มสลายลงเมื่อเกิดการ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ จึงอพยพย้ายเมืองหลวงมาเป็นเวียงปรึกษาแทน ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในตำนานสิงหนติ กุมาร (มีหลายชื่อเรียก เช่น ตำนานโยนกนครเชียงแสน ตำนานโยนกนคร ตำนานโยนกไชยบุรีศรีช้างแส่น แล้วแต่ ผู้จารจะเขียนกำกับ แต่เนื้อหาคล้ายกันหมด) และตำนานพระธาตุดอยตุง ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเปลวปล่องฟ้า แต่ยัง ไม่มีการค้นพบหลักฐานที่เก่าถึงยุคสมัยจริง ตามตำนานสิงหนติกุมาร (ไม่ใช่สิงหนวัติ หรือ สิงหนวติ เพราะ ไม่ปรากฏในเอกสารใบลานชั้นต้น ซึ่งปรากฏเพียง สิงหนติ) กล่าวว่า เจ้าสิงหนติราชกุมาร โอรสของพระเจ้า เทวกาลแห่งนครไทยเทศ หรือ เมืองราชคฤห์ ได้ทำการอพยพผู้คนออกจากนครไท ยเทศ เดินทางไปทางทิศ ตะวันตกเฉยี งใต้ จนมาถึงชยั ภูมทิ เี่ คยเปน็ แคว้นสวุ รรณโคมคำในอดีต ไม่ไกลแม่นำ้ โขงมากนกั ซึง่ ตอนนั้นมีชาวลัวะ อาศัยอยู่ตามป่าเขาในบริเวณดอยดินแดน (ดอยตุง) มีหัวหน้าชื่อ ปู่เจ้าลาวกุย เจ้าสิงหนติได้พบกับพญานาคช่ือ พันธนุ าคราช ซึง่ จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาพูดคุย และแนะนำใหส้ ร้างเมืองในทบี่ ริเวณนน้ั แลว้ กลับเปน็ พญานาค ช่วยขุดคูเมืองให้ เจ้าสิงหนติจึงตั้งเมืองบริเวณนั้น และนำชื่อตนประสมกับชื่อพญานาคเป็นชื่อเมืองว่า “เมืองนาค พันธุสิงหนตินคร” จากนั้นเจ้าสิงหนติได้แผ่อำนาจปราบปรามเมืองอโุ มงคเสลานคร ซึ่งเป็นเมืองของพวกขอม และ มีอำนาจเหนือกลุ่มชนพื้นถิ่นดั้งเดิมในแถบนั้นทั้งหมด ในสมัยพญาพันธนติ กษัตริย์องค์ที่ 2 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองมา เป็น “เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น” โดยเอาเหตุนิมิตเมื่อช้างมงคลของพญาสิงหนติเห็นพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ก็เกิดการตกใจร้องเสียงดัง \"แส่นสะเคียร\" (ช้างแส่น คือ ช้างสั่น ส่วน แส่นสะเคียร แปลว่า สั่นสะเทือน เป็นอากัปกิริยาของช้างคำรามเสียงดังสนั่นหวั่นไหว) ในสมัยพญาอชุตราช กษัตริย์องค์ท่ี 3 ได้มีการ สร้างพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยกู่แก้ว พระธาตุในถ้ำปุ่ม ถ้ำเปลวปล่องฟ้า เป็นกา รสะท้อนให้เห็นว่า เริ่มมีพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว (ซึ่งเป็นเพียงตำนานเท่านั้น ในปัจจุบันยังไม่ค้นพบหลักฐานที่เก่าถึงยุคสมัย โยนกนคร) สมัยพญามังรายนราช กษัตริย์องค์ที่ 4 พระองค์ไชยนารายณ์ โอรสองค์สุดท้องของพระองค์ได้ไปต้ัง เมืองใหม่ คือ “ไชยนารายณ์เมืองมูล” (สันนิษฐานว่าควรอยู่บริเวณ ปงเวียงไชย บ้านปง ตำบลเวียงชัย อำเภอ เวียงชัย จังหวัดเชียงราย) เมืองโยนกนครไชยบรุ รี าชธานีศรชี ้างแส่นมกี ษัตริย์ปกครองต่อๆ กันมา จนสมัยพระองค์ พังคราช กษัตริย์องค์ที่ 42 เสียเมืองให้กับพระยาขอม เมืองอุโมงคเสลานคร และถูก เนรเทศไปเป็นแก่ บ้านเวียงสี่ทวง ส่งส่วยให้พระยาขอมเป็นทองคำปีละ 4 ทวงหมากพินน้อย (คือมะตูมลูกเล็กนำมาผ่าซีก 4 ส่วน นำทองคำหลอมลงไปเพียง 1 ซีก) ที่เวียงสี่ทวง พระองค์พังคราชมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่อ ทุกขิตะกุมาร คนท่ี 2 ชื่อ พรหมกุมาร เมื่อพรหมกุมารอายุได้ 13 ปี จึงมีความคิดที่จะสู้กับพระยาขอม ได้ไปจับช้างที่แม่น้ำโขงและ ตีพานคำ (พาน อ่านว่า ปาน คือเครื่องดนตรีล้านนาชนิดหนึ่ง คล้ายฆ้องแต่ไม่มีโหม่ง ใช้ตี) แห่เข้าเวียงสี่ทวง และ

๒๒ ทำการขุดคูเมือง ปรับปรุงกำแพงและประตูเมือง แล้วเปลี่ยนชื่อเวียงสี่ทวงเป็น “เวียงพานคำ” (สันนิฐานว่า เวียงสี่ทวงและเวียงพานคำ ควรอยู่บริเวณเมืองโบราณที่เรียกว่า “เวียงแก้ว” บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเวียงสี่ทวงกับเวียงพานคำ ไม่ควรอยู่บริเวณเมืองโบราณที่อำเภอแม่สาย จังหวัด เชียงราย เพราะตำนานหลายฉบับกล่าวว่า บริเวณนั้นเป็นเมืองหิรัญนครเงินยาง) และทำการซ่องสุมผู้คนสู้รบกับ พระยาขอมจนได้รับชนะ ขับไล่พวกขอมและสามารถชิงเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น กลับคืนมาได้ ถวายเมืองคืนพระองค์พังคราช ส่วนพระองค์พรหมราช (พรหมกุมาร) ได้กลัวว่าจะมีข้าศึกมาอีก จึงไปสร้าง เมืองใหม่ คือ “เวียงไชยปราการ”(สันนิษฐานว่าควรอยู่บริเวณบ้านร่องห้า (ร่องห้าทุ่งยั้ง) ตำบลผางาม อำเภอ เวียงชัย จังหวัดเชียงราย) เมื่อสิ้นพระองค์พรหมราชแล้ว พระองค์ไชยสิริ พระโอรสได้ครองเวียงไชยปราการ ต่อมา แต่ถูกเมืองสุธรรมวดีเข้ามาคุกคามอีก พระองค์ไชยสิริจึงพาชาวเมืองอพยพลงไปทางใต้ และตั้งเมืองที่ “เมืองกำแพงเพชร” ส่วนเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นนั้น มีกษัตริย์ครองเมืองต่อมา จนถึง สมัยพระองค์มหาไชยชนะ ชาวเมืองจับได้ปลาไหลเผือกยักษ์จากแม่น้ำกก แล้วนำมาแบ่งกันกินทั้งเมือง ยกเว้น แม่หม้ายเฒ่าหนึ่งคน และในคืนนั้นเมืองโยนกก็ล่มสลายลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ ยกเว้น แม่หม้ายเฒ่าเพียง คนเดียวที่รอดตาย (สันนิฐานว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวจนเมืองถล่มลง จึงมาผูกเรื่องในตำนาน ปัจจุบันสันนิฐานว่า เวียงโยนกฯ อยู่บริเวณเวียงหนองหล่ม ตั้งอยู่ระหว่างตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน กับ ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย) ขุนพันนาและนายบ้านกับประชาชนที่รอดตาย จึงรับเลี้ยงดูแม่หม้ายเฒ่า และประชุมปรึกษา เลือกนายบ้านผู้หนึ่ง ชื่อขุนลัง ให้เป็นผู้นำ และช่วยกันสร้างเมืองใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำโขงฝั่งตะตก และอยู่ทาง ทศิ ตะวนั ออกของเมืองโยนกนครฯ เรียกว่า “เวียงเปิกสา” (เวยี งปรึกษา) ผู้ทีค่ รองเวียงเปิกสาน้นั จะต้องได้รับการ ปรึกษาคัดเลือกจากประชาชนในเมืองทั้งหมด คล้ายกับแนวทางของระบอบประชาธิปไตย เรียกว่า “ไพร่แต่งเมือง” รวมเป็นขุนผู้ครองเวียงเปิกสา 16 คน เป็นอันจบตำนานสิงหนติกุมาร ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61 ตำนานสิงหนวติกุมาร เรียกชื่อเจ้าสิงหนติราชกุมารว่า สิงหนวติกุมาร และมีการเผยแพร่และเพี้ยนไป เป็น สิงหนวัติกุมาร และเป็นชื่อที่แพร่หลายใช้ในปัจจุบัน แต่จากการสำรวจและปริวรรตเอกสารใบลานต้นฉบับ ภาษาล้านนาของตำนานโยนกแล้ว กลับพบว่าเขียนว่า สิงหนติ ไม่พบว่ามีการเขียนชื่อ สิงหนวติ หรือ สิงหนวัติ ในตำนานทุกฉบับ จึงสรุปว่าควรใช้ “สิงหนติ” ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกต้อง รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชย บุรีราชธานีศรีช้างแส่น (๑) พญาสิงหนติ (เจ้าสิงหนติราชกุมาร) เริ่มราชวงศ์เมืองนาคพันธุสิงหนตินคร (๒) พญา พันธติ สถาปนาเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น (๓) พญาอชุตราช (๔) พญามังรายนราช (พระองค์ มังรายนราช) (๕) พระองค์เชอื ง (๖) พระองค์ชืน (๗) พระองคค์ ำ (๘) พระองคเ์ พิง (๙) พระองค์ชาต (๑๐) พระองค์ เวา (๑๑) พระองค์แวน (๑๒) พระองค์แกว้ (๑๓) พระองค์เงิน (๑๔) พระองค์แวนที่ 2 (คนละองค์กับพระองค์แวน ในลำดับที่ 11) (๑๕) พระองค์งาม (๑๖) พระองค์ลือ (๑๗) พระองค์รอย (๑๘) พระองค์เชิง (๑๙) พระองค์พัน (๒๐) พระองค์เพา (๒๑) พระองค์พิง (๒๒) พระองค์สี (๒๓) พระองค์สม (๒๔) พระองค์สวน (๒๕) พระองค์แพง (๒๖) พระองค์พวน (๒๗) พระองค์จัน (๒๘) พระองค์ฟู (๒๙) พระองค์ฝัน (๓๐) พระองค์วัน (๓๑) พระองค์มังสิง (๓๒) พระองคม์ งั แสน (๓๓) พระองค์มงั สม (๓๔) พระองค์ทพิ (๓๕) พระองค์กอง (๓๖) พระองคก์ ม (๓๗) พระองค์ ชาย (๓๘) พระองค์ชื่น (๓๙) พระองค์ชม (๔๐) พระองค์พัง (๓๑) พระองค์พิงที่ 2 (คนละองค์กับพระองค์พิงใน ลำดับท่ี 20) (๓๒) พระองค์เพียง (๓๓) พระเจ้าพังคราช (๓๔) พระเจ้าทุกขิตะ (เจ้าทุกขิตะกุมาร) (๓๕) พระเจ้า พรหมมหาราช (๓๖) พระเจ้าชัยศิริ สิ้นสุดราชวงศ์สิงหนติ เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นล่มสลาย (รายชอ่ื กษัตรยิ ์ราชวงศส์ ิงหนติ อา้ งอิงจากตำนานสงิ หนติโยนก ฉบบั วดั ลำเปิง จังหวัดเชียงราย)

๒๓ หิรัญนครเงินยาง หรือ ชยวรนคร เมืองเชียงลาว หรือ เหรัญญนครเงินยางเชียงแสน หรือ นครยาง คปุระ หรือ เมืองท่าทรายเงินยาง๑๖ เป็นอาณาจักรหนึ่งในบริเวณที่เป็นประเทศไทยและประเทศลาวปัจจุบัน หลังจากการลม่ สลายของโยนกนครไชยบุรรี าชธานศี รีช้างแส่น จนถงึ ชว่ งปลายพทุ ธศตวรรษที่ 17 ลาวจังราช หรือ ลาวจง (ซึ่งตามตำนานว่าเกิดโดยโอปปาติกใต้ต้นพุทรา หรือบางตำนานว่าไต่บันไดเงินและทองคำลงมาบริเวณ ดอยตุง) ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ เรียกราชวงศ์ใหม่นี้ว่าราชวงศ์ลาว เนื่องจากกษัตริย์ทุกพระองค์ ในราชวงศ์นี้ใช้ “ลาว” นำหน้าพระนาม ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อ พญามังรายขึ้นครองราชเป็น กษัตริย์พระองค์ที่ 25 ของหิรัญนครเงินยางเชียงลาวในปี พ.ศ. 1805 พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริจะรวบรวม แคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้สร้างเมือง เชียงรายและประทับที่นั่นเป็นราชธานีแห่งใหม่ ถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ลาวแห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว และ เร่มิ ต้นราชวงศ์มงั รายแห่งอาณาจักรลา้ นนา วัดพระธาตุดอยปเู ข้า ตามตำนานเล่าวา่ สร้างขนึ้ โดยกษตั รยิ ์แหง่ นครเงินยาง ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ ราชวงศ์มังราย1๗ เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่รัชสมัยพญามังรายจนถึงพระเจ้า เมกฎุ สิ ุทธวิ งศ์ (ทา้ วแม่ก)ุ เป็นเวลายาวนานกวา่ 260 ปี จนถึงยุคเสอื่ ม เมอ่ื อปุ นกิ ขิต (สายลบั ) ที่พระเจา้ บเุ รงนอง ส่งมาฝังตัวเพื่อรายงานสถานการณ์ในเชียงใหม่ แจ้งกลับไปบอกว่าเชียงใหม่ถึงยุคเสื่อมสุดแล้ว ให้ยกทัพหงสาวดี มาชิงเมือง ดังนั้น ใน พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนอง จึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ โดยทัพพม่าใช้เวลาเพียงสามวัน ก็สามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้โดยง่าย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้หลบหนีไปยังเมือง \"ปาไป่น้อย\" หรือ เมืองเชียงแสน ตามหลักฐานของจักรพรรดิจีนราชวงศ์หมิง อีกหกปีต่อมา พม่าก็ปลดพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์

๒๔ ออกจากราชบัลลังก์ในข้อหาแข็งเมืองก่อการกบฏ พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้ง “พระนางวิสุทธิเทวี” อันเป็น เชื้อสายราชวงศ์มังรายอีกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระนางครองเมืองเชียงใหม่ได้ 14 ปี ก็สวรรคต และสิ้นสุด ราชวงศ์มังรายสายพญาแสนภู แต่ราชวงศ์มังรายยังคงเหลือเชื้อสายในราชวงศ์ที่ปกครองเมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นสาย ของพระราชบุตรอีกพระองค์ของพญาไชยสงคราม ซึ่งภายหลังที่อังกฤษเข้ายึดครองพม่า ราชวงศ์เชียงตุงได้อพยพ เข้ามาอยู่ในอาณาจักรล้านนา ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ทพิ ย์จกั ราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) กษัตริย์ราชวงศ์มังราย (๑) พญามังราย พ.ศ. 1๗๘๒ – 1854 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 25 แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว เสด็จ ขึ้นเสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. 1802 พระองค์ทรงสร้างเมืองหลายแห่ง เป็นต้นว่า เมืองเชียงราย (จังหวัดเชียงราย ปัจจุบัน) เวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่ (จังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบัน) ซึ่งภายหลังเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร ลา้ นนา จงึ ถอื กันว่า “พระองคเ์ ปน็ ปฐมกษัตรยิ ข์ องอาณาจักรลา้ นนา”๑๘ \"มังราย\" เป็นพระนามทป่ี รากฏในเอกสาร ชั้นต้นทุกชนิด ทั้งจารึก ใบลาน พงศาวดาร บทกฎหมาย บทกวี และอื่น ๆ รวมถึง จารึกวัดพระยืน (พ.ศ. 1912) จารึกวัดสุวรรณมหาวิหาร (พ.ศ. 1954) ตำนานมูลศาสนา (พ.ศ. 1965) ชินกาลมาลีปกรณ์ (พ.ศ. 2059) โคลง นิราศหริภุญไชย (พ.ศ. 2060) จารึกวัดเชียงมั่น (พ.ศ. 2124) และมังรายศาสตร์ จารึกวัดพระยืน จารึกวัด สุวรรณมหาวิหาร ตำนานมูลศาสนา ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น และมังรายศาสตร์ ระบุคำนำพระนามว่า \"พญา\" (เขียน แบบเก่าวา่ \"พรญา\" หรือ \"พรยา\") มแี ตพ่ งศาวดารโยนก ท่ีพระยาประชากิจกรจกั ร์ (แช่ม บนุ นาค) เขียนข้ึนในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงสยาม และเอกสาร สมัยหลังซึ่งอ้างอิงพงศาวดาร โยก ที่ออกพระนามว่า \"เม็งราย\" โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่พระยาประชากิจกรจักร์ แก้พระนาม \"มังราย\" เป็น \"เม็งราย\" ปัจจุบัน มีสถานที่หลายแห่งใช้ชื่อว่า \"เม็งราย\" เช่น ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย โรงเรียนเม็งราย มหาราชวิทยาคม และคา่ ยเมง็ รายมหาราช จงั หวัดเชยี งราย ตลอดจนวดั พระเจ้าเม็งราย จังหวัดเชยี งใหม่ ส่วนการ เปลี่ยนคำนำพระนาม \"พญา\" เป็น \"พ่อขุน\" นั้น เป็นผลงานของหลวงวิจิตรวาท-การ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) อธิบดี กรมศิลปากร ทั้งนี้ คำว่า \"พ่อขุน\" เป็นคำนำพระนามพระมหากษัตริยก์ รงุ สุโขทยั สมยั หน่ึง แต่ไม่ปรากฏการใช้งาน ในทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคล้านนา พญามังรายเป็นพระราชโอรสของลาวเมง พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 24 แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาวกับนางเทพคำข่าย พระราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย พระมหากษัตริย์แห่งเมือง เชียงรุ่งสิบสองพันนา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตใน พ.ศ. 1802 พญามังรายทรงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งหิรัญ นครเงนิ ยางเชียงลาว และมีพระราชประสงค์จะทรงรวบรวมหวั เมอื งอสิ ระตา่ ง ๆ เข้าเป็นหน่ึงเดียว โดยทรงเริม่ จาก ทางเหนือก่อน แล้วขยายไปฝ่ายใต้ การสร้างเมืองเชียงราย หลังจากทรงขึ้นครองราชย์ ณ หิรัญนครเงินยาง- เชียงลาว ได้ราว 3 ปี พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นศูนย์อำนาจใหม่ใน พ.ศ. 1805 และทรงสร้าง เมืองฝางเมื่อ พ.ศ. 1816 ทรงสร้างเมืองชะแว ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลำพูนเมื่อ พ.ศ. 1826 ทรงสร้าง เวียงกุมกามเมื่อ พ.ศ. 1829 เมื่อสร้างเมืองใหม่ แต่ละครั้ง พญามังรายจะประทับอยู่ที่เมืองนั้น ๆ เสมอ ซึ่งตาม ความเห็นของประเสริฐ ณ นคร แล้ว \"คงมีพระประสงค์ที่จะสรา้ งชุมชนข้ึนใหม่ เพื่อรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจาย กันอยู่ให้มาตั้งเป็นเมืองใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ทรงแสวงหาชัยภูมิที่เหมาะสมจะเป็นเมืองหลวงถาวรของ พระองค์ต่อไป\" นอกจากนี้ ยังทรงตีได้เมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำ จึงมีหัวเมืองหลายแห่งมาขออ่อนน้อม เป็นเมืองขึ้น เช่น เมืองร้าง ต่อมาจึงเสด็จไปเอาเมืองเชียงของ ได้ใน พ.ศ. 1812 และเมืองเซริง ใน พ.ศ. 1818 ระหว่างประทับที่เวียงกุมกาม พญามังรายทรงให้ช่างก่อเจดีย์กู่คำ ณ วัดเจดีย์เหลี่ยม พญามังรายยังโปรดให้ นายช่างชื่อ “กานโถม” สร้างวัดแห่งหนึ่งที่มีพระพุทธปฏิมากร 5 พระองค์สูงใหญ่เท่าพระวรกายของพระองค์

๒๕ ตลอดจนมหาวหิ ารและเจดีย์อืน่ อกี เปน็ อันมาก นายชา่ งกานโถมปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ไี ด้เปน็ ท่พี อพระราชหฤทยั จึงโปรดให้ เขาไปครองเมอื งรอย (ต่อมาสถาปนาเป็นเมืองเชียงแสน) และพระราชทานนามวดั นัน้ ว่า “วดั กานโถม” ซากโบราณสถานวัดกานโถม อำเภอสารภี จงั หวัดเชียงใหม่ ทม่ี า https://th.wikipedia.org/wiki/ การตหี ริภุญไชย การตพี กุ าม การสร้างเชียงใหม่ เมื่อพญามังราย ทรงไดเ้ มอื งหริภญุ ไชยแล้ว ขุนคราม พระราชบตุ ร พระองค์ที่ 2 ของพญามังราย ตีนครเขลางค์ (จังหวัดลำปางปัจจุบัน) ได้ใน พ.ศ. 1839 ในปีนั้นเอง พญามังราย ทรงสรา้ งเมืองเชียงใหม่ข้ึน พระราชทานนามวา่ \"นพบุรศี รีนครพงิ ค์เชยี งใหม่\" อาณาเขตของพญามังราย ทางเหนือ ถึงเชียงรุ่งและเชียงตุง ทางตะวันออกถึงแม่น้ำโขง แต่ไม่รวมเมืองพะเยา เมืองน่าน และเมืองแพร่ ทางใต้ถึงนครเข ลางค์ และทางตะวันตกถึงอาณาจักรพุกาม (พม่าและมอญ) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พญามังรายทรงมี สัมพันธไมตรีกับพญางำเมือง พระมหากษัตริย์แห่งเมืองพะเยา (จังหวัดพะเยาปัจจุบัน) และพ่อขุนรามคำแหง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ทั้ง 3 พระองค์เป็นศิษย์สำนักเดียวกันที่เมืองละโว้และเป็นพระสหายร่วมสาบาน กันดว้ ย พ.ศ. 1819 พญามงั รายทรงยกทพั ไปตีเมืองพะเยา แตเ่ ม่อื ไปถึงพญามังรายกบั พญางำเมืองกลับเปน็ ไมตรี ต่อกัน ทำให้ข้อขัดแย้งสิ้นสุดลง หลังจากนั้นไม่นาน พ่อขุนรามคำแหงกับพระมเหสีของพญางำเมืองกระทำชู้กัน พญางำเมืองเชิญพญามังรายมาตัดสิน พญามังราย ทรงว่ากล่าวให้พญางำเมืองกับพ่อขุนรามคำแหงกลับเป็นมิตร กันดังเดิม เมื่อพญามังรายจะทรงสถาปนาเมืองเชียงใหม่นั้น ทรงปรึกษากับพระสหายทั้ง 2 พ่อขุนรามคำแหงทรง แนะนำว่า ควรลดขนาดเมืองลงครึ่งหนึ่งจากเดิมที่วางผังให้ยาวด้านละ 2,000 วา เพราะเมื่อเกิดศึกสงครามใน อนาคต ผู้คนที่ไม่มากพอจะไม่อาจรักษาบ้านเมืองที่กว้างใหญ่เกินไปได้ ซึ่งพญามังรายทรงเห็นชอบด้วย พระราช ไมตรีระหว่างพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ ทำให้แต่ละพระองค์ทรงสามารถขยายดินแดนไปได้อย่างไม่ต้องทรง พะวงหน้าพะวงหลัง พญามงั รายสวรรคตเพราะทรงถกู ฟ้าผ่ากลางเมืองเชยี งใหมใ่ น พ.ศ. 1854 รวมพระชนม์ 72

๒๖ พรรษา พญาไชยสงคราม พระราชบุตรพระองค์ที่ 2 เสวยราชย์สืบต่อมา พ้นรัชกาลพญามังรายแล้ว ราชวงศ์ มังรายครอบครองอาณาจักรล้านนาเป็นเอกราชอยู่ระยะหนึ่ง โดยเคยขยายอาณาบริเวณมาครอบคลุมเมืองพะเยา น่าน ตาก แพร่ สวรรคโลก และสุโขทัยด้วย กระทั่ง พ.ศ. 2101 ถูกพม่าตีแตก แล้วก็กลายเป็นเมืองขึ้นพม่าบ้าง เป็นอิสระบ้าง และเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยาบ้าง สลับกันไปดังนี้เป็นเวลากว่า 200 ปี จนยอมเป็นเมืองขึ้น กรุงรตั นโกสนิ ทร์ และถกู กลนื เข้าเป็นประเทศไทยในปัจจบุ ัน กูพ่ ญามังราย วดั งำเมือง จงั หวดั เชยี งราย เชอ่ื กันวา่ เปน็ ที่บรรจุพระบรมอฐั ิ ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ ทีต่ ง้ั เมอื งเงินยาง๑๖ ปัจจบุ ันมักเชอื่ กันว่าเมืองเงนิ ยาง คือเมืองเดยี วกันกบั “เมอื งเชียงแสน” ซงึ่ ปรากฏ ในพื้นเมืองเชียงแสน ความว่า...กาลนั้น พระญาเจ้าท่านก็พร้อมกับด้วยเสนาอามาตย์ทังหลาย ส้างขุดฅือกว้าง ๗ ร้อยวา ยาว ๑,๑๐๐ วา ยาวไปตามแม่น้ำนั้น ก่อเมกปราการกวมแท่นเงินและต้นไม้หมากขระทันที่ท่านเอา โอปปาติกะชาตินั้นแล้ว ก็เรียกชื่อว่า เวียงเหรัญนครเงินยางเชียงแสน ว่าอั้นแล เหตุเอานิมิตเงื่อนเกินเงินนัน้ ต้ังแล ที่ต้นไม้หมากขระทันนัน้ ท่านก็ก่อสร้างหื้อเปนมหาธาตุแลวิหารทงั มวลแล้ว ก็เรียกชื่อว่า อารามสังกาแก้วดอนทัน นั้นแล ไนยะนึ่งเรียกว่า วัดสังกาแก้วยางเงินก็เรียกแล เหรัญญบัลลังก์แท่นเงินนั้น พระญาเจ้าท่านก็มล้างเอาสละ สร้างแลทาน เดือน ๖ ออก ๕ ฅ่ำ วัน 2 ยามเที่ยง พระญาเจ้าค็สระเด็จเข้าอยู่ในราชโรงหลวงที่นั้นแล นามวิเสส กป็ รากฏช่อื ว่า พระญาลาวะจังกราช วา่ อน้ั แล - พ้ืนเมืองเชยี งแสน พื้นเมืองเชียงแสน (ถูกแปลเป็นไทยชื่อพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนและตำนานสิงหนวติ ประชุม พงศาวดาร ภาคที่ 61) เป็นเอกสารฉบับเดียวที่ให้ภาพว่า เมืองเงินยางกับเมืองเชียงแสนคือเมืองเดียวกัน ในขณะ ที่เอกสารอื่น ๆ ระบุที่ตั้งของเมืองเงินยางต่างไป พื้นเมืองน่าน ระบุว่าเมืองอยู่บริเวณท่าทราย ตำนานพื้นเมือง เชียงใหม่ ระบุว่าเมืองเงินยางตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำสาย และกล่าวถึงอีกครั้งในตอนที่พญามังรายคิดจะตั้งเมืองเชียงราย โดยคำนึงถึงเมื่อครั้งลาวจงสร้างเมืองบริเวณเชิงดอยผาเลา และลาวเคียงสร้าง (ปรับปรุง) เมืองเงินยางบริเวณ เชิงดอยทุง (ดอยตุง) ดอยท่า ดอยย่าเถ้า ความว่า...ลวจังกรเทวบุตรค็รับเอาคำพระญาอินทาว่า สาธุ ดีดีแล ว่าอ้ัน

๒๗ แล้วค็จุตติแต่ชั้นฟ้าลงมากับปริวารแห่งตนพันนึ่ง ก่ายเกินเงินทิพแต่ชั้นฟ้า นัยยะ ๑ ว่าก่ายแต่ปลายดอยทุงลงมา เอาปฏิสันธิ โอปปาติกา โสฬสวสฺสุทฺเทสิโก ราชกุมาโร วิย เกิดมาเปนปรุ สิ สามญะ เปนดั่งราชกุมารอนั ได้ ๑๖ ขวบ เข้า ทรงวัตถาภรณะเครื่องง้าอลังการนั่งอยู่เหนืออาสสนาใต้ร่มไม้พทระ คือว่าไม้ทันควรสนุกใจ มีที่ใกล้น้ำ แมส่ ายในเมอื งชยวรนคอร คอื ว่าเมืองเชยี งลาว - ตำนานพนื้ เมอื งเชยี งใหม่ อยู่บ่นานเท่าใด ช้างมังคละเจ้ามังรายปล่อยไพหัวดอยหนวันออก เจ้าไพตามรอยช้าง หันประเทสที่ ๑ ข้างริมน้ำแม่กก มีม่อนดอยสูงสะเกิงงามนัก ท้าวจิ่งคระนิงใจว่า เมื่อปู่คูเจ้าลาวจงส้างบ้านหื้อปู่คูเจ้าลาวเกล้าอยู่ ได้ยินว่าเพิกตีนดอยผาเลาวันนั้น เมื่อปู่คูเจ้าลาวเครียงส้างเมืองเงินยางค็จิ่มตีนดอยทังสาม คือ ดอยทุง ดอยท่า ดอยย่าเถ้า วันนั้นดีหลี เหตุดั่งนั้น ควรคูกะทำม่อนดอยหื้อเปนสะดือเมือง คือท่ำกลางเมือง ควรชะแล - ตำนาน พื้นเมืองเชียงใหม่ ยังมีเทวบุตต์ตน ๑ เลงหันยังเมืองเชียงลาวที่นั้น เปนที่ตั้งแห่งมหากระสัตราพายหน้า จิ่งก่ายเกินเงิน ทิพพ์แต่ชั้นฟ้าลงมา ไนยะ ๑ ว่าปลายดอยท่าดอยทุง ลงมาเอาปฏิสนธิในร่มไม้พัทธรต้น ๑ คือว่าไม้ทัน เปนโอปปาตกิ ะกบั บรวิ ารพัน ๑ ฅนทังหลายหนั เกนิ เงนิ อนั น้ัน เปนอาจารยิ ะนกั จง่ิ เรยี กกนั มาดู เกนิ อนั น้ันก็ปุดข้ึน เมืออากาศพายบน ฅนทังหลายผอ่ ดูเกินเงนิ อันน้ันยัง จ่ิงร้องว่า เงนิ ยงั วา่ อ้นั เมอื งเชียงลาวทนี่ น้ั ลวดไดช้ ่ือว่า เมือง เงินยัง เพื่ออั้นแล ไนยะ ๑ ว่าไม้พัทธรต้นนั้นใหญ่สูงนัก มีต้นอันขาวเปนดั่งเงินนั้น ตั้งอยู่ (กลางต้น) ยางอัน ๑ ฅน ทังหลายจ่ิงเรียกวา่ เงินยาง เพื่ออั้นแล - พื้นเมืองเชยี งรายเชยี งแสน ตำนานเมืองพะเยา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในรัชสมัยลาวเคียง ได้มีการปรับปรุงขยายแนวคูเมืองใหม่ ใกล้กับแม่น้ำละว้า ขนานนามเมืองใหม่วา่ ยางสาย แล้วเปลีย่ นชื่อแม่นำ้ ละว้าเป็นแม่สาย แสดงให้เห็นว่าสถานที่ตง้ั ของเมืองเงินยางควรอยู่ติดน้ำแม่สายเชิงดอยตุง ไม่ใช่เมืองเชียงแสนดังที่เชื่อถือกันในปัจจุบัน ซึ่งตำนานพื้นเมือง เชียงใหมก่ ล่าวว่า พญาแสนพูสรา้ งเมอื งเชยี งแสนทับเวยี งรอย ส่วนว่าท้าวลาวเฅียงจิ่งร่ำเพิงว่า บ้านเมืองอันใดหารั้วเวียงแก่นบ่ได้ดังอั้น บ่สมเป็นราชะธาณีเมือง ใหญแ่ ล ขา้ เสกิ มาหาที่เพง่ิ บไ่ ดแ้ ล หางทงุ ปู่หมอ่ นกูตกไหนควรกสู ร้างเวยี งทน่ี น้ั เทอิ ะ ว่าอ้ัน แลว้ ท้าวคไ็ พพจิ ารณาดู ที่อันจักสร้างเวียงนั้น แล้วท้าวค็หื้อตัดเอาหัวยางอัน ๑ ไปเกี้ยวเอาถ้ำอัน ๑ แล้วเขิงเมือรอดแม่น้ำอัน ๑ ชื่อว่าแม่ ละว้า ข้างวันออก เอาตีนนาเปนแดน คันเขิงแล้วค็หื้อฅัวพื้นหื้อราบเพียงเรียงงาม ที่สูงค็หื้อค้ำ ที่ต่ำค็หื้อยอ ที่ตอ่ หือ้ สมิ ทีห่ น้ิ คห็ ื้อเพกิ เสีย ซ้ำทน่ี ำ้ คห็ อื้ ก่ายขัวขา้ ม แล้วนมิ นเจา้ ภกิ ขสุ ังฆะไปสดู ถอนท่จี ักต้ังฅุ้มน้อยแห่ง ๑ ท่ำกลาง เวียงแห่ง ๑... ...เพื่อหื้อเปนมังคละสรีเตชะอนุภาวะสืบสายท้าวพระญาไพพายหน้าชั่วลูกหลานเหลนดีหลี เหตุดัง อ้ันเวยี งอันน้นั ได้ชื่อว่ายางสาย ถำ้ อนั นนั้ ได้ชื่อว่าถ้ำเกย้ี ว น้ำแมล่ ะว้าไดช้ ่ือว่าแม่สาย มาต่อบัดนี้แล – ตำนานเมือง พะเยา สอดคล้องกับการวิจัยสำรวจพื้นที่ “เวียงพางคำ” ของ วรสิทธิ์ โอภาพ ที่พบว่าเวียงพางคำ ซึ่งเป็นเมือง โบราณในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตัวเมืองมีแนวคันดินแบ่งเป็น 2 เมือง โดยมีเมืองอยู่แล้ว แนวคันดิน เพิ่งสร้างทีหลังเพื่อขยายเขตตัวเมือง และตั้งอยู่บริเวณดอยเวา ดอยคา ดอยป่าเลา (ดอยผาเลา) ซึ่งเป็น แนวเดียวกันกับดอยตุง เวียงพางคำจึงควรเป็นเมืองเดียวกันกับเมอื งเงนิ ยาง ไม่ควรเป็นเวียงสีต่ วงหรอื เวียงพานคำ ของพระเจ้าพรหมตามท่ีเชื่อกนั ในปัจจุบนั

๒๘ ภาพเขียนแสดง “ลาวจังกราช” วัดมง่ิ เมือง ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงลาว (๑) ลาวจังกราช (หรือชื่ออื่น ลาวจง, ลาว จังราช) (๒) ลาวเกล้าแก้วมาเมือง (๓) ลาวเสา (๔) ลาวตั้ง (๕) ลาวกม (๖) ลาวแหลว (๗) ลาวกับ (๘) ลาวกืน (๙) ลาวเครียง (ลาวเคียง) ขยายเมืองยางสาย (๑๐) ลาวกิน (ลาวคริว) (๑๑) ลาวทึง (๑๒) ลาวเทิง (๑๓) ลาวตน (๑๔) ลาวโฉม (๑๕) ลาวกวัก (๑๖) ลาวกวิน (๑๗) ลาวจง (คนละคนกับลาวจังกราชหรือลาวจง ต้นราชวงศ์ลาว) (๑๘) ลาวชื่น มีน้องชื่อ จอมผาเรืองหรือขุนจอมธรรม ซึ่งได้ไปสรา้ งเมืองพกู ามยาว (พะเยา) และมีลูกชื่อพญาเจือง (๑๙) ลาวเจือง, พญาเจือง, ขุนเจือง, พญาเจืองหาญ หรือ ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง เป็นกษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเปน็ วีรบุรุษในตำนานสองฝั่งโขง เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ตีได้ดินแดนมากมาย รบชนะแกว (เวียดนาม) พญาเจืองได้รับ การราชาภิเษกจากพญาห้อลุ่มฟ้าเพาพิมาน ชาวไทลื้อ ชาวลาวเทิงล้านช้าง ชาวไทยวนล้านนา ต่างอ้างว่า พญาเจืองเป็นบรรพบุรุษของพวกตน มีวรรณกรรมกล่าวขานถึงมากมาย เช่น มหากาพย์โคลงท้าวฮุ่งท้าวเจือง มี ความยาวกว่าเกือบ 5,000 บท (๒๐) ลาวเงินเรือง (๒๑) ลาวชื่น (๒๒) ลาวมิ่ง (๒๓) ลาวเมิง (๒๔) ลาวเมง (๒๕) พญามังราย ส้ินสดุ ราชวงศล์ าว สถาปนาอาณาจกั รลา้ นนา เร่มิ ราชวงศม์ งั ราย (ตำนานพ้นื เมอื งเชียงใหม่)

๒๙ แคว้นพะเยา หรือ นครรัฐพะเยา๑๙ เป็นนครรัฐอิสระในจังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ใกล้น้ำแม่อิง ซึ่งไหลลงมา จากเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นอาณาจักรร่วมสมัยเดียวกับยุคปลายของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน แคว้นพะเยา เจรญิ รงุ่ เรืองสงู สุดในรัชกาลพญางำเมือง เคยขยายอำนาจปกครองนครรัฐนา่ นระยะหนึ่ง ทงั้ ยงั มีความสัมพนั ธ์อันดี กับอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรสุโขทัย แต่ภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 1877-1879 พะเยาถูกผนวกเข้ากับ ลา้ นนาในสมยั พญาคำฟูทเี่ ขา้ ปลน้ พะเยาจากความร่วมมือของนครรฐั นา่ น พญาคำฟู๒๐ เปน็ พระมหากษตั รยิ ใ์ นราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรลา้ นนา ครองราชย์ พ.ศ. 1871 หรอื ๑๘72 – 1881 “พญาคำฟู” มีพระอิสริยยศเดิมว่า “ท้าวคำฟู” เป็นพระราชโอรสในพญาแสนพู ตามตำนาน สิบห้าราชวงศ์กล่าวไว้ว่า “เจ้าพระญาแสนภูก็แต่งลูกตน เจ้าพ่อท้าวคำฟู อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ ส่วนตนเจ้าก็ไป สง่ สะกาน เจา้ พระญาไชยสงครามพ่อในเมืองเชยี งราย ได้ 1 เดือน บวั ระมวลชอุ นั ท้าวก็ลวดอยเู่ สวยเมอื งเชียงราย หั้นแล แล้วก็แต่งหื้ออภิเษกพ่อท้าวคำฟู ลูกตนอายุได้ 26 ปี หื้อเป็นพระญาในเมืองเชียงใหม่ในปีเปิกสี ศักราชได้ 690 ตัวปีหั้นแล” หลังจากราชาภิเษกท้าวคำฟูเป็นพญาในเมืองเชียงใหม่ พญาแสนพูก็ทรงย้ายไปเสวยราชสมบัติ ที่เมืองเชียงแสน เมื่อพระญาแสนพูเสด็จสวรรคต พญาคำฟูจึงทรงย้ายครองราชย์เมืองเชียงแสน ระหว่าง พ.ศ. 1881 – 1888 “พญาคำฟู” ได้พัฒนาปกครองนครเชียงใหม่ให้เกิดความผาสุก ร่มเย็น นับเป็นช่วงเวลาท่ี เชียงใหม่มีความเจริญรุ่งเรือง สงบสุข ไม่มีศึกสงครามในยุคสมัยของพระญาคำฟูนี้ พระองค์ทรงร่วมมือกับ พญาผานอง เจ้าเมืองปัว เข้าปล้นเมืองพะเยาได้ และสามารถที่จะผนวกเอารัฐพะเยาที่เป็นอิสระอยู่เข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของล้านนาได้ หลังจากพระญาคำฟูเสด็จสวรรคต ท้าวผายูพระราชโอรส จึงรับราชาภิเษกเป็นพญาใน เมืองเชียงใหม่ พญาคำฟูสวรรคตจากการถูกเงือกหรือจระเข้กัด ถือเป็นการตายร้าย จึงได้รับการบูชาเป็นผีอารักษ์ ปกป้องเมืองเชียงใหม่ ส่วนโกศบรรจุพระบรมอัฐิของพญาคำฟู ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2469 ช่วงที่ครูบาศรีวิชัย บูรณะวัดพระสิงห์ แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเก่า แต่ภายหลังโกศพระบรมอัฐิหายไป อย่างไรร้ ่องรอยและไมม่ ีผใู้ ดออกมารับผดิ ชอบ กู่บรรรจพุ ระบรมอฐั ิพญาคำฟู วดั พระสิงห์ จงั หวดั เชยี งใหม่ ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/

๓๐ พญาผากอง หรือ พญาผานอง๒๑ เป็นโอรสของเจ้าเก้าเกื่อนหรือปู่ฟ้าฟื้น เดิมชื่อขุนใสหรือขุนใส่ยศ สืบเชื้อสายมาจากพญาภูคา เจ้าเมืองภูคา ขุนฟอง ปู่ของพญาผานองแยกมาตั้งเมืองพลัวหรือเมืองปัว ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๖๓-๑๘๙๒ เมื่อสวรรคตแล้ว โอรสสององค์คือเจ้าไสและเจ้ากานเมืองได้ครองราชย์ต่อมา เจ้ากานเมือง มีโอรสชื่อ “พญาผากอง” ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๐๔-๑๙๒๙ พญาผากองนี้เป็นผู้สร้างเมืองน่านที่เวียงกุม บ้านห้วยไคร้ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๙ เชื้อสายของพญาผากองได้ครองเมืองน่านจนถึงเจ้าผาแสงเป็นองคส์ ุดท้าย ก่อนที่ง เชียงใหม่ จะส่งคนมาปกครองเมืองน่านโดยตรง ตำนานเมืองเหนือ และพงศาวดารโยนก บันทึกไว้ว่า... พระยาภูคา เป็นกษัตริย์ครองเมืองยาง (หรือเมืองภูคา) ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ วันหนึ่งพรานป่าคนหนึ่ง ไปล่าเนื้อบนภูคาได้พบไข่ปลา ขนาดเท่าผลมะพร้าว วางอยู่ใต้ต้นไม้ 2 ฟอง จึงนำมาถวายพระยาภูคา พระองค์ เหน็ เปน็ ของประหลาดกเ็ อาไข่ฟองหน่งึ ใส่ไว้ในกะทองิว้ (น่นุ ) อีกฟองหนึ่งใสไ่ ว้ในกะทอฝ้าย อยู่มาไมน่ านไข่ท่ีใส่ไว้ ในกะทอนุ่นก็แตกออกก่อน ปรากฏเป็นทารกรูปงามพระยาภูคาจึงเลี้ยงไว้ ต่อมาอีก 2 ปี ไข่ในกะทอฝ้ายก็แตก ออกมาอีกเป็นทารกรูปร่างงดงามเช้นกัน พระยาภูคาจึงตั้งชื่อทารกคนแรกว่า “เจ้าขุนนุ่น” ส่วนองค์ที่กำเนิดใน กะทอฝ้ายตั้งนามว่า “เจ้าขุนฟอง” จึงเลี้ยงทารกทั้งสองไว้เป็นราชบุตรบุญธรรม วันเวลาผ่านไป ทารกทั้งสองก็ เติบโตเป็นหนุ่ม เจ้าขุนนุ่นผู้พี่มีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี เจ้าขุนฟอง ๑๖ ปี พระยาภูคา จึงให้ราชบุตรบุญธรรมทั้งสอง องค์ไปตามหาเถรแตง ซึ่งเป็นฤาษีหรือชีผ้าขาวผู้มีฤทธิ์ เพื่อขอให้เถรแตงสร้างเมืองให้เจ้าสองพี่น้อง เถรแตง จึงนำสองพี่น้องไปดูทำเลที่จะสร้างเมือง จึงได้สร้างเมืองขึ้น ณ บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ให้ชื่อว่า “เมือง จันทรบุรี” (เวียงจันทร์) แล้วให้เจ้าขุนนุ่นผู้พี่ครองเวียงจันทร์ จากนั้นเถรแตงจึงสร้างเมืองห่างจากแม่น้ำน่าน ๕,๐๐๐ วา ตั้งชื่อเมืองว่า “วรนคร” (คือเมืองปัว) แล้วให้เจ้าขุนฟองผู้น้องครองเมือง ตำนานเมืองเหนือ หลายเมือง เมื่อจะกล่าวถึงการสร้างเมือง มักยกให้ฤาษีเป็นผู้สร้าง คำว่า “ฤาษี” หมายถึง ชีผ้าขาว ผู้อยู่ตามถ้ำ ตามป่าเขามีผู้คนให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างสูง จึงเป็นผู้มีบารมีในการชักชวนชาวบ้านชาวเมืองให้ช่วยกัน ถางป่าสร้างบ้านแปงเมือง มาในยุคหลังก็มีครูบาศรีวิชัยเป็นตัวอย่างที่สามารถแลไปเทียบกับอดีตได้ก็สมัยโบราณ พระสงฆ์ยังไม่มีอิทธิพลในสังคมมากนัก ชีผ้าขาวหรือฤาษีจึงได้รับการยอมรับนับถืออย่างสูงจากสังคมยุคน้ัน จึงเป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นผู้ประสานประโยชน์ในสังคม ระหว่างคนชั้นสูงคือผู้ครองเมือง กับคนชั้นล่างคือชาวบ้าน ชาวเมือง ตำนานการสร้างเมืองหริภุญชัย เมืองเขลางค์นครก็มีฤาษีเป็นผู้สร้างให้เจ้าชาย ตำนานของพ่อขุนงำเมือง ก็ไปเรียนวิชากับพระฤาษีที่เขาสมอคอน เมืองพิจิต พร้อมกับพระร่วงเจ้า และเครื่องรางของขลังวัตถุมงคลยุคน้ัน ก็สร้างขึ้นโดยฤาษีหรือชีผ้าขาว ไม่ว่าพระรอดลำพูน หรือพระซุ้มกอ จนถึงพระผงสุพรรณ รูปฤาษีมาจากกรุเก่าแก่ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีคราบกรุเป็นสนิมเหล็กเกาะติดแน่น แบบเดียวกับพระรอดลำพูนพิมพ์ต้อก็คงสร้างมาในยุคเดียวกัน ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นรูปฤาษีนารอด ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวไทยยุคโบราณ คือ ฤาษหี รือชผี า้ ขาว ต่อมาเมื่อเจ้าเมอื งแตล่ ะเมอื งในยุคราชวงศพ์ ระเจา้ มังราย รบั เอาพระพทุ ธศาสนาลงั กาวงศ์เข้ามา พระสงฆ์ก็เร่มิ มบี ทบาททางสังคมมากขน้ึ และเจริญเฟอ่ื งฟทู ีส่ ดุ ในสมยั พระเจา้ ติโลกราช รชั กาลที่ ๙ แห่งเชียงใหม่ เจ้าขุนฟองครองเมืองวรนครจนสิ้นอายุขัย ก็มีพระโอรสนามพระยาเก้าเกื่อน ครองเมืองสืบมา ต่อมา เมื่อพระยา ภูคา ผู้เป็นปู่ชราภาพก็ให้พญาเก้าเกื่อนไปครองเมืองภูคา พระยาเก้าเกื่อนจึงมอบวรนครให้นางพญาคำปินมเหสี อยู่ครองแทน ซึ่งตรงกับสมัยพ่อขุนงำเมือง อาณาจักรพะเยา (๑๘๐๑-๑๘๖๑) ต่อมาพ่อขุนงำเมืองก็ยกกองทัพ ไปตีวรนคร พระนางคำปินจึงแจ้งข่าวศึกไปถึงพระยาเก้าเกือน พร้อมกับแต่งทัพออกต่อสู้กับกองทัพพะเยา แต่ไม่สามารถต้านทัพของพ่อขุนงำเมืองได้ นางพญาคำปินจึงหลบหนีออกจากเมือง พร้อมกับหญิงรับใช้คนหนึ่ง ไปอาศัยกระท่อมกลางป่าแห่งหน่ึงและประสูติกุมารทีก่ ระท่อมกลางป่านั้น ในบรเิ วณปา่ แหง่ นัน้ มแี ตห่ ้วยท่ีแห้งแล้ง

๓๑ หาน้ำใช้น้ำอาบไม่มี นางและบุตรน้อยจึงได้รับความลำบากมาก นางจึงตั้งสัจอธิษฐานว่า หากกุมารมีบุญญาธิการ จะได้ครองเมืองก็ขอให้มีฝนตกลงมาเถิด ทันใดนั้นฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก เกิดน้ำไหลนองพัดเอาก้อนหินก้อนผา มากองไว้เป็นอันมาก พระนางเห็นเช่นนั้นก็มีพระทัยยินดี อุ้มเอากุมารน้อยไปสรงน้ำและได้อาศัยอยู่ที่กระท่อม หลังนั้นสืบมา เช้าวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านซึ่งเป็นเจา้ ของกระท่อมไร่กลางป่านั้นมาทำไร่ปลูกสวน ได้ยินเสียงกุมารร้องไห้ จึงเข้าไปดู รั้นเห็นนางพญาก็จำได้ เพราะเคยเป็นข้าเก่าของพระยาเก้าเกื่อนมาก่อน จึงรับเอานางพญาและกุมาร ไปเลี้ยงไว้ที่บ้าน จนกุมารเติบใหญ่ขึ้น อายุได้ ๑๖ ปี นายบ้านเจ้าของกระท่อมกลางป่าดังกล่าวนั้น จึงนำกุมาร ไปถวายแด่พ่อขุนงำเมือง พระองค์เห็นหนุ่มน้อยก็นึกรักเอ็นดู จึงขอเอาไปเลี้ยงเป็นราชบุตรบุญธรรม ตั้งให้เป็น “ขุนใส่ยศ” ให้ไปกินเมืองปราด พ่อขุนงำเมืองได้หญิงสาวชาววรนครผู้หนึ่งเป็นชายา นามว่า “พระนางอั้วสิม” มีโอรสด้วยกันองค์หนึ่งนามว่า “เจ้าอาบป้อม” เมื่อพ่อขุนงำเมืองจะเสด็จกลับไปครองเมืองพะเยา จึงมอบให้ พระนางอั้วสิมและโอรสอยู่ครองเมืองวรนคร หลังจากพ่อขุนกลับพะเยาไม่นาน พระนางอั้วสิมก็พาโอรสไปเยี่ยม และเกิดมีเรื่องแหนงใจกับพ่อขุนงำเมืองก็บังคมลากลับเมืองวรนคร ต่อมานางพบกับขุนใส่ยศก็มีจิตเสน่หากัน จึงได้อภิเษกสมรสกับขุนใส่ยศ ครองเมืองวรนครด้วยกัน ความทราบถึงพ่อขุนงำเมืองก็ทรงพระพิโรธเป็นอันมาก จึงยกกองทัพมาตีเมืองวรนครอีกครั้ง ขุนใส่ยศเจ้าเมืองปราดจึงยกรี้พลออกสู้รบ และให้เจ้าอาบป้อม โอรสของ พ่อขุนออกรบด้วย พอ่ ขุนเห็นโอรสออกมาสูร้ บดว้ ย ดงั นนั้ กน็ กึ สงสาร จงึ ถอยรี้พลกลบั เมืองพะเยา ชาวเมอื งวรนคร จงึ พร้อมใจกันทำพธิ ีราชาภิเศกให้ขนุ ใสย่ ศเปน็ “เจ้าพญาผานอง” ครองเมืองวรนครสืบมา พระยาผานองได้ครองเมืองสืบต่อมาจนถึง พ.ศ. ๑๘๙๓ ก็ถึงพิราลัย ทรงมโี อรส ๖ องค์ “ขนุ ไส” โอรส องค์น้อยได้ขึ้นครองเมืองแทน ต่อมาปี พ.ศ. ๑๘๙๖ ก็พิราลัย พระยาการเมืองราชโอรสองค์โตได้ขึ้นครอง เมืองแทน พระยาการเมืองได้ทำไมตรีกับกรุงสุโขทัย (เข้าใจว่าครั้งนั้นเมืองน่านคงจะเป็นเมืองขึ้น ของกรุงสุโขทัย) ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ (จ.ศ.๗๑๕) กรุงสุโขทัย มีการทำบุญทางศาสนาและได้บอกให้พระยาการเมืองทราบ พระยา การเมืองจึงลงไปช่วยเหลือและได้เกิดชอบกับพระยาโสปัตติกันทิ อำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่เมืองสุโขทัย หลังจากที่ได้ ทำบุญเสร็จ เมื่อพระยาการเมือง อำลากลับ พระยาโสปัตติกันทิ ได้มอบพระธาตุเจ้า ๗ องค์ กับพระพิมพ์คำ (ทองคำ) ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ ใหพ้ ระยาการเมอื ง จงึ อนั เชญิ พระธาตดุ ังกล่าวกลับมายงั เมอื งปวั และได้ ทำพิธีบรรจพระบรมธาตุ และพระพิมพ์ที่ได้มานั้นไว้ที่ “ดอยภูเพียงแช่แห้ง” เมื่อได้อันเชิญพระธาตุเจ้าบรรจุที่นั้น เรียบร้อย พระยาการเมืองได้เสด็จกลับคืนยังเมืองปัว อยู่ต่อมาไม่นานนัก พระยาการเมืองจึงอยากอยู่ใกล้ชิด พระธาตุเจ้า เพื่อจะได้ทำการสักการบูชาโดยสะดวก จึงโปรดให้สร้างเมืองขึ้น ณ เชิงดอยภูเพียงแช่แห้ง ในปี พ.ศ. ๑๙๐๖ (จ.ศ.๗๒๕) เจ้าผากองราชบุตรขึ้นเสวยราชย์แทน ในปีนั้นเองเจ้าผากองครองเวียงแช่แห้งได้ ๖ ปี ก็เกิด แห้งแล้งขาดแคลนน้ำ จนไม่มีให้สัตว์พาหนะกิน เจ้าผากองจึงขยับขยายไปสร้างเมืองอยู่ใหม่ ทรงทอดพระเนตร เห็นบ้านห้วยไค้ เป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหารน้ำท่าบริบูรณ์ดี จึงโปรดให้สร้างเมืองขึ้น คือ “เมืองน่าน” เมืองน่านเก่าอยู่ทางทิศใต้เมืองน่านปัจจุบัน ในตำนานพื้นเมืองระบุปี ที่เจ้าผากองทรงสร้างเมืองน่าน (เก่า) นี้ว่า “ปีรวายสง้า (มะเมีย) จุลศักราชได้ ๗๓๐ ตั๋ว (พ.ศ. ๑๙๑๑) เดือน ๑๒ (เหนือ) ขึ้น ๖ ค่ำ วันอังคาร ยามแถร” เจ้าผากองครองเวียงแช่แห้งได้ ๖ ปี แล้วย้ายไปครองเมืองน่าน (เก่า) ครองอยู่ได้นาน ๒๑ ปี ลุวีรวายยี (ปีขาลสัมฤทธิศก) จุลศักราช ๗๕๐ พ.ศ.๑๙๓๑ ก็ถึงพิราลัย เจ้าคำตั๋นราชบุตรได้ครองเมืองสืบมา ตลอดเวลาทพ่ี ญาผานอง ครองวรนคร (เมืองนา่ น) ทรงมีความสจุ รติ ยุตธิ รรม เปน็ นกั รบทเี่ ข้มแข็งและปกครองที่ดี เมืองวรนครเจริญรุ่งเรืองมาก ไม่มีเมืองใดเลยที่กล้ามาตีเมืองวรนคร ถึง พ.ศ.1892 เวลา30ปี ครั้นพิราลัย พญาผากองนี้เป็นผู้สร้างเมืองน่านที่เวียงกุม บ้านห้วยไคร้ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๙ เชื้อสายของพญาผากองได้ครอง

๓๒ เมืองน่านจนถึงเจ้าผาแสงเป็นองค์สดุ ทา้ ย ก่อนที่เชียงใหมจ่ ะสง่ คนมาปกครองเมืองน่านโดยตรง ด้วยคุณงามความ ดีและอานภุ าพของพญาผานอง ชาวอำเภอปัวจึงสร้างอนสุ าวรีย์ไว้เปน็ ทีย่ ึดเหน่ียวจิตใจและเป็นที่สักการะเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ และปรบั ปรุงเพม่ิ เติม พ.ศ.๒๕๓๖ อนุสาวรยี พ์ ญาผานอง อำเภอปวั จงั หวัดน่าน ทีม่ า https://www.tessabanpua.com/tourist-attraction/ แคว้นพะเยา๑๙ เมืองภูกามยาว หรือ พยาว เกิดจากการขยายตัวของราชวงศ์ลาวที่แยกตัวออกมา เพื่อสร้างเมืองใหม่ สันนิษฐานว่าประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพญาลาวเงินแห่งเมืองเงินยางได้ส่งเจ้าราชบุตร นามขุนจอมธรรมสร้างเมืองพะเยาและปกครองในฐานะนครรัฐอิสระไม่ขึ้นกับใคร มีความสัมพันธ์อันดีกับเมืองเงิน ยางในฐานะญาติและพันธมิตร แคว้นพะเยา เริ่มมีบทบาทโดดเด่นขึ้นต้นพุทธศตวรรษที่ 19 กษัตริย์นาม พญางำเมือง กษัตริย์พระองค์ ที่เก้า เป็นพระสหายของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพญามังราย ทั้งสาม พระองค์ได้ร่วมมือกันทำสัญญาสามกษัตริย์ในปี พ.ศ. 1830 เพื่อต่อต้านการขยายตัวของจักรวรรดิ มองโกล ก่อนหน้านี้พญามังรายเคยยกทัพไปเมืองพะเยาในปี พ.ศ. 1819 ซึ่งไมไ่ ดร้ บกันแต่กลับเจรจากนั สรัสวดี อ๋องสกุล ได้สนั นษิ ฐานวา่ เป็นเพราะ “...ความเปน็ สหายและความเขม้ แข็งของพญางำเมอื งในขณะนัน้ เป็นอปุ สรรคต่อการยดึ เมืองพะเยา” ด้วยความเข้มแข็งดังกล่าว พญางำเมืองได้ขยายอำนาจและยึดครองนครรัฐน่าน โดยส่งพระชายา และราชบุตรไปปกครอง ถือเป็นยุคท่ีพะเยาเจริญรุ่งเรืองสูงสดุ หลังสิ้นรัชกาลพญางำเมือง ท้าวคำแดงพระโอรสได้ ครองเมืองสืบต่อ ยังคงสัมพันธ์อันดีกับล้านนา และเคยช่วยพญาไชยสงครามปราบกบฏขุนเครือ และหลังจากการ ปราบกบฏก็ได้ขอนางแก้วพอตาธิดาพญาไชยสงครามใหเ้ สกสมรสกับท้าวคำลือ พระราชโอรสซง่ึ เปน็ กษัตริย์พะเยา องค์สุดท้าย ซึ่งเฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี มองว่า การมาของนางแก้วพอตาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พะเยาเสียเอกราช เพราะ

๓๓ ในปี พ.ศ. 1877-1879 พญาคำฟูแห่งล้านนา ทรงประสบความสำเร็จในการปล้นเมืองพะเยาจากความร่วมมือ ของนครรัฐนา่ น และอาจได้รับการสนับสนุนจากนางแก้วพอตาที่เป็นพระปิตุจฉาพญาคำฟู อันเป็นการดีต่อล้านนา ท่ีเมืองเชียงรายและเชยี งแสนจะปลอดภัยจากการโจมตีของพะเยา และตง้ั เมืองพะเยาเป็นฐานอำนาจท่ีจะขยายลง ไปสู่นครรัฐแพร่และน่านต่อไป หลังสิ้นเอกราช เมืองพะเยาปรากฏความสำคัญในฐานะส่วนหนึ่งของล้านนา ในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เพราะได้ส่งขุนนางที่มีฐานะเป็นอา ช่วยเหลือให้พระองค์ครองราชย์มาปกครองพะเยา และตอบแทนความชอบด้วยการกำหนดตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยาเปน็ “เจา้ สี่หมื่น” และในรัชสมัยพระเจา้ ติโลกราช ทรงใหค้ วามชอบแก่ พระยายุทธิษฐิระ อดตี เจ้าเมอื งสองแควผู้มาสวามภิ ักดใิ์ ห้การยกให้ครองพะเยา แตก่ าลตอ่ มา เมอ่ื ล้านนาไดย้ ดึ ครองนครรฐั แพรแ่ ละน่านแล้ว เมอื งพะเยาจึงถกู ลดบทบาทลง ภูมิศาสตร์พะเยา จากการขยายตัวของราชวงศ์ลาวที่ขยายตัวลงมาตามที่ราบลุ่มเชียงราย-พะเยา ตัวเมืองพะเยาตั้งอยู่บนลุ่มน้ำอิงที่ไหลลงสู่กว๊านพะเยา เป็นที่ราบปลายภูเขาที่มีชื่อเรียกตามตำนานว่า “ภูยาว” ต่อมาได้กลายเป็นคำว่า “พยาว” และเป็น “พะเยา” ที่ตั้งเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำสองแหล่งคือ น้ำแม่อิงและกว๊านพะเยาและเป็นท่ีราบกว้างใหญ่เหมาะสมแก่การตั้งเมือง เมื่อ “ขุนจอมธรรม” มาตั้งเมืองพะเยา เวยี งแหง่ แรกมีผังเมืองเปน็ รูปนำ้ เต้าเรียก “เวียงนำ้ เตา้ ” ต่อมาในสมัยพญาสิงหราชได้มกี ารขยายชุมชนออกมาทาง กวา๊ นพะเยา เพราะใกล้แหล่งน้ำเป็นเวียงรูปสเ่ี หล่ียมเรียก “เวียงลกู ตะวันตก” และถือวา่ เวยี งทั้งสองเป็นเวยี งแฝด ทั้งยังเป็นเวียงหลักของพะเยา นอกจากนี้ยังมีเวียงบริวาร ได้แก่ เวียงพระธาตุจอมทอง เวียงปู่ล่าม เวียงหนองหวี และเวียงต๋อม แคว้นพะเยามีข้อจำกัดด้านที่ตั้ง เพราะแวดล้อมไปด้วยเขาสูง พะเยาจึงเป็นเมืองเล็กและค่อน ข้างปิด มีเพียงทางตะวันออกเฉียงเหนือที่สามารถติดต่อกับเมืองเชียงของและเชียงรายได้สะดวก ส่วนทิศตะวันตก เป็นเทือกเขาสูงติดกับอำเภอวังเหนือ ด้านใต้ต่ออำเภองาวด้วยเขาสูง ส่วนตะวันออกติดกับนครรัฐน่านที่เต็มไป ด้วยขุนเขาเช่นกัน ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ทำให้นครรัฐแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเพียงช่วงแรก ๆ เท่านั้น ก่อนที่จะถูก ผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาในกาลต่อมา แคว้นพะเยาปกครองเมือง ดังน้ี (1) ทิศตะวันออก จรดขุนผากาด- จำบอน ตาดม้าน บางสถี ำ้ ไทรสามตน้ สบหว้ ยปู นำ้ พุง สบป๋ัง หว้ ยบ่อทอง ตาดซาววา ก่วิ แกว้ ก่ิวสามช่อง มีหลัก หินสามก้อนฝังไว้กิ่วฤาษี แม่น้ำสายตา กิ่วช้าง กิ่วง้ม กิ่วเปี้ย ดอยปางแม่นาค (๒) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อแดนขรนคร (๓) ทศิ ตะวันตก โป่งปดู หว้ ยแกว้ ดอยปุย แม่คาว ไปทางทิศใตก้ ่ิวรหุ ลาว ดอกจิกจอ้ ง ขนุ ถ้ำ ดอยต่งั ดอยหนอก ผาดอกวัว แซ่ม่าน ไปจรดเอาดอยผาหลักไก่ (๔) ทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเมืองในอำนาจปกครอง คือ เมืองงาว เมืองกาว สะเอียบ เชียงม่วน เมืองเทิง เมืองสระ เมืองออย สะสาว เมืองดอบ เชียงคำ เมืองลอ เมืองเชยี งแลง เมอื งหงาว แซเ่ หียง แซล่ ลุ ปากบ่อง เมืองปา่ เปา้ เมืองวงั แซซ่ อ้ ง เมอื งปราบ แจห้ ม่ (๕) ทิศใต้ จรด นครเขลางคแ์ ละนครหริภุญชัย ประชากรพะเยา เป็นผลจากการขยายตัวของเมืองเงินยางที่ขยายลงมายังที่ราบลุ่มเชียงราย-พะเยา เป็นดินแดนที่เรียกว่า “โยนก” มีประชากรเป็น ไทยวน ด้านการตั้งถิ่นฐานจะกระจายตามแอ่งหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นแนวยาวตามลำน้ำอิง เมื่อขุนจอมธรรมตั้งเมืองพะเยา ได้รวบรวมไพร่พลจากหัวเมืองต่าง ๆ ได้ 80,000 คน แบ่งเป็น 36 พันนา นาละ 500 คน ชุมชนที่เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ เป็นชุมชนเล็ก ๆ แยกกันอยู่เป็นแห่ง ๆ มีผู้นำ ชุมชนในนามของเจ้าผู้ปกครอง การตั้งชุมชนบ้านและเมืองได้พัฒนาจากถิ่นฐานที่อยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองที่มี วัฒนธรรมด้อยกว่า ผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างถิ่นที่เจริญกว่า นอกจากนี้ประชากรบางส่วนเป็นชาวกาว โดยเฉพาะที่เมืองงาวที่อยู่ใกล้กับนครรัฐน่านที่มีชาติพันธุ์เดียวกัน แคว้นพะเยาแต่เดิมนับถือผี ต่อมาพญางำเมือง ได้มีศรัทธารับคติพุทธศาสนาจากหริภุญชัยมาประดิษฐานในแคว้น หลังการรับพุทธศาสนาจึงมีการสร้าง

๓๔ พระพุทธรูปหินทรายและศาสนาวัตถอุ ืน่ ๆ กษัตริย์ทรงนับถือศาสนาพุทธและต้ังพระองค์ตามหลักทศพิศราชธรรม การดำเนินชีวิตโดยทั่วไปของชาวพะเยาก็มีลักษณะคล้ายกันคนเมืองในล้านนา๒๒ คือนิยมรับประทานข้าวเหนียว นั่งล้อมวงขันโตก อยู่บ้านใต้ถุนสูงสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ตามชนบทยังคงพบเห็นหญิงสาวที่นุ่งผ้าซิ่น ผู้ชายนุ่งเตี่ยว สะดอ กลุ่มชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพะเยาได้แก่ชนชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากสิบสองปันนาทาง ตอนใต้ของจนี เมอื่ ราว 200 ปีกอ่ น ความสมั พนั ธ์ระหว่างประเทศ ๑. แคว้นเงินยาง แคว้นพะเยามีความสัมพันธ์กับแคว้นเงินยางด้วยมีปฐมกษัตริย์มาจากเมืองเงินยาง ดังกล่าว การดำเนนิ การระหวา่ งสองรฐั จงึ เป็นเป็นในฐานะเครือญาติ เมือ่ มศี ึกสงครามท้ังสองรัฐก็จะชว่ ยกันปกป้อง บ้านเมือง เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวถึงขุนเจืองครองเมืองพะเยาได้ไปช่วยเมืองเงินยางปราบแกว หลังจากทำสงครามไล่แกวแล้ว ขุนเจืองจึงข้ึนครองเมืองเงินยางสืบมา หรือกรณีของพระชายาของพญางำเมืองคือ นางอ้วั เชยี งแสน จากชอื่ แสดงให้เหน็ ว่า นางอ้วั เปน็ ธิดาจากเมอื งเชียงแสน นนั่ คือพะเยาและเงนิ ยางมคี วามสัมพนั ธ์ ทางเครือญาติที่แนบแน่นผ่านการเสกสมรส ด้วยเหตุนี้แคว้นเงินยางจึงเป็นทั้งพระสหายและพระประยูรญาติสนิท สบื เนอ่ื งหลายชว่ั อายคุ น ๒. อาณาจักรล้านนา พญางำเมืองได้มีสัมพันธภาพกับพญามังรายแห่งล้านนา โดยในพงศาวดารเมือง เงินยางเชียงแสน ระบุว่า พญางำเมืองกับพญามังรายเป็นสหายกันมาแต่รุ่นปู่ การเป็นพระสหายของสามกษัตริย์ ทำให้เกิดการป้องกันภัยจากการรุกรานของมองโกล ด้วยการทำสนธิสัญญาสามกษัตริย์ในปี พ.ศ. 1830 ก่อนหน้านี้พญามังรายเคยยกทัพไปเมืองพะเยาในปี พ.ศ. 1819 ซึ่งไม่ได้รบกันแต่กลับมีการเจรจากัน แม้พะเยา และล้านนาจะมีการเสกสมรสเพื่อสร้างความสมั พนั ธ์เครือญาติกัน ดังกรณีของนางแก้วพอตาธิดาพญาไชยสงคราม กับท้าวคำลอื กษัตริย์องค์สุดท้ายของพะเยา แต่พะเยาก็ถกู ล้านนาหักหลงั ในสมัยพญาคำฟูที่ได้รบั ความร่วมมอื กับ นครรฐั นา่ น และหลงั จากนน้ั เปน็ ต้นมาพะเยาจงึ ตกเปน็ ส่วนหนึ่งของลา้ นนามาแตน่ น้ั ๓. อาณาจักรสุโขทัย พญางำเมืองได้มีสัมพันธภาพกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย ด้วยทรงศึกษาท่ี เมืองละโว้ร่วมรุ่นกัน ทั้งมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติด้วยพระราชธิดาในพญางำเมืองเสกสมรสกับบุคคลชนช้ัน ปกครองของสโุ ขทัย เฉลมิ วฒุ ิ ต๊ะคำมี เสนอวา่ คือพระยาเลอไทย มีพระราชโอรสด้วยกันคือ พ่องำเมือง ๔. นครรฐั น่าน เคยถกู พญางำเมอื งยึดครอง พรอ้ มกับส่งพระชายาและพระราชบตุ รปกครองอยู่หลายปี แต่ได้อิสระในหลายปีต่อมา และภายหลังได้ร่วมมือกับล้านนาปล้นเมืองพะเยาจนเป็นสาเหตุให้แคว้นพะเยา สลายตวั ไปเป็นสว่ นหนง่ึ ของลา้ นนา ๕. แคว้นหริภญุ ชัย เผยแผ่ศาสนาพุทธมายังแคว้นพะเยาจนเปน็ ทแี่ พร่หลายในรัชกาลพญางำเมอื ง เมืองพะเยา๒๗ ตั้งอยู่บนที่ราบปลายภูเขา มีชื่อเรียกว่าในตำนานว่า “ภูกามยาว” เป็นทิวเขาทอดยาว จากทิศเหนือลงใต้ เริ่มต้นจากบริเวณที่ราบทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงรายที่อำเภอพาน ลักษณะของหัวเขา ในจังหวัดเชียงรายที่ตั้งชัน จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดอยด้วน” ทิวเขานี้จะทอดยาวลงทิศใต้ และค่อยๆ ต่ำลง ทุกทีจนถึงที่ตั้งของตัวจังหวัดพะเยา จึงเป็นอันสิ้นสุดความยาวของทิวเขา ที่ปลายเขานี้จะมีลำน้ำชื่อว่า น้ำแม่อิง ซึ่งไหลมาจากทางทิศเหนือฟากตะวันตกของภูกามยาวตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือลงแม่น้ำโขง ต่อมาใน สมัยปัจจุบัน ได้มีการทำเขื่อนกั้นน้ำแม่อิงขนาดเล็กทางตอนใต้ของหนองเอี้ยง ดังนั้น หนองเอี้ยงซึ่งเคยน้ำแห้ง

๓๕ ในฤดูแล้ง จึงมีน้ำเต็มตลอดปี กลายเป็นสถานที่หย่อนใจแลเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด รู้จักกันในนามว่า “กว๊านพะเยา” สมยั เรม่ิ แรกของเมอื งพะเยาอยู่ในเร่ืองบอกเลา่ ท่มี ลี ักษณะปรัมปราคติ ถา้ หากจะใชร้ ะยะเวลาตามเรอ่ื งปรัมปราคติ ก็จะตกอยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งกล่าวถึง ขุนจอมธรรม ผู้เป็นโอรสองค์หนึ่งของเมือง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน อันเป็นสายสกุลผู้ครองเมืองที่สืบทอดมาจากลาวะจังกราช ต้นบรรพบุรุษตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 12 ขุนจอมธรรมได้แยกตัวจากบ้านเมืองเดิมลงมาทางทิศใต้ ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ปลายดอยชมพู หรอื ดอยดว้ น และได้สรา้ งเมืองพะเยาขนึ้ ปกครองตนเองอย่างอสิ ระ เป็นบ้านพีเ่ มอื งน้องทีใ่ กลช้ ดิ กบั เมืองหิรัญนคร เงินยางเชียงแสน ในยุคนี้ ตำนานเมืองพะเยาได้กล่าวถึงวีรบุรุษที่สำคัญคนหนึ่งคือ ขุนเจือง ผู้ทำสงครามต่อสู้เอา ชัยชนะบ้านเมืองต่างๆ ในละแวกใกล้เคียง และที่ไกลออกไปในคาบสมุทรอินโดจีน เช่นดินแดนล้านช้างและ เมืองแกวประกัน ซึ่งเข้าใจกันว่าหมายถึง ดินแดนในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในปัจจุบัน เรื่องราว ของขุนเจืองได้รับการอ้างอิงยืมไปเป็นวีรบุรุษของเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสนเช่นกัน และได้รับการบันทึกลง ในรูปของมหากาพย์ของชาวลาวล้านช้างด้วย การแพร่กระจายของเรื่องขุนเจือง จึงมีอยู่ทั่วไปในดินแดนสอง ฟากโขงตั้งแต่เขตสิบสองพันนา และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ลงมาดินแดนเหล่านี้คือที่อยูข่ องคนไทยลาว จึงอาจกล่าวได้ว่า เร่ืองของขุนเจือง เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อธิบายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางเชื้อชาติและ วัฒนธรรมของกลุ่มชนดังกล่าว ซึ่งรวมเอาเมืองน่านเข้าไปด้วย นอกเหนือไปจากเรื่องของขุนบูลม หรือ ขุนบรม ในตำนานของลาวล้านช้าง และเรื่องของพระเจ้าพรหมในตำนานสิงหนวติกุมาร เมืองพะเยารัฐอิสระเสรี หลังจาก ระยะเวลาในตำนานชื่อเมืองพะเยาได้ปรากฏเป็นครัง้ แรกในหลักฐานทางประวัติศาสตรท์ ี่เก่าแก่ทีส่ ุดคือ ศิลาจารกึ ของสโุ ขทัยหลักท่ี 2 ซงึ่ จารกึ ขนึ้ เม่ือประมาณพุทธศตวรรษท่ี 20 แต่เลา่ เหตุการณ์ยอ้ นหลงั กลับไปถึงระยะเวลาใน พุทธศตรวรรษที่ 18 เรียกช่ือเมอื งพะเยาว่า “พะยาว” ความหมายของช่ือเมืองพะเยาคงจะเลอื นหายไปจากความ เข้าใจของคนในสมัยก่อนนานมาแล้ว ดังเช่นมีการอธิบายชื่อเมืองพะเยาในตำนานของล้านนาว่ามาจากคำว่า “ภกู ามยาว” เพราะเมืองพะเยาตั้งอยูท่ ปี่ ลายภเู ขาซงึ่ มรี ูปรา่ งยาวดังชอื่ จากหลกั ฐานในเรื่องชอ่ื ท้งั ท่ปี รากฏออกมา ในรูปศิลาจารึกและคำอธิบายความหมายของผู้เล่าตำนาน พอที่จะทำให้เกิดภาพพจน์ได้ว่า การก่อตั้งชุมชนของ พะเยาคงจะเริ่มขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว อย่างน้อยก็ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 เล็กน้อย การเจริญเติบโตของ เมืองพะเยาขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ราบผืนไม่ใหญ่นักตามลุ่มแม่น้ำอิง ซึ่งไหลผ่านหล่อเลี้ยง เมืองพะเยาอย่างพอเพียงต่อระดับความเจริญเติบโตของเมืองขนาดนั้น เมื่อตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพะเยาได้มีวีรบุรุษที่สำคัญเกิดขึ้นพระองค์หนึ่ง คือ “พญางำเมือง” ซึ่งเป็นบุคคลรุ่นเดียวกันกับพญามังราย แห่งเมืองเชียงรายผู้เป็นพระญาติกัน และพ่อขุนรามคำแหงแห่งแคว้นสุโขทัย ผู้เป็นสหายร่วมสำนักเดียวกัน เมื่อครั้งเรียนอยู่ด้วยกันที่กรุงละโว้ ทั้งสามท่านได้แสดงบทบาทที่เหมือนกันอย่างหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวมบ้านพี่เมืองน้องต่างๆ ในละแวกใกล้เคียงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บทบาทด้านนี้ของพญางำเมือง พบจากพงศาวดารเมืองน่าน ที่กล่าวถึงการที่เมืองน่านครั้งหนึ่งในสมัยของพญางำเมืองได้รับการผนวกเข้าไว้ใน ดินแดนของเมืองพะเยาด้วย ในช่วงระยะเวลาของการรวบรวมบ้านเมืองของวีรบุรุษทั้งสามท่านนี้ เนื่องจาก อุปสรรคทางด้านสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีพอสมควร ตลอดจนเป็นระยะเวลาเริ่มแรกของการสะสมกำลังกันขึ้นมา ทำให้ดินแดนแคว้นสุโขทัยได้รับการแยกออกต่างหากจากบ้านเมืองของพญางำเมืองและพญามังราย สำหรับ พญาทั้งสองซึ่งเป็นพระญาติกันนั้น ในสมัยนี้น่าจะมีกำลังพอทัดเทียมกัน ประกอบกับพญามังรายมุ่งจุดหมายไปยงั พื้นที่อันอุดมสมบูรณ์กว่า ที่ลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน ในขอบเขตของแคว้นหริภุญไชย ความผูกพันเป็นสหายและ เครือญาติจึงยังคงดำรงอยู่ แม้จะมีการกระทบกระทั่งในเรื่องชายเขตแดนกันบ้างเล็กน้อยก็ตาม ก็ยังพอ

๓๖ ประนีประนอมกันได้ แต่ความปรารถนาที่จะรวบรวมเอาดินแดนฟากตะวันออกของเทือกเขาผีปันน้ำไว้เป็น อันเดียวกัน คือที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำกกเมืองเชียงราย ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิ งของเมืองพะเยา และ แหล่งการทำเกลือที่ไม่รู้จักหมดสิ้นของเมืองน่าน ก็ยังคงอยู่ในเจตนารมณ์ของเชื้อสายของพญามังรายรุ่นต่อๆ มา โดยเฉพาะดินแดนของเมืองพะเยา เป็นบันไดขั้นแรกก่อนที่ลงไปทางทิศใต้ ด้วยเหตุนี้ จึงได้พบในเอกสารของ เมืองเชียงใหม่ว่า แม้ว่าเมื่อพญามังรายข้ามเทือกเขาผีปันน้ำไปยึดดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงสลายความเป็นแคว้น หริภุญไชยลงได้ และสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นแล้ว ก็ยังคงไม่ละทิ้งดินแดนเดิมของตนที่เมืองเชียงราย ยังคงให้ พญาชัยสงคราม โอรสผู้เข้มแข็งครองอยู่ เจตนาของการที่จะรวบรวมดินแดนในฟากตะวันออกของเทือกเขา ผีปันน้ำทั้งหมดเข้าด้วยกัน พิจารณาได้จากการที่เมื่อพญามังรายสิ้นพระชนม์ลงแล้ว ผู้ที่จะสืบราชสมบัติต่อไปคือ พญาชัยสงครามผู้โอรสแทนที่จะเสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่ ท่านเองกลับให้โอรสไปครองแทน ส่วนพระองค์ยังคง ครองอยู่ที่เมืองเชียงราย และเป็นเช่นนี้ตลอดมา ฝ่ายราชวงศ์มังรายยังคงให้ความสำคัญต่อดินแดนฟากตะวันออก ของเทอื กเขาผีปนั น้ำ โดยผู้ท่ีได้รับราชสมบัติตอ่ มาจะอยูท่ ี่ฟากนี้ และส่งโอรสไปครองเมืองเชียงใหม่ แม้ว่าจะมีการ ย้ายศูนย์กลางของเมืองสำคัญจากเชียงรายไปอยู่ที่เมืองเชียงแสนในสมัยพระเจ้าแสนภูก็ตาม จนกระทั่งสามารถ รวมเอาดินแดนของเมืองพะเยาได้หมดแล้วในสมัยพญาคำฟู เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 19 โอรสของพญาคำฟู คือ พญาผายูจึงไปครองเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองล้านนาอย่างแท้จริง เมื่อพญาคำฟูได้สิ้นพระชนม์ ลงแล้ว ส่วนทางฟากตะวันออกของเทือกเขา พญาผายูได้ตั้งทายาทของพระองค์ คือพระเจ้ากือนาไปครองเมือง เชียงแสน และพระเจ้าพรหม โอรสองค์รองมาครองที่เมืองเชียงราย การที่ฝ่ายของพญามังรายไม่ยอมย้าย ศูนย์กลางการปกครองไปอยู่ที่เมืองเชียงใหม่อย่างเด็ดขาดนั้น อาจพิจารณาได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นเพราะฝ่ายของ พญามังรายเองก็ไม่ไว้ใจฝ่ายเมืองพะเยาด้วย เรื่องนี้เอกสารของล้านนาได้เล่าเรื่องไว้เป็นทำนองว่า ได้เกิด เหตุการณ์บาดหมางกันระหว่างพระร่วงสุโขทัยและพญางำเมือง เนื่องจากพระร่วงลอบเป็นชู้กับเมียพญางำเมือง ในที่สุดพญามังรายได้เป็นผู้ตัดสินความและไกล่เกลี่ย ให้ทั้งสองฝ่ายคืนดีกัน และสาบานเป็นเพื่อน กันต่อไปที่ริม แม่น้ำอิงเมืองพะเยา ซึ่งเหตุการณ์ตอนเดียวกันนี้ หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ได้อธิบายการพบปะสาบานกันท่ี ริมแมน่ ้ำองิ ของวีรบรุ ษุ ทง้ั สามวา่ “เป็นการพบกนั เพื่อตกลงการแพช้ นะแกก่ ัน” คำกล่าวสัน้ ๆ วา่ ตกลงการแพช้ นะ แก่กันนี้ น่าจะหมายความเกี่ยวข้องกับการที่พญามังรายจะยกกำลังส่วนใหญ่เข้ายึดเมืองหริภุญไชย เพราะจาก สภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นเทือกเขาสูงกน้ั ขวางระหวา่ งทรี่ าบลุ่มแม่นำ้ ปงิ ดินแดนหริภญุ ไชยกบั ที่ราบทางตะวนั ออกของ เทอื กเขาดนิ แดนเมืองเชยี งรายและพะเยานน้ั นบั เป็นการเสยี่ งมากทีพ่ ญามังรายจะยกกำลังส่วนใหญ่ข้ามไปเช่นน้ัน เพราะหากว่าขณะที่พญามังรายกำลังทำสงครามติดพันอยู่ที่ฟากเขาตรงข้ามด้านเมืองหริภุญไชยอยู่ พญางำเมือง อาจฉวยโอกาสเข้ายึดครองดินแดนเมืองเชียงรายได้อย่างง่ายดาย โดยที่พญามังรายไม่สามารถย้อนกลับมาป้องกนั ได้ทัน ด้วยเหตุนี้ การพบกันเพื่อตกลงการแพ้ชนะแก่กันของพญาทั้งสาม จึงเท่ากับเป็นการเจรจาเพื่อยืนยันความ เป็นพันธมิตรและพญามังรายจะไม่ถูกตลบหลัง หลังจากนั้นพระองค์จึงได้ดำเนินแผนการเข้ายึดเมืองหริภุญไชย ต่อไป เมืองพะเยารวมเป็นแคว้นล้านนา เรื่องของเมืองพะเยาในสมัยที่เป็นนครรัฐอิสระปกครองตนเองมีกล่าวอยู่ ไม่มากนักในเอกสารของล้านนา นอกจากในเรื่องของขุนเจือง เรื่องของพญางำเมือง และในพงศาวดารเมืองน่าน ในหนงั สอื พงศาวดารเมอื งน่านนั้น เป็นการเล่าเร่ืองพญางำเมืองท่ใี ช้กำลังรวมเอาเมืองน่านเข้าไวใ้ นอำนาจ แต่แล้ว ไม่นานเท่าไร เมืองน่านก็แยกตัวออกเป็นอิสระได้อีก เรื่องการขัดแย้งระหว่างเมืองนา่ นกับพะเยาที่เลา่ ในตอนตน้ น้ี สอดคล้องกันได้ดีกับในสมัยหลังต่อมาตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ที่พญาคำฟูแห่งเมืองเชียงแสนได้คบคิดกับ เจ้าเมืองน่านทำศึกขนาบเมืองพะเยา ซึ่งในที่สุดพญาคำฟูได้ยึดเมืองพะเยาได้ก่อนเมืองน่าน และครอบครองไว้ใน

๓๗ เขตแควน้ ของตนฝ่ายเดยี ว ตงั้ แตน่ ้ันมา เมอื งพะเยาจงึ ได้กลายเปน็ สว่ นหน่งึ ของแคว้นล้านนา ในสมยั ที่เมืองพะเยา รวมอยู่กับแคว้นล้านนานั้น มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับเมืองพะเยาอย่างหนึ่งคือในสมัยที่พระเจ้าติโลกราชแห่ง แคว้นล้านนา (ปลายพุทธศตวรรษที่ 20-ต้นพุทธศตวรรษที่ 21) ทำศึกกับกรุงศรีอยุธยาเพื่อแย่งดินแดนในแคว้น สุโขทัย หลังจากที่พระองค์ได้ยึดเมืองแพร่และเมืองน่านรวมเข้าเป็นแคว้นล้านนาแล้ว ในการทำศึกครั้งน้ัน พระยุษธิฐิระ เชื้อสายราชวงศ์พระร่วงผู้ครองเมืองพิษณโุ ลก ได้ผิดใจกันกับพระบรมไตรโลกนาถแหง่ กรุงศรอี ยุธยา ไดอ้ พยพครอบครวั มาอยู่ข้างฝ่ายพระเจ้าติโลกราช และไดช้ ่วยราชการสงครามทำประโยชนใ์ ห้แก่พระเจ้าตโิ ลกราช เป็นอย่างมาก จึงพระราชทานเมืองพะเยาให้พระยุษธฐิ ิระมาครองเป็นเจ้าเมือง ไดป้ รากฏในตำนานพระแก่นจันทร์ ว่า เมื่อครั้งที่ครองเมืองพะเยานั้น พระยุษธิฐิระได้เป็นผู้สร้างวัดป่าแดงหลวง ขึ้น ปัจจุบันวัดนี้มีชื่อว่า “วัดป่าแดง หลวงดอยไชยบุนนาค” ปัจจุบันยังปรากฏซากของเจดีย์ร้างองค์หนึ่งอยู่ในบริเวณวัด เป็นเจดีย์แบบสุโขทัย พระพุทธรูปหินทรายแบบหนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปสุโขทัย ซึ่งพบที่เมืองพะเยานั้นคงได้รับการสร้าง ขึ้นมาตั้งแต่ระยะเวลาสมัยนี้ เนื่องจากวัดนี้ก่อสร้างโดยเจ้าเมืองที่มีเชื้อสายจากราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้น เมื่อมีการ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นภายหลังจากที่สร้างประมาณ 100 ปี ในสมัยพระเมืองแก้วครองแคว้นล้านนาน จึงได้มีการศิลาจารึกขึ้นในสมัยที่มีการปฏิสังขรณ์และเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดพญาร่วง” ที่ตั้งของวัดที่อยู่ภายนอก เมืองพะเยา วัดนี้จึงเป็นวัดป่าหรืออรัญวาสีเช่นเดียวกับคติของสุโขทัยในสมัยโบราณ เมืองพะเยา ภายหลังได้ร่วง โรยไปพร้อมกับเมืองอื่นๆ ในแคว้นล้านนา ตั้งแต่เมื่อเมืองเชียงใหม่ศูนย์กลางของแคว้น ได้ถูกพม่าครอบครอง เมื่อพุทธศักราช 2101 พม่าพยายามที่จะกลมกลืนแคว้นล้านนาเข้ากับจักรวรรดิพุกามเหมือนกัน แต่ก็ประสบ ปัญหาความแตกแยกที่มีในประเทศเช่นที่เคยมีมา ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง เมืองต่างๆ ภายในแคว้นล้านนาประสบกับความแตกแยก แย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกันในแคว้นระหว่างเจ้าเมืองต่างๆ เช่น เชียงแสน เชียงราย แพร่ น่าน เชียงใหม่ อำนาจของพม่าซึ่งปกครองที่เชียงใหม่บางครั้งก็ถูกแทรกแซงยึดครอง โดยกรุงศรอี ยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระนารายณ์ หรือบางครง้ั กโ็ ดยคนพนื้ เมืองท่ีคิดต้ังตัวเป็น อิสระดังได้กล่าวแล้ว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในขณะที่มีการชุลมุนวุ่นวายภายในเขตแดนที่เคยเป็นแคว้นล้านนานี้ ชื่อเมืองพะเยาได้หายไปจากเอกสารของล้านนา เอกสารล้านนาไม่มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบทบาทของเจ้าเมือง พะเยาคนใดที่น่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยุ่งยากช่วงนี้เลย ดูเสมือนว่าฐานะและความสำคัญของการเป็น เมืองพะเยาได้หายไปจากดินแดนแคว้นล้านนาแล้ว ไม่ทราบตั้งแต่เมื่อครั้งใด แม้แต่เอกสารที่เป็นตำนาน เมืองพะเยาที่รวมพิมพ์อยู่ในหนังสือชุดพงศาวดาร ภาคที่ 61 ซึ่งกล่าวว่าเป็นตำนานที่ชาวพะเยาได้มาจากเมือง เวียงจันท์ ข้อความที่กล่าวมีลักษณะเป็นเรื่องปรัมปราคติ ไม่มีการต่อเนื่องเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เป็น ประวัติศาสตร์บ้านเมืองดังเช่นเอกสารของล้านนาฉบับอื่นๆ เลย มากล่าวถึงเรื่องที่เป็นบันทึกทางประวัติศา สตร์ กต็ อนท่มี ีการต้งั บ้านเมืองพะเยาขน้ึ ใหมใ่ นสมัยรตั นโกสินทร์ “พะเยา”หรอื “พยาว”๒๓ เปน็ เมอื งเก่าแกท่ มี่ ีประวตั ศิ าสตร์ความเป็นมายาวนาน ดงั น้ี สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา พะเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เดิมมีชื่อว่า “เมืองภูกามยาว” หรือ “พยาว” เคยมีเอกราชสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันติวงศ์มา ปรากฏตามตำนานเมืองพะเยา พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช ๔๒๑) พ่อขุนเงิน หรือลาวเงิน ราชโอรสของขุนแรงกวา กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนมีพระราช โอรส ๒ องค์ ขุนจอมธรรม โอรสองค์ที่ ๒ ให้ปกครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ แต่ขุนชินให้อยู่ใน ราชสำนักครองนครเงนิ ยางเชียงแสน ขุนจอมธรรมพร้อมข้าราชการบริวารขนเอาพระราชทรพั ย์บรรทุกมา้ พลช้าง

๓๘ พลม้า ตามเสด็จถึงเมืองภูกามยาวและตั้งรากฐานเมืองใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเมืองหนึ่ง นามว่า “สีหราช” อยู่เชิงเขาชมภูหางดอยด้วน ลงไปจรดฝั่งแม่น้ำสายตา มีสัณฐานคล้ายลูกน้ำเต้า มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทาง ตะวันตก อันหมายถงึ กวา๊ นพะเยา พ.ศ. ๑๖๓๙ พ่อขุนจอมธรรม “ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรพะเยา” เรื่องราวของเมืองพะเยา เท่าที่ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์ จะเริ่มต้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยกล่าวถึง พ่อขุนเงิน กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน ทรงมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พ่อขุนชินและพ่อขุนจอมธรรม เมื่อพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์ ทรงเจริญวัยแล้ว พ่อขุนเงินพระราชบิดาจึงแบ่งราชสมบัติออกเป็น ๒ ส่วน โดยให้ พ่อขุนชิน ครองนครเงินยางเชียงแสน และให้พ่อขุนจอมธรรมมาสร้างเมืองใหม่ ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ พ่อขุนจอม ธรรม พร้อมด้วยข้าราชบริพารได้อพยพมาถึง เมืองภูกามยาว รวมเวลาเสด็จได้ ๗ วัน ถึงเมืองเชียงมั่น (บริเวณ บ้านกว๊านในปัจจุบัน) เสนาปุโรหิตาจารย์ก็พากันไปตรวจดูภูมิสถานที่ตั้งรากฐานบ้านเมืองใหม่ จึงได้พบรากฐาน เมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตั้งอยู่เชิงเขาดอยชมภู หรือ ดอยด้วน ลงไปจดแม่น้ำสายตา (แม่น้ำอิง) เมืองนี้ปรากฏว่ า มีค่ายคูลึกและกว้าง ตัวเมืองมีลักษณะคล้ายรูปน้ำเต้า (วัดลีอยู่ในเมืองนี้) ลักษณะเป็นชัยมงคลอันประเสริฐ แนะนำว่าเป็นบริเวณมงคล เคยเป็นเมืองเก่ามีคูเมืองล้อมรอบและมีประตูเมืองอยู่ 8 ประตู อยู่ก่อนแล้ว ขุนศรีจอมธรรมทรงตั้งบายศรีอัญเชิญเทวดาตามราชประเพณี ทรงฝังเสาหลักเมืองขึ้น ฝังแก้ว เงิน ทองและ ปลูกต้นไม้ประจำเมือง พ่อขุนจอมธรรม จึงทรงพอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ทรงรับสั่งให้เสนาปุโรหิตาจารย์ ข้าราช บริพารและประชาชน จัดสร้างมณฑปที่ประทับขึ้นในท่ามกลางเมือง ทรงฝังเสาหลักเมือง แล้วทรงพระราชพิธี ปราบดาภิเษกพ่อขุนจอมธรรมขึ้นเป็นผู้ครองเมืองภูกามยาว หรือ พะเยา สร้างเมืองเสร็จเมื่อปี พ.ศ.1638 โปรดใหเ้ รยี กชื่อเมืองแห่งน้ีวา่ “ภกู ามยาว” หมายถึง เมืองที่ต้งั อยูบ่ นเนนิ เขาท่มี สี ันยาว พอ่ ขุนจอมธรรมมีพระราช โอรส ๒ พระองค์ คือ พ่อขุนเจือง และพ่อขุนจอง ซึ่งพ่อขุนเจืองโอรสองค์ที่ ๑ เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่ทำสงคราม ต่อสู้เอาชนะบ้านเมืองต่าง ๆ ในล้านนาและไกลออกไปจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน เช่น แดนล้านช้างและเมืองแก้ว (เวียดนาม) กษัตริย์พระองค์นี้ เชี่ยวชาญในด้านการรบ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า “พญาเจืองฟ้าธรรมมิกราช” ขุนศรีจอมธรรมครองเมืองภูกามยาวสืบต่อมาจนมีผู้สืบราชวงศ์อีก 9 รัชกาล๒๒ จนถึงสมัยพญางำเมือง ราวพุทธ ศตวรรษที่ 18 พญางำเมืองเป็นราชบุตรขุนมิ่งเมือง ได้ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองภูกามยาวต่อจาก พระราชบิดา พญางำเมืองทรงปกครองเมืองภูกามยาวให้มีความเจริญรุ่งเรือง จนมีฐานะเป็นเมืองเอกเรียกว่า “อาณาจักรพยาว” ในสมัยนั้นมีหัวเมืองเอกอยู่ 3 เมือง คือ อาณาจักรสุโขทัย มีพ่อขุนรามคำแหงเป็นกษัตริย์ อาณาจักรเมืองไชยนารายณ์ (เชียงราย) มีพญามังรายเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรภูกามยาว มีพญางำเมือง เป็นกษัตริย์ เมื่อพญางำเมืองเสด็จสวรรคต พญาคำลือราชโอรสก็ได้ขึ้นครองราชย์แทน (ตำนานเมืองพะเยา พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช ๔๒๑) กับ พ.ศ. ๑๖๓๙ พ่อขุนจอมธรรม “ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักร พะเยา” จะเห็นว่า ปี พ.ศ.ไมส่ อดคลอ้ งกัน) ประวัติศาสตร์ของเมืองปรากฏชัดเจนขึ้น๒๓ เมื่อพบหลักฐานสำคัญในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ ซึ่งกล่าวถึง ดินแดนพะเยาในช่วงปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถุมแห่งอาณาจักรสุโขทัย ในสมัย พระยางำเมืองปกครอง พะเยามีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีสัมพันธ์ไมตรีแนบแน่นกับพ่อขุนรามคำแหงแห่ง อาณาจักรสุโขทัยและพระยามังรายแห่งอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่ ต่อมาพะเยาถูกยึดครองและตกเป็นส่วนหน่ึง ของอาณาจักรเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๘๗๗-๑๘๗๙) พะเยากลับมามีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อีกครั้ง เม่ือ

๓๙ พะยายทุ ธษิ ฐระ อดตี เจ้าเมืองสองแคว ผู้มีเชอ้ื พระวงค์สุโขทยั ไดร้ ับการแต่งต้ังจากพระติโลกราช กษัตรยิ เ์ ชยี งใหม่ ให้มาปกครองพะเยา เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๗ ชื่อเมืองพะเยาได้ปรากฏเป็นครั้งแรก ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่เก่าแก่ที่สุด คือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ (วัดศรีชุม) ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อประมาณพุ ทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ (พ.ศ. ๑๘๘๔-๑๙๑๐) แต่เล่าเหตุการณ์ย้อนหลังกลับไปกลับไปถึงระยะเวลาพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กล่าวถึง เมืองพะเยา ว่า “พยาว” ในสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุม กษัตริย์แห่งเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ก่อนพ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เมืองสุโขทัย ในปี พ.ศ. ๑๘๐๐ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมืองพะเยา ได้มีวีรบุรุษที่สำคัญเกิดขึ้นอีกพระองค์หนึ่งคือ “พระยางำเมือง” ซึ่งเป็นพระสหายร่วมกับพระยามังรายแห่งเมือง เชียงราย กับพระร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) แห่งเมืองสุโขทัยในปี พ.ศ.๑๘๓๙ พระยางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงไปช่วยพระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ จะเห็นว่าเมืองพะเยาในสมัยของพระยางำเมืองมีอำนาจเข้มแข็ง มากสามารถขยายอาณาเขตเข้าไปยึดครองเมืองน่านได้ เมื่อสิ้นสุดพระยางำเมือง เมืองพะเยาก็ถูกผนวกเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในปลายพุทธศตวรรษท่ี ๑๙ นับแต่นั้นเป็นต้นมาเมืองพะเยาก็ถูกลดฐานะเป็น เมอื งเลก็ ๆ ท่ขี ึน้ อยกู่ ับเชยี งราย ขุนจอมธรรม๒๔ ปกครองไพร่ฟ้าประชาชน โดยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม และยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคสมบัติ ฟ้าฝนตกตามฤดูกาลไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ปราศจาก โรคภัยเบียดเบียน ซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน ไม่มีสงคราม เจ้าประเทศราชต่าง ๆ มีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ทรงสั่งสอน ไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินด้วยหลักธรรม ๒ ประการ คือ (๑) อปริหานิยธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๑ (๒) ประเพณี ธรรม ขนบธรรมเนียมอันเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงานของครอบครัว ๑ ขุนจอมธรรมครองเมืองพะเยาได้ ๒ ปี มีโอรส ๑ พระองค์ โหรถวายคำพยากรณ์ว่า “ราชบุตรองค์นี้จะเป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป มีบุญญาธิการ มากเวลาประสตู ิ มีของทิพยเ์ กิดขึ้น ๓ อย่าง คือ แส้ทพิ ย์ พระแสงทิพย์ คนโททพิ ย์” จึงให้พระนามว่า “ ขุนเจื๋อง” ต่อมาอีก ๓ ปี ได้ราชบุตรอีกพระนามว่า “ ขุนจอง” หรือ “ ชิง” เมื่อขุนเจื๋อง เจริญวัยขึ้นทรงศึกษาวิชา ยุทธศาสตร์ เช่น วิชาดาบ มวยปล้ำ เพลงชัย จับช้าง จับม้าและเพลงอาวุธต่างๆ พระชนมายุได้ ๑๖ ปี พาบริวาร ไปคล้องช้างที่เมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่านเห็นความสามารถแล้วพอพระทัย ยกธิดาชื่อ “ จันทร์เทวี” ให้เป็น ชายาขุนเจ๋อื ง พระชนมายุได้ ๑๗ ปี พาบรวิ ารไปคล้องช้างที่เมืองแพร่ เจา้ ผูค้ รองเมอื งแพร่พอพระทยั จงยกธดิ าชื่อ “นางแก้วกษัตริย์” ให้เป็นชายา พระราชทานช้าง ๒๐๐ เชือก ขุนจอมธรรมปกครองเมืองพะเยาได้ ๒๔ ปี พระชนมายุได้ ๔๙ พรรษา ก็สิ้นพระชนม์ ขุนเจื๋องได้ครองราชย์สืบแทน ครองเมืองได้ ๖ ปี มีข้าศึกแกว ( ญวน) ยกทัพมาประชิดนครเงินยางเชียงแสน ขุนชินผู้เป็นลุงได้ส่งสาสน์ ขอให้ส่งไพร่พลไปช่วยขุนเจื๋องได้รวบรวบรี้พล ยกไปชุมนุมกันท่ีสนามดอนไชยหนองหลวง และเคลื่อนทพั เข้าตขี ้าศึกแตกกระจัดกระจายไป เมื่อขุนชินทราบเรื่อง ก็เลื่อมใสโสมนัสย่งิ นกั ทรงยกธิดาชอ่ื “พระนางอ๊ัวคำคอน” ให้และสละราชสมบตั ินครเงินยางเชียงแสนให้ขุนเจื๋อง ครองแทน เมื่อขุนเจื๋องได้ครองราชย์เมืองเงินยางแล้ว ทรงพระนามว่า “ พระยาเจื๋องธรรมมิกราช” ได้มอบสมบัติ ให้โอรสชื่อ “ลาวเงินเรือง” ครองเมืองพะเยาแทน หัวเมืองใหญ่น้อยเหนือใต้ยอมอ่อนน้อมได้ราชธิดาแกวมาเป็น ชายานามว่า “นางอู่แก้ว” มีโอรส ๓ พระองค์ คือท้าวผาเรือง ท้าวคำห้าว ท้าวสามชุมแสง ต่อมายกราชสมบัติ เมืองแกวให้ท้าวผาเรือง ให้ท้าวคำห้าวไปครองเมืองล้านช้าง ท้าวสามชุมแสงไปครองเมืองน่าน ต่อมาได้โยธาทัพ เข้าตีเมืองต่างๆ ที่ยังไม่ยอมสวามิภักดิ์ ทรงชนช้างกับศัตรูเสียทีข้าศึกเพราะชราภาพ จึงถูกฟันคอขาดและ สิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พวกทหารจึงนำพระเศียรไปบรรจุไว้ที่ “พระเจดีย์เมืองเหรัญนครเชียงแสน” ขุนเจื๋อง ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช ๑๖๔๑ ครองราชย์สมบัติเมื่อพระชนมายุ ๒๔ ปี ครองแค้วนล้านนาไทยได้ ๒๔ ปี

๔๐ ครองเมืองแก้วได้ ๑๗ ปี รวมพระชนมายุได้ ๖๗ ปี ฝ่ายท้าวจอมผาเรืองราชบุตร ขึ้นครองราชย์สมบัติเมืองพะเยา ได้ ๑๔ ปี ก็ถึงแก่พิราลัย ขุนแพงโอรสครองราชย์แทนได้ ๗ ปี ขุนซองซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าแย่งราชสมบัติและ ไดค้ รองราชย์เมอื งพะเยาเปน็ เวลา ๒๐ ปี และมผี ู้ขน้ึ ครองราชยส์ บื ตอ่ มา จนถึงพระยางำเมือง ซึ่งครองราชย์เป็นกษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่ ๙ นับจากพ่อขุนจอมธรรม พ่อขุน งำเมืองประสูติเมื่อพุทธศักราช ๑๗๘๑ เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง สืบเชื้อสายมาจากท้าวจอมผาเรือง พระชนมายุ ๑๔ ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาเล่าเรียนศิลปศาสตร์เทพในสำนักเทพอิสิตนอยู่ภูเขาดอยด้วน ๒ ปี จบการศึกษา พระชนมายุได้ ๑๖ ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อ ขอถวายตัวอยู่ในสำนักสุกันตฤาษี ณ กรุงละโว้ ( ลพบุรี) จึงได้รู้จักคุ้นเคยกับพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยสนิทสนมผูกไมตรตี ่อกนั ศึกษาศิลปศาสตร์ร่วมครูอาจารย์ เดียวกันเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยา ปีพุทธศักราช ๑๓๑๐ พระราชบิดา สิ้นพระชนม์ พ่อขุนงำเมืองขึ้นครองราชย์แทน พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์เช่นเดียวกับพระร่วง เจ้าตำนาน กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไม่ชอบสงคราม ปกครองบ้านเมืองด้วยความเที่ยงธรรม ผูกไมตรีจิตต่อประเทศราชและเพื่อนบ้าน ขุนเม็งรายเคยคิดยกทัพเข้าบดขยี้เมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองล่วงรู้ เหตุการณ์ก่อน แทนที่จะยกทัพเข้าต่อต้าน ได้สั่งไพร่พลให้อยู่ในความสงบ สั่งให้เสนาอำมาตย์ออกต้อนรับ โดยดี เชิญขุนเม็งรายเสวยพระกระยาหารและเลี้ยงกองทัพให้อิ่ม ขุนเม็งรายจึงเลิกการทำสงคราม แต่นั้นมา พ่อขุนงำเมืองจึงยกเมืองปลายแดน ซึ่งมีเมืองพาน เมืองเชี่ยงเคี่ยน เมืองเทิง และเมืองเชียงของ ให้แก่พระเจ้า เม็งราย และทำสัญญาปฏิญาณต่อกันจะเป็นมิตรต่อกันตลอดไป ฝ่ายพระยาร่วงซึง่ เป็นสหายคนสนิทก็ได้ถือโอกาส เยีย่ มพอ่ ขุนงำเมอื งปลี ะ ๑ ครง้ั สว่ นใหญเ่ สด็จในฤดเู ทศกาลสงกรานต์ไดม้ โี อกาสรู้จกั ขุนเม็งรายทัง้ ๓ องค์ ได้ชอบ พอเป็นสหายกนั เคยหันหลังเขา้ พิงกันกระทำสัจจปฏิญาณแกก่ ัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำขุนภู ว่าจะไม่ผูกเวรแก่กัน จะเปน็ มิตรสหายกัน กรีดโลหิตออกรวมกันขันผสมน้ำ ทรงดื่มพร้อมกัน (ภายหลังแม่น้ำนี้ได้ชื่อว่า “แม่น้ำอิง”) ระหว่าง ครองราชย์ในเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอุปฐากพระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ซึ่งถือว่าเป็น สถานที่ศักสิทธิ์คู่เมืองพะเยา เมื่อพ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลง โอรสคือ “ขุนคำแดง” สืบราชสมบัติแทนเมื่อปี พุทธศักราช ๑๘๑๖ ขุนคำแดงมีโอรสชื่อ “ขุนคำลือ” ซึ่งครองราชย์สมบัติแทนต่อมา ในสมัยนั้นพระยาคำฟู ผู้ครองนครชัยบุรีศรีเชียงแสน ชวน “พระกาวเมือง เมืองน่าน” ยกทัพตีเมืองพะเยา แต่พระยาคำฟูตีได้ก่อนเกิด ขัดใจกันสู้รบกันขึ้น พระยาคำฟูเสียทีก็เลยยกทัพกลับเชียงแสน กองทัพพระยากาวเมืองน่านติดตามไป ยกทัพเลย ไปตีถึงเมืองฝางได้ แต่ถูกทัพของพระยาคำฟูตีถอยล่นกลับเมืองน่าน เมืองพะเยาในสมัยนั้นอ่อนแอมาก จึงได้รวมอยู่กบั อาณาจักรลานนา พุทธศักราช ๑๙๔๙ พระเจ้าไสลือไทย ยกกองทัพหมายตีเมืองเชียงใหม่และผ่าน เขตเมืองพะเยา หมายตเี อาเมอื งพะเยาด้วย แต่ไม่สำเร็จ สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าติโลกราชครองอาณาจักรลานนาไทย (พุทธศักราช ๑๙๘๕- ๒๐๒๕) แผ่อำนาจลงไปทางใต้ปราบปรามเมืองสองแคว เมืองเชลียง เมืองสุโขทัยตลอดถึงเมืองกำแพงเพชรอยู่ในอำนาจ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๑๙๙๔- ๒๐๓๐ พระยายุทิศเจียงเจ้าเมอื งสองแควซ่ึงสวามิภกั ด์ิพระเจ้าตโิ ลกราชได้มาครอง เมืองพะเยา ทรงสร้างพระเจดีย์วัดพระยาร่วง ( วัดบุญนาค) ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ ัวทรงเรียกว่า “ หลวงพ่อนาค” ทรงก่อสร้างวิหารวัดป่าแดง หลวงพ่อดอนชยั และอัญเชิญพระพุทธปฏิมาแก่นจันทร์แดงจากวัดปทุมมาราม ( หนองบัว) มาประดิษฐานไว้ด้วย ต่อมาพระเจ้า ติโลกราช สั่งให้นำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดอโศการาม ( วัดป่าแดงหลวง) เชียงใหม่ นอกนั้นพระยายุทิศเจียงยังเอา

๔๑ ช่างปั้นถ้วยชามเครื่องสังคโลกอันเป็นศิลปของกรุงสุโขทัย ไปเผยแพร่การปั้นถ้วยชามสังคโลกด้วย ตั้งแต่นั้นมา เมืองภูกามยาวก็รวมอยู่กับอาณาจักรลานนาไทยมาโดยตลอด จากหลักฐานศิลาจารึกต่างๆ ปรากฏว่าเมื่อปี พุทธศักราช ๒๐๓๔ พระยาเมืองยี่ครองเมืองพะยา พระยอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่ กับตายายสองผัวเมีย สร้างพระเจ้าตนหลวงเริ่มสร้างได้ ๕ วัน พระยาเมืองยี่ถึงแก่พิราลัยต่อมาพระย อดเชียงรายก็สิ้นพระชนม์ ในปีเดียวกัน พุทธศักราช ๒๐๓๙ พระเมืองแก้วราชโอรสพระยอดเชียงรายขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ พระยา หัวเคี่ยน ครองเมืองพะเยา ได้ ๒๑ ปีก็สิ้นพระชนม์พุทธศักราช ๒๐๖๗ สร้างพระเจ้าตนหลวงเสร็จ รวมเวลา ก่อสร้าง ๓๓ ปี พุทธศักราช ๒๑๑๑ พระเจ้าหงสาวดีเกณฑ์กองทัพพม่า ไทยใหญ่ ลื้อ มอญ ลานนาไทย ยกไปตี กรุงศรีอยุธยา เมื่อตีได้แล้วให้พระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสองแควไปครองกรุงศรีอยุธยาพุทธ ศักราช ๒๑๑๕ พระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ยกทัพตีเมืองหนองหาญ อาณาจักรลา้ นช้างและล้านนาไทยไดก้ วาดต้อนผู้คนไปด้วย ต่อมา พระเจ้ามังตรา (บุเรงนอง) สวรรคตและปีพุทธศักราช ๒๑๔๑ ผู้คนที่ถูกกวาดต้อนไปกรุงหงสาวดีก็หนีกลับมา เชียงใหม่ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๓๓๐ เจ้าเมืองอังวะสั่งให้หวุ่นยีมหาไชยสุระยกทัพมาทางหัวเมือง ฝ่ายเหนือ ผ่านฝาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยาด้วย ผู้คนกลัวแตกตื่นอพยพไปอยู่ลำปางทำให้เมืองพะเยา ร้างไปเป็นเวลาถึง ๕๖ ปี พุทธศักราช ๒๓๘๖ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ตั้งเมืองพะเยาให้มีฐานะเป็นเมือง พระยานครลำปางน้อยอินทร์กับพระยาอุปราชมหาวงศ์ เมืองเชียงใหม่ลงไปเฝ้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมือง พะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง ต่อมาพระองคท์ รงโปรกเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายพุทธวงศ์ น้องคนท่ี ๑ ของพระยา นครอินทร์เป็นพระยาประเทศอุดรทิศ ผู้ครองเมืองพะเยา ตั้งนายน้อย มหายศ น้องคนที่ ๒ เป็นพระยาอุปราช เมืองพะเยา และตั้งนายแก้วมานุตตม์ น้องคนที่ ๓ เป็นพระยาราชวงศ์เมืองพะเยา ตั้งนายขัติยะ บุตรพระยา ประเทศอุดรทิศ เป็นพระยาเมืองแก้ว ตั้งนายน้อยขัติยะ บุตรราชวงศ์หมู่ส่า เป็นพระยาราชบุตรเมืองพะเยา ผู้ครองเมืองพะเยาทุกคนจึงได้รับพระราชทานนามว่า “พระยาประเทศอุดรทิศ” แต่ประชาชนมักจะเรียกตามนาม เดิม เช่น เจ้าหลวงวงศ์ ปีพุทธศักราช ๒๓๙๑ พระยาอุปราช (น้อย มหายศ) รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงจุลศักราช ๑๒๑๗ ( พุทธศักราช ๒๓๙๘) ก็ถึงอนิจกรรม พุทธศักราช ๒๓๙๘ พระยาราชวงศ์เมืองพะเยา (เจา้ บุรรี ตั นะ หรือเจ้าแกว้ ขตั ยิ ะ) ได้รบั สญั ญาบัตรเป็นเจา้ เมืองพะเยา ครองเมืองได้ ๖ ปี ถงึ อนิจกรรมพทุ ธศักราช ๒๔๐๓ เจ้าหอหน้าอินทะชมภู รับสัญญาบัตรเป็นผู้ครองเมืองพะเยาได้ ๑๑ ปี ถึงแก่พิราลัยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๓ พุทธศักราช ๒๔๑๘ เจ้าหลวงอริยะ เป็นเจ้าเมืองพะเยาถึงปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ ถึงแก่อนิจกรรม เจ้าไชยวงศ์ เป็นผู้ครองเมืองพะเยา ต่อมาถึง ๙ ปี พุทธศักราช ๒๔๔๕ เกิดจลาจลขึ้นทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ โจรผู้ลภ้ี ัยเงี้ยวเข้ายดึ เมอื งพะเยา ปลน้ เอาทรัพยส์ นิ ทางราชการ ประชาชน วดั วาอารามไป คนแตกต่นื หนีไปลำปาง ได้ยกกำลังตำรวจทหารจากลำปางมาปราบ รบกันอยู่ที่บริเวณบ้านแม่กา เงี้ยวล้มตายเป็นจำนวนมากพุทธศักราช ๒๔๔๕ ตำรวจ เจ้านาย กรรมการบ้านเมืองได้เกณฑ์ผู้คนก่อสร้างเสริมกำแพงเมืองให้มั่นคงมากขึ้น และ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ เมืองพะเยาถูกยุบรวมกับเมืองงาวเป็น “บริเวณพะเยา” พอถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้ยุบบริเวณพะเยา ให้มีฐานะเป็น “อำเภอเมืองพะเยา” โดยมีเจ้าอุปราชมหาชัยศีติสาร รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมือง และเป็น เจ้าเมืององค์สุดท้าย และ พ.ศ. ๒๔๕๗ อำเภอเมืองพะเยา ถูกยุบเป็นอำเภอพะเยา อยู่ในอำนาจการปกครองของ จังหวดั เชยี งราย จนกระทั้ง เมอื่ วันท่ี ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ อำเภอพะเยาไดย้ กฐานะเปน็ จังหวัดพะเยา

๔๒ ภกู ามยาว ท่ีมา https://www.chiangmainews.co.th/100lanna/594054/ เมอื งพะเยาในสมยั นน้ั มฐี านะเปน็ จังหวดั เจา้ หลวงอดุ รประเทศทิศ (ไชยวงศ์) เปน็ เจ้าผคู้ รองเมืองพะเยา หลวงศรีสมรรตการ เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด เจ้าอุปราชมหาชยั ศีตสิ าร ตำแหน่งข้าหลวงผู้ชว่ ย หรือปลัดจงั หวัด พุทธศักราช ๒๔๔๘ เจ้าหลวงอุดรประเทศทิศ (ไชยวงศ์) ถึงแก่พิราลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบบริเวณ จังหวัดพะเยาเป็นแขวงพะเยา ให้ย้ายหลวงศรีสมรรตการ ข้าหลวงประจำจังหวัดพะเยาไปรับตำแหน่งจังหวัดอ่ืน และโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชมหาชัยศีติสาร รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยา พุทธศักราช ๒๔๔๙ เจ้าอุปราช ศีติสาร ได้รับสัญญาบัตรเป็นพระยาประเทศอุดรทิต ดำรงตำแหน่งผู้ครองเมืองพะเยาองค์สุดท้าย การปกครอง แผ่นดินสมัยนั้นมีการบริหารงานเป็นกระทรวง มณฑล จังหวัด อำเภอ ดินแดนแถบตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า “มณฑลพายัพ” ผู้บริหารระดับกระทรวงเรียกว่า “เสนาบดี” ผู้บริหารระดับมณฑลเรียกว่า “สมุหเทศาภิบาล” ผู้บริหารระดับจังหวัดเรียกว่า “ข้าหลวงประจำจังหวัด” ผู้บริหารระดับอำเภอเรียกว่า “เจ้าเมืองบ้าง หรือ นายอำเภอบ้าง” พุทธศักราช ๒๔๕๗ ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมือง ใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทน เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงแต่งตั้งนายกลาย บุษบรรณ เป็นนายอำเภอเมืองพะเยา และได้รับแต่งตั้ง

๔๓ ฐานันดรศักดิ์เป็นรองอำมาตย์โทขุนสิทธิประศาสน์ เป็นนายอำเภอคนแรก จนพุทธศักราช ๒๔๖๕ ย้ายไปดำรง ตำแหน่งนายอำเภอแม่จัน พุทธศักราช ๒๔๖๖–๒๔๖๙ พระแสนสิทธิเขต ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา มเี หตุการณส์ ำคญั คือเกดิ เพลิงไหม้ที่ว่าการอำเภอ และสรา้ งหลงั ใหม่คอื หลังปัจจุบัน พทุ ธศกั ราช ๒๔๗๐– ๒๔๗๑ หลวงประดิษฐอุดมการ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพะเยา เหตุการณ์บ้านเมืองปกติ พุทธศักราช ๒๔๗๒– ๒๔๗๖ พระบริภัณฑธุรราษฎรเป็นนายอำเภอ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ เกิดการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย สูงสุด ในการปกครองประเทศเหตุการณ์ด้านภาคพายัพปกติ ประชาชนยังคงอยู่กันด้วยความสงบสุข พุทธศักราช ๒๔๗๗–๒๔๗๘ นายผล แผลงศร เป็นนายอำเภอเมืองพะเยา ได้เริ่มปรับปรุงกว๊านพะเยา เป็นแหล่งน้ำบำรุง พันธุ์ปลาร่วมกับกรมเกษตรการประมง พุทธศักราช ๒๔๗๘–๒๔๘๐ พระศุภการกำจร เป็นนายอำเภอเมืองพะเยา เริ่มสำรวจกว๊านพะเยารวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ประกอบการพัฒนากว๊านพะเยา ตามวัตถุประสงค์ของ กรมเกษตรการประมง ในปีพุทธศกั ราช ๒๔๘๐ นาย อนุ่ เรอื น ฟองศรี ศึกษาธกิ ารอำเภอเมืองพะเยา สร้างโรงเรยี น มัธยมศึกษาเป็นโรงเรียนแรกคือ “โรงเรียนพะเยาพิทยาคม” ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ขุนนาควรรณวิโจรน์ เป็น นายอำเภอเมืองพะเยา ได้ขอตั้งเทศบาลเทศบาลเมืองพะเยาขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๘๐ ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ นายสุจิตต์ สมบัติศิริ เป็นนายอำเภอพะเยา ก่อสร้างประตูระบายน้ำกว๊านพะเยา พุทธศักราช ๒๔๘๒– ๒๔๘๓ นายผล แผลงศร กลับมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพะเยาอีกครั้งหนึ่ง สร้างประตูระบายน้ำ กวา๊ นพะเยา เสรจ็ เม่อื ปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ สรา้ งที่ทำการของสถานปี ระมง จดั หาทุนสรา้ งโรงพยาบาลเมืองพะเยา พทุ ธศกั ราช ๒๔๘๔ นายสนทิ จูทะรพ ดำรงตำแหนง่ นายอำเภอเมอื งพะเยา เปน็ ช่วงอยใู่ นภาวะสงครามมหาเอเชีย บูรพา ประเทศไทยจำใจเข้าร่วมสัมพันธไมตรีกับประเทศญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา ได้มีการระดม กำลังทหารไปตรึงชายแดนภาคเหนือเป็นจำนวนมาก จังหวัดพะเยาในเวลานั้น จึงเต็มไปด้วยทหาร พุทธศักราช ๒๔๘๕ – ๒๔๘๖ นาย ทองสุข ชุมวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา สงครามเริ่มรุนแรงขึ้น ข้าศึกโจมตีทาง อากาศ ทรัพย์สินของทางราชการและประชาชนเสียหายมากผู้คนล้มตายและเกิดโรคระบาด คือมาเลเรีย ซึ่งเกิด จากทหารติดเชื้อมาจากเชียงตุง ผู้คนล้มตายกันมาก มีการลักขโมยปล้นฆ่ากันบ่อยครั้ง เหตุการณ์ไม่ค่อยสงบ ประชาชนไม่กล้าออกไปทำมาหากนิ พทุ ธศักราช ๒๔๘๖–๒๔๙๐ นายฉลอง ระมติ านนท์ ดำรงตำแหนง่ นายอำเภอ เมืองพะเยา ประสานงานกับฝ่ายทหารตำรวจปราบปรามโจรผู้ร้ายได้ดี เมื่อสงครามสงบก็หันมาฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริม อาชีพของราษฎร พุทธศักราช ๒๔๙๐–๒๔๙๖ นายผลิ ศรุตานนท์ ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอพะเยา เริ่มฟื้นฟูทางด้านวัตถุและจิตใจของประชาชน เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๙๔ อัญเชิญพระบรม สารีริกธาตุมาบรรจุใน “องค์พระเจดีย์วัดป่าแดงหลวงดอนไชย” ระหว่างเดือนกันยายน ๒๔๙๕ ฝนตกหนัก นำ้ ไหลบา่ ท่วมบา้ นเรอื นราษฎร ถนนขาดเปน็ ตอนๆ การคมนาคมทางบนถกู ตัดขาด เป็นผู้ริเรมิ่ กันที่ดินเพื่อสงวนไว้ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ เช่น ที่ดิน โรงพยาบาล ศาลกลางจังหวัดและศูนย์ราชการมีพืน้ ที่ประมาณ ๑๗๐ ไร่ พุทธศักราช ๒๔๙๖–๒๔๙๗ ขุนจิตต์ ธุรารักษ์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา เร่งปราบปรามโจรผู้ร้าย การเล่น การพนันและส่งเสริมอาชีพ พุทธศักราช ๒๔๙๗–๒๕๐๐ นายวิฑิต โภคะกุล ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา มีนโยบายเร่งรัดพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรม ทำการบูรณะถนนหนทางขุดลำเหมืองส่งน้ำจาก กว๊านพะเยา สร้างโรงพยาบาลพะเยา และได้ยกฐานะเป็นนายอำเภอชั้นเอก พุทธศักราช ๒๕๐๑–๒๕๐๒ นายวรจันทร์ อินทกฤษณ์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา เร่งรัดปรับปรุงถนนหนทาง ปราบปรามอันธพาล ร่วมริเริ่มก่อตั้งการประปาพะเยา ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๐๑ ต่อมานาย สวัสดิ์ อรรถศิริ

๔๔ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา พุทธศักราช ๒๕๐๒–๒๕๐๔ นายศิริ เพชรโรจน์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ เมืองพะเยา มุ่งการพัฒนาท้องถิ่นถนนหนทางสายต่างๆ แนะนำกำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลให้รู้จักการ ทำงาน มคี วามขยันหม่ันเพียรและมีการพิจารณาใหร้ างวัลความดคี วามชอบ พทุ ธศกั ราช ๒๕๐๔–๒๕๑๑ นายจรูญ ธนะสังข์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา ซึ่งในปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ เกิดเพลิงไหม้ตลาดเมืองพะเยา ค่าเสียหาย ประมาณ ๒ ล้านบาทเศษ พทุ ธศักราช ๒๕๑๒-๒๕๑๓ นายทวี บำรงุ พงษ์ ดำรงตำแหนง่ นายอำเภอพะเยา ได้ก่อตั้ง แขวงการทางพะเยาขึ้น และเปิดสำนักงานเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๑๓ พุทธศักราช ๒๕๑๔-๒๕๑๗ นายชื่น บุณย์จันทรานนท์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอพะเยา เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๑๖ เกิดพายุฝน ฝนตกหนัก น้ำไหลบ่าท่วมบ้านเรือนราษฎรเสียหายมาก พุทธศักราช ๒๕๑๗-๒๕๒๐ นายประมณฑ์ วสุวัต ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอพะเยา พุทธศักราช ๒๕๒๐ นายจรัส ฤทธิอ์ ดุ ม ดำรงตำแหนง่ นายอำเภอพะเยา จากเมืองประวตั ิศาสตร์ ที่มีเอกราชมาช้านานและกลายเป็นแคว้นหนึ่งอยู่ในอาณาจักรล้านนาไทย และเปลี่ยนฐานะมาเป็นจังหวัดหนึ่ง ขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพมีเจ้าผู้ครองนครและถูกยุบมาเป็นอำเภอหนึ่ง ซึ่งนับตั้งแต่ช่ วงที่เป็นอำเภอพะเยา (พุทธศักราช ๒๔๕๗- ๒๕๒๐) ได้ ๖๓ ปี มีนายอำเภอดำรงตำแหน่งถึง ๒๕ นาย จนเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๐ ได้รับยกฐานะจากอำเภอพะเยาขึน้ เปน็ จังหวดั พะเยามาตราบเทา่ ทุกวนั น้ี ภกู ามยาว ท่มี า https://www.chiangmainews.co.th/100lanna/594054/

๔๕ ศิลปกรรม๒๒ ต่อมาเมืองพะเยากลับมามีบทบาทอีกครั้งในประวัติศาสตร์ เมื่อพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์ล้านนาเมืองเชียงใหม่ทรงแต่งตั้งอาเลี้ยงไปเป็นเจ้าสี่หมื่นครองเมืองพะเยา ในปี พ.ศ.๑๙๕๔ เพื่อเป็นการ ตอบแทนบุญคุณที่ช่วยเหลือพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้สำเร็จ ในสมัยเจ้าสี่หมื่น เมืองพะเยาได้รับการยกยองให้มี ความสำคัญแทนเมืองเชียงราย ต่อมาเมื่อถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐) ซึ่งขึ้นครองราชย์สืบต่อ พระเจ้าสามฝั่งแกน พระเจ้าติโลกราชได้ใช้เมืองพะเยาเป็นฐานะกำลังขยายอำนาจเข้ายึดเมืองแพร่และน่าน รวมทั้ง ทำสงครามกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงดินแดนสุโขทัย พระยายุทธิษฐิระ เจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ผู้มีเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยได้บาดหมางกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเข้ามา สวามิภักดิ์กับเจ้าติโลกราชช่วยทำสงครามรบกับกรุงศรีอยุธยา พระยายุทธิษฐิระได้รับการปูนบำเหน็จคว ามดี ความชอบ ให้เป็นเจ้าสี่หมื่นครองเมืองพะเยา ในปี พ.ศ.๒๐๑๗ ช่วงระยะเวลานี้ บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง ศิลปวัฒนธรรมและพุทธศาสนาได้รับการส่งเสริมจนเจริญรุ่งเรืองมาก และถือเป็นอีกยุคทองของเมืองพะเยา อีกยุคหนึ่ง ดังปรากฏหลักฐานจากโบราณสถาน โปราณวัตถุหลายแห่งที่พบในเมืองพะเยา ภายหลังเมืองพะเยา ได้ร่วงโรยไปพร้อมกับเมืองอื่นๆ ในล้านนา นับตั้งแต่ล้านนาถูกพม่าบุกเข้ามายึดครอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๑๐ จากนั้น เมืองพะเยาก็ได้ทายไปจากประวัติศาสตร์ เมื่อถึง ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่ายกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ชื่อเมือง พะเยากลับมาปรากฏในประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าได้มาเกณฑ์คนพะเยาไปรบกับ กรุงศรีอยุธยา ในสงครามบ้านเมืองแทบจะร้างผู้คนและเมืองพะเยาต้องกลายเป็นเมืองร้างไปเป็นเวลาถึง ๕๖ ปี เมืองพะเยาเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่ครั้งอดีตกาล๒๒ จะเห็นได้จากซากของสิ่งก่อสร้างซึ่งปรากฏ ตามโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองพะเยา บางแห่งก็ไดร้ บั การบรู ณะข้ึนมาใหม่ แต่บางแหง่ ยงั คงถูกทิ้งไว้ให้ทรดุ โทรม โบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดพะเยาล้วนแสดงถึงความเจริญทางด้านศิลปกรรมของเมืองพะเย า ไดเ้ ป็นอย่างดี ศลิ ปวตั ถทุ ่พี บในเมืองแห่งน้ีถกู เรียกวา่ “ศิลปสกลุ ชา่ งพะเยา” โบราณสถานและโบราณวัตถุท่ีสำคัญ และถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพะเยานับถือ ได้แก่ วัดศรีโคมคำ หรือ วัดพระเจ้าตนหลวง วัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปเชียงแสนที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์เก็บวัตถุโบราณ ศิลาจารึกต่าง ๆ ของ จังหวัดพะเยาเป็นจำนวนมาก และมีรอยพระพุทธบาทคู่จำลองซึ่งจำหลักเป็นลายเส้นบนหินมีลักษณะลวดลาย ประจำยามร้อยแปดภายในพระบาท วัดศรีอุโมงค์คำ เป็นวัดที่มีพระเจดีย์สมัยเชียงแสน ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปพระเจ้าล้านตื้อ หรือ หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ พระเจ้าล้านตื้อได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปสกุล ช่างพะเยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในล้านนา โบราณสถานเก่าแก่ของ เมืองพะเยาซึ่งพบเห็นได้ท่ีวัดป่าแดง ภายในมีมูลดินเป็นซากวิหาร ซากแนวกำแพงและซากเจดีย์ มีองค์ประกอบ แบบสุโขทัย 1 องค์ และยังได้มีการคน้ พบศิลาจารกึ ที่บริเวณซากเจดีย์ ซึ่งจารึกว่าวัดนี้ชื่อว่า “วัดพญาร่วง” จารึก บนศิลาเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 21 จากการสันนิษฐานของนักโบราณคดีคาดว่า วัดป่าแดงน่าจะสร้างขึ้นในสมัย ของพญายุษฐิระ เจ้าเมืองพิษณุโลกที่อพยพมาอยู่กับฝ่ายล้านนา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองพะเยา พระธาตุแจ้โว้ มีลักษณะทางศิลปกรรมแบบพื้นเมืองล้านนาที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะลักษณะ สว่ นยอดของเจดยี ์มีกลุ่มบัวซ่ึงแสดงลักษณะเฉพาะท่ีพบมากในเมืองเชยี งแสน นบั เปน็ โบราณสถานเก่าแก่แห่งหน่ึง ที่มีคุณค่าแก่การศึกษาถึงอดีตของอาณาจักรภูกามยาว วัดลี๒๗ มีการเก็บรวบรวมโบราณศิลปวัตถุไว้เป็นจำนวน มากเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วยโบราณศิลปวัตถุประเภทต่างๆ เช่นเดียวกับวัดศรีโคมคำ โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่ทำ ด้วยหินทราย ส่วนใหญ่จะเป็นของที่รวบรวมมาจากวัดร้างต่างๆ ในเขตจังหวัดเชียงราย ที่น่าสนใจมาก คือโบราณ ศลิ ปวตั ถทุ ี่เป็นพระพมิ พ์ท่วี ัดลรี วบรวมไว้ มบี างชิน้ แสดงลกั ษณะทางศลิ ปกรรมเปน็ แบบปาละเสนะ ซึง่ อาจกำหนด

๔๖ อายุให้ใกล้เคียงกับระยะเวลาเริ่มแรกของเมืองพะเยาได้ พระพุทธรูปของพะเยาที่พบส่วนใหญ่ทำด้วยหินทราย มีบ้างที่มีการจารึกเวลาการก่อสร้างไว้ที่ฐานด้วย เท่าที่พบเวลาของจารึกบนฐานพระพุทธรูปเหล่านี้ จะมีอายุ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 จารึกบนฐานพระพุทธรูปพะเยาที่เก่าที่สุด พบบนฐานพระพุทธรูปสำริดที่มีส่วนผสม ของทองแดงมาก เรียกว่าหลวงพ่อทองแดง ปัจจุบันตั้งอยู่ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพระพุทธรปู ปางมารวชิ ัย ขัดสมาธเิ พชร ซง่ึ มีอักษรจารกึ วา่ “พระยษุ ธิฐริ ะเจ้าเมอื งพะเยาเป็นผูส้ รา้ ง” พระเจ้าลา้ นต้ือ หรือ หลวงพอ่ งามเมอื งเรืองฤทธิ์ เปน็ พระพทุ ธรปู สกุลช่างพะเยา วัดศรอี ุโมงค์คำ ท่ีมา https://www.chiangmainews.co.th/100lanna/594054/

๔๗ “นางพญาอั้วเชียงแสน” ราชินีแห่งแคว้นพะเยา๒๕ คําว่า “อั้ว” นี้ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ แต่เป็นคำระบุให้ เห็นปูมหลังเดิมว่าเป็นเจ้าหญิงจากแว่นแคว้นไหน อันเป็นธรรมเนียมการเรียกชื่อสตรีล้านนาในเขตลุ่มน้ำโขง กก อิง ยม ตั้งแต่เชียงราย-เชียงแสน-พะเยา ไปจนถึงสิบสองปันนา เช่น “อั้วมิ่งจอมเมือง” เป็นราชธิดาของ เจ้าเมืองเชียงรุ่ง มีฐานะเป็นพระราชชนนีของพญามังราย หรือ “อั้วมิ่งเวียงไชย” เป็นพระมเหสีของพญามังราย สืบเชื้อสายมาจากเวียงไชยปราการ เช่นเดียวกับ “อั้วเชียงแสน” ราชธิดาของกษัตริย์เชียงแสน อันที่จริงพระนาง มีนามว่า “สิม” ตำนานบางเล่มจึงเรียกอีกชื่อว่า “นางอั้วสิม” ผู้เป็นพระมเหสีของพญางำเมือง ส่วนพญางำเมือง เป็นกษัตริย์เมืองพะเยา หรือภูกามยาว (ผายาว) มีศักดิ์เป็นญาติลูกพี่ลูกน้องกับพญามังราย กษัตริย์เชียงราย (หิรัญนครเงินยาง) ทั้งคู่ประสูติปีเดียวกันประมาณ พ.ศ.1781-1782 จึงถือว่าเป็นสหชาติกัน เหตุที่มีนามว่า “งำเมือง” เป็นเพราะมีอิทธิฤทธิ์ไม่ต่างจากพระร่วงเจ้า เสด็จไปทางไหน แดดก็ไม่ร้อน ฝนก็ไม่เปียก สามารถ เสกท้องฟ้าให้ปกงำบดบังเมฆได้ เพราะร่ำเรียนวิชชาอาคมมาจากสำนักเขาสมอคอน (บ้างเรียกดอยด้วน บ้างเรียก สำนกั สุกกะทนั ตะฤษี) กรุงละโว้ โดยมีพระร่วงเปน็ เพ่ือนรว่ มสำนกั เรอ่ื งราวรักๆ ใคร่ๆ ระหวา่ งนางอ้ัวเชียงแสนกับ พระร่วง ถูกบันทึกไว้อย่างเปิดเผยในเอกสารโบราณหลายฉบับ ราวกับเป็นเรื่องปกติสามัญ ปฐมเหตุเกิดจากการท่ี พระร่วงคิดถึงสหายเก่าร่วมสำนัก จึงได้เดินทางไปรดน้ำดำหัวพญางำเมืองที่พะเยา แถบลุ่มแม่น้ำโขง ในวันสงกรานต์ แสดงว่าอาณาเขตของพะเยาครั้งนั้นกว้างใหญ่ไพศาลจนจรดแม่น้ำโขง น่าจะสร้างความ สะพรึงกลัวให้แก่พญามังรายที่มีเขตแดนชนกันไม่น้อย สอดรับกับข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ที่กล่าวว่า “น้ำในตระพังโพยสีใส รสกินดีเหมือนดั่งกูกินโขงเมื่อแล้ง” ชัดเจนว่าพ่อขุนรามคำแหงเคยมาดื่มชิมน้ำ ในแม่น้ำโขงคราวหน้าแล้ง ซึ่งก็ตรงกับเดือนเมษายน ถึงได้สามารถพรรณนาเปรียบเทียบรสชาติน้ำจากแม่โขงกับ ที่สระตระพังโพยในกรุงสุโขทัยว่ามีรสชาติดีพอๆ กัน ระหว่างนั้นพระร่วงได้พบกับนางอั้วเชียงแสน ผู้มีรูปโฉมงาม ล้ำบาดตาบาดใจ จึงเกิดจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ นางอั้วเชียงแสนได้ทำแกงถวายพญางำเมือง ไม่รู้ว่ากำลังหงุดหงิดอะไร อยู่หรอื เปล่า ชมิ ได้เพยี งคำเดียวกว็ างช้อนบ่นว่า “น้ำแกงมากไปหน่อย รสชาติจืดชืด ไม่เขม้ ข้น” ในขณะท่ีพระร่วง รีบเข้าไปปลอบประโลม พลางซดน้ำแกงนั้นหมดหม้อ เรื่องเล็กๆ จึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ คำตัดพ้อของสวามีนั้น เข้าทางใครบางคน เริ่มด้วยการงอนตุปัดตุป่อง จากนั้นทุกราตรีก็ไม่ยอมให้พญางำเมืองไปมาหาสู่ด้วย ตำนาน ฝ่ายสุโขทัยเขียนตรงไปตรงมาว่า “พญาร่วงรู้ว่านางอั้วรักพระองค์ จึงได้เสียกัน” แต่ตำนานฝ่ายพะเยาพรรณนา ฉากเข้าพระเข้านางเสียยืดยาวว่า พญางำเมืองเดินทางไปเจรจาศึกเรื่องพรมแดนเมืองกับพญามังราย พระร่วง บงั เกิดกำหนัดรักใครใ่ นสิริโฉมพไิ ลพลิ าสแหง่ นางอวั้ เชียงแสนจนสดุ จะทนไหว จึงลอบปลอมแปลงพระองคใ์ ห้คล้าย กับพญางำเมือง เข้าสู่ห้องบรรทมลักสมัครสังวาสกันนานอยู่หลายคืน เมื่อนางอั้วเชียงแสน รู้ว่ามิใช่พระสวามีก็มิรู้ จะทำฉันใดได้ ตำนานหลายฉบับระบุว่าลึกๆ แล้วนางอั้วเชียงแสนเองก็มีจิตปฏิพัทธ์ต่อพระร่วงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า กันเลย ครั้นพญางำเมืองกลับมาและทราบเหตุการณ์ จึงจับตัวพระร่วงมัดไว้ในเล้าสุ่มไก่ สั่งยายแก่คนหนึ่งดูแลหา อาหารให้ แตล่ ะวันมีเพียงปลาป้ิงตวั เล็กๆ พอประทังกายเป็นการลงโทษให้พระร่วงอับอาย วา่ กำลังถูกสบประมาท แต่ความแค้นของพระญางำเมืองมิแทบกระอักอกแตกตายยิ่งกว่าดอกหรือ จักฆ่าทิ้งเสียทั้งเพื่อนทั้งเมียก็เกรง จักเป็นเวรเป็นกรรมกันไปถึงภพหน้า คิดอย่างไรก็ปลงไม่ตก จึงเชิญให้พระญามังราย ผู้เป็นญาติมาช่วยตัดสิน คดีความแทน พญางำเมืองนี่เองที่เป็นสะพานเชื่อมโยงให้สหายรักชาวสุโขทัยกับญาติสหชาติชาวเชียงรายได้มา รู้จักกัน หากไม่มีคดีชู้ครั้งนั้น ยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่า พระร่วงจะมาช่วยพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ได้อย่างไร พญามังรายจะทำเช่นไรได้ จู่ๆ ต้องมาสวมบทท้าวมาลีวราชว่าความ หากตัดสินลงโทษพระร่วงรุนแรง ก็เกรงว่าต้องเปิดศึกใหญ่กับทางสุโขทัย เหมือนอยู่ดีๆ ก็แกว่งเท้าห าเสี้ยน ได้ไม่คุ้มเสีย พญามังรายเห็นว่า

๔๘ ทั้งพระร่วงและพญางำเมืองต่างก็มีความรู้ความสามารถ อุตส่าห์ร่ำเรียนจบมาจากสำนักเขาสมอคอนอันลือช่ือ ซึ่งพระญามังรายเองยังไม่มีโอกาสศึกษาที่นั่นด้วยซ้ำ สู้หยิบยืมมันสมองของสองสหายมาวางแผนร่วมกันสร้าง เมืองเชียงใหม่มิดีกว่าหรือ คิดดังนี้แล้วพญามังรายจึงให้กษัตริย์ทั้งสองขอขมาอโหสิกรรมต่อกันและเดินหน้า ปรองดอง แค่ให้พญางำเมือง เรียกปรับสินไหมค่าเสียหายจากพระร่วงตามแต่จะเห็นสมควร เมื่อยอมความกันได้ สามสหายจึงกรีดเลือดดื่มน้ำสาบานว่า “ต่อจากนี้จักซื่อสัตย์เกื้อกูลไม่เบียดเบียนกันอีก” สถานที่ที่กระทำสัตย์ ปฏิญาณภายหลังเรียกว่า “แม่น้ำอิง” เหตุเพราะสามสหายได้นั่งอิงหลังกัน ณ ฝั่งแม่น้ำ เดิมชื่อ “แม่น้ำขุนภู” มีข้อสังเกตว่า บุคคลที่พยายามเปิดเผยเรื่องชู้ๆ คาวๆ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก คือพญามังราย เพราะปรากฏ อย่างละเอียดอยู่ในตอน “พญามังรายตัดสินคดีชู้พระร่วง” หรือว่าเบื้องหลังของมิตรภาพที่แท้แล้วมีความ หวาดระแวงซ่อนอยู่ เพราะต่างก็มีฐานะเป็นคู่แข่งทางการเมืองกันอยู่ในที สถานการณ์ความขัดแย้งเรื่องชู้สาว ระหว่างกษัตริย์สุโขทัย-พะเยา จึงกลายเป็นเครื่องมือเสริมส่งบารมีอนั ชอบธรรมให้แกพ่ ญามังราย ลอยตัวอยู่เหนือ มลทินเป็นผู้มีคุณธรรมสูงส่งที่สุดในบรรดาสามกษัตริย์ อันที่จริงก่อนจะเกิดเหตุการณ์นี้ ย้อนหลังกลับไปร่วม 20 ปี พญางำเมืองเคยยกทัพไปตีเมืองปัว และมอบหมายให้นางอั้วเชียงแสน ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง เรื่องชู้ๆ ฉาวๆ มักเป็นของคู่กับโฉมงาม วันดีคืนดี “พญาผานอง” ผู้เป็นราชบุตรของเจ้าเมืองปัวองค์ก่อน ได้รวบรวมกำลังมายึด เมืองปัวคืน แถมยังจับตัวนางอั้วเชียงแสนเป็นชายาอีก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะเป็นชู้กับพระร่วงแล้ว ชื่อของ “นางอั้วสิม หรือ อั้วเชียงแสน” ปรากฏอยู่ในพงศาวดารเมืองน่าน ภาคที่ 10 ว่าเคยเป็นชู้กับพญาผานอง แห่งเมืองปัว แต่เชื่อว่าครั้งนั้นพระญางำเมือง คงทำใจได้ด้วยเป็นเหตุสุดวิสัย อีกทั้งพญาผานองก็อายุคราวลูกคือ อ่อนกว่านางอั้วเชียงแสนร่วม 20 ปี โศกนาฏกรรมฉากสุดท้ายของนางอั้วเชียงแสน เกิดขึ้นในช่วงที่พญางำเมือง ไปช่วยพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่อยู่นานหลายเดือน พญามังรายรู้สึกซาบซึ้งน้ำใจของญาติผู้นี้ จึงได้ พระราชทานเจ้าหญิงองค์หนึ่งให้เป็นชายา ข่าวนี้รู้แพร่งพรายไปถึงหูของนางอั้วเชียงแสน ทรงโกรธกร้ิว เสียพระทัยอย่างรุนแรง ถึงกับสั่งให้เสนาอำมาตย์จัดขบวนม้าพระที่นั่งมุ่งหน้าไปยังเชียงใหม่ หมายจักสังหาร ชายาน้อยนั้นให้ได้ แต่แล้วในระหว่างทางนั้นทนแบกรับความทุกข์ระทมไม่ไหว เสด็จไม่ทันถึงไหนก็ตรอมใจตาย เสียก่อน เมื่อพญางำเมืองทราบจึงรีบเสด็จกลับและนำศพของนางพญาอั้วเชียงแสนมาไว้ที่วัดพระธาตุจอมทอง เมืองพะเยา ไยพญามังรายจึงกล้าถวายชายาองค์ใหม่ให้แก่พญางำเมือง หรือการปูนบำเหน็จสินน้ำใจให้แก่ พญางำเมืองด้วยสาวงามเช่นนี้ ถือเป็นการช่วยล้างแค้นศักดิ์ศรีลูกผู้ชายให้แก่พระญาติที่ถูกย่ำยีซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วย การมีชู้ถึงสองครั้งของนางอั้วเชียงแสน ไม่ว่าการลอบเป็นชู้กับพระร่วงของนางอั้วเชียงแสนนั้น จักถูกพญางำเมือง มองว่าเป็นการทรยศของคน “ตบมือข้างเดียวไม่ดัง” หาใช่เกิดจากความวูบไหวน้อยใจต่อการที่พระองค์ ไม่ชื่นชมในรสแกงอ่อมไม่ ทว่า การสังเวยชีวิตของนางอั้วเชียงแสนครั้งนี้ก็คือเครื่องพิสูจน์รกั อันยิ่งใหญ่ให้มหาราช งำเมือง ไม่ต้องแบกปมด้อยเรื่องอดีตชู้ของนางอีกต่อไป ปราชญ์ชาวบ้านเมืองพะเยาขอความเป็นธรรมให้แก่ ดวงวิญญาณของนางอั้วเชียงแสน ผู้ไม่มีสิทธิ์ได้อุทธรณ์ ว่าการที่นางยอมเป็นชู้กับพระร่วงนั้น หาใช่เกิดจาก กามวิสัยไม่ แต่ทำไปด้วยจิตเสียสละ เหตุที่พระนางมีเลือดเนื้อเชื้อไขชาวเชียงแสน แต่ต้องมาเป็นสะใภ้พะเยา ช่วงนั้นพะเยากับเชียงแสนกำลงั เผชญิ หน้าห้ำหัน่ ยือ้ แย่งดินแดนกัน นางจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางเพ่ือหาเมอื งท่สี าม มาคานอำนาจ การสนิทสิเนหากับพระร่วง ย่อมช่วยทำให้พญามังรายยำเกรงบารมีเลิกรุกคืบรังแกพะเยา และ พระร่วงเองก็ไม่กล้ารุกล้ำทั้งพะเยาและเชียงแสน ด้วยเห็นแก่โฉมตรู “นางพญาอั้วเชียงแสน” ผู้ยอมถูกประณาม ว่าเป็นชู้รกั นริ นั ดร์กาล

๔๙ นางพญาอ้วั เชยี งแสน ราชินีแห่งแคว้นพะเยา ท่มี า สมาคมคนเหนอื ทมี่ า พะเยาบา้ นฉนั ทม่ี า https://www.chainarai.com/

๕๐ พญางำเมือง กษตั ริย์ องค์ท่ี ๙ แห่งอาณาจกั รภกู ามยาวและพระมเหสี (นางอ้วั เชียงแสน) วดั พระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง จงั หวดั พะเยา ที่มา https://thainews.easybranches.com/varity/2830222


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook