Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การผลิตพืชผักปลอดภัย

การผลิตพืชผักปลอดภัย

Description: การผลิตพืชผักปลอดภัย

Search

Read the Text Version

เอกสารคำ� แนะน�ำที่ 5/2557 การผลิตพืชผกั ปลอดภยั พิมพค์ ร้งั ท่ี 1 : ปี 2557 จ�ำนวน 10,875 เลม่ พิมพ์ท่ี : โรงพิมพ์ชุมนมุ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ� กดั



สารบญั ค�ำน�ำ หนา้ บทท่ี 1 บทน�ำ 3 1.1 การจ�ำแนกประเภทพชื ผกั 4 1.2 คณุ ประโยชนพ์ ืชผัก 8 บทที่ 2 การปลูกพืชผกั และดแู ลรักษา 9 2.1 เมล็ดพนั ธพุ์ ืชผกั 9 2.2 อตั ราการใช้เมล็ดพนั ธ ุ์ 11 2.3 การเพาะเมล็ด 14 2.4 การเตรยี มแปลงปลกู 18 2.5 การปลกู 19 2.6 การใหป้ ยุ๋ 23 2.7 การใหน้ ้�ำ 24 บทท่ี 3 การจดั การศัตรูพชื ผกั 25 3.1 แมลงศัตรพู ืชผกั และการปอ้ งกนั ก�ำจัด 26 3.2 โรคพชื ผักและการปอ้ งกนั ก�ำจัด 39 3.3 การใชส้ ารเคมปี ้องกนั และกำ� จัดศตั รูพชื อย่างถูกตอ้ งและปลอดภัย 50 บทที่ 4 การเกบ็ เกย่ี วและการจัดการหลงั การเกบ็ เกี่ยวพืชผัก 57 4.1 เทคนิคและวธิ ีการเกบ็ เกยี่ ว 57 4.2 ดชั นกี ารเก็บเกี่ยว 61 4.3 การปฏบิ ัติหลังการเก็บเก่ยี ว 64 บทที่ 5 เทคโนโลยีเพอื่ ลดต้นทนุ และเพม่ิ มูลคา่ ผลผลิตพืชผกั 69 5.1 เทคโนโลยเี พื่อลดต้นทนุ การผลิต 70 5.2 การเพมิ่ มูลค่าผลผลติ พชื ผกั 78 บรรณานกุ รม 81

การผลิต พชื ผกั ปลอดภัย ค�ำนำ� เป็นท่ีทราบกันว่า ปัจจุบันตลาดและผู้บริโภค มีความต้องการพืชผักปลอดภัยเพ่ิมมากขึ้น ด้วยเพราะ กระแสในเรื่องรักสุขภาพ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม เกษตรกร จึงจ�ำเป็นต้องผลิตพืชผักให้สอดคล้องตามความต้องการ ของตลาดและผู้บริโภค การผลิตพืชผักปลอดภัยจะช่วย ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เชื่อ ม่ันได้ว่าผลผลิตมีสารเคมีตกค้างไม่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผล ให้เกษตรกรเพ่ิมรายได้ มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้บริโภครับประทานผลิตผลที่ปลอดภัย และมีส่วนร่วม ในการสร้างสิ่งแวดล้อมท่ีดีขึ้น ยังเป็นการสร้างโอกาสและ เพ่ิมมูลคา่ การสง่ ออกผลผลติ พชื ผกั การผลติ พืชผักปลอดภยั 1

กลุ่มส่งเสริมพืชผักและเห็ด ส�ำนักส่งเสริมและ จัดการสินค้าเกษตร จึงได้เรียบเรียงเอกสารค�ำแนะน�ำ เรื่อง การผลิตพืชผักปลอดภัย โดยมีเน้ือหาเพื่อมุ่งเน้น ให้เกษตรกรสามารถน�ำไปปรับใช้กับการผลิตของตนเอง ในเนอื้ หานำ� เสนอทั้งหมด 5 บท โดยบทท่ี 1- 3 ให้ความรู้ ในเร่ืองประเภทของพืชผัก การปลูกพืชผัก ดูแลรักษา และการจัดการศัตรูพืชผัก บทท่ี 4 - 5 มุ่งเน้นในเร่ือง การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผัก พร้อมทั้งความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและ แนวคดิ การเพมิ่ มูลคา่ ผลผลติ พืชผัก ขอขอบคุณ คุณจุฬาภรณ์ นกสกุล กลุ่มส่งเสริม การวินิจฉัยศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาและจัดการ ดินปุ๋ย ในการเรียบเรียง บทที่ 3 การจัดการศัตรูพืชผัก ขอบคุณเจ้าหน้าท่ีทุกท่านที่อ�ำนวยความสะดวกในการ ค้นหาข้อมูลและรูปภาพประกอบในเอกสารเล่มนี้ ผู้จัดท�ำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารค�ำแนะน�ำน้ีสามารถสร้าง ความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงการผลิตพืชผักปลอดภัย แกเ่ กษตรกร ซงึ่ เปน็ ผผู้ ลติ แหลง่ อาหารของประเทศใหส้ มกบั คำ� วา่ “ครวั ไทยส่คู รวั โลก” กลมุ่ ส่งเสรมิ พชื ผักและเหด็ สำ� นกั ส่งเสริมและจดั การสินค้าเกษตร 2 การผลติ พืชผักปลอดภยั

บทที่ 1 บทนำ� พชื ผัก หมายถึง พชื ทสี่ ามารถนำ� สว่ นต่างๆ เช่น ใบ ล�ำต้น ดอก ผล และราก มาบริโภคได้ไม่ว่าบริโภคสดหรือท�ำให้สุก ก่อนรับประทาน อาจใช้เป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบรอง หรือเป็น เครื่องเคยี งช่วยใหน้ ่ารับประทานยง่ิ ขน้ึ พืชผักส่วนใหญ่จะเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะอวบน้�ำ อ่อนนุ่ม ไม่แข็ง มีรสค่อนข้างหวาน และท่ีส�ำคัญต้องไม่มีพิษต่อร่างกาย พืชผักหลายชนิด ในประเทศไทย อาจได้มาจากพืชประเภทอ่ืนๆ เช่น การใช้ใบอ่อนและผลอ่อน ของมะม่วง ชมพู่ มะขาม การใช้ดอกของต้นแค ต้นอ่อนหรือกล้าอ่อนของ พืชตระกูลถ่ัวต่างๆ เช่น ถ่ัวงอก ต้นอ่อนของถั่วลันเตาหรือโต้วเหม่ียว เป็นต้น ดังนั้น การจ�ำแนกพืชใดเป็นพืชผักหรือไม่นั้นขึ้นกับการใช้ของ ผู้บริโภค อาจแตกต่างกันในแต่ละแหล่งหรือแต่ละประเทศ พืชบางชนิด อาจถือเป็นพืชผักในประเทศหนึ่ง แต่อีกประเทศอาจจัดเป็นผลไม้ วัชพืช หรือไมป้ ระดับกไ็ ด้ การผลิตพืชผกั ปลอดภัย 3

1.1 การจำ� แนกประเภทพชื ผัก พืชผักสามารถจ�ำแนกได้หลายลักษณะดว้ ยกนั อาจแบง่ ได้ ดังนี้ 1.1.1 การจำ� แนกตามหลกั พฤกษศาสตร์ ได้แก่ ✤ พืชผักตระกูลกะหล�่ำ ตัวอย่างเช่น กะหล�่ำปลี กะหล�่ำปม ผกั กาดเขียว ผกั กาดขาว คะนา้ บร็อคโคล่ี และกวางตุ้ง เป็นตน้ ✤ พืชผักตระกูลถั่ว ตัวอย่างเช่น ถั่วลันเตา ถ่ัวแขก และ ถัว่ ฝักยาว เป็นต้น ✤ พืชผักตระกูลแตง ตัวอย่างเช่น แตงกวา ต�ำลึง แตงโม บวบ ฟัก แฟง และมะระ เป็นต้น ✤ พชื ผักตระกูลหอม-กระเทยี ม ตวั อย่างเชน่ กยุ่ ฉา่ ย กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และหอมแบง่ เป็นต้น ✤ พืชผักตระกลู พรกิ -มะเขือ ตัวอยา่ งเชน่ พรกิ หวาน พรกิ ขีห้ นู มะเขอื เปราะ และมะเขือยาว เป็นต้น 4 การผลติ พืชผกั ปลอดภัย

1.1.2 การจำ� แนกตามฤดปู ลกู ของประเทศไทย ไดแ้ ก่ ✤ ผักฤดูหนาว ตัวอย่างเช่น กะหล�่ำปลี กระเทียม คะน้าฮ่องเต้ ปวยเหล็ง แครอท บร็อคโคล่ี ถั่วลันเตา และมันฝรั่ง เป็นต้น ✤ ผักฤดูร้อน ตัวอย่างเช่น ข้าวโพดหวาน มะเขือเทศ พริก ฟักทอง แตงกวา แตงโม และมะเขือยาว เปน็ ต้น 1.1.3 การจ�ำแนกตามหลักโภชนาการ ไดแ้ ก่ ✤ พืชผักคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น เผอื ก มนั เทศ มนั ฝรั่ง กลอยตา่ งๆ ✤ พชื ผกั นำ้� มันสงู เชน่ ถว่ั ตา่ งๆ ✤ พืชผักที่มีวิตามินเอสูง เช่น แครอท ถั่วกินฝักและเมล็ดอ่อน ต่างๆ ผกั ใบเขียว ฟกั ทอง มนั เทศเน้อื สม้ หรือเหลอื ง ✤ พชื ผักที่มวี ิตามินซสี ูง เช่น ถัว่ งอก แตงเทศ พรกิ มะเขือเทศ ผักตระกลู กะหล่�ำและผกั กาด 1.1.4 การจำ� แนกตามส่วนที่รบั ประทานได้ ได้แก่ ✤ ราก เช่น แครอท บที แรดิช มนั เทศ และผกั กาดหวั เปน็ ต้น ✤ ลำ� ตน้ เช่น กะหล�ำ่ ปม หนอ่ ไม้ฝรง่ั กลอย เผอื ก และมนั ฝรั่ง เป็นต้น ✤ ใบ เช่น หอม กระเทียม ผักกะหล่�ำ-ผักกาดต่างๆ คะน้า ผกั ปวยเหลง็ และผักบุ้ง เปน็ ต้น ✤ ดอก เชน่ บร็อคโคล่ี กะหลำ�่ ดอก เป็นต้น ✤ ผล เชน่ กระเจ๊ียบเขียว แตงกวา ถ่ัวลนั เตา ฟกั มะเขือ บวบ พรกิ เปน็ ตน้ การผลิตพืชผักปลอดภยั 5

1.1.5 การจำ� แนกตามแหล่งอาศัย ได้แก่ ✤ ชอบความชุ่มชื้นสูง หรืออยู่ในน�้ำ เช่น บัว ผักบุ้ง เผือก วอเตอรเ์ ครส เปน็ ตน้ ✤ ชอบอย่บู นบกและมีน้�ำเพยี งพอ เช่น ผักท่วั ๆ ไป ✤ สามารถอยบู่ นทแี่ หง้ แลง้ หรอื ขาดนำ้� ไดน้ าน เชน่ ฟกั แฟงตา่ งๆ 1.1.6 การจำ� แนกตามระดบั ความทนทานตอ่ ความเปน็ กรดในดนิ ไดแ้ ก่ ✤ ทนต่อดินเป็นกรดได้เล็กน้อย (pH ระหว่าง 6.8 - 6) คือ กะหล่�ำดอก กะหล�่ำปลี กระเจ๊ียบเขียว กระเทียม เซเลอร่ี สปินาซ แตงเทศ บรอ็ คโคล่ี ปวยเหลง็ ผกั กาดขาว ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรง่ั หอมหัวใหญ่ ✤ ทนตอ่ ดนิ เป็นกรดไดป้ านกลาง (pH ระหว่าง 6.8 - 5.5) คือ กะหล�่ำดาว กะหล่�ำปม กระเทียมหัว ขา้ วโพดหวาน คะน้า แครอท ถั่วฝักยาว ถวั่ ลันเตา ผกั กาดเขียวปลี ผกั ชฝี รงั่ แตงกวา พรกิ ฟกั ทอง มะเขอื มะเขือเทศ ✤ ทนตอ่ ดินเป็นกรดไดม้ าก (pH ระหว่าง 6.8 - 5) คอื แตงโม มนั เทศ มันฝรง่ั แรดิช สควอช หอมแดง 6 การผลิตพืชผกั ปลอดภยั

1.1.7 การจำ� แนกตามความทนทานต่อระดบั ความเค็มของดิน ✤ ทนต่อความเคม็ มาก คือ คะน้า บที สปินาซ หนอ่ ไม้ฝรั่ง ✤ ทนต่อความเค็มปานกลาง คือ กะหล�่ำดอก กะหล�่ำปลี ข้าวโพดหวาน แครอท ถ่ัวพี แตงกวา แตงเทศ บร็อคโคล่ี ผักกาดหอม พริก มะเขือเทศ มันเทศ มันฝรง่ั หอมหัวใหญ่ ✤ ทนต่อความเค็มน้อย คอื ถ่ัวบนี แรดิช 1.1.8 การจำ� แนกตามระดับความลึกของรากพชื ผัก ✤ ระบบรากต้ืน คือ กะหล�่ำดอก กะหล�่ำปลี กระเทียม ข้าวโพดหวาน เซเลอรี่ บร็อคโคลี่ ปวยเหล็ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักชีฝร่ัง หอมหัวใหญ่ ✤ ระบบรากลึกปานกลาง คือ แครอท แตงกวา แตงเทศ บีท พรกิ มะเขือ ✤ ระบบรากลึกมาก คือ แตงโม แตงเทศ ฟักทอง มะเขือเทศ มนั เทศ หนอ่ ไม้ฝรง่ั อารต์ ิโช้ค การผลิตพืชผักปลอดภัย 7

1.2 คุณประโยชน์พชื ผัก พชื ผักเป็นพชื ทอี่ ดุ มด้วยคณุ ค่าทางอาหาร ซ่ึงมีประโยชนต์ อ่ ร่างกาย ดงั นี้ ✤ มีวิตามินและเกลือแร่ท่ีจ�ำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะแคลเซียมและ เหล็ก และมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ลูทีน ช่วยลดการเกิดความเสื่อม ของจอประสาทตา เบต้า-แคโรทีน ฟลาโวนอย ช่วยดูแลรักษาสุขภาพหัวใจ หลอดเลือด และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดโอกาสการเกิดมะเร็ง กระตุ้น การก�ำจัดเซลล์มะเร็งของร่างกาย ไลโคปีน ช่วยลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก และลดปริมาณไขมนั แอลดีแอลในเลือด แอนโทไซยานิน มฤี ทธ์ติ า้ นอนุมลู อสิ ระ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด ลดโอกาสการเกิดการอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลอื ดหัวใจแขง็ ตวั เป็นต้น ✤ แป้งและน�้ำตาล ซ่ึงเป็นแหล่งพลังงาน และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ✤ เซลลูโลสและไฟเบอร์ ช่วยในการย่อยอาหารและการขับถ่ายของ รา่ งกาย 8 การผลติ พชื ผักปลอดภยั

บทที่ 2 การปลูกพชื ผักและดูแลรักษา ในการผลติ พืชผักเพ่อื ให้ไดผ้ ลผลติ ต่อไรแ่ ละมีคณุ ภาพนั้น จ�ำเปน็ ทีจ่ ะต้องใหค้ วามสำ� คญั ตง้ั แตก่ ารเลือกเมล็ดพนั ธุ์ การปลูก การใส่ปุ๋ย การให้น้�ำ ซ่ึงสิง่ เหล่าน้ี เปน็ ปัจจัยส�ำคัญในการเพมิ่ ประสทิ ธิภาพ การผลิต 2.1 เมล็ดพันธุ์พชื ผัก เมล็ดพันธุ์ คือ เมล็ดพืชที่มีชีวิตซ่ึงเม่ือน�ำไปปลูก หรือน�ำไปขยายพันธุ์ แล้วจะได้ต้นที่เจริญงอกงามตรงตามพันธุกรรมของพืชน้ัน เมล็ดพันธุ์ เสื่อมคุณภาพได้เม่ือเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นเวลานานเกินไป หรือไม่ถูกวิธี ดงั นน้ั ในการใชเ้ มลด็ พันธ์ุพืชผกั เพ่อื นำ� มาปลกู ตอ้ งค�ำนึงถึง 2.1.1 ตรงตามพันธุ์ท่ีต้องการ คือให้ผลผลิตที่มีลักษณะตรงตาม ความต้องการของผปู้ ลูกโดยคำ� นึงถึงความตอ้ งการของตลาด 2.1.2 เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของพ้ืนที่ปลูก เช่น การปลูกในฤดูร้อน ตอ้ งใชพ้ ันธุท์ ี่ทนรอ้ น เป็นตน้ 2.1.3 เมล็ดพนั ธทุ์ ี่น�ำมาใชค้ วรมี อัตราความงอกสงู และไมห่ มดอายุ โดยสงั เกต วนั เดือน ปีท่เี กบ็ และ วันหมดอายุ อย่ใู นภาชนะที่ปิดสนิท การผลติ พืชผกั ปลอดภัย 9

2.1.4 ควรเลอื กซอ้ื เมล็ดพนั ธจ์ุ ากแหล่งทเี่ ช่อื ถือได้ เมลด็ พนั ธพุ์ ชื ผกั ทบี่ รรจใุ น บรรจุภณั ฑท์ ปี่ ิดสนทิ เมล็ดพันธุ์ผักพ้นื บา้ น ฉลากแสดงอายกุ ารทำ� พนั ธุ์ 10 การผลติ พืชผักปลอดภัย

2.2 อตั ราการใชเ้ มล็ดพันธุ์ อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์มีความแตกต่างตามชนิดพืชผัก ขนาดของเมล็ด ซ่ึงแบ่งกลุ่มตามชนิดพืชท่ีเกษตรกร นยิ มผลิตได้ 4 กลมุ่ ตามตารางท่ี 1 ตารางท่ี 1  แสดงอัตราการใช้เมลด็ พนั ธ์พุ ืชผกั ตระกลู ต่างๆ พชื ผกั ชนดิ พันธ์พุ ืช อัตราการใช้เมล็ด ระยะปลกู การใส่ปยุ๋ วิธีปลูก ตระกูล (กรมั /ไร)่ ตน้ xแถว ยา้ ยกลา้ 50x70 ซม. ปรับปรุงดนิ ใสป่ ุ๋ยสตู ร 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ ยา้ ยกลา้ แตง แตงกวา 200 50-75x100-120 ซม. 14 วนั หลังงอก ใส่ป๋ยุ สูตร 46-0-0 อัตรา 30 กก./ไร่ มะระจนี 250 20 วันหลังงอก ใส่ปยุ๋ สูตร 15-15-15 อตั รา 40-50 กก./ไร่ หยอดเมลด็ 300x300 ซม. 30 วนั หลงั งอก ใส่ปุ๋ยสตู ร 13-13-21 อัตรา 30-50 กก./ไร่ ฟกั ทอง 250-450 ระยะแรก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อตั รา 30-50 กก./ไร่ ยา้ ยกล้า 75x100 ซม. ระยะออกดอก ใสป่ ยุ๋ สตู ร 15-15-15 อัตรา 30-50 กก./ไร่ การผลติ พืชผกั ปลอดภัย 11 บวบเหล่ยี ม 200 ระยะตดิ ผล ใสป่ ุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 30-50 กก./ไร่ บวบหอม รองก้นหลมุ ดว้ ยปุ๋ยสตู ร 13-13-21 อัตรา 30-50 กก./ไร่ 7-10 วัน ใส่ป๋ยุ สูตร 46-0-0 อตั รา 3-5 กก./ไร่ 20-30 วันหลังงอก ใสป่ ุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 30-50 กก./ไร่

12 การผลิตพชื ผกั ปลอดภยั ตารางท่ี 1 (ต่อ) พชื ผัก ชนิดพนั ธุ์พชื อัตราการใชเ้ มล็ด ระยะปลกู การใส่ปุ๋ย วธิ ีปลกู ตระกูล (กรัม/ไร)่ ต้นxแถว หยอดเมลด็ แตงโม พันธุเ์ บา 40-50 90x300 ซม. ใสป่ ๋ยุ สูตร 10-10-20 หรือ 13-13-21 อัตรา 100-150 กก./ไร่ เม่อื มีใบจริง 5 ใบ ย้ายกล้า พันธ์หุ นกั 250-500 และใสป่ ุย๋ สูตร 46-0-0 เมื่อเถาทอดยาวประมาณ 30 ซม. ใส่ปยุ๋ สูตร 46-0-0 และ 0-0-60 เมือ่ เถายาว 90 ซม. หว่าน หว่าน กะหล�่ำ กะหล�ำ่ ปลี 100-150 30-40x30-40 ซม. 14 วันหลงั ย้ายปลกู ใสป่ ุย๋ สตู ร 13-13-21 อัตรา 30 กก./ไร่ ย้ายกล้า 20 วนั หลงั ย้ายปลูก ใสป่ ุ๋ยสูตร 46-0-0 และ 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ 40 วันหลงั ยา้ ยปลกู ใส่ปยุ๋ สูตร 13-13-21 หรอื 14-14-21 อตั รา 50 กก./ไร่ หว่าน คะน้า 1,000-1,500 20x25 ซม. 14 วนั หลังงอก ใสป่ ยุ๋ สูตร 46-0-0 อตั รา 40-50 กก./ไร่ 28-40 วัน ใสป่ ุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ผักกาดเขียว 200-250 20x25 ซม. 7-10 วันหลงั งอก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 40-50 กก./ไร่ กวางตุ้ง 20-25 วันหลงั งอก ใสป่ ุ๋ยสูตร 16-16-16 อตั รา 40-50 กก./ไร่ ผกั กาดขาวปลี 200 50x50 ซม. 7-14 วนั หลงั ย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 40-50 กก./ไร่ 21-28 วนั หลงั ย้ายปลกู ใส่ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 40-50 กก./ไร่ 40 วนั หลงั ย้ายปลูก ใส่ปยุ๋ สตู ร 15-15-15 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ผกั กาดหวั 2,000 20x30 หรอื 30x45 ซม. 14 วันหลงั ปลกู ใสป่ ุ๋ยสตู ร 46-0-0 อัตรา 40-50 กก./ไร่ 28 และ 40 วัน ใส่ปุ๋ยสตู ร 13-13-21 อตั รา 40-50 กก./ไร่

ตารางท่ี 1 (ต่อ) พืชผกั ชนิดพนั ธุ์พชื อัตราการใชเ้ มลด็ ระยะปลกู การใสป่ ุ๋ย วธิ ปี ลกู ตระกูล (กรมั /ไร่) ต้นxแถว หว่าน 50x50 ซม. 7-14 วันหลังงอก ใส่ป๋ยุ สตู ร 46-0-0 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ย้ายกล้า ผักกาดหอม 300-500 21-22 วันหลงั งอก ใสป่ ยุ๋ สูตร 15-15-15 หรือ16-16-16 อัตรา 40-50 กก./ไร่ แถวเดีย่ ว รองกน้ ดว้ ย ปุ๋ยหมักปยุ๋ คอกผสมปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อตั รา 25 กก./ไร่ ย้ายกล้า การผลติ พืชผกั ปลอดภัย 13 พริก- พริกขห้ี นู 100 50x100 ซม. 30 วนั หลงั ยา้ ยปลกู ใส่ปุย๋ สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ยา้ ยกล้า มะเขอื พรกิ ชีฟ้ า้ 60 วันหลังยา้ ยปลูก ใสป่ ยุ๋ สตู ร 13-13-21 อตั รา 50 กก./ไร่ ย้ายกล้า 250-350 แถวคู่ หยอดเมล็ด พริกมนั 250-350 50x80 ซม. 20 วันหลังยา้ ยปลูก ใสป่ ๋ยุ สตู ร 15-15-15 อตั รา 20-50 กก./ไร่ หยอดเมล็ด พรกิ หน่มุ 250-350 ระหว่างแถวคู่ 30 วนั หลงั ย้ายปลกู ใสป่ ุ๋ยสูตร 15-15-20 อตั รา 80 กก./ไร่ หยอดเมล็ด พริกหยวก 1,500 120 ซม. ผสม 46-0-0 อัตรา 20 กก./ไร่ มะเขอื เทศ 4,000-5,000 250x250 ซม. 7-10 วนั หลังย้ายปลกู ใสป่ ยุ๋ สตู ร 46-0-0 อัตรา 30 กก./ไร่ มะเขือพวง 3,000-4,000 30 วนั หลงั ย้ายปลกู ใส่ป๋ยุ สตู ร 15-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 15-25 กก./ไร่ 50x80 ซม. 14 วันหลังงอก ใส่ปยุ๋ สตู ร 46-0-0 อัตรา 30 กก./ไร่ มะเขือเปราะ 100x100 ซม. 28 วันหลงั งอก ใส่ปยุ๋ สตู ร 15-15-15 อัตรา 40-50 กก./ไร่ มะเขอื ยาว 50x100 ซม. 38-40 วนั หลังงอก ใสป่ ยุ๋ สูตร 13-13-21 อตั รา 40-50 กก./ไร่ ถ่ัว ถัว่ ฝกั ยาว 200x200 ซม. 15 วนั หลังงอก ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 15 กก./ไร่ ถ่วั พู 30 วันหลงั งอก ใสป่ ยุ๋ สูตร 15-15-15 อตั รา 25 กก./ไร่ 30x50 ซม. 45 วนั หลงั งอก ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อตั รา 25 กก./ไร่ ถ่วั แขก

2.3 การเพาะเมล็ด 2.3.1 วสั ดุเพาะและอปุ กรณ์ การเพาะเมล็ดพนั ธพ์ุ ืชผกั ทน่ี ิยมมี 2 วิธี ซึ่งใชว้ ธิ ที แ่ี ตกตา่ งกนั ดงั น้ี ✤ การเพาะในแปลงเพาะ เป็นที่นิยมของเกษตรกร โดยเลือก บริเวณใกล้ที่อยู่อาศัย สะดวกต่อการดูแล ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี น้�ำไม่ท่วม และไม่ควรมีต้นไม้ใหญ่หรือบ้านเรือนบังแสงแดด เพ่ือให้ ต้นกล้าได้รับแสงแดดเพียงพอ การเตรียมแปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวตามต้องการ และสะดวกต่อผู้ดูแลแปลง ขุดดินตากแดด ประมาณ 10-15 วัน ย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ยกแปลง สูงประมาณ 10 เซนติเมตร เกลี่ยหน้าแปลงให้เรียบ หว่านเมล็ดกระจาย ให้ท่ัวแปลงหรือโรยเป็นแถว ให้แต่ละแถวห่างกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร เกลี่ยดินกลบบางๆ แล้วรดน้�ำ ควรคลุมดินด้วยแกลบหรือฟางแห้งเพื่อรักษา ความชื้น การเพาะกล้าพรกิ ในแปลงเพาะกล้า 14 การผลติ พืชผกั ปลอดภยั

• ✤ การเพาะกลา้ ในภาชนะ การเพาะในถาดเพาะ เป็นวิธีท่ีนิยมในปัจจุบัน เหมาะส�ำหรับ เมล็ดพันธุ์ที่มีราคาแพง และขนาดเล็ก เพราะสะดวกในการดูแลกล้า ใช้พื้นที่ ไม่มากนัก ทั้งการให้น�้ำและจัดการศัตรูพืช เคลื่อนย้ายง่าย ทราบจ�ำนวน ต้นกล้าแน่นอน โดยถาดเพาะมีหลายขนาด เช่น 50, 60, 72, 104 และ 200 หลุม เป็นต้น เกษตรกรควรเลือกถาดเพาะให้เหมาะสม โดยพิจารณาจาก ระยะเวลาที่ต้นกล้าอยู่ในถาดเพาะนั้น เช่น การเพาะกล้าผักสลัด ที่ใช้เวลา ต้ังแตง่ อกถงึ ย้ายปลูกประมาณ 15-20 วนั ใช้ถาดเพาะทมี่ จี �ำนวนหลมุ มาก เชน่ ถาดเพาะขนาด 104 หลุม เพราะถาดเพาะมขี นาดท่ีพอเหมาะต่อการเจริญเติบโต ของต้นกลา้ การเพาะกล้า ในถาดเพาะ การผลิตพืชผักปลอดภัย 15

• การเพาะในกระบะเพาะ นิยมใช้ในกรณีท่ีต้องการต้นกล้า จ�ำนวนไม่มาก เพราะใช้ดินจ�ำนวนน้อย โดยน�ำดินมาอบฆ่าเช้ือโรคก่อนท�ำ การเพาะ หรือ เลือกดินในบริเวณที่ไม่เป็นแหล่งสะสมของโรคแมลง กระบะเพาะ ควรมีขนาดประมาณ 45 x 60 ซม. หรือขนาดใกล้เคียง ลึกไม่เกิน 10 ซม. มีรูระบายน�้ำได้ ใส่วัสดุเพาะแล้วใช้ไม้กดเป็นร่องห่างประมาณ 3-4 ซม. ลึก 1 ซม. โรยเมล็ดในร่องแล้วกลบดินเบาๆ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์คลุมปิดไว้ จึงรดน้�ำเพื่อเพ่ิมความช้ืน และความเสียหายจากการรดน้�ำ จนกระทั่งเมล็ด •เรม่ิ งอก จึงเปดิ กระดาษออก การเพาะในถุงพลาสติกเพาะ นิยมใช้เพราะมีขนาดเพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต รากได้รับการกระทบกระเทือนน้อย ต้นกล้าฟื้นตัวได้เร็ว แต่ค่าใชจ้ า่ ยคอ่ นขา้ งสูง เพราะไมส่ ามารถน�ำกลบั มาใช้อีกคร้งั ส�ำหรับวัสดุส�ำหรับเพาะกล้าควรใช้ ดินละเอียด ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ทรายละเอียด ขุยมะพร้าว ในอัตราส่วนเท่าๆ กัน และเกษตรกรควรค�ำนวณ ระยะเวลาในการเตรียมแปลง เพื่อย้ายปลูกให้สอดคล้องกันกับการเจริญเติบโต ของต้นกล้า การเพาะกลา้ ในถงุ พลาสตกิ 16 การผลติ พชื ผักปลอดภยั

การถอนแยกตน้ กล้า 2.3.2 เทคนคิ และวธิ กี ารดแู ลกลา้ ผัก ✤ การรดน�้ำ ควรใช้บัวฝอยรดวันละ 2 ครง้ั เชา้ -เย็น ระวังไมใ่ ห้แฉะเกินไป ✤ การท�ำร่ม หากบริเวณที่เพาะกล้าได้รับแสงแดดตลอดวันควรท�ำร่ม ให้ในระยะแรก ให้ได้รับแสงแดดในช่วงเช้าก่อน 8.00 น. และช่วงบ่ายหลัง 16.00 น. แล้วค่อยเพ่ิมการรับแสงแดดจนกล้ามีอายุ 2 สัปดาห์และแข็งแรง มากพอ จึงให้รับแสงแดดได้ตามปกติ ✤ การถอนแยก และถอนต้นกล้าท่ีเป็นโรคทิ้ง โดยเฉพาะการเพาะ ในแปลงเพาะท่ีต้นกล้าอาจจะชิดกันเกินไป ท�ำให้เป็นโรค ควรถอนต้นที่อ่อนแอ และเป็นโรคออก เพื่อให้เกิดระยะห่างสามารถรับแสงแดดอย่างสม่�ำเสมอ จะทำ� ใหต้ ้นกล้าแข็งแรงทนทานต่อโรค ✤ ควรรดน้�ำปูนใสผสมน�้ำ อัตราส่วน 1:5 เพ่ือป้องกันโรค (การท�ำ น้�ำปูนใส ให้ใช้ปูนขาว 5 กก.ผสมน้�ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากัน ท้ิงไว้ 1 คืน ใหต้ กตะกอน นำ� น�้ำสว่ นทใี่ สผสมนำ�้ รดผัก) การผลติ พชื ผักปลอดภยั 17

2.4 การเตรียมแปลงปลูก ปัจจุบันพื้นท่ีการเกษตรในประเทศไทยมีการปลูกพืชซ�้ำในพื้นที่เดิม และมีการใช้ปุ๋ยเคมีอยู่เป็นประจ�ำ ท�ำให้บางพ้ืนที่ ดินมีสภาพเป็นกรดหรือ ด่างเกินกว่าพืชผักจะเจริญเติบโตได้ ดังนั้น ก่อนเตรียมแปลงปลูกควรน�ำดิน ส่งให้กรมพัฒนาที่ดินตรวจวิเคราะห์คุณภาพดิน เพ่ือเลือกใช้วิธีปรับปรุงดิน ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชผักอย่างเหมาะสม โดยท่ัวไปสามารถ ปรับปรุงดนิ กอ่ นปลูก ดงั นี้ ✤ ไถพรวนดิน ตากแดดประมาณ 7-10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค ไข่แมลง และเมล็ดวชั พชื บางชนดิ ในดนิ ✤ ปรับปรุงสภาพดินด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 2-4 ตัน/ไร่ พร้อมปูนขาวอตั รา 200-400 กก./ไร่ ✤ พรวนดินอีกคร้ังให้ดินละเอียด ยกแปลงกว้างประมาณ 120 ซม. ความยาวของแปลงตามความต้องการของผู้ปลูก ยกแปลงให้สูงตามความลึก ตามระบบรากพืชทปี่ ลูกตอ้ งการ ✤ ปรับผวิ หน้าแปลงให้เสมอกัน ป้องกันการขงั ของน้ำ� เมอ่ื รดนำ�้ ✤ ขุดหลุมปลูกตามระยะปลูกท่ีเหมาะสมของแต่ละชนิดพืช และ รองก้นหลมุ ด้วยปยุ๋ คอก หรอื ปุย๋ หมัก การเตรยี มแปลงปลูก 18 การผลติ พืชผกั ปลอดภัย

2.5 การปลกู 2.5.1 การปลูกลงแปลงโดยตรง การหว่าน หรอื โรยเปน็ แถว นยิ มใช้กับผักกินใบ เชน่ ผกั ชี คะนา้ กวางตุ้ง ผกั บุ้ง เปน็ ตน้ ซงึ่ มีวธิ กี าร ดังนี้ ✤ ย่อยหน้าดินใหล้ ะเอียดกอ่ นเสมอ ✤ หว่านให้กระจายท่ัวแปลงมากท่ีสุด หากเมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็กมาก ควรผสมกบั ทรายละเอยี ดก่อนหวา่ น เพื่อเพม่ิ การกระจายตัวของเมล็ดพนั ธ์ุ ✤ โรยเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. ✤ เมื่อหว่านหรือโรยเมล็ดพันธุ์แล้วกลบเมล็ดด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ท่ีสลายตัวดีแล้ว หนาประมาณ 1 ซม. คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งท่ีสะอาด รดน�้ำให้ชุ่มด้วยบัวฝอย  เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตอาจเบียดกันแน่นเกินไป ให้ถอนต้นท่เี ป็นโรคและออ่ นแอไมส่ มบรู ณท์ ้งิ การหว่านเมลด็ การผลติ พชื ผักปลอดภยั 19

การหยอดเมล็ด การหยอดเมล็ด นิยมหยอดเมล็ดพันธุ์ประเภทผักเล้ือยกินผล ลงในแปลงปลูกโดยตรง เชน่ มะระ บวบ แฟง เป็นต้น ซ่งึ มีวิธกี ารดังนี้ ✤ ขุดหลมุ ตามระยะและความลกึ ท่เี หมะสมสำ� หรบั พชื ผักชนิดน้ันๆ ✤ หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดินผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตราสว่ น 1:1 ✤ เมอ่ื ตน้ กลา้ งอกมีใบจริงประมาณ 2-3 ใบ จงึ คดั ตน้ ทีไ่ มส่ มบรู ณแ์ ละ เป็นโรคออก เหลือเพยี งหลุมละ 1 ตน้ 20 การผลติ พืชผักปลอดภยั

2.5.2 การยา้ ยกล้า ✤ เลือกต้นกล้าที่แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลง ล�ำต้นตรง ไม่คดงอ ใบสมบูรณ์ มใี บจรงิ 3-5 ใบ ✤ ขดุ หลมุ ตามระยะปลกู และลกึ ตามชนิดของพืชผักนั้นๆ ✤ ก่อนย้ายต้นกล้าควรงดน�้ำ 1 วัน และก่อนปลูก 1 ช่ัวโมงให้รดน�้ำ ให้ช่มุ ✤ ต้นกล้าท่ีเพาะในถุงพลาสติก ใช้มีดกรีดถุงพลาสติกให้ขาดเพ่ือไม่ให้ กระทบกระเทือนรากของต้นกล้า หากเป็นถาดเพาะกล้าให้บีบด้านล่างสุดของ ก้นถาด ต้นกล้าจะถูกดันข้ึนมาเหนือถาดเพาะพร้อมดินเพาะ ท�ำให้ต้นกล้า ไม่ได้รบั ความกระทบกระเทอื นมากนกั ✤ ต้นกล้าที่เพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ ให้ใช้เสียมหรือไม้แบนๆ แซะด้านข้างของแถวต้นกล้า ระมัดระวังไม่ให้รากต้นกล้าขาด และให้ดินติดมา กับรากมากท่ีสุด เพราะต้นกล้าจะต้ังตัวได้เร็ว และเม่ือถอนต้นกล้ามาแล้วควร ปลกู ทนั ที ✤ ควรย้ายกลา้ ปลกู ในช่วงเชา้ หรือเยน็ ท่มี แี ดดอ่อนและรดน้�ำตามทนั ที ต้นกลา้ ผักท่ีพรอ้ มย้าย การยา้ ยกลา้ ลงแปลงปลูก การผลติ พชื ผกั ปลอดภยั 21

การท�ำค้างส�ำหรบั การปลกู แคนตาลูป การท�ำรา้ นสำ� หรบั ปลูกมะระจนี 2.5.3 การท�ำคา้ ง ✤ การท�ำค้างส�ำหรับพืชผักเล้ือย เช่น แตงกวา มะเขือเทศ และ พืชผักตระกูลถ่ัวต่างๆ ใช้ไม้ไผ่กลมหรือไม้อื่นๆ ที่หาได้ง่ายและราคาถูก ยาวประมาณ 1.5 เมตร ปักข้างต้นกล้าในดินลึก 30 ซม. โดยท�ำเป็นแถวคู่ เอนปลายหากันผูกเป็นกระโจม แล้วใช้ไม้พาดขวาง 3-4 อัน ที่ด้านบนและ ด้านขา้ ง ผกู เชือกให้แน่น เป็นการชว่ ยพยุงลำ� ต้นและงา่ ยต่อการจัดการแปลง ✤ การท�ำร้านส�ำหรับพืชผักเลื้อย จ�ำพวกบวบ มะระ และแฟง ท�ำเสาหลักด้วยการน�ำไม้ไผ่ขนาดกลางปักข้างต้นผักทุกหลุม ให้สูงจากพ้ืน ประมาณ 1.5-2 เมตร ตามความสะดวกในการเขา้ ท�ำงานภายในแปลงได้ แลว้ ใช้ ไม้ไผพ่ าดดา้ นบนไมไ้ ผ่แตล่ ะดา้ นใชล้ วดมดั ให้แน่นเพ่อื ท�ำเป็นคาน แลว้ จงึ ใช้เชอื ก ไนลอนขงึ ทับ หา่ งกนั ประมาณ 70 ซม. หรือใช้แบบสำ� เร็จรูปแลว้ กไ็ ด้ มดั กับไม้ไผ่ ทท่ี ำ� เปน็ เสาและคานใหแ้ นน่ เมอื่ พชื เลอื้ ยและออกผลด้านบนจะสะดวกในการดแู ล รกั ษาและเกบ็ เกี่ยว มากกว่าปลกู ให้เลอ้ื ยบนพื้นดิน 22 การผลติ พชื ผักปลอดภัย

การใสป่ ุย๋ รองพ้ืน 2.6 การให้ปยุ๋ 2.6.1 ปุ๋ยรองพ้ืน จะใช้ในช่วงเตรียมดินหรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพ่ือท�ำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย อุ้มน�้ำ รักษาความช้ืน และช่วยดูดซับปุ๋ยเคมีที่ใส่ภายหลัง ไม่ให้สลายเร็วเกินไป และท�ำให้ต้นกล้า ตงั้ ตวั ไดเ้ ร็ว 2.6.2 ปุ๋ยบ�ำรุง อาจเป็นปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยชีวภาพ ตามระบบมาตรฐาน การผลิตพืชท่ีใช้ แต่ควรแบ่งใส่ โดยคร้ังแรกควรใส่เม่ือยา้ ยกล้าจนต้นกล้าตั้งตัว ได้แล้ว และใส่อีกครั้งหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยโรยปุ๋ย ระหว่างแถวพรวนดินกลบ ไม่ควรใส่ชิดต้นเพราะจะท�ำให้ต้นผักตายได้ เม่ือ ใส่ปุ๋ยแลว้ รดน�ำ้ ตาม 2.6.3 การเลือกใชป้ ุ๋ย ควรเลือกปุ๋ยท่ีมีธาตุอาหารตรงตามความต้องการ ของผักชนิดนั้นในช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโต เช่น ผักกินผล ท่ีมีอายุการ เก็บเกี่ยวนาน โดยมากนิยมใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ แต่หากเป็นผักบุ้งจีนหรือผักกินใบ ท่อี ายกุ ารเก็บเก่ียวสนั้ ให้ปุ๋ยสูตรท่มี ไี นโตรเจนสูง เป็นต้น การผลติ พชื ผักปลอดภยั 23

2.7 การใหน้ ำ�้ การใหน้ ำ�้ พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชอวบน�้ำจึงต้องการน้�ำอย่างสม�่ำเสมอเพียงพอ และไมช่ อบน�้ำขงั ดงั นนั้ ✤ ควรรดน้�ำ เช้า-เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด รดให้ชุ่มแต่ไม่ควรรด จนแฉะและมีน้ำ� ขัง เพราะอาจก่อให้เกดิ การระบาดของโรคพชื ได้ ✤ หากปลูกพืชผักตระกูลแตงในช่วงหน้าหนาว และกลางคืนมีหมอก ลงจดั ในตอนเชา้ ควรโชยน�ำ้ ลา้ งใบ เพ่อื ปอ้ งกันโรคราน�้ำคา้ งได้ 24 การผลิตพืชผกั ปลอดภัย

บทที่ 3 การจัดการศัตรูพชื ผกั การผลิตพืชผักให้ปลอดภัย ต้อง ให้การใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิดต้ังแต่เริ่มปลูกจนถึง เก็บเกี่ยว ซ่ึงอาจถูกรบกวนจากท้ังโรคและแมลง ศัตรูพืชผักหลากหลายชนิด ดังน้ันเกษตรกรจึงควร รู้จักศัตรูพืชผักชนิดต่างๆ เพื่อเลือกวิธีการป้องกัน และก�ำจัดที่ถูกต้อง เหมาะสม โดยเฉพาะหากมี การใช้สารเคมีป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืช ก็ควรใช้ อย่างถูกต้องและปลอดภัย จึงจะสามารถผลิตพืชผักที่ มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภค และไม่สง่ ผลกระทบตอ่ สิ่งแวดล้อม การผลิตพืชผักปลอดภัย 25

3.1  แมลงศัตรพู ืชผกั และการปอ้ งกนั กำ� จัด 3.1.1 หนอนใยผกั ชอ่ื อ่ืน:  หนอนใย ตัวจรวด ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย: ลกั ษณะการท�ำลาย สร้างความเสียหายกับพืชตระกูลกะหล่�ำ ทุกชนิดทั่วประเทศ หนอนใยผักมีวงจรชีวิตสั้น ขยายพันธุ์เร็ว วางไขไ่ ด้ตลอดชีวิต ระยะหนอน สามารถท�ำลายพืชโดยกินใบ กาบใบ และ ยอดได้ ท�ำให้ใบผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห เมื่อถูกตัวหนอนจะดิ้นอย่างแรงและสร้าง เส้นใยพาตัวข้ึนลงระหว่างพื้นดินกับใบพืช เต็มวัยเป็นผีเส้ือกลางคืนขนาดเล็ก ชอบบิน มาเล่นแสงไปชว่ งหวั ค่ำ� พชื อาหาร:  ผกั ตระกลู กะหลำ�่ การปอ้ งกนั ก�ำจดั : 1. ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง 80 กับดกั /ไร่ ลกั ษณะตัวเตม็ วัย 2. ใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรอื ปลกู ผักกางมุง้ และดกั แด้ 3. ใช้แตนเบยี นไข่ทริคโคแกรมมา่ อตั รา 60,000 ตวั /ไร่ ทกุ 10 วนั 4. ใช้แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (บีที) 60-80 กรัม/น้�ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 4-7 วัน 5. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ สปินโนแซด หรือ คลอรฟ์ นิ าเพอร์ หรือ อนิ ด๊อกซาคาร์บ 26 การผลิตพืชผักปลอดภัย

3.1.2 หนอนกระทหู้ อม ช่ืออนื่ :  หนอนหลอดหอม หนอนหอม หนอนหนงั เหนยี ว ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  สร้างความเสียหายกับพืชตระกูล กะหล่�ำทุกชนิดท่ัวประเทศ ระบาดรุนแรงช่วงฤดูร้อน ระยะหนอนสามารถ ท�ำลายพืชโดยกัดกินผิวใบตามส่วนต่างๆ เข้าดักแด้ใต้ผิวดิน ตัวเต็มวัยเป็น ผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง พชื อาหาร:  ผักคะนา้ กะหล�่ำปลี กะหลำ�่ ดอก ผักกาดขาวปลี ผกั กาดเขียวปลี ผักกาดหวั หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรงั่ กระเจ๊ียบเขียว พริก องุ่น ข้าวโพด ถ่ัวเหลอื ง กหุ ลาบ ดาวเรอื ง และกล้วยไม้ การป้องกนั ก�ำจดั : 1. หม่นั ตรวจแปลง ถ้าพบหนอนไม่มากให้เกบ็ ทำ� ลาย 2. ใช้โรงเรอื นตาขา่ ยไนลอ่ น หรอื ปลูกผักกางมุง้ 3. ใช้แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (บีที) 60-80 กรัม/น้�ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 4. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ คลอร์ฟินาเพอร์ หรอื อินด๊อกซาคาร์บ หรอื สปินโนแซด ระยะไข่ หนอน ดกั แด้ ตัวเตม็ วัย ลกั ษณะการทำ� ลาย การผลิตพืชผักปลอดภัย 27

3.1.3 หนอนกระทผู้ กั ชื่ออ่ืน:  หนอนกระทูย้ าสูบ หนอนกระท้ฝู ้าย หนอนเผือก ค ว า ม ส� ำ คั ญ แ ล ะ ลั ก ษ ณ ะ ก า ร ท�ำลาย:  หนอนสามารถกัดกิน ใบ ก้าน หรือเขา้ ท�ำลายในหัวกะหล�่ำ การเข้าท�ำลายมักเกิดเป็นหย่อมๆ สามารถแพร่ระบาดได้ทั้งปีโดยเฉพาะ ช่วงฤดูฝน ตัวเต็มวัยเป็นผีเส้ือกลางคืน ขนาดกลาง ระยะไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย พืชอาหาร:  คะน้า กะหล่�ำปลี กะหล่�ำดอก ผักกาดขาวปลี ผักกาด เขียวปลี ผักกาดหัว หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝร่ัง กระเจี๊ยบเขียว พริก องุ่น ขา้ วโพด ถว่ั เหลอื ง กหุ ลาบ ดาวเรอื ง และกล้วยไม้ การปอ้ งกนั ก�ำจดั : 1. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบหนอน ไมม่ ากใหเ้ กบ็ ทำ� ลาย 2. ใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือ ปลูกผกั กางม้งุ 3. ใช้แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส ลกั ษณะการท�ำลาย (บีท)ี 60-80 กรมั /นำ�้ 20 ลิตร ฉีดพน่ ทกุ 4 -7 วนั 4. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ คลอร์ฟินาเพอร์ หรือ อินด๊อกซาคาร์บ หรือ สปินโนแซด หรือ อีมาเมคตินเบนโซเอท หรือ ลูเฟนนรู อน หรอื คลอฟลอู าซรู อน 28 การผลติ พชื ผกั ปลอดภัย

3.1.4 หนอนคืบกะหล�่ำ ชอ่ื อ่นื :  หนอนเขียว หนอนคืบ หนอนคบื เขยี ว ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  เป็นหนอนขนาดกลาง กินจุ กัดกิน ท่ีผิวใบ จนถึงกัดกินเน้ือใบท�ำให้เป็น รอยแหว่งเหลือแต่ก้านใบ ส่วนใหญ่ พบระบาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลาง พชื อาหาร:  กะหลำ�่ ปลี ผกั กาดขาวปลี ระยะไข่ หนอน ดกั แด้ ตัวเตม็ วยั กะหล่�ำดอก คื่นฉ่าย บีท คะน้า มันฝร่ัง ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม ผกั กวางตุ้ง และผักกาดขาว การป้องกนั ก�ำจัด: 1. หม่ันตรวจแปลง ถ้าพบ หนอนไม่มากใหเ้ ก็บท�ำลาย 2. ใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือปลกู ผกั กางมงุ้ 3. ใช้แบคทเี รียบาซลิ ลสั ทูริง- เยนซสิ (บีที) 60-80 กรัม/น�ำ้ 20 ลิตร ลกั ษณะการทำ� ลาย ฉดี พ่น ทกุ 4 -7 วนั 4. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ แลมบ์ดาโซฮาโลทริน หรอื เดลทาเมทรนิ หรอื คลอฟลูอาซรู อน การผลิตพชื ผักปลอดภัย 29

3.1.5 หนอนเจาะยอดกะหลำ่� ชื่ออื่น:  หนอนใยกะหลำ�่ ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  หนอนเจาะเข้าไปกัดกินส่วนยอด ท่ีก�ำลังเจริญเติบโต หรือกัดกินในส่วนของก้าน และล�ำต้นเป็นทาง ตัวหนอน มักสร้างใยคลุม และมีขุยมูลที่ถ่ายออกมาบริเวณที่เจาะ ท�ำให้กะหล�่ำปลี แตกแขนง พบระบาดอยู่เสมอ และระบาดมากในฤดูแลง้ พืชอาหาร:  คะน้า กะหล่�ำปลี กะหล�่ำดอก กวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี ผกั กาดเขยี วปลี ผกั กาดหวั การปอ้ งกันกำ� จดั : 1. หมัน่ ตรวจแปลง ถา้ พบหนอนไมม่ ากให้เกบ็ ท�ำลาย 2. ใชโ้ รงเรอื นตาขา่ ยไนล่อน หรอื ปลกู ผกั กางมงุ้ 3. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ โพรฟีโนฟอส หรือ โพรไทโอฟอส หรอื แลมบด์ า้ ไซฮาโลทรนิ ระยะไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเตม็ วยั ลกั ษณะการท�ำลาย 30 การผลิตพืชผกั ปลอดภัย

3.1.6 หนอนแมลงวันชอนใบกะหลำ�่ ชือ่ อ่ืน:  หนอนชอนใบ ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  ตัวเต็มวัยวางไข่ใต้ใบ ตัวหนอน หัวแหลมท้ายป้าน ชอนไช อยู่ในใบ ท�ำให้เกิดเส้นขาว คดเคี้ยวไปมา หากระบาด รุ น แ ร ง จ ะ ท� ำ ใ ห ้ ใ บ ร ่ ว ง พชื ตายได้ พืชอาหาร:  ตระกูลกะหล�่ำ ระยะหนอน และ ตวั เตม็ วัย หอม มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะระ พริก บวก กระเจ๊ียบเขียว โหระพา แมงลกั พืชตระกลู ถวั่ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบ และเยอบรี า่ การป้องกนั ก�ำจัด: 1. เผาท�ำลายเศษใบพืชที่ถูกท�ำลายเน่ืองจากหนอนแมลงวันชอนไช ตามพืน้ ดนิ 2. ใช้สารสกัดสะเดา 3. ใชส้ ารเคมตี ามคำ� แนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ เบตาไซฟลูทรนิ ลักษณะการทำ� ลาย การผลติ พชื ผักปลอดภยั 31

3.1.7 เพลี้ยไฟ ตวั เตม็ วัย ความสำ� คญั และลกั ษณะการทำ� ลาย:  ดูดกินน�้ำเลี้ยงจากพืช ท�ำให้เกิดรอยด้าน หรือรอยแผลสีน้�ำตาล ท�ำให้ใบแห้ง หรือ หงิกงอม้วนขึ้นด้านบนยอด ดอก และ ตาออ่ นไมเ่ จรญิ เตบิ โต ในระยะทพ่ี ชื ขาดนำ�้ อาจท�ำให้พืชตายได้ พบท�ำลายพืชได้ ตลอดทั้งปี มักพบระบาดรุนแรงช่วงฤดูร้อน ฝนทิ้งชว่ ง พืชอาหาร:  แตงโม มะเขือเปราะ มะเขือยาว แตงกวา มะระ ฟักเขียว ถว่ั ฝักยาว หน่อไม้ฝรั่ง พริก ไมผ้ ล พืชไร่ และไม้ดอกหลายชนิด การปอ้ งกนั ก�ำจดั : 1. เพิม่ ความชื้นโดยการใหน้ ้ำ� แกพ่ ชื 2. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ อิมิดาโคลพริด หรืออิมาเม็กติน เบนโซเอต หากพบการระบาดในช่วงแล้ง ควรปรับหัวฉีดสารเคมี ให้เปน็ ฝอยทสี่ ดุ ลักษณะการทำ� ลาย 32 การผลิตพชื ผักปลอดภยั

3.1.8 เพล้ียจกั จั่นฝ้าย ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  ดูดกินน�้ำเล้ียงจากใบพืช ท�ำให้ ใบเปลีย่ นเปน็ สีนำ�้ ตาลและงอลง ใบจะเห่ียวแห้ง และกรอบ พืชอาหาร:  มะเขือเปราะ มะเขือยาว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง กระเจี๊ยบเขยี ว ฝา้ ย และปอแกว้ การปอ้ งกนั ก�ำจดั : 1. ใช้สารสกัดสะเดา 2. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ อิมิดาโคลพริด หรือไดโนทฟี ูแรน หรอื อีโทเฟนพรอกซ์ ตัวเตม็ วัย ลักษณะการท�ำลาย การผลติ พืชผกั ปลอดภยั 33

3.1.9 แมลงหวข่ี าวยาสบู ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  ดูดกินน้�ำเล้ียงจากใบพืช ท�ำให้ใบหงิกงอ และเห่ียวแห้ง ต้นแคระแกร็น นอกจากน้ี ยังเป็นพาหะน�ำเช้ือไวรัสสาเหตุโรคพืช หลายชนิด พบระบาดมากในฤดูแล้ง พืชอาหาร:  ฝ้าย ยาสูบ พริก มันเทศ ลกั ษณะการท�ำลาย มะเขือเทศ กระเจี๊ยบเขียว มะเขือเปราะ กะเพรา โหระพา แมงลัก ผักชี ปอแก้ว ถัว่ เหลอื ง และถวั่ ตา่ งๆ การป้องกันก�ำจัด: ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ อมิ ดิ าโคลพริด หรอื ฟโิ ปรนิล 3.1.10  หนอนเจาะผลมะเขือ ชื่ออน่ื :  หนอนเจาะยอดมะเขือ ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  ลักษณะการท�ำลาย หนอนเจาะเข้าไปกินในล�ำต้นห่างจากยอด ประมาณ 10 เซนติเมตร ท�ำให้ยอดเหี่ยว เวลาแดดจัด ถ้ามะเขือก�ำลังติดผลหนอน จะเจาะเขา้ ไปกินภายในผล พชื อาหาร:  มะเขือทกุ ชนิด ยกเว้นมะเขอื เทศ การป้องกันก�ำจัด: 1. หมัน่ ตรวจแปลง เกบ็ ยอดและผลทีถ่ ูกทำ� ลายทง้ิ 2. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ เบตาไซฟลูทริน หรอื ซีตาไซเพอรเ์ มทริน หรือ ไพรไทโอฟอส 34 การผลติ พชื ผกั ปลอดภัย

3.1.11  เพลี้ยอ่อนฝา้ ย ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  ดูดกินน้�ำเลี้ยงจากใบและยอด ท�ำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต เป็นพาหะน�ำเช้ือไวรัสสาเหตุโรคหลายชนิด มาสู่พืช พบระบาดมากในชว่ งอากาศแหง้ แล้ง หรือในฤดหู นาว พชื อาหาร:  ฝ้าย ยาสูบ พรกิ มนั ฝรงั่ มะเขือเทศ กระเจ๊ยี บเขยี ว มะเขือเปราะ ถ่ัวฝกั ยาว ถ่วั ต่างๆ และพืชตระกูลกะหล�่ำ การป้องกันก�ำจัด: 1. กำ� จดั วชั พชื บริเวณแปลงปลกู เพราะเป็นแหลง่ อาศยั ของเพลย้ี ออ่ น 2. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ อิมิดาโคลพริด เป็นต้น ลักษณะตวั เตม็ วัย ลักษณะการทำ� ลาย การผลติ พืชผกั ปลอดภัย 35

3.1.12  หนอนเจาะสมอฝา้ ย ชอ่ื อ่ืน:  หนอนเจาะสมออเมรกิ ัน หนอนเจาะผลมะเขือเทศ ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  หนอนกัดกินทุกส่วนของต้นพืช ท้ังใบ ดอก หรอื เจาะฝัก หนอนขนาดใหญ่จะมคี วามทนทานตอ่ สารเคมีสงู พืชอาหาร:  มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว ถ่ัวลันเตา พริก มะเขือ กระเจี๊ยบเขียว กระเพรา หน่อไมฝ้ รัง่ ไม้ผลและไม้ดอกหลายชนิด การปอ้ งกันก�ำจัด: 1. หมั่นตรวจแปลง หากพบกลุม่ ไข่ กล่มุ หนอนใหเ้ กบ็ ทำ� ลาย 2. ใช้แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (บีที) 100 กรัม/น้�ำ 20 ลิตร ฉดี พ่น 3. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ อิมาเม็กตินเบนโซเอท หรอื คลอร์ฟลูอาซรู อน หรือ เมททอ็ กซี่ฟโี นไซด์ หรอื แลมบด์ าโซฮาโลทรนิ ระยะไข่ หนอน และตวั เตม็ วัย ลักษณะการท�ำลาย 36 การผลิตพชื ผกั ปลอดภัย

3.1.13  หนอนเจาะฝักถวั่ ลายจดุ ชอ่ื อืน่ :  หนอนเจาะฝกั ถ่วั เขียว หนอนเจาะฝักถว่ั มารคู ่า ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  เป็นศัตรูส�ำคัญของถ่ัวฝักยาว โดยหนอนเจาะกินดอกอ่อนและเกสร ท�ำให้ดอกร่วง และหนอนยังกัดกิน ภายในฝกั ถั่วทีเ่ ป็นเมลด็ ออ่ น ทำ� ใหฝ้ กั และเมลด็ ลีบ ระบาดรนุ แรงช่วงฤดแู ลง้ พชื อาหาร:  พชื ตระกูลถั่ว การป้องกนั ก�ำจัด: 1. ไถพรวนดินก่อนปลูกเพ่ือก�ำจัดดกั แด้ในดิน 2. ใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำของทางราชการ ได้แก่ เบต้าไซฟลูทริน หรือ เดลทาเมทรนิ หรอื ไซเพอรเ์ มทรนิ หนอนและตัวเต็มวยั ลักษณะการท�ำลาย การผลติ พชื ผกั ปลอดภัย 37

3.1.14  แมลงวันทองพรกิ ชอ่ื อ่นื :  หนอนดีด หนอนนำ้� ปลา ความส�ำคัญและลักษณะการท�ำลาย:  เป็นศัตรูส�ำคัญของพริกและ พืชตระกูลมะเขือ ตัวเต็มวัยวางไข่ในระยะพริกเปล่ียนสี หรือผลใกล้สุก หนอนกดั กนิ ภายในผล เข้าดกั แดใ้ นดนิ พืชอาหาร:  ผักตระกูลพรกิ และมะเขือต่างๆ การปอ้ งกันก�ำจดั : 1. รักษาความสะอาดในแปลง เก็บผลพริกท่ถี ูกทำ� ลายไปเผาหรือฝงั 2. พน่ ด้วยนำ้� มันปิโตเลยี ม สารเคมีมาลาไธออน ตวั เตม็ วัย ลกั ษณะการท�ำลาย 38 การผลิตพชื ผักปลอดภยั

3.2  โรคพืชผักและการปอ้ งกนั กำ� จัด 3.2.1  โรคเนา่ เละ สาเหตุ:  เกดิ จากเช้อื แบคทเี รยี ลักษณะอาการ:  เกิดมากในพืชตระกูลกะหล่�ำ พบแผลช้�ำ ฉ�่ำน้�ำ แผลเละ เป็นเมือกเย้ิม ส่งกล่ินเหม็น อาการลุกลามอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนจัด มคี วามช้นื สงู การแพร่ระบาด :  ถูกพัดพาไปโดยน้�ำ ติดไปกับแมลงและเคร่ืองมือทางการ เกษตร เศษซากพชื ท่ีเป็นโรค การป้องกนั และกำ� จัด : 1. การเตรียมแปลงปลูก ให้ก�ำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคออกจากแปลง ไถดนิ ตามแดดจดั นานๆ 2. ระวงั อยา่ ให้นำ้� ท่วมขังในแปลงเปน็ เวลานาน 3. ควบคุมหนอนและแมลงปากกัดในแปลง ลักษณะอาการของโรค การผลิตพืชผักปลอดภยั 39

3.2.2  โรคเนา่ ดำ� สาเหตุ:  เกิดจากเชอื้ แบคทีเรยี ลักษณะอาการ:  เกิดกับพืชตระกูลกะหล�่ำและผักกาด พบขอบใบแห้งเข้าไป เป็นรูปสามเหล่ียม ปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ ท�ำให้ใบเหลืองและแห้ง อาการใบแห้งจะลามลงไปถึงเส้นกลางใบและลุกลามลงไปถึงก้านใบและใบอ่ืนๆ ทั่วทั้งต้น เม่ือตัดตามขวางของล�ำต้น ราก และก้านใบพบว่าส่วนที่เป็นท่อน้�ำ ทอ่ อาหารมสี ดี �ำ ทำ� ใหเ้ กิดอาการใบเห่ียวและแหง้ ตายไป การแพรร่ ะบาด:  ตดิ ไปกับเมลด็ พันธ์ุ และอย่ใู นดินหรือเศษซากพชื การป้องกนั และกำ� จดั : 1. ท�ำลายตน้ เป็นโรคโดยการขุดไปเผาทง้ิ ไมค่ วรสับกลบั ลงไปในดิน 2. ควรปลูกพืชหมนุ เวยี นเปน็ เวลา 2 ปี เพ่ือตดั วงจรการเกดิ โรค 3. แช่เมล็ดพันธุ์ในน้�ำอุ่นอุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15-30 นาที เพ่อื ก�ำจดั เช้ือโรคท่ีติดมากบั เมลด็ 4. ไม่ควรใชส้ ารเคมีในการควบคุมโรคเน่ืองจากใชไ้ มไ่ ดผ้ ล ลกั ษณะอาการของโรค 40 การผลติ พชื ผกั ปลอดภยั

3.2.3  โรคเหย่ี วเขียว สาเหต:ุ   เกดิ จากเช้ือแบคทีเรีย ลักษณะอาการ:  พบมากในพืชตระกูลพริกและมะเขือ เร่ิมแรกใบเห่ียวสลด ล่ลู ง ในขณะทีต่ น้ และใบยังเขยี วอยู่ ตอ่ มาทง้ั ตน้ มีอาการเหี่ยว ยนื ตน้ ตายในที่สุด การแพร่ระบาด :  เช้ืออยู่ตามพื้นดินและสามารถอยู่ข้ามฤดูในดินได้โดย ปราศจากพืชปลูกและเมื่อท�ำการปลูกพืชในครั้งถัดไปเชื้อก็จะเข้าท�ำลายพืช อีกเชน่ เคย การป้องกนั และกำ� จัด : 1. ปลกู พืชในพ้นื ท่ที ่ไี ม่เคยมีการระบาดของโรคมาก่อน 2. ไถดินตากแดดจดั และปรับปรงุ ดินดว้ ยอินทรยี วตั ถุ 3. หากพบต้นเป็นโรคในแปลง ใหร้ ีบถอนออกไปเผาท�ำลายนอกแปลง 4. นำ� ปูนขาวใส่ลงในหลมุ ปลกู เดิม เพอ่ื ปอ้ งกนั การแพร่ระบาดของเช้อื ลักษณะอาการของโรค การผลติ พืชผกั ปลอดภัย 41

3.2.4  โรคเหยี่ วเหลือง สาเหต:ุ   เกดิ จากเชอื้ รา ลักษณะอาการ:  พบมากในพืชตระกูลพริกและมะเขือ บริเวณโคนต้นพบ เส้นใยสีส้มหรือขาวฟู ท่อน�้ำท่ออาหารเสียหายเป็นสีน้�ำตาล ใบบริเวณรอบ ทรงพุ่มเหลือง ร่วง พืชเห่ียวช่วงแดดร้อนจัด ฟื้นตอนเช้า ต่อมาเหี่ยวถาวร ยนื ต้นตาย การแพร่ระบาด :  เช้ือสาเหตุลอยไปกับน้�ำ ปลิวไปกับลม ติดไปกับดิน และ เครื่องมือการเกษตร สามารถมชี วี ิตอยูใ่ นเศษซากพืชไดน้ าน การป้องกนั และกำ� จัด : 1. เมื่อพบโรค ควรขดุ ล้อมตน้ เปน็ โรคออกไปเผาท�ำลายนอกแปลง 2. ดูแลรักษาความสะอาดของแปลง เม่ือเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเกบ็ เศษซากพืชและวัชพืชออกจากแปลงเพือ่ ลดการสะสมของโรค 3. ไถดิน ตากแดดจัด และปรบั ปรุงดินดว้ ยปยุ๋ คอกและปูนขาว ลกั ษณะอาการของโรค 42 การผลิตพืชผกั ปลอดภยั

3.2.5  โรคแอนแทรคโนส สาเหต:ุ   เกดิ จากเช้ือรา ลักษณะอาการ:  ใบพืชเป็นแผลแห้งสีน�้ำตาล เห็นเช้ือสาเหตุจุดด�ำๆ มี ลักษณะเรียงเป็นวงซ้อนกันค่อนข้างชัดเจน โรคนี้เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และผล พบระบาดมากในช่วงฤดฝู น การแพรร่ ะบาด :  ปลวิ ไปกับลม และนำ�้ ฝน การปอ้ งกันและกำ� จดั : 1. เว้นระยะปลูกพืชให้เหมาะสม อากาศถ่ายเทได้ และหม่ันส�ำรวจ แปลง เมือ่ พบโรคเก็บเผาทำ� ลายทิง้ 2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและก�ำจัดโรคพืชตามค�ำแนะน�ำของทาง ราชการ เช่น แมนโคเซบ หรอื โปรคลอราช หรือ คาร์เบนดาซมิ เปน็ ต้น ลกั ษณะอาการของโรค การผลติ พชื ผักปลอดภยั 43

3.2.6  โรคเน่าคอดนิ สาเหตุ:  เกิดจากเช้อื รา ลักษณะอาการ:  พบมากในผักตระกูลกะหล่�ำ ผักแสดงอาการเหี่ยวตาย ถ้าถอนต้นดูที่รากและโคนจะเน่าเป็นสีน้�ำตาล บริเวณโคนต้นอาจพบเส้นใย ของเช้ือราสขี าว หรอื อาจเหน็ เมด็ ราสีน้�ำตาลดำ� เท่าขนาดเมล็ดผักกาด การแพร่ระบาด :  ลอยไปกับน้�ำ ตดิ ไปกับดิน ระบาดได้ดใี นสภาพดนิ เป็นกรด การปอ้ งกนั และก�ำจดั : 1. ถอนต้นท่ีเป็นโรคและขุดดินบริเวณท่ีเป็นโรคไปเผาเพ่ือป้องกัน โรคระบาด โดยหลุมท่ีขุดไปแล้วให้ใส่ปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์ หรือเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา่ เพ่อื ก�ำจัดเชอ้ื สาเหตุ 2. ปรับปรุงดินโดยใส่ปูนขาวอัตรา 100 - 300 กิโลกรัมต่อไร่ และ ใสป่ ุ๋ยอินทรีย์ให้มากเพ่ือช่วยลดการเกดิ โรค 3. ใช้สารเคมีป้องกันและก�ำจัดเช้ือราราดโคนต้นตามค�ำแนะน�ำของ ทางราชการ ลักษณะอาการของโรค 44 การผลติ พชื ผักปลอดภยั

3.2.7  โรคราน�้ำคา้ ง สาเหต:ุ   เกดิ จากเชอ้ื รา ลักษณะอาการ:  พบมาก ลักษณะอาการของโรค ในผักตระกูลกะหล่�ำ และ ตระกูลแตง จะพบกลุ่มของ เชื้อราเป็นผงสีขาวหรือสีเทา บนใบ ต่อมาด้านหลังใบจะ เกิดแผลสีเหลืองและกลาย เป็นสีน�้ำตาล แผลค่อนข้าง เป็นสี่เหลี่ยมขอบไม่แน่นอน ถ้าเป็นรุนแรง  แผลจะมี จำ� นวนมาก ใบจะเหลืองและแห้งตาย การแพร่ระบาด :  ลอยไปกบั ลม อยู่ข้ามฤดไู ดน้ านในซากพืช ติดไปกับเมล็ดพนั ธ์ุ การแพร่ระบาด :  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน�้ำอุ่นอุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกัน และกําจัดโรคพืช เมตาแลกซลิ หรอื เมตาแลกซิลผสมแมนโคเซบ ก่อนปลกู 2. ไม่ปลูกผักซ�้ำที่ทีเ่ คยเกดิ โรค โดยปลกู หมุนเวียนอยา่ งตำ่� 3 - 4 ปี 3. ควรปลูกพืชใหม้ รี ะยะห่างพอสมควรอยา่ ใหแ้ น่นเกนิ ไป 4. หลังจากเก็บเก่ียวควรท�ำลายเศษซากพืชให้หมด และท�ำความสะอาด แปลงเพ่อื ลดแหลง่ สะสมโรค 5. เม่ือพบอาการบนใบควรพ่นด้วยสารป้องกันและกําจัดโรคพืช ได้แก่ เมตาแลกซิลผสมแมนโคเซบ หรือไซบ็อกซามิลผสมแมนโคเซบ หรือ ออกซาไดซลิ ผสมแมนโคเซบ หรือโพรพเิ นบผสมไซมอกซามอ็ กซามลิ เปน็ ต้น การผลิตพชื ผกั ปลอดภัย 45

3.2.8  โรคใบจดุ สาเหตุ:  เกดิ จากเชื้อรา ลกั ษณะอาการ:  พบในผักทวั่ ไป ถา้ เกดิ กับต้นกล้าจะพบจดุ แผลเลก็ ๆ สนี �ำ้ ตาล ที่โคนต้น ถา้ พืชโต ใบจะเป็นแผลวงกลมซ้อนกันหลายๆชั้น เนื้อเย่ือรอบๆ แผล เปล่ียนเป็นสีเหลือง ขนาดของแผลมีท้ังเล็กและใหญ่ บนแผลมักจะมีเชื้อรา ชั้นบางๆ มองเหน็ เป็นผงสดี �ำ อาการโรคมกั พบทีใ่ บแก่ การแพร่ระบาด :  ลอยไปกับน้�ำ ปลิวไปกับลม ติดไปกับแมลง สัตว์ เครื่องมือการเกษตร มนุษย์ และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์หรืออาศัยอยู่กับ วชั พชื ในแปลง การปอ้ งกนั และก�ำจดั : 1. ขุดถอนตน้ เปน็ โรคไปเผาทำ� ลายนอกแปลง และปลกู พชื หมนุ เวยี น 2. ไม่ควรให้น้ำ� แบบฉดี พน่ ฝอย 3. ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเช้ือ หรือแช่เมล็ดในน้�ำอุ่นอุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที (ยกเว้นกะหล�่ำดอก) หรือคลุกเมล็ดด้วยสาร ป้องกันและก�ำจัดโรคพืชกอ่ นปลกู 4. ฉดี พ่นสารปอ้ งกนั และกำ� จัดเชอื้ รา เช่น แมนโคเซบ, โปรฟิโคนาโซล, ไดฟโี นโคนาโซล ลกั ษณะอาการของโรค 46 การผลติ พืชผักปลอดภัย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook