Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การเพาะผักงอก

การเพาะผักงอก

Description: การเพาะผักงอก

Search

Read the Text Version

เอกสารคำ� แนะนำ� ที่ 3/2559 การเพาะผกั งอก พิมพ์ครงั้ ที่ 1 : จ�ำนวน 20,000 เลม่ มิถนุ ายน พ.ศ. 2559 จดั พิมพ์ : กรมสง่ เสรมิ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิมพ์ที่ : ชมุ นมุ สหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ� กัด

ค�ำน�ำ ผักงอก คือต้นอ่อนของพืช หรือ ภาษาอังกฤษว่า sprout ถือได้ว่า เป็นพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในผลผลิต เน่ืองจากศัตรูพืชยังไม่มา ท�ำลาย และผู้ผลิตดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ของผู้บริโภค นอกจากนี้แล้วยังท�ำให้สมาชิกในครอบครัว ใชเ้ วลาว่างใหม้ ปี ระโยชนอ์ ีกด้วย     เอกสารคำ� แนะนำ� เรอ่ื ง “การเพาะผกั งอก” เลม่ น้ี กรมส่งเสริมการเกษตรจัดท�ำขึ้นเพ่ือให้ผู้สนใจใช้เป็น คู่มือในการผลิตผักงอกเพ่ือบริโภค หรืออาจจะน�ำไป พัฒนาจนกระทั่งจ�ำหน่ายได้ ซึ่งในเอกสารเล่มนี้ ได้กล่าวถึงชนิดผักงอกที่เป็นที่นิยมบริโภคบางชนิด เท่าน้ัน แต่กรมส่งเสริมการเกษตรเชื่อว่าผู้สนใจ สามารถนำ� ไปปรบั ใชก้ บั พืชอ่ืน ๆ ได้ตาม ความต้องการตอ่ ไป กรมส่งเสริมการเกษตร 2559

สารบญั ผกั งอก 1.................................................................................................................................................. ผกั งอกคืออะไร.....................................................................................................................................1 ประโยชนข์ องผักงอก.....................................................................................................................1 ขอ้ ควรค�ำนึงในการเพาะผกั งอกทใ่ี ห้ไดค้ ณุ ภาพ..........3 การผลิตผักงอกชนดิ ตา่ ง ๆ 4............................................................................. 1. ถัว่ งอก...............................................................................................................................................4 1) การเพาะถวั่ เขียวงอก..................................................................................................7 2) การเพาะถั่วด�ำงอก........................................................................................................9 3) การเพาะถวั่ เหลืองงอก...........................................................................................10 4) การเพาะถว่ั แดงงอก.................................................................................................11 5) การเพาะถว่ั ลสิ งงอก.................................................................................................12 6) การเพาะถัว่ ลนั เตางอก...........................................................................................13 7) การเพาะอลั ฟัลฟ่างอก............................................................................................15 2. ทานตะวันงอก.........................................................................................................................17 3. ผกั กาดหัวงอก.........................................................................................................................20 4. ขา้ วสาลงี อก.............................................................................................................................24 บรรณานกุ รม 27...................................................................................................................

1 ผกั งอก ผกั งอก คืออะไร หลายคนคงไดย้ นิ คำ� วา่ “ผักงอก” และคงเคยเห็นในท้องตลาด โดยเฉพาะ อย่างย่ิงในซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดออนไลน์ และบางส่วนในตลาดเกษตรกร และ บางคนคงมีความสงสัยว่า ผักงอกคืออะไร ผักงอกก็คือต้นอ่อนของพืช หรือ ภาษาอังกฤษว่า sprout พืชท่ีนิยมน�ำต้นอ่อนมาบริโภคได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วด�ำ ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ทานตะวนั ข้าว เป็นต้น พชื ต่าง ๆ เหล่าน้ีไม่ใช่ผกั แต่เมอื่ น�ำ ต้นออ่ นมาบริโภคในลกั ษณะผกั เช่น สลัด ผดั จงึ เรียกรวม ๆ ว่า ผักงอก ประโยชนข์ องผกั งอก ผักงอกเร่ิมมีการนิยมบริโภคในประเทศไทยเมื่อไม่ก่ีปีมานี้ ยกเว้น ถ่ัวงอก แต่ในต่างประเทศมีการบริโภคผักงอกมานานแล้ว เน่ืองจากกระแสเร่ืองสุขภาพ ท่มี คี วามเช่อื ว่า ผกั งอกปลอดสารพิษ และมีประโยชน์ ตอ่ ร่างกาย ช่วยบ�ำรงุ สุขภาพ ในเรื่องปลอดภยั จากสารพิษน้ัน ในท่ีน้ีก็คือสารเคมีป้องกัน ก�ำจัดศัตรูพืช เพราะผักงอกจะมีอายุ ต้ังแต่เพาะจนถึงเก็บเกี่ยวไม่เกิน 15 วัน และไมม่ กี ารใชส้ ารเคมี เนอื่ งจากในการผลติ ไมใ่ ช่การผลติ ในแปลงใหญ่ ๆ แบบพืชท่ัวไป การเพาะผกั งอก

2 นอกจากน้ีแล้วในกระบวนการงอกของเมล็ดพืช จะมีกระบวนการเพ่ือ ให้ได้สารอาหารและพลังงานต่าง ๆ จ�ำนวนมากอย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้พืชงอก และเจริญเตบิ โตอยา่ งรวดเรว็ เพอ่ื การแข่งขนั และโนม้ หาแสงเพือ่ สังเคราะห์อาหาร ซึ่งในกระบวนการนี้จะมีเอนไซม์ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เอนไซม์ในต้นงอกมีหลากหลาย ชนดิ ดว้ ยกนั ในผักงอกช่วงหลังจากปลูกแล้วประมาณ 2-7 วัน มีเอนไซม์และ ปริมาณสารอาหารสูงท่ีสุด เอนไซม์ที่มีความส�ำคัญในต้นงอก และมีประโยชน์ ตอ่ ร่างกายของมนุษย์ คอื ซปุ เปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส (Superoxide dismutase =S.O.D.) ซึ่งเป็นเอนไซม์ในระบบภูมิคุ้มกันท่ีเป็นตัวท�ำลายอนุมูลอิสระ และ โคเอนไซมค์ ิวเทน ซ่งึ เปน็ เอนไซมท์ ี่ท�ำหนา้ ท่ีในการตา้ นอนุมูลอสิ ระ ดังนน้ั การบรโิ ภคผกั งอกทีม่ เี อนไซมท์ ้ังสองน้ี จึงเปน็ ประโยชนก์ บั สขุ ภาพ แต่มีข้อควรค�ำนึงคือ ความร้อนในการปรุงอาหารให้สุกจะท�ำลายเอนไซม์ที่มีอยู่ ในอาหาร โดยเอนไซม์จะถูกท�ำลายได้เมื่อความร้อนเกิน 45 องศาเซลเซียส นอกจากน้ี เอนไซม์ยังอาจถูกท�ำลายหรือลดปริมาณลงได้ในสภาพความเย็น ผักงอก นอกจากจะมีเอนไซน์ที่มีประโยชน์แล้ว ยังมีการศึกษาว่ามีวิตามินและสารอาหาร สูงกว่าพืชชนิดเดียวกันที่เจริญเต็มที่แล้ว เช่น ต้นอ่อนข้าวสาลี มีวิตามินบี 12 เพม่ิ ขึน้ 4 เทา่ วิตามนิ บีอ่นื ๆ เพม่ิ ข้ึน 3-12 เทา่ วติ ามินอี เพ่ิมขึ้น 3 เทา่ ถว่ั งอก มีวติ ามนิ เอมากกวา่ เมล็ดถ่ัวแหง้ 2.5 เท่า กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

3 ข้อควรค�ำนงึ ในการเพาะผกั งอก ทใี่ ห้ไดค้ ุณภาพ 1. เมลด็ ผักงอกเกิดจากต้นอ่อนของพืชที่งอกจากเมล็ด ดังน้ันผู้ผลิตต้องเลือก เมล็ดพันธุ์ที่ใหม่ มีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากศัตรูพืช เช่น โรค และแมลง มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง สม่�ำเสมอ และไม่ควรมีการเคลือบเมล็ดด้วยสารเคมี ปอ้ งกนั กำ� จัดศตั รพู ชื 2. น�้ำ น้�ำท่ีใช้ต้องสะอาด และมีปริมาณเพียงพอ เพราะนอกจากจะเป็นปัจจัย ท่ีท�ำให้ผักงอกเจริญเติบโตแล้ว ยังท�ำหน้าท่ีระบายความร้อนในภาชนะเพาะด้วย การขาดน้�ำจะท�ำให้ความร้อนในภาชนะเพาะสูงเกินไป จะมีผลท�ำให้ผักงอก เสยี หายได้ 3. วัสดุเพาะ วัสดุเพาะตอ้ งสะอาด การเพาะผักงอก

4 การผลติ ผักงอก ชนดิ ตา่ ง ๆ ผักงอกท่ีมีความนิยม ได้แก่ พืชตระกูลถ่ัว ทานตะวัน ผักกาดหัว และ ข้าวสาลี ซ่งึ มีวิธีการผลิต ดังนี้ 1. ถว่ั งอก ปัจจยั ท่สี ำ� คญั ในการเพาะถั่วงอกชนิดตา่ ง ๆ มดี งั นี้ 1) เมล็ดถั่ว น�ำเมล็ดถ่ัวแช่ในน้�ำอุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส แช่เมล็ดถั่ว ทิ้งไว้จนน�้ำเยน็ แลว้ แช่ต่อไปอีก 6-8 ชัว่ โมง กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

5 ถ่วั งอก 2) ภาชนะทีใ่ ชส้ ำ� หรบั การเพาะ ในการเพาะถ่ัวงอก ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้ภาชนะได้หลากหลาย เช่น หม้อดินเผา กระถางดินเผา ไห ตุ่ม ถังซีเมนต์ ถังพลาสติก เป็นต้น ท้ังนี้ ภาชนะเหล่าน้ีมีคณุ สมบัติแตกตา่ งกนั คอื l ประเภทหม้อดินเผา กระถางดินเผา ตุ่ม ถังซีเมนต์ จะ รักษาความช้ืนไว้ได้นานท�ำให้ไม่ต้อง รดนำ�้ บอ่ ย l ประเภทถังพลาสติก มขี อ้ ดคี อื นำ้� หนกั เบา เคลอ่ื นยา้ ย ได้สะดวก แต่ข้อเสียคือ ต้อง รดนำ�้ บ่อย 3) นำ�้ เมล็ดถ่ัวจะต้องได้รับน�้ำสะอาดปริมาณท่ีพอเพียงสม่�ำเสมอ ตลอดการเพาะ 2-3 วัน หากขาดน้�ำจะท�ำให้การงอกชะงักและไม่สมบูรณ์ ควรรดน�ำ้ สะอาดสม�ำ่ เสมอทุก 2-3 ชวั่ โมง ในภาชนะพลาสตกิ และทุก 3-4 ช่วั โมง ในภาชนะดินเผา โอง่ ดินเผา หรอื ภาชนะที่เกบ็ ความช้นื ได้ดี การเพาะผกั งอก

6 4) วัสดุเพาะ ควรใช้วัสดุเพาะที่เก็บความช้ืนได้ดี อีกทั้งเป็นการเพ่ิมน�้ำหนักกดทับ ท�ำให้ถั่วงอกอวบอ้วน วัสดุเพาะได้แก่ ทราย แกลบเผา ฟางข้าว ฟองน�้ำ ฯลฯ การใช้วัสดุเพาะตอ้ งอาศัยความชำ� นาญ และจะตอ้ งท�ำความสะอาดภาชนะเพาะใหด้ ี 5) ภมู ิอากาศ มีผลต่อการงอกของเมล็ด คือ ฤดูฝน ฝนตกมากความช้ืนในอากาศสูง การเจริญเติบโตของถ่ัวจะช้าและเน่าง่าย หากเป็นฤดูหนาว มีอากาศเย็นมีผลต่อ การงอกของเมลด็ ทำ� ให้การงอกชา้ ลง 6) แสงสวา่ ง มีผลท�ำให้คุณภาพของถ่ัวงอกลดลงและไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค คือ ท�ำใหถ้ ว่ั งอกมสี ีเขยี ว ลำ� ตน้ ผอมยาวและมกี ลน่ิ ดังน้นั ภาชนะเพาะควรทบึ แสง หรือมีสีด�ำ สีเขียว สีน้�ำเงิน หรืออาจจะมีฝาปิด หรือต้ังภาชนะไว้ในที่มืดไม่มีแสง ทงั้ นแ้ี สงสว่างและวธิ ีการปฏบิ ตั ิอาจแตกตา่ งกนั ตามประเภทของถั่วทีเ่ พาะ กรมสง่ เสริมการเกษตร

7 ถ่วั งอก การเพาะถั่วงอก ประเภทต่าง ๆ มดี งั นี้ 1) การเพาะถ่วั เขียวงอก ถั่วเขียว ที่นิยมน�ำมาท�ำถั่วงอก มี 2 พันธุ์ คือ ถั่วเขียวผิวมัน และ ถว่ั เขยี วผวิ ด�ำ วธิ ีการเพาะถ่วั เขียวงอก 1. ล้างเมล็ดถ่ัวเขียวให้สะอาด แช่ในน้�ำอุ่น 50-60 องศาเซลเซียส แล้วท้ิงไวจ้ นเย็นแล้วแช่น�ำ้ คา้ งคนื ไว้ 1 คนื เมลด็ ถัว่ จะเรม่ิ มีรากเลก็ ๆ โผล่ออกมา การเพาะผกั งอก

8 2. เทเมล็ดถั่วท่ีแช่ไว้แล้วลงในภาชนะเพาะท่ีมีรูระบายน�้ำ เกลี่ยเมล็ดถั่ว ให้ท่วั (ถงั พลาสตกิ สีดำ� ขนาดปากกว้าง 12 น้วิ จะใชถ้ ่วั เขยี วประมาณครึง่ กิโลกรมั จะได้ถ่ัวงอกประมาณ 3-4 กิโลกรัม) รดน�้ำให้ชุ่ม ใช้แผ่นฟองน�้ำปิดทับ รดน�้ำ บนฟองน�้ำใหช้ ุม่ อีกคร้งั หนงึ่ แลว้ ปดิ ฝา วางไวใ้ นที่มืด 3. รดนำ้� ใหช้ มุ่ ทุก ๆ 3-4 ชัว่ โมง ถัว่ เขยี วจะใชเ้ วลาประมาณ 2 วนั ครึ่ง ถึง 3 วนั นำ� มารบั ประทานหรือจำ� หนา่ ยได้ กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

9 ถ่วั งอก 2) การเพาะถวั่ ดำ� งอก ถั่วด�ำงอก จะมีหัว ล�ำต้นจะอวบอ้วนกว่าถั่วเขียวงอก รสชาติมัน หวานกรอบ น�ำมาบรโิ ภคเปน็ ผกั ดบิ ไดด้ ี วิธกี ารเพาะถวั่ ด�ำงอก 1. ลา้ งเมลด็ ถ่ัวดำ� ใหส้ ะอาด แล้วแช่น�้ำสะอาดทิ้งค้างไว้ 1 คนื 2. เทเมลด็ ถัว่ ทีผ่ า่ นการแช่น้�ำไว้แล้วลงในถังเพาะ เกลี่ยเมล็ดให้ทวั่ รดน�้ำให้ชมุ่ ใชแ้ ผน่ ฟองน�ำ้ ปิดทบั แลว้ รดน�ำ้ ให้ชมุ่ อกี คร้งั หน่งึ 3. ปดิ ฝาแล้ววางไว้ในที่รม่ 4. รดนำ�้ ให้ชุม่ ทกุ ๆ 3-4 ชว่ั โมง ใช้เวลา 3-4 วนั น�ำไปบริโภคหรือจ�ำหนา่ ยได้ การเพาะผักงอก

10 3) การเพาะถ่วั เหลอื งงอก ถ่ัวเหลืองงอก จะมีหัวโต และต้นโต อวบอ้วนกว่าถ่ัวเขียวงอก มีความมัน อร่อย การเพาะถ่ัวเหลืองงอกก็ใช้วิธีเดียวกับถ่ัวเขียวงอก แต่จะเพาะ ยากกวา่ เพราะจะมโี อกาสเน่ามากกว่าและใช้เวลานานกวา่ การเพาะถวั่ เขียวงอก วิธีการเพาะถว่ั เหลืองงอก 1. ล้างเมล็ดถ่ัวเหลืองให้สะอาด แล้วแช่น�้ำค้างคืนไว้ 1 คืน เน่ืองจาก ถ่ัวเหลืองเป็นพืชน้�ำมันจึงควรหมั่นเปลี่ยนน้�ำ เมล็ดถั่วที่สมบูรณ์จะเร่ิมมีรากเล็ก ๆ งอกออกมา 2. เทเมล็ดถ่ัวเหลืองท่ีแช่ไว้แล้วลงในถังเพาะ เกล่ียเมล็ดถ่ัวให้ทั่ว รดน�้ำ ให้ช่มุ ใชแ้ ผ่นฟองนำ้� ปิดทับถั่ว รดน�้ำบนฟองน้ำ� ให้ช่มุ อกี ครัง้ หนง่ึ 3. ปิดฝา วางไว้ในท่ีมดื 4. รดน�้ำให้ชุ่มทุก ๆ 3 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่อง ถั่วเหลืองจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 วนั จึงเปน็ ถ่ัวเหลอื งงอกทีน่ �ำไปบริโภคหรือจำ� หนา่ ยได้ กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

11 ถ่วั งอก 4) การเพาะถ่ัวแดงงอก ถ่วั แดงงอก จะมลี กั ษณะคลา้ ยกับถ่ัวเขยี วงอก เพยี งแตห่ ัวของถ่ัวแดงงอก จะมีสีแดง ลักษณะของต้นถ่ัวงอกก็คล้ายกัน มีขนาดใกล้เคียงกัน รสชาติกรอบ และมัน แต่จะหวานนอ้ ยกว่าถ่ัวเขยี ว วิธกี ารเพาะถัว่ แดงงอก 1. ล้างเมล็ดถั่วแดงให้สะอาด แช่ในน้�ำอุ่นท้ิงไว้ให้เย็น แล้วแช่น�้ำค้างคืนไว้ 1 คืน เมลด็ ถัว่ จะเริม่ มีรากงอกออกมา 2. เทเมล็ดถ่ัวลงในถงั เพาะ เกลี่ยเมลด็ ถวั่ ให้ท่ัว รดนำ�้ ให้ชมุ่ ใชแ้ ผ่นฟองนำ้� วางทบั เมล็ดถว่ั รดนำ�้ ผา่ นฟองน้ำ� ใหช้ ่มุ อกี คร้งั หนึ่ง 3. ปดิ ฝาแล้ววางไวใ้ นท่ีมดื 4. รดนำ้� ใหช้ ุม่ ทุก ๆ 3-4 ชว่ั โมง ถัว่ แดงจะใช้เวลา 2-3 วัน น�ำไปบรโิ ภค หรือจำ� หนา่ ยได้ การเพาะผกั งอก

12 5) การเพาะถัว่ ลิสงงอก ถ่ัวลิสงงอก จะมีความมันตามรสชาติของถั่วลิสงอยู่ด้วย ถ่ัวลิสงงอก เพาะได้ง่าย แตใ่ ช้เวลานานกวา่ ถ่วั เขียวและถั่วเหลอื ง วธิ ีเพาะถั่วลสิ งงอก 1. ลา้ งเมลด็ ถัว่ ลสิ งให้สะอาด แล้วแชน่ ำ้� ค้างคืนไว้ 1 คืน 2. เทเมลด็ ถวั่ ทีแ่ ช่แล้วลงในถงั เพาะ เกลย่ี เมล็ดใหท้ วั่ รดน�ำ้ ใหช้ มุ่ ใชแ้ ผน่ ฟองน้�ำปิดทบั แลว้ รดนำ้� ให้ช่มุ อกี ครงั้ หนึง่ 3. ปดิ ฝาแล้ววางไว้ในที่มืด 4. รดน�้ำให้ชุม่ ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง ถั่วลสิ งจะใช้เวลา 4-5 วนั นำ� ไปบริโภค หรือจ�ำหน่ายได้ กรมสง่ เสริมการเกษตร

13 ถ่วั งอก 6) การเพาะถั่วลนั เตางอก ถ่ัวลันเตางอก เรียกอีกช่ือหน่ึงว่า โต้วเหมี่ยว เมล็ดพันธุ์ของถ่ัวลันเตา หาซอ้ื ยาก และใชเ้ วลาคอ่ นขา้ งมากในการเพาะ วิธกี ารเพาะถัว่ ลนั เตางอก 1. ลา้ งเมลด็ ถวั่ ลนั เตาให้สะอาด แช่น�้ำทง้ิ ไว้นาน 2-3 ชัว่ โมง 2. น�ำเมล็ดมาวางผ่ึงในที่หมาด 20-24 ชั่วโมง ระหว่างผึ่งใช้ผ้าขนหนู ชุบน้�ำหมาด ๆ คลุมเมล็ด คอยกลับเมล็ดบ้าง ระหว่างบ่มเมล็ดต้องระมัดระวัง ปัญหาการเนา่ ของถวั่ 3. น�ำข้ีเลื่อยผสมแกลบ เทลงไปในภาชนะเพาะหนาประมาณหนึ่งน้ิว เกลี่ยให้เรียบ โรยเมล็ดถ่ัวลันเตาที่รากงอกลงบนข้ีเลื่อยกับแกลบเกลี่ยให้ท่ัว อย่าให้ซ้อนทับกัน แล้วคลุมทับด้วยขี้เลื่อยผสมแกลบบาง ๆ รดน�้ำให้ชุ่มแต่ อย่าให้แฉะจนเกินไป เก็บไว้ในท่ีร่มร�ำไร เพราะถ้าหากต้นอ่อนถั่วลันเตาไม่ถูกแสงแดด ต้นจะเหลืองและแข็ง การเพาะผักงอก

14 4. ร ด น�้ ำ วั น ล ะ 3 ค ร้ั ง ประมาณ 8-12 วัน ต้นอ่อนของ ถ่ัวลันเตาจะสูงประมาณ 2-2.5 นิ้ว จึงจะพอดีส�ำหรับการน�ำไปบริโภค และสามารถตัดได้ 2-3 รอบ แต่ต้อง รดนำ้� ต่อหลังจากการตัดครงั้ แรก 5. ใช้กรรไกรคม ๆ ตัดที่ โคนต้น ต้นอ่อนของถั่วลันเตาเก็บไว้ ในตู้เยน็ ไดน้ านถงึ 10 วัน กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

15 ถ่วั งอก 7) การเพาะอัลฟลั ฟา่ งอก อัลฟัลฟ่า เป็นพืชตระกูลถ่ัวชนิดหนึ่ง เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชีย ตะวันตก และแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก โดยปกติอัลฟัลฟ่า จะใช้เป็น พชื อาหารสัตว์ วสั ดุ/อปุ กรณ์ในการเพาะเมล็ดอลั ฟลั ฟ่า 1. เมลด็ ถวั่ อลั ฟลั ฟา่ ซง่ึ จะมขี ายในรา้ นทจ่ี ำ� หนา่ ยเมลด็ พนั ธพ์ุ ชื อาหารสตั ว์ นำ� เมลด็ อลั ฟลั ฟ่ามาทำ� ความสะอาด เอาส่งิ เจอื ปนออกใหห้ มด 2. ขวดโหลแกว้ ปากกวา้ ง เชน่ ขวดที่ใสก่ าแฟความสงู 6-8 นิ้ว ปากกวา้ ง 3-4 น้ิว หรอื ภาชนะแกว้ ใสขนาดตามตอ้ งการหรือภาชนะทมี่ ีในครวั เรือน 3. ผา้ ขาวบาง เพอื่ เป็นการปดิ ปากขวดและระบายอากาศ 4. น�้ำเปลา่ สะอาด วธิ กี ารเพาะเมล็ดอัลฟัลฟา่ 1. ตักเมล็ดอัลฟัลฟ่าประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ซ่ึงจะพอเพียงส�ำหรับสลัด 1 จาน 2. น�ำเมล็ดอัลฟัลฟ่ามาใส่ขวดปากกว้างที่จัดเตรียมไว้ น�ำผ้าขาวบาง หรือผ้าที่บาง ๆ คลุมที่ฝาด้านบนแล้วใช้หนังยางมัดเอาไว้ เติมน�้ำใส่ลงในขวดเพื่อ ลา้ งเมลด็ อลั ฟลั ฟ่าใหส้ ะอาด ประมาณ 3-4 รอบ 3. แช่เมลด็ อัลฟลั ฟา่ ในนำ�้ เยน็ ในขวดปากกว้างท้ิงไว้ประมาณ 12 ช่ัวโมง การเพาะผักงอก

16 4. เมื่อแช่ครบตามเวลาท่ีก�ำหนดแล้ว เทน้�ำที่แช่เมล็ดอัลฟัลฟ่าท้ิง แลว้ ลา้ งด้วยน้ำ� สะอาดอณุ หภูมิหอ้ งประมาณ 2-3 คร้ัง เมื่อสะเดด็ น�้ำแลว้ เขย่าขวด เพอ่ื ให้เมล็ดอัลฟัลฟา่ กระจายเกาะผวิ ขวด 5. วางขวดแก้วตามแนวนอนในท่ีมืด เช่น ในภาชนะปิดสีด�ำหรือกล่อง ทึบแสง โดยสังเกตให้เมล็ดกระจายไปท่ัวขวด วันรุ่งขึ้นก็ให้น�้ำเมล็ดอัลฟัลฟ่า พร้อมล้างน้�ำสะอาดแล้วเทน้�ำทิ้ง 2-3 รอบ เก็บไว้ในที่มืดต่ออีก โดยห้ามไม่ให้ น�้ำขังอยู่ในขวด ก่อนเก็บต้องคว�่ำให้น�้ำออกจากขวดให้หมด ท�ำเช่นน้ีส�ำหรับ 3-4 วนั หรอื จนกวา่ เมลด็ งอกความยาวประมาณ 1-2 นิ้ว 6. ก่อนน�ำไปบริโภค น�ำขวดออกไปให้โดนแสงแดดประมาณ 15 นาที เพื่อให้ต้นอ่อน สังเคราะห์แสงและให้เอ็นไซม์ที่ส�ำคัญท�ำงานอย่างเต็มท่ี รอให้ ต้นอ่อนอลั ฟลั ฟ่าเปล่ียนเป็นสีเขยี ว เมอ่ื เปล่ียนเปน็ สเี ขยี วสามารถนำ� ไปบรโิ ภคได้ กรมส่งเสริมการเกษตร

17 ทานตะวนั งอก 2. ทานตะวนั งอก ทานตะวันงอก จะมีกล่ินหอม กรอบ และมีรสชาติหวาน รับประทานได้ ทั้งแบบสด หรือจะน�ำไปปรุงอาหารเช่น ใส่ในสลัด ย�ำ ส้มต�ำ ผัดน�้ำมันหอย ตม้ และแกงตา่ ง ๆ หรอื ใส่ในก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอก วสั ดุ/อปุ กรณ์ในการเพาะทานตะวนั งอก 1) เมล็ดทานตะวัน ท่ีเหมาะสมควรเป็นพันธุ์สีด�ำ จะมีอัตราการงอก สูงกวา่ พันธ์ุเมลด็ สีลายขาวดำ� ซง่ึ มอี ัตราการงอกต�่ำ และควรหาซอื้ เมลด็ ทานตะวนั จากร้านอาหารสัตว์ เน่ืองจากเป็นเมล็ดพันธุ์ท่ีไม่ได้คลุกสารเคมี หากเป็นเมล็ดพันธุ์ ส�ำหรับปลูกเพ่ือเก็บเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่จะคลุกสารเคมีไม่เหมาะส�ำหรับน�ำมาเพาะ เป็นตน้ งอกเพอ่ื การบรโิ ภคเป็นผักสด 2) ถาดหรอื กระบะทบึ แสง 3) วสั ดเุ พาะ ควรเปน็ ขยุ มะพร้าวหรือถ่านแกลบ 4) สเปรยส์ �ำหรบั ฉีดน้�ำเปลา่ การเพาะผักงอก

18 วิธีการเพาะเมลด็ ทานตะวนั งอก 1) แช่เมล็ดทานตะวันในนำ�้ ไว้หน่งึ คืน ใช้เมลด็ สักครง่ึ ถว้ ยถึงหน่ึงถว้ ย 2) เตรียมถาด 2 ใบ ไม่ต้องเจาะรูระบายน้�ำ ใส่วัสดุเพาะลงไปสูงคร่ึงน้ิว ถงึ หนึ่งนว้ิ สเปรยน์ ้ำ� ใหท้ ว่ั พอชมุ่ อยา่ ให้แฉะมาก 3) โรยเมล็ดทานตะวันที่แช่น้�ำแล้วกระจายให้ทั่วในกระบะเพาะ สเปรย์น้�ำ อกี ครั้งใหท้ ่วั แลว้ ใช้กระบะอกี ใบควำ่� ปิดทบั ดา้ นบน 4) รดน�้ำด้วยสเปรย์วันละ 2 คร้ัง เช้า-เย็น หลังรดน�้ำแล้วปิดกระบะไว้ เช่นเดิมเพ่ือเก็บความชื้น เมล็ดจะงอกได้ไวขึ้น ประมาณ 2 วัน มีรากโผล่ออกมา ให้เห็น มขี นสขี าว ๆ ที่รากเต็มไปหมด ประมาณ 3-4 วนั หลงั เพาะจะสงู ประมาณ 1 น้วิ เริม่ ผลใิ บ 1 คู่ ให้หงายกระบะวางทบั ไวด้ ้านบน บงั คบั ใหต้ น้ ทานตะวนั งอก ในระดับเดียวกัน สเปรยร์ ดน�้ำเชา้ -เยน็ แล้วก็วางกระบะทับไวด้ ้านบนเชน่ เดิม 5) ประมาณ 5-6 วันหลังเพาะ ล�ำต้นสูงประมาณ 2-3 นิ้ว เอากระบะ ที่วางทับไว้ออกได้ จะเห็นใบมีสีเหลืองเนื่องจากไม่โดนแสง เอาวางถาดไว้ในที่ร่ม หา้ มโดนแสงแดด ไมก่ ช่ี ว่ั โมงใบทานตะวนั จะเรม่ิ เปลย่ี นเปน็ สเี ขยี ว และสเปรยร์ ดนำ้� เช้า-เย็น 6) ประมาณวันท่ี 7-11 วนั หลงั เพาะ สามารถตดั มากินไดต้ ามความชอบ ถา้ ปลอ่ ยไว้นานจะเรม่ิ มีใบจริงออกมา รสชาตจิ ะไมอ่ ร่อย กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

19 ทานตะวนั งอก การเกบ็ เก่ยี ว ใช้กรรไกรตัดส่วนต้นออกจากราก รวบมาเป็นก�ำ ๆ แล้วก็ตัด น�ำไปล้าง ใหส้ ะอาด ผึ่งใหแ้ ห้งสะเด็ดน�้ำ นำ� ไปรบั ประทาน หรอื จำ� หน่ายได้ การเพาะผักงอก

20 3. ผกั กาดหัวงอก ผักกาดหัวงอก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไควาเระ เป็นต้นงอกท่ีเพาะ จากเมล็ดผักกาดหัว ต้นงอกไควาเระมีลักษณะใบกลม ล�ำต้นยาว กล่ินฉุน รสซ่า นำ� มาท�ำอาหารได้หลายชนดิ เชน่ สลัด ยำ� แกงจดื ผัดน้�ำมนั หอย ร้านอาหารญ่ปี ่นุ นิยมใชใ้ นการปรงุ อาหาร วสั ด/ุ อุปกรณใ์ นการเพาะเมล็ดผักกาดหวั งอก การเพาะผักกาดหัว เพื่อการบริโภคในครัวเรือน เป็นการจัดการ ขนาดเล็กเพื่อให้ได้ต้นงอกในจ�ำนวนท่ีพอเพียงต่อการบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น โดยมีวสั ดดุ งั นี้ 1) เมล็ดผักกาดหัว ซึ่งจะมีขายในร้านท่ีจ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผัก โดยน�ำ เมล็ดผักกาดหัวมาท�ำความสะอาด เอาสิ่งเจือปนออกให้หมด เมล็ดผักกาดหัว ประมาณ 100 กรัม สามารถผลิตต้นอ่อนผักกาดหัว หรือไควาเระสด ประมาณ 1 กิโลกรมั 2) ผา้ ขนหนเู พือ่ ใชใ้ นการซบั น�้ำในการบม่ เมล็ดผกั กาดหัว 3) ภาชนะส�ำหรับเพาะ ควรเป็นภาชนะทรงปากกว้าง เช่น ถาดหรือ กะละมงั กล่องพลาสตกิ ทมี่ ีฝาครอบ 4) วัสดุเพาะ มีความหลากหลายข้ึนอยู่กับผู้เพาะ เน้นให้สามารถซับ ความช้นื ได้ดีและมีน้�ำหนักเบา เช่น ขยุ มะพร้าว ถ่านแกลบ ดนิ เพาะ ใยสงั เคราะห์ ใยสำ� ลี ฟองน้ำ� เป็นต้น 5) สเปรย์ส�ำหรับฉดี น�ำ้ เปลา่ กรมส่งเสรมิ การเกษตร

21 ผกั กาดหวั งอก วิธกี ารเพาะเมล็ดผกั กาดหวั งอก 1) น�ำเมล็ดผักกาดหัวท่ีสมบูรณ์แช่ในน้�ำสะอาดอุณหภูมิห้อง ประมาณ 3-4 ช่ัวโมง 2) น�ำเมล็ดผักกาดหัวที่แช่น้�ำแล้วมาบ่มโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้�ำหมาด ๆ คลุมเมล็ด ประมาณ 20-24 ชั่วโมง ระวังอย่าให้ผ้าแห้งจนเกินไป อาจใช้สเปรย์ ฉีดน้ำ� เปล่าใหช้ ่มุ พอหมาด ๆ เป็นครั้งคราว การเพาะผกั งอก

22 3) น�ำวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ไปพรมน้�ำให้ชุ่มแล้ววางลงบนภาชนะเพาะหนา ประมาณครงึ่ นิ้ว กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

23 ผกั กาดหวั งอก 4) เม่ือเมล็ดผักกาดหัวมีรากงอกออกมาเล็กน้อย ให้หว่านลงในวัสดุเพาะ ท่ีเตรียมไว้ให้กระจายไม่ทับกัน รดน�้ำโดยใช้สเปรย์ฉีดน�้ำเปล่าให้ชุ่มพอหมาด ๆ ทุก 3-5 ช่วั โมง ไมค่ วรแฉะเพราะอาจท�ำให้เมลด็ ผกั กาดหวั เนา่ ได้ อาจคลมุ ภาชนะด้วย ผ้าขาวบางเพื่อให้มีความชื้นสม่�ำเสมอ ถ้าภาชนะใส่มีฝาปิดก็ปิดแต่แง้มนิดหน่อย เพื่อให้ความชื้นสม�่ำเสมอ น�ำไปวางในท่ีท่ีมีแสงตามธรรมชาติ เช่นในห้องโถง ริมหน้าตา่ ง ระวังอยา่ ให้วัสดเุ พาะแห้งอาจท�ำให้การงอกชะงกั 5) ประมาณ 5-7 วนั หลังเพาะต้นกล้าที่งอกจะมีรากยดึ ตดิ กบั วสั ดเุ พาะ สงู ประมาณ 3-4 นวิ้ กใ็ ชก้ รรไกรตดั ใหต้ ิดฐาน แลว้ น�ำไปบริโภคได้ การเพาะผกั งอก

24 4. ขา้ วสาลีงอก ข้าวสาลีงอก ได้มาจากการเพาะเมล็ดข้าวสาลี ต้นข้าวสาลีอ่อน 30 มิลลิลิตร มีคุณค่าเทียบเท่าผักสดท่ัวไปน้�ำหนัก 1 กิโลกรัม น�ำต้นอ่อนมาท�ำ น�้ำค้ันบริโภคเพื่อสขุ ภาพ วัสด/ุ อปุ กรณ์ในการเพาะขา้ วสาลีงอก 1) เมล็ดขา้ วสาลี ซ่งึ จะมีขายในร้านท่ีจำ� หน่ายเมลด็ พันธุ์ โดยน�ำเมล็ดขา้ ว สาลมี าท�ำความสะอาด เอาสิง่ เจอื ปนออกใหห้ มด 2) ภาชนะส�ำหรับเพาะ ควรเป็นภาชนะทรงปากกว้าง เช่น กระถาง ตะกร้าพลาสติก ที่ระบายน�้ำได้ดี 3) วัสดุเพาะ มีความหลากหลายข้ึนอยู่กับผู้เพาะ เน้นให้สามารถซับ ความชนื้ ไดด้ ีและมนี ำ้� หนักเบา เช่น ขุยมะพรา้ ว ถา่ นแกลบ หรือดินเพาะ เป็นตน้ 4) กระดาษฟาง เพอื่ ใช้คลุมผิวหนา้ เพอื่ ปอ้ งกันความช้ืน ไมค่ วรใชก้ ระดาษ หนงั สือพิมพ์เนอื่ งจากหมึกพิมพจ์ ะละลายและจะมสี ารเคมีตกค้างในต้นออ่ นได้ 5) สเปรยส์ �ำหรบั ฉีดนำ้� เปลา่ กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

25 ขา้ วสาลงี อก วิธกี ารเพาะเมลด็ ข้าวสาลงี อก 1) น�ำเมลด็ ขา้ วสาลีแชน่ ำ้� สะอาดอณุ หภูมหิ อ้ ง 1 คืน 2) น�ำวัสดุเพาะท่ีเตรียมไว้ไปพรมน�้ำให้ชุ่มแล้ววางลงบนภาชนะเพาะ หนาประมาณ 1-1 น้ิวครงึ่ 3) น�ำเมล็ดข้าวสาลีท่ีแช่น้�ำไว้แล้วหว่านบนวัสดุเพาะในกระถางหรือ ตะกร้าทสี่ ามารถระบายน้�ำได้ วัสดุเพาะตอ้ งระบายน�ำ้ ได้ดี และไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี 4) รดน้�ำบาง ๆ แบบพน่ ฝอย โดยใช้สเปรยฉ์ ีดพน่ พอช้นื แลว้ ใชก้ ระดาษ ฟางปิดไว้ การเพาะผกั งอก

26 5) วันรุ่งข้ึน เปิดกระดาษฟางรดน้�ำแบบวันแรกแล้วปิดด้วยกระดาษฟาง ไว้ดงั เดิม ทำ� เชน่ น้ที กุ วนั จนเห็นใบออ่ นข้าวสาลีงอกออกมา จงึ เอากระดาษฟางออก น�ำไปต้ังยังจุดที่มีแสงแดดร�ำไร เพื่อให้ต้นอ่อนมีการพัฒนาและสร้างคลอโรฟิลล์ เพื่อการสังเคราะหแ์ สง 6) รดน�้ำบาง ๆ แบบพ่นฝอย โดยใช้สเปรย์ฉีดพ่นพอช้ืนทุกวัน แต่อย่า ให้ช้ืนมากเพราะจะท�ำให้เกิดเชื้อราได้ 7) เม่ือข้าวสาลีออกใบที่ 2 หรือสูงประมาณ 8 น้ิว ใช้เวลาประมาณ 7-10 วันสามารถตัดใบไปท�ำน้�ำค้ันได้ โดยใช้กรรไกรสะอาดตัดเหนือดินประมาณ ครงึ่ นวิ้ 8) รดน้�ำบาง ๆ แบบพ่นฝอยต่อทุกวัน อีกประมาณ 5-7 วัน สามารถ ตัดใบไปทำ� น�ำ้ ค้ันรุ่นท่ี 2 ไดอ้ กี ครงั้ กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

27 บรรณานกุ รม H2O hydrogarden. มปป. วิธีการปลูกงางอก. สืบค้นจาก: http:// www.h2ohydrogarden.com/ สวนผักคนเมอื ง. มปป. เพาะงอกงา่ ย ๆ. http://www.thaicityfarm.com/ Experience Life.n.d.Vegetble Sprout.Available at: http:// www.sproutworld.com/us/ Experience Life.n.d.Vegetble Sprout.Available at: http://www. vegetables.co.nz/vegetables-a-z/sprouted-beans- and-seeds/ การเพาะผกั งอก

28 เอกสารคำ� แนะนำ� ท่ี 3/2559 การเพาะผกั งอก ท่ีปรกึ ษา อธิบดีกรมสง่ เสริมการเกษตร รองอธิบดกี รมสง่ เสรมิ การเกษตร ฝ่ายบริหาร นายโอฬาร พิทกั ษ ์ รองอธิบดีกรมสง่ เสริมการเกษตร ฝา่ ยวชิ าการ นายสงกรานต์ ภักดคี ง รองอธบิ ดกี รมส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายส่งเสรมิ และฝึกอบรม นายคนิต ลขิ ติ วิทยาวฒุ ิ ผอู้ ำ� นวยการสำ� นักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี นายสดุ สาคร ภทั รกุลนษิ ฐ ์ ผอู้ ำ� นวยการส�ำนักสง่ เสริมและจัดการสนิ ค้าเกษตร นางอญั ชลี สุวจิตตานนท ์ นายส�ำราญ สาราบรรณ์ เรียบเรียง นางสาวจิราภา จอมไธสง ผ้อู �ำนวยการกลมุ่ ส่งเสรมิ พืชผกั และเหด็ กลมุ่ ส่งเสรมิ พชื ผักและเหด็ สำ� นักส่งเสริมและจัดการสนิ ค้าเกษตร กรมส่งเสรมิ การเกษตร จัดทำ� นางอมรทิพย์ ภิรมย์บรู ณ ์ ผู้อำ� นวยการกลมุ่ พฒั นาสอ่ื ส่งเสรมิ การเกษตร นางสาวอำ� ไพพงษ์ เกาะเทียน นักวชิ าการเผยแพรช่ �ำนาญการ กลุม่ พฒั นาสื่อส่งเสรมิ การเกษตร สำ� นกั พฒั นาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมสง่ เสรมิ การเกษตร กรมสง่ เสรมิ การเกษตร




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook