Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Data representation

Data representation

Published by Napawan Mui-on, 2019-08-04 11:34:36

Description: Data representation

Search

Read the Text Version

เนื้อหาสาระ แม้ว่าข้อมูลท่ีปรากฏบนหน้าจอภาพของผู้ใช้งาน เครือข่ายจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข สายอักขระ ภาพ หรือเสียง ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงของการทางานบนระบบเครือข่าย สอ่ื สารไม่มีการใช้รูปแบบท่ีปรากฏของค่าเหลา่ น้ันในการส่ือสาร หากแต่ข้อมูลจะต้องถูกเปล่ียนเป็นรหัสต่างๆ และเปล่ียนเป็น สัญญาณข้อมูลส่งสู่ช่องทางการสื่อสารที่ใช้การส่ือสารประเภท ต่างๆ เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น ดังน้ัน เพ่ือให้มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะของข้อมูลที่ปรากฏบน ระบบส่ือสารในปจั จุบันอย่างถูกตอ้ งเน้อื หาในหนว่ ยน้ีจึงกลา่ วถึง วิธีการแทนค่าข้อมูลท่ีต้องการส่งสู่ช่องทางการสื่อสารซ่ึงจะมี การจาแนกออกเป็นชนิดข้อมูลประเภทต่างๆ และคุณลักษณะ ของข้อมูลท่ีแท้จริงมีช่องทางในการส่งข้อมูลการสื่อสารในแง่มุม ต่างๆ อันรวมถึงการเข้ารหัสข้อมูลก่อนการส่งสู่ช่องทางการ ส่ือสาร ดงั รายละเอียดตอ่ ไปนี้

ขอ้ มลู ท่ใี ช้ในการสื่อสารปจั จบุ นั สามารถจาแนก ได้ 5 ประเภท ดงั น้ี 1. ขอ้ ความหรอื สายอักขระ (Text) 2. ตัวเลข (Number) 3. ภาพ (Image) 4. เสยี ง (Audio) 5. วดิ ีโอทัศน์ (Video)

ข้อมูลแต่ละประเภทจะถูกแทนค่าข้อมูลให้เป็นรหัสต่างๆ แล้วจึงแปลงให้เกิดเป็นสัญญาณท่ีเหมาะสม เพื่อส่งสู่ช่อง ทางการสื่อสารไปยังเคร่ืองรับข้อมูลปลายทาง การแทนค่า ขอ้ มูลนนั้ มหี ลากหลายวิธตี ามมาตรฐาน ดังนี้ 5.1.1 แอสกี (ASCII) แอสกี ชื่อเต็มคือ American Standard Code for Information Interchange การแทนตัวอักษรด้วยวิธีนี้เป็น การแทนตวั อักษร 1 ตัวอกั ษร ด้วยเลขฐานจานวน 7 บติ หรือ กล่าวได้ว่าตัวอักษร 1 ตัว จะแทนค่าด้วยบิตจานวน 7 บิต ดั ง นั้ น ใ น ก ร ณี นี้ ส า ม า ร ถ แ ท น ค่ า ตั ว อั ก ษ ร ไ ด้ 2 7 เท่ากับ 128 ตัวอักษร จะเห็นได้ว่าจานวนตัวอักษรที่สามารถ แทนค่าได้มีจานวนน้อย และสามารถแทนค่าได้เพียงอักษร ภาษาอังกฤษและอกั ขระบางตวั เทา่ นัน้

5.1.2 แอสกีขยาย (Extended ASCII) จากข้อจากัดในการแทนค่าตัวอักษรของแอสกีที่มีจานวนตัวอักษรได้ เพียง 128 ตัวอักษร และความต้องการในการใช้ตัวอักษรท่ีหลากหลายมี จานวนมากขึ้นจึงได้มีการขยายจานวนบิตเพ่ือแทนค่าข้อมูลได้มากขึ้นจึงได้มี การขยายจานวนบิตเพื่อแทนค่าข้อมูลได้มากขึ้นตามความต้องการเรียกว่ารหัส แอสกขี ยาย การแทนคา่ ตัวอกั ษรดว้ ยรหสั นเี้ ป็นการขยายประสิทธิภาพของการ แทนค่าตัวอักษรด้วยการใช้รหัสแอสกี 7 บิต ใหส้ ามารถแทนค่าได้มากขึ้น โดย มีการเพ่ิมบิตข้ึนอีก 1 บิต ในการแทนค่าแต่ละตัวอักษรดังน้ีกล่าวได้ วา่ 1 ตวั อกั ษร สามารถแทนดว้ ยบติ จานวน 8 บิต ซึง่ ทาใหส้ ามารถแทนจานวน ตัวอักษรได้ท้ังส้ิน 256 ตัวอักษร รหัสสลับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัส เลขฐานสองแบบขยาย (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) หรือเอบซีดิก (EBCDIC) ลักษณะของการแทนค่าตัวอักษรจะมีความ คล้ายกับการแทนค่าด้วยระบบแอสกีขยาย กล่าวคือ ความยาวของแต่ละ ตัวอักษรจะแทนด้วยบิตตัวข้อมูลจานวน 8 บิต โดยแต่ละตาแหน่งมีการ กาหนดค่าของตัวอกั ษรภาษาอังกฤษและอักขระพิเศษไวช้ ดั เจน

5.1.3 ยูนโิ คด (Unicode) แม้ว่าจะมีการขยายจานวนบิตในการแทนค่าข้อมูลจาก 7 บิต เป็น 8 บติ แต่รหสั แอสกกี ไ็ มส่ ามารถรองรับความหลากหลายของตัวอักษรใน โลกน้ีได้เนื่องจากภาษาในโลกนี้มีหลากหลายภาษา และแต่ละภาษามี ตัวอักษรของมันเอง เช่น ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน เป็นต้น ซึ่ง รหัสแอสกีท่ีพัฒนาข้ึนไม่สามารถรองรับจานวนตัวอักษรของทุกภาษาได้ เพียงพอ ดังน้ัน การแทนค่าข้อมูลจึงปรับเปล่ียนข้อมูลจาก 8 บิต ต่อ 1 ตัวอักษร เป็นจานวน 16 บิต ต่อ 1 ตัวอักษร ทาให้สามารถแทน ตวั อักษรในโลกได้ทัง้ ส้ิน 216 หรือ 65,536 ตัวอักษร แต่ยูนิโคดมีกลไกในการ แทนค่าข้อมูลได้เป็นล้านตัวอักษรโดยไม่ต้องใช้รหัสเพ่ิมเติม ซึ่งเพียงพอท่ีจะ รองรับความต้องการในการแทนค่าตัวอักษรต่างๆได้ ยูนิโคดพัฒนาข้ึนจาก ความร่วมมือของกลุ่มบริษัทที่เรียกว่า เดอะยูนิโคดคอนซอเทียม (The Unicode Consortium) ซึ่งประกอบด้วยบริษัทไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์ แอปเปลิ ซีร็อกซ์ ซัน คอมแพค โนเวล อะโดบี และเวริ ด์ เฟค็

ชนิดข้อมูลท่ีเกิดในระบบส่ือสารไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายใต้ รหัสแบบใดก็ตาม จะแบง่ เปน็ 2 ประเภท คอื 1. ขอ้ มลู อนาล็อกหรอื ขอ้ มูลเชงิ อุปมาน 2. ข้อมูลดิจติ อลหรือขอ้ มลู เชิงเลข

ความหมายของสญั ญาณอนาล็อก เมื่อข้อความต่างๆถูกแปลงเป็นรหัสข้อมูลแลว้ ก่อนการ ส่งขอ้ มลู สู่ชอ่ งทางการสอ่ื สารขอ้ มลู จะตอ้ งถูกแปลงให้เป็นข้อมูล สญั ญาณข้อมูลที่เหมาะสมกับส่อื นาสัญญาณ (เช่น สายทองแดง หรอื วิทยาการ เสน้ ใยนาแสง) ก่อนจึงสามารถสง่ สญั ญาณข้อมูล ไปบนสอ่ื เหลา่ น้นั ได้ สัญญาณข้อมูลสามารถจาแนกได้ 2 ประเภท คือ สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หรือเรียกว่าสัญญาณ อุปมาน และสัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) ความหมายของ คาว่า อนาลอ็ กมาจากคาเดิมว่า Analogous แปลว่า เหมือนกับ เม่ือประมาณความหมายโดยรวมจะหมายถึงความต่อเน่ือง ดังน้ันข้อมูลอนาล็อกจะหมายถึงข้อมูลท่ีต่อเน่ือง เช่น ข้อมูล เสยี งรอ้ งของนก ขอ้ มูลความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ทานองเดียวกัน สญั ญาณอนาล็อกจะหมายถงึ สัญญาณท่มี ีความต่อเนื่องท่ีใช้แทน ขอ้ มูลทม่ี คี วามตอ่ เน่ืองเหลา่ น้ัน

ลกั ษณะของสญั ญาณอนาลอ็ ก สัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณที่มีความต่อเน่ืองเป็น ลักษณะของคล่ืน เช่น สัญญาณเสียงเป็นรูปแบบหนึ่งของ สญั ญาณอนาล็อกท่ีรูจ้ ักกันเปน็ อยา่ งดี โดยสัญญาณเสียงจะถูก แปลงให้เป็นคล่ืนไฟฟ้าหรือคล่ืนแม่เหลก็ ไฟฟ้าเพ่ือสง่ ไปบนสือ่ เพือ่ การสอื่ สารข้อมลู คลื่นแม่เหลก็ ไฟฟา้ ก็เปน็ อีกประเภทหนง่ึ ของสญั ญาณอนาลอ็ ก รปู ลักษณะของสญั ญาณอนาล็อก

คุณสมบตั ิของสัญญาณอนาล็อก จากลักษณะของสัญญาณอนาล็อกท่ีได้กล่าวแล้ว ข้างต้น สามารถสรุปได้เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสัญญาณได้ ดงั นี้ 1. ความถข่ี องสัญญาณ คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงที่ขน้ึ กับเวลา 2. การเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้นในระยะเวลาส้ันๆของ คล่นื สญั ญาณแสดงว่า คลน่ื สัญญาณมคี วามถี่สูง 3. การเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึนในระยะเวลานานๆของ คล่ืนสญั ญาณแสดงว่า คลืน่ สัญญาณมีความถีต่ ่า 4. หากสัญญาณไม่มีการเปล่ียนแปลงเลยในช่วงเวลาหนึ่งๆ กลา่ ววา่ ความถีข่ องสัญญาณมีค่าเป็น 0 5. หากสญั ญาณมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กล่าวว่า ความถ่ี เป็นอนนั ต์ 6. สัญญาณอนาล็อกท่ีมีคุณสมบัติท่ีแตกต่างกันสามารถนาส่ง ในชว่ งสัญญาณเดยี วกนั ได้ เรียกว่า การรวมคล่นื สญั ญาณ

ความหมายของสัญญาณดิจติ อล สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) เป็นสัญญาณอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ส่งข้อมูลไป บนส่ือ ท้ังนี้สัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณท่ีสร้างข้ึนจากเคร่ืองกาเนิดสัญญาณหรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่นเคร่ืองคอมพิวเตอร์ จอเทอร์มินอล หรืออุปกรณ์อื่นๆในระบบ เครือข่าย เป็นต้น ลักษณะสัญญาณท่ีเป็นรูปแบบที่ไม่มีความต่อเน่ือง หรือกล่าวว่า กาลังไฟฟ้าที่ส่งนั้นเป็นจังหวะของการส่งท่ีใช้แทนได้ด้วยเลข 0 และ 1 ซึ่งใช้เป็นรหัสข้อ มุลในระบบการสอ่ื สารนั่นเอง สัญญาณดิจิตอลมีลักษณะเป็นกราฟส่ีเหลี่ยม (Square Graph) เป็นสัญญาณ แบบไม่ต่อเนื่องรูปแบบของสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ปะติดปะต่อ กล่าวคือมี บางช่วงที่ระดับสัญญาณเป็น 0 การเปล่ียนแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล ต้องทาการแปลงข้อมูลให้ข้อมูลเป็นแบบดิจิตอลก่อน นั่นคือต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบ เลขฐานสอง คือ 0 และ 1 แลว้ ทาการแปลงข้อมลู น้ันให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ซ่ึงสามารถ แปลงได้หลายรูปแบบ เช่น แบบ Unipolar แทนบิต 0 ด้วยระดับสัญญาณที่เป็นกลาง และบิต 1 ด้วยระดับสัญญาณเป็นบวก การส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลมีคุณภาพ ดีกว่าแบบอนาล็อกเม่ือต้องการส่งในระยะทางท่ีไกลไปจะต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณที่ เรียกว่า รีพีตเตอร์ (Repeater) ซ่ึงรีพีตเตอร์จะทาการกรองสัญญาณรบกวนออกก่อน แล้วค่อยเพ่ิมระดับสัญญาณ จากน้ันจึงส่งออกไป จะเห็นได้ว่าคุณภาพของสัญญาณท่ี ส่งออกไปจะใกล้เคียงของเดิมท่ีส่งมา สัญญาณดิจิตอลมีหน่วยวัดความเร็วเป็นบิตต่อ นาที หรือ bit per second (bps) หมายถึง จานวนบิตที่ส่งได้ในช่วงเวลา 1 วินาที เช่น โมเด็มมีความเร็ว 56 kbps ควายความว่า โมเด็มสามารถผลิตสัญญาณดิจิตอลได้ ประมาณ 56,000 บิต ใน 1 วินาที

สัญญาณแบบดิจิตอลประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่าสุด ดังน้ัน จะมีประสิทธิภาพ และความนา่ เชือ่ ถือสงู กวา่ แบบอนาลอ็ ก เน่ืองจากมีการใช้งานเพยี ง 2 ค่า เพ่ือนามาตีความหมายเป็น On/Off หรือ 1/0 เท่าน้ัน ซ่ึงสัญญาณ ดิจิตอลน้ี จะเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทางานและ ติดต่อส่ือสารกันในทางปฏิบัติ จะสามารถใช้เคร่ืองมือในการแปลง สัญญาณทั้งสองแบบได้ เพ่ือช่วยให้สามารถส่งสัญญาณดิจิตอลผ่าน สัญญาณพาหะท่ีเป็นอนาล็อก เชน่ สายโทรศัพท์หรือคล่ืนวิทยุ การแปลง สัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก เรียกว่า โมดูเลชั่น (Modulation) เช่น การแปลงสัญญาณแบบ Amplitude Modulation (AM) และ Frequency Modulation ตัวอย่างของเคร่ืองมือการแปลง เชน่ MODEM (Modulation Demodulation) น่ันเอง รูปลักษณะของสญั ญาณดิจติ อล

สญั ญาณรบกวนและข้อผิดพลาด สัญญาณรบกวน (Noise) ที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งข้อมูลมีหลาย รูปแบบ ดังน้ัน การทาความเข้าใจเก่ียวกับความแตกต่างและสาเหตุของ การเกิดสัญญาณรบกวนแต่ละรูปแบบจะช่วยให้การนาเทคนิคและการนา สญั ญาณรบกวน (Noise Reduction) มาใชเ้ พ่อื จากดั ปรมิ าณของสญั ญาณ รบกวนท่ีจะส่งไปยังผู้รับทาได้สะดวกข้ึน แต่ปัญหาเก่ียวกับสัญญาณ รบกวนบางประเภทเปน็ ส่งิ ทไี่ มส่ ามารถหลีกเล่ียงได้ เชน่ สัญญาณรบกวนท่ี เกิดจากการส่งสัญญาณข้อมูลด้วยกาลังสูง ซึ่งอาจทาให้เกิดการ ผิดพลาด (Error) ได้ ข้อผิดพลาดท่ีเกิดขึ้นระหว่างการส่งข้อมูลเกิดขึ้นได้ หลายสาเหตุ เช่น การส่งสัญญาณไฟฟ้าท่ีไม่ต่อเน่ือง ซ่ึงอาจเกิดจากไฟฟ้า ดบั หรอื การใช้สายทองแดงแบบเก่าที่ถูกรบกวนด้วยสัญญาณต่างๆ ได้ง่าย รวมทั้งในระบบดาวเทียม (Satellite) ไมโครเวฟ (Microwave) และ วิทยุ (Radio) ก็สามารถถูกรบกวนด้วยสัญญาณต่างๆได้ แม้แต่การส่ง ข้อมูลผ่านใยแก้วนาแสง (Fiber-Optic) ก็สามารถถูกรบกวนโดยสัญญาณ รบกวนในรปู แบบตา่ งๆ ได้เช่นกนั ใหพ้ จิ ารณารูปแบบของสัญญาณรบกวน ท่พี บไดบ้ อ่ ยครง้ั ระหวา่ งการส่งขอ้ มูล ดังนี้

1. White Noise White Noise (Thermal Noise หรอื Gaussian Noise) เป็นสัญญาณรบกวนแบบต่อเนื่องที่มีลักษณะเป็นคล่ืนเสียง ซึ่งทาให้ สัญญาณอนาล็อกหรือดิจิตอลมีสัญญาณไม่ชัดเจน โดยอาจเกิดขึ้นโดย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือสายส่งข้อมูล รวมทั้งอุณหภูมิของคล่ืน ส่ือกลาง หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะทาให้อิเล็กตรอนในสื่อกลางมีการ เคลอื่ นทม่ี ากข้ึน ระดบั ของสัญญาณรบกวนจะมากข้ึนตามไปดว้ ย 2. Impulse Noise Impulse Noise หรือ Noise spike เป็นสัญญาณรบกวนแบบ ไม่ต่อเนื่อง (Noncontiguous Noise) ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ซ่งึ ยากต่อการตรวจสอบ สญั ญาณรบกวนแบบ Impulse Noise จะเกิด จากแรงดังของไฟฟ้าแรงสูงจากภายนอก เช่น ฟ้าผ่า ซ่ึงส่งผลให้ กระแสไฟฟ้าภายในทองแดงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

3. Crosstalk Crosstalk คือสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการวางสายส่ือสาร หลายๆสายไว้ด้วยกัน ทาให้สัญญาณจากสายสัญญาณต่างๆรบกวน ซ่ึงกันและกัน นอกจากนี้การใช้สายส่ือสารที่มีขนาดเล็กเกินไปหรือ การใช้สายสัญญาณที่มีระดับความแรงมากเกินไปจะทาให้เกิดปัญหา ได้ สาเหตุสาคัญอีกประการที่ทาให้เกิด Crosstalk คือความช้ืน สัมพันธแ์ ละอากาศทเ่ี ปียกช้นื 4. Echo Echo คือ การสะท้อนของสัญญาณท่ีส่งผ่านสื่อกลาง คล้าย กับการเปล่งเสียงภายในห้องว่างซึ่งจะมีเสียงสะท้อนกลับมา โดย สัญญาณท่ีอยู่ภายในสายส่ง สามารถกระทบกับจุดปลายสายและ ย้อนกลับมาโดยการสอดแทรกกับสัญญาณต้นฉบับ ข้อผิดพลาดที่ เกิดขน้ึ บ่อยครัง้ กับจดุ เชื่อมตอ่ สายสัญญาณ

5. Jitter Jitter เกิดจากความผิดพลาดในเรื่องของเวลาในขณะที่ สัญญาณถูกส่งจากอุปกรณ์ชิ้นหน่ึงไปยังอุปกรณ์อ่ืนๆทาให้มีการ ขยายขนาดของสัญญาณดิจิตอลข้ึนในบริเวณท่ีเป็นช่วงขึ้นลงของ สญั ญาณดิจิตอล 6. Delay Distortion Delay Distortion เป็นการผิดเพยี้ นท่ีเกดิ จากการเคลอ่ื นท่ี ของสัญญาณข้อมูลท่ีมีความถ่ีต่างกันด้วยความเร็วท่ีต่างกัน ทาให้ สัญญาณที่ส่งย้อนมาทีหลังซ้อนทับกับสัญญาณก่อนหน้า จนเกิด การผสมรวมกันทาให้ข้อมูลผิดพลาด ส่วนวิธีแก้ไขทาได้โดยติดตั้ง อุปกรณ์ Equalizer เพ่ือปรับความเร็วในการเคล่ือนท่ีของแต่ละ ความถ่ใี ห้เท่ากนั 7. Attenuation Attenuation เกิดจากสัญญาณอ่อนกาลังลง ทาให้ถูก ร บ ก ว น ไ ด้ ง่ า ย วิ ธี แ ก้ ไ ข ปั ญ ห า ดั ง ก ล่ า ว ท า ไ ด้ โ ด ย ใ ช้ อุปกรณ์ Amplifier หรือ Repeater เพ่ือเพ่ิมกาลังให้กับสัญญาณ อนาลอ็ กหรือดจิ ติ อลตามลาดับ

แนวทางในการป้องกนั ขอ้ มลู ผิดพลาด สัญญาณรบกวนและข้อผิดพลาดท่ีเกิดข้ึนระหว่างการส่งข้อมูลนั้นมี หลายรูปแบบโดยผลกระทบท่ีได้รับจากสัญญาณรบกวนระหว่างการส่งข้อมูล คือ สถานีการส่งสัญญาณที่อัตราการส่งข้อมูลลดลง ทาให้อัตราเร็วในการรับ ข้อมูลของฝั่งผู้รับสูงกว่า วิธีแก้ไขปัญหาจากสัญญาณรบกวนที่ดีท่ีสุด คือ การ ป้องกันข้อผิดพลาด (Error Prevention) ก่อนที่จะเกิดสัญญาณรบกวนข้ึน โดยสามารถทาไดห้ ลายวิธีดังน้ี 1. ติดต้ังสายสัญญาณที่มีฉนวนหุ้ม เพื่อลดสัญญาณรบกวนท่ีเกิดจาก สนามแม่เหลก็ ไฟฟ้าหรือ Crosstalk 2. ใชส้ ายโทรศัพท์ท่ีมีการกรองสัญญาณรบกวนซ่ึงถูกจดั เตรยี มโดยผู้ให้บริการ โทรศัพท์ เช่น สายคู่เช่า (Leased Line) ซ่ึงมีการกรองให้สัญญาณมีระดับ คงที่ และอตั ราการเกดิ ข้อผดิ พลาดตา่ 3. เปลย่ี นมาใชอ้ ุปกรณท์ ่ีมเี ทคโนโลยีใหม่ๆแม้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะมีราคาแพง แต่สามารถลดข้อผดิ พลาดตา่ งๆไดเ้ ปน็ อย่างดี 4. ติดต้ังอุปกรณ์ทวนสัญญาณ เช่น รีพีตเตอร์ (Repeater) สาหรับเพ่ิม สัญญาณดิจิตอลหรือแอมพลิไฟเออร์ (Amplifier) เพื่อเพ่ิมสัญญาณอนาล็อก เปน็ ตน้ 5. ตรวจสอบคุณสมบัติส่ือกลางท่ีนามาใช้งาน เช่น สาย CAT5e สามารถส่ง ข้อมูลได้ไม่เกิน 100 เมตร หากนาสาย CAT5e มาใช้ส่งข้อมูลท่ีมีระยะทาง มากกวา่ 100 เมตร อาจทาให้สญั ญาณขาดหาย ดังนั้น จะต้องติดต้ังรพี ีตเตอร์ เพ่อื ทวนสัญญาณดว้ ย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook