Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เก็บสุข กลางทุกข์

เก็บสุข กลางทุกข์

Published by Thamuang District Public Library, 2021-08-22 07:00:21

Description: เก็บสุข กลางทุกข์

Search

Read the Text Version

เกบ็ สขุ กลางทุกข์ วธิ คี ดิ และแนวทางเปล่ยี นทกุ ข์...เป็นสขุ บรรณาธกิ าร ปองกมล สุรตั น์ เต็มศกั ดิ์ พงึ่ รศั มี บทเรียนชุมชนคนทํางาน โครงการจัดการความรู สขุ ภาวะระยะทา ย เลม 2

เกบ็ สขุ กลางทกุ ข์ วธิ คี ดิ และแนวทางเปล่ยี นทกุ ข.์ ..เปน็ สุข บรรณาธิการ ปองกมล สรุ ัตน์ เตม็ ศักด ิ์ พึง่ รัศมี จดั พิมพ์โดย โครงการจัดการความรู้ สขุ ภาวะระยะท้าย Pal2Know รว่ มกบั สมาคมบริบาลผูป้ ว่ ยระยะทา้ ย THAPS สนบั สนนุ โดย ส�ำ นกั งานกองทนุ สนับสนุนการสร้างเสริมสขุ ภาพ (สสส.) ภาพปก เอกภพ สิทธวิ รรณธนะ รูปเล่ม พัชรนิ ทร ์ โพธ์ิทอง หน่วยผลติ ตำ�ราคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์ (สงวนลขิ สิทธติ์ ามพระราชบญั ญัตลิ ิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537)

คำ�นำ� Pal2Know โครงการจดั การความรสู้ ขุ ภาวะระยะทา้ ยภายใตช้ ดุ โครงการ สร้างเสริมสุขภาวะในช่วงท้ายของชีวิตของสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย (THAPS) โดยการสนบั สนนุ ของส�ำ นกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพ (สสส.) มีเป้าประสงค์สนับสนุนให้เกิดชุมชนคนทำ�งานหรือนักปฏิบัติ (CoP) อันประกอบด้วย ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย บุคลากรสุขภาพที่เก่ียวข้องกับการ สร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้าย และภาคประชาชนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณด์ า้ นตา่ งๆ เกยี่ วกบั การเสรมิ สรา้ งสขุ ภาวะระยะท้ายผา่ นการเขยี น บันทึกหรือแสดงความเห็นของเหล่าสมาชิกและผู้สนใจ บนพ้ืนที่สังคมออนไลน์ Facebook และ GotoKnow.org โดยมีผู้ประสานงาน (CoP facilitator) เป็น ผ้นู �ำ ในการแลกเปล่ียนเรียนร้ตู ามประเดน็ ตา่ งๆ ก่อนสรปุ เปน็ ชดุ ความร้เู พ่อื เผย แพรแ่ ก่สาธารณะต่อไป

สาำ หรับบทเรยี นชมุ ชนคนทำางาน โครงการจัดการความร ู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เลม่ ท่ ี 2 น ี้ เปน็ การถอดบทเรยี นในหัวขอ้ “เกบ็ สขุ กลางทุกข์” ด้วยเล็งเหน็ ว่า สภาพการณ์ของการเผชิญ ความเจบ็ ปว่ ยในระยะทา้ ย มกั ทาำ ใหผ้ คู้ นนกึ ถงึ เพยี งความเศรา้ โศก เจบ็ ปวด หมองใจ แตค่ วามจรงิ อกี ดา้ นหน่ึงกลับพบว่า ครอบครัวผู้ดแู ล คนทำางานสายสขุ ภาพ หรอื แมแ้ ต่ตัวผูป้ ่วยเอง สามารถ พลิกวิกฤตเป็นโอกาสเก็บเกี่ยวแง่มุมเชิงบวก ข้อดีของเหตุการณ์ และปรากฏเป็นความสุขใจให้ เกิดข้ึนได้ท่ามกลางความทุกข์นั้น เป็นส่ิงสวยงามที่น่าเรียนรู้เป็นอย่างย่ิง Pal2know จึงถือ โอกาสน้ีนำาบทเรียนทั้งหลายของผู้มีประสบการณ์ดังกล่าว มาถ่ายทอดสู่สังคมและท่านผู้อ่าน เพ่ือ ให้ได้ร่วมเรยี นรู้ไปพร้อมกนั คณะทาำ งานไดถ้ อดบทเรยี นจากบันทกึ 23 เร่อื งของผู้เขียน 14 ท่าน ในประเด็นดงั กล่าวท่ี เกดิ ข้ึนบนชุมชนออนไลน ์ Pal2know ระหว่างเดอื นพฤษภาคม - กรกฏาคม 2557 เป็นหนังสอื ที่ ท่านไดอ้ า่ นอยนู่ ้ี ขอกราบขอบพระคุณ พระไพศาล วสิ าโล เป็นอยา่ งสูง ที่ได้เมตตา อนุญาตให้นาำ บทความ เร่ ือง ในทุกข์มีความไม่ทุกข์ จากการแสดงธรรมของท่านเกี่ยวกับการมรณภาพของ หลวงพอ คําเขียน สุวัณโณ ณ วัดป่าสุคะโตในวันท่ี 5 กันยายน 2557 มาเป็นบันทึกนำาในหนังสือเล่มน้ี ดว้ ยความเคารพ หวงั อยา่ งยง่ิ วา่ หนงั สอื เลม่ นจี้ ะเปน็ ประโยชนต์ อ่ ทา่ นและสงั คมการบรบิ าลผปู้ ว่ ยระยะทา้ ย หากสนใจขอ้ มลู เพม่ิ เตมิ ทา่ นสามารถตดิ ตามกจิ กรรมของ Pal2Know และเปน็ สว่ นหนง่ึ ในการแลก เปลีย่ นเรยี นรเู้ พ่ื อสงั คมไดท้ ี่ https://www.facebook.com/pal2know หรือ http://www.gotoknow.org/posts/554364 คณะทาำ งาน กมุ ภาพนั ธ ์ 2558

สารบัญ ในทุกข์ มคี วามไม่ทกุ ข์ พระไพศาล วสิ าโล หนา เก็บสุข กลางทกุ ข์ 1 9 บันทกึ ตน เร�อง ¦ มรดกล้ำาค่าจากพอ่ นงนาท สนธิสวุ รรณ 41 ¦ ขุมทรพั ย์หน้างาน เรอ ่ื งเล่าจากใจ สธุ รี า พิมพ์รส 42 45 คนรกั palliative care ศรีนครนิ ทร์ ศนู ย์การณุ รักษ์ โรงพยาบาลศรนี ครินทร ์ สธุ รี า พมิ พร์ ส สุธีรา พมิ พร์ ส 49 ¦ ส่งนางฟ้ากลบั สวรรค ์ สุธรี า พิมพ์รส 53 ¦ ความดที ่ีเยียวยา มารยาท สุจรติ วรกุล 56 ¦ รอยยิ้มของพอ่ ตอนจบ คนบ้านไกล 58 ¦ แมห่ ลับใหส้ บายนะคะ กงั สดาล ชวลิตธาำ รง 60 ¦ อ่นุ ใดๆ โลกน้มี มิ ีเทียบเทยี ม รชั วรรณ พลศกั ด์ ิ 65 ¦ แล้ว... เสอื ... ก.็ .. เบญจรัตน ์ สจั กลุ 67 ¦ สัมผัสของเมีย รัชวรรณ พลศักดิ์ 69 ¦ พรงุ่ นีท้ ่ีไมม่ วี ันมาถึง สมพร สายสงิ ห์ทอง 75 ¦ ดว้ ยมือของลูกชาย สมาชิก Pantip 1451102 76 ¦ รอยยิม้ ...สดุ ท้าย 79 ¦ 10 สงิ่ ที่ผมเรยี นรเู้ กยี่ วกบั ความสขุ กานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ ในชวี ติ จากการเป็นผูป้ ่วยมะเรง็ ระยะ 4 85 ¦ อากงกระสบั กระส่ายไม่สงบ จะทาำ อยา่ งไรดี (อากงตอนจบ)

¦ บุญสะด้งุ เบญจมาส วงศ์มณีวรรณ หนา 87 ¦ หากไมม่ ีการเจ็บปว่ ย ชวี ิตคอู่ าจลม้ ไปแลว้ กัลยวรรธน ์ หิรัญวทิ ย์ 89 91 ¦ ยังไม่อยากตาย ห่วงลกู กานดาวศร ี ตลุ าธรรมกิจ 94 97 ¦ ยินยอมปลอ่ ยมอื วีรมลล์ จันทรด ี 102 105 ¦ วันที่เขาตอ้ งการฉันไปเป็นตัวประกนั รัชวรรณ พลศกั ดิ์ 107 109 ¦ แลว้ มัน (มะเรง็ ระยะทา้ ย) มีข้อดบี า้ งม้ยั เต็มศักด ์ิ พ่ึงรศั ม ี 111 ¦ เกบ็ สขุ กลางทุกขข์ องสาวนอ้ ยโรซ ่ี 11 ขวบ กานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ ¦ วันตายกบั วันแตง่ ไม่ร้วู า่ วันไหนจะมากอ่ น กานดาวศร ี ตุลาธรรมกิจ ¦ สัมผัสถึงใจที่จบั ตอ้ งได้ กานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ คนตน เรอ� ง ขอขอบคณุ ผูเขยี นบนั ทกึ ผปู ว ยและญาตมิ ติ รตน เร�อง ผเู ผยแงง่ ามแหง่ ความสุขใหป รากฏ

ในทุกข มีความไมท กุ ข พระไพศาล วสิ าโล http://www.visalo.org/article/person15lpKumkien8.html ภาพจาก www.dhammajak.net

สบิ วนั ทผี่ า่ นมาอาตมาได้ไปชว่ ยงานของหมสู่ งฆเ์ พอื่ เตรยี มงานใหก้ บั หลวงพอ่ ไดม้ ีโอกาสฟงั ธรรมะ ของหลวงพ่อเป็นระยะๆ เพราะมีการเปิดซีดีคำ�บรรยายของท่านอยู่ตลอดเวลาต้ังแต่เช้าจดเย็น การ ท่ีได้ฟังเสียงของท่านแม้จะไม่ใช่เสียงสดๆ ทำ�ให้รู้สึกเหมือนกับว่าท่านยังอยู่กับเรา ก็คงคล้ายๆ กับท่ี หลวงพ่อได้เขียนเอาไว้ในช่วงอาพาธว่า “ธาตุขันธ์คงอยู่อีกได้ไม่นาน แต่ความเป็นกัลยาณมิตรยังอยู่ ตลอดไป” หลวงพ่อยงั อยู่กับเรา การไดฟ้ งั ธรรมทำ�ให้มีความรู้สึกแบบนีอ้ ยู่เป็นระยะๆ เมอื่ ไดฟ้ งั ธรรมของทา่ นตดิ ตอ่ หลายวนั กเ็ กดิ ขอ้ สงั เกตประการหนง่ึ ขนึ้ มาวา่ หลวงพอ่ มกั พดู บอ่ ย คร้งั ว่า “ในทกุ ขม์ คี วามไม่ทกุ ข์ ในโกรธมีความไม่โกรธ ในหลงมีความไมห่ ลง เปล่ียนทกุ ข์ใหก้ ลายเป็นความไมท่ ุกข์ เปลี่ยนโกรธให้กลายเป็นความไม่โกรธ เปลี่ยนหลงให้กลายเป็นความไม่หลง ความทกุ ข์ท�ำ ให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำ�ให้ไม่โกรธ ความหลง ทำ�ให้ไมห่ ลง” พวกเราทฟ่ี งั ค�ำ บรรยายของทา่ นเป็นประจำ�คงเห็นเหมอื นอาตมาว่า น่ีเป็นขอ้ ความทที่ ่านพดู บอ่ ย มาก และถ้าสงั เกตให้ดีจะพบว่ามีครูบาอาจารยน์ ้อยคนท่ีพูดแบบนี้ หรืออาจไมม่ ีเลยก็ได้ คงไม่ผดิ ถา้ จะ บอกว่าข้อความแบบน้ีเป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อคำ�เขียนเลยทีเดียว แต่มันเป็นมากกว่าเอกลักษณ์ เพราะมันมีสาระท่ีลึกซึ้ง แฝงอยู่ในข้อความในคำ�พูดเหล่าน้ัน ซ่ึงแน่นอนว่าไม่ได้มาจากความคิด ของท่าน แต่เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติ เกิดจากสภาวธรรมทที่ ่านได้เหน็ และเข้าถึง “ในทกุ ขม์ คี วามไมท่ กุ ข์ ในโกรธมคี วามไม่โกรธ ในหลงมคี วามไมห่ ลง” ขอ้ ความนบี้ อกอะไรเรา บ้าง มนั บอกเราว่า ความทุกขก์ ็ดี ความหลงก็ดี ความโกรธกด็ ี มนั ไม่ใช่เป็นส่งิ ทตี่ อ้ งก�ำ จัด ถ้าเราต้องการ แสวงหาความไมท่ กุ ข์ แสวงหาความไม่โกรธ แสวงหาความรู้ตวั ก็หาไดจ้ ากความทกุ ข์ ความโกรธ และ ความหลงน้นั เอง แสดงธรรม ณ วัดปา่ สคุ ะโต วันท่ี 5 กันยายน 2557 2 โครงการจดั การความรู้ สุขภาวะระยะทา้ ย เล่ม 2

ผู้คนมักจะเข้าใจว่าความทุกข์ ความโกรธ และความหลงเป็นส่ิงที่ต้องกำ�จัด แต่หลวงพ่อพูดอีก แบบหน่ึงวา่ ไมต่ อ้ งกำ�จัดมันหรอก เพยี งแค่ดูให้ดีๆ ในความทกุ ข์จะพบความไมท่ กุ ข์ ในความโกรธจะพบ ความไม่โกรธ ในความหลงจะพบความไมห่ ลง นกั ปฏิบัตธิ รรมจ�ำ นวนมากมกั มองความทุกข์ ความโกรธ และความหลงว่าเป็นส่ิงท่ีต้องกำ�จัด ต้องทำ�ลาย จึงนำ�ไปสู่การกดข่มผลักไส วิธีน้ีมีประโยชน์สำ�หรับ คนท่ีต้องการทำ�ความดีและต้องการรักษาศีล เวลามีความโกรธ ความโลภ ความหลงเกิดขึ้นก็ต้องกด ข่มเอาไว้ เช่นอยากจะทำ�ร้ายใคร อยากจะด่าใคร อยากจะขโมยของใคร ก็ต้องกดต้องข่มความอยาก เอาไว้โดยอาศยั ขนั ติ คือความอดทน ความอดกลั้น อนั น้เี ป็นส่ิงจำ�เป็นพืน้ ฐานสำ�หรบั การท�ำ ความดี แตห่ ลวงพอ่ สอนใหเ้ รากา้ วไปไกลกวา่ นน้ั คอื ไม่ใชแ่ คท่ �ำ ดแี ละเวน้ ชวั่ แตค่ วรฝกึ จติ ใหเ้ หน็ ความจรงิ เพราะปัญญาท่ีเห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้งเท่าน้ันท่ีจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ การที่จะมีปัญญาเช่นนั้นได้ ก็ต้องเร่ิมต้นจากการเห็นความจริงที่ปรากฎในลักษณะต่างๆ รวมทั้งความจริงท่ีมาในรูปของทุกข์ มาใน รูปของความโกรธ มาในรูปของความหลง เพราะส่ิงเหล่าน้ีเป็นสภาวธรรมท่ีสามารถสร้างปัญญาให้แก่ เราได้ เม่ือมีทกุ ข์ แทนท่ีจะก�ำ จัดทุกข์ ก็มาพจิ ารณาทกุ ข์ ก็จะเหน็ ความไมท่ ุกขซ์ อ่ นอยู่ เหมอื นกับผลไม้ มนั มีเปลอื ก มีเนอื้ ทีห่ ่อหุ้มเมลด็ เอาไว้ ถา้ เราต้องการเมลด็ เราไม่ควรท้งิ ผลไม้ เราเพียงแตป่ อกเปลือก และคว้านเอาเนอ้ื ออกมา กจ็ ะได้เมล็ด ถ้าเมลด็ น้ันคือความไมท่ กุ ข์หรอื ความพน้ ทุกข์ เราจะพบได้กจ็ าก ความทุกข์ซงึ่ เปน็ ประหนงึ่ เปลือกและเนื้อที่หอ่ หุ้มเท่านั้น ไม่ใช่จากท่ีไหนเลย ความทกุ ขก์ บั ความไมท่ กุ ขม์ นั อยดู่ ว้ ยกนั เมอ่ื เราพจิ ารณาความทกุ ขก์ จ็ ะเหน็ วา่ อะไรคอื สาเหตขุ อง ความทุกข์ และเมื่อเห็นสาเหตุของความทุกข์ ก็จะรู้ว่าสาเหตุของความไม่ทุกข์คืออะไร เวลาเราโกรธ แทนท่จี ะกดขม่ มนั เราลองดคู วามโกรธ กจ็ ะเหน็ ว่าจิตกำ�ลังร้อนรนเหมอื นถกู ไฟเผา ไฟน้นั คืออะไร คือ ความโกรธ ความรูส้ ึกอยากผลักไสอยากทำ�ลาย เมอ่ื มองใหล้ กึ ลงไปกจ็ ะเห็นวา่ ท่ีโกรธกเ็ พราะรสู้ ึกวา่ ตวั กถู กู กระทบถกู บบี คนั้ ความยดึ ตดิ ถอื มน่ั ในตวั กทู �ำ ให้ไมพ่ อใจขดั เคอื งกลายเปน็ ความโกรธ เวลาเรามคี วาม อยากแลว้ เรารู้สกึ รมุ่ รอ้ น อันนีเ้ ป็นเพราะตัณหา อยากไดม้ าเปน็ ของกู ความยึดมน่ั ว่าจะต้องเอามาเปน็ ของกูให้ได้ ทำ�ให้จิตใจรมุ่ รอ้ นเปน็ ทกุ ข์ เมือ่ มองให้ลึกลงไปจะพบวา่ ท่ีทุกข์ใจกเ็ พราะความยึดติดถือม่นั ในตัวกูไมแ่ บบใดกแ็ บบหนง่ึ ในท�ำ นองเดียวกนั เวลาเรารู้สกึ หนกั อกหนกั ใจ ถา้ เราดคู วามหนักอกหนกั ใจ เราก็จะพบว่าที่มันหนักก็เพราะแบกเอาไว้ ถ้าไม่แบกไม่ยึดก็ไม่รู้สึกหนักอกหนักใจหรือเป็นทุกข์ สาเหตุ เหล่านเ้ี ราจะไมเ่ ห็นเลยถ้าเรามัวแต่จะกำ�จดั มันหรอื ผลักไสความทกุ ข์ เกบ็ สขุ กลางทุกข์ วธิ ีคิดและแนวทางเปล่ยี นทุกข.์ .. เป็นสขุ 3

ความทุกข์มีหลายแบบ แสดงออกมาหลายอาการ ทุกข์บางอย่างคือความหนักอกหนักใจ ทุกข์ บางอย่างคือความร้อนรุ่ม ถ้าเรารู้ว่าตอนน้ีกำ�ลังหนักอกหนักใจ ก็จะพบต่อไปว่าท่ีมันหนักก็เพราะแบก ถ้าไม่แบกจะหนักได้อย่างไร ทันทีที่เรารู้ว่ากำ�ลังหนักอกหนักใจ มันก็บอกในตัวว่าเป็นเพราะกำ�ลังแบก และเฉลยต่อไปว่า ถา้ ไม่อยากหนกั อกหนกั ใจ ก็ตอ้ งปล่อยวาง ในทำ�นองเดยี วกนั ทนั ทที ีร่ ตู้ วั กำ�ลงั รอ้ นรุม่ มันกบ็ อกในตวั วา่ ก�ำ ลงั ถกู เผาดว้ ยไฟแห่งความโกรธหรอื ความโลภ และท่ีไฟมันยงั เผาลนอยูไ่ ดก้ ็เพราะไป เตมิ ฟนื เตมิ เชอื้ ใหม้ ัน เพยี งแค่ไมเ่ ตมิ ฟืนเติมเช้อื ไฟกด็ ับมอดไป ดังนัน้ ถา้ ไม่อยากเป็นทุกข์ ก็ตอ้ งวางฟนื วางเชือ้ ลงเสยี กลา่ วโดยสรุปกค็ อื เมอ่ื ร้ทู กุ ขก์ เ็ ห็นสมุทยั เมือ่ เหน็ สาเหตขุ องทกุ ข์ กจ็ ะพบว่าสาเหตุของ ความไม่ทกุ ข์นน้ั คอื อะไร มันเฉลยในตวั อยูแ่ ลว้ ดังน้นั เมอ่ื พระพุทธเจา้ อธบิ ายอรยิ สัจ 4 วา่ ได้แก่ทกุ ข์และสาเหตุแห่งทุกข์ จากน้นั ก็ตรสั ถึงส่งิ ที่ ตรงข้ามกับทุกข์ คอื นโิ รธ ไดแ้ ก่ความไม่มที กุ ข์ ส่ิงทีน่ า่ สนใจก็คือ อริยสจั ขอ้ ที่ 4 แทนทจี่ ะเป็นสาเหตุแหง่ ความไม่ทุกข์ ตรงข้ามกับอริยสัจข้อท่ี 2 พระพุทธองค์กลับพูดถึงการสร้างเหตุปัจจัยแห่งความไม่ทุกข์ คืออริยมรรคมีองค์ 8 คำ�ถามคือทำ�ไมพระพุทธองค์ไม่ยกเอาสาเหตุแห่งความไม่ทุกข์หรือสาเหตุแห่ง นิโรธ มาเป็นอริยสัจข้อท่ี 4 คำ�ตอบก็คือ เพราะมันเฉลยอยู่ในตัวแล้วจากสมุทัย สมุทัยคือสาเหตุแห่ง ความทุกข์ เม่ือเห็นสาเหตุแห่งทุกข์ มันก็บอกในตัวแล้วว่า สาเหตุแห่งความไม่ทุกข์คืออะไร คือ ส่ิงที่ตรงข้ามกับสาเหตุแห่งทุกข์นน้ั เอง กล่าวคือ เม่อื รูว้ ่าทกุ ขเ์ พราะโลภ โกรธ หลง ฉะน้ัน ถา้ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ก็ไม่ทุกข์ ดังน้ัน อริยสัจข้อท่ี 4 พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้พูดถึงสาเหตุแห่งความไม่ทุกข์ หรือสาเหตแุ หง่ นิโรธ แต่พดู ไปถึงวธิ ีการทีจ่ ะทำ�ให้สาเหตแุ หง่ นโิ รธนนั้ เกดิ ขน้ึ ได้ นน่ั คืออริยมรรคมอี งค์ 8 ฉะนนั้ ทหี่ ลวงพอ่ พดู อยเู่ สมอวา่ ในทกุ ขม์ คี วามไมท่ กุ ขจ์ งึ มคี วามส�ำ คญั มาก มนั เปน็ การเชอื้ เชญิ ใหเ้ รามอง ความทกุ ข์ ไม่ใชก่ �ำ จดั ทกุ ข์ ซง่ึ ตรงกบั ทพี่ ระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ ทกุ ข์ไม่ใชส่ งิ่ ทตี่ อ้ งละ ทกุ ขเ์ ปน็ สงิ่ ทต่ี อ้ งก�ำ หนด ร ู้ กำ�หนดรู้ ในทีน่ ท้ี า่ นใชค้ ำ�วา่ ‘ปรญิ ญา’ ปริญญาก็คือการรู้รอบ รรู้ อบได้กเ็ พราะเหน็ ความจริง เมอื่ เหน็ ความจริงกเ็ กิดปัญญา เวลาเรามีความทุกข์ใจ อยา่ คดิ แตจ่ ะกำ�จดั มนั ตะพดึ ตะพอื ใหล้ องกลับมาดูหรือมองมนั บา้ ง เรา ก็จะเห็นมัน และเห็นไปถึงรากเหงา้ หรือสาเหตุของมัน เมื่อเรามีความโกรธอย่าคิดแต่จะกดข่มมันเอาไว้ ลองมองดูความโกรธก็จะเห็นความไม่โกรธอยู่ด้วยกัน ความโกรธกับความไม่โกรธ ความทุกข์กับความ ไม่ทุกข์ ความหลงกับความไม่หลง เหมือนกับทุเรียนที่มีหนามแหลมแต่มีเม็ดอร่อยอยู่ข้างใน อย่างแรก ที่เราควรทำ�เม่ือได้ทุเรียนมาก็คือ อย่าท้ิงหรือกำ�จัดมัน ใครท่ีได้ทุเรียนแล้วทิ้งมันไปเพราะเห็นว่าหนาม มนั แหลม ทมิ่ มือทมิ่ ตัว ทำ�ให้เจ็บ อยา่ งนี้เรยี กวา่ ไมฉ่ ลาด คนฉลาดจะไม่ทงิ้ ทเุ รียน แต่จะเอามนั มาเฉาะ 4 โครงการจัดการความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เล่ม 2

ทะลวงเปลือกท่ีหนาและคม ในที่สุดก็จะได้เม็ดท่ีอร่อย ของอร่อยซ่อนอยู่ในผลไม้ที่มีหนามแหลมฉันใด ธรรมกซ็ อ่ นอยู่ในทกุ ขฉ์ นั นน้ั ทกุ ข์ไม่ใชส่ งิ่ ทตี่ อ้ งละหรอื ก�ำ จดั เชน่ เดยี วกบั ทเุ รยี นแมจ้ ะมเี ปลอื กคมอยา่ งไร ก็ไม่ใชส่ ่ิงทีต่ อ้ งท้ิง ไม่ใชส่ ิ่งที่ต้องก�ำ จัด การทีห่ ลวงพอ่ พูดว่าเปลย่ี นทุกข์ใหก้ ลายเปน็ ความไมท่ ุกข์ เปลยี่ นโกรธให้กลายเป็นความไม่โกรธ เปลย่ี นหลงใหก้ ลายเปน็ ความไมห่ ลง เปน็ การบอกเปน็ นยั วา่ ทกุ ขแ์ ละความไมท่ กุ ข์ไมไ่ ดอ้ ยตู่ รงขา้ มกนั แบบ ที่เรียกว่าอยู่คนละขั้วหรืออยู่คนละที่ อาจเปรียบได้กับหน้ามือกับหลังมือที่อยู่ด้วยกันตลอดเวลา ความ จริงสิ่งท้ังปวงที่ดูเหมือนตรงข้ามกันก็เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความแก่มีอยู่ในความเป็น หนมุ่ สาว ความเจ็บไขม้ อี ยู่ในความไมม่ ีโรค ความตายกม็ อี ยู่ในชวี ติ ” ขาวกับดำ� มืดกับสวา่ งกอ็ ยดู่ ้วยกนั อาศัยกนั เงาเกิดข้นึ ได้ก็เพราะมีแสงหรือความสวา่ ง ดังพระพุทธเจา้ ตรัสว่า “แสงสว่างต้องอาศัยความ มืดจึงปรากฏ ความงามต้องอาศัยความไม่งามจึงปรากฏ” ขณะเดียวกันในความมืดก็มีความสว่างอยู่ เวลากลางคืนเรานึกว่าไม่มีแสง แต่ท่ีจริงมันมีความสว่างอยู่ หนูและสัตว์ต่างๆ จึงหากินได้สบายใน เวลากลางคืน ทุกขก์ ับความไมท่ กุ ขอ์ ยูด่ ้วยกัน เปรียบได้เหมือนกับหนา้ มือกบั หลงั มือ ถ้าเรากำ�จัดหน้ามอื หลงั มอื กห็ ายไปดว้ ย ถา้ เราก�ำ จดั ทกุ ขเ์ ราก็ไมพ่ บความไม่ทกุ ข์ คอื ไม่พบธรรมะ สิ่งท่ีเราควรทำ�ก็คือเพยี งแต่ พลกิ เปลยี่ นมนั เทา่ นน้ั เอง เปลย่ี นทกุ ข์ใหก้ ลายเปน็ ไมท่ กุ ขก์ ค็ งไมต่ า่ งจากพลกิ หนา้ มอื ใหก้ ลายเปน็ หลงั มอื หรือการพลิกหลังมือให้กลายเป็นหน้ามือ อันน้ีเป็นการย้ำ�ให้เราตระหนักว่าทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำ�ลาย เราเพียงแต่เปล่ียนมัน เหมือนกับท่ีเราเปล่ียนแป้งให้กลายเป็นขนมปัง ถ้าเราทิ้งแป้งลงถังขยะเราก็ อดกินขนมปัง หรือเปล่ียนข้าวสารให้เป็นข้าวสุก ถ้าเราท้ิงข้าวสารเราก็อดกินข้าวสุก แต่เราจะเปล่ียน ข้าวสารให้กลายเป็นข้าวสุกได้ก็ต้องอาศัยความร้อน ในทำ�นองเดียวกันความทุกข์จะกลายเป็นความ ไม่ทกุ ขก์ ต็ อ้ งอาศัยสติและปัญญา ตวั อย่างท่ชี ดั เจนกวา่ นัน้ ก็คอื ขยะกับดอกไม้ สองอย่างนม้ี ีความเก่ียวเนอื่ งกันมาก ขยะสามารถ กลายเปน็ ดอกไม้ได้ ถา้ เราอยากไดด้ อกไม้ เรากต็ อ้ งพึง่ ขยะ คอื รู้จักเปล่ยี นขยะให้กลายเป็นดอกไม้ ขยะ น้ันสามารถช่วยให้ดอกไม้เจริญงอกงามได้ เช่นเดียวกับทุกข์ก็ทำ�ให้ธรรมเจริญงอกงาม จนเข้าถึงความ ไมท่ ุกข์ได้ เก็บสุข กลางทกุ ข์ วธิ ีคิดและแนวทางเปลย่ี นทุกข์... เป็นสขุ 5

เราจะเปลย่ี นทุกข์ใหก้ ลายเป็นไม่ทกุ ขก์ ็ต้องมีสติ ต้องมีความรูส้ กึ ตัว สติและความรู้สึกตวั ช่วยให้ ความทุกข์เปล่ียนเป็นความไม่ทุกข์ ทำ�ให้ความโกรธเปล่ียนเป็นความไม่โกรธได้ ถ้าไม่มีความรู้สึกตัว ไมม่ คี วามรู้ตัว หรือสตแิ ลว้ โกรธก็ยงั เปน็ โกรธอยู่ ทกุ ข์ก็ยงั เป็นทกุ ข์อยู่ อันนม้ี นี ัยยะท่ีส�ำ คัญมาก หลวง พ่อชี้ชวนให้เรารู้จักใช้ประโยชน์จากทุกข์ จากความโกรธ จากความหลง แทนท่ีจะมองมันว่าเป็นของ เลวร้ายที่ต้องกำ�จัด ท่ีต้องทำ�ลาย ท่านจึงพูดว่า “ความทุกข์ทำ�ให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำ�ให้ไม่โกรธ ความหลงท�ำ ให้ไมห่ ลง” อันนี้เป็นคำ�สอนที่แตกต่างจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ท่ีท่านพูดเช่นนี้ก็เพื่อไม่ให้เรารู้สึกลบ ต่อความทุกข์ ต่อความโกรธ ต่อความหลง เพราะถ้ารู้สึกลบแล้วการวางใจเป็นกลางหรือว่า “รู้ซ่ือๆ” ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ รู้ซื่อๆ หรือการมองด้วยใจเป็นกลาง เกิดขึ้นได้เพราะไม่มีความชัง ไม่มีความรู้สึกลบ ไม่มคี วามรู้สึกผลักไสตอ่ ทุกข์ ตอ่ ความโกรธ ตอ่ ความหลง ตลอดจนกเิ ลสตวั อื่นๆ ท่านสอนวา่ อยา่ ชงั หรือกดข่มมนั เมื่อเจอมนั กอ็ ยา่ กลัวหรือหนมี ัน แตเ่ ผชิญกับมนั ดูมัน และใชม้ ันให้เป็นประโยชน์ เปลีย่ น ทกุ ข์ใหก้ ลายเปน็ ความไมท่ กุ ข์ เหมอื นกบั ทเ่ี ราเจอขยะแลว้ แทนทจี่ ะทง้ิ เราเอามาท�ำ เปน็ ปยุ๋ จนเกดิ ดอกไม้ ขึ้น ทกุ ขก์ ็เปน็ ปุ๋ยที่ทำ�ให้เกดิ ธรรมแจ่มแจ้งในใจของเรา สาระตรงนี้สำ�คัญมากที่อาตมาอยากจะให้พวกเราพินิจพิจารณา มันเป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ ทีเดียว “ความทกุ ข์ท�ำ ให้ไมท่ กุ ข์ ความโกรธท�ำ ให้ไม่โกรธ ความหลงท�ำ ให้ไม่หลง” เวลาเราปฏบิ ตั ิเราจะ หลงอยู่บ่อยๆ แต่การหลงบ่อยๆ น่ันแหละจะช่วยทำ�ให้เรารู้บ่อยข้ึนๆ ถ้าเราหมั่นดู เวลาเจอความ หลงบ่อยๆ เราจะรู้ชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่าความหลงหน้าตาเป็นอย่างไร อาการเป็นเป็นอย่างไร เวลามีความ โกรธเกิดข้ึนแล้วเราดูมันบ่อยๆ เราก็จะเห็นหน้าค่าตามันชัดขึ้น จำ�ได้ดีข้ึนว่า ความโกรธเป็นอย่างน้ี มีอาการอย่างนี้ ความทุกข์มีหน้าตาอย่างนี้ทำ�ให้ใจมีอาการแบบนี้ คือ ร้อนบ้าง รู้สึกถูกบีบค้ันบ้าง รู้สึกถูกเสียดแทงบ้าง หรือว่าหนักอ้ึงบ้าง การท่ีเราเจอมันบ่อยๆ ทำ�ให้เราจำ�มันได้แม่น ดังน้ันเมื่อมัน เกดิ ขนึ้ อีก เรากจ็ ะไมห่ ลงเชอ่ื ตามมันงา่ ยๆ เหมือนกบั คนทมี่ าหลอกเอาเงนิ เรา แล้วเรากเ็ ชอ่ื ใหเ้ งนิ เขา ไป เขาหลอกเราทแี รก เราก็เชอื่ มาหลอกอีกเรากเ็ ชือ่ ยอมใหเ้ ขาหลอก ไมจ่ ดไมจ่ �ำ เสยี ที แต่หลังจาก ท่ีเขาหลอกเราหลายครัง้ ๆ เราก็เร่มิ จำ�ได้วา่ หมอนีว่ างใจไม่ได้ เชื่อถือไมไ่ ด้ คร้งั ตอ่ ไปพอเขามาหลอกอีก เราก็ไมห่ ลงเชือ่ แลว้ เพราะรู้วา่ เปน็ คนไมซ่ ่ือ 6 โครงการจดั การความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2

ก่ีคร้ังที่ความโกรธมันหลอกให้เราทุกข์ ความหลงมันหลอกให้เราทุกข์ ทั้งนี้ก็เพราะเราไม่รู้จักมัน เพราะเราจำ�มนั ไมไ่ ด้ จำ�ลกั ษณะอาการของมนั ไมไ่ ด้ แตเ่ มอ่ื เจอมนั บอ่ ยๆ เห็นมันบ่อยๆ เราก็จำ�ลักษณะ อาการของมันได้ ภาษาบาลีเรียกว่า ถิรสัญญา เม่ือเราจำ�ได้ พอมันมาอีก เราก็ไม่เชื่อมัน ไม่คล้อย ตามมัน ไม่หลงตามมันอีกต่อไป อาจเช่ือประเด๋ียวประด๋าว สักพักก็จำ�ได้ แล้วถอยออกมา สลัดมันทิ้ง ทำ�ให้ ใจเราเป็นอิสระ ใจกลับมาเป็นปกติ ฉะน้ันจึงอย่ากังวลเวลาปฏิบัติแล้วเกิดความฟุ้งหรือเกิด ความหลง หลายคนเป็นทกุ ข์วา่ ท�ำ ไมฟ้งุ เยอะเหลือเกนิ ทำ�ไมหลงเยอะเหลือเกิน ใหร้ วู้ ่านน่ั เปน็ สิง่ ดีทจ่ี ะ ชว่ ยทำ�ให้ใจเราเปน็ อิสระจากความฟงุ้ ความหลงได้ เพราะจะจ�ำ ลักษณะอาการของมนั ได้แลว้ กจ็ ะไมห่ ลง เชอื่ มนั ตอ่ ไป ถงึ แม้จะเผลอใจ ถูกมนั หลอกไป แต่แลว้ กจ็ ะจำ�มันได้ รู้ตัวขึน้ มา ก็สลดั มนั ท้งิ แต่กอ่ นฟงุ้ เป็นวรรคเป็นเวร คิดไปเจ็ดแปดเรื่องแล้วถึงจะรู้ตัว ตอนหลังแค่เผลอคิดเรื่องเดียว ไม่ทันจบ ก็รู้ตัว ไมค่ ลอ้ ยตามมันต่อไป ใจกลับมาอยกู่ บั เนื้อกับตวั กลบั มาอยู่กับปจั จุบัน เห็นได้ว่าความโกรธ ความฟุ้ง ก็มีประโยชน์ เจอมันบ่อยๆ ก็ทำ�ให้เราไม่โกรธ ไม่ฟุ้งง่ายๆ อีก ต่อไป ถ้าเห็นอย่างนี้ก็จะเข้าใจว่าทำ�ไมหลวงพ่อจึงบอกว่า “ความทุกข์ทำ�ให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำ�ให้ ไม่โกรธ ความหลงท�ำ ให้ไมห่ ลง” ทุกข์กับความไม่ทุกข์น้ันอยู่ด้วยกัน ความโกรธกับความไม่โกรธอยู่ด้วยกัน ความหลงกับความ ไม่หลงอยู่ด้วยกัน เหมือนกับสวิทช์ไฟ สวิทช์ท่ีทำ�ให้มืดกับสว่างก็เป็นสวิทช์ตัวเดียวกัน สวิทช์ท่ีทำ�ให้ เกิดความมืด กับสวิทช์ที่ทำ�ให้เกิดความสว่างไม่ใช่คนละตัวกัน มันเป็นตัวเดียวกัน ในทำ�นองเดียวกัน รกู ุญแจท่ขี งั เราเอาไว้ กบั รูกุญแจทีท่ �ำ ใหเ้ ราเปน็ อสิ ระ กเ็ ปน็ รเู ดียวกัน ไม่ใชค่ นละรกู ัน ตรงที่วางรองเทา้ ข้างหอไตร เราจะเหน็ ภาพหยินหยางอย่ดู า้ นหลงั สญั ลกั ษณน์ สี้ ะทอ้ นความจรงิ ท่ีพูดมาทั้งหมดได้เป็นอย่างดี ในสัญลักษณ์น้ีดำ�กับขาวอยู่ด้วยกัน เช่นเดียวกับทุกข์กับความไม่ทุกข์อยู่ ด้วยกัน มันบอกเราว่า สิ่งท่ีดูเหมือนตรงข้ามกันนั้นแท้จริงอยู่ด้วยกัน เหมือนหน้ามือกับหลังมือ ใช่แต่ เทา่ น้ันมันยังอยู่ในกนั และกัน แสดงใหเ้ ห็นจากสญั ลักษณน์ ี้ ท่ขี าวอยู่ในด�ำ และดำ�อยู่ในขาว เหมือนกบั ท่ี พระพทุ ธเจา้ ตรัสว่า “ความแกม่ ีอยู่ในความเปน็ หนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไมม่ ีโรค ความตายกม็ ี อยู่ในชีวิต” สั้นอยู่ในยาว และยาวก็อยู่ในส้ัน ไม้บรรทัดน้ันสั้นเมื่อเทียบกับไม้เมตร แต่ยาวเมื่อเปรียบ กบั ดินสอ ในท�ำ นองเดยี วกนั ในทกุ ขม์ คี วามไม่ทกุ ข์ ในโกรธมคี วามไม่โกรธ ในหลงมคี วามไม่หลง เก็บสขุ กลางทุกข์ วิธคี ดิ และแนวทางเปล่ยี นทุกข์... เปน็ สขุ 7

ภาพจาก www.visalo.org สัญลักษณ์หยินหยางยังมีอีกแง่หนึ่งท่ีน่าพิจารณาก็คือ ส่วนหัวของสีขาว คือหางของสีดำ� และ ส่วนหัวของดำ�คอื หางของสขี าว หมายความว่า ขาวนน้ั เปลีย่ นเปน็ ด�ำ และด�ำ เปลี่ยนเป็นขาวได้ ทำ�นอง เดียวกันทุกข์ก็เปลี่ยนเป็นความไม่ทุกข์ได้ โกรธก็เปล่ียนเป็นความไม่โกรธได้ หลงก็เปลี่ยนเป็นความ ไม่หลงได้ ทีห่ ลวงพอ่ พูดมาวา่ “ในทุกข์มคี วามไมท่ กุ ข์ ในโกรธมีความไม่โกรธ ในหลงมีความไม่หลง เปล่ยี น ทุกข์ให้กลายเป็นความไม่ทุกข์ เปลี่ยนโกรธให้กลายเป็นความไม่โกรธ เปล่ียนหลงให้กลายเป็นความไม่ หลง ความทุกข์ทำ�ให้ไม่ทุกข์ ความโกรธทำ�ให้ไม่โกรธ ความหลงทำ�ให้ไม่หลง” ท้ังหมดนี้แสดงอยู่ใน สัญลกั ษณ์หยินหยางอยา่ งชัดเจน ถ้าเราพิจารณาดใู หด้ ี มนั จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมมาก มันไม่ใชแ่ ค่เร่ืองปรัชญาส�ำ หรบั การครุ่นคิด แต่ยังเป็นประโยชน์สำ�หรับการปฏิบัติอีกด้วย อันนี้เองคือเหตุผลที่หลวงพ่อพูดทำ�นองนี้อยู่ บ่อยๆ ข้อความเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นแค่สำ�นวนหรือพูดให้ดูหรู แต่มันมีนัยยะสำ�หรับการปฏิบัติให้ถูกต้อง เพ่ือความพ้นทุกข์ ถ้าเราไม่เข้าใจเราก็อาจจะปฏิบัติผิดพลาดได้ แต่ถ้าเราเข้าใจ ก็จะช่วยให้เราปฏิบัติ อย่างถูกทศิ ถกู ทางมากข้นึ 8 โครงการจดั การความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2

เกบ็ สขุ กลางทกุ ข การสูญเสียคนที่รักและผูกพัน เป็นสภาวะท่ีก่อให้เกิดความทุกข์ใจจากอารมณ์เศร้าโศก หดหู่ ทีย่ ากจะเลยี่ ง หากมองเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนอย่างรอบด้าน ความสูญเสียที่เกิดขึ้นแม้จะนำามาซ่ึงความทุกข์ แต่ก็ ยังมีพ้ืนที่ที่แง่มุมดีๆ ซ่อนอยู่ ขึ้นกับว่าจะหามันพบหรือไม่และเก็บเกี่ยวส่ิงดีๆ เหล่านั้นมาเติมเต็มชีวิต ได้อย่างไร แมห้ ลายคร้ัง ไมง่ ่ายดายทจี่ ะทาำ ได้ในทนั ที หรอื บางคร้งั ก็เปน็ ไปอยา่ งลาำ บาก แตไ่ ม่ไดห้ มายความวา่ เป็นไปไมไ่ ด้ หรือเกนิ กำาลัง ผูเ้ ขียนบนั ทกึ ทค่ี ณะทาำ งานถอดบทเรยี นได้พิสจู นแ์ ลว้ ...

รอยยิ้ม คราบน้�ำ ตาแห่งความต้ืนตนั ความหวัง กำ�ลังใจ คุณคา่ ความทรงจำ�ท่ีดี บทเรียนข้อคดิ ค�ำ ตอบแหง่ ชวี ติ และความสุขใจ ...งอกงามขน้ึ ดว้ ยการกล่นั จากปญั หา เกดิ ปญั ญาท่จี ะกา้ วตอ่ ไป แลว้ หอบความสุขใจกลบั บ้าน บา้ นทีแ่ ท้จริงในจติ ใจของทุกคน การถอดบทเรียนจากบันทึก 23 เรื่อง ของผู้เขียนทั้ง 14 ท่าน ได้บอกว่าการค้นพบความสุข กลางทุกข์น้ันเกิดขึ้นได้ จะด้วยวิธีการได้น้ัน เชิญทุกท่านติดตามไปด้วยกันใน การถอดบทเรียนชุมชน คนทำ�งาน โครงการจัดการความรูส้ ขุ ภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2 หวั ข้อ “เก็บสุข กลางทุกข”์ ปัจจัยสำ�คญั ทท่ี ำ�ให้สามารถเกบ็ สขุ กลางทุกข์ได้ การเกบ็ เกยี่ วความสขุ ของแตล่ ะคนอาจเหมอื นหรอื ตา่ งกนั ออกไป ขนึ้ อยกู่ บั ภมู หิ ลงั ประสบการณ์ ช่วงเวลา และสภาพบริบท ณ ขณะน้ัน การถอดบทเรียนในครั้งน้ีได้ทบทวนและสังเคราะหเ์ นอ้ื หาจาก บนั ทึกตน้ เร่อื ง ของผูเ้ ขยี นแตล่ ะทา่ นท่ถี ่ายทอดประสบการณ์ตรงหรือเรือ่ งที่พบเจอออกมาเปน็ ตัวอกั ษร ในพ้ืนที่ออนไลน์ Pal2know เพื่อแลกเปล่ียนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ของเนื้อหากับผู้เขียนบันทึกก่อนสรุปออกมาเป็นแก่นสาระ 12 ประเด็น แยกออกเป็น 3 ด้านหลัก ดังต่อไปนี้ ความคดิ และทัศนคติ 1. การใชค้ วามคิดเชงิ บวกมองเหตกุ ารณ์ความเจ็บป่วยหรือการสูญเสีย การกระท�ำ และปฏิบัติตน 2. การใช้หลกั ธรรมะ และมสี ติ 3. การใชเ้ วลาเตรยี มตวั เตรยี มใจรบั สถานการณ์มาก่อน 4. การดูแลเอาใจใส่ใหเ้ จ็บปวดนอ้ ยทสี่ ุด และสบายกายมากทีส่ ดุ 5. การวางแผนชีวิต เตรยี มพร้อมอนาคต 6. การทำ�ประโยชน์ตอ่ ผู้อืน่ และสงั คม 7. การจัดกระบวนการกล่มุ เพอื่ แลกเปลย่ี นเรียนรู้และเยียวยาจติ ใจ 8. การเขยี นบันทกึ 10 โครงการจัดการความรู้ สขุ ภาวะระยะท้าย เล่ม 2

9. การมีทักษะที่สำ�คญั ตอ่ การเผชิญปญั หา ความกดดนั และความสูญเสีย การเติมเต็มจติ ใจ 10. การคน้ พบคุณค่าจากการทำ�งานดแู ลผปู้ ว่ ยระยะทา้ ย 11. การได้สมปรารถนาในส่งิ ทตี่ ้องการจะทำ� หรอื ส่งิ ทมี่ คี ุณคา่ ตอ่ จิตใจ 12. การไดส้ มั ผสั ถึงความรัก ความอบอนุ่ และความสามัคคีในครอบครัว โดยการสรุปแก่นสาระ 3 ด้าน 12 ประเด็น จะถูกนำ�เสนอผ่านตัวอย่างของคำ�พูด บทสนทนา ขอ้ คิด และบทเรยี น จากบันทกึ ต้นเรอ่ื ง ดงั รายละเอยี ดตอ่ ไปน้ี ความคดิ และทศั นคติ 1. การใชค้ วามคิดเชิงบวกมองเหตุการณค์ วามเจ็บป่วยหรอื การสญู เสีย ความเจ็บปวดหรือความสูญเสีย เป็นสิ่งที่ผู้คนมักมองด้วยความคิดแง่ลบเพียงด้านเดียว ถูกตัดสินว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าเกรงกลัว เศร้าหมอง หดหู่และต้องมาติดอยู่กับความทุกข์น้ัน แต่ความ จริงแลว้ ผทู้ ีเ่ ผชิญเหตุการณ์ท้งั ผปู้ ่วยและญาติ คนใกลช้ ิด หรือผู้มีหน้าท่ีดูแล สามารถมองสถานการณ์ ดว้ ยจิตใจท่ีเป็นบวก และเห็นสงิ่ ดีๆ ทีเ่ กิดขนึ้ ทา่ มกลางเหตุการณด์ ังกล่าวได้ เชน่ มองเหน็ นำ�้ ใจจากคน รอบข้างและมิตรแท้ที่ปฏิบัติต่อเราด้วยความเต็มใจ ย้อนระลึกถึงผู้จากไปด้วยความรู้สึกท่ีดี ได้ดูแลคน ท่ีรักอย่างดีท่ีสุดเท่าที่จะทำ�ได้ ได้มีโอกาสตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูมาจนเติบใหญ่ และการ มองความทุกข์ด้วยมุมมองเชิงบวกเช่นน้ีเอง ท่ีทำ�ให้ความสุขปรากฏขึ้นกลางทุกข์ได้ ดังตัวอย่างบันทึก ตน้ เรอ่ื งตอ่ ไปนี้ 1.1 การระลกึ ถงึ เหตกุ ารณด์ ว้ ยมมุ มองเชงิ บวก ความสขุ หรอื สง่ิ ดๆี ทเ่ี กดิ ขน้ึ ในชว่ งเวลา เหลา่ นัน้ m การระลกึ ถงึ น�ำ้ ใจของคนรอบขา้ ง น�้ำ ใจของคนรอบขา้ งทคี่ อยชว่ ยเหลอื และใหก้ ำ�ลงั ใจในชว่ งเวลาล�ำ บาก เปน็ ความทรง จ�ำ ที่อบอุ่นใจยามระลึกถึง บันทกึ เรอื่ ง “พรุง่ นีท้ ี่ไม่มีวันมาถงึ ” ของ เบญจรตั น์ สัจกลุ (หนา้ 69) เป็น ตัวอย่างหนึ่งท่ีบรรยายถึงความอบอุ่น ซาบซ้ึงในน้ำ�ใจของคนรอบข้าง ท้ังญาติมิตรและอาจารย์ ทตี่ นเคารพซ่ึงได้ให้ก�ำ ลงั ใจเม่อื ครัง้ แมข่ องเธอปว่ ยด้วยมะเร็งเมด็ เลือดขาว เก็บสขุ กลางทุกข์ วิธคี ดิ และแนวทางเปล่ียนทกุ ข.์ .. เป็นสขุ 11

ใจความตอนหนึ่งในบนั ทึก เธอไดก้ ล่าวถงึ ความรู้สึกทด่ี ตี ่อคนรอบข้างท่ีต่างพากนั มา เยี่ยมเยยี นและให้กำ�ลังใจแมข่ องเธอวา่ ในช่วงเวลาแบบน้ี มคี นทค่ี อยแวะเวยี นมาให้กำ�ลังใจแมไ่ มข่ าดสาย แม่โชคดจี ัง :) ใครๆ ตา่ งพากนั รกั เพราะแม่ใจดีกบั ทุกคน แมช่ ว่ ยเหลือคนอนื่ มาตลอด นคี่ งเปน็ อกี ช่วงเวลาหนง่ึ ท่ีเป็นความสขุ ระหว่างทาง ในเส้นทางของความทุกข์ สนิ ะ ส่วนอีกตอนหน่ึงของบันทึก ก็ได้กล่าวถึงความซาบซึ้งใจที่มีต่ออาจารย์ท่ีตนเคารพ ซงึ่ ได้ดแู ลชว่ ยเหลอื ในสถานการณท์ ่ีลำ�บาก เช่น ตอนท่รี อรถของญาติมารับเพื่อกลับไปเย่ียมแม่ในกลาง ดกึ คืนหนงึ่ นานกวา่ 4-5 ช่ัวโมง ในสถานทซ่ี ง่ึ ไม่รจู้ กั ใครเลย ความรู้สกึ ในการรอคอย ณ ตอนนนั้ เปน็ ความรสู้ ึกทเ่ี กินค�ำ อธบิ าย ตลอดเวลาทรี่ อ อาจารยค์ อยโทรมาสอบถามตลอดเวลาดว้ ยความเปน็ หว่ งวา่ แถวนน้ั เปลีย่ วมย้ั มีใครอยบู่ า้ งม้ยั ฉนั ยังคงร้สู กึ อุ่นใจ ท่ยี งั มีคนที่คอยอยู่เคียงขา้ งเสมอ ถงึ แมจ้ ะเปน็ ชว่ งเวลาหนงึ่ ทเี่ ลวรา้ ยแตก่ ย็ งั พอมสี งิ่ ดๆี ใหจ้ ดจ�ำ ได้ในระหวา่ งทาง... เช่นเดียวกับกรณีของเด็กหนุ่มชาวลาวท่ีมาดูแลพ่อที่ติดเช้ือในกระแสเลือดในบันทึก เรื่อง “ด้วยมอื ของลูกชาย” ของ รชั วรรณ พลศกั ดิ์ (หน้า 75) เดก็ หนุ่มคอยดแู ลพ่ออยา่ งดีและมคี วาม หวงั จะให้พอ่ หายจากโรคท่เี ปน็ ในบันทกึ มีใจความตอนหนง่ึ เขยี นถึงเขาว่า ถึงช่วงรดน้ำ�มนต์ (หลังพิธีถวายสังฆทานท่ีโรงพยาบาล) เขาดูต่ืนเต้นมาก แววตา สุกสดใส ขอนำ�้ มนต์เยอะๆ พอ่ จะไดห้ ายไวไว ...เด็กหนมุ่ ไหวข้ อบคุณผเู้ ขยี น บอก วา่ ดีใจมาก พรงุ่ นจ้ี ะโทรบอกใหแ้ มเ่ อานำ้�มนตม์ าใหพ้ อ่ อกี เขาเลา่ วา่ อยากเอาน้ำ�มนต์ มาให้พ่อมากแต่ไม่กล้านำ�มา เกรงว่าจะผิดระเบียบของทางโรงพยาบาล คราวนี้ รู้แล้วว่าท�ำ ได้ คนไทยกม็ นี �ำ้ มนตเ์ หมือนกนั 12 โครงการจดั การความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2

ถงึ เวลาเลกิ งานเขามารอผู้เขียนอยูห่ น้าประตหู อ้ ง บอกว่าจะรอไปสง่ แม่หมอท่รี ถแม้ ผเู้ ขยี นจะสะดุดกับคำ�ว่า ‘แม่หมอ’ แต่กอ็ ดยินดีไม่ได้ ท่เี หน็ เดก็ นอ้ ยตาแปว๋ ดูใส ซื่อ ปฏิบตั อิ ย่างนั้น พร้อมกับรสู้ ึกดที ่ีไดเ้ ขา้ ถงึ จิตวิญญาณของคนไขแ้ ละญาติ สะท้อนให้เห็นถึงความเคารพ สัมพันธภาพอันดีที่หนุ่มน้อยคนดังกล่าวมีให้กับการ ช่วยเหลือของพยาบาลผู้ท่ีเข้าถึงจิตวิญญาณของหนุ่มน้อย และมอบน้ำ�ใจให้กับเขาในยามที่พ่อของเขา เจบ็ ปว่ ย m การระลกึ ถึงผู้จากไปดว้ ยความทรงจำ�ท่ีดี บางครง้ั สงิ่ ของซงึ่ เปน็ ตวั แทนความทรงจ�ำ ที่ไดบ้ รรจคุ วามรสู้ กึ ทด่ี แี ละชว่ งเวลาพเิ ศษ ลงไปในน้นั กเ็ ปน็ ทม่ี าของการเกบ็ เกย่ี วความสขุ ไดเ้ ม่ือระลึกถึงผู้ที่จากไปดงั เชน่ หนังสืออนุสรณง์ านศพ ในเร่ือง “มรดกล้�ำ คา่ จากพ่อ” ของ นงนาท สนธสิ ุวรรณ (หน้า 42) ซึ่งเปน็ มรดกของพอ่ ท่ีมีคณุ คา่ ต่อจิตใจชนิ้ หนงึ่ เปน็ ทง้ั ความรกั ความเมตตา และคำ�สอนของพ่อทมี่ อบไว้ใหเ้ ธอก่อนจากไป ในการจัดทำ�หนังสืออนุสรณ์งานศพของพ่อ ข้าพเจ้ารำ�ลึกได้ว่ายังมีมรดกท่ีเป็น ทรพั ยภ์ ายในอนั ล�ำ้ คา่ ยง่ิ กวา่ ทรพั ยภ์ ายนอกขา้ งตน้ อกี จ�ำ นวนหนงึ่ ทพี่ อ่ มอบใหข้ า้ พเจา้ ต้ังแต่ลืมตาเกิดมาจนจำ�ความได้ คือการอบรมส่ังสอนท้ังทางโลกและทางธรรม ใน รูปแบบค�ำ พูดคำ�เขียน และประพฤติให้เห็นเป็นตัวอย่างเป็นกิจวัตรติดตาตรึงใจยาก ท่ีจะลมื เลอื น m อกี กรณีหน่งึ คอื ภาพถา่ ยในเร่ือง “ความดที ี่เยยี วยา” ของ สธุ รี า พิมพ์รส (หนา้ 53) เมื่อพ่อแม่ต้องการจะถ่ายรูปครอบครัวเก็บไว้ เพ่ือเป็นตัวแทนความทรงจำ�ท่ีดีระหว่างพวกเขากับ ลูกน้อยท่ีกำ�ลังจะจากไปด้วยอาการเลือดออกในสมอง นี่คือบทสนทนาระหว่างพวกเขาและผู้เขียนซึ่ง เปน็ พยาบาลทเี่ ขา้ มารว่ มช่วยเหลือและเยยี วยา และสังเกตเหน็ จังหวะทพ่ี อ่ เดก็ ถา่ ยภาพลกู เกบ็ ไว้ ฉันเห็นพี (พ่อของเด็ก) กดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพน้องจากกล้องในมือถือ เห็นดังน้ัน ฉนั เริ่มรู้แล้ววา่ พีกำ�ลงั พยายามทจี่ ะเก็บเกยี่ วความทรงจำ�ดีๆ มตี อ่ ลกู น้อย และนีค่ ง เปน็ อีกช่องทางหนึง่ ท่ีพีเลอื กท�ำ ฉนั ไมร่ อช้ารีบหยบิ กล้องท่ีพกตดิ กระเป๋าขนึ้ มาและ บอกกบั ทงั้ สองคนว่า “อยากไดภ้ าพครอบครัว สามคน พอ่ แม่ ลกู ม้ยั ? มา พีถ่ า่ ยให้” เกบ็ สุข กลางทกุ ข์ วิธีคดิ และแนวทางเปลยี่ นทุกข.์ .. เปน็ สขุ 13

พีไม่ลงั เลที่จะบอกฉนั ว่า “อยากได้ครับ” หลงั เกบ็ ภาพประทบั ใจเสรจ็ เรยี บรอ้ ยแลว้ ฉนั รบั ปากกบั พแี ละนดิ วา่ “พจ่ี ะรบี ท�ำ ภาพ มาใหน้ ะ” แมเ้ ด็กน้อยก�ำ ลังจะจากไป แต่ภาพถา่ ยน้นั จะคงความทรงจำ�ทดี่ ีในช่วงเวลานั้นไว้ใน ใจของคนเปน็ พ่อแม่ตลอดไป m การตระหนกั วา่ ไดด้ แู ลคนท่รี ักอยา่ งดที ส่ี ดุ แลว้ จากตัวอย่างการดูแลสามีของบัวเลียน ในบันทึกเร่ือง “สัมผัสของเมีย” ของ รัชวรรณ พลศักดิ์ (หน้า 67) ซ่ึงต้องมาดูแลสามีท่ีไม่สามารถหย่าขาดจากเคร่ืองช่วยหายใจได้ เม่ือ เธอไมร่ ู้จะทำ�กจิ กรรมอะไรระหว่างการเฝา้ สามที ่ีโรงพยาบาล คุณรัชวรรณ ผูเ้ ขียนบันทกึ จงึ แนะนำ�ให้ เธอนวดสัมผสั ให้สามี คุณรัชวรรณเลา่ ถงึ ช่วงเวลาสุขกลางทกุ ข์ระหวา่ งบัวเลียนและสามี ในวนั แรกที่เราฝกึ ไปด้วยกัน ผู้เขียนได้เห็นรอยยิ้มบนใบหนา้ ของสามีบัวเลียน บัวเลียนย้ิมท้ังน้ำ�ตาให้ผู้เขียนและ สามี ตอ่ มาสามีของบวั เลียนไม่ตอบสนองต่อยา เพราะตดิ เชอ้ื ด้อื ยา ทำ�ใหแ้ พทยพ์ ยาบาล ตา่ งผดิ หวังต่อการรักษาที่ไมเ่ ปน็ ดงั คาด แต่บวั เลยี นกลับเขม้ แข็งพอท่ีจะยอมรับและกลา่ วว่า “เราได้ท�ำ ดีท่ีสุดแลว้ ได้เห็นรอยยมิ้ ได้เห็นรว้ิ รอยของการขมวดค้ิวหายไปจากหนา้ สามีกเ็ ป็นสขุ อันยงิ่ ใหญ่แล้ว ไมม่ ีอะไร ติดคา้ งคาใจแลว้ ” การได้ดูแลคนรกั อย่างดีท่ีสุดแล้ว ทำ�ให้บัวเลียนปลอ่ ยวางและยอมรบั สง่ิ ที่เกดิ ข้ึนได้ 14 โครงการจดั การความรู้ สขุ ภาวะระยะท้าย เล่ม 2

m การมองว่าไดม้ ีโอกาสตอบแทนพระคณุ บพุ การี ความคดิ เชงิ บวกอยา่ งหนงึ่ ทส่ี ง่ เสรมิ หลอ่ เลย้ี งก�ำ ลงั ใจในยามคนในครอบครวั เจบ็ ปว่ ย ก็คอื การได้ท�ำ ส่ิงที่ดีอย่างการตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ เชน่ ที่คุณนงนาท สนธสิ ุวรรณ และ คณุ คน ไกลบ้าน ไดเ้ ขยี นบันทกึ ไว้ คณุ นงนาทไดเ้ ขยี นบนั ทกึ ถงึ การสญู เสยี คณุ พอ่ ดว้ ยความเขา้ ใจและยอมรบั เธอกลา่ ว ด้วยว่า เหตุการณ์ในคร้ังน้ันได้เปิดโอกาสให้เธอและพ่ีน้องได้ตอบแทนพระคุณของพ่อเป็นคร้ังสุดท้าย จากเรื่อง “มรดกล้ำ�คา่ จากพ่อ” ของ นงนาท สนธสิ ุวรรณ (หนา้ 42) พ่อสนิ้ ลมอยา่ งสงบดว้ ยอาการเสน้ โลหิตแตกในสมอง หลังจากลม้ ปว่ ยเพียง 11 วัน โดยหมอใหน้ อนดอู าการในหอ้ งฉกุ เฉนิ ของโรงพยาบาลเอกชน เพยี ง 3 วนั แลว้ อนญุ าต ให้ยา้ ยมาบริบาลทา่ มกลางการดูแลของลูกๆ อย่างใกล้ชดิ ในคลินิกของลกู สาวทเ่ี ป็น หมออกี 8 วัน เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสครงั้ สดุ ท้ายทพี่ วกเราไดส้ นองพระคุณท่าน อยา่ งเต็มที่ สว่ นคณุ คนไกลบา้ นกก็ ลา่ วเชน่ เดยี วกนั วา่ การไดต้ อบแทนพระคณุ คอื สง่ิ ดงี ามทอ่ี ยาก จะท�ำ ให้แม่เปน็ คร้งั สุดท้ายดว้ ยความเต็มใจย่ิง จากเร่อื ง “อนุ่ ใดๆ โลกนีม้ ิมีเทียบเทยี ม” ของ คนไกล บา้ น (หน้า 60) ผมลางานมาปฏบิ ตั ดิ แู ลแมส่ ามสบิ วนั แมย่ า้ ยกลบั มาอยกู่ บั พช่ี ายทบี่ า้ น ผมนอนขา้ งๆ แม่ทุกวนั พอแมข่ บั ถา่ ยออกมา ผมจะเปน็ คนเอากระโถนไปเทในหอ้ งน้�ำ ไมไ่ ด้ดูแลแม่ มาเสยี นานเป็นเวลายีส่ บิ กวา่ ปี อยากจะทำ�ความดเี ลก็ ๆ นอ้ ยๆ เพ่อื ตอบแทนคณุ แม่ 1.2 มองการสูญเสยี และการเจบ็ ป่วยเป็นบทเรียน ขอ้ คดิ บททดสอบ ส�ำ หรบั บนั ทกึ ของคนตน้ เรอื่ งตอ่ ไปน้ี ความทกุ ข์ ความเจบ็ ปว่ ยและความสญู เสยี ทเ่ี กดิ ขน้ึ มใิ ชเ่ พยี งผา่ นมาแลว้ พน้ ไปอยา่ งสญู เปลา่ หากแตพ่ วกเขาได้ใช้ใจทเ่ี ปดิ กวา้ ง และการตรกึ ตรองอยา่ งลกึ ซ้งึ มองสงิ่ ทีเ่ กิดขึ้นในฐานะของบทเรียน ข้อคิด และบททดสอบทีเ่ ปน็ ประโยชนต์ ่อการใชช้ ีวิต เก็บสขุ กลางทกุ ข์ วธิ คี ิดและแนวทางเปลีย่ นทกุ ข์... เป็นสขุ 15

เชน่ ตวั อยา่ งจากบนั ทกึ เรอื่ ง “ขมุ ทรพั ยห์ นา้ งาน เรอ่ื งเลา่ จากใจคนรกั palliative care ศรนี ครนิ ทร์ ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรนี ครนิ ทร”์ ของ สุธีรา พมิ พ์รส (หน้า 45) มีใจความ ตอนหน่ึงสะท้อนอย่างชัดเจนถึงทัศนะของคนส่วนหน่ึงที่มองว่า การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเป็นงานท่ีมัก ต้องเผชิญความทกุ ข์ เมอื่ กลา่ วถงึ งานการดแู ลผปู้ ว่ ยระยะทา้ ยหลายคนมองวา่ เปน็ งานทอี่ ยกู่ บั ความทกุ ข์ ความ เศร้า ความสลด หดหู่ “จะดีหรือมาท�ำ งานน้ี ทำ�ได้อย่างไร ไมเ่ อาหรอก กลัวรอ้ งไหต้ าม คนไข้” แมอ้ ยา่ งนน้ั คุณสธุ ีรา ผู้ท่ีปฏบิ ัติงานด้านนก้ี ลบั ค้นพบบทเรยี น ตวั ตน และศกั ยภาพทีม่ ี อยูข่ องตวั เองจากการทำ�งานทห่ี ลายคนมองว่ามักเจอแตเ่ รอื่ งทุกข์และเศรา้ ทุกชีวิตท่ีผ่านเข้ามาให้ทีมได้ดูแลคือบทเรียนรู้ท่ีมีคุณค่า สิ่งสำ�คัญคือเราได้เรียนรู้ความ เป็นตวั เรา มองเห็นสมรรถนะของตวั เราคนหน้างาน คอื บทเรียนและคณุ ค่าท่ีไดจ้ ากการทำ�งานด้านน้ี ส่วนบนั ทกึ เรอื่ ง “พรุง่ น้ีที่ไมม่ ีวนั มาถึง” ของ เบญจรัตน์ สัจกุล (หน้า 69) กเ็ ปน็ อีก ตวั อย่างที่สะท้อนพลงั ของการมองเหตุการณท์ เี่ กิดขึ้นเปน็ บทเรยี นบททดสอบ แม้ไม่ง่ายเลยท่ีจะยอมรับสิ่งที่เกิดข้ึนโดยไม่ต้ังตัว แต่เธอก็สามารถถ่ายทอดแง่มุมเชิง บวกและความทรงจำ�ดีๆ หลายอย่างท่ีเกิดขึ้นในช่วงเวลาท่ีคุณแม่ของเธอป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ดงั เนอ้ื หาทนี่ �ำ เสนอไปแลว้ ในประเดน็ การใชค้ วามคดิ เชงิ บวก นอกจากนี้ เธอไดเ้ ผยวา่ สงิ่ ส�ำ คญั ท่ีใชร้ บั มอื กับสงิ่ ทเ่ี กิดข้นึ กค็ อื การมองเหตกุ ารณ์สูญเสียเป็นแบบทดสอบท่ยี ิง่ ใหญข่ องชีวิต และสรปุ บทเรยี นจาก สงิ่ ทีเ่ กิดขึ้น เหตุการณ์ทั้งหมดท่ีเกิดข้ึนในคร้ังนี้นับเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตที่ย่ิงใหญ่ที่สุด ไม่ใช่แค่ความ สูญเสยี แต่มีทั้งความทกุ ข์ทมี่ าพร้อมกับความสุข หลังจากทีเ่ หตุการณผ์ า่ นไป ไดม้ ีโอกาส กลับมาน่ังทบทวนส่งิ ที่เกดิ ขนึ้ กับสภาพทต่ี วั เองเปน็ อยู่ในปจั จบุ นั ถือว่าเราเขม้ แข็งและ 16 โครงการจดั การความรู้ สุขภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2

แกร่งพอท่จี ะเผชญิ กบั อุปสรรคต่างๆ ในเรื่องอ่นื ๆ ได้ เหมือนเปน็ บททดสอบคร้งั ใหญ่ และด่านที่โหดทส่ี ดุ ความสญู เสยี ยังสอนให้ร้คู ุณค่าในการมีอยู่ และมีก�ำ ลังใจในการ ทำ�ในสิ่งทม่ี คี ณุ ค่า ท้ังต่อตวั เองและต่อคนอน่ื โดยคุณเบญจรตั น์ ไดส้ รุปบทเรยี นจากการสูญเสียออกมาเป็นรายข้อ ดงั นี้ 1. ท�ำ ปจั จบุ นั ขณะใหด้ ที ส่ี ดุ ตอ่ ตนเอง และตอ่ คนรอบขา้ ง คอื สงิ่ ทส่ี ำ�คญั เราไมม่ วี นั รเู้ ลย วา่ จะมี ‘พรุ่งน’ี้ เกดิ ข้นึ ได้อกี กค่ี รงั้ 2. ในชว่ งเวลาแห่งความทุกข์ เรามักจะไดเ้ ห็นถงึ น�้ำ ใจที่คนรอบขา้ งมอบใหเ้ สมอๆ ท�ำ ให้ เราเห็นได้ว่า เราไม่ได้เผชิญกับโชคชะตาเหล่าน้ันแต่เพียงคนเดียว ช่วงเวลาในการ ขา้ มผ่านความทุกขย์ าก มหี ลายคนทอ่ี ยเู่ คียงข้างเราเสมอ 3. เวลาไม่เคยรอใคร ทำ�ทกุ วันให้มคี วามสขุ 4. ทุกช่วงเวลาแห่งความทุกข์ มีความสุขได้เสมอ และทุกช่วงเวลาแห่งความสุข ก็มี ความทกุ ขเ์ กดิ ขนึ้ ไดเ้ สมอเชน่ กนั เพราะฉะนน้ั จงเตรยี มพรอ้ มทจี่ ะรบั มอื กบั ความทกุ ข์ และความสุขทีจ่ ะเกดิ ขึ้น “Life is Miracle” คำ�ตอบแสนอัศจรรย์ในบันทึกเร่ือง “10 สิ่งที่ผมเรียนรู้เกี่ยวกับ ความสขุ ในชวี ิต จากการเปน็ ผปู้ ว่ ยมะเร็งระยะ 4” ของ สมาชิกเวบ็ บอร์ด Pantip.com หมายเลข 1451102 (หน้า 79) เป็นอีกหน่ึงตัวอย่างของการเก็บสุขกลางทุกข์ได้ด้วยการมองการสูญเสียเป็นบท เรียน และข้อคดิ แห่งชีวติ ในอดีตเขาเคยเป็นคนวัยหนุ่มท่ีใช้ชีวิตในแบบท่ีอยากใช้อย่างอิสระแต่ทุกอย่างต้องแปร เปล่ียน เม่ือเขาพบว่าตนเองเป็นมะเร็งโพรงจมูก เม่ือวัย 30 หากแต่การเจ็บป่วยน่ีเองท่ีพลิกชีวิตและ ความคิด ทำ�ให้เขากล่ันข้อคิดและบทเรียนจากประสบการณ์คร้ังน้ี ออกมาหลากหลายประเด็นอย่าง นา่ สนใจ เรื่องท่ีผมจะเล่าต่อไปน้ี ผมว่ามันไม่ใช่เร่ืองใหม่แต่อย่างใดเลย เพียงแต่เป็นเร่ืองง่ายๆ ทผ่ี มเชอื่ วา่ สว่ นมากของผทู้ ก่ี �ำ ลงั อา่ นอยเู่ ขา้ ใจ แตท่ �ำ ไมไ่ ดซ้ กั ที ดงั นน้ั ลองมาอา่ นมนั ผา่ น ประสบการณข์ องคนที่ขาข้างหนง่ึ อยู่บนความตายตลอดเวลาอย่างผมกัน เก็บสขุ กลางทุกข์ วิธีคิดและแนวทางเปลย่ี นทุกข.์ .. เป็นสขุ 17

ขอยกมาน�ำ เสนอในประเดน็ หลกั ซง่ึ นอกจากจะเปน็ ขอ้ คดิ และบทเรยี นแลว้ ยงั เปน็ วธิ กี าร และแนวทางปฏบิ ตั ิเพือ่ เกบ็ สขุ กลางทกุ ข์ไปในตัวอีกดว้ ย ดงั นี้ 1. การหนั มามคี วามสุขกับส่ิงรอบตัว รวมท้ังส่ิงท่มี ีอยู่แล้วมองขา้ มไป 2. การเห็นคุณค่าของครอบครวั และสุขภาพท่ดี ี ซึ่งหลายคนมักมองข้าม 3. การยอมรับความจริงในปจั จบุ นั อย่าให้อดีตทผ่ี ่านไปแล้วมารบกวนชีวิตและจิตใจ 4. การไม่นำ�ตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอ่ืน เพราะรูปแบบชีวิต ความสุข ความทุกข์ ของแตล่ ะคนแตกตา่ งกัน 5. ทุกคนตา่ งกม็ คี ณุ ค่ากบั ตวั เอง 6. การค้นหาความฝันท่ีแท้จริงของตนเอง โดยท่ีไม่ได้มาจากอิทธิพลจากผู้อื่นหรือ ส่ิงแวดลอ้ ม 7. ความกงั วลหรือคดิ มากจนเกินไป ยอ่ มไมส่ ง่ ผลดี 8. การนำ�หลกั ธรรมมาปฏบิ ตั ิ เชน่ การเจรญิ สติ ทำ�สมาธิ สวดมนต์ ชว่ ยควบคมุ อารมณ์ ท่ีไมพ่ ึงประสงค์ได้ 9. การเตรยี มตวั รบั มือและเผ่อื ใจกับความผดิ หวงั 10. การรู้คุณค่าของเวลา และการลงมือทำ�โดยไม่ใช้เวลามาเป็นเง่ือนไขจำ�กัดตัวเอง เช่น การอ้างวา่ วันนี้ไม่มเี วลา จากท่ีกล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่เพียงการสูญเสียคนรอบข้างเท่าน้ันท่ีนำ�พาความหม่นเศร้า มาให้ แต่ความรู้สึกดังกล่าวก็เกิดข้ึนกับการสูญเสียสัตว์เล้ียงเช่นกัน เช่น บันทึกเร่ือง “แล้ว... เสือ... ก.็ ..” ของ กังสดาล ชวลติ ธำ�รง (หนา้ 65) ซงึ่ บรรยายถงึ เหตุการณต์ ้องจากลากับ ‘เจ้าเสือ’ สนุ ขั ตัวโปรดของครอบครัว “ทงั้ ท่ีเตรยี มใจไวบ้ า้ งแล้ว แต่เมื่อถึงเวลา กอ็ ดไม่ไดท้ จ่ี ะ...เศร้าใจ” เธอเล่าไว้ใน บันทึก วธิ ที เ่ี ธอจดั การกบั ความรสู้ กึ หมน่ หมองใหจ้ างลงกค็ อื การใชเ้ หตกุ ารณค์ รง้ั นน้ั เปน็ บทเรยี น และข้อคิดเก่ยี วกบั การใช้ชีวติ 18 โครงการจัดการความรู้ สขุ ภาวะระยะท้าย เล่ม 2

ความเศร้าเสียใจจากความสูญเสีย พอจะยังประโยชน์บ้างด้วยการมองให้ทะลุ เหตุการณน์ ัน้ ตั้งสตแิ ละเรียนรู้ เพ่อื ไม่ใหก้ ารสูญเสียนน้ั ... สญู เปล่าเม่ือเอาตวั ออก จากทุกข์... มองทะลุ... เราจะเหน็ ความสุข... อยา่ งนอ้ ย ก็ไม่สร้างเหตุแห่งทุกข์ใหม่ขน้ึ มาอีก เมอ่ื ทุกขน์ อ้ ยลง สุขกเ็ ข้าแทนที่ เพมิ่ ขนึ้ ... 1.3 การคน้ พบขอ้ ดขี องการเจบ็ ปว่ ย หากการเจ็บป่วยคือด้านหนึ่งของความทุกข์ การค้นพบข้อดีของการเจ็บป่วย ก็เสมือน การพลิกอกี ดา้ นของเหรียญแล้วพบแงม่ มุ ทแ่ี ตกต่างซ่ึงไมเ่ คยนึกคิดมากอ่ น ตวั อยา่ งจากกรณขี องคณุ ฝน ผปู้ ว่ ยมะเรง็ ผวิ หนงั ชนดิ รา้ ยแรง จากบนั ทกึ เรอื่ ง “แลว้ มนั (มะเรง็ ระยะทา้ ย) มขี อ้ ดบี า้ งมย้ั ” ของ เตม็ ศกั ดิ์ พ่งึ รศั มี (หนา้ 102) สภาพจติ ใจทเี่ ขม้ แขง็ ขน้ึ และมพี ลงั ตอ่ สชู้ วี ติ ของคณุ ฝน เปน็ ภาพทแ่ี ตกตา่ งจากเมอื่ พบกนั คร้ังแรกของคุณฝนและแพทย์ที่ดูแลเธอจนคุณหมอถึงกับเอ่ยชื่นชมและถามเธอต่อถึงข้อดีของการ เจ็บปว่ ยทีเ่ ผชิญอยู่ เพ่ือเปดิ โอกาสใหเ้ ธอทบทวนตนเองและถา่ ยทอดความสุขทเ่ี กบ็ เกย่ี วได้ ข้อดีท่ีเธอพบมี 2 ประการ คือทำ�ให้เห็นความดีและน้ำ�ใจของญาติและสามี และทำ�ให้ เธอได้วางแผนชีวติ ล่วงหน้า ผมถามเธอปดิ ทา้ ยวา่ “เทา่ ทฟี่ งั มา มะเรง็ มนั ท�ำ ใหเ้ ราเปน็ ทกุ ขห์ ลายเรอ่ื ง แลว้ มนั (มะเรง็ ระยะทา้ ย) มขี ้อดบี า้ งม้ัย” ฝนนงิ่ ไปคร่หู น่งึ ใชค้ วามคิด ก่อนจะตอบประโยคแรกออกมาอยา่ งกระทอ่ นกระแท่น เพราะสะอื้น “..ไดเ้ หน็ น้ำ�ใจ ของคน ญาตพิ นี่ ้อง เพ่อื น ..แล้วก.็ ..เขา” กว่าจะหลุดคำ�ว่า ‘เขา’ ซึ่งหมายถึง สามีชาวมาเลย์ ท่ีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันคนน้ี ออกมาได้ ผมก็ลุ้นนา่ ดู ผมถือโอกาสชมสามขี องฝน ว่า “นานๆ จะเหน็ สามีท่ตี ามมาดูแล ภรรยาแบบนี”้ “อะไรอกี ” ผมถามฝนต่อ หมายถงึ ขอ้ ดีของมะเรง็ เก็บสุข กลางทุกข์ วธิ คี ดิ และแนวทางเปลย่ี นทกุ ข์... เป็นสขุ 19

“ไดร้ เู้ วลาของเรา ไดว้ างแผนวา่ จะท�ำ อะไร ดกี วา่ อยดู่ ๆี กต็ ายไปเลยแบบเจออบุ ตั เิ หตุ อย่างน้อยหนูก็ได้วางแผนเร่ืองลูก เรอื่ งเขา” คุณฝนกลา่ วปิดท้าย การกระทำ�และปฏิบัติตน 2. การใชห้ ลักธรรมะและมสี ติ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ช่วยสร้างความเข้มแข็งของจิตใจ ทำ�ให้มีสติ และเข้าใจ ความจริงตามธรรมชาติชีวิต ผู้เขียนบันทึกหลายท่านได้ ใช้หลักธรรมเป็นที่พ่ึงทางใจและมองเห็นเหตุ ปัจจัยแหง่ สจั ธรรมท�ำ ใหส้ ามารถยอมรบั และปลอ่ ยวางเหตกุ ารณท์ ีเ่ กิดข้นึ ได้เช่นทค่ี ณุ นงนาท ซ่งึ สูญเสีย คุณพ่อวัย 90 ปี จากเส้นเลือดในสมองแตกหลังจากป่วยมาได้เพียง 11 วัน แต่เธอและครอบครัว สามารถเผชิญเหตุการณ์ได้อย่างมีสติ และพร้อมที่จะปล่อยวางให้ส่ิงท่ีเกิดขึ้นดำ�เนินไปโดยธรรมชาติ ตามที่ไดก้ ล่าวไว้ในบันทึกเร่ือง “มรดกลำ�้ ค่าจากพ่อ” ของ นงนาท สนธสิ ุวรรณ (หนา้ 42) วา่ สง่ิ ท่ี ท�ำ ให้เธอสามารถบอกเล่าเรือ่ งราวการสญู เสียคณุ พอ่ ในมมุ มองเชิงบวกได้น้ันกค็ อื ประสบการณแ์ ละความเขา้ ใจในพทุ ธวถิ ี ทส่ี ะท้อนการรูเ้ ท่าทนั ของความจริงในเรื่อง การเกดิ แก่ เจ็บ ตาย ท�ำ ให้เราด�ำ รงตนในความไม่ประมาทขาดสติ ย่อมเตรยี มพรอ้ มทงั้ กาย วาจา ใจ ที่จะเผชญิ ความไม่เทย่ี งแหง่ วฏั สงั สารอยูต่ ลอดเวลา หรือในกรณีของผู้ป่วยอีกท่านท่ีได้ปฏิบัติธรรมทั้งช่วงก่อนมารักษาตัวท่ีโรงพยาบาล และใน ชว่ งทอ่ี ยู่ในโรงพยาบาล เชน่ การทำ�บญุ สวดมนต์ นัง่ สมาธิ ทำ�ให้จิตใจของเธอสงบและพรอ้ มที่จะปลอ่ ย วาง ดังที่ผู้เขียน ซ่ึงเป็นพยาบาลระบุในบันทึกการสนทนาระหว่างเธอและผู้ป่วยรายน้ีจากบันทึกเรื่อง “บญุ สะดุ้ง” ของ เบญจมาส วงศ์มณีวรรณ (หนา้ 87) 20 โครงการจดั การความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2

ผู้ป่วยบอกไม่ห่วงกังวลอะไรอีกแล้วบุญก็ทำ�มามากแล้ว ก่อนล้มป่วย ไปทำ�วัตรเย็นนั่ง สมาธิทุกวนั ทวี่ ัดใกล้บา้ น ลูกชายคนโตทอ่ี ยกู่ รงุ เทพฯ ก็ไปทำ�วตั รเยน็ นงั่ สมาธิแผส่ ่วนบญุ มา ให้เม่ือมีโอกาส ตอนนี้ ไปวัดไม่ได้ สามีก็ไปปฏิบัติแทน สำ�หรับตัวเองก็สวดมนต์อยู่ท่ีบ้าน ทกุ วนั น้ีตนและสามีกส็ วดมนต์ทัง้ เชา้ และเย็น หลงั สวดมนต์ กจ็ ะแผเ่ มตตา หลังจากนนั้ ผู้ป่วยก็สวดมนต์ แผ่เมตตาใหพ้ ยาบาลฟงั 3. การใช้เวลาเตรยี มตวั เตรยี มใจรับสถานการณม์ ากอ่ น การสญู เสยี ท่เี กิดขึน้ ในชวี ิต หากไมไ่ ดม้ กี ารเตรียมตวั เตรยี มใจทด่ี มี าก่อน คงยากท่จี ะรบั มอื ได้ อย่างเขา้ ใจและมีสติ ในบันทึกเร่ือง “อุ่นใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม” ของ คนบ้านไกล (หน้า 60) เต็มไปด้วย เนื้อหาที่เขียนถึงความสัมพันธ์อันอบอุ่นระหว่างเขาและแม่ ในยามที่แม่มีชีวิตอยู่ จนถึงวาระสุดท้าย และจากไปในวัยล่วง 90 ปี ร้อยเรียงเป็นประโยคสะท้อนความสุข และความทรงจำ�แง่บวกแทบท้ังส้ิน ซ่ึงการจะถ่ายทอดเร่อื งราวของการสญู เสยี คุณแม่ของคณุ คนบา้ นไกลให้เป็นความทรงจำ�แง่บวกได้เช่นน้ี ไม่ใช่เรื่องงา่ ยทีจ่ ะท�ำ ได้เพียงชวั่ ครชู่ วั่ ยาม หากแต่ตอ้ งอาศัยการเตรียมตัวทดี่ ีมาก่อน ที่พอเห็นสุขกลางทุกข์ได้ ก็ต้องอาศัยเวลา เอาเข้าจริงๆ ถ้าไม่เตรียมตัวไว้ก่อน ตามมัน ไม่ทนั หรอกครับ เหน็ แตท่ กุ ขเ์ กือบท้งั นนั้ คณุ คนบ้านไกล เขยี นทิง้ ทา้ ย 4. การดแู ลเอาใจใส่ให้เจบ็ ปวดนอ้ ยที่สุดและสบายกายมากทส่ี ดุ หากทำ�ให้ความเจ็บปวดทรมานกายที่เร้ือรังน้ันบรรเทาหรือหายไป บางครั้งอาจเป็นความสุข หนึ่งท่ีอยู่ท่ามกลางทุกข์ได้ ดังกรณีของคุณยายวัย 89 ปี ในบันทึกเรื่อง “รอยยิ้ม...สุดท้าย” ของ สมพร สายสงิ ห์ทอง (หน้า 76) เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเก็บสุขกลางทุกข์ในลักษณะน้ี ในอดตี คณุ ยายเคยหกลม้ แตไ่ มไ่ ดร้ บั การรกั ษา จงึ ท�ำ ใหข้ าทงั้ สองไมม่ แี รงและเดนิ ไมไ่ ด้ รวมถงึ มีปัญหาควบคุมระบบขับถา่ ย ตอ้ งแชอ่ ยบู่ นกองขับถ่ายท่ชี ้นื แฉะทง้ั วัน รอหลานสาวนอกเมืองมาอาบน�้ำ ให้วันละคร้ัง เพราะไม่ยอมให้หลานผู้ชายอาบให้ นอกจากน้ันแล้วยังมีอาการหูตึง ส่ือสารลำ�บาก ทมี แพทย์พยาบาลที่ไปเย่ยี มพยายามช่วยเหลอื ให้ได้มากท่สี ดุ เกบ็ สุข กลางทกุ ข์ วิธคี ิดและแนวทางเปลี่ยนทุกข.์ .. เป็นสุข 21

ต่อมาคุณยายมีไข้สูง เป็นแผลบวมแดงเป็นหนองตามลำ�ตัวและก้นกบ จึงถูกนำ�ตัวส่ง โรงพยาบาล หลังการรกั ษาครั้งน้ัน คุณยายได้กลับมาพักท่ีบ้าน มีญาตมิ าเยี่ยมอย่างใกล้ชิด ได้รบั การ ดแู ลท่ดี ีข้ึนต่างจากวนั วาน ที่บ้าน คณุ ยายไดท้ ่ีนอนลม เตียง Fowler พัดลม และกาต้มน้ำ�ใหม่ ทญี่ าตๆิ จัดหามาให้ ทกุ วันจะมีพยาบาลมาท�ำ แผลใหท้ ่บี ้าน และมีญาตมิ าเยย่ี มทุกเยน็ ขณะท่ีไปติดตามเย่ียมบ้าน พบคุณยายคนใหม.่ ..แม้จะยังสวมใสช่ ดุ โรงพยาบาล แต่กด็ สู ะอาด สะอ้าน แผลแห้งดี มอี สม. ท่ีอยูห่ น้าบ้านคอยดแู ลป้อนข้าวปอ้ นนำ้�ให้ ค�ำ ถามแรกทีถ่ ามขา้ งหูยายคือ “ยาย...เจบ็ มัย้ ” ยายยม้ิ แล้วตอบวา่ “ไมเ่ จ็บแลว้ ” สุดทา้ ยยายกจ็ ากไปอย่างสงบท่บี ้านของยาย...สู่สคุ ตินะคณุ ยาย น่ีคือตัวอย่างที่สะท้อนว่าการบรรเทาความเจ็บปวด และการดูแลเอาใจใส่ในครอบครัว ช่วย เยียวยาความทุกข์ของผปู้ ่วยได้เปน็ อยา่ งดี 5. การวางแผนชวี ติ เตรยี มพร้อมอนาคต ในชว่ งเวลาของความเจ็บป่วย ซ่งึ บางคร้งั ไม่สามารถรกั ษาให้หายขาดได้ อาจทำ�ให้ผู้ปว่ ยตอ้ ง เผชิญความสับสน กังวลใจถึงชีวิตในอนาคตของครอบครัวท่ีได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยดังกล่าว กลายเปน็ หนึง่ ในความทกุ ข์ใจร่วมกับปญั หาอื่นๆ จากกรณตี วั อยา่ งพบวา่ ผปู้ ว่ ยรายหนง่ึ สามารถกลบั ทกุ ขน์ เี้ ปน็ สขุ ไดด้ ว้ ยการตระเตรยี มวางแผน ชีวิตเพื่อสรปุ ทางออกทีด่ ีทีส่ ดุ ใหก้ บั ครอบครัวดังกรณคี ณุ ฝน ในบันทึกเร่อื ง “แลว้ มัน (มะเร็งระยะท้าย) มีขอ้ ดบี ้างมั้ย” ของ เต็มศักด์ิ พง่ึ รศั มี (หน้า 102) ท่ีไดก้ ลา่ วไปแล้ว นอกจากการคน้ พบขอ้ ดีจากการ เจบ็ ปว่ ยแลว้ เธอยงั ไดข้ ยายความถงึ ความสขุ จากการท�ำ ใหแ้ ผนชวี ติ ของครอบครวั ตอ่ จากนม้ี คี วามชดั เจน โดยเฉพาะอนาคตของ ‘ลูกสาว’ ทีเ่ ธอรกั 22 โครงการจัดการความรู้ สุขภาวะระยะท้าย เล่ม 2

เราคุยกันถงึ ‘จติ วญิ ญาณหรอื หวั ใจ’ ของเธอ วา่ เธอวางแผนเก่ียวกับลกู อยา่ งไร ซ่ึงฝนตอบได้ชัดเจนเกี่ยวกับลูกสาวคนเดียววัยสิบกว่าขวบว่า ท่ีจะกลับไปบ้านเกิด กจ็ ะเอาลูกไปอยดู่ ้วย ญาตพิ ีน่ ้องทางนน้ั เขารับเล้ยี งได้อยู่แลว้ “เพราะเขากเ็ ลย้ี งหนมู า” ไมอ่ ยากใหล้ ูกอยูก่ บั สามี เพราะเขาตอ้ งท�ำ งาน คงไมม่ เี วลาดแู ลเดก็ เทา่ ไร ซง่ึ สามีของเธอกพ็ ยักหนา้ เห็นด้วย ฝนเป็นคนวางแผนจัดการชีวิตได้ดี รวมถึงจัดการสามีเธอด้วย เธอเล่าว่า กำ�ลังชวนสามีไป อยทู่ บี่ า้ นเกิดเธอตอนน้ีเลย จะไดค้ ้นุ เคยกบั ญาติๆ ของเธอ จะไดอ้ ยดู่ ้วยกนั พ่อลูก เวลาเธอ ไม่อยู่ ซ่ึงสามีของเธอกก็ งั วลแค่ว่า จะมีงานให้ท�ำ ท่ีโนน่ หรอื เปล่าเท่านัน้ คยุ กนั วนั น้ี ผมหายหว่ งคนไขข้ องผมคนน้ีไปเยอะเลย 6. การท�ำ ประโยชนต์ อ่ ผอู้ ่ืนและสังคม จากเร่ืองราวในบันทึกเรื่อง “สัมผัสถึงใจท่ีจับต้องได้” ของ กานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ (หน้า 109) ที่กล่าวถึงกระบวนการกลุ่ม ซึ่งจัดขึ้นในโรงพยาบาลเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เปลี่ยน ทุกข์เป็นสุขของผู้ป่วย พบว่า การได้ทำ�ประโยชน์ต่อคนอื่นๆ และสังคม ทำ�ให้ผู้ป่วยเกิดความสุขจาก การไดช้ ว่ ยเหลอื และรู้สกึ เปน็ คนทม่ี ีคุณคา่ ผ้ปู ว่ ยมะเรง็ ล�ำ ไส้รายหนงึ่ ในกจิ กรรมกลุ่มได้ถ่ายทอดประสบการณข์ องเขาว่า “... ในชว่ งสปั ดาหแ์ รกทผ่ี มมารบั การฉายรงั สผี มเครยี ดและทอ้ แทม้ าก จนกระทง่ั ไดม้ าเขา้ กลมุ่ เพอ่ื นช่วยเพือ่ นทพ่ี ่ีฟง่ (ผู้เขียนบนั ทกึ ) จัดข้ึนในชว่ งน้ันและได้ให้โอกาสเขาแต่งเพลงทำ�อลั บั้ม เพลงครงั้ แรกในชวี ติ ‘พรงุ่ นีย้ ังมฟี ้า’ โดยพ่ฟี ง่ หาเครือข่ายสปอนเซอร์ในการทำ�เพลง รายได้ ที่ได้ส่วนหน่ึงมอบให้กองทุนเสริมอาหารทางการแพทย์ท่ีแขวนไว้ ในมูลนิธิของโรงพยาบาล และช่วยเหลือด้านอื่นๆ ในผู้ป่วยมะเร็งยากไร้ ชีวิตของผมรู้สึกว่ามีคุณค่ามีประโยชน์ต่อ สังคม และมีความสุขที่ได้ทำ�งานที่รัก ในความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดีขอให้ทุกๆ คน อยา่ ยอมแพ้ให้สตู้ อ่ ไป” เกบ็ สุข กลางทกุ ข์ วิธีคิดและแนวทางเปลยี่ นทุกข.์ .. เปน็ สขุ 23

“ทุกเดอื นผมจะมาเป็นครฝู ึกการฝึกพดู ใหก้ ับผปู้ ่วยมะเร็งท่ีไร้กล่องเสยี ง จนตอนนเ้ี ขาแตง่ ตง้ั ใหผ้ มเปน็ ประธานชมรมผปู้ ว่ ยมะเรง็ ไรก้ ลอ่ งเสยี งผมภมู ใิ จมากที่ไดท้ ำ�ประโยชนช์ ว่ ยเหลอื สงั คม ผมรู้สึกว่าชีวิตผมมคี ณุ คา่ ” ผู้ปว่ ยมะเรง็ กล่องเสียงอีกรายกลา่ ว ส่วนผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารท่านหน่ึงก็บอกเล่าประสบการณ์ของตนเองในการปฏิบัติตน เม่ือเป็นมะเร็ง เธอกล่าววา่ สงิ่ หนึง่ ท่ีเธอทำ�กค็ อื การแบง่ ปัน และ มอบกำ�ลงั ใจให้ผปู้ ว่ ยคนอืน่ “รู้จักแบ่งปันส่ิงดีๆ ให้กับผู้อ่ืนเช่นนำ�ไข่ต้มมาให้คนไข้ที่ฉายรังสีเดือนละ 2 คร้ังจะมาเป็น ก�ำ ลงั ใจให้กบั ผูป้ ่วยและญาติเป็นตน้ ” ประสบการณท์ ผ่ี ปู้ ว่ ยทกุ รายกลา่ วมาลว้ นแสดงถงึ คณุ คา่ ทางใจที่ไดร้ บั จากการทำ�ประโยชนต์ อ่ ผู้อนื่ แมก้ ายจะป่วย แต่ใจก็เป็นสขุ 7. การจัดกระบวนการกลุม่ เพื่อแลกเปลย่ี นเรียนรู้และเยียวยาจิตใจ ในบันทึกเร่ือง “สมั ผัสถงึ ใจทจ่ี ับตอ้ งได้” ของ กานดาวศรี ตุลาธรรมกจิ (หนา้ 109) ซ่งึ ได้กล่าวไปในประเด็นที่ 6 สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมกลุ่มบำ�บัดแลกเปลี่ยนประสบการณ์เปลี่ยนทุกข์ ให้เป็นสุข เป็นอีกหน่ึงแนวทางเยียวยาเพ่ือเสริมกำ�ลังใจให้ผู้ป่วยก้าวผ่านช่วงเวลาท่ียากลำ�บากไปได้ ผ้ปู ว่ ยรายหน่งึ เม่อื ได้ฟังเรือ่ งเล่าจากผู้ป่วยทีเ่ ปน็ แบบอยา่ งใหเ้ ขาในวนั นนั้ กเ็ กดิ ก�ำ ลงั ใจตอ่ ส้ขู ้นึ มา “ชวี ติ ผมพกิ ารจากการตกหลงั คามา 20 ปี ตอนน้ันอายุ 19 ปผี มไมเ่ คยท้อผมสามารถใชม้ อื ท�ำ งานเป็นชา่ งซ่อมเครอื่ งใช้ไฟฟ้าหาเงินเลี้ยงพอ่ แม่และนอ้ งๆ อีก 3 ชวี ิต จนปจั จุบนั นอ้ งๆ สามารถมีอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ จนกระท่ังผมมาป่วยเป็นมะเร็งหลอดอาหารผมเครียดและ ท้อแทม้ ากเพราะกลวั ว่าอนาคตผมจะเป็นภาระให้ครอบครวั เมอ่ื วานผมรอ้ งไหก้ ับพ่ีฟ่ง พฟี่ ง่ ให้ ขอ้ คดิ และก�ำ ลงั ใจพรอ้ มทง้ั แนะน�ำ ใหม้ ารว่ มกจิ กรรมกลมุ่ เพอื่ นชว่ ยเพอื่ นในวนั นี้ วนั นผ้ี มอยาก บอกกับผู้ป่วยทุกๆ ท่านว่าอย่าท้อแท้ขอให้สู้ ถึงแม้ว่าวันหนึ่งถ้ามะเร็งหายแต่ผมก็ยังมี ความพกิ ารอยู่ และผมจะเป็นอีกคนหนงึ่ ทจี่ ะสู้ ไม่ท้อแท้ ชีวติ ที่อยู่ตอ่ ไปกข็ อให้อยแู่ บบมี คณุ คา่ อยา่ งคณุ ชาย คณุ ชาญ และคณุ หนอ่ ย (ผปู้ ว่ ยทถี่ กู รบั เชญิ มาถา่ ยทอดประสบการณ)์ ” 24 โครงการจัดการความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เล่ม 2

นอกจากเสรมิ สรา้ งแรงใจใหผ้ ปู้ ว่ ยรายอนื่ แลว้ ผถู้ า่ ยทอดประสบการณย์ งั ได้ไตรต่ รองทบทวน ชวี ิตตนเองอีกคร้งั นับเปน็ การเกบ็ สุขกลางทกุ ข์ที่เป่ียมด้วยพลังอย่างยง่ิ 8. การเขียนบนั ทกึ การส่ือสารเรื่องราวท่ีเกิดขึ้นในชีวิตผ่านการเขียนบันทึก เป็นหน่ึงในวิธีทบทวนประสบการณ์ เกยี่ วเกบ็ แงม่ มุ ทส่ี วยงาม ความทรงจ�ำ ทม่ี คี า่ ระบายความในใจ และเยยี วยาตนเองระหวา่ งเขยี นขอ้ ความ แตล่ ะบรรทดั เชน่ เดียวกบั ทผ่ี ู้เขียนบนั ทึกทุกคนไดถ้ ่ายทอดออกมาผ่านตวั อักษร เวลาเขยี นเรือ่ งพวกน้ีออกมา มนั เป็นการเตอื นสติตวั เองชนั้ ดีทีเดียว สมาชิกเว็บบอร์ด Pantip.com หมายเลข 1451102 กลา่ วไว้ในเรื่อง “10 สงิ่ ทีผ่ มเรียน รเู้ ก่ยี วกบั ความสขุ ในชวี ติ จากการเปน็ ผู้ป่วยมะเรง็ ระยะ 4” (หนา้ 79) 9. การมที กั ษะทสี่ ำ�คัญต่อการเผชิญปัญหา ความกดดนั และความสญู เสยี การมที กั ษะทีจ่ �ำ เป็นตอ่ การเผชิญปญั หา เป็นคณุ ลักษณะที่ทำ�ใหบ้ ุคคลสามารถควบคมุ อารมณ์ และสถานการณท์ ีเ่ กดิ ขึ้นตรงหน้าให้คล่ีคลายไปในทางทด่ี ีได้ จากบันทึกเร่ือง “ขมุ ทรพั ยห์ นา้ งาน เรื่องเลา่ จากใจ คนรกั palliative care ศรีนครินทร์ ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครนิ ทร์” ของ สุธีรา พิมพ์รส (หนา้ 45) ได้กล่าวถึง คุณลกั ษณะ ของผู้ทำ�งานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่มักมีโอกาสเผชิญความสั่นไหวทางอารมณ์อยู่เสมอว่า ทักษะท่ี จำ�เป็นสำ�หรับคนทำ�งานด้านนี้ในส่วนท่ีเก่ียวข้องโดยตรงกับการส่งเสริมมุมมองที่ดี รับมือกับปัญหา และรองรบั อารมณท์ า่ มกลางความทกุ ข์ ไดแ้ ก่ 1. ความมน่ั คง หนักแนน่ ในการทำ�งาน ยอมรบั คำ�ติเตยี น คำ�ชน่ื ชม เพราะ บางครงั้ การเขา้ หา ผปู้ ว่ ยอาจจะถกู ปฏเิ สธ เหน็ ทมี นมี้ าแลว้ ไมค่ อ่ ยสบายใจ ทมี นเี้ ปน็ สญั ลักษณข์ องความตาย ไมต่ อ้ งการใหท้ มี นเี้ ข้ามาดแู ล 2. เสียใจเป็น และต้องมีพื้นที่ปลอดภัยให้มีโอกาสได้ระบายความรู้สึก ข้ึนอยู่กับวิธีการของ แต่ละบุคคล 3. รจู้ ักผ่อนคลายและเตมิ เต็ม เตมิ พลังให้พรอ้ มอยู่เสมอ เก็บสุข กลางทุกข์ วธิ คี ิดและแนวทางเปลี่ยนทุกข์... เปน็ สขุ 25

4. พรอ้ มที่จะเผชญิ ตอ่ ความกลัว คนท�ำ งานดา้ น palliative care ตอ้ งเผชญิ หนา้ ตอ่ ความกลวั ตายของผปู้ ่วย ของญาติ และเมอื่ หนั กลบั มามองดตู วั เอง ท�ำ ให้เกดิ กลวั ความทกุ ข์ทรมาน มองเห็นความทุกข์ ความกลัวของตัวเอง ถามตัวเองว่า ถ้าเป็นเรา เราจะเป็นอย่างไร ในขณะท่ีชว่ ยผู้ป่วยที่มคี วามกลัวใหห้ ายจากความกลัว ตัวเองก็ยง่ิ จะกลวั เพราะฉะนน้ั เรา จะตอ้ งดูแลตวั เองเพื่อไม่ให้เกดิ ความกลัว 5. ความสามารถในการส่ือสารและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและครอบครัว พัฒนา ความไวว้ างใจใหผ้ ูป้ ่วยมคี วามเชื่อม่นั ให้เวลาและเป็นผ้ฟู ังท่ดี ี อยู่เปน็ เพอ่ื น 6. การรองรับแรงกดดัน ควบคุมอารมณ์ สุขุม สงบ เพราะผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว มักจะมีปฏิกิริยาต่อการสูญเสียที่รุนแรง ในบางคร้ัง มีความต้องการการประคับประคอง ต้องการการได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว บางคร้ังแสดงอารมณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น โกรธ พูดจาไมส่ ุภาพ ไมย่ อมรับฟัง ด้านคุณรัชวรรณ พยาบาลวิชาชีพอีกท่าน ก็ได้เขียนบันทึกเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญกับความ ไมพ่ อใจ ฉุนเฉียว และผดิ หวังของญาติผ้ปู ว่ ย รวมท้งั ความรู้สกึ เม่อื ตอ้ งสูญเสยี คนไข้ จากใจคนหนา้ งาน ทต่ี อ้ งใช้ความอดทนและสงบจิตใจตนเองจากบันทึกเร่อื ง “วันทีเ่ ขาต้องการฉนั ไปเป็นตัวประกนั ” ของ รัชวรรณ พลศกั ด์ิ (หนา้ 97) ฉันรู้สึกสะเทือนใจทุกครั้งที่สูญเสียคนไข้และหวาดหวั่นใจจนเกิดความเครียด หากญาติ ไม่พงึ พอใจ ฉันตอ้ งใชเ้ วลาอย่กู บั เขาใหเ้ ขาระบายความอัดอั้นจนพอใจ กรณีตัวอย่างในบันทึก ได้กล่าวถึงความโกรธเคืองของญาติผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากเหตุสุดวิสัย เพราะเลอื ดไมแ่ ขง็ ตวั หลงั การผา่ ตดั ซง่ึ แพทยแ์ ละพยาบาลไดพ้ ยายามชว่ ยชวี ติ ไวอ้ ยา่ งสดุ ความสามารถ แล้ว “ฉันไม่ยอมนะ ปลอ่ ยให้หลานชายฉนั ตายได้ยังไง” เธอสง่ สำ�เนียงที่แข็งกร้าวมาทีฉ่ ัน เมอ่ื คนื หมอไมบ่ อกเลยว่า เกิดอะไรขนึ้ ต่ืนเชา้ มา หลานก็ตาย” เธอยงั คงแสดงความโกรธ 26 โครงการจดั การความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เล่ม 2

“ลูกเกิดใหม่ของมัน ใครจะเลีย้ ง โรงพยาบาลตอ้ งรับผิดชอบ” เธอไมย่ อมหยุด แม้ญาติอีกคน จะดงึ แขนให้เธอน่งั ลง วิธีการและทกั ษะท่คี ณุ รัชวรรณใช้รบั มอื กับปัญหาและความทกุ ข์ทเี่ กิดขึ้นกค็ อื 1. ใชค้ วามอดทนและใจเยน็ คอ่ ยๆ แกป้ ญั หา ฉันนัง่ นงิ่ ตัง้ ใจฟังจนเธอคนนนั้ ไมพ่ ดู ต่อแลว้ จงึ ขออนญุ าตพดู บา้ ง ฉันไม่ไดแ้ กต้ ัวใดๆ กลบั เลา่ กระบวนการดแู ลรกั ษาของพวกเราใหก้ บั พวกเขาฟงั ดว้ ยคำ�พดู ทเ่ี นบิ ชา้ เลอื กศพั ท์ ท่ีเขา้ ใจง่าย ดึงญาตคิ นทอี่ ยู่ในเหตุการณ์ใหร้ ว่ มแสดงความคิดเหน็ ญาตสิ องสามคนท่อี ยู่ กับคนไข้เกือบทั้งคืนดูเหมือนเข้าใจฉัน และเป็นคนยืนยันว่า หมอและพยาบาลทำ�ดีที่สุด แลว้ ไม่ไดห้ ลบั ไมไ่ ดน้ อนกนั ทัง้ คืน 2. สื่อสารกับญาติให้เข้าใจตรงกนั และใหข้ อ้ มูลท่จี �ำ เป็นต่อการช่วยเหลือเยยี วยา ฉันรู้สึกโล่งอกเล็กๆ ที่ญาติช่วยฉันไกล่เกล่ีย มันช่วยลดความขัดแย้งลงไปได้บ้าง ผู้หญิง คนนั้นสงบลง ฉันรับปากกับพวกเขาว่าจะช่วยเท่าท่ีจะทำ�ได้อย่างสุดความสามารถ ขอ ส่งเร่ืองและข้อมูลของคนไข้ไปยังผู้รับผิดชอบพิจารณาเร่ืองการชดเฉยค่ารักษาหากช่วย ไดจ้ ะรบี ด�ำ เนนิ การทนั ที ดญู าตจิ ะลดความรนุ แรงลงไปอยา่ งมาก ตา่ งไหวข้ อบคณุ และขอตวั จากไป 3. ยอมรับและปล่อยวางปญั หา ฉันรู้ว่าการจากไปของชีวิตหน่ึงมันเป็นเร่ืองหนักหน่วงของชีวิตที่ยังเหลืออยู่ แต่ก็ใช่ว่า จะเป็นเร่ืองทนี่ า่ ยนิ ดีของทีมดแู ล “ไมม่ ีใครอยากให้มนั เกิดข้ึน” ฉันพดู ขึน้ พรอ้ มบีบมือนอ้ ง (พยาบาลอกี คน) เบาๆ 4. มองปญั หาในแง่บวก และเขา้ ใจความจรงิ ท่เี กิดขึ้น เมฆสีเทาก้อนหนึ่งผ่านไปยังคงมีเมฆสีเทาก้อนใหม่ที่จะเข้ามา เมฆเหล่านั้นจะกลายไป เมฆฝนช่วยหล่อเล้ียงชีวิตหรือจะกลายเป็นพายุท่ีโหมกระหนำ่�ซ้ำ�เติมชีวิตของทั้งเมฆเอง หรอื ผทู้ ค่ี อยเยยี วยาใหก้ ลายเปน็ เมฆสขี าวประกอบฉากทอ้ งฟา้ ใหส้ วา่ งสดใส อยา่ งไรกต็ าม ชวี ติ ทตี่ อ้ งด�ำ เนนิ ตอ่ ไปลว้ นรอคอยและตอ้ งการ “ฟา้ หลงั ฝนทห่ี ลายคนบอกวา่ งดงามเสมอ” เก็บสขุ กลางทุกข์ วธิ คี ิดและแนวทางเปล่ยี นทกุ ข์... เปน็ สุข 27

การเตมิ เตม็ จติ ใจ 10. การค้นพบคุณคา่ จากการท�ำ งานดูแลผูป้ ว่ ยระยะทา้ ย นอกจากการทำ�งานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายจะทำ�ให้ค้นพบคุณค่าของงานแล้ว ยังทำ�ให้คุณสุธีรา พยาบาลวิชาชีพ เกิดความสุขใจและปิติกบั บุญแหง่ การช่วยเหลือผู้อื่น ดังท่ีเขียนไว้ในบันทึกสองเรื่องท่ี เธอเลา่ ว่า เสรจ็ ภารกจิ เชา้ นฉี้ นั รสู้ กึ ถงึ ความสขุ ใจ อม่ิ บญุ ที่ไดส้ ง่ คนไขอ้ กี คนในความดแู ลจนถงึ วาระสดุ ทา้ ย นับเป็นกศุ ลและเปน็ มงคลของชีวติ หลังทำ�หน้าที่ดูแลผู้ป่วย พร้อมให้คำ�แนะนำ�กับญาติอย่างดี และได้มีโอกาสนิมนต์พระสงฆ์ มาทำ�พิธีส่งดวงวิญญาณของผู้ป่วยหลังเสียชีวิต จากเรื่อง “ส่งนางฟ้ากลับสวรรค์” ของ สุธีรา พิมพร์ ส (หนา้ 49) นอกจากน้ียังไดก้ ล่าวถงึ การช่วยใหพ้ ่อแมข่ องทารกแรกเกดิ ทเี่ สียชีวติ ได้ท�ำ บุญปลอ่ ยปลาเพ่อื เยยี วยาความร้สู กึ ทตี่ ้องสูญเสียลกู และความรสู้ กึ ผิดจากการพรากชวี ิตสัตว์ในอดีต จากเรอ่ื ง “ความดที ี่ เยยี วยา” ของ สุธีรา พมิ พร์ ส (หน้า 53) วนั นพ้ี กี บั นดิ (พอ่ และแมข่ องเดก็ ) ก็ไดบ้ อกถงึ ความตอ้ งการดา้ นจติ วญิ ญาณของเขาทงั้ สองวา่ “ผมชอบยิงหัวนก และชอบตกปลา สงสัยกรรมที่ผมเคยฆ่าสัตว์ ทำ�ให้ลูกผมเป็นแบบนี้ ดู หัวลูกผมสิ บวมซะอย่างนน้ั ” “พรงุ่ นีเ้ ปน็ วันเกดิ หนู หนอู ยากทำ�สังฆทาน อยากไถช่ วี ิตสัตว์ เพ่ือเป็นกศุ ลกับตัวเองและลูก หนอู ยากปล่อยปลา จะเป็นไปได้มย้ั พี่กุ้ง” นดิ เอ่ยข้ึนบ้าง “เอาสิ พรงุ่ นี้เลยดีมย้ั ไปท�ำ บญุ ท่ตี ึกสงฆก์ ็ได้ อยู่ใกล้ๆ น่ีเอง สว่ นเร่ืองปลอ่ ยปลาเด๋ยี วจะไป หาซ้อื ปลาให้ เสรจ็ แลว้ ถา้ นดิ ไปไม่ไดก้ ็ใช้วธิ ี อธษิ ฐานแผเ่ มตตา แลว้ พีเ่ อาไปปลอ่ ยให้” 28 โครงการจดั การความรู้ สุขภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2

ฉันไม่ลังเลที่จะช่วยทั้งสองคนในการที่จะทำ�ในสิ่งที่เขาปรารถนา เพราะนี่เป็นเส้นทาง แหง่ บญุ ทฉี่ นั เองกจ็ ะขออาศยั ไปดว้ ย และทกุ ครง้ั ท่ีไดท้ �ำ แบบนก้ี ม็ กั จะบอกตวั เองเสมอวา่ วนั น้ีธนาคารความดีได้เปดิ ท�ำ การแล้ว การทำ�งานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายคืองานที่เป็นบุญกุศลแห่งชีวิตเป็นสิ่งท่ีเติมเต็มจิตใจให้คุณ สุธีรา ผูเ้ ขยี นบนั ทกึ มีแรงใจกา้ วตอ่ ไปบนเสน้ ทางแห่งการช่วยเหลือเยียวยาดงั กลา่ วน้ี เช่นเดียวกับคุณรัชวรรณ ที่ได้ค้นพบคุณค่าจากงานที่ปฏิบัติ กรณีของเด็กหนุ่มชาวลาวท่ีมา ดแู ลพ่อที่ติดเช้ือในกระแสเลอื ด ในบนั ทึกเรอ่ื ง “ด้วยมอื ของลูกชาย” ของ รชั วรรณ พลศักด์ิ (หน้า 75) ถึงเวลาเลิกงานเขามารอผู้เขยี นอยู่หน้าประตูหอ้ ง บอกว่าจะรอไปส่งแมห่ มอที่รถ แมผ้ เู้ ขียน จะสะดดุ กับคำ�วา่ ‘แม่หมอ’ แตก่ อ็ ดยนิ ดไี ม่ได้ ทีเ่ ห็นเดก็ นอ้ ยตาแป๋ว ดใู สซ่ือ ปฏิบตั ิอย่างน้นั พร้อมกับรสู้ ึกดีที่ได้เขา้ ถึงจิตวญิ ญาณของคนไข้และญาติ 11. การได้สมปรารถนาในสิ่งท่ตี อ้ งการจะทำ� หรอื สิ่งที่มคี ณุ ค่าตอ่ จติ ใจ การไดส้ มความปรารถนาทอี่ ยากจะท�ำ ในชว่ งทา้ ยของชวี ติ หรอื ระยะเวลาทเ่ี หลอื อยกู่ บั คนทรี่ กั เป็นส่งิ ที่ช่วยเยียวยา และเตมิ เต็มจิตใจของผปู้ ว่ ยและญาติใหม้ ีความสขุ กบั ช่วงเวลาพิเศษเหล่านน้ั ผปู้ ว่ ยรายหนงึ่ จากบนั ทึกเร่ือง “แมห่ ลบั ใหส้ บายนะคะ” ของ มารยาท สจุ ริตวรกลุ (หน้า 58) ป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ไม่ยอมพูดคุยกับใคร ปฏิเสธที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง เพราะยังทำ�ใจไม่ได้กบั การเจบ็ ปว่ ยและมหี ว่ งกังวล “แม่ทำ�ใจไม่ได้ต่อการเจ็บป่วยและเป็นห่วงสามีและลูกๆ ทุกคนมาก เศร้าโศกเสียใจกับการ ทีจ่ ะต้องจากไปจากคนทีต่ นรัก...” ลูกสาวของเธอบอกกับพยาบาล ตอ่ มาเธอมีก�ำ ลังใจดีขน้ึ จากการไดเ้ ห็นลูกชายบวช และไดส้ วดมนต์ ใส่บาตร เกบ็ สขุ กลางทุกข์ วธิ คี ดิ และแนวทางเปล่ียนทกุ ข.์ .. เป็นสขุ 29

ลกู ชายได้บวชใหก้ ับแม่ไดส้ ำ�เรจ็ เธอได้เหน็ ลกู บวช กม็ ีกำ�ลังใจขึ้น พยาบาลได้พดู คยุ กบั ผ้ปู ่วยบอ่ ยครั้งขนึ้ เธอมีท่าทยี อมรับ พูดคยุ ดว้ ยมากขึน้ ตามลำ�ดบั ...ซัก ถามผู้ป่วยถึงความต้องการในด้านต่างๆ เช่น การใส่บาตร และการฟังเทปหรือซีดีธรรมะ บทสวดมนต์ ในระยะแรกผู้ป่วยปฏิเสธ อีก 2-3 วัน ต่อมาเธอบอกกับลูกว่าต้องการฟังบท สวดมนตเ์ จา้ แมก่ วนอมิ พยาบาลไดจ้ ดั หาบทสวดมนตม์ าให้ และนมิ นตพ์ ระมาใหเ้ ธอได้ใสบ่ าตร ในตอนเช้า เช่นเดียวกับกรณีข้างต้น ผู้ป่วยมะเร็งตับจากบันทึกเรื่อง “บุญสะดุ้ง” ของ เบญจมาส วงศม์ ณวี รรณ (หนา้ 87) ก็ไดบ้ อกถงึ สงิ่ ทป่ี ระทับใจในชวี ติ ในทำ�นองเดยี วกนั ขณะทช่ี วนใหผ้ ปู้ ว่ ยพดู คยุ ท�ำ ใหท้ ราบวา่ เหตกุ ารณท์ ผ่ี ปู้ ว่ ยประทบั ใจคอื การเตรยี มบวชลกู ชาย ซึ่งผู้ป่วยใช้ศัพท์ว่า บุญสะดุ้ง เพราะไม่คาดคิดว่า ลูกชายจะบวช ช่วงเล่าผู้ป่วยเร่ิมหันหน้า มาพูดกับพยาบาลพูดไปยิ้มไป ถึงจุดไหนท่ีไม่คาดคิดว่าจะทำ�ให้งานบวชสำ�เร็จ ผู้ป่วยก็จะย้ิม และบอกวา่ ไมน่ า่ เช่ือว่าจะส�ำ เรจ็ ได้ พยาบาลจึงฟังอย่างตั้งใจ ย้มิ ไปกบั ผ้ปู ว่ ย อีกกรณีหนึ่งเกิดขึ้นกับ แก้ว.. เด็กสาววัยรุ่นที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเร้ือรังซ�ำ้ เป็น คร้ังที่สอง คราวน้ีมะเร็งได้แพร่กระจายและเข้าสู่ระยะท้าย แก้วจึงเปลี่ยนเป้าหมายเป็นการเยียวยา ตามอาการ โดยไม่ต้องการใส่ท่อ ไม่เจาะคอ ไม่ป๊ัมหัวใจ วันหน่ึงแก้วเกิดอาการกำ�เริบจึงถูกส่งตัวมา โรงพยาบาล แมก้ ารมาโรงพยาบาลครง้ั นแี้ กว้ จะรอ้ งขอให้ใสท่ อ่ ชว่ ยหายใจ แตล่ กึ ๆ แลว้ เธอรสู้ กึ เจบ็ ทรมาน และไม่ตอ้ งการการรกั ษาเช่นน้อี กี ในขณะทีพ่ อ่ อยากให้เธอสู้อีกครั้ง (ภายหลงั แพทย์แจง้ ว่ารา่ งกายของ แก้วไมส่ ามารถรับยาได้อีกแลว้ ) รวมทง้ั การใสท่ อ่ ด้วย ในทสี่ ุดแม้แก้วจะยอมใส่ทอ่ อีกครง้ั แต่คุณวีรมลล์ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกับแก้วมานานระหว่างการรักษา ทราบเจตนาของแก้วดีจากการ ประชุมครอบครัวครั้งท่ีแล้ว และสังเกตเห็นท่าทีของเธอที่ไม่ยอมสบตาพ่อ แต่หันมาทางทีมรักษา จึง พดู ข้ึนวา่ 30 โครงการจดั การความรู้ สุขภาวะระยะท้าย เลม่ 2

นกั สังคมฯ: แก้วรูส้ กึ อย่างไรบา้ งท่ีใส่ท่อ แก้ว: เจ็บ ทรมาน พูดไม่ได้ แต่ให้ใส่อกี ก็ได้ นกั สังคมฯ: พอ่ คะ แมค่ ะ ตลอดเวลาสิบปี แก้วสูม้ าตลอดใชไ่ หมคะ แม่เหน็ ความแขง็ แกร่ง ของแก้วใช่ไหม แก้วไม่เคยขาดการรักษา สามารถดูแลตัวเองได้ดี จนมีช่วงที่ โรคสงบยาวนานมาก เมือ่ โรคกลบั มาแก้วก็ยงั สูอ้ ยู่ แมผ้ ลขา้ งเคยี งจะทำ�ใหเ้ จบ็ ก็ตาม พี่คงตอบได้ดีเพราะดูแลกันมาตลอด แก้วสู้เพื่อตัวเองและทุกคนอย่าง เต็มท่ีแลว้ ... นำ�้ ตาแตล่ ะคนค่อยๆ ไหล ทุกคนเงียบ.... พ่อ: ผมสู้ รวู้ า่ เขาสู้ อยากใหล้ กู ส.ู้ ..แตถ่ า้ มนั เหนอ่ื ยมากเจบ็ มาก จะปลอ่ ยมนั ก็ได้ นะลูก พ่อยอม (แล้วพ่อเอามอื ลบู หัวแก้ว) นกั สังคมฯ: ถงึ ตอนนี้ แก้วอยากไดอ้ ะไร อยากให้โรงพยาบาลทำ�ยังไง (แพทยอ์ ธิบายแนวทางการดูแล การสรา้ งความสขุ สบาย การลดความทรมานต่างๆ) แก้ว: หนูอยากกลับบ้าน ไม่ขอใส่ท่ออีกแล้วนะ แก้วจะสวดมนต์ทุกวัน ขอบคุณ ทุกคนนะคะท่ดี แู ลหนมู าอยา่ งดี นักสงั คมฯ: ตกลงทุกคนเหน็ พอ้ งกับแก้วนะคะ เป็นตัวอย่างการเก็บสุขกลางทุกข์จากการยินยอมปล่อยมือคนที่รัก ให้สมปรารถนาอย่างที่ ตอ้ งการ จากบันทกึ เร่ือง “ยินยอมปล่อยมอื ” ของ วีรมลล์ จันทรดี (หนา้ 94) เร่ืองราวของการได้สมปรารถนาช่วยเยียวยาจิตใจให้เก็บสุขกลางทุกข์ ก็ได้เกิดข้ึนกับโรซี่ สาวนอ้ ยชาวอเมรกิ ัน วัย 11 ขวบ ผรู้ ู้สึกเศร้าทพี่ อ่ ของเธอป่วยเป็นมะเร็งระยะสดุ ท้าย และตอ้ งจากไป โดยไม่มีโอกาสจูงมือเธอให้กับเจ้าบ่าวในวันแต่งงาน ลินด์เซด์ เจ้าของสตูดิโอถ่ายภาพได้ฟังเร่ืองราวนี้ เก็บสุข กลางทกุ ข์ วิธคี ิดและแนวทางเปล่ียนทุกข์... เป็นสุข 31

จากการปรับทุกข์ของคุณแม่โรซี่ เม่ือเธอมารับงานถ่ายรูปครอบครัวน้ี เธอจึงวางแผนจัดงานแต่งงาน ให้กับโรซ่ี เพ่อื สานฝันให้เธอมคี วามทรงจ�ำ ท่ีพเิ ศษกบั คุณพ่อเป็นคร้ังสดุ ท้ายตามที่เธอปรารถนา ด้วยการช่วยเหลือของลินด์เซย์และผู้ปรารถนาดีต่างๆ งานแต่งงานจำ�ลองได้ถูกจัดข้ึนอย่าง อบอุ่น โดยมีคุณพ่อของโรซ่ีเป็นผู้จูงมือเธอเข้าพิธีอย่างที่ปรารถนาและอยู่เคียงข้างเธอตลอดงานจาก บนั ทกึ เรอ่ื ง “เก็บสุขกลางทุกขข์ องสาวนอ้ ยโรซ่ี 11 ขวบ” ของ กานดาวศรี ตลุ าธรรมกิจ (หน้า 105) อ้างอิงจาก http://hilight.kapook.com/view/100216 หลังจบงานลินดเ์ ซย์ไดท้ �ำ คลปิ วิดีโอรวมภาพบรรยากาศแสนซงึ้ ในวนั นน้ั ให้กับครอบครัวเมทซ์ “อย่างน้อยโรซ่ีจะได้ใชม้ ันเปน็ ตัวแทนถงึ คณุ พอ่ เม่อื วนั แตง่ งานจริงๆ ของเธอมาถงึ ” เธอมคี วามคดิ วา่ สว่ นใหญแ่ ลว้ คนมกั จ�ำ แตภ่ าพความเจบ็ ปวด หรอื การจากไปของผปู้ ว่ ย มากกวา่ จะคิดถงึ ชว่ งเวลาดีๆ และความสขุ ของวนั เวลาทีม่ อี ยรู่ ว่ มกัน เธอจึงอยากบนั ทกึ ภาพเหลา่ นน้ั ไว้ใหเ้ ปน็ ความทรงจำ�ดๆี อยา่ งสดุ ทา้ ยทจ่ี ะตดิ ตรงึ อยู่ในใจของคนทยี่ งั คงอยตู่ ลอดไป และเธอ กม็ น่ั ใจวา่ สง่ิ ที่เธอและผสู้ นบั สนนุ ผู้ใจดที กุ คนพยายามทำ�ให้โรซ่ีในวนั น้ี จะท�ำ ใหส้ าวนอ้ ย ได้มภี าพความทรงจ�ำ ทม่ี คี วามสุขกับคณุ พ่อ มากกว่าจะจดจำ�แตเ่ ร่อื งราวเศร้าๆ แน่นอน อกี ตวั อยา่ งหนง่ึ ของการไดส้ มปรารถนาเชน่ เดยี วกบั กรณขี องโรซี่ คอื คณุ จรญู ผปู้ ว่ ยมะเรง็ ไต ระยะสดุ ท้ายคนหนึง่ ทอี่ ยากจะมีชวี ิตอยจู่ นถึงวันแต่งงานของลูกสาวในอกี 2 อาทิตยข์ า้ งหน้า “วนั ตายกบั วันแตง่ ไม่รู้วา่ วันไหนจะมากอ่ น” คือประโยคทีเ่ ขาเอย่ ทัง้ นำ�้ ตา ทมี แพทยพ์ ยาบาลพรอ้ มทงั้ ครอบครวั คณุ จรญู จงึ ไดว้ างแผนรว่ มกนั เพอื่ ใหค้ ณุ จรญู สมปรารถนา จากบันทึกเรื่อง “วันตายกับวันแต่ง ไม่รู้ว่าวันไหนจะมาก่อน” ของ คุณกานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ (หนา้ 107) “วันท่ีจัดพิธีแต่งงานช่วงเช้าหลังเสร็จพิธีให้เจ้าสาวและเจ้าบ่าวไปไหว้พ่อที่โรงพยาบาล” ฉัน (ผู้เขียนบนั ทกึ ) เสนอความคิดเห็น 32 โครงการจัดการความรู้ สุขภาวะระยะท้าย เล่ม 2

“ค่ะ เราจะทำ�ตามค�ำ แนะนำ�” คณุ พร (ผ้เู ป็นภรรยา) พูดด้วยนำ้�ตาคลอเบา้ หลังจากการพูดคุยในวันน้ันคุณจรูญไม่มีอาการกระสับกระส่ายหงุดหงิด ผู้ป่วยพักหลับได้ มากขน้ึ วนั แตง่ งานหลงั เสรจ็ พธิ แี ตง่ งานในชว่ งเชา้ เจา้ สาวและเจา้ บา่ วไปเยยี่ มพอ่ ท่ีโรงพยาบาล พ่อได้ ให้พรคู่บ่าวสาวมีความสุขมาก หลังจากเจ้าสาวเจ้าบ่าวกลับไปงานเล้ียงต่อใน ช่วงบ่าย ประมาณ 1 ชั่วโมงคุณจรูญบอกกับทุกคนว่า “พร้อมแล้วท่ีจะจากไป เขา ไมต่ ้องการสายน�้ำ เกลอื และออกซเิ จนให้ปลดสายต่างๆ ออกจากร่างกายเขา” และแล้ว คุณจรูญกจ็ ากไปอยา่ งสงบ 12. การไดส้ มั ผสั ถึงความรัก ความอบอุ่น และความสามคั คีในครอบครัว ความรักในครอบครัว เสมือนพลังโยงใยความอบอุ่น เยียวยาจิตใจของผู้ที่จะจากไปและคนที่ อย่ขู า้ งหลงั นั่นอาจเป็นความสขุ ใจครัง้ สดุ ทา้ ยที่ได้เก็บเก่ียวชว่ งเวลาพเิ ศษร่วมกัน ไดด้ ูแลคนท่รี กั อย่าง ใกล้ชิด และปลดเปลอื้ งพนั ธะหว่ งกังวล กอ่ นทก่ี ารจากลาจะมาถงึ m การใชช้ ่วงเวลาสุดทา้ ยร่วมกันในครอบครวั แม้จะเป็นเวลาเพียงไม่นาน แต่เด็กน้อยที่ชื่อบุญรอดและพ่อแม่ของเขาจากบันทึกเรื่อง “รอยยมิ้ ของพอ่ ตอนจบ” ของ สธุ รี า พิมพร์ ส (หน้า 56) ได้มชี ่วงเวลาพิเศษรว่ มกนั เป็นครัง้ สดุ ท้าย ด้วยการช่วยเหลือของพยาบาลที่คอยกระตุ้นบทบาทของพ่อแม่ในการให้ความรักและความอบอุ่น ช่วย ละลายความรูส้ กึ วา่ กอ่ นท่ีลูกจะเสยี ชวี ติ ยงั ไม่อยากรัก ไม่อยากผูกพนั ให้จางลงในท่ีสุด ขณะน้นั พ่อกบั แม่นง่ั ห่างออกไปและปฏเิ สธท่จี ะมาดบู ญุ รอด แตฉ่ ัน (ผู้เขยี นบันทึก) ไม่ละ ความพยายาม ทจี่ ะเชญิ ชวนใหพ้ อ่ แมเ่ ขา้ มาดแู ลบญุ รอด “คณุ พอ่ คะบญุ รอดกำ�ลงั จะไปแลว้ เคา้ คงดีใจถ้าเคา้ ได้จากไปในออ้ มกอดของพ่อแมเ่ ค้า” เกบ็ สขุ กลางทกุ ข์ วธิ ีคดิ และแนวทางเปล่ียนทกุ ข.์ .. เปน็ สุข 33

ทนั ทีท่พี ดู จบ พอ่ ลุกจากท่นี งั่ กอ่ น และเข้าไปขออมุ้ บญุ รอด พวกเรารีบจัดหาทนี่ ่งั เพื่อให้แม่ เข้ามาน่ังใกล้ๆ เรายังจับอัตราการเต้นของหัวใจของบุญรอด ดูเหมือนหัวใจจะเต้นช้าลง 40 ถงึ 50 คร้ังต่อนาที แตท่ ันทที ี่พอ่ อมุ้ หวั ใจบญุ รอดกลบั มาเต้นแรงอกี ครงั้ ถึง 120 ครง้ั ตอ่ นาที ฉนั รบี ฉวยโอกาสนี้ รบี บอกวา่ เพราะบญุ รอดตน่ื เตน้ ดีใจทพี่ อ่ อมุ้ หวั ใจเลย เต้นแรงเร็วขนึ้ ทันใดนั้นแม่ขยบั เข้ามาเสริมทพั จากน่งั หันหลังไมม่ อง ต่างชชี้ วนให้ กนั ชมจมกู ปาก ช่างเหมือนใคร ฉันแอบเห็นพ่อย้ิมทั้งนำ้�ตาขณะท่ีบรรจงหอมแก้มบุญรอดจากพ่ออุ้มก็สลับให้แม่บ้าง เวลาผา่ นไปประมาณครง่ึ ชวั่ โมงสญั ญาณชพี ทกุ อยา่ งดบั ลง พรอ้ มกบั รา่ งอนั ไรว้ ญิ ญาณของ บญุ รอดหลับพกั อยู่ในอ้อมกอดของพอ่ พรอ้ มกับดวงตะวนั ท่ีลาลับขอบฟา้ m การทค่ี รอบครวั ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชดิ การเอาใจใส่ดูแลผ้ปู ่วยด้วยความรักและใกล้ชดิ ของครอบครัว เปน็ ปัจจยั เชิงบวกประการ หนงึ่ ทช่ี ว่ ยเสรมิ แรงใจใหผ้ ปู้ ว่ ยและญาตเิ ผชญิ กบั เหตกุ ารณต์ รงหนา้ เชน่ ในบนั ทกึ เรอื่ ง “แมห่ ลบั ใหส้ บาย นะคะ” ของ มารยาท สุจรติ วรกุล (หนา้ 58) ทีบ่ รรยายถึงการดูแลผูป้ ว่ ยอย่างใกล้ชิดของลกู ทั้งสอง คน ซึ่งผเู้ ขียนกลา่ วว่า ประทับใจในพลังแห่งความรักของคนในครอบครัว เป็นสิ่งสำ�คัญที่สุดท่ีจะทำ�ให้ผู้ป่วยได้ เผชญิ กบั ความตายไดอ้ ย่างสงบ พยาบาลได้พูดคุยกับลูกสาวของเธอถึงการพูดกับแม่ในขณะที่เธอใกล้เข้าสู่วาระสุดท้าย ในวันต่อๆ มาได้ฝึกให้เธอฝึกการหายใจ โดยการสูดลมหายใจเข้าให้ลึกๆ โดยหายใจเข้า ท้องป่อง หายใจออกยาวๆ จนท้องแฟบลง ให้ผู้ป่วยฝึกลักษณะนี้อยู่เป็นประจำ�ทุกวัน โดยมลี กู ชายและลกู สาวของผปู้ ว่ ยคอยใหก้ �ำ ลงั ใจอยู่ไมห่ า่ ง ผปู้ ว่ ยผอ่ นคลายจากความ เครยี ด ลูกชายและลกู สาวร้สู ึกดขี ึ้นเม่อื เหน็ แม่สงบมากข้นึ ไมก่ ระวนกระวาย เช่นเดียวกับบันทึกเร่ือง “พรุ่งน้ีที่ไม่มีวันมาถึง” ของ เบญจรัตน์ สัจกุล (หน้า 69) ท่ีเขียนบรรยายถึงช่วงเวลาความสุขของครอบครัวเมื่อทุกคนได้มาอยู่ร่วมกันอีกครั้ง ดังปรากฏถึงพลัง ความรัก ความผกู พนั ในหลายข้อความ ตวั อย่างเชน่ 34 โครงการจัดการความรู้ สุขภาวะระยะท้าย เลม่ 2

ชว่ งเวลานั้น ถงึ แม้จะเป็นช่วงเวลาท่แี ม่กำ�ลังเจ็บปว่ ย แต่ฉันรู้สึกว่า มนั กด็ ีนะ เราไม่ได้ กลบั มาอยพู่ ร้อมหนา้ พร้อมตาแบบนตี้ ้ังนานหลายเดอื น ตา่ งกันแคส่ ถานทเี่ ท่าน้นั เอง เปลีย่ นจากท่บี ้านมาอยูท่ ี่โรงพยาบาล... กอ่ นทฉ่ี นั จะเดนิ ทางกลบั กรงุ เทพฯ เนอื่ งจากตอ้ งทำ�ธรุ ะบางอยา่ ง ฉนั และพช่ี ว่ ยกนั อาบน้ำ� เปล่ียนเส้ือผ้าให้แม่ ฉันตัดเล็บมือเล็บเท้าให้แม่ หวีผมให้แม่ ทาแป้งหอมๆ ให้แม่ (ทำ� ทุกอย่างให้ดีท่ีสุดเท่าที่จะทำ�ได้) ก่อนเวลาเดินทางก็น่ังคุยกับแม่ใกล้ๆ สลับกันป้อนข้าว ตักอาหารใหแ้ ม่กบั พ่ชี ายสองคน วินาทนี น้ั เป็นอกี ช่วงเวลาแหง่ ความสุขท่ีเกิดขน้ึ ฉัน อยากหยุดเวลาไว้ตรงน้ันนานๆ อยากใช้เวลาด้วยกันสามคนแม่ลูก แบบน้ีไปเร่ือยๆ จนใกลเ้ วลาเดินทางฉันเข้าไปกอดแม่ หอมแกม้ แม่เหมือนทุกๆ ครั้ง แล้วบอกแม่ว่า “พร่งุ น้ีเจอกันนะแม”่ ส่วนบันทึกเรื่อง “หากไม่มีการเจ็บป่วย ชีวิตคู่อาจล้มไปแล้ว” ของ กัลยวรรธน์ หริ ญั วิทย์ (หน้า 89) กเ็ ปน็ อกี เรอื่ งราวทีแ่ สดงใหเ้ ห็นวา่ พลงั แหง่ รักของครอบครัว การดูแลเอาใจใส่กนั ทำ�ให้เก็บสุขกลางทุกข์ได้ บันทึกนี้ของคุณกัลยวรรธน์ได้บอกเล่าเร่ืองราวระหว่างเธอและสามีที่ป่วยมา นาน 20 กว่าปี เธอใช้ความรักเป็นพลังในการดูแลสามีตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกัน แม้บางช่วงที่เคล้าด้วย ความรสู้ กึ ท้อ เศร้า และยงั ปรากฏร่องรอยของความคิดถึงเม่ือจากไป แตเ่ ธอกเ็ ข้มแขง็ พอทเี่ ดนิ ตอ่ และ เก็บเก่ยี วความรสู้ กึ ทด่ี ีไว้ในหัวใจด้วยพลังของความรัก ดังทเ่ี ธอกลา่ ววา่ ใช้ความรักเป็นตัวผลักดัน ท่ีจะทำ�ให้พ่ีเขาด้วยความเต็มใจ หากตอนนี้คิดย้อนกลับไป มคี วามสุขนะคะ ท่ีได้อยู่ใกลช้ ิดกนั ...หากไมม่ ีการเจบ็ ป่วย ชวี ติ คู่อาจลม้ ไปแล้ว อกี กรณคี อื เรอื่ งราวของผปู้ ว่ ยจากบนั ทกึ เรอื่ ง “บญุ สะดงุ้ ” ของ เบญจมาส วงศม์ ณวี รรณ (หน้า 87) ในใจความช่วงท้ายของการสนทนาระหว่างผู้เขียนบันทึกซึ่งเป็นพยาบาลที่คอยเยียวยาและ เสริมพลงั ให้ผู้ป่วยได้กลา่ วว่าพลังความรกั ของครอบครัวทีด่ แู ลผ้ปู ว่ ยอย่างใกลช้ ดิ เปน็ สว่ นส�ำ คญั ที่ทำ�ให้ ผู้ป่วยมคี วามสขุ ใจ แม้ขณะเผชญิ มะเร็งตบั กอ่ นลากลบั (ผู้เขียนบนั ทกึ ) ถามถงึ ส่ิงทีผ่ ปู้ ว่ ยสัง่ เสยี ไว้กบั สามีและลูกๆ มีอะไรบา้ ง เก็บสุข กลางทกุ ข์ วธิ ีคิดและแนวทางเปล่ยี นทกุ ข์... เป็นสุข 35

ผู้ป่วยบอก ไม่ห่วงอะไรเลยไม่ส่ังเสียอะไรแล้ว ถ้าตัวเองตายก็ไปอยู่อีกภพท่ีสบายจะได้ ไมป่ วดทรมาน คนท่ีอยู่กด็ ำ�เนนิ ชวี ติ ตอ่ ไป พอผปู้ ว่ ยพดู ถงึ ตรงนส้ี ามเี รมิ่ ตาแดงๆ เอามอื จบั ขาของผปู้ ว่ ยเพอ่ื ใหก้ �ำ ลงั ใจ แลว้ คอ่ ย เดินไปเข้าห้องน้ำ�สักพักก็มาร่วมวงสนทนาต่อทำ�ให้พยาบาลได้เรียนรู้ว่าผู้ป่วยวางได้แล้ว จริงๆ ไม่มกี ารส่ังอะไรไม่หว่ งอะไรเพราะทกุ อยา่ งกค็ งดำ�เนินไดเ้ องเป็นไปตามธรรมชาติ สิง่ ที่ท�ำ ให้ผปู้ ว่ ยเข้มแข็งตอ่ สูก้ บั โรคไม่กลัวตายเน่ืองจากความรกั ของครอบครวั พลังความรักของสามแี ละลูกๆ ที่ทำ�ในสิง่ ท่ีผูป้ ่วยชอบ (บวช สวดมนต์ ปฏิบัตธิ รรม) ท�ำ ใหผ้ ปู้ ่วยเกิดความสุขทางใจบนความทุกขท์ างกายจากการเจ็บปว่ ย m การพูดกับผูป้ ว่ ยใหป้ ล่อยวางและหมดห่วง ด้วยพลังแห่งรักในครอบครัว ความหว่ งกงั วลของผปู้ ว่ ย บางครง้ั เปน็ พนั ธะทางใจอนั ส�ำ คญั ทเี่ หนย่ี วรง้ั ความทกุ ข์ไวก้ บั ตวั เอง หรือเกิดกับญาติที่ยังมีสิ่งค้างคา หลายครั้งท่ีความห่วงกังวลนั้นคลายลงได้ด้วยพลังความรักและ สายใยในครอบครวั จากบนั ทกึ เรอื่ ง “แมห่ ลบั ใหส้ บายนะคะ” ของ มารยาท สจุ รติ วรกลุ (หนา้ 58) ไดบ้ นั ทกึ ไว้ว่าครอบครัวของผู้ป่วยสามารถทำ�ให้ผู้ป่วยมีอาการสงบก่อนท่ีจะเสียชีวิตได้ โดยการพูดนำ�ทางและ ปลดเปล้อื งหว่ งกังวลของคนเป็นแม่ ดว้ ยคำ�พดู ของลูกสาว ลกู สาวเร่มิ พดู กับแม่ว่า “แม่นอนหลบั ซะนะ ไมต่ อ้ งห่วงลกู ทกุ คน ลกู ๆ ทุกคนจะรกั กนั มากๆ ไม่ทะเลาะกัน จะดแู ลกันตลอดเวลา และจะชว่ ยกันดแู ลปา๊ ดว้ ย แม่ไปไหว้พระ ใหส้ บายใจนะ เอาเงนิ นี่ (ลกู สาวเอาเงนิ ใสม่ อื แม)่ แม่ไปท�ำ บญุ นะ ใครเรยี กแม่ ไมต่ อ้ ง หันกลับมาดูนะจ๊ะแม่ ลูกๆ ทุกคนโชคดีท่ีได้เกิดมาเป็นลูกของแม่ แม่หลับให้สบาย นะคะ” 36 โครงการจัดการความรู้ สุขภาวะระยะท้าย เลม่ 2

ลกู สาวของผูป้ ว่ ยพูดดว้ ยน�ำ้ เสยี งท่สี มำ�่ เสมอ น่าฟงั และไมส่ ัน่ เครอื หลังพูดจบแม่ของเธอ ได้หายใจแผว่ ลงเร่อื ยๆ และคอ่ ยๆ จากไปอยา่ งสงบ ดว้ ยสหี น้าสงบเหมือนคนนอนหลับ ทา่ มกลางลกู ๆ ที่อยูเ่ คียงข้างจนนาทสี ดุ ท้าย ส่วนในบันทกึ เรอื่ ง “อากงกระสบั กระส่ายไมส่ งบ จะทำ�อยา่ งไรดี (อากงตอนจบ)” ของ กานดาวศรี ตลุ าธรรมกิจ (หน้า 85) ก็ได้เล่าเหตกุ ารณ์ท่ีสะท้อนถึงพลงั ความรกั ของครอบครัวทีท่ �ำ ให้ อากงซึง่ มีอาการกระสับกระส่าย ไม่สงบ ไม่ปิดตา เย็นลงได้และจากไปอย่างสงบในท่ีสุดทา่ มกลางความ รกั ความสามัคคีของลกู หลานทีก่ ล่าวถงึ ความในใจคร้ังสุดท้ายต่ออากงของพวกเขา หมอโอปอเดินเข้าไปกอดอากง “โอปอรักอากงมากท่ีโอปอได้เป็นหมอก็เพราะอากงได้ อบรมส่ังสอนเลี้ยงดูเป็นอย่างดีอากงเป็นแบบอย่างในด้านความเข้มแข็งขยันอดทนและ มุมานะ” หลังจากคุณหมอโอปอพูดจบหลานๆ ที่เป็นเภสัช นักจิต วิศวกร เข้าไปพูดและปฏิบัติ เหมือนอย่างคณุ หมอโอปอ คณุ หลนิ (อาหญงิ ) เรยี กนอ้ งชายคณุ โปง้ (นามสมมต)ิ ลกู ชายอากงคนสดุ ทอ้ งใหม้ ากราบ ทเ่ี ทา้ อากงเพือ่ ขออโหสิกรรม “ป๊า ลกู จะลดการดืม่ สรุ า จะดแู ลสวนยางให้ดแี ละวนั นี้เอา บญั ชีค่าสวนยางมาใหด้ ”ู คุณหลินเรียกคุณหมอโอปอและปูเป้มากราบขอขมาอโหสิกรรมอาโป้งท่ีข้างเตียงอากง “หลานทงั้ สองคนขอขมาขออโหสิกรรมทเ่ี คยได้ล่วงเกินพูดจาไม่ดกี บั อาโปง้ ” บรรยากาศในขณะนั้นเต็มไปด้วยความรักความอบอุ่นฉันรู้สึกประทับใจที่ ได้เห็น ลูกหลานอากงได้ขอขมาขออโหสิกรรมซ่ึงกันและกันแสดงถึงพลังของความรัก และความสามคั คที กุ คนบอกกบั อากงวา่ “จะรกั และชว่ ยเหลอื กนั ” หลงั จากนน้ั อาการ กระสับกระส่ายของอากงลดลงตาเริ่มปิด ในท่ีสุดหลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง อากงกจ็ ากไปอยา่ งสงบ เก็บสขุ กลางทุกข์ วิธคี ดิ และแนวทางเปลี่ยนทกุ ข์... เปน็ สุข 37

อีกบันทึกหนึ่ง เร่ือง “ยังไม่อยากตาย ห่วงลูก” ของ กานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ (หน้า 91) กท็ �ำ ให้เหน็ ชัดถงึ พลังความรกั ในครอบครัวเชน่ กนั เมือ่ ผปู้ ่วยมะเรง็ ลำ�ไส้ระยะสดุ ทา้ ยวัย 39 ปี ที่มีอาการกระสบั กระสา่ ยและเพ้อตลอดตลอดคืนว่า “ยังไมอ่ ยากตาย ห่วงลกู ” “จะตอ้ งตายแน่ๆ แล้ว หรอื น่”ี พอร่งุ ขนึ้ ก็มีอาการซึมเศร้า ทอ้ แท้ ตัวผปู้ ่วยเองมลี ูกสาว 2 คน วัย 9 และ 14 ปี ที่ยงั หว่ ง สว่ น ลกู สาวของเขาเองกเ็ ศร้าไมต่ า่ งกนั ส่ิงทค่ี ุณกานดาวศรที �ำ คือการเขา้ ไปคุยกับญาตผิ ้ปู ่วยถงึ การเตรียม ตัวกบั ส่งิ ทจ่ี ะเกิดขึน้ นี่คอื ใจความตอนหนงึ่ หลังจากคยุ กบั นอ้ งพลอย ลูกสาวคนเล็กของผปู้ ่วย “นอ้ งพลอยทราบไหมค่ะว่าพ่อป่วย” ฉันหันไปถามน้องพลอย “ทราบคะ่ ” นอ้ งพลอยตอบ “ทราบไหมค่ะวา่ พอ่ ป่วยมาก” ฉนั ถามเพอื่ ประเมนิ การรับรู้ของน้องพลอย “ทราบคะ่ ” น้องพลอยตอบพร้อมกบั พยกั หน้าน้ำ�ตาซึม “นอ้ งพลอยรู้สึกอย่างไร” ฉันถามตอ่ “กลวั ...กลัวพ่อตาย” นอ้ งพลอยพดู แล้วน�้ำ ตาซมึ “ถ้าวันหน่งึ พอ่ ตอ้ งไปสวรรค์ น้องจะวา่ ไงค่ะ” ฉันถาม น้องพลอยอ้ึงเงียบเศรา้ น้�ำ ตาซึม ฉันจงึ เข้าไปกอดน้องพลอยพร้อมพดู ว่า “วนั หน่งึ ทกุ ๆ คนต้องไปสวรรค์ ป้าเองกต็ อ้ งไปสวรรค์แตจ่ ะไปชา้ เรว็ ไม่เทา่ กัน แต่การท่ีจะ ไปสวรรค์ไดน้ น้ั ตอ้ งไปดว้ ยจติ ใจทส่ี งบและมคี วามสขุ ถา้ นอ้ งพลอยตอ้ งการใหพ้ อ่ ได้ ไปสวรรค์ให้น้องพลอยบอกกับพ่อว่า พลอยรักพ่อ พ่อไม่ต้องห่วงพลอย พลอยจะ ตัง้ ใจเรยี นหนังสอื เปน็ เด็กดี โตข้นึ พลอยจะดูแลยา่ ไม่ต้องหว่ งยา่ ” 38 โครงการจดั การความรู้ สุขภาวะระยะท้าย เล่ม 2

ในช่วงท้ายของชีวิต แม่ พี่สาว และลูกสาวท้ังสอง ต่างอยู่เคียงข้างผู้ป่วย จนกระท่ัง 1 วนั กอ่ นเสยี ชวี ติ นอ้ งพลอยเขา้ ไปกอดพอ่ แลว้ พดู วา่ “พลอยรกั พอ่ พอ่ ไมต่ อ้ งหว่ งพลอย พลอยจะต้ังใจเรียนหนังสือเป็นเด็กดี โตข้ึนพลอยจะดูแลย่าไม่ต้องห่วงย่า” ญาติๆ ท่ีอยู่ข้างเตียงต่างน้ำ�ตาซึมนึกไม่ถึงว่าน้องพลอยจะพูดเช่นนี้ หลังจากน้ันไม่นาน อาการกระสับกระสา่ ยของคณุ พธุ (ผปู้ ว่ ย)ลดลงสดุ ท้ายจากไปอยา่ งสงบ บทส่งทา้ ย การถอดบทเรยี นครง้ั น้ี เป็นส่วนหน่งึ ของการสงั เคราะห์ประสบการณ์เก่ียวกับการค้นพบความสุข และแงม่ ุมเชิงบวกของผปู้ ว่ ยระยะทา้ ย ครอบครัว และผู้ดแู ล หากเปรียบชีวิตคือการเดินทาง พวกเขาคงได้เดินมาถึงจุดเปล่ียนในชีวิต หรืออาจเป็นจุดหมาย ท่ีสนิ้ สุดสำ�หรบั บางคน แนน่ อน แรกเริม่ อาจไมส่ วยงาม ชวนเศร้าหมองท่ีต้องพบว่าการเดนิ ทางของใคร คนหนง่ึ อนั เป็นท่ีรกั ไดเ้ ดินถงึ จุดสิน้ สุด และกำ�ลงั หยุดลง น่ีคอื เส้นทางที่ขรุขระ ท่ามกลางฟ้าหมน่ แต่ด้วยความหวัง ก�ำ ลังใจ การยอมรบั ปล่อยวาง เตมิ เต็มความรกั และหนั มามองด้านดี แทนท่ี จะยึดติดกับทุกข์ถ่ายเดียว พวกเขาได้ก้าวพ้น และหันกลับมามองความทุกข์ด้วยสายตาที่เข้าใจมากข้ึน ความสวยงามทแี่ ทรกตัวอยู่จงึ ได้ปรากฏ บางครง้ั ความขรุขระอาจเพิ่มความแขง็ แกรง่ ฟา้ ทห่ี มองหมน่ ก็อาจเพมิ่ ความสว่างในใจ นนั่ คอื ส่งิ ทเ่ี ราเลอื กได้ ขึ้นอยกู่ ับวา่ จะเลือกเก็บเก่ียวส่ิงใด และกา้ วเดนิ ตอ่ ไปไดอ้ ย่างไร ไม่ว่าจะเปน็ ชวี ิตที่ต้องเดนิ ต่อ หรอื สดุ ปลายทางแล้วความสุขใจและความสวยงามของชวี ติ เกิดข้ึนไดเ้ สมอ เก็บสุข กลางทุกข์ วธิ ีคดิ และแนวทางเปลี่ยนทกุ ข.์ .. เปน็ สุข 39

เช่นตัวอยา่ งในบันทึกต้นเร่ือง และอกี มากมายรอบตัวเรา นี่อาจไม่ใชส่ ูตรสำ�เรจ็ ทีน่ ำ�ไปใช้กบั ทกุ คน แต่เปน็ บทเรียนเพื่อเรยี นรู้ที่จะเขา้ ใจการจดั การกับชวี ิต ท่ีประสบทุกข์จากการเจ็บป่วยและสูญเสยี อนั ยากจะเลี่ยง ชวี ิตมักเลีย่ งทจ่ี ะทกุ ข์ และหนั เข้าหาสขุ แต่เมือ่ ใดท่ี เก็บสขุ กลางทุกข์ ได้ เมือ่ นั้นไมว่ ่าตอ้ งเจอ กบั อะไร ...เรื่องนั้นก็จะมีมมุ สวยงาม และให้สิ่งมคี า่ กลับมาเสมอ 40 โครงการจัดการความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เล่ม 2

บนั ทกึ ตนเรอ� ง

มรดกล้�ำ คา่ จากพอ่ นงนาท สนธสิ ุวรรณ http://www.gotoknow.org/posts/236742 มรดกที่เป็นทรัพย์ภายในอันล้ำ�ค่ายิ่งกว่าทรัพย์ภายนอก ที่พ่อมอบให้ข้าพเจ้าต้ังแต่ลืมตาเกิดมา จนจ�ำ ความได้ คอื การอบรมสงั่ สอนท้งั ทางโลกและทางธรรม ในรูปแบบคำ�พดู คำ�เขียน และประพฤตใิ ห้ เห็นเปน็ ตวั อยา่ ง ใครๆ ต่างมีพ่อ…ไม่ว่าใครจึงต้องกำ�พร้าพ่อกันทุกคน ไม่ช้าก็เร็ว เมื่อปลายเดือนมีนาคมปีน้ี เพื่อนๆ ได้บอกว่าข้าพเจ้าโชคดีท่ีเพิ่งสูญเสียพ่อวัย 90 ปี ในขณะท่ีข้าพเจ้ามีอายุมากถึง 64 ปีแล้ว ซึง่ นับเปน็ การ ‘ก�ำ พรา้ พอ่ ’ ในเวลาตามควรแกก่ าลของการส้นิ สภาพสงั ขารตามวฏั จกั รแหง่ ธรรมชาติ พอ่ สิ้นลมอย่างสงบด้วยอาการเส้นโลหิตแตกในสมอง หลังจากลม้ ปว่ ยเพียง 11 วัน โดยหมอให้ นอนดูอาการในหอ้ งฉุกเฉนิ ของโรงพยาบาลเอกชนเพียง 3 วัน แลว้ อนุญาตให้ย้ายมาบรบิ าลท่ามกลาง การดูแลของลูกๆ อย่างใกล้ชิดในคลินิกของลูกสาวที่เป็นหมออีก 8 วัน เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสครั้ง สุดท้ายทีพ่ วกเราได้สนองพระคุณท่านอย่างเต็มที่ ในระหว่างนั้น พ่อรู้สติตลอดเวลา และมีพลังจิตแก่กล้าในการพยุงตัวน่ังเพ่ือลุกเข้าห้องนำ้�ด้วย ตนเอง แต่เม่ือผู้พยาบาลไม่ยอมตามใจ เพราะเกรงจะเกิดอุบัติเหตุ พ่อจึงได้ยอมรับสภาพอย่างเข้าใจ รวมถงึ การสงบกายใจนอนพนมมือฟังเทปสวดมนต์และการบรรยายธรรมจากพระสุปฏปิ ันโนทล่ี กู ๆ เปิด ให้ฟงั แกเ้ หงา กอ่ นจะละท้ิงกายจากไปอยา่ งนุ่มนวล เสมือนแสงเทียนค่อยริบหร่ีมอดดับลง เมอื่ สน้ิ ปลาย ไสเ้ ทียน... ไม่มีสายระโยงระยางของกระบวนการทางแพทย์ท่ีจะยื้อยุดฉุดรั้งไว้ ไม่มีเสียงระงมรำ่�ไห้ฟูมฟาย จากผู้ใกล้ชิดทล่ี อ้ มรอบตัวพอ่ ด้วยเพราะพวกเราทุกคนพรอ้ มใจที่จะ ‘ปล่อยวาง’ เพือ่ ให้จิตของพอ่ ท่ีได้ คุณนงนาทกล่าวเพ่ิมเติมว่าส่ิงท่ีทำ�ให้คุณนงนาทสามารถมองการสูญเสียคร้ังสำ�คัญคร้ังนี้ ออกมาเป็นเรื่องราวดีๆ เชิงบวกเชน่ น้ีได้ กค็ อื ประสบการณ์และความเข้าใจในพทุ ธวิถี ทีส่ ะท้อนการรูเ้ ทา่ ทนั ของความจรงิ ในเรอ่ื ง การเกดิ แก่ เจ็บ ตาย ทำ�ให้เราดำ�รงตนในความไม่ประมาทขาดสติ ยอ่ มเตรยี มพร้อมทั้ง กาย วาจา ใจ ท่ีจะเผชิญความ ไม่เท่ยี งแหง่ วฏั สังสารอยูต่ ลอดเวลา และเก็บเกีย่ วคณุ ค่าของความเปน็ ปจั จบุ ันให้ดที ส่ี ดุ 42 โครงการจดั การความรู้ สุขภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2

ฝกึ มาแลว้ อย่างเขม้ แข็งและยาวนานในวิถพี ทุ ธธรรมแหง่ หลัก ‘ไตรลกั ษณ’์ กา้ วไปสกู่ ารปฏสิ นธใิ นภมู ภิ พ ใหม่ตามบุญญาบารมีที่ได้ต้ังปณิธานไว้ โดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังแต่อย่างใด เปรียบด่ังเปลวเทียน สว่างไสวระยบั ตา เมอื่ ยามจดุ เทยี นเล่มใหม.่ .. พ่อและแมส่ ถติ ยอ์ ยู่ในใจใฝ่ฝันถึง เฝ้าคำ�นึงทกุ คนื วนั ไมห่ ักหาย ตอ่ ให้สิ้นจากดนิ ฟ้าชีวาวาย ลูกไมค่ ลายรักแทแ้ นแ่ ก่ใจ หลงั การตายของพอ่ ขา้ พเจา้ ในฐานะลกู คนโต ตอ้ งเปน็ ผจู้ ดั การมรดกตามพนิ ยั กรรมทพี่ อ่ เขยี นสงั่ ไว้ด้วยลายมอื สวยงามเม่อื พ่ออายุ 84 ปี มีทรัพย์ภายนอกท่เี ป็นตัวเงินในบญั ชธี นาคารและที่ดนิ ทพี่ ่อได้ แบ่งสรรอย่างสมเหตสุ มผลและยตุ ธิ รรม ข้าพเจ้ามองผ่านสิ่งเหล่าน้ันไปด้วยความรู้สึกท่ีคงไม่แตกต่างจากทายาททั่วไปที่สมควรสำ�นึกว่า หากขาดความรอบคอบไมร่ ะมัดระวงั ในการบริหารทรัพยต์ กทอดน้ีใหง้ อกเงยสืบตอ่ ไป วนั ใดวันหนง่ึ ข้าง หนา้ ทรัพยท์ ่ีได้มาโดยไม่ไดล้ งทุนลงแรงเอง ย่อมละลายหมดไปได้ในทสี่ ุด ในการจัดทำ�หนังสืออนุสรณ์งานศพของพ่อ ข้าพเจ้ารำ�ลึกได้ว่ายังมีมรดกท่ีเป็นทรัพย์ภายในอัน ล้ำ�ค่ายิ่งกว่าทรัพย์ภายนอกข้างต้นอีกจำ�นวนหนึ่งท่ีพ่อมอบให้ข้าพเจ้าต้ังแต่ลืมตาเกิดมาจนจำ�ความได้ คอื การอบรมสัง่ สอนท้งั ทางโลกและทางธรรม ในรปู แบบค�ำ พดู ค�ำ เขยี น และประพฤติใหเ้ ห็นเป็นตวั อย่าง เปน็ กิจวัตรติดตาตรึงใจยากทจี่ ะลมื เลอื น พอ่ ไดห้ ยิบยน่ื ทรพั ยน์ ้ีให้ โดยเรม่ิ จากบอกเล่าเรอื่ งงา่ ยๆ ไปถงึ เรอ่ื งซบั ซ้อน เรยี บเรยี งรอ้ ยถอ้ ยค�ำ กระชบั ชดั เจน เปน็ รปู ธรรมจากประสบการณ์อันยาวนานของพอ่ ในหลากหลายแนวทาง เช่น m วิถีปฏบิ ัติในการด�ำ รงชวี ติ แบบพอเพยี งบนพื้นฐานของคณุ ธรรมและความเพียร m การรักษาระเบยี บวินัยอย่างสม่ำ�เสมอ m การหมน่ั พัฒนาตนเองเพ่ือประโยชน์แก่ตนและสงั คม m การปลูกฝงั หนทางปฏบิ ัตสิ ู่การพน้ ทกุ ข์ในแนวพทุ ธอรยิ มรรคอย่างเป็นขัน้ ตอน ทรัพยภ์ ายในทีพ่ ่อมอบไว้ใหเ้ หล่าน้ี ขา้ พเจ้าไมห่ วงท่ีจะเก็บไว้เปน็ สมบตั สิ ว่ นตวั เพราะเปน็ ทรัพย์ ท่ี ‘ยิ่งให้ยิง่ ได้’ ไม่มวี นั หมดสิน้ เก็บสุข กลางทุกข์ วิธีคดิ และแนวทางเปลย่ี นทุกข.์ .. เป็นสุข 43

ดังน้ัน ตงั้ แต่พอ่ อายุ 80 ปเี ปน็ ตน้ มา ขา้ พเจ้าจงึ เค่ียวเขญ็ ให้พ่อเขียนประสบการณแ์ ละแนวคิด ทุกดา้ นท่ีพ่อเหน็ วา่ นา่ จะเปน็ ประโยชน์ในการถา่ ยทอดสคู่ นร่นุ หลัง พอ่ ได้อตุ สาหะบันทกึ วันละเลก็ ละน้อย รวบรวมให้ขา้ พเจา้ จดั พมิ พ์หนังสือท่รี ะลกึ ครบอายุ 80 ปี 81 ปี และ 82 ปขี องพอ่ สำ�หรบั แจกลกู หลานอย่างต่อเนอ่ื ง เปน็ ท่ชี ื่นชมของผู้รบั มาก แต่น่าเสียดายท่ีในปีถัดต่อมา พ่อหยุดเขียนโดยบอกข้าพเจ้าอย่างถ่อมตัวว่า “หมดภูมิแล้ว” ขา้ พเจา้ จงึ ถอื โอกาสน�ำ ทรพั ยภ์ ายในสดุ รกั เหลา่ นพ้ี มิ พร์ วมเลม่ ในหนงั สอื อนสุ รณง์ านศพของพอ่ เมอื่ เดอื น กรกฎาคมท่ผี า่ นมา ทกุ บททุกตอนปรากฏเปน็ เนือ้ หาสาระหนาถงึ กวา่ 200 หน้า ซึ่งแขกเหรือ่ เป็นจำ�นวนมากทั้งทร่ี ู้จกั และไม่ร้จู กั พอ่ ได้มนี ้ำ�ใจตอบรบั กลบั มาว่า ดีใจท่ีไดร้ ับแบ่งปันมรดกทางใจน้ี สำ�หรบั ขา้ พเจ้าน้ัน พ่อได้เคยเขยี นโอวาท ‘เตอื นสต’ิ เฉพาะตัวอันสะท้อนหลกั ฆราวาสธรรมเปน็ ของขวัญในโอกาสครบอายุ 60 ปขี องข้าพเจ้า... “พ่อมีลกู คนแรกเป็นผหู้ ญิงรา่ งนอ้ ยน่าเอ็นดู แต่ใหช้ อื่ วา่ ‘ใหญ่’ วนั ขา้ งหน้าจะไดเ้ ป็นใหญ่ มีคน นับหนา้ ถือตา เลยตงั้ ชือ่ จรงิ ว่า ‘นงนาท’ คอื นางผเู้ ปน็ ใหญ่ m เมอื่ เป็นใหญแ่ ล้ว ต้องมีสตกิ �ำ กบั อยูต่ ลอดเวลา จะได้ไม่เผลอวา่ เปน็ ใหญ่แลว้ จมไมล่ ง m ผู้เป็นใหญ่ทีแ่ ทจ้ ริงตอ้ งออ่ นน้อมถ่อมตน เพราะของแทย้ ่อมตกน้ำ�ไมไ่ หล ตกไฟไมไ่ หม้ m ผเู้ ปน็ ใหญย่ อ่ มพดู น้อย พดู แต่เร่ืองมีสาระ m ผเู้ ป็นใหญ่ยอ่ มกลา่ วออ่ นหวานต่อผ้มู ีทุกข์ เขาจะได้เปน็ สขุ ช่นื ใจ m ผู้เป็นใหญ่ย่อมด�ำ รงในหลักพรหมวหิ าร m ผู้เปน็ ใหญ่ย่อมแสวงหาความร้ทู ง้ั ทางโลกและทางธรรม และประจกั ษแ์ จ้งในไตรลกั ษณ์วา่ ... ทุกสิ่งในโลกย่อม อนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกส่ิงย่อมทุกขัง เป็นทุกข์มากบ้าง น้อยบ้าง ทุกสง่ิ ย่อมเปน็ อนัตตา แมแ้ ต่ร่างกายก็ไม่ใช่ตัวตนของเรา มันเป็นตัวตนของสตั ว์โลก แต่เรา คือ จิต เขา้ ไปอาศัยอยู่ และยึดถอื เป็นตัวตนของเรา พระพุทธเจา้ สอนใหป้ ลอ่ ยวาง เพื่อให้ เกิดความวา่ ง มีความสุข…” ลกู เขียนบนั ทึกน้ี ในวันพอ่ แหง่ ชาตใิ นปที ่พี อ่ จากลูกไปแลว้ เพื่อขอนอ้ มร�ำ ลึกถงึ พระคณุ อนั ใหญ่ หลวงของพอ่ ท่ีรกั และเคารพบูชา ผูเ้ ปน็ พรหมของบุตรตลอดชัว่ นิจนิรนั ดร (5 ธนั วาคม 2551) 44 โครงการจัดการความรู้ สขุ ภาวะระยะทา้ ย เลม่ 2


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook