Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้ เรื่องพลังงานทดแทน

ใบความรู้ เรื่องพลังงานทดแทน

Description: ใบความรู้ เรื่องพลังงานทดแทน

Search

Read the Text Version

ใบความรู้ วชิ าพลงั งานทดแทนและสภาวะโลกรอ้ น (พว03032) เรอ่ื ง พลงั งานทดแทน สงั กัด กศน.อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ใบความรู้ เรื่องพลังงานทดแทน วิชา พลงั งานทดแทนและสภาวะโลกร้อน (พว03032) ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย 1. ความหมายของพลังงานทดแทน 1.1 พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มา เปน็ 2 ประเภท คอื พลงั งานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แลว้ หมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสนิ้ เปลอื ง ไดแ้ ก่ ถา่ นหนิ ก๊าซ ธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึง่ เป็นแหล่งพลงั งานที่ ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรยี กว่า พลังงานหมนุ เวียน ไดแ้ ก่ แสงอาทติ ย์ ลม ชีวมวล นำ้ และไฮโดรเจน เปน็ ตน้ ซึง่ ในท่นี ีจ้ ะขอกล่าวถึงเฉพาะศักยภาพ และสถานภาพการใชป้ ระโยชนข์ องพลงั งานทดแทน การศกึ ษาและ พัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงาน ทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชนอ์ ย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมคี วามเหมาะสมท้งั ทางดา้ นเทคนคิ เศรษฐกจิ และสังคม 1.2 ประเภทของพลงั งานทดแทน พลงั งานแสงอาทิตย์ เกิดจากปฏกิ ริ ิยาฟวิ ชัน่ ของดวงอาทิตย์ จะปล่อยพลังงานออกมาในรปู คล่ืนแม่เหลก็ ไฟฟ้า ที่เรียกว่า รังสีแสงอาทิตย์ (Solar Radiation) รังสีนี้จะแพร่กระจายออกทุกทิศทุกทาง โลกของเราก็ได้รับอิทธิพล ของรังสีนี้โดยมีความเข้มของรังสีที่ตกลงบนผิวโลกประมาณ 961-1,191 วัตต์ต่อตารางเมตร หรือคิดเป็นพลังงาน ประมาณ 2,000-2,500 กิโลวตั ต์ชั่วโมงตอ่ ตารางเมตรตอ่ ปี “เซลลแ์ สงอาทติ ย์”เปน็ ส่ิงประดษิ ฐท์ ่สี รา้ งข้ึนเพ่ือเป็นอุปกรณ์สำหรับการเปล่ยี นพลงั งานแสง ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึง่ ตัวนำ เช่น ซิลิคอน ซึ่งมีราคาถูกทีส่ ดุ และมีมากที่สุดบนพืน้ โลก นำมาผ่าน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธ์ิ และในทันทีที่มีแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของ แสงทมี่ อี นุภาคของพลงั งานประกอบ ทเ่ี รยี กวา่ Proton จะถ่ายเทพลงั งานให้กับ Electron ในสาร ก่ึงตัวนำจนมี พลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของ Atom และสามารถเคลอ่ื นท่ีไดอ้ ย่างอสิ ระ การใช้เซลล์แสงอาทติ ยใ์ นประเทศไทย ประเทศไทยได้เรม่ิ มีการใชง้ านจากเซลล์แสงอาทิตย์ เม่ือปี พ.ศ. 2519 โดยหนว่ ยงาน กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิแพทย์อาสาฯ มีจำนวนประมาณ 300 แผง แต่ละแผงมีขนาด 15/30 วัตต์ และ นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีนโยบายและแผนระดับชาติด้าน เซลล์แสงอาทิตย์ บรรจุลงใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ได้ติดตั้ง ใช้งาน อย่าง จริงจัง ในปลายปีของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) โดยมี กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมโยธา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่เป็นหน่วยงานหลัก ในการนำเซลล์แสงอาทิตย์ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้งาน ในด้านแสงสว่าง ระบบโทรคมนาคม และเคร่ืองสูบนำ้

พลังงานลม คือ พลังงานจลน์ชนิดหนึ่งเกดิ จากการท่ีอากาศเคล่ือนทีท่ ีเ่ รียกว่า กระแสลม เมื่อนำกระแส ลมมาพัดผ่านใบกังหัน จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานจลน์ไปสู่ใบกังหันทำให้กังหันหมุนรอบแกนซึ่งสามารถนำ พลงั งานจากการหมนุ ของกงั หันน้ีถา่ ยทอดตอ่ ไปใช้งานได้ เชน่ หมุนเครอื่ งกำเนดิ ไฟฟ้า พลังงานลม เกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศ จากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนท่ี การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธพิ ลตอ่ สภาพลมฟา้ อากาศในบางพนื้ ที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝ่ังทะเลอันดามันและด้าน ทะเลจีน(อ่าวไทย) มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศกั ยภาพของพลงั งานลมทสี่ ามารถ นำมาใช้ประโยชนไ์ ด้สำหรับประเทศไทย มคี วามเร็ว อยู่ระหวา่ ง 3 - 5 เมตรต่อ วินาที และความเขม้ พลงั งานลมทป่ี ระเมินไว้ได้อยรู่ ะหว่าง 20 - 50 วัตตต์ อ่ ตารางเมตร พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานท่ีเกดิ จากการแตกตัว หรอื รวมตวั ของนิวเคลยี สของอะตอม หรือจากการ ไม่เสถียรของไอโซโทปของธาตุ โดยปฏิกิริยาแตกตัว เรียกว่า ปฏิกิริยาฟิชชั่น ปฏิกิริยารวมตัว เรียกว่า ปฏิกิริยา ฟวิ ชัน่ พลงั งานนิวเคลียร์นีเ้ ปน็ พลงั งานที่มปี รมิ าณมากเม่ือเทยี บกบั มวลทีใ่ ช้ สามารถใช้เปน็ พลงั งานทีส่ ำคญั ในการ ผลิตความร้อนเพื่อใช้ในการผลิตกำลงั ไฟฟ้าได้ สำหรับพลังงานนิวเคลียรท์ ี่นำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าในปจั จบุ ัน จะเปน็ พลังงานที่เกดิ จากปฏกิ ริ ยิ าแตกตัวในเตาปฏกิ รณน์ ิวเคลยี ร์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก โดย ปกติแล้ว อุณหภูมิภายใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก กล่าวคือยิ่งลึกลงไปอุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น และในบริเวณ สว่ นล่างของชัน้ เปลือกโลก (Continental Crust) หรือทค่ี วามลึกประมาณ 25-30 กโิ ลเมตร อณุ หภูมิจะมีค่าอยู่ใน เกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ 250 ถึง 1,000 องศาเซลเซียล ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 3,500 ถึง 4,500 องศาเซลเซียส พลังงานความร้อนใต้พิภพ มักพบในบริเวณที่เรียกว่า Hot Spots คือบริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจาย ของความร้อนจากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดินมากกว่าปกติ และมีค่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก (Geothermal Gradient) มากกวา่ ปกตปิ ระมาณ 1.5-5 เท่า เนือ่ งจากในบรเิ วณดงั กลา่ ว เปลอื กโลกมกี ารเคล่ือนที่ ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน ปกติแล้วขนาดของแนวรอยแตกที่ผิวดินจะใหญ่และค่อยๆ เล็กลงเมื่อลึกลงไปใต้ผิว ดิน และเมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณน้ัน ก็จะมีน้ำบางส่วนไหลซึม ลงไปภายใต้ผิวโลกตามแนวรอยแตกดังกล่าว น้ำ นั้นจะไปสะสมตัวและรับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อนจนกระทั่งน้ำกลายเป็นน้ำร้อนและไอน้ำ แล้วจะ พยายามแทรกตัวตามแนวรอยแตกของชั้นหินขึ้นมาบนผิวดิน และปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อน, น้ำพุร้อน, ไอนำ้ ร้อน, บ่อโคลนเดอื ด เปน็ ต้น พลังงานชีวมวล เป็นพลังงานเชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือสิ่งมีชีวิตเช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้า เศษเหลอื ทง้ิ จากการเกษตร เหลา่ น้ีใชเ้ ผาให้ความรอ้ นได้ และความร้อนนีแ้ หละทีเ่ อาไปปั่นไฟ นอกจากน้ี ยงั รวมถงึ มลู สตั วแ์ ละของเสียจากโรงงานแปรรปู ทางการเกษตร เชน่ เปลือกสบั ปะรดจากโรงงานสับปะรดกระป๋อง หรือน้ำเสียจากโรงงานแป้งมัน ที่เอามาหมักและผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่าง กว้างขวาง วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กากมะพร้าว ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้ น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีของ

โรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาลขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆใน ประเทศ ในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation)ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่ง ในต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าว แล้วจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึง การใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นบั ล้านไร่ สำหรับผลิตผลจาก ชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เปน็ เชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกอฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน(Gasifier) ก๊าซจากการหมักเศษวัสดุเหลือจาก การเกษตร(Bio Gas) ขยะ ฯ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้ เชน่ กัน ขอ้ เสยี ของพลังงานชวี มวล แม้จะใช้เยอะแตไ่ ด้พลงั งานนิดเดียว ถ้าจะเอาไม้มาเปน็ เช้อื เพลิงป่นั ไฟ กต็ ้องใช้ ปา่ เป็นบริเวณหลายหม่ืนหลายแสนไร่ จงึ ไมเ่ หมาะกับการผลิตไฟฟ้าเยอะๆ แต่เหมาะกับการใช้ในครัวเรือนและใน ชนบทห่างไกลมากกว่า พลังงานถ่านหิน ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีความสำคัญ ข้อเด่นของถ่านหิน คือ มีราคาถูก มี เสถียรภาพ การขนส่งปลอดภัย และมีปริมาณสำรองมาก เมื่อเทียบกับก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน คือ มีปริมาณ สำรองถ่านหินโลกถึง 909 พันล้านตัน พอใช้ไปได้อีก 155 ปี และพบแหล่งถ่านหินในทุกทวีป กระจายอยู่กว่า 70 ประเทศทั่วโลก ในขณะที่น้ำมันและก๊าชธรรมชาติมีปริมาณสำรองพอใช้ได้ 40.6 และ 65.1 ปี ตามลำดับ ( BP ,2006 ) แม้วา่ ถา่ นหินจะเป็นเชอ้ื เพลิงที่สะอาดน้อยกวา่ กา๊ ชธรรมชาตแิ ละน้ำมัน

2. กระบวนการเปล่ยี นรูปพลังงาน กระบวนการเปล่ียนรปู พลังงานแสงอาทติ ย์เปน็ พลังงานไฟฟา้ หลักการทำงานของเซลล์แสงอาทติ ย์ การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นขบวนการเปลี่ยนพลังงานแสง เป็นกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเม่ือ แสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงาน กระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงจะทำให้เกิด การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า (อิเล็กตรอน)ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงสามารถต่อ กระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้ โดย เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบ เซลล์แสงอาทิตย์จะเกิดการสร้างพาหะ นำ ไฟฟา้ ประจุลบและบวกขึ้น ไดแ้ ก่ อเิ ล็กตรอน และโฮล โครงสรา้ งรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สรา้ งสนามไฟฟ้าภายใน เซลล ์เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบและพาหะ นำไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติ ที่ฐานจะ ใชส้ ารกง่ึ ตวั นำชนิดพี ขัว้ ไฟฟา้ ด้านหลังจึงเปน็ ขั้วบวก สว่ นด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวนำชนิด เอ็น ข้ัวไฟฟ้า จึงเป็นขั้วลบ) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิด กระแสไฟฟา้ ไหลข้ึน ซึ่งสามารถแสดงรปู หลกั การทำงานไดด้ งั รปู ที่ 6 กระบวนการเปล่ียนรปู พลงั งานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานความร้อน

เครือ่ งทำนำ้ รอ้ นพลงั งานแสงอาทติ ย์ เป็นผลิตภัณฑป์ ระหยดั พลงั งานซึง่ ได้ความร้อนจากพลงั งาน แสงอาทิตย์ เพื่อชว่ ยลดการใช้พลงั งานไฟฟ้าในการทำน้ำร้อนในครัวเรอื น ซ่ึงได้น้ำร้อนฟรี สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ตา่ ง ๆ ได้มากมาย เชน่ ใช้น้ำร้อนเพอื่ การอุปโภค สว่ นประกอบ เคร่ืองทำนำ้ รอ้ นพลังงานแสงอาทติ ย์ เคร่ืองทำนำ้ รอ้ นพลังงานแสงอาทติ ย์ ประกอบดว้ ย สว่ นสำคญั 2 สว่ น คือ 1. แผงรับแสงอาทติ ย์ ( Flat Plate Solar Collector ) 2. ถังเกบ็ น้ำร้อน ( Thermal Storage Tank )

แผงรับแสงอาทิตย์ ทำหนา้ ที่สำหรบั รับและถา่ ยเทความร้อนท่ไี ด้จากดวงอาทิตย์ให้กับนำ้ มีสว่ นประกอบสำคญั ดังน้ี - กระจกปิดด้านบน ใชก้ ระจกนิรภัย (Tempered Glass) ตามมาตรฐาน มอก. หนา 4.0 มม. สามารถทน ต่อแรงกระแทกไดเ้ ปน็ อยา่ งดี - แผ่นดูดรังสี ผลิตจากแผ่นอลูมิเนียมรีดขึ้นรูป เคลือบด้วยสารเลือกรังสี (Selective Surface) ซึ่งมี คณุ สมบตั ใิ นการดูดรงั สี (Absorptance) สงู กว่า 93.87 % และมีค่าการแผร่ ังสี (Emittance) ต่ำกวา่ 12.29 % จงึ ทำใหแ้ ผ่นดดู รงั สมี ีประสิทธิภาพสงู กวา่ แผน่ ดูดรงั สที ั่วไป ปอ้ งกนั การสูญเสียความรอ้ นดว้ ยฉนวนใยแกว้ - ท่อน้ำภายในแผง ใช้ท่อทองแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2\" รีดอัดติดกับแผ่นดูดรังสีเชื่อมต่อกับ ท่อ ร่วมขนาด 7/8\" ซึ่งเจาะรูแบบขึ้นขอบเพื่อเพิม่ ความแขง็ แรงในการเชื่อม เป็นผลให้มีประสทิ ธิภาพสูง ถ่ายเทความ ร้อนได้ดี ทนต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิม และรับแรงดันได้สูงถงึ 10 กิโลกรัมตอ่ ตารางเซนติเมตรฉนวนความร้อน ใช้ไมโครไฟเบอร์แบบติดอลูมิเนียมฟอยล์ ชนิดทนอุณหภูมิได้สูงกว่า 120 องศาเซลเซียส ทำให้มีอายุการใช้งานท่ี ยาวนาน ลดการสญู เสยี ความร้อนได้เปน็ อย่างดี - กรอบแผงรบั แสงอาทิตย์ ทำจากอลมู ิเนยี มรดี ขึ้นรูป ชบุ ดว้ ยไฟฟ้าสชี าทอง ใหค้ วามคงทนและสวยงาม - ถงั นำ้ รอ้ น ทำด้วยสแตนเลสไมเ่ ปน็ สนิม สามารถทนความดันได้สูงกวา่ 6 กโิ ลกรัมตอ่ ตารางเซนติเมตร - ภายในถัง ออกแบบใหส้ ามารถเกบ็ และจ่ายน้ำรอ้ น โดยไม่ปนกับนำ้ เยน็ ที่ไหลเข้าไป สามารถเกบ็ น้ำรอ้ น ไวไ้ ดน้ าน เนอื่ งจากหุ้มดว้ ยฉนวนใยแก้ว หนา 2 นิว้ - ภายนอกถงั หุ้มด้วยแผน่ อลูมเิ นยี มขึน้ รปู ให้ความคงทนและแขง็ แรง - ปิดด้วยฝาคลอบสแตนเลส ไม่เปน็ สนิม

หลักการทำงาน เคร่ืองทำนำ้ ร้อนพลังงานแสงอาทติ ย์ หลักการทำงานของเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ใช้หลักการทางธรรมชาติที่เรียกว่า “Thermosyphon” กล่าวคือ น้ำร้อนจะลอยขึ้นในขณะที่น้ำเย็นจะไหลลงข้างล่าง จากรูปภาพ น้ำเย็น ใน ส่วนล่างของถังเก็บน้ำจะไหลลงสู่ส่วนล่างของแผงรับแสงอาทิตย์ น้ำเย็นเหล่าน้ีจะได้รับความร้อนจากพลังงาน แสงอาทติ ย์ที่ตกกระทบกบั แผง เม่ือน้ำร้อนมอี ณุ หภูมสิ ูงกจ็ ะลอยตวั ขึ้นไปตามท่อทองแดงท่ีอยู่ในแผง ไหลกลับเข้า ไปสู่ถังเก็บนำ้ และลอยตวั ข้ึนไปสู่สว่ นบนของถังเกบ็ น้ำร้อน เปน็ นำ้ ร้อนท่พี รอ้ มจะนำไปใช้ได้

กระบวนการเปล่ียนรูปพลังงานลมเปน็ พลังงานไฟฟา้ หลักการทำงานของกังหันลมผลิตไฟฟ้านั้น เมื่อมีลมพัดผ่านใบกังหัน พลังงานจลน์ที่เกิดจากลมจะทำให้ ใบพดั ของกงั หันเกิดการหมุน และไดเ้ ป็นพลังงานกลออกมา พลังงานกลจากแกนหมนุ ของกังหนั ลมจะถูกเปล่ียนรูป ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่กับแกนหมุนของกังหันลมจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบ ควบคมุ ไฟฟา้ และจ่ายกระแสไฟฟ้าเขา้ สู่ระบบต่อไป โดยปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขน้ึ อยกู่ ับความเร็วของลม ความ ยาวของใบพัด และสถานทีต่ ดิ ตง้ั กังหนั ลม 1. ใบพัด เป็นตัวรับพลังลมและเปลี่ยนใหเ้ ปน็ พลงั งานกล ซึ่งยดึ ติดกับชุดแกนหมุนและสง่ แรงจากแกน หมุนไปยงั เพลาแกนหมนุ 2. เพลาแกนหมนุ ซึ่งรบั แรงจากแกนหมุนใบพัด และสง่ ผ่านระบบกำลัง เพ่ือหมนุ และป่ันเครื่องกำเนิด ไฟฟ้า 3. หอ้ งส่งกำลัง ซงึ่ เปน็ ระบบปรับเปลยี่ นและควบคุมความเรว็ ในการหมุน ระหวา่ งเพลาแกนหมนุ กับเพลา เครอ่ื งกำเนดิ ไฟฟ้า 4. หอ้ งเคร่ือง ซ่ึงมีขนาดใหญ่และมคี วามสำคัญต่อกังหนั ลม ใชบ้ รรจุระบบตา่ งๆ ของกังหันลม เชน่ ระบบ เกยี ร์ เคร่ืองกำเนิดไฟฟา้ เบรก และระบบควบคุม 5. เคร่ืองกำเนดิ ไฟฟ้า ทำหน้าท่เี ปล่ยี นพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟา้ 6. ระบบควบคุมไฟฟา้ ซงึ่ ใชร้ ะบบคอมพิวเตอรเ์ ป็นตัวควบคุมการทำงาน และจา่ ยกระแสไฟฟ้าเข้าสรู่ ะบบ 7 . ระบบเบรค เปน็ ระบบกลไกเพื่อใช้ควบคุมการหยดุ หมนุ ของใบพดั และเพลาแกนหมุนของกังหนั เมื่อ ไดร้ ับความเรว็ ลมเกินความสามารถของกังหนั ทจ่ี ะรับได้ และในระหว่างการซ่อมบำรงุ รักษา 8 . แกนคอหมนุ รับทศิ ทางลม เป็นตัวควบคมุ การหมุนห้องเครื่อง เพื่อให้ใบพัดรับทศิ ทางลมโดยระบบ อิเลก็ ทรอนิคส์ ที่เช่ือมต่อใหม้ ีความสัมพันธ์ กับหางเสือรับทิศทางลมทอี่ ยู่ดา้ นบนของเคร่ือง 9 . เครื่องวัดความเร็วลมและทศิ ทางลม ซง่ึ เชื่อมต่อสายสัญญาณเข้าสู่ระบบคอมพวิ เตอร์ เพื่อเป็นตวั ช้ี ขนาดของความเร็วและทิศทางของลม เพ่ือทคี่ อมพวิ เตอรจ์ ะได้ควบคุมกลไกอื่นๆ ไดถ้ ูกต้อง 10 . เสา ซง่ึ ตง้ั อยทู่ ่ีพน้ื ท่ีทท่ี ำการก่อสรา้ งอยา่ งถูกวธิ ตี ามหลกั วศิ วกรรม และเป็นตวั แบกรบั ส่วนท่ีเปน็ ตัวเคร่ืองท่ีอยขู่ า้ งบน

3. การนำพลงั งานทดแทนไปใช้ประโยชน์ การผลิตไฟฟ้าดว้ ยเซลล์แสงอาทติ ย์ การผลิตกระแสไฟฟา้ ดว้ ยเซลลแ์ สงอาทติ ย์แบบอิสระ (PV Stand alone) เปน็ ระบบผลติ ไฟฟ้าทไี่ ด้รับการ ออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นท่ี ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบทีสำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์ แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้า กระแสสลับ แบบอสิ ระหรอื อินเวอร์เตอร์ (Inverter) แหลง่ ทม่ี าข้อมลู บทเรียน วทิ ยาศาสตรอ์ อนไลน์ ศูนยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พื่อการศึกษาขอนแก่น http://www.kksci.com/elreaning/prarang_t/e-tan_1.htm

108 วิธปี ระหยดั พลังงาน อีกหนทางช่วยชาตขิ องคนไทย วิธีประหยดั นำ้ มัน 1. ตรวจตราลมยางเปน็ ประจำ เพราะยางท่ีออ่ นเกนิ ไปนัน้ ทำใหส้ ้นิ เปลืองน้ำมนั มากกวา่ ยางท่ีมปี รมิ าณ ลมยางตามท่ีมาตรฐานกำหนด 2. สับเปลยี่ นยาง ตรวจต้งั ศนู ย์ล้อตามกำหนด จะช่วยประหยัดน้ำมันเพ่ิมข้นึ อีกมาก 3. ดบั เครื่องยนต์ทุกครงั้ เม่ือต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครอ่ื งทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสยี น้ำมนั ฟรๆี 200 ซี ซี 4. ไม่ควรตดิ เคร่ืองทง้ิ ไวเ้ มอื่ จอดรถ ใหด้ ับเครอื่ งยนตท์ กุ ครั้งทข่ี น้ึ ของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการตดิ เครอื่ งท้งิ ไว้ เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอกี ดว้ ย 5. ไม่ออกรถกระชากดังเอ๊ียด การออกรถกระชาก 10 คร้ัง สูญเสียน้ำมนั ไปเปล่าๆ ถึง 100 ซซี ี น้ำมนั จำนวนน้รี ถสามารถวิ่งได้ไกล 700 เมตร 6. ไม่เร่งเครือ่ งยนต์ตอนเกียร์วา่ งอยา่ งทเี่ ราเรียกกันตดิ ปากว่าเบิล้ เครือ่ งยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสยี นำ้ มนั ถึง 50 ซีซี ปรมิ าณนำ้ มนั ขนาดนีร้ ถวิง่ ไปไดต้ ั้ง 350 เมตร 7. ตรวจตง้ั เครือ่ งยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเชค็ เคร่อื งยนต์สม่ำเสมอ เช่น ทำความสะอาดระบบไฟจดุ ระเบดิ เปลย่ี นหวั คอนเดนเซอร์ ตง้ั ไฟแก่อ่อนให้พอดี จะช่วยประหยัดนำ้ มันได้ถึง 10% 8. ไม่ต้องอนุ่ เครื่อง หากออกรถและขบั ชา้ ๆ สัก 1-2 กม. แรกเครอื่ งยนต์จะอ่นุ เอง ไม่ตอ้ งเปลืองน้ำมันไป กับการอุ่นเครื่อง 9. ไม่ควรบรรทุกนำ้ หนักเกนิ พกิ ัด เพราะเครอ่ื งยนตจ์ ะทำงานตามนำ้ หนกั ที่เพิ่มขึ้น หากบรรทกุ หนกั มาก จะทำใหเ้ ปลืองน้ำมันและสกึ หรอสงู 10. ใชร้ ะบบการใช้รถร่วมกนั หรอื คาร์พลู (Car pool) ไปไหนมาไหน ทห่ี มายเดยี วกัน ทางผา่ นหรือ ใกลเ้ คยี งกัน ควรใชร้ ถคนั เดียวกนั 11. เดินทางเทา่ ทีจ่ ำเป็นจริงๆ เพ่อื ประหยดั นำ้ มัน บางคร้ังเรอื่ งบางเรื่องอาจจะตดิ ตอ่ กันทางโทรศัพทก์ ็ได้ ประหยดั นำ้ มนั ประหยัดเวลา 12. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บา้ นหรือใกล้ๆ ท่ที ำงาน อาจจะเดินหรือใชจ้ ักรยานบ้าง ไม่จำเป็นตอ้ งใช้ รถยนต์ทกุ คร้งั เป็นการออกกำลงั กายและประหยัดนำ้ มนั ด้วย 13. ก่อนไปพบใคร ควรโทรศัพทไ์ ปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเทย่ี ว ไมเ่ สียเวลา ไม่เสียนำ้ มัน ไปโดยเปลา่ ประโยชน์ 14. สอบถามเสน้ ทางที่จะไปใหแ้ น่ชดั หรอื ศกึ ษาแผนท่ีใหด้ ีจะได้ไมห่ ลง ไมเ่ สียเวลา ไมเ่ ปลืองน้ำมันใน การวนหา 15. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณยี ์ อนิ เตอร์เนท็ หรือใชบ้ ริการสง่ เอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพอื่ ประหยัดน้ำมัน 16. ไม่ควรเดินทางโดยไมไ่ ด้วางแผนการเดนิ ทาง ควรกำหนดเสน้ ทาง และช่วงเวลาการเดนิ ทางที่ เหมาะสมเพื่อประหยัดนำ้ มนั

17. หมน่ั ศึกษาเสน้ ทางลัดเขา้ ไว้ ช่วยใหไ้ มต่ ้องเดนิ ทางยาวนานไม่ต้องเผชญิ ปัญหาจราจร ช่วยประหยัด ทัง้ เวลาและประหยดั นำ้ มัน 18. ควรบบั รถดว้ ยความเร็วคงที่ เลือกขบั ท่ีความเร็ว 70-80 กโิ ลเมตรตอ่ ชว่ั โมงท่ี 2,000-2,500 รอบ เคร่อื งยนต์ ความเรว็ ระดับนี้ ประหยดั นำ้ มันไดม้ ากกวา่ 19. ไม่ควรขับรถลากเกยี ร์ เพราการลากเกียรต์ ่ำนานๆ จะทำใหเ้ คร่อื งยนต์หมนุ รอบสูงกินนำ้ มันมาก และ เครือ่ งยนตร์ ้อนจัดสึกหรอง่าย 20. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำใหเ้ คร่อื งยนต์ทำงานหนักขนึ้ เชน่ การทำใหเ้ กดิ การต้านลมขณะว่ิง หรอื ทำให้เคร่ืองยนต์ ไมส่ ามารถถา่ ยเทความร้อนได้ดี 21. ไม่ควรใชน้ ้ำมันเบนซนิ ที่ ออกเทนสูงเกินความจำเปน็ ของเครื่องยนต์ เพราะเปน็ การส้นิ เปลอื ง พลังงานโดยเปลา่ ประโยชน์ 22. หมน่ั เปลยี่ นนำ้ มนั เครอ่ื ง ไสก้ รองน้ำมันเคร่ือง ไส้กรองอากาศตามระยะเวลาทีเ่ หมาะสม เพ่ือประหยัด น้ำมัน 23. สำหรบั เครอื่ งยนตแ์ บบเบนซิน ควรเลอื กเติมนำ้ มันเบนซินให้ถกู ชนิด ถูกประเภท โดยเลือกตามค่า ออกเทนท่ีเหมาะสมกับรถแต่ละยี่ห้อ (สังเกตจากฝาปดิ ถังน้ำมนั ดา้ นใน หรอื รบั คมู่ ือท่ปี ั้มน้ำมนั ใกลบ้ า้ น 24. ไม่จำเป็นตอ้ งใชเ้ คร่ืองปรับอากาศตลอดเวลา ยามเช้าๆเปดิ กระจกรบั ความเยน็ จากลมธรรมชาติบ้างก็ สดชน่ื ดี ประหยดั น้ำมนั ได้ดว้ ย 25. ไม่ควรเรง่ เคร่ืองปรบั อากาศในรถอย่างเต็มท่จี นเกนิ ความจำเป็นไม่เปดิ แอรแ์ รงๆ จนรสู้ กึ หนาวเกินไป เพราะสิน้ เปลืองพลังงาน

วธิ ีประหยัดไฟฟา้ 26. ปดิ สวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทกุ ชนดิ เมื่อเลิกใช้งาน สรา้ งให้เปน็ นสิ ยั ในการดับไฟทุกครัง้ ท่อี อกจาก หอ้ ง 27. เลือกซื้อเครอื่ งใช้ไฟฟ้าทีไ่ ด้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสทิ ธภิ าพให้แนใ่ จทุกครงั้ กอ่ นตัดสินใจซอ้ื หาก มีอปุ กรณ์ไฟฟา้ เบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5 28. ปิดเครื่องปรบั อากาศทุกคร้ังทจ่ี ะไม่อยใู่ นห้องเกนิ 1 ชั่วโมงสำหรบั เครอ่ื งปรับอากาศทวั่ ไป และ 30 นาที สำหรบั เครอ่ื งปรบั อากาศเบอร์ 5 29. หมนั่ ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครอ่ื งปรบั อากาศบ่อยๆ เพ่ือลดการเปลอื งไฟในการทำงาน ของเคร่ืองปรบั อากาศ 30. ตั้งอุณหภมู ิเคร่ืองปรบั อากาศท่ี 25 องศาเซลเซยี ส ซึ่งเปน็ อุณหภูมิท่ีกำลังสบาย อุณหภูมทิ ่ีเพ่ิมขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลงั งานเพิ่มข้ึนร้อยละ 5-10 31. ไม่ควรปลอ่ ยใหม้ ีความเย็นร่วั ไหลจากห้องท่ตี ิดต้ังเครอ่ื งปรบั อากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝา้ เพดาน ประตชู ่องแสง และปิดประตูหอ้ งทกุ ครั้งท่เี ปิดเคร่ืองปรับอากาศ 32. ลดและหลีกเล่ียงการเกบ็ เอกสาร หรอื วสั ดุอน่ื ใดที่ไม่จำเปน็ ตอ้ งใช้งานในห้องท่มี ีเคร่ืองปรบั อากาศ เพื่อลดการสญู เสีย และใช้พลงั งานในการปรบั อากาศภายในอาคาร 33. ตดิ ตัง้ ฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรบั อากาศเพ่ือลดการสญู เสียพลงั งานจากการถ่ายเท ความรอ้ นเข้าภายในอาคาร 34. ใช้มลู ่กี นั สาดป้องกันแสงแดดสอ่ งกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนัง เพือ่ ไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนกั เกินไป 35. หลกี เลย่ี งการสญู เสียพลงั งานจากการถา่ ยเทความร้อนเข้าสู่หอ้ งปรบั อากาศ ติดตัง้ และใช้อุปกรณ์ ควบคมุ การเปดิ -ปิดประตูในห้องท่ีมีเครื่องปรับอากาศ 36. ควรปลกู ตน้ ไม้รอบๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ตน้ ให้ความเยน็ เทา่ กับเครื่องปรบั อากาศ 1 ตนั หรือให้ความเย็นประมาณ 12,000 บีทยี ู 37. ควรปลูกต้นไม้เพ่ือชว่ ยบังแดดข้างบา้ นหรอื เหนือหลังคา เพอ่ื เครอื่ งปรบั อากาศจะไม่ต้องทำงานหนกั เกนิ ไป 38. ปลูกพืชคลุมดนิ เพื่อช่วยลดความร้อนและเพ่ิมความช้ืนให้กับดิน จะทำให้บา้ นเย็น ไม่จำเปน็ ต้องเปิด เครอ่ื งปรับอากาศเยน็ จนเกนิ ไป 39. ในสำนักงาน ใหป้ ดิ ไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอปุ กรณไ์ ฟฟา้ ที่ไมจ่ ำเปน็ ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. จะสามารถประหยัดคา่ ไฟฟ้าได้ 40. ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควรปดิ เคร่ืองปรบั อากาศก่อนเวลาเลกิ ใช้ งานเลก็ น้อย เพ่อื ประหยดั ไฟ 41. เลือกซ้อื พดั ลมท่มี ีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพดั ลมที่ไม่ได้คุณภาพ มักเสียง่าย ทำให้ สนิ้ เปลือง

42. หากอากาศไม่ร้อนเกนิ ไป ควรเปดิ พดั ลมแทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยประหยัดไฟ ประหยดั เงิน ไดม้ ากทีเดยี ว 43. ใช้หลอดไฟประหยดั พลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอว้ น ใช้หลอดตะเกยี บแทนหลอด ไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์ 44. ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟ หรือบลั ลาสต์อิเล็กโทรนกิ คู่กับหลอดผอมจอมประหยดั จะชว่ ยเพมิ่ ประสทิ ธิภาพในการประหยัดไฟได้อีกมาก 45. ควรใช้โคมไฟแบบมีแผน่ สะทอ้ นแสงในหอ้ งต่างๆ เพือ่ ชว่ ยให้แสงสวา่ งจากหลอดไฟ กระจายไดอ้ ยา่ ง เตม็ ประสทิ ธิภาพ ทำให้ไม่จำเปน็ ตอ้ งใช้หลอดไฟฟ้าวัตตส์ งู ช่วยประหยัดพลงั งาน 46. หมัน่ ทำความสะอาดหลอดไฟท่ีบา้ น เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่างโดยไมต่ ้องใชพ้ ลงั งานมากขนึ้ ควรทำ อย่างน้อย 4 ครงั้ ต่อปี 47. ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบรเิ วณท่จี ำเป็นต้องเปิดทง้ิ ไวท้ ั้งคืน ไมว่ ่าจะเป็นในบ้านหรอื ข้างนอก เพอื่ ประหยดั ค่าไฟฟ้า 48. ควรต้ังโคมไฟท่ีโต๊ะทำงาน หรอื ตดิ ตงั้ ไฟเฉพาะจุด แทนการเปดิ ไฟทง้ั ห้องเพ่ือทำงาน จะประหยดั ไฟ ลงไปได้มาก 49. ควรใชส้ ีออ่ นตกแตง่ อาคาร ทาผนังนอกอาคารเพ่ือการสะทอ้ นแสงท่ดี ี และทาภายในอาคารเพ่อื ทำให้ หอ้ งสวา่ งได้มากกว่า 50. ใช้แสงสว่างจากธรรมชาตใิ ห้มากทส่ี ดุ เช่น ติดตัง้ กระจกหรอื ตดิ ฟิล์มท่ีมีคณุ สมบัติป้องกนั ความร้อน แต่ยอมให้แสงผา่ นเขา้ ได้เพอื่ ลดการใช้พลังงานเพ่ือแสงสว่างภายในอาคาร 51. ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนง่ึ ในบริเวณทีม่ ีความต้องการใช้แสงสวา่ งน้อย หรือบรเิ วณท่ีมีแสงสวา่ ง พอเพยี งแล้ว 52. ปิดตู้เย็นให้สนิท ทำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบายความร้อนหลงั ตู้เย็นสม่ำเสมอ เพ่ือให้ ตเู้ ย็นไม่ต้องทำงานหนักและเปลืองไฟ 53. อยา่ เปิดตเู้ ย็นบ่อย อยา่ นำของร้อนเข้าแชใ่ นตู้เย็น เพราะจะทำใหต้ เู้ ย็นทำงานเพิ่มขึ้น กนิ ไฟมากขึ้น 54. ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสอื่ มสภาพ เพราะจะทำให้ความเย็นรั่วออกมาได้ ทำให้ สิ้นเปลืองไฟมากกวา่ ทจี่ ำเป็น 55. เลอื กขนาดต้เู ยน็ ใหเ้ หมาะสมกับขนาดครอบครวั อย่าใชต้ ้เู ย็นใหญเ่ กินความจำเป็นเพราะกนิ ไฟมาก เกนิ ไป และควรต้งั ตเู้ ย็นไว้หา่ งจากผนงั บา้ น 15 ซม. 56. ควรละลายน้ำแขง็ ในตเู้ ย็นสมำ่ เสมอ การปลอ่ ยให้นำ้ แข็งจับหนาเกนิ ไป จะทำใหเ้ คร่ืองต้องทำงาน หนกั ทำให้กินไฟมาก 57. เลอื กซือ้ ตเู้ ย็นประตเู ดยี ว เนื่องจากต้เู ยน็ 2 ประตู จะกินไฟมากกวา่ ตู้เยน็ ประตเู ดียวทม่ี ีขนาดเทา่ กัน เพราะต้องใช้ทอ่ นำ้ ยาทำความเย็นท่ียาวกว่า และใชค้ อมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กวา่ 58. ควรตั้งสวติ ชค์ วบคมุ อุณหภมู ขิ องตู้เยน็ ให้เหมาะสม การตง้ั ที่ตวั เลขตำ่ เกนิ ไป อุณหภมู ิจะเย็นนอ้ ย ถ้า ต้งั ที่ตัวเลขสงู เกนิ ไปจะเยน็ มากเพ่ือใหป้ ระหยัดพลงั งานควรต้งั ทีเ่ ลขตำ่ ท่ีมีอุณหภูมิพอเหมาะ

59. ไม่ควรพรมนำ้ จนแฉะเวลารดี ผา้ เพราะต้องใช้ความร้อนในการรีดมากข้ึน เสยี พลงั งานมากขนึ้ เสยี ค่า ไฟเพม่ิ ข้ึน 60. ดงึ ปลั๊กออกก่อนการรดี เสอ้ื ผา้ เสร็จ เพราะความร้อนที่เหลอื ในเตารดี ยังสามารถรีดต่อได้จนกระทัง่ เสรจ็ ชว่ ยประหยดั ไฟฟ้า 61. เสียบปล๊กั ครั้งเดยี ว ต้องรีดเสื้อให้เสรจ็ ไม่ควรเสียบและถอดปล๊ักเตารดี บ่อยๆ เพราะการทำให้เตารดี รอ้ นแตล่ ะครง้ั กินไฟมาก 62. ลด ละ เล่ยี ง การใสเ่ สือ้ สูท เพราะไมเ่ หมาะสมกับสภาพอากาศเมืองรอ้ น สิ้นเปลอื งการตัด ซัก รีด และความจำเปน็ ในการเปิดเคร่อื งปรบั อากาศ 63. ซักผ้าดว้ ยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลงั ของเคร่ือง เพราะซกั 1 ตัวกับซัก 20 ตวั กต็ ้องใชน้ ำ้ ในปรมิ าณ เทา่ ๆ กัน 64. ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่อง เมอื่ ใชเ้ คร่ืองซักผา้ เพราะเปลืองไฟมาก ควรตากเส้ือผา้ กบั แสงแดดหรอื แสง ธรรมชาติจะดีกว่า ท้ังยงั ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า 65. ปดิ โทรทัศน์ทนั ทีเมื่อไมม่ ีคนดู เพราะการเปิดทงิ้ ไว้โดยไม่มีคนดู เป็นการส้ินเปลืองไฟฟา้ โดยใช่เหตุ แถมยังต้องซ่อมเร็วอีกด้วย 66. ไม่ควรปรบั จอโทรทัศน์ให้สว่างเกนิ ไป และอยา่ เปิดโทรทศั น์ให้เสียงดังเกนิ ความจำเป็น เพราเปลอื ง ไฟ ทำให้อายเุ ครอื่ งสัน้ ลงดว้ ย 67. อยบู่ า้ นเดยี วกัน ดโู ทรทัศนร์ ายการเดยี วกัน ก็ควรจะดเู ครือ่ งเดยี วกัน ไม่ใชด่ ูคนละเคร่ือง คนละห้อง เพราะจะทำให้สน้ิ เปลืองพลังงาน 68. เช็ดผมใหแ้ หง้ กอ่ นเป่าผมทกุ ครง้ั ใชเ้ ครอ่ื งเป่าผมสำหรับแต่งทรงผม ไม่ควรใชท้ ำใหผ้ มแห้ง เพราะ ตอ้ งเปา่ นาน เปลืองไฟฟ้า 69. ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยดั กวา่ ใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้าและควรติดตั้งวาลว์ นิรภัย (Safety Value) เพอ่ื ความปลอดภยั ด้วย 70. เวลาหงุ ตม้ อาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปดิ เตาก่อนอาหารสุก5 นาที เพราะความรอ้ นทเ่ี ตาจะร้อนต่อ อกี อย่างน้อย 5 นาทีเพยี งพอท่จี ะทำใหอ้ าหารสุกได้ 71. อยา่ เสียบปล๊ักหมอ้ หุงข้าวไว้ เพราะระบบอุน่ จะทำงานตลอดเวลา ทำให้สิน้ เปลอื งไฟเกนิ ความจำเปน็ 72. กาต้มนำ้ ไฟฟ้า ต้องดงึ ปล๊ักออกทนั ทเี มื่อนำ้ เดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ ประหยัดพลังงานแลว้ ยงั อาจทำใหเ้ กดิ ไฟไหม้ได้ 73. แยกสวติ ช์ไฟออกจากกัน ให้สามารถเปดิ ปดิ ไดเ้ ฉพาะจุด ไมใ่ ช้ปมุ่ เดียวเปิดปิดทง้ั ช้ัน ทำให้เกิดการ ส้นิ เปลืองและสูญเปลา่ 74. หลกี เล่ียงการติดตง้ั อปุ กรณไ์ ฟฟ้า ที่ต้องมีการปล่อยความร้อนเช่น กาต้มนำ้ หมอ้ หุงต้ม ไว้ในห้องทม่ี ี เครื่องปรับอากาศ 75. ซ่อมบำรงุ อุปกรณ์ไฟฟา้ ใหอ้ ยใู่ นสภาพที่ใช้งานได้ และหมั่นทำความสะอาดเคร่ืองใช้ไฟฟา้ อยู่เสมอ จะ ทำใหล้ ดการส้นิ เปลืองไฟได้

76. อยา่ เปิดคอมพวิ เตอร์ท้งิ ไวถ้ ้าไมใ่ ชง้ าน ติดตง้ั ระบบลดกระแสไฟฟา้ เข้าเคร่ืองเม่ือพักการทำงาน จะ ประหยัดไฟได้ร้อยละ 35-40 และถ้าหากปดิ หน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 60 77. ดูสัญลักษณ์ Energy Star ก่อนเลือกซ้ืออปุ กรณ์สำนักงาน(เชน่ เครอ่ื งคอมพิวเตอร์ เครอ่ื งโทรสาร เครอ่ื งพมิ พด์ ีดไฟฟา้ เคร่ืองถา่ ยเอกสาร ฯลฯ) ซ่งึ จะชว่ ยประหยดั พลังงาน ลดการใช้ กำลังไฟฟ้า เพราะจะมีระบบประหยดั ไฟฟ้าอัตโนมตั ิ

วิธปี ระหยัดนำ้ 78. ใช้น้ำอย่างประหยัด หมน่ั ตรวจสอบการร่วั ไหลของน้ำ เพอื่ ลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์ 79. ไม่ควรปล่อยใหน้ ้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกนหนวด และถูสบูต่ อนอาบนำ้ เพราะจะ สญู นำ้ ไปโดยเปล่าประโยชน์ นาทลี ะหลายๆ ลติ ร 80. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่กอ้ นเวลาลา้ งมอื เพราะการใชส้ บ่กู ้อนล้างมือจะใชเ้ วลามากกวา่ การใช้สบู่เหลว และการใช้สบเู่ หลวทไี่ มเ่ ข้มข้น จะใชน้ ำ้ น้อยกวา่ การลา้ งมือด้วยสบู่เหลวเข้มขน้ 81. ซักผ้าดว้ ยมือ ควรรองน้ำใสก่ าละมังแค่พอใช้ อยา่ เปิดน้ำไหลทิ้งไว้ตลอดเวลาซัก เพราะสิ้นเปลอื งกว่า การซักโดยวิธีการขงั น้ำไวใ้ นกาละมงั 82. ใช้ Sprinkler หรือฝักบวั รดนำ้ ตน้ ไมแ้ ทนการฉดี น้ำด้วยสายยาง จะประหยดั น้ำได้มากกวา่ 83. ไม่ควรใชส้ ายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะทีล่ า้ งรถเพราะจะใชน้ ำ้ มากถงึ 400 ลิตร แตถ่ ้า ล้างดว้ ยน้ำและฟองนำ้ ในกระป๋องหรอื ภาชนะบรรจนุ ำ้ จะลดการใชน้ ้ำได้มากถงึ 300 ลิตรต่อการลา้ งหนงึ่ ครงั้ 84. ไม่ควรล้างรถบ่อยครง้ั จนเกินไป เพราะนอกจากจะมีความส้ินเปลอื งนำ้ แลว้ ยงั ทำให้เกิดสนิมท่ีตัวถงั ได้ด้วย 85. ตรวจสอบท่อนำ้ รัว่ ภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกนำ้ ทกุ ตวั ภายในบา้ น หลงั จากทีทุกคนเข้านอน (หรอื เวลาทแี่ น่ใจว่า ไม่มีใครใช้น้ำระยะหน่งึ จดหมายเลขวดั น้ำไว้ ถา้ ตอนเชา้ มาตรเคลื่อนทโ่ี ดยทย่ี ังไม่มีใครเปิดนำ้ ใช้ ก็ เรียกชา่ งมาตรวจซอ่ มได้เลย) 86. ควรล้างพืชผกั และผลไม้ในอา่ งหรือภาชนะทม่ี ีการกักเก็บน้ำไวเ้ พยี งพอ เพราะการลา้ งด้วยน้ำที่ไหล จากก๊อกนำ้ โดยตรง จะใชน้ ำ้ มากกวา่ การล้างดว้ ยนำ้ ท่บี รรจุไว้ในภาชนะถึงร้อยละ 50 87. ตรวจสอบชกั โครกวา่ มีจดุ ร่ัวซมึ หรอื ไม่ ให้ลองหยดสผี สมอาหารลงในถงั พกั น้ำ แลว้ สังเกตดูท่ีคอหา่ น หากมีน้ำสลี งมาโดยท่ีไม่ไดก้ ดชกั โครก ใหร้ บี จัดการซ่อมไดเ้ ลย 88. ไม่ใช้ชกั โครกเปน็ ท่ีทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมที ุกชนดิ เพราะจะทำให้สญู เสยี น้ำจากการชักโครก เพ่อื ไลส่ ิ่งของลงท่อ 89. ใช้อปุ กรณ์ประหยัดนำ้ เช่น ชกั โครกประหยดั นำ้ ฝักบวั ประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดนำ้ หัวฉีดประหยดั นำ้ เป็นตน้ 90. ตดิ Areator หรือ อปุ กรณ์เตมิ อากาศท่ีหวั ก๊อก เพ่ือชว่ ยเพ่มิ อากาศให้แก่นำ้ ที่ไหลออกจากหัวก๊อก ลดปริมาณการไหลของน้ำ ช่วยประหยดั น้ำ 91. ไม่ควรรดนำ้ ต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่าๆ ใหร้ ดตอนเชา้ ท่ีอากาศยังเย็นอยู่ การระเหยจะต่ำกว่าช่วยใหป้ ระหยดั น้ำ 92. อยา่ ทงิ้ นำ้ ดืม่ ท่ีเหลือในแกว้ โดยไมเ่ กดิ ประโยชน์อันใด ใช้รดน้ำตน้ ไม้ ใชช้ ำระพ้ืนผิว ใชช้ ำระความ สะอาดส่ิงต่างๆ ได้อีกมาก 93. ควรใชเ้ หยอื กนำ้ กบั แก้วเปลา่ ในการบรกิ ารน้ำดมื่ และใหผ้ ู้ทต่ี ้องการด่ืมรนิ นำ้ ดืม่ เอง และควรดม่ื ให้ หมดทุกครงั้

94. ล้างจานในภาชนะที่ขงั น้ำไว้ จะประหยัดน้ำไดม้ ากกวา่ การลา้ งจานด้วยวิธที ป่ี ล่อยให้นำ้ ไหลจากก๊อก นำ้ ตลอดเวลา 95. ติดต้งั ระบบน้ำให้สามารถใชป้ ระโยชนจ์ ากการเก็บและจ่ายนำ้ ตามแรงโนม้ ถ่วงของโลก เพื่อหลีกเลย่ี ง การใชพ้ ลังงานไปสบู และจ่ายน้ำภายในอาคาร

วธิ ีประหยดั พลังงานอน่ื ๆ 96. อยา่ ใชก้ ระดาษหนา้ เดียวทงิ้ ให้ใช้กระดาษอย่างคมุ้ คา่ ใช้ท้งั สองหนา้ ให้นึกเสมอว่า กระดาษแตล่ ะ แผน่ ย่อมหมายถึงต้นไม้หนึ่งต้นทตี่ ้องเสยี ไป 97. ในสำนกั งานใหใ้ ช้การสง่ เอกสารต่อๆ กัน แทนการสำเนาเอกสารหลายๆ ชุด เพ่ือประหยดั กระดาษ ประหยดั พลงั งาน 98. ลดการสญู เสียกระดาษเพิ่มมากขน้ึ ดว้ ยการหลกี เลย่ี งการใชก้ ระดาษปะหน้าโทรสาร ชนดิ เตม็ แผ่น และหนั มาใช้กระดาษขนาดเล็ก ที่สามารถตัดพับบนโทรสารได้ง่าย 99. ใช้การส่งผา่ นข้อมลู ข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบคอมพวิ เตอร์ โดยโมเดม็ หรือแผน่ ดสิ ก์ แทนการสง่ ขา่ วสารขอ้ มลู โดยเอกสาร ช่วยลดขนั้ ตอนการทำงาน ลดการใช้พลังงานได้มาก 100. หลกี เลี่ยงการใชจ้ านกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ เวลาจัดงานสงั สรรค์ตา่ งๆ เพราะสนิ้ เปลืองพลังงาน ในการผลติ 101. ร้จู กั แยกแยะประเภทขยะ เพื่อชว่ ยลดข้นั ตอน และลดพลงั งานในการทำลายขยะ และทำให้ขยะ ทั้งหลายง่ายต่อการกำจดั 102. หนังสอื พมิ พ์อา่ นเสร็จแล้วอย่าทง้ิ ใหเ้ กบ็ ไวข้ าย หรือพบั ถงุ เกบ็ ไวท้ ำอะไรอย่างอ่นื ใช้ซำ้ ทุกครั้งถา้ ทำไดช้ ว่ ยลดการใช้พลงั งานในการผลิต 103. ขน้ึ ลงชั้นเดยี วหรือสองช้นั ไมจ่ ำเป็นตอ้ งใชล้ ฟิ ท์ จำไวเ้ สมอว่าการกดลิฟท์แตล่ ะคร้ัง สูญเสยี พลงั งาน ถึง 7 บาท 104. งด เลิก บรโิ ภคผลติ ภณั ฑ์ท่ใี ชแ้ ล้วท้ิงเลย เพราะเป็นการส้ินเปลืองพลังงานในการผลติ ใช้ ทรพั ยากรธรรมชาติส้นิ เปลือง เพม่ิ ปรมิ าณขยะ เปลอื งพลงั งานในการกำจัดขยะ 105. ลดการใช้ผลติ ภณั ฑ์ ท่ีมีบรรจุภณั ฑท์ ยี่ ากตอ่ การทำลาย เช่น โฟม หรือพลาสติก ควรเลือกใชบ้ รรจุ ภณั ฑ์ท่นี ำกลบั มาใช้ใหม่ได้ (Reuse) หรอื นำไปผา่ นกระบวนการผลิตมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) 106. สนบั สนุนสินค้าท่ีมบี รรจุภัณฑ์ เปน็ วสั ดทุ ีส่ ามารถนำมาผ่านกระบวนการนำมาใช้ใหม่ (Recycle) เชน่ แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติกบางประเภท โดยจดั ให้มีการแยกขยะในครวั เรือนและในสำนักงาน 107. ให้ความร่วมมือ สนบั สนุน หรือเข้ารว่ มกิจกรรมกบั หนว่ ยงานต่างๆ ท้งั ภาครัฐและเอกชน ท่ีรณรงค์ ส่งเสรมิ ใหม้ กี ารอนรุ ักษ์พลงั งาน 108. กระตนุ้ เตือนให้ผู้อื่นช่วยกนั ประหยัดพลังงาน โดยการตดิ สญั ลักษณ์ หรือเครื่องหมายใหช้ ว่ ย ประหยดั ไฟตรงบรเิ วณใกล้สวิทช์ไฟ เพื่อเตือนใหป้ ดิ เมือ่ เลิกใช้แล้ว พลงั งานมีน้อย ใชส้ อยอย่างประหยัด รอบคอบกันสักนิด ทกุ คนคิดก่อนใช้ แหลง่ ที่มาข้อมลู กองทนุ เพื่อสง่ เสริมการอนุรกั ษพ์ ลงั งานสำนกั งานนโยบายและแผนพลังงาน http://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html