Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรม ในโรงเรียนประถมศึกษา

แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรม ในโรงเรียนประถมศึกษา

Published by buzra7, 2020-11-12 01:32:53

Description: เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 052466 การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563

Keywords: พหุวัฒนธรรม,ประถม,ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม,Multicultural classroom

Search

Read the Text Version

Learning Management Approach for Multicultural Classroom in primary school แ น ว ท า ง ก า ร จั ด ก า ร เรีย น รู้สํา ห รับ ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม ในโรงเรียนประถมศึกษา เรียบเรียงโดย นภัสสร สุทธิศีลธรรม

สารบัญ 3 4 คาํ นาํ 5 ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม 1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 8 16 James Banks 23 MAY AND SLEETER 25 SONIA NIETO 2 วิธีการจัดการเรียนรู้ 3 ส่ือการเรียนรู้ 4 การวัดและประเมินผล บรรณานุกรม

คํานํา แนวทางการจัดการเรียนรู้สาํ หรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรมในโรงเรียน ประถมศึกษาเล่มนี้ เป็นส่วนหน่ึงของกระบวนวิชา 052466 การศึกษาด้วยตนเอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทาํ ข้ึนเพื่อเป็นแนวทางสําหรับครูใน การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม ประกอบไปด้วย นิยาม ทฤษฎี การ จัดการเรียนรู้ ส่ือการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างย่ิงว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้เล่มน้ี จะมีประโยชน์ สาํ หรับผู้ศึกษา และขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.วิชญา ผิวคาํ ท่ีให้คําแนะนําใน การจัดทําแนวทางการจัดการเรียนรู้เล่มน้ี รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ท่ีนี้ นภัสสร สทุ ธิศลี ธรรม ผจู้ ดั ทาํ

,, ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม ห้องเรียนท่ีมีความหลากหลายทาง เช้ือชาติ ศาสนา ภาษา ชาติพันธุ์ เพศ สภาพร่างกาย ลีลาการเรียนรู้ ความคิด การดํารงชีวิต การเล้ียง ดูจากครอบครัวท่ีแตกต่างกัน ความเป็นพหุวัฒนธรรมจึงปรากฏได้ใน ทุกห้องเรียน เพราะทุกพ้ืนท่ีมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับครูจะมอง ,,พหุวัฒนธรรมอย่างไรตามบริบทของที่ต้ังโรงเรียน 4

ทฤษฎที เี กยี วขอ้ ง 5

JAMES BANKS (1994, อ้างใน ฐิติมดี อาพัทธนานนท์ , 2561) \" การศึกษาพหุวัฒนธรรมเป็นการศึกษาท่ีช่วยให้นักเรียนทุกคนได้รับความรู้และ ทักษะรวมถึงทัศนคติ ท่ีจาํ เป็นในการดาํ รงชีวิตอยู่ในสังคมท่ีเป็นประชาธิปไตยและมี ความหลากหลายทางวัฒนธรรม หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นการศึกษาเพื่อการ ปลดปล่อย เพ่ือความเป็นอิสระทางวัฒนธรรม \" MAY AND SLEETER (2009, อ้างใน ฐิติมดี อาพัทธนานนท์ , 2561) \" มองว่าโรงเรียนเป็นพ้ืนท่ีทางวัฒนธรรมแห่งหนึ่ง ทุกคนในห้องเรียนมีวัฒนธรรม ของตนเองท่ีได้รับการปลูกฝังจากครอบครัว การจัดการศึกษาสาํ หรับผู้เรียนที่มีความ หลากหลายทางวัฒนธรรม ควรสอนให้นักเรียนวิเคราะห์วัฒนธรรมของตนเองและของ เพ่ือนร่วมชั้นเรียนและวัฒนธรรมของคนในสังคมมากกว่าการสอนเกี่ยวกับส่ิงประดิษฐ์ ทางวัฒนธรรม \" 6

SONIA NIETO (1998 ; 2007, อ้างใน นงเยาว์ เนาวรัตน์, 2560) \" การศกึ ษาเพอ่ื ขจดั อคติและความเหลอ่ื มลํา้ ทางชาตพิ ันธ์ุ ช้ีวา่ การรื้อสร้างโรงเรียนให้ เปน็ พ้ืนท่ี การเรียนรู้ (Learning) เพอ่ื ขจัดอคติและความเหล่ือมลาํ้ ทางชาติพันธุ์ น้ันเป็นจุดหมาย ของการศึกษาพหุวฒั นธรรมทีเ่ ปน็ ความคดิ และขบวนเคลื่อนไหวทางสังคม \" สรุปไดว้ ่า การศกึ ษาพหุวัฒนธรรม คอื รปู แบบการศกึ ษาท่ีมรี ากฐานมาจากปรัชญาอุดมคติ ใน เร่อื งของเสรภี าพ ความเสมอภาค ความเปน็ ธรรม ความยุติธรรม และการให้เกยี รติในความ เป็นมนุษย์ โดยเนน้ การจดั การเรียนร้ทู ่สี ่งเสรมิ ใหน้ กั เรียนอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ ยอมรบั ซง่ึ กันและกนั ไม่คาํ นงึ ถงึ การเป็นสมาชกิ ของกลุ่มหรอื สถานะทางสงั คม และสรา้ งความมั่นใจ กบั นักเรยี นที่มีความแตกต่าง อยู่บนพื้นฐานทวี่ า่ \"อคต\"ิ \"การแบ่งแยก\" และ \"ความขัดแย้ง\" เป็นเรอ่ื งปกตขิ องกลมุ่ คนท่มี าจากวัฒนธรรมทแ่ี ตกต่างกนั เพอื่ นาํ ไปสูก่ ารพฒั นาผ้เู รียน ทุกคน ให้เจริญสงู สุดตามศักยภาพของตน ทั้งดา้ นสตปิ ญั ญา อารมณ์ และสงั คม 7

วธิ ีการ จดั การเรยี นรุ้ 8

James Banks (2001 , 2008 , อา้ งใน บญั ญัติ ยงยว่ น, 2553) นกั การศกึ ษาชาว อเมริกัน ผูซ้ ึง่ บุกเบกิ วิจัยพฒั นาแนวคิดและ วธิ ีการจัดการศกึ ษาพหุวัฒนธรรม ไดก้ ล่าวถึงรปู แบบหรอื แนวทางการจดั การศึกษาพหุวฒั นธรรม วา่ มี 5 รปู แบบ 1. บูรณาการเนื้อหาวัฒนธรรมของนักเรียนเข้าไปในวิชาต่าง ๆ (Content Integration) คือการท่ีครูผู้สอนยังคงสอนวิชาต่าง ๆ เหมือนท่ีเคยสอนมา ขณะเดียวกันก็นําเน้ือหาท่ี เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ มาสอดแทรก บูรณาการในเนื้อหาเดิมที่กาํ ลัง สอนอยู่ โดยครูอาจนาํ เรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถี ชีวิต งานศิลปะ หรือสถาปัตยกรรม ของนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องเรียน ในโรงเรียน หรือในชุมชน มายกตัวอย่างและอภิปรายร่วมกัน ซึ่งวิธีการนี้นอกจากจะเหมาะสมกับการสอนวิชาทางด้านภาษาและสังคมศึกษาแล้ว ยัง สามารถสอดแทรกในวิชาทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย เช่น การสอด แทรกประวัติของคนสีผิว ท่ีริเริ่ม ประดิษฐ์ คิดค้น หรือพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ใน ขณะท่ีสอนหัวข้อประวัตินักวิทยาศาสตร์สําคัญของโลก เป็นต้น 9

2. การสร้างความรู้ใหม่ (The Knowledge Construction Process) การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในรูปแบบน้ี ครูจะเปล่ียนบทบาทจากการเป็นผู้บอก ความรู้เก่ียวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนจดจาํ เน้ือหาความรู้ท่ีมีอยู่ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิด เชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ และการตัดสินใจผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอภิปรายแลกเปล่ียนความคิด ใหน้ ักเรียนค้นควา้ ทํารายงานเก่ยี วกบั เห็นเก่ียวกับสาเหตุหรือปัจจัย ประวตั ศิ าสตร์กลมุ่ ชาตพิ ันธุ์ต่างในชุมชน ในเชงิ วิเคราะหเ์ ปรยี บเทยี บ ความขัดแย้ง ผ่านการอ่านบันทึกประวัติศาสตร์ การสัมภาษณ์บุคคล อคติ ความลาํ เอียง ซ่ึงรูปแบบน้ี จะทําให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจท่ีถูกต้องเข้าใจถึงทรรศนะการมอง โลกของพวกเขา และเกิดความ เห็นอกเห็นใจในผู้คนที่มีเชื้อชาติวัฒนธรรมต่างจากตน 10

3.การลดอคติ (Prejudice Reduction) การศึกษาพหุวัฒนธรรมในรูปแบบน้ี มีความเช่ือว่า เด็กส่วนใหญ่เข้าโรงเรียนมาพร้อม กับเจตคติต่อเชื้อชาติ วัฒนธรรมอื่น ๆ ในทางลบ ซึ่งสะท้อนถึงเจตคติของพ่อแม่ผู้ปกครอง ของพวกเขาเช่นกัน ดังนั้นแนวคิดสําคัญคือ ทําอย่างไรที่สถานศึกษาและครูจะปลูกฝัง เจตคติทางเชื้อชาติในทิศทางบวกและปลูกฝังเจตคติค่านิยมความเป็นประชาธิปไตยให้เกิด ในตัวนักเรียน ครคู วรจดั สภาพแวดลอ้ มดังนี้ 1 ให้การเสริมแรงทางบวก แก่นักเรียนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ 2 ให้นักเรียนได้รับรู้ เข้าใจถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียนและในสังคม 3 ปรับเปลี่ยนเน้ือหาหลักสูตรให้เอื้อต่อการส่งเสริมการยอมรับ ความหลากหลาย วัฒนธรรม 4 ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน และเปิดโอกาสให้ นักเรียนจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน 11

4. การสอนที่ยึดหลักความยุติธรรม (Equity Pedagogy) การศึกษาพหุวัฒนธรรมในแนวทางน้ีมุ่งเน้นให้ครูปรับวิธีการสอนที่จะเอ้ืออาํ นวย สนับสนุนให้นักเรียนทุกกลุ่มเช้ือชาติ วัฒนธรรมในชั้นเรียน มีโอกาสประสบความสาํ เร็จใน การเรียนโดยเท่าเทียมกันโดยการส่งเสริมให้นักเรียนจากกลุ่มต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น ในชั้นเรียน และในโรงเรียนอย่างท่ัวถึง เช่น เปิดโอกาสให้นักเรียนทาํ งาน เปิดโอกาสให้เด็กกลุ่มชาติพันธ์ุได้ ร่วมกันเป็นกลุ่ม อภิปราย แสดงความคิดเห็น ซึ่งการท่ีครูจะสามารถส่งเสริมให้นักเรียนกลุ่มต่าง ๆ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด ตามศักยภาพของแต่ละคน ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา ค่านิยม และแบบแผนการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นของตนเป็นอย่างดี 12

5. การปรับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมในโรงเรียน (An Empowering school Culture and Social Structure) การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในมิตินี้เน้นการปรับวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนให้ เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ ให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยผู้บริหาร ครู บุคลากรทุกคน ในโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครองนักเรียน ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การสร้างบรรยากาศของ ความร่วมมือกัน การปรับรูปแบบการสื่อสารที่เอ้ือต่อสมาชิกทุก คนในโรงเรียน ปรับเน้ือหาและวิธีการสอน รวมทั้งกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้ส่งเสริม พัฒนาการของนักเรียนทุกกลุ่ม 13

LEARNING MANAGEMENT 1 พิจารณาความหลากหลายในห้องเรียนว่าอยู่ในด้านไหน รวมถึงบริบทของโรงเรียน และยึดบริบทที่ทําให้นักเรียนเรียนรู้ร่วมกันได้เป็นฐาน เช่น ด้านศาสนา หลักคุณค่าของศาสนาที่สามารถยึดถือร่วมกันได้ เช่น การแบ่งปัน ความ รัก การให้เกียรติ นอกจากน้ีก็เปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม การสอน อย่างไรให้นักเรียนไม่เหยียดกัน ด้านภาษา ในโรงเรียนท่ีเป็นนักเรียนชาติพันธ์ุทั้งหมด แต่นักเรียนจําเป็นต้องเรียนผ่าน ภาษาไทย หรือภาษาแม่ของประเทศน้ัน สามารถจัดการเรียนรู้แบบทวิภาษา โดยการ เรียนจากภาษาแม่ตัวเอง แล้วเสริมภาษาไทยเข้าไป พัฒนาข้ึนตามระดับช้ัน ด้านอาชีพที่สอดคล้องกับการดําเนินชีวิต นักเรียนท่ีมีข้อจาํ กัดเร่ืองพื้นที่อาศัย การเดิน ทาง ฐานะ ครอบครัวไม่ได้ประกอบอาชีพในเมือง โรงเรียนจึงต้องออกแบบการจัดการ เรียนรู้ท่ีเอื้อต่อการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับชุมชน เช่น การเป็นมัคคุเทศก์ การ แสดงฟ้อนรํา การขายอาหาร เป็นต้น 2 หลังจากน้ันวิเคราะห์ว่าจะสอนอะไร จะสอนอย่างไร เช่น การแนะแนวอาชีพ สามารถให้นักเรียนเรียนรู้อาชีพผ่านอาชีพพ่อแม่ของแต่ละคน ไม่ยึดค่านิยมว่าจะ ต้องเป็นหมอ เป็นตํารวจ หรือเป็นข้าราชการเท่าน้ัน และทําให้นักเรียนเห็นความ หลากหลายของอาชีพ 14

3 ครจู ะตอ้ งสงั เกตนักเรยี นอยเู่ สมอ วา่ นกั เรยี นมีการทะเลาะ มกี ารกลนั่ แกล้งกันหรือไม่ หากมกี ารกลั่นแกลง้ เนือ่ งจากความแตกตา่ งเกดิ ขนึ้ ครจู ะตอ้ งไม่ละเลย และหาวธิ แี กไ้ ข ทันที 4 การจดั การเรียนร้ทู เี่ นน้ กระบวนการกลมุ่ ทําให้นกั เรยี นไดแ้ ลกเปล่ยี นความคดิ รว่ มกนั เพือ่ นําไปสูก่ ารเขา้ ใจ และยอมรับ รวมถึงการจัดกลุ่มเนื้อหาท่มี ีความเกี่ยวข้อง เชน่ วชิ าสงั คมศึกษา เนน้ ใหน้ กั เรยี นทาํ กิจกรรมรว่ มกนั แลกเปลย่ี นมมุ มอง ทศั นคตขิ องผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนลดความแตกต่างลง วิชาภาษาไทย เรอื่ งภาษาถน่ิ นอกเหนือจากภาษาถ่ิน 4 ภาค ให้นกั เรยี นเสริมภาษาแม่ของ ตนเอง เชน่ ชาตพิ นั ธุล์ าหู่ เสริมภาษาลาหู่ นกั เรียนไทใหญ่ เสรมิ ภาษาของไทใหญ่ ทําให้ นักเรียนมคี วามภาคภมู ใิ จมากขนึ้ พยายามไมใ่ ห้ภาษาไทยกลนื ทกุ อย่าง แต่ทําใหน้ ักเรยี นเกิด ความภาคภูมิใจในตนเอง WARNING พฤติกรรม \"ครู\" ควรหลีกเลี่ยง ในการจัดการเรียนรู้ ปัจจัยทางตรง การพูดเล่น หรือการหยอกล้อ ล้อเลียนเช้ือชาติของครู เพื่อความสนุกสนานหรือความ ผ่อนคลายในชั้นเรียน ทาํ ให้นักเรียนเข้าใจว่าเป็นส่ิงท่ีทําได้ แล้วไปปฏิบัติกับเพ่ือนบ้าง ปัจจัยทางอ้อม ไม่ตระหนักถึงพหุวัฒนธรรม ขาดความใส่ใจ ละเลยบริบท สอนตามความเข้าใจ แต่ไม่ ศึกษาการจัดการเรียนรู้ท่ีทําให้นักเรียนเข้าใจบริบทและความแตกต่างทางพหุวัฒนธรรมการท่ีครูเพิกเฉย ต่อความรุนแรงในช้ันเรียน รวมถึงการทําให้เพศทางเลือก เป็นเรื่องขบขันในชั้นเรียน 15

สอื การเรียนรุ้ 16

วิเคราะห์ว่าในห้องเรียนมีผู้เรียนในกลุ่มใดบ้าง จากน้ันดูปัจจัย 3 ด้านด้วยกัน ลักษณะของส่ือ เช่น รูปภาพ ควรมีความหลากหลาย ไม่ควรจําเพาะว่ามี ลักษณะแค่ 2 ลักษณะ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจว่าโลกนี้มีความหลากหลาย เห็นความหลากหลายมากท่ีสุด เช่น เพศ มีเพศทางเลือกด้วย หน้าตา ไม่ควรสร้างความเข้าใจว่า ไว้หนวดเคราจะต้องเป็นคนไม่ดีเสมอไป เนื้อหา สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ เข้าใจง่าย ตรงตามบริบท สังคม ความเหมาะสมของสื่อกับผู้เรียน เหมาะกับความสามารถและวัฒนธรรม ของผู้เรียน รวมถึงส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม 17

ตวั อย่างสอื วรรณกรรมเร่อื ง แกงฟักเขียว ใส่ไกส่ ีขาว แกงฟักเขยี ว ใส่ไกส่ ีขาว มที ่ีมาจากธา (บทขบั นิทานของชาวปกาเกอะญอ) บทหนึง่ ใน \"ขอ่ ดเึ ดอ\" กล่าวถงึ การกาํ เนดิ มนษุ ย์ซ่ึงมีทมี่ าจากครอบครวั เดียวกนั ในผลฟักเขียว กาลเวลาผ่านไปจากพน่ี อ้ งครอบครัวเดยี วกันแยกย้ายตัง้ ถน่ิ ฐาน เกิดผิวหลากสี ภาษามากมี อาภรณห์ ลากหลาย แตถ่ ึงกระนั้นมวลมนุษย์ท้ังผองก็ยงั คงเป็นพ่นี ้องกนั แกงฟกั เขยี วใส่ไก่สีขาว เป็นอาหารมงคลของชาวปกาเกอะญอ ฟกั เขียวมีความหมาย แทนความรว่ มเย็นอุดมสมบรู ณ์ ไก่สีขาวหมายถึงความบรสิ ุทธ์ิ ในยามท่ไี ด้กนิ แกงร่วม หมอ้ ก็เป็นโมงยามแหง่ การรําลกึ ถึงความเป็นพ่ีนอ้ งไปพรอ้ มกนั 18

การใชส้ ือ 1. ครูเล่านิทานเรื่อง แกงฟักเขียว ใส่ไก่สีเขียว และสนทนาเกี่ยวกับวัตถุดิบแกงฟัก เขียว ใส่ไก่สีขาว ที่เด็ก ๆ ชอบจากประสบการณ์ของแต่ละคน 2. จากนั้นนั่งล้อมวง เตรียมปรุงอาหารแกงฟักเขียว 3. ให้นักเรียนสังเกตวัตถุดิบ และให้นักเรียนบอกภาษาเรียกวัตถุดิบตามภาษาชาติพันธ์ุ ของนักเรียน และทาํ การปรุงอาหาร 4. สรุปความรู้เกี่ยวกับการทาํ แกงฟักเขียว ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประสาทสัมผัส การรับรส 5. สรุปโดยการเปรียบเทียบวัตถุดิบแกงฟักเขียวกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และชี้ให้เห็นถึงความดีและความงามของความแตกต่างหลากหลายท่ีมาอยู่รวมกัน ข้อคดิ เพ่ือบอกเล่าถึงการอยู่ร่วมกันอย่างผสานลงตัวของความหลากหลายลักษณะเฉพาะ อันจะนํามาซึ่งความกลมกล่อมของรสชาต สีสันที่สวยงาม และความร่ืนรมย์ทางใจ 19

ตวั อย่างสอื วรรณกรรมเรอื่ ง หลากหลาย อยูร่ ่วม จึงงดงาม ดร.สุวชิ าน พัฒนาไพรวัลย์ ปราชญ์และศลิ ปินชาวปกาเกอะญอ ได้ตงั้ ข้อสงั เกตถึงการทกี่ ลมุ่ ชาติพันธ์หุ ลาย ๆ กลุม่ ในโลก ตา่ งมชี อ่ื เรียกชาติพนั ธต์ุ นเองวา่ \"มนุษย\"์ เหมอื นกนั อา้ งอิงจากขอ้ มลู ทางมนุษยวิทยา กลา่ วถึงการค้นพบหลักฐานท่รี ะบถุ งึ การท่มี นุษย์ล้วนมีท่ีมา จากแหลง่ เดียวกนั ก่อนทจ่ี ะแยกย้ายกนั ตั้งถ่ินฐาน จนมีรูปพรรณสัณฐาน ภาษา และวัฒนธรรม ทแ่ี ตกตา่ งกันไป จวบจนทฤษฎใี หม่ ๆ ในชว่ งอารยะท่ีมนุษยไ์ ดส้ ถาปนาตนเองเป็นมนุษยอ์ ย่างเตม็ ภาคภมู ผิ ่านอารยะทางภาษา โดยเรียกตนเองในภาษาของตนว่ามนุษย์ จากขา้ งตน้ ประกอบกบั ความเข้าใจในเร่อื งความหลากหลายทางในระบบนเิ วศน์โดยวถิ ีของ ธรรมชาตทิ ที่ าํ ให้โลกน้ีนา่ อยู่ นาํ มาซ่ึงหนังสือนทิ าน \"หลากหลาย อยรู่ ว่ ม จงึ งดงาม\" 20

การใชส้ อื 1. ครูเล่านิทานเร่ือง \"หลากหลาย อยู่ร่วม จึงงดงาม\" 2. จากน้ันให้ตัวแทนแต่ละชาติพันธ์ุออกมาแนะนําตัวและพูดว่า \"สวัสดี\" ด้วยภาษาของ ตนเอง 3. ครูให้ตัวแทนดูบัตรภาพแล้วตอบว่าเป็นชาติพันธ์ุอะไร 4. แบ่งกลุ่มเด็กเป็น 2 กลุ่ม แล้วให้จับคู่ภาพชุดแต่งกายชาติพันธ์ุชายและหญิงให้ถูกต้อง 5. ครูและเด็กสรุปความรู้ที่ได้จาก \"นิทานหลากหลาย อยู่ร่วม จึงงดงาม\" ขอ้ คิด ให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะเครื่องแต่งกายของแต่ละชาติพันธ์ุ ชื่อเรียกและความหมาย รวมถึงปฏิบัติตนเม่ืออยู่ในชุมชน การอยู่รวมกันอย่างสามัคคี (ภาพ : สถาบันพัฒนาเยาวชนชาติพันธุ์) 21

แนวทางในการพฒั นาสอื แบบเรียน หนังสือที่มีเน้ือหาลักษณะจํากัดความคิด ครูสามารถนาํ เน้ือหามาวิเคราะห์ร่วมกัน เช่น กรณีไทย-พม่า แสดงความคิดเห็นกันว่าคนเขียนมีความคิดอย่างไร มีหนังสือหรือบทความที่ ขัดแย้งเน้ือหาเร่ืองนี้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนรู้ว่าหนังสือไม่ใช่ความรู้จริงแท้ประการเดียว นักเรียนจะได้หาอ่านหนังสือเพิ่มเติม และรับฟังความคิดเห็นหลายทาง ในที่สุดนักเรียนก็จะ มีความคิดเป็นของตนเอง หรือการให้นักเรียนคิดไปหาคาํ ตอบ แต่ไม่จําเป็นต้องได้คําตอบ ทุกครั้ง ให้นักเรียนตอบตัวเองได้ก็พอ ส่ืออ่นื ๆ อาจมีการทาํ พจนานุกรมท่ีเป็นภาษาแม่ของนักเรียน ให้นักเรียนท่ีใช้ภาษาหลักได้ เรียนรู้ หรือให้นักเรียนนาํ เสนอภาษา หรือวัฒนธรรมของตนเอง เพ่ือเสริมความภาคภูมิใจ 22

การวดั และ ประเมนิ ผล 23

การวัดและประเมินผลจะต้องมีความหลากหลาย ตามสภาพจริง และความสามารถของผู้เรียน การสัมภาษณ์ การทาํ แบบทดสอบ ตัวอย่าง การสังเกตพฤติกรรม การวาดภาพ 24

บรรณานุกรม ฐติ ิมดี อาพทั ธนานนท์. (2561). โรงเรยี นหลากวัฒนธรรม : นโยบายการจัดการ ศกึ ษาของรฐั ไทยในสงั คมพหวุ ัฒนธรรม. สาํ นักพมิ พแ์ หง่ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย นงเยาว์ เนาวรตั น์, นันท์นภัส แสงฮอง. (2561). ค่มู อื การจัดการเรยี นรูพ้ หวุ ัฒนธรรม โดยใชว้ รรณกรรมเปนฐาน. โครงการการผลิตทรพั ยากรสารนิเทศและนวัตกรรม. การจัดการศึกษาเพอื หนุนเสรมิ การเรยี นรูด้ ้านพหุวัฒนธรรมศึกษาในระดับปฐมวัย และประถมศึกษาแบบมีสว่ นรว่ มในพนื ทีจังหวัดเชยี งใหม่ คณะศึกษาศาสตรแ์ ละ ศูนยค์ วามเปนเลิศด้านพหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มหาวิทยาลัยเชยี งใหม.่ บญั ญตั ิ ยงยว่ น, ปนัดดา ธนเศรษฐกร, วสนุ ันทน์ ชุม่ เชอื . (2553). การพฒั นารูปแบบ. การจัดการศกึ ษาพหวุ ัฒนธรรม ในโรงเรยี นประถมศกึ ษา. (รายงานการวิจัย) สถาบนั แหง่ ชาติเพอื การพฒั นาเด็กและครอบครวั มหาวิทยาลัมหิดล. เอกรนิ ทร์ สงั ขท์ อง. (2555). พหวุ ัฒนธรรมศกึ ษา : อะไรคือสงิ ทผี บู้ รหิ ารสถานศกึ ษา ทกุ คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องรู.้ วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครนิ ทร์ วิทยาเขตปตตานี. Banks, James A. (2014). An Introduction to Multicultural Education (5th edition.). Boston: Pearson Education. 25

จดั ทําโดย นางสาวนภสั สร สทุ ธิศลี ธรรม คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่