Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บ้านฉันบ้านเธอ ปัตตานีกีตอ

Description: บ้านฉันบ้านเธอ ปัตตานีกีตอ

Search

Read the Text Version

ส่อื การเรียนรสู้ าระทอ้ งถนิ่ โดย

2

ค�ำน�ำ ภารกิจส�ำคัญประการหนึ่งของส�ำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) คือ การแบ่งปันและกระจายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ท่ีทันสมัย สอดคล้องกับ ความสนใจของเด็กและเยาวชนท่ัวประเทศ โดยร่วมมือกับภาคส่วนท่ีเกี่ยวข้อง ในท้องถิ่นสร้างสรรค์และส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ชุมชนขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพคน ในชาติผ่านกระบวนการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและจินตนาการด้วยกิจกรรม ส่ือเกมเพื่อการศกึ ษา ทง้ั นี้ สอร. ตระหนกั ถงึ ความสำ� คญั ของการจดั ทำ� สอ่ื สาระทอ้ งถนิ่ ในอนั ทจี่ ะ สร้างแรงบันดาลใจ ดึงดูดความสนใจในการเรียนรู้สาระท้องถ่ิน เพ่ือส่งเสริมและ สนับสนนุ ให้เด็กและเยาวชน ได้เขา้ ถงึ สือ่ ที่มเี น้อื หาสอดคล้องกับวยั การดำ� รงชีวิต และวถิ ที อ้ งถน่ิ โดยสอดแทรกแนวคดิ ดา้ นคณุ ธรรม จรยิ ธรรม ทเี่ หมาะสมกบั บรบิ ท อ นั หลากหลาย สรา้ งนสิ ยั รกั การอา่ นการเรยี นรใู้ หแ้ กเ่ ยาวชนและประชาชนในทอ้ งถน่ิ ดงั นน้ั จงึ ไดจ้ ดั ทำ� สอ่ื สาระทอ้ งถนิ่ 3 ภาษา จงั หวดั ปตั ตานแี ละจงั หวดั นราธวิ าส พร้อมคู่มือการจัดกิจกรรม 3 ภาษาส�ำหรับครูด้วยรูปแบบที่น่าสนใจ ภาพประกอบ และรูปเล่มที่ทนั สมัย ซง่ึ น�ำเรื่องราววิถชี ีวติ ของท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ตัวและแนวคิดด้าน คณุ ธรรมจรยิ ธรรมจากนทิ านพนื้ บา้ นชายแดนใตท้ สี่ อดคลอ้ งกบั บรบิ ทของวฒั นธรรม โดยคำ� นงึ ถงึ ชว่ งวยั ของเดก็ แตล่ ะกลมุ่ เปน็ สำ� คญั รวมทง้ั การมสี ว่ นรว่ มของบคุ ลากร ท้องถิ่นในการด�ำเนินงาน เพ่ือให้เด็ก ๆ ได้เกิดความสุขและความสนุกจากการอ่าน นำ� ไปสเู่ จตคตทิ ดี่ ตี อ่ หนงั สอื ซมึ ซบั ขอ้ มลู ความดงี ามจากเนอ้ื หาและความรกั ในทอ้ งถนิ่ สำ� นกั งานอทุ ยานการเรยี นรู้ 3





6

ในคนื ท่ีพระจนั ทร์เสีย้ วอมยม้ิ อยู่ริมหน้าต่าง อาเดลนอนมองพระจนั ทร์และ ดาวดวงนอ้ ยท่กี ะพรบิ วบั วาวอยบู่ นท้องฟ้า นกึ ถงึ ความสนกุ ท่ีรออยูใ่ นวันรุ่งขน้ึ แลว้ เขาร�ำพงึ เบา ๆ กบั ตวั เองกอ่ นหลบั ไปว่า “พรุง่ นแี้ ลว้ สนิ ะคา่ ยเยาวชนบ้านฉนั บ้านเธอ” “เอก้ อี เอก้ เอ้ก” ไกโ่ ตง้ โกง่ คอขนั ปลกุ เชน่ ทกุ เชา้ อาเดลรบี ลกุ จากทนี่ อน อาบนำ�้ แตง่ ตวั อยา่ งรวดเรว็ และเร่งรบี ตกั นาซดิ าแฆ เขา้ ปากจนแทบไม่รบั ร้รู สชาติของอาหารจานโปรด แลว้ หยบิ กระเป๋าเป้ข้ึนสะพายหลัง พรอ้ มบอกกบั แม่วา่ “แมะ ไปส่งผมหนอ่ ยครับ เดย๋ี วไปเข้าคา่ ยสาย” 7

อาเดลเดนิ ทางมาถงึ ภายในสถาบันวัฒนธรรมศกึ ษากลั ยาณิวฒั นา มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์ สถานทีน่ ดั หมายเด็ก ๆ จากโรงเรยี นประถมศกึ ษาในจงั หวดั ปัตตานี ทมี่ าร่วมกิจกรรม “คา่ ยบา้ นฉันบา้ นเธอ ปตั ตานกี ตี อ” พรอ้ มกับเพื่อน ๆ หลายคน 8

“นอ้ ง ๆ ทีม่ าถึงแล้ว ลงทะเบยี นแลว้ รับสมดุ บันทกึ คนละหนึ่งเล่มทางนน้ี ะคะ” เสียงแจ้ว ๆ ของพ่วี ดี คนจัดคา่ ยใจดี ร้องเรียกเดก็ ๆ ทจ่ี ับกลมุ่ พูดคยุ กันอยดู่ ้านหนา้ อาคาร พี่วดี พมี่ าตู และพน่ี ุช ชวนเด็ก ๆ เขา้ ไปในหอ้ งประชุม แล้วเรมิ่ แนะนำ� ตวั “สวสั ดคี ะ่ พชี่ อ่ื วดนี ะคะ ทำ� หนา้ ทเี่ ปน็ มคั คเุ ทศก์ พานอ้ ง ๆ ทอ่ งเทยี่ วสถานทสี่ ำ� คญั ในจงั หวดั ปตั ตานบี า้ นเราคะ่ ” “สวสั ดคี รบั พม่ี าตคู รบั วนั นรี้ บั หนา้ ทชี่ วนนอ้ งสนกุ สนานกนั ครบั ” “สวสั ดคี ะ่ พชี่ อ่ื นชุ ดแู ลเสบยี งอาหาร สำ� หรบั ชาวคา่ ย รบั รองวา่ อม่ิ อรอ่ ยทกุ มอ้ื คะ่ ” 9

หลังจากทีพ่ ที่ ้ังสามแนะน�ำตัวเสร็จเรียบรอ้ ยแลว้ พ่วี ดีกบ็ อกตอ่ ว่า “กจิ กรรมทเี่ ราจะทำ� รว่ มกนั เรม่ิ ดว้ ยการไปเทย่ี วชมสถานทสี่ ำ� คญั ในจงั หวดั ปตั ตานี นอ้ ง ๆ ควรจดบนั ทกึ เรอ่ื งราวทเี่ ราสนใจในสมดุ บนั ทกึ ทแ่ี จกใหน้ ะคะ และในชว่ งกจิ กรรมรอบกองไฟคนื นี้ นอ้ ง ๆ ตอ้ งเตรยี มเลา่ เรอื่ งของดี ของเดน่ จากชมุ ชนของตวั เองคนละหนงึ่ เรอื่ ง เพอื่ เลา่ ใหเ้ พอ่ื น ๆ ในคา่ ยฟงั กนั ” 10

พี่มาตู บอกเสยี งลน่ั วา่ “พ่วี ดี ๆ รถมาแลว้ ครบั ” “เด็ก ๆ พร้อมกันรึยงั คะ” พว่ี ดรี ้องถาม “พรอ้ มแล้ว ค่ะ-ครบั ” เสยี งเดก็ ๆ ตอบรบั ดังก้องหอ้ งประชุม เม่อื ทกุ คนข้ึนรถเรียบร้อยแล้ว พ่ีวดกี บ็ อกวา่ วันน้ีจะพาไปทศั นศกึ ษาสถานท่สี ำ� คัญ ในอำ� เภอเมืองปตั ตานีและอำ� เภอยะหร่ิง 11

ขณะทร่ี ถแล่นไปบนสะพานเฉลิมพระเกยี รตฯิ พ่ีวดีบอกให้ทุกคนหันไปมองทางซ้ายมือ ซึ่งมีเรือประมงล�ำเล็กล�ำใหญ่ ทง้ั เรอื กอและ เรืออวนลากสีสนั สดใสจอดสงบนิ่งอยู่ทีท่ ่าเทยี บเรือ 12

แลว้ กเ็ ลา่ ใหท้ ุกคนฟงั วา่ อ่าวปตั ตานี “อ่าวปัตตานี มบี รเิ วณกว้างขวาง เหมาะสำ� หรบั จอดเรือขนาดใหญ่และ ภาพ: อมีน นาคเสวี มีแผ่นดนิ ทเ่ี ป็นแหลมยืน่ ออกไปในทะเล “สาหรา่ ยผมนางกนิ ไดไ้ หมคะ” เป็นเสมือนก�ำแพงธรรมชาติ แกม้ ย้ยุ ยกมอื ถาม ท่กี น้ั ขวางคลื่นลมและพายทุ ่ีรนุ แรง จึงเปน็ จดุ ท่ปี ลอดภยั ส�ำหรับชาวเรอื ประมงพน้ื บา้ นและเรอื สนิ คา้ ขนาดใหญ”่ “นอกจากอ่าวปัตตานีจะเป็นทา่ เรอื ทมี่ ีชอ่ื เสยี งมาตง้ั แตส่ มยั โบราณแล้ว ยังเปน็ ปากแม่น�้ำท่ใี หญท่ ี่สุดในภาคใต้ อุดมสมบูรณไ์ ปดว้ ยทรัพยากรธรรมชาติ นานาชนิด ท่ีมีมากคือ ป่าโกงกาง ปลากะพง ปลากระบอก ปูมา้ ปูดำ� กุ้งกุลาด�ำ หอยแครง และสาหรา่ ยผมนาง” พีว่ ดรี ีบตอบ “กนิ ได้ค่ะชาวบา้ นนิยมนำ� ไปท�ำ ยำ� สาหรา่ ย เปน็ อาหารวา่ งทมี่ รี สเปรยี้ วนำ� หวานตามและเผ็ดนดิ ๆ ค่ะ” 13

รถแลน่ ลงจากสะพานมาไดร้ ะยะหน่งึ พี่วดขี อให้พ่ดี ำ� พนกั งานขับรถ จอดรถชิดรมิ ถนน ใหเ้ ด็ก ๆ ไดแ้ วะชมการทำ� นาเกลอื พวี่ ดเี ลา่ ใหเ้ ดก็ ๆ ฟงั วา่ “นาเกลอื ปตั ตานเี ปน็ แหล่งผลิตเกลอื สมุทรที่มีเพยี งแหง่ เดยี วในภาคใต้ และมีบันทึกประวตั ศิ าสตรว์ า่ ... 14

นาเกลอื ปัตตานีนั้นทำ� กันตัง้ แตเ่ ม่อื นาเกลอื 400 ปมี าแลว้ วธิ กี ารท�ำนาเกลอื ง่าย ๆ คอื สบู น�ำ้ ทะเลมาขังไวใ้ น ภาพ: อมนี นาคเสวี แปลงนา ปลอ่ ยใหแ้ ดดเผาจนน้ำ� ทะเล ระเหยตกผลกึ เป็นเมด็ เกลอื สีขาว ชาวนาเกลอื กจ็ ะกวาดโกยไว้เปน็ กอง ๆ อย่างที่เห็น แล้วตักใสภ่ าชนะ ทเ่ี รียกวา่ บาโก หาบมากองรวมกนั เปน็ กองใหญ่ ๆ ริมถนน รอใหพ้ อ่ คา้ มาติดตอ่ ซ้ือขายต่อไป” “มนั จะเค็มเหมือนเกลอื ผงทบ่ี ้านผม ไหมครับ” จลุ ถาม “ลองชมิ ไดไ้ หมครบั ” อาเดลสมทบ “เอาเลยเด็ก ๆ ชมิ จากเกลอื กองใหญน่ ี้เลย” บังการิม เจา้ ของนาเกลอื ซง่ึ เดินเขา้ มา พอดีเอย่ ปากอนุญาต เดก็ ๆ จงึ กรกู ัน เขา้ ไปหยบิ เม็ดเกลอื เขา้ ปาก “เค็มปีเ๋ ลย”

บงั การมิ ชาวนาเกลือใจดี บอกเด็ก ๆ วา่ “เกลือท่ไี หน ๆ ก็เคม็ ท้ังน้นั แต่คนโบราณพูดกันวา่ เกลอื ปัตตานีหวาน ความจรงิ ก็คอื เกลือปตั ตานีมีความเค็มนอ้ ยกว่าเกลอื จากท่อี ่ืน เพราะนำ้� ทะเลทนี่ �ำมาท�ำเกลือมีนำ�้ จืดจากแมน่ ำ้� ปตั ตานี และคลองยะหริง่ ปนอยู่ ความเค็มจึงนอ้ ยกว่าเกลือจากเพชรบรุ หี รอื สมุทรสาคร แต่ไมม่ ากหรอก เปน็ ไงละ เกลอื ปตั ตานอี รอ่ ยไหม ฮ่า ฮ่า ฮา่ ” ทุกคนจึงพากนั หัวเราะชอบใจ ชาวค่ายทกุ คนกล่าวลาบังการิมแล้วกลบั ขึน้ รถเพือ่ เดนิ ทางตอ่ ไป 16

17

รถแลน่ ไปบนถนนสายปตั ตาน-ี นราธิวาส ไดพ้ ักใหญ่ พ่ีมาตกู บ็ อกใหเ้ ด็ก ๆ เตรียมตวั ลงจากรถเพอ่ื แวะชมมัสยดิ กรือเซะ เมอ่ื ลงจากรถพวี่ ดพี าเดก็ ๆ ไปหาบงั โซะ๊ ที่นั่งรออยู่ใต้ร่มไม้ “อสั ลามอู าลยั กมุ ทุกคน บังดีใจมากท่ีพวกเธอมาท่นี ี่ ที่น่เี ป็นสถานทีส่ �ำคญั ทางประวตั ศิ าสตร์ จะเล่าใหฟ้ ังนะว่าสถานท่แี ห่งนม้ี คี วามส�ำคญั อย่างไร เรม่ิ ตน้ ดว้ ยคำ� ถามกอ่ น ใครรบู้ ้างว่าอาคารกอ่ ดว้ ยอิฐหลงั นคี้ อื อะไร” อาเดลรบี ยกมือก่อนใคร “มสั ยดิ กรือเซะครับ เปน็ มสั ยิดแหง่ แรกของเรา และเปน็ มสั ยิดท่พี ระราชาสั่งใหส้ ร้าง เพื่อให้ชาวมุสลิมใชเ้ ป็นทีล่ ะหมาดครบั ” 18

“ถกู ตอ้ ง เกง่ มากเธอชอ่ื อะไร” บงั โซะ๊ ถาม “ผมช่อื อาเดลครบั ” บังโซ๊ะรอ้ งออ๋ “อาเดล ในภาษาอาหรบั แปลวา่ ยตุ ธิ รรม” 19

“เอาละ บังจะเล่าเร่ืองมสั ยิดกรอื เซะใหฟ้ ัง เรื่องมีอยวู่ ่า เมื่อราชาอินทริ า ผู้ครองนครปตั ตานี ซง่ึ เคยนบั ถอื ศาสนาพทุ ธมาก่อนไดท้ รงเขา้ รบั นับถอื ศาสนาอสิ ลาม แล้วทรงเปลี่ยนพระนามใหมเ่ ปน็ สลุ ตา่ นอสิ มาเอล ชาร์ แต่ในสมัยนน้ั ยงั ไม่มีสถานท่ีละหมาดท่มี นั่ คงถาวรนกั ตอ่ มาในสมยั สลุ ตา่ นมซู ฟั ฟรั ชาร์ พระองคท์ รงโปรดใหม้ กี ารกอ่ สรา้ งมสั ยดิ ประจำ� เมอื งขนึ้ นนั่ คอื มสั ยดิ กรอื เซะ หรอื ทเี่ รยี กอกี ชอ่ื หนง่ึ วา่ ‘มสั ยดิ ปนิ ตู เกริ บงั ’ (มสั ยดิ ประตเู มอื ง) เราเดนิ เขา้ ไปดใู กล้ ๆ กัน บงั จะได้อธิบายรูปแบบของอาคารไปด้วยเลย” 20

มัสยิดกรือเซะ “มัสยดิ กรือเซะ เป็นอาคารก่ออฐิ ถือปูน เสาทรงกลม ภาพ: อมนี นาคเสวี ช่องประตหู น้าตา่ งมที ้ังแบบโค้งแหลม และแบบโคง้ มน โดมและหลังคา มรี ูปทรงโค้งมน ทง้ั หมดนี้เรียกว่า สถาปตั ยกรรมแบบเปอร์เซยี เราเดนิ เขา้ ไปดูดา้ นในกนั เด็ก ๆ ถอดรองเท้าด้วยนะครับ เป็นการให้เกียรติสถานทศี่ ักดส์ิ ิทธิ์ของ ชาวมสุ ลมิ และไมค่ วรสง่ เสยี งดงั ดว้ ยนะ เพราะมีชาวบ้านมาละหมาดกัน บางคนกใ็ ช้เปน็ สถานที่ ท่องพระคัมภีร์อลั กรุ อานดว้ ย” 21

22

เมอื่ ทกุ คนเดนิ ชมรอบ ๆ “เรอ่ื งเล่าของเจา้ แมล่ ้ิมกอเหนย่ี ว มัสยดิ เรียบรอ้ ยแล้ว มีหลายตำ� นาน บงั โซะ๊ กช็ วนใหเ้ ดนิ ไปยงั สถานทอี่ กี แหง่ หนงึ่ เอาทบ่ี งั โซะ๊ ถนัดเลา่ ดกี วา่ นะ ซ่ึงอยใู่ นบรเิ วณใกล้เคยี งกัน เรือ่ งมอี ยูว่ า่ ลมิ้ กอเหน่ยี วเป็นหญงิ สาว “ที่นี่คอื สสุ านของเจ้าแมล่ ม้ิ กอเหน่ียว ชาวจนี ออกเดนิ ทางจากบา้ น ใช่ไหมคะ” มาตามหาพช่ี ายช่อื ล้ิมโต๊ะเคีย่ ม เหมยสาวหมวยตวั เลก็ ผอมบาง เนื่องจากมารดาป่วยหนัก ถามบงั โซะ๊ อยากเจอหนา้ ลูกชายเป็นคร้ังสดุ ท้าย “ถูกตอ้ งแลว้ ละ” บงั โซ๊ะตอบ นางสืบขา่ วมาเรื่อย ๆ จนกระทง่ั ทราบว่าพี่ชายของนาง มามีภรรยาเป็นชาวมลายู อยู่ทเี่ มืองปตั ตานี เมื่อนางเจอพ่ีชายกข็ อร้องให้ เดนิ ทางกลบั เมืองจนี ไปดว้ ยกนั แตถ่ ูกปฏิเสธ” สุสานเจ้าแมล่ ิม้ กภาอพ:เนหพนรตั น่ีย์ มวณุ รี ัตน์ 23

24

ล้ิมกอเหน่ียวไมล่ ะความพยายาม หาโอกาสอ้อนวอนใหพ้ ่ชี ายกลับ ตอ่ มาเมืองปัตตานเี กดิ สงคราม ล้มิ โตะ๊ เคี่ยมไดร้ ่วมตอ่ สู้ขบั ไล่ผรู้ ุกราน ลม้ิ กอเหน่ยี วเขา้ ชว่ ยพ่ชี ายแตเ่ หน็ วา่ สู้ข้าศึกไมไ่ ด้ จงึ ฆ่าตัวตายไม่ยอมตายด้วยอาวธุ ของศตั รู “จากการกระท�ำอยา่ งอาจหาญและเดด็ เดี่ยวของล้มิ กอเหนีย่ ว ทำ� ให้ชาวจนี ในปตั ตานมี ีความศรัทธาในตัวนาง จึงได้แกะสลกั รูปล้ิมกอเหนี่ยวประดษิ ฐานไวท้ ี่ศาลเจา้ ใกลม้ ัสยดิ กรอื เซะ และเชื่อวา่ เจ้าแมล่ มิ้ กอเหนยี่ วมีความศักดิส์ ิทธจิ์ นเป็นทเ่ี ลื่องลือไปท่ัว” “ตำ� นานนี้มหี ลายส�ำนวน ใครสนใจก็ตอ้ งศึกษาอ่านหนังสือเพ่ิมเติม และอย่าลมื ใช้เหตุผลในการเรยี นร้เู พื่อความเข้าใจที่ถูกตอ้ ง เอาละหมดเรื่องเลา่ แลว้ บงั ดีใจนะครับท่ีเดก็ ๆ สนใจเร่ืองราวทอ้ งถิ่นบา้ นเรา” 25



“จุดหมายต่อไปของเราคอื วงั ยะหร่ิง วังยะหรงิ่ นะครับ” พม่ี าตูรายงาน ภาพ: อมนี นาคเสวี “วงั ยะหรงิ่ มีเจา้ หญงิ เจ้าชายไหมคะ” เหมยร้องถาม พว่ี ดอี มย้ิม ตอบวา่ “เป็นวังของเจา้ เมืองยะหร่งิ คะ่ สาวนอ้ ย ปจั จบุ ันลูกหลานของท่านเจ้าเมือง ยงั คงอาศยั อยู่และดแู ลรักษาวังแหง่ น้ี ไวเ้ ป็นอยา่ งด”ี “วงั ยะหร่งิ สรา้ งขนึ้ ในสมยั รชั กาลท่ี 5 โดยพระยาพิพธิ เสนามาตยาธบิ ดี ศรีสุรสงคราม เจา้ เมอื งยะหรงิ่ เป็นอาคารสองชน้ั คร่งึ ตกึ คร่ึงไม้ สรา้ งแบบสไตลย์ ุโรป ผสมผสานศลิ ปะ ทอ้ งถนิ่ และศลิ ปะชวา” 27

พนี่ ชุ นกั อา่ นนวนยิ ายตวั ยง เลา่ ตอ่ ใหฟ้ งั ว่า “นวนิยายเรอ่ื ง มสั ยา ทเี่ คยสรา้ งเปน็ ละครทางโทรทศั น์ ผเู้ ขียนไดแ้ รงบนั ดาลใจ แล้วเขียนเร่ืองนข้ี ้ึนจากการได้เข้ามาเยีย่ มชมวงั ยะหรง่ิ นกั เขียนท่านน้นั กค็ อื พนมเทียน หรอื ฉตั รชยั วิเศษสวุ รรณภมู ิ ศลิ ปินแห่งชาตสิ าขาวรรณศลิ ป์ ทา่ นเป็นคนสายบุรนี เี่ อง” “พนมเทียน คอื นามปากกาของผู้ทเี่ ขียนเรอ่ื ง เพชรพระอมุ า ดว้ ยใชม่ ้ยั ครับพนี่ ุช” พมี่ าตรู ้องถาม “ใชแ่ ล้วคะ่ พม่ี าตู เป็นเรอ่ื งราวการผจญภยั ทสี่ นุกมาก พีน่ ชุ ขอแนะนำ� ใหน้ อ้ ง ๆ ลองหามาอา่ นดูนะคะ” “แตต่ อนน้ีพ่นี ชุ วา่ พวกเราเขา้ ไปเยย่ี มชมความงามของวงั ยะหร่ิงกันก่อน ดีกว่านะคะ บางทีอาจมีน้องคนไหนเกิดแรงบนั ดาลใจแต่งนวนยิ าย จากวังยะหร่ิงได้อกี สกั เรอื่ ง” 28

เมือ่ ออกมาจากวงั ยะหร่งิ แล้วพ่มี าตแู จง้ วา่ จะพาเดก็ ๆ ไปรบั ประทานอาหารกลางวันที่ชายหาดตะโละกะโปร์ เด็ก ๆ ตื่นเต้นดีใจ พี่มาตถู ามว่า “รู้ไหม ตะโละกะโปร์ แปลว่าอะไร ไปหาค�ำตอบกนั ท่ีชายหาดนะครับ” มาถงึ หาดตะโละกะโปร์ พ่นี ชุ กับพม่ี าตูชว่ ยกันน�ำห่อขา้ วหมกไก่ แจกให้แก่นอ้ ง ๆ ทกุ คน และขอแรงให้เดก็ ๆ ช่วยกนั ยกน้ำ� ดืม่ ไปวางไว้บนโต๊ะ “เดก็ ๆ ทานขา้ วเสรจ็ แล้ว เกบ็ กระดาษห่อข้าวใสถ่ ุงดำ� สว่ นขวดนำ�้ ด่ืมแยกไว้อกี ถุงหนงึ่ นะคะ” พ่นี ชุ รอ้ งบอก ในขณะท่ีแจกห่อข้าวใหเ้ ดก็ ๆ 29

เมือ่ เดก็ ๆ ทานขา้ วกนั เสร็จแลว้ พ่มี าตูกช็ วนกันเดนิ สำ� รวจชายหาด “พ่มี าตคู ะ เปลอื กหอยเยอะแยะเลย หมวยเก็บกลบั ไปบา้ นบา้ งไดม้ ย้ั คะ” “ไม่ไดค้ รบั เราควรปลอ่ ยใหเ้ ปลอื กหอยเหลา่ นี้อยู่กับหาดทรายทนี่ ี่ เพราะถ้าทุกคนเก็บไปคนละอันสองอัน วันหนึง่ หาดตะโละกะโปรก์ จ็ ะไม่มีเปลือกหอยใหไ้ ดเ้ หน็ กนั ว่าแต่ตอนนใี้ ครตอบพม่ี าตูได้บ้างวา่ ตะโละกะโปร์ แปลวา่ อะไร” 30

เหมยรีบยกมือตอบ หาดตะโละกะโปร์ “แปลว่าอา่ วปูนคะ่ ” ภาพ: อมีน นาคเสวี “ถกู ตอ้ งครบั ตะโละกะโปร์ เป็นภาษามลายูพ้นื เมอื ง 31 ค�ำว่า ตะโละ แปลว่า อา่ ว คำ� วา่ กะโปร์ แปลว่า ปนู รวมความหมายแปลว่า อ่าวปนู เพราะในสมยั กอ่ นเลา่ กนั วา่ บริเวณพ้ืนทีต่ รงนี้เปน็ ที่เก็บเปลือกหอย ซึ่งน�ำมาเผาไฟจนกลายเปน็ ปูนขาว ใชก้ นิ กบั หมาก สนั นษิ ฐานกนั วา่ นา่ จะเปน็ เปลอื กหอยขาว หรอื หอยแครง เพราะวา่ หอยขาว เปน็ หอยประจำ� อา่ ว มีจำ� นวนมาก ชาวประมงจะเกบ็ มากนิ เน้ือ และเปน็ สนิ คา้ สง่ ออกของอำ� เภอยะหรงิ่ ”

เดนิ กนั ไปสักพักหนงึ่ พ่ีวดีก็รอ้ งเรียกใหต้ ามไปอีกฝง่ั หนงึ่ ของชายหาด แลว้ แนะน�ำให้ทกุ คนรูจ้ ักกบั บงั เลาะ พ่วี ดบี อกว่าบังเลาะเปน็ ทง้ั ช่างตอ่ เรอื ช่างซ่อมเรอื และช่างเขียนลายเรอื กอและ 32

เรอื กอและ “วันนบี้ ังเลาะจะสาธติ การเขยี น ลายเรอื กอและใหเ้ ดก็ ๆ ไดช้ มกนั นะคะ” ภาพ: อมีน นาคเสวี บังเลาะเปน็ คนพูดนอ้ ย พวี่ ดเี ลยรบั หน้าทบ่ี อกเล่าความเปน็ มา และขัน้ ตอนการเขยี นลวดลายลงบน เรอื กอและใหเ้ ด็ก ๆ ฟังแทน “เรอื กอและ เปน็ เรอื ประมงพน้ื บา้ นท่ีสวยที่สดุ ค�ำว่า กอและ หมายถึง อาการโคลงเคลงของเรือขณะทลี่ อยลำ� อยใู่ นทะเล ลวดลายและสสี นั ที่เขยี นส่วนใหญ่เปน็ ลายไทย มลายู ชวา และจนี โดยภาพทว่ี าดกม็ ักเปน็ ภาพสตั ว์นำ�้ ตา่ ง ๆ เช่น ปู ปลา กุ้ง ปลาหมึก และภาพสัตวจ์ ากจนิ ตนาการในวรรณคดีบ้าง จากประเพณบี ้าง เชน่ ครฑุ นกยูงทอง นาค หนมุ าน มงั กร เปน็ ตน้ ” 33

เดก็ ๆ ตง้ั อกตง้ั ใจดกู ารสาธติ การเขยี นลายลงบนลำ� เรอื แบบไมว่ างตา อาเดลถามบงั เลาะวา่ “บงั ครบั บงั ไมร่ า่ งกบั ดนิ สอกอ่ นเหรอครบั แลว้ จะรไู้ ดอ้ ยา่ งไรวา่ จะเขยี นลายอะไร” บงั ยม้ิ “มนั ชนิ แลว้ เขยี นมาตง้ั แตอ่ ายุ 14 ปี ตอนนอ้ี ายุ 50 กวา่ ปี สบายมาก บงั จนิ ตนาการไวใ้ นสมอง แลว้ เขยี นไดเ้ ลย” อาเดล ยกนวิ้ โปง้ ใหบ้ งั เลาะ “บงั สดุ ยอด” หลงั จากชน่ื ชมฝมี อื วาดลวดลายของบงั เลาะ จนเตม็ อม่ิ แลว้ เดก็ ๆ บอกลาบงั เลาะ “อาเดลเปน็ ตวั แทนขอบคณุ บงั เลาะดว้ ยคะ่ ” พวี่ ดบี อก 34

35

รถบัสพาเดก็ ๆ เดนิ ทางกลับถงึ อาคารสถาบันวัฒนธรรมศึกษา พีม่ าตบู อกให้เด็ก ๆ ไปอาบน�้ำและทำ� ธุระส่วนตวั ให้เรียบรอ้ ย “อาหารเยน็ จะเรม่ิ กนั ตอน 6 โมงเยน็ วนั นม้ี ขี องอรอ่ ยหลายอยา่ ง เชน่ นำ้� บดู กู บั ผกั เหนาะ ไกฆ่ อและเจา้ อรอ่ ย ปลาททู อด ยกตวั อยา่ งแคน่ กี้ อ่ นนะครบั เพราะตอนนที้ อ้ งพม่ี าตกู ร็ อ้ งจอ๊ กแลว้ ” หลังจากอิม่ อรอ่ ยกับอาหารมือ้ เยน็ ชุดใหญแ่ สนอรอ่ ยตามทีพ่ ีม่ าตบู อกไว ้ ก็มาถงึ เวลาของกจิ กรรมรอบกองไฟ “เล่าเรอ่ื งราวบ้านฉันบ้านเธอ” 36

พม่ี าตู เตรียมลานโลง่ ๆ ไว้ และกอ่ กองไฟไวต้ รงกลาง เด็ก ๆ ทยอยเดินลงมาในสนามหญ้า นง่ั ล้อมเปน็ วงกลม พ่ีวดีเรม่ิ ตน้ กจิ กรรมบ้านฉันบา้ นเธอ โดยใหแ้ ตล่ ะคนแนะนำ� ตวั ก่อนแล้วจึงเล่าเร่ืองของตนเองให้เพือ่ น ๆ ฟงั ทีละคน “คนแรกเป็นใครดคี ะ” พว่ี ดถี าม อาเดลยกมอื ทนั ใด “ผมครบั ” “ผมชอื่ เดก็ ชายอาเดล จฬุ ามาศ มาจากอำ� เภอสายบรุ ี จงั หวดั ปตั ตานคี รบั อำ� เภอของผมมขี องดหี ลายอยา่ ง เชน่ นำ้� บดู ู เป็นอาหารเย็นแสนอร่อยของเราในวันน้ี ซึ่งใช้ปลาไส้ตันหมักกับเกลือ นอกจากน้ี ทสี่ ายบรุ ยี งั มวี งั เกา่ คอื วงั สายบรุ ี ตง้ั อยทู่ ต่ี ำ� บลตะลบุ นั สร้างโดยช่างชาวชวาและช่างท้องถ่ิน ในสมัยพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี เจา้ เมอื งสายบรุ ี นา่ เสยี ดายทตี่ อนนว้ี งั สายบรุ ที รดุ โทรมลงมากแลว้ แตก่ ย็ งั มคี วามงามใหเ้ หน็ อยบู่ า้ ง” 37

คณุ ตาวาเด็ง ปูเตะ๊ ภาพ: อมนี นาคเสวี “ทส่ี ายบรุ ยี งั มคี นดงั ทเ่ี รารจู้ กั กนั ดดี ว้ ยนะครบั เปน็ เพอ่ื นบา้ นผมเอง ทา่ นคอื คณุ ตาวาเดง็ ปเู ตะ๊ ซง่ึ เปน็ พระสหายแหง่ ลมุ่ นำ�้ สายบรุ ขี องในหลวง เคยเปน็ คนพายเรอื ใหใ้ นหลวงทรงนง่ั สำ� รวจคลอง และเมอื่ ในหลวงเสดจ็ มาในพนื้ ทนี่ ้ี กจ็ ะมรี บั สงั่ ใหค้ ณุ ตาวาเดง็ เขา้ เฝา้ ทพ่ี ระตำ� หนกั ทกั ษณิ ราชนเิ วศนท์ กุ ครงั้ แตต่ อนนค้ี ณุ ตาเสยี ชวี ติ แลว้ ออ้ แลว้ เมอื่ กลางวนั พน่ี ชุ ยงั บอกวา่ คณุ ตาพนมเทยี น นกั เขยี นเรอื่ ง เพชรพระอมุ า และ มสั ยา กเ็ ปน็ คนดงั เมอื งสายบรุ อี กี คนนะครบั ” เมอ่ื อาเดลเลา่ จบ เพอ่ื น ๆ ตา่ งปรบมือใหเ้ สียงดงั กอ้ ง 38

“เก่งมากอาเดล ต่อไปเป็นใครดคี ะ” “ผม จลุ ครบั เดก็ ชายพฒุ พิ ฒั น์ เบญจศลี บา้ นผมอยตู่ ำ� บลนาประดู่ อำ� เภอโคกโพธิ์ จงั หวดั ปตั ตาน ี เพอ่ื น ๆ รจู้ กั วดั ชา้ งใหไ้ หมครบั ครอบครวั ผมไปทำ� บญุ ทว่ี ดั แหง่ นเ้ี ปน็ ประจำ� วดั ชา้ งใหม้ ชี อ่ื เปน็ ทางการวา่ วดั ราษฎรบ์ รู ณะ สรา้ งมาแลว้ กวา่ 300 ปี โดยพระยาแกม้ ดำ� เจา้ เมอื งไทรบรุ ี แลว้ นมิ นตพ์ ระภกิ ษรุ ปู หนงึ่ ทชี่ าวบา้ นเรยี กวา่ หลวงพอ่ ทวดเหยยี บนำ�้ ทะเลจดื มาเปน็ เจา้ อาวาสองคแ์ รก เมอ่ื ทา่ นมรณภาพ ลกู ศษิ ยก์ ไ็ ดน้ ำ� อฐั ขิ องทา่ นสว่ นหนง่ึ ฝงั ไวท้ วี่ ดั ชา้ งให้ ซงึ่ เปน็ ทเ่ี คารพศรทั ธาอยา่ งมากของชาวพทุ ธ” วัดชา้ งให้ ภาพ: สิริกร มณรี นิ ทร์ 39

พอจุลเลา่ จบ เหมยกไ็ มร่ อช้า “หนขู อเลา่ ต่อเลยนะคะ สวสั ดีคะ่ หนชู อื่ เดก็ หญงิ เพยี งขวัญ ล่มิ สกุล ค่ะ บา้ นหนูอยใู่ กล้ศาลเจา้ แมล่ ้ิมกอเหนี่ยวคะ่ เปน็ ทปี่ ระดษิ ฐานรูปแกะสลกั ของเจ้าแมล่ ิม้ กอเหนยี่ ว พระหมอ เจา้ แม่ทับทมิ และเทพเจา้ องค์อน่ื ๆ ทช่ี าวจีนศรทั ธาอีกจำ� นวนมาก ทกุ ๆ ปี จะมงี านสมโภชเจ้าแมล่ ม้ิ กอเหนยี่ ว ในวนั ข้นึ 15 คำ�่ เดอื น 3 มกี ารแหเ่ จ้าแม่ล้มิ กอเหนย่ี วไปตามถนนสายต่าง ๆ ภายในเมืองปตั ตานี มีการวา่ ยน�้ำขา้ มแม่น�้ำปัตตานีบริเวณสะพานเดชานชุ ิต มพี ธิ ลี ุยไฟบรเิ วณหน้าศาลเจา้ เล่งจเู กยี งด้วยค่ะ” 40

หลังจากทีเ่ ดก็ ๆ ลุกขึน้ เล่าเรอ่ื งราวของบา้ นตนเองครบทุกคนแล้ว “ขอเลา่ บา้ งครบั บา้ นผมอยู่ใกล้กับมสั ยิดกลางปตั ตาน”ี เด็ก ๆ พากันหวั เราะ ทพี่ ีม่ าตแู กล้งท�ำตวั เลก็ ลอ้ เลียนนอ้ ง ๆ เหมอื นเด็กประถม “มสั ยิดกลางปตั ตานี เป็นมัสยดิ ทีส่ วยทสี่ ดุ ของไทย สรา้ งในปี พ.ศ. 2497 เพ่อื ให้เป็นศูนยก์ ลางในการประกอบศาสนกจิ ของชาวมุสลิมครบั มีรูปทรงคลา้ ยกับทัชมาฮาลของประเทศอินเดีย ตรงกลางเปน็ อาคารทมี่ ยี อดโดม ขนาดใหญแ่ ละมโี ดมบรวิ าร 4 ทิศ มัสยิดเปน็ โถงมีระเบยี งสองข้าง ภายในหอ้ งโถงด้านในมีบัลลังกท์ รงสงู และแคบ เป็นทีส่ �ำหรับ ‘คอฏีบ’ ยนื อา่ นคฏุ บะฮ์ การละหมาดในวันศุกร์ หอคอยทัง้ สองข้างเดมิ ใชเ้ ปน็ หอกลอง ส�ำหรบั ตเี ป็นสัญญาณเรียกให้มสุ ลิมมาร่วมปฏบิ ตั ิศาสนกิจ แต่ปจั จุบนั เปลีย่ นจากกลองมาเป็นล�ำโพงเครอ่ื งขยายเสียงแทนเสยี งกลอง” มัสยดิ กลางปัตตานี ภาพ: นพรัตน์ มุณรี ตั น์ 41

“ปรบมอื ใหต้ วั เอง ทกุ ๆ คนเกง่ มากเลย ฟังแลว้ ดีใจ ทไ่ี ด้เกิดมาเปน็ คนปตั ตานี เพราะจากท่ีน้อง ๆ เลา่ กันมา พ่วี ดีคดิ ว่าไม่มจี ังหวัดไหนในประเทศไทยท่ีจะมีสง่ิ สำ� คัญ ซึง่ เปน็ ท่ีเคารพศรทั ธาของชาวพุทธ มสุ ลมิ และจีน อยู่ในจังหวัดเดยี วกัน แลว้ ยงั มสี ถานทส่ี �ำคัญทางประวตั ศิ าสตร์อย่างเชน่ เมืองโบราณยะรงั มงี านศลิ ปหัตถกรรมท่งี ดงาม เช่น ผา้ ทอจวนตานี มีภาษาทีเ่ ปน็ เอกลักษณ์อย่างเช่นภาษาชาวพเิ ทนในอำ� เภอทุ่งยางแดง และท่ีส�ำคัญมีของกินอร่อยมากมาย มอี ะไรบา้ งนะ” “ไกฆ่ อและ” “โรตีปาแย” “ลกู หยีกวนยะรงั ” “รอเยาะ” “โรตกี รอบ” “ขา้ วยำ� ” 42

เด็ก ๆ แขง่ กนั บอกชอ่ื รายการอาหารกันอยา่ งสนกุ สนาน “เอาละค่ะ ฟงั ชื่ออาหารแล้วรสู้ ึกหิวอีกรอบ ง้นั พวี่ ดีคดิ ว่าเราแยกยา้ ยกันไปพกั ผ่อนดกี วา่ นอนหลบั ฝนั ดีนะคะทุกคน” พว่ี ดกี ล่าวปิดกิจกรรมรอบกองไฟ อาเดลมองไปยงั หนา้ ต่าง พระจันทร์เสย้ี วยงั คงอมยม้ิ เหมอื นเมอื่ คนื กอ่ น อาเดลยมิ้ ให้จนั ทรเ์ ส้ยี วและหลับอย่างมีความสุข 43



Local Knowledge Book Series

46

On a night when the crescent moon smiled down from outside the window, Adel lay in bed and gazed at it and at the stars shining and twinkling in the sky. Thinking of the delights that awaited him the next day, he told himself before falling asleep; “Tomorrow is the ‘My Home, Your Home’ youth camp!” “Cock-a-doodle-do!” The rooster crowed as it always did every morning. Adel got up, had a shower and put on his clothes very quickly. He ate his Nasi Dagae, or rice topped with chicken curry, so fast he hardly even felt the taste of his favorite dish. Then he put on his back pack and called out to his mother. “Mom! Please drop me off! I don’t want to be late for the camp!” 47

Adel arrived at the Princess Galyani Vadhana Institute of Cultural Studies, part of Prince of Songkhla University and the meeting point for Pattani’s primary school children who came to join “My Home, Your Home” youth camp along with their friends. 48

“For students who have arrived and registered, please come to receive your notebook this way!” Wadee, one of the camp’s friendly coordinators, called out to the children who were gathering in front of the building. Camp coordinators Wadee, Matu, and Nuch then called the children into the hall and started to introduce themselves. “Hi, I’m Wadee! I will be your guide to take you guys to see important places in Pattani!” “Hello, I’m Matu! My duty is to make sure you will have lots of fun today!” “Hi, I’m Nuch! I will take care of the food for you campers! I guarantee that you will have lots of yummy things to eat!” 49