Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชิโนโปตุกีส ภูเก็ต

Description: ชิโนโปตุกีส ภูเก็ต

Search

Read the Text Version

มุมความรู้ภูเก็ต @ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา ศูนย์รวมใจออสเตรีย-ภูเก็ต ชิโนโปรตุกีส สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส (Chino-Portuguese Architecture) ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนแหลมมลายูในยุค สมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก เมื่อประมาณปี พ.ศ.2054 ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าบริเวณ เมืองท่ามะละกา และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาการตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ด้วย จากการที่เมืองท่า มะละกาอยู่ระหว่างปีนังและสิงคโปร์ ชาวจีนในประเทศเหล่านี้ได้นำแบบแปลนของบ้านเรือนนั้นไปดำเนินการก่อสร้าง ด้วยความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับชาวจีน ทำให้ผลงานการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเพี้ยนไปจากแบบแปลนที่ชาว โปรตุเกสได้วางไว้ โดยช่างชาวจีนได้ตกแต่งลวดลายสัญลักษณ์รวมถีงลักษณะรูปแบบบางส่วนของตัวอาคารตามคติ ความเชื่อของจีน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น ท่ามกลางสังคมของกลุ่มชน 3 เชื้อชาติ อันได้แก่ โปรตุเกส จีน และมา เลย์ ในดินแดนแหลมมลายูตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ชิโนโปรตุกีสเดินทางจากปีนังสู่ภูเก็ต โดยสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสเดินทางเข้าสู่ภูเก็ต เมื่อยุคสมัยของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2444 – 2456 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในช่วงนั้นภูเก็ตได้มีการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าขายกับปีนังอย่างเฟื่ องฟู ทำให้วัฒนธรรม วิทยาการใหม่ๆ ตลอดจนรูปแบบการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนแบบชิโนโปรตุกีสได้แพร่หลายเข้าสู่เมืองภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่อาคารชิโน โปรตุกีสจะถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีนที่มีความร่ำรวยจากการธุรกิจเมืองแร่ดีบุก อาคารเหล่านี้ตั้งอยู่ในย่านกลาง เมืองภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ. 2537 ทางเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้ง หน่วยงานจากภาครัฐและองค์กรเอกชน องค์กรท้อง ถิ่นในเมืองภูเก็ต ได้ร่วมกันพัฒนาและอนุรักษ์ย่าน เมืองเก่าขึ้นมา มีการกำหนดให้พื้นที่ประมาณ 210 ไร่ ซึ่งครอบคลุมถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนเทพกระษัตรี ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยออก เป็นประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการควบคุมให้พื้นที่อนุรักษ์นี้ ให้มีความสูง อาคารได้ไม่เกิน 12 เมตร และยังได้ส่งเสริมให้มีการ พัฒนาอาคารในรูปแบบดั้งเดิมไว้ อย่างเช่นมีการให้ เว้นช่องทางเดินด้านหน้า และคงรูปแบบอาคาร ลักษณะจีน-โปรตุเกสไว้ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของ เมืองภูเก็ต ที่มา https://sites.google.com/site/chinomodernphuket/