แมลง ัศตรูไ มผล ก ลุมบ ิรหาร ัศตรู ืพช สำ ันกวิ ัจย ัพฒนาการอารักขา ืพช กรมวิชาการเกษตร เอกสารวิชาการ ISBN 978-974-436-767-9 พ.ศ. 2557 ไแมมลผงศัตลรู กลุมบรหิ ารศตั รูพชื สำนักวจิ ัยพัฒนาการอารักขาพชื กรมวชิ าการเกษตร
ไมผ้ ล แมลงศตั รู กลุม่ บริหารศตั รพู ชื สำนักวิจยั พัฒนาการอารกั ขาพืช กรมวชิ าการเกษตร ศรตุ สุทธอิ ารมณ์ สราญจติ ไกรฤกษ ์ ศรีจำนรรจ์ ศรจี นั ทรา สัญญาณี ศรีคชา บษุ บง มนสั มัน่ คง วภิ าดา ปลอดครบุร ี วนาพร วงษน์ ิคง เกรียงไกร จำเรญิ มา แมลงศัตรูไม้ผล 1
บทนำ กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ได้จัดพิมพ์เอกสารวิชาการ “แมลงศตั รูไมผ้ ล” ซง่ึ เอกสารวิชาการเลม่ นี้ เป็นการรวบรวมผลงานของนกั วิชาการที่ปฏบิ ัติงาน ด้านแมลงศัตรูไม้ผลที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งเน้นการป้องกันกำจัดและการจัดการที่ถูกต้องใน สภาพแปลงปลูกรวมทั้งวิธีการบริหารจัดการศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพ เอกสารฉบับน้ี เป็นการ ทบทวน ปรับปรุง เพ่ิมเติม ข้อมูลทางวิชาการที่ได้จากผลการศึกษาวิจัยอย่างต่อเน่ืองจากที่ได้ เคยจดั พิมพ์ไปบางสว่ นแล้ว จุดประสงค์เพือ่ ให้เกษตรกรสามารถนำไปปรับใชต้ ามสภาพแวดล้อม ของตนเองและประสบผลสำเรจ็ ในการปอ้ งกนั กำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิด เพ่ือใหไ้ ด้ผลผลติ คุณภาพดี มคี วามปลอดภยั ทั้งต่อผผู้ ลติ ผบู้ ริโภค และสภาพแวดล้อม รวมทงั้ ศตั รธู รรมชาตทิ ี่มีประโยชน์ด้วย เอกสารวิชาการเร่ือง “แมลงศัตรูไม้ผล” ที่นำเสนอนี้ คณะผู้จัดทำหวังว่า ผู้ที่เก่ียวข้องท้ังด้านวิชาการและด้านปฏิบัติการ จะได้สาระประโยชน์ และนำไปประยุกต์ใช้ได้ อยา่ งเหมาะสมดีย่ิงข้นึ นายศรตุ สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการกลมุ่ บริหารศัตรพู ืช แมลงศตั รไู มผ้ ล 2
สารบัญ บทนำ แมลงศตั รูทุเรยี น หนา้ แมลงศัตรมู ังคดุ 2 แมลงศัตรูลำไยและลน้ิ จี่ 4 แมลงศัตรูมะมว่ ง 24 แมลงศัตรูสม้ เขยี วหวาน 39 แมลงศตั รูส้มโอ 52 แมลงศตั รูองุน่ 71 แมลงศัตรูชมพู่และฝรง่ั 88 แมลงศัตรเู งาะ แมลงวนั ผลไมแ้ ละการปอ้ งกันกำจัด 103 114 128 139 แมลงศัตรูไม้ผล 3
แมลงศตั รู ทเุ รียน ศรุต สทุ ธอิ ารมณ ์ สถานการณแ์ ละความสำคัญ ทุเรียน Durio zibethinus L. เป็นผลไมท้ ี่มีขนาดผลใหญ่ มีหนาม รสชาติหวานมนั ไดช้ ื่อว่า เป็นราชาของผลไม้ (The king of fruits) ทุเรยี นจัดเปน็ พืชเศรษฐกิจท่สี ำคญั ของประเทศไทย มแี หลง่ ปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ รองลงมาคือ ภาคเหนือบางส่วน และภาคกลาง ในปี 2556 มีพื้นท่ีปลูกรวมประมาณ 641,248 ไร่ เน้ือท่ีให้ผลผลิตประมาณ 577,124 ไร่ ผลผลิตรวม 569,238 ตนั ทำรายไดใ้ ห้แก่เกษตรกร 22,439 ลา้ นบาท ซึง่ มากกว่าในปี 2555 ซงึ่ ทำรายได้ 16,287 ลา้ นบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) เนอ่ื งจากทเุ รียนได้รบั ความนยิ มสงู มตี ลาดท้ังภายใน และมีการขยายตลาดออกไปยังต่างประเทศ โดยส่งไปในรูปผลสด ทุเรียนแช่แข็ง และทุเรียนแปรรูป ทำรายได้เข้าประเทศและต่อเกษตรกรผู้ปลูกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เกษตรกรจึงมีการดูแลรักษา ทุเรียนอย่างดีทั้งด้านการผลิตและอารักขาพืชเพื่อป้องกันผลผลิต ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีหลาย อย่างเพ่ือบังคับให้ทุเรียนออกผลในช่วงฤดูท่ีต้องการ และได้ผลผลิตที่ตรงต่อความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้องประสบกับปัญหาการผลิตด้านต่างๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศที่ผันแปร และปัญหาศัตรูพืชท้ังโรคและแมลงท่ีระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนเป็นอย่างมาก แมลงศัตรูหลาย ชนิดเข้าทำลายทำความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตลดลง คุณภาพผลผลิตต่ำลงทำให้ชาวสวนทุเรียนต้อง ใชส้ ารฆ่าแมลงเพิม่ ขนึ้ อยา่ งมาก จากการสำรวจการใช้สารเคมขี องเกษตรกรผปู้ ลูกทุเรยี นในภาคตะวัน ออกปี พ.ศ. 2538 พบว่าเกษตรกรใชส้ ารฆา่ แมลงเฉล่ียทุกๆ 15 วัน การใชว้ ธิ กี ารปอ้ งกนั กำจัดโดยใช้ สารฆ่าแมลงน้ีเป็นวิธีท่ีใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นไม่สามารถใช้ได้ตลอดไป และยังก่อให้เกิด ปัญหาอ่นื ๆ ตามมาอกี มากมาย เช่น แมลงสรา้ งความตา้ นทานตอ่ สารฆา่ แมลง การระบาดของแมลงท่ี ยังไม่เป็นศัตรูที่สำคัญขณะน้ี และปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายต่อ เกษตรกรและผู้บรโิ ภคดว้ ย สถานการณศ์ ัตรูพืช แมลงศัตรูทุเรียนที่พบในประเทศไทย มีท้ังท่ีเป็นแมลงศัตรูท่ีสำคัญพบระบาดเป็นประจำและ พบเป็นครงั้ คราว แมลงศัตรูที่สำคัญและทำความเสยี หายทางเศรษฐกจิ ให้แก่ทเุ รยี นมี 6 ชนิด ไดแ้ ก่ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เพล้ียไก่แจ้ หนอนเจาะผลทุเรียน เพล้ียแป้ง เพลี้ยไฟ และมอดเจาะลำต้น นอกจากน้ียังมีแมลงศัตรูทุเรียนชนิดใหม่ท่ีไม่เคยเป็นปัญหามาก่อน คือ หนอนด้วงหนวดยาวเจาะ ลำต้นทุเรียน ซ่ึงเดิมเป็นแมลงศัตรูป่าไม้และได้เกิดการระบาดในพื้นท่ีปลูกทุเรียนทั่วประเทศในปี 2546 โดยเฉพาะในภาคตะวนั ออกและภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือท่ีมกี ารระบาดอยา่ งรุนแรง สว่ นแมลง ศัตรบู างชนดิ พบระบาดในพ้นื ทจี่ ำกัด เชน่ หนอนดว้ งปีกแขง็ กินรากทุเรยี น แมลงศัตรูไมผ้ ล 4
ปริมาณประชากรของแมลงศัตรูทุเรียนจะผันแปรตามระยะการเจริญเติบโตของพืช เช่น เพลี้ยไก่ แจ้จะระบาดเฉพาะระยะที่ทุเรียนแตกใบอ่อนเท่านั้น ส่วนหนอนเจาะเมล็ดและหนอนเจาะผลจะระบาดใน ช่วงทุเรียนติดผล เพล้ียแป้งและเพลี้ยไฟจะระบาดระยะต้นทุเรียนแตกยอด ดอก และผล เช่น มอดเจาะ ลำต้น หนอนดว้ งหนวดยาวเจาะลำต้นทเุ รยี น และหนอนด้วงปีกแขง็ กนิ รากทุเรียน จะพบระบาดตลอดปี หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (durian seed borer) ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Mudaria luteileprosa Holloway ชอ่ื อ่ืน หนอนใต้ หนอนรู หนอนมาเลย ์ วงศ์ Noctuidae อนั ดับ Lepidoptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเป็นแมลงศัตรูท่ีมีความสำคัญและทำความเสียหายต่อผลผลิตทุเรียน มากในเขตภาคตะวันออก สนั นิษฐานวา่ หนอนชนิดน้ีมถี ิ่นกำเนิดอยูใ่ นประเทศมาเลเซียแล้วระบาดเข้า มาทางภาคใตข้ องประเทศไทย เกษตรกรนำเมลด็ ทุเรียนพันธ์ุพ้ืนเมอื งซึ่งมขี นาดโตมาจากภาคใตเ้ พ่อื ใช้ เป็นต้นตอ เมื่อปลูกจะได้ต้นกล้าท่ีแข็งแรง เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีความทนทานต่อโรคสูง การนำเมล็ดพันธ์ุจากทางภาคใต้มายังภาคตะวันออกเป็นเหตุทำให้หนอนชนิดน้ีติดมาด้วย เกษตรกรจึง เรียกหนอนชนดิ น้ีว่า “หนอนใต”้ หรือ “หนอนมาเลย”์ (สาทรและคณะ, 2535) หนอนชนดิ นี้เม่อื เขา้ ทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมา ปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียนทำให้เน้ือทุเรียนเสียคุณภาพ เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ ต้องนำ ไปแปรรูปซึ่งราคาต่ำทำให้สูญเสียรายได้ไปมาก จนกระท่ังเมื่อหนอนโตเต็มท่ีพร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะ เปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพ้ืนดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เกษตรกรเห็นแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ ภายในหรือบางคร้ังพบความเสียหายเม่ือเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว หลังจากหนอนเจาะออกมา จึงเรียกหนอนชนิดน้อี ีกช่อื วา่ “หนอนรู” (สาทร, 2538) หนอนชนดิ นี้พบระบาดเปน็ คร้ังแรกท่ี อำเภอแกลง จังหวัดระยองเมื่อปี 2530 (สาทร, 2538) พศิ วาท (2535) รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2533 ที่จงั หวัดระยองพบแมลงชนดิ นีร้ ะบาดใน 8 ตำบล คอื ซากโคน สองสลึง ห้วยยาง เนินค้อ ทางเกวียน วังหว้า บ้านนา และกร่ำ ที่ตำบลซากโคนเสียหาย สูงสุดถึง 26% ของพื้นท่ีปลูก ส่วนที่จังหวัดจันทบุรีพบเฉพาะ 2-3 ตำบล ในเขตอำเภอเมืองเท่าน้ัน และความเสยี หาย 4% ในปี พ.ศ. 2534 ทจ่ี งั หวัดระยอง พ้นื ทร่ี ะบาดโดยเฉลีย่ เพมิ่ ขน้ึ พ้นื ทเ่ี สยี หาย สงู สุด 29% ท่ตี ำบลเนนิ คอ้ สว่ นท่ีจงั หวดั จันทบุรพี บหนอนชนิดนเี้ พ่ิมเป็น 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง แหลมสงิ ห์ ขลุง และมะขาม ในปัจจุบนั พบว่ามกี ารระบาดอย่างกวา้ งขวาง สวนทุเรียนบางแหง่ ได้รบั ความเสียหายจากหนอนชนิดน้ีสูงถึง 80-90% และพ้ืนท่ีการระบาดได้ขยายออกจากแหล่งท่ีพบการ แมลงศตั รูไม้ผล 5
ระบาดคร้ังแรกไปในหลายพ้ืนท่ีของภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ในปี 2556 มีรายงานการระบาดจากชาวสวนทุเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร และอุตรดิตถ์ และในระยะที่ ผ่านมาพบว่ามีหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนติดไปจนถึงผู้บริโภคทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เป็นผลทำให้ ขาดความนา่ เชือ่ ถือตอ่ สนิ ค้าที่ส่งไปและอาจทำให้มผี ลกระทบต่อตลาดการคา้ ได้ รูปรา่ งลกั ษณะและชีวประวตั ิ ตัวเตม็ วัยซ่ึงเป็นผเี สอื้ กลางคืน สามารถวางไขไ่ ด้ 100-200 ฟองต่อตวั วางไข่เป็นฟองเดย่ี วบนผล ทุเรียนในขณะท่ีผลยังอ่อน จากนั้นตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล การเข้า ทำลายจะสังเกตรอยเจาะของหนอนได้ยากเนื่องจากมีขนาดเล็กมากและเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายจะปิดรู เจาะของหนอน ทเุ รยี นทถ่ี กู ทำลายสว่ นใหญจ่ ะอยใู่ นระยะทเ่ี มลด็ แขง็ แลว้ หนอนเจรญิ เตบิ โตอยภู่ ายในผลทเุ รยี น กัดกินเมล็ดเป็นอาหารประมาณ 30-40 วัน โดยคาดคะเนจากเวลาท่ีจับแม่ผีเส้ือตัวแรกได้และเวลาที่พบ หนอนท่ีโตเต็มท่ีพร้อมจะเข้าดักแด้ซ่ึงห่างกันประมาณ 48 วัน จึงคาดว่าระยะตั้งแต่ผีเสื้อออกจากดักแด้ ผสมพันธ์ุ วางไข่ และไขฟ่ กั เป็นตวั หนอน จะกนิ เวลาประมาณ 10 วนั ดังนัน้ ระยะหนอนประมาณ 38 วัน การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะไชเข้าไปในเมล็ด กัดกินและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียน เปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนอาศัยอยู่ในผลทุเรียนจนกระท่ังผลแก่ เม่ือหนอนโตเต็มที่หรือถ้าผลร่วงก่อน หนอนจะเจาะรูกลมขนาดเส้นผา่ นศนู ย์กลางประมาณ 5-8 มลิ ลเิ มตรออกมาและเขา้ ดกั แด้ในดิน ระยะก่อน เข้าดักแด้ 8-10 วัน ระยะดักแด้ 1-9 เดือน ผีเส้ือตัวเต็มวัยท่ีออกจากดักแด้ภายในหน่ึงเดือนอาจจะเข้า ทำลายทุเรียนรุ่นหลังในปีเดียวกันได้ หรืออาจจะออกจากดักแด้ในปีถัดไปโดยมีฝนในช่วงต้นปีเป็นตัวกระตุ้น ให้ตัวเตม็ วัยออกจากดกั แด้ ผเี สื้อตัวเตม็ วยั ทจ่ี ับไดจ้ ากกับดักแสงไฟจะมชี วี ติ เพียง 7-10 วันเทา่ นนั้ พชื อาหาร พบว่าหนอนชนิดนมี้ พี ืชอาศัยอยา่ งเดียวคือ ทุเรียน ศัตรูธรรมชาติ ยงั สำรวจไมพ่ บ การปอ้ งกนั กำจัด 1. เกษตรกรไม่ควรขนย้ายเมล็ดทุเรียนจากที่อ่ืนเข้ามาในแหล่งปลูก ถ้ามีความจำเป็นควร ทำการคัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง หรือแช่เมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง เช่น malathion (Malathion 83 83% EC) อัตรา 40 มลิ ลลิ ิตรต่อนำ้ 20 ลติ ร หรอื carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อตั รา 50 กรมั ตอ่ นำ้ 20 ลิตร กอ่ นทำการขนยา้ ยจะชว่ ยกำจัดหนอนได ้ 2. การห่อผลระยะยาวโดยใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่นขนาด 40x75 เซนติเมตร เจาะก้นถุงเพ่ือ ระบายน้ำ สามารถป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ โดยเริ่มห่อผลต้ังแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไปจนถึงเก็บเก่ียว ก่อนห่อตรวจสอบผลทุเรียนที่จะห่อให้ปราศจากเพล้ียแป้ง ถ้ามีให้กำจัดโดย ใช้แปรงปัดออก แล้วพ่นด้วยสาร chlorpyrifos (Pyrenex 20% EC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงศัตรูไมผ้ ล 6
3. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน โดยการพ่นสารฆ่าแมลง cypermethrin/phosalone (Parzon 6.25%/22.5% EC) อตั รา 40 มิลลิลติ รตอ่ น้ำ 20 ลติ ร หา่ งกันคร้ังละ 1 สปั ดาห์ เร่ิมเมอ่ื ผลอายุ 6 สัปดาห์ และห่อดว้ ยถงุ พลาสตกิ ขาวขนุ่ ขนาด 40x75 เซนติเมตร เจาะมุมก้นถุงเพือ่ ระบาย น้ำเมื่อผลอายุ 10 สัปดาห์ โดยเลือกห่อเฉพาะผลที่มีขนาดและรูปทรงได้มาตรฐาน ก่อนห่อผลควรมี การสำรวจเพล้ียแป้งและพ่นสาร chlorpyrifos เมอ่ื พบเพล้ยี แป้งระบาด 4. การใชก้ บั ดักแสงไฟ black light เปน็ เครอื่ งมือตรวจการระบาดของผีเสื้อหนอนเจาะเมลด็ ทุเรียน เพื่อให้ทราบว่ามีการระบาดในช่วงไหน สามารถช่วยให้การใช้สารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพมาก ข้ึน สามารถลดจำนวนการพ่นสารฆ่าแมลงจากทเี่ กษตรกรนยิ มปฏบิ ตั อิ ยทู่ ีพ่ น่ ตั้งแต่ทเุ รียนเร่ิมออกดอก 5. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลง เม่ือพบว่าตัวเต็มวัยเริ่มระบาดให้ใช้สาร carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP), deltamethrin (Decis 3 3% EC), lambdacyhalothrin (Karate Zeon 2.5 CS 2.5% CS), betacyfluthrin (Folitec 025 EC 2.5% EC), และ cypermethrin/phosalone (Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา 50 กรัม 15, 20, 20 และ 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดบั ห่างกนั คร้ังละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมือ่ ผลอายุ 6 สัปดาห ์ เพลยี้ ไก่แจท้ เุ รยี น (durian psyllids) ช่ือวิทยาศาสตร์ Allocaridara malayensis (Crawford) ช่อื อ่นื เพลี้ยไกฟ่ า้ วงศ์ Psyllidae อันดบั Hemiptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย เพลี้ยไกแ่ จท้ เุ รียน พบระบาดทำความเสยี หายใหก้ ับทุเรยี นอย่างมากในแหล่งปลูกทเุ รยี นทว่ั ไป ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเล้ียงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต เมื่อ ระบาดมากๆ ทำใหใ้ บหงิกงอ และถ้าเพลี้ยไก่แจเ้ ขา้ ทำลายในชว่ งท่ีใบอ่อนยงั เลก็ มากและยังไมค่ ล่อี อก จะทำให้ใบแห้งและร่วง ตัวอ่อนของแมลงชนิดน้ีจะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็น สาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารชนิดน้ีถูกขับออกมา (สาทร และคณะ, 2535) ระยะตัวอ่อน ทำความเสียหายมากท่สี ดุ นอกจากน้ี แสวง (2527) ไดร้ ายงานว่าแมลงชนดิ นท้ี ำความเสียหายใหก้ ับ ทเุ รยี นพนั ธ์ุชะนีมากทีส่ ดุ รูปร่างลกั ษณะและชวี ประวตั ิ ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดน้ีวางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืช มีลักษณะเป็นตุ่มสีเหลืองหรือ นำ้ ตาลเป็นกลุม่ ๆ แตล่ ะกลมุ่ มไี ขป่ ระมาณ 8-14 ฟอง (ชลดิ า, 2532) หลงั จากนน้ั ไขจ่ ะฟักเปน็ ตวั ออ่ น มีขนาดเล็กมากประมาณ 1 มิลลิเมตร และเมื่อพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะต่อไปมีขนาดใหญ่ขึ้น ยาว แมลงศัตรไู ม้ผล 7
ประมาณ 3 มิลลิเมตร มีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัวโดยเฉพาะท่ีด้านท้ายของลำตัวจะมีปุยยาวสีขาว คลา้ ยๆ กับหางไก่ แมลงชนดิ น้จี ึงได้ชื่อว่า “เพลีย้ ไก่แจ”้ หรอื “เพลี้ยไกฟ่ ้า” เมือ่ ตัวอ่อนลอกคราบเป็น ตวั เตม็ วัยจะมีสีน้ำตาลปนเขยี วขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร และมีอายยุ าวถึง 6 เดือน โดยปกติ ตัวเต็มวัยจะไม่ค่อยบินนอกจากถูกรบกวน แมลงชนิดน้ีมีการระบาดในท้องท่ีปลูกทุเรียนท่ัวไป และ ระบาดในชว่ งทุเรยี นแตกใบออ่ น พชื อาหาร ทเุ รยี น ศตั รธู รรมชาต ิ แมลงศัตรูธรรมชาติของเพล้ียไก่แจ้มีหลายชนิดท้ังแมลงห้ำได้แก่ ด้วงเต่าลาย 3 ชนิดในวงศ์ Coccinellidae คือ Menochilus sexmaculatus (Fabricius), Micraspis discolor (Fabricius) และ Coccinella transversalis Fabricius และ แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp., Ankylopteryx octopuctata และ Hemerobius sp. สำหรับแมลงเบียนพบแตนเบียนตัวอ่อนเพล้ียไก่แจ้ในวงศ์ Encyrtidae และพบปริมาณค่อนขา้ งสูงโดยเฉพาะในสวนทีใ่ ช้สารเคมีนอ้ ย การป้องกันกำจัด 1. เพล้ียไก่แจ้จะทำลายเฉพาะใบอ่อนทุเรียนท่ียังไม่โตเต็มที่ และโดยปกติทุเรียนแตกใบอ่อนไม่ พร้อมกนั แม้แตท่ ุเรียนในสวนเดียวกนั ชาวสวนทเุ รยี นควรจะพน่ สารฆา่ แมลงเม่อื ทเุ รียนสว่ นใหญ่แตกใบ อ่อน สำหรับต้นท่ีแตกใบอ่อนไม่พร้อมต้นอ่ืนควรพ่นเฉพาะต้น วิธีน้ีช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลงและเปิด โอกาสใหศ้ ตั รธู รรมชาตไิ ดม้ บี ทบาทในการควบคมุ เพลยี้ ไกแ่ จ้ และยงั เปน็ การอนรุ กั ษศ์ ตั รธู รรมชาตเิ หลา่ น้ี อีกดว้ ย 2. วิธีบังคับให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน ซ่ึงอาจกระตุ้นด้วยการพ่นยูเรีย (46-0-0) อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลดช่วงการเข้าทำลายของเพล้ียไก่แจ้ จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงได้มาก โดยปกตทิ ุเรยี นต้องการใบอ่อนทส่ี มบรู ณ์ 2-3 ชุดตอ่ ปี เพ่ีอให้ตน้ ทุเรยี นพร้อมทีจ่ ะให้ผลผลิตที่ด ี 3. ใช้สารฆ่าแมลงท่ีมีประสิทธิภาพเม่ือเพลี้ยไก่แจ้ระบาดมาก คือ lambdacyhalothrin (Karate 5% EC) อัตรา 10 มลิ ลิลติ ร หรือ carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 50 มลิ ลิลติ ร หรอื carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อัตรา 10 กรัม หรือ cypermethrin/phosalone (Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา 40 มิลลิลติ รตอ่ นำ้ 20 ลติ ร พ่นทกุ 7-10 วัน ในชว่ งระยะแตกใบออ่ น หนอนเจาะผล (fruit borer) ชือ่ วิทยาศาสตร์ Conogethes punctiferalis Guenee ชื่ออนื่ หนอนเจาะผลละหุ่ง แมลงศัตรูไม้ผล 8
วงศ์ Crambidae อันดับ Lepidoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย หนอนเจาะผลเป็นศัตรูทุเรียนที่สำคัญพบระบาดท่ัวไปในแหล่งปลูกทุเรียนทั่วประเทศ หนอน เจาะผลจะเข้าทำลายทุเรียนได้ต้ังแต่ผลยังเล็กอายุประมาณ 2 เดือน ไปจนถึงผลโตเต็มที่พร้อมท่ีจะ เก็บเก่ยี วทำใหผ้ ลเป็นแผล อาจทำให้ผลเนา่ และรว่ งเนื่องจากเชือ้ ราเข้าทำลายซ้ำ การทผี่ ลมรี อยแมลง ทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเน้ือผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเม่ือผล สุก ท่ีบริเวณเปลือกของผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และจะมีน้ำไหล เยิ้มเม่ือทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลท่ีอยู่เด่ียวๆ เพราะแม ่ ผเี สื้อชอบวางไขใ่ นบริเวณรอยสมั ผสั นี้ รูปรา่ งลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยของหนอนเจาะผลเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อกางปีกกว้างประมาณ 2.3 เซนตเิ มตร ปกี ทั้งคมู่ สี ีเหลอื งถงึ ส้ม มีจุดสดี ำกระจายอยู่ท่ัวปกี วางไข่ไวบ้ นเปลอื กผลทุเรยี น ระยะ ไข่ 4 วัน หนอนวยั แรกมีสีขาว หัวสนี ำ้ ตาล แทะกินผิวทุเรยี นกอ่ น เม่อื โตขนึ้ จงึ เจาะกินเข้าไปในเปลือก ผลทุเรียน ตัวหนอนวัยต่อมามีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนและมีจุดสีน้ำตาลเข้มประอยู่บริเวณหลังตลอด ลำตัวและมีหัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนเจริญเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนตเิ มตร จะเขา้ ดกั แดอ้ ยู่ ระหวา่ งหนามของผลทเุ รยี นโดยมใี ยและมลู ของหนอนหมุ้ ตวั เมอ่ื เลยี้ งดว้ ยผลละหงุ่ ระยะหนอน 12-13 วนั ระยะดกั แด้ 7-9 วนั ระยะตวั เต็มวยั เพศผู้ 10-18 วนั และเพศเมยี 14-18 วัน พชื อาหาร แมลงชนิดนี้พบท่ัวไปตลอดท้ังปีเน่ืองจากมีพืชอาศัยกว้าง นอกจากทุเรียนแล้วมีรายงานว่า หนอนชนดิ นที้ ำลายผลไมช้ นดิ อนื่ เช่น มะหวด ลำไย ลิ้นจ่ี เงาะ ทบั ทิม ละหงุ่ หมอ่ น และโกโก้ ศัตรธู รรมชาต ิ แตนเบียน Apanteles sp. การปอ้ งกนั กำจัด 1. หม่ันตรวจดูตามผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเข่ียตัว หนอนออกมาทำลาย 2. ตัดแต่งผลทุเรียนท่ีมีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลท่ีอยู่ติดกันควรใช้ก่ิงไม้หรือกาบ มะพร้าวขั้นระหว่างผล เพอ่ื ปอ้ งกนั ไม่ใหต้ วั เตม็ วัยวางไข่หรอื ตวั หนอนเขา้ หลบอาศัย 3. การห่อผลด้วยถุงมุ้งไนล่อน ถุงรีเมย์ หรือถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูท่ีบริเวณขอบล่าง แมลงศตั รไู ม้ผล 9
เพือ่ ให้หยดนำ้ ระบายออก โดยเริ่มหอ่ ผลต้ังแต่ผลทุเรียนมอี ายุ 6 สปั ดาห์เป็นต้นไปจะช่วยลดความเสยี หายได้ 4. สารฆ่าแมลงท่ีมีประสิทธิภาพเม่ือจำเป็นต้องใช้คือ lambdacyhalothrin (Karate 5% EC) อตั รา 20 มิลลิลิตร หรือ chlorpyrifos (Lorsban 40 EC 40% EC) อัตรา 20 มลิ ลลิ ิตร หรอื carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 50 มลิ ลิลิตรต่อน้ำ 20 ลติ ร พ่นเฉพาะส่วนผลทเุ รยี นท่ีพบ การทำลายของหนอนเจาะผล เพล้ยี แปง้ (mealybugs) ช่ือวิทยาศาสตร์ Planococcus minor (Maskell) Planococcus lilacinus (Cockerell) Pseudococcus cryptus Hampel วงศ์ Pseudococcidae อันดบั Hemiptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย เพล้ียแป้งเป็นแมลงศัตรูท่ีสำคัญพบระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนในแหล่งปลูกทั่วไป ดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดแดงและมดดำช่วยคาบพาไปตามส่วน ต่างๆ ของพืช ส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น และชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ เพล้ียแป้งจะขับ น้ำหวาน (honeydew) ออกมา เป็นเหตุให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ ถ้าเพลี้ยแป้งเข้าทำลายทุเรียนผลเล็ก จะทำให้ผลแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าเป็นทุเรียนผลใหญ่จะไม่มีความเสียหายต่อเน้ือของ ทุเรียน แต่ทำให้คุณภาพของผลทุเรียนเสยี ไป ราคาตำ่ และเป็นทีร่ งั เกียจของผบู้ ริโภค รปู ร่างลักษณะและชวี ประวัติ เพลี้ยแป้งเพศเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอ่อนหรือชมพู ลักษณะ อว้ นสน้ั มีผงสขี าวคลา้ ยผงแปง้ ปกคลุมลำตัวอยู่ ไข่เปน็ กลุ่ม จำนวนไขแ่ ตล่ ะกลุ่ม 100-200 ฟอง เพศ เมยี ตวั หนึ่งสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไขจ่ ะฟกั อยู่ในถุงใต้ทอ้ งเพศเมยี ระยะไข่ ประมาณ 6-10 วนั ส่วนเพศเมียเมอ่ื หยุดไขก่ จ็ ะตายไป ตวั อ่อนที่ฟักออกจากไขใ่ หมๆ่ มีสเี หลืองออ่ น ไม่มีผงสีขาว ตัวอ่อนจะคลานออกจากกลุ่มไข่เพ่ือหาที่ๆ เหมาะสมเพ่ืออยู่อาศัย เพศเมียมีการลอก คราบ 3 คร้งั และไมม่ ปี กี สว่ นเพศผ้ลู อกคราบ 4 ครัง้ มีปกี และมขี นาดเลก็ กวา่ เพศเมยี เพศเมยี จะ วางไข่หลังการลอกคราบคร้ังที่ 3 เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธ์ุได้ 2-3 รุ่น ใน 1 ปี ในระยะท่ีพืช อาหารไม่เหมาะสม เพลย้ี แป้งอาศยั อยู่ใตด้ ินตามรากพชื เชน่ หญ้าแหว้ หมู โดยมีมดที่อาศยั กินสงิ่ ทข่ี ับ ถา่ ยของเพลย้ี แปง้ เปน็ ตัวพาไปอาศัยตามส่วนต่างๆ ของตน้ ทเุ รียน แมลงศตั รูไม้ผล 10
เพลี้ยแป้งจะระบาดทำความเสียหายแก่ผลทุเรียน ตั้งแต่ระยะที่ทุเรียนเร่ิมติดผลจนกระทั่งผล โตเต็มทีพ่ ร้อมท่จี ะเก็บเก่ียว หรอื กลางเดือนกรกฎาคมสำหรบั ทเุ รียนรนุ่ หลงั พชื อาหาร ทุเรียน มงั คดุ เงาะ และ สบั ปะรด ศตั รธู รรมชาติ พบดว้ งเต่าในวงศ์ Coccinellidae เป็นแมลงห้ำ 3 ชนดิ คือ Cryptolaemus montrouzieri, Scymnus sp. และ Nephus sp. การป้องกนั กำจัด 1. หากพบเพลีย้ แปง้ ระบาดเล็กนอ้ ยใหต้ ดั สว่ นทถี่ กู ทำลายทิ้งเสีย 2. เม่ือพบเพลี้ยแป้งปริมาณน้อยบนผลทุเรียนใช้แปลงปัด หรือใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุดไป หรอื การใช้น้ำผสม white oil อตั รา 20 มิลลลิ ิตรตอ่ นำ้ 20 ลติ ร ชว่ ยในการกำจดั เพลย้ี แป้งไดด้ ี 3. เนื่องจากเพลี้ยแป้งแพร่ระบาดโดยมีมดพาไป การป้องกันโดยใช้ผ้าชุบสารฆ่าแมลง เช่น malathion (Malathion 83 83% EC) อัตรา 20 มลิ ลิลติ รต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อตั รา 10 กรมั ต่อน้ำ 20 ลิตร พนั ไว้ตามก่งิ สามารถป้องกันไมใ่ หม้ ดคาบเพลย้ี แปง้ ไป ยังส่วนต่างๆ ของทุเรียนและต้องชุบสารฆ่าแมลงซ้ำทุก 10 วัน หรือการพ่นสารฆ่าแมลงไปที่โคนต้น จะชว่ ยปอ้ งกันมดและลดการเขา้ ทำลายของเพลยี้ แปง้ ได้มาก 4. สารฆา่ แมลงทีไ่ ด้ผลในการควบคมุ เพลย้ี แป้งคือ สาร chlorpyrifos (Pyrenex 40% EC) อตั รา 30 มลิ ลิลิตร หรือ carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อตั รา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพน่ สารเฉพาะตน้ ท่ีพบเพลีย้ แปง้ ทำลาย เพลย้ี ไฟ (thrips) ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ Scirtothrips dorsalis Hood ชื่ออน่ื เพลย้ี ไฟพริก วงศ์ Thripidae อันดบั Thysanoptera ความสำคัญและลกั ษณะการทำลาย ในทุเรียนพบเพลี้ยไฟหลายชนิดทำลายในระยะพัฒนาการต่างๆ แต่ที่พบมากและสำคัญ ท่ีสุดคือ เพลี้ยไฟพริก (Scirtothrips dorsalis Hood) ท้ังตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเล้ียงจาก ส่วนต่างๆ ของพืช มีผลทำให้ใบอ่อนหรือยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้ง แมลงศตั รูไมผ้ ล 11
หงิกงอ และไหม้ การทำลายในช่วงดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปล่ียนเป็นสีน้ำตาล แคระแกร็น และร่วงได้ และในช่วงผลอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หนามเป็นแผลและเกิด อาการปลายหนามแห้ง ผลไม่สมบูรณ์และแคระแกร็น เพลี้ยไฟจะระบาดรุนแรงในช่วงแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม–พฤษภาคม ซึ่งตรงกับระยะท่ี ต้นทุเรียนออกดอกติดผล เพล้ียไฟมีอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มปริมาณได้มาก รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ เพลี้ยไฟพริก มีลำตัวสีเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน ขอบปีกมีเส้นขนเป็นแผง เคล่ือนไหวได้ รวดเร็ว เพศเมียมีความยาว 1.05 มิลลิเมตร กวา้ ง 0.19 มิลลิเมตร บรเิ วณส่วนปลายของปล้องทอ้ งมี อวัยวะวางไขเ่ หน็ ไดช้ ัดเจน เพศผู้ มคี วามยาว 0.71 มิลลิเมตร กวา้ ง 0.14 มลิ ลิเมตร มักอยู่รวมกัน เป็นกลมุ่ ไข่มขี นาดเล็กลกั ษณะคลา้ ยเมล็ดถวั่ สีขาว ขนาดยาว 0.25 มลิ ลเิ มตร กว้าง 0.10 มิลลเิ มตร ฝังอยใู่ นเน้อื เยื่อพืชบริเวณใกลเ้ ส้นกลางใบ ตวั เมียวางไขว่ นั ละ 2-3 ฟอง ระยะไข่ประมาณ 6-9 วัน ตัวอ่อนท่ีเพิ่งฟักใหม่มีสีเหลืองอ่อน ขนาดยาว 0.29 มิลลิเมตร กว้าง 0.09 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง และส่วนท้องเรยี วแหลมไปทางสว่ นปลาย ตัวออ่ นวัยทส่ี อง มสี ีเหลอื งสม้ ขนาดยาว 0.59 มิลลิเมตร กว้าง 0.18 มิลลิเมตร โดยมีระยะตัวอ่อนวัยแรกและวัยที่สองเฉลี่ย 4.3-5.7 วัน ในระยะก่อนเข้า ดักแดจ้ ะมีตุ่มปกี สน้ั ๆ ทบี่ ริเวณสว่ นอก และหนวดช้ีไปทางด้านหลัง ลำตวั ยาว 0.59 มิลลิเมตร กวา้ ง 0.24 มิลลิเมตร ในระยะดักแด้ ปีกมีการพัฒนายาวข้ึนจนเกือบเท่าความยาวของส่วนท้อง ลำตัวยาว 0.63 มิลลเิ มตร กว้าง 0.26 มลิ ลเิ มตร รวมระยะกอ่ นเข้าดักแดแ้ ละระยะดักแด้ ใชเ้ วลาเฉลยี่ 2.9-4.1 วนั และมีสดั ส่วนของเพศเมียต่อเพศผู้ เท่ากบั 4 : 1 (เกรียงไกร, 2542 และ พชิ ัย, 2537) สรปุ ไว้ว่า (เม่ือเล้ยี งบนใบออ่ นมงั คุด) ระยะตัวอ่อน 6-7 วนั จงึ เตรยี มเขา้ ดกั แด้ 1-2 วัน และตวั เต็มวัยมชี วี ติ อยไู่ ด้นานประมาณ 22 วัน ตวั เมยี แต่ละตัววางไข่เฉล่ีย 60 ฟอง พืชอาหาร เพล้ียไฟพริก ระบาดทำลายไม้ผลได้หลายชนิด เช่น มังคุด มะม่วง เงาะ ส้มโอ ส้มเขียว หวาน ลิ้นจี่ และลำไย ศัตรูธรรมชาติ ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟ เช่น แมงมุมชนิดต่างๆ ตัวอ่อนแมลงช้าง และเพลี้ยไฟตัวห้ำ การป้องกันกำจัด 1. หากพบเพล้ียไฟระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง 2. เมอื่ พบเพลยี้ ไฟระบาดรนุ แรง ใชส้ ารฆา่ แมลงทมี่ ปี ระสทิ ธภิ าพในการปอ้ งกนั กำจดั เพลย้ี ไฟ ได้แก่ imidacloprid (Confidor 100 SL 10% SL) หรือ fipronil (Assend 5% SC) หรือ แมลงศตั รไู มผ้ ล 12
carbosulfan (Posse 20% EC) อตั รา 10, 10 และ 40 มิลลลิ ติ รตอ่ นำ้ 20 ลิตร ตามลำดบั และไมค่ วรใช้ สารฆ่าแมลงชนดิ ใดชนดิ หนง่ึ ซำ้ ตดิ ตอ่ กันหลายคร้งั เพราะทำใหเ้ พลี้ยไฟสร้างความต้านทานต่อสารฆา่ แมลง มอดเจาะลำตน้ (shot hole borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ Xyleborus fornicatus (Eichoff) ช่ืออน่ื มอดเจาะลำตน้ วงศ์ Scolytidae อนั ดับ Coleoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนและตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน ส่วนมากพบทำลายบริเวณโคน ต้น และกิ่งขนาดใหญ่ ต้นทุเรียนท่ีถูกแมลงชนิดน้ีทำลายสังเกตได้ง่ายคือ มีรูพรุนตามโคนต้น และท่ี ปากรูมีมูลของหนอนลักษณะเป็นขุยละเอียดอยู่ท่ัวไป (แสวง, 2515) มอดเจาะเข้าไปกินในลำต้นหรือ ก่ิงลึกตั้งแต่ 2-3 เซนติเมตรข้ึนไป หากเป็นทุเรียนต้นเล็กทำให้ต้นตายได้ สำหรับทุเรียนต้นใหญ่ถ้าถูก ทำลายน้อยจะไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่รอยเจาะของมอดเป็นทางให้เช้ือของโรครากเน่า-โคนเน่าเข้า ทำลายและทำให้ทุเรียนตายได้ โดยท่ัวไปมักพบมอดเจาะลำต้นพบระบาดร่วมกับโรครากเน่า-โคนเน่า ในบางครง้ั จงึ สามารถใช้ร่องรอยการทำลายของมอดในการหาแผลเน่าทอี่ ยภู่ ายใต้เปลือกไม้ได ้ รูปรา่ งลกั ษณะและชีวประวตั ิ ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาว 3-4 มิลลิเมตร มีสีดำมันปนน้ำตาล รูปร่างทรงกระบอกหัวและ ท้ายตัด ตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปท่ีลำต้นหรือกิ่งทำให้เป็นรูพรุน หลังจากผสมพันธ์ุตัวเมียวางไข่ในรูท่ีเจาะ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนกัดกินชอนไชภายในก่ิงและลำต้นทุเรียน เข้าดักแด้อยู่ภายในรูท่ีมอดอาศัยอยู่ นั่นเอง และเจริญเป็นตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไปอีก สำหรับด้วงชนิดน้ีพบเพศเมียมากกว่า เพศผถู้ งึ 10 เทา่ เมอื่ ผสมพนั ธแุ์ ลว้ เพศเมยี จะบนิ ไปยงั ตน้ อน่ื แตเ่ พศผไู้ มบ่ นิ วงจรชวี ติ ประมาณ 30-35 วนั และเพศเมียตวั หนึ่งสามารถขยายพันธ์ุได้ 30-50 ตัว แมลงชนิดนมี้ ีรายงานว่าพบในมาดากสั การ์ อนิ เดีย เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ และปาปัวนวิ กินี สำหรับในประเทศไทยพบระบาดตลอดปีในบริเวณท่ีปลูกทุเรียน โดยเฉพาะอย่างย่ิงที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด เกือบทุกสวนจะพบมอดชนิดนี้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2538 มีการระบาดของมอด เจาะลำต้นมากเนื่องมาจากมีการระบาดของโรครากเน่า-โคนเน่าอย่างรุนแรงในภาคตะวันออก เนื่องจากมปี ริมาณฝนมากและตกชุกตลอดป ี พืชอาหาร ทเุ รียน ชา พืชตระกลู ส้ม และโกโก้ แมลงศัตรไู มผ้ ล 13
ศตั รูธรรมชาติ จากการสำรวจยังไมพ่ บ การปอ้ งกนั กำจัด 1. หมั่นตรวจดูตามลำต้นทุเรียน ถ้าพบก่ิงแห้งท่ีถูกมอดทำลาย ควรตัดและเผาไฟทิ้งเสีย อยา่ ปล่อยทง้ิ ไวใ้ ห้มอดขยายปริมาณและการทำลายออกไปยงั ต้นอืน่ ๆ 2. สำหรับส่วนท่ีไม่สามารถตัดทิ้งได้ เช่น ในส่วนของลำต้น หรือกิ่งใหญ่ อาจจำเป็นต้องใช้ สารฆ่าแมลง เชน่ chlorpyrifos (Lorsban 40 EC 40% EC) อตั รา 40 มลิ ลิลติ รตอ่ น้ำ 20 ลติ ร พ่น บนลำตน้ หรือก่ิงทมี่ รี มู อดเจาะ หนอนดว้ งหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรยี น (long horned beetles) ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Batocera rufomaculata (De Geer) ชื่ออนื่ ด้วงบา่ หนามจดุ นูนดำ วงศ์ Cerambycidae อนั ดับ Coleoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย ด้วงหนวดยาวท่ีทำลายทุเรียนในประเทศไทยมีหลายชนิด ท่ีพบมาก คือ ด้วงบ่าหนามจุด นูนดำ (Batocera rufomaculata De Geer) การระบาดของแมลงศัตรูชนิดน้ี เกิดขึ้นในลักษณะ ค่อยๆ สะสมความรุนแรงแบบภัยมืด โดยชาวสวนไม่ทราบว่ามีการระบาดของศัตรูพืช เน่ืองจากเป็น แมลงกลางคืนพฤติกรรมต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงกลางคืน ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นในทุเรียนเริ่มพบ ระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนอย่างรุนแรงในพ้ืนท่ีปลูกทุเรียนภาคตะวันออก ในปี พ.ศ. 2546 ต่อมาพบระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนพื้นที่อื่นๆ ท่ัวประเทศ และส่วนใหญ่พบทำลายทุเรียนพันธ์ ุ หมอนทอง ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่โดยฝังไว้ใต้เปลือกตามลำต้นและก่ิงขนาดใหญ่ สามารถวางไข่ได้ มากถึง 15 ฟองต่อคืน ในสวนท่ีมกี ารระบาดรุนแรงพบหนอนดว้ งหนวดยาวระยะต่างๆ ในตน้ ทุเรยี น สูงถึง 40–50 ตัวต่อต้น หนอนจะกัดกินชอนไชไปตามเปลือกไม้ด้านในไม่มีทิศทางหรืออาจกัดคว่ัน เปลือกรอบต้น การทำลายที่เกิดหนอนขนาดเล็กไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอกแต่เมื่อหนอนโตขึ้น จะพบขยุ ไมล้ ะเอยี ดซึ่งเปน็ มลู ของหนอนตามแนวรอยทำลาย หรือตรงบริเวณที่หนอนทำลายกัดกิน อยู่ ภายในจะเหน็ มนี ้ำเปน็ สีนำ้ ตาลแดงไหลเย้ิมอยู่ ในระยะต่อมาจงึ จะพบมูลหนอนออกมากองเปน็ กระจุก อยู่ข้างนอกเปลอื ก เมอ่ื ใช้มีดปลายแหลมแกะเปลอื กไม้ จะพบหนอนอยภู่ ายใน เกษตรกรจะสงั เกตพบ รอยทำลายต่อเม่ือหนอนตัวโตและอาจเจาะเข้าเนื้อไม้ หรือกินควั่นรอบต้นทุเรียนแล้วซึ่งจะมีผลทำให้ ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ทุเรียนเริ่มทรุดโทรม ใบเหลืองและร่วง และยืนต้นตายได้ หนอนแต่ละตัวสามารถกัดกินเปลือกไม้ได้เป็นทางยาวมากกว่า 1 เมตร เนื่องจากตัวเต็มวัยมีอายุขัย แมลงศตั รไู มผ้ ล 14
ยาวนาน ช่วงเวลาการวางไข่จึงมีระยะเวลายาว ในต้นหนึ่งๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่างๆ กันเป็น จำนวนมาก รปู ร่างลักษณะและชวี ประวัติ ตัวเต็มวัย มีขนาดยาว 49-56 มิลลิเมตร สีน้ำตาล ด้านบนปีกมีจุดสีเหลือง หรือสีส้ม ประปราย ท่ีส่วนอกมีหนามแหลมยื่นออกทางด้านข้างทั้งสองด้าน ใต้ปีกมีแถบสีขาวครีมยาวตลอด ด้านข้างจากส่วนอกถึงส่วนท้อง มีฟันเป็นแบบเข้ียวขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ตัวผู้มี หนวดยาวกว่าลำตัว ส่วนตัวเมียมีหนวดสั้นยาวประมาณเท่ากับลำตัว มีอายุขัยประมาณ 4-6 เดือน (Stebbing, 1914) ตัวเมยี ท่ีได้รบั การผสมพันธ์ุ และพรอ้ มวางไข่จะออกจากทหี่ ลบซอ่ น เพอ่ื วางไข่บน ต้นทุเรียนในช่วงเวลากลางคืน โดยเดินสำรวจเพื่อหาตำแหน่งท่ีเหมาะสมและใช้เข้ียวกัดเปลือกไม้เป็น แผลลกึ ประมาณ 5 มิลลิเมตร แล้ววางไข่เป็นฟองเดีย่ วๆ ฝังไวใ้ นรอยแผล เม่ือวางไข่เสร็จจะกลบรอย แผลดว้ ยขยุ ไมห้ รอื เปลอื กไม้ ไข่มลี ักษณะคลา้ ยเมล็ดข้าวสาร ขนาด 2x6 มิลลเิ มตร สขี าวขุ่น ตวั เมีย วางไข่เปน็ รุ่นๆ แตล่ ะรุ่นมีไข่เฉลยี่ ประมาณ 30 ฟอง ตลอดอายุขัยวางไขไ่ ดเ้ ฉลีย่ ประมาณ 200 ฟอง ไขจ่ ะฟักภายใน 14 วนั หนอนมเี ขย้ี วขนาดใหญ่และแขง็ แรงสีนำ้ ตาลเข้ม ลำตัวสีขาวขุ่นและค่อนขา้ ง ใส หลังฟกั จากไขจ่ ะกดั กนิ ไชชอนอยูใ่ ตเ้ ปลือกไม้ หนอนโตเต็มท่มี ขี นาดยาว 8-10 เซนตเิ มตร และจะ เจาะเข้าเนอ้ื ไมก้ ลางก่งิ หรือลำต้นเมือ่ ถงึ ระยะเข้าดกั แด้ ระยะหนอนมอี ายยุ าวนานถงึ 384 วนั หนอน ทโี่ ตเต็มที่จะเจาะเขา้ สู่กลางก่ิงหรือลำตน้ ทุเรียนเพอื่ เข้าดกั แดซ้ งึ่ มีระยะประมาณ 1 เดอื น เมื่อฟักจาก ดกั แดแ้ ลว้ ตวั เต็มวัยจะพักตวั อย่รู ะยะหน่ึงจนแขง็ แรง จึงเจาะออกส่ภู ายนอกเปน็ ลกั ษณะรกู ลม พืชอาหาร ด้วงหนวดยาวเป็นแมลงศัตรูป่าไม้มีพืชอาศัยกว้าง และเป็นศัตรูพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ทเุ รยี น มะม่วง ขนนุ และนนุ่ ศตั รธู รรมชาต ิ ในต่างประเทศมีรายงานว่าแตนเบียน Callimomoides ovivorus และ Avetianella batocerae เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของด้วงหนวดยาว Batocera rufomaculata (Duffy, 1968) นอกจากน้ี มีนกหลายชนิด เช่น นกหัวขวาน และนกกะปูด เป็นศัตรูธรรมชาติของหนอน และด้วง ตามลำดบั การป้องกันกำจัด 1. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยตัดต้นทุเรียนที่ถูกทำลายรุนแรงจนไม่สามารถให้ผลผลิตเผาท้ิง และควรมีการดแู ลรกั ษาต้นทุเรยี น ให้มีความสมบูรณ์ แขง็ แรงอยู่เสมอ 2. กำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาว โดยใช้ไฟส่องจบั ตัวเต็มวัยตามต้นทุเรยี นในช่วงเวลา 20.00 น. ถึงช่วงเชา้ มดื หรอื ใช้ตาขา่ ยดกั ปลาตาถ่พี ันรอบต้นหลายๆ ทบ เพ่ือดกั ตัวด้วง แมลงศัตรูไม้ผล 15
3. หมัน่ ตรวจสวนเป็นประจำ โดยสงั เกตรอยแผล ซึ่งเป็นแผลเล็กและช้นื ทต่ี ัวเตม็ วยั ทำข้ึน เพ่อื การวางไข่ ถา้ พบใหท้ ำลายไขท่ ิ้ง หรือ ถ้าพบขยุ และการทำลายทีเ่ ปลอื กไมใ้ หใ้ ช้มดี แกะ และจับตัว หนอนทำลาย 4. ถ้าระบาดไม่รุนแรง และหนอนเจาะเข้าเนื้อไม้แล้ว ให้ใช้มีดแกะหารู ฉีดสาร chlorpyrifos 40% EC เข้มขน้ 3-5 มิลลลิ ติ ร เข้าในรแู ลว้ ใช้ดินเหนียวอดุ 5. แหล่งท่ีมีการระบาดรุนแรง ควรป้องกันการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวโดยพ่นสารฆ่า แมลง thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247 ZC 14.1%/10.6% ZC) อัตรา 40 มิลลลิ ิตร หรือ clothianidin (Dantosu 16% SG) อัตรา 20 กรมั หรอื imidacloprid (Confidor 100 SL 10% SL) อัตรา 30 มิลลิลิตร หรอื acetamiprid (Molan 20% SP) อัตรา 50 มลิ ลลิ ิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร ใหท้ ่ัวบริเวณต้นและกิง่ ขนาดใหญ่ เอกสารประกอบการเรยี บเรยี ง ชลิดา อุณหวุฒิ. 2532. แมลงศัตรูทุเรียน. น. 63-69. ใน โรคแมลง และการบำรุงรักษาไม้ผล (เงาะ มังคุด ทุเรียน และลองกอง). โครงการพัฒนาและฟ้ืนฟูพ้ืนท่ีประสบอุทกภัย. กรมวชิ าการเกษตร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. สถติ ิการเกษตรของประเทศไทย ปี 2556. สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ. 213 หน้า นิรนาม. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืชปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. 303 หนา้ พศิ วาท บวั รา. 2535. การจดั การและการพยากรณ์การระบาดของหนอนเจาะเมลด็ ทุเรียนในปี 2535. เอกสารประกอบการสัมมนา เร่ือง หนอนเจาะเมล็ด ภัยมืดของชาวสวนทุเรียน. วันท่ี 29 มกราคม 2535 ณ ศนู ยว์ จิ ยั พชื สวนจันทบรุ ี. สาทร สริ ิสงิ ห์. 2538. แมลง-ไรศตั รทู ุเรียน. น. 41-55. ใน แมลงศตั รไู ม้ผล. เคหการเกษตร. เจรญิ รัฐ การพิมพ์. กรุงเทพฯ. สาทร สิริสงิ ห์ ชลดิ า อุณหวุฒิ ชาญชัย บุญยงค์ และ วิทย์ นามเรืองศร.ี 2533. ฤดกู ารระบาดของ แมลงศัตรูทสี่ ำคัญของทเุ รียน. น. 163-171. ใน รายงานผลการคน้ คว้าวจิ ยั ปี 2533. กล่มุ งาน ไมผ้ ลและพืชสวนอ่ืนๆ กองกฏี และสัตววิทยา กรมวชิ าการเกษตร. แมลงศัตรไู มผ้ ล 16
สาทร สิริสิงห์ วิทย์ นามเรืองศรี และ สุธีราภรณ์ สิริสิงห์. 2534. การศึกษาชีวประวัติและการเข้า ทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน. น. 160-168. ใน รายงานผลการค้นคว้าวิจัยปี 2534. กลุ่มงานไม้ผลและพชื สวนอน่ื ๆ กองกฏี และสัตววทิ ยา กรมวชิ าการเกษตร. สาทร สิริสิงห์ มานิตา คงชื่นสิน และ วัฒนา จารณศรี. 2535. แมลงศัตรูทุเรียนและการป้องกัน กำจดั . น. 226-238. ใน แมลงและสัตวศ์ ตั รูท่ีสำคัญของพืชเศรษฐกจิ และการบริหาร. กองกฏี และสตั ววทิ ยา กรมวิชาการเกษตร. แสวง ภูศ่ ริ .ิ 2515. โรคและแมลงศัตรูทเุ รยี น. วารสารพชื สวน. 7(4): 21-24. แสวง ภู่ศริ ิ. 2527. แมลงศตั รูทเุ รียน. น. 176-181 ใน ทเุ รยี น. วทิ ยาลัยเกษตรกรรมตรงั . ศรุต สทุ ธิอารมณ.์ 2542. แมลงศัตรทู เุ รียน. น. 1-17. ใน แมลงศตั รูไม้ผล เอกสารวิชาการ กลุ่มงาน วิจยั แมลงศตั รไู ม้ผล สมนุ ไพรและเครื่องเทศ กองกีฏและสตั ววิทยา กรมวิชาการเกษตร. ศรตุ สทุ ธิอารมณ์ เกรียงไกร จำเริญมา และ อรุณี วงษ์กอบรษั ฎ.์ 2546. เทคโนโลยกี ารป้องกนั กำจดั แมลงโดยวิธีผสมผสานเพื่อแก้ไขปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนส่งออก. หน่ึงทศวรรษแห่งการ อารกั ขาพชื ในประเทศไทย. น. 103 ใน เอกสารประกอบการประชุมวชิ าการอารักขาพืชแห่ง ชาติ ครัง้ ท่ี 6, 24-27 พฤศจิกายน 2546 ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคดิ จ.ขอนแก่น. ศริ ณิ ี พนู ไชยศร.ี 2535. ชนิดของเพลีย้ ไฟทีพ่ บในไมผ้ ล. แมลงและสตั วศ์ ตั รพู ืช 2535. น. 386-434. ใน เอกสารประกอบการประชมุ สมั มนาทางวชิ าการ ครง้ั ที่ 8, 23-26 มิถุนายน 2535. กอง กีฏและสตั ววิทยา กรมวิชาการเกษตร. Duffy, EAJ. 1968. A monograph of the immature stages of Oriental timber beetles (Cerambycidae). London. UK: British Museum (Natural History). Stebbing, E.P. 1914. Indian forest insects of economic importance Coleoptera. Eyre & Spottiswoode, Ltd. London. 648 pp. แมลงศัตรไู มผ้ ล 17
แมลงศตั รทู เุ รยี น ผีเสือ้ หนอนเจาะเมล็ดทเุ รยี น แม่ผเี ส้ือวางไขเ่ ปน็ ฟองเดีย่ วๆ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนใชด้ นิ หุ้มตวั เพ่ือเขา้ ดกั แด้ ความเสียหายท่ีเกิดจากหนอนเจาะเมลด็ ทเุ รยี น หนอนเจาะเมลด็ ทเุ รยี น กัดกนิ ในเมล็ด รูเจาะออกของหนอนเจาะเมลด็ ทุเรยี น การหอ่ ผลเพ่อื ปอ้ งกันหนอนเจาะเมลด็ ทุเรยี น แมลงศตั รูไม้ผล 18
เพล้ยี ไกแ่ จ้ดูดกนิ น้ำเล้ยี งบนใบออ่ นทเุ รยี น ตวั เตม็ วัยเพล้ียไก่แจท้ ุเรยี น เพลยี้ ไก่แจว้ างไขเ่ ขา้ ไปในเนื้อเยอื่ ใบทุเรยี น ไข่เพลี้ยไกแ่ จท้ เุ รยี น เพลี้ยไกแ่ จ้ดดู กนิ น้ำเลี้ยงทำใหใ้ บทุเรยี นหงิกงอ แตนเบยี นตัวออ่ นเพลีย้ ไก่แจท้ ่พี บในธรรมชาติ ผเี สอื้ หนอนเจาะผลทุเรยี น หนอนเจาะผลทเุ รยี นกดั ทำลายบรเิ วณเปลอื กทเุ รยี น แมลงศัตรไู มผ้ ล 19
หนอนเจาะผลทำรงั บริเวณเปลือกทเุ รยี น หนอนกดั กินบริเวณเปลือกไม่ถึงเนอ้ื ทเุ รยี น การตัดแต่งผลไมใ่ หต้ ิดกัน และใชไ้ ม้คนั่ ระหวา่ งผลทต่ี ิดกนั สามารถลดการทำลายของหนอนเจาะผลได ้ เพล้ียแปง้ ทุเรยี น เพลยี้ แปง้ ดดู กนิ นำ้ เลย้ี งจากผลออ่ นทเุ รยี น ทำใหแ้ คระแกรน็ มดดดู กนิ มลู หวานเพลยี้ แปง้ และพาไปยงั สว่ นตา่ งๆ เพลยี้ แปง้ ขบั ถา่ ยมลู หวาน ทำใหร้ าดำเขา้ ทำลายซำ้ แมลงศัตรไู มผ้ ล 20
วางไข่เป็นฟองเด่ยี วฝังอยู่ใตเ้ ปลือกไม ้ หนอนโตเตม็ ทย่ี าวประมาณ 8-10 ซม. เขา้ ดกั แด้ทใ่ี จกลางก่ิงหรอื ลำต้นทเุ รยี น ตัวเตม็ วยั ด้วงหนวดยาวเจาะลำตน้ ทเุ รยี น ตัวเตม็ วยั ผสมพนั ธต์ุ อนกลางคืน หนอนกัดกินสว่ นที่เปน็ ทอ่ นำ้ ทอ่ อาหารใตเ้ ปลอื กไม ้ ทเุ รียนยืนต้นตาย เนือ่ งจากการเขา้ ทำลายของ การใชต้ าขา่ ยพนั ตน้ เพอื่ ดกั จบั ตวั เตม็ วยั ดว้ งหนวดยาว ดว้ งหนวดยาว แมลงศัตรไู มผ้ ล 21
ตัวเต็มวยั เพลี้ยไฟ เพลีย้ ไฟดดู กนิ นำ้ เล้ยี งทำใหแ้ คระแกรน็ ใบโค้ง หงกิ งอ เพล้ยี ไฟดูดกินน้ำเลย้ี งทำให้ผลแคระแกร็น เพล้ยี ไฟดูดกนิ น้ำเล้ยี งจากผลออ่ นทำใหป้ ลายหนามแหง้ ตวั เตม็ วัยมอดเจาะลำต้น มอดวางไขเ่ ป็นกลุ่มในรทู ี่มอดเจาะ มอดเข้าทำลายบริเวณแผลรากเนา่ -โคนเนา่ รอยทำลายของมอดเจาะลำตน้ แมลงศตั รูไม้ผล 22
ระยะพฒั นาการของทุเรยี น และระยะการระบาดของแมลงศตั รทู ส่ี ำคัญ ระยะการ ัพฒนาของ ุทเ ีรยน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. ม.ิ ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ระยะแตกใบอ่อน ระยะแทงช่อดอก ระยะดอกบาน ระยะตดิ ผล ระยะผลแก่ การระบาดของแมลง ัศต ูร ืพช เพลยี้ ไก่แจ้ แมลงศตั รูไมผ้ ล เพล้ียแป้ง 23 หนอนเจาะผล หนอนเจาะเมล็ด มอดเจาะลำตน้ หนอนดว้ งหนวดยาวเจาะลำต้น
แมลงศัตรู มังคดุ เกรียงไกร จำเริญมา สถานการณ์และความสำคญั สถานการณ์ตลาดโลกในปัจจุบัน มีการตกลงเพื่อเปิดตลาดเสรีทั่วโลก โดยประเทศไทยได้เข้า เป็นสมาชกิ ขององคก์ ารคา้ พหุภาคี (World Trade Organization, WTO) และไดร้ ่วมทำความตกลง กับเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area, AFTA) ทำให้เกิดผลกระทบต่อราคาสินค้า หลกั ทางการเกษตรท่ีสำคัญของประเทศไทย เช่น ข้าว มนั สำปะหลงั และสนิ ค้าพืชสวนบางชนดิ เช่น เมล็ดกาแฟ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว ประเทศไทยต้องยอมรับผลจากการเจรจาท้ังในด้านการ ลดการอุดหนุนสินค้าเกษตร การกำหนดอัตราภาษีศุลกากร ปริมาณโควต้าการส่งออกและการนำเข้า ทำให้มีคู่แข่งทางการค้าที่มีการผลิตและการบริการท่ีได้มาตรฐานเพ่ิมมากข้ึน รัฐบาลของประเทศไทย จึงต้องปรบั นโยบายการผลติ สนิ คา้ การเกษตร จากระบบการผลติ พชื ไรแ่ ละธญั พชื เปน็ การผลติ พชื สวน ชนดิ ตา่ งๆ ขน้ึ แทนโดยเฉพาะไมผ้ ล ซงึ่ ปจั จบุ นั ยงั มปี ระเทศคแู่ ขง่ นอ้ ย จากแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คม แหง่ ชาติ ฉบับที่ 6 และฉบบั ที่ 7 เห็นไดว้ ่ามกี ารส่งเสรมิ และพัฒนาปริมาณการผลติ และคณุ ภาพของ ผลผลิตในพืชท่ีมีศักยภาพเป็นหลัก ซึ่งไม้ผลก็จะถูกจัดอันดับให้เป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตและการ ตลาดสูง โดยเฉพาะตลาดส่งออก เชน่ ลำไย ทุเรียน เงาะ ส้มโอ และสบั ปะรด ท้ังในรูปการผลิตสด และผลิตภัณฑ์แปรรูป นอกจากน้ัน ยังมีผลไม้อีกหลายชนิดท่ีมีศักยภาพในการส่งออก เช่น มังคุด มะมว่ ง และกลว้ ยไข่ โดยเฉพาะมงั คดุ กำลงั เปน็ ผลไมท้ ไ่ี ดร้ บั ความสนใจอยา่ งมากจากผปู้ ระกอบธรุ กจิ สง่ ออกสนิ คา้ การเกษตร เนอื่ งจากมงั คดุ เปน็ ผลไมท้ มี่ รี ปู ทรงเหมาะเจาะ สสี นั ของผลสกุ สวยงามสะดดุ ตา ตดั กบั สขี องเนอ้ื ทขี่ าวฟแู ละรสชาตทิ ห่ี วานอมเปรย้ี ว จงึ เปน็ ทช่ี นื่ ชอบของผบู้ รโิ ภคทวั่ ไป ประเทศที่นำเข้าจะนำเข้าเฉพาะมังคุดที่มีคุณภาพดี ซ่ึงมังคุดคุณภาพดีต้องมีผลขนาดใหญ่ (นำ้ หนักมากกวา่ 80 กรมั ต่อผล) ลักษณะของเนือ้ ขาวฟู ไม่มยี างตกในและไม่มีลกั ษณะอาการเน้อื แกว้ ผลมงั คดุ 100 ผล จะต้องบริโภคไดไ้ ม่นอ้ ยกว่า 90 ผล ปจั จบุ นั เกษตรกรผปู้ ลกู มงั คดุ ยงั ไมส่ ามารถผลติ มงั คดุ ทม่ี คี ณุ ภาพดไี ดเ้ พยี งพอกบั ความต้องการ ของตลาดทำให้มังคุดท่ีมีคุณภาพดีมีราคาสูง และในสถานการณ์ปัจจุบันเกษตรกรไทยยังผลิตมังคุด คุณภาพดไี ดน้ ้อยกวา่ 60% ของผลผลิตรวมทงั้ หมด เม่ือพจิ ารณาถงึ คณุ สมบัติเด่นๆ ของมงั คดุ แล้วจะ เห็นได้ว่ามังคุดยังเป็นพืชที่ตลาดต้องการมาก การแข่งขันในตลาดต่างประเทศมีน้อย ประเทศท่ีมีการ ผลิตมังคุดได้มากเช่นกัน ได้แก่ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ในอนาคตอาจมีเวียดนามเป็นคู่แข่งอีก ประเทศหนงึ่ เนอื่ งจากเวยี ดนามมกี ารนำเขา้ กงิ่ พนั ธมุ์ งั คดุ จากประเทศไทยเปน็ จำนวนมาก และฤดกู าล ของผลผลิตมงั คดุ จะใกล้เคียงกบั มงั คุดไทย แมลงศัตรูไม้ผล 24
สถานการณ์ศตั รพู ืช มงั คดุ เปน็ ไมผ้ ลทม่ี แี มลงศตั รไู มม่ ากนกั แมลงศตั รสู ว่ นใหญเ่ ขา้ ทำลายมงั คดุ ในระยะใบออ่ น ดอก และผลออ่ น ในรอบปหี นงึ่ ๆ มงั คดุ จะมกี ารแตกใบออ่ น 1-2 ครงั้ การแตกใบออ่ นครง้ั แรกเกดิ ขนึ้ ประมาณ เดอื นมถิ นุ ายน-กรกฎาคม และครงั้ ทสี่ องประมาณเดอื นกนั ยายน-ตลุ าคม แมลงศตั รสู ำคญั ทเ่ี ขา้ ทำลายใบ ออ่ นจนมงั คดุ ไดร้ บั ความเสยี หาย คอื เพลย้ี ไฟ หนอนชอนใบ และหนอนกนิ ใบออ่ น สว่ นการออกดอกเกดิ ขนึ้ ประมาณกลางเดอื นพฤศจกิ ายนถงึ มกราคม หลงั จากนน้ั จะเปน็ ระยะผลออ่ นจนถงึ เดอื นมนี าคม ในระยะ ดอกและผลออ่ นมแี มลงศตั รูที่สำคัญ ได้แก่ เพลีย้ ไฟ ซง่ึ จะดูดกินนำ้ เลี้ยงจากดอกและผลอ่อน ทำให้ผล มังคดุ ที่ไดม้ คี ุณภาพไมด่ มี ลี กั ษณะผิวขก้ี ลาก ชว่ งระยะการพฒั นาของผลตง้ั แตอ่ ายุ 2 เดอื น ถึงระยะเกบ็ เกย่ี ว จะมีเพล้ียแป้งเปน็ แมลงศัตรูสำคญั ส่วนในระยะผลสุกแมลงศัตรูสำคญั ของมังคุด คอื ผเี สอ้ื มวน หวาน แตผ่ เี สอื้ มวนหวานจะระบาดทำความเสยี หายใหแ้ กม่ งั คดุ เพยี งบางปเี ทา่ นนั้ สว่ นแมลงวนั ผลไมเ้ ปน็ แมลงศตั รทู างดา้ นกกั กนั พชื ซง่ึ สามารถเขา้ ทำลายไดเ้ ฉพาะผลมงั คดุ สกุ ทม่ี แี ผลเทา่ นน้ั เพลย้ี ไฟ (thrips) ช่อื วทิ ยาศาสตร ์ 1. Scirtothrips dorsalis Hood (เพล้ยี ไฟพริก) และ 2. Scirtothrips oligochaetus (Karny) (เพลี้ยไฟมงั คดุ ) วงศ ์ Thripidae อนั ดับ Thysanoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย ทพ่ี บมาก คอื เพลยี้ ไฟพรกิ ระบาดทำลายไมผ้ ลหลายชนดิ เชน่ มะมว่ ง สม้ โอ เงาะ สม้ เขยี วหวาน ทเุ รยี น ลน้ิ จ่ี และลำไย ทง้ั ตวั ออ่ นและตวั เตม็ วยั ทำลายโดยการดดู กนิ นำ้ เลย้ี งจากสว่ นตา่ งๆ ของพชื ถา้ เปน็ ใบอ่อนหรือยอดอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ และใบไหม้ ต้นมังคุดขาดความ สมบรู ณ์ หากมกี ารระบาดขณะออกดอกและตดิ ผลออ่ น อาจทำใหด้ อกและผลออ่ นรว่ ง ผลทไี่ มร่ ว่ ง เมอ่ื มี การพฒั นาโตขนึ้ จะเหน็ รอยทำลายชดั เจนเนอ่ื งจากผวิ เปลอื กมงั คดุ มลี กั ษณะขรขุ ระทเี่ รยี กวา่ ผวิ ขก้ี ลาก ผล มังคุดที่มีลักษณะดังกล่าวขายได้ในราคาต่ำ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรต้องพ่นสารฆ่าแมลงเพื่อ ปอ้ งกนั กำจดั เพลย้ี ไฟเปน็ ประจำ ปกตใิ นสภาพสวนของเกษตรกร มงั คดุ แตล่ ะตน้ มคี วามสมบรู ณไ์ มเ่ ทา่ เทยี ม กนั จงึ มกี ารแตกใบออ่ นไมพ่ รอ้ มกนั ใบออ่ นทแี่ ตกใหมท่ กุ ครง้ั เปน็ ตวั ดงึ ดดู ใหเ้ พลยี้ ไฟเขา้ มาทำลาย โดย เฉพาะเมอ่ื มงั คดุ มกี ารทะยอยแตกใบออ่ น ทำใหก้ ารระบาดของเพลี้ยไฟเกิดข้ึนอย่างต่อเน่ืองจนอาจมีการ ระบาดถึงระยะท่มี ังคดุ ออกดอก และตดิ ผลออ่ น ซึ่งเปน็ การระบาดท่รี นุ แรง เกษตรกรจงึ ตอ้ งสูญเสียสาร ฆ่าแมลงและคา่ แรงในการพ่นเปน็ จำนวนมาก แมลงศตั รไู มผ้ ล 25
เพล้ียไฟ พบระบาดรุนแรงในช่วงอากาศแห้งแล้ง และมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ในมังคุดพบเพลี้ยไฟ ปริมาณสูง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมาก หากถูก รบกวนเบาๆ จะเคลอ่ื นทโี่ ดยการกระโดดหนี และตามดว้ ยการบนิ ในระยะทางใกลๆ้ ตวั ออ่ นวยั แรก พบมากที่ ใตใ้ บออ่ น สว่ นตวั เตม็ วยั และตวั ออ่ นวยั ทสี่ อง ซอ่ นตวั อยตู่ ามซอกของตาดอก กลบี ดอก และใบออ่ น บนทรงพุ่มมังคุดจะพบเพลี้ยไฟปริมาณมาก ทางทิศใต้ ทศิ ตะวันออก และทศิ ตะวนั ตก บริเวณด้าน บนของทรงพมุ่ ช่วงเวลา 9.00-11.00 น. ดงั นน้ั การประเมนิ ประชากรเพล้ียไฟในมงั คดุ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ จึงควรส่มุ ตรวจนบั ในเวลาดงั กล่าว รูปร่างลกั ษณะและชีวประวัต ิ เพลยี้ ไฟพรกิ ลำตวั สเี หลอื งหรอื นำ้ ตาลออ่ น เคลอื่ นไหวรวดเรว็ ระยะตวั ออ่ น 6-7 วนั จากนน้ั เปน็ ระยะกอ่ นเขา้ ดกั แด้ 1-2 วนั และตวั เตม็ วยั อยไู่ ดป้ ระมาณ 22 วนั ตวั เมยี แตล่ ะตวั วางไขไ่ ดเ้ ฉลย่ี 60 ฟอง ตวั เตม็ วยั เพศเมยี มคี วามยาว 1.05 มลิ ลเิ มตร กวา้ ง 0.19 มลิ ลเิ มตร หนวดยาว 0.23 มลิ ลเิ มตร ปกี ยาว 0.54 มลิ ลเิ มตร บรเิ วณสว่ นปลายของปลอ้ งทอ้ งมอี วยั วะวางไขเ่ หน็ ไดช้ ดั เจน ขนาดยาว 0.70 มลิ ลเิ มตร กวา้ ง 0.04 มลิ ลเิ มตร ลำตวั สเี หลอื ง ตาสแี ดง มตี าเดยี่ ว (ocelli) 3 อนั เรยี งตวั เปน็ รปู สามเหลยี่ มอยดู่ า้ นบน ของ vertex หนวดเปน็ แบบ filiform มี 8 ปลอ้ ง ตวั เตม็ วยั เพศผู้ มคี วามยาว 0.71 มลิ ลเิ มตร กวา้ ง 0.14 มลิ ลเิ มตร หนวดและปกี ยาว 0.16 และ 0.38 มลิ ลเิ มตร ตามลำดบั ไข่ ลกั ษณะคลา้ ยเมลด็ ถวั่ สขี าว ขนาดยาว 0.25 มลิ ลเิ มตร กวา้ ง 0.10 มลิ ลเิ มตร ตวั เมยี วางไขใ่ น เนอ้ื เยอ่ื ของพชื บรเิ วณใกลเ้ สน้ กลางใบ หรอื เสน้ ใบโดยตวั เมยี วางไขว่ นั ละ 2-3 ฟอง ระยะไข่ 6-9 วนั ตวั ออ่ นวยั แรก ตวั ออ่ นทฟี่ กั ใหมๆ่ มสี เี หลอื งออ่ น ขนาดยาว 0.29 มลิ ลเิ มตร กวา้ ง 0.09 มลิ ลเิ มตร สว่ นบรเิ วณอกกวา้ งทส่ี ดุ และสว่ นทอ้ งเรยี วแหลมไปทางสว่ นปลาย และเหน็ เพยี ง 10 ปลอ้ ง หนวดเหน็ เพยี ง 7 ปลอ้ ง ตาสแี ดง ตวั ออ่ นวยั ทสี่ อง ตวั ออ่ นในวยั นสี้ เี หลอื งสม้ ขนาดยาว 0.59 มลิ ลเิ มตร กวา้ ง 0.18 มลิ ลเิ มตร สว่ น ทอ้ งปลอ้ งท่ี 4 กวา้ งทส่ี ดุ ของลำตวั ระยะตวั ออ่ นวยั แรกและวยั ทส่ี องเฉลย่ี 4.3-5.7 วนั ระยะก่อนเข้าดกั แด้ ระยะนีส้ ังเกตไดจ้ ากตมุ่ ปกี ส้ันๆ ทเี่ กดิ ขน้ึ บรเิ วณส่วนอก และหนวดทย่ี งั คงช้ี ตรงไปทางดา้ นหนา้ ของลำตวั มลี ำตวั ยาว 0.59 มลิ ลเิ มตร กวา้ ง 0.24 มลิ ลเิ มตร ระยะดักแด้ ปีกมีการพัฒนายาวขึ้นจนเกือบเท่าความยาวของส่วนท้อง ลำตัวมีขนาดยาว 0.63 มลิ ลเิ มตร กวา้ ง 0.26 มลิ ลเิ มตร หนวดชก้ี ลบั ไปทางดา้ นหลงั ของลำตวั ระยะกอ่ นเขา้ ดกั แด้ และระยะดกั แด้ ใช้เวลาเฉล่ีย 2.9-4.1 วัน ในสภาพธรรมชาติ อัตราสว่ นของเพศเมียต่อเพศผู้เปน็ 4 : 1 แมลงศัตรูไมผ้ ล 26
พืชอาหาร เพล้ียไฟพริกระบาดทำลายไม้ผลหลายชนิด เช่น มะม่วง เงาะ ส้มเขียวหวาน ทุเรียน ล้ินจ่ี และลำไย ส่วนเพล้ยี ไฟมงั คุด อาจพบระบาดในมะมว่ ง สม้ โอ และส้มเขยี วหวาน ศตั รูธรรมชาต ิ ศตั รธู รรมชาติของเพล้ยี ไฟในสวนมงั คุดทีพ่ บ ไดแ้ ก่ แมงมมุ ชนิดตา่ งๆ การป้องกันกำจดั เนื่องจากเพลี้ยไฟจะเข้าทำลายมังคุดเม่ือมังคุดมีการแตกใบอ่อน ออกดอก หรือกำลังติดผล ออ่ นในระยะทีม่ เี ฉพาะใบแก่ ไมพ่ บการทำลายของเพล้ยี ไฟเลย หากมงั คุดแตกใบออ่ นในช่วงฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม การระบาดของเพล้ยี ไฟจะไมร่ ุนแรง หรือแทบไมม่ ีการระบาดเลย ถา้ ช่วงน้ันมีฝนตกชุกหนาแน่นมาก ส่วนในช่วงแล้งระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เป็นช่วงที่มังคุด เร่ิมแทงตาดอก หรือตาใบผสมกนั และพฒั นาไปเร่ือยๆ จนดอกบาน ตดิ ผลอ่อน ในช่วงนีเ้ กษตรกร จะ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดอกและผลมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันยอดที่ไม่พัฒนาเป็น ดอกและผลเม่ือได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอจะแทงตาใบ และพัฒนาเป็นใบอ่อนซ้อนขึ้นมา จึงเป็นสาเหตุ ทำให้การระบาดของเพล้ียไฟเกิดข้ึนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะผลอ่อนท่ีถูกทำลายต้ังแต่เล็กเนื่องจาก เพลย้ี ไฟมีปากแบบเข่ียดูด (rasping-sucking mouthpart) ทำให้เกดิ รอยแผลบนผิวของผลอ่อน เม่ือ ผลพัฒนาขึ้นรอยแผลดังกล่าวจะขยายข้ึนชัดเจนจนเห็นเป็นลักษณะขรุขระ ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ จะเห็นได้ว่าระยะวิกฤตที่ควรทำการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในมังคุด คือ ช่วงฤดูแล้งขณะที่มังคุดอยู่ใน ระยะออกดอก ตดิ ผลออ่ น การพ่นสารฆ่าแมลง จงึ ควรพ่น 3 คร้งั คอื ระยะกอ่ นดอกบาน 7 วนั ขณะ ดอกบาน และหลังบานแล้ว 7 วัน หากเป็นการระบาดนอกฤดูการออกดอกติดผล ควรพ่นสารฆ่า แมลงเมือ่ ตรวจพบเพลี้ยไฟเฉลยี่ เกนิ 1 ตวั ต่อยอด สารฆ่าแมลงท่ีมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ได้แก่ fipronil (Ascend 5% SC), imidacloprid (Confidor 100 SL 10% SL), carbosulfan (Posse 20% EC) และ cypermethrin/phosalone (Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา 10, 10, 50 และ 40 มลิ ลลิ ติ รต่อนำ้ 20 ลิตร ตามลำดบั และไม่ควรใชส้ ารฆ่าแมลงชนดิ ใดชนิดหนึ่งติดตอ่ กันหลายครัง้ เพราะทำให้เพล้ยี ไฟ สรา้ งความต้านทานตอ่ สารฆ่าแมลง และอาจเกดิ แมลงศตั รูชนดิ อ่นื ระบาดข้ึนมาได ้ หนอนชอนใบ (leafminers) ช่อื วิทยาศาสตร์ 1. Acrocercops sp. และ 2. Phyllocnistis sp. แมลงศัตรูไม้ผล 27
วงศ์ Gracillariidae อันดับ Lepidoptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย Acrocercops sp. ชอบทำลายใบอ่อนท่ีมีอายุมาก โดยตัวหนอนท่ีฟักจากไข่ ไชชอนกัดกิน และขับถ่ายอยู่ในระหว่างผิวใบ รอยทำลายเป็นลักษณะแผ่กว้างเป็นแผ่นสีดำ เน่ืองจากเน้ือเย่ือ ระหวา่ งผิวใบตรงสว่ นน้นั ถูกทำลายไป พบการทำลายไมม่ ากนัก Phyllocnistis sp. ไชชอนทำลายใบอ่อนมังคุดที่มีอายุน้อยกว่า พบการระบาดรุนแรงมาก ขณะมังคุดแตกใบอ่อน โดยเฉพาะในระยะตน้ กล้าของมังคดุ ตัวหนอนทฟี่ ักจากไข่ ไชชอนเปน็ ทางยาว หรือสร้างเป็นอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายใน รอยทำลายของหนอนชอนใบชนิดนี้มีความยาวโดย เฉลย่ี 17.50 เซนติเมตร ใบมงั คดุ ทถี่ กู ทำลายจะแสดงลกั ษณะแคระแกรน็ บดิ เบยี้ ว เนอ่ื งจากเซลลแ์ ละเนอื้ เยอื่ บางสว่ น ของใบถกู ทำลายตงั้ แตใ่ บออ่ นยงั เจรญิ เตบิ โตไมเ่ ตม็ ท่ี ถา้ มกี ารระบาดรนุ แรง อาจพบหนอนชอนใบมาก กวา่ 1 ตวั ตอ่ ใบ ทำใหม้ งั คดุ มใี บไมส่ มบรู ณโ์ ดยเฉพาะในระยะตน้ กลา้ ชะงกั การเจรญิ เตบิ โต สำหรบั ตน้ มงั คดุ ทโ่ี ตแลว้ การถูกทำลายรุนแรง ทำให้มงั คุดแตกใบอ่อนบ่อยคร้งั เพื่อชดเชยใบทไี่ ม่สมบรู ณ์ ใบออ่ น เปน็ ตวั ดงึ ดดู แมลงศตั รชู นดิ อนื่ ๆ เขา้ มาทำลายมงั คดุ เพมิ่ ขนึ้ พบการระบาดของหนอนชอนใบทัง้ สองชนิด รนุ แรงในเขตจงั หวัดจันทบุรี ระยอง ตราด โดย เฉพาะในเดือนมิถุนายน พบการแตกใบอ่อนของมังคุดในช่วงน้ีมีหนอนชอนใบ Phyllocnistis sp. ทำลาย 36.3% และ Acrocercops sp. ทำลายเพยี ง 0.3% รปู รา่ งลักษณะและชีวประวัต ิ ตัวเตม็ วัยของหนอนชอนใบท้งั สองชนิดเปน็ ผีเส้ือกลางคืนขนาดเลก็ เม่ือกางปีกกว้างประมาณ 3.0 และ 2.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ แม่ผีเส้ือจะวางไข่เป็นฟองเด่ียว ด้านหลังใบติดกับเส้นกลางใบ ระยะไข่ 3-5 วัน ระยะหนอน 15-16 วนั จึงเขา้ ดกั แด้ใกล้ๆ ขอบใบ ระยะดกั แด้ 4-8 วัน ศตั รธู รรมชาติ พบแตนเบียนของหนอนชอนใบมังคุด 10 ชนิด จำแนกชนิดได้ 8 ชนิด คือ Ageniaspis citricola Longvinoskaya, Kratoysma sp., Sympiesis striatipes (Ashmead), Elasmus sp., Cirrospilus ingenuus Gahan, Eurytoma sp., Quadrastichus sp. และ Citrostichus phyllocnistoides (Narayanan) ในเดือนธันวาคม พบหนอนชอนใบมังคุดถูกแตนเบียนทำลายสูงสุด 80.6% และต่ำสดุ 16.3% ในเดอื นพฤศจกิ ายน แมลงศตั รูไม้ผล 28
การปอ้ งกนั กำจัด แตนเบยี นทพี่ บมากทส่ี ดุ คอื Ageniaspis citricola ถา้ พบหนอนชอนใบระบาดรนุ แรง (ใบออ่ น ถูกทำลายมากกว่า 30%) และไม่พบแตนเบียนให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลง carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อัตรา 60 กรมั ต่อน้ำ 20 ลติ ร หนอนกนิ ใบอ่อน (leaf eating caterpillars) ชอื่ วิทยาศาสตร์ 1. Stictoptera columba (Walker) 2. Stictoptera cucullioides Guenee 3. Stictoptera signifera (Walker) วงศ์ Noctuidae อนั ดบั Lepidoptera ความสำคัญและลกั ษณะการทำลาย หนอนกินใบอ่อนทำลายกัดกินใบอ่อนมังคุดจนเหลือเฉพาะก้านใบ หรือบางครั้งหมดท้ังใบ เน่ืองจากเป็นแมลงในวงศ์ Noctuidae ซ่ึงเป็นผีเส้ือกลางคืน ในตอนกลางวันจึงไม่ค่อยพบตัวหนอน พบรอยทำลายท่ีทง้ิ ไวใ้ ห้เหน็ อย่างชัดเจน ตวั หนอนกัดกินทำลายใบอ่อนของมงั คุดในเวลากลางคนื สว่ น กลางวันหลบลงดิน หรือหลบอาศัยตามเศษซากใบไม้ หรือระหว่างใบในทรงพุ่มต้นมังคุดท่ีมีความมืด หนอนวัยแรกๆ มีลำตัวเขียวใส เม่ือโตขึ้นลักษณะสีสันและลวดลายแตกต่างกันไป แต่มีการทำลาย เหมอื นกนั หากระบาดรนุ แรงใบออ่ นถกู กนิ จนหมด ทำใหม้ งั คดุ แตกใบออ่ นใหมเ่ พอ่ื ชดเชยความสมบรู ณ์ ถ้าหนอนกินใบอ่อนระบาดขณะมังคุดแตกใบอ่อนในเดือนกันยายน-ตุลาคม ซ่ึงเป็นใบอ่อนชุดสุดท้าย ก่อนการออกดอก ถ้าใบอ่อนชุดสุดท้ายก่อนการออกดอกถูกทำลาย จะมีผลกระทบต่อการเกิดตาดอก และผลผลติ จากการศึกษาโดยการตัดใบออ่ นชุดสุดท้ายแทนการทำลายของหนอนกนิ ใบอ่อนมงั คุด พบ ตน้ ทใี่ บออ่ นถกู ทำลายมากๆ จะมกี ารให้ดอกและติดผลลดลง พบการแพร่ระบาดของหนอนกินใบอ่อนทุกแหล่งปลูกมังคุด ในขณะท่ีมีการแตกใบอ่อนโดย เฉพาะ Stictoptera cuculliodes พบระบาดรนุ แรงมากกับมังคุดทอี่ ำเภอหลงั สวน จงั หวัดชุมพร รปู รา่ งลักษณะและชวี ประวัติ Stictoptera columba ตวั หนอนเมอื่ โตเตม็ ทล่ี ำตวั สนี ำ้ ตาลเขม้ และมจี ดุ สดี ำประปรายทง้ั ลำตวั ทส่ี งั เกตไดค้ อื หนอนชนดิ นม้ี สี ว่ นหวั และอกขยายใหญก่ วา่ สว่ นทอ้ ง ขนาดลำตวั ยาว 3.0-3.5 เซนตเิ มตร แมลงศัตรไู มผ้ ล 29
ผีเสอื้ เม่ือกางปกี กวา้ ง 3.0-3.5 เซนตเิ มตร ลำตัวยาว 1.5-2.0 เซนติเมตร ปกี คู่หน้าสเี ขยี วปนน้ำตาล เข้มข้ึนไปทางปลายปีก ลำตัวส่วนอกและปล้องท้องสีน้ำตาล มีขนเหลือบสีเขียวตามแนวสันหลังจาก อกลงไปตามปลอ้ งทอ้ ง หนอนกนิ ใบออ่ นชนิดน้พี บเพียง 1.2% ของหนอนกนิ ใบออ่ นทงั้ หมด Stictoptera cuculliodes ตัวหนอนเม่ือโตเต็มท่ีลำตัวสีดำหรือน้ำตาลเข้ม มีแถบสีขาวพาด ตามยาวของลำตัว ขนาดลำตัวยาว 2.5-3.3 เซนติเมตร ผีเสื้อเม่ือกางปีกกว้าง 3.5-4.5 เซนติเมตร ลำตัวยาว 1.8-2.0 เซนติเมตร ปีกคู่หนา้ สนี ำ้ ตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้มเปน็ ส่วนใหญ่ มีแถบสีนำ้ ตาลเขม้ พาดผ่านกลางปีก และมีรอยหยักบริเวณของปีกเห็นได้ชัดเจน ปีกคู่หลังโคนปีกสีน้ำตาลอ่อนปนม่วง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้ม ตลอดลำตัวต้ังแต่ส่วนหัวถึงปล้องท้องสีน้ำตาล ลักษณะผีเส้ือมีลักษณะสีสัน และลวดลายแตกต่างกันหลายแบบ และเป็นหนอนกนิ ใบออ่ นมังคุดทีพ่ บมากที่สดุ ถึง 93.9% Stictoptera signifera ตัวหนอนเม่ือโตเต็มที่ลำตัวสีเขียวสลับเหลืองเห็นเป็นปล้องๆ ลำตัว ยาวเฉลี่ย 2.2-2.9 เซนติเมตร ผีเสื้อเม่ือกางปีกกว้างประมาณ 3.0 เซนติเมตร ลำตัวยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร ปีกคู่หน้ามีพ้ืนปีกสีน้ำตาลเข้ม มีลายสีน้ำตาลอ่อนสลับเล็กน้อยบริเวณโคนขอบปีกด้านบน และกลางแผ่นปีก ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน ส่วนปลายปีกสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวสีน้ำตาลตลอดหัวจรด ปลายปล้องท้อง พบเฉลย่ี ประมาณ 4.9% พืชอาหาร นอกจากมงั คุดแลว้ ยงั ไม่มีรายงานว่าแมลงชนิดนี้ทำลายพืชชนดิ อน่ื ศัตรธู รรมชาต ิ พบหนอนกินใบอ่อนมังคุดถูกแตนเบียนทำลายเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่ได้จำแนกชนิดของ แตนเบยี นเหลา่ นัน้ การป้องกันกำจัด เนื่องจากหนอนกัดกินทำลายใบอ่อนมังคุดในเวลากลางคืน และทิ้งร่องรอยการทำลายให้เห็น หากสำรวจพบใบอ่อนมังคุดถูกทำลายเกิน 20% ให้พ่นด้วย carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อัตรา 60 กรัมตอ่ น้ำ 20 ลติ ร ชือ่ วิทยาศาสตร ์ เพล้ยี แปง้ (mealybugs) วงศ์ Pseudococcus cryptus Hempel Pseudococcidae อันดับ Hemiptera แมลงศตั รไู มผ้ ล 30
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย เพล้ียแป้ง เป็นแมลงศัตรูสำคัญชนิดหน่ึงของมังคุดโดยเฉพาะปัจจุบันเกษตรกรเน้นการผลิต มังคุดผิวมัน ซ่ึงมีราคาสูง จึงมุ่งประเด็นไปที่การป้องกันกำจัดเพล้ียไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผลมังคุดมี ผวิ ขรุขระ (ผวิ ขกี้ ลาก) คุณภาพต่ำ โดยมีการพ่นสารป้องกนั กำจัดเพียงชนิดเดยี วซำ้ ๆ กนั นอกจากจะ ทำให้เกิดปัญหาการต้านทานสารเคมีของเพล้ียไฟแล้ว ยังทำให้เกิดการระบาดของเพล้ียแป้งด้วย ในมังคุดพบเพลี้ยแป้งเริ่มระบาดเม่ือผลมังคุดอายุประมาณ 2 เดือน จนถึงระยะเก็บเกี่ยว ขณะที่ผล มังคุดยังเล็กอยู่เพล้ียแป้งจะฝังตัวดูดกินน้ำเล้ียงอยู่ด้านใต้ของผล เม่ือผลโตใกล้เก็บเกี่ยวเพลี้ยแป้งจะ ไปฝังตัวดูดกินน้ำเล้ียงอยู่ใต้กลีบเลี้ยง ซึ่งเป็นสภาพท่ีเหมาะสมสำหรับการขยายพันธ์ุจึงเพิ่มปริมาณได้ อย่างรวดเร็ว เมื่อมีปริมาณมาก มูลหวานที่เพล้ียแป้งขับถ่ายออกมาจะดึงดูดให้เกิดราดำขึ้นเป็นคราบ เกาะติดผวิ มงั คดุ ทว่ั ท้ังผล ทำใหผ้ ลมงั คดุ มคี ณุ ภาพต่ำ การปนเปอื้ นของเพลยี้ แปง้ และราดำเป็นปญั หา อย่างมากสำหรับมังคุดส่งออก ผู้ส่งออกบางรายแก้ปัญหาโดยการตัดกลีบเล้ียง และขั้วผลมังคุดทิ้ง ทำให้มังคุดสูญเสียรูปลกั ษณ์ที่สวยงาม ลกั ษณะและชีวประวตั ิ การเลี้ยงบนผลฝักทอง ระยะไข่ ไข่เพลย้ี แปง้ ชนดิ นม้ี ลี ักษณะกลมรี สเี หลืองใส ขนาดกว้างเฉลี่ย 0.20 + 0.04 ยาว เฉลยี่ 0.32 + 0.04 มิลลิเมตร เม่อื ใกล้ฟกั จะเปลี่ยนเป็นสสี ้ม และเหน็ จดุ แดง ซึ่งเปน็ สว่ นประกอบของ ตารวม 2 จุด ชดั เจน ระยะไข่ใชเ้ วลาเฉลี่ย 3.05 + 0.76 วัน จึงฟกั เปน็ ตัวออ่ นวัยแรก เร่ิมเดินออก จากใตท้ ้องตวั แม่ วงจรชีวติ ของเพลยี้ แป้งเพศเมีย ตัวอ่อนวัยท่ี 1 ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีเหลืองใส รูปร่างลักษณะยาว หัวป้านท้าย แหลม เห็นสว่ นหนวดและขาชัดเจน ตารวมสีแดง ตัวอ่อนวัยนีม้ ีขนาดกว้างเฉล่ีย 0.20 + 0.14 และ ยาวเฉลี่ย 0.39 + 0.03 มลิ ลิเมตร ยงั ไมพ่ บไขแปง้ ตามลำตัว เคล่อื นไหวได้วอ่ งไวกว่าวยั อน่ื ๆ โดยจะ เดินไปหาตำแหน่งที่เหมาะสม เพ่ือเกาะฝังตัวดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชอาหาร เรียกตัวอ่อนในวัยแรกของ เพลยี้ แป้งว่า crawler ใชเ้ วลาเฉลี่ย 4.50 + 0.95 วนั ตัวอ่อนวัยที่ 2 ตัวอ่อนวัยแรกจะลอกคราบ โดยการเกิดรอยแผลท่ีส่วนหัว จากน้ันจะดันตัว ออกมาจากรอยแตกกลายเป็นตัวอ่อนวัยที่ 2 ตัวอ่อนวัยน้ีจะมีลำตัวยาวรีสีขาวขุ่น ตามบริเวณลำตัว เรมิ่ มไี ขแป้ง โดยเฉพาะสว่ นท้ายของลำตัวจะพบเส้นแป้ง 2 เสน้ เพลี้ยแปง้ วยั ที่ 2 จะมีการเคล่ือนย้าย ท่ีอยู่บ้างแต่จะน้อยกว่าตัวอ่อนวัยแรก และมักเป็นการเคล่ือนที่เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งเพ่ือดูดกินน้ำเลี้ยง จากพืชอาหาร ขนาดลำตวั กวา้ งเฉล่ีย 0.64 + 0.07 และยาวเฉลี่ย 1.07 + 0.05 มิลลเิ มตร เน่ืองจาก แมลงศตั รไู ม้ผล 31
เร่ิมมีการฝังตัว ดูดกินน้ำเล้ียงจากพืชอาหาร จึงสังเกตพบว่า เพลี้ยแป้งวัยน้ีมีการถ่ายมูลโดยพบมูล หวานมลี กั ษณะเปน็ หยดน้ำใสๆ และเหนียว ตวั ออ่ นวัยนีใ้ ชเ้ วลาเฉลี่ย 5.35 + 0.88 วัน ตัวอ่อนวัยท่ี 3 ตัวอ่อนวัยท่ี 2 จะลอกคราบเป็นตัวอ่อนวัยท่ี 3 โดยวิธีเดียวกันกับการลอก คราบของตัวออ่ นวัยแรก เมื่อลอกคราบเป็นตวั ออ่ นวยั ท่ี 3 พบตัวออ่ นวัยนี้มีลกั ษณะเหมอื นตวั ออ่ นวัย ท่ี 2 แต่จะมีการสร้างไขแป้งสีขาวเพ่ิมขึ้นชัดเจน โดยเฉพาะเห็นเส้นไขแป้งโดยรอบลำตัวและขุยแป้ง ปกคลุมรอบลำตัวจนเห็นเป็นสีขาวทั้งตัว แต่บางส่วนที่ขุยแป้งยังไม่มากจะยังคงเห็นร่องรอยของปล้อง บนลำตัวอยู่ ตัวอ่อนเพศเมยี และเพศผ้วู ยั น้ี จะมขี นาดและรปู รา่ งแตกตา่ งกัน โดยตวั อ่อนเพศเมียจะมี ความกวา้ งเฉล่ีย 1.40 + 0.10 และยาวเฉลย่ี 2.51 + 0.27 มลิ ลเิ มตร สว่ นใหญจ่ ะเกาะฝงั ตัวน่งิ อยใู่ น ตำแหน่งที่เหมาะสมของพืชอาหาร ดูดกินน้ำเลี้ยงและถ่ายมูลหวานเป็นหยดน้ำอยู่ด้านท้ายของลำตัว บางคร้ังจะพบเชื้อราดำตรงบริเวณท่ีเพลี้ยแป้งถ่ายมูลหวานไว้ ตัวอ่อนเพลี้ยแป้งเพศเมียวัยนี้ใช้เวลา เฉลยี่ 6.80 + 1.20 วนั จึงลอกคราบครัง้ ท่ี 3 และเจรญิ เตบิ โตเปน็ ตวั เตม็ วยั เพศเมยี ตัวเตม็ วัยเพศเมีย รปู ร่างเปน็ รูปไขค่ อ่ นขา้ งกวา้ งโดยเฉล่ีย 2.22 + 0.23 และมคี วามยาวเฉล่ยี 3.69 + 0.43 มลิ ลเิ มตร ผนงั ลำตวั สเี หลอื งออ่ นหรือเขยี วอมเหลืองปกคลมุ ด้วยไขแปง้ สีขาว โดยเฉพาะ คู่ท้ายสุดของลำตัวจะยาวที่สุดดูลักษณะคล้ายหาง หนวดมี 8 ปล้อง ขาเจริญดี เพล้ียแป้งเพศเมียที่ เจรญิ เตบิ โตเต็มที่แล้วจะเร่ิมสร้างไข่ โดยตอนแรกพบว่า เพลย้ี แป้งทพ่ี รอ้ มวางไข่ จะมีการสรา้ งเสน้ ใย ไหมสขี าวฟใู ตล้ ำตัวและเร่ิมวางไขใ่ นเส้นไหมทส่ี รา้ งใต้ลำตวั นนั้ โดยไมต่ อ้ งผสมพันธุ์ เฉลีย่ 374.70 + 72.59 ฟอง และมีชวี ติ อยไู่ ดน้ าน 10.95 + 1.46 วนั รวมตลอดอายุขยั เพลีย้ แป้งเพศเมีย ตั้งแต่ระยะ ไข่ถงึ สิน้ อายขุ ัยของตวั เต็มวยั ใช้เวลาเฉลยี่ 27.60 + 2.04 วัน วงจรชีวติ ของเพลยี้ แป้งเพศผ้ ู ตวั อ่อนวัย 1 และวัย 2 มีรปู รา่ งลกั ษณะเชน่ เดียวกบั เพลีย้ แป้งเพศเมยี จากการเลยี้ งด้วยผล ฟกั ทอง ตัวอ่อนเพศผู้วัยแรกใช้เวลาเฉลี่ย 4.50 + 0.95 วนั ขณะท่ตี วั ออ่ นเพศผวู้ ัยที่ 2 ใชเ้ วลาเฉลี่ย 12.10 + 2.27 วัน ตวั ออ่ นวยั ที่ 3 เมือ่ เขา้ ส่วู ัยท่ี 3 ตัวอ่อนเพศผจู้ ะมีรูปร่างแตกตา่ งไปจากตัวออ่ นเพศเมยี โดย ตัวอ่อนเพศผูว้ ัยน้ีจะมลี ำตัวผอมยาว และสรา้ งเสน้ ไหมสขี าวคลมุ ลำตัวไว้ ถา้ เขย่ี เส้นไหมออกจะพบวา่ ตัวออ่ นของเพลย้ี แป้งเพศผู้วยั นจ้ี ะประกอบด้วย 2 ระยะ คอื ระยะกอ่ นเข้าดกั แด้ (prepupa) เมอื่ เขยี่ เส้นไหมออกจะพบตัวอ่อนอย่ภู ายใน ลกั ษณะลำตวั ผอมยาว ขนาดกว้างเฉล่ีย 0.20 มิลลิเมตร ยาวเฉล่ีย 0.65 + 0.01 มิลลิเมตร เห็นตารวมชัดเจน ที่บริเวณอกด้านบนมีการพัฒนาของตุ่มปีก 1 คู่ เม่ือได้รับการกระทบกระเทือนจะเดินเคลื่อนที่ได้ใน ระยะใกล้ๆ ตัวอ่อนในระยะน้ีไม่มีการดูดกินอาหารและใช้เวลาไม่นาน จึงลอกคราบครั้งที่ 3 เพ่ือเข้า ดกั แดใ้ นรงั ไหม โดยท้ิงคราบไว้ทส่ี ่วนทา้ ยของรงั ไหม แมลงศัตรไู ม้ผล 32
ระยะดักแด้ ลักษณะของดักแด้จะใกล้เคียงกับระยะก่อนเข้าดักแด้ ท้ังรูปร่างและขนาดลำตัว แต่ถ้าเขี่ยรังไหมออก พบว่าการพัฒนาของตุ่มปีกในระยะดักแด้จะมีขนาดใหญ่ข้ึน เห็นชัดเจน เม่ือได้ รบั การกระทบกระเทือนจะมีการเคลอ่ื นไหวนอ้ ยกวา่ ตวั อ่อนในระยะก่อนเขา้ ดักแด ้ เนื่องจากระยะก่อนเข้าดักแด้และระยะดักแด้ของเพล้ียแป้งเพศผู้ มีการสร้างรังไหมไม่ สามารถศึกษาระยะเวลาที่แท้จริงของแต่ละวัยได้ จากการศึกษาพบตัวอ่อนในระยะก่อนเข้าดักแด้และ ระยะดกั แด้ รวมใชเ้ วลาในการพฒั นา เฉลยี่ 5.85 + 1.46 วนั จงึ ลอกคราบครง้ั ท่ี 4 เปน็ ตวั เตม็ วยั เพศผู้ ออกจากรังไหม รวมระยะเวลาตวั อ่อนเพศผใู้ ช้เวลาเฉล่ีย 22.45 + 3.40 วัน ระยะตัวเต็มวยั ตวั เตม็ วัยเพศผู้ มลี ักษณะผอมยาวคลา้ ยยุง ลำตัวกว้างเฉล่ีย 0.20 มิลลิเมตร ยาวเฉลี่ย 0.86 + 0.01 มลิ ลิเมตร ลำตัวสีเหลืองอมชมพู มีปกี บางใส 1 คู่ เหน็ หนวดชดั เจนและมีเส้น แปง้ สีขาวท่ีส่วนปลายของส่วนท้อง ลักษณะคลา้ ยหาง 1 คู่ ตัวเต็มวยั เพศผมู้ อี ายขุ ัยอยู่ได้เฉลี่ย 3.75 + 1.59 วนั รวมตลอดอายขุ ัยเพลยี้ แปง้ Pseudococcus cryptus เพศผู้ เมือ่ เลีย้ งบนฟักทอง จาก ระยะไข่ จนสิน้ อายขุ ัยของตวั เต็มวัยใชเ้ วลาเฉล่ยี 26.20 + 3.67 วัน พชื อาหาร ใบมะพรา้ ว ใบมะม่วง ฝักมะขาม และผลมังคุด ศตั รธู รรมชาติ ศตั รธู รรมชาตขิ องเพลยี้ แปง้ ทพี่ บ ไดแ้ ก่ แมลงชา้ งปกี ใส Mallada basalis (Walker) ดว้ งเตา่ ลาย Nephus ryuguus (H. Kamiya) และแตนเบียนในวงศ์ Eulophidae การปอ้ งกันกำจดั 1. ถา้ พบระบาดไม่มาก อยูเ่ ปน็ กล่มุ เฉพาะผลใดผลหนงึ่ ใหเ้ ก็บผลเหลา่ น้นั เผาทำลาย 2. ควรมีการสำรวจต้ังแต่มังคุดเร่ิมติดผล การระบาดในมังคุดผลเล็ก ซึ่งเพล้ียแป้งฝังตัวอยู่ ด้านใต้ผล สามารถพ่นสารป้องกันกำจัดได้ประสิทธิภาพดีกว่าการป้องกันกำจัดเม่ือเพล้ียแป้งระบาดใน ผลโต ซงึ่ จะฝงั ตัวใตก้ ลีบเลย้ี ง เมือ่ พบเพล้ียแปง้ ระบาดมากกวา่ 10 เปอร์เซ็นตข์ องผลสำรวจ พน่ ด้วย สาร carbosulfan (Posse 20% EC), imidacloprid (Confidor 100 SL 10% SL) หรอื carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อตั รา 50, 10 มิลลิลิตร และ 60 กรัมตอ่ นำ้ 20 ลติ ร ตามลำดบั 3. การแพรร่ ะบาดของเพลย้ี แป้งมกั มมี ดเป็นพาหะนำเพลย้ี แป้งไปปลอ่ ยยังจุดตา่ งๆ ทำให้การ แพร่ระบาดรวดเร็วยิ่งข้ึน หลังการพ่นสารกำจัดเพล้ียแป้งท่ีระบาดขณะผลเล็กแล้ว ให้ป้องกันมดเป็น พาหะคาบเพลี้ยแปง้ กลบั มาระบาดซำ้ โดยใชเ้ ศษผา้ ชบุ น้ำมันเครอื่ งพันรอบโคนตน้ แมลงศัตรูไม้ผล 33
เอกสารประกอบการเรยี บเรยี ง เกรยี งไกร จำเรญิ มา ศรตุ สทุ ธอิ ารมณ์ และวทิ ย ์ นามเรอื งศร.ี 2540. การใชส้ ารฆา่ แมลงเพอ่ื ผลติ มงั คดุ คณุ ภาพด.ี กสกิ ร. 70(2): 136-139. เกรยี งไกร จำเรญิ มา ศรตุ สทุ ธอิ ารมณ์ และวทิ ย ์ นามเรอื งศร.ี 2541. การพฒั นาของมงั คดุ และ แมลงศตั รทู ส่ี ำคญั . เคหการเกษตร. 22(3): 161-164. เกรยี งไกร จำเรญิ มา ศรตุ สทุ ธอิ ารมณ์ และวทิ ย ์ นามเรอื งศร.ี 2541. ศกึ ษาการเปลย่ี นแปลง ประชากรของเพลยี้ ไฟในทรงพมุ่ มงั คดุ เพอื่ การสมุ่ ตวั อยา่ งทเ่ี หมาะสม. น. 149-156 ใน รายงาน ผลการคน้ ควา้ และวจิ ยั ปี 2541. กลมุ่ งานวจิ ยั แมลงศตั รไู มผ้ ลสมนุ ไพรและเครอื่ งเทศ กองกฏี และ สตั ววทิ ยา กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ เกรยี งไกร จำเรญิ มา ศรตุ สทุ ธอิ ารมณ์ วทิ ย์ นามเรอื งศรี และอมั พกิ า ปนุ นจติ . 2541. ความสมั พนั ธ์ ของปริมาณการเข้าทำลายของศัตรูพืชต่อการเจริญเติบโตของมังคุด. รายงานผลการค้นคว้าและ วจิ ยั ปี 2541. ศนู ยว์ จิ ยั พชื สวนจนั ทบรุ ี สถาบนั วจิ ยั พชื สวน กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ เกรยี งไกร จำเรญิ มา ศรตุ สทุ ธอิ ารมณ ์ เสาวนติ ย ์ ไหมมาลา สราญจติ ไกรฤกษ ์ ชลดิ า อณุ หวฒุ ิ และวทิ ย ์ นามเรอื งศร.ี 2541. แนวทางการแกป้ ญั หาเพลย้ี ไฟเพอื่ ผลติ มงั คดุ คณุ ภาพ. แมลง และสตั วศ์ ตั รพู ชื 2541 น. 73-90 ใน เอกสารประกอบการประชมุ สมั มนาทางวชิ าการ ครงั้ ที่ 11, 3-6 มนี าคม 2541 กองกฏี และสตั ววทิ ยา กรมวชิ าการเกษตร. กรงุ เทพฯ. ชลิดา อุณหวุฒิ. 2538. แมลงศัตรูลำไยและล้ินจี่. 56-69. ใน แมลงศัตรูไม้ผล. เจริญรัฐการพิมพ์ กรงุ เทพฯ. นริ นาม. 2537. มงั คดุ . บนั ทกึ ชาวสวนผลไม้ 2537. สำนกั งานเกษตรจงั หวดั ระยอง. 137 หนา้ . พนมกร วรี ะวฒุ .ิ 2532. แมลงศตั รสู ม้ . น. 76-102. ใน แมลงศตั รไู มผ้ ล. เอกสารประกอบการอบรม หลกั สตู รแมลง สตั วศ์ ตั รพู ชื และการปอ้ งกนั กำจดั ครง้ั ท่ี 5, 5-16 มถิ นุ ายน 2532 กองกฏี และ สตั ววทิ ยา กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ. พชิ ยั สราญรมย.์ 2537. การศกึ ษามงั คดุ ฉตั รละ 3 กงิ่ (มงั คดุ นางพญา) ในจงั หวดั จนั ทบรุ .ี ภาควชิ า เกษตรศาสตร์ คณะวชิ าเกษตรและอตุ สาหกรรม วทิ ยาลยั รำไพพรรณ ี จนั ทบรุ .ี 121 หนา้ . รจุ มรกต เกรยี งไกร จำเรญิ มา บงั อร สมานอคั นยี ์ และพมิ ลพร นนั ทะ. 2541. แตนเบยี นทำลาย หนอนชอนใบมังคุด Phyllocnistis sp. (Lepidoptera : Phyllocnistidae) น. 101-109 ใน เอกสารประกอบการประชมุ สมั มนาทางวชิ าการ แมลงและสตั วศ์ ตั รพู ชื ครงั้ ท่ี 11, 3-6 มนี าคม 2541. กองกฏี และสตั ววทิ ยา กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ. แมลงศตั รูไม้ผล 34
ศิริณ ี พูนไชยศรี. 2535. ชนิดของเพลี้ยไฟท่ีพบในไม้ผล. น. 386-434. ใน เอกสารประกอบการ ประชุมสัมมนาทางวิชาการ แมลงและสัตว์ศัตรูพืช ครั้งท่ี 8, 23-26 มิถุนายน กองกีฏและ สตั ววทิ ยา กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ. สาทร สริ สิ งิ ห ์ สทุ ธรี าภรณ ์ สริ สิ งิ ห์ และวทิ ย ์ นามเรอื งศร.ี 2535. รปู แบบการแพรก่ ระจายและการ สมุ่ ตวั อยา่ งเพอื่ วดั ประชากรของเพลยี้ ไฟมงั คดุ . น. 177-187. ใน รายงานผลการคน้ ควา้ และวจิ ยั ปี 2535. กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูไม้ผลและพืชสวนอ่ืนๆ กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชา การเกษตร. กรงุ เทพฯ. สาทร สริ สิ งิ ห ์ วทิ ย ์ นามเรอื งศร ี และศรตุ สทุ ธอิ ารมณ.์ 2539. การศกึ ษาประสทิ ธภิ าพของสารเคมี บางชนดิ เพอ่ื ปอ้ งกนั กำจดั เพลยี้ ไฟมงั คดุ . น. 149-154. ใน รายงานผลการวจิ ยั ปี 2539. กลมุ่ งาน วจิ ยั แมลงศตั รไู มผ้ ลและพชื สวนอนื่ ๆ กองกฏี และสตั ววทิ ยา กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ อมั พกิ า ปนุ นจติ เสรมิ สขุ สลกั เพช็ ร ชลธ ี นมิ่ หน ู สขุ วฒั น ์ จนั ทรปรรณกิ หริ ญั หริ ญั ประดษิ ฐ์ และวันทนีย ์ ชุ่มจิตต์. 2540. วิทยาการผลิตมังคุดให้มีคุณภาพ. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุร ี สถาบนั วจิ ยั พชื สวน กรมวชิ าการเกษตร กรงุ เทพฯ. น. 1-18. Cunningham, I. 1989. Mango Pests and Disorders. Department of Primary Industries, Queensland. Gvernment. Brisbane. P. 10-18. Dev, H.N. 1964. Preliminary studies on the biology of the Assam Thrips, Scirtothrips dorsalis Hood on tea. Idian J. Ent. 26: 184-194. Kuroko, H. and A.Lewvanich. 1993. Lepidopterous Pests of Tropical Fruit Trees in Thailand (with Thai text) Japan International Cooperation Agency. Tokyo. 132 pp. Lewis, T. 1973. Thrips : Their biology, ecology and economic importance, Academic Press London and New York. 347 pp. Mound, K.A.1995. Thrips biology and ecology. P 1-3, In Proceeding 1995 Australia and New Zealand Thrips Workshop, 25-27 July 1995. Horticultural Research and Advisory Station, Gosford. NSW 2250, Australia. Palmer, J.M., L.A.Mound and D.J.du Fleaume. 1989. CIE Guide to Insects of Importance to Man 2. Thysanoptera. British Museum Nation History. 69 pp. Steiner, M.Y. 1995. Monitoring for thrips in protected crops. P 44-51. In Proceeding 1995 Australia and New Zealand Thrips Workshops, 25-27 July 1995. Horticultural Research and Advisory Station, Gosford NSW 2250, Australia. แมลงศัตรูไมผ้ ล 35
แมลงศัตรมู งั คุด ตวั อ่อนเพลย้ี ไฟพริก ตัวเต็มวัยเพล้ยี ไฟพริก การทำลายของเพลีย้ ไฟท่ยี อดอ่อนมังคุด ลักษณะการทำลายของเพล้ียไฟที่ผลมงั คุด หนอนชอนใบจะชอนไชอยูใ่ ต้ผิวใบ ลักษณะการทำลายของหนอนชอนใบ แมลงศตั รูไม้ผล 36
ลักษณะการทำลายของหนอนชอนใบ การทำลายของหนอนกินใบออ่ น หนอนกนิ ใบออ่ น Stictoptera cucullioides เพลีย้ แป้งที่มังคุดผลเล็ก ฝงั ตัวท่ดี า้ นใต้ผล เพลย้ี แปง้ ทผ่ี ลมงั คดุ ขณะผลโต ฝงั ตวั อยใู่ ตก้ ลบี เลยี้ ง แมลงศตั รไู มผ้ ล 37
แมลงศตั รูไม้ผล ระยะพฒั นาการของมังคุด และระย 38 ม.ค. ก.พ. มี.ค การระบาดของแมลง ัศต ูร ืพช ระยะการ ัพฒนาของมัง ุคด ระยะแตกใบ ระยะออกดอก ระยะดอกบาน ระยะตดิ ผล ระยะผลแก่ เพลีย้ ไฟ หนอนชอนใบ หนอนกินใบอ่อน เพลีย้ แป้ง
ยะการระบาดของแมลงศตั รทู ีส่ ำคญั ค. เม.ย. พ.ค. ม.ิ ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
แมลงศตั รู ลำไยและลนิ้ จ ่ี บุษบง มนสั ม่ันคง สถานการณแ์ ละความสำคัญ ลำไยและลน้ิ จี่ เปน็ ไมผ้ ลเศรษฐกจิ ทส่ี ำคญั ของประเทศ จากการเปดิ ตลาดเสรที ว่ั โลก ทำใหไ้ มผ้ ล ทั้งสองชนิดเป็นไม้ผลท่ีมีศักยภาพในการผลิตและการตลาดสูง โดยเฉพาะตลาดส่งออกท้ังในรูปผลสด ผลไมแ้ ชแ่ ขง็ และผลติ ภณั ฑแ์ ปรรปู ดงั นน้ั การผลติ ลำไยและลนิ้ จ่ี จงึ ตอ้ งมขี บวนการผลติ อยา่ งถกู ตอ้ ง และเหมาะสม เพอื่ ใหไ้ ดผ้ ลผลติ ทมี่ าตรฐาน มสี ขุ อนามยั และสขุ อนามยั พชื สามารถแขง่ ขนั ไดใ้ นตลาดโลก ลำไยและลิ้นจี่ มีแหลง่ ปลกู สำคญั อยู่ทางภาคเหนือตอนบน ไดแ้ ก่ จังหวดั เชยี งราย เชยี งใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ลำไยพันธ์ุที่ปลูกมาก ได้แก่ พันธุ์อีดอ แห้ว สีชมพู และเบี้ยวเขียว สำหรับลนิ้ จี่ พันธุท์ ีป่ ลูกมาก คอื พนั ธ์ุฮงฮวย โอเฮยี้ ะ ค่อม กิมเจง็ และจักรพรรดิ์ การผลติ ลำไย และ ล้ินจ่ี มักประสบปัญหาการให้ผลผลิตปีเว้นปี ปีท่ีมีผลผลิตมากมักเกิดปัญหาด้านการตลาดโดยเฉพาะ ลำไยสด มีตลาดส่งออกค่อนข้างแคบ เน่ืองจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง ตลาดสำคัญจึงอยู่เฉพาะใน ภูมิภาคใกล้เคียง เช่น จีน ฮ่องกง และอินโดนีเซีย ตลาดท่ีไกลออกไปแต่ปริมาณไม่มากนัก ได้แก่ แคนาดา อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วมักไม่รับซ้ือลำไยสดจากประเทศไทย เนื่องจากกลัวปัญหาเร่ืองโรคและแมลงท่ีจะติดไปกับผลลำไย และปัจจุบันลำไยยังเป็นไม้ผลท่ีมีผู้แข่ง ขนั ในด้านการผลิตนอ้ ย สถานการณศ์ ตั รูพชื ลำไยและลิ้นจ่ี เป็นไมผ้ ลเศรษฐกิจทมี่ กี ารปลูกมากทางภาคเหนอื ของประเทศไทย ทำใหไ้ ม้ผล ท้ังสองชนิด ถูกแมลงศัตรูระบาดทำลายในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ปัญหาแมลงศัตรูสำคัญของลำไย และล้นิ จีใ่ นอดีต คอื มวนลำไย ปจั จุบันสามารถควบคมุ ปรมิ าณการระบาดของมวนลำไย ใหอ้ ยตู่ ำ่ กวา่ ระดบั เศรษฐกิจได้ แมลงศัตรูที่สำคญั ชนดิ อื่นๆ ไดแ้ ก่ หนอนชอนใบ หนอนเจาะกิง่ หนอนคืบกินใบ อ่อนและหนอนเจาะข้ัวผล โดยเฉพาะหนอนเจาะข้ัวผล นับว่าเป็นแมลงศัตรูสำคัญอันดับหนึ่งของ ลำไยและล้ินจี่ เน่ืองจากหนอนจะเข้าทำลายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างข้ัวกับเน้ือลำไยและลิ้นจี่ เป็นท่ี รังเกยี จของผบู้ รโิ ภค ผลท่ีถูกหนอนเจาะขัว้ ผลทำลายจะหลดุ รว่ งงา่ ย ทำให้ผลผลติ มคี ุณภาพตำ่ และมี ปญั หาในผลผลติ สง่ ออก เมือ่ ประเทศคู่คา้ ตรวจพบหนอนเจาะข้ัวผลในผลผลติ เหลา่ นนั้ แมลงศัตรไู มผ้ ล 39
มวนลำไย (longan stink bug) ชอื่ อื่น แมงแกง ชอื่ วิทยาศาสตร ์ Tessaratoma papillosa Drury วงศ์ Pentatomidae อันดบั Hemiptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย มวนลำไย เป็นศัตรูท่ีสำคัญของลำไยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด อ่อน ชอ่ ดอกและช่อผล ทำให้ยอดเหีย่ ว ผลร่วง ผลผลติ ลดลงและไม่ไดค้ ุณภาพ ท่ีขา้ งลำตัวสว่ นปลาย สุดของท้อง มีต่อมสกัดน้ำเหลวไว้ต่อสู้ศัตรู ของเหลวน้ีมีกลิ่นเหม็นและเป็นพิษ มวนจะปล่อยน้ำพิษ ดังกล่าวออกมาเมื่อได้รับการรบกวน ถ้าของเหลวถูกผิวหนังจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนทันที ทำให้ บริเวณนั้นมีสีน้ำตาลไหม้ บางรายท่ีแพ้มากผิวหนังจะพองและลอกหลุดไป ของเหลวน้ีทำให้ผิวเปลือก ลำไยมีสคี ลำ้ ซ่ึงเปน็ ปญั หาสำคญั ในการส่งออก พบมวนลำไยตลอดท้งั ปีในแหลง่ ปลูกลำไยและลนิ้ จ่ี การระบาดพบเปน็ ประจำทุกปีในชว่ งลำไย และล้ินจ่ีออกดอกติดผล แต่จะพบปริมาณสูงสุด 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นมวนท่ีอยู่ข้ามฤดู พบใน เดือนกมุ ภาพันธ์และมีนาคม เป็นชว่ งท่ีมวนมารวมกล่มุ จับค่ผู สมพันธุ์และวางไข่ ระยะหลงั เป็นมวนรุน่ ใหม่พบปรมิ าณสูงสดุ ในเดอื นกรกฎาคม และสิงหาคม จำนวนไข่สูงสุดในเดอื นมนี าคม สว่ นตวั อ่อนพบ ปริมาณสงู สุดในเดือนมีนาคม เมษายน และกรกฎาคม รูปรา่ งลักษณะและชวี ประวตั ิ มวนลำไย เป็นมวนขนาดใหญ่ มีสีน้ำตาลอมเหลือง บริเวณใต้ท้องมีผงสีขาวปกคลุมอยู่ เพศ เมียมีขนาดใหญก่ วา่ เพศผู้ เพศเมียมีขนาดยาว 2.7-3.0 เซนตเิ มตร ส่วนอกกวา้ ง 1.4-1.6 เซนตเิ มตร เพศผู้ขนาดยาว 2.4-2.5 เซนติเมตร ส่วนอกกวา้ ง 1.2-1.3 เซนติเมตร ปกี ค่หู นา้ มลี ักษณะแข็ง สว่ น ปลายปีกเป็นแผ่นบางอ่อน ปีกคู่หลังบางและส้ันกว่าปีกคู่หน้า เวลาเกาะอยู่กับที่ปีกคู่แรกจะปกคลุม และแบนราบอยู่บนส่วนท้องลำตัว มีปากชนิดเจาะดูด ย่ืนออกไปทางส่วนหน้าของลำตัว เวลาไม่กิน อาหารมักจะพับซอ่ นไว้ใตล้ ำตัวมหี นวดอยู่ใตศ้ รี ษะ จำนวน 3 ปล้อง หนวดมักจะสนั่ อยู่เสมอ ระหวา่ ง เดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม เพศผู้และเพศเมียจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่อยู่ต้นใดต้นหนึ่ง ซ่ึงเป็น ลักษณะของแมลงพวกมวน เพ่ือจับคู่ผสมพันธ์ุ พบมวนจับคู่ผสมพันธ์ุต้ังแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึง พฤษภาคม หลังจากผสมพนั ธแุ์ ลว้ 1-2 วัน กจ็ ะวางไข่บนใบ ช่อดอก ลำต้น ไม้คำ้ ใบหญา้ แมลงศัตรูไม้ผล 40
ไข่ลักษณะกลมขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร มวนลำไยวางไข่เป็นกลุ่มหรือเรียงเป็นแถว ไขก่ ลุม่ หนง่ึ จะพบตงั้ แต่ 3-15 ฟอง แตส่ ่วนมากพบ 14 ฟอง มวนเริ่มวางไข่ต้งั แตเ่ ดอื นกุมภาพนั ธ์ถงึ มถิ นุ ายน แตพ่ บมากทสี่ ดุ ในเดือนมนี าคม เพศเมยี วางไขต่ ัง้ แต่ 98-297 ฟอง ระยะไข่ 11-13 วนั ไข่ที่ วางใหมๆ่ มีสเี ขยี วแล้วคอ่ ยๆ เปลีย่ นเป็นสขี าวนวล และสชี มพูเมอ่ื ไข่ใกลจ้ ะฟกั ตัวอ่อนทฟี่ ักออกจาก ไข่มีสีแดง หลงั จากนั้น 1.5-2.0 ช่วั โมง จะเปลยี่ นเปน็ สีดำ ตอ่ มาจะเปลย่ี นเป็นสเี ทา มแี ถบสขี าวพาด ตามยาวลำตวั 3 แถบ หลงั จากลอกคราบครัง้ ที่ 1 ตัวอ่อนจะมสี แี ดงสด ลกั ษณะคล้ายตัวเตม็ วยั แตก ต่างกันท่ีสีและขนาด ตัวอ่อนวัยท่ี 5 ก่อนที่จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีเขียวอ่อนตัวอ่อนมีการ ลอกคราบ 5 ครง้ั การเจรญิ เติบโตของตวั อ่อน แต่ละวยั ประมาณ 14 วนั ระยะตัวออ่ นทั้งหมด 5-8 สปั ดาห์ พบตวั อ่อนในเดอื นกมุ ภาพนั ธ์ถึงสงิ หาคม พบมากเดอื นมีนาคมและเมษายน เม่อื ตวั ออ่ นเหล่าน้ี เจริญเติบโตเป็นตวั เต็มวัย อาศัยดูดกนิ น้ำเลยี้ งจากยอดออ่ นและผลลำไยเมอ่ื เกบ็ เกี่ยวผลลำไยหมดแลว้ ประมาณเดือนสิงหาคม ตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนอยู่ภายในต้นลำไย จนถึงระยะที่ลำไยเร่ิมแทงช่อดอก ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มวนเหล่านี้จะว่องไวเร่ิมจับคู่ผสมพันธุ์ วางไข่เป็นวัฏจักรเช่นน้ีเสมอ ไป พืชอาหาร นอกจากลำไยและลนิ้ จแ่ี ลว้ ยงั มพี ชื อน่ื ๆ เชน่ ตะครอ้ ทองกวาว และประคำดคี วาย (สม้ ปอ่ ยเทศ) ศตั รธู รรมชาติ ในสภาพธรรมชาติ พบศตั รธู รรมชาตขิ องมวนลำไยหลายชนดิ เชน่ แตนเบยี นไข่ Anastatus sp. nr. japonicas ทำลายไข่ของมวนลำไย แตนเบียนไข่ Ooencyrtus phongi ทำลายไข่ของมวนลำไย และเชื้อรา Paecilomyces lilacinus ทำลายตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของมวนลำไย นอกจากน้ันยังมี มดแดง เปน็ ตวั ห้ำกดั กนิ ตัวออ่ นมวนลำไย วยั 1 และวยั 2 การป้องกนั กำจัด 1. โดยวธิ จี บั ตวั เตม็ วยั ตวั ออ่ น และไข่ ทำลายเสยี ในเดอื นมกราคมและกมุ ภาพนั ธ์ มวนเรม่ิ จบั กลมุ่ และผสมพนั ธอุ์ ยตู่ น้ ใดตน้ หนงึ่ ของลำไยและเปน็ เวลาทมี่ วนลำไยวอ่ งไวมาก ใหเ้ ขยา่ กงิ่ ในเวลาเชา้ มดื มวนจะทงิ้ ตวั ตกลงมาใหเ้ กบ็ รวบรวมทำลายเสยี สว่ นไขม่ วนลำไยมขี นาดใหญอ่ ยเู่ ปน็ กลมุ่ มองเหน็ ไดง้ า่ ย 2. ควรตัดแต่งก่ิง เพ่ือไม่ให้ใบหนาทึบจนเกินไปเพราะจะเป็นที่หลบซ่อนและพักอาศัยของตัว เต็มวยั เพอื่ อยขู่ า้ มฤดู 3. การใช้สารฆ่าแมลงพ่นก่อนลิ้นจ่ีและลำไยออกดอก ในเดือนธันวาคม สารฆ่าแมลงท่ีใช้ได้ ผลและปลอดภยั สำหรบั เกษตรกร ไดแ้ ก่ carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อตั รา 45-60 กรัม หรอื lambdacyhalothrin (Karate 2.5 EC 2.5% EC) อตั รา 10 มิลลลิ ิตรตอ่ น้ำ 20 ลิตร แมลงศัตรไู ม้ผล 41
การพน่ สารฆา่ แมลงควรหลีกเล่ยี งในช่วงทด่ี อกลำไยและลิน้ จ่บี าน เพอ่ื ลดอนั ตรายท่ีเกดิ ขนึ้ กบั ผึ้ง และควรงดพ่นในช่วงท่ีมีการปล่อยแตนเบียนไข่ หรือเมื่อสำรวจพบว่า ไข่มวนลำไยถูกแตนเบียน ทำลายในปริมาณสูง (ไขม่ วนลำไยเปล่ียนเป็นสดี ำ) หนอนเจาะขัว้ ผล (fruit borer) ชอ่ื วิทยาศาสตร์ Conopomorpha sinensis Bradley วงศ ์ Gracillariidae อนั ดับ Lepidoptera ความสำคัญและลกั ษณะการทำลาย หนอนเรม่ิ เข้าทำลายเม่ือลนิ้ จี่เร่มิ ตดิ ผลได้ประมาณ 1 เดือน จนถึงระยะเก็บเกยี่ ว ขณะผลลน้ิ จี่ ยังมีขนาดเล็กน้ำหนักช่อน้อย ช่อผลลิ้นจี่อยู่ในสภาพชูข้ึน บริเวณท่ีผีเส้ือวางไข่จะอยู่ตามรอบๆ ใกล้ ส่วนปลายของผลลน้ิ จี่ เม่อื หนอนฟกั ออกจากไขก่ จ็ ะเจาะเข้าไปกัดกินอยูภ่ ายในเมลด็ มองดูภายนอกไม่ เห็นรอยทำลายเลย เมื่อผ่าดูจึงเห็นรอยท่ีถูกหนอนทำลาย ทำให้ผลท่ีถูกทำลายไม่สามารถเจริญเติบโต ต่อไปได้ ผลที่ถูกทำลายจึงร่วงหล่นหมด จำนวนหนอนท่ีพบ 1-3 ตัวต่อผล เม่ือผลลิ้นจ่ีมีขนาดโตข้ึน น้ำหนกั เพิ่มข้ึนชอ่ ผลโค้งลง ผีเส้อื จะมาวางไข่อยบู่ ริเวณใกลข้ ้ัว ดงั นัน้ การทำลายในระยะทผ่ี ลลิ้นจีเ่ รมิ่ เปล่ียนสี จึงพบหนอนหรือขี้หนอนอยู่ท่ีข้ัวผลเสมอ ทำให้ผลท่ีถูกทำลายในช่วงน้ีร่วงหล่นได้ง่าย ถ้าไม่ ร่วงชาวสวนยังขายได้ราคาดีอยู่ เพราะมองจากภายนอกไม่เห็นรอยทำลายเลย แต่ถ้าสังเกตดูให้ดีๆ บริเวณใกล้ขว้ั จะพบรเู ล็กๆ ปรากฏอยู่ ซึง่ เปน็ รทู หี่ นอนเจาะออกมาเขา้ ดักแดภ้ ายนอก หนอนเจาะข้ัวลำไย และล้ินจ่ี ระบาดรุนแรงในแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจ่ีทางภาคเหนือ และ แหลง่ ท่ีมีการปลูกล้ินจีท่ ่ัวไป การระบาดรุนแรงเปน็ บางปี รูปร่างลกั ษณะและชีวประวตั ิ เป็นผเี สื้อกลางคืนทม่ี ีขนาดเล็กพวก microlepidoptera ตัวเต็มวัย สีน้ำตาลปนเทา เมื่อกางปีกกว้าง 12.0-15.0 มิลลิเมตร ลำตัวยาว 6.0-7.0 มิลลิเมตร มีลวดลายซิกแซก ปลายปีกมสี นี ำ้ ตาลปนเหลอื ง ปกี คู่หลงั เป็นพ่คู ลา้ ยขนนกสีเทาเงนิ หนวด มีสเี งิน มีความยาวกวา่ ปีกและลำตัว ไข่ เปน็ ฟองเดี่ยวๆ บนผล ลกั ษณะกลมรีสเี หลอื งอ่อน ระยะไข่ 2.5-3.5 วนั เพศเมีย วางไข่ ได้ 2-331 ฟอง แมลงศัตรไู ม้ผล 42
หนอน เมื่อฟกั จากไขใ่ หมๆ่ มีลำตัวยาวประมาณ 1 มลิ ลิเมตร สีขาวนวล กะโหลกสีน้ำตาล มี 3 วัย แต่ละวัยใชเ้ วลาประมาณ 4.3, 5.7 และ 5.3 วัน ตามลำดับ หนอนวยั สุดทา้ ยจะเจาะออกมา เข้าดกั แด้ที่ใบ ใบทีร่ ว่ งหลน่ อยบู่ นดนิ และตามใบวชั พืช ดกั แด้ ก่อนเข้าดกั แด้หนอนจะชักใยหอ่ ห้มุ ตัวเองอยูภ่ ายใน ขนาดดักแดก้ วา้ ง 1.0 ยาว 7.1 มลิ ลเิ มตร ระยะดักแดป้ ระมาณ 7-8 วนั พชื อาหาร ลำไยและลนิ้ จ่ี ศัตรธู รรมชาต ิ ในธรรมชาติมีแมลงศัตรูธรรมชาติคอยทำลายหนอนและดักแด้ของหนอนเจาะข้ัวลิ้นจี่ ได้แก่ Goryplus sp. ทำลายระยะดกั แด้ สว่ น Colastes sp. และ Paraphylax sp. ทำลายระยะหนอน พบ หนอนเจาะข้ัวลำไยและลนิ้ จ่ี ถกู แตนเบียนเหล่าน้ที ำลายถงึ 49.1% การปอ้ งกนั กำจัด 1. รวบรวมผลลำไยและลน้ิ จี่ท่ีร่วงหล่นบริเวณโคนต้น จากการทำลายของหนอนเจาะขว้ั ผลนำ ไปฝังหรอื เผาทำลาย 2. ควรเก็บรวบรวมดักแด้ของหนอนเจาะข้ัวผล บนใบ ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน แล้วนำไป ทำลาย 3. หากมีการระบาดของหนอนเจาะขั้วผลรุนแรง ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง cyfluthrin (Baythroid 10% EC) อัตรา 5 มลิ ลลิ ติ ร หรอื chlorpyrifos/cypermethrin (Nurelle-L 505 EC 50%/5% EC) อตั รา 30 มิลลิลติ ร หรือ carbaryl (Sevin 85 WP 85% WP) อตั รา 40 กรมั ตอ่ น้ำ 20 ลติ ร หนอนเจาะกิง่ (red coffee borer) ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Zeuzera coffeae Nietner วงศ ์ Cossidae อนั ดบั Lepidoptera ความสำคัญและลกั ษณะการทำลาย หนอนเจาะเข้าทำลายในก่ิงและลำต้น ทำให้กิ่งและลำต้นน้ันแห้ง หรือหักล้มเม่ือลมพัด แมลงศัตรูไม้ผล 43
ถ้าเป็นต้นใหญ่ๆ หนอนมักเข้าเจาะกินตามก่ิงท่ีอ่อน หรือก่ิงเล็กๆ แต่ถ้าเป็นลำไยหรือล้ินจ่ีต้นเล็ก หนอนอาจเจาะเขา้ กินที่ลำต้น ทำให้ลำตน้ แหง้ ตายหรอื หักลม้ รูปร่างลักษณะและชวี ประวัต ิ หนอนเจาะกิ่ง พบทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจ่ี แต่พบระบาดรุนแรงเป็นบางท้องท่ี ความเสียหายจะเกิดขึน้ กบั ตน้ หรือกงิ่ เลก็ ๆ มากกวา่ ตัวเต็มวัย เป็นผีเส้ือกลางคืนขนาดกลาง เมื่อกางปีกกว้าง 4.0-4.5 เซนติเมตร ลำตัวยาว 2.3-3.5 เซนติเมตร ปีกสีขาวมีจุดสีดำประปรายอยู่ทั่วไปลำตัวมีขนปกคลุม ผีเสื้อท่ีออกจากดักแด้ พรอ้ มท่ีจะผสมพนั ธุ์ทันที ผีเส้อื เพศเมยี จะวางไขต่ ามเปลือกไม้ ไข่ มีลักษณะกลม สสี ม้ วางเปน็ กลมุ่ หรือฟองเด่ยี วๆ มีขนาดกว้าง 0.6-1.0 มลิ ลเิ มตร ระยะ ไข่ 7-10 วนั หนอน เมื่อฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกนิ อยู่ภายในกง่ิ หรือลำตน้ หนอนกดั กนิ เนอื้ เยือ่ ภายใน เปน็ โพรงยาว หนอนในระยะแรกมีสีน้ำตาลแดง หนอนโตเต็มทเ่ี ปลยี่ นเปน็ สแี ดงยาวประมาณ 4.5-5.0 เซนตเิ มตร ระยะหนอน 2.5-5.0 เดือน เมื่อใกลเ้ ข้าดกั แด้หนอนจะเจาะเป็นวงกลมท่กี ง่ิ แตย่ ังไม่ทะลุ เปลือกเป็นช่องทางออกของตัวเต็มวัย เม่ือดักแด้ใกล้ออกเป็นตัวเต็มวัย ดักแด้จะเคล่ือนตัวเองมาโผล่ บรเิ วณท่หี นอนไดเ้ จาะรอยเอาไว้ คราบของดักแด้จะคาอย่ทู ี่รอยเจาะน้ ี ดกั แด ้ มสี ีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ 3.0-3.5 เซนติเมตร กวา้ ง 0.6-0.8 เซนติเมตร ระยะ ดกั แด้ประมาณ 2-3 สปั ดาห์ พชื อาหาร แมลงชนิดนม้ี พี ชื อาหารหลายชนดิ ได้แก่ ชา กาแฟ โกโก้ ลน้ิ จ่ี ลำไย นอ้ ยหนา่ มะยม มงั คุด ส้ม ทับทิม องุ่น แอปเป้ิล แพร์ พลับ และเชอร่ี เป็นต้น ทำให้พบการระบาดของแมลงศัตรูชนิดน้ี ตลอดท้ังปีตามแหล่งปลูกลำไย ล้ินจ่ี และไม้ผลอ่ืนๆ แต่อาจพบการระบาดรุนแรงเป็นบางพื้นท่ีและ เป็นคร้ังคราวเทา่ นั้น ศตั รธู รรมชาต ิ พบแมลงศตั รูธรรมชาตพิ วก แตนเบียนหนอน Braconidae การปอ้ งกนั กำจัด 1. ตดั กิ่งลำไยและลิ้นจี่ ทีถ่ กู หนอนเจาะก่ิงทำลายแลว้ นำไปเผาไฟ เพือ่ กำจดั หนอนและดกั แด้ ที่อยู่ในก่งิ น้นั แมลงศัตรไู มผ้ ล 44
2. ถ้าตรวจพบรูหรอื รอยทำลายบนกงิ่ ใหญ่ๆ หรือลำต้น ให้ใชส้ ารฆา่ แมลง เชน่ chlorpyrifos (Lorsban 40 EC 40% EC) อตั รา 1-2 มลิ ลิลติ รต่อรู ฉดี เข้าในรแู ลว้ อุดดว้ ยดินเหนยี ว หนอนคบื กนิ ใบ (leaf eating looper) ชอื่ วิทยาศาสตร ์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) วงศ์ Noctuidae อันดบั Lepidoptera ความสำคัญและลกั ษณะการทำลาย เนอ่ื งจากเปน็ หนอนของผเี สอ้ื กลางคนื จงึ มกั จะหลบซอ่ นตวั ในเวลากลางวนั การทำลายจะปรากฏ ในเวลากลางคนื โดยหนอนกดั กนิ ใบออ่ นหรอื เพสลาด ถา้ มกี ารระบาดรนุ แรง ทำใหเ้ หลอื เฉพาะกา้ นใบ รปู รา่ งลกั ษณะและชีวประวัต ิ แมลงศัตรูชนิดน้ีพบระบาดรุนแรงขณะลำไยและล้ินจี่อยู่ในระยะแตกใบอ่อนหรือใบเพสลาด การทำลายจะเป็นไปอยา่ งรวดเรว็ ตัวเต็มวัย เป็นผีเส้ือกลางคืนสีน้ำตาลอ่อน เม่ือกางปีกกว้างประมาณ 5.0-6.0 เซนติเมตร ปีกคู่หน้าเป็นสีน้ำตาลเข้ม ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน ขอบปีกด้านบนมีแถบสีดำ ลำตัวมีขนสีเหลือง ปกคลมุ ไข่ เป็นฟองเด่ยี วๆ ลักษณะกลม ระยะไข่ 3-5 วนั หนอน เมอ่ื ฟกั จากไขใ่ หมๆ่ มสี ีเขยี วออ่ น และมแี ถบสอี ยู่ทางดา้ นข้างของลำตวั เมอื่ โตข้นึ สี จะเปลี่ยนสีน้ำตาลเขียว หรือสีเหลืองปนน้ำตาล หนอนเคลื่อนท่ีได้รวดเร็ว เม่ือได้รับการกระทบ กระเทอื นจะทิ้งตัวลงสู่พืน้ ดิน หนอนโตเต็มทีย่ าว 3.0-4.0 เซนตเิ มตร ระยะหนอน 14-17 วัน ดักแด้ เมื่อใกล้เข้าดักแด้ หนอนจะชักใยนำใบมาห่อหุ้มลำตัว แล้วเข้าดักแด้ อยู่ภายใน ระยะดักแด้ 10-12 วนั พืชอาหาร หนอนคืบกินใบลำไย และล้ินจ่ี มีพืชอาหาร 3 ชนิด คือ เงาะ ลำไย และลิ้นจี่ จึงพบการ ระบาดเป็นประจำทุกปี เมื่อเงาะ ล้ินจ่ี และลำไย แตกใบอ่อน และพบการระบาดเป็นบริเวณกว้าง ระหวา่ งเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม แมลงศตั รูไมผ้ ล 45
ศตั รูธรรมชาติ หนอนคืบกินใบลำไยและลิ้นจ่ี มีแมลงศัตรูธรรมชาติ 3 ชนิด คือ แตนเบียนในวงศ์ Braconidae และ Chalcididae นอกจากนนั้ ยังมี แมลงวันกน้ ขนในวงศ์ Tachinidae เป็นตัวเบียนใน ระยะดักแด้ การปอ้ งกนั กำจัด 1. ถา้ พบการระบาดมาก ใชว้ ธิ กี ารเขยา่ กง่ิ ใหต้ วั หนอนรว่ งลงสพู่ น้ื ดนิ แลว้ รวบรวมเกบ็ ทำลาย 2. เก็บรวบรวมดกั แดต้ ามใบลำไยและลนิ้ จี่ทำลาย หนอนชอนใบ (leaf miner) ชอื่ วิทยาศาสตร ์ Conopomorpha litchiella Bradley วงศ์ Gracillariidae อันดบั Lepidoptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย ในระยะท่ีต้นลิ้นจ่ีแตกใบอ่อน จะมีหนอนชอนใบที่ทำลายอยู่เสมอ ใบท่ีถูกทำลายมีอาการ คลา้ ยโรคใบไหม้ มสี นี ้ำตาลแดง โดยทห่ี นอนเริ่มเจาะทฐ่ี านเสน้ กลางใบแล้วเคลอ่ื นไปทางปลายใบกอ่ น ถึงปลายใบ หนอนจะชอนไชเข้าไปในส่วนเน้ือของใบ รอยท่ีหนอนเจาะเข้าไปจะพบมูลหนอนอยู่ด้วย เมื่อหนอนโตเต็มท่ีแล้ว จะออกมาเข้าดักแด้ข้างนอกตามใบลิ้นจี่โดยชักใยห่อหุ้มตัวเองอยู่ภายใน ถ้ามี การระบาดรุนแรง ใบออ่ นจะถกู หนอนทำลายหมด พืชอาหารของหนอนชอนใบชนิดน้ี ได้แก่ ลิ้นจี่ และลำไย พบระบาดตลอดท้ังปี โดยเฉพาะ การระบาดรนุ แรงในลิ้นจี่ และลำไยแตกใบอ่อน พบการระบาดในลนิ้ จสี่ งู กวา่ ลำไย รูปรา่ งลักษณะและชวี ประวัต ิ หนอนชอนใบ เปน็ แมลงศัตรูของลนิ้ จ่ีและลำไยทพ่ี บตลอดทั้งปี และจะพบมากในชว่ งท่ีลนิ้ จี่ และลำไยแตกใบออ่ น หรือประมาณเดอื นมิถุนายน-พฤศจิกายน ตัวเต็มวัย เป็นผีเส้ือขนาดเล็ก เม่ือกางปีกขนาด 4.0-6.0 มิลลิเมตร ลำตัวยาว 3.0-4.0 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาลปนเทา และมีลวดลายซิกแซ็ก ปีกคู่หลังมีลักษณะเป็นพู่คล้ายขนนก มหี นวดยาวกว่าลำตวั แมลงศตั รูไมผ้ ล 46
ไข่ ลักษณะกลมรี มีสีเหลืองอ่อน ผิวขรุขระ ขนาดยาวประมาณ 0.5 กว้าง 0.1-0.2 มิลลิเมตร ไขว่ างบนยอดออ่ น หรอื กา้ นใบอ่อนของลำไยและลนิ้ จ่ี ระยะไข่ 3.5 วนั หนอน เม่ือฟักออกจากไขใ่ หมๆ่ สเี หลอื งครมี หวั กะโหลกสนี ำ้ ตาลอ่อน ลำตัวยาวประมาณ 0.5-1.0 มลิ ลิเมตร หนอนจะเจาะเขา้ ทำลายสว่ นของยอดออ่ นทันที บรเิ วณรเู จาะมีมลู ของหนอนที่ถา่ ย ออกมาเป็นขยุ ทำใหย้ อดแห้งตาย นอกจากน้ันอาจจะเข้าไชชอนทก่ี ้าน หรอื ใบออ่ น ใบทถ่ี ูกทำลายพบ รอยแห้งเป็นทางยาวตามเส้นกลางใบอย่างชัดเจน พบทำลายในลิ้นจี่สูงกว่าลำไย หนอนโตเต็มท่ีขนาด 6-10 มลิ ลิเมตร ระยะหนอน 10-14 วัน ดักแด้ หนอนโตเต็มท่ีจะออกมาเข้าดักแด้ตามใบ โดยสร้างเป็นรังไหมและเข้าดักแด้อยู่ ภายในเช่นเดียวกับหนอนเจาะขั้วผล ดักแด้มีขนาดยาวประมาณ 5.0 มิลลิเมตร เม่ือเข้าดักแด้ใหม่ๆ ลำตัวสีเขียว หลังจากนั้นเปล่ียนเป็นสีน้ำตาล หนวดมีขนาดยาว แยกจากส่วนของลำตัวเห็นชัดเจน ระยะดักแด้ 7-10 วนั พืชอาหาร ลน้ิ จี่และลำไย ศัตรูธรรมชาต ิ ในธรรมชาติมีแมลงศัตรูธรรมชาติคอยทำลาย หนอนชอนใบ ลิ้นจ่ีและลำไย ท่ีพบได้แก ่ แตนเบยี นดกั แด้ Phancrotoma sp. และ Pholetesor spp. การปอ้ งกนั กำจดั 1. รวบรวมยอดออ่ นหรอื ใบออ่ นที่มรี อยทำลายของหนอนชอนใบ เผาทำลาย 2. เกบ็ ดักแด้ของหนอนชอนใบ ซ่ึงเจาะออกมาเขา้ ดกั แด้ตามใบแกห่ รือใบเพสลาด ลกั ษณะรัง ดกั แดค้ ล้ายรังดกั แด้ของหนอนเจาะขวั้ ผล แลว้ นำไปทำลาย 3. ถา้ มกี ารระบาดของหนอนชอนใบรนุ แรงขณะล้นิ จีห่ รอื ลำไยแตกใบออ่ น ควรพ่นดว้ ยสารฆ่า แมลง เชน่ imidacloprid (Confidor 100 SL 10% SL) อัตรา 8 มลิ ลิลติ รต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงศตั รูไม้ผล 47
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161