Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จารึกไว้ในแผ่นดิน

Description: จารึกไว้ในแผ่นดิน

Search

Read the Text Version

จารกึ ไว้ในแผน่ ดนิ พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ



จารกึ ไว้ในแผน่ ดนิ พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ เฝา้ ทลู ละอองธุลพี ระบาท ถวายพระพรชยั มงคล ในพระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระทน่ี ัง่ ชยั มงั คลาภเิ ษก มณฑลพธิ ที ้องสนามหลวง วนั ท่ี ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

พลเอก เปรม ตณิ สูลานนท์ ถวายน้�ำอภเิ ษกประจำ� ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ณ พระทน่ี ง่ั อัฐทิศอทุ ุมพรราชอาสน์ ในพระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก พุทธศกั ราช ๒๕๖๒ วันท่ี ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

ศลิ ปนิ : นายจารุวตั ร บญุ แวดลอ้ ม



ศลิ ปิน : นายอานนท์ ไมท้ อง

คำ� ปรารภ นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ และนายกรัฐมนตรีคนท่ี ๑๖ ของประเทศไทย เป็น บคุ คลส�ำคญั ทค่ี นไทยทุกคนควรตระหนกั ถงึ คณุ งามความดแี ละแบบอยา่ งของความรกั ชาติ รักแผ่นดนิ อยา่ งเปย่ี มลน้ กอปรกบั มคี วามเทดิ ทนู สถาบนั พระมหากษตั รยิ ์ ซอ่ื สตั ย์ และจงรกั ภกั ดอี ยา่ งหาทส่ี ดุ มไิ ด้ ทงั้ มจี ติ สำ� นกึ แหง่ การตอบแทนบญุ คณุ แผน่ ดนิ ทกุ ลมหายใจ กรณียกิจต่าง ๆ ตลอดจนแบบแผนการดำ� รงชวี ิตเป็นทปี่ ระจักษ์ชดั และได้รับการสรรเสริญโดยทว่ั ไป การถงึ แก่ อสญั กรรมของท่าน ถือเป็นการสูญเสยี ครงั้ ส�ำคญั ของชาตไิ ทย ดว้ ยเกยี รตยิ ศชอื่ เสยี ง คณุ งามความดที ส่ี รา้ งไวแ้ กช่ าตบิ า้ นเมอื งเปน็ อเนกประการ รฐั บาลเหน็ สมควรเผยแพรค่ ณุ ปู การ ของทา่ นให้เป็นทป่ี รากฏ จึงบันทึกสาระเรอื่ งราวแห่งชีวิตของทา่ นไว้เป็นประวัติศาสตร์ของชาติ ดว้ ยการจดั ทำ� หนังสือท่ีระลกึ “จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ” เพื่อเป็นเกียรติประวัติและเผยแพร่ เกยี รตคิ ุณของท่านใหแ้ พร่หลายกว้างขวาง ในนามของรัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระผมหวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือเล่มน้ี นอกจากจะเผยแพร่ เกียรติคุณของท่านให้เป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวางแล้ว ยังประสงค์ให้นักบริหาร นักการเมือง ประชาชน ตลอดจน อนุชนน�ำหลักแนวคิด แนวปฏิบัติของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มาใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิตเพื่อความเจริญรุ่งเรือง ทัง้ ตอ่ ตนเอง สงั คม และประเทศชาติต่อไป พลเอก (ประยุทธ ์ จันทรโ์ อชา) นายกรฐั มนตรี

สาร รองนายกรฐั มนตรี “เกดิ มาตอ้ งตอบแทนบญุ คณุ แผน่ ดนิ ” เปน็ สจั จะวาจาทพี่ ลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ รกั ษายงิ่ ชวี ติ และถา่ ยทอดสบู่ คุ คล ในวงการต่าง ๆ ตลอดมาอยา่ งกวา้ งขวาง ทั้งปาฐกถา และลายลักษณอ์ ักษร เพ่ือใหค้ นไทยตระหนักในความรักชาติ รักแผน่ ดนิ จงรักภักดี และเทิดทูนสถาบันพระมหากษตั ริยอ์ ยา่ งม่ันคง และพรอ้ มท่จี ะตอบแทนบุญคุณต่อแผน่ ดนิ ในทุกวถิ ที าง การกระท�ำ ทกุ อยา่ งของท่านทง้ั การบริหารราชการแผน่ ดนิ การทหาร และกิริยามารยาท ลว้ นสะท้อนให้เหน็ แบบอยา่ งท่คี นไทยควรนำ� มา ประพฤติปฏิบัติเพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นับเป็นบุคคลตัวอย่างที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลใน ทุกเรอื่ ง ท่จี ะสรา้ งคน สรา้ งชาติ ดว้ ยอดุ มการณ์ทย่ี ึดมั่น คอื เกิดมาต้องตอบแทนบญุ คุณแผ่นดิน กระผมในนามคณะรัฐบาล ตระหนกั ในคุณงามความดขี องท่านท่ีได้สรรค์สร้างไว้ในแผ่นดิน ซงึ่ สมควรจารกึ ไว้ เพื่อให้ อนชุ นไดศ้ กึ ษา เรยี นรู้ และรำ� ลกึ ถงึ ความรกั ความเมตตากรณุ าทมี่ ตี อ่ เดก็ เยาวชน และประชาชนคนไทยทกุ หมเู่ หลา่ อยา่ งเปย่ี มลน้ หนงั สือจารกึ ไวใ้ นแผ่นดนิ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรแี ละรัฐบุรุษ เลม่ น้ี จะได้เปน็ ทป่ี รากฏและ เผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวางเพื่อยังประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนตรงตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ทุกประการ (นายวษิ ณุ เครอื งาม) รองนายกรฐั มนตรี

สาร รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวฒั นธรรม ไดร้ บั มอบหมายจากรฐั บาลใหจ้ ดั ทำ� หนงั สอื ทร่ี ะลกึ พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ อดตี ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ และนายกรัฐมนตรี ๓ สมัยของไทย เพ่ือเผยแพร่เกียรติประวัติ และสดุดีคุณความดีท่ีมีคุณูปการต่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างอเนกอนนั ต์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ปราชญ์ของแผ่นดินผู้เปี่ยมด้วยความดีงามอันยิ่งใหญ่ได้สร้างช่ือเสียงเกียรติยศนานา ประการ ให้เป็นที่ปรากฏทั้งภายในประเทศและบนเวทีโลก จึงได้รับการยอมรับและยกย่องจากบุคคลในทุกวงการทั้งทาง การเมือง การบริหาร การเศรษฐกิจ การทหาร ท้ังมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เอาใจใส่และจริงจังในทุกด้านเพื่อผลประโยชน์ ของชาตบิ า้ นเมอื งเปน็ สำ� คญั ทา่ นมหี ลกั ดำ� เนนิ ชวี ติ ซง่ึ เปน็ อดุ มการณท์ ย่ี ดึ มน่ั อยา่ งแนว่ แน่ และปฏบิ ตั อิ ยา่ งจรงิ จงั ตลอดชวี ติ คอื เกดิ มาตอ้ งตอบแทนบญุ คณุ แผน่ ดนิ ทง้ั ยงั พยายามเผยแพรส่ ง่ ตอ่ แนวคดิ นส้ี สู่ งั คม ประชาชน และอนชุ นทกุ ระดบั ทกุ สาขาอาชพี ด้วยตระหนักว่าการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน เป็นวัฒนธรรมไทยที่บรรพชนยึดถือสืบทอดตลอดมา ท่านเป็นแบบอย่างของ คณุ งามความดที ้งั ปวง มคี วามเสียสละ ทุ่มเท ตงั้ มนั่ อยู่ในความซ่ือสตั ย์สุจริต และความพอเพียง แมท้ า่ นจะเปน็ นายทหารท่มี ี ความเข้มแข็งเด็ดขาด ขณะเดียวกันท่านก็มีความอ่อนโยน เอ้ืออาทร และมีความห่วงใยในความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะอย่างย่ิงมีความจงรักภักดี เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ย่ิงชีวิต จึงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย จากพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แตง่ ต้ังเปน็ องคมนตรี รัฐบุรุษ และประธานองคมนตรี โดยลำ� ดบั หนังสือ “จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ” ได้เผยแพร่ประวัติ เกียรติคุณ กรณียกิจต่างๆ ที่สรรค์สร้างเพ่ือประโยชน์แก่แผ่นดิน รวมถึงรวบรวมส่ิงอนุสรณ์ตามสถานท่ีต่างๆ ที่หน่วยงาน ประชาชน รวมพลัง ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อร�ำลึกถึงคุณความดีของท่าน ตลอดจนปาฐกถาพิเศษที่ท่านได้บรรยายใน โอกาสต่าง ๆ ทร่ี วบรวมไวใ้ นหนังสือเลม่ นี้ ซ่งึ ล้วนมีคุณค่าและมีประโยชนอ์ ยา่ งยง่ิ หากได้ศึกษาเรียนร้แู ละนำ� ไปปรับใช้ ถอื เปน็ ภาพสะทอ้ นคณุ ปู การอยา่ งเปน็ รปู ธรรม และเปน็ การสรา้ งแรงบนั ดาลใจในการสง่ ตอ่ ความดงี ามและสบื สานตอ่ ยอดแนวความคดิ “เกิดมาต้องตอบแทนบญุ คณุ แผ่นดิน” เพอ่ื ช่วยกันสรา้ งความผาสกุ ร่มเย็น และความเจรญิ รงุ่ เรืองใหแ้ ก่ประเทศชาติสบื ไป (นายอิทธพิ ล คุณปล้มื ) รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงวฒั นธรรม





สารบัญ ค�ำปรารภ นายกรฐั มนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จนั ทรโ์ อชา) ๗ สาร รองนายกรฐั มนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ๘ สาร รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายอทิ ธพิ ล คุณปล้มื ) ๙ ภมู ิหลงั ๑๕ เส้นทางแห่งเกยี รตยิ ศ ๓๕ เกิดมาตอ้ งตอบแทนบญุ คณุ แผ่นดนิ ๖๙ การศึกษา และการเรียนรูข้ องเยาวชน ๗๙ - การใหท้ นุ การศึกษา ๘๑ - การส่งเสรมิ การศกึ ษาและการสรา้ งสรรคศ์ ิลปะ ๘๕ - การสรา้ งแหลง่ เรยี นรทู้ ่ัวประเทศ ๘๘ - โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต”้ ๙๔ ศลิ ปวฒั นธรรมไทย ๙๙ - นยิ มไทย ๑๐๐ - ชดุ พระราชทาน ๑๐๔ - ภาษาไทย ๑๐๘ - พทุ ธมณฑล พทุ ธานุสรณียสถาน ๑๑๐ - งานสมโภชกรุงรัตนโกสนิ ทร์ ๒๐๐ ปี ๑๑๖ - วันศลิ ปนิ แห่งชาต ิ ๑๑๘ - วันอนุรกั ษ์มรดกไทย ๑๒๐ การดนตรี ๑๒๕ เศรษฐกิจ ๑๓๑ - การด�ำเนนิ นโยบายลดคา่ เงนิ บาทและปรบั ปรุงระบบอัตราแลกเปลี่ยน ๑๓๒ - โครงการพฒั นาพื้นทบี่ รเิ วณชายฝ่งั ทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development Program) ๑๓๔ การตา่ งประเทศ ๑๓๙ 12

อนุสรณ์แหง่ คณุ งามความดี ๑๔๕ - สะพานตณิ สูลานนท ์ ๑๔๘ - วิทยาลยั ประมงติณสูลานนท ์ ๑๕๒ - สนามกีฬาติณสูลานนท ์ ๑๕๔ - สวนประวตั ศิ าสตร์ พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ สงขลา ๑๕๖ - หอประวัติ พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท ์ ๑๕๘ - บา้ นศรัทธา ๑๖๒ - พิพธิ ภณั ฑ์พธำ� มะรงค์ ๑๖๔ - วดั เปรมศรทั ธา ๑๖๖ - หอสมดุ ตณิ สูลานนท ์ ๑๖๘ - หอเปรมดนตร ี ๑๗๐ - หอจดหมายเหตนุ ายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ตณิ สูลานนท ์ ๑๗๒ - หอประชมุ เปรม ๑๐๐ ปี มหาวชิราวุธ ๑๗๔ - ค่ายเปรมติณสูลานนท์ กองพลทหารมา้ ท่ี ๓ ๑๗๖ - หอเกยี รตยิ ศรฐั บุรษุ พลเอก เปรม ติณสลู านนท ์ ๑๗๘ - โรงเรยี นเปรมติณสลู านนท์ ๑๘๐ - อนุสาวรยี ์รฐั บุรุษ พลเอก เปรม ติณสลู านนท ์ ๑๘๒ รวมปาฐกถาพเิ ศษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ๑๘๕ บรรณานกุ รม ๑๘๘ ค�ำส่งั แตง่ ตง้ั คณะกรรมการจดั ทำ� หนังสอื พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ ประธานองคมนตรแี ละรัฐบุรุษ ๑๙๐ 13



ภมู หิ ลงั

รองอ�ำมาตย์โท หลวงวนิ จิ ทณั ฑกรรม นางวินจิ ทัณฑกรรม (บึ้ง ตณิ สูลานนท)์ (ออด ติณสูลานนท์) บิดา มารดา 16

เจด็ พนี่ ้อง “ติณสูลานนท”์ (ตามลำ� ดบั จากขวาไปซา้ ย) คือ ชบุ เลข ขยนั สมนกึ สมบญุ เปรม และวีระณรงค์ (พ่ีเล้ียงกำ� ลงั อ้มุ ) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เกิดเม่ือวันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ทต่ี ำ� บลบอ่ ยาง อำ� เภอเมอื งสงขลา จงั หวดั สงขลา เปน็ บตุ รคนที่ ๖ ของรองอำ� มาตยโ์ ท หลวงวนิ จิ ทณั ฑกรรม (บง้ึ ตณิ สลู านนท)์ และนางวนิ ิจทณั ฑกรรม (ออด ติณสลู านนท์) มพี น่ี ้องรว่ มบดิ ามารดาเดยี วกนั ๘ คน ได้แก่ ๑. นายชบุ ตณิ สูลานนท์ ๒. นายเลข ตณิ สูลานนท์ ๓. นางขยัน โมนยะกุล ๔. นายสมนึก ติณสลู านนท์ ๕. นายสมบญุ ตณิ สูลานนท ์ ๖. พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ ๗. เดก็ หญงิ ปรี ติณสูลานนท์ (ถึงแก่กรรมแต่วยั เยาว)์ ๘. นายวรี ะณรงค์ ตณิ สูลานนท์ 17

ตระกูลติณสูลานนท์ ต้นตระกูลของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นชาวสวนแห่งบ้านท่าใหญ่ ต�ำบลท่าดี อ�ำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยบิดาท่านรับราชการเป็นเสมียนกองมหาดไทย เมืองนครศรีธรรมราช มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าท่ีราชการเร่ือยมา ทั้งโยกย้ายไปปฏิบัติราชการ ตามอำ� เภอและจงั หวดั ต่าง ๆ ท้ายสุดมารับราชการในต�ำแหนง่ พะท�ำมะรง เมอื งสงขลา บรรดาศักดิ์ และต�ำแหน่งครั้งสุดท้าย คือ รองอ�ำมาตย์โท หลวงวินิจทัณฑกรรม พะท�ำมะรงพิเศษ มีหน้าท่ี ควบคมุ ดแู ลเรอื นจำ� จังหวดั สงขลา 18

บา้ นหลังแรก รองอำ� มาตย์โท หลวงวนิ จิ ทณั ฑกรรม เป็นผอู้ อกแบบเอง 19

ชื่อ “เปรม” น้ัน พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน ฤทธิโชติ) เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัด นครศรธี รรมราช เปน็ ผู้ตง้ั ให้ พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ ได้เขียนคำ� ไว้อาลยั ในงานศพพระรตั นธัชมุนศี รธี รรมราช ตอนหนง่ึ ว่า “อน่ึงท่านเจ้าคุณและบิดาของกระผมเป็นศิษย์ร่วมอุปัชฌาย์อาจารย์เดียวกัน และบิดาของกระผมเป็นผู้กราบ นมัสการขอให้ทา่ นเจา้ คุณต้งั ชือ่ ให้กระผม จงึ นับไดว้ า่ ทา่ นเจ้าคณุ เป็นผู้มีพระคุณต่อกระผมเปน็ สว่ นตัวด้วย” ส่วนนามสกุล “ติณสูลานนท์” เป็นนามสกุลพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่นายบ้ึง ขณะมีบรรดาศักดิ์ รองอ�ำมาตย์โท ขุนวินิจทัณฑกรรม เมื่อวันที่ ๑๔ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ตามพระราชบัญญัตขิ นานนามสกลุ พ.ศ. ๒๔๕๖ ซ่ึงมวี ัตถปุ ระสงค์ให้คนไทยมีนามสกุลเปน็ หลกั ในการ สบื เช้อื สายและใหผ้ สู้ บื สกลุ ต้งั ม่นั ในคณุ งามความดี และรักษาช่ือเสียงเกียรติยศของบรรพบรุ ุษผเู้ ปน็ ตน้ ตระกลู ใหม้ ีความเจรญิ รงุ่ เรืองมัน่ คงสบื ไป ความหมายแห่งนามสกุล ติณสูลานนท์ คือ “ความพอใจ หรือความยนิ ดใี นหญา้ ทมี่ คี ม” หรอื อีกความหมายหนง่ึ คอื “ความเบกิ บาน หรือความยนิ ดีในของมีคม อันเปน็ เครอ่ื งมอื ส�ำหรับพะทำ� มะรง (พัศด)ี ในการป้องกนั ปราบปรามมิใหน้ กั โทษ กอ่ ความวุน่ วาย” โดยสรุป คือ ความยนิ ดีในการปฏิบตั ิหน้าทีพ่ ะทำ� มะรง (พัศดี) ที่มีเคร่ืองหมายเป็นของมีคม เช่น หลาว หอก ดาบ และได้รบั พระราชทานนามสกุลขณะทย่ี งั ปฏบิ ัติหน้าทพ่ี ะท�ำมะรง พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ เล่าไวใ้ นหนังสือ “เกดิ มาต้องตอบแทนบญุ คุณแผน่ ดิน ชีวติ และผลงาน ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรแี ละรัฐบุรษุ ” เน่อื งในโอกาสอายุ ๗๔ ปี ว่า “พ่อและแม่ของผมเป็นชาวนครศรีธรรมราช ลูกบางคนเกิดที่นคร แต่ส่วนมากเกิดท่ีสงขลา เนื่องจากพ่อย้ายไป รับราชการท่ีสงขลาเป็นเวลานานจนเกษียณอายุเป็นข้าราชการบ�ำนาญ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๗๗ หลังจากออกจากราชการแล้ว พอ่ กย็ งั อยทู่ ส่ี งขลาอกี หลายปี จงึ เขา้ มาอยกู่ รงุ เทพฯ กบั ลกู ๆ จนทา่ นไดถ้ งึ แกก่ รรมดว้ ยโรคชรา เมอื่ วนั อาทติ ย์ ท่ี ๑๘ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ รวมอายุได้ ๙๑ ปีเศษ ส่วนแมข่ องผมท่านถึงแกก่ รรมทีส่ งขลา ทา่ นได้เสยี ชวี ติ มานานแล้ว ต้งั แต่ พ.ศ. ๒๔๘๐” 20

หนงั สอื พระราชทานนามสกลุ 21

พลเอก เปรม ตณิ สูลานนท์ ชีวติ ในวัยเยาว์ พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ มชี วี ติ บนพน้ื ฐานครอบครวั ทเ่ี รยี บงา่ ย ไดร้ บั การปลกู ฝงั อบรมบม่ นสิ ยั ใหเ้ ปน็ คนดี มเี มตตา มีคุณธรรม ซอ่ื สตั ย์สุจรติ ประหยดั และผกู พันแนน่ แฟน้ ในพระบวรพุทธศาสนา “พ่อกบั แมเ่ ปน็ ผเู้ ล่อื มใสในพระพทุ ธศาสนา ท่านตักบาตรทุกวนั แล้วกช็ วนลูกไปรว่ มตกั บาตรด้วย...และในทุกวันพระ ท่านก็จะไปฟังเทศน์ท่ีวัด ส่วนใหญ่ลูก ๆ ก็ตามไปด้วยไปว่ิงเล่นกันในวัด เมื่อกลับมาถึงบ้าน แม่ก็จะเล่าให้ฟังอีกต่อหนึ่งว่า พระทา่ นเทศน์อยา่ งไรบา้ ง เปน็ การสอนลูกไปในตัว...” บิดามารดาของท่านได้วางพ้ืนฐานการศึกษาให้แก่บุตรธิดาทุกคนเป็นอย่างดี แม้จะเป็นข้าราชการในส่วนภูมิภาค และมฐี านะปานกลางกต็ าม เมื่อบดิ าเกษียณอายุราชการ ต้องขายทรพั ยส์ นิ เพ่ือสง่ เสียบตุ รธดิ าให้เลา่ เรยี นทกุ คน 22

“แม้ว่าพ่อเรียนหนังสือจากวัด แต่พ่อก็ส่งเสริมให้ลูกได้เรียนหนังสือจากโรงเรียนทุกคน...ขณะที่ยังรับราชการอยู่น้ัน ครอบครัวเรามฐี านะปานกลาง พ่อจึงมีแรงส่งเสียให้ลกู เรยี นหนังสอื อยา่ งสม�ำ่ เสมอ คร้นั ถงึ พ.ศ. ๒๔๗๗ พ่อออกจากราชการ ประกอบกับความผันแปรของวิถีชีวิตพ่อ ครอบครัวเราเร่ิมยากจนลง ลูก ๆ ก็โตเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้น เรียนหนังสือสูงข้ึน รายจ่ายก็ย่ิงเพิ่มมากข้ึน...พ่อจึงจ�ำเป็นต้องขายทรัพย์สินที่พ่อและแม่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบหาไว้ได้ต้ังแต่ยังหนุ่มสาว พ่อขายทุกอย่างจนหมดส้ิน ไม่เหลือแม้แต่ท่ีดินสักตารางวาเดียว แต่ส่ิงหนึ่งที่พ่อไม่ขาย คือ การศึกษาเพื่ออนาคตของลูก พอ่ ไม่เคยปรปิ ากถงึ ความลำ� บากยากเข็ญในการหาเงนิ ...” นายชุบ นายเลข นางขยัน นายสมนึก นายวีระณรงค์ 23

พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ กบั นายขว้ ย พทุ ธปาน ครัง้ มาตรวจเยี่ยมหอ้ งบ�ำรุงความรู้ ภายในสวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ตณิ สูลานนท์ สงขลา วนั ที่ ๒๑ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ 24

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้มีน�้ำใจกว้างขวาง ใจเย็น สุภาพเรียบร้อย พูดจาดี อปุ นสิ ยั โอบออ้ มอารี มาตั้งแต่วัยเดก็ มสี งิ่ ยนื ยนั เรือ่ งน้ี คือ นายข้วย พุทธปาน อาชีพถบี สามลอ้ เพ่ือนสมัยเด็กท่ีเคยวิ่งเล่นมาด้วยกันให้สัมภาษณ์ว่า แม้ว่าท่านจะจากไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ มีชีวิตราชการท่ีก้าวหน้า มีต�ำแหน่งใหญ่โตและเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของประเทศ ท่านไม่เคย ลืมเพื่อนเก่า เม่ือมาเยือนสงขลา ทา่ นเปน็ ผทู้ ักทายเมอื่ เห็นนายข้วยก่อน “รู้สึกภูมิใจท่ีสุด ไม่เหมือนเพื่อนคนอ่ืนท่ีเรียนหนังสือมาด้วยกัน เป็นปลัดอ�ำเภอบ้าง เป็นเสมียนบ้าง เขาไม่รู้จักกับลุง พอตอนหลังนายกเปรมเข้ากอดกับลุง พวกที่ท�ำตัวไม่รู้จัก ก็เข้ามาทกั ” น่คี อื อีกมมุ หนึ่งของพลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ 25

การกฬี า พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ ชอบการออกกำ� ลงั กายและการกฬี าหลายประเภทมาตง้ั แตเ่ ยาวว์ ยั อาทิ ฟตุ บอล มวย และ อ่ืนๆ “สมยั นน้ั พวกเราชอบเลน่ ฟุตบอลมาก นกึ กับบญุ พ่ีชายผมเขาเล่นฟตุ บอลเก่ง เปน็ นักกีฬาฟตุ บอลทีมโรงเรียนมหาฯ ต่อมานึกเข้ามาเรียนต่อท่ีสวนกุหลาบก็ยังเล่นฟุตบอลจนได้เส้ือสามารถและหมวกสามารถของกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนผม ถงึ แมว้ า่ จะชอบฟตุ บอล แต่เน่อื งจากรูปร่างค่อนข้างเลก็ จงึ ไม่ติดทมี โรงเรียน แตก่ ห็ ันไปเล่นกรีฑาประเภทวง่ิ เร็วและว่ิงผลดั ” ทา่ นจงึ เปน็ นกั กฬี าของโรงเรยี นในประเภทวง่ิ ตอ่ มาแมว้ า่ หนา้ ทกี่ ารงานจะทำ� ใหท้ า่ นไมส่ ามารถเลน่ กฬี าไดอ้ ยา่ งเตม็ ที่ แตท่ า่ นกย็ ังชอบดูการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะกฬี ามวยและฟตุ บอล มกั เปิดโอกาสให้นกั กีฬาเขา้ พบเพ่อื คารวะ และให้ก�ำลังใจ ก่อนจะเดินทางไปแข่งขันในต่างประเทศอยู่เสมอ ส่วนตัวท่านเองก็ยังออกก�ำลังกายด้วยการเดินอย่างสม�่ำเสมอ ท้ังยัง สนับสนุนให้ออกก�ำลังกายเพ่ือประโยชน์ต่อสุขภาพกาย จิตใจและอารมณ์ ดังปาฐกถาพิเศษท่ีท่านบรรยายในการสัมมนา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เม่ือวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ความตอนหนง่ึ ว่า “การเลน่ กฬี า ถา้ ใหถ้ กู หลกั นอกจากรา่ งกายจะแขง็ แรงแลว้ ยงั เปน็ ประโยชนอ์ ยา่ งอน่ื เชน่ ทำ� ใหเ้ รามนี ำ้� ใจเปน็ นกั กฬี า รจู้ กั กฎกตกิ า ซอ่ื ตรง ไมโ่ กง ...การเลน่ กฬี าทำ� ใหเ้ รามเี พอ่ื นมาก เมอื่ ผมเปน็ เดก็ ตงั้ แตเ่ รมิ่ สรา้ งสนามกฬี าใหม่ ๆ มเี พลง กฬี า กฬี า เปน็ ยาวิเศษ แกก้ องกิเลส ทำ� คนใหเ้ ปน็ คน คอ่ นข้างเขา้ ใจยาก...ผมคิดเอาเองวา่ ท�ำคนท่ไี มแ่ ขง็ แรงใหแ้ ขง็ แรง ทำ� คนที่ไม่รจู้ กั รับผดิ ชอบใหเ้ ป็นคนที่รจู้ ักรับผดิ ชอบ ทำ� คนท่ีไมด่ ีใหเ้ ปน็ คนดี เปน็ ต้น การเล่นกีฬานอกจากจะท�ำให้อายุยืนแล้วก็ท�ำให้เราเป็นผู้มีอารมณ์ดี...การออกก�ำลังกายและการเล่นกีฬาท�ำให้ อารมณแ์ จม่ ใส สดใส ไมห่ งดุ หงดิ นำ้� ใจเปน็ นกั กฬี า เปน็ คนมกี ตกิ า ซอ่ื ตรงตอ่ ตนเองและผอู้ นื่ ทำ� ใหอ้ ารมณด์ ี ถา้ คนเรามอี ารมณด์ ี มีระเบยี บวนิ ยั ก็จะท�ำใหอ้ ายุยืน...” 26

ออกกำ� ลังกายภายในบา้ นสเ่ี สาเทเวศร์ 27

อาคารเรียน โรงเรยี นมหาวชิราวธุ ขณะที่พลเอก เปรม ตณิ สูลานนท์ ศกึ ษาอยู่ การศกึ ษา พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ เขา้ เรยี นในระดบั ประถมศกึ ษา ทโ่ี รงเรยี นมหาวชริ าวธุ จงั หวดั สงขลา ซง่ึ เปน็ โรงเรยี นประจำ� มณฑลนครศรธี รรมราชและมชี อ่ื เสยี งของจงั หวดั สงขลา เขา้ เรยี นในชนั้ ประถมปที ่ี ๑ เมอ่ื ปกี ารศกึ ษา ๒๔๖๙ ไดห้ มายเลขประจำ� ตวั ๑๖๗ จนเรียนจบช้ันมธั ยมปที ี่ ๖ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๗๘ ขณะเรยี น ณ โรงเรยี นแหง่ น้ี ทา่ นไดช้ อ่ื ว่าเป็นนกั เรียนเรียนดี ได้รับ เกียรตบิ ตั รสม่�ำเสมอตลอดมา ทา่ นเล่าว่า “สมัยทผี่ มเป็นนกั เรยี นโรงเรยี นมหาฯ ผมเคยไดร้ บั เกยี รตบิ ตั รนกั เรียนหมนั่ เรียนหลายใบ ซ่ึงทางโรงเรียน ได้มอบใหน้ กั เรยี นท่เี รียนดี ไมเ่ คยสาย ไมเ่ คยขาดเรยี น เปน็ ประจ�ำทกุ ปี” เมอ่ื จบชั้นมัธยมปีท่ี ๖ แลว้ ได้เข้ามาศึกษาต่อในชน้ั มัธยมปีที่ ๗ ที่โรงเรียนสวนกหุ ลาบวทิ ยาลยั แผนกวทิ ยาศาสตร์ หมายเลขประจ�ำตวั ๗๕๘๗ เมือ่ พ.ศ ๒๔๗๙ และเรียนจบชั้นมธั ยมปีท่ี ๘ ใน พ.ศ. ๒๔๘๑ (ปกี ารศึกษา ๒๔๘๐) เม่ือจบการศกึ ษาในระดบั มัธยมศึกษา ทา่ นมีความต้ังใจใฝฝ่ ันจะเปน็ แพทย์ เพื่อรักษาคนเจ็บไขไ้ ดป้ ่วย แต่ดว้ ยฐานะ ทางบา้ นไมอ่ ำ� นวย จงึ หนั เหชวี ติ และความตงั้ ใจไปศกึ ษาวชิ าทหาร ทโี่ รงเรยี นนายรอ้ ยทหารบก ดา้ นเทคนคิ ทหารบก เดมิ เรยี กวา่ โรงเรียนเทฆ็ นคิ ทหารบก ปัจจุบนั คือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกลา้ เข้าเรียนเม่อื วนั ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็น ร่นุ ที่ ๕ ส�ำเร็จการศกึ ษาเมือ่ พ.ศ. ๒๔๘๔ “ผมใฝฝ่ นั ทจ่ี ะเปน็ หมอมาตงั้ แตเ่ ดก็ ตอนผมเรยี นหนงั สอื ถา้ ใครถามผมวา่ โตขน้ึ จะเปน็ อะไร ผมกบ็ อกวา่ จะเปน็ หมอ... แต่ก็ไม่สามารถจะเรียนได้ เพราะในสมัยน้ันการเรียนหมอแพงเหลือเกิน...เราไม่มีเงินมากพอที่จะเรียน เพราะว่าพวกเรา ยากจนมากในตอนนนั้ ...” “สตปิ ญั ญาผมอาจจะเรยี นได้ แตไ่ มม่ เี งนิ ทจ่ี ะเรยี น ...บญุ เกดิ เพอื่ นรกั เพอื่ นสนทิ ของผม จงึ แนะนำ� ไปเขา้ โรงเรยี นนายรอ้ ย ...จึงตัดสินใจไปสอบเข้าทีน่ ั่น” 28

รางวลั หมั่นเรยี น

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ คนที่ ๒ จากซ้าย แถวหนา้ ในชดุ ลกู เสือโรงเรียนมหาวชิราวุธ จงั หวดั สงขลา ขณะเรียนอยชู่ ัน้ มัธยมปีที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๗๗ 30

อาคารเรยี นหลังเกา่ โรงเรียนสวนกุหลาบวทิ ยาลัย แถวบนสดุ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ คนที่ ๒ จากซา้ ย สวมเครอื่ งแบบยวุ ชนทหาร ขณะศึกษาอยชู่ น้ั มัธยมปที ี่ ๘ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลยั 31

กรมนักเรยี นนายรอ้ ย การฝกึ ดัดตนประกอบอาวธุ การที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ผ่านการศึกษาจากโรงเรียนชั้นน�ำระดับจังหวัดและ ระดับประเทศตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ล้วนเป็นสถาบันผลิตบุคคล ทที่ ำ� ประโยชนใ์ หป้ ระเทศชาตเิ ปน็ จำ� นวนมากในหลาย ๆ สาขาอาชพี เสรมิ สรา้ งชอื่ เสยี งและเกยี รตภิ มู ิ แกส่ ถาบนั เปน็ อยา่ งยงิ่ นบั วา่ สถาบนั ดงั กลา่ วเปน็ สว่ นหนงึ่ ทไี่ ดบ้ ม่ เพาะอปุ นสิ ยั ความรคู้ วามสามารถ ความเป็นระเบียบ ความเข้มแข็งอดทน ความรับผิดชอบ ความเป็นผู้น�ำ ความรักชาติ และเคารพ เทดิ ทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มีในตวั ท่าน นอกเหนอื ไปจากการอบรมจากพืน้ ฐานครอบครัว 32

นกั เรียนนายรอ้ ย เปรม ติณสลู านนท์ แถวหน้าซา้ ยสดุ การเป็นนกั เรียนนายรอ้ ยนเี้ อง ไดน้ ำ� พาชีวติ ของท่านเขา้ สู่ “เส้นทางแหง่ เกยี รติยศ” อยา่ งเตม็ ภาคภมู ิ 33



เสน้ ทางแห่งเกยี รตยิ ศ

พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ คนที่ ๒ จากขวา ถา่ ยภาพกับเพอ่ื นนายทหาร การปกป้องอธปิ ไตยของประเทศชาติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มีจุดเปล่ียนชีวิตท่ีส�ำคัญอีกคร้ังหนึ่งเม่ือตัดสินใจเลือกเรียนทหาร การเรียนในโรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต้องใช้เวลาเรียน ๕ ปี แต่ท่านเรียนได้แค่ช้ันปีท่ี ๓ ก็ได้รับอนุมัติให้จบหลักสูตร ถือเป็นนักเรียน นายร้อยรุ่นพิเศษเพียงรุ่นเดียว เพราะช่วงนั้นเกิดสงครามอินโดจีน ซึ่งเป็นสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส นักเรียนจ�ำเป็น ต้องเข้าประจ�ำการในกองทัพ ท่านได้รับการแต่งต้ังเป็นผู้บังคับหมวดประจ�ำกรมรถรบ สังกัดกองทัพฝ่ายตะวันออก ประจำ� แนวรบทเี่ มอื งปอยเปต ประเทศกมั พชู า ไดร้ บั แตง่ ตง้ั ยศเปน็ วา่ ทร่ี อ้ ยตรี หลงั จากสงครามยตุ ิ ทา่ นไดก้ ลบั เขา้ ประจำ� การ ในกองพันทหารมา้ ยานเกราะ 36

พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๘๘ ขณะมียศ ร้อยเอก ต่อมาต้องปฏิบัติหน้าที่ในสนามรบอีกครั้งหน่ึงในสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รับหน้าท่ีเป็นผู้บังคับหมวดกองหนุน สังกัดกองทัพภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (กองทัพพายัพ) ได้รับค�ำส่ังให้ปฏิบัติการรบท่ีเมืองเชียงตุง เขตพม่า ในระหว่าง สงครามได้รับการเลื่อนยศเปน็ ร้อยโทและร้อยเอก ตามลำ� ดับ หลังจากสงครามไดก้ ลับไปปฏบิ ัตหิ น้าท่ีในหนว่ ยทหารตามปกติ และไดร้ บั การเลื่อนยศเปน็ พันตรี เม่ือ พ.ศ. ๒๔๙๒ 37

ความก้าวหน้าในหนา้ ท่รี าชการทหาร ทา่ นไดร้ บั คดั เลอื กใหไ้ ปศึกษาหลักสูตรผบู้ งั คบั กองร้อย และหลกั สตู รผบู้ ังคับกองพนั ในโรงเรยี นทหารยานเกราะของ กองทพั บกสหรฐั อเมรกิ า ท่ฟี อรท์ นอกซ์ มลรฐั เคนตก๊ั กี้ เมอื่ พ.ศ. ๒๔๙๕ ใช้ระยะเวลาศึกษา ๑ ปี จงึ เดินทางกลับประเทศไทย เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๙๖ จากนนั้ ไดร้ บั การบรรจเุ ปน็ อาจารยใ์ นแผนกวชิ ายทุ ธวธิ ี กองการศกึ ษา โรงเรยี นยานเกราะ กองพลนอ้ ยทหารมา้ ยศพนั โท ตอ่ มาไดร้ บั ตำ� แหนง่ ผบู้ งั คบั กองพนั ทหารมา้ ที่ ๕ กองทหารมา้ ท่ี ๒ และผชู้ ว่ ยผบู้ ญั ชาการโรงเรยี นทหารมา้ ยานเกราะ อกี ตำ� แหน่งหน่ึง ไดร้ บั ยศพนั เอก เมอื่ พ.ศ. ๒๕๐๑ พ.ศ. ๒๕๐๖ เปน็ รองผบู้ ญั ชาการโรงเรยี นทหารม้า ศนู ยก์ ารทหารม้า และรองผู้บังคบั การจังหวัดทหารบก สระบรุ ี พ.ศ. ๒๕๑๑ เปน็ ผูบ้ ัญชาการศูนยก์ ารทหารมา้ ยศพลตรี ซ่งึ เป็นตำ� แหนง่ สงู สดุ ในเหลา่ ทหารม้า พ.ศ. ๒๕๑๖ เปน็ รองแมท่ พั ภาคท่ี ๒ จังหวดั สกลนคร พ.ศ. ๒๕๑๗ เปน็ แมท่ พั ภาคท่ี ๒ ไดร้ บั ยศพลโท รบั ผิดชอบภาคอสี านทง้ั หมด พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้รับยศพลเอก และปฏิบัติหน้าท่ีรองผู้อ�ำนวยการป้องกันการกระท�ำ อนั เปน็ คอมมิวนิสตท์ ่ัวไปฝ่ายทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑ เปน็ ผบู้ ัญชาการทหารบก พ.ศ. ๒๕๒๓ เกษยี ณอายรุ าชการ แตไ่ ดร้ บั การตอ่ อายรุ าชการอกี ๑ ปี พน้ จากตำ� แหนง่ ผบู้ ญั ชาการทหารบก เมอื่ วนั ที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ 38

เมือ่ เดนิ ทางไปศึกษาท่สี หรฐั อเมรกิ า ชดุ เคร่อื งแบบประจำ� รถ (ชุดหมี) เมอื่ ครง้ั เป็นพนั ตรี 39

40

พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ สมัยท่ีเป็นผ้บู ญั ชาการศนู ย์การทหารมา้ (ผบ.ศม.) เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมกองพันทหารมา้ ยานเกราะ กองพลทหารอาสาสมัคร (พนั .ม.ยานเกราะ พล.อสส.) ซึ่งปฏิบัตริ าชการอยู่ ณ เวียดนาม เมือ่ ช่วงปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ 41

42

สง่ ผู้ใตบ้ ังคับบญั ชาไปเวยี ดนาม ตรวจเยย่ี มหนว่ ย 43

44

รองแม่ทัพภาคท่ี ๒ พ.ศ. ๒๕๑๖ แก้ปัญหาความขัดแย้งของชาติ สมยั เปน็ พลโท แมท่ พั ภาคที่ ๒ ประเทศเกดิ ความขดั แยง้ ภายในดว้ ยปญั หาการปฏวิ ตั ริ ฐั ประหาร กลมุ่ นกั ศกึ ษามคี วามเหน็ ขัดแยง้ กับรฐั บาล หลบหนีเขา้ ป่าจำ� นวนมาก ทงั้ จดั ตัง้ กองก�ำลังตอ่ สู้กับกำ� ลงั ทหาร ตำ� รวจ ของรฐั บาล ท่านแก้ปัญหาดว้ ยการ ใช้นโยบาย “การเมืองน�ำการทหาร” โดยท�ำความเข้าใจกับชาวบ้าน สร้างความร่วมมือร่วมใจระหว่างเจ้าหน้าท่ีของรัฐบาล แกไ้ ขปญั หาความทกุ ข์ยากของราษฎร ดา้ นการท�ำมาหากนิ สุขภาพอนามยั การศกึ ษา น�ำทหารออกเยย่ี มชาวบ้านดว้ ยตนเอง ดว้ ยบคุ ลกิ ภาพของทา่ นทสี่ ภุ าพออ่ นโยน เมตตาและจรงิ ใจ ทำ� ใหช้ าวบา้ นยอมรบั นบั วา่ การทำ� งานของทา่ นประสบความสำ� เรจ็ การสรู้ บระหวา่ งคนไทยดว้ ยกนั เองหมดไป ทา่ นไดร้ บั การยกยอ่ งวา่ “นกั รบสภุ าพบรุ ษุ ” และทำ� ใหท้ า่ นกา้ วเขา้ สตู่ ำ� แหนง่ ผชู้ ว่ ย ผบู้ ญั ชาการทหารบกและผู้บญั ชาการทหารบกในเวลาตอ่ มา “...ผมได้เรียนรู้หลายส่ิงหลายอย่างจากชาวบ้านจนพวกเราสามารถคิดค้นและพบวิธีการท่ีจะน�ำความสุขมาให้ ภาคอีสานได้ระดับหนึ่ง ชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือดีมากและมีความเข้าใจท่ีถูกต้องเพิ่มมากข้ึนทุกที เป็นประสบการณ์ที่ดี และมคี ณุ คา่ มากเหลือเกนิ ” 45

46

ฉายา “ป๋า” ฉายาน้ีได้รับการเรียกขานจากบรรดาผู้ใต้บังคับบัญชาในเหล่าทหารม้า ด้วยความเอาใจใส่อยา่ งใกลช้ ดิ เขม้ งวด เอาจริงเอาจงั ให้ความรกั ดูแลผู้ใตบ้ งั คบั บญั ชาอย่างดี ช่วยเหลอื ท้งั ในหน้าทก่ี ารงานและเร่อื งอ่นื ๆ จงึ เปน็ ท่ีศรทั ธารักใคร่ กลายเป็นความสัมพันธ์แนบแน่น ท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่า ว่า “ป๋า” และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า “ลูก” จนเป็นทม่ี าของคำ� วา่ “ป๋า” หรือ “ป๋าเปรม” และคนสนิทของท่านมกั ถูกเรยี กว่า “ลูกป๋า” และเรยี กตดิ ปากกันมาจนถงึ ปัจจุบนั 47

การกา้ วสตู่ �ำแหน่งทางการเมือง ด้วยความสามารถในการท�ำงานและปฏิบัติหน้าท่ีเพ่ือชาติบ้านเมืองเป็นไปอย่างเรียบร้อย พัฒนากองทัพบกและ พฒั นาใหเ้ กดิ ความกนิ ดอี ยดู่ ขี องประชาชนในระดบั ภาค มาเปน็ ความสำ� เรจ็ ในระดบั ประเทศในเวลาตอ่ มา กองทพั ไดน้ ำ� นโยบาย ของทา่ นในการน�ำทหารพฒั นาบา้ นเมอื ง ทำ� ใหส้ ถานการณ์ในทุกภาคของประเทศดีขึ้นเป็นลำ� ดบั “เมอ่ื ผมเปน็ ผบู้ ญั ชาการทหารบก จงึ ไดข้ อความรว่ มมอื จากแมท่ พั ภาคทกุ คนใหช้ ว่ ยกนั แกป้ ญั หาในพน้ื ทตี่ ามแนวทาง ทก่ี องทัพภาคที่ ๒ ได้ประสบความสำ� เรจ็ มาแลว้ ” ก่อนการก้าวเข้าสู่ต�ำแหน่งรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ท่านมีบทบาททางการเมืองมาแล้วด้วยการด�ำรงต�ำแหน่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เม่ือ พ.ศ. ๒๕๐๒ สมาชิกวุฒิสภา เม่ือ พ.ศ. ๒๕๑๑ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๙ เกดิ การปฏวิ ตั ิ ท่านไดร้ บั มอบหมายให้ด�ำรงตำ� แหน่งรัฐมนตรชี ว่ ยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรฐั บาล ของพลเอก เกรียงศกั ดิ์ ชมะนันทน์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๒ ซงึ่ ในขณะนน้ั ทา่ นเปน็ ผชู้ ว่ ยผ้บู ญั ชาการทหารบก 48