Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือรูปแบบ

คู่มือรูปแบบ

Published by nansiri91, 2022-04-19 15:27:20

Description: คู่มือรูปแบบ

Search

Read the Text Version

คู่ มื อ รูปแบบการบริหารสู่การสร้าง นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ใน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดชุมพร สั ง กั ด สำ นั ก ง า น เ ข ต พื้ น ที่ ก า ร ศึ ก ษ า มั ธ ย ม ศึ ก ษ า สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี ชุ ม พ ร

คำนำ นวัตกรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งการปรับปรุงผลิตภัณฑ์บริการ แผน งาน กระบวนการ การปฏิบัติการ และรูปแบบธุรกิจ ที่สร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันจะช่วยให้ รัฐวิสาหกิจนำไปสู่มิติใหม่ในการดําเนินการ นวัตกรรมอาจเกี่ยวข้องกับการกล้าเสี่ยงอย่างฉลาด ปัจจุบัน นวัตกรรมไม่ใช่หน้าที่งานของฝ่ายวิจัยและพัฒนาเท่านั้น เพราะนวัตกรรมมีความสำคัญต่อการดําเนินการทุกด้าน ทุกระบบงานและทุกกระบวนการในการผลักดันและจัดการให้นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแห่ง การเรียนรู้ องค์กรจะต้องมีการบูรณาการนวัตกรรมไว้ในการทำงานประจําวัน และสนับสนุนด้วยระบบ การปรับปรุงผลการดําเนินการขององค์กร กระบวนการสร้างนวัตกรรมที่เป็นระบบควรครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร การจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์จำเป็นที่จะต้อง พัฒนาคนให้มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันพัฒนาคนให้ดี เก่ง มีคุณภาพ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มุ่งพัฒนาทักษะขั้นสูงสู่การเป็นนวัตกร เพื่อคิดค้นนวัตกรรมในการพัฒนา คุณภาพการศึกษา โดยในอดีตที่ผ่านมาการจัดการศึกษาของประเทศไทยพบปัญหาการจัดการเรียนการสอนใน มิติต่าง ๆ ดังนั้น ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ที่จะส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาไปในทิศทางที่ดีต่อการจัดการศึกษาของประเทศไทย ผู้จัดทำจึงได้วิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดเล็กจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร เพื่อเป็น แนวการพัฒนาให้ทุกโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนวัตกรที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติ และในทุกช่วงวัยให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนักคิด และเป็นนวัตกร สอดคล้องกับพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 โดยมีสาระสำคัญเป็นการจัดให้มีพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์ในการ 1) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อ ดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น 2) ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา 3) กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา นำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ 4) สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (กองกฎหมายการศึกษาและ วัฒนธรรม, 2562 : ก) ก คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ส า ร บั ญ ก ข ค 01 คำนำ สารบัญ บทนำ เพราะเหตุใดต้องมีนวัต 06 กรรมการศึกษาใน สถานศึกษา? 14 20 ทำอย่างไรให้โรงเรียน กระบวนการสร้างและ รูปแบบการบริหารสู่การสร้าง มัธยมศึกษาขนาดเล็ก พัฒนานวัตกรรมการ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ใน เป็นองค์กรนวัตกรรม จัดการเรียนรู้นั้นทำได้ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ด้านการจัดการเรียนรู้ อย่างไร จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงาน เขตพื้ นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร 22 28 32 34 ผู้มีบทบาทในการ กรอบเกณฑ์การ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ขับเคลื่ อนให้ คัดเลือกนวัตกรรม ตัวอย่างเอกสาร โรงเรียน ทางการบริหาร Innovative School มัธยมศึกษาขนาด จัดการศึกษา/การ เล็กเป็นองค์กร จัดการเรียนรู้การ คู่มือรูปแบบการบริหารฯ นวัตกรรมด้านการ นิเทศติดตามและ จัดการเรียนรู้ ประเมินผลของ สถานศึกษา ข

บทนำ การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีนโยบายแผน ยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ปีงบประมาณ 2562-2565 ในการบริหารจัดการได้แก่ 1.จัดการศึกษา เพื่อความมั่นคง 2.สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความ เหลื่อมล้ำทางการศึกษา 3.พัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4.พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาและ 5.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยการดำเนินการตามนโยบายในระดับโรงเรียน ขนาดเล็กมีนโยบายในการดำเนินการดังนี้ 1. สร้างความเข้าใจกับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชนและสถาบันศาสนาให้ตระหนักรับรู้ถึงเหตุผลและความจำเป็นของทางราชการในการบริหาร จัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารบุคลากร งบประมาณ และคุณภาพการศึกษา 2. ส่งเสริมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3. วิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม ในบริบทของ โรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน 4. สร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน 5. สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู นักเรียน และชุมชน โดยจัดให้มีกิจกรรมร่วมกัน 6. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานต่อสาธารณชน (สุเทพ ชิตยวงษ์, 2562:6,13) จากนโยบายดังกล่าวข้างต้นทำให้เห็นได้ว่าแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน โรงเรียนขนาดเล็กต้องมีการบริหารจัดการที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดเล็กที่มีนักเรียนตั้งแต่ 359 คนลงมา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), 2563:1) พัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าและการบริหารจัดการที่พัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเป็น รากฐานสำคัญของการพัฒนาคนไทย ให้มีคุณภาพ มีความใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการ สื่อสาร สามารถอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายได้ มีความรู้เท่าทันโลก และมีทักษะ ในการประกอบอาชีพตามความถนัดของผู้เรียนแต่ละคน และให้รัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมกันพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานได้อย่างแท้จริง ค คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

การกำหนดให้มีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการการศึกษาขึ้นเพื่อสนับสนุน การสร้างนวัตกรรมการศึกษาอันเป็นการนำร่องในการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งมีการขยายผล นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนและวิธีการปฏิบัติที่ดีไปใช้ในสถานศึกษาอื่น (พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา พ.ศ.2562,120) โดยการออกแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มีรูปแบบอย่างเหมาะสมให้ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ที่มีความผูกพันกับโรงเรียนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลต่อ คุณภาพนักเรียนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้ กำหนดยุทธศาสตร์และเงื่อนไขสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการในโรงเรียนขนาดเล็กให้สูงขึ้นในด้านการบริหาร จัดการการจัดการเรียนการสอนและด้านคุณภาพนักเรียน (สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา, 2559:3-5) จากคำกล่าวข้างต้น การบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชุมพร มีผู้บริหารและผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพยายามพัฒนาให้ครูภายในสถานศึกษาได้คิดค้นการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้ เกิดคุณภาพในการจัดการศึกษา ซึ่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร ได้ดำเนินการโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อ ยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้สามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการนิเทศติดตามและประเมินผลที่มีกระบวนการยก ระดับคุณภาพของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาทักษะด้านอาชีพ และทักษะชีวิตที่ สอดคล้องกับการพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร (สพม.สฎชพ.), 2564:1) ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้วิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสู่การสร้างนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กที่สามารถบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นไปตาม มาตรฐานการศึกษาตามแนวการประกันคุณภาพการศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545 มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยมีการส่งเสริมการวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานทางวิชาการ ซึ่งผลที่ได้จาก การวิจัยจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กได้อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ง คู่มืรอายรงูาปนคแวาบมคืบบหกกน้ราามสู่หรSรืDอบGสำรปนิีัหก2ง5าา6น3รฯ

เพราะเหตุใดต้องมีนวัตกรรม การศึกษาในสถานศึกษา? 01 คู่มืรอายรงูาปนคแวาบมคืบบหกกน้ราามสู่หรSรืDอบGสำรปนิีัหก2ง5าา6น3รฯ

“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Education Innovation) หมายถึง สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ ในการจัดการเรียนการสอน สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นการประกอบเข้าด้วยกันของ นวัตกรรมด้านหลักสูตร นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน นวัตกรรมด้านสื่อและเทคโนโลยี นวัตกรรมด้าน การวัดและประเมินผล นวัตกรรมด้านการบริหารและบริการ การเรียนการสอนด้วยวิธีใหม่จะต้อง ‘คิดกลับ หัวเพื่อนวัตกรรม’ ปรับเปลี่ยนการศึกษาจากการสอนหาปลาตามขั้นตอน เป็นการสอนให้นักเรียนรู้วิธี หาปลาด้วยกระบวนการใหม่ที่ทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นจากเดิม ตามบริบทของนักเรียนและโรงเรียน นักเรียนต้อง เรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ ทดลองด้วยตนเอง ใช้จินตนาการในการตั้งคำถาม คิดอย่างเป็นระบบและหาคำตอบ อย่างมีเหตุมีผล หรือที่เรียกว่า Self-directed learner ปัจจุบันสังคมโลกมีวิวัฒนาการและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology : ICT) การเปลี่ยนแปลงเป็นไป อย่างรวดเร็ว มีผลต่อภาคการศึกษา โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถติดต่อกับคนทั้งโลก สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นขุมความรู้อันมหาศาล สามารถใช้ความรู้อันหลากหลายวิทยาการนี้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง หรือหน่วย งานให้ทันยุค และยั่งยืนดังนั้นการปรับรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning จึงเกิดขึ้นอย่างมาก และรวดเร็วในยุคนี้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ครูในปัจจุบันนี้ครูจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการนำเอา ict มาช่วยจัดการในเรื่องการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็ว เรียนเข้าใจมากขึ้น มีความ ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นักเรียนจะเกิดความสนใจในการเรียน มากขึ้นเพราะความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงในหนังสือเรียนเท่านั้น นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จัก แสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง รู้จักคิดเป็น ทำเป็น อีกทั้งครูและ นักเรียนยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ใช่แค่เพียงภายในห้องเรียนเท่านั้น 02 คู่มืรอายรงูาปนคแวาบมคืบบหกกน้ราามสู่หรSรืDอบGสำรปนิีัหก2ง5าา6น3รฯ

ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้น สิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ใน กิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ และวิชาการที่ ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า \"วิทยาศาสตร์ประยุกต์\" หรือนิยม เรียกกันทั่วไปว่า \"เทคโนโลยี\" การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี(Technology)ในการจัดการศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการ เรียนการสอน ถ้าใช้ทั้ง 2 อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้ เรียก“INNOTECH” ซึ่งมาจากคำเต็มว่า “Innovation Technology” เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและ เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ขณะนี้ยังไม่มีศัพท์เฉพาะในปัจจุบันถือว่าเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องนำเอาหลัก วิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่เป็นInnovation มาใช้ร่วมกันกับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็น อุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอนซึ่งเป็น Technology ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการ แสดงให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำ INNOTECH เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา รวมทั้งการใช้ ICT ใน การจัดการเรียนรู้ โดยการนำเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร ตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้และการดูแลข้อมูล ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้ ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและ เทคโนโลยี ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการการปฏิรูปการเรียนรู้ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนได้ พัฒนาเต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัด กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การปฏิบัติให้คิดเป็น ทำ เป็น ปลูกฝังคุณธรรมในทุกวิชา มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่าง แท้จริง ซึ่งบทบาทของสถานศึกษาในการใช้ ICT เพื่อจัดการเรียนรู้นั้น ได้แก่ 1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT 2. จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT 3. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 4. สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง 5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู 03 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ซึ่ง ICT ที่มาช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้และจนนำไปสู่ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้นั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบในด้านต่างๆเช่น 1. ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ 2. หลักสูตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิด การคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้ 3. ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรม การเรียนการสอน 4. เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับผู้เรียน ครูต้องเป็นผู้นำความรู้ด้าน ict มาใช้ในจัดการด้านการเรียนการสอนได้อย่างไรนั้น ครูต้องมีการ พัฒนาตนเอง รู้จักค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา แล้วถ่ายทอดความรู้นั้นไปสู่ผู้เรียน เพื่อให้ทั้งครู และผู้เรียนมีการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตเพียงเท่านี้การศึกษาก็จะมีประสิทธิภาพและตราบใดที่ผู้บริหาร คณะ ครู-อาจารย์ในสถานศึกษา เห็นว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่มีประโยชน์ ไม่เข้าใจในประโยชน์ ไม่รับรู้หรือรับ ทราบ ไม่ติดตามข่าวสาร ไม่เคยใช้หรือเคยชินกับเทคโนโลยีเหล่านั้น ก็จะทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่ถูก นำไปเผยแพร่ในสถานศึกษา ไม่ว่าสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเหล่านั้นจะดีเพียงใด การยอมรับที่จะทำความ รู้จัก เข้าใจ การนำไปใช้ จนเป็นนิสัย หรือนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ขึ้นอยู่ กับตัวของบุคคลเป็นสำคัญ 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร และ ครู-อาจารย์ ถ้าบุคคล 2 กลุ่มขาดการยอมรับ ความรู้ ความเข้าใจ ไม่เคยนำไปใช้หรือไม่เคยเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดๆเลย จะทำให้ยากต่อการนำเอา นวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้สถานศึกษา 04 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

การที่องค์กรยุคใหม่จะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 ได้นั้น องค์กรทั้งหลาย จำเป็นที่ต้องมีลักษณะของ “องค์กรนวัตกรรม” ซึ่งรวมถึง “องค์กรการศึกษา” ก็เช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ การที่องค์กรการศึกษาจะประสบความสำเร็จและอยู่รอดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับการมีความคิดสร้างสรรค์ การค้นพบสิ่งใหม่ๆ และการสร้างนวัตกรรม “การจัดการนวัตกรรม” จึงเป็นการจัดดำเนินการให้เกิดสิ่งใหม่ หรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต โดยคำว่า “นวัตกรรม” นอกจากจะรวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารแล้ว ในทางการการศึกษาหมายถึงกระบวนการจัดการความรู้อีกด้วย ดังนั้น จึงมีความ จำเป็นที่ “องค์กรทางการศึกษา” จะต้องมี “การจัดการนวัตกรรม” เพื่อผลักดัน “องค์กรแห่งการศึกษา” ไปสู่การเป็น “องค์กรแห่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21” ที่มี “การจัดการนวัตกรรม” เป็นแกนกลางในการ บริหารการศึกษาต่อไปในอนาคต “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ภารกิจการบริหารการศึกษาในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นการ บริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ต่างก็มี การนำ “นวัตกรรม” มาใช้ในการบริหารการศึกษากันอย่างกว้างขวางและครอบคลุม ท่ามกลาง เปลี่ยนแปลงอย่างแพร่หลายในเรื่องของ “นวัตกรรม” โดยเฉพาะ “นวัตกรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21” จึงมีความจำเป็นที่นักบริหารการศึกษาต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ทั้งรวดเร็ว เข้มข้น และ รุนแรง ดังนั้น “ภารกิจใหม่” ของนักบริหารการศึกษาในยุค “นวัตกรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21” จึงต้องเพิ่ม “ภารกิจ” ทางด้าน “การจัดการนวัตกรรม” หรือ “การบริหารนวัตกรรม” เพื่อให้สอดคล้อง กับความก้าวหน้าของแวดวงการศึกษา เพราะในปัจจุบันการบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ต่างต้องอาศัย “นวัตกรรม” เป็นตัวขับเคลื่อน 05 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ทำอย่างไรให้โรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดเล็กเป็นองค์กร นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ 06 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มีแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนที่ใช้แนวทาง ในการปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยยึดมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านปริมาณครอบคลุมกลไกการ บริหารโรงเรียนตามขอบข่ายและภารกิจการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2560 (ปรับปรุง พ.ศ. 2562) เป็นคู่มือประเมิน มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา และนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา การบริหารจัดการ ศึกษาให้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและสนับสนุนให้โรงเรียนพัฒนา เข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียน มัธยมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามบริบทของแต่ละโรงเรียน รวมทั้งจะทำให้สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทราบข้อมูลสารสนเทศนำมาสู่การวางแผน สนับสนุนได้ตรงกับความต้องการที่จะยกระดับคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสูงเป็นลำดับๆ ไป และสอดรับกับ นโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้วิสัยทัศน์ “โรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน”โดยกำชับให้มีการจัดทำ แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ปีงบประมาณ 2562-2565 ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ ซึ่งโรงเรียนมีการ ดำเนินการในระดับโรงเรียน ดังนี้ 1. สร้างความเข้าใจกับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น องค์กรเอกชน และสถาบันศาสนา ให้ตระหนักรับรู้ถึงเหตุผลและความจำเป็นของทางราชการในการ บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารบุคลากรงบประมาณ และคุณภาพการ ศึกษา 2. ส่งเสริมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3. วิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรมในบริบท ของโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน 4. สร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน 5. สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู นักเรียน และชุมชน โดยจัดให้มีกิจกรรมร่วมกัน 6. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานต่อสาธารณชน 07 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

การบริหารจัดการมัธยมศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา (สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2560 (ปรับปรุง พ.ศ. 2562), 2562 : 5-83) 1. งานแผนงานและประกันคุณภาพ แผน คือ สิ่งที่แสดงถึงความตั้งใจล่วงหน้าที่จะดำเนินการใด ๆ ภายในระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ บรรลุ วัตถุประสงค์มาตรฐานที่วางไว้ ผลที่เกิดจากการวางแผนส่วนหนึ่งจะปรากฏในรูปเอกสารเพื่อใช้เป็น หลักฐานยืนยันการตัดสินใจ ซึ่งจะระบุถึงสิ่งที่จะกระทำ เหตุผลที่เลือกทำ วิธีการดำเนินการ ผู้ดำเนินงาน และ สถานที่ ดำเนินงานด้านการศึกษา การวางแผน หมายถึง การกำหนดความต้องการ วิธีการดำเนินการและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคต โดยใช้หลักวิชา เหตุผล มีข้อมูลประกอบ มีการนำเสนอปัญหาเพื่อขจัดอุปสรรค ที่จะเกิดกับเป้าหมายข้าง หน้า ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้ว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด กับใคร ทำอย่างไร และ ทำเพื่ออะไรอย่างชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่ การปฏิบัติงานที่ถูกต้อง และบรรลุวัตถุประสงค์มาตรฐานตัวชี้วัด การวางแผนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเปรียบ เสมือนกับเข็มทิศ แผนที่เดินทาง หรือพิมพ์เขียว (Blue Print) เป็นยานพาหนะที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมี ระบบ หากปราศจากการวางแผนที่ดีระบบก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวให้เข้ากับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง กันได้ จึงมีคำกล่าวว่า “การวางแผนที่ดีย่อมนำไปสู่ความสำเร็จกว่าครึ่ง (Well begun is half done)” หรืออาจ กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าการวางแผนที่ดี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรในประการ ต่าง ๆ เช่น การทำงานของบุคลากรเกิดการประสานงานซึ่งกันและกัน ช่วยให้เกิดการประหยัดทางการบริหาร ทั้ง คน เงิน วัสดุ และ การจัดการ ช่วยให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นการ กระจายงาน แบ่งเบาภาระความรับผิดชอบของผู้บริหาร สามารถระดมสรรพกำลังทรัพยากร (Mobilization of resources) ได้ตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสามารถทราบปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการ ปฏิบัติงานตามขั้นตอนของแผนได้อย่างชัดเจน (Plan Implementation) สามารถดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงได้ ทันต่อเหตุการณ์ คุ้มค่า และลดความสูญเปล่า 1.1 การวางแผนพัฒนาโรงเรียน 1.2 การจัดองค์กร 1.3 การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.4 การจัดระบบการประกันคุณภาพภายใน 1.5 การคำนวณต้นทุนผลผลิต 1.6 การควบคุมภายใน 1.7 การประเมินผลการดำเนินงานแผนงานและประกันคุณภาพ 08 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

2. งานวิชาการ การบริหารงานวิชาการ เป็นหัวใจของสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นงานที่จะต้อง พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต การบริหารงานวิชาการเป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน และกระบวนการจัดการศึกษาอย่าง ชัดเจน บทบาทสำคัญของสถานศึกษาต้องยึดหลักตอบสนองต่อผู้เรียน โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมี ความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด การจัดการเรียนการสอนต้องจัด กิจกรรมส่งเสริมให้เหมาะสมกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน มุ่งเน้นประเมินพัฒนาการของผู้ เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ การเข้าร่วมกิจกรรม วัดผลและประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลาก หลายเหมาะสมกับระดับและรูปแบบการจัดการศึกษา ดังนั้น การจะบริหารงานวิชาการให้ประสบ ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นกรอบในการดำเนินการ 2.1 การวางแผนงานวิชาการ 2.2 การบริหารงานวิชาการ 2.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2.4 การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ 2.5 การวัดผล ประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน 2.6 การแนะแนวการศึกษา 2.7 การประเมินผลการดำเนินงานวิชาการ 3. งานกิจการนักเรียน กิจการนักเรียนเป็นอีกหนึ่งภาระงานที่สำคัญ สถานศึกษามีบทบาทหน้าที่จัดระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยว กับผู้เรียนที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันเพื่อช่วยให้ครูเข้าใจเข้าถึงและพัฒนาผู้เรียนโดยผ่านกระบวนการ วางแผน และการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพเพื่อสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้ สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจสังคม การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย ภาค ภูมิใจในความเป็นชาติไทย เกิดการเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตย ผ่านกระบวนการทำงานและกิจกรรม ต่างๆ ของโรงเรียน เทิดทูนและจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีจิตสาธารณะ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ปรับตัวมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันสามารถเลือกดำเนินชีวิตอย่างผู้มีภูมิรู้มีภูมิธรรม และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับภาวะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมโลก 3.1 การวางแผนงานกิจการนักเรียน 3.2 การบริหารงานกิจการนักเรียน 3.3 การส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม 3.4 การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3.5 การดำเนินการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 3.6 การประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียน 09 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

4. งานบุคคล การบริหารงานบุคคล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์กรไป ข้างหน้า เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี สถานศึกษาจึงต้องมีการบริหารงานบุคคลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ งานบุคคลเป็นงาน สนับสนุนบุคลากรที่สำคัญในสถานศึกษามีจุดประสงค์หลักของงานบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการสรรหาบุคลากร การส่งเสริมพัฒนาสร้างขวัญกำลังใจและการรักษาระเบียบ วินัย สิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของบุคลากร เช่น จัดการปฐมนิเทศให้บุคลากรเพื่อให้ทราบภาระงาน เมื่อเริ่มเข้าสู่องค์กรจัดทำเอกสารแนะนำแนวทางการปฏิบัติงาน จัดการนิเทศภายในเพื่อทบทวน บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ จัดการประชุมสัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มพูนทักษะและศักยภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรจัดระบบประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ปรับปรุง การทำงานอย่างต่อเนื่อง 4.1 การบริหารงานบุคคล 4.2 การบริหารงานทะเบียนและสถิติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 4.3 การประเมินผลการดำเนินงานบุคคล 5. งานธุรการ งานธุรการ เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนในด้านสารบรรณ ลงทะเบียน รับ – ส่ง หนังสือ การโต้ตอบหนังสือราชการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นไปตามระเบียบและแนว ปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านธุรการ 5.1 การวางแผนงานธุรการ 5.2 การบริหารงานธุรการ 5.3 การบริหารงานสารบรรณ 5.4 การประเมินผลการดำเนินงานธุรการ 10 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

6. งานการเงินและพัสดุ งานการเงินและพัสดุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุนให้การบริหารการจัดการ ศึกษาและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นไปตามแผนปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผล ถูกต้องตามระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการเป็นไปด้วยความถูกต้อง คุ้มค่า ประหยัด โปร่งใส ตรวจสอบ ได้ตามหลักธรรมมาภิบาลและเกิดประโยชน์ทางราชการสูงสุด 6.1 การบริหารการเงิน 6.2 การบริหารการเงินและบัญชี 6.3 การบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ 6.4 การประเมินผลการดำเนินงานการเงินและพัสดุ 7. งานบริการอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม งานบริการอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมเป็นงานที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริม งานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ภาระงานเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม การจัดบรรยากาศทั้งภายในห้องเรียนและภายในโรงเรียนให้เกิดความร่มรื่น เป็นสัดส่วนสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สะดวก และเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การดูแลบำรุงรักษาอาคารเรียน อาคาร ประกอบ ห้องเรียน ห้องพิเศษ และห้องบริการต่าง ๆ ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าตามเกณฑ์ปริมาณ และตรงตามมาตรฐาน พร้อมจัดให้มีหลักฐานการใช้อาคาร ประวัติการบำรุงรักษา และมีการสรุป ประเมินผลอย่างชัดเจน 7.1 การบริการอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 7.2 การบริการอาคารเรียน 7.3 การบริการห้องเรียน 7.4 การบริการห้องบริการ 7.5 การบริการห้องพิเศษ 7.6 การบริการอาคารประกอบ 7.7 การให้บริการน้ำดื่ม 7.8 การส่งเสริมสุขภาพอนามัย 7.9 การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ 7.10 การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน 7.11 การประเมินผลการดำเนินงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 11 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

8. งานชุมชนและภาคีเครือข่าย กระทรวงศึกษาธิการมีมาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการสร้างภาคี เครือข่ายในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการ ศึกษาและ สนับสนุนการศึกษาทุกระดับชั้นในรูปแบบที่หลากหลาย การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมทั้งเปิด โอกาส ให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) ดังนั้น งานชุมชนและภาคี เครือข่าย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา งานชุมชน พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 58 “ให้มีการระดมทรัพยากร และการลงทุนด้านงบประมาณ การเงินทั้งจากรัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ๆ โดยเป็นผู้จัดและมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา” ภาคีเครือข่าย คือการจัดหรือเชื่อมโยงกลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่สมัครใจ ที่ จะแลกเปลี่ยนข่าวสาร ร่วมกัน เรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน ด้วยความเป็นอิสระ เท่าเทียมกันภายใต้พื้น ฐานของการเคารพในสิทธิ ของแต่ละคน เชื่อถือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน การจัดภาคีเครือข่ายในสถาน ศึกษามีทั้งในส่วนที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติในระเบียบและข้อบังคับ และคณะกรรมการที่จัดตั้งให้ สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการมูลนิธิ คณะ กรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการบริหารงานวิชาการ สมาคมผู้ปกครองและครู สมาคมนักเรียน เก่าหรือสมาคมศิษย์เก่า ฯลฯ ขอบข่ายภารกิจงานชุมชนและภาคีเครือข่าย คือ การสร้างความสัมพันธ์กับ ชุมชน จัดทำข้อมูล พื้นฐาน และสภาพแวดล้อมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ให้บริการแก่ชุมชน มีส่วน ร่วมในการพัฒนาชุมชน ประสานและขอรับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากชุมชน รวมทั้งประเมินผลความ ต้องการและความพึงพอใจ ของชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายที่ยั่งยืนต่อไป 8.1 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และภาคีเครือข่าย 8.2 การให้บริการชุมชน 8.3 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน 8.4 การได้รับการสนับสนุนจากชุมชน 8.5 การประเมินผลการดำเนินงานชุมชนและภาคีเครือข่าย 12 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ลักษณะขององค์การที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสร้างนวัตกรรม ดังตารางแสดงคุณลักษณะของ องค์การที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการสร้างนวัตกรรม (Trott, 2008) โดยสรุป การจัดองค์การเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจะต้องมีการดำเนินการดังต่อไปนี้คือ (1) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและกลยุทธ์ในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่ชัดเจน (2) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำที่ดี พร้อมที่จะสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม (3) มีการจัดกระบวนการทำงานที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม (4) วัฒนธรรมองค์การเอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม (5) จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม (6) จัดสรรทรัพยากรสำหรับการนวัตกรรมอย่างเพียงพอ (7) สร้างเครือข่ายผู้สร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (8) จัดโปรแกรมด้านนวัตกรรม เพื่อพัฒนาและดำรงรักษานวัตกรรมในองค์การ (9) พัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมให้แก่สมาชิกในองค์การ (10) จัดระบบให้รางวัลแก่ผู้สร้างนวัตกรรม (11) ประสานความร่วมมือกับองค์การภายนอกในการสร้างนวัตกรรม (12) ส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิดระหว่างสมาชิกในองค์การ 13 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

กระบวนการสร้างและพัฒนา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้นั้น ทำได้อย่างไร 14 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารแนวคิดหลักการ เป็นขั้นตอนของการสำรวจ ศึกษาสภาพปัญหาและการคิดค้นเพื่อกำหนดรูปแบบ นวัตกรรมที่ใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหา โดยพิจารณาความเป็นไปได้ตามหลักการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ แนวคิดและแนวทางที่จะนำมาแก้ปัญหาของตนเองต่อไป 1.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสวงหาแนวคิดและหลักการ 1.2 การศึกษาเอกสารงานวิจัยและประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การเลือกและการวางแผนสร้างนวัตกรรม โดยพิจารณาเลือกจากลักษณะของ นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี ดังนี้ 2.1 เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการและความจำเป็น 2.2 มีความหน้าเชื่อถือและเป็นไปได้สูงที่จะสามารถแก้ปัญหาและพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียน 2.3 เป็นนวัตกรรมที่มีแนวคิดหรือหลักการทางวิชาการรองรับจนน่าเชื่อถือ 2.4 สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้จริง ใช้ได้ง่าย สะดวกต่อการใช้และการพัฒนา นวัตกรรม 2.5 มีผลการพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่าได้ใช้ในสถานการณ์จริงแล้วสามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ได้อย่างน่าเพิ่งพอใจ 15 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ขั้นตอนที่ 3 สร้างและพัฒนานวัตกรรม จากแผนการสร้างนวัตกรรม ครูต้องศึกษาถึงรายละเอียดของนวัตกรรมที่จะ สร้างและดำเนินการตามขั้นตอน เช่น การสร้างนวัตกรรมที่เป็นชุดการเรียนรู้ ครูอาจดำเนินการสร้างตาม ขั้นตอนต่อไปนี้ เช่น 3.1 วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.2 กำหนดและออกแบบชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3.3 ออกแบบสื่อเสริม 3.4 ลงมือทำ 3.5 ตรวจสอบคุณภาพครั้งแรกโดยผู้เชี่ยวชาญ 3.6 ทดลองใช้ระยะสั้นเพื่อปรับปรุงเนื้อหาสาระ 3.7 นำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ตรวจสอบว่า นวัตกรรมที่สร้างขั้นนั้นเมื่อนำไปใช้จะ ได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ สามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือพัฒนาผู้เรียนได้จริงหรือไม่ การประสิทธิภาพ ของนวัตกรรมมีหลายวิธี เช่น 4.1 การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4.2 การบรรยายคุณภาพ 4.3 การคำนวณค่าร้อยละของผู้เรียน 4.4 การหาประสิทฺธิภาพของนวัตกรรม 4.5 การประเมินสื่อมัลติมีเดีย ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงนวัตกรรม หลังจากที่หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่สร้างขั้น ไม่ว่าจะโดยวิธีการใด ก็ตามควรนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเล่านั้นมาปรับปรุงนวัตกรรมให้มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ ในห้องเรียนได้มากขึ้น โดยเฉพาะค่าหาประสิทธิภาพโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจและการบรรยาย คุณภาพก่อนการทดลองใช้และหลังการทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กจะทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นราย ละเอียดที่จะปรับปรุงนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น 16 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

การสร้างและพัฒนานวัตกรรมในด้านการจัดการเรียนรู้ ในการออกแบบการสร้างและพัฒนานวัตกรรม มีขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาปัญหาการเรียนการสอน การศึกษาปัญหาการเรียนการสอนซึ่งเราสามารถพิจารณา ได้จาก 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 1.2 ผลการวัดและประเมินจุดประสงค์การเรียนรู้ 1.3 การทำแบบฝึกหัดของผู้เรียน 1.4 ผลการตรวจผลงานของผู้เรียน 1.5 ผลจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน 1.6 บันทึกผลการสอนหลังสอนในแผนการสอน 1.7 ผลการวิจัยที่ผู้สอนได้จัดทำขึ้น 2. กำหนดและจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอน การกำหนดนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการแก้ ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันสาเหตุของปัญหา และการสร้างนวัตกรรมดังนี้ 2.1 วิเคราะห์หลักสูตร 2.2 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง 2.3 จัดทำโครงสร้างของนวัตกรรมการเรียนการสอน 2.4 สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างและขั้นตอนที่กำหนด 2.5 นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปพิสูจน์คุณภาพและประสิทธิภาพ 3. การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนในการจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีดังนี้ 3.1 ศึกษาวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น 3.2 กำหนดเครื่องมือที่ต้องใช้ประกอบการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ 3.3 ศึกษาแนวทางการสร้างเครื่องมือ 3.4 ออกแบบและสร้างเครื่องมือ 3.5 ตรวจสอบและผ่านการกลั่นกรองของผู้เชี่ยวชาญ 3.6 ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ 3.7 จัดทำเป็นเครื่องมือฉบับจริง 17 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

4. การทดลองศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน ขั้นการศึกษา คุณภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้ 4.1. กลั่นกรองเบื้องต้นโดยให้ผู้เรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระนั้นอ่านเพื่อตรวจสอบ ข้อบกพร่อง และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม 4.2. นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3-5 คน ประเมินเพื่อตรวจสอบคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนวัตกรรม 4.3 วิเคราะห์ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใด และปรับปรุง ข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะ 4.4. จัดทำเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พร้อมสำหรับนำไปทดลองใช้ 4.5 การศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้ 4.6 นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ แล้ว ไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ตามรูป แบบและวิธีการที่กำหนด 4.7 นำผลการทดลองมาคำนวณหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สูตร E1/E2 5. การนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียน หลังจากการศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน ตามวิธีการ และขั้นตอนที่เชื่อถือได้ และมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามที่กำหนดแล้ว นำนวัตกรรมการเรียนการสอน ไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าน วัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง 6. การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน แบ่งการเขียนออกเป็น 5 บท ดังนี้ บทที่ 1 บทนำ นำเสนอรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้ – ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา – วัตถุประสงค์ของการทดลอง – สมมุติฐานของการทดลอง – ขอบเขตของการทดลอง – ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ – นิยามศัพท์ 18 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

บทที่ 2 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำเสนอแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และ ผลการวิจัยทีเกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนี้ – หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม – ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม – หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่นำมาใช้พัฒนานวัตกรรมในกลุ่ม สาระ/วิชาที่คิดค้นและสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน บทที่ 3 วิธีดำเนินการสร้างและทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนการสอน – วัตถุประสงค์ของการทดลอง – สมมุติฐานของการทดลอง – ประชากรที่ใช้ในการทดลอง – กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง – นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง – การสร้างนวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง – การดำเนินการทดลอง – การวิเคราะห์ผลการทดลอง – สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการทดลอง บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ ข้อมูล โดยนำเสนอในรูปของตาราง กราฟหรือบรรยาย ตามวัตถุประสงค์ของการทดลองที่กำหนดไว้ใน บท ที่ 1 บทที่ 5 การสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ – สรุปผลการวิจัย นำเสนอวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน และผลการวิจัย โดยสรุป ให้เห็นภาพของการดำเนินการสร้างและพัฒนานวัตกรรมตลอดแนว – อภิปรายผลการวิจัย นำผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยมานำเสนอให้เห็นภาพรวมที่ เป็นผลน่าพอใจ สิ่งที่เป็นข้อสังเกต โดยอ้างอิงหลักการ ทฤษฎีและผลการวิจัยที่สอดคล้องประกอบการ อภิปรายอย่างเหมาะสม – ข้อเสนอแนะ นำเสนอสิ่งที่ควรดำเนินการต่อเนื่อง หรือพัฒนาผลการวิจัยอย่าง ต่อเนื่อง ที่จะทำให้เกิดคุณภาพในการพัฒนาอย่างเด่นชัด 7. การเผยแพร่การพัฒนานวัตกรรม หลังจากการสำรวจ ตรวจสอบและประเมินผล ชัดเจนว่าน วัตกรรมการเรียนการสอนที่คิดค้นและพัฒนานั้น สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่าง แท้จริงและได้นำเสนอผลการทดลองใช้ออกมาเป็นรายงานที่ถูกต้องแล้ว ควรเผยแพร่ผลการพัฒนา นวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาต่อไป 19 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

รูปแบบการบริหารสู่การสร้าง นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ใน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร 20 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

รู ปแบบการบริหารสู่ การสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ใน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กจังหวัดชุมพร 21 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนให้ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก เป็นองค์กรนวัตกรรมด้าน การจัดการเรียนรู้ 22 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

บทบาทหน้าที่ของทุกคน ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กจะเป็นส่วนในการขับ เคลื่อนให้โรงเรียนเป็นองค์กรนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ บทบาทของผู้บริหาร 1. เป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้ความใส่ใจในเรื่องการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ตลอดทั้งให้ความรู้และแนะนำในเรื่องการใช้นวัตกรรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ พร้อม สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนางานอย่างเต็มที่ 2. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง นำพาคณะครูและบุคลากรปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เปลี่ยนวิธีคิด และ สร้างสรรค์ผลงานกลุ่มบริหารวิชาการอย่างต่อเนื่อง เกิดความสำเร็จจนสถานศึกษาเป็นแบบอย่างในด้านการใช้ นวัตกรรมและแบบอย่างด้านการบริหารงานกลุ่มบริหารวิชาการ 3. เป็นผู้สนับสนุนให้การส่งเสริมสนับสนุนทั้งงบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ในการพัฒนางานอย่าง เพียงพอ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 4. เป็นผู้นำนวัตกรรม เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้นวัตกรรมและทรัพยากร ควบคุม กำกับ ติดตามบุคลากร รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 5. เป็นผู้มีบทบาทในการสนับสนุนสภาพแวดล้อม หรือบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานและแลกเปลี่ยน เรียนรู้วิธีการทำงานของคณะครูและบุคลากร เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย 6. เป็นผู้มีบทบาทในการระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก เพื่อสนับสนุนการ พัฒนางานของสถานศึกษา โดยส่งเสริมให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดทั้งชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาของโรงเรียน 7. สร้างความท้าทาย โดยกำหนดให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมคิด และทำซ้ำๆ จนเรื่องของความท้าทายนี้กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นประจำในองค์กร 8. ให้ความสนใจกับความไม่แน่นอนที่ได้รับจากสมาชิกในทีม และทำให้ความไม่แน่นอนกลายเป็น เรื่องที่ไม่น่ากังวล โดยการสร้างความมั่นใจให้แก่คนในองค์กรว่าสามารถทำสิ่งต่างๆ เมื่อมีโอกาสโดยไม่ต้องขอ อนุญาต 9. กำหนดข้อจำกัด/เงื่อนไขที่ชัดเจนว่า สิ่งใดยอมรับได้ สิ่งใดยอมรับไม่ได้ในการกระทำเพื่อให้เกิด นวัตกรรมในองค์กร 10. ขจัดอุปสรรค รวมทั้งการแก่งแย่งทรัพยากรภายในองค์กรซึ่งเป็นประเด็นที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการ เติบโตของการสร้างนวัตกรรมในองค์กร นอกจากนี้ การขยายแนวคิดใหม่ในองค์กร นโยบายด้านการคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านการปกครองความสามารถในการรวมกลุ่มใหม่ การจัดระบบใหม่ และการวิจารณ์ในมุมอื่นๆ เป็นสิ่งที่ ผู้บริหารควรกระทำ 11. สนับสนุนให้โครงการด้านนวัตกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการกำกับและการควบคุมเชิง โครงสร้างของโอกาสในการพัฒนานวัตกรรม 23 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

บทบาทของครูผู้สอน 1. เป็นผู้ที่มีความเป็นครูมืออาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม 2. เป็นผู้ที่มีการพัฒนาตนเอง เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนตลอดเวลา 3. เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรมในยุค 4.0 4. เป็นผู้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่นโดยมีความคล่องแคล่วรวดเร็ว นำไปสู่ ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 5. เป็นผู้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่นด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ไว้วางใจซึ่งกัน และกัน นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 6. เป็นผู้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่นภายใต้กฎเกณฑ์ ข้อจำกัดหรือข้อบังคับ อย่างเคร่งครัด นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 7. เป็นผู้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่นในการให้บริการแก่ผู้รับบริการด้วยความ เต็มใจ จริงใจ และตั้งใจ นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 8. เป็นผู้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่นในการให้การสนับสนุน ช่วยเหลือแก่ผู้รับ บริการด้วยความเต็มใจ จริงใจ และตั้งใจ นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 9. เป็นผู้ทำงานที่มีการสร้างนิสัยในการมีจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีนำไปสู่ความสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 10. เป็นผู้มีความยึดหยุ่น และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม กลมกลืน และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 24 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

บทบาทของผู้เรียน 1. ผู้เรียนมีส่วนรวมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการตั้งใจเรียนรู้ตามโครงสร้างที่โรงเรียน กำหนด ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่รับผิดชอบ 2. ผู้เรียนมีส่วนรวมในการเรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ไว้วางใจซึ่งกัน และกัน นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 3. ผู้เรียนมีส่วนรวมในการเรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ภายใต้กฎเกณฑ์ข้อบังคับอย่างเคร่งครัด นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 4. ผู้เรียนมีส่วนรวมในการเรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในการให้บริการแก่ผู้รับบริการด้วย ความเต็มใจ จริงใจ และตั้งใจ นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 5. ผู้เรียนมีส่วนรวมในการเรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในการให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่ ผู้รับบริการด้วยความเต็มใจ จริงใจ และตั้งใจ นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 6. ผู้เรียนมีส่วนรวมในการเรียนรู้การปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยการสร้างนิสัยในการมีจิตสำนึกและ ทัศนคติที่ดีนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 7. ผู้เรียนเป็นผู้มีความยืดหยุ่น และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ 25 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

บทบาทของผู้ปกครองนักเรียน 1. เป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้ความใส่ใจในเรื่องการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้มี ประสิทธิภาพ และ เกิดประสิทธิผล ตลอดทั้งให้ความรู้และแนะนำในเรื่องการสร้างและพัฒนานวัตกรรมให้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ พร้อมสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนางานอย่างเต็มที่ 2. เป็นผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนทั้งงบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ในการพัฒนางานอย่าง เพียงพอ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล 3. เป็นผู้รับฟัง เสนอแนะข้อคิดเห็น สร้างความตระหนักให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ตลอดเวลา และมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและทรัพยากร ควบคุม กำกับ ติดตามบุคลากร รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 4. เป็นผู้มีบทบาทในการสนับสนุนสภาพแวดล้อม หรือบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานและ แลกเปลี่ยน เรียนรู้วิธีการทำงานของคณะครูและบุคลากร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 5. เป็นผู้มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์ ระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากหน่วยงาน ภายนอก เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานของสถานศึกษา โดยส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา งานในทุกฝ่ายของโรงเรียนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาของโรงเรียน 26 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

บทบาทของชุมชน 1. ชุมชนสนับสนุนให้การส่งเสริมสนับสนุนทั้งงบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ใน การพัฒนาคุณภาพ การศึกษาอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงานของกลุ่มบริหารงาน ภายในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 2. ชุมชนมีบทบาทในการสนับสนุนสภาพแวดล้อม หรือบรรยากาศที่เอื้อต่อการ ทำงานและแลกเปลี่ยน เรียนรู้วิธีการทำงานของกลุ่มบริหารวิชาการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วย ความเรียบร้อย 3. ชุมชนมีบทบาทในการช่วยอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของ โรงเรียน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น 4. ชุมชนมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์ ระดมทรัพยากรและความร่วมมือจาก หน่วยงานภายนอก เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานของโรงเรียนและงานในกลุ่มบริหารงานภายในโรงเรียน อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาของโรงเรียน 5. ชุมชนมีบทบาทในการช่วยสนับสนุนโรงเรียนในการพัฒนา ปรับปรุง และการ จัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้โรงเรียน น่าดูน่าอยู่ น่าเรียนและเอื้อต่อการเรียนรู้ 27 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

กรอบเกณฑ์การคัดเลือก นวัตกรรมทางการบริหารจัดการ ศึกษา/การจัดการเรียนรู้/ การนิเทศติดตามและประเมินผล ของสถานศึกษา 28 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

กรอบเกณฑ์การคัดเลือกนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 ส่วน จำนวน 20 ตัวชี้วัด ส่วนที่ 1 การประเมินนวัตกรรมของสถานศึกษานำร่อง ประกอบด้วย องค์ประกอบการประเมิน จำนวน 3 ด้าน 18 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 1 ด้านความสำคัญของนวัตกรรม จำนวน 3 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1 ความเป็นมาและสภาพของปัญหา ตัวชี้วัดที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาและหรือการพัฒนา ตัวชี้วัดที่ 3 ประโยชน์และความสำคัญ องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จำนวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา ตัวชี้วัดที่ 2 หลักการ ทฤษฎี แนวคิดในการพัฒนา ตัวชี้วัดที่ 3 การออกแบบและแนวทางการพัฒนา ตัวชี้วัดที่ 5 การนำไปใช้ ตัวชี้วัดที่ 6 การประเมินและการปรับปรุง 29 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

องค์ประกอบที่ 3 ด้านผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามนวัตกรรม จำนวน 9 ตัวชี้วัด ดังนี้ 3.1 ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษาและผู้บริหาร ตัวชี้วัดที่ 1 มีข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 2 มีการดำเนินงาน/การบริหารจัดการของสถานศึกษา/การจัดการเรียนรู้/การนิเทศติดตาม และประเมินผล อย่างเป็นระบบ ตัวชี้วัดที่ 3 การมีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 4 การยอมรับที่มีต่อสถานศึกษา 3.2 ผลที่เกิดขึ้นกับครูผู้สอน ตัวชี้วัดที่ 1 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ 2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ 3 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ 4 การวัดและการประเมินผล 3.3 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชา ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น 30 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ส่วนที่ 2 การนำเสนอผลงานนวัตกรรม ด้านการนำเสนอผลงานและสื่อเอกสารประกอบการนำเสนอ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1 ด้านความถูกต้อง ชัดเจนและครอบคลุม ตัวชี้วัดที่ 2 ด้านความเหมาะสมของการนำเสนอ ตัวชี้วัดที่ 3 ด้านการตอบประเด็น/ข้อซักถาม รายละเอียดเกณฑ์การคัด เลือกนวัตกรรมทางการ บริหารจัดการศึกษา/การ จัดการเรียนรู้/การนิเทศ ติดตามและประเมินผลของ สถานศึกษา 31 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

เอกสารอ้างอิง จักรกฤษณ์ สิริริน. (2019). Innovation Management ติดปีกสถานศึกษาสู่ยุค 5.0. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.salika.co/2019/09/05/innovation-management- educational-5-0-era/. [2565, กุมภาพันธ์ 18]. ณิชา ฉิมทองดี. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ยืน ภู่วรวรรณ. (2564). Learning Innovation นวัตกรรมการเรียนรู้.การประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 24 (วทร.24) รูปแบบออนไลน์. 22 เมษายน 2564. [ออนไลน์]. [2565, กุมภาพันธ์ 14]. โรงเรียนมัธยมโพนเพ็ก สหวิทยาเขตอุดมคงคาคีรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (2562). ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศทางวิชาการ (Best Practice) การพัฒนารูปแบบการ บริหาร โรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้นวัตกรรม TAOPEK Model จุดเน้นด้านการพัฒนาผู้เรียน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.filesthaischool1.com/uppic/40101540/news/ 40101540_1_20190527-130436.pdf. [2564, กรกฎาคม 18]. สุเทพ ชิตยวงษ์. (2562). นโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานคณะกรรมการ ศึกษาขั้นพื้นฐานมีแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ปีงบประมาณ 2562-2565. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2562. [ออนไลน์]. [2564, กรกฎาคม 14]. สมพร สามทองกล่ำ. (2562).รูปแบบโรงเรียนนวัตกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นนวัตกรของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 32 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร. (2564). โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2564. สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2560 (ปรับปรุง พ.ศ. 2562). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2562).แนวการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่การ เป็นนวัตกรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน. nutthira. (2018) .การสร้างพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://krunutthira.wordpress.com/2018/12/14/1-7- %E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89 %E0%B8% B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8 %99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95% E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/. [2565, กุมภาพันธ์ 18]. Trott, P. (2008). Innovation management and new product development. Harlow, England: Financial Times/Prentice Hall. 33 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ภาคผนวก 34 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

ตัวอย่างเอกสาร Innovative School แนวการพัฒนาโรงเรียนนวัตกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ การเป็นนวัตกร ของสำนั กงานคณะกรรมการการศึ กษาขั้ นพื้นฐาน รู ปแบบโรงเรียนนวัตกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นนวัตกร ของสำนั กงานคณะกรรมการการศึ กษาขั้ นพื้นฐาน 35 คู่มือรูปแบบการบริหารฯ

กุลิสรา แก้วทิพย์ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook