Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดความรู้ โครงการย่อย 3 รศ.ดร.สิน 5-3-65_ebook

ชุดความรู้ โครงการย่อย 3 รศ.ดร.สิน 5-3-65_ebook

Published by Kasem S. Kdmbooks, 2022-03-06 10:43:49

Description: ชุดความรู้ โครงการย่อย 3 รศ.ดร.สิน 5-3-65_ebook

Search

Read the Text Version

การพัฒนาองคค์ วามรู้ พื้นที่นวตั กรรมการเรียนรู้วถิ ีพุทธ รศ.ดร.สิน งามประโคน โครงการยอ่ ยท่ี 3 ภายใตแ้ ผนงานวจิ ยั เรือ่ งการพฒั นาพน้ื ทน่ี วตั กรรมวิถีพทุ ธ คณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั

องคค์ วามรู้พน้ื ทนี่ วตั กรรมการเรยี นร้วู ถิ พี ทุ ธ การพัฒนาองค์ความรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรูว้ ิถีพทุ ธ ภายใตแ้ ผนงานวจิ ยั เรื่อง การพฒั นาพ้ืนทนี่ วัตกรรมวิถพี ุทธ รศ.ดร.สนิ งามประโคน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย พิมพค์ รง้ั แรก มนี าคม 2565 จำนวน 100 เล่ม พมิ พ์ที่ มหาจฬุ าบรรณาคาร ศูนยห์ นงั สือมหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั ๗๙ หมู่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังนอ้ ย จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา

คำนำ การพัฒนาองค์ความรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ภายใต้ แผนงาน วิจัยเรื่อง การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมวิถีพุทธ โดย คณะวิจัยได้ ดำเนินการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจยั เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร (Documentary Research) จากแหล่งข้อมูลทุติย ภูมิ ควบคู่ กับการวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนาม (Action Research) โดย เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูล สำคัญ (Key Informants) ตัวแทนจากนิสิตคณะครุศาสตร์ จำนวน 300 รูป/คน รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 42 รูป/คน เพ่ือ นำเสนอ ข้อมูลต่อการสนทนากลุ่มย่อย (focus Group Discussion) การ จัดสัมมนา และการสังเคราะห์ข้อมูลเข้าสู่ กระบวนการพัฒนา (Research and Development) นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นการรปลูกฝัง อบรม ฝึกฝน เยาวชน ตามวิธีการของพระพุทธศาสนา โดยเน้นบูรณาการตามหลัก ไตรสิกขา อันมี ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นฐาน เรียนรู้ผ่านการพัฒนา \"การกิน อยู่ ดู ฟังเป็น” มีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่า และการปลูกฝัง การฝึกฝน ให้ เยาวชนได้นำหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไป ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะทำให้เยาวชนมีคุณธรรมนำความรู้ พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพเป็นคนดี คนเก่งของสังคม ดำรงชีวิตตาม หลกั เศรษฐกจิ พอเพยี ง มคี ณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ และสามารถดำรงชวี ิต ไดอ้ ยา่ งมีความสขุ หวังวา่ ข้อมลู ตา่ ง ๆ ทีป่ รากฏในหนังสือคมู่ ือน้ี จะเป็นประโยชน์ต่อ สถานศึกษา หนว่ ยงานท่เี กีย่ วข้อง และเยาวชนผู้สนใจตอ่ ไป รศ.ดร.สิน งามประโคน

สารบญั เรื่อง หนา้ • สรุปองค์ความร้ทู ไ่ี ด้จากการวจิ ัย 5 • องคค์ วามรพู้ ืน้ ที่นวัตกรรมการเรยี นรู้วถิ พี ทุ ธ 6 • ชุดกจิ กรรมองค์ความรู้พืน้ ท่นี วตั กรรมการเรียนร้วู ถิ ีพุทธ 30 • การประเมินชดุ กจิ กรรมองคค์ วามรพู้ ืน้ ท่ีนวัตกรรมการเรยี นรู้วถิ ี 60 พุทธ 67 • องคค์ วามรู้ทไ่ี ด้รับ

สรุปองคค์ วามรทู้ ่ไี ดร้ ับจากการวจิ ัย นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นการรปลูกฝัง อบรม ฝึกฝน เยาวชน ตามวิธีการของพระพุทธศาสนา โดยเน้นบูรณาการตามหลัก ไตรสิกขา อันมี ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นฐาน เรียนรู้ผ่านการพัฒนา \"การกิน อยู่ ดู ฟังเป็น” มีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่า และการปลูกฝัง การฝึกฝน ให้ เยาวชนได้นำหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไป ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะทำให้เยาวชนมีคุณธรรมนำความรู้ พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพเป็นคนดี คนเก่งของสังคม ดำรงชีวิตตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียง มคี ณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ และสามารถดำรงชวี ิต ไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ 5

องคค์ วามรู้พื้นที่นวตั กรรมการเรียนร้วู ถิ ีพทุ ธ 6

1. ผลการศึกษาองคค์ วามรู้พ้ืนที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถพี ุทธ ประเด็นท่ีคณะผวู้ จิ ยั ไดศ้ ึกษาการพัฒนาองคค์ วามรพู้ นื้ ทีน่ วตั กรรม การเรียนรู้วิถีพุทธโดยพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธนั้นต้องยึดหลักวิถี พุทธโดยการพัฒนาจิตในพระพุทธศาสนาว่า จิตเป็นรากฐานสำคัญที่จะ แสดงออกในอากัปกิริยาทางร่างกาย หรือแสดงออกทางใบหน้า และจิตใจ เมื่อได้ รับการอบรมย่อมมีสติ ย่อมมีความฉลาดรอบคอบการเปลี่ยนแปลง ในสังคมปัจจุบันที่มีนวัตกรรม เทคโนโลยี สื่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เยาวชน หลงผิดไปตามกระแสของสังคม ละทิ้งคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้ การดำเนนิ ชีวิตขาดหลกั ธรรมยึดเหนย่ี วจิตใจ การจัดกิจกรรมพื้นท่ีนวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธต้องจัดทำ พื้นฐานก่อน เหมือนกับการสร้างบ้านที่จะต้องประกอบด้วยการตอก เสาเข็มให้แข็งแรง มีการจัดเตรียมพื้นที่การเรียนรู้ โดยกิจกรรมการจัด กิจกรรมจากโครงงานคุณธรรม คือ การเรยี นรู้ทไ่ี ม่จำกดั องคร์ วมแห่งความ ดี ที่ไร้ขีดจำกัด การทำความดีเชิงรุก พร้อมกับการเรียนรู้ชีวิตอย่างเป็น วิทยาศาสตร์ แก่นการเรียนรู้คือ “ร่วมกันทำดี อย่างมีปัญญา” การจัดทำ โครงงาน เปน็ การจดั การเรียนร้รู ูปแบบหนึ่งที่ทำใหผ้ ้เู รยี นเรียนรดู้ ้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอนและใช้ความรู้ที่ ตนเองได้มาบูรณาการ การเจริญจิตภาวนา คือ การปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจ หลักธรรม เข้าใจความเป็นไปของชีวิต เพื่อให้จิตใจผ่องใส เบิกบาน แบง่ เป็น ๓ ระดบั คอื การสวดมนต์ การทำสมาธิ การเจริญวิปสั สนา ดังน้ี 1.1 พ้ืนทว่ี ิถีพอเพยี ง พื้นที่วิถีพอเพียง เป็นพื้นที่ทางคณะวิจัยได้ศึกษาข้อมูลและ วิเคราะห์ถึงประโยชน์ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มของพื้นท่ี ที่มีอยู่ แต่ถูกปล่อยรกร้าง มีหญ้าขึ้น ไม่ได้ประโยชน์จากพื้น การใช้ ประโยชน์ที่ดินภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตาม แผนผังแสดงโครงการ 7

กิจกรรมด้านการเกษตร และเพื่อการบำบัดน้ำเสียให้เกิดประโยชน์ต่อการ นำมาใช้ปลูกผักสวนครัวและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนเกษตรวิถีพุทธ โดย คำนึงหลักการความยั่งยืนจากการใช้พื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่สามารถ บริหารจัดการใหเ้ กิดความคุม้ คา่ ระบายนำ้ แต่การคำนวณพ้ืนท่ี และแหล่ง น้ำเสียมาบำบัดน้ำเสียนใช้ทฤษฎีโจจันใดบำบัด และพัฒนาระบบจ่ายน้ำ ด้วยโซล่าเซล แบ่งเป็นโซลนิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจ่ายน้ำสู่การปลูก ผกั สวนครัว โดยดำเนินการ ดังน้ี 1. สร้างมูลค่าเพ่ิมจากน้ำเสีย การสรา้ งมูลคา่ เพิม่ จากน้ำเสยี หมายถึงการน้ำเสยี มาบำบัดเพ่ือนำ กลับไปใช้ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์น้ำและการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่ง ปัจจุบันประเทศกำลังประสบปัญหาเรื่องน้ำทำการเกษตร ซึ่งการสร้าง มูลค่าเพิ่ม ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ตอ้ งมี ความหลากและมีวิธีดำเนิน มีนวัตกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้านมาบูรณา การ ดงั นี้ ภาพท่ี 1 การเตรยี มการวา่ งระบบน้ำบำบัดเสียจากบ่อก่อนนำมาใชล้ ดผักสวนครัว ทมี่ า : คณะผ้วู จิ ัย 10 ธันวาคม 2564 8

ขั้นตอนที่ 1 ศกึ ษาประโยชนก์ ารอนรุ ักษน์ ้ำ 1) ใช้ทรัพยากรน้ำ ใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดความคุ้มค่า เพื่อ ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ก็ต้องอาศัยน้ำเพื่อการใช้ การบริโภคและด้านการเกษตร ซึ่งการป้องกันปัญหาที่พึงจะเกิดขึ้นกับน้ำ และการนำน้ำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีพของมนุษย์ และการอนุรกั ษน์ ้ำสามารถดำเนนิ การได้ 2) การปลูกป่า โดยเฉพาะการปลูกป่าบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ หรือ บริเวณพื้นที่ภูเขา เพื่อให้ต้นไม้เป็นตัวกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ทั้งบนดิน และใต้ดิน แล้วปลดปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดปี สามารถน้ำไปใช้ ประโยชน์ สามารถทำธนาคารน้ำ หรือโคกหนองนาโมเดลจากการบริหาร จดั การน้ำให้เกดิ ประโยชนส์ ูงสดุ 3) การพัฒนาแหล่งน้ำ เนื่องจากปัจจุบันแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เกิดสภาพตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้น้ำ ขาดการบริหารจัดการ น้ำ ไม่มีการกักเก็บน้ำหน้าแล้ง และทางโรงงานอุตสาหกรรม ก็ปล่อยน้ำ เสียลงสู่แหล่งธรรมชาติ ทำให้น้ำเสยี ไม่สามารถใชป้ ระโยชน์ได้ การพัฒนา แหล่งน้ำเพื่อให้มีน้ำเพียงพอ จึงจำเป็นต้องทำการขุดลอกแหล่งน้ำให้กว้าง และลึกใกล้เคียงกับสภาพเดิมหรือมากกว่า ตลอดจนการจัดหาแหล่งน้ำ เพิ่มเติม อาจจะกระทำโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ ซึ่งต้องระวังปัญหา การเกดิ แผ่นดินทรุด หรือการขุดเจาะแหลง่ นำ้ ผวิ ดนิ เพมิ่ เติม 4) การสงวนน้ำไว้ใช้ เป็นการวางแผนการใช้น้ำเพื่อให้มีปรมิ าณนำ้ ที่มีคุณภาพมาใช้ประโยชน์ตลอดท้ังปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ด้วยวิธีการ ต่างๆ เช่น การทำบ่อหรือสระเก็บน้ำ การหาภาชนะขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บ นำ้ ฝน รวมทัง้ การสร้างอา่ งเกบ็ น้ำ ธนาคารน้ำ เป็นตน้ 5) การใช้น้ำอย่างประหยัด เป็นการนำน้ำมาใช้ประโยชน์หลาย อย่างอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสูด ทั้งด้านการอนุรักษ์น้ำและตัว ผู้ใช้น้ำเอง กล่าวคือ สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้ ปริมาณน้ำ 9

เสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อยลง และป้องกันปัญหาการขาดแคลน น้ำเป็นการสร้างพื้นที่นวัตกรรมการใช้น้ำ จากการลงพื้นที่สำรวจพื้นและ วางแผนดำเนินการเพื่อพัฒนาที่ของมหาวิทยาลัยให้เป็นพื้นที่ศึกษาเรื่อง นวัตกรรมการบำบัดน้ำเสียและนำไปใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับแนวคิด การใช้น้ำอย่างประหยดั เพ่อื อนรุ กั ษ์ทรพั ยากรนำ้ การลงพื้นที่ศึกษาแนวคิดและการสัมภาษณ์ เพื่อสร้าง“...พื้นที่ นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ควรมีคุณลักษณะ เข้าใจง่าย สนุกสนาน ผู้ เรียนรู้ควรมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และพื้นที่นวัตกรรมการ เรียนรู้วิถีพุทธควรมีคุณลักษณะ ได้แก่ เข้าใจง่าย สนุกสนาน และนักเรียน มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ควรมีการร่วมมือของภาครัฐ การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนให้เข้ามา มสี ่วนร่วมในการสร้างพน้ื ท่นี วัตกรรมการเรียนร้ดู ว้ ย12 และยังจดั การเรียนรู้ แนวพุทธ สร้างความร่มรื่น สงบ งาม ง่าย ทั้งนี้ต้องมีสถานที่และอุปกรณ์ท่ี พร้อมต่อการเรียนรู้ และควรกำหนดเป็นนโยบาย โดยภาครัฐ หรือ หน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้องดา้ นการศึกษาเพื่อให้เกิดการดำเนนิ การอยา่ งตอ่ เนือ่ ง เพื่อใหเ้ กดิ การขยายผลสกู่ ารปฏิบัตกิ าร ร่วมทงั้ มีการจัดการสภาพแวดล้อม ท่ีเอ้อื ใหเ้ กิดการเรยี นรู้ พรอ้ มทงั้ มคี วามเกือ้ กูล และใกล้ชดิ ชมุ ชน ข้นั ตอนที่ 2 ปอ้ งกันและบำบัดน้ำเสยี กลบั มาใช้ใหม่ 1) การป้องกันการเกิดมลพิษของน้ำ ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นใน เมืองใหญ่ๆ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หรือย่านอุตสาหกรรม การป้องกันปัญหามลพิษของน้ำ จะต้องอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ และ 1นิภาภทั ร ปรากฏผล อาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั วิทยาเขต นครศรธี รรมราช, 12 กมุ ภาพนั ธ์ 2564. 2พระปลัดสมเกยี รติ อสํ ธุ โร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั วิทยาเขตนครศรธี รรมราช, 6 กมุ ภาพนั ธ์ 2564. 10

เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรน้ำอย่างเครง่ ครดั 2) การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับไปใช้ใหม่ น้ำที่ถูกนำไปใช้แล้ว ใน บางครั้งยังมีสภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ เช่น น้ำจากการ ล้างภาชนะ อาหาร อาคาร บ้านเรือ หรือพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย มีการใช้จำนวนมากต่อหนึ่งวัน น้ำเหล่านี้จะถูกปล่องลงสู่บอ่ บำบัดในเบื้องต้น ให้เป็นน้ำที่บำบัดเสร็จแล้ว ค่อยปล่อยสู่บ่อพักน้ำของ มหาวทิ ยาลัย โดยใช้วธิ ีการบำบัดด้วยถา่ นชาโค (หรอื ถา่ ยทีม่ ีพลังงานความ ร้อนสูง ผ่านการเผาด้วยความร้อน 850 องศา) สามารถบำบัดน้ำเสียจาก หอพกั นิสติ เอได้ ลดความเปน็ กฎ เป็นด่างได้ ดำเนนิ การดังน้ี 3) สูบน้ำเสียจากบ่อบำบัดหอพักนิสิตหอเอ ซึ่งเป็นบ่อดิน พักน้ำท่ี ถกู ปลอ่ ยจากหอเอซึ่งน้ำท่ีเหลอื จากการใช้แล้ว หรือนำ้ ท้ิง ปลอ่ ยลงสบู่ อ่ ดนิ ซึ่งไม่ใช้ประโยชน์อะไร แต่ถ้าหากใช้แนวคิดระบบหมุนเวียนมาใช้สามารถ ลดกลิ่น และสีของน้ำจากที่มีกลิ่นเหม็น และสีของน้ำมีสีดำ ไม่สามารถ นำไปใช้ประโยชนไ์ ด้ 4) สูบน้ำด้วยพลังงานโซลา่ เซล ซึ่งแนวคิดหลักเพือ่ สรา้ งนวัตกรรม การเรียนรู้นวัตกรรมการเรียนด้วยเทคโนโลยีเชิงประยุกต์และภูมิปัญญา นำสิ่งที่มีอยู่มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์เน้นความประหยัด และคุ้มค่าและ ไดป้ ระโยชนร์ ะยะยาว 5) สร้างที่พักน้ำ ใช้ถังพลาสติกขนาดใหญ่ 3 ถัง ไดร์สูบน้ำตัวที่ 1 จะทำหน้าที่สูบจากบ่อพักน้ำสู่ถังเก็บน้ำ ถังที่ 1 ข้างในถังจะบรรจุถุงถ่าน ขนาดใหญ่ไวข้ า้ งใน ถังที่ 1 ก็จะทำหนา้ ทีส่ ่งน้ำท่ีบำบัดเสร็จแลว้ ไปสู่ถงั ท่ี 2 ซึ่งข้างในถังก็จะบรรจุถุงถ่ายขนาดไว้ข้างใน (ถ่ายแช่ด้วยอีเอ็ม EM) เพ่ือ กำจัดกล่ินและกรองน้ำให้มีคุณภาพก่อนนำไปใชป้ ระโยชนล์ ดผักสวนครัว การออกแบบการจ่ายในแต่ละวัน ติดติดตั้งระบบตัดน้ำอัตโนมัติ ด้วยลูกลอย เพื่อตัดน้ำเมื่อน้ำจากถังที่ 2 และถังที่ 3 เต็ม ระบบสูบน้ำก็จะ 11

ตัดอัตโนมัติ ลดการใช้แรงงานคน ซึ่งการวางระบบสูบน้ำด้วยพลังงาน แสงอาทติ ยเ์ ป็นการอนรุ กั ษส์ งิ่ แวดล้อมและการใชพ้ ลังงานจากธรรมชาติ ภาพที่ 2 วางระบบจา่ ยน้ำ และทดสอบประสทิ ธิภาพการทำงานระบบจา่ ยนำ้ ทีม่ า : คณะผูว้ ิจัย 10 ธนั วาคม 2564 ขนั้ ตอนที่ 3 กระบวนการนำนำ้ ไปใช้ประโยชน์ การน้ำไปใช้ประโยชน์สู่เกษตรวิถีพอเพียงด้วยการติดตั้งไดร์สูบน้ำ จำนวน 2 ตัว ในแตล่ ะตวั กจ็ ะมีระบบการทำงาน ดงั น้ี การทำงานของระบบสบู นำ้ 1) ไดร์ตัวที่ 1 สูบน้ำจากบ่อดินสู่ถังน้ำที่ 1 เพื่อจ่ายน้ำลงสู่ถังที่ 2 และถังท่ี 3 จะตดิ ระบบลอยไว้ในถงั ท่ี 2 เมอ่ื ถงั ท่ี 2 และ ถังท่ี 3 เต็ม ระบบ จะตดั อตั โนมตั ิ และหยดุ พกั 15 นาที 2) ไดร์ตัวท่ี 2 จะเร่มิ ทำงานทำหน้าท่จี า่ ยน้ำจากถังท่ี 3 สู่แปลงผัก ด้วยระบบหัวฉีด และระบบน้ำหยด ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีน้ำจากถังท่ี 2 และถังที่ 3 หมด ไดร์ตัวที่ 2 ก็จะหยุดการทำงาน และพักการทำงาน 15 12

นาที ไดร์ตัวที่ 1 จะเริ่มสูบน้ำ ซึ่งจะใช้ระบบหมุนเวียนเพื่อพักเครื่องสูบน้ำ ทัง้ สองตัว เพื่อปอ้ งกนั ความรอ้ น ไดรส์ บู นำ้ 3) การใช้งานเก็บพลังงานไว้ใช้ตอนกลางคืน หรือตอนที่มีแสงพระ อาทิตย์น้อย ประยุกต์ใช้แบตเตอรี่รถยนต์บรรจุเก็บไฟไว้ใช้ตอนกลางคืน หรอื ช่วงท่ีแสงพระอาทิตย์น้อย กส็ ามารถนำไฟสำรองมาใช้ได้ 4) การควบคุมระบบการทำงาน จะตั้งเวลาทำงานอตั โนมัติ โดยใช้ แอฟพลิเคช่นั ควบคุมการทำงานของระบบจา่ ยนำ้ เร่ิมจาก 6.00 น. เป็นตน้ ไป ไดร์ ก็จะเริ่มทำงาน จ่ายน้ำตามโซลนิ่งที่ตั้งเวลาจ่ายน้ำไว้ จะแบ่งเป็น 12 โชน และแต่ละโซน จะทำจ่ายน้ำโซนละ 10 นาที จะเริ่มจากโซนที่ 1 ทำการจ่ายน้ำ 10 นาที ก็หยุดทำงาน และโซนที่ 2 จะทำงานต่อจากโซนท่ี 1 ระบบจะหมุนเวียนไปจนถึง โซนที่ 12 จะหยุดการทำงานเวลา 7.00 น. ของทุกวัน และจะเริ่มทำงานอีกเวลา 15.00 ถึง 16.00 น ก็จะปิดระบบ การทำงานทั้งระบบ ใช้ควบคุมด้วยแอพลิเคชั่น ตั้งเวลาปิด-เปิดตามที่ กำหนด 2. วิถีเกษตรอย่างยงั่ ยนื วิถีเกษตรอย่างยั่งยืน ต้องมีการวางแผน 3 ขั้นตอน โดยดำเนินตาม แผนงานที่วางไว้ ถา้ หากจะทำการเกษตร ขาดการวางแผนแลว้ กไ็ มส่ ามารถ ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย และไม่ประสบผลสำเร็จ จึงดำเนินการ 3 ขัน้ ตอน ดังน้ี 1) ปลูกหลายๆ อย่าง เมื่อมีพื้นที่ไม่มาก ทำให้จัดระบบน้ำได้ อย่างประหยัด การบริหารจัดพื้นที่ให้ปลูกได้หลายอย่างเพื่อจะได้มีผัก รับประทานหลายๆ และถ้าหากจะทำเพื่อจำหน่าย ยิ่งควรปลูกหลายอย่าง เพื่อป้องกันความเสี่ยง ถ้าหารปลูกผักเชิงเดี่ยว เช่นปลูกผักกาดขาวเต็ม พื้นที่ อยู่มาวันหนึ่งพักกาดขาวราคาตก ส่วนผักที่ปลูกก็ขาดทุน เพราะ ราคาตก แต่ถ้าปลูกหลายชนิดๆ พักชนิดหนึ่งราคาตก ก็ยังมีส่วนอื่นขายได้ ราคา และสามารถอย่ไู ด้ ไม่ขาดทนุ 13

2) ลดความโลภ โดยแบ่งพื้นที่ทำการ โดยไม่ได้มุ่งเป้าเพื่อจำ หนายได้จำนวนมากเพียงแค่หวังกำไรเท่านั้น แต่การแบ่งพื้นที่การ การเกษตร เพราะเรายังขาดประสบการณ์ บางครั้งการเรียนทฤษฎีมา ก็ไม่ อาจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หมด การแบ่งพื้นที่ทำนั้นเพื่อป้องกัน ความเสียง และยังขาดประสบการณ์ อาจทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จได้ เมื่อ ไม่ประสบผลสำเร็จแล้ว ก็เกิดอาการท้อหมดกำลังที่จะทำต่อไป ฉะนั้นต้อง ใช้หลักวิถีพุทธเข้ามาปรับใช้ ไม่ทำเพราะความโลภแค่อยากได้ อยากมี อยากเป็นเท่านั้น ภาพท่ี 3 ผลผลติ ส่วนท่ีหนง่ึ จากการน้ำเสยี ทีบ่ ำบัดแลว้ มาใชป้ ระโยชน์ทางการเกษตร ท่ีมา : คณะผู้วจิ ยั 10 ธนั วาคม 2564 14

3) เติบโตด้วยการตลาด เกษตรกรไทยส่วนมากมีความรู้เรื่อง การเกษตรโดยอาศัยประสบการณ์ แต่ยังขาดประสบการณ์ด้านการตลาด จึงทำให้เกษตรไทยประสบปัญหาเร่ืองระบบการตลาดที่จะแปรรูปสินค้าให้ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคให้เกิดความสมดุลระหว่างผลผลิต กับการจำหน่ายให้กับผ ู้บริหารอย่างเป็นระ บบโดยอาศัยราชการให้ คำแนะนำเรียนรู้เรื่องตลาด ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตดีให้ดีขึ้น มี รายได้ให้จากสินค้าเกษตรจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาแนวความคิดใหม่ๆ และขยายผลการผลิต ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา กระแสการบริโภคพืชผักเพื่อสุขภาพ ได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่า “สุขภาพกาย” น้ัน มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า “สุขภาพใจ” กายที่แข็งแรงล้วนนำมาซึ่งใจท่ี เข้มแข็ง ดังนั้นในระยะหลังเราจะเห็นว่าผักเพื่อสุขภาพ ได้เข้ามามีส่วน สำคัญต่อวิถีการบริโภคของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจต่อสุขภาพ สถานการณ์ของ โลกในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านอาหารที่ต้อง ผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มีจำนวนเพิ่มข้ึน ผผู้ ลติ อาหารส่วนใหญจ่ งึ ให้ความสำคญั ด้านปรมิ าณมากกว่าคณุ ภาพ กระบวนการผลิตทุกขั้นตอนต้องแข่งกับเวลาเพื่อให้ทันต่อความ ต้องการกับโลกสมัยใหม่ ซึ่งนับวันความเป็นวิถีเกษตรแบบดั้งเดิมของบ้าน เราได้ถูกแทนที่ด้วยการทำเกษตรแบบทุนนิยม เป็นเกษตรแบบพันธสัญญา เกษตรกรต้องเปน็ หนต้ี งั้ แตเ่ รมิ่ ต้น ต้องใช้พน้ื ท่ีมาก และใช้สารเคมอี นั ตราย เช่น ปุ๋ยเคมี, สารกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชในปริมาณมากขึ้นทุกปีๆ ซึ่ง สารเคมีอันตรายดังกล่าวได้มีผลต่อสุขภาพของผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค ตลอด จนถึงสิ่งแวดล้อมในวงกว้างที่ถูกทำลายไปด้วย ซึ่งหากมองย้อนกลับไปใน อดีตแล้ว วิถีเกษตรกรรมของเราเป็นแบบพอเพียง เป็นรากฐานของสังคม ขัน้ พืน้ ฐานท่มี คี วามสามัคคกี ันชว่ ยเหลือเก้อื กลู ซง่ึ กันและกนั หลายปีท่ีผ่าน มามีความพยายามทั้งภาครัฐและองค์กรต่างๆ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ 15

ผู้ผลิตและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้ตระหนักถึงภัยอันตรายอนั เกิดจากสารเคมีอันตราย โดยการลดปริมาณการใช้ลงและเลิกใช้ในที่สุด ด้วยหันมาทำการเกษตรกรรมแบบมาตรฐานสากลคือ “เกษตรอินทรีย์” (Organic) ที่ทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นการเกษตรที่มีความปลอดภัย สูงสดุ “...การเรียนรู้วิถีพอเพียงที่สำคัญจะช่วยทำให้เกิดการกิน อยู่ ดู ฟังเป็น การศึกษาตามแนวพุทธปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนวิถีพุทธ คือ กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทัง้ ทางด้านความประพฤติ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อความเจริญงอกงามทุกขั้นตอนของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกิน อยู่ ดู ฟัง ในชีวิตประจาวันที่มีสติสัมปชัญญะคอยกำกับ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนา ตนจนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เจริญสืบต่อไป และเนื่องจากพุทธศาสนามีหลักการพัฒนาว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะ ฝึกฝนและพฒั นาตนได้ ประกอบกบั วิเคราะหผ์ ู้เรียนวา่ มีสตปิ ัญญา อุปนิสัย ความพร้อม และภูมิหลังที่แตกต่างกัน การพัฒนาจึงเน้นที่ตัวผู้เรียนแต่ละ คนเป็นสำคัญโดยมีการบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมี สวนเกษตรวิถีพุทธ หรือทำการเกษตรไม่รบกวนธรรมชาติ แต่อาศัย ธรรมชาติจัดการกันเองเพื่อให้ได้ปัจจัยในการดำรงชีพอย่างพอเพียง เช่น จากการทำการเกษตรที่ปรับสวนยางเป็นป่ายาง นาข้าวไม่ไถพรวน ใช้ ความได้เปรียบของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพบริการจัดการ โดยพึง่ พาตนเอง อยไู่ ด้อย่างมีความสุข3...” คำว่าพื้นท่ีนวัตกรรม ไม่ใช่เป็นแคพ่ ืน้ ท่ีใชก้ ารเรียนการสอนเทา่ น้ัน แต่ในที่รวมถึงการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต หรือการสร้างรายได้ สามารถ ดำรงชีวิตได้ด้วยความพอเพียง เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตจริง การเรียนรู้เรื่อง การตลาด ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เมื่อทำการเกษตรแล้ว ยึดหลักการที่ผลิตเพื่อ 3รศ.ดร.วรวทิ ย์ นเิ ทศศิลป์, มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชยี งใหม่ 10 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 16

กิน และเหลือจากเก็บไว้กินแล้ว ก็ควรจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริม แต่สิ่งที่ นักเกษตรวิถีพุทธควรศึกษาคือด้านการตลาด เพราะผลิตมากแล้ว แต่ไม่ สามารถจดั จำหน่ายได้ ก็ประสบปัญหาได้ นวัตกรรมการเรยี นรู้วิถีพุทธต้อง ปรับแนวคิดใหม่ๆ มาใช้ในเชิงบูรณาการให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกพื้น เกิด นวัตกรรมที่หลากหลายสอดคลอ้ งแนวคิด “...พ้ืนทนี่ วัตกรรมควรมีลักษณะ เด่น คือ ควรมีต้นแบบที่เป็นองค์รวมของส่วนภูมิภาค ควรมีหน่วยงานท่ี รบั ผิดชอบโดยตรง ร่วมกับองค์กรอสิ ระ ทที่ ำงานประสานกันทำงานในด้าน นี้ และควรเน้นนวัตกรรมที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาของชาวบ้านภูมิปัญญา ท้องถิ่น และสามารถสัมผัสได้จริง ทั้งนี้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ควรคุณลักษณะเด่น 1) ควรเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม เข้าถึงองค์ความรู้ในด้านบริบทของนวัตกรรม4 2) องค์กรที่ทำหน้าท่ี รับผิดชอบควรมีความเป็นเอกเทศและมีความหลากหลายในกิจกรรมที่ ดำเนินการ 3) ควรเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ที่แท้จริง เข้าถึงง่าย และมีการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง5พระสาโรจน์ ธมฺมสาโร กล่าวว่า พื้นที่นวัตกรรม การเรียนรู้วิถีพุทธ ควรมีลักษณะเด่น คือ ควรมีการทดลองลงมือทำจาก การวางแผน เมื่อมีการวางแผนแล้วลงมือปฏิบัติ และการมีติดตาม ประเมินผลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ควรมีบุคลากรอาทิ นักเรียน ผู้ปกครอง หรือ ชุมชน ที่สามารถเข้าใจ สร้างองค์ความรู้ และเข้าถึงพื้นที่นวัตกรรมการ เรียนรู้ไดอ้ ย่างงา่ ย เพ่อื ให้เกดิ การเรยี นรู้อยา่ งตอ่ เน่อื ง และเกิดการพัฒนา6 1.2 พนื้ ที่กจิ กรรมการเรยี นรวู้ ถิ พี ุทธ 4พระอดุ มสิทธนิ ายก, ผศ.ดร.,รองคณบดคี ณะสงั คมศาสตร์ 6 มกราคม 2564. 5พระมหาสมปอง ธานิสสฺ โร,ผศ. อาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรธี รรมราช, 4 กุมภาพนั ธ์ 2564 6พระสาโรจน์ ธมมฺ สาโร เจ้าหนา้ ที่ มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั วทิ ยาเขต นครศรธี รรมราช, 4 กมุ ภาพันธ์ 2564. 17

1. ด้านศีล วิถีชีวิต จะมีความมั่นคงและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตที่จะเกิดขึ้นได้ เยาวชนคือหัวใจสำคัญในการพัฒนาในทุกๆ ด้าน เป็นกลุ่มคนทีม่ พี ลัง มีศักยภาพมาก การกระตุ้นให้เยาวชน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดี พัฒนาศักยภาพและพลังในเชิงสร้างสรรค์ สร้างให้ นักเรียน เยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองพร้อมมีภูมิคุ้มกัน รู้เท่ากัน การเปลี่ยนแปลง ไม่ตกเป็นเหยื่อหรือสร้างปัญหาให้กับสังคม เป็น ทรัพยากรอันทรงคุณคา่ เยาวชนจึงจำเป็นต้องมีความรู้และศีลธรรม และมี ค่านิยมในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมการเรียนรู้วิถีพุทธ “...จึงมี ความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเยาวชนอย่างมีความและใช้ชีวิตดว้ ยความไม่ ประมาท ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันดำเนินไปด้วย ความเรียบร้อย มีความสงบสุข7 “...และการพัฒนาตนด้วยการรักษาศีล 5 เป็นการตามตนหลักพทุ ธศาสนา อันเป็นแนวทางท่ีดีในการประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ ตนให้มีทกั ษะในการดำเนนิ ชวี ติ เก่ง ดี มีสขุ สามารถนำหลักธรรมคำสอนที่ ไดร้ ับไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชีวิตประจำวนั คอื การพัฒนากาย โดยการแสดงออก ทางกริยามารยาทของชาวพุทธ มีพฤติกรรมที่ดีงามเหมาะสม8...” การ พัฒนาศีลโดยการอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน สังคม และบุคคลอื่นได้อย่าง มีความสขุ การพฒั นาจิตใหเ้ ป็นจิตทสี่ มบรู ณ์ มีสุขภาพจติ ทด่ี ี 2. ด้านสมาธิ ในสังคมไทย เป็นสังคมแห่งการทำงาน เป็นสังคม แห่งความเร่งรีบ ที่จะต้องแข่งกับเวลา ทุกคนต่างต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ ตนเอง จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะแลสุขภาพ หรือการดูแลสุขภาพ มีค่าใช้จ่าย สงู สงั คมก็เลยไม่คอ่ ยใหค้ วามสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพ จึงเปน็ สาเหตุหน่ึง ที่ทำให้สังคมไทยตัดสินใจในการดูแลรักษาสุขภาพารนั่งสมาธิ โดยเฉพาะที่ 7รศ.ดร.โกนิฎฐ์ ศรีทอง, 22 กุมภาพันธ์ 2564 ห้อง 515 คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวทิ ยาลยั . 8พระมหาสเุ ทพ สุปณฺฑิโต,ผศ., 22 กุมภาพนั ธ์ 2564 ห้อง 515 คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั มหา จฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย. 18

คณะครุศาสตร์ จะมีการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ระดับปริญญาเอก ก่อนทำการเรียนการสอน ก็จะมีการเจริญสมาธิก่อนทุก ครั้ง เปรียบได้กับเป็นการให้ยากับจิตใจ เพราะสมาธิจะทำให้สมองปลอด โปร่ง ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ และยังทำให้ เราควบคุมอารมณ์ได้ดีมาก ข้นึ ลว้ นสง่ ผลดตี ่อสุขภาพ ผู้ทเ่ี หน่อื ยล้า จากการทำงาน หดหู่ คิดมาก จิตใจ ฟุ้งซ่าน เคร่งเครียด นอนไม่หลับ หรือเจ็บป่วย โดยไม่ทราบสาเหตุ การทำ สมาธิ มีส่วนช่วยจัดการกับอาการ หรือโรคบางชนิดได้ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศรา้ เปน็ ตน้ 3. ด้านปัญญา การพัฒนาทางด้านปัญญา ให้เกิดปัญญาในการรู้ จริง รู้เท่าทันปัจจุบัน และรู้วิธีการป้องกัน รู้วิธีการแก้ไขปัญหา สามารถ สร้างภูมิต้านทานให้กับตนเองด้วยคุณธรรม นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จเพื่อ เกื้อกูลแก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติการเรียนรู้วิถีพุทธต้องมุ้งเน้น ฝึกฝนนักเรียนที่เป็นเยาวชน อันจะเป็นอนาคตของชาติ โดยใช้หลักธรรม สำคัญคือ หลักไตรศึกษาเน้นพฤติกรรมการแสดงออกมาผสานให้กลมกลืน เ ป ็ น ก ร ะ บ ว น ก า ร เ ด ี ย ว ก ั น ก ั บ ร ะ บ บ ก า ร ศ ึ ก ษ า ใ น ป ั จ จ ุ บ ั น เ พ ื ่ อ ใ ห ้ มี คุณลักษณะท่ีตอ้ งการ “...คุณธรรมพัฒนาเพ่ือให้เกิดความดีงามตอ่ เยาวชน ของชาติที่เป็นเสาหลักสำคัญในอนาคตของประเทศชาติ คือความเป็นวิถี พุทธที่งดงาม เยาวชนต่างเป็นพุทธมามกะนับถือพุทธศาสนามาแต่ กำเนิด9...” หากได้รับการปลูกฝังหน้าที่ความเป็นชาวพุทธอย่างถูกต้องจะ ได้เกิดความตระหนัก เกิดศรัทธาอย่างถูกต้อง นำหลักธรรมไปปฏิบัติและ ดำเนนิ ชีวติ ได้อยา่ งมคี วามสุข ทุกวันนี้ใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุโดยเฉพาะเทคโนโลยี ซึ่ง ในแต่ละอย่างมีการพฒั นา เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด มุ่งเอาชนะส่ิง ต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้อื่น จนเกิดปัญหาที่ยากจะ 9รศ.ดร.ประพนั ธ์ ศภุ ษร, 16 กุมภาพนั ธ์ 2564 หอ้ ง 515 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลง กรณราช วทิ ยาลัย. 19

แก้ไข การพัฒนาตนให้อยู่กับโลกปัจจุบันอย่างมีความสุข คือการเรียนรู้ วิธกี ารตา่ งๆ มาชว่ ยส่งเสรมิ โดยไมม่ ผี ลย้อนกลับมาเกดิ ผลร้ายกับตัวเราเอง โดยใช้วิธีการพัฒนาจิต คือการนำเอาหลักพุทธศาสนามาใช้ฝึกเพื่อ เสริมสร้างจิตใจให้พรั่งพร้อมสมบูรณ์ การมีจิตที่มีสุขภาพดีมีจิตใจที่เปน็ สขุ สดชื่น ปลอดโปร่ง เบิกบาน สิ่งที่จะช่วยได้คือการฝึกสติ การอยู่กับปัจจุบัน คือ การปล่อยวางในสิ่งที่เกิดข้ึนแล้ว ควบคุมความอยากที่ไม่มีสิน้ สุดโดยไม่ ใช้ความรุนแรง ไม่ทะเลาะและใช้หลักธรรมเกี่ยวข้องอริยสัจ 4 การฝึก อิริยาบถ เน้นการฝึกโดยการเปลี่ยน อิริยาบถเพื่อให้ถูกต้องมีมารยาทที่ งดงาม และปลอดภัยด้วยการเจริญสติ บ้านสี่หลัง คือ การนำความรู้ความ เข้าใจตลอดจนสติในพระกรรมฐานมาปฏิบัติตามขั้นตอน ทำให้รู้เท่าทัน ชว่ ยใหก้ ารปฏิบัติหน้าทใ่ี นชวี ิตประจำวันไมเ่ กดิ ปญั หา การสวดมนตท์ ำวตั ร เป็นบทสวดธรรมนุสติ มีกิจกรรมการเข้าถึงพระรัตนตรัย คือ การน้อมรับ เอาคำสง่ั สอนของพระรตั นตรยั เป็นเครื่องนำทางชวี ิต ภาวนา ทำสมาธิ เพ่ือ การพัฒนาจิต การพัฒนาจิตในพระพุทธศาสนาว่า จิตเป็นรากฐานสำคัญที่ จะแสดงออกในอากัปกิริยาตลอดหน้า ใจ เมื่อได้รับการอบรมย่อมมีสติ ย่อมมีความฉลาดรอบคอบ องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา จะต้อง ประกอบด้วยคำสอนของศาสนา บุคลากรในศาสนา พิธีกรรม สถานที่และ วัตถุสำคัญทางศาสนา มารยาทชาวพุทธ เป็นการแสดงออกทีม่ แี บบแผนใน การประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ ซง่ึ เปน็ แนวปฏิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคมสามารถดำรง อยรู่ ่วมกันได้อยา่ งดี 20

ภาพที่ 4 อบรมกิจกรรมการเรยี นวถิ ีพทุ ธ ผ่านโครงการอบรมคณุ จริยธรรม สำหรบั ผูบ้ รหิ ารสถานศึกษา (ท่ีมา : คณะผู้วิจยั 10 ธนั วาคม 2564) 4.1.3 พื้นทกี่ ิจกรรมเดนิ ด้วยเทา้ ก้าวไปในบญุ พื้นที่สำหรับกิจกรรมเดินด้วยเท้า ก้าวไปในบุญ เป็นกรรมการ เจริญวิปัสสนากรรมฐานสำหรับนิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป สามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมได้ ที่คณะครุศาสตร์ โซนซี ชั้น 5 ใช้เป็น ห้องเรียนรู้ภาคทฤษฎี เมื่อเรียนรู้ภาคทฤษฎีจบแล้ว จะนำนิสิต นักศึกษา นักเรียนออกปฏิบตั ิ ณ สถานที่จริง ตั้งอยู่ห้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ดงั ภาพท่ี ภาพท่ี 5 หอ้ งปฏบิ ัติวปิ สั สนากรรมฐาน 21

1.4 พืน้ ทกี่ ารถา่ ยทอดองคค์ วามรู้วถิ พี ทุ ธ สำหรับการพัฒนาท่ีการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธ โดยใช้พื้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ โซนซี ชั้น 2 ห้อง 209 ได้รับการพัฒนาปรับปรุง จัดรูปแบบ ห้องใหม่ ติดตั้งระบบเทคโนโลยี ประกอบดว้ ย คอมพิวเตอร์ และระบบเทคโนโลยถี ่ายทอดองค์ความรู้วถิ พี ุทธ 1. หลักการถ่ายทอด หลักการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธ โดยใช้ ห้องไมโครทิสชิ่งเป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ ซึ่งเป็นพื้นที่พัฒนาขึ้น รองรับการเรียนการสอนของคณะครุศาสตร์ เน้นการเรียนการสอนผ่าน เทคโนโลยี แนวคิดและการปฏิบัติแนวทางใหม่ โดยเฉพาะการเรียนรู้คำ สอนที่เป็นหลักพุทธธรรมมาบูรณาการ ซึ่งมีจุดเน้นการถ่ายทอดวิถีพุทธ ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่าง บูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น” คือ มี ปัญญารู้เข้าใจ ในทางคุณค่าแท้ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหาร และ คณาจารย์เปน็ กลยาณมิตรการพฒั นาสอดคลอ้ งกบความตอ้ งการของสังคม และประเทศชาติในด้านต่างๆ โดยจุดเน้นของนวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เหมาะที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกบสภาพสังคมในปัจจุบัน ซึ่งมีความ หลากหลาย แตกต่างกันทั้งด้านพฤติกรรม อารมณ์สังคม และสติปัญญา เพราะมาจากสภาพแวดล้อมทางด้าน ครอบครัวและสังคมที่แตกต่างกน เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม โดยดำเนินงาน คณะวิจัยมาในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งด้านความพฤตกิ รรม (ศีล) จิตใจ (สมาธิ) และปัญญา (ปัญญา) ทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเกง่ และอยใู่ นสังคมไดอ้ ยา่ งมีความสุขตลอดไป 2. หลกั การสร้างพน้ื ที่ การสร้างพืน้ ทีน่ วัตกรรมการเรียนรู้วถิ ีพุทธ ต้อง ส่วนหนึ่งหนึ่งศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามที่ต่างๆ ที่ได้รับการ ยอมรับหรือมีชื่อเสียง ตัวอย่างเกษตรวิถีพุทธ เช่น สวนพุทธธรรมลำพูน 22

นับเป็นสถานที่หนึ่งที่เห็นความสำคัญของสุขภาพกายควบคู่กับสุขภาพใจ กว่า 8 ปี ท่ีโครงการสัมมากิจเกษตรอินทรยี ์ “วิถพี ทุ ธธรรม” ซ่งึ เป็นหนึง่ ใน พันธกิจ 5 ประการ ของมูลนิธิสวนพุทธธรรมลำพูน เพื่อสนับสนุนและ พัฒนาสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูนฯ ให้สามารถดำเนินโครงการและ กิจกรรมต่างๆ อันจะยังประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและแผ่นดินตลอดไป โดยมูลนิธิฯ ได้นำรายได้ทั้งหมดอันเกิดจากการดำเนินงานโครงการสัมมา กิจเกษตรอินทรีย์ “วิถีพุทธธรรม” มาขับเคลื่อนทั้ง 4 พันธกิจ ตาม วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ตลอดมา โครงการดังกล่าวฯ มีเป้าหลักเพื่อ พัฒนาสู่ “สัมมาอาชีวะ” เป็นการประกอบกิจการงานอันชอบธรรมไม่ผิด กบั หลักของศลี ธรรมท่พี ระพทุ ธองค์ทรงห้าม (มิจฉาวาณิชชา) 5 ประการ คอื 1. การขายอาวุธ (สิ่งที่ก่อให้เกิดการทำลายล้างกัน) 2. การค้าขายมนุษย์ (ตลอดจนการใช้แรงงานอย่างทารุณ) 3. การค้าขายสัตว์เพื่อเป็นอาหาร 4. การค้าขายน้ำเมา ตลอดจนสารเสพติดทุกชนิด 5. การค้าขายยาพิษ (สารพิษที่เป็นอันตรายต่อชีวิต) ดังนั้น การดำรงชีวิตตามฐานะพุทธบุตร ประจำศูนย์ฯแห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้มุ่งประพฤติปฏิบัติตนตามหลักของ อริยวัฑฒิ 5 ประการ คือ ทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เพื่อพัฒนาตนสู่ ความเปน็ อรยิ ชนตามลำดับจงึ อาจเรยี กได้ว่า การทำงานของสวนพทุ ธธรรม ถือเปน็ การปฏิบัตธิ รรม อาจารย์สุวรรณา สุดปรึก กล่าวว่า10 การถ่ายทอดพื้นที่นวัตกรรม การเรียนรู้วิถีพุทธ ควรมีความคิดสร้างสรรค์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ สังคมยุคปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงได้ง่ายทุกเพศ ทุกวันพื้นที่นวัตกรรม การเรียนรู้วิถีพุทธควรมีคุณลักษณะ คือ ไม่น่าเบื่อ น่าสนใจ เข้าถึงง่าย11 10พระครวู นิ ยั ธรสุรยิ า สุริโย,ดร. มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 4 กมุ ภาพันธ์ 2564. 11สวุ รรณ สุดปรึก อาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย วทิ ยาเขต นครศรธี รรมราช, 4 กุมภาพันธ์ 2564. 23

ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธเป็นที่ปรึกษาให้กับสถานศึกษา หรืออยู่ ประจำสถานศึกษานั้นๆ และ พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธควรมี ลกั ษณะเดน่ ในด้านการประยุกตใ์ ชพ้ ระพทุ ธศาสนาเป็นอับดับแรก และควร มีการปลูกฝังที่ดี 12บวกกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในโลกปัจจุบันมาปรบั ใช้กับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธควรมี ลักษณะ ได้แก่ 1) ควรนำหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามา ประยุกต์ใช้ ให้เกิดการเรียนรู้ 2) ควรมีผู้ถ่ายทอดที่มีความชำนาญและ มีความรู้ที่แท้จริง 3) ในยุคที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี13 ควรนำมา ประยกุ ต์ใชใ้ หเ้ กิดประโยชนใ์ นการน้ดี ว้ ย พระครูโสภณรัตนบัณฑิต,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กล่าว ว่า แท้ที่จริงอยู่ถึงแม้นวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นมาจำนวนมากเปลี่ยนแปลงไป ในทางทด่ี ี ควรมลี ักษณะการพฒั นา คือ 1) กอ่ นอน่ื ต้องวางยุทธศาสตร์และ วิสัยทัศน์ให้ชัด 2) ไม่ควรสร้างหรือความขัดแย้งในองค์กร และ 3) ยอมรับ ความเปลย่ี นแปลงและสิง่ ทเี่ กิดข้นึ ใหมๆ่ 14 ทง้ั นี้ท้งั นน้ั ควรนำเอาหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ด้วย นำหลักพุทธธรรมสามารถไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มิใช่บางอย่างเป็นอุดมคติ อาทิหลักการคบ มิตร ถา้ หากพจิ ารณาแล้วก็ยงั เป็นอุดมคติ ฉะนน้ั เราต้องศกึ ษาแล้วจึงนำมา ปรับใช้ควรนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาใช้เพราะสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจ พอเพียง, หลักอปนายธรรม มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และหลัก กัลยาณมิตรธรรม 7 ประการมาใช้ในการจัดกิจกรรม พระครูโสภณรัตน บัณฑิต,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ให้สัมภาษณ์ว่า ควรเป็นรูปแบบ 12ดร.สุนทร สายคำ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย วทิ ยาเขตขอนแกน่ 10 กมุ ภาพันธ์ 2564 13รศ.ดร.วรกฤต เถอื่ นช้าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั วทิ ยาเขตนครสวรรค์ 6 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 14รศ.ดร.วรวิทย์ นเิ ทศศิลป์, มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั วิทยาเขตเชยี งใหม่ 10 กุมภาพนั ธ์ 2564 24

จากนามธรรมแล้วก็เป็นรูปธรรม คือเชิงวิชาการและนำสู่การปฏิบัติที่สมา รถจับต้องเห็นผลได้จริง วิถีการถ่ายทอดใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาตั้งเป็นแนวทางการถ่ายทอด จึงจะเป็นการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ ความรู้ วิธพี ทุ ธ สรุปว่า การจัดพื้นที่การถ่ายทอดการเรียนรู้วิถีพุทธที่เป็น นวัตกรรมต้องมีการจัดด้านกายภาพจัดสภาพใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีจิตใจ สงบและส่งเสริมการบริหารจิต เจริญปัญญา ด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต จัด กิจกรรมที่บูรณาการไตรสิกขาโดยเน้น การกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วย สติสัมปชัญญะรู้คุณค่าแท้ ด้านการสอน มีหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการ เรียนรู้ที่บูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างชัดเจน ต่อเนื่อง ด้าน บรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม แสวงหาปัญญา มี ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันทุกคน พยายามปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ที่ดีแก่ผู้อื่น ด้านการบริหารจัดการ ร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนพัฒนา นกั เรยี นและพฒั นาซ่ึงกนั และกนั การจัดการเรียนการสอนวิถีพุทธมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ที่เน้นการเรียนการสอนที่บูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนผ่าน กิจกรรมการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ต่อเนื่องสม่ำเสมอ การจัดการ เรียนรู้ให้บรู ณาการสู่การปฏิบัติ โดยการนำความคดิ ของพทุ ธธรรมเปน็ ฐาน เชื่อมโยงการเรียนรู้สู่หลักธรรมในการพัฒนาตนเองและผู้อื่น กระบวนการ เรียนรมู้ ีลกั ษณะ สอนใหร้ ู้ ทำใหด้ ู อยู่ให้เหน็ โดยให้ผเู้ รยี นมพี ฒั นาการดา้ น ร่างกาย (กายภาวนา) ด้านความประพฤติ (ศีลภาวนา) และด้านปัญญา (ปัญญาภาวนา) มงุ่ ให้ผู้เรยี นมีคณุ ลักษณะ กนิ อยู่ ดี ฟงั เปน็ ไมเ่ บยี ดเบียน ผู้อื่น มีเมตตา การกิน อยู่เป็น เพื่อประโยชน์ในการดารงชีวิตอยู่อย่าง เหมาะสมเป็นไปตามคุณค่าแท้หรือการ ดูเป็น เอาประโยชน์ในการเรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา การบริหารจิต การเจริญปัญญาโดยบูรณาร่วมกับกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน และการแนะแนววิถีพุทธ การให้คำปรึกษาแนะนำโดยยึด 25

หลักธรรมในพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและแก้ไขปัญหา เช่น กจิ กรรมโฮมรูม กจิ กรรมหนา้ เสาธง เปน็ ต้น องค์ความรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธประกอบไปด้วยพื้นที่ ทมี่ ีกจิ กรรมเรยี นรู้วิถีพุทธ ใน 3 กจิ กรรมหลกั ได้แก่ 1. กิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าของทรัพยากร น้ำ และความย่ังยนื ของการผลติ อาหาร 2. กิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ โดยใช้สติเป็นฐานพัฒนาจิตใจให้มี คุณภาพและมีจิตใจเข้มแข็งสงบสุข การใช้ปัญญาเป็นฐานก่อให้เกิดความรู้ ท่ถี ูกต้อง มีศักยภาพในการคดิ แก้ปญั หาไดอ้ ยา่ งแยบคาย 3. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธตามแผนงานกิจกรรม และสถานทด่ี ำเนินการกิจกรรม ประกอบ 1) โรงเรียนพระอินทร์ศึกษา อำเภอวังน้อย จังหวัด พระนครศรอี ยุธยา 2) มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั 3) มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และขับเคล่ือนสู่ชุมชนบ้านตา เมยี ง อำเภอพนมดงรกั ษ์ จังหวัดสุรนิ ทร์ ตามแผนภาพองคค์ วามรู้พ้ืนท่นี วตั กรรมการเรียนรวู้ ถิ ีพทุ ธ ดงั นี้ 26

ภาพท่ี 4.6 แผนงานกิจกรรมที่ 1 ภาพที่ 4.7 แผนงานกจิ กรรมที่ 2 27

ภาพที่ 4.8 แผนงานกจิ กรรมท่ี 3 เมื่อดำเนินการตามแผนงานและเครือข่ายการพัฒนาและ ส่งเสริมกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ครบทั้งสามกิจกรรมแล้ว สรุปแผนงาน ภาพรวมดังนี้ 28

โรงเรยี น ศูนยก์ ลางการ โรงเรยี น ประถมศกึ ษา เรยี นรู้ครุศาสตร์ มธั ยมศกึ ษา เครือขา่ ยระดบั ผบู้ รหิ าร ครู เครอื ขา่ ย มหาวิทยาลัย ระดบั ชุมชน ผูบ้ ริหารสถาบนั การศกึ ษา อาจารย์ ตวั แทนชมุ ชน ภาคปฏิบัติ ผลผลติ ภาพท่ี 9 สรปุ แผนงานภาพรวม 29

ชดุ กจิ กรรมองคค์ วามรู้ พื้นท่นี วตั กรรมการเรยี นรู้วิถพี ทุ ธ 30

2. ผลการสร้างชุดกิจกรรมองค์ความรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้ วถิ พี ุทธ การสร้างชุดกิจกรรมองค์ความรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ทางคณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดชุดกิจกรรมองค์ ความรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธเพื่อนำมาบูรณาการกั บพื้นท่ี นวัตกรรมการเรียนรู้ยังคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย และการสร้างชุดกิจกรรมองค์ความรู้พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วถิ ี พุทธคณะผู้วิจัยได้มีกระบวนการสร้างชุดกิจกรรมองค์ความรู้พื้นที่ นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธใน 3 กิจกรรมหลักนั้น โดยนำกิจกรรมทั้ง 3 กจิ กรรม จดั สนทนากลุ่มจากผเู้ ชย่ี วชาญ ไดแ้ ก่ 1.2 ชุดกิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงโดยการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า และวถิ เี กษตรยัง่ ยนื ในขั้นตอนนี้คณะผู้วิจัย ได้ลงพื้นที่สำรวจองค์ความรู้พื้นท่ี นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ณ หอพักนิสิต A โดยมีการสำรวจพื้นที่ข้างๆ หอพักซึง่ ได้จัดทำเป็นสวนพุทธเกษตร โดยมีการลงพื้นที่สำรวจและกำหนด พื้นที่ รวมถึงการเคลียร์พื้นที่ข้างหอพักเพื่อเตรียมสถานที่จัดกิจกรรมวิถี พุทธพอเพียง โดยในการวิจัยครั้งนี้ จะมีการลงพื้นที่ทำกิจกรรมวิถีพอเพียง ปลูกผัก/ศึกษาบ่อบำบัดน้ำเสียซึ่งเป็นน้ำที่ผ่านการใช้ประโยชน์ และมีสาร ปนเปื้อน จะต้องมีการบำบัดให้สะอาดก่อนนำน้ำเสียมารดพืชผักสวนพุทธ เกษตร เชอื่ มโยงกับหลักปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง หลักความพอประมาณ พอประมาณกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ ไม่ใช้ให้ สูญเปล่า พอประมาณกับงานที่ใช้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุด น้ำที่ใช้ซักล้าง แลว้ กส็ ามารถนำมารดน้ำตน้ ไม้ได้ 31

หลักความมีเหตุผล เพื่อใช้ในการบริโภค ใช้ดื่ม ใช้ประกอบอาหาร ใช้ในการอุปโภค การซักล้าง ใช้ในการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ใช้ในการ อตุ สาหกรรม หลักภูมิคุ้มกัน ต้องตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ เห็นคุณค่าใน การอนรุ ักษน์ ้ำ ใชน้ ้ำใหไ้ ดป้ ระโยชน์มากทสี่ ดุ เงื่อนไขคุณธรรม การประหยัด การใช้น้ำอย่างคุ้มค่า แบ่งปัน เอ้ือเฟอ้ื เผือแผแ่ ก่ผอู้ ืน่ จติ สำนึกในการอนรุ ักษ์ เงื่อนไขความรู้ มีความรู้เรื่องวัฏจักรของน้ำ ความรู้เรื่องประเภท ของน้ำ แหล่งน้ำ ความรู้เรื่องคุณสมบัติของน้ำ การอนุรักษ์ การถนอม รักษานำ้ “...เม่อื พูดถงึ ความพอประมาณ มีเหตุผล ภูมคิ ุม้ กัน เง่อื นไขคณุ ธรรมและ เงอื่ นไขความรู้ สรปุ เปน็ ความดีในชีวติ พอดดี ้านจิตใจ มีจติ เข็มแข็ง เออื้ อาทร ประนปี ระนอม นกึ ถึงประโยชนส์ ว่ นรวม พอดีด้านสงั คม ชว่ ยเหลอื เกอ้ื กลู รรู้ ักสามคั คี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครวั และชมุ ชน พอดีดา้ นทรัพยากรธรรมชาตแิ ละ ส่งิ แวดล้อม ให้รู้จักใชแ้ ละจดั การอยา่ งฉลาด และเกดิ ความย่ังยนื สูงสุด พอดดี ้าน เทคโนโลยี รูจ้ กั ใชเ้ ทคโนโลยที ่ีเหมาะสมและสอดคล้องต่อความตอ้ งการและเป็น ประโยชนต์ อ่ ส่วนรวมและพัฒนาจากภมู ปิ ญั ญาชาวบ้านได้ และสดุ ท้ายคอื พอดดี า้ น เศรษฐกจิ เพมิ่ รายได้ ลดรายจา่ ย ดำรงชวี ติ อย่าง พออยู่ พอกนิ สมควรตามอตั ตา ภาพและฐานะของตน จงึ เรียกได้ว่าดำรงชวี ิตอยู่ด้วย 5 หลกั การท่ีสมบูรณ์15...) การเชอ่ื มโยงสู่ 4 มติ ิ มิติด้านสังคม น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต ทุกชุมชน ทุก สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำ ชุมชนส่วนใหญ่จึงตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำต่างๆ 15ภัทรวรี ์ คุณโท, 22 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 หอ้ ง 515 คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลยั . 32

หรือมีแหล่งน้ำธรรมชาติ การใช้น้ำอย่ารู้คุณค่าทำให้มีน้ำเพียงพอ มี คณุ ภาพท่ีใช้อปุ โภค บรโิ ภคได้ ชุมชนก็สามารถดำรงอย่ไู ด้ มิติด้านเศรษฐกิจ น้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญแทบทุกงานไม่ว่า ภาคเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม มิติด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกี่ยวกับการใช้น้ำ เกี่ยวกับสายน้ำมี หลายอย่าง เช่น การลอยกระทง รวมถึงใช้น้ำเป็นองค์ประกอบของ พธิ ีกรรมอกี ดว้ ย มิติด้านสิ่งแวดล้อม หากน้ำหมดไป เท่ากับการล่มสลายของ สง่ิ แวดลอ้ มในทุกระบบ การใชน้ ำ้ อยา่ งค้มุ ค่า ใชเ้ ทา่ ทจี่ ำเปน็ จงึ จำเป็นอยา่ ง ยิ่งและเป็นหน้าที่ของทุกคนรวมถึงการนำน้ำที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ในการ อปุ โภคต่อไป ทั้ง 4 มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต มักจะมีวัฒนธรรมหรือ ประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่น กิจกรรม รวมถึงวัฒนธรรมด้านการทาน อาหาร ในแต่ละสงั คมทมี่ นุษยร์ วมกนั เปน็ สังคม“...ในการใช้ชีวิตใน 5 มิตทิ ่ี กล่าวมานั้นหมายถึงคือ การอยู่รวมกันของมนุษย์ โดยมีลักษณะ ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบอย่างเช่น อาชีพ ติดต่อค้าขาย ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นที่ของชีวิตมนุษย์ สำหรับ ระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นด้วย มีความหมายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มี ความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใดด้านหนึ่ง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนา หรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการ ทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจสง่ ผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรบั ตวั ตามสภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มี ส่วนรว่ มในสังคมข้นึ มาได้16...) 16ดร.เอนก ใยอนิ ทร์, 16 กุมภาพนั ธ์ 2564 ห้อง 515 คณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณ ราชวทิ ยาลัย. 33

ระบบอาหารท่ียั่งยืน (SFS) เป็นระบบอาหารท่ีให้ความมนั่ คงดา้ นอาหารและ โภชนาการแก่ทกุ คนในมติ ดิ ้านเศรษฐกิจสงั คมและสงิ่ แวดล้อม เพ่ือสร้างความม่นั คง ทางอาหารและโภชนาการสำหรับคนรนุ่ ตอ่ ไป การผลติ อาหารนบั วนั จะเพม่ิ ขน้ึ ตาม จำนวนประชาโลกทเ่ี พ่ิมขึน้ ไม่หมายความวา่ มีกำไรตลอดเสมอไป ปจั จบุ ันนี้ “... ไมไ่ ดผ้ ลติ เพอ่ื บริโภคอย่างเดียว แต่ผลิตเปน็ ภาคอุตสาหกรรม เนือ่ งจากพฤตกิ รรมการ บรโิ ภคอาหารมนุษยเ์ ปล่ียนแปลงตามยคุ สมัย สังคมเมอื ง จะใช้วิธีการซ้ือมากกวา่ จะ ผลิตเอง และยังสามารถความยง่ั ยนื ทางเศรษฐกจิ ได้ มีประโยชนใ์ นวงกว้างสำหรับ สังคม ความย่งั ยืนทางสังคม และมผี ลกระทบเชงิ บวกหรือเป็นกลางตอ่ สภาพแวดลอ้ ม ทางธรรมชาติ ความย่งั ยนื ดา้ นส่งิ แวดลอ้ มไดเ้ ช่นกัน17...” ในสว่ นของกิจกรรมวิถีพทุ ธพอเพียงทีก่ อ่ ให้เกิดความยัง่ ยืนของการผลติ อาหารทางคณะผ้วู ิจัยได้มกี ารจัดทำแปลงผกั เกษตรวถิ ีพุทธ โดยมีการปลูกผกั ตา่ งๆ เชน่ มะนาว ถวั่ ผักยาว พริก กระเพรา เปน็ ต้น ซง่ึ ทำใหเ้ กดิ วิถชี วี ิตอยา่ งย่ังยืน18 2.2 กระบวนการที่ก่อให้เกิดกิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงโดย การใชน้ ำ้ อย่างคุ้มค่าและวถิ ีเกษตรย่งั ยนื ได้แก่ 1. กิจกรรมลงพื้นที่ทำกิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงโดยการใช้น้ำอย่าง คมุ้ ค่าและวิถีเกษตรยงั่ ยืน เพ่ือนำมาสร้างชดุ กิจกรรม 2. ศึกษาบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นน้ำที่ผ่านการใช้ประโยชน์ และมี การปนเปื้อน จะต้องมีการบำบัดให้สะอาดก่อนนำนำ้ เสียมามาใช้ประโยชน์ ทางเกษตร ใช้รดพืชผักสวนพุทธเกษตร เชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง สร้างแรงกระตุ้นให้นิสิตคิดค้นวิธีการบำบัดน้ำเสียจนเกิดเป็น นวัตกรรมการบำบดั น้ำเสยี 17ดร.พงศพ์ ิชญ์ ต่วนภูษา รองอธกิ ารบดี มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี, 16 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 หอ้ ง 515 คณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย. 18ดร.ลำพอง กลมกูล, 16 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 หอ้ ง 515 คณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณ ราชวทิ ยาลยั . 34

3. พัฒนาระบบสูบน้ำจากบ่อเพื่อบำบัดเสียมาเก็บในบ่อพักน้ำ เพอื่ บำบดั เสียกอ่ นปล่อยนำ้ ไปตามทอ่ pe ใชร้ ดน้ำผักในแปลงผัก 4. คณาจารย์ นำนิสิตปริญญาโท และปริญญาเอกที่เป็นนิสิตมา ศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษาให้ลงพื้นที่มา สังเกตการใช้น้ำอยา่ งคุม้ คา่ และวถิ ีเกษตรย่งั ยนื 5. ให้นิสิตนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอกนำการใช้น้ำอย่างค้มุ ค่า และวิถีเกษตรย่งั ยืนไปทดลองใช้ 6. คณะผู้วิจัยลงพื้นที่ประเมินผลการนำกิจกรรมการใช้น้ำอย่าง คุ้มค่าและวิถเี กษตรย่ังยนื ทโ่ี รงเรยี นอยุธยาวิทยาลยั ผลลัพธข์ องกจิ กรรมการใชน้ ำ้ อยา่ งคุ้มคา่ และวิถีเกษตรยั่งยืน ไดแ้ ก่ 1. นักเรียน เยาวชน นักศึกษา นิสิต ผู้สนใจได้ตระหนักร้ถู ึงคุณค่า ของการใชน้ ้ำอยา่ งคมุ้ คา่ 2. นักเรียน เยาวชน นักศึกษา นิสิต ผู้สนใจได้เรียนรู้วิถีเกษตรท่ี ยั่งยืน 3. นักเรียน เยาวชน นักศึกษา นิสิต ผู้สนใจนำการใช้น้ำอย่าง คุม้ ค่าและวิถีเกษตรยงั่ ยืนกอ่ ใหเ้ กดิ วถิ ชี วี ติ พอเพยี งอยา่ งย่งั ยนื สืบไป 4.2.3 กิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ โดยใช้สติเป็นฐาน ใช้ปัญญา เปน็ ฐาน ใชศ้ ีลเป็นฐาน การบรหิ ารจติ เป็นการฝกึ ฝนอบรมจติ ใจให้ดีงาม นุม่ นวล มีความหนักแนน่ มั่นคง แข็งแกรง่ ผ่อนคลาย และสงบสุข ซึ่งมีการฝกึ เพ่ือใหบ้ รรลผุ ลดงั กลา่ วมากมาย หลายวิธี ส่วนการเจริญปัญญาน้ัน คือการฝึกให้รูจ้ ักคดิ อยา่ งทเี่ รียกว่า “คดิ เปน็ แก้ปัญหาเป็น” การบริหารจิต เป็นการฝกึ จติ ใหเ้ ป็นสมาธิ เรียกว่า สมาธิภาวนา ส่วน การเจริญปัญญาคือ การฝกึ ให้เกิดปัญญาทเ่ี รยี กว่า วิปสั สนาภาวนาคนท่ไี ดร้ ับการ ฝึกฝนอบรมทั้งด้านสมาธแิ ละวปิ สั สนา จะเป็นคนมีคุณภาพจติ สรรถภาพทางจิต และ สขุ ภาพจติ ที่ดที ี่สมบรู ณ์ มีความเข้าใจโลกและชีวติ ทีถ่ กู ตอ้ งการเจริญสมาธอิ ยา่ ง สามญั หรอื ฝกึ สมาธโิ ดยใช้สตเิ ป็นตวั นำองค์ธรรมท่ีเปน็ เคร่ืองชกั นำหรือฝึกใหเ้ กิด 35

สมาธิ คอื “สติ” เพราะสติเปน็ เครอื่ งดงึ และควบคมุ จิตไวก้ ับอารมณ์น้ันๆ การฝกึ สมาธโิ ดยอาศยั สติเป็นตัวนำ แยกได้เป็น 2 วธิ ใี หญ่ๆ คือ 1. การฝึกเพื่อใช้งานทางปัญญา หรือมุ่งประโยชน์เพื่อให้เกิด ปัญญา ได้แก่การใช้สตินำทางให้เกิดปัญญาหรือทำงานร่วมกับการใช้ ปัญญา โดยมีสติควบคุมอารมณ์และใช้ปัญญาเป็นตัวพิจารณา ให้รู้และ เข้าใจอารมณ์นั้นๆ วิธีการฝึกแบบนี้ไม่ได้เน้นที่สมาธิ แต่สมาธิได้รับการฝึก และเจริญสมาธิไปด้วย และพร้อมที่จะช่วยส่งเสริมการใช้ปัญญาให้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น การฝึกเช่นนี้ได้แก่การฝึกโดยวิธีของสติปัฏฐาน เรียกได้ว่าเป็นการ เจรญิ สมาธิในชวี ิตประจำวนั “...19 ภาพท่ี 4.10 นกั ศึกษามหาวทิ ยาลัยราชภัฎเข้ารว่ มกจิ อบรม 19ผศ.ดร.กมลาศ ภวู ชนาธพิ งศ์, 16 กมุ ภาพันธ์ 2564 หอ้ ง 515 คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหา จุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั . 36

2. การฝึกเพื่อสร้างสมาธิหรือมุ่งสู่การสร้างสมาธิเพียงด้านเดียว ได้แก่ ่การใช้สติคอยควบคุมอารมณ์ไว้ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้นหรือเป็นวิธี ตรึงจิตใหอ้ ยู่กับอารมณน์ ้ันๆ เปน็ วธิ กี ารทเ่ี น้นสมาธิโดยตรง การเจริญสมาธิอย่างเป็นแบบแผน หมายถึง วิธีการฝึกอบรมเจริญ สมาธิอย่างท่ีได้ปฏบิ ัตสิ บื ๆ กันมาเป็นวิธกี ารที่ปฏิบัติกันอย่างเอาจริงเอาจงั เป็นงานเป็นการ โดยมุ่งฝึกจำเพาะแต่ตัวสมาธิแท้ๆ ภายในขอบเขตที่เป็น ระดับโลกีย์ทั้งหมดซึ่งกำหนดวางกันไว้เป็นรูปแบบมีขั้นตอนที่ดำเนินไป ตามลำดับเริ่มตั้งแต่การตระเตรียมตัวเบื้องต้นก่อนฝึก “...วิธีเจริญ กรรมฐานแต่ละอย่าง และความก้าวหน้าในการฝึกจนได้รับผลในขั้นต่างๆ วิธีเจริญสมาธิอย่างเป็นแบบแผนนั้น สรุปความตามที่ท่านแสดงไว้ เป็น ลำดบั ขน้ั ตอนใหญ่ๆ ได้20คือ เบ้ืองแรก เมอ่ื มีศีลบริสทุ ธ์ิดี หรือชำระศีลใหห้ มดจดแลว้ : 1. ตัดปลิโพธ คอื ข้อตดิ ขอ้ งหรอื เหตุกังวล 10 ประการคอื 1) จิตใจไมผ่ ูกพันหรือกังวลอยกู่ ับท่อี ยู่หรอื วดั 2) ไม่ห่วงกงั วลตระกูลญาตทิ บ่ี ้าน 3) ไม่มวั เมาลุ่มหลงในลาภสกั การะ หรือทรพั ยส์ นิ 4) ไม่ห่วงกังวลกับคณะบุคคล หรือลูกศิษย์ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ควรมอบหมายงานใหเ้ รยี บร้อย 5) ควรปฏิบัติงานที่คั่งค้างให้สำเร็จก่อนหรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำ แทน 6) หากมีธรุ ะเดนิ ทางไกล ควรดำเนนิ การใหเ้ รียบร้อย 7) ไม่ห่วงกังวลกับญาติพี่น้อง หากเจ็บป่วยต้องรักษาให้หายจน หมดหว่ ง 20ผศ.ดร.ขนั ทอง วัฒนะประดษิ ฐ์, 16 กุมภาพนั ธ์ 2564 ห้อง 515 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหา จฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย. 37

8) หากเจ็บไขไ้ ดป้ ว่ ย ควรรกั ษาใหห้ ายก่อน หรือมีความอดกลั้นต่อ อาการเจ็บ 9) ไม่ห่วงกังวลกับสง่ิ ทีต่ อ้ งเลา่ เรยี น หรือการบรรยายความร้ตู ่างๆ 10) ไม่ห่วงอิทธิฤทธิ์ ผู้เจริญสมาธิยังไม่มีฤทธิ์ที่จะห่วง นอกจากผู้ บำเพญ็ วปิ ัสสนา 2. เขา้ ไปหาอาจารย์สอนกรรมฐานใหแ้ ก่ตนได้ 3. รับหรือเรียนกรรมฐานที่เหมาะกับจริตของตน คำว่า “กรรมฐาน” แปลว่า เป็นที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หมายความว่า สิ่งท่ี ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรือสิ่งที่นำมาให้จิตกำหนดจิตจะได้มี งานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่กับที่ได้ จิตไม่ฟุ้งซ่าน กรรมฐานแสดงไว้มี 40 อย่างคือ กสิน 10 อสุภะ 10 อนุสติ 10 อัปปมัญญา 4 อาหาเรปฏิกุล สญั ญา 1 จตธุ าตวุ วัฏฐาน 1 อรูป 4 จริยา แปลว่า ความประพฤติ หมายถึง ลักษณะนิสัย บุคคลผู้มีลักษณะนิสัยและความประพฤติอย่างใดอย่างหน่ึง เรียกว่า จริต เช่น คนรักสวยรักงาม เรียกว่า ราคจริต ควรใช้กรรมฐานท่ี เรียกว่า อสภุ ะ การพจิ ารณาซากศพ) ในการเจรญิ ภาวนา 4. อยใู่ นวดั หรอื สถานท่ที ่ีเหมาะแกก่ ารเจรญิ สมาธิ 5. ปฏิบัติตามวิธีเจริญสมาธิ โดยทั่วไปหลักการเจริญสมาธิมี 3 ขนั้ คอื บรกิ รรมภาวนา อปุ จารภาวนา และอัปปนาภาวนา คือ 1) บริกรรมภาวนา เป็นการเจริญสมาธิขั้นเริ่มต้น ได้แก่ การ กำหนดถือเอานมิ ิต เครื่องหมายสำหรบั ใหจ้ ิตกำหนด เชน่ ลมหายใจ นึกถึง พุทธคุณ เป็นต้น) ในสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น กำหนดลมหายใจ เขา้ ออกทีก่ ระทบปลายจมกู เป็นตน้ 2) อุปจารภาวนา เป็นการเจริญสมาธิขั้นอุปจาร ได้แก่ อาศัย บริกรรมสมาธิ เอาจติ กำหนดนิมติ ตอ่ ไป จนจติ แนว่ แน่ 38

3) อัปปนาภาวนา เป็นการเจริญสมาธิขั้นอัปปนา ได้แก่ การรักษา จิตหรือประคับประคองที่แน่วแน่ไว้ ไม่หวั่นไหว จนถึงขั้นสุงสุดเกิดอัปปนา สมาธใิ นท่ีสดุ สมาธขิ น้ั สูง การเจริญปัญญา การฝึกให้เกิดปญั ญาสามารถกระทำได้ 3 ทางคือ ดว้ ยการฟงั ด้วยการคิด และการลงมือกระทำ โดยมรี ายละเอยี ดดังนีค้ อื 1. สุตมยปัญญา คือปัญญาเกิดจากการฟัง อันได้แก่ ฟังการอบรม ฟังการบรรยาย ฟังการอภิปราย ฟังการเสวนา ฟังการระดม สมอง การ อ่านตำราหรือเอกสารต่างๆ การได้ดูได้ฟังจากสื่อต่างๆ เป็นต้น ในการรับรู้ ด้วยประสาทสัมผัส เช่น การดู การฟัง และการอ่านเพื่อให้เกิดปัญญาต้อง รู้จักเลือกพิจารณาวิเคราะห์แยกแยะสิ่งที่รับรู้ โดยเลือกรับรู้ในสิ่งที่เป็น ประโยชน์ สร้างสรรค์ โดยเฉพาะการรับรู้จากสื่อต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน สามารถรับรไู้ ดง้ ่าย เพราะระบบการสื่อสารทที่ ันสมัย และรวดเรว็ 2. จิตตามยปัญญา คือปัญญาเกดิ จากความคดิ เป็นความคิดท่ีเป็น ระบบถูกต้อง ความคิดที่ละเอียดลึกซึ้ง ความคิดแบบแยบคาย ความคิด รอบด้านที่เรียกว่า ความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ ต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย พระพุทธเจ้าได้แบ่งการคิดออกเป็น 10 วิธีที่เรียกว่า วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งทั้ง 10 วธิ ีมีลกั ษณะรว่ มกัน 4 ประการ คือ 1) คิดถูกวิธี คือวิธีคิดจะต้องถูกต้อง คิดรอบด้าน เช่น คิดถึงข้อดี ข้อเสีย และหาทางออก เปน็ ตน้ 2) คิดเป็นระเบียบ คือ การคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนต่อเนื่อง เป็นไปตามลำดับขั้น ไม่คิดสับสนหรือวกวนไปมา คิดให้ทะลุปรุโปร่ง หรือ คิดต้ังแตต่ น้ จนจบกระบวนการ เช่น คิดโครงการ เปน็ ตน้ 39

3) คิดมีเหตุผล คือ คิดอย่างมีเหตุมีผลเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน คิด หาสาเหตุหลายๆ สาเหตุ ที่เรียกว่า เหตุปัจจัย ที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้น เช่น เมอื่ ปญั หาอยา่ งหนงึ่ ตอ้ งหาสาเหตวุ ่าเกิดจากอะไร เป็นตน้ 4) คิดเป็นกุศล คือ คิดในสิ่งที่ดีงาม โดยมีหลักว่า สิ่งที่คิดนั้นเป็น ประโยชน์หรอื ไม่ เปน็ ไปเพ่ือเบยี ดเบียนตนเองและผู้อื่นหรือไม่ เป็นความท่ี สร้างสรรค์หรือไม่ เป็นต้น 3. ภาวนามยปัญญา คือปัญญาเกิดจากการอบรมตนเองโดยเน้น กระบวนการศึกษาจิตและกายอย่างชัดแจ้ง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง กายกับจิต เมื่อทราบว่าใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ก็ให้การฝึกจิตควบคุมจิต จนกระทั่งมีความสงบ สามารถนำไปตรึกตรองเรื่องราวต่างๆ ได้อย่าง แตกฉาน เป็นระบบ สงบ ไม่วุ่นวาย ทำงานได้ผล มีประสิทธิภาพ มี ความสุข ในขั้นต้นคือ ปัญญาที่เกิดจากการลงมือกระทำ ซึ่งหมายถึง การ ฝกึ ฝน การฝึกทกั ษะ การไดล้ งมอื ปฏิบัติ จนเกดิ ความชำนาญ เปน็ ปัญญาท่ี เกิดจากการปฏิบตั จิ รงิ “..ในกิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธในขั้นตอนนี้ทางคณะผู้วิจัยได้จัด กิจกรรมต่างๆ ที่สร้างการเรียนรู้และมีการถ่ายทำวิดีทัศน์เพื่อนำไป ถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธให้เกิดครูสติและครูสมาธิ โดยนำหลักสูตรการ ปฏิบัติกรรมฐานไปใช้ในการถ่ายทอดกิจกรรมและการปฏิบัติกรรมฐาน ให้แก่บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในลำดับต่อไป กิจกรรมการ เรียนรู้วิถีพุทธที่ทำให้เกิดสติและสมาธิ กิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ...”21 โดยใชส้ ติเป็นฐาน ใช้ปญั ญาเปน็ ฐาน ใชศ้ ลี เปน็ ฐาน 21ผศ.ดร.เชิดชยั ธุระแพง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบยี น มหาวทิ ยาลัยราชภัฏ หม่บู ้านจอมบึง, 22 กุมภาพนั ธ์ 2564 หอ้ ง 515 คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลยั 40

41

42

43

44

ภาพที่ 4.11 นสิ ิตเข้ารว่ มกจิ กรรมฝกึ การเจรญิ ปญั ญา (ณ หาดมุกแกว้ จงั หวดั ตราด) ท่มี า : คณะผู้วจิ ยั 10 ธันวาคม 2564 2.4กระบวนการท่กี ่อให้เกิดกิจกรรมการเรียนรวู้ ถิ ีพุทธ โดยใช้สติเป็นฐาน ใช้ปัญญาเปน็ ฐาน ใชศ้ ีลเป็นฐาน ไดแ้ ก่ 1. ประสานงานกับนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอกที่เป็นนิสิตมา ศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษามาฝึกปฏิบัติ กิจกรรมการใช้สติ ปัญญา และศีล ณ ห้อง C 512 อาคารเรียนรวมโซน C ชั้น 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา 2. ให้นิสิตนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอกประสานไปยังโรงเรียน ของตนที่มีความพรอ้ มทจี่ ะนำกิจกรรมการเรยี นรู้วถิ พี ุทธ โดยใช้สติเปน็ ฐาน ใช้ปัญญาเป็นฐาน ใช้ศีลเป็นฐานไปประยุกต์ใช้กับผู้บริหาร ครู และ นกั เรยี นในโรงเรยี น 45

3. คณะผู้วิจัยลงพื้นที่จัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน ณ โรงเรียน อยธุ ยาวิทยาลัย จงั หวัดพระนครศรอี ยธุ ยา โดยจัดกจิ กรรม 3 ฐาน คอื ฐาน สติ ฐานปญั ญา และฐานศลี 4. คณะผู้วิจัยประเมินการจัดกิจกรรม 3 ฐาน คือ ฐานสติ ฐาน ปญั ญา และฐานศลี 22 4.2.5 ผลลพั ธ์ของกิจกรรมการเรยี นรู้วถิ ีพุทธ โดยใช้สติเป็นฐาน ใช้ ปญั ญาเป็นฐาน ใช้ศลี เปน็ ฐาน ไดแ้ ก่ 1. นักเรียน เยาวชน นักศึกษา นิสิต ผู้สนใจมีการฝึกจิตตระหนักรู้ วถิ พี ุทธ 2. นกั เรยี น เยาวชน นกั ศกึ ษา นสิ ติ ผสู้ นใจเกิดความรทู้ ่ีถกู ตอ้ ง มี ศกั ยภาพในการคิดแกป้ ัญหาไดอ้ ย่างแยบคาย 3. นักเรียน เยาวชน นักศึกษา นิสิต ผู้สนใจมีพฤติกรรมที่ เหมาะสม รู้คุณค่าการอยรู่ ่วมกัน รจู้ ักแบ่งปนั 4. นักเรียน เยาวชน นักศึกษา นิสิต ผู้สนใจมีสติ มีปัญญา มีศีล สามารถดำเนินชวี ิตได้อยา่ งมีความสุขในสังคม 22ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ชัยสขุ หัวหน้าภาควิชาบริหารการศกึ ษา คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลง กรณราชวิทยาลยั , 22 กุมภาพนั ธ์ 2564 ห้อง 515 คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณ ราชวิทยาลยั . 46

ภาพที่ 4.12 คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ร่วมเป็น ประธานเปดิ โครงการอบรม ที่มา : คณะผวู้ ิจยั 10 ธนั วาคม 2564 ผลลพั ธ์: กิจกรรมเดินด้วยเทา้ ก้าวไปในบุญ สำหรบั เยาวชน 1. กระบวนการพัฒนาปญั ญาในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้รับการขนานนามว่าเป็น“ศาสนาแห่งปัญญา” เพราะคำสอนในพระพุทธศาสนาตั้งอยู่บนหลักการของเหตุและผล มีการ วิเคราะห์สิ่งต่างๆ ในลักษณะที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ปัญญา แปลวา่ ความรู้ทัว่ คือ รู้ทั่วถึงเหตแุ ละผล รู้อย่างชัดเจนรู้เรื่องบาปบุญคณุ โทษ รู้สิ่ง ที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อ ประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย ปัญญาในทางพุทธศาสนา จึงมีความหมายลึกซึ้งกว่าความหมายที่ใช้อยู่โดยทั่วไป ทั้งยังเป็นเครื่องมือ 47

ที่ช่วยแก้ไขปัญญาต่างๆ ในชีวิตได้อย่างยั่งยืน สามารถนำพาบุคคลไปสู่ ความพน้ ทกุ ขไ์ ด้ทีส่ ำคัญคือ ศรทั ธาต้องนำไปสูป่ ญั ญาเสมอ 2. วตั ถปุ ระสงค์: เพื่อให้เยาวชนได้เริ่มเดินก้าวแรก ด้วยการพัฒนาจิต สร้างเปี่ยม ดว้ ยศลี ธรรม ปลกู ฝังดำรงตนอย่างมีวินัย รักษาจติ ใจเข้มแข็งอย่างออ่ นโยน และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข การก้าวเดินด้วย 5 สิ่งนี้ ด้วยความตั้งใจ ก็ จะเป็นบุญต่อตนเองที่จะมีย่างก้าวที่มั่นคงต่อชีวิต เป็นบุญต่อพ่อแม่ ที่ไม่ ต้องมีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ และเป็นบุญต่อสังคมที่จะมีเยาวชนซึ่งจะเป็น ผใู้ หญท่ ่ดี ีในอนาคต รว่ มกันสรา้ งและพฒั นาชาติ ด้วยความซ่ือสัตย์สุจรติ 5 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมเพ่ือพัฒนาจิต 2) กิจกรรมเปยี่ มดว้ ยศีลธรรม 3) กิจกรรมดำรงตนอย่างมีวนิ ยั 4) กิจกรรมจิตใจเข้มแขง็ อย่างออ่ นโยน 5) กิจกรรมความสุข ผลลัพธ์: กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธโดยจัด กิจกรรมรว่ มแสดงความคิดเหน็ ในกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธโดยจัดกิจกรรมร่วม แสดงความคิดเห็น มีเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนที่ต้องการจะออกไปทำ หน้าที่เป็นครูสอนสติแก่บุคคลทั่วไป ใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี โดยจะเน้น ทั้งความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติและทักษะ สำหรับวิชาในหลักสูตร ประกอบด้วยสติในพระไตรปิฎก สตปิ ฏั ฐานภาวนาอานาปานสติภาวนา สติ กับสมอง สติเพื่อสุขภาวะ การเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน สติสำหรับภาวะผู้นำ สติสำหรับครู จริยธรรมสำหรับครูสติ วิธีสอบอารมณ์สำหรับครูสติและสติ บำบัด 48

การเรียนหลักสูตรครูสตินั้น ต้องเริ่มจากการเป็นครูสอนตัวเอง ทั้ง หลักการและวิธีในการปฏิบัติ เพื่อตนเข้าถึงความสุขอย่างแท้จริง แล้วจึง ออกไปทำหน้าที่เป็นครูสอนผู้อื่นที่กำลังเผชิญหน้ากับความทุกข์ในโลกยุค ดิจิทัลที่กำลังเปลี่ยนไป การสร้างครูสมาธินั้นทางคณะผู้วิจัยได้มี กระบวนการจดั กิจกรรม ดงั นี้ - มกี ารสอนเปน็ ระบบ มตี ำรา มีบทเรียน เป็นลำดับข้ันตอน เขา้ ใจ งา่ ย มกี ารเรยี นภาคทฤษฎแี ละปฏบิ ัติ - ที่เรียนสะดวกสบาย มีห้องบรรยาย นั่งสมาธิในห้องแอร์ ไม่มียุง รบกวน - ทำน้อย ไดผ้ ลมาก ใชร้ ะยะเวลาการนั่งสมาธิไมน่ านเกินไป อาศัย การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นประจำเป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือ ปฏิบัติแต่พอดี สามารถปฏิบัติได้ครั้งละ 15 ถึง 30 นาที เป็นความพอเหมาะพอดี ได้ ประโยชน์เตม็ ที่ - เห็นผลชัดเจน กว่า 95% ของผู้ที่เรียนจบหลักสูตรครูสมาธิ ยืนยันว่ามีความสุขมากขึ้นนอนหลับง่าย มีความเครียดน้อยลง ควบคุม อารมณ์ไดด้ ี ทำงานมปี ระสทิ ธภิ าพมากขึน้ “...การปฏิบัติสมาธิ ที่เหมาะกับชีวิตคนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ใช้ ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ คือ สามารถไปทำงานได้ปกติ ดำเนินชีวิตได้ ตามปกติ และยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นการจัดกิจกรรมในภาพรวม ควรคำนึงว่าผู้จัดกิจกรรม เป้าหมายจัดเพื่ออะไร ถ้ากำหนดเป้าหมายที่ ชัดเจนประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมนี้ ถือว่ามีประโยชน์มาก เพราะ เป็นการส่งเสริมท้ังกระบวน การคดิ กระบวนใช้ชวี ิตและการทำงานร่วมกัน กลุ่มเรียกวา่ กิจกรรมส่งเสริมทกั ษะการใช้ชีวติ ในสังคมท่เี ป็นวิธพี ทุ ธ23...” 23พระมหาสมบรู ณ์ วุฑฺฒกิ โร, รศ.ดร. คณบดีบณั ฑิตวิทยาลยั , 22 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 ห้อง 515 คณะ ครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราช วิทยาลัย. 49

4.2.6 กระบวนการทก่ี ่อให้เกดิ กิจกรรมการถ่ายทอดองคค์ วามรู้วถิ ี พทุ ธโดยจดั กิจกรรมร่วมแสดงความคิดเหน็ ไดแ้ ก่ 1. ประสานงานกับนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอกที่เป็นนิสิตมา ศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษามาปรึกษา ตกลง การจัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธ ณ ห้อง C 512 และ ห้อง C 404 (ห้องไมโครทิสซิ่ง) อาคารเรียนรวมโซน C ชั้น 4 และชั้น 5 คณะครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัด พระนครอยธุ ยา 2. ให้นิสิตนิสิตปริญญาโท และปริญญาเอกประสานไปยังโรงเรียน ของตนที่มีความพร้อมที่จะนำกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธโดย จัดกิจกรรมร่วมแสดงความคิดเห็น นำไปประยุกต์ถ่ายทอดใช้กับผู้บริหาร ครู และนกั เรียนในโรงเรียน 3. คณะผู้วิจัยลงพื้นที่จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธ โดยจัดกิจกรรมร่วมแสดงความคิดเห็น ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จังหวดั พระนครศรอี ยธุ ยา โดยจดั กิจกรรมรว่ มแสดงความคดิ เหน็ 4. คณะผู้วิจัยประเมินการจัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถี พุทธโดยจัดกิจกรรมรว่ มแสดงความคดิ เหน็ 4.2.7 ผลลพั ธ์ของการจดั กิจกรรมการถา่ ยทอดองค์ความรวู้ ถิ ีพุทธโดยจดั กจิ กรรมรว่ มแสดงความคิดเห็นและจดั กจิ กรรมพอเพยี ง ไดแ้ ก่ 1. นกั เรยี น เยาวชน นกั ศกึ ษา นสิ ติ ผสู้ นใจตระหนกั รคู้ ณุ คา่ ความ พอเพยี งตามแนวปฏบิ ตั ขิ องวิถีพทุ ธ 2. นักเรียน เยาวชน นักศึกษา นิสิต ผู้สนใจเกิดภูมิคุ้มกันในการ ดำเนินชวี ติ มสี ติ มีปญั ญามศี ีลในการดำเนนิ ชีวติ 3. นักเรียน เยาวชน นักศึกษา นิสิต ผู้สนใจมีวิถีชีวิตพอเพียงใน สงั คม พออยู่ พอกิน พอใชส้ ร้างคุณค่าแกต่ นเอง ครอบครวั และสงั คม 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook